ปลาดุกสวรรค์บ้านศาลาไม้ไผ่

นำคณะทำงานและสมาชิกกลุ่มศึกษาดูงานการเลี้ยงปลาดุก/การผลิตอาหารปลาดุก28 ตุลาคม 2020
28
ตุลาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย supakon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

.......ติดต่อประสานงานพื้นที่ศึกษาดูงาน / ประสานงานรถตู้จำนวน 2 คัน และประสานงานผู้ที่จะเดินทางไปศึกษาดูงาน โดยนัดกันที่ศาลาหมู่บ้าน เดินทางไปศึกษาดูงานที่ ศูนย์เรียนรู้ กลุ่มเลี้ยงปลาดุก ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน ที่นี่มีสมาชิก จำนวน 10 ราย มีการเลี้ยงปลา รายละ 200ตัว
1.ได้เรียนรู้การให้อาหารปลา โดยในช่วงวัยอนุบาลนั้น เน้นการให้อาหารให้บ่อย ไม่ต่ำกว่าวันละ 2ครั้ง แต่ละครั้งให้ในปริมาณที่เหมาะสม ดังนี้
- อาทิตย์แรกของการเลี้ยง ควรให้อาหาร 10-20 กรัมต่อมื้อ(หรือประมาณ 3ช้อนโต๊ะ โดยจากการชั่งน้ำหนักอาหารพบว่า 1ช้อนโต๊ะหนักเท่ากับ 5 กรัม) โดยให้ 2-3 มื้อต่อวัน
-อาทิตย์ที่ 2 ควรให้อาหารมื้อละ 20-30 กรัม โดยให้ 2-3 มื้อต่อวัน
-อาทิตย์ที่ 3 ควรให้อาหารมื้อละ 30-50 กรัม โดยให้ 2 มื้อต่อวัน
-อาทิตย์ที่ 4 ควรให้อาหารมื้อละ 50-80 กรัม โดยให้ 2 มื้อต่อวัน
-รวมปริมาณอาหารที่จะให้ทั้งหมดในช่วง 1 เดือนแรก ไม่ควรเกิน 1.8 กิโลกรัม ต่อจากนั้นอาหารที่จะต้องใช้เลี้ยงปลาดุก จะต้องเป็นอาหารที่ทำเองโดยทางโครงการจะสอนวิธีการทำพร้อมสูตรอาหารปลาดุกปลอดภัย ที่มีโปรตีนอยู่ในช่วงร้อยละ 30-33 ที่นี่มีการเก็บข้อมูลการเลี้ยงปลา โดยข้อมูลที่ต้องทำการบันทึกจะครอบคลุมในเรื่องของ -ปริมาณการให้อาหารปลาในแต่ละมื้อ -สำรวจอัตราการเจริญเติบโตของปลาเบื้องต้น จากการวัดขนาดลำตัว และหรือการชั่งน้ำหนัก โดยวัดขนาดก่อนเลี้ยง และเมื่อเลี้ยงปลาจนมีอายุครบ 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน และ 4เดือน(ได้ขนาดจับขาย) เป็นต้น -สอบถามปัญหาที่พบเจอในระหว่างการเลี้ยง และ ทางผู้เลี้ยงมีการจัดการกับปัญหาได้หรือไม่อย่างไร -สภาพแวดล้อมในการเลี้ยง เช่น รอบๆ บ่อเลี้ยงปลามีการฉีดยาฆ่าหญ้าหรือไม่ สภาพน้ำในบ่อเลี้ยงปลาเปรียบเทียบน้ำในกระชัง กับน้ำนอกกระชัง เหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง หากมีการลงพื้นที่ สมาชิกที่ทำการลงพื้นที่จะต้องแจ้งวันที่และเวลาการลงพื้นที่ให้สมาชิกทราบล่วงหน้า โดยแจ้งทางโทรศัพท์ หรือแจ้งมาในกล่องข้อความของกลุ่มทางโซเชี่ยล(ในแอพแชทMessenger)
2.ได้เรียนรู้วืธีการเลี้ยงปลา โดยการเลี้ยงปลาดุกเลี้ยงได้ตารางเมตรละ 50 ตัว ควรนำน้ำไปตรวจวิเคราะห์ก่อนที่ศูนย์วิจัยประมงลำปำตรวจฟรี มีเห็บหรือมั่ยถ้ามี ปลาจะเลี้ยงไม่โต อาหารในน้ำมีมั่ย เช้นแพงต้น การทำแพลงต้อลโดยการใช้ปุ๋ยหมัก
3.การเลือกดูลักษณะปลาดุกบิ๊กอุย ลำตัวมีจุดลายเส้น ศรีษะมน ซื้อจากร้านที่ได้มาตรฐาน การบรรจุปลาในถุงให้มีจำนวนน้อยที่สุด การให้อาหารให้ 10 % ของน้ำหนักตัว น้ำเสียเกิดจาก อาหารเหลือ มีขี้ปลา ควรถ่ายน้ำเดือนละครั้ง หรือใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง โดยใช้ไข่ 3 ช้อนกับน้ำ5 ลิตร ใส่ขวดตากแดด 7 วัน นำไปใช้ 1 บ่อ ใช้ 2 ขวด นำน้ำมาผสม
4.อาหารปลาดุก โดยดูที่โปรตีนเป็นหลัก
-วัยอนุบาล โปรตีน =35-40 %
-วัยเล็ก-วัยรุ่น โปรตีน =30-32 %
-วัยใหญ่-พร้อมจับ โปรตีน =25-28 %
5.การทำอาหารปลาดุกเพื่อลดต้นทุน มีส่วนผสม ปลาป่น/ถั่วเหลือง/หยวก(หมักก่อน) /ยาคูล
6.แหนแดง เป็นพืชที่มีโปรตีนสูง ปลาดุกก็กินเพื่อลดต้นทุน
  มีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างกลุ่มเลี้ยงปลาดุกบ้านศาลาไม้ไผ่ ด้วย และได้เรียนรู้เรื่องอื่น ๆ เช่นการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์โดยใช้โซลาเซลล์ ซึ่งที่นี่เป็นศูนย์เรียนรู้การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยโซลาเซลล์จากพลังงานแสงอาทิตย์ ด้วย ………หลังจากนั้นได้เดินทางไปศึกษาดูงานที่ ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน เรื่องการเลี้ยงปลา และการใช้แหนแดงให้อาหารปลาเพื่อลดต้นทุน ในการเตรียมการเลี้ยงแหนแดงให้มีพื้นที่ประมาณ 12 ตารางเมตร โดยใช้แผ่นก้อนอิฐ /ผ้ายาง/ดิน สูง 5 ซม./ ขี้วัวประมาณ 1 กก./เติมน้ำสูงประมาณ 10 ซม. และพืชแหนแดง ประมาณ 1 มือ ทิ้งไว้ประมาณ 2 เดือน ก็จะงอกเต็มพื้นที่ สามารถนำไปเป็นอาหารปลาดุกได้ โดย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ใช้รถตู้ จำนวน 2 คัน มีผู้เดินทางไปร่วมศึกษาดูงานจำนวน 26 คน