โครงการพัฒนาข้อเสนอและการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทย

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมจัดทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายและระบบการติดตามประเมินผลออนไลน์เว็บไซต์ 27 พฤษภาคม 2017
27
พฤษภาคม 2017รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การจัดทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายและระบบการติดตามประเมินผลออนไลน์เว็บไซต์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมเรื่องหลัก 2 เรื่อง คือ
1. เว็บไซต์ออนไลน์ พัฒนา ติดตาม ประเมินผลกิจกรรมทางกาย
2. สรุปการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3 ปี (2561-2563)

  1. เว็บไซต์ออนไลน์ พัฒนา ติดตาม ประเมินผลกิจกรรมทางกาย
    วัตถุประสงค์ของเว็บไซต์
  2. พัฒนาโครงการบนเว็บ
  3. ติดตามประเมินผลโครงการ
  4. รายงานผลการดำเนินงาน / การเงิน (เอกสารการเงิน / ส.1 / ส.3)
  5. การสื่อสารประชาสัมพันธ์ /แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
  6. เป็นฐานข้อมูล / คลังข้อมูลเพื่อการจัดการ
  7. พัฒนาขีดความสามารถ / พี่เลี้ยง
    การแลกเปลี่ยน การทำงานของ สำนัก 5 เป็นโครงการเชิงรุกมีโจทย์เฉพาะ มีโจทย์กรอบการสนับสนุนตามแผนงาน ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์กิจกรรมทางกาย (PA) ซึ่งไม่มีโครงการที่ประกาศรับแบบทั่วไป ซึ่งการดำเนินงานจะมีผู้รับผิดชอบหลักรับโจทย์จากสำนักไปดำเนินกิจกรรมโครงการย่อยต่อไป เช่น โครงการ Active play ในโรงเรียน จะมีหน่วยงาน สพฐ. รับผิดชอบ , โครงการวิ่ง จะมี่ อ.ณรงค์ รับผิดชอบหลัก, โครงการจักรยาน จะมี อ.ธงชัย รับผิดชอบหลัก เป็นต้น ซึ่งโครงการหลักของสำนักมีประมาณ 70 โครงการ

การเพิ่มเติมรายละเอียดในเว็บไซต์ 1. เพิ่มการกรอกข้อมูลกิจกรรมทางกายจากแบบสอบถามการสำรวจ PA ของอาจารย์บอล
2. ประยุกต์แบบฟอร์ม DOL ของ สสส. มารวมกับ เว็บ PA

การนำเว็บไซต์ไปใช้ต่อ
ประชุมพูดคุยกับผู้รับผิดชอบหลักเรื่องการนำเว็บไปใช้กับโครงการย่อย เช่น
- โครงการ Active play ในโรงเรียน จะมีหน่วยงาน สพฐ.
- โครงการวิ่ง ผู้รับผิดชอบ อ.ณรงค์
- โครงการจักรยาน ผู้รับผิดชอบ อ.ธงชัย
- โครงการศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกาย ผู้รับผิดชอบ อ.เกษม

  1. สรุปการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3 ปี (2561-2563) สถานการณ์กิจกรรมทางกาย

    • ตอนนี้ต้นทุนสุขภาพ ประมาณ 2,400 ล้านบาท สูญเสียไปจากการไม่มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ และทั่วโลกต้นทุนสุขภาพที่มีผลจำนวน 67,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี
    • กิจกรมทางกายของประเทศไทยในปี 2559 ร้อยละ 70.9  เป้าหมายระดับโลกร้อยละ 80
    • กลุ่มเด็กเป็นกลุ่มที่น่ากังวลมากที่สุด พฤติกรรมเนื่อยนิ่ง 13.25 ชั่วโมง/วัน การทำงานที่ผ่านมาของแผน สสส.
    • สสส.ทำงานกับเครือข่าย โซเชียล และการศึกษา 3 ปี ที่พัฒนาที่ผ่านมาใช้ยุทธศาสตร์ 2 เพิ่ม (เพิ่มกิจกรรมทางกาย และเพิ่มพื้นที่สุขภาวะ) 1 ลด (ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง)
    • ขับเคลื่อนงาน 3 กลุ่มวัย (วัยเด็กเยาวชน, วัยทำงาน, วัยผู้สูงอายุ) / 4 setting (บ้าน, โรงเรียน, องค์กร, ชุมชน), ผลักดันนโยบายโดยใช้ร่างยุทธศาสตร์ PA, พัฒนาฐานข้อมูล / บูรณาการสุขภาวะ, พัฒนาองค์กรกีฬาปลอดเหล้าบุหรี่ร้อยละ 10 , Across All Partners , โครงการ Active play / หลักสูตรลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ , ลดพุงลดโรค , ความร่วมมือกระทรวงแรงงาน / SME / ชุมชน,ผู้สูงอายุ , “Bast buy” / “good buy” , งาน ISPAH ได้ปฏิญญากรุงเทพ, การวิเคราะห์ใช้ SDG > 8 เป้าหมาย และการขับเคลื่อนงาน 5x5x5 (กลุ่ม x setting x ประเด็น) การแลกเปลี่ยนวางแผนยุทธศาสตร์กิจกรรมทางกาย

    องค์กรกีฬา:

    • องค์กรกีฬามีลักษณะแตกต่างจากองค์กรทั่วไป ควรแยกประเด็นออกมา เพราะองค์กรกีฬามี Impact กับสังคมคนละแบบ / องค์กรกีฬาสามารถสกัดธุรกิจแอลกอฮอล์และบุหรี่
    • ย้อนกลับไปดูองค์กรกีฬา > ใช้ประโยชน์จากองค์กรกีฬา (เป็นต้นแบบ / การรับรู้ใหม่ในสังคม)
    • ความเข้าใจกีฬาต้องการแข่งขันชิงชนะ และควรมีความเข้าใจกีฬาเพื่อสุขภาพ

    ความเข้าใจของสังคมกับเรื่องกิจกรรมทางกาย (PA):

    • กิจกรรมทางกาย PA ความเข้าใจของสังคมยังเข้าใจว่าเป็นการออกกำลังกาย
    • กิจกรรมทางกายขาดการมองในวิถีชีวิตประจำวัน แนวทางการจัดทำแผนยุทธศาสตร์
    • การวางแผนยุทธศาสตร์โดยใช้กรอบแนวคิด เรื่อง 3 กลุ่มวัย (วัยเด็กเยาวชน, วัยทำงาน, วัยผู้สูงอายุ) 4 setting (บ้าน, โรงเรียน, องค์กร, ชุมชน) และเครือข่าย (องค์กรกีฬา, จักรยาน, เดิน-วิ่ง, องค์กร, โครงสร้าง/ผังเมือง) และวางแผนให้ตอบตัวชี้วัดเรื่องดังนี้ 1. การจัดการความรู้/นวัตกรรม 2. การสร้างพื้นที่สุขภาวะต้นแบบ 3. การผลักดันขับเคลื่อนนโยบาย 4. การพัฒนาขีดความสามารถของเครือข่าย
    • หลักการจัดทำแผนควรคำนึงถึงหลายประการที่เกิดขึ้น เช่น มิติสร้างสรรค์ มิติการเดินทาง มิติการทำงาน และสอดคล้องกับวิถีชีวิตประจำวัน เป็นต้น
    • การนำปฏิญญากรุงเทพฯว่าด้วยกิจกรรมทางกาย มากำหนดยุทธศาสตร์กิจกรรมทางกายเป็นส่วนที่ต้องทำด้วย ดำเนินพันธกิจ นโยบาย แผนยุทธศาสตร์ องค์กร / แผนงาน / ยกระดับเรื่องของเชิงคุณภาพ
    • องค์กรกีฬานอกจากเป็นองค์กรการจัดการแข่งชัน ปลอดบุหรี่และแอลกอฮอล์แล้ว เพิ่มบทบาทของกิจกรรมทางกาย (PA) ในวิถีชีวิตประจำวัน ทั้งการจัดการความรู้ / พื้นที่สุขภาวะ / นโยบาย /พัฒนาขีดความสามารถ ความคิดเห็นต่อร่างแผนกิจกรรมทางกาย
    • สถานการณ์แนวโน้ม: เพิ่มปัจจัยภาวะคุกคาม ปัจจัยเอื้อที่มีอยู่ และอุปสรรคมีวิธีการจัดการอย่างไร / การแสดงผลข้อมูลโดยการใช้กราฟแสดงข้อมูล / เพิ่มความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
    • จุดเน้นของแผน: เพิ่มความสอดคล้องกับวิถีชีวิตประจำวัน /นำแนวทาง BKK มาวางแผน / เน้นองค์กรกีฬา / เน้นงานคุณภาพมากขึ้น
    • นิยามศัพท์/วัตถุประสงค์: เพิ่มการส่งเสริมวิถีชีวิตประชาชน / นวัตกรรมความรู้ / พื้นที่เป้าหมายแวดล้อม / องค์กรกีฬา
    • เป้าหมาย 3 ปี ตัวชี้วัดหลัก/ตัวชี้วัดร่วม: ใช้ข้อมูลสถิติ 11 ปี อ้างอิงจากสำนักงานสถิติ และตัวชี้วัดทางกิจกรรมทางกายจะนำไปประชุมปรึกษาอีกครั้ง เนื่องจากที่ผ่านมาตัวชี้วัด สสส. เป็นการมองแค่การออกกำลังกายเท่านั้น ยังไม่รวมตัวขี้วัดกิจกรรมทางกาย
    • แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (PA) :  มีพื้นที่นอกเหนือการทำงาน เช่น ภาคประชาชน เครือข่าย เป็นต้น / ผู้สูงอายุ พัฒนาทางกายเชิงระบบ / เน้นกระบวนการชุมชน ภาคประชาชนทำเอง / วัยรุ่น สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เหมาะสม / กลุ่มวัยทำงาน เพิ่มการสัญจร