โครงการพัฒนาข้อเสนอและการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทย

การประชุมการพัฒนาเนื้อหาหลักสูตร เครื่องมือ ตัวอย่างโครงการ และกระบวนการเรียนรู้ โครงการกิจกรรมทางกาย13 ตุลาคม 2017
13
ตุลาคม 2017รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมปฏิบัติการพัฒนาเนื้อหาหลักสูตร เครื่องมือ ตัวอย่างโครงการ และกระบวนการเรียนรู้ โครงการกิจกรรมทางกาย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การพัฒนาเนื้อหาหลักสูตร เครื่องมือ ตัวอย่างโครงการ และกระบวนการฝึกอบรม

โครงการที่ดี 1. จัดการทำให้ คน เก่งขึ้น 2. ชุมชนเข้มแข็งขึ้น 3. สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแก้ปัญหามากขึ้น 4. เกิดกลไก ระบบ กระบวนการที่จะเกาะติด 5. เกิดนโยบายสาธารณะ เช่น แผนท้องถิ่น

ตัวอย่าง โครงการจัดการภาวะโรคเรื้อรังในชุมชน 1. ความเป็นมา : สถานการณ์ :ชุมชนมีกลุ่มเสี่ยง .................... คน คิดเป็น .................... % ของคนในชุมชน ชุมชนมีผู้ป่วย ....................คน คิดเป็น .................... % ของคนในชุมชน เด็ก/เยาวชนในโรงเรียนที่อ้วน ....................คน คิดเป็น .................... % ของนักเรียน สาเหตุสำคัญ 1) พฤติกรรมการบริโภค (อธิบาย....................) 2) พฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกาย (อธิบาย....................) แนวทางสำคัญ1) เพิ่มการบริโภคผัก – ผลไม้ 2) เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน/การทำงาน/การออกกำลังกาย

  1. วัตถุประสงค์เป้าหมายตัวชี้วัด วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด 1) สร้างแกนนำเพื่อ 1) แกนนำโรงเรียน ......... คน 1) เกิดกลุ่มแกนนำในโรงเรียน
    การจัดการภาวะโรคเรื้อรัง 2) แกนนำหน่วยงาน ......... คน 2) เกิดกลุ่มแกนนำในหน่วยงาน 3) แกนนำชุมชน ......... คน 3) เกิดกลุ่มแกนนำในชุมชน 4) แกนนำผู้สูงอายุ ......... คน 4) เกิดกลุ่มแกนนำผู้สูงอายุ

    2) การปรับเปลี่ยน 1) กลุ่มเสี่ยง ......... คน 1) การบริโภคผัก - ผลไม้ 400 g ต่อวัน พฤติกรรมบริโภค 2) กลุ่มผู้ป่วย ......... คน 2) โรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก มีการใช้เมนู 3) กลุ่มผู้สูงอายุ ......... คน อาหารเช้า - อาหารกลางวัน 4) กลุ่มเด็กนักเรียน ......... คน 3) มีตำรับอาหาร – ผักสุขภาพ ในชุมชน ขยายผลไปสู่หน่วยงาน

    3) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 1) กลุ่มเสี่ยง ......... คน 1) โรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก มีชมรม การมีกิจกรรมทางกาย 2) กลุ่มผู้ป่วย ......... คน หลักสูตรกิจกรรมทางกาย 3) กลุ่มผู้สูงอายุ ......... คน 2) หน่วยงาน มีแผน โครงการ
    4) กลุ่มเด็กนักเรียน ......... คน เพิ่มกิจกรรมทางกาย 3) ชุมชนท้องถิ่น มีแผน โครงการ
    เพิ่มกิจกรรมทางกาย 4) ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางกาย ควบคู่กับการบริโภค

  2. วิธีการ :จำแนกตามกลุ่มเป้าหมาย 3.1) เด็ก/เยาวชน/โรงเรียน

    • สร้างแกนนำครู – โรงเรียนให้เข้าใจเรื่องการบริโภค – การมีกิจกรรมทางกาย
    • การนำโปรแกรม ตำรับอาหารสุขภาพทั้งอาหารเช้า – อาหารกลางวันมาใช้ในโรงเรียน
    • การพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมเสริมหลักสูตรเช่นเกษตรในโรงเรียนการเรียนนอกห้องเรียน การละเล่นไทย/กีฬาไทยเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายในศูนย์เด็กเล็ก/โรงเรียน

    3.2) วัยทำงาน/หน่วยงาน

    • การสร้างแกนนำคนทำงานโดยมีแกนนำจากหน่วยงานต่าง ๆ
    • การจัดอาหารในงานประชุมที่เอื้อต่อสุขภาพเพิ่ม ผัก–ผลไม้เปลี่ยนอาหารว่างเป็นผลไม้/น้ำสมุนไพร
    • การรณรงค์ให้มีการเพิ่มการเคลื่อนไหวทางกายในระหว่างการทำงาน/การประกวดหน่วยงานต้นแบบ

    3.3) ผู้สูงอายุ/ชุมชน -การสร้างแกนนำในชุมชน – อาสาสมัคร – อสม.

    • มีการส่งเสริมการปลูกพืชผัก ผลไม้ รั้วกินได้ / สวนผักคนเมือง
    • รณรงค์การเพิ่มการกินผัก – ผลไม้ประกวดตำรับอาหารสุขภาพ – อาหารจากผักน้ำสมุนไพร
    • รณรงค์ให้มีกิจกรรมทางกายในการทำงานในชีวิตประจำวัน / การเดินในการสัญจรมีกิจกรรมเดิน วิ่งจักรยาน / การออกกำลังกายในรูปแบบต่าง ๆ 3.4) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้3ครั้ง/ปี 3.5) การผลิตสื่อ/คู่มือเพื่อการรณรงค์จูงใจให้กับคนในชุมชนการใช้สื่อวิทยุท้องถิ่น
  • ได้ร่างคู่มือ ดังไฟล์แนบ
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

ภาคีเครือข่ายกิจกรรมทางกาย นักวิชาการ