โครงการพัฒนาข้อเสนอและการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทย

การพิจารณาร่างข้อเสนอ (ร่าง 1 ) โดยภาคีที่เกี่ยวข้อง25 กันยายน 2017
25
กันยายน 2017รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การประชุมเวทีรับฟังความเห็นเฉพาะประเด็นของผู้มีส่วนได้เสียว่าด้วย การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น วันที่ 25 กันยายน 2560 เวลา 9.00 – 15.00 น. ณ ห้อง Topaz 12 โรงแรม ริชมอนด์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

9.00 – 9.15 น. กล่าวเปิด และบรรยายเรื่อง กระบวนการเวทีรับฟังความเห็นเฉพาะประเด็นของผู้มีส่วนได้เสีย ว่าด้วย การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นโดย ผศ.ดร.ทพ.วีระศักดิ์ พุทธาศรี รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

9.15 – 9.45 น. บรรยายเรื่อง ความสำคัญของการเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อคุณภาพชีวิตของคนไทย โดย ผศ.ดร.ภก.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์

9.45 – 10.15 น. การนำเสนอ เอกสารการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น 1) เอกสารหลัก
2) เอกสารร่างมติ
โดย ผศ.ดร.ภก.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์

10.15 – 10.30 น. รับประทานอาหารว่าง

10.30 – 12.00 น. การแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อให้ความเห็นต่อเอกสารหลักและร่างมติ   แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 15-20 คน

12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 15.00 น. การนำเสนอผลการแบ่งกลุ่มย่อย
  การอภิปรายเพื่อให้ความเห็นต่อเอกสารหลักและร่างมติ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เอกสารปรับดังไฟล์แนบ

ความคิดเห็นจากเวทีรับฟัง
เอกสารหลัก
๑. นิยามศัพท์ - เปลี่ยนคำว่า เช่น เป็น ได้แก่
- เพิ่มประเด็นเผาพลาญพลังงาน
- บรรทัดที่ 8 ตัดคำว่า รวมถึง
- เพิ่มคำว่า เอนๆ หลังคำว่า นอนๆ

๒. สถานการณ์และการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง - แบ่งกลุ่มวัยให้ชัดเจน เพราะมีผลต่อร่างมติ - PA กระทบต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง
- เพิ่มการอ้างอิงข้อมูล
- เพิ่มการเสนอข้อมูล PA ที่ส่งผลกระทบ
- ให้เพิ่มรายละเอียดการอธิบาย (Life Course) - ควรทำ footnote นิยาม PA เพียงพอ ว่า คือ ปานกลาง อย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์ หนัก อย่างน้อย 60 นาที/สัปดาห์ ในผู้ใหญ่ และปานกลางหรือหนัก 60 นาที/วัน ในเด็ก และนำ บรรทัดที่ 23-30 ไปไว้ใน footnote ด้วย - ควรยกตัวอย่างเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางกาย เช่น การขัดดิน ยกของหนัก การเดินมาทำงาน
- ตะโพก เปลี่ยนเป็น สะโพก

๓. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีกิจกรรมทางกาย ปัจจัยด้านระบบและกลไก > เพิ่มเนื้อหาประสิทธิภาพขององค์กร

๔. แนวทางการดำเนินงานหลักการ การจัดการ ในการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย - ปรับชื่อ กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ - ข้อ ๔.๕ การสร้างกลไกความร่วมมือขององค์กรฯ....เพิ่มข้อความทั้งภาครัฐ (ทุกกระทรวง/ทบวง กรม) เอกชน รัฐวิสาหกิจ เครือข่ายศาสนา และภาคประชาชน
- ควรเพิ่มเนื้อหาเรื่องประสิทธิภาพในการบริการภายในองค์กร เพื่อเอต่อกิจกรรมทางกาย พื้นที่ตัวอย่าง
- เพิ่มตัวอย่างทั้ง 4 ภาค และครอบคลุม - ตัวอย่างใส่ภาค ผนวก
- ยกตัวอย่างให้ครบ ไม่ควรเอาเรื่องกีฬามาเป็นตัวอย่าง - หาพื้นที่ตัวอย่างให้ชัดเจน

๕.การดำเนินการที่ผ่านมาและผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้น - การดำเนินการที่ผ่านมาและผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้น ตอนนี้ภาพรวมจะเป็น นโยบายและแผนงานที่เกี่ยวข้องกับ PA
ดังนั้นการเขียนควรเขียนให้กล่าวถึงการดำเนินการที่ผ่านมาและมีผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้น
- ข้อ 2) ระดับหน่วยงาน เพิ่ม ...กรมอุทยานสัตว์ป่า พันธุ์พืช และ ศาสนสถาน วัด

๖. ระบบและกลไกที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย - เพิ่มหน่วยงาน....เครือข่ายศาสนา กระทรวง ทบวง กรม

เอกสารร่างมติ
ความคิดเห็นจากเวทีรับฟัง
- เสนอเปลี่ยนชื่อเป็น “การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัย ทุกอาชีพ มีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น”

มติที่ 1 : ขอให้เครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดเป็นแกนหลัก ประสานการทำงานร่วมกับเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ และเครือข่ายหลักประกันสุขภาพภาคประชาชน ในการทำงานขับเคลื่อนให้เกิดการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนทุกกลุ่มวัยในทุกพื้นที่และขอให้กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สนับสนุนและหนุนเสริม การดำเนินงานดังกล่าว

ความคิดเห็นจากเวทีรับฟัง
- มติข้อที่ 1 มีสอง “ขอ” ขอ แรก ให้ดำเนินการ, ขอ ที่สอง ให้สนับสนุน โดยเสนอ ให้ตัด ขอ ที่สองไปเลย เพราะ สธ สสส สช สปสช มี actions ที่ต้องทำ ตามมติ ชัดเจนในข้ออื่นๆ อยู่แล้ว - มติข้อที่ 1 เพิ่มหน่วยงาน คือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ซึ่งเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี - เพิ่มข้อความหลังสมัชชาจังหวัด....เป็น ร่วมกับ กขป.
- ตัดคำว่า “ขอ”.ในบรรทัดที่ 4 หน้า 2/2
- เพิ่ม เพิ่มเติมภาคธุรกิจ ภาคเอกชน และภาคประชาชนและเครือข่ายอื่น ๆ

มติที่ 2 ขอให้กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับ หน่วยงาน องค์กร ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนให้เกิดการจัดการความรู้ การสร้างนวัตกรรม การสร้างการรับรู้ความเข้าใจด้านกิจกรรมทางกาย ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาความสามารถของคน องค์กร เครือข่ายเพื่อให้มีความรอบรู้ด้านกิจกรรมทางกาย ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพ

ความคิดเห็นจากเวทีรับฟัง
- มติข้อที่ 2 ให้มี องค์กรด้านสื่อ รับผิดชอบชัดเจน แต่ต้องหาข้อมูลเพิ่มว่า สื่อ คือ ใคร เช่น TPBS แล้วประสานให้เขาทราบก่อน เพื่อพร้อมทำงาน
- มติข้อที่ 2 เพิ่ม “จนเกิดเป็นวัฒนธรรมด้านการมีกิจกรรมทางกายของประชาชน”
- เพิ่มข้อความ บรรทัดที่ 7 ขอให้กรมอนามัย กรมอื่นๆ
- เพิ่มข้อความบรรทัดที่ 9 การสร้างนวัตกรรม และการสื่อสารเพื่อเพิ่มการรับรู้
- ข้อ 2 รวมกับข้อ 6 - เพิ่มหน่วยงานสถาบันการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ(เพิ่มเป็นหน่วยงานหลัก) - และ…..ระบุเพิ่มเติมผลกระทบที่จะส่งผลต่อการลด NCDs

มติที่ 3. ขอให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับ องค์กรวิชาชีพสถาปนิกและผังเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการดังต่อไปนี้ 3.1. วางหลักเกณฑ์ในการออกแบบการใช้พื้นที่ เส้นทางการสัญจรทั้งในเมืองและชุมชน และพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนทุกกลุ่มวัย 3.2. จัดสรรและจัดการพื้นที่ในการครอบครองของแต่ละองค์กรให้มีพื้นที่ที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนทุกกลุ่มวัยในชุมชน

ความคิดเห็นจากเวทีรับฟัง - มติข้อที่ 3 เสนอให้มี กระทรวงคมนาคม และกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา หลังกระทรวงมหาดไทย เพราะดูแลเรื่องทางสัญจร เช่น ทางจักรยาน โดยกรมทางหลวง และกรมพลศึกษา - มติข้อที่ 3 เสนอให้เพิ่ม กระทรวงกลาโหม เพราะทำ shared facilities ในข้อ 3.2 โดยทำ MOU กับกรมพลศึกษา ที่ผ่านมา

มติที่ 4 ขอให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานพิจารณาออกระเบียบหลักเกณฑ์ที่ส่งเสริมให้สถานประกอบการ ภาคธุรกิจเอกชนจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการมีกิจกรรมทางกายของคนทำงาน

ความคิดเห็นจากเวทีรับฟัง - มติข้อที่ 4 เพิ่ม “จนก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรในการมีกิจกรรมทางกาย” หลังคำว่า คนทำงาน
- มติข้อที่ 4 เพิ่ม “กิจกรรม” เพิ่มจากสภาพแวดล้อม เพื่อเน้นให้มีกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร นอกจากสภาพแวดล้อม ที่อาจเป็นโครงสร้างเพียงอย่างเดียว - เพิ่มมติที่ 4 ขอให้กระทรวงศึกษาธิการ พิจารณาออกระเบียบหลักเกณฑ์ที่ส่งเสริมให้สถานศึกษา จัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการมีกิจกรรมทางกายของเด็กนักเรียน จนก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมสถานศึกษาในการมีกิจกรรมทางกาย และเปลี่ยนข้อมติ 4 เดิม เป็น 5

มติที่ 5 ขอให้กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สนับสนุนให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นมีแผนงานและโครงการที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนทุกกลุ่มวัยในชุมชน โดยสอดคล้องกับแนวคิดในนโยบายเรื่องแผนเดียว (One Plan) ของกระทรวงมหาดไทย

มติที่ 6 ขอให้กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับ ศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกาย (PARC) สำนักงานสถิติแห่งชาติ สร้างระบบฐานข้อมูลและการจัดการเพื่อการติดตามการดำเนินงานการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของคนทุกกลุ่มวัยอย่างเป็นระบบ (Single Database) เพื่อการเข้าถึงข้อมูลและความรู้ของบุคคลทั่วไป

ความคิดเห็นจากเวทีรับฟัง - ตัดไปรวมกับมติที่ 2

มติที่ 7 ขอให้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และ ศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกาย (PARC) เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับหน่วยงานวิชาการอื่น ๆ ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้มาตรการทางภาษี หรือมาตรการทางการเงินที่เอื้อประโยชน์ให้เกิดกิจกรรมทางกายที่เพิ่มขึ้น ความคิดเห็นจากเวทีรับฟัง - บรรทัดที่ 32 เปลี่ยนคำว่า “หรือ” เป็น “และ” - บรรทัดที่ 33 เติมข้อความ หลังทางการเงิน....และองค์กรความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

มติที่ 8 ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๑๑

มติอื่นๆ
เพิ่มข้อ 9 กรมประชาสัมพันธ์ กับ กสทช. และสื่อ
ขอให้กรมประชาสัมพันธ์ ร่วมกับ กสทช.เป็นหน่วยหลักในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ ทุกช่องทางเพื่อการเพิ่มกิจกรรมกรรมทางกาย และลดภาวะเนือยนิ่ง

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานพัฒนาข้อเสนอโครงการ ภาคีเครือข่ายสมัชชาจังหวัด เครือข่ายนักวิชาการ เครือข่าย สสส.