โครงการพัฒนาข้อเสนอและการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทย

ประชุมคณะทำงานวิชาการ ครั้งที่ 1 สมัชชา PA (กลุ่มย่อย) พิจารณาปรับปรุงข้อเสนอนโยบายเฉพาะประเด็นว่าด้วย การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น (Physical Activity)5 กันยายน 2017
5
กันยายน 2017รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงานวิชาการ ครั้งที่ 1 สมัชชา PA (กลุ่มย่อย) พิจารณาปรับปรุงข้อเสนอนโยบายเฉพาะประเด็นว่าด้วย การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น (Physical Activity)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมคณะทำงานวิชาการและคณะทำงาน พิจารณาปรับปรุงข้อเสนอนโยบายเฉพาะประเด็นว่าด้วย การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น (Physical Activity) ปรับร่างมติ ดังนี้
1) ขอให้สมาชิกเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัด ร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนดำเนินการดังนี้ 1.1 รณรงค์ ส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนเกิดการรับรู้เข้าใจและมีส่วนร่วมในการจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อนำไปสู่การมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน
1.2 ใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพในพื้นที่ เพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะระดับจังหวัด ในการ“ส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัย มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น” 1.3 ผลักดันนโยบาย“การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัย มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น” เข้าสู่การดำเนินงานของคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ 2) ขอให้กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการสำนักงานสถิติแห่งชาติสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ (PARC) สถาบันวิชาการที่เกี่ยวข้อง และองค์กรด้านสื่อดำเนินการ 2.1 สนับสนุนให้เกิดการจัดการความรู้ สร้างนวัตกรรม การสื่อสารเพื่อการรับรู้และความเข้าใจ เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายของประชาชน 2.2 สร้างระบบฐานข้อมูลและการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อการติดตามการดำเนินงานการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของคนทุกกลุ่มวัย 2.3 สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาความสามารถของคน องค์กร เครือข่ายเพื่อให้มีความรอบรู้ในการดำเนินงานพัฒนากิจกรรมทางกายให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล 3) ขอให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับ องค์กรวิชาชีพสถาปนิกและผังเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการดังต่อไปนี้ ๓.๑ วางหลักเกณฑ์หรือปรับปรุงระเบียบในการออกแบบการใช้พื้นที่ เส้นทางการสัญจรทั้งในเมืองและชุมชน และพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนทุกกลุ่มวัย ๓.๒ จัดสรรและจัดการพื้นที่ในการครอบครองของแต่ละองค์กรให้มีพื้นที่ที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนทุกกลุ่มวัยในชุมชน 4) ขอให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สนับสนุนให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่/ท้องถิ่นมีแผนงานและโครงการที่เกี่ยวข้องกับการมีกิจกรรมทางกายของคนทุกกลุ่มวัยในชุมชนโดยสอดคล้องกับแนวคิดนโยบายเรื่องแผนเดียว (One Plan)ของกระทรวงมหาดไทย 5) ขอให้กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายให้สถานศึกษา จัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการมีกิจกรรมทางกาย จนก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมการมีกิจกรรมทางกายในสถานศึกษา 6) ขอให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ร่วมกับภาคธุรกิจเอกชนมีนโยบายให้สถานประกอบการจัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการมีกิจกรรมทางกายจนก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมขององค์กร 7) ขอให้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)และศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพเป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับหน่วยงานวิชาการอื่น ๆ ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้มาตรการทางภาษีและมาตรการทางการเงิน รวมถึงองค์ความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น 8) ขอให้กรมประชาสัมพันธ์ ร่วมกับ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เป็นหน่วยหลักในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ ทุกช่องทางเพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกาย และลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง 9) ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 12