โครงการพัฒนาข้อเสนอและการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทย

ประชุมสรุป AAR PA ที่ สช.กรุงเทพ8 มีนาคม 2018
8
มีนาคม 2018รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การประชุมเชิงปฏิบัติการ “สรุปบทเรียนการจัดทำมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ว่าด้วย การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น” วันพฤหัสบดีที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๓๐ น. ณ ห้องประชุมสานใจ ๒ ชั้น ๖ อาคารสุขภาพแห่งชาติ ภายในกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี

  • ๐๙.๐๐ – ๐๙.๓๐ น.ลงทะเบียนรับเอกสาร
  • ๐๙.๓๐ – ๐๙.๔๐ น.ต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุมฯโดย ผศ.ดร.ทพ.วีระศักดิ์ พุทธาศรีรองเลขาธิการสช.
  • ๐๙.๔๐ – ๑๑.๐๐ น.แลกเปลี่ยน/สรุปผลการดำเนินงานและทบทวนบทเรียนการจัดทำมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๐ พ.ศ.๒๕๖๐ ว่าด้วย “การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น” ดำเนินรายการ โดย ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองประธานคณะทำงานฯ
  • ๑๑.๐๐–๑๒.๓๐ น. ระดมสมองแลกเปลี่ยนความคิดเห็น “มองไปข้างหน้า แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะว่าด้วย การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น” ดำเนินรายการ โดย นางภารณี สวัสดิรักษ์ ประธานอนุดำเนินการประชุมฯ

โดยมีโจทย์หลัก ดังนี้ (๑) การสนับสนุนให้เกิดกลไกคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ว่าด้วย การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น (๒) กรอบเวลาและแนวทางการขับเคลื่อนฯ (๓) การวิเคราะห์ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องและการสื่อสารสาธารณะ

  • ๑๒.๓๐ น. ปิดการประชุม / รับประทานอาหารกลางวัน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • วัตถุประสงค์ :
    ผู้เข้าร่วมประชุมฯ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเรียนรู้ร่วมกันในประเด็น -ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดทำมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๐ พ.ศ.๒๕๖๐ ว่าด้วย “การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น” -ข้อเสนอแนะและแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะว่าด้วย “การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น”

การขับเคลื่อนฯ ครั้งที่ 1
ประธาน ผศ.ดร.ทพ.วีระศักดิ์ พุทธาศรี รองเลขาธิการสช. - สมาชิกเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดบึงกาฬมีการทำงานใน 4 กลุ่มวัย ได้แก่ เด็กปฐมวัย วัยรุ่น (ท้องไม่พร้อม) ผู้สูงวัย คนพิการ ประเด็นการทำงาน 10 ประเด็น ได้แก่ อาหารปลอดภัย ผู้สูงวัย ปฐมวัย อุบัติเหตุ ขยะ ผู้พิการ การเกษตร ทรัพยากร/สิ่งแวดล้อม ชุมชน และวัยรุ่น (ท้องไม่พร้อม) O จะสอดแทรกเรื่อง PA เข้าไปในประเด็นที่มีอยู่แล้ว O เน้นเรื่องการสื่อสารทำความเข้าใจนิยาม PA ให้ชัดเจน O สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเรื่อง PA
O ทำให้เครือข่ายภาคประชาสังคมผลักดันเรื่อง PA ตามรัฐธรรมนูญสุขภาพ

  • กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุนให้เกิดการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก การจัดการความรู้ สร้างนวัตกรรมและการสื่อสาร เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤตกรรมการมีกิจกรรมทางกายของประชาชนที่สอดคล้องกับบริบทของสังคม พัฒนาฐานข้อมูลและจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อการติดตามการดำเนินงานการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของคนทุกกลุ่มวัย สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาความสามารถของคน องค์กร เครือข่าย ชุมชน เพื่อให้มีความรอบรู้ในการดำเนินงาน เพิ่มกิจกรรมทางกายให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลฝากถึงกรมอนามัย ขอให้ขับเคลื่อนแผนผ่าน (พชอ.) – (พชจ.) – (พชข.) ผ่านประเด็น NCDS

O การพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ ให้มีความรู้เรื่อง PA และสามารถถ่ายทอดความรู้ ให้กับผู้ใช้บริการได้ เช่น เจ้าหน้าที่รพ.สต. ต้องแนะนำให้กับผู้ใช้บริการเรื่อง PA ไม่ใช่แค่การออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว

  • กระทรวงมหาดไทย เว็บไซด์ http://localfund.happynetwork.org/project/planning มีแผนกิจกรรมทางกาย จำนวนกองทุน 429 จำนวนพัฒนาโครงการ 368 จำนวนติดตามโครงการ 464 โครงการ

  • การแลกเปลี่ยน มติข้อ ๑. ขอให้สมาชิกเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัด และภาคีเครือข่ายพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมี ส่วนร่วมบนพื้นฐานทางปัญญา ร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ดำเนินการดังนี้

  1. การขับเคลื่อนโดยเครือข่ายสุขภาพ (สปสช. – ห้าพลัง – 4PW)

- workshop – Roadshow PA – ขับเคลื่อน - ผู้รับผิดชอบ: ศูนย์ราชการ / สำนักขาเคลื่อนยุทธศาสตร์เขต / จังหวัด - ทีมวิชาการ : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ / มหาวิทยาลัยมหิดล
2. การขับเคลื่อนระดับอำเภอ (พชอ.)
- พชจ. – เขตผู้ตรวจ - ผลักดันใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการจัดการ 3. การขับเคลื่อนงาน PA กับ กขป. 13 เขต จะขับเคลื่อน 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1คือ ส่วนที่เคยทำที่เป็นเรื่องของจังหวัดพ่วงไปด้วย ในส่วนของเขต ตอนนี้ทั้ง 13 เขต ได้มีการทำในส่วนของการขับเคลื่อนการเรียนรู้ทั้ง 13 เขต ซึ่งใน 13 เขต จะมีกลุ่มวัยอยู่ 10 กลุ่ม ก็จะมีในส่วนผู้สูงอายุ เด็กปฐมวัย ผู้พิการ แล้วก็วัยรุ่น อันนี้คือตอบในเรื่องกลุ่มวัย ส่วนประเด็นมีทั้งหมดอยู่ 10 ประเด็น ถ้าเราดูว่ากิจกรรมทางกาย จะไปเข้าสู้งานตามประเด็นที่ทางเขต 13 เขตได้ทำกัน น่าจะเข้าตรงส่วนไหนได้บ้าง
ซึ่งตอนนี้มติของสมัชชา กิจกรรมทางกายมันออกหลังตอนที่เรามีการทำเรื่องประเด็นการขับเคลื่อนของแต่ละเขตไปแล้ว ซึ่งอาจต้องมีการเติมเข้าไป
- กิจกรรมทางกายเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องกลุ่มผู้สูงอายุ เรื่องของกลุ่มเด็ก เรื่องของวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งในกิจกรรมทางกายคงจะไม่เป็นกิจกรรมเฉพาะ ในเรื่องนี้เข้าไปในเขต จะเข้าไปบูรณาการก็ต้องเอากิจกรรมทางกายไปเข้าสู่ประเด็นแต่ละประเด็นที่เขตเป็นตัวตั้งอยู่
ส่วนที่ 2 คือ งานเรื่องสมัชชาในระดับพื้นที่ ในเขต 8 จังหวัดในภาคเหนือตอนบนที่ดูแลอยู่ ก็ยังไม่มีการปรากฏเรื่องกิจกรรมทางกาย แต่ก็จะมีประเด็นเรื่องที่จะเข้าไปใช้เรื่องกิจกรรมทางกายเป็นกิจกรรมหนึ่งในการเคลื่อนในเรื่องของประเด็นรวมกับเรื่องธรรมนูญสุขภาพ ซึ่งตัวธรรมนูญสุขภาพมันจะมีเรื่องของการออกกำลังกาย ซึ่งยังมีการให้นิยามของกิจกรรมทางกายก็ไปอยู่ในการออกกำลังกายอยู่ ในตรงนี้ธรรมนูญสุขภาพของระดับตำบล อำเภอที่เคลื่อนกันอยู่ใน 60 กว่าแห่งในแต่ละจังหวัดภาคเหนือตอนบน
- คำว่ากิจกรรมทางกาย จะเข้าว่าเป็น เรื่องการออกกำลังกายเป็นส่วนใหญ่แต่ถ้าจะเป็นเรื่องชื่อเฉพาะของกิจกรรมทางกาย ต้องไปให้ข้อมูลเพิ่มเติมให้กิจกรรมมีความหลากหลายนอกจากเรื่องเล่นกีฬา หรือแอโรบิก หรืออะไรต่างๆ ที่เราคุ้นชินกันมา ตอนซึ่งนี้ในพื้นที่เองก็ยังติดในเรื่องนี้อยู่ 4. เรื่องที่ กขป. เสนอมาตรงนั้นมีการผลักดันเสนอเข้าสู่แผนของจังหวัด โดยทางกระบวนการสมัชชา ที่นี่บทบาทหน้าที่ของทีม 5 พลัง ก็คือ ในเรื่องของการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับพื้นที่ ให้เขาได้เห็นมุมมองปัญหาตรงนั้น ซึ่งยังคงต้องใช้เวลาใช้กระบวนการในการสร้างเรียนรู้ต่อ พยายามจะพัฒนาเรื่องตำบลต้นแบบโดยใช้เรื่องของธรรมนูญเข้ามาจับ
5. การส่งเสริมให้ท้องถิ่นสามารถที่จะมีข้อกำหนดที่จะส่งเสริมเรื่องของการเคลื่อนไหวที่มากกว่าการออกกำลังกาย เพราะจากการที่ทำรับฟังร่างสมัชชาชาติ เรื่องของการออกกำลังกาย ท้องถิ่นสนับสนุน แต่ในเรื่องของโครงสร้างก็ยังมีปัญหาอยู่เรื่องของการออกกำลังกายเขาจะเน้นในเรื่องของจักรยาน เรื่องของการวิ่ง แต่ว่ารูปแบบของการออกกำลังกายอื่นๆ ก็ยังน้อย ถ้าจะทำกันเฉพาะตรงนั้นเราต้องมองกันไปถึงกระบวนการสร้างการเรียนรู้
6. การขยับทำให้เครือข่ายภาคประชาสังคม หรือเครือข่ายสุขภาพ ไปส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจว่า กิจกรรมทางกายมันมากกว่าการออกกำลังกาย โดยการใช้กระบวนการสมัชชาลงพื้นที่
เพื่อนำไปสู่เรื่องยุทธศาสตร์แผนโครงการ และการพัฒนาศักยภาพให้ภาคีเครือข่าย ตัวอย่างเช่น workshop เรื่องของการขับเคลื่อน PA ในกลุ่มของเครือข่ายสมัชชา เครือข่ายสมัชชาตรงนี้รวมเครือข่าย 5 พลัง 7. เครือข่ายสมัชชา เครือข่าย 4PWเครือข่าย 5 พลัง เครือข่ายส่วนภาคเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายก่อน แต่ละคนก็ลองทำแผนด้วยกัน ขับเคลื่อนเครือข่ายสมัชชา เครือข่าย 4PWผมก็จะพยายามขับเคลื่อนเอาเรื่องนี้ไปเป็นวาระของจังหวัด และเข้าสู่นโยบายของ อสม. - วางแผน workshop หรือว่า road show ซึ่งอาจจะเน้นเรื่องการขับเคลื่อนสู่ยุทธศาสตร์ของเขตหรือจังหวัด 8 . การชงเรื่องเข้า พชอ. ก็คงจะต้องให้จากทุกภาคส่วนได้ระบุปัญหา ความต้องการที่แท้จริงของพื้นที่เขาตรงนั้นเลย เครือข่าย 5 พลัง เครือข่าย 4PW เครือข่ายสมัชชาแห่งชาติ เราอาจจะพัฒนาร่วมกันเนอะ เพื่ออันที่ 1 ไปทำความเข้าใจก่อน ให้เครือข่ายเข้าใจเรื่อง PA ก่อน โดยอาจจะมี workshop เพื่อสร้างยุทธศาสตร์ หาวิธีการขับเคลื่อนเพื่อไปสู่กระบวนการที่ 5 พลัง หรือสมัชชา หรือ กขป. ทำอยู่ในส่วนของ เรื่องของ พชอ.หรือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จะทำอย่างไร ทำให้ พชอ. เข้าใจเรื่อง PA มากขึ้น ดันเรื่อง PA คือดันเรื่อง NCD
9. การขับเคลื่อน PA ต้องไปอยู่ในยุทธศาสตร์เขต ยุทธศาสตร์จังหวัด กขป.. สมัชชา และระดับอำเภอไปอยู่ที่ พชอ.ถ้าเริ่มต้นจากระดับเขตหรือจังหวัดที่เรามองกลไก กขป. หรือเรามองสมัชชาสู่ภาพจังหวัด สู่ภาพของ แล้วก็ขับเคลื่อน กขป. เราอาจจะมี workshop เพื่อทำความเข้าใจ แล้วนำไปสู่การวางยุทธศาสตร์ระดับเขตหรือจังหวัด โดยมีทีมวิชาการ และจากศูนย์วิจัยฯ มหิดล และ สจรส. ม.อ. อยู่ ซึ่งจะเข้ามาช่วย ขณะเดียวกัน สสส.เขาจะสามารถสนับสนุนในการทำเรื่องนี้ในส่วนการขับเคลื่อนระดับอำเภอในกลไกของ ปจอ. ซึ่งในขณะนี้กลไกของ ปจอ.ได้วางเป็นลำดับ คือ ปจอ. แล้วไป พชจ.ในจังหวัด แล้วก็เป็นกลไกเขตของหุ้นส่วน ถ้าเราสามารถเดินตามยุทธศาสตร์นี้ ให้ PA มันเป็น 1 ในยุทธศาสตร์จัดการ NCD เบื้องต้น และให้ทำความเข้าใจว่า NCD คือบริโภคต่างจาก PA 10. ควรมีการจัด workshop คือเหมือนกับการดูเช็คทุน และหาแนวทางในการทำงานในอนาคต ซึ่งจริงๆ แล้วเช็คทุน เข้าใจว่าที่เราทำ PA และมี event ซึ่งทางกรมอนามัยมีข้อมูลและมีองค์ความความรู้ที่สามารถเผยแพร่ได้

  • การแลกเปลี่ยน มติข้อ ๒. ขอให้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สถาบันวิชาการ กรุงเทพมหานครและหน่วยงานอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้อง ตลอดจนองค์กรด้านสื่อดำเนินการ
  1. การจัดการความรู้ความเข้าใจต่างๆ การรวบรวมข้อมูล แล้วก็พัฒนาความเข้าใจของคน ข้อนี้จริงๆ กรมอนามัยทำอยู่แล้ว สสส.เขาทำอยู่ เพียงแต่ว่าการไปเชื่อมกับหน่วยงานอื่นอาจจะยังน้อยอยู่ ในมติข้อนี้เหมือนกับบอกว่าให้ กรมอนามัยและสสส. ไปจัดการร่วมกับกรมอื่นๆ ของกระทรวงสาธารณสุข ของกระทรวงศึกษาฯ สำนักงานสถิติแห่งชาติ แล้วก็สถาบันวิชาการต่างๆ
  2. เพิ่มเติมข้อ 2.1 , 2.3 งานหลักที่ศูนย์วิจัยฯ คือการพัฒนาทุนที่เป็นนักวิจัย เพื่อที่จะให้มีศักยภาพในการทำงานวิจัยเรื่องกิจกรรมทางกาย โดยจุดเน้นของปีนี้ จะเน้นที่การพุ่งเป้าใน 3 กลุ่ม คือ เด็ก วัยทำงาน และผู้สูงอายุ
  3. ในกลุ่มเด็กเน้นให้การวิจัยต่างๆ หากระบวนการ หรือองค์ความรู้ออกมาว่าทำยังไงเราถึงจะสร้างกิจกรรมให้เด็กได้ต้องคุ้มทุนที่สุด ถ้าเราสร้างตัวนี้ สร้างจิตสำนึก สร้างสุขภาพให้เด็กได้ เราเชื่อว่าพอโตขึ้นตรงนี้จะกลายเป็นเกราะป้องกันได้อย่างแข็งแรงที่สุด
  4. ในขณะที่กลุ่มวัยทำงานตอนต้นมีเน้นเรื่องการออกกำลังกาย เน้นกีฬา และการมีกิจกรรมทางกายในระหว่างวัน เพื่อป้องกัน NCD คำว่าวัยตอนต้น จากการวิจัยเราพบว่าอยู่ที่อายุ 40-45 ปี หลังจากนั้นป้องกัน NCD ได้น้อยมากแล้ว ไม่คุ้มทุนที่จะลง เกิดไม่เกิดมันเหมือนจะมาก่อน 40-45 ปี หลังจากนั้นการดูแลตัวเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีแม้มี NCD ก็ต้องอยู่ให้มีความสุขและดีให้ได้
  5. สิ่งที่สำคัญพอๆ กับการไม่รับรู้กิจกรรมทางกาย คือการไม่รับรู้โทษของกิจกรรม ซึ่งมันไม่ตรงข้ามกันเสียเดียว อย่างเช่น พวกเรานั่งนานๆ เราไม่รู้ว่ามันส่งผลเสียต่อเรายังไงบ้างแล้ว บางคนเข้าใจว่าทุกเย็นที่เราออกกำลังกายสามารถทดแทนกับการที่เราอยู่กับที่ 12 ช.ม./วันได้
  • การแลกเปลี่ยน มติข้อ ๓. ขอให้กระทรวงมหาดไทยโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ กระทรวงคมนาคม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และ กระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับ องค์กรวิชาชีพสถาปนิกและผังเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ข้อ 3.1 เพราะถ้า พูดกันถึงเรื่องข้อวิจัย ก็อยากให้สนับสนุนเรื่องนี้ให้มันชัดเจน แล้วมันจะได้เป็นเหมือนกับคู่มือสำหรับสถาปนิกนักออกแบบต่อไป จะทำงานด้านนี้ ก็จะต้องพิจารณา ในเรื่องใดบ้าง เหมือนกับที่ทำในเรื่องผู้สูงอายุหรือว่าผู้พิการต่าง ๆ ส่วนในข้อ 3.2 ในเรื่องของการจัดให้มี หรือการจัดการพื้นที่ ถ้าจะทำให้เป็นไปได้ต้องมีลักษณะเหมือนกับการสร้างตัวอย่างขึ้นมา มาเป็นพื้นที่นำร่องพื้นที่ตัวอย่างมีหน่วยงานราชการ ตั้งแต่ส่วนกลางจนถึงระดับท้องถิ่น หาพื้นที่ที่ทำเป็นรูปแบบตัวอย่างขึ้นมาให้ ให้หน่วยงานอื่น ๆ ที่ไม่เคยทำหรือไม่มีประสบการณ์ ได้รู้ว่าเวลาการทำขึ้นมาจริงแล้วการใช้พื้นที่แบบนี้มันเปิดโอกาสให้คนเข้ามาใช้ มันต้องทำยังไง ข้อไหนบ้างที่ต้องยกเว้น ข้อไหนบ้างที่ต้องเอื้อให้เกิดประโยชน์สาระกับในงาน ฉะนั้นในข้อ 3.2 สนับสนุนว่าควรจะประสานงานทำเป็นเครือข่ายเป็นหน่วยงานส่วนกลางหรือหน่วยงานท้องถิ่นที่พร้อม ที่จะทำเป็นกรณีตัวอย่างขึ้นมาเพื่อเป็นบทเรียนให้กับหน่วยงานอื่น ๆ ได้เรียนรู้ต่อไปแล้วก็ทางฝ่ายประชาสัมพันธ์ได้ทำเรื่องเหล่านี้ไปประชาสัมพันธ์ต่อเนื่องไปว่าทำได้จริง แล้วก็ทำในรูปแบบแบบนี้
    , การขับเคลื่อนข้อ 3.1, 3.2 ให้กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพร่วมกับ องค์กรวิชาชีพสถาปนิกและผังเมือง จัดเวทีคุยกันว่า 3.1 3.2 จะมีแนวทางวางแผนอย่างไรต่อ
    ในการทำตรงนี้ ถ้าตกลงกันว่ารับเป็นเจ้าภาพหรือองค์กรวิชาชีพสถาปนิกจะเข้ามามีส่วนเป็นภาคีหลักในการทำงานร่วมกันเพื่อผลักดันมติ 3.1 กับ 3.2
    , สถาปนิกไปทำงานวิจัย 1-2 ชิ้น เรื่องการจัดการพื้นที่ ที่มีการออกแบบอะไรต่างๆ เข้าใจว่าก็มีอยู่พอสมควรที่จะรวบรวมมา ที่จะมาเขียน แล้วลองทำคล้าย ๆ เป็นร่างไกด์ไลน์ แล้วขณะเดียวกันไปหาพื้นที่นำร่องสักแห่งหรือ 2 แห่ง อย่าง อบจ.ไหนที่เขาคิดว่าอยากทำเรื่องนี้ จังหวัดก็ลองไป ลองไปคุยแล้ว ลองไปช่วย implement ไปช่วยเป็นพี่เลี้ยง ทำไปสักปีสองปี แล้วก็ขยับเรื่องนี้ไปสู่นโยบาย

  • ถ้าได้พื้นที่จากการทำ workshop ก็เอาพื้นที่นำร่อง มาทำเป็นพื้นที่ศึกษา และคู่ขนานกันไปเลยคือได้ทั้งการทดลองในพื้นที่จริงและก็ได้พื้นที่ที่เป็นตัวอย่างเอามาเป็นตัวอย่างให้กับหน่วยงานอื่นๆ ผู้แทนกรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงการท่องเที่ยว กระทรวงกลาโหม แล้วก็เครือข่ายเรื่องผังเมืองจัดเวทีคุยกัน แล้วก็ดูความเป็นไปได้ว่าถ้าจะมีอย่าง ข้อ3.1 และ 3.2 จะมีวิธีการอะไรอย่างไรบ้าง

  • ข้อ 4 เรื่องของ พม. กรมกิจการเด็กและเยาวชน และก็กรมการปกครองส่วนท้องถิ่นนะครับ เรื่องไปส่งเสริมให้ผลักดันครอบครัวให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ประชุมหารือกำหนดแผนงานอีกครั้ง

  • มติข้อ ๕. ขอให้กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานครและหน่วยงานอื่นที่มีการจัด การศึกษา มีนโยบายและสนับสนุนงบประมาณให้สถานศึกษาทุกระดับ ทั้งที่เป็นสถานศึกษาของรัฐและ เอกชน จัดให้มีหลักสูตร กิจกรรมและสร้างเสริมสภาพแวดล้อมและการดูแลความปลอดภัยที่เอื้อให้เกิดการมี กิจกรรมทางกายของบุคลากร นักเรียน นักศึกษาและชุมชน และ มติข้อ ๖. ขอให้กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และภาค ธุรกิจเอกชน กำหนดให้มีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้สถานประกอบการ จัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมที่ เอื้อให้เกิดการมีกิจกรรมทางกาย นำไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง พร้อมทั้งส่งเสริมบุคลากรในองค์กร ให้มี กิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ >>>ประชุมหารือกำหนดแผนงานอีกครั้ง

  • ข้อ 7 เรื่องของให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆ สนับสนุนงบประมาณและให้องค์กรในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่มีแผนงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางกายของคนแต่ละกลุ่มวัย มีปัญหาอยู่นิดเดียว คือเรื่อง one planเนื่องจากกรมส่งเสริมอยากให้แผนของกองทุนไปอยู่ในแผนของท้องถิ่น แล้วแผนของท้องถิ่นไปอยู่ในแผนของจังหวัด แผนจังหวัดก็ไปอยู่ในแผนชาติ ซึ่งตอนนี้มันยังทำไม่ได้อยู่เนื่องจากว่าแผนกองทุน มันยังไม่ได้อยู่ในแผนของท้องถิ่นโดยตรง

  • มติข้อ ๘. ขอให้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับหน่วยงานวิชาการอื่นๆ ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้มาตรการทางภาษีและมาตรการทางการเงิน รวมถึงองค์ความรู้อื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น เพื่อเสนอต่อกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาดำเนินการ โดยมุ่งเน้นให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด >>> สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ดำเนินการตามมติ

  • มติข้อ ๙. ขอให้สำนักนายกรัฐมนตรีโดยกรมประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) องค์กรสื่อสารมวลชน และเครือข่ายสื่อชุมชนเป็นแกน หลักร่วมกับเครือข่ายสื่ออื่นๆ ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายและลดพฤติกรรม เนือยนิ่งของคนทุกกลุ่มวัย >>> การเรียนรู้การจัดทำสื่อที่เป็นภาพใหญ่ของระดับประเทศเลยที่ลงมา อย่างน้อยเป็นการกระตุก กระตุกสังคมมาให้เริ่มมองเห็นว่าในเรื่องของกิจกรรมทางกาย สื่ออันแรกก็คือว่าจะทำยังไงที่ทำให้สื่อที่สามารถที่จะเป็นสื่อสาธารณที่สร้างแล้วก็กระตุกสังคมให้มองเห็นสภาวะมันมีหลายมุมมองในเรื่องของการที่จะส่งเสริมในเรื่องของกิจกรรมทางกาย

สรุป - มติข้อแรกขอให้สมาชิกสมัชชาเครือข่ายสุขภาพต่าง ๆในพื้นที่ ร่วมกันขับเคลื่อนต่อเนื่องกับสิ่งที่เราคิดว่าน่าจะทำก็คือว่าต้องมีการทำ workshop เรื่อง PA ให้กับทางเครือข่ายทั่วประเทศได้เข้าใจเรื่องนี้ เมื่อเข้าใจแล้วก็คิดวิธีหรือกระบวนการที่จะผลักดันให้ PA ไปอยู่ในยุทธศาสตร์ของ PA ทุกจังหวัด ผ่านกลไก กขป. ผ่านกลไกลงทุนพัฒนา 15 จังหวัด ทั้ง workshop ใน สช. อาจจะต้องเป็นคนจัดรับผิดชอบ ก็จะมีสำนักขาเคลื่อน ศูนย์ภาคฯ สช. ทีมที่ดูแลเรื่อง กขป. และทีมวิชาการของมหาวิทยาลัยจะช่วยหนุนเสริม เช่น ม.สงขลานครินทร์ ม.มหิดล เป็นต้น - ข้อ 3 คือเรื่องที่ให้การส่งเสริมองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงคมนาคม กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมกับองค์กรวิชาชีพ กับผังเมืองทำ 3.1 3.2คุยกันว่าต้องมีการประชุมกับผู้แทน อยากจะเสนอว่าให้ทำการบ้านมาก่อน ต้องมีการไปคุยกันก่อนที่จะมีการประชุมร่วม ไปคุยกับแต่ละกระทรวงที่รับผิดชอบเรื่องนี้ ลองคิดไอเดียอะไรมาก่อน และก็พอมาคุยร่วมกันก็จะได้ไปได้เร็ว
- ส่วนข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 9 คงต้องไปเจรจาพูดคุยอีกครั้ง ข้อ 4 ก็ต้องคุยกับกรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมพินิจฯ สถาบันครอบครัวคุยกับกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นว่าถ้าจะเอาเรื่อง PA ไปใส่ในสถาบันครอบครัวจะมีแนวทางทำอะไรอย่างไรได้บ้าง เรื่องของกระทรวงศึกษา แม้ว่า สอส.ทำเรื่องนี้อยู่นะครับในนาม สมศ. แต่ว่าในมติเขียนกว้างเกิน สถานการณ์ศึกษาของรัฐและเอกชน คงต้องมีวงพูดคุยกัน ข้อ 6 และส่วนข้อ 7 นั้น สอส.กับกรมปกครองส่วนท้องถิ่น และสสจ.ทำเรื่องนี้อยู่แล้ว ก็ให้เขาทำต่อ ขยายผลจาก 270 เป็นทั่วประเทศ ข้อ 8 จาก สวส.กับ สอส.คุยกันเรื่องนี้อยู่แล้ว ข้อ 9 ก็อาจจะต้องรวมคุยกัน