ปลาดุกสวรรค์บ้านศาลาไม้ไผ่

เวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ครั้งที่ 222 สิงหาคม 2021
22
สิงหาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย supakon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-เปิดเวทีการประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ครั้งที่ 2 โดยผู้รับผิดชอบโครงการ และ  นายประเทือง อมรวิริยะชัย ผอ.รพ.สต.บ้านชะรัด เป็นพี่เลี้ยงโครงการ -นำเสนอผลลัพธ์ในการดำเนินงานโครงการ และสมาชิกร่วมแลกเปลี่ยน -นำเสนอปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการ นำเสนอผลการดำเนินงานตามโครงการ ตามบันไดผลลัพธ์ ดังรายละเอียดดังนี้
เกิดคณะทำงาน จำนวน 11 คน มีการแบ่งบทบาทหน้าที่กัน ทุก 2 เดือน มีการประชุมแลกเปลี่ยนและติดตามการเลี้ยงปลา คณะทำงานได้ไปเรียนรู้การเลี้ยงปลาดุกที่ ตำบลหานโพธิ์ ได้ศึกษาการเลี้ยงปลาวิธีทำอาหารปลา เพื่อลดต้นทุนฯ หลังจากนั้นในกลุ่มสมาชิกเลี้ยงปลาบ้านศาลาไม้ไผ่มีผู้สนใจเลี้ยงปลาดุก จำนวน 32 ครัวเรือน มีการผลิตอาหารปลาดุกเพื่อลดต้นทุน โดยจพทำอาหารปลาดุกใหญ่ ให้วันละ 1 มื้อ และอาหารสำเร็จรูป 1 มื้อ ต่อวัน จากการสรุปค่าใช้จ่ายเฉพาะอาหารปลาดุก เปรียบเทียบจากเดิม จะให้อาหารปลาดุกตลอดอายุการเลี้ยง(3-4 เดือน) รวมค่าใช้จ่าย 600 บาท ต่อปลาดุก 100 ตัว หลังจากได้ทำอาหารปลาดุก สามารถลดต้นทุน ในเดือนสุดท้าย ลดลงประมาณ 100 บาท คำนวณจากการให้อาหารลดลงไป วันละ 1 มื้อ จำนวน 30 วัน ลดได้ ประมาณ 4 กก.(คิดเป็นเงิน 100 บาท) ทางกลุ่มมีการแปรรูปปลาดุก โดยทำเป็นปลาดุกร้า และปลาดุกแดดเดียว โดยส่วนใหญ่จะทำปลาดุกร้า เพราะได้กำไรดีกว่า  ทางกลุ่มมีการกำหนดกติกาของกลุ่ม เช่นการเลี้ยงต้องใช้อาหารจากกลุ่ม/สมาชิกต้องคืนปลาให้กลุ่ม 1 กก.เพื่อแปรรูป /สมาชิกต้องมีการบันทึกการเลี้ยงปลาในแต่ละวัน หลังจากนั้นในการเลี้ยงปลาดุก มีการส่งปลาดุกไปตรวจตามมาตรฐานขั้นปลอดภัย Safety Level โดยศูนย์วิจัยประมงฯ จังหวัดพัทลุง โดยตัวแทนกลุ่ม ผ่านการรับรองมาตรฐานขั้นปลอดภัย ในการเลี้ยงปลาดุก มีอัตราการรอด 94.23 % โดยคิดจาก จำนวนปลาทั้งหมด 5200 ตัว รอด 4900 ตัว