โครงการพัฒนาข้อเสนอและการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทย

การประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการทำงาน (Road Map) กลุ่มงานพื้นที่สุขภาวะ แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 5 ตุลาคม 2017
5
ตุลาคม 2017รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การประชุมเชิงปฏิบัติการแผนการทำงาน (Road Map) กลุ่มงานพื้นที่สุขภาวะ แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
9.30 - 9.45 น. นำเสนอยุทธศาสตร์ และเป้าหมาย 3 ปี และ 10 ปี ของแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดย ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผอ.สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ (สำนัก 5) 9.45 -10.00 น. แนะนำกระบวนการ โดย ดร.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
10.00- 12.00 น. เครือข่ายพื้นที่สุขภาวะ นำเสนอ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เป้าหมายสำคัญ ก้าวต่อไป และทิศทางการทำงานร่วมเป้า 10 ปี สสส. (เครือข่ายละ 10 นาที)

12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 16.00 น. ร่วมวางแผนการทำงาน (Road Map) กลุ่มงานพื้นที่สุขภาวะ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เป้าตามประเด็นยุทธศาสตร์
การจัดการความรู้ นวัตกรรม และสื่อ
1) การสร้างหลักสูตรพัฒนาพื้นที่สุขภาวะที่เอื้อต่อวิถีชีวิตประจำวัน ในระดับ setting บ้าน โรงเรียน ชุมชน และองค์กร ซึ่งหลักสูตรมาจากการมีส่วนร่วมในการออกแบบของชุมชน ภาครัฐ และเอกชน
2) การพัฒนารูปแบบ ความรู้ นวัตกรรมของพื้นที่สุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก เช่น การพัฒนาสนามเด็กเล่นที่สามารถกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการด้านสมอง เป็นต้น
3) การพัฒนานวัตกรรมใหม่ที่สร้างแรงจูงใจ และกระตุ้นการมีกิจกรรมทางกาย เช่น แอปพลิเคชั่นกิจกรรมทางกาย การเพ้นสีเส้นทางเท้าสัญจรดึงดูดการเดินทางบนเส้นทางเท้า การทำสนามฟุตบอลรูปตัว L เป็นต้น
4) การบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมกิจกรรม เช่น สถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะ วิทยาศาสตร์สุขภาพ จิตวิทยา เทคโนโลยี ดิจิตอล เป็นต้น โดยการนำองค์ความรู้ของศาสตร์นั้นๆ มากำหนดรูปแบบการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
5) การถอดบทเรียนพื้นที่สุขภาวะ โดยรวบรวมองค์ความรู้ ฐานข้อมูล ย่านเมืองเก่า วัฒนธรรมและประเพณี
6) การสื่อสารกิจกรรมทางกายพื้นที่สุขภาวะที่เข้าถึงทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม

การพัฒนาความสามารถของเครือข่าย
1) การส่งเสริมการเรียนรู้กิจกรรมทางกายของเครือข่าย 2) การสร้างพลังเครือข่ายได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และบูรณาการขับเคลื่อนงานพื้นที่สุขภาวะร่วมกัน

การสร้างพื้นที่สุขภาวะต้นแบบ
1) การสร้างพื้นที่สุขภาวะต้นแบบด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่สอดคล้องกับบริบทวัฒนธรรมวิถีชีวิตชุมชน
2) การขยายพื้นที่สุขภาวะต้นแบบ สู่พื้นที่ใหม่ โดยครอบคลุมทั่วประเทศ
3) การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีพื้นที่ให้เอื้อต่อการมีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เอื้อต่อกิจกรรมทางกาย 4) การบูรณาการพื้นที่สุขภาวะที่เชื่อมต่อกิจกรรมทางกายกับอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น พัฒนาย่านถนนคนเดินกับแผงขายอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นต้น

การผลักดันนโยบาย
1) การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ เอกชน ในการเปิดพื้นที่ใช้ประโยชน์ให้เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย
2) การผลักดันมาตรการให้มีพื้นที่สุขภาวะและการมีกิจกรรมทางกาย ในสถานประกอบการ และโรงงานอุตสาหกรรม
4) การสร้างความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการในการออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้การสอนที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายในสถาบันการศึกษา
5) การส่งเสริมนโยบายของการเคหะแห่งชาติทั่วประเทศ ให้มีระบบการจัดการพื้นที่สุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย

องค์กรกีฬาเป็นกลไกในการขับเคลื่อน PA และเป็นองค์กรที่มีนโยบายปลอดเหล้าบุหรี่
1) ส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะในองค์กรกีฬาขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายและเป็นองค์กรที่มีนโยบายปลอดเหล้าบุหรี่

เป้าประสงค์ 1 ปี – 3 ปี
1) พื้นที่สุขภาวะต้นแบบ 4 setting (บ้าน, โรงเรียน, องค์กร, ชุมชน) เพิ่มขึ้นอย่างน้อย xxx พื้นที่
2) เครือข่ายพื้นที่สุขภาวะขับเคลื่อนประเด็นร่วมกันเพิ่มขึ้นจำนวน xxx เครือข่าย
3) พื้นที่สุขภาวะที่มีกิจกรรมทางกายสอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมเพิ่มขึ้นจำนวน xxx เรื่อง
4) การขยายนโยบายที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่สุขภาวะจำนวน xxx นโยบาย

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

สสส. ภาคีเครือข่ายกิจกรรมทางกาย