ปลาดุกสวรรค์บ้านศาลาไม้ไผ่

ประชุมคณะทำงานทุก 2 เดือน ครั้งที่ 111 กรกฎาคม 2020
11
กรกฎาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย supakon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เปิดประชุม เวลา 13.30 น. โดยประธานกลุ่ม นางศุภกร หมวดมณี การประชุมครั้งนี้เป็นครั้งแรก เป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกัน/แบ่งบทบาทหน้าที่/จัดทำแผนการปฏิบัติงาน และมอบหมายให้พี่เลี้ยง นายประเทือง อมรวิริยะชัย ได้ชี้แจงที่มาของโครงการ
-1.โครงการปลาดุกสวรรค์บ้านศาลาไม้ไผ่ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จาก สสส.ภายใต้โครงการ ขับเคลื่อนหน่วยจัดการระดับจังหวัดในการสร้างเสริมสุขภาพ Node Flagship จังหวัดพัทลุง จำนวนเงิน 77,675 บาท จะเริ่มดำเนินการระยะเวลา ตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2563 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 รวมระยะเวลา 10 เดือน โดยดำเนินงานตามโครงการปลาดุกสวรรค์บ้านศาลาไม้ไผ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อให้เกิดกลไกการบริหารจัดการการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัย 2.เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้การเลี้ยงปลาดุกที่ปลอดภัย 3.เพื่อให้เกิดกติกาและเฝ้าระวังติดตามการเลี้ยงปลาดุกที่ปลอดภัย 4.เพื่อให้เกิดต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัย โดยตั้งเป้าหมาย 30 ครัวเรือน แต่สมัครเข้าร่วมโครงการ 32 ครัวเรือน เป็นการเลี้ยงในท่อซีเมนต์ และมีการแปรรูปปลาดุกด้วย
-2.แบ่งหน้าที รับผิดชอบ 1.นางศุภกร หมวดมณี เป็นหัวหน้ากลุ่ม ดูแลการบริหารจัดการโครงการ/ประสานงานต่าง ๆ 2.นางสาวจิราพร พรหมอักษร เลขานุการ ทำหน้าที่บันทึกการประชุม/ภาพถ่าย คอยช่วยเหลืองานอื่นๆที่ หัวหน้ากลุ่มมอบหมาย 3. นางเตือนใจ สงแสง เหรัญญิก ทำหน้าที่ฝ่ายการเงินเก็บหลักฐานการเงิน 4.นางระเบียบ บัวเนียม ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ประสานงานต่างๆ
-3.ได้วางแผนการเลี้ยงปลาดุกและแปรรูปปลาดุก การเลี้ยงจะแบ่งการเลี้ยงกลุ่ม 3 กลุ่ม แบ่งระเวลาการเลี้ยงให้ห่างกัน 3 ล็อต ล็อตที่ 1 จำนวน 10 ครัวเรือน ล็อตที่ 2 จำนวน 10 ครัวเรือน และล็อตที่ 3 จำนวน 12 ครัวเรือน ใน 1 บ่อ เลี้ยงได้ประมาณ 80-100 ตัว ระยะเวลาการเลี้ยงประมาณ 3-4 เดือน
-4.ประธานนัดประชุมกลุ่มกันทุก 2 เดือน โดยครั้งต่อไปจะนัดประชุมในเดือน สิงหาคม สำหรับวันไหนจะแจ้งให้ทราบอีกที

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 11 คน เกิดคณะทำงานการเลี้ยงปลาดุกที่ปลอดภัย จำนวน 11 คน
-มีการแบ่งบทบาทหน้าที่
-มีแผนการดำเนินงาน
-มีการประชุมทุก 2 เดือน
-คณะทำงานมีความรู้การผลิตอาหารโปรตีนที่ปลอดภัย