โครงการพัฒนาข้อเสนอและการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทย

Work Shop เดินวิ่งจักรยาน (ณ ปทุมวัน )14 สิงหาคม 2017
14
สิงหาคม 2017รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมจัดทำกรอบการสนับสนุนโครงการเดินวิ่งจักรยาน 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 1. แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันตามกลุ่มวัย วิ่ง ว่ายน้ำ active play จักรยาน กีฬาไทย 2.แผนส่งเสริมพื้นที่ เช่น ลานกีฬาพัฒนา พื้นที่ภาษีเจริญ ที่พวกเราที่พยายามเอากิจกรรมไปลงเป็นพื้นที่ต้นแบบ ของ กทม. โดย ได้มีบรรจุเข้าไปในแผนของเขต 3.แผนงานอุปถัมภ์การกีฬา

  1. โครงการวิ่งสู่ชีวิตใหม่
    สถานการณ์โครงการดำเนินมา 10 กว่าปีที่ผ่านมา งานหนึ่งที่ทางทีมดำเนินการ คือ การส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายในรูปแบบต่างๆ การเดินวิ่ง เริ่มปี 2546 สนับสนุนไปแล้ว 151 โครงการหลัก รวมโครงการย่อยอีก รวมเป็นประมาณ 200 ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเดิน วิ่ง รองลงมา มีจักรยาน ว่ายน้ำ กีฬาไทย และ ไทเก็ก โยคะ
    วิธีการทำงานผ่านชมรมเดินวิ่งแห่งประเทศไทย โครงการร้อยละ 90 ส่งเสริมเรื่องการเดินการวิ่งเป็นส่วนใหญ่  9 ภูมิภาค ทั่วประเทศ สถิติการวิ่ง จำนวน 12 ล้านคน ของคนไทยออกกำลังกายโดยการวิ่ง เพิ่มจากปี 2557 และมีผู้หญิงมากกว่า

  2. โครงการว่ายน้ำ
    สถานการณ์สถิติการจมน้ำเสียชีวิตของเด็กยังมีจำนวนมาก เราจึงจัดร่วมมือกับสถาบันการพลศึกษา และได้โมลเดลต้นแบบ  ทำให้เด็กไทยประสบอุบัติเหตุทางน้ำลดลง แต่จำนวนตัวเลขไม่ได้ลดลง เพราะประชาการเด็กในแต่ละปีก็มีจำนวยเพิ่มขึ้น “ซึ่งสถิติ เด็กจมน้ำตายชั่วโมงละ 1 คน”
    วัตถุประสงค์ของโครงการ คือ ลดการเสียชีวิตในการจมน้ำ ว่ายน้ำเพื่อการบำบัด  เพิ่ม PA – ออกกำลังกาย กลุ่มเป้าหมาย 1. เยาวชน ผู้ไปกระทำก็คือ ครูประจำการ ครูแม่ไก่ ต้องเป็นวงการศึกษา

  3. ประชาชน ส่วนในชุมชนก็ต้องเป็นผู้นำกิจกรรมในชุมชนทั้งหลาย อบต. อปท. อบจ. เทศบาล ไปจัดกิจกรรมในชุมชน วิธีการ ได้แก่ เรียนเพื่อเป็นกิจกรรมทางกายของตนเอง เรียนเพื่อลดการสูญเสีย คือสามารถช่วยตัวเองได้ก่อนในการจมน้ำเรียน เพื่อให้รู้หลักการ หลักสูตรวิชาการที่ผลิตบุคลกรด้านนี้ / เรียนว่ายน้ำแล้วตะโกน โยน ยื่น ต่อได้ / Live saving อยากให้เด็กรู้จักพื้นฐานในการช่วยเหลือชีวิต คนอื่น การมองบริบทการว่ายน้ำเป็น 2 บริบท ชนบท เกิดมาแล้วเล่นน้ำ คลอง เมือง อยู่ในสระว่ายน้ำ ดังนั้นต้องดูวิธีการซึ่งมันจะแตกต่างกัน สังคมชนบท เราต้องไปเสริม เพราะอยู่กับธรรมชาติ จุดอ่อน : สมาคมว่ายน้ำ (มุ่งสู่กีฬาเป็นเลิศมากกว่า) / หลักสูตรของสถาบันการพละศึกษา ปัจจุบันจะรวบรัดทักษะและการสอน และจะเป็นหลักสูตรที่ advance ซึ่งไม่เหมาะ การร่วมงาน คือ สมาคมครูสอนว่าน้ำ , สมาคม life saving การออกแบบหลักสูตรว่ายน้ำได้ หลักสูตรที่ 1 การว่ายน้ำเพื่อเป็นกิจกรรมในการออกกำลังกายของตัวเอง หลักสูตรที่ 2 หรือจะสอนให้คนช่วยชีวิตคนอื่น / การทำหลักสูตรกับแหล่งน้ำธรรมชาติ เน้นการช่วยตัวเอง พาตัวเองเคลื่อนที่ไปข้างหน้า คือ อาศัยทักษะพื้นฐานคล้ายๆกัน แต่ทำอย่างไรเราถึงจะ save เรื่องความไม่สะอาดของแหล่งน้ำ / การผลิตสื่อในการให้ความช่วยเหลือ  / การอบรมครูกิจกรรมทางกาย  / หลักสูตรการว่ายน้ำในธรรมชาติ / นวัตกรรมแห่งน้ำในการขุดดิน การปล่อยน้ำชลประทาน / หลักสูตรผลิตครูพลศึกษา ประเทศไทยเป็นเมืองแม่น้ำ เด็กส่วนใหญ่กลับว่าน้ำไม่เป็น ทำให้มีอุบัติเหตุทางน้ำสูง จึงจำเป็นต้องการมีการบริหารจัดการ ตัวอย่างการทำวิจัยเรื่องการเรียนรู้การว่ายน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ ที่ จ.เชียงราย เป็นตัวอย่างที่ดี


    PA ว่ายน้ำ
    วัตถุประสงค์  1. เพิ่ม PA  2. เพิ่มการรอดชีวิตจากอบุติเหตุจมน้ำ 3.ว่ายน้ำเพื่อการบำบัด
    เป้าหมาย ? ยุทธศาสตร์หลัก? ยุทธศาสตร์เชิงประเด็น
    การจัดการความรู้ /นวัตกรรม /สื่อ:  หลักสูตรในเมือง /ในชนบท / การช่วยเหลือ / ปฐมพยาบาล
    การพัฒนาศักยภาพเครือข่าย : สถาบันการพลศึกษา / เครือข่ายอาสาสมัคร
    การมีพื้นที่ต้นแบบ: โรงเรียน
    การขับเคลื่อนนโยบาย : ท้องถิ่น
    องค์กรกีฬา: ว่ายน้ำขับเคลื่อน PA


  4. มวยไทย กีฬาภูมิปัญญาไทย
    มวยไทยที่เป็นภูมิปัญญาไม่ค่อยได้รับความนิยมจากสื่อ รวมทั้งการละเล่น การใช้อุปกรณ์ที่หาได้ง่าย เช่น ผ้าขาวม้ากับอุปกรณ์ เพื่อที่จะทำให้คนไทยหันมาเพิ่มกิจกรรมทางกายได้มากขึ้น หัวใจสำคัญ คือองค์ความรู้ และนำความรู้มาทำต่อ เช่น e book
    สิ่งที่ขาดไป คือ ภูมิปัญญาไทยป้องกันตัว ช่วยเหลือคน คีตะมวยไทย แอร์โรบิคมวยไทย

PA กีฬาภูมิปัญญาไทย
ภูมิปัญญา – การออกกำลังกาย , มวยไทย
กีฬาไทย –  หมากเก็บ , ไกวเชือก, วิ่งกระสอบ, ตะกร้อ
วัตถุประสงค์  1. เพิ่ม PA 2. อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย / วิถีชีวิตไทย 3. เพิ่มความสมัครสมาน สันติสุข สุขภาวะทางปัญญา จิตวิญญาณ สุขภาวะทางสังคม เอื้ออาทร
กลุ่มเป้าหมาย / เป้าหมาย
การจัดการความรู้ :
- ภูมิปัญญาไทย (รวบรวมยกระดับภูมิปัญญาไทย) -  more than sport ทำสื่อสาร รณรงค์
- การจัดทำหลักสูตร เข้าสู่ระบบการศึกษา
การขับเคลื่อนนโยบาย
- ระดับท้องถิ่น
การพัฒนาศักยภาพเครือข่าย
พื้นที่สุขภาวะ : โรงเรียน หน่วยราชการ