โครงการพัฒนาข้อเสนอและการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทย

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 10 20 ธันวาคม 2017
20
ธันวาคม 2017รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 20 ธันวาคม 2560
- พิธีเปิด/ปาฐกถาพิเศษ/พิธีเปิดธรรมนูญพระสงฆ์แห่งชาติ - รับรองระเบียบวาระการประชุม/รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
- การประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินการประชุม
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ

วันที่ 21 ธันวาคม 2560
- ปาฐกถาพิเศษ - การประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินการประชุม
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ

วันที่ 22 ธันวาคม 2560
- เสวนา 10 ปี สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ : บทเรียน ความสำเร็จ และความท้าทาย - แถลงข่าว มติสมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 10
- เวที “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ สู่ทศวรรษที่ 2 : มองให้ไกล ไปให้ถึง” - การประกาศชื่นชมรูปธรรมการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ - รับรองร่างมติ/ปาฐกถาพิเศษ/พิธีปิด/พิธีส่งมอบตำแหน่งประธาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้มติกิจกรรมทางกาย ดังนี้

รายงานฉบับที่ หนึ่งของคณะอนุกรรมการดำเนินการประชุม คณะที่ ๒ คณะอนุกรรมการดำเนินการประชุม คณะที่ ๒ ได้ประชุมครั้งที่หนึ่ง และครั้งที่สามเมื่อวันที่ ๒๐ และ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๐ โดยมีนางภารนี สวัสดิรักษ์เป็นประธานในที่สุดที่ประชุมมีมติเห็นควรเสนอต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่สิบให้รับรองมติประกอบระเบียบวาระเพื่อพิจารณาต่างๆ ดังต่อไปนี้ ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องเพื่อพิจารณา ๒.๑การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

มี มติ ๑ฉบับ ตามที่ปรับแก้

ระเบียบวาระที่๒.๑

การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่สิบ ได้พิจารณารายงานเรื่อง การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น
รับทราบว่า การมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอและการมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจมีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคทางกายและโรคทางจิตโดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อ(NCDs) ทั้งโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือดรวมถึงการเจ็บป่วยอื่นๆ ทุกระบบของร่างกายทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อความพิการ ทุพพลภาพ การเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น ตระหนักว่า การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอช่วยให้สุขภาพดี มีกล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรง ประสาทสัมผัสและการทรงตัวดี ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาดีขึ้น มีสมาธิในการเรียน เกิดความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัวและสังคมจากการมีกิจกรรมร่วมกัน กิจกรรมทางกายบางประเภท เช่น การใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ยังส่งผลต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ช่วยลดมลภาวะต่างๆได้อีกด้วย ชื่นชมว่าสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทยกระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานครเครือข่ายภาคประชาสังคมและภาคเอกชนได้สนับสนุนและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายของประเทศไทยให้เพิ่มขึ้น กังวลว่า ปัจจุบันสังคมไทยยังขาดการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องและเพียงพอด้านกิจกรรมทางกาย รวมถึงขาดพื้นที่ที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายและยังขาดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในกระบวนการจัดการเพื่อสนับสนุนการมีกิจกรรมทางกาย เห็นว่าแนวทางสำคัญในการส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นได้แก่การสร้างความรู้ ความเข้าใจ การจัดการความรู้ สร้างนวัตกรรมและการสื่อสารการพัฒนาความสามารถของคน องค์กร เครือข่ายการสร้างพื้นที่ที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายการขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะทั้งในระดับชาติและพื้นที่ โดยสนับสนุนให้มีกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและกลไกระดับพื้นที่โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งซึ่งต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการเข้ามาร่วมคิด ร่วมทำ ในทุกขั้นตอน โดยการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ลดพฤติกรรมเนือยนิ่งจะทำให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพแข็งแรง ส่งผลให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความกระฉับกระเฉง นำประเทศไปสู่การพัฒนาในมิติต่างๆที่ยั่งยืนต่อไป

จึงมีมติดังต่อไปนี้ ๑.ขอให้สมาชิกเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัด และภาคีเครือข่ายพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานทางปัญญาร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ดำเนินการดังนี้

๑.๑ รณรงค์ ส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ จัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้ประชาชนเกิดการรับรู้ เข้าใจ ตระหนักและมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการกิจกรรมและการจัดพื้นที่เพื่อนำไปสู่การมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น

๑.๒ ใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพในพื้นที่ เพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะ ยุทธศาสตร์ แผนและโครงการขององค์กรทุกระดับ ในการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

๑.๓ เสนอนโยบายการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นต่อคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน(กขป.) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับเขต (พชข.) เพื่อสนับสนุนให้มีการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

๒. ขอให้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานสถิติแห่งชาติสถาบันวิชาการ กรุงเทพมหานครและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนองค์กรด้านสื่อดำเนินการ

๒.๑สนับสนุนให้เกิดการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก การจัดการความรู้ สร้างนวัตกรรมและการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายของประชาชนที่สอดคล้องกับบริบทของสังคม ๒.๒การพัฒนาฐานข้อมูลและการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อการติดตามการดำเนินงานการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของคนทุกกลุ่มวัย ๒.๓ สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาความสามารถของคนองค์กรเครือข่ายชุมชนเพื่อให้มีความรอบรู้ในการดำเนินงานเพิ่มกิจกรรมทางกายให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

๓. ขอให้กระทรวงมหาดไทยโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ กระทรวงคมนาคม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับ องค์กรวิชาชีพสถาปนิกและผังเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาสังคม ดังต่อไปนี้

๓.๑ วางหลักเกณฑ์หรือปรับปรุงระเบียบในการออกแบบและการใช้พื้นที่ เส้นทางการสัญจรทั้งในเมืองและชุมชน และพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายและให้มีมาตรการหรือข้อตกลงในการใช้พื้นที่สาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายของคนทุกกลุ่มวัย

๓.๒ จัดให้มีและจัดการพื้นที่ในการครอบครองของแต่ละองค์กรให้มีพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่เอื้อและกระตุ้นต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนทุกกลุ่มวัยในชุมชน

๔.ขอให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมกิจการสตรีและครอบครัว ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง มีนโยบาย แผนงานและโครงการ เพื่อส่งเสริมให้สถาบันครอบครัวมีกิจกรรมทางกายร่วมกันเพิ่มมากขึ้น

๕.ขอให้กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานครและหน่วยงานอื่นที่มีการจัดการศึกษา มีนโยบายและสนับสนุนงบประมาณให้สถานศึกษาทุกระดับ ทั้งที่เป็นสถานศึกษาของรัฐและเอกชน จัดให้มีหลักสูตร กิจกรรมและสร้างเสริมสภาพแวดล้อมและการดูแลความปลอดภัยที่เอื้อให้เกิดการมีกิจกรรมทางกายของบุคลากร นักเรียน นักศึกษาและชุมชน

๖.ขอให้กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจเอกชน กำหนดให้มีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้สถานประกอบการจัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการมีกิจกรรมทางกาย นำไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง พร้อมทั้งส่งเสริมบุคลากรในองค์กร ให้มีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

๗.ขอให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษสนับสนุนงบประมาณและให้กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่หรือท้องถิ่น มีแผนงานและโครงการที่เกี่ยวข้องกับการมีกิจกรรมทางกายของคนทุกกลุ่มวัยในชุมชน โดยสอดคล้องกับแนวคิดนโยบายเรื่องแผนเดียว (One Plan) ของกระทรวงมหาดไทย

๘.ขอให้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับหน่วยงานวิชาการอื่นๆ ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้มาตรการทางภาษีและมาตรการทางการเงิน รวมถึงองค์ความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นเพื่อเสนอต่อกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาดำเนินการโดยมุ่งเน้นให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

๙.ขอให้สำนักนายกรัฐมนตรีโดยกรมประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)องค์กรสื่อสารมวลชนต่างๆ และเครือข่ายสื่อชุมชนเป็นแกนหลักร่วมกับเครือข่ายสื่ออื่นๆ ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายและลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของคนทุกกลุ่มวัย

๑๐.ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติรายงานความก้าวหน้า ต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่๑๒

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2,000 คน จากที่ตั้งไว้ 2,000 คน
ประกอบด้วย

ภาคีเครือข่ายสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ