โครงการพัฒนาข้อเสนอและการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทย

ประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงาน/องค์กร เครือข่ายผู้เสนอประเด็นนโยบาย เข้าสู่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ17 พฤษภาคม 2017
17
พฤษภาคม 2017รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงาน/องค์กร เครือข่ายผู้เสนอประเด็นนโยบาย เข้าสู่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ขั้นตอนการพัฒนาสมัชชาสุขภาพ

ประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงาน/องค์กร เครือข่ายผู้เสนอประเด็นนโยบาย เข้าสู่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

แผนงาน

1.เตรียมเอกสารเพื่อเสนอเข้าวาระ (เอกสารหลัก เอกสารร่างมติ เอกสารยุทธศาสตร์) และนัดประชุมเครือข่าย เสนอเข้าวาระสมัชชา

2.จัดทีมวิชาการเพื่อพัฒนาร่างมติ ได้ร่าง 1 ข้อมูลสถานการณ์ แนวทาง ยุทธศาสตร์ และข้อเสนอ

3.จัดเวทีพิจารณาร่าง 1 จำนวน 2 ครั้ง - เวทีพิจารณาตามกลุ่มวัย (เด็ก, วัยทำงาน, ผู้สูงอายุ) - เวทีพิจาณาตามกิจกรรม (วิ่ง/เดิน, จักรยาน, พื้นที่ต้นแบบ / ท้องถิ่น)

4.ปรับร่าง 1 เป็นร่าง 2 โดยทีมวิชาการแต่ละกลุ่ม

5.จัดเวทีพิจารณาร่าง 2 (Pre สมัชชา ทุกกลุ่มเข้าร่วมประชุมเฉพาะแกนนำกลุ่ม)

6.ส่งเอกสารให้ สช.เพื่อนำเข้าสมัชชาชาติ
ส่งเอกสาร (เอกสารหลัก, เอกสาร่างมติ, เอกสารผนวก) ให้ สช.เพื่อนำเข้าสมัชชาชาติ

แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับปัจเจกบุคคลและกลุ่มคน การส่งเสริมการเรียนรู้ (ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ ทัศนคติ) ด้านกิจกรรมทางกายของบุคคลในเรื่ององค์ความรู้การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ รูปแบบกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน การเดินทาง และช่วงเวลาว่าง (การเล่นกีฬา การแข่งขัน) การส่งเสริมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีการเล่นสร้างสรรค์และมีพัฒนาการกิจกรรมทางกาย สถานศึกษาสร้างหลักสูตรรูปแบบการสอนวิชาที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพในโรงเรียน และมหาวิทยาลัย และรูปแบบใช้เวลาว่างสำหรับกิจกรรมทางกาย (PA Breaks) และส่งเสริมการเรียนรู้กิจกรรมทางกายของวัยทำงานและผู้สูงอายุการพัฒนาองค์ความรู้ ทุนภูมิปัญญา นวัตกรรมของกิจกรรมทางกายส่งเสริมสถานศึกษา หน่วยงานวิจัยให้ศึกษาวิจัยกิจกรรมทางกาย และสนับสนุนทุนและส่งเสริมการวิจัยองค์ความรู้ ทุนภูมิปัญญา นวัตกรรมเกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย การสร้างแรงจูงใจ ความตระหนัก การรับรู้เรื่องสุขภาพของตนเอง โดยส่งเสริมและสนับสนุนหน่วยงานให้มีการตรวจสุขภาพประจำปีและแนะนำกิจกรรมทางกายแก่ประชาชนทั่วไปทุกช่วงวัยและทางการแพทย์และพยาบาล แนะนำการมีกิจกรรมทางกายแก่ผู้ที่มารักษาและผลักดันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยใช้มาตรการทางภาษีเพื่อสร้างแรงจูงใจต่อการมีกิจกรรมทางกายการพัฒนาศักยภาพบุคคล/ต้นแบบแกนนำกิจกรรมทางกาย โดยการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคคลในชุมชนท้องถิ่น สถานศึกษา และประชาชนทั่วไป ให้เป็นต้นแบบแกนนำกิจกรรมทางกายรวมทั้งต้องคำนึงด้านสุขภาวะโดยการส่งเสริมและพัฒนารูปแบบกิจกรรมทางกายที่ครอบคลุมเรื่องสุขภาวะ (กาย จิต สังคม ปัญญา)

แนวทางการส่งเสริมสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย การสร้างสภาพแวดล้อมด้านพื้นที่กายภาพให้เอื้อต่อกิจกรรมทางกาย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผังเมืองหรือการสนับสนุนด้านกายภาพ สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อในพื้นที่สาธารณะทั้งในพื้นที่ที่มีการเดินทาง และสถานที่สวนสาธารณะ รวมทั้งรัฐวิสาหกิจ สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อกิจกรรมทางกายในสถานที่ทำงาน และการพัฒนาเครื่องมือกระบวนการรูปแบบกิจกรรมทางกาย พัฒนาพื้นที่หรือองค์กรต้นแบบ รวมทั้งการพัฒนานโยบาย มาตรฐาน และตัวชี้วัดกิจกรรมทางกาย

แนวทางการมีระบบและกลไกสนับสนุนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การมีส่วนร่วมในการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวขับเคลื่อนกิจกรรมทางกาย ตั้งแต่ภาครัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจ และภาคประชาสังคมรวมทั้งการพัฒนาชมรม เครือข่ายกิจกรรมทางกายการพัฒนาสื่อสารสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการพัฒนาองค์กรด้านการวิจัยกิจกรรมทางกาย รวมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัย พัฒนาการติดตามเฝ้าระวัง และประเมินผลกิจกรรมทางกายโดยเฉพาะในด้านที่ยังขาดองค์ความรู้ เช่น การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ การวิจัยเชิงปฏิบัติการในประชากร การประเมินผลนโยบาย และสร้างความเข้มแข็งด้านการติดตามประเมินผลและการเฝ้าระวัง โดยปัจจุบันประเทศไทยข้อมูลการเฝ้าระวังสถานการณ์กิจกรรมทางกายของ PARC ข้อมูลด้านสุขภาพกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และข้อมูลเด็กไทยแก้มใสของ สสส.

ประเด็นแลกเปลี่ยน 1. นโยบายการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น
2. การจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก 24 ชั่วโมง: สนามเด็กเล่นสร้างปัญญา
3. การพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อสุขภาวะและการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน

ประเด็นหารือ การรวมประเด็นทั้ง 3 เป็นประเด็นเดียวกัน: ประเด็นทั้ง 3 มีความเกี่ยวข้องกันในมิติสุขภาพกิจกรรมทางกาย ถ้าร่วมกันได้ จะเป็นการดำเนินงานที่มีลักษณะการบูรณาการที่ดี ช่วยกันออกแบบ ได้ประโยชน์ในภาพรวมและสามารถใช้ให้คนทุกกลุ่มวัยใช้ประโยชน์ร่วมกัน ปลายทางสุดท้ายทุกเส้นทางนโยบายมุ่งสู่สุขภาวะทั้งหมด การขับเคลื่อนข้างหน้า คน สภาพแวดล้อม นโยบาย ที่ผ่านมามีการทำงานระดับโลก ระดับชาติทำเป็นยุทธศาสตร์กิจกรรมทางกาย ยุทธศาสตร์มีความเชื่อมโยงกันสามารถร่วมกันได้มีการสานพลังประเด็นยุทธศาสตร์ ทั้ง 3 ประเด็นไปเป็นเรื่องเดียวกัน มีจุดเน้นที่แตกต่างกัน

การทำงานภาคท้องถิ่นมองว่าสามารถร่วมประเด็นกันได้ เนื่องจากท้องถิ่นดำเนินงานในพื้นที่ครอบคลุมทุกเรื่อง สามารถบูรณาการขับเคลื่อนภาพรวมในชุมชนได้ เช่น พื้นที่สร้างสรรค์ สามารถใช้พื้นที่โรงเรียนได้ เป็นต้น และพื้นที่สาธารณะถ้ารวมกันออกแบบ สามารถมองเห็นความสำคัญของคนในครอบครัว สภาพแวดล้อมด้วยกันทั้งสามกลุ่ม ประเด็นหารือการแยกประเด็น: การแยกประเด็นทำให้โฟกัสชัดเจนขึ้น ถ้านำประเด็นมารวมกันจะทำให้นโยบายเจือจางไป และกระบวนการพัฒนาถ้ากระจายมากจะไม่ได้เนื้อหาที่แท้จริง เช่น เน้นโฟกัสสนามเด็กเล่น สถาปนิกได้ออกแบบงานเต็มที่ เป็นต้น

ประเด็นหารือเพิ่มเติม: สนามเด็กเล่น พบว่า มีบาดเจ็บและเสียชีวิตอยู่ ปัจจัยการบาดเจ็บเกิดจากการเรียนรู้ของเด็ก และมีสิ่งแวดล้อมของเครื่องเล่นทีปลอดภัย ทุกวันนี้ช่องว่างการออกแบบไม่เหมาะสม สถานการณ์ตอนนี้ไม่มีกำหนดมาตรฐานความปลอดภัย โจทย์หนึ่งที่สำคัญ ทำอย่างไรที่ทำให้เด็กเรามีสุขภาวะทีดี โดยใช้องค์ความรู้ แต่ละช่วงวัยมีองค์ความรู้อะไรนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์

พื้นที่สาธารณะ โดยใช้เมืองเป็นเครื่องมือกลไก ให้มองคนสุขภาวะเป็นตัวตั้ง ทำให้เมือง active ตัวตั้งต้นเกิดจากคน สุขภาวะก่อน และต่อเนื่องไปเรื่องอื่นๆ ต่อไป การวางผังเมืองเป็นเรื่องใหญ่ควรมองครอบคลุมหลากหลายด้าน เช่น ด้านสุขภาพ ควรมองเมืองลดโลกร้อน ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มพลังงานทดแทน ความเกี่ยวข้องกับการออกแบบอาคารสถานที่ทำงาน การออกแบบเส้นทางสัญจร การขนส่งสาธารณะออกแบบสวนสนามกีฬา เป็นส่วนหนึ่งที่เหมือนกัน