รายงานผลลัพธ์โครงการ ณ วันที่ 10 พ.ค. 2024

เป้าหมายตัวชี้วัดของแผนฯผลงานเชิงปริมาณผลงานเชิงคุณภาพคำนิยาม

1. ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากการดำเนินโครงการทั้งทางตรงและทางอ้อม

1 ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากการดำเนินโครงการทั้งทางตรงและทางอ้อม ผู้รับประโยชน์ทางตรง 38,769 คน
ผู้รับประโยชน์ทางอ้อม 76,980 คน
ระบุพฤติกรรมสุขภาพและจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่มีพฤติกรรมนั้น ๆ เช่น การปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษ จำนวน 150 ครัวเรือน , จำนวนผู้ลดละบุหรี่ 72 คน เป็นต้น
  1. โครงการ : ศูนย์เรียนรู้ป่าต้นน้ำ บ้านผังปาล์ม 4,5

    • ทางตรง : -การตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง 230 คน
    • ทางอ้อม : -การรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก 510 คน -กิจกรรมการปลุกต้นไม้เป็นการออกกำลังกาย 230 คน
  2. โครงการ : สร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพที่บ้านทุ่งยาว

    • ทางตรง : 1.ร่วมกันสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อให้มีน้ำสำหรับประปาหมู่บ้านจนระบบประปามีน้ำตลอดปีประชาชนมีน้ำสะอาดใช้อย่างเพียงพอ 2.ชักจูงเด็กเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เด็กมีความสข สนุกและลดการมั่วสุมยาเสตติด 3.สร้างความรักความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชนโดยใช้กิจกรรมดั่งกล่าวเป็นตัวเชื่อม
    • ทางอ้อม : ได้ร่วมเรียนรู้การจัดการน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค อย่างเพียงพอ
  3. โครงการ : เกาะทองสมใหม่เกษตรอินทรีย์สร้างสุข

    • ทางตรง : ทำเกษตรอินทรีย์การทำนาอินทรีย์ไม่ใช้สารเมี ปลูกพืชผักสวนครัวไม่ใช้สารเมีส่งเสริมกรเลี้ยงผึ้งเพื่อดการใชสารเคมีทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง
    • ทางอ้อม : ได้เรียนรู้และร่วมปฏิบัติการทำนาอินทรีย์ไม่ใช้สารเมี ปลูกพืชผักสวนครัวไม่ใช้สารเคมี ส่งเสริมกรเลี้ยงผึ้งเพื่อดการใชสารเคมีทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง
  4. โครงการ : เสริมพลังชุมชนด้วยคน 3 วัย บ้านโคกแย้ม

    • ทางตรง : มีการปลูกพืชผัก ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีในครัวเรือนไว้บริโภค
    • ทางอ้อม : มีความสนใจในการที่จะปลูกพืชผักปลอดสารเคมี ไว้บริโภคในครัวเรือน
  5. โครงการ : คบเด็กสร้างป่าสร้างสุขภาวะคนบ้านเขาอ้อ

    • ทางตรง : - งานรณรงค์ประจำปี ที่เน้นการบริโภคอาหารที่นำสมุนไพรมาเป็นส่วนประกอบ - การรักษาพื้นที่บริเวณเขาอ้อ เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องสมุนไพรเป็นยา เป็นอาหาร
    • ทางอ้อม : - งานรณรงค์ประจำปี ที่เน้นการบริโภคอาหารที่นำสมุนไพรมาเป็นส่วนประกอบ เน้นการผลิตยาสมุนไพรที่เป็นพันธ์ุไม้ที่ได้จากชุมชน - จัดนิทรรศการให้ความรู้กับคนในชุมชนในเรื่องของการนำสมุนไพรมาผลิตเป็นอาหารอาหารเป็นยา พร้อมบอกสรรพคุณ การกินการใช้ ได้
  6. โครงการ : ดับบ้าน ดับคน กับวิถีชุมชนคนไทรงาม

    • ทางตรง : - เรียนรู้ประวัติศาสตร์หมู่บ้าน ผังเครือญาต แผ่นที่หมู่บ้าน - จัดเก็บข้อมูลด้านสุขภาพ - ตรวจเยี่ยม แนะนำ ให้ความปรึกษาครัวเรือนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ
    • ทางอ้อม : - ประชาสัมพันธ์การบริโภคอาหารที่ปลอดภัย - จัดกิจกรรมด้านสุขภาวะ ร่วมกับหน่วนงาน องค์กร ที่เกี่ยวข้องร่วมกับชุมช - จัดพื้นที่ปลอดบุหรี่ เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์การลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะและสถานที่จัดประชุม
  7. โครงการ : ข้าวพื้นเมืองคืนชีวิตชาวนาปะขอ

    • ทางตรง : มีการปลูกและบริโภคข้าวอินทรีย์ใช้พันธุกรรมพื้นบ้าน ปลูกผักอินทรีย์ลดการซื้อผักจากข้างนอก ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีเกษตร จำนวน 120ครัวเรือน มีธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้านอินทรีย์ ใช้ในการทำนาอินทรีย์ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
    • ทางอ้อม : เครือข่ายชาวนาที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มาดูงานในพื้นที่ การขับเคลื่อนของชุมชนเสริมเสริมการดูแลสุขภาพ ปรับวิถีการผลิต/บริโภคอินทรีย์และเยาวชนในจังหวัด และจังหวัดใกล้เคียง นักศึกษามหาวิทยาลัยทักษิณได้เข้าค่ายเรียนรู้วิถีนาตื่นตัวปรับเปลี่ยนบริโภคข้าวอินทรีย์ระบบการผลิตที่รักษาระบบนิเวศน์ สร้างสุขภาวะ
  8. โครงการ : ยกระดับคุณภาพชีวิต พิชิตความจน คนนาพร้าว (ต่อเนื่อง)

    • ทางตรง : 1.มีการผลิตผักบรรจุถุงที่ปลอดภัยผ่านการรับรองจากชุมชน 7 ชนิด 2.มีการปลูกผักรวม ผลิตโดยปลอดสารเคมี ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ชีวภาพ เพื่อปลูกผักใช้ประกอบอาหารสำหรับกินเองในครัวเรือนและบรรจุถุงเป็นผักแกงเลียง 5 ชนิดผ่านการรับรองความปลอดภัยในการใช้บริโภคในชุมชนและส่งจำหน่าย
    • ทางอ้อม : มีผักปลอดภัยที่ผ่านการรับรองจากชุมชนไว้บริโภคในครัวเรือน
  9. โครงการ : ความมั่นคงทางด้านอาหารวิถีบ้านท่าช้าง ( ต่อเนื่อง )

    • ทางตรง : - ทำนาอินทรีย์เพื่อบริโภคในครัวเรือน 30 ครัวเรือน - ทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพใช้เอง
    • ทางอ้อม : มีข้าวที่ปลอดภัยไว้บริโภค
  10. โครงการ : ควนขนุนปลอดขยะท้องถิ่นปลอดถัง

    • ทางตรง : - มีพฤติกรรมในการคัดแยกขยะ ขยะอินทรีย์ทำปุ๋ยชีวภาพ/ขยะอื่นใช้วิธี 3R/มีระบบการจัดการขยะส่วนที่เหลือด้วยการรวมขาย
    • ทางอ้อม : - ได้เรียนรู้แนวทางในการคัดแยกขยะ/การจัดการขยะ จากครัวเรือนต้นแบบในทั้ง 3 หมู่บ้าน
  11. โครงการ : ป่าฟื้น คนฟื้น ที่บ้านทุ่งยูง

    • ทางตรง : - การมีส่วนร่วมในการปลูกป่าเพิ่มพื้นที่สีเขียวในป่าชุมชน - การมีส่วนร่วมในลาดตระเวณเฝ้าระวังการทำลายป่า - เด็กและเยาวชนเรียนรู้ข้อมูลป่าชุมชน/เข้าค่ายศิลปะ/ร่วมปลูกป่า - การมีเขตปลอดบุหรี่ในพื้นที่ศาลาหมู่บ้าน
    • ทางอ้อม : - การมีหลักประกันในประโยชน์ของป่าไม้ที่เพิ่มขึ้น - มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น - มีแหล่งผลิตน้ำเพิ่มขึ้น
  12. โครงการ : ต่อลมหายใจคนปลายน้ำที่บ้านทุ่งแซะ

    • ทางตรง : -ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชนได้รับประทานปลาในท้องถิ่น
  13. โครงการ : อนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมชุมชนถ้ำภูผาเพชร

    • ทางตรง : จากโครงการได้มีกิจกรรมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและพัฒนาศูนย์เรียนรู้ มีการสำรวจป่าต้นนำ้ และจัดทำแปลงเพาะชำ ช่วยให้เยาวชนเกิดสุขภาวะที่มีผลดีต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิตของคนในชุมชน และนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในชุมชนได้
    • ทางอ้อม : การอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมช่วยให้ชุมชนปลอดจากการเกิดภัยพิบัติทางด้านธรรมชาติลดสภาวะโลกร้อน สร้างความสมดุลย์ทางธรรมชาติ ทำให้่ชุมชนน่าอยู่ มีทรัพยากรที่สมบูรณ์ส่งต่อให้ลูกหลานได้ในอนาคต เกิดกระบวนการเรียนรู้การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
  14. โครงการ : สร้างสุขภาวะ ชุมชนน่าอยู่ สานสามัคคี หมู่ 2

    • ทางตรง : ทำให้ชุมชนมีแหล่งปลูกผักปลอดสารพิษเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนมีศูนย์เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักทั้งในระดับครัวเรือนและระดับชุมชน ทำให้คนนาเปรียมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีสุขภาวะ ทั้งกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ รวมทั้งทำให้คนในชุมชนมีความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจ มีส่วนร่วมทำร่วมรับประโยชน์
    • ทางอ้อม : คนนาเปรียคิดก่อนจะรับประทานอะไรเข้าไปสู่ร่างกาย จึงคิดว่าน่าจะทำให้ภาวะโรคอ้วนของคนนาเปรียลดลง
  15. โครงการ : สร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ( ต่อยอด )

    • ทางตรง : - สัปดาห์ 2 ล้อปั่นรักษ์วังตง เด็กเเละเยาวชนเกิดกระเเสเข้ามาขี่จักรยานมากขึ้น ทำให้เยาวชนมีสุขภาพดี จำนวน 40 คน - สร้างโครงข่ายคนรักษ์สิ่งแวดล้อม เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมภายในกลุ่ม ได้บ้านต้นแบบ เกิดกระแสการ ปลูกผักสวนครัว ในชุมชน การจัดการขยะในครัวเรือน และมีการทำของใช้เองในครัวเรือน เช่น การทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า เป็นต้น จำนวน 110 คน
  16. โครงการ : บ้านศาลาบางปู พัฒนาศูนย์เรียนรู้อาชีพเพาะเห็ดสู่สวัสดิการชุมชน ( ต่อยอด)

    • ทางตรง : สุรุปภาพโดยรวมของโครงการ เกิดเป็นแหล่งเรียนรู้ของผู้ที่สนใจ และช่วยลดปัญหามลพิษที่เคยมีในชุมชนให้ลดน้อยและเบาบางลงได้ ช่วยให้คนในชุมชนเกิดความร่วมมือเกิดความสามัคคีขึ้นในชุมชนและเป็นการเพิ่มรายได้ในระดับครัวเรือนและเกิดสิ่งดีๆขึ้นในชุมชนเช่น การนำก้อนเห็ดเก่ามาใช้ซ้ำ โดยการเอาก้อนเห็ดที่ไม่ใช้แล้ว มานึ่งใหม่ แล้วนำไปเพาะได้เห็ดฮังการี ก้อนเห็ดที่ไม่ใช้แล้วในขั้นตอนสุดท้าย นำมาปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงได้โดยผลผลิตที่ออกมามีคุณภาพดี ประกอบกับก้อนเห็ดสามารถอุ้มน้ำรักษาสภาพความชื้นได้ดีมาก ลดอัตราการรดน้ำลงได้ประมาณครึ่งหนึ่งของห้วงระยะเวลาของการปลูก ช่วยลดต้นทุนในการซื้อดินปลูกผักลงได้ ลดอัตราการทิ้งก้อนเห็ดเก่าและเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับก้อนเห็ดเก่ามีประโยชน์เห็ดรักษาโรค โดยการนำเห็ดทั้ง 3 ชนิด คือ เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดแครง มาต้มรวมกันกินครั้งละ 3 เวลา ประมาณ 1 เดือน ช่วยลดความดันโลหิตและใขมันในเส้นเลือดให้ลดลงได้ จากการทดลองกินของนาง เอริสา  สกุลวิโรจน์
    • ทางอ้อม : กลุ่มเป้าหมาย 20 ครัวเรือน มีความรู้ความเข้าใจในการเพาะเห็ด และได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่มช่วยเหลือกัน ภาคีที่เข้าร่วมประชุม และคณะทำงานที่มาจากตัวแทนของเขตต่างๆ
  17. โครงการ : ชุมชนบ้านห้วยไทร นำขยะสร้างอาชีพ

    • ทางตรง : โดยภาพรวมของตัวโครงการหลังจากดำเนินการมาช่วงระยะงวดสุดท้ายเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการโดยจำนวนคอกหมูและคอกไก่ร้าง ได้มีการนำโรงคอกหมูและคอกไก่ร้างมาดัดแปลงเป็นโรงเรือนเพาะชำเห็ดซึ่งช่วยให้เกิดการปรับปรุงสภาพแวดล้อมส่วนก้อนเห็ดเก่าเก่าที่เหลือ สามารถนำมารีไซเคิลนำมาปลูกผักสวนครัวได้ แต่สิ่งที่ชุมชนพึงระวังและแก้ปัญหาไม่ตกคือเรื่องของถุงพลาสติกที่บรรจุขี้เลื่อยไม่สามารถที่จะกำจัดได้ไห้ดีเท่าที่ควร ถ้าจะนำไปใช้ซ้ำถุงมันก็เก่าแล้ว
    • ทางอ้อม : กลุ่มเป้าหมาย 20 ครัวเรือน มีความรู้ความเข้าใจในการเพาะเห็ด และได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่มช่วยเหลือกัน ภาคีที่เข้าร่วมประชุม และคณะทำงานที่มาจากตัวแทนของเขตต่างๆ
  18. โครงการ : บ้านป่าไหม้ร่วมใจนำป่าสาคูสร้างสุข

    • ทางตรง : เกิดสิ่งดีๆขึ้นมากมายในชุมชน ทุกคนได้ตระหนักและเห็นคุณค่าของป่าสาคูและเกิดประสบการณ์และสิ่งดีเช่น นำ้มันจากด้วง น้ำมันที่อยู่ในตัวด้วงช่วยรักษาสภาพเส้นผมให้ดกดำเงางาม และช่วยรักษาผมร่วง ช่วยลดปัญหาให้แก่ผู้ที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพเส้นผม และช่วยรักษาภูมิปัญญาชาวบ้าน ยางเมือกจากทางสาคู น้ำยางเมือกสามารถใช้ทาใบหน้ารักษาฝ้าแดดได้ และใช้แทนกาวติดกระดาษได้ ช่วยลดปัญหาให้แก่ผู้ที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพใบหน้า และช่วยรักษาภูมิปัญญาชาวบ้าน ทางกลุ่มคิดว่าในโอกาสต่อไปน่าจะเรียนรู้สูตรการผสมอาหารหมูเล็กเองแทนที่จะซื้ออาหารสำเร็จรูปมาใช้ แป้งสาคู ต้นสาคูที่นำไปผ่านกระบวนการบดให้ละเอียดจะได้แป้ง และแป้งที่ได้จากต้นสาคูสามารถนำไปทำขนมพื้นบ้านได้ ร่วมรักษาภูมิปัญญาพื้นบ้านให้คงสืบต่อไป สาคูเก่า สาคูที่เพาะด้วงไปได้ระยะหนึ่งจะต้องทิ้งแต่ทางกลุ่มได้ทดลองโดยการนำมาปลูกผักสวนครัวตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ผลผลิตสวยงาม
    • ทางอ้อม : กลุ่มเป้าหมาย 30 ครัวเรือน มีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงด้วงจากสาคู และได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่มช่วยเหลือกัน ภาคีที่เข้าร่วมประชุม และคณะทำงานที่มาจากตัวแทนของเขตต่างๆ
  19. โครงการ : สินสืบสุขร่วมใจสร้างชุมชนเข้มแข็ง (ต่อยอด)

    • ทางตรง : ชาวสินสืบสุข ที่ร่วมโครงการ มีการร่วมดำเนินกิจกรรมทั้งในด้านกองทุนธนาคารขยะ และ การปลูกผักเกาะกลาง การร่วมกันดำเนินผลิตภัณฑชุมชนจากขยะ ในักษณะ รายได้ครอบครัวและสังคมครอบครัวอบอุ่น
    • ทางอ้อม : เด็กนักเรียน ครู อาจารย์ รร.เทศบาล 5 ที่ร่วมโครงการมีการร่วมโต้วาทัีปลูกจิตสำนึกการร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมการร่วมกันปลูกผัก ทำเมนูผัก และใช้สถานที่รร.เป็นจุกสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์ชุมชน
  20. โครงการ : บ้านบางสระ สาน 6 อ. สู่หมู่บ้านจัดการสุขภาพองค์รวม(ต่อยอด)

    • ทางตรง : การดูแลสุขภาพทางเลือกในผู้ป่วยโรคเรื้อรังในหมู่บ้านบางสระที่เข้าร่วมโครงการ โโยการจัดกลุ่มการปรึกษาปัญหาสุขภาพเชิงลึกและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในลักษณะ 6 อ.
    • ทางอ้อม : กลุ่มอสม.ในพื้นที่ตำบลคลองกระบือ อบต.คลองกระบือและเจ้าหน้ารพ.สต.บ้านบางสระในการร่วมกันเป็นภาคีดูแลสุขภาพและการวางแผนเรียนรู้แก้ปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ
  21. โครงการ : ชุมชนหอยราก สืบสานตำนานขนมลาสร้างสุข

    • ทางตรง : กลุ่มกรรมการโครงการ กลุ่มเครือข่ายผู้สูงอายุ ผู้ประกอบการขนมลา กลุ่ม อสม. และกลุ่มเยาวชน ได้รับประโยชน์เรื่องกรรมวิธีการจัดการชุมชน และการร่วมวางแผนแก้ปัญหาชุมชน ในลักษณะภาคี
    • ทางอ้อม : กลุ่มชาวบ้านข้างเคียง กรรมการโรงเรียนวัดศรีสบูรณ์ ที่ให้ความร่วมมือในการร่วมเรียนรู้สืบสานงานอาชีพขนมลาของชุมชน
  22. โครงการ : บ้านเหนือทุ่งคลองสวยรวยสมุนไพร

    • ทางตรง : สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ โดยการจัดการคลองและจัดการน้ำในคลองให้สะอาด
    • ทางอ้อม : ถ่ายทอดภูมิปัญญาหนังตะลุงให้เยาวชน เน้นเนื้อหาการอนุรักษ์คลอง
  23. โครงการ : ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในดอน

    • ทางตรง : 1. ออกกำลังกาย 2. บริโภคพืชผักปลอดสารพิษ 3. ลดการใช้สารเคมี
    • ทางอ้อม : 1. ออกกำลังกาย 2. บริโภคพืชผักปลอดสารพิษ 3. ลดการใช้สารเคมี
  24. โครงการ : บ้านไม้มูกปลอดกลิ่นเหม็นจากมูลสัตว์ด้วยสมุนไพร

    • ทางตรง : ผู้เข้าร่วมโครงการและเยาวชนมีความรู้เรื่องการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีและได้เข้าร่วมในการแก้ไขมลพิษทางกลิ่นเหม็นจากมูลสัตว์โดยใช้สมุนไพรที่มีในชุมชนเพื่อแก้ปัญหาของชุมชน เกิดฟาร์มสาธิตการจัดการแก้ปัญหามลพิษจากกลิ่นมูลสัตว์เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน
    • ทางอ้อม : คนในชุมชนได้ร่วมเรียนรู้ฟาร์มสาธิตการจัดการแก้ปัญหามลพิษจากกลิ่นมูลสัตว์เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน และเรียนรู้แก๊สชีวมวลสาธิตในชุมชนพร้อมทั้งการใช้สมุนไพรที่มีชุมชนในการจัดการปัญหาด้านกลิ่นของมูลสัตว์
  25. โครงการ : บ้านต้นกระท้อนหลีกเลี่ยงสารเคมีด้วยครัวตัวอย่าง

    • ทางตรง : ผู้เข้าร้วมโครงการได้ปรับปรุงพัฒนาครัวเรือนตามครัวตัวอย่างหลีกเลี่ยงการสารเคมี และมีมีความรู้เรื่องสารเคมี สารเจือปน สารปรุงแต่งในอาหาร การปลูกผักปลอดสารพิษใช้เองในครัวเรือน
    • ทางอ้อม : มีผู้ที่สนใจการดำเนินโครงการได้มาร่วมเรียนรู้แล้วนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ในการปรับปรุงครัวในบ้านของตนเอง
  26. โครงการ : เกษตรอินทรีย์บนเรือนแพบ้านสระกูด

    • ทางตรง : - ลดการใช้สารเคมีในการปลูกผัก เลือกซื้อผักและข้าวปลอดสารพิษที่ผลิตจากชุมชนของตนเอง - กลุ่มวัยเรียน วัยรุ่น หันมาใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ เช่น ร่วมกันทำแพ ร
    • ทางอ้อม : - คนในชุมชนได้บริโภคผักปลอดสารพิษที่ปลูกบนเรือนแพ - คนในชุมชนได้ร่วมกันทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว ได้ออกกำลังกาย ได้พบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ก่อให้เกิดพลังในการดำเนินชีวิต
  27. โครงการ : บ้านอู่แก้วเป็นหมู่บ้านวิถีพอเพียง (ต่อยอด)

    • ทางตรง : 1.ทุกบ้าน(147ครัว)ปลูกผักและสมุนไพรไว้กินเอง >5 ชนิด 2.ทุกบ้านร่วมกันลดใช้สารเคมีในครัวเรือนและการเกษตรทุกชนิด 3.ครัวเรือน75 หลังคาเรือน ลดใช้เครื่องปรุงรสและผงชูรสในการปรุงหรือประกอบอาหาร 4.ทุกบ้านต้องมีรั้ว และเป็นรั้วที่มีชีวิต มีป้ายบอกข้อคติเตือนใจ 5.ขยะจากครัวเรือน นำไปทำเป็นปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ 6.ทุกบ้านทำบัญชีครัวเรือนเพื่อลดรายจ่าย 7.ทุกบ้าน ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่และดื่มสุรา 8.ขับขี่รถมอเตอร์ไซด์ทุกครั้งต้องสวมหมวกกันน้อค 9.ทุกคนให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายหรือออกแรงทุกวัน ให้มีเหงื่อซึม วันละ 30 นาที
    • ทางอ้อม : 1.ทุกครัวเรือนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยบริโภคผักสีเขียวทุกวันและไม่ใช้ใช้สารเคมีในการทำเกษตร 2.ทุกครัวมีการกำจัดขยะครัวเรือน โดยทำเป็นปุ๋ยหมัก เพื่อช่วยลดแหล่งเพาะพันธุ์โรค 3.ทุกครัวเรือนช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับครัวเรือนในการปลูกผักและบำรุงรักษาดิน 4.ลดรายจ่ายของครัวเรือนโดยไม่ซื้อของที่ไม่จำเป็น เช่น ผัก 5.ทุกครัวเรือน ร่วมอนุรักษ์ผักพื้นบ้านและนำมาบริโภคเพราะเป็นอาหารที่ปลอดภัย
  28. โครงการ : บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร(ต่อยอด)

    • ทางตรง : 1.ดื่มน้ำสมุนไพรลดอ้วน ได้แก่ การดื่มน้ำมะนาวกับน้ำผึ้งรวง และนำ้อุ่น ทุกวัน เพื่อลดน้ำหนัก จำนวน 40 คน 2.มีการล้างสารพิษในร่างกาย โดยการดื่มน้ำใบย่านาง จำนวน 40 คน 3.การปรับสมดุลร่างกาย โดยการดื่มน้ำคลอโรฟิลล์ และดื่มน้ำกระชาย จำนวน 40 คน 4.ใช้สมุนไพรทำให้คนเกิดความตระหนัก หันมาเลิกบุหรี่ 3 คน เลิกกาแฟ 20 คน เลิกกินกระท่อม 5 คน หันมาดื่มชาสมุนไพร ดื่มสมุนไพรสดแทน
    • ทางอ้อม : 1.ครัวเรือนหันมาปลูกสมุนไพรเพื่อใช้ดูแลสุขภาพและลดสารเคมีในร่างกาย 2.มีการรักษาโรคด้วยการประคบ อบสมุนไพรและดื่มน้ำสมุนไพร 3.ครัวเรือนมีการนำผักสมุนไพรมารับประทานสดเพื่อดูแลสุขภาพตัวเอง
  29. โครงการ : คลังอาหาร อยู่ดี กินดีที่บ้านหนองสีขวัญ

    • ทางตรง : 1.ครัวเรือนเป้าหมาย 50 คน เรียนรุ้การปลูกผักปลอดสารพิษ 2.ครัวเรือนเป้าหมาย 50 คน เรียนรู้การเลี้ยงแบบพื้นบ้าน 3.ครัวเรือนเป้าหมาย 50 คน เรียนรู้การเลี้ยงไก่แบบพื้นบ้าน 4.ครัวเรือนเป้าหมาย 50 คน เรียนรู้เมนูอาหารพื้นบ้านเพื่อสุขภาพ 5.ครัวเรือนเป้าหมาย 50 คน เรียนรู้การสร้างคลังอาหารปลอดภัย
    • ทางอ้อม : 1.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้วิธีการลดรายจ่ายครัวเรือน 2.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรุ้การสร้างคลังอาหารจากภูมิปัญญา 3.กลุ่มเป้าหมายมีอาหารปลอดภัยไว้บริโภค 4.กลุ่มเป้าหมายได้รับการสอนแนะจากปราชญ์ภูมิปัญญา
  30. โครงการ : บ้านหนองชีพูน เป็นบ้านอยู่เย็นเป็นสุข

    • ทางตรง : 1.ประชาชนจำนวน 70 ครัวเรือนมีการปลูกผักกินเอง (เป้าหมาย 50 ครัว) 2.ครัวเรือนเป้าหมาย 70 ครัวเรือน เรียนรุ้การลดการใช้สารเคมีและสารปรุงแต่งในครัวเรือน 3.ผู้สูงอายุ 30 คน เข้าร่วมกิจกรรมทำดอกไม้จันทน์เพื่อลดคลายเครียดสร้างสุขภาพ 4.ครัวเรือนเป้าหมาย 70 ครัวเรือน เข้าร่วมกิจกรรมทำน้ำหมักและปุ๋ยหมักชีวภาพ 5.กำหนดให้สถานที่ประชุมเป็นเขตปลอดบุหรี่
    • ทางอ้อม : 1.นักเรียน 30 คน เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ 2.ครัวเรือนเป้าหมาย 70 ครัว เปลี่ยนแนวคิดจากเดิมซื้อดีกว่าทำเอง ตอนนี้ผลิตเอง กินเอง ปลอดภัยกว่า 3.ลดค่าใช้จ่ายครัวเรือนในการซื้อน้ำยาเอนกประสงค์ 100 บาทต่อครัวเรือน ปีละ 1,200 บาทต่อปี 4.เกิดความสามัคคีในชุมชน ในการทำกิจกรรมร่วมกัน ใครมีอะไรให้นำส่ิงนั้นเข้าร่วมกิจกรรม
  31. โครงการ : รวมพลัง สานสัมพันธ์สร้างสุขภาพคนเขาปูน

    • ทางตรง : 1. กลุ่มป่วยโรคเรื้อรัง เบาหวานความดันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพได้82 คนจากผู้ป่วยทั้งหมด99คนคิดเป็นร้อยละ 82.46 2. คนในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย การบริโภคอาหารผักปลดสารพิษ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดีเพื่อดูแลรักษาสุขภาพของตนเองได้ ร้อยละ 67จากกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 336คนบรรลุตามวัตถุประสงค์ จำนวน225คน 3. ครัวเรือนปลูกผักปลอดสารพิษ ไว้กินเอง โดยใช้สถานที่แปลงผักกางมุ้งกลางที่โรงเรียน และปลูกผักสวนครัวที่บ้าน จำนวน 106 ครัวเรื่อน
    • ทางอ้อม : สมาชิกครัวเรือนได้บริโภคผักปลอดสารพิษ
  32. โครงการ : พลังแห่งความรัก ถักทอสายใย สานใจชุมชนบ้านปากคลอง

    • ทางตรง : 1. คนออกกำลังกายและออกกำลังกายอย่างน้อย 3วัน /สัปดาห์ต่อเนื่อง จำนวน 116 คน 2. คนเข้าวัดฟังธรรมในวันพระ อย่างต่อเนือง จำนวน 35 คน
    • ทางอ้อม : คนในชุมชนมีพฤติกรรมใฝ่รู้เรื่องสุขภาพ มีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน มีพฤติกรรมเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีความรับผิดชอบรวมทั้งการให้เกียรติยกย่อง ยอมรับนับถือผู้สูงอายุและปราชญ์ชุมชน
  33. โครงการ : ฝายมีชีวิตสร้างสุขชุมชนบ้านตลาด

    • ทางตรง : 1.การออกกำลังกายโดยการว่ายน้ำของเด็ก เยาวชนในชุมชนที่เกิดจากการเก็บกักน้ำเหนือฝาย 2.การที่ครัวเรือนสุขภาพดีในการกินผักพื้นบ้าน ผักปลอดสารพิษ 3.ครัวเรือนสุขภาพจิตดี จากการที่คนในชุมชนเกิดความรักกันมากขึ้น ลดการขัดแย้งการพิพาทเรื่องแนวเขตที่ดิน
    • ทางอ้อม : 1. เกิดสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ในชุมชน บริเวณฝาย เป็นแหล่งรวมตัวของครัวเรือนในการทำกิจกรรมของ พ่อ แม่ ลูก 2. เกิดการยกเลิกการขุดทราย ในการทำลายสภาพแวดล้อม ทัศนียภาพของชุมชน 3. ครัวเรือนเกิดความรักในสิ่งแวดล้อม ต้นไม้ ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น เกิดความร่วมมือในการบวชต้นไม้ บวชป่า
  34. โครงการ : สืบสานวิถีชีวิตคนต้นน้ำบ้านขุนคีรี

    • ทางตรง : ชาวบ้าน ครัวเรือนในหมู่ที่ 5 บ้านขุนคีรี และหมู่บ้านใกล้เคียงได้ใช้น้ำที่สะอาด สารเคมีปนเปื้อนน้อยลง สองข้างคลองได้รับการดูแลปรับทัศนียภาพเป็นแปลงผัก เป็นที่ปลูกผักเพื่อทำแปลงผักปลอดสารพิษมาใช้ในชุมชน
    • ทางอ้อม : นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวที่คีรีวง เดือนละ ไม่ต่ำกว่า 1000คน ได้เห็นทัศนียภาพของคลองบ้านคีรีวงที่ สะอาดน้ำใส และมีน้ำไหลเพียงพอตลอดปีทำให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เช่น การปั่นจักรยานในการเดินทางท่องเที่ยวชมสถานที่ต่าง ๆ ของบ้านคีรีวง โดยเฉพาะอากาศสดชื่น ทั้งปีทำให้คนที่มาเที่ยวเกิดความสุข และความสะบายใจ
  35. โครงการ : รองแง็งเยาวชน ต่อลมหายใจป่าชายเลน บ้านท่าน้ำเค็มใต้

    • ทางตรง : - การอนุรักษ์ป่าชายเลนและพันธ์ุสัตว์น้ำ 120 คน - การอนุรักษ์วัฒนธรรมรองแง็ง 62 คน
    • ทางอ้อม : การรณรงค์ลด ละ เลิกบุหรี่
  36. โครงการ : หุ่นกระบอก ออกเดิน ที่บ้านสวนเทศ(ต่อเนื่อง)

    • ทางตรง : - การจัดการขยะ นำขยะมาทำปุ๋ย ปลูกผักปลอดสารพิษ 145 คน
    • ทางอ้อม : - การจัดการขยะ นำขยะมาทำปุ๋ย ปลูกผักปลอดสารพิษ
  37. โครงการ : สุไหงมาตี พลิกฟื้นชีวี ด้วยความพอเพียง

    • ทางตรง : - เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย 105 คน - บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ 25 คน - ลดอบายมุข 20 คน
    • ทางอ้อม : - เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย 158 คน - บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ 34 คน - ลดอบายมุข 33 คน
  38. โครงการ : เด็กน้อยเกาะโตดนุ้ย เล่านิทานปูม้า ปูทะเล(ต่อเนื่อง)

    • ทางตรง : - อนุบาลปูไข่ เพิ่มปริมาณปูในธรรมชาติ - จัดการแนวเขตอนุรักษ์ - กติกาการอนุรรักษ์ปูไข่
    • ทางอ้อม : - อนุบาลปูไข่ เพิ่มปริมาณปูในธรรมชาติ - จัดการแนวเขตอนุรักษ์ - กติกาการอนุรรักษ์ปู
  39. โครงการ : จากผืนนา สู่ผืนป่าชายเลนที่ควนโต๊ะเจ๊ะ (ต่อเนื่อง)

    • ทางตรง : - การอนุรักษ์ป่าชายเลน - การอนุรักษ์สัตว์น้ำวัยอ่อนโดยลดการใช้สารเคมี - การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ของเยาวชน
    • ทางอ้อม : - การอนุรักษ์ป่าชายเลน - การอนุรักษ์สัตว์น้ำวัยอ่อนโดยลดการใช้สารเคมี - การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ของเยาวชน
  40. โครงการ : สภาทุ่งพัก นำพาตามหลักพอเพียง

    • ทางตรง : - ปลูกผักปลอดสารพิษ - ทำยาปราบศัตรูพืชจากสมุนไพร - ทำปุ๋ยอินทรีย์ ใช้เอง - ลดรายจ่ายค่าไฟฟ้า และออมเงินทุกเดือน
    • ทางอ้อม : - ได้รับการณรงค์ลด ละ เลิกบุหรี่ - ได้บริโภคผักปลอดสารพิษ - ได้รับการรณรงค์การประหยัดค่าไฟ และเพิ่มการออม
  41. โครงการ : ชุมชนบ้านเจริญทรัพย์น่าอยู่เชิดชูผู้สูงวัย (ต่อเนื่อง)

    • ทางตรง : - ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพได้ถูกต้อง จำนวน 100 คน - กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มเยาวชนฝึกศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านจนเกิดคณะกลองยาวเยาวชนในชุมชนอีก 1 วง มีเยาวชนเป็นนางรำ 24 คน มีกลุ่มพายเรือบก 34คน กลุ่มมโนราห์ประยุกต์ 64 คน - ผู้สูงอายุใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการเป็นจิตอาสาในการทำจักสานไม้ไผ่ผูกไม้กวาดผูกผ้างานพิธ๊ทำดอกไม้รังไหม ทำดอกไม้จันทน์เพื่อไว้จำหน่ายในชุมชน เป็นอาชีพเสริม และมีรายได้ และสามารถเป็นวิทยากรได้ 5คน
    • ทางอ้อม : มีการบริโภคอาหารปลอดภัย การออกกำลังกาย การลดหนี้สินครัวเรือน สุภาพจิตดีขึ้น และสามารถเลิก-ลด-ละ-เลิกบุหรีได้ 7 คน
  42. โครงการ : ร่วมปลุกจิตสำนึกรักษ์บ้านชุมโค(ต่อเนื่อง)

    • ทางตรง : การร่วมอนุรักษ์ป่าชายครอบคลุมทุกหลังคาเรือน จำนวน 100 ครัวเรือน
  43. โครงการ : อนุรักษ์ป่าต้นน้ำพรุตาอ้าย (พื้นน้ำ อาหาร บ้านยา ผืนป่า ปะทิว) (ต่อเนื่อง)

    • ทางตรง : - คนในชุมชน กลุ่มผู้ใช้น้ำ กลุ่มแกนนำเยาวชน และอาสาสมัครจำนวน 300 คนมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ป่าต้นน้ำ
  44. โครงการ : บ้านทุ่งยอน่าอยู่แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง (ต่อเนื่อง)

    • ทางตรง : - มีการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษกินเอง 116 ครัวเรือน - มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมี 140 ครัวเรือน
  45. โครงการ : รักษาสิ่งแวดล้อมและประมงชายฝั่งบ้านสามเสียม

    • ทางตรง : - การจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนและทรัพยากรชายฝั่ง 1 กลุ่ม มีสมาชิกจำนวน 8 คน และผู้ร่วมงานอีก 22 คน รวมเป็น 30 คน
  46. โครงการ : บ้านยางฆ้อร่วมใจพัฒนาคุณค่าประชาชน

    • ทางตรง : - การทำอาชีพเสริมด้วยการทำดอกไม้ประดิษฐ์จากใบยางพารา ทำไม้กวาดและสานตะกร้าทั้งที่ทำจากไม้ไผ่และพลาสติก จำนวน 30 ครัวเรือน - ลดความฟุ่มเฟือยด้วยการปรุงอาหารรับประทานเองจากพืชผักสวนครัวที่ปลูกเองและเหลือแจกจ่ายเพื่อนบ้านและขายเป็นรายได้
  47. โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น

    • ทางตรง : - ทำอาชีพเสริมด้วยการทำการแปรรูปพืชสมุนไพร ทำเครื่องแกง - มีการออมเพิ่มขึ้น
  48. โครงการ : ห้วยคล้าชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง สิ่งแวดล้อมยั่งยืน

    • ทางตรง : 1.ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษกินเอง 2.ส่งเสริมการออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย 3 วันวันละอย่างน้อย30 นาที 3.ลด ละ เลิก บุหรี่ สุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    • ทางอ้อม : อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน ให้ระบบนิเวศน์วิทยามีความอุดมสมบูรณ์
  49. โครงการ : สามพลัง ร่วมสร้างคนวัดพระขวางให้อบอุ่น

    • ทางตรง : การเข้ามามีส่วนรับผิดชอบและสืบสานงานประเพณีวัฒนธรรมส่วนรวมของชุมชน จำนวน 120 คน
  50. โครงการ : คนคลองลาดร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่

    • ทางตรง : - ไม่เพิ่มหนี้สินและสามารถลดหนี้สินได้ จำนวน 41 ครัวเรือน - จัดทำบัญชีครัวเรือน จำนวน 62 ครัวเรือน - มีการออมเงินวันละบาท จำนวน 147 คน
  51. โครงการ : บ้านพังเหาสดใส ห่างไกลยาเสพติด มุ่งเน้นเศรษฐกิจพอเพียง

    • ทางตรง : - เยาวชนกลุ่มเสี่ยงสามารถลด ละ เลิก ยาเสพติดได้ จำนวน 40 คน - ปลูกพืชเศฐษกิจพอเพียง เช่นปลูกมะละกอ ฝักทองฝักเขียว มะนาว พริก และพืชสวนครัวต่าง ๆ จำนวน 20 คน - สร้างกลุ่มเพื่อทำอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ จำนวน 80 คน
  52. โครงการ : บ้านเหนือสะอาด ชุมชนสดใส ประชาร่วมใจพัฒนา

    • ทางตรง : - มีการจัดโซนการรับผิดชอบของ อสม. ในการช่วยกันดูแลการจัดการขยะในชุมชน อสม. 1 คนดูแล 10 ครัวเรือน มีการใช้ธงสีในการแบ่งกลุ่มเพื่อให้ง่ายต่อการดูแลติดตามการจัดการขยะ
    • ทางอ้อม : - มีการส่งเสริมการจัดการขยะในโรงเรียน สร้างการเรียนรู้ให้เยาวชนในการจัดการขยะ โดยอบรมการคัดแยกขยะ การแปรรูปขยะให้กับเยาวชน และคนในชุมชนที่สนใจ
  53. โครงการ : พื้นที่สร้างสรรค์ สานสัมพันธ์คนสองวัยชุมชนหัวแหลมพัฒนา

    • ทางตรง : - เยาวชนในชุมชนได้รับการพัฒนาศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุ การใช้เครื่องมือในการตรวจสุขภาพเบื้องต้น จำนวน 30 คน
    • ทางอ้อม : - ผู้สูงอายุในชุมชนได้รับการดูแลเอาใจใส่จากเยาวชน ลงเยี่ยมถึงบ้าน ตรวจสุขภาพให้ทุกเดือน จำนวน 30 คน
  54. โครงการ : ส่งเสริมการเรียนรู้เยาวชน ตามหลักวิถีเศรษฐกิจพอเพียง บ้านไสยง

    • ทางตรง : การปลูกผักและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และการจัดทำเขตปลอดบุหรี่
    • ทางอ้อม : มีเครือข่ายเข้าร่วมกิจกรรมการปลูกพืชและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในหมู่บ้าน
  55. โครงการ : คอกช้างร่วมใจจัดการขยะ…รักสุขภาพ

    • ทางตรง : 61. ประชาชนให้ความสำคัญและให้ความตระหนักในการจัดการขยะ ร่วมกันแยกประเภทขยะก่อนนำไปทิ้งทำไห้ลดปริมาณขยะในชุมชนได้ 2. ประชาชนสามารถนำผลิตภัณฑ์จากขยะนำมารีไซเคิล เพื่อนำมาใช้เป็นอุปกรณ์เครื่องใช้เพื่อลดขยะในชุมชน. เช่น ซองผงซักฟอกนำมาทำเป็นผ้ากันเปื้อน 3. สภาพแวดล้อมในชุมชนสะอาด ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์นำโรคต่างๆ 4. ขยายเครือข่ายการจัดการขยะในโรงเรียนสร้างพฤติกรรมให้เด็กรักสิ่งแวดล้อม และเรียนรู้การจัดการขยะ 5. ชุมชนมีการกำหนดกติกาโดยมีการทำความสะอาดชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้ชุมชนสะอาด
    • ทางอ้อม : 1. ครัวเรือนนำร่อง 40ครัวเรือน้ป็นต้นแบบให้ครัวเรือนอื่นๆที่สนใจ ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น70ครัวเรือน 2. สถานที่ราชการสนใจที่จะเข้าร่วมในการจัดการขยะ
  56. โครงการ : วิทยาลัยทุ่งโพ เรียนรู้ร่วมกัน ร่วมสร้างสรรค์ชุมชนน่าอยู่ ปี 2 (ต่อเนื่อง)

    • ทางตรง : 1. สมาชิกในชุมชน จำนวน 150 คน อาสาสมัครเข้าทำงานในกลุ่มอาสาสมัครที่จัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ 2. เกิดกลุ่มอาสาสมัครใหม่ จำนวน 5 กลุ่ม ได้แก่ 2.1 เกิดกลุ่มอาสาสมัครเฝ้าระวังป้องกันยาเสพติด เพื่อทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ด้านยาเสพติดของชุมชน กำหนดแผน และเป็นแกนนำในการดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน 2.2 เกิดกลุ่มอาสาสมัครยุวดาอีย์ เพื่อทำหน้าที่รณรงค์เชิญชวนกลุ่มเยาวชนให้เข้าร่วมกิจกรรมศาสนา และเป็นแกนนำเยาวชนในการจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน 2.3 เกิดกลุ่มอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียง เพื่อทำหน้าที่ดูแลและจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียง ที่ต้องการความช่วยเหลือ 2.4 เกิดกลุ่มอาสาสมัครมัคคุเทศน์อาสา เพื่อทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล ความรู้ ด้านประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาของชุมชน และทำหน้าที่เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้แก่ผู้มาทัศนศึกษาดูงานในชุมชน 2.5 เกิดกลุ่มอาสาสมัครส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อทำหน้าที่ดูแล ปรับปรุงทัศนียภาพภายในชุมชน เป็นแกนนำในการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน และส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน 3. เกิดเครือข่ายกลุ่มอาสาสมัครในชุมชน และมีการทำข้อตกลงร่วม (MOU) ระหว่างกลุ่มอาสาสมัครกับองค์การบริหารส่วนตำบลแค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแค และมัสยิดมะวาย์
    • ทางอ้อม : เกิดข้อตกลงร่วม (MOU) ระหว่างกลุ่มอาสาสมัครกับองค์การบริหารส่วนตำบลแค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแค และมัสยิดมะวาย์
  57. โครงการ : พื้นที่สร้างสรรค์เด็กและเยาวชน บ้านไทรขึง

    • ทางตรง : -เด็กและเยาวชนเกิดการเรียนรู้จากการทำนาอินทรีย์ในชุมชน -มีพื้นที่ในการแสดงออกของเด็กและเยาวชน
    • ทางอ้อม : -ลดปัญหาเด็กและเยาวชน -ส่งเสริมการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างครอบครัว
  58. โครงการ : แนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหกให้น่าอยู่ปีที่ 2 : ป้อมหก Eco planet ปฎิบัติการชุมชนรักษ์โลก(ต่อเนื่อง)

    • ทางตรง : -คนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการขยะได้อย่างถูกต้อง ทั้งขยะเปียก ขยะแห้ง ในรูปแบบต่างๆ เช่น สี่แยกใส่ใจ ,ตลาดนัดขยะ สู่กองทุนขยะสร้างสุข , ทอดผ้าป่าสามัคคีรีไซเคิล, ค่าย เยาวชน 3 days camp อีก สามวัน ฉันจะเปลี่ยนโลก ทำให้จำนวนขยะลดลง พื้นที่ในชุมชนมีความเรียบร้อยสะอาด ลดการเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค เช่น ยุง แมลงวัน แมลงวี่ -ขยะมีการแยกประเภทได้อย่างถูกต้องและนำไปใช้ประโยชน์ใหม่ในรูปแบบต่างๆที่เหมาะสม เช่น ขยะเปียกในครัวเรือนถูกนำไปใช้ในรูปพลังงานในด้านแก๊สชีวภาพ และการทำปุ๋ยน้ำหมัก ขยะพิษ มีการรวบรวมเพื่อส่งต่อให้กับเทศบาลหาดใหญ่ โดยทางกลุ่มในชุมชนจะมีการับแลกขยะพิษกับเครื่องอุปโภค บรโภคในเครัวเรือน ขยะรีไซเคิ่ล มีการรับซื้อจากสมาชิกในชุมชนในราคาที่เป็นธรรม รายได้ส่วนหนึ่งนำกลับมาพัฒนาชุมชนในด้านเด็ก เยาวชน ทำให้เกิดการสร้างรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน คนในชุมชนมีการพูดคุยกันมากขึ้น เกิดการเอื้อเฟื้อแบ่งปันในชุมชน
    • ทางอ้อม : แรงงานเพื่อนบ้าน เช่น พม่า เขมร อินเดีย ได้มีส่วนร่วมในการจัดการขยะกับชุมชน ซึ่งช่วยลดขยะในบ้านเรือน บ้านเช่าของแรงงานต่างถิ่น ที่อาศัยอยู่ในชุมชนป้อมหก
  59. โครงการ : บ้านต้นมะขามเทศ น่าอยู่ สุขภาพดี ด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชน

    • ทางตรง : -เกิดการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยท่ารำของมโนราห์ทั้ง 12 ท่า ที่มีท่าดัดตัวยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ในด้านการเล่นกลองยาว มีทั้งท่ารำ และ การเดิน เคลื่อนไหวร่างกายตลอดเวลา ทำให้ทั้งผู้เรียน และผู้ฝึกสอนมีร่างกายที่แข็งแรง -ส่งเสริมการผลิตอาหารคนในชุมชนและการดูแลสุขภาพ เช่น การประกอบอาหารที่ปลอดภัย และถุกหลักโภชนาการ -ศิลปะวัฒนธรรม ด้านกลองยาวและมโนราห์ มีความสวยงาม และสนุกสนาน ทำให้ผู้ชมและนักแสดงมีความเพลิดเพลิน และความภาคภูมิใจต่อตนเอง และวิถีของชุมชน ที่ได้ร่วมอนุรักษ์และถ่ายทอดให้กับบุคคลอื่นๆ
  60. โครงการ : บ้านโคกเหล็กพอเพียงหลีกเลียงสารเคมี (ต่อยอด )

    • ทางตรง : 1. มีเด็กและเยาวชนร่วมเป็นวิทยากรในฐานเรียนรู้ "บ้านพอเพียงหลีกเลี่ยงสารเคมี" ของกลุ่มบ้าน 10 บ้าน 2. เด็กและเยาวชนเป็นวิทยากรร่วมในการจัดกิจกรรมเรียนรู้ตามกลุ่มบ้าน ใช้เป็นกลไกกระตุ้นการทำงานของคณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 5 คน 3. เด็กและเยาวชนเป็นทีมดำเนินการ เด็กและผู้ใหญ่ในชุมชนได้ฝึกปฏิบัติการจัดการขยะที่ดีในครัวเรือน เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนให้ร่วมกันพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพมากขึ้น ดังนี้ 1) ใช้ทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์ โดยปราชญ์ชุมชน และครู กศน. เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ การทำน้ำยาไล่แมลง การเพาะปลูก การเตรียมดิน เพื่อลดการใช้สารเคมีในการเกษตร โดยที่ ทุกคนได้นำมูลวัว และเศษวัสดุที่มาสามรถทำเป็นวัตถุดิบในการทำปุ๋ยมาจากบ้าน มาฝึกปฏิบัติพร้อมกันที่ศาลาหมู่บ้าน 2) ขณะดำเนินการได้มีวิธีที่ดี ต่อยอดความคิดเดิมเพิ่มความคิดใหม่ ร่วมกันปรับเปลี่ยนพื้นที่ว่างข้างศาลาเป็นแปลงสาธิตของหมู่บ้าน เป็นแปลงเพราะชำและเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับชุมชน 3) นำกิจกรรมในโครงการเข้าแผนตำบล เรื่องของการพัฒนาหมูบ้านตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4) ผลการตรวจสารเคมีในเลือด พบว่า มีความเสี่ยงลดลง ร้อยละ 60 5) เกิดบ้านตัวอย่างการทำแก็สชีวมวล 4 ครัวเรือน 6) มีหลุมเก็บขยะอันตราย จำนวน 2 หลุม 7) เกิดกลไกการติดตามผลและกระตุ้นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจากคณะกรรมการและปราชญ์ในชุมชน 8)ได้รับการสนับสนุนวัสดุและอุปกรณ์เพื่อส่งเสริมการทำเกษตรลดสารเคมีเพิ่มจาก อบต. และ กศน. เป็นต้น
    • ทางอ้อม : เป็นแหล่งศึกษาดูงานบ้านพอเพียงของอำเภอท่าศาลา มีหมู่บ้านและตำบลใกล้เคียงมาศึกษาดูงานที่บ้านนางศศิวรรณ จันทร์สอน เป็นประจำ
  61. โครงการ : ปฏิรูปหัวลำภูสู่หมู่บ้านจัดการตนเอง(ต่อยอด)

    • ทางตรง : 1. ลดการใช้สารเคมีในการทำเกษตรและในครัวเรือน 2. คนสามวัยเรียนรู้ภูมิปัญญารำพรานมโนราห์
    • ทางอ้อม : เป็นฐานเรียนรู้ 3 เรื่อง 1. เกษตรกรรมยั่งยืน 2. สวัสดิการชุมชน 3. ภูมิปัญญา วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น
  62. โครงการ : หนังตะลุงโขนสดลดสารเคมีบ้านปากเหมือง(ต่อยอด)

    • ทางตรง : 1. ลดการใช้สารเคมีในการทำนาและปลูกผัก 2. คนสามวัยร่วมเรียนรู้ภูมิปัญญาหนังตะลุงโขน
    • ทางอ้อม : ใช้สื่อภูมิปัญญา "ตะลุงโขน" รณรงค์ลดการใช้สารเคมี
  63. โครงการ : สามวัยสานใจดูแลชุมชนสนามกีฬา

    • ทางตรง : - การรวมกลุ่มของคนสามวัยร่วมกันทำหมอนสุขภาพและโมบายปลาตะเพียนได้สำเร็จ ได้ขายและใช้งานได้ จำนวน 79 คน - คนสามวัยมีการออกกำลังกายร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ 48 คน
  64. โครงการ : สวนผักคนเมืองชุมชนพรหมมานนท์ (ต่อเนื่อง)

    • ทางตรง : 1. บริโภคผักปลอดสารพิษ 2. ออกกำลังกาย (ลงแขกปรับพื้นที่ ปลูกและดูแลพืชผัก ติดตามผล) 3. ลดความเครียด ได้มาร่วมกิจกรรมกลุ่มทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น 4. ปรับสิ่งแวดล้อมข้างบ้านที่รกร้างให้เป็นสวนผัก
    • ทางอ้อม : 1. เกิดกลุ่มสวนผักคนเมือง 2. มีตัวอย่างบ้านเรียนรู้การใช้พื้นที่จำกัดชุมชนเมืองปลูกผัก (บ่านายประจวบ เมฆเรือง)
  65. โครงการ : บ้านปลาบ้านปูฟื้นฟูป่าชายเลนลดหนี้นอกระบบบ้านหน้าทับ

    • ทางตรง : จัดการสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพ โดยใช้ภูมิปัญญา "บ้านปูบ้านปลา"
    • ทางอ้อม : เรียนรู้ภูมิปัญญา "บ้านปูบ้านปลา" ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล ให้เอื้อต่อสุขภาพ
  66. โครงการ : เกษตรผสมผสานบ้านทะเลปัง

    • ทางตรง : 1. จัดตั้งกลุ่มจัดตั้งกลุ่มตลาดนัดเคลื่อนที่ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันนำสินค้าไปจำหน่ายที่ตลาดนัด168 ตรงข้ามการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทุกเย็นวันอังคารมีคณะกรรมการบริหารจัดการกลุ่ม ประเมินผลการลดรายจ่ายจากการทำบัญชีครัวเรือน 2. ลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ในครัวเรือนได้ ร้อยละ 20 มีผลิตภัณฑ์ลดรายจ่ายของหมู่บ้านเกิดจากความภูมิใจที่ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการคิดและช่วยกันทำ ได้แก่ ยาสระผม สบู่ น้ำยาอเนกประสงค์น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นฝึกปฏิบัติกากรทำตะกร้าใส่ผลิตภัณฑ์ และตะกร้าใส่ของ ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ มีวิธีคิดเปรียบเทียบก่อนหลัง นำไปใช้แล้วมาประเมินผล พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้น 3. ประชาชนในหมู่บ้านเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน ร้อยละ 80 4. ประชาชนมีความเครียดลดลงจากเดิมที่เครียดจากหนี้สิน ร้อยละ 20 ประชาชนได้เรียนรู้การทำผลิตภัณฑ์ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ นำผลิตภัณฑ์มารวมเป็นตะกร้า นำไปจำหน่ายในตลาด เป็นตลาดนัดเคลื่อนที่ (เดินหิ้วตะกร้ารวมผลิตภัณฑ์ไปทั่วตลาดและตามบ้านเรือน) ในขณะเดียวกันประชาชนทำบัญชีครัวเรือนเพื่อช่วยลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เพิ่มการออม ลดหนี้ได้ มีความเครียดลดลง มีความสุขเพิ่มขึ้น
    • ทางอ้อม : พื้นที่ว่างเปล่าบริเวณข้างบ้าน คันบ่อปลา ปรับเปลี่ยนเป็นการทำเกษตรผสมผสาน สร้างรายได้ ลดรายจ่าย แก้ปัญหาคนว่างงาน และหนี้สินให้ครอบครัวได้
  67. โครงการ : ปลุกพลังผู้สูงวัยบ้านลำคลอง

    • ทางตรง : - เกษตรกรจำนวน 33 ครัวเรือน ได้ปรับเปลี่ยนจากการใช้ปุ๋ยเคมีมาเป็นปุ๋ยชีวภาพในการปลูกผักสวนครัว - มีการรวมกลุ่มเพื่อทำน้ำยาไล่แมลงซึ่งเป็นสูตรที่ได้มาจากปราชญ์ท้องถิ่นทุกวันที่ 20 ของเดือน (หลังจากเสร็จการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน) ซึ่งนอกจากสมาชิกของกลุ่มแล้ว ยังมีผู้สนใจเข้าร่วมทำน้ำยาไล่แมลงอีกจำนวน 30 คน
  68. โครงการ : บ่อกุ้งร้างสร้างสุขบ้านหนองนกไข่

    • ทางตรง : - มีการปรับเปลี่ยนบ่อร้างและที่ดินรกร้างเปลี่ยนเป็นที่ทำการเกษตร จำนวน 40 ครัวเรือน
  69. โครงการ : สร้างงานสานรอยยิ้มบ้านบางไร่

    • ทางตรง : - ปรับพื้นที่ข้างบ้านเป็นแปลงผัก จำนวน 50 ครัวเรือน - การใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นมาเป็นวัตถุดิบในการเกษตร ได้แก่ การเลี้ยงปลา การเลี้ยงไก่ โดยใช้อาหารที่หาได้จากชุมชนตามธรรมชาติ การทำปุ๋ยหมักใช้เองโดยใช้วัสดุที่มีในชุมชนเช่น ขี้วัว แกลบ ฟางข้าวและเศษผักที่ได้จากตลาดในชุมชนมาเป็นส่วนผสมของปุ๋ยหมัก ใช้ไม้จากสวนข้างบ้านทำเป็นโรงเรือน ใช้แกลบที่เป็นวัสดุเหลือใช้จากการสีข้าวมาใช้รองพื้นคอกไก่ จำนวน 50 ครัวเรือน
  70. โครงการ : คืนสู่ธรรมชาติบ้านพัฒนา

    • ทางตรง : ประชาชนในหมู่บ้าน จำนวน 30 ครัวเรือน ร่วมกันร่วมกันฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในผืนนา และไร่สวน ให้เป็นที่ทำกินแบบดั้งเดิม ลดสารเคมี เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
  71. โครงการ : รูปแบบการจัดการตลาดเทศวิวัฒน์ 1 เพื่อสุขภาวะของชุมชน (ต่อเนื่อง)

    • ทางตรง : มีการเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะ และช่วยกันคัดแยกขยะก่อนทิ้ง ตลาดสะอาด และเป็นระเบียบมากขึ้น เกิดความสามัคคีในชุมชน เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และชาวชุมชน
    • ทางอ้อม : พ่อค้า แม่ค้าในตลาด เกิดการเรียนรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ และการรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบในตลาด เกิดมาตราการร่วมกันในการดูแลตลาด
  72. โครงการ : ชุมชนบูเกะสูดอร่วมใจจัดการขยะ สร้างสุขภาพ

    • ทางตรง : - แกนนำครัวเรือนต้นแบบ มีบทบาทที่เป็นตัวอย่างครัวเรือนในชุมชนด้านการนำความรู้เรื่องการจัดการขยะมาประยุกต์ใช้ในครัวเรือนโดยมีการคัดแยกขยะก่อนนำไปทิ้ง การนำขยะที่มีอยู่ในครัวเรือนนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยนำไปผลิตเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อใช้ในครัวเรือน ซึ่งทำให้ครัวเรือนต้นแบบได้รับประโยชน์และลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ย เพราะสามารถผลิดได้เอง มีความปลอดภัยอีกทั้งยังสามารถลดขยะที่ก่อให้เกิดเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชน พร้อมทั้งมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริหารจัดการขยะและสิ่งปฏิกูลจากต้นทางคือครัวเรือนสู่การกำจัดขยะที่ถูกสุขลักษณะ ลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค และยุงที่เป็นพาหะนำโรคเป็นต้นแบบแก่ครัวเรือนอื่นๆในชุมชน - เกิดกลุ่มแกนนำเยาวชนต้นแบบโดยมีแกนนำเยาวชน จาก โรงเรียนบ้านบูเกะสูดอ และ ตาดีกามัสยิดบ้านบูเกะสูดอ ที่มีบทบาทในการรณรงค์การจัดการขยะและลดการการสร้างขยะในชุมชน
    • ทางอ้อม : เกิดความเข้าใจและชุมชนมีทัศนคติที่ดีต่อการจัดการขยะ เช่น มีความเข้าใจในการคัดแยกขยะก่อนนำไปกำจัดมากขึ้น มีความเข้าใจต่อการนำขยะกลับมาใช้ซ้ำ อีกทั้งชุมชนมีทัศนคติที่ดีในการมีส่วนร่วมการลดขยะในชุมชนเพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค และยุงที่เป็นพาหะนำโรค ทำให้เกิดชุมชนน่าอยู่ ประชาชนสุขภาพดี
  73. โครงการ : ชุมชนพิกุลทอง สุขภาพดี ด้วยสมุนไพรไทย

    • ทางตรง : มีลักษณะของการหันมาใช้พืชสมุนไพรในการส่งเสริมสุขภาพและรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย
    • ทางอ้อม : มีพฤติกรรมการจัดการขยะและอยู่ในมาตรการการลดละเลิกสิ่งมึนเมาในงานบุญของชุมชน
  74. โครงการ : โครงการเยาวชนตัวอย่าง ร่วมสร้างชุมชนอุเปน่าอยู่

    • ทางตรง : - เยาวชนชายหันมาเล่นกีฬาฟุตบอลโดยมีการฝึกสอนกันอย่างเป็นระบบ มีการเข้าร่วมกิจกรรมของส่วนรวมของชุมชน และมีพฤติกรรมการติดยาเสพติดน้อยลง - เยาวชนหญิงที่เข้าร่วมโครงการ มีรายได้เสริมจากการจำหน่ายเข็มกลัดดอกไม้ และพัฒนางานฝีมือให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และยังสามารถสร้างรายได้
    • ทางอ้อม : มีการสร้างความตระหนักร่วมกับกับชุมชนโดยเฉพาะผู้นำศาสนา องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนชุมชน ให้เป็นครอบครัว และชุมชนน่าอยู่และปลอดจากยาเสพติดและอบายมุข เป็นต้น
  75. โครงการ : มัสยิดกุนุงจนองสร้างสุข สู่สองวัยใส่ใจสุขภาพ

    • ทางตรง : มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิตและการจัดกิจกรรมของส่วนรวมในชุมชนเช่น การเลิกใช้โฟมในการห่อหุ้ม การใช้พืชผักปลอดสารพิษจากชุมชนในการบริโภค เป็นต้น
    • ทางอ้อม : เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเช่น การไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ เช่น บริเวณโรงเรียนตาดีกา และมัสยิดของชุมชน
  76. โครงการ : เมล็ดพันธุ์สารวัน สานพลังสร้างสุข

    • ทางตรง : การดูแลสุขภาพตามวิถีคนพุทธเช่นการเข้าวัดปฏิบัติธรรม
    • ทางอ้อม : การมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหาและตอบแบบสอบถามทำให้ทราบถึงปัญหาที่แท้จริงของชุมชนจึงเข้าในการดูแลสุขภาพตอเองและคนในครอบครัว
  77. โครงการ : บ้านโคกไม้ไผ่ รู้จด รู้ใช้ สุขได้ด้วยพอเพียง

    • ทางตรง : - มีครัวเรือนนำร่องที่ทำกิจกรรมลดรายจ่าย ได้แก่การปลูกพืชผักไว้บริโภคในครัวเรือน การเลี้ยงกบ การเพาะเห็ด การปลูกมะนาวจำนวน 40 ครัวเรือน - การรวมกลุ่มกันทำขนมจำนวน 15 คน - ครัวเรือนนำร่องทุกครัวเรือนเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ - มีการปลูกพืชผักในที่สาธารณะ จำนวน 3000 ต้น - มีเขตปลอดบุหรี่ที่ศาลาประชุมหมู่บ้าน จำนวน 1 แห่ง
    • ทางอ้อม : - คนส่วนใหญ่ในชุมชนมีพืชอาหารปลอดภัยไว้บริโภคมากขึ้น
  78. โครงการ : เยาวชนต้นแบบบ้านลาเกาะ ม.2

    • ทางตรง : การดูแลสุขภาพตนเองตามวิถีมุสลิมและไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุขทั้งหลาย
    • ทางอ้อม : คนในชุมชนดูแลสุขภาพตนเองและใส่ใจในการดูแลสุขภาพบุตรหลายไม่ให้มั่วสุมยาเสพติดโโยนำหลักการทางศาสนามานำพาวิถีชีวิต
  79. โครงการ : โครงการจัดทำแผนการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบ้านควนตุ้งกู

    • ทางตรง : การร่วมมือกันอนุรักษ์ เฝ้าระวังและฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งซึ่งเป็นแหล่งความมั่นคงทางด้านอาหารและความมั่นคงในการดำรงชีวิตของคนในชุมชน
    • ทางอ้อม : ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฏ ระเบียบ ข้อตกลงที่คณะกรรมการกลุ่มประมงพื้นบ้านบ้านควนตุ้งกูได้ประกาศโดยผ่านความเห็นชอบร่วมกันของคนในชุมชน
  80. โครงการ : คนเขาแก้วใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่

    • ทางตรง : มีต้นไม้กินได้เพิ่มขึ้นในหมู่บ้านไม่น้อยกว่า 1,000 ต้น ไม่ต่ำกว่า 20 ชนิด - มีเด็กและเยาวชนในหมู่บ้านที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเกิน 5 กิจกรรม - มีคณะทำงานของชุมชนจำนวน 15 คน - มีกติกาและคณะทำงานร่วมกันระหว่างโรงงานและชุมชน โดยชุมชนสามารถแจ้งทางโรงงานได้ตลอดเวลาเมื่อเกิดผลกระทบจากมลภาวะของโรงงาน - มีเขตปลอดบุหรี่ในบริเวณวัดเขาแก้ว จำนวน 1 แห่งคือศาลาประชุมของวัด
    • ทางอ้อม : พืชผักพื้นเมือง ที่ปลอดภัยไว้บริโภคเพิ่มขึ้นในชุมชน
  81. โครงการ : สตรีบ้านโต๊ะบันก้าวหน้า พัฒนาตนเองตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

    • ทางตรง : - มีเยาวชนและสตรีร้อยละ 50 ที่ทำบัญชีครัวเรือนสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้ถูกต้อง - มีกลุ่มอาสาสมัครบัญชีครัวเรือนที่คอยให้คำปรึกษาและแนะนำการทำบัญชีครัวเรือน อย่างน้อย 10 คน - เด็กและเยาวชนรู้และตระหนักถึงภาระค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือน - สตรีในครัวเรือนตัวอย่างสามารถรู้จักการทำบัญชีครัวเรือนและควบคุมการใช้จ่ายได้ - มีเขตปลอดบุหรี่จำนวน 1 แห่ง กลุ่มสตรีบ้านโต๊ะบัน
    • ทางอ้อม : ครัวเรือนที่สามารถควบคุมและตระหนักในการใช้จ่ายเงินได้
  82. โครงการ : กติกาชุมชนคนนาเกตุ

    • ทางตรง : เกิดการมีส่วนร่วม ในการจัดการแก้ไขปัญหาสุขภาวะ ของตนเอง ครอบครัว และชุมชน มีแผนงาน โครงการ แก้ไขปัญหา แบบมีส่วน ร่วม ตรงตามสภาพของปัญหาในพื้นที่ ประชาชนได้มีกิจกรรมที่เกิดประโยชน์ต่อชุมชน สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาวะได้ ตามความเหมาะสมตรงตามบริบทของพื้นที่ สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสุขภาวะ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เกิดผู้นำทางสุขภาวะ เป็นบุคคลต้นแบบ ในพื้นที่ องค์กรชุมชน ประชาชน ได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรียนรู้กระบวนการ จัดการข้อมูลสุขภาวะ วิเคราะห์ปัญหาของชุมชน ร่วมคิด แนวทางแก้ไข แบบฉันทามติ ชุมชมร่วม อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น หวงแหน สิ่งดีีดี ในพื้นที่ ร่วมถ่ายทอด อนุรักษ์ ให้คงอยู่ตลอดไป
    • ทางอ้อม : ประชาชนในพื้นที่ ได้ร่วมกิจกรรมแก้ไขปัญหาของชุมชนเอง ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมรับผลประโยชน์ ทำให้ชุมชน เกิดการยอมรับสิ่งใหม่ ที่มีเหตุมีผล สร้างสรรค์ เกิิด กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม พัฒนาความคิด เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เกิดผู้นำทางพฤติกรรม ผู้นำทางธรรมชาติ เพิ่งขึ้น สร้างความรัก ความสามัคคี ให้เกิดขึ้นในชุมชน เกิดการร่วมกลุ่มสร้างสุขภาวะ กลุ่มใหม่ขึ้นในพื้นที่ เช่น กลุ่มดนตรีไทยคนนาเกตุ ลดภาวะการขัดแย้งในพื้นที่ เกิดการยอมรับในกติกาของชุมชนเอง ลดปัญหาสุขภาวะจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัด ลดโรคทางกาย จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง ลดปัญหาทางจิต จากการหวาดกลัว หวาดระแวง เกิดจากความสามัคคี รักชุมชน สังคมดีขึ้น รู้สึกสำนึกรักบ้านเกิด
  83. โครงการ : ส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นไทยสร้างสายใยชุมชน ปี 2

    • ทางตรง : การนำศิลปพื้นบ้านเช่นมโนราห์ กลองยาว พัฒนาเป็นท่าออกกำลังกายของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
    • ทางอ้อม : การลดบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะโดยคนในชุมชนให้ความสำคัญป้ายพื้นที่ปลอดบุหรี่ระหว่างเข้าร่วมกิจกรรมและพื้นที่สาธารณะปลอดบุหรี่ ป้ายรณรงค์พื้นที่ปลอดบุหรี่
  84. โครงการ : พลังชุมชน สร้างสัมพันธ์ สู่ฝันคนคลองช้าง ปี 2

    • ทางตรง : การจัดการข้อมูลชุมชนทำให้กลุ่มเป้าหมายทราบข้อมูลและดูแลสุขภาพตนเองทุกมิติ
    • ทางอ้อม : เกิดการดูแลสุขภาพคนในชุมชนทั้งระบบเช่นการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง คนพิการโดยอาสาสมัครชุมชน
  85. โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนสุขภาวะและท้องถิ่นน่าอยู่บ้านต้นทุเรียน

    • ทางตรง : การปลูกผักกินเองโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์
    • ทางอ้อม : การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการให้ความร่วมมือในการป,ุกผักปลอดสารเคมีเป็นการสร้างสุขภาวะแก่ชุมชนลดการซื้อผักจากข้างนอกที่มีสารปนเปื้อน
  86. โครงการ : โครงการเสริมสร้างการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบ้านน้ำราบ

    • ทางตรง : ได้เครือข่ายเป็นแกนนำในการร่วมกันจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบ้านน้ำราบ
    • ทางอ้อม : คนในชุมชนบ้านน้ำราบ รับรู้สถานการณ์ทางทรัพยากรและชายฝั่งจากการประชุมประจำเดือน การคืนข้อมูลสู่ชุมชน และเวทีร่างแผนการจัดการทรัพยากร ทำให้เกิดจิตสำนึกในการทรัพยากรร่วมกัน
  87. โครงการ : คนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย

    • ทางตรง : - มีแกนนำ อสม. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ได้รับการดูแลสุขภาพโดยการใช้สมุนไพรที่มีในชุมชน
    • ทางอ้อม : - คนในชุมชนทั้ง 210 ครัวเรือน สามารถมาใช้นวตกรรมดูแลสุขภาพ และลานสุขภาพของชุมนได้
  88. โครงการ : สร้างความมั่นคงทางอาหารบ้านทุ่งทวย

    • ทางตรง : - มีการปลูกพัน์ไม้พื้นเมืองเพิ่มพื้นที่สีเขียวและเป็นพืชอาหารจำนวน 250 ต้น ไม่ต่ำกว่า 15 ชนิด เช่น ต้นกะแบบ หว้า จิก มะเดื่อ สะเดา สะตอ เนียง - มีแหล่งน้ำจากการสร้างฝายกั้นน้ำจำนวน 2 แห่งมีชาวบ้าน ตัวแทนองค์กรภายนอก เด็กและเยาวชน เข้าร่วมทำฝายทั้งสองแห่ง จำนวนประมาณ 300 คน - มีเขตปลอดบุหรี่ในพื้นที่ศาลาประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง
    • ทางอ้อม : ประชากรในหมู่บ้านไม่ต่ำกว่า 400 คน ได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากกิจกรรมที่ทำทางตรง
  89. โครงการ : เพิ่มต้นทุนชีวิต พิชิตโรค สู่ชุมชนน่าอยู่ บ้านหัวสะพานเหล็ก

    • ทางตรง : 1.ชุมชนมีการนำภูมิปัญญามาส่งเสริมการบริโภค เป็น เมนูอาหาร และมีการปลูกผักในระดับครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น 2. มีการชักชวนคู่บัดดี้จากการเข้าร่วมกิจกรรม ปั่นเพื่อแม่ มีการขยายผลขยายกลุ่มในชุมชนเพิ่มมากขึ้น มีกลุ่มปั่นเพื่อลด Bike for Dietขึ้น 3. มีการลดละเลิก บุหรี่ อย่างห็นได้ชัดโดยเฉพาะการเคารพกติกาไม่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ
    • ทางอ้อม : 1. มีการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรม และมีการนำแนวทางศาสนาอิสลามกับสร้างเสริมสุขภาพร่วมด้วย 2. มีการนำภูมิปัญญา สมุนไพรและพืชผักในชุมชน มาปรุงเป็นเมนูต้านโรค
  90. โครงการ : พัฒนาชุมชนราษฏร์บำรุงแบบเศรษฐกิจพอเพียง

    • ทางตรง : ชุมชนเรียนรู้หลักสูตรชุมชนและหลักสูตรอาหารพื้นบ้านลดหวานมันเค็ม นำไปสู่การปรับพฤติกรรมการกินได้
    • ทางอ้อม : มีเพื่อนบ้านที่ปลูกผักปลอดสารพิษ นำไปสู่การขยายผลกับครัวเรือนอื่นๆ ต่อไป
  91. โครงการ : ปราชญ์ตัวน้อยช่วยเศรษฐกิจที่บ้านไสหร้า

    • ทางตรง : ลดการใช้สารเคมี บริโภคพืชผักปลอดสารพิษ
    • ทางอ้อม : ลดการใช้สารเคมี บริโภคพืชผักปลอดสารพิษ
  92. โครงการ : บ้านนาปริก สุขภาวะดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน ตามแนวทางวิถีพอเพียง

    • ทางตรง : 1.ชุมชนมีการนำภูมิปัญญามาส่งเสริมการบริโภค เป็น เมนูอาหาร และมีการปลูกผักในระดับครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น 2. ชุมชนมีการรวมกลุ่มออกกำลังกาย แต่ละกลุ่ม และรูปแบบสอดคล้องวิถีชุมชนเช่น ไม้พลองป้าบุญมีฟุตบอล ตระกร้อ วิ่ง เดินและการปั่นจักรยาน
    • ทางอ้อม : 1.มีการจัดพื้นที่ด้านการปลูกผักและการออกกำลังกายโดยชุมชน 2. มีการนำทุนทางสังคมด้านพื่ชสมุนไพร และจัดเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน
  93. โครงการ : ผัก:สายสัมพันธ์สู่่ทับคริสต์วิถีชีวิตที่พอเพียง

    • ทางตรง : - เยาวชนที่ได้รับการพัฒนาทักษะการเป็นยุวเกษตรกร จำนวน 30 คน ช่วยกันปลูกผัก ผลไม้ เพื่อจำหน่าย และนำเงินมาเป็นกองทุนในการจัดกิจกรรมของตนเอง
    • ทางอ้อม : - ผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 30 คน ได้รับการดูแลด้านสุขภาพร่างกายจากกลุ่มเยาวชน ช่วยกันทำแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ ดุแลแปลงผักให้ - คนในชุมชนอีกกว่า 70 ครอบครัว ที่สนใจหันมาปลูกผักปลอดสารพิษ สารเคมี เพื่อนำมาเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว โดยการนำไปขายในตลาดชุมชนที่ทางโครงการจัดตั้งขึ้น และขายให้กับพื้นบ้านที่สนใจนำสินค้ามาแลกเปลี่ยน ซื้อขายกัน
  94. โครงการ : ปรับพฤติกรรมการกิน สร้างสุขคนควนทัง

    • ทางตรง : - มีพื้นที่ร่วมกันของคนภายในชุมชน เช่น แปลงผักของหมู่บ้าน - ลานกีฬาของคนภายในชุมชนที่เด็ก ๆ เข้ามาเล่นกีฬาออกกำลังกาย
    • ทางอ้อม : - ผักที่ปลูกภายในชุมชนบุคคลภายนอกสามารถนำไปรับประทานได้ ภายในชุมชนมักจะมีกิจกรรมในเรื่องการส่งเสริมให้ความรู้ในด้านอาชีพ การทำขนม หรือ การทำอาหาร โดยสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร และโครงการอื่นที่เข้าร่วมกิจกรรมภายในชุมชน
  95. โครงการ : ขยะลอยน้ำบ้านเปี๊ยะหัวเนิน(ต่อยอด)

    • ทางตรง : 1. ตัวแทนครัวเรือนจัดเก็บขยะตามสถานที่สาธารณะในหมู่บ้านทุกเดือนและจัดการขยะได้ถูกวิธี จำนวน 120 คน 2. แม่ค้ามีพฤติกรรมการจัดเก็บขยะอย่างถูกวิธี จำนวน 30 คน 3. ครัวเรือนจัดเก็บขยะมีพิษใส่บ่อขยะพิษคือที่บริเวณศาลาหมู่บ้านและวัดศรีสุวรรณารามเพื่อรอ อบต นำไปจัดการอย่างถูกต้องต่อไป 4. ครัวเรือนริมน้ำจัดเก็บขยะที่ลอยน้ำ ตามลำคลองจำนวน 50 ครัวเรือน 5. ตัวแทนครัวเรือนร่วมกันรณรงค์เก็บขยะและพัฒนาหมู่บ้านปีละ2 ครั้ง ในวันพ่อและวันแม่ จำนวน 120 คน 6. แกนนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะ จำนวน 55 คน 6. ครัวเรือนจัดการขยะในแต่ละประเภทถูกวิธี จำนวน 140 ครัวเรือน
    • ทางอ้อม : 1. คนในชุมชนไม่ทิ้งขยะตามที่สาธารณะจำนวน 1125 คน 2. ครัวเรือนจัดเก็บบ้านเรือนถูกสุขลักษณะ จำนวน 55 ครัวเรือน
  96. โครงการ : บ้านดอนมะปราง มีชีวิตปลอดภัยด้วยเกษตรอินทรีย์

    • ทางตรง : 1.ครัวเรือนเป้าหมายมีการปลูกผักไว้กินเองที่บ้าน เป็นผักปลอดสารพิษ ผักปลอดภัย และลดการเกิดโรคได้ 2.ประชาชนในหมู่บ้าน ของครัวเรือนเป้าหมาย ได้ออกแรงหรือออกกำลังกายจากวิถีชีวิตประจำวัน ไม่น้อยกว่า 30 นาที 3.ครัวเรือนเป้าหมายได้เรียนรู้วิธีการลดการใช้สารเคมี ในชีวิตประจำวัน 4.ครัวเรื่อนเป้าหมาย ลดเครียด ด้วยการออกแรงประจำวัน 5.ครัวเรือนเป้าหมายเรียนรู้วิธีการลดหนี้ครัวเรือน ลดเครียด ด้วยการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
    • ทางอ้อม : 1.ประชาชนในหมู่บ้านได้ร่วมกันรณรงค์ ออกกำลังกายจากวิถีประจำวัน โดยการปลูกผัก รดนำ้้ต้นไม้ 2.ประชาชนในหมู่บ้าน เรียนรู้วิธีการลดสารเคมี โดยการใช้ชีวภาพ
  97. โครงการ : สุขภาวะบ้านพิเทน ในวิถีชีวิตพอเพียง

    • ทางตรง : การนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงใาใช้ในชีวิตประจำวันเช่น การทำปุ๋ยหมักในการปลูกพืชผักในครัวเรือน
    • ทางอ้อม : ผลพลอยได้จากการทำน้ำหมักชีวภาพในการปลูกผักกินเองทำให้คนในชุมชนลุกขึ้นมารณรงค์การใช้การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในกสนปลูกพืชผักสวนครัว
  98. โครงการ : เอาพลาสติกคืนไปเอาพฤกษ์ไพรคืนบ้านดอนทะเล(ต่อยอด)

    • ทางตรง : มีการประชุมเพือวางแผนการดำเนินกิจกรรมทุกครั้งซึ่งผลจากการดำเนินตามตัวชี้วัดได้ดังนี้ 1.1 เกิดกติกาการจัดการขยะของชุมชน 1 ฉบับ ส่งให้หน่วยงานในท้องถิ่น เนื้อหาดังนี้ วแทนครัวเรือนเข้าใจ กติกาที่ชุมชนเสนอและยอมรับ มติชุมชน ครัวเรือนมีสมุดบันทึกความดี บ้านละ 1 เล่ม เพื่อบันทึกกิจกรรมดีๆที่เป็นประโยชน์ ครัวเรือนมีสมุดรับ-จ่าย บ้านละ 1เล่ม เพื่อบันทึกรายรับรายจ่าย ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดการขยะตามแนวทางของบ้านดอนทะเล ผู้นำหรือตัวแทนมีข้อมูลครัวเรือนที่ตนเองเป็นตัวแทนเพื่อนำผลมาพูดคุยแบ่งปันในที่ประชุมสภาเพื่อแลกเปลี่ยน ได้แก่ 1)ไม่ใช้ถุงพลาสติกใส่ข้าวสวยในงานต่างๆ ของหมู่บ้าน 2)ใครทิ้งขยะเพ่นพ่านให้รีบไปบอกกติกา และนำมาเสนอในที่ประชุมหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดความตระหนักในหารจัดการขยะ ใช้กลุ่มกระตุ้นให้บุคคลรักษาที่สาธารณะให้สะอาดอยู่เสมอ 1.2 กลุ่มเป้าหมายปฏิบัติตามกฎกติกา ร้อยละ 90 สมาชิก ทุกหลังคาเรือนให้การยอมรับและปฏิบัติโดยสังเกตุจากสมุดบันทึกความดี ได้ทำตามกติกา ร้อยละ 90 1.3 มีสภาผู้นำชุมชน คณะกรรมการชุมชนติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามกติกาอย่างต่อเนื่อง มีการนำข้อมูลมาประชุมในวาระการประชุมของหมู่บ้านทุกเดือน -กรรมการมีการประชุมต่อเนื่อง ทุกเดือน ตามหลักบานรายงานการประชุม 1.4 ปริมาณขยะในครัวเรือนลดลง ร้อยละ 90 -ขยะในครัวเรือน จากการบอกเล่าลดปริมาณลง เนื่องจากชุมชนมีการใช้ถุงผ้ารณรงค์ในการจ่ายตลาด และซื้อขาย และจากข้อมูลในสมุดทำความดี 1.5 กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมการเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะในครัวเรือน ร้อยละ 90 -กลุ่มเป้าหมายร่วมกิจกรรมครบตามแผนร้อยละ 90 ตามรายงานภาพและบันทึกกิจกรรม 1.6 กลุ่มเป้าหมายเปฏิบัติการจัดการขยะในครัวเรือนได้ ร้อยละ 70 -จากการเปิดสมุดทำความดีพบว่าทุกครัวเรือนมีการบันทึกเรื่องการจัดการขยะ อย่างน้อยคือการแยกขยะก่่อนทิ้ง คบทุกครัวเรือน 2.1 รวมกลุ่มจัดทำสินค้าอุปโภคบริโภคในชุมชน เพื่อลดปริมาณขยะ และลดรายจ่ายสินค้าประจำครัวเรือน เริ่มแยกแยะได้ว่าน้ำยาล้างจานมี 3 ประเภท คือ 1.น้ำยาล้างจานในท้องตลาด 2.ผลิตเอง 3.เข้มข้นเติมน้ำแล้วใช้ได้เลย ซึ่งทั้ง 3 ประเภทนี้มีความแตกต่างกันในเรื่องที่มา ประโยชน์ วัตถุประสงค์ที่ใช้ เป็นต้น การทำกิจกรรมที่ดี เล็กๆ น้อยๆ มารวมกลุ่มกันทำจะเป็นประโยชน์ในการสร้างสายสัมพันธ์ในชุมชนอย่างมาก ยังผลให้กิจกรรมอื่นๆ ได้รับการสนับสนุนด้วยดีเกิดผลประโยชน์ในชุมชนเป็นที่สุด กลุ่มเกลียวทอง เป็นกลุ่มนำในการดำเนินการผูกผ้า จัดดอกไม้ ขันหมาก บายศรี ใช้วิธีอย่างนี้สร้างองค์กรเป็นอาชีพมาแล้ว คือบริการฟรีหลายปี จนชุมชนประทับใจแล้วเริ่มทำเป็นอาชีพอย่างมีคุณธรรมตลอดมาจนถึงทุกวันนี้ 2.2 ชุมชนมีร้านค้าชุมชนและสวัสดิการชุมชน -เกิดร้านค้าสวัสดิการในชุมชน 1 แห่ง ตั้งอยู่ที่ศาลาอเนกประสงค์ มีการจัดกิจกรรม เดือนละ 1 ครั้ง 2.3 ชุมชนมีสัดส่วนครัวเรือน และกลุ่มครัวเรือนที่ปลูกผักพืชกินเอง เพิ่มมากขึ้น โดยพบว่า 1.สมาชิกตามโซลต่างๆมีความตื่นเต้น 2.สมาชิกนำอุปกรณ์ไปปลูกที่บ้านตนเองร้อยละ 70 เกิดร้านค้าสวัสดิการชุมชน ในพื้นที่ชุมชน รวม 4 โซน ซึ่งหัวหน้าโซนเป็นผู้รับผิดชอบ ในการจัดการเรื่องสินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชน และ การรีไซเคิล ขยะ โดยมีกรรมการโครงการมาประชุมร่วมกันเดือนละครั้งและส่วนที่เป็นเรื่องราวดีๆที่เกิดขึ้นเช่นยืดอกพกถุง(ผ้า) การให้สัญญากับตนเองในการใช้ถุงผ้าในการใช้ชีวิตประจำวัน และได้ขอความร่วมมือกับร้านค้าในชุมชน ช่วยเป็นหูเป็นตาและร่วมให้คะแนนในสมุดบันทึกความดีในกรณีที่ผู้เข้าร่วมโครงการใช้ถุงผ้าไปซื้อของที่ร้านวิทยากรกระบวนการ ทางด้านทีมของผู้รับผิดชอบโครงการเป็นทีมที่มีความใฝ่รู้ ผ่านการอบรมจากหน่วยงานต่างๆอยู่บ่อย สามารถเก็บประสบการณ์ที่ได้มา รู้จักนำมาประยุกต์ใช้ ผ่านกระบวนการฝึกฝนก่อนที่จะนำมาใช้นำกิจกรรมทุกครั้งเพื่อให้เกิดกิจกรรมสันทนาการ ก่อนดำเนินกิจกรรม และขณะที่ดำเนินกิจกรรม สอดแทรกให้เกิดความผ่อนคลาย ผู้ร่วมเกิดความสนุก กล้าพูด กล้าแสดงออกซึ่งความคิดเห็น ทุกคนจะพยายามคิดหากิจกรรมนันทนาการที่ใหม่ๆอยู่เสมอและบางครั้งยังได้รับเชิญไปยังชุมชนอื่นๆด้วย
    • ทางอ้อม : กลุ่มเป้าหมาย 20 ครัวเรือน มีความรู้ความเข้าใจในการกำจัดขยะ และได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่มช่วยเหลือกัน ภาคีที่เข้าร่วมประชุม และคณะทำงานที่มาจากตัวแทนของเขตต่างๆ
  99. โครงการ : ฟื้นชีวิตเล คืนวิถีชีวิตชุมชน บ้านหัวลำภู

    • ทางตรง : เกิดความมั่นคงทางอาหาร ทะเลมีความสมบรูณ์มีศักยภาพในการผลิตของสัตว์น้ำในพื้นที่เกิดความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ปลากระบอก , ปลาขี้ตัง, ปลาท่องเที่ยว ,กุ้งหัวมัน และการปล่อยปลาและกุ้งจากหน่วยงานกรมประมง เช่น กุ้งกร้ามกรามเมื่อชาวประมงออกทะเล หาปลาได้ ทำให้อาหารมีความปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค อาหารมีความสดใหม่ ไม่แช่สารฟอมารีน ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้บริโภค
    • ทางอ้อม : สถาบันการศึกษา หน่วยงานเอกชน ได้ให้ความสนใจในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทะเลสาบ ทำให้เกิดการร่วมทำกิจกรรมกับชุมชน เช่น การปล่อยพันธุ์ปลา ,พันธุ์กุ้ง และการทำซั้งบ้านปลา นำไปสู่การอนุบาลสัตว์น้ำในพื้นที่ทะเลสาบ
  100. โครงการ : อยู่อย่างวิถีไทย ชาวควนสินชัยสุขภาพดี

    • ทางตรง : - ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มเสียงได้รับการดูแลสุขภาพ
    • ทางอ้อม : - คนในชุมชน เยาวชน ได้รับประโยชน์จากลานออกกำลังกายของชุมชน ที่ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ - มีคนมาวัดมากขึ้น เพื่อมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้สมุนไพร - กลุ่มผู็ปลูกผักปลอดสารพิษ ได้ประโชน์จากการนำผักมาขายเวลาที่มีการจัดกิจกรรมในพื้นที่
  101. โครงการ : สร้างคลอง สร้างฅน สร้างสุขภาวะชุมชนฅนหนองบัว

    • ทางตรง : ส่วนใหญ่แล้วทำให้เกิดจิตสำนึกรักษ์บ้านเกิด และรักษ์สิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นรู้จักประเภทขยะอย่างถูกต้องนำไปสู่การคัดแยกอย่างถูกวิธี ส่งผลให้ชุมชนมีขยะลดน้อยลง อีกทั้งทำให้แกนนำ/กลุ่มเป้าหมายตระหนักและหันมาดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น โดยการจัดการขยะด้วยตัวเองและปลูกผักปลอดสารพิษกันมากขึ้น
    • ทางอ้อม : คนในชุมชนเห็นความสำคัญเรื่องขยะมากขึ้น โดยมีการนำขยะมาแลกเปลี่ยนเป็นพันธ์ุพืชหรือสิ่งของด้วยอัตรเยอะขึ้น และคนในชุมชนช่วยกันดูแลคลอง ติดตามและเสนอต่อผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นระยะๆเพื่อป้องกันภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นตามมา
  102. โครงการ : บ้านโคกเคี่ยมสะอาดถูกหลัก คนที่รักปลอดโรค

    • ทางตรง : - ลดการใช้พลาสติกในครัวเรือนโดยการใช้ซ้ำ - มีการคัดแยกขยะ และนำขยะบางส่วนที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ไปแปรรูปเป็นปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ
    • ทางอ้อม : การจัดการขยะเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ
  103. โครงการ : หมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียง บ้านทุ่งมะปรัง

    • ทางตรง : 1. จัดตั้งกลุ่มออกกำลังกาย 2. ใช้ชีวิตแบบพอเพียง เช่น การปลูกผักเพิ่มมากขึ้น
    • ทางอ้อม : 1. ได้เข้าร่วมกิจกรรมการส่งเสิมสุขภาพ การออกกำลังกายในชุมชน 2. ทานผักที่ปลูกเพิ่มมากขึ้น
  104. โครงการ : อนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยสมุนไพรพื้้นบ้าน : บ้านคลองทราย

    • ทางตรง : 1.คนในชุมชนมีความรู้ในด้านสมุนไพร รู้จักผลิตยาสมุนไพรใช้เอง เช่น มันหม่องสมุนไพร ลดการใช้สารสูดดมที่มีส่วนประกอบของสารเคมี และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ 2.มีการปรับเปลี่ยนการบริโภคที่เน้นผัก กินอาหารให้เป็นยา เพื่อลดการเจ็บป่วยจากโรคเรื้อรัง เช่น ความดัน เบาหวาน
  105. โครงการ : รักษ์สุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม ที่บ้านเขากอย

    • ทางตรง : - ร่วมกันปลูกพืชผักพื้นเมือง ผักกูด ผักเหมียงไว้บริโภคในชุมชน 3 จุด - เด็กและเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ข้อมูลของชุมชนเอง ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์จำนวน 20 คน - มีเขตปลอดบุหรี่ที่ศาลาประชุมหมู่บ้านจำนวน 1 แห่ง
    • ทางอ้อม : คนส่วนใหญ่ในชุมชนมีแหล่งอาหารปลอดภัยไว้บริโภคเพิ่มขึ้น
  106. โครงการ : เกษตรพอเพียงตามวิถีมุสลิมบ้านคลองยาง

    • ทางตรง : - ทำการเกษตรปลอดสารผิด - อาศัยสรรพคุณจากสมุนไพรที่ปลูกเอง นำมาทานเป็นยาแก้โรคต่างๆ - ตระหนักถึงการอุปโภคบริโภคที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ
    • ทางอ้อม : - ทำการเกษตรปลอดสารผิด - อาศัยสรรพคุณจากสมุนไพรที่ปลูกเอง นำมาทานเป็นยาแก้โรคต่างๆ - ตระหนักถึงการอุปโภคบริโภคที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ
  107. โครงการ : ชีวินทรีย์เพื่อสุขภาวะชุมชนคนอ่าวลึกน้อย

    • ทางตรง : - มีการนำวัสดุเหลือใช้มาทำปุ๋ยชีวภาพ ในการปลูกผักปลอดสารพิษ และรับประทานอาหารปลอดสารพิษ
  108. โครงการ : เกษตรกรบ้านบางไทรนนท์ร่วมใจลดภัยสารเคมี

    • ทางตรง : 1. ครัวเรือนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปลูกผัก(กินเอง)โดยใช้น้ำหมักชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี และนำสมุนไพรมาสกัดสารกำจัดศัตรูพืชแทนการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช จำนวน 110 ครัวเรือน 2. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีความปลอดภัยในการใช้สารเคมี จำนวน 52ครัวเรือน 3. ครัวเรือนที่ใช้สารเคมีในการปลูกผักสวนครัวเก็บวัสดุหรือขยะพิษในหลุมขยะพิษของชุมชนจำนวน 40 ครัวเรือน
    • ทางอ้อม : 1. ปรับพฤติกรรมในการเลือกซื้อพืชผักปลอดสารพิษมาประกอบอาหารในครัวเรือน 2. พฤติกรรมการจัดการขยะให้ถูกวิธี 3. พฤติกรรมการลดการสูบบุหรี่เมื่อมีกิจกรรมและงานในชุมชน
  109. โครงการ : คลองโชนเข้มแข็ง ชุมชนดี สู่วิถีพอเพียง

    • ทางตรง : การปลูกผักปลอดสารพิษกินเองในครัวเรือน การออกกำลังกายสม่ำเสมอ ประชาชนในชุมชนได้รับประทานอาหารปลอดสารพิษในชุมชน มีผัก ปลา สมุนไพร
    • ทางอ้อม : ประชาชนมีรายได้จากการขายผัก ขายปลา สมุนไพร ที่เหลือจากการบริโภค
  110. โครงการ : ข้างถนนกินได้สร้างรายได้บ้านในถุ้ง(ต่อยอด)

    • ทางตรง : - มีการทำเป็นปุ๋ยหมักใช้ในครัวเรือน จำนวน 20 ครัวเรือน หรือประมาณ 80 คน - คนในชุมชนเปลี่ยนพฤติกรรมการทิ้งขยะถูกต้องมี 2 แบบ คือ คนที่เปลี่ยนมากและทำเป็นรายได้เสริม จำนวน 25 คน คนที่ปรับเปลี่ยนแต่ไม่ได้ทำเป็นรายได้เสริม 70 คน รวม 95 คน ร้อยละ 63 - มีการปลูกผัก และบริโภคผักปลอดสารพิษ จำนวน 120 ครัวเรือน
  111. โครงการ : พัฒนาป่าชุมชนเพื่อแหล่งเรียนรู้และอนุรักษ์ทรัพยากรบ้านควนดิน(ต่อเนื่อง 2 )

    • ทางตรง : ประชาชนในชุมชนได้รับประทานอาหารปลอดสารพิษในชุมชน มีผัก ปลา สมุนไพร
    • ทางอ้อม : ประชาชนมีรายได้จากการขายผัก ขายปลา สมุนไพร ที่เหลือจากการบริโภค
  112. โครงการ : ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของชุมชนทรัพย์อนันต์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2

    • ทางตรง : มีการปลูกพืชผักด้วยเกษตรอินทรีย์ และบริโภคพืชผักปลอดสารพิษที่ปลูกเองและการรวมกลุ่มปลอดสารบ้านทรัพยือนันต์ มีสมาชิกจำนวน 34 คน มีรายได้จากกลุ่มและการบริหารจัดการร้อยละ 20 ทำให้กลุ่มรู้จักแบ่งปัน เอื้ออาทรต่อกัน ลดการขัดแย้ง
    • ทางอ้อม : มีการรวมกลุ่มออกกำลังกายเพิ่มขึ้นเป็นกลุ่มจักรยาน จากเดิมมีชมรมแอโรบิคกลุ่มเดียว ชุมชนมีความสามัคคี มีการแบ่งปันและเอื้ออาทรกันทั้งชุมชน
  113. โครงการ : บ้านปลักใหญ่ใจดี สานสัมพันธ์ เชิดชูผู้สูงวัย สู่สุขภาวะ

    • ทางตรง : การจัดตั้งสภาสุขภาพ จัดเวทีการนำเสนอแผนแก่ผู้เกี่ยวข้อง ผ่านเวทีชุมชน เวทีประชาคม เวทีกองทุนสุขภาพ และภาคีเครือข่ายอื่นๆ เครือข่ายวิเคราะห์ผู้สูงอายุจากการเยี่ยม เป็นรายบุคคลเพื่อออกแบบ เสริมหนุนคุณภาพชีวิต
    • ทางอ้อม : มีการจัดบริการ ตรวจสุขภาพ ผู้สูงอายุ เพื่อค้นหาผู้สูงอายุที่พึงประสงค์ สร้างแหล่งเรียนรู้ชุมชน
  114. โครงการ : สร้างสมบูรณ์สุขให้มีสุขภาพดีโดยการจัดการขยะ (ต่อเนื่อง2)

    • ทางตรง : 1. มีการบริโภคอาหารปลอดสารพิษด้วยการปลูกเอง 2. ลดบุหรี่ได้ 5คน
    • ทางอ้อม : โรคเรื้อรัง เช่น เบาหวานและความดันโลหิตสูงไม่มีรายใหม่ และรายเก่าไม่มีโรดแทรกซ้อน
  115. โครงการ : เยาวชนบางกล้วยนอกนักจัดการทรัพยากรธรรมชาติบนฐานทรัพยากร 3 วงล้อ

    • ทางตรง : - แกนนำเยาวชน จำนวน 20 คน เกิดการพัฒนา มีทักษะในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สามารถดูแลรักษาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนอย่างมีส่วนร่วมกับคนในชุมชน และการจัดการพื้นที่ว่างให้เกิดประโยชน์โดยการปลูกผักสวนครัวไร้สารเคมี เพื่อสุภาพดีปลอดภัยจากสารเคมี
    • ทางอ้อม : - ชุมชนเริ่มใส่ใจสุขภาพมากขึ้น โดยการหันมาบริโภคผักปลอดสาร อาหารปลอดภัย และการใส่ใจดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อการมีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ เกิดการทำกิจกรรมร่วมกัน การถ่ายทอดภูมิปัญญา เป็นการส่งเสริมสุภาพทางด้านจิตใจ ลดช่องว่างระหว่างวัย ตระหนักถึงการจัดการสุขภาวะอย่างยั่งยืน
  116. โครงการ : กลองยาวเกษตรอินทรีย์ บ้านสาคูเหนือ(ต่อยอด)

    • ทางตรง : - การรู้จักเลือกกินผักปลอดสารพิษ 85 ครัวเรือน ครัวเรือนหันมาปลูกผักกินเอง ไม่ซื้อผักจากตลาด - หันมาออกกำลังกายทุกวัน จำนวน 20 คน - เกิดการทำกิจกรรมร่วมกันโดยการตีกลองยาว 148 คน ส่งเสริมสุขภาพจิตในครัวเรือนและผู้สูงอายุกิจกรรมกลองยาวเป็นเรื่องราวในการเชื่อมความสัมพันธ์ของคนสามวัย ที่สามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยเฉพาะผู้สูงอายุมีกิจกรรมยามว่างทำ และผ่อนคลายในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพกาย จิต
    • ทางอ้อม : ชุมชนปลอดภัยจากการใช้สารเคมี ที่มีโอกาสปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้น้ำในลำคลองสะอาดมากขึ้น ไม่เกิดสารตกค้างในสัตว์น้ำ และเป็นชุมชนแห่งความสุขที่ทุกฝ่ายหันมาให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพของตนเองและสิ่งแวดล้อม
  117. โครงการ : ปลอดโรคปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียงบ้านมะม่วงขาว(ต่อยอด)

    • ทางตรง : การออกกำลังกายของคนในชุมชน จำนวน 20 คน การที่คนในชุมชนหันมานิยมกินผักปลอดสารพิษ ไม่น้อยกว่า 60 ครัวเรือน ให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้นโดยการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว 200 คน การหันมาใส่ใจกับภาวะสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดโรคไข้เลือดออก โดยเมื่อก่อนการดำเนินการเรื่องดังกล่าวปล่อยให้เป็นเรื่องของเทศบาลตำบลและ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเป็นผู้ดำเนินการ
    • ทางอ้อม : หน่วยงานด้านสาธารณสุขลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของคนในหมู่ที่ 4 บ้านมะม่วงขาว โดยชุมชนสามารถดูแลเองได้ ประเมินผลการดำเนินงานเองได้ ด้านอาชีพ และอาชีพเสริม เกิดการสร้างอาชีพเสริมขึ้นในครัวเรือน ทำให้ภาวะการเงินของครัวเรือนดีขึ้น ใช้จ่ายอย่างประหยัด ส่งผลให้เกิดภาวะครอบครัวอบอุ่น
  118. โครงการ : ตามรอยวิถีชีวิตมุสลิม นำมาสู่ความพอเพียง ชุมชนบ้านสนี ปี 3 : ชุมชนท้องถิ่่นจัดการตนเอง

    • ทางตรง : -ส่งเสริมและฟื้นฟูการเกษตรแบบดั่งเดิม เช่น การปลูกข้าวในพื้นที่นาร้าง ธนาคารพันธ์ผัก และผักสมุนไพรริมรั้ว -การส่งเสริมด้านอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ในกลุ่มแม่บ้าน การแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร เช่น ขนม , เครื่องแกงใต้ และชิ้นงานประดิษฐ์ เช่น การร้อยลูกปัด ถักกระเป๋า ฯ -การสร้างกลไกในการเฝ้าระวัง ปัญหาทางสังคมเช่น อาสาน้อยทีมสัปปะรดลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน,ผู้นำศาสนา โต๊ะอิหม่าม คอเต็บ ในการให้ความรู้ โทษและภัยของยาเสพติดทุกวันศุกร์ ผ่านหอกระจายเสียงของมัสยิดในชุมชนบ้านสนี
  119. โครงการ : พลังเยาวชนร่วมสืบสานวิถีวัฒนธรรมชุมชน: คนบ้านปริก

    • ทางตรง : การใช้เวลาที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม มีกิจกรรมที่เป็นเครื่องมือในการลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น กิจกรรมการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลชุมชน
    • ทางอ้อม : ลดความวิตกกังวลของผู้ปกครองที่มีต่อเยาวชนที่มาทำกิจกรรม
  120. โครงการ : พลังชุมชนร่วมรักษ์ป่าชายเลนบ้านบางค้างคาว

    • ทางตรง : - ได้เรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชน และได้เข้าร่วมกิจกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลนทุกครั้งที่จัดกิจกรรม
  121. โครงการ : ร่วมมือร่วมใจสร้างระบบอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง

    • ทางตรง : ครัวเรือนต้นแบบ/เรียนรู้ดูงาน/ลงมือทำ/ตรวจสอบ
    • ทางอ้อม : ตลาดใต้เลียบ พื้นที่คนรักษ์สุขภาพ แหล่งจำหน่ายอาหารปลอดภัยต้นแบบของชุมชน
  122. โครงการ : ชุมชนฝาละมีเข้มแข้งครอบครัวอบอุ่นด้วยวิถีพอเพียง

    • ทางตรง : ปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษ
  123. โครงการ : กล้วยเภาร่วมใจจัดการขยะสู่หมู่บ้านสุขภาวะ

    • ทางตรง : การคัดแยะขยะในครัวเรือน
    • ทางอ้อม : มีการคัดแยกขยะในครัวเรือนและนำขยะมาขายให้กับพ่อค้าที่รับซื้อขยะ
  124. โครงการ : ทบทวนปลดหนี้คนหมู่ 4 บ้านหน้าเขา

    • ทางตรง : รับทราบข้อมูลเศรษฐกิจชุมชน ร่วมสร้างอาชีพเสริมลดรายจ่ายสร้างรายได้ เพื่อสุขภาพของคนในครอบครัว
    • ทางอ้อม : ได้ร่วมได้เห็นกิจกรรม และรับรู้ภาวะเศรษฐกิจชุมชน
  125. โครงการ : รักษ์ป่า รักษ์น้ำ รักษ์ชีวิต ที่บ้านเขาปู่

    • ทางตรง : จิตสำนึกในการร่วมกันอนุรักษ์ดูแลป่าต้นน้ำ
  126. โครงการ : ตู้เย็นข้างเรินบ้านชายควน

    • ทางตรง : กติกาการปลูกผักปลอดสารพิษ
    • ทางอ้อม : ครัวเรือนมีผักที่ปลอดสารพิษไว้บริโภค
  127. โครงการ : ร่วมใจแก้ไขปัญหาขยะในชุมชุนบ้านตูล

    • ทางตรง : การคัดแยกขยะในครัวเรือน
  128. โครงการ : โคกทรายเกษตรอินทรีย์สร้างสุข

    • ทางตรง : หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการทำนา
    • ทางอ้อม : ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยลดการใช้ปุ๋ยเคมีในการทำนา
  129. โครงการ : ร่วมใจรักษ์สภาพแวดล้อมสู่สุขภาวะบ้านควนปอม

    • ทางตรง : ครัวเรือนต้นแบบในการคัดแยกขยะ
    • ทางอ้อม : เข้าร่วมกิจกรรมธนาคารขยะ
  130. โครงการ : คนท่ายูงปลูกป่าในนาสหาย

    • ทางตรง : - เด็กเยาวชนสำรวจและจัดทำแผ่นที่ป่าต้นน้ำของชุมชน - คณะทำงานโครงการและแกนนำ(สภาผู้นำ) หนุนเสริมการทำงานด้านทรัพยากรป่าต้นน้ำ - มีชุดลาดตระเวนเฝ้าระวังทรัพยากรป่าต้นน้ำของชุมชน - มีการปลูกป่าเพิ่มจำนวน 1,500 ต้น จำนวนเนื้อที่ 3 ไร่
    • ทางอ้อม : - คนในชุมชนรับรู้และปฏิบัติตามกฎ กติกา ข้อตกลงของชุมชนในการรักษาทรัพยากรป่าต้นน้ำบ้านท่ายูง
  131. โครงการ : ร่วมสร้างสุขให้ชุมชน ด้วยการฟื้นเลบ้านคูขุด

    • ทางตรง : 1.คนในชุมชนพื้นที่ดำเนินงานโครงการ ที่ส่่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการประมงพื้นบ้านเกิดการให้ความสำคัญกับการบริโภคสัตว์น้ำที่สะอาด ปลอดภัย ทำให้สุขภาพดี มีความสุข โดยมีแพปลาชุมชนบ้านคูขุด เป็นพื้นที่กระจายรับซื้อขายสัตว์น้ำที่สด สะอาด และปลอดภัยให้กับชาวประมง และผู้บริโภคในชุมชน 2 ด้วยคณะทำงาน ประกอบด้วยกลุ่ม อสม.สมาชิก อบต. ผู้ใหญ่บ้าน จึงให้ความสำคัญกับการรักษาความสะอาดของสภาพแวดล้อมในชุมชน เพื่อเกิดสุขภาวะที่ดีกับคนในชุมชน
    • ทางอ้อม : 1เครือข่ายสมาชิกแพปลาชุมชนบ้านคูขุด ทีมีอยู่ร่วม 220 คน ในพื้นที่ตำบลท่าหินตำบลคูขุด ตำบลคลองรี อ.สทิงพระ จังหวัดสงขลา และ พื้นที่ตำบลเกาะนางคำตำบลเกาะหมาก อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง บางส่วน 2กลุ่มผู้บริโภคในละแวกใกล้เคียง ในตัวเมืองหาดใหญ่ตัวเมืองสงขลา กลุ่มผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร และกลุ่มผู้บริโภคประเทศมาเลย์เซีย บางส่วนได้บริโภคสัตว์น้ำอินทรีย์ (สด สะอาด ปลอดสารเคมี) ราคายุติธรรมสบายใจได้ประโยชน์จากคุณภาพสัตว์น้พ ส่งผลให้สุขภาพดี
  132. โครงการ : ร่วมสร้างสุข ด้วยซั้งกอที่บ้านทะเลนอก

    • ทางตรง : คนในชุมชนพื้นที่เป้าหมาย ที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการประมงพื้นบ้าน 90% ได้มีความสุขที่ได้ร่วมกำกิจกรรมร่วมกัน ไม่ว่าการทำซั้งกอ การส่งเสริมอาชีพเลี้ยงปลาในกระชัง ที่เมื่อมีกุ้งปลาให้จับ มีรายได้คนก็มีความสุข
    • ทางอ้อม : การทำประมงพื้นบ้านของชุมชนที่จับสัตว์น้ำ เน้นความสะอาด สดวันต่อวัน ให้ผู้บริโภคไม่น้อยกว่า 500 คนได้บริโภคสัตว์น้ำที่สะอาด ปลอดภัย อย่างแน่นอน (แช่น้ำแข็ง ไม่แช่สารเคมี เช่น ฟอร์มาลีน)
  133. โครงการ : รู้จักจ่าย รู้จักออม ร่วมสร้างงานที่บ้านม่วงเตี้ย

    • ทางตรง : ได้ร่วมกันให้ข้อมูลและรับรู้ภาวะเศรษฐกิจชุมชน(ยังไม่เกิดพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ)
    • ทางอ้อม : ได้ร่วมรับรู้ภาวะเศรษฐกิจชุมชน
  134. โครงการ : รักษา"ครัวทะเล"ที่บ้านบาตู

    • ทางตรง : เกิดกลุ่มลาดตระเวน และอนุรักษ์ทรัพยากรอ่าวบ้านบาตู
    • ทางอ้อม : ชาวบ้านให้ความร่วมมือปฏิบัติตามกฎของการอนุรักษ์พะยูน และหญ้าทะเล
  135. โครงการ : ชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากร สิ่งแวดล้อมดี ที่บ้านพังสาย หมู่ 7 ต.กะดังงา อ.สทิงพระ จ.สงขลา

    • ทางตรง : การเกิดความตระหนักให้ความสำคัญกับทรัพยากร สิ่งแวดล้อมในชุมชน ที่ทุกคนใช้ชีวิตอาศัยโดยเกิดการปฏิบัติการดังนี้ 1.ทำให้คนในชุมชนเกิดการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น การรักษาความสะอาด เก็บขยะ สิ่งปฏิกูลมูลฝอยต่างๆ ในชุมชนเมื่อสิ่งแวดล้อมดี ย่อมส่งผลให้สุขภาพดีขึ้นด้วย 2. การจัดการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ คำนึงถึงการทำประมงที่เหมาะสมไม่ทำลายสัตว์น้ำวัยอ่อนการคำนึงถึงคุณภาพสัตว์น้ำที่จับได้ต้องสดสะอาด ปลอดภัยต่อผู้บริโภค 3.การรณรงค์ให้คนในชุมชนลด เลิกบุหรี่ เพื่อสุขภาพที่ดี
    • ทางอ้อม : คนในชุมชนละแวกใกล้เคียง และกลุ่มเครือข่ายประมงพื้นบ้าน 3 อำเภอ (ระโนด,สทิงพระ,สิงหนคร) ที่ไปมาหาสู่ ทำประมงรู้จักกันมีกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เช่น เวทีคุยประมงพื้นบ้าน 3 อำเภอที่มีทุกๆ เดือน ,เวทีสหกรณ์ประมงพื้นบ้านสงขลาที่ประชุมกันทุกๆ เดือน ทำให้เกิด 1ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ มีความสุขที่ได้มาพบปะกันอย่างน้อยเดือนละครั้ง ที่ได้พูดคุยถามทุกข์สุขกันและกันการได้ช่วยเหลือหรือทำกิจกรรมร่วมกันทำกิจกรรม อนุรักษ์ฟื้นฟู เพื่อสัตว์น้ำมีให้จับมีรายได้ ก็มีความสุข 2 เพื่อร่วมกันถ่ายทอดความรู้ด้านการดูแลรักษาสุขภาพ ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพ เช่น บุหรี่ ,ความสะอาดของอาหาร,ที่อยู่อาศัย จากผู้มีความรู้ เช่น อสม. เจ้าหน้า รพ.สต. ให้คนในชุมชน และเครีอข่ายได้รู้จักป้องกัน ดูแลสุขภาพของตนให้แข็งแรงได้ถูกต้อง
  136. โครงการ : ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้คนสำนักกอ

    • ทางตรง : ได้ร่วมให้ข้อมูล และรับทราบข้อมูลภาวะเศรษฐกิจชุมชน(ยังไม่เกิดพฤติกรรมสุขภาพ)
    • ทางอ้อม : ได้ร่วมรับรู้สภาวะเศรษฐกิจชุมชน
  137. โครงการ : ร่วมใจคืนสุขบ้านเกาะเหรียง

    • ทางตรง : - ลดรายจ่ายในครัวเรือน - ทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ใช้ในสวน/ปลูกผักข้างบ้าน - ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารปลอดภัย
    • ทางอ้อม : - ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ - ปลูกผักอินทรีย์กินเอง
  138. โครงการ : เกษตรสีเขียวบ้านคลองลำหลิง

    • ทางตรง : ทำนาอินทรีย์ ทำปุ๋ยหมักใช้เองในครอบครัว มีการปลูกผักอินทรีย์ ปรับพฤติกรรมการกิน ออกกำลังกาย
    • ทางอ้อม : ได้ร่วมเรียนรู้หรือจากการกระจายข่ายผ่านหอกระจากข่าว แลกเปลี่ยนกลุ่มหลัก ปรับตัวเองการผลิตอินทรีย์/ลด ละ เลิกการบริโภคอาหารไม่ปลอดภัย
  139. โครงการ : เกษตรอินทรีย์บนความพอเพียง บ้านสหกรณ์

    • ทางตรง : การดำเนินวิถีตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่การใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมีในการเกษตร การปลูกผักไว้ทานเอง การเลี้ยงไก่ ปลา เพื่อสร้างรายได้เสริม
  140. โครงการ : อยู่ดี กินดี มีสุข บ้านทุ่งโต๊ะหย๊ะ

    • ทางตรง : การปรุงอาหารพื้นบ้านเพื่อเป็นยา
    • ทางอ้อม : การบริโภคผักปลอดสารพิษ
  141. โครงการ : ฟื้นป่า รักษ์เคย ที่บ้านปากหวะ หมู่.10 ต.ลำปำ

    • ทางตรง : มีกิจกรรมในการส่งเสริมดูแลสุขภาพของกลุ่มสตรีคือการออกกำลังกายเต้นแอร์โรบิคในตอนเย็นซึ่งเป็นกิจกรรมร่วมของชุมชน นอกจากนั้น คนในชุมชนให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพมีการรวมกลุ่มปลูกผักปลอดสารไว้บริโภคในครัวเรือน โดยทำน้ำหมักชีวภาพกันเองด้วยการนำเศษวัตถุดิบจาก ปลามาหมักนำไปเป็นปุ๋ยใส่ผักที่ปลูก
    • ทางอ้อม : สมาชิกในชุมชนและชุมชนใกล้เคียงที่เข้าร่วมกิจกรรมบ้างในบางครั้ง เริ่มมีความคิดและพฤติกรรมทั่เปลี่ยนไปจากเดิมโดยเฉพาะผู้ชาย จะไม่สูบบุหรี่ในที่ประชุมหรือในเวทีท่มีคนอยู่จำนวนมาก บางคนอปลี่ยนจากสูบบุหรี่มาสูบใบจาก นอกจากนั้นใก้ความสำคัญถึงการดูแลเรื่องอาหารที่ไม่ใส่ผงชูรสและหันมาสนใจบริโภคผักที่ปลูกเองในีรอบครัว( เมื่อก่อนซื้อผักในตลาดมาทำอาหารและบริโภคใสครัวเรือน)
  142. โครงการ : สร้างหลาด(ตลาด)ในห้วยที่บ้านห้วยไม้ไผ่

    • ทางตรง : - ครัวเรือนผลิตอาหารปลอดภัยกินเอง - เกิดชุดเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยในชุมชนจำนวน 1 ชุด - มีแหล่งผลิตอาหารโดยการทำแปลงผักในสวนยาง
    • ทางอ้อม : - ประชาสัมพันธ์การผลิต การบริโภค อาหารปลอดภัยให้คนในชุมชน - รณรงค์ผลิตอาหารปลอดภัย ปลูกเอง เลี้ยงเอง ทำเอง และกินเอง
  143. โครงการ : พัฒนาคน...ชุมชนพอเพียง ณ บ้านควนยวน

    • ทางตรง : ประชาชนในหมู่บ้านหันมาปลูกผักสวนครัวกินเอง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และได้กินผักที่ปลอดสารพิษ ทำให้สุขภาพแข็งแรงขึ้น
    • ทางอ้อม : ประชาชนในหมู่บ้านหันมาปลูกผักสวนครัวกินเอง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และได้กินผักที่ปลอดสารพิษ ทำให้สุขภาพแข็งแรงขึ้น
  144. โครงการ : ปลูกจิตสำนึกชุมชนบ้านในจูนน่าอยู่

    • ทางตรง : การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกผักกินเอง
    • ทางอ้อม : การปรับเปลี่ยนมาการบริโภคผักพื้นบ้านและสมุนไพร ที่ขึ้นในป่าชุมชน
  145. โครงการ : บ้านตรังสร้างสุข

    • ทางตรง : การคัดแยกขยะ การทำปุ๋ยอินทรีย์
  146. โครงการ : ซุปเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติ บ้านปะติมะ

    • ทางตรง : ปรับเปลี่ยนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์
    • ทางอ้อม : เลือกใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการเกษตรแทนปุ๋ยเคมี
  147. โครงการ : บ้านวังทองน่าอยู่ด้วยวิถีพอเพียง

    • ทางตรง : การบริโภคพืชผักปลอดสารพิษเพิ่มขึ้นเป็น50ครัวเรือน
    • ทางอ้อม : ได้ใช้ประโยชน์จากฝายน้ำล้น มีผักบริโภคที่ปลอดภัย และชุมชนมีการลดการใช้สารเคมีในการเกษตรและหันมาใช้เกษตรอินทรีย์จำนวน 50 ครัวเรือน
  148. โครงการ : บ้านนาเหนือเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืน

    • ทางตรง : การมีส่วนร่วมในการออกแบบการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพจิต
    • ทางอ้อม : การได้รับความรู้เรื่องการบริโภคพืชผักปลอดสารพิษด้วยการปลูกผักสวนครัวรับประทานเองในครัวเรือน
  149. โครงการ : สภาพแวดล้อมดีชีวีมีสุขที่บ้านนาโครงช้าง

    • ทางตรง : เกิดการปรับเปลี่ยนการทิ้งขยะ โดยจะทำการคัดแยกขยะก่อนทิ้งลงถัง ขยะที่คัดแยกสามารถนำไปขายได้
    • ทางอ้อม : ได้นำขยะที่คัดแยกในบ้านตนเองมาขายให้กับธนาคารขยะของหมู่บ้าน
  150. โครงการ : ชุมชนเขาเจดีย์-ตลาดใน ห่วงใยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมด้วยวิถีพอเพียง ปี2

    • ทางตรง : สมาชิกคณะทำงานปลูกผักปลอดสารพิษ
    • ทางอ้อม : มีพื้นที่ปลูกผักสาธารณะขึ้นในชุมชน
  151. โครงการ : ชุมชนชายฝั่ง สร้างพลังเศรษฐกิจพอเพียง บ้านยามู

    • ทางตรง : ร่วมกันจัดทำกติกาการอนุรักษ์ป่าชายเลน
    • ทางอ้อม : ปฏิบัติตามกติกาการอนุรักษ์ป่าชายเลน
  152. โครงการ : อนุรักษ์ เพิ่ม สร้าง ทรัพยากรชายฝั่งเพื่อเศรษฐกิจชุมชนอ่าวหลังแดง

    • ทางตรง : - การประชุมทุกเดือนเพื่อวางแผนการทำกิจกรรมร่วมกัน - การใช้เครื่องมือประมงภูมิปัญญาหอยสังข์ในการจับโวยวาย
  153. โครงการ : เกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร

    • ทางตรง : 1. เรียนรู้เรียนเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการส่งเสริมอาชีพที่ช่วยเสนชริมรายได้ในครัวเรือน 2. เยาวชนแกนนำด้านเศรษฐกิจพอเพียง มีความรู้เพิ่มขึ้น 3. เยาวชนกิจกรรมน้องรักน้องชอบพี่จัดให้
    • ทางอ้อม : คนในครอบครัวของคนที่เข้าร่วมกิจกรรม
  154. โครงการ : สานสายใยรักบ้านไม้ขาวร่วมจัดการโรคเรื้อรัง

    • ทางตรง : 1.ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา 2.รู้จักควบคุมนำ้หนักตัว 3.มีการออกกำลังกาย 4.รู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีถูกสุขลักษณะ ครบถ้วน ตามหลัก โภชนาการ 5.หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง อาหารรสจัดเ่นหวาน มัน เค็ม 6.รู้จักดูแลสุขภาพตนเองไม่ให้เจ็บป่วย 7.การไปพบแพทย์ตามนัด 8.มีการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่หนุนเสริมสุขภาพ 9.มีการสร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาพ 10.เกิดแกนนำด้านการสร้างเสริมสุขภาพ
    • ทางอ้อม : 1.เกิดกฎ กติกา ระเบียบ มาตรการชุมชนด้านสุขภาพ 2.เกิดระบบโครงสร้างชุมชน 3.เกิดภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ 4.มีการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านอาหารในโรงเรียน
  155. โครงการ : การจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน บ้านท่าฉัตรไชย

    • ทางตรง : มาตรการ กฎกติกา ข้อบังคับ ทำให้คนเกิดความตระหนัก เล็งเห็นความสำคัญเกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
    • ทางอ้อม : กลุ่มผู้ประกอบอาชีพในพื้นที่ เกิดความตระหนัก
  156. โครงการ : ชุมชนเสาธงทองผักสวนครัวปลอดสารพิษขยะมีชีวิตร่วมคิดร่วมทำ

    • ทางตรง : ผู้เข้าร่วมโครงการปลูกผักไว้บริโภคในครัวเรือนได้
    • ทางอ้อม : กลุ่มชุมชนใกล้เคียงร่วมกิจกรรมรณรงค์สายน้ำสะอาด
  157. โครงการ : ฝายกั้นขยะคืนชีวิตชุมชนบางฉนาก

    • ทางตรง : การจัดการขยะในครัวเรืน ในชุมชน และในแม่น้ำ สร้างจิตสำนึกเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การลดปริมาณขยะในครัวเรือน
    • ทางอ้อม : กลุ่มพ่อค้า แม่ค้า และนักท่องเที่ยว มีจิตสำนึกเชิงร่วมกับพื้นที่ในการลดขยะในชุมชน และแม่น้ำ
  158. โครงการ : สร้างสุขภาวะชุมชนคนเสม็ดเรียง

    • ทางตรง : - มีการตรวจคัดกรองสุขภาพให้กับผู้ป่วยโรคเร้ือรัง ผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยง คนในชุมชน - อสม. ต้นกล้า ลงพื้นที่เยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ เพื่อให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพ และให้กำลังใจ - มีลานสุขภาพให้คนทุกวัยได้มีกิจกรรมทางกาย ส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชน
    • ทางอ้อม : - หน่วยงานรัฐ เช่น ศูนย์สุขภาพชุมชนตลาดดอนนกใช้ลานสุขภาพเป็นพื้นที่ในการจัดกิจกรรมคัดกรองโรค ให้ความรู้
  159. โครงการ : โรงเรียนสร้างสุข สู้เศรษฐกิจ คืนวิถึชีวิตบ้านท้องลาน

    • ทางตรง : รณรงค์ให้ชุมชนทำเกษตรอินทรีย์โดยการปลูกผักทำนาข้าวโดยลดสารเคมี/ปุ๋ยเคมี มาใช้ปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพแทนเพื่อไม่ให้มีสารเคมีตกค้างในเลือด
    • ทางอ้อม : ชุมชนข้างเคี่ยงที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของโครงการเข้าร่วมทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องทำเกษตรอินทรีย์ได้นำเอาไปปฏิบัติ
  160. โครงการ : พัฒนาบ้านบางคูให้อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน

    • ทางตรง : ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในสวน นาข้าว แปลงผักปลอดสารพิษ การทำน้ำหมัก ปุ๋ยหมักชีวภาพ
    • ทางอ้อม : สมาชิก อบต. รพ.สต .อสม.กศน เกษตรอำเภอ มีส่วน เป็นภาคีร่วมผลักดัน
  161. โครงการ : บ้านดอนจิกพัฒนาเพื่อส่งเสริมอาชีพ

    • ทางตรง : คนที่มาร่วมประชุมลดการสูบบุหรี่ ปลูกผักอินทรีย์กินเอง เข้ามาร่วมกิจกรรมต่างๆในหมู่บ้านมากขึ้น มีความรู้ความเข้าใจในการเพาะเห็ด และได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่มช่วยเหลือกัน
    • ทางอ้อม : คนที่ไม่ได้เข้ามาร่วมแต่ได้รับรู้และนำไปปฏิบัติด้วย ทั้งลดสูบบุหรี่และปลูกผักกินเอง
  162. โครงการ : คืนธรรมชาติบ้านท่าใหญ่สู่ต้นแบบชุมชนเกษตรอินทรีย์

    • ทางตรง : เข้าร่วมกิจกรรมและนำความรู้สู่การปฏิบัติในครัวเรือนจนประสบความสำเร็จ และ ขยายผลแก่ผู้อื่นได้
    • ทางอ้อม : เข้าร่วมจากการประชาสัมพันธ์เพื่อต้องการนำความรู้ไปปฏิบัติในครัวเรือนของตนเองด้วย และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
  163. โครงการ : กระจาดเดือนสิบรวมใจเฉลิมพระชนม์ 60พรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาที่ บ้านทุ่งจูด

    • ทางตรง : ส่งเสริมพฤติกรรมด้านกาย ขณะเตรียมการทำกระจาด มีการเตรียมวัสดุ ต้องใช้วิธีการแบบโบราณ ตั้งแต่ปอกมะพร้าว ขูดมะพร้าว โม่แป้ง ฯลฯ ส่งเสริมสุขภาพด้านจิดใจ นำประเพณีการทำบุญสารทเดือนสิบ ผ่านกระจาดเพื่อแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ และตั้งเป้าหมายถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพรเะทพ ให้ชาวบ้านในหมู่บ้านเกิดความภาคภูมิใจ ส่งเสริมสุขภาพด้านสังคมชักชวนกลุ่มบ้านที่เกิดความขัดแย้ง ทั้ง3 กลุ่มบ้านมาร่วมมือกันโยใช้ประเพณี เชื่อมความรักความสามัคคี ส่งเสริมด้านปัญญา โดย นำภูมิปัญญาโบราณ การทำกระจาด และขนมคู่กระจาด มาต่อยอดให้ครัวเรือนในชุมชนร่วมกันทำ
    • ทางอ้อม : ขณะเตรียมการทำกระจาด มีการเตรียมวัสดุ ต้องใช้วิธีการแบบโบราณ ตั้งแต่ปอกมะพร้าว ขูดมะพร้าว โม่แป้ง ฯลฯ ได้มีการเคลื่อนไหวร่างกาย และได้นำประเพณีการทำบุญสารทเดือนสิบ ผ่านกระจาดเพื่อแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ และตั้งเป้าหมายถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพรเะทพ ให้ชาวบ้านในหมู่บ้านเกิดความภาคภูมิใจและเชื่อมความรักความสามัคคี พร้อมทั้งนำภูมิปัญญาโบราณ การทำกระจาด และขนมคู่กระจาด มาต่อยอดให้ครัวเรือนในชุมชนได้ร่วมกันทำ ชาวบ้านในชุมชนได้พบปะแลกเปลี่ยนและถามไถ่ทุกข์สุขกัน และได้แบ่งปันขนมที่มาร่วมกันทำกลับไปบ้าน
  164. โครงการ : ผักสวนครัวปลอดสารเคมี วิถีบ้านท่าช้าง

    • ทางตรง : 1.เรียนรู้เรื่องอันตรายจากสารเคมีตกค้างและได้รับการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2การปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมีในครัวเรือนเพื่อใช้รับประทานเอง ลดการเกิดสารเคมีตกค้างในกลุ่มสมาชิก เพื่อการส่งเสริมสุขภาพด้านร่างกาย และการป้องกันโรค 2.ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
    • ทางอ้อม : 1.ร่วมเรียนรู้และได้รับการตรวจหาสารเคมีตกค้้างในเลือดเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2.ร่วมปลูกผักปลอดสารพิษสองฝั่งถนนซอย 2ซอย 3.ได้บริโภคผักปลดอสารเคมีที่ร่วมกันปลูกในชุมชน
  165. โครงการ : ตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา

    • ทางตรง : ด้านกาย เราชักชวนคน 100 คน มาปลูกพืชผักสมุนไพร มาปลูกผักปลอดสารพิษ ที่มีสรรพคุณทางยา ด้านสังคม กระตุ้นคนในชุมชน ให้เข้ามาร่วมคิดตำรับอาหารเป็นยา เกิดความรักความสามัคคี ปรองดองกัน ด้านปัญญา เกิดการคิดค้นสูตรขนม สูตรอาหารดังเดิมมาพัฒนาให้มีสีสัน รสชาติให้ถูกปากกับคนสมัยนี้ และชักชวนเด็กให้หันมากินขนมพื้นบ้าน มากกว่าขนมในท้องตลาด เด็กๆได้เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการนำพืชผักสมุนไพรมาทำเป็นอาหาร หลีกเลี่ยงการใช้สีสังเคราะห์โดยนำสมุนไพรมาทำสีแทน เช่น ใบเตยหอม แทนสีเขียว ดอกอัญชัญ แทนสีม่วงแกงขมิ้นสูตรโบราณ น้ำพริกแมงดา(ใบธัมมัง) ข้าวยำสูตรนาพาเป็นต้น ทางใจ คนในชุมชนมีจิตใจที่ดี รักใคร่ สามัคคีกัน มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันในชุมชน
    • ทางอ้อม : ด้านกาย กลุ่มคนเหล่านี้ได้เข้ามามีพืชผักปลอดสารพิษไว้ประกอบอาหาร ในครัวเรือน น้ ด้านสังคมกระตุ้นกลุ่มคนกลุ่มนี้ที่ไม่เคยสนใจ ไม่เคยมีส่วนร่วมใดๆกับขุมชนเลยกลับมาสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนทุกครั้ง ด้านปัญญา คนกลุ่มนี้ได้เรียนรู้ ได้รับความรู้ใหม่ๆ ในการนำพืชผักสมุนไพรที่มีอยู่ใกล้บ้านมาทำประโยชน์ มีสรรพคุณทางยามากมาย ทางใจมีการเปลี่ยนแปลงในด้านที่ดีๆ มีจิตใจที่ดีมีส่วนร่วมกับคนในชุมชน เลิกการนินทาผู้อื่นการหวาดระแวงว่าคนอื่นที่ร่วมกลุ่มกันว่าเขานินทาตัวเองหรือเปล่า กลับมารักไคร่สามัคคี มากขึ้น
  166. โครงการ : แก้มลิงบ้านทรายเพชรลดภัยพิบัติน้ำท่วม

    • ทางตรง : พฤติกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพด้านกาย ชักชวนชาวบ้านมาพัฒนาแก้มลิง โดยใช้กำลังคน แทนเครื่องจักร ทำให้คนได้สนุกสนาน ออกแรง ออกเหงื่อ และสร้างความสามัคคี พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านสังคม สิ่งแวดล้อม พัฒนาภูมิประเทศ แก้มลิง คู คลอง ถนน เพื่อให้น้ำไหลสะดวก น้ำไม่ท่วม พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจ สร้างจิตสำนึก เรื่องการ ร่วมกันช่วยป้องกันหมู่บ้านของตนเอง โดยไม่ต้องรอภาครัฐ หรือทีมอาสาภัยพิบัติเข้ามาช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุน้ำท่วม พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านปัญญา นำภูมิปัญญา การขุดลอกแก้มลิงและนำวิธีการช่วยเหลือตนเองเมื่อเกิดภาวะน้ำท่วม ของทีมอาสาภัยพิบัติ มาใช้ทุกครัวเรือน เรียนรู้ ฝึกปฏิบัติ ทดลอง สร้างสถานการณ์จำลอง
    • ทางอ้อม : พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจความทำให้คนในชุมชนมีความมั่นใจมีการเตรียมการมีจิตใจไม่ตื่นตระหนก ตกใจหรือกังวลใจเรื่องปัญหาน้ำท่วมและให้ความวางใจในทีมงานอาสาสมัครภัยพิบัติ ด้านสิ่งแวดล้อมมีแก้มลิงที่สามารถชลอน้ำท่วมได้และภูมิใจที่แก้มลิงเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งในการบริโภคอุปโภคหรือใช้ในการเกษตร
  167. โครงการ : ตลาดร่วมใจปากท่าซอง

    • ทางตรง : 1. การส่งเสริมสุขภาพด้านกาย ให้คนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาทำการเกษตรแบบผสมผสาน ลดต้นทุนการทำเกษตร โดยยึดหลักการลดสารเคมีในการเกษตรเป็นหลัก 2. การส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจ รู้สึกมีความสุขได้บริโภคผักไม่ใช้สารเคมี ผู้นำก้มาร่วมกันพัฒนาหมู่บ้าน 3. การส่งเสริมสุขภาพด้านสังคม สิ่งแวดล้อม มี แปลงเกษตรผสมผสานที่ลดต้นทุนการผลิต มีกฏ ระเบียบ ด้านการทำการเกษตรตลาด ของหมู่บ้าน 4. การส่งเสริมสุขภาพด้านปัญญาเป็นสังคมเกษตรกรเอื้ออาทร ช่วยเหลือกันไม่แบ่งฝ่าย ช่วยกันปลูก จัดการผลผลิตแบบรับผิดชอบไม่ใช้สารเคมี ขายกินกกัน ใช้ ส่งให้พ่อค้าต่างหมู่บ้านด้วยราคายุติธรรม ไม่มุ่งกำไร
    • ทางอ้อม : 1.การส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจ รู้สึกมีความสุขได้บริโภคผักไม่ใช้สารเคมี ผู้นำก้มาร่วมกันพัฒนาหมู่บ้าน 2.การส่งเสริมสุขภาพด้านสังคม สิ่งแวดล้อม มี แปลงเกษตรผสมผสานที่ลดต้นทุนการผลิต มีกฏ ระเบียบ ด้านการทำการเกษตรตลาด ของหมู่บ้าน 3.การส่งเสริมสุขภาพด้านปัญญาเป็นสังคมเกษตรกรเอื้ออาทร ช่วยเหลือกันไม่แบ่งฝ่าย ช่วยกันปลูก จัดการผลผลิตแบบรับผิดชอบไม่ใช้สารเคมี ขายกินกกัน ใช้ ส่งให้พ่อค้าต่างหมู่บ้านด้วยราคายุติธรรม ไม่มุ่งกำไร
  168. โครงการ : บ้านไทรทองชีวิตปลอดสารพิษวิถีเศรษฐกิจพอเพียง

    • ทางตรง : - ลดการใช้สารเคมีในการทำการเกษตรและชีวิตประจำวันส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพด้านกาย - การเปลี่ยนแปลงของผู้นำชุมชนส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพด้านปัญญา - ครัวเรือนมีการจัดทำบัญชีครัวเรือนส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพด้านปัญญา
    • ทางอ้อม : - คนในชุมชนได้บริโภคผักปลอดสารเคมี ได้ใช้ของใช้ในครัวเรือนปลอดสารเคมีส่งเสริมสุขภาพด้านสังคม
  169. โครงการ : เศรษฐกิจพอเพียงที่บ้านทุ่งหล่อ

    • ทางตรง : - ลดการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน หันมาปลูกผักไว้บริโภคในครัวเรือน - ประชาชนได้รู้ถึงอันตรายจากการใช้สารเคมี จึงไม่ใช้สารเคมีมาปลูกผักสวนครัว ดังนั้นจึงลดเสี่ยง ลดโรค เช่น ความดันโลหิตสูง โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด เบาหวาน
    • ทางอ้อม : - ซื้อผักปลอดสารเคมีสำหรับบริโภค ปลูกผักไว้กินเองที่บ้าน ใช้ปุ๋ยหมักสำหรับการเกษตรที่บ้าน - ประชาชนที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่อง อันตรายจากการใช้สารเคมีจากกลุ่มเป้าหมาย นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับตนเอง
  170. โครงการ : ชุมชนสามร้อยกล้า ใส่ใจสุขภาพ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปี2

    • ทางตรง : ลดการใช้สารเคมี หันมาบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ผลิตได้เองในครัวเรือน และออกกำลังกาย
    • ทางอ้อม : บริโภคพืชผักปลอดสารพิษ ออกกำลังกาย
  171. โครงการ : ร้านค้าคุณธรรมนำวิถีเดิมลดสารเคมีบ้านปากลง

    • ทางตรง : ลดการใช้สารเคมี
    • ทางอ้อม : เกิดร้านค้าคุณธรรมเพื่อเป็นสื่อให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมี
  172. โครงการ : นำศาสตร์พระราชา สร้างสุขสู่บ้านบางไทร

    • ทางตรง : การปลูกผักปลอดสารพิษ การทำบัญชีครัวเรือน
    • ทางอ้อม : กลุ่มเยาวชนรร.วัดบางไทร ร่วมกิจกรรมเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
  173. โครงการ : กล้วยไข่บานลดสารเคมีบ้านพิตำ

    • ทางตรง : การลดการใช้สารเคมี
    • ทางอ้อม : มีผู้มาศึกษาดูงานการใช้สมุนไพรเป็นสารไล่แมลง
  174. โครงการ : ควนสูงน่าอยู่ ครอบครัวสดใส ห่างไกลอบายมุข

    • ทางตรง : - คณะทำงานได้พัฒนาศักยภาพ
    • ทางอ้อม : - เด็กเยาวชนที่เข้ารับการอบรมได้รับความรู้
  175. โครงการ : ร่วมสร้างผลไม้อินทรีย์จากสวนสมรมบ้านห้วยพาน

    • ทางตรง : การทำสารอินทรีย์ใช้ในการปลูกพืชผัก ลดการใช้ปุ๋ยเคมี
    • ทางอ้อม : ชาวบ้านเข้าใจถึงอันตรายของการใช้สารเคมี ชาวบ้านลดการใช้สารเคมีมาใช้อินทรีย์ทำให้คนในชุมชนมีสุขภาพดีขึ้น
  176. โครงการ : ร่วมอนุรักษ์ปากน้ำกะแดะให้ชุมชนน่าอยู่

    • ทางตรง : - ปรับเปลี่ยนการทำประมง มาสู่การทำประมงพื้นบ้านเชิงอนุรักษ์ - ดูแล และเฝ้าระวังพื้นที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำ (บ้านปลา/บ้านหอย) - ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ไม่ทิ้งขยะลงคลองทำให้น้ำเสีย ส่งผลต่อแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ
    • ทางอ้อม : - อนุรักษ์ป่าชายเลนปากกะแดะ - ร่วมดูแลรักษาทรัพยากรชายฝั่ง ไม่ทิ้งขยะเรี่ยราดส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมชายฝั่ง
  177. โครงการ : ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียงบ้านคลองเล

    • ทางตรง : ด้านส่งเสริมสุขภาพ ทางกาย ทางใจ ทางสังคม จากการที่ทุกคนได้มาเข้าร่วมกันทำกิจกรรมมาแลกเปี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและแบ่งกลุ่มกันไปรับผิดชอบ เช่นการปลูกข้าวไร่ การปลูกผักสวนครัว ได้ปลูกข้าวไร่กินเอง ปลูกผักกินเองมีผักที่ปลอดสารพิษ เหลือกินแบงขายมีรายได้ไห้กับครอบครัว ทุกคนมีความสุขทุกทางอยู่แล้ว ด้าน ปัญญาหลายคนที่มีความรู้และอยากจะถ่ายทอดให้กับคนรุ่นหลังและอยากจะปลูกจิตสำนึกให้แก่เด็กและเยาวชน เช่น การทำข้าวไร่ การปลูกผัก ทำขนม ทำน้ำยาเอนกประสงค์ ทำน้ำหมักชีวภาพ สามารถถ่ายให้คนอื่นทำได้
    • ทางอ้อม : คนในชุมชนที่ไม่เคยเข้าร่วมเริ่มมาสนใจบ้างแล้วว่าเขาทำอะไรกัน และผู้ที่มาร่วมกิจกรรมอยู่แล้วไปชักชวนเพื่อนข้างๆบ้านมาร่วมกันทำกิจกรรมด้วย
  178. โครงการ : สวนป่า สร้างสุขคนโกงเหลง

    • ทางตรง : - การปลูกป่า เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว - การลดใช้สารเคมีในป่าชุมชน และพืชในชุมชน - การใช้สมุนไพรจากป่าชุมชนในการดูแลสุขภาพ
    • ทางอ้อม : - เด็ก เยาวชน และโรงเรียน ได้ใช้พื้นที่ป่าชุมชนในการเรียนรู้เรื่องพืชสมุนไพร กับการดูแลสุขภาพ
  179. โครงการ : สมุนไพรสร้างสุขบ้านถ้ำผุด

    • ทางตรง : - เยาวชนมีความตื่นตัวในการเห็นคุณค่าของสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น
    • ทางอ้อม : - คนในชุมชนมีการเริ่มปลูกสมุนไพรไว้ใช้เองในบ้านเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และคนในชุมชนสามารถนำสมุนไพรมาแปรรูปได้
  180. โครงการ : บ้านโคกใหญ่ร่วมใจส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ปลดหนี้ครอบครัว

    • ทางตรง : 1.ลดการใช้สารเคมีปลูกผักปลอดสารพิษ 2.ช่วยลดอันตรายจากผักที่มีสารเคมี 3.มีผักที่มีคุณภาพปลอดสารพิษไว้ทานเอง
    • ทางอ้อม : 1.ช่วยให้คนห่างไกลจากผักที่มีสารเคมี 2.ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น
  181. โครงการ : กินผักที่ปลูกและฮิญาบราคาถูกที่บ้านหลาแขก

    • ทางตรง : 1 ผู้เข้าร่วมโครงการรับทราบปัญหาสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของครัวเรือนตนเองและชุมชนจาการทำแบบสอบถามครัวเรือนและคืนข้อมูลชุมชน และได้รับความรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการในเรื่อง พิษภัยสารเคมีตกค้างในร่างกายจากการรับสารพิษต่างๆเช่นการบริโภคผัก การใช้ยาฆ่าแมลง การใปุ๋ยเคมี เป็นต้น 2.ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ สามารถทำและวิเคราะห์บัญชีครัวเรือนของตนเองได้ เพื่อการปรับใช้กับเศรษฐกิจในครัวเรือนของตนเอง
    • ทางอ้อม : 1ชุมชนทราบปัญหาสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของครัวเรือนตนเองและชุมชนจาการทำแบบสอบถามครัวเรือนและคืนข้อมูลชุมชน และได้รับความรู้เรื่องๅพิษภัยสารเคมีตกค้างในร่างกายจากการรับสารพิษต่างๆเช่นการบริโภคผัก การใช้ยาฆ่าแมลง การใช้ปุ๋ยเคมี เป็นต้น 2ชุมชนมีการตื่นตัวเรื่องปัญหาสุขภาพ ปัญหาเศรษฐกิจในชุมชน และร่วมหาแนวทางแก้ปํญหาด้วยกัน
  182. โครงการ : ลดขยะ สร้างสุขภาวะคนบ้านกลาง

    • ทางตรง : - มีการคัดแยกขยะ เพื่อนำมาขาย นำมาแลกไข่ ทำให้ปริมาณขยะรีไซเคิลในชุมชนลดลง ชุมชนสะอาดขึ้น - คนในชุมชนรู้จักการจัดการขยะมากขึ้น
    • ทางอ้อม : - มีคนเข้ามารับซื้อขยะในชุมชน
  183. โครงการ : บ้านบางคุระพอเพียงหลีกเลี่ยงสารเคมี

    • ทางตรง : 1. ครัวเรือนใช้สารอินทรีย์และชีวภาพในการทำเกษตร 80 ครัวเรือน 2. มีผู้ลดละบุหรี่จำนวน 80 คน 3. มีผู้ลดละเหล้า จำนวน 55 คน
    • ทางอ้อม : 1. ครัวเรือนมีผักปลอดสารพิษ บริโภค จำนวน 80 ครัวเรือน 2. ผู้ป่วยโรคเรื้องรังปรับพฤติกรรมการบรโภคและการออกกำลังกาย จำนวน30 คน
  184. โครงการ : ผัก สมุนไพรเชื่อมใยรักคนเขาปูน

    • ทางตรง : - มีการใช้บริการตู้อบสมุนไพรในการดูแลรักษาโรค ดูแลสุขภาพเบื้องต้น ซึ่งทางชุมชนจัดไว้บริการโดยไม่คิดค่าบริการ
    • ทางอ้อม : - มีการปลูกสมุนไพร เพื่อนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น ใช้ในการบริโภคเองในครัวเรือน
  185. โครงการ : บ้านปากหานสร้างสุขด้วยสมุนไพร

    • ทางตรง : - ปลูกผัก สมุนไพรกินเองในครอบครัว
    • ทางอ้อม : - เยาวชนในโรงเรียน ในชุมชนได้เรียนร้สมุนไพร
  186. โครงการ : กินดีมีสุข ณ บ้านเกาะรุ้ง

    • ทางตรง : 1. คนในชุมชนได้ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆละ 30 นาที ตามวัย จำนวน84 คน ร้อยละ 80 2. มีพฤติกรรมลดบุหรี่ จำนวน 105 คน 3. ปรุงอาหารบริโภคอาหารเอง ตามเมนูที่ชุมชนร่วมกันจัดทำขึ้นโดยใช้พืชผักในชุมชนที่ปลอดสารพิษ จำนวน 100 ครัวเรือน 4. ครัวเรือนปลูกพืชผักปลอดสารพิษรับประทานเอง จำนวน 100 ครัวเรือน
    • ทางอ้อม : 1. มีพืชผักปลอดสารพิษบริโภคในชุมชน 2. มีจิตอาสาออกเยี่ยมติดตามกลุ่มด้อยโอกาส
  187. โครงการ : มัคคุเทศน้อยแห่งเขาขุนพนม

    • ทางตรง : 1. เยาวชนมีพฤติกรรมลดปัจจัยเสี่ยงเช่นไม่มั่วสุมดื่มน้ำกระท่อม จำนวน 15 คน 2. ครัวเรือนจัดบ้านเรือนถูกลักษณะ จำนวน 115 ครัวเรือน
    • ทางอ้อม : สมาชิกครัวเรือน ผู้สูงอายุ อยู่ในครัวเรือนที่มีสภาพแวดที่ดีเอื้อต่อการมีสุขภาพดี
  188. โครงการ : ปรับพื้นที่ว่างปลดหนี้บ้านท่าม่วง

    • ทางตรง : ทางกายได้ออกกำลังกายจากการปรับพื้นที่ขุดหลุมปลูกผัก ทางใจการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นรู้ปัญหาและวิธีแก้ปัญหา ทางปัญญา เกิดความคิดในการปลูกถั่วฝักยาวจากเดิมใช้กิ่งไม้ทำค้างถั่วต้องใช้กิ่งไม้ต้นละกิ่งทำให้ปลูกได้ไม่มาก จึงคิดปลูกถั่วฝักยาวเพื่อขายต้องปลูกมากจังใช้วิธิทำค้างถั่วโดยไม่ใช้กิ่งไม้ คิดใช้อวนตาห่างมาขึงตามแนวร่องถั่วโดยใช้ไม้ไผ่เป็นเสาเป็นระยะเพื่อให้เถาถั่วเลื้อยพันตาข่ายลดการตัดไม้ เก็บผลผลิตได้ง่าย ลดการใช้แรงงาน สังคม มาประชุมพบปะพูดคุยร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทุกครั้ง
    • ทางอ้อม : คนในชุมชนบ้านท่าม่วงที่เห็นการทำกิจกรรมของโครงการสนใจอยากเข้าร่วมทำกิจกรรม เมื่อได้เข้าร่วมรับฟังการพูดคุยในกิจกรรมได้แนวคิดการทำกิจกรรม และนำไปทำและชักชวนให้คนในครอบมาร่วมเป็นสมาชิกโครงการ
  189. โครงการ : วัฒนธรรมนำสุขคนกงตาก

    • ทางตรง : - เยาวชนได้มาเรียนรู้การรำมโนราห์จากครูภูมิปัญญา และนักดนตรีในวง เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวัย และส่งเสริมการทำกิจกรรมทางกาย
    • ทางอ้อม : - มีการส่งเสริมให้คนในชุมชนเข้าวัดมากขึ้น มีการร่วมกิจกรรมทางศาสนาในวัด
  190. โครงการ : บ้านไสโคกเกาะ ร่วมใจลดภัยสารเคมีในชุมชน

    • ทางตรง : 1. คนในครัวเรือนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีให้ปลอดภัย จำนวน 100 ครัวเรือน 2. คนในครัวเรือนมีการจัดการขยะที่ถูกต้อง จำนวน 100 ครัวเรือน 3. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค จำนวน 70 คน 4. มีพฤติกรรมลดละบุหรี่ จำนวน 50 คน
    • ทางอ้อม : 1. บริโภคผักปลอดสารพิษ 2. ลดปัจัจัยเสี่ยงจากคนในครัวเรือนลดละบุหรี่ จำนวน 50 ครัวเรือน
  191. โครงการ : เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีพได้บ้านทุ่งกระจูด

    • ทางตรง : 1. ชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเอง จำนวน 80 ครัวเรือน 2. ใช้น้ำหมักและปุ๋ยชีวภาพในการทำการเกษตรทดแทนปุ๋ยเคมี จำนวน 80 ครัวเรือน 3. ลดพฤติกรรมเสี่ยงจากลดละบุหรี่ในวันจัดกิจกรรมในชุมชน จำนวน 100 คน
    • ทางอ้อม : มีผักปลอดสารพิษรับประทานในชุมชน ลดปัจจัยเสี่ยงจากการลดการสูบบุหรี่
  192. โครงการ : บ้านไสใหญ่รายได้ดีชีวีมีสุข

    • ทางตรง : 1. พฤติกรรมการบริโภคผักปลอดสารพิษ 100 คน 2. พฤติกรรมลดปัจจัยเสี่ยงคือลดการสูบุหรี่ จำนวน 60 คน
    • ทางอ้อม : บริโภคผักปลอดสารพิษ
  193. โครงการ : บ้านห้วยทรายขาว ชีวิตดี มีเศรษฐกิจพอเพียง

    • ทางตรง : 1. ครัวเรือนมีพฤติกรรมใช้ปุ๋ยชีวภาพ และน้ำหมักชีวภาพทดแทนปุ๋ยเคมี 2. พฤติกรรมบริโภคผักปลอดสารพิษ จำนวน 20 ครัวเรือน 3. พฤติกรรมการลดบุหร่ี จำนวน 75 คน
    • ทางอ้อม : บริโภคผักปลอดสารพิษ
  194. โครงการ : ดาวเรืองสร้างสุขคนปากตรัง

    • ทางตรง : - ส่งเสริมให้คนในชุมชนปลูกดาวเรืองเพื่ออาชีพ เป็นรายได้เสริม โดยเป็นการปลูกแบบอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมีเพื่อความปลอดภัยของผู้ปลูก
    • ทางอ้อม : - ถ่ายทอดความรู้ให้เยาวชนในโรงเรียนสามารถนำไปใช้ต่อได้ และถ่ายทอดความรู้มห้ชุมชนใกล้เคียงที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงาน เข้ามาเรียนรู้
  195. โครงการ : บ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ ด้วยวิถีพอเพียง

    • ทางตรง : คนในชุมชนเกิดกิจกรรมดังนี้ - การส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค โดยการหันมาออกกำลังกายทุกวัน และการทำการเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษ เกิดการสร้างอาชีพเสริมที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของชุมชน คือ พื้นที่ เกิดน้ำท่วมประจำเกิดองค์กรและกระบวนการสภาชุมชนเพื่อตัดสินใจแก้ปัญหาชุมชน
    • ทางอ้อม : เกิดความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนได้เข้ามาร่วมกิจกรรมในการออกกำลังกายเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทุก ๆ ด้านในชุมชน
  196. โครงการ : คนปากเปียดสุขภาพดีด้วยวิถีพอเพียง

    • ทางตรง : การส่งเสริมให้ครัวเรือนกินผักปลอดสารพิษโดยการทำแปลงสาธิตการปลูกผักโดยเกิดแปลงผักปลอดสารพิษต้นแบบจำนวน 3 แปลงโดยการนำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนในชุมชน เพื่อสุขภาพเกิดการเรียนรู้เพื่อขยายผลในชุมชน ซึ้งเป็นการเอาที่ดินว่างเปล่าในชุมชนมาใช้ประโยชน์ ซึ้งเกิดผลดีสำหรับครัวเรือนในชุมชนและเตรียมขยายผลให้กว้างขึ้น ตามจำนวนครัวเรือนในชุมชนโดยการจัดการสาธิตการปลูกผักโดยไม่ใช้สารเคมีในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการเรียนรู้ให้กลุ่ม และสมาชิกของกลุ่มปลูกผักเกษตรอินทรีย์เพื่อนำไปใช้ในแปลงปลูกผักของตนเองรายละเอียดกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพคือครัวเรือนเข้าร่วมประชุมเรียนรู้ให้กลุ่มและสมาชิกปลูกผักไร้สารเคมี
    • ทางอ้อม : สิ่งแวดล้อมในชุมชนปลอดภัยจากการปนเปื้อนของสารเคมี
  197. โครงการ : สุขสวรรค์ ที่ บ้านควนสวรรค์

    • ทางตรง : ผู้ที่มีอายุ40ปีขึ้นไป ที่เป็นโรคเบาหวานและความดัน สามารถดูแลสุขภาพของตนเองให้อยู่ในภาวะปกติได้โดยการหันมาออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน และหญิงวัยเจริญพันธ์ได้รับการตรวจมะเร็งมดลูกโดยการประสานงานของตัวแทนคณะกรรมการสภาชุมชนบ้านควนสวรรค์ อีกทั้งการดูแลเฝ้าระวังการเกิดโรคตามรูปแบบตำบลควบคุมโรคเข้มแข็งเป้าหมายคือทำให้อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนลดลงร้อยละ 5 ของปีที่แล้วที่ผ่านมาไม่มีโรคไข้เลือดออก เกิดความสบายใจสุขภาพจิตดีจากการที่ ทัศนียภาพขององค์เจดีย์บ้านควนสวรรค์และบริเวณได้รับการพัฒนา ปรับปรุง และการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนครัวเรือนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะ เหตุการณ์ ไม่มีอาชญากรรมในชุมชนไม่มีคดีหรือเหตุที่ก่อการทะเลาะวิวาท ขึ้นโรงพัก ครัวเรือนเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของครัวเรือนมีการเรียนรู้เรื่อง การใช้สมุนไพรร่วมกันเพื่อสุขภาพและครัวเรือนมีการใช้สมุนไพรในการแก้ปัญหาสุขภาพเบื้องต้น ในโอกาสต่อไป
    • ทางอ้อม : ตัวแทนสมาชิกครัวเรือนเกิดความรู้เกิดความตระหนัก เรื่องสุขภาพมากขึ้นและร่วมกิจกรรมการออกกำลังกาย เกิดจิตสำนึกในการรักษาสิ่งของส่วนรวม การวินัยเกิดศีลธรรมทั้งตนเอง ครอบครัว และชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน เกิดการจัดงานสำนึกรักบ้านเกิด เกิดความสามัคคี ทำกิจกรรมเกิดความเชื่อมโยงจากองค์กรภายนอก ภายใน มีสถานที่ สำหรับทำกิจกรรมรององค์เจดีย์บ้านควนสวรรค์ เกิดการเข้าวัดทำบุญอย่างน้อยเดือนละ เกิดเวทีเสวนาปรองดองสมานฉันทร์ ในชุมชนเกิดการระดมทรัพยากรจากหลายภาคส่วนทั้งในชุมชนเอง และนอกชุมชน
  198. โครงการ : อาชีพเสริมเพิ่มรายได้บ้านควนยูง

    • ทางตรง : 1. จากการที่โครงการได้ติดป้ายประชาสัมพันธ์ในการเลิกสูบบุหรี่ ทำให้ประชาชนที่มาเข้าร่วมกิจกรรม ลด ละ และเลิกได้บ้าง 2. คนในชุมชนมีรายได้เสริมในด้านการขยายพันธุ์พืช ได้แก่ เขลียง และมะนาว และรายได้เสริมจากการรวมกลุ่มจักสาน 3. คนในชุมชนสามารถวิเคราะห์รายรับ-รายจ่ายในครัวเรือนได้ ทั้งยังมีการวางแผนการใช้จ่ายและการออม 4. คนในชุมชนลดรายจ่ายด้านต่างๆ ในครัวเรือน ได้แก่ รายจ่ายในการซื้อน้ำยาล้างจ่าย ปุ๋ย และพืชผักเป็นต้น
    • ทางอ้อม : 1. เกิดสภาผู้นำที่มีกระบวนการบริหารจัดการของคนในชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่จำนวน 1 คณะ 2. เพื่อให้เกิดองค์กรชุมชน ในการขับเคลื่อนกิจกรรมและแก้ไขปัญหาของชุมชนบ้านควนยูง ตำบลนาแว อำเภอฉวาง 3. จัดทำร่าง แบบสอบถามเครื่องมือในการสำรวจข้อมูลเศรษฐกิจครัวเรือน จำนวน 100ชุดจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50คน ได้ร่วมกันออกแบการสร้างเครื่องมือ และเรียนรู้วิธีการและขั้นตอนการสร้างเครื่องมือเพื่อสำรวจเศรษฐกิจครัวเรือน เช่นจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือน พร้อมทั้งรับสมุดจดบันทึกรายรับรายจ่ายครัวเรือน ผลลัพธ์ เกิดชุดการสำรวจข้อมูลเศรษฐกิจชุมชน เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในการสำรวจข้อมูลเศรษฐกิจของครัวเรือนประกอบด้วย ข้อมูลครัวเรือน ที่ตั้ง บ้านเลขที่ จำนวนสมาชิก ที่ทำงานได้ และสมาชิกอื่น ๆ รายรับของสมาชิกแต่ละคน/เดือนหมวดค่าใช้จ่าย ค่าอาหาร ค่าสาธารณูปโภค ค่าภาษีสังคม ค่าบุหรี่ค่าเหล้า เฉลี่ยคนต่อเดือน เป็นเงินเท่าไหร่ สรุปรายรับ- รายจ่ายมีความสมดุลย์สอดคล้องกันอย่างไร เพื่อเป้าหมายให้ครัวเรือนเกิดความตระหนัก ความรู้ในการวางแผนค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 4. เพื่อเป็นการส่งเสริมต่อยอดกิจกรรมและขยายพันธุ์พืชที่ปลูกแซมร่องยางเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมทางอ้อมที่ส่งต่อการส่งเสริมสุขภาพ
  199. โครงการ : สมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ ที่บ้านไร่เหนือ

    • ทางตรง : 1.ประชาชนได้ร่วมกันสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรในชุมชนและได้นำสมุนไพรที่สำรวจได้มาแปรรูป ทำเป็นยารักษาโรค ทำให้ได้คุณค่าทางร่างกายต่อคนที่ใช้ในชุมชน เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านกาย จิตใจ และสังคม 2.ประชาชนได้เรียนรู้กับปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งเป็นครูและมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องสมุนไพร ได้มาแนะนำและให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร และการแปรรูปสมุนไพร ให้กับชาวบ้านในชุมชนได้มีความรู้ความเข้าใจในสรรพคุณของสมุนไพร ทำให้ได้คุณค่าทางจิตใจต่อชาวบ้าน เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจและสังคม ด้านปัญญา
    • ทางอ้อม : 1.ประชาชนได้สนใจมาศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับยาสมุนไพร ได้มีการบอกต่อถึงสรรพคุณของยาสมุนไพร ให้กับชาวบ้านในชุมชนที่ไม่รู้ถึงสรรพคุณของยาสมุนไพร ได้รู้และเกิดความสนใจเข้ามาเรียนรู้และทดลองนำใปใช้บ้าง เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านกาย จิตใจ และสังคม
  200. โครงการ : บ้านสหกรณ์ เรียนรู้วิธีลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง

    • ทางตรง : 1.ครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีการเปลี่ยนแปลงในครอบครัว เช่น ภรรยามาทำกิจกรรม สามีจะเข้าร่วมด้วย เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านสังคมและจิตใจ 2.ครัวเรือนต้นแบบ จากเมื่อก่อนเข้าร่วมโครงการมีการดื่มสุรา ไม่สนใจการพัฒนา ตอนนี้หันเข้ามาช่วยภรรยาปลูกผัก ดื่มเหล่าบางโอกาส ครอบครัวอบอุ่น เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านกายและจิตใจ 3.ครัวเรือนเป้าหมายเกิดการพัฒนาแข่งขันเข้าร่วมกิจกรรมของแต่ละครอบครัว และขักขวนให้เพื่อนๆ มาปลูกผักเลี้ยงสัตว์ด้วยกันเกิดการพูดคุยกันในวงสนทนาเรื่องเกษตรผสมผสานไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย เป็นการส่งเสริมสุขภาพทางปัญญา แบบองค์รวม
    • ทางอ้อม : 1.มีผู้เข้าร่วมประชุมหมู่บ้านเพิ่มขึ้นทุกครั้ง และมีการประขาสัมพันธ์ มีป้ายโครงการเขตปลอดบุหรี สุรา เป็นการส่งเสริมสุขภาพทางสังคมและปัญญา 2.ได้คัดบุคคลในกลุ่มสมาขิกที่มีผลงานโดดเด่นเข้าร่วมโครงการของหน่วยงานต่างๆ เช่น หน่วยงานนิคมสหกรณ์ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีตำบลเขาขาวศูนย์กสิกรรมธรรมชาติทุ่งสงความรู้ที่บุคคลได้รับ คือ การใช้ผังฟาร์มทำเกษตรผสมผสาน การทำบัญชีครัวเรือนการทำปุ๋ยหมักน้ำ แห้งการเลี้ยงสัตว์การประมงการเรียนรู้โรคและแมลงศัตรูพืชเรียนรู้เรื่องจุลินทรีย์ และเรียนรู้ทฤษฎีบันไดเก้าขั้น เป็นการส่งเสริมสุขภาพปัญญา
  201. โครงการ : ผังฟาร์มลดรายจ่ายที่บ้านทรายขาว

    • ทางตรง : ครัวเรือนเป้าหมาย 40 ครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม 1.ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีกิจกรรมปลูกพืชผักกินเอง เป็นการลดใช้สารเคมี ทำให้สุขภาพแข็งแรง เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านกาย 2.ผู้เข้าร่วมโครงการได้บันทึกรายรับรายจ่าย มีการลดรายจ่ายครัวเรือนและเรียนรู้สาเหตุการเกิดหนี้สินครัวเรือน ทำให้เกิดความสุขในครัวเรือน เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจและสังคม 3.ครัวเรือนเป้าหมาย ได้เรียนรู้วิธีลดหนี้โดยการเรียนรุู้หลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้เกิดความสุขในการดำเนินชีวิตประจำวัน เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านสังคม และด้านปัญญา เกิดองค์รวม 4 ครอบครัวที่เข้าร่วมโคงการมีการทำบัญชีครัวเรือน ลดรายจ่ายด้วยการปลูกผักไว้กินเอง ทำให้เกิดความสุขในครัวเรือน เป็นการส่งเสริมสุขภาพพด้านองค์รวม
    • ทางอ้อม : 1.ประชาชนในชุมชน ให้ความร่วมมือและเข้าร่วมใจตามโครงการ ทำให้มีสุขภาพดี เกิดสุขภาวะที่ดีในระดับครัวเรือน เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจและสังคม 2.ประชาชนที่สนใจ เข้าร่วมกิจกรรมปลูกผัก ได้กินพืชผักที่ปลอดภัย ได้เป็นการออกกำลังกาย มีจิตใจที่ดีขึ้นได้เห็นผลประโยชน์ที่ดีของการทำกิจกรรมของโครงการ เป็นการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ได้ทังด้านกาย จิตใจ สังคมและปัญญา
  202. โครงการ : คนเอาถ่านบ้านวัดโหนด

    • ทางตรง : 1.ครัวเรือนปลุูกผักไว้กินเอง ที่บ้าน ทำให้ทุกคนมีสุขภาพดี เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านกาย 2.กลุ่มเป้าหมายทำกจิกรรมร่วมกัน ทำให้ผู้ชรา ผู้พิการ เด็ก และเยาวชน มีสุขภาพจิตรที่ดี เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านจิตและสังคม 3.ปราชญ์ชุมชนและผู้สูงวัย มีการถ่ายทอดความรู้ไปสู่เยาวชน เป็นการถ่ายทอดสิ่งใหม่จากเด็กและเยาวชน สู่ผู้ใหญ่ ทำให้เกิดความสุข เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านสังคมและจิตวิญญาณ
    • ทางอ้อม : 1.ประชาชนได้กินผักปลอดสารพิษ เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านกาย 2.ประชาชนได้มีโอกาสทำกิจกรรมทำร่วมกันในเรื่องการเพาะเมล็ดทานตะวัน การเลี้ยงใส้เดือนในครอบครัว ทำให้ลดค่าใช้จ่าย เป็นการเพิ่มรายได้ ทำให้ มีสุขภาพดีขึ้น ปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
  203. โครงการ : ยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้

    • ทางตรง : 1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการ จำนวน 60 คนไ ด้เรียนรู้เกิ่ยวกับวิธีการทำทำยาเหลือง ซึ่งเป็นความรุ้จากโบราณ ครูภูมิปัญญา ทำให้เกิดความสุขและเห็นคุณค่าภูมิปัญญา เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจ และด้านสังคม 2.กลุ่มเป้าหมายได้ร่วมกันอนุรักษ์และเสริมคุณค่าภูมิปัญญา เป็นการรื้อฟื้นความรู้ภูมิปัญญา เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านองค์รวม 3.กลุ่มเป้าหมายได้้ร่วมกันทำยาเหลือง เรียนรุ้สรรพคุณยาที่ และนำไปใช้รักษาแผล เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านกาย 4.มีการถ่ายทอดความรู้และถ่ายทอดความรู้สึกส่ิงที่ดี เกิดคุณค่าและศร้ทธา เป็นการถ่ายทอดไปยังรุ่นสู่รุ่น มีพิธีกรรมในการทำยาเหลืองและมีกลุ่มเยาวชน กลุ่มอสม และกลุ่มผู้สูงอายุ เข้าร่วมกิจกรรม เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านจิต สังคม องค์รวม
    • ทางอ้อม : 1.ประชาชนได้เรียนรู้ยาเหลืองและนำมาใช้ในการรักษาสุขภาพ เป็นการส่งเสริมสุขภาพกาย 2.กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ เป็นการส่งเสริมสุขภาพกาย สังคม 3.หัวหน้าส่วนราชการมาร่วมในกิจกรรมของโครงการยาเหลืองสูตรคุณยาย เป็นการส่งเสริมสุขภาพทางสังคม และจิตใจ 3.ประชาชนร่วมกันลดปัจจัยเสี่ยงทางสังคม และสร้างปัจจัยที่เอื้อต่อสุขภาพ ช่วยลดการใช้ยาแผนปัจจุบันได้มาก เป็นการส่งเสริมสุขภาพทางจิตวิญญาณ 4.ร่วมกันเสนอแนะให้เกิดกฎ กติกา การรวมกลุ่มการทำกิจกรรมเพื่อเรียนรู้การทำยาเหลือง เกิดต้นแบบพื้นที่เรียนรู้ในการส่งเสริมการใช้สมุนไพรและอนุรักษ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เกิดแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เกิดนวัตกรรมยาเหลือง ให้ชุมชนได้เรียนรู้ในการถ่ายทอดภูมิปัญญา
  204. โครงการ : บ้านห้วยแหยง สืบสานภูมิปัญญา

    • ทางตรง : 1. กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมกิจกรรมสืบทอดภูมิปัญญา เป็นการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างครูภูมิปัญญาและเยาวชน เกิดคุณค่าทางด้านจิตใจและเกิดความสุข เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจและสังคม 2. กลุ่มเป้าหมายได้ร่วมกันออกกำลังกาย ได้เรียนรู้ภูมิปัญญาได้แลกเปลี่ยนรู้ซึ่งกันและกันส่งเสริมให้คนในชุมชนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ทำให้คนในชุมชนมีความอดทน สามัคคคี อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข พึ่งพาอาศัยกัน เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านกาย จิตใจ สังคมและปัญญา
    • ทางอ้อม : 1. คนในชุมชนได้ร่วมเรียนรู้ภูมิปัญญา นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจและสังคม 2. ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสมัครใจ และยินดีทำกิจกรรม เป็นการสร้างความร่วมมือ ความสามัคคี ลดช่วงว่างระหว่างวัย เป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่นและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจ สังคม ปัญญา แบบองค์รวม
  205. โครงการ : ข้าวยาโค ข้าวอาซูรอ สองศาสนาสานสัมพันธ์ที่บ้านยวนแหล

    • ทางตรง : การเปลี่ยนแปลงในกลุ่มคน 1.คนในชุมชนทั้งไทยพุทธ-ไทยมุสลิม มาร่วมพูดคุยถึงเรื่องประเพณีวิฒนะธรรม การกวนข้าวยาโค ของไทยพุทธ และการกวนข้าวอาซูรอ ของไทยมุสลิม ที่มีความคล้ายคลึงกัน ทำให้คนในชุมชนที่มีความต่างเรื่องศาสนาเกิดความสัมพันธ์ที่ดี ลดความขัดแย้ง ไม่เข้าใจระหว่างศาสนา 2.คนในชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น การกวนข้าวยาโค-ข้าวอาซูรอ เพื่อสร้างความเข้าใจและสร้างสึบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่น 3.คนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม30 คน เรื่องความแตกต่างเรื่องศาสนา ซึ่งจากเดิมเมื่อมีงานของไทยพุทธ ไทยมุสลิมจะไม่ไปร่วมงานเลย และงานของ ไทยมุสลิมก็เช่นกันจะไม่มีไทยพุทธไปร่วมงานเลย 4.เกิดคนต้นแบบ 4 คน 4.1นายเสรีวิชชุไตรภพ เป็นผู้นำเรื่องการนำคนที่มีความต่างเรื่องศาสนามาพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข 4.2นายเชษฐาดารากัย เป็นผู้ที่มีความประสงค์อยากให้คนในชุมชนเกิดกลุ่มเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชุมชน เพื่อให้ชุมชนหน้าอยู่มากขึ้น 4.3นางวันดีอินทรพฤกษ์ เป็นผู้ที่มีเห็นอยากให้เยาวชนมีส่วมร่วมในพัฒนาชุมชน 4.4ด.ช.อริย์ะธัช วิชชุไตรภพ เป็นเยาวชนที่อยากเข้ามามีส่วนร่วมในชุมชนอยากมีกิจกรรมเพื่อให้ผู้ใหญ่เห็นคุณค่าของเยาวชน
    • ทางอ้อม : การเปลี่ยนแปลงในกลุ่มคน 1.มีคนในชุมชนได้รับความรู้เรื่องประเพณีการกวนข้าวยาโคของชาวไทยพุทธ และการกวนข้าวอาซุรอของชาวไทยมุสลิม ซึ่งเป็นประเพณีท้องถิ่น ที่คนในชุมชนมีความรู้ไม่มากนัก จากกิจกรรมที่ทางกลุ่มได้จัดทำขั้น 2.คนในชุมชนได้รับความรู้เรื่องประเพณีกวนข้าวยาโค และการกวนข้าวอาซูรอ ซึ่ง ณ ปัจจุบันหาดูได้ยาก และทำให้คนในชุมชนได้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างศาสนา 3.คนมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องทัศนคติที่ไม่ดีระหว่างศาสนาทำให้เกิดความน่าอยู่ในชุมชน ลดความขัดแย้ง เกิดความรักความสามัคคีกันในชุมชน
  206. โครงการ : เกษตรอินทรีย์บ้านปลักจอกเสริมรายได้

    • ทางตรง : ประชาชนรับรู้ภาวะเสี่ยงจากการใช้สารเคมีในการทำการเกษตรรู้ถึงอันตรายที่จะเกิดต่อสุขภาพทั้งของตนเองและสมาชิกในครัวเรือนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยอมรับฟังความเห็นของสมาชิกอื่นเรียนรู้วิธีการทำการเกษตรปลูกพืชผักบริโภคในครัวเรือนจากครัวเรือนที่ประสบความสำเร็จเรียนรู้วิธีการทำปุ๋ยชีวภาพสารไล่แมลงร่วมกันให้คำแนะนำประสบการณ์ความของตนเองต่อสมาชิกอื่นนำความรู้จากการทำกิจกรรมไปใช้ในการทำของตนเองปรากฎผลงานของกิจกรรมทุกครัวเรือน
    • ทางอ้อม : สมาชิกในครัวเรือนของผู้เข้าร่วมโครงการและประชาชนหมู่ที่ 6 ที่เข้าร่วมประชุมประชาคมประจำเดือนได้รับความรู้เห็นถึงโทษและพิษภัยของสารเคมี เห็นคุณค่าของการปลูกพืชปลอดสารพิษใว้บริโภคในครัวเรือนมีความสนใจขอเข้าร่วมโครงการสมาชิกบางส่วนสามารถเก็บผลผลิตและจำหน่ายในชุมชนตลาดนัดท้องถิ่นให้สมาชิกในชุมชนบริโภคผักปลดสารพิษได้มากขึ้น
  207. โครงการ : เกษตรอินทรีย์สร้างรายได้บ้านในหัน

    • ทางตรง : ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจหาภาวะเสี่ยงสารเคมีในเลือดของตนเองและร่วมเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีคนในชุมชนมีความตื่นตัว มีการเข้าร่วมกิจกรรมของหมู่บ้านเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อประพฤติกรรมสุขภาพทางด้านกาย ใจ และสังคม
    • ทางอ้อม : ผู้ที่ได้รับประโยชน์ทางอ้อมมีความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการและร่วมเรียนรู้การทำกิจกรรมในชุมชนเพิ่มขึ้น
  208. โครงการ : ชุมชนปลอดสารพิษตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในโคร๊ะ

    • ทางตรง : ทางกาย คนในชุมชนร่วมเรียนรู้เรื่องสารเคมีตกค้างในเลือดและมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงในการใช้สารเคมีมากขึ้น ทางสังคม สามารถลดค่าใช้จ่ายโดยการทำบัญชีครัวเรือน ซึ่งส่วนที่เราจ่ายที่ไม่จำเป็นลดลง
    • ทางอ้อม : ทางกาย คนที่ไม่อยู่ในโครงการ ได้รับรู้ถึงปัญหาเรื่องสารเคมีจากสมาชิกในครัวเรือนที่เข้าโครงการไปแนะนำ ให้คนในครัวเรือนรู้ถึงปัญหาสารเคมีตกค้างในเลือด เช่น สามี ภรรยา หรือลูกที่เข้าร่วมโครงการ ทางสังคม มีการเรียนรู้บัญชีรายรับรายจ่ายของคนในครัวเรือนและรู้ถึงการใช้จ่ายของแต่ละคนในแต่ละวันว่ามีอะไรบ้าง จึงสามารถตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกลงได้
  209. โครงการ : ผักปัญญาอ่อนสร้างสุขบ้านแขก

    • ทางตรง : ทางกาย-ผู้เข้าร้วมโครงการได้กินผักที่ปลอดภัยปลูกกันเอง ทางสังคม-มีความรู้เรื่องการลดการใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น ลดการเผาตอซังที่ทำให้เกิดควันและมีการนำเศษวัสดุที่ชำรุดแล้วมาใช้ประโยชน์ ได้อีก เช่น นำถังน้ำที่แตกแล้วมาปลูกผักเป็นต้น
    • ทางอ้อม : มีผู้ที่สนใจการดำเนินโครงการได้มาร่วมเรียนรู้แล้วนำไปทำกันที่บ้านตนเอง ครูโรงเรียนวัดป่า(ท่าขึ้น)สนใจในกิจกรรมเพื่อให้เด็กๆเข้าร่วมเรียนรู้ด้วยในกิจกรรมทำปุ๋ยหมักแห้งจึงขอให้ทำกิจกรรมในโรงเรียนและจะขอสนับสนุนขุยมะพร้าว1รถ
  210. โครงการ : สองข้างทางสร้างรายได้ บ้านตีนคลอง

    • ทางตรง : 1. เรียนรู้และเปลี่ยนพฤติกรรมการล้างผักแบบปลอดสารพิษ 2. เรียนรู้ทำและการใช้ปุ๋ย+น้ำหมักชีวภาพ
    • ทางอ้อม : 1.ไดัรับการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือด และการปรับพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ อาทิ มะเร็ง ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน เป็นต้น 2.1.เรียนรู้และเปลี่ยนพฤติกรรมการล้างผักแบบปลอดสารพิษ 3..เรียนรู้ทำและการใช้ปุ๋ย+น้ำหมักชีวภาพ 4.มีการเคารพกฏกติกา ชุมชน ในการลด ละ เลิกการใช้สารเคมีในชุมชน ตามป้ายรณรงค์โครงการ
  211. โครงการ : บ้านโปนปลอดสารพิษด้วยวิถีชีวิตพอเพียง

    • ทางตรง : 1.การเรียนรู้และการปลูกผักปลอดสารเคมีเพื่อส่งเสริมสุขภาพด้านร่างกาย และลดสารเคมีตกค้าง ลดโรค 2.ครัวเรือนบริโภคผักที่ปลูกเองในชุมชน
    • ทางอ้อม : 1.ได้รับการตรวจเลือดหาระดับสารเคมีตกค้างในเลือด เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริ 2.ได้รับความรู้เรื่องอันตรายจากสารเคมีตกค้างในเลือด
  212. โครงการ : ชุมชนบ้านชะเอียนยิ้มได้ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง

    • ทางตรง : 1.กิจกรรมการตรวจสุขภาพสำหรับกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ขึ้นไปได้รับการตรวจสุขภาพและเข้าร่วมกลุ่มสุขภาพทางเลือก ได้กลุ่มรักษ์สุขภาพทางเลือกมา 1 กลุ่ม สมาชิกจำนวน 35คน โดยมีนางปราณีพาวัน เป็นแกนนำในการดำเนินงาน กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน การออกกำลังกาย สมาชิกส่วนมากมากจาก อสม ในชุมชนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2.ดำเนินการค้นหาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวาน อายุ 35 ปีขึ้นไปในชุมชน ทำทะเบียนและดำเนินการเฝ้าระวังติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนเหล่านี้เพื่อคนในชุมชนบ้านชะเอียนไม่เกิดโรคคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในรายให้ไม่เกินร้อยละ 3 ของรายเก่าและการดำเนินงานสุขภาพทางเลือกของชุมชนเพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนเอง พร้อมการเสนอแนวคิดให้เป็น เซเว่นรอบบ้าน กิจกรรมที่ทำจริง อสม.มาทำการคัดกรองผู้ที่มีอายุตั้งแต่35 ปีขึ้นไปที่ มีโรคเบาหวานความดันเพื่อนจัดการตั้งกลุ่มรักษ์สุขภาพทางเลือก
    • ทางอ้อม : 1.การคัดเลือกครัวเรือนในการทำแปลงผักปลอดสารพิษเพื่อเป็นตัวอย่างในการทำกิจกรรมวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับชุมชนในการดพเนินงานชะเอียนยิ้มได้ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง เกิดผลลัพท์ที่ตั้งไว้คือ เกิดกลุ่มผักปลอดสารพิษในชุมชน เพื่อการดำเนินการในการเฝ้าระวังดูแลเรื่องการปนเปื้อนสารเคมีในชุมชน จนทำให้ ผลลัพท์ที่เกิดขึ้นจริงคือ ตัวแทนครัวเรือน 100ครัวเรือน ได้เกิดอาสาสมัครในการทำแปลงผัก จำนวน 10ครัวเรือนโดยการจัดกิจกรรมเชิญตัวแทนครัวเรือนจำนวน 100 ครัวเรือนมาทำการคัดเลือกเพื่อรับอาสาในการทำแปลงผักปลอดสารพิษ โดยกระบวนการเกษตรอินทรีย์ จำนวน 10 บ้าน เพื่อส่งเสริมให้ 10 บ้านดังกล่าวเป็น ครู ก ในการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชนบ้านชะเอียน หาตัวแทนครัวเรือน จำนวน 10ครัวเรือน เพื่อทำการหาสมาชิกในการทำแปลงผักปลอดสารพิษ เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับชุมชน
  213. โครงการ : สายน้ำสร้างสุขณ บ้านทุ่งโชน

    • ทางตรง : การสืบชะตาสายน้ำบ้านทุ่งโชนเพื่อเป็นต้นแบบในการอนุรักษ์สายน้ำ และ เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางใจสร้างสุขภาพจิตของคนในชุมชน ผลลัพท์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือการทำให้เกิดการอนุรักษ์พันธ์พืชพันธ์สัตว์ในลำคลองบ้านทุ่งโชน สายน้ำบริเวณลำคลองสะอาดปราศจากขยะ เน้นการดำเนินงานให้ผลลัพท์ที่เกิดขึ้นจริงมีการดูแลอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำผลลัพธ์ได้สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นมาก โดยการนัดแนะครัวเรือนจำนวน 100ครัวเรือนจัดกิจกรรมร่วมอนุรักษ์สืบชะตาสายน้ำบ้านทุ่งโชน โดยร่วมกันทำความสะอาดสายน้ำ บวชต้นไม้เพื่อเป็นการปลูกฝังแนวคิดในการอนุรักษ์ น้ำอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงสายน้ำที่มีคุณค่าทางจิตใจของคนในชุมชน โดยการเชิญพระสงฆ์มาให้พร ทำพิธีรวมใจในการอนุรักษ์สายน้ำและสิ่งแวดล้อมบ้านทุ่งโชน
    • ทางอ้อม : การสร้างจิตสำนึกให้กับคนในชุมชนเกิดความตระหนักในการรักษาธรรมชาติ ประชาชนในชุมชนมีความตระหนักถึงการดูแล อนุรักษ์ หวงแหนป่าต้นน้ำและทรัพยากรธรรมชาติ จนทำให้เกิดผลคือชาวบ้านได้รู้และเข้าใจมีความตระหนักมีจิตสำนึกในการดูแลรักษาอนุรักษฺ์และหวงแหนธรรมชาติผลผลืตชาวบ้านรู้จักรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน จัดกิจกรรมในการคืนข้อมูลให้ชุมชน หลังจากที่ได้ข้อมูลจากการสำรวจและผ่านการรวบรวมวิเคราะห์จากผู้ทรงคุณวุฒิและมีความรู้ความชำนาญ เป็นการคืนข้อมูลให้ชุมชนเห็นถึงความวิกฤตของปัญหาการขาดน้ำของชุมชน เนื่องมาจากการที่สิ่งแวดล้อมป่าต้นน้ำถูกทำลาย กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมประชุมคือ ตัวแทนครัวเรือนจำนวน 100 ครัวเรือน
  214. โครงการ : เกษตรอินทรีย์เพิ่มรายได้ส่งเสริมสุขภาพบ้านคลองตูก

    • ทางตรง : 1. มีการจัดตั้งกลุ่มเรียนรู้เพื่อการเกษตรแบบอินทรีย์ บ้านคลองตูก หมู่ที่ 1 ตำบลกะปางประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 36 ครัวเรือน ทำหน้าที่ในการเป็นตัวแทนทำการเกษตรแบบอินทรีย์ตัวอย่างให้กับครัวเรือนอื่น ๆ และดำเนินกิจกรรมในการลดต้นทุนการผลิตเพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ เช่น การทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำ สารชีวภาพไล่แมลง สามารถใช้เป็นตัวอย่างให้กับสมาชิกจำนวน 36ครอบครัว 2. มีการตรวจประเมินปัญหาสุขภาพของชุมชน และสารเคมีในเลือดเพื่อคืนข้อมูลสู่ชุมชน
    • ทางอ้อม : 1. คลองบ้านคลองตูกได้รับการเฝ้าะวังในการปนเปื้อนของสารเคมี รวมระยะทาง 2 กม. 2. เกิดแนวทางการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น ในบ้านคลองตูก โดยสมาชิกครัวเรือนแจ้งในที่ประชุมว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายได้
  215. โครงการ : บ้านคันเบ็ดปลอดสารพิษด้วยเศรษฐกิจพอเพียง

    • ทางตรง : 1. จัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องการใช้สารเคมีวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อให้คนในชุมชนลดการใช้สารเคมีโดยกระบวนการคือครัวเรือนในชุมชนมีแปลงปลูกผักกินเองที่เป็นครู กจำนวน 10ครัวเรือน เพื่อทำการเป็นต้นแบบในการขยายต่อเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้สารเคมี วิธีการป้องกัน โทษพิศภัยของสารเคมีผลกระทบี่เกิดจากการใช้สารเคมีไม่ถูกต้อง จำนวน 100ครัวเรือน 2. ตัวแทนครัวเรือน จำนวน 100 คน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำเกษตรปลอดสารพิษร่วมทำข้อตกลงของชุมชนในการปลูกผักปลอดสารพิษ และเตรียมคัดเลือกเป็นครัวเรือนต้นแบบจำนวน10ครัวเรือน ทำแผนการปฏิบัติของชุมชน 3. เกิดครัวเรือนในชุมชนมีการปลูกสมุนไพร 20 ครัวเรือนและสาธิตการใช้สมุนไพรได้อย่าต่อเนื่องและมีประโยชน์ จัดทำทะเบียนสมุนไพรไว้ในชุมชน
    • ทางอ้อม : 1. คณะกรรมการและเยาวชนจำนวน 25 คนได้ร่วมกันสร้างเครื่องมือและ วิเคราะห์ เนืื้อหาประเด็นที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา เพื่อจะได้นำข้อมูลมาใช้ในการแก้ปัญหา ในชุมชน 2. คณะกรรมการและเยาชนทำการสำรวจข้อมูล จำนวน 120ครัวเรือน ตามรายละเอียดของเครื่องมือ โดยคณะกรรมการและเยาวชนอาสา 3. คณะกรรมการ เยาวชนทำการวิเคราะห์ข้อ ที่ได้เพื่อแจกแจง และจัดลำดับ ประเด็นปัญหาเพื่อเตรียกมาคืนข้อมูลสู่ชุมชน ในการดำเนินงานดังกล่าวทำให้ชุมชนทราบวิธีการหาข้อมูลการสร้างเครื่องมือ และการวิเคราะห์ข้อมูลคืนข้อมูลสู่ชุมชน เพื่อเป็นการเฝ้าระวังสร้างกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพได้อย่างถูกต้องตรงประเด็น
  216. โครงการ : รู้เร็ว รู้ไว จัดการภัยพิบัติ บ้านปลายทับใหม่

    • ทางตรง : ร่วมกันวางแผนและดำเนินการจัดการลดความเครียดจากการเกิดภัยพิบัติในชุมชน
    • ทางอ้อม : จัดสิ่งแวดล้อมที่ช่วยลดการเกิดภัยพิบัติในชุมชนโดยการปลูกป่าทดแทน
  217. โครงการ : เยาวชนร่วมใจอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านควนเกาะจันทร์

    • ทางตรง : เยาวชนโรงเรียนบ้านควนเกาะจันทร์มีกิจกรรมเรียนรู้ด้านศิลปพื้นบ้านลดความเสี่ยงในการติดยาเสพติด
    • ทางอ้อม : ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้เยาวชนห่างไกลยาเสพติด
  218. โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านหัวหินปลอดขยะ

    • ทางตรง : เชิงปริมาณ มีผู้เข้าร่วมการจัดการขยะในชุมชน จำนวน 100 คน เชิงคุณภาพ คนในชุมชนมีความรู้และสามารถคัดแยกขยะในชุมชนได้
    • ทางอ้อม : เชิงปริมาณ มีชาวบ้านเข้าร่วมกิจกรรมคัดแยกขยะ จำนวน 200 คน เชิงคุณภาพ ชุมชนบ้านหัวหินสะอาด
  219. โครงการ : Green Food- Green market ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองจิก

    • ทางตรง : คนที่มาร่วมโครงการ ได้รับรู้ข้อมูลสถานการณ์การเกิดโรคจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น โรคมะเร็ง ต่างๆ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะเศรษกิจตกต่ำ รายจ่ายที่ไม่จำเป็นของครัวเรือนมีมาก มีการเพิ่มเติมข้อมูลทางด้านสถานการณ์โรคจากข้อมูลของรพสต.บ้านทุ่ง และมีความคิดเห็นข้อเสนอต่อชุมชน คือประชาชนในเวทีได้เห็นถึงประโยชน์จากการใช้วิถิชีวิตแบบพอเพียง
    • ทางอ้อม : ชุมชนให้ความใส่ใจในการบริโภคผักปลอดสารพิษเพิ่มขึ้น
  220. โครงการ : การจัดการทรัพยากรป่าชายเลน บ้านเขาทอง unseen อ่าวท่าเลน

    • ทางตรง : มีการจัดการเยาวชนในการลดเสี่ยงยาเสพติดในชุมชน
    • ทางอ้อม : คนในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน อันเป็นแหล่งกำเนิดอากาศบริสุทธิ์และแหล่งอาหารที่สำคัญของชุมชน
  221. โครงการ : ซีจันตุงฮาตี รวมพลอาบะ อาบี นำชีวีด้วยจริยธรรมแบบโคกทราย

    • ทางตรง : - ปลูกจิตสำนึกที่ดีด้านคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เด็กและเยาวชน - การมีส่วนร่วมของครอบครัวเด็กและเยาวชนในการทำกิจกรรม
    • ทางอ้อม : - ปลูกจิตสำนึกที่ดีด้านคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เด็กและเยาวชน - การมีส่วนร่วมของครอบครัวเด็กและเยาวชนในการทำกิจกรรม
  222. โครงการ : ปลุกจิตสำนึกชุมชน คนป่าเสม็ดอนุรักษ์ป่าชายเลน

    • ทางตรง : - รณรงค์ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ความรู้และความเข้าใจในเรื่องป่าชายเลน - จัดกิจกรรมในชุมชนให้คนมีส่วนร่วมเข้าใจถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมป่าชายเลน - เพิ่มความรู้สร้างจิตสำนึกของคนในชุมชน
    • ทางอ้อม : - รณรงค์ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ความรู้และความเข้าใจในเรื่องป่าชายเลน - จัดกิจกรรมในชุมชนให้คนมีส่วนร่วมเข้าใจถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมป่าชายเลน - เพิ่มความรู้สร้างจิตสำนึกของคนในชุมชน
  223. โครงการ : บ้านไร่ทอน อนุรักษ์คลังปัญญา นำพาเศรษฐกิจพอเพียง

    • ทางตรง : - ปรับทัศนคติคนในชุมชนให้ประหยัด และมีนิสัยการออมไม่บริโภคสิ่งที่มายาฟุ่มเฟือย ไม่ได้ประยชน์ ไม่มีคุณค่า - การจัดการด้านการเงินในครัวเรือน โดยการทำบัญชีครัวเรือน - ส่งเสริมการทำอาชีพเสริม
    • ทางอ้อม : - ปรับทัศนคติคนในชุมชนให้ประหยัด และมีนิสัยการออมไม่บริโภคสิ่งที่มายาฟุ่มเฟือย ไม่ได้ประยชน์ ไม่มีคุณค่า - การจัดการด้านการเงินในครัวเรือน โดยการทำบัญชีครัวเรือน - ส่งเสริมการทำอาชีพเสริม
  224. โครงการ : คนบ้านควน รวมใจ ลงมือ ลดนักเสพหน้าใหม่ในชุมชน

    • ทางตรง : เยาวชนร่วมทำกิจกรรมกีฬา อนุรักษ์มวยไทยเพื่อหลีกเลี่ยงยาเสพติด
    • ทางอ้อม : เยาวชนร่วมทำกิจกรรมกีฬา อนุรักษ์มวยไทยเพื่อหลีกเลี่ยงยาเสพติด
  225. โครงการ : สานชุมชน รวมพลเครือข่าย สู่เป้าหมายบ้านซอย 10 วิถีพอเพียง

    • ทางตรง : - เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในแนวทางหลักเศรษฐกิจพอเพียงและสร้างปลุกกระแส ค่านิยมหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้ประชาชนนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน - เสริมสร้างนิสัยการออม ขยันทำอาชีพเสริมเพิ่มรายได้
    • ทางอ้อม : - เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในแนวทางหลักเศรษฐกิจพอเพียงและสร้างปลุกกระแส ค่านิยมหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้ประชาชนนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน - เสริมสร้างนิสัยการออม ขยันทำอาชีพเสริมเพิ่มรายได้
  226. โครงการ : เปลี่ยนชีวิต ปรับวิถี เพื่อชีวีที่พอเพียง บ้านห้วยน้ำดำ

    • ทางตรง : - นำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
    • ทางอ้อม : - นำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
  227. โครงการ : รวมใจ สานสัมพันธ์ บ้านกุบังจามังเหนือ

    • ทางตรง : การทำกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ในชุมชน
    • ทางอ้อม : การทำกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ในชุมชน
  228. โครงการ : เยาวชนคนแป-ระใต้สามัคคี ทำดีเพื่อชุมชน

    • ทางตรง : การทำกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและผู้ใหญ่
    • ทางอ้อม : การทำกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและผู้ใหญ่
  229. โครงการ : บ้านมะนังเข้มแข็งด้วยเศรษฐกิจพอเพียงที่ยั่งยืน

    • ทางตรง : - การบริโภคผักสวนครัว ลดการใช้สารเคมีปลูกพืชผัก - เกิดการออกกำลังกายโดยการชวนกันทำแปลงผักสาธารณะริมถนน
    • ทางอ้อม : การอนุรักษ์วัฒนธรรมคือกลุ่มกลองยาวซึ่งมีสมาชิกถึงมากกว่า 100 คน ประกอบด้วยกลุ่มอายุหลากหลายตั้งแต่เยาวชนจนถึงผู้สูงอายุ ทำให้การเล่นได้ออกกำลัง มีสุขภาพจิตและกาย
  230. โครงการ : เยาวชนอาสา บ้านผังปาล์ม 7 อนุรักษ์ทรัพยากร

    • ทางตรง : เดินเท้าเข้าป่าสำรวจและดูแลทรัพยากร และสุขภาวะแวดล้อม อากาศที่บริสุทธิ์ อาหารทรัพยากรปลอดสารพิษ นำธรรมชาติ สะอาด
    • ทางอ้อม : การใช้ประโยชน์ทรัพยากร
  231. โครงการ : เปิดลานบ้านกำแพง ลด ละ เลิก เกมส์ออนไลน์

    • ทางตรง : 1.ส่งเสริมในเรื่องการออกกำลังกาย 2.การทำงานเป็นทีม 3.เกิดความสามัคคีในกลุ่มเยาวชน 4.เด็กมีรายได้จากการใช้เวลาว่างจากการเล่นเกมส์ 5.เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคอาหารประเภทขนมขบเคี้ยวลดน้อยลง
    • ทางอ้อม : 1.พ่อแม่มีอารมณ์ดีขึ้น 2.ค่าใ้ช้จ่ายในครอบครัวลดน้อยลง 3.ลูกใช้เวลาว่างช่วยเหลืองานบ้าน 4.ลดความก้าวร้าวต่อครอบครัว
  232. โครงการ : รักษ์เกาะสาหร่าย หมู่ที่ 5 ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

    • ทางตรง : - ได้มีการตื่นตัวในเรื่องการจัดการขยะ ได้ปลูกฝัง จิตสำนึกในตัวเอง ทีได้ร่วมโครงการในกิจกรรมนี้ - ได้เป็นต้นแบบตัวอย่างให้กับคนในชุมชน ในเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อม บ้านเรือน ความสะอาด การคัดแยกขยะ การทำปุ๋ยหมัก การนำเศษขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อครัวของตนเอง - ได้มีการทำกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ อบต. โรงเรียน มัสยิด วัด ในกิจกรรมนี้อย่างต่อเนื่อง
    • ทางอ้อม : - ทำให้ทราบข้อมูลเรื่องการจัดการขยะ จากคณะกรรมการการทำงานในแต่ละครั้งที่จัดเวทีกิจกรรมขยะ - ได้มีการร่วมรณรงค์กิจกรรมขยะภายในชุมชน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดีต่อคนในชุมชน - เมือได้มีการจัดการขยะอย่างถูกต้องถูกวิธี ทำให้คนในชุมชนมีสุขภาพที่ดี ร่างการแข็งแรงและมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง - สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนเรื่องการจัดการขยะ (มีธนาคารขยะในชุมชน) - คณะกรรมการและครัวเรือนอาสาและประชาชนทั่วไปได้เอาขยะทีเหลือใช้ มารีไซเคิล แปลมาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมรายได้ให้กับคนในชุมชน
  233. โครงการ : บ้านควนหนองหงส์เรียนรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง

    • ทางตรง : 1.ส่งเสริมสุขภาพทางกาย โดยประชาชนเรียนรู้ลดสารเคมีจากผลิตภัณฑ์ที่่ทำเพราะใช้สมุนไพรใน ชุมชนเช่นมะเฟือง มะนาว มะกรูด ตะลิงปิงฯลฯ 60 ครัวเรือน 2.ส่งเสริมสุขภาพทางใจ มีสุขภาพจิตใจที่ดีขึ้นเพราะไม่ต้องกังวลเรื่องสารเคมีตกค้าง และไม่กังวลเรื่องค่าใช้จ่าย และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน 100 คน 3.ส่งเสริมสุขภาพทางสังคม เกิดการรวมกลุ่มในชุมชนหันหน้ามาปรึกษาพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน มีความสามัคคี 100 คน 4.ส่งเสริมด้านปัญญา จากศูนย์การเรียนรู้นำมาปฏิบัติและแนะนำให้คนในชุมชนสามารถทำในครัวเรือนใช้เอง
    • ทางอ้อม : ประชาชนในหมู่บ้าน ได้รับการส่งเสริมสุขภาพทางจิตใจ เพราะการทำกิจกรรมมีการช่วยเหลืองกัน มีการชักชวนมาร่วมกิจกรรม เป็นการเอื้อเฟื้อแบ่งปันซึ่งกันและกันจากคนในชุมชนไปสู่ชุมชนใกล้เคียง
  234. โครงการ : บ้านปากบางจัดการขยะ สู่ชุมชนปลอดสารพิษ

    • ทางตรง : 1.ประชาชนในพื้นทีหมู่ที่ 8 บ้านปากบางมีพฤติกรรมการคัดแยกขยะที่ถูกต้องลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคในหมู่บ้าน 2.สภาพแวดล้อมในหมู่บ้านดีขึ้นปริมาณขยะที่ไม่สามารถทำลายและคัดแยกได้เองน้อยลง
    • ทางอ้อม : 1.โรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อในหมู่บ้านลดลง 2.ครัวเรือนต้นแบบแนะนำญาติของตนเองที่อยู่หมู่บ้านอื่นในเรื่องการคัดแยกจยะ
  235. โครงการ : เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนสร้างสุขบ้านยือเราะ

    • ทางตรง : ชาวบ้านจัดทำบัญชีครัวเรือน นำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและสามารถลดหนี้สินลงได้
  236. โครงการ : ครัวเรือนสะอาดชุมชนปลอดขยะ หมู่ที 2 บ้านสะพานเคียน

    • ทางตรง : 1.คัดแยกขยะในครัวเรือน 2.ลดการใช้ถุงพลาสติกในชุมชน 3.ร่วมใจงดใช้โฟมในชุมชน
    • ทางอ้อม : 1. ร่วมใจหิ้วตะกร้าหรือถุงผ้าไปตลาดเพื่อลดการใช้ถุงพลาสติก 2. ร่วมใจพัฒนาชุมชนทุกวันศุกร์
  237. โครงการ : ชุมชนสามัคคีปลอดโรค ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง หมู่ที่ 3 บ้านถ้ำทะลุ

    • ทางตรง : ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเรื่องของการรับประทานอาหารและมีการออกกำลังกายกันมากขึ้นและสมำ่เสมอ
    • ทางอ้อม : มีการการปลูกผักกินเองเพื่อสุขภาพที่ดีปลอดสารพิษและมีการหันมาสนใจการออกกำลังกายสรา้งภูมิคุ้มกันในคนที่เป็นโรคเบาหวานโรคอ้วน
  238. โครงการ : หมู่บ้านสีเขียว ปลอดโรค ปลอดสารเคมี ด้วยแนวทางเกษตรอินทรีย์ หมู่ที่ 4 บ้านควนโต๊ะเหลง

    • ทางตรง : 1. ร่วมจัดระบบการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพป้องกันควบคุมโรคและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมเพื่อลดปัญหาและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากวิถีชีวิตของประชาชนในหมู่บ้าน 2. สนับสนุนให้หมู่บ้านมีการพัฒนาเป็นหมู่บ้านต้นแบบและจัดทำแผนสุขภาพชุมชน 3. สนับสนุนให้หมู่บ้านมีการจัดระบบข้อมูลในการเฝ้าระวังโรควิถีชีวิตของประชาชนในหมู่บ้าน 4. สนับสนุนการจัดกิจกรรมของชุมชน ในการป้องกันควบคุมโรค และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามมาตรการ3 อ 3 ส 5. สนับสนุนให้หมู่บ้านมีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ 6. สนับสนุนให้หมู่บ้านมีการพัฒนากระบวนการ วิธีปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ในการดูแลสุขภาพเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่หมู่บ้านอื่น ๆ
    • ทางอ้อม : 1.ชุมชนมีการนำภูมิปัญญามาส่งเสริมการบริโภค เป็น เมนูอาหาร และมีการปลูกผักในระดับครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น 2. ชุมชนมีการรวมกลุ่มออกกำลังกาย แต่ละกลุ่ม และรูปแบบสอดคล้องวิถีชุมชนเช่น ไม้พลองป้าบุญมีฟุตบอล ตระกร้อ วิ่ง เดินและการปั่นจักรยาน
  239. โครงการ : หมู่ที่ 7 บ้านบูเกตยามูชีวิตดี วิถีพอเพียง

    • ทางตรง : เกิดการเปลี่ยนของคนและกลุ่มคนในชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดการระบบสุขภาพในชุมชนเพิ่มมากขึ้นมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในชุมชนที่เอื้อต่อชุมชนน่าอยู่มีการเปลี่ยนแปลงของกลไกในชุมชนมีคณะทำงานและกระบวนการทำงานในรูปแบบใหม่ๆ
    • ทางอ้อม : เกิดการเปลี่ยนของคนและกลุ่มคนในชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดการระบบสุขภาพในชุมชนเพิ่มมากขึ้นมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในชุมชนที่เอื้อต่อชุมชนน่าอยู่มีการเปลี่ยนแปลงของกลไกในชุมชนมีคณะทำงานและกระบวนการทำงานในรูปแบบใหม่ๆ
  240. โครงการ : พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย สานสายใยสู่ชุมชน หมู่ที่ 10 บ้านคลองบาราเกตุ

    • ทางตรง : เกิดการรวมกลุ่มออกกำลังกายของผู้สูงอายุในชุมชน
    • ทางอ้อม : เกิดการดูแล เอาใจใส่กันทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนเยาวชนกลุ่มเสี่ยงเกิดความรัก ความอบอุ่น จากการมีผู้สูงอายุอยู่เคียงข้าง เกิดการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ ตามความต้องการการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในชุมชนที่เอื้อต่อชุมชนน่าอยู่ เกิดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
  241. โครงการ : โครงการเยาวชนคนสร้างสุข บ้านนาเกาะไทร (ต่อเนื่อง ปี2)

    • ทางตรง : เยาวชนบ้านนาเกาะไทรห่างไกลยาเสพติด
    • ทางอ้อม : เยาวชนได้เรียนรู้การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
  242. โครงการ : โครงการย้อนอดีตคืนความสุข 2 วิถีชุมชนสะพานม้า

    • ทางตรง : การออกกำลังกาย/ไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่ติดป้ายปลอดบุหรี่
    • ทางอ้อม : การให้ความร่วมมือในพื้นที่ติดป้ายปลอดบุหรี่
  243. โครงการ : โครงการลาซังสร้างสันติสุขบ้านเตราะแก่นเชื่อมพี่น้องสองศาสนา

    • ทางตรง : การออกกำลังกาย/การบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะ
    • ทางอ้อม : การนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในครัวเรือน
  244. โครงการ : สือดังเบอร์ซาตู (ร่วมเป็นหนึ่ง)

    • ทางตรง : การออกกำลังกาย/การไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่ติดป้ายปลอดบุหรี่
    • ทางอ้อม : การดูแลสุขภาพจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลทำให้ทราบถึงการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง
  245. โครงการ : กองปังสร้างสุขบ้านกะลาพอตก

    • ทางตรง : การใช้ศิลปกองปังในการส่งเสริมสุขภาพจิตและสุขภาพกาย
    • ทางอ้อม : การมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการเข้ากิจกรรมทำให้เป็นการส่งเสริมสุขภาพทั้ง4มิติ กาย จิต สังคมและปัญญาของคนในชุมชน
  246. โครงการ : โครงการชุมชนกาแลแนสร้างสุขด้วยครอบครัววิถีศรัทธา

    • ทางตรง : การดูแลสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชุมชนเช่นการละหมาดร่วมกัน
    • ทางอ้อม : จากข้อมุลการลงพื้นที่ทำให้คนในชุมชนลุกขึ้นมาดูแลสุขภาพตนเอง
  247. โครงการ : โครงการ"อาหารของแม่สร้างพลังชุมชนปราแว"

    • ทางตรง : การออกกำลังกาย การบริโภคอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ
    • ทางอ้อม : การเข้ามามีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหาของชุมชนทำให้ทราบถึงปัญหาสุขภาพชุมชนจึงกลับมาดูแลสุขภาพของตนเองเช่นการปลูกผักกินเอง
  248. โครงการ : สร้างบ้านสร้างป่าบูโดให้น่าอยู่ ม.7 บ้านเจาะกะพ้อใน

    • ทางตรง : การลดใช้สารเคมี การส่งเสริมชุมชนในการปลูกผักกินเอง การปลูกผักอินทรีย์
    • ทางอ้อม : การส่งเสริมให้ชุมชนมรส่วนในการดูแลสุขภาพตั้งแต่การลดใช้สารเคมี ปลูปผักอินทรีย์
  249. โครงการ : ซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง

    • ทางตรง : -มีการบริโภคอาหารผัก ผลไม้ ที่มีความปลอดภัยจากสารเคมี -เกิดความมั่นคงอาหารในพื้นที่ -ต้นทุนการผลิตลดลงและมีรายได้เพิ่มขึ้น ทำให้ลดความเครียด ความวิตกกังวลในด้านการเงินของครอบครัว -มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในแปลงเกษตร ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี -เกิดการเอื้อเฝื้อแบ่งปันของสมาชิกในชุมชน
  250. โครงการ : สานใจคนสามวัย ร่วมสร้างบ้านโคกเมืองให้น่าอยู่ด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชน

    • ทางตรง : เด็ก เยาวชน และแกนนำชุมชน ทั้งหญิง ชาย ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้การรำกลองยาว ทำให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง เนื่องจากท่ารำทำให้ร่างกายได้ยืด เหยียดกล้ามเนื้อ การดัดตัว อีกทั้งแกนนำชุมชน ที่อยู่ในวัยสูงอายุได้มีเวลาในการปฎิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆในชุมชน ทำให้ลดความเครียด ความวิตกกังวล ความโดดเดี่ยว นำไปสู้สุขภาพกาย และจิตที่ดี
    • ทางอ้อม : ภูมิปัญญาในการแสดงกลองยาว สามารถถ่ายทอดให้ผู้ชมได้มีความเพลิดเพลิน ในงานต่างๆของชุมชน และงานนอกชุมชน ซึ่งบางครั้งผู้ชมยังสามารถเข้ามาร่วมแสดงกับกลุ่มกลองยาวบ้านโคกเมือง ทำให้สุขภาพแข็งแรง
  251. โครงการ : คนเกาะขาม ใส่ใจสุขภาพ ด้วยพืชผักสมุนไพร

    • ทางตรง : -ชุมชนมีการปลูกผักไว้บริเวณครัวเรือน -มีการออกกำลังกายทุก 3 ช่วงวัย -ชุมชนมีฐานการเรียนรู้เรื่องสมุนไพร 1 แห่งในโรงเรียน
    • ทางอ้อม : -
  252. โครงการ : ชาวนาปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค บ้านหนองถ้วย

    • ทางตรง : -ผู้ผลิตและผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากสารเคมี -ลดการเจ็บป่วยของกลุ่มเกษตรกรในชุมชน จากโรคผิวหนัง ทางเดินหายใจ -ผู้ผลิตและผู้บริโภค ได้บริโภคอาหารที่มีความปลอดภัย
  253. โครงการ : อาชีพเสริมเพิ่มคุณภาพชีวิตชุมชนบ้านคลองต่อ

    • ทางตรง : รวมกลุ่มกันทำอาชีพเสริมและการนำทรัพยากรในหมู่บ้านมาใช้เกิดประโยชน์และรายได้
    • ทางอ้อม : เกิดการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากภูมิปัญญาชาวบ้านในชุมชนสู่เยาวชนลูกหลานในหมู่บ้าน
  254. โครงการ : ลดรายจ่าย เสริมรายได้ชุมชนต้นแบบวิถีพอเพียง บ้านหนองไม้แก่น

    • ทางตรง : 1.คนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการทำเกษตรตามหลักปรัญชญาเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถปฎิบัติได้ 2.เกิดกลุ่มผลิตในชุมชนอย่างน้อย 3 กลุ่ม กลุ่มปลูกพืชผักสมุนไพร กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ กลุ่มเมล็ดพันธ์เพาะชำกล้าไม้
    • ทางอ้อม : 1.คนในชุมชนได้กินผักที่ปลอดสารพิษที่ผลิตจากชุมชน
  255. โครงการ : สิ่งแวดล้อมดี ชีวีเป็นสุข ชุมชนบ้านจุ้มปะ

    • ทางตรง : จัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครพัฒนาทัศนียภาพชุมชนบ้านจุ้มปะ เพื่อทำหน้าที่ทำความสะอาดสถานที่สาธารณะภายในชุมชน ปรับปรุงทัศนียภาพภายในชุมชน และรณรงค์ด้านการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมในชุมชน
    • ทางอ้อม : เยาวชนและคนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพที่เกิดจากสภาพแวดล้อม และมีจิตสำนึกในการร่วมกันรักษาความสะอาดครัวเรือนและสถานที่สาธารณะภายในชุมชน คนในชุมชน ร่วมกันทำความสะอาดบ้านเรือนและสถานที่สาธารณะภายในชุมชนพร้อมกัน เดือนละ 1 ครั้ง คนในชุมชนร่วมกันดูแลรักษาสภาพแวดล้อมบริเวณบ้านเรือนตัวเองให้ถูกสุขลักษณะ
  256. โครงการ : ชุมชนบ้านบาลาเพิ่มมูลค่าขยะเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

    • ทางตรง : 1. สร้างวินัยคนในชุมชนให้มีการจัดการขยะที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม 2. หมู่บ้านสะอาด ภูมิทัศน์สวยงาม ส่งผลต่ออารมณ์คนในชุมชนให้มีสุขภาพจิตดี 3. มีผลให้ชุมชนไม่มีแหล่งเพาะพันธ์ของพาหะนำโรค 4. มีนำ้อุปโภค บริโภคที่สะอาดและปลอดภัย 5. แหล่งเรียนรู้การจัดการขยะที่ดีและมีนวัตกรรมขยะในชุมชน โดยชุมชนเอง
    • ทางอ้อม : 1. ประชาชนทั่วไปและหมู่บ้านข้างเคียงได้เรียนรู้เรื่องการจัดการขยะในหมู่บ้าน 2. มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติใกล้บ้าน 3. มีผลให้ชุมชนไม่มีแหล่งเพาะพันธ์ของพาหะนำโรค 4. เป็นแหล่งต้นน้ำมีนำ้อุปโภค บริโภคที่สะอาดและปลอดภัย ต่อหมู่บ้านข้างเคียง 5. เป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะที่ดีและมีนวัตกรรมขยะในชุมชน โดยชุมชนเอง
  257. โครงการ : ตะโละแน็งอามานสร้างสุข รู้จักพอเพียงและเพียงพอ

    • ทางตรง : ชุมชนมีการปลูกผักริมรั้วที่ปลอดสารพิษและเกิดกลุ่มบ้านเรือนเพาะเห็ดปลอดสารพิษและการเลี้ยงปลาดุก สรา้งอาชีพ ให้มีการส่งเสริมไว้กินเองในบ้าน และเพื่อเกิดรายได้ให้แก่ชุมชนแต่ละครัวเรือของนตนเอง ทำให้ชุมชนมีผู้นำที่เข็มแข็งและชาวบ้านนับถือ ชาวบ้านมีความมั่นใจในการให้ความร่วมมือต่อกิจกรรมและมีจิตอาสาสร้างประโยชน์ให้แก่ครัวเรือนหรือชุมชน มีความสามัคคี เกิดความรักระหว่างครัวเรือต่อครัวเรือน และชุมชนอยู่กันอย่างมีความสุข สามารถดำเนินชีวิตในชุมชนอย่างยั่งยืน ทำให้สุขภาพจิตของคนในชุมชนยิ้มแย้ม แจ่มใส่ในแต่ละวัน เพราะได้ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสมั่มเสมอ
    • ทางอ้อม : ชุมชนมีการปลูกผักริมรั้วที่ปลอดสารพิษและมีการเพาะเห็ดปลอดสารพิษ และการเลี้ยงปลาดุก สรา้งอาชีพ ให้มีการส่งเสริมไว้กินเองในบ้าน และเพื่อเกิดรายได้ให้แก่ชุมชนแต่ละครัวเรือของนตนเอง ทำให้ชุมชนมีผู้นำที่เข็มแข็งและชาวบ้านนับถือ แต่ส่วนใหญ่จะมีชาวบ้าน บางส่วนที่ยังขาดและไม่มาร่วมกิจกรรมไม่มีความมั่นใจในการให้ความร่วมมือต่อกิจกรรมและไม่สนับสนุนกิจกรรม ครัวเรือนนี้จะลงมือทำเอง โดยไม่ผ่านการอบรมต่อเนื่อง ลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง และขาดความสามัคคีในชุมชน แต่จะได้จากการเล่าสู่การฟังจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำไปปฏิบัติตามความเหมาะสม ลูกบ้านคนอื่นที่ได้เห็นตื่นตัวและอยากที่จะเข้าร่วปลูกผักปลอดสารพิษและเข้าร่วม ทำให้สุขภาพจิตของคนในชุมชนยิ้มแย้ม แจ่มใส่ในแต่ละวัน เพราะได้ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสมั่มเสมอ
  258. โครงการ : ทำนบร่วมสร้างอาชีพสร้างรายได้ อยู่อย่างพอเพียง

    • ทางตรง : ชุมชนมีการปลูกผักริมรั้วที่ปลอดสารพิษและมีการปลูกมันสำปะหลัง และการเลี้ยงปลาดุก สรา้งอาชีพ ให้มีการส่งเสริมไว้กินเองในบ้าน และเพื่อเกิดรายได้ให้แก่ชุมชนแต่ละครัวเรือของนตนเอง ทำให้ชุมชนมีผู้นำที่เข็มแข็งและชาวบ้านนับถือ ชาวบ้านมีความมั่นใจในการให้ความร่วมมือต่อกิจกรรมและสร้างประโยชน์ให้แก่ครัวเรือนหรือชุมชน มีความสามัคคี เกิดความรักระหว่างครัวเรือต่อครัวเรือน และชุมชนอยู่กันอย่างมีความสุข สามารถดำเนินชีวิตในชุมชนอย่างยั่งยืน ทำให้สุขภาพจิตของคนในชุมชนยิ้มแย้ม แจ่มใส่ในแต่ละวัน
    • ทางอ้อม : ชุมชนมีการปลูกผักริมรั้วที่ปลอดสารพิษและมีการปลูกมันสำปะหลัง และการเลี้ยงปลาดุก สรา้งอาชีพ ให้มีการส่งเสริมไว้กินเองในบ้าน และเพื่อเกิดรายได้ให้แก่ชุมชนแต่ละครัวเรือของนตนเอง ทำให้ชุมชนมีผู้นำที่เข็มแข็งและชาวบ้านนับถือ แต่ส่วนใหญ่จะมีชาวบ้าน บางส่วนที่ยังขาดและไม่มาร่วมกิจกรรมไม่มีความมั่นใจในการให้ความร่วมมือต่อกิจกรรมและไม่สนับสนุนกิจกรรม ครัวเรือนนี้จะลงมือทำเอง โดยไม่ผ่านการอบรมต่อเนื่อง ลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง และขาดความสามัคคีในชุมชน แต่จะได้จากการเล่าสู่การฟังจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำไปปฏิบัติตามความเหมาะสม
  259. โครงการ : เยาวชนต้นตาลสุขภาพดี มีภูมิคุ้มกันยาเสพติด

    • ทางตรง : - เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งกลุ่มเสพ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเด็กดี มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเอง และตระหนักถึงโทษ พิษ ภัยของยาเสพติด - เยาวชนที่สูบบุหรี่มีพฤติกรรมที่ลดลง และต้องไม่สูบในบริเวณที่กำหนดห้ามสูบ โดยจะมีการติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่สำคัญของชุมชน
    • ทางอ้อม : - มีพฤติกรรมในการบริโภคสิ่งที่มีประโยชน์มากยิ่งขึ้น - สาธารณสถานในชุมชนมีความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยมากยิ่งขึ้นส่งผลต่อสุขอนามัยที่ดีของคนในชุมชน - ชุมชนมีส่วนร่วมมีความสามัคคีมากยิ่งขึ้น ส่งผลต่อสุขภาพจิตที่ดีของคนในชุมชน - มีสภาพแวดล้อมที่มีความแบ่งปัน เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน
  260. โครงการ : คุณธรรมสร้างคน จริยธรรมสร้างใจ ลดปัญหายาเสพติด ณ บ้านน้ำตก

    • ทางตรง : ดูแลตัวเองไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติด เล่นกีฬาเพื่อสุขาภาพ
    • ทางอ้อม : เยาวชน อายุระหว่าง 6 - 13ปฏิเสธการสูบบุหรี่ และยาเสพติดอื่นๆ เยาวชน อายุระหว่าง 6 - 13 หันมาเล่นกีฬา ตอนเย็น
  261. โครงการ : ชาวตือกอร่วมมือ ร่วมใจ ชุมชนสะอาด

    • ทางตรง : ชุมชนมีการจัดการขยะในบ้านเรือน ในลำคลองใสสะอาดไม่มีขยะ ชาวบ้านสามารถตกปลามารับประทานได้ ชาวบ้านปลูกต้นตระไคร้ พริก ทดแทน พื้นที่กองขยะ
    • ทางอ้อม : -
  262. โครงการ : หมู่บ้านยะออ ชุมชนเข้มแข็ง สุขภาพกายใจดี ชีวีมีสุข

    • ทางตรง : มีพฤตกรรมสุขภาพดีขึ้น
    • ทางอ้อม : -
  263. โครงการ : เศรษกิจพอเพียงด้วยบัญชีครัวเรือนบ้านท่าพรุ

    • ทางตรง : การประชุมสภาผุ้นำทุกเดีอน พฤกติกรรมการออม และการทำบัญชีครัวเรือน
    • ทางอ้อม : ตัวแทนกลุ่มต่างๆทีมีอยุ่ในชุมชนช่วยกันรับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรมมีกลุ่มผุ้สุงอายุและกลุ่มแม่บ้านกำหนดให้ทุกวันที่20ของทุกเดีอนมาร่วมทำกิจกรรมที่มัสยิดบ้านท่าพรุการมีครัวเรือนต้นแบบในชุมชน มีแกนนำเด้กอายุ 8ถึง 13ปี เป็นแกนนำเข้าอบรมกอรีจังหวัดนครศรีธรรมราชรวม 10วัน มีจำนวน 6คนได้มีอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดภายในชุมชนได้ระดับหนึ่ง
  264. โครงการ : ครอบครัวอบอุ่น มีภูมิคุ้มกัน แบ่งปันความสุขบ้านขุนสมุทร

    • ทางตรง : ประชุมทีมสภาผู้นำทุกเดือน โดยมานั่งคุย สรุปปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งเป็นปัญหาจากโครงการ สสส.และปัญหาอื่นๆในชุมชน
    • ทางอ้อม : การเข้าร่วมกิจกรรมเวทีชี้แจงโครงการ และกิจกรรมอื่น ๆ
  265. โครงการ : ทุ่งเกาะปาบร่วมรักษ์พืชผักพื้นบ้าน ม. 6 บ้านทุ่งเกาะปาบ

    • ทางตรง : ได้รับความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณทางยาของพืชผักพื้นบ้านที่ได้ปลูกด้วยตนเองและที่มีอยูแล้วในชุมชนและนำพืชผักพื้นบ้านที่มีอยู่มาบริโภคในครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง และช่วยส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านเข้าร่วมโครงการดังกล่าวด้วย
    • ทางอ้อม : นำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการดังกล่าวมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ส่งเสริมการปลูกผักพื้นบ้านไว้บริโภคในครัวเรือน และนำมาทำเป็นสมุนไพรเพื่อป้องกันโรคต่างๆได้ เช่น ไพล แก้ฟกชำ้ ขิง แก้ขับลม ข่า แก้โรคผิวหนัง แก้ท้องอืด มะกรูด แก้ลมวิงเวียน แก้ไอเสมหะ ขจัดรังแค ตะลิงปลิง ช่วยต้านเซลล์มะเร็ง ช่วยลดปริมาณนำ้ตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน ฟ้าทะลายโจร แก้เจ็บคอ ท้องเสีย แก้ไข้ ฯลฯ และสามารถนำไปเป็นอาชีพเสริมลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือนได้อีกด้วย
  266. โครงการ : หมู่บ้านยุคใหม่ใส่ใจสุขภาวะ หมู่ 7บ้านนาข่าใต้

    • ทางตรง : มีสุขภาพดีขึ้น ความดันเบาหวานลดลง
    • ทางอ้อม : รับประทานอาหารที่ปลอดสารเคมี สุขภาพดีขึ้น ความดันเบาหวานลดลง
  267. โครงการ : โครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชน(ม. 11 บ้านห้วยมะพร้าว)

    • ทางตรง : - ผู้เข้าร่วมโครงการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษและบริโภคอาหารประเภทผักมากขึ้น ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยตรง
    • ทางอ้อม : - ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ เกิดแรงจูงใจหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัย เกิดกระแสแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้ทุกครัวเรือนหันมาบริโภคอาหารปลูกเองกินเอง เพื่อสุขภาพที่ดีห่างไกลโรคของคนในชุมชน
  268. โครงการ : มัสยิดสัมพันธ์ศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ม.17 บ้านวังช่อนชัย

    • ทางตรง : - คนในชุมชนตระหนักถึงการบริโภคอาหาร เพื่อป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากพันธุุกรรม คือโรคความดันโลหิตและโรคเบาหวาน
    • ทางอ้อม : - ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนมากขึ้น - ทำให้ชุมชนเข้มแข็งขึ้น - คนในชุมชนตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  269. โครงการ : ชาวเกาะยวน หมู่ 3 ยุคใหม่ คิดใหม่ ทำใหม่ ใส่ใจสุขภาพ

    • ทางตรง : - พฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารที่มีผลกระทบต่อสุขภาพให้น้อยลง - ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานเองในครัวเรือน ซึ่งเป็นผักปลอดสารพิษที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ - การออกกำลังวันละ 30 นาที และเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับแต่ละวัย
    • ทางอ้อม : - ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนมากขึ้น - ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพแทนการใช้ปุ๋ยเคมีในการปลูกผักสวนครัว เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ - ส่งเสริมและให้ทุกคนตระหนักในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ - การเลือกรับประทานอาหารที่ปลอดภัย และส่งเสริมให้คนในชุมชนลด หวาน มัน เค็ม
  270. โครงการ : เยาวชนหมู่ 6 บ้านหัวทางร่วมใจอนุรักษ์คลองละงู

    • ทางตรง : - ผู้เข้าร่วมโครงการกลุ่มแกนนำและเยาวชน หมู่.6 บ้านหัวทาง เพื่อเป็นการรับรู้ข้อมูลในการจัดการแก้ไขปัญหากับชุมชนให้น่าอยู่ต่อไป และได้มีการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติให้คงอยู่สภาพคงเดิม เช่น การจัดกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ และร่วมกันปลูกป่าชายเลนทั้งแนวสองฝั่งคลอง เพื่อเป็นการทดแทนผืนป่าที่ถูกทำลายจากการใช้ประโยชน์อย่างเดียวของคนในชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ของทางอำเภอละงู ในส่วนของทรัพยากรชายฝั่ง และเป็นการเพิ่มจำนวนทรัพยากรทางน้ำให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยทางตรง ทั้งนี้ให้กับคนในชุมชนด้วย
    • ทางอ้อม : - กลุ่มแกนนำและเยาวชน รวมทั้งคนในชุมชนทุกคน ได้หันมาช่วยกันส่งเสริมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่ในคลองละงูแห่งนี้ ซึ่งมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้น และได้รู้ถึงขั้นตอนด้านกระบวนการในการจัดทำโครงการต่าง ๆ ให้กับคนในชุมชนได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วย
  271. โครงการ : โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชนลดรายจ่าย ม.15 บ้านในใส ต.ละงู

    • ทางตรง : - การบริโภคอาหารโดยกินผักที่ปลูกเอง - การจัดทำบัญชีครัวเรือนของคนในชุมชน
    • ทางอ้อม : - การบริโภคของคนในครัวเรือนมีการบริโภคผักที่ปลูกเอง - ได้ทราบการใช้จ่ายในครัวเรือนจากการทำบัญชีครัวเรือน
  272. โครงการ : บ้านห้วยไทร หมู่ 10 น่าอยู่ฟื้นฟูเศรษฐกิจเน้นความเจริญด้านอาหาร

    • ทางตรง : - ผู้เข้าร่วมโครงการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษและบริโภคอาหารประเภทผักมากขึ้น ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยตรง ทั้งนี้เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้กับคนในครอบครัวและชุมชนข
    • ทางอ้อม : - คนในชุมชนหันมาปลูกผักปลอดสารพิษมากขึ้น - ได้รู้ถึงกระบวนการในการบันทึกรายรับรายจ่ายของคนในครัวเรือน - ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
  273. โครงการ : โครงการชุมชนร่วมใจ สูงวัยมีสุข ม.12 บ้านในเมือง

    • ทางตรง : - มีเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.ลงเยี่ยมบ้าน เป็นประจำ อบรมให้ความรู้ในเรื่องการรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะครบถ้วนตามหลักโภชนาการการผ่อนคลายความเครียด หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น อาหารที่มีรสเค็มจัด อาหารมัน ทอด ให้มีการออกกำลังกายเป็นประจำ
    • ทางอ้อม : - มีการจัดบริการ ตรวจสุขภาพ ให้กับผู้สูงอายุ เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ผู้สูงอายุคนอืนๆ
  274. โครงการ : โรงเรียนร้างสร้างชีวิตบ้านทุ่งหนองควาย (ต่อยอดปี 2)

    • ทางตรง : - พฤติกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพ ทางกาย ทางใจ และทางสังคม คือการร่วมกันทำและได้บริโภคพืชผักปลอดสารพิษ - พฤติกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพ ทางปัญญา คือการได้เรียนรู้สูตรการทำปุ๋ยหมัก ทำเครื่องแกง การออกแบบห้องจำลองฐานเรียนรู้
    • ทางอ้อม : - ทางสังคม ประชาชนในชุมชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่นการใช้ปุ๋ยหมักปลอดสารเคมี ใช้ขายวัตถุดิบให้กับกลุ่มผลิตเครื่องแกง เช่น พริก ข่า ขมิ้น ขายวัตถุดิบให้กลุ่มทำปุ๋ยหมัก เช่น ขี้หมู ขี้วัว ขี่ไก่ - ทางปัญญา การมาศึกษาเรียนรู้ในห้องฐานเรียนรู้ - ทางกาย มีความสุขที่ได้บริโภคพืชผักปลอดสารพิษ - เมื่อเกิดรายได้ ทำให้คนมีสุขทั้งทางกายและทางใจ
  275. โครงการ : กระจาดสานใจเครื่องแกงกู้ภัยเศรษฐกิจบ้านนาแยกเหนือ (ต่อยอดปี 2)

    • ทางตรง : 1. การปลูกผักโดยใช้พื้นที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์ ทางกายได้ออกแรงได้ออกกำลังกาย ทางใจเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ คลายทุกข์ ผ่อนคลายความเครียด สังคม ก็ได้พบปะพูดคุยกันเป็นการแลกเปลี่ยนความคิด แชร์ประสบการณ์ ทำให้เกิดความสามัคคี ปัญญา เป็นการอนุรักษ์พันธ์พืชดั้งเดิม เช่น ข้าวไร่ ข้าวเหนียวที่นำมาทำข้าวม้าว เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญา 2. การทำกระจาดโบราณ ทางกายได้ออกแรงออกกำลัง ทางใจทำแล้วเกิดความสบายอกสบายใจเพราะเชื่อว่าเป็นการตอบแทนบุญคุณตายายที่ล่วงลับ สังคมเมื่อได้มาทำร่วมกันเกิดการช่วยเหลือกัน ร่วมไม้ร่วมมือกัน เกิดความสามัคคีได้แชร์สุขทุกข์กันในเรื่องต่างๆ ด้านปัญญาได้ถ่ายทอดด้านภูมิปัญญาจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นหนึ่งเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญา เช่นการผูกเชือก การเกาะสลัก การเรียกชื่อส่วนประกอบต่าง ๆ
    • ทางอ้อม : 1. การปลูกผักเหลือจากกินและขายแล้ว ยังสามารถแลกระหว่างผักกับผักได้ เช่นมีพริกขี้หนูสามารถแลกกับถั่วพูได้ 2. เป็นการดูแลสุขภาพให้กับผู้บริโภค เนื่องจากการปลูกได้ใช้ปุ๋ยหมักและน้ำหมักที่ทำเอง เป็นการลดการใช้สารเคมี 3. การทำกระจาด ทำให้คนหมู่บ้านใกล้เคียงได้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำบุญ ได้ร่วมสนุกในวันแห่กระจาดไปวัดไม่ว่าจะในเรื่องเสียงจากกลองยาว การร่ายรำในทำนองกลองยาว 4. การทำชุดความรู้ คนนอกหมู่บ้านสามารถศึกษาเรียนรู้การทำกระจาดได้ และหากปราชญ์ชาวบ้านเสียชีวิตไป ก็ยังมีชุดความรู้เป็นการสืบทอดแบบยั่งยืน
  276. โครงการ : ร้อยมือสร้างวิถีชุมชนบ้านบางโกระ

    • ทางตรง : การนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดูแลสุขภาพเช่นการทำปุ๋ยอินทรีย์ การปลูกผักกินเอง
    • ทางอ้อม : การออกกำลัง/การดูแลสุขภาพตนเองและคนในครอบครัว
  277. โครงการ : สร้างสุขคนบ้านปะโอ ชุมชนต้นแบบวิถีเกษตรอินทรีย์

    • ทางตรง : -สมาชิกในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ ได้บริโภคผัก ที่มีความปลอดภัย -ปริมาณขยะอินทรีย์ (มูลวัว ) ได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องและเกิดคุณค่าในรูปแบบของปุ๋ยอินทรีย์ลดปัญหาเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค เช่น ยุง แมลงวัน แมลงวี่นำไปสู่สุขลักษณะที่ดีในครัวเรือน
  278. โครงการ : สร้างจิตสำนึกเยาวชนบ้านนาทอนเพื่อการเรียนรู้การเกษตร

    • ทางตรง : - การรณรงค์การปลูกพืชผักสวนครัว รั้วกินได้ เพื่อลดปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนในหมู่บ้าน - การลงแปลงสาธิตเน้นการปลูกพืชผักที่สามารถลดความดัน เบาหวานซึ่งเป็นการสร้างนิสัยให้กับประชาชนในหมู่บ้านตระหนักถึงปัญหาด้านสุขภาพ - สุขภาพของคนในชุมชนแข็งแรง
    • ทางอ้อม : - ปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนดีขึ้น - ลดปัญหาค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้อีกทางหนึ่ง - ลดปัญหาของครอบครัวด้านหนี้สินให้น้อยลง
  279. โครงการ : ร่วมพลังคนบ้านช่องไทรจัดการขยะเพื่อชุมชนน่าอยู่

    • ทางตรง : - คัดแยกขยะในครัวเรือน - ลดการใช้ถุงพลาสติกในชุมชน - ร่วมใจงดใช้โฟมในชุมชน
    • ทางอ้อม : - ร่วมใจหิ้วตะกร้าหรือถุงผ้าไปตลาดเพื่อลดการใช้ถุงพลาสติกมีความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรม ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างความร่วมมือในชุมชน
  280. โครงการ : ส่งเสริมพัฒนาอาชีพบ้านท่าศิลา ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

    • ทางตรง : มีการประกอบอาชีพเสริมสร้างรายได้ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เพิ่มรายได้ในครัวเรือน
    • ทางอ้อม : มีความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรม ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างความร่วมมือในชุมชน
  281. โครงการ : พัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ในชุมชนบ้านบารายี

    • ทางตรง : 1. ครัวเรือนเป้าหมายมีการเรียนรู้เรื่องการลดการใช้สารเคมีในการปลูกพืช 2. เมื่อมีการปลูกผักปลอดสารพิษส่งผลให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น
    • ทางอ้อม : 1.ประชาชนทั่วไปที่สนใจเรียนรู้กิจกรรม 150 คน เป็นกิจกรรมการปลูกผักเป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านกายใจสังคมและปัญญา
  282. โครงการ : มัสยิดสร้าง เยาวชน สู่ชุมชนสโลว์ปาแต่น่าอยู่

    • ทางตรง : การได้รับประโยชน์และจากการเข้าร่วมกิจกรรมที่แฝงในเรื่องสุขภาวะชุมชน และหลักสุขาภิบาล การดูแลสถานที่ให้น่าอยู่
    • ทางอ้อม : มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนที่ส่งเสริมในเรื่องสุขลักษณะที่ดีและการเริ่มจากการพัฒนาสถานสาธารณะ นำสู่การดูแลบ้านของตนเอง
  283. โครงการ : บ้านนาข่าเหนือ หมู่ที่ 4 ร่วมใจจัดการขยะเพื่อความยั่งยืน

    • ทางตรง : - 1.ประประชาชนได้เรียนรู้เรื่อง อันตรายจากสารเคมีที่มาจากขยะเพื่อให้ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเรื่องการเผาขยะโดยการคัดแยกขยะ รีไซเคิลได้มาขายให้กับธนาคารขยะประจำหมู่บ้านทุกวันจันทร์ สำหรับขยะที่เหลือใช้ เช่นเศษอาหารนำไปทำปุ๋ยหมักชีวภาพไว้ใช้เองในครัวเรือน และขยะอันตรายส่งให้ อบต.นำไปทำลายอย่างถูกวิธี เพื่อให้ประชาชนได้หนักถึงการเผาขยะเพราะการเผาขยะส่งผลกระกับประชาชนโดยตรงยิ่งไปกว่านั้นส่งผลกระทบกับผู้ป่วยทุกเพศ ทุกวัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ไม่ว่าจะเป็น ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ธรรมดา เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในชุมชน - เพิ่มรายได้และลดรายจ่ายภายในครัวเรือน
    • ทางอ้อม : - 1.ประชาชนร่วมเรียนรู้และช่วยกันรักษาความสะอาดของชุมชน เพื่อให้มีอากาศที่บริสุทธิในการดำรงชีวิต ก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพของคนในชุมชนและครอบครัว ปราศจากโรคภัยต่างๆ
  284. โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น ปี2

    • ทางตรง : -เยาวชนมีการเล่นกีฬาในสนามโรงเรียนเพิ่มขึ้น เช่น ฟุตบอล ตะกร้อแบตมินตัน -ผู้ใหญ่หลังจากเสร็จงานแล้วร่วมปั่นจักรยานรอบ ๆหมู่บ้านระยะทาง 3 กิโลเมตร
    • ทางอ้อม : กลุ่มเครื่องแกงและกลุ่มสมุนไพรได้รับงานในการออกบู๊ทกิจกรรมผักปลอดสารตามตลาดและร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานพัฒนาชุมชน-ธกส. เป็นต้น
  285. โครงการ : บ้านดอนรักษ์ร่วมใจสร้างความปลอดภัยในชุมชน ปี2

    • ทางตรง : มีความรู้เรื่องการรับมือกับภัยพิบัติ และสืบทอดวัฒนธรรมกลองยาว
    • ทางอ้อม : ได้ร่วมกันสืบทอดวัฒนธรรมกลองยาว ซึ่งเป็นประเพณีพื้นบ้านดอนรักษ์
  286. โครงการ : ท่องเที่ยวเชิงเกษตรลดสารเคมี สร้างสุขภาวะชุมชนบ้านคลองลำแชง (ต่อเนื่อง ปี 2)

    • ทางตรง : การปลูกพืชเกษตรอินทรีย์และการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์
    • ทางอ้อม : นักท้่องเที่ยวมาเรียนรู้การเกษตรอินทรีย์และนำไปปรับใช้ในครัวเรือนตนเอง
  287. โครงการ : บ้านห้วยทรายขาวน่าอยู่ ชุมชนร่วมใจ ห่างไกลโรค ปี2

    • ทางตรง : มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารที่ปลอดภัย มีการปลูกผักไว้ทานเอง
    • ทางอ้อม : ได้ร่วมกันบริโภคอาหารที่ปลอดภัย และปลูกผักไว้ทานเองที่บ้าน
  288. โครงการ : รวมพลังสร้างสุขภาพบ้านศาลาไม้ไผ่(ต่อเนื่อง)

    • ทางตรง : การปลูกผักกินเอง
    • ทางอ้อม : เน้นบริโภคผักปลอดสารพิษมากขึ้น
  289. โครงการ : คุณค่าเด็กแว็นซ์ ที่บ้านปากคลองวัดแดง(ต่อยอดปี2)

    • ทางตรง : 1.กลุ่มเป้าหมาย 200 คนมีความรู้ในเรื่องของประโยชน์ในการใส่หมวกกันน็อคการเคารรพกฎจราจรเป็นการส่งเสริมสุขภาพทางกายเพื่อลดอันตรายจากอุบัติเหตุ
    • ทางอ้อม : ประชาชนในหมู๋ที่ 6 จำนวน 400คน และหมู่บ้านใกล้เคียงที่ใช้ถนน สายปากคลองวัดแดงมีการใส่หมวกกันน็อคในเวลาขับรถมอเตอร์ไซต์
  290. โครงการ : วัด ชุมชน ร่วมจัดการทุนที่บ้านทองพูน (ต่อยอดปี 2)

    • ทางตรง : 1.ครัวเรือนเป้าหมายได้เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักลดการใช้สารเคมีเป็นการส่งเสริมสุขภาพทางกาย จำนวน 100ครัวเรือน 2.ในการทำกิจกรรมจะมารวมกันทำในวัด เป็นการส่งเสริมสุขภาพจิตใจคือการใช้ความศรัทธาในการที่จะมาร่วมกิจกรรมและเป็นการสร้างบุญไปด้วย
    • ทางอ้อม : 1.ประชาชนทั่วไปสนใจเรียนรู้กิจกรรม250คน ประชาชนในหมู่บ้านใก้เคียง จำนวน100คน หมู่ที่ 1 หมู่ 4ได้มาศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในฐานเรียนรู้ชุมชน
  291. โครงการ : คลังอาหารบ้านดอนโรง(ต่อยอดปี 2)

    • ทางตรง : ด้านทางกายเกิดการร่วมกลุ่มได้ออกกำลังกายจากการร่วมกันทำกิจกรรมเช่นการมาเตรียมบ่อปลาโดยการมาขุดลอกวัชพืชในบ่อเตรียมไม่ไผ่ในการทำกระชัง ด้านจิตใจชาวบ้านได้มาทำนำ้ยาเอนกเอนกประสงค์ใช้เองสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ จึงทำให้เกิดความสุขคนในชุมชนได้มาทำกิจกรรมร่วมกันได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ได้มาสอบถามพูดคุยกัน
    • ทางอ้อม : 1.ด้านจิตใจคนในชุมชนได้เห็นการเปลี่ยนแปลงจากการทำโครงการคือการทำนำ้ยาเอนกประสงค์ซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายเป็นการอุดหนุนสินค้าในชุมชนซื้อสินค้าราคาถูกกว่าท้องตลาดได้นำวัสดุที่มีอยู๋ในชุมชนมาให้เกิดประโยชน์ได้ใช้สินค้าที่มีคุณภาพทำให้เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกันมีการบอกต่อทำให้คนที่ทำนำ้ยาเอนกประสงค์มีความภาคภูมิใจที่จะผลิตนำ้ยาเอนกประสงค์ต่อไป 2.นักเรียนกศน.ตำบลเขาพระบาทมาร่วมเรียนรู้และทำกิจกรรมในหมู่บ้าน
  292. โครงการ : ภูมิปัญญา เพิ่มรายได้ สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม (ต่อยอดปี 2)

    • ทางตรง : 1.ครัวเรือนเป้าหมายได้เรียนรู้ลดการใช้สารเคมีในการเกษตร เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านกาย 170 ครัวเรือน 2.ครัวเรือนเป้าหมายได้เรียนรู้วิธีการเลี้ยงผึ้งและเลี้ยงผึ้งในบ้าน เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านสังคม 100 ครัวเรือน 3.ประชาชนผู้สนใจ 50 คน เรียนรู้การใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านกาย 4.ประชาชนให้ความสนใจในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 170 ครัวเรือน ส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม 5.ประชาชนร่วมกันลดใช้สารเคมีโดยทำน้ำหมัก ปุ๋ยหมัก เป็นการลดโรค ลดพาหะนำโรค ส่งเสริมสุขภาพด้านกายและจิตใจ
    • ทางอ้อม : 1.ประชาชนทั่วไปที่สนใจเรียนรู้กิจกรรม 400 คน เป็นกิจกรรมการปลูกผัก การเลี้ยงผึ้ง เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านกายและสังคม 2.ประชาชนในหมู่บ้านใกล้เคียง หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 9จำนวน 50 คน ได้มาศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้านสังคมและจิตวิญญาณ
  293. โครงการ : ภูมิปัญญา เพิ่มรายได้ สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม (ต่อยอดปี 2)

    • ทางตรง : การเปลี่ยนแปลงในกลุ่มคน 1.ใครบ้างที่เข้ามาร่วมกลุ่มกับเรากี่คน 2.คนได้รับความรู้เรื่องอะไรกี่คน 3.คนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเรื่องอะไร กี่คน 4.เกิดคนต้นแบบกี่คน เรื่องอะไร
    • ทางอ้อม : การเปลี่ยนแปลงในกลุ่มคน 1.มีใครบ้างที่เข้ามาร่วมกลุ่มกับเรากี่คน 2.คนได้รับความรู้เรื่องอะไรกี่คน 3.คนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเรื่องอะไร กี่คน
  294. โครงการ : ปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนด (ต่อยอดปี 2)

    • ทางตรง : 1. เยาวชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง 2. คนสามวัยร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพ 3. เป็นการส่งเสริมสุขภาพทางด้านจิตใจ พื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น
    • ทางอ้อม : 1. ประชาสัมพันธ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ 2. พัฒนาเยาวชนเชิงบวก 3. ได้ประโยชน์ทางกาย และ จิตใจ 4. เกิดจิตสำนึกในการเสริมสร้างการอนุรัษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  295. โครงการ : ทุนชุมชนสร้างรายได้บ้านสวนขัน (ต่อยอดปี 2)

    • ทางตรง : กลุ่มเป้าหมาย160คน มีมิติทางกาย จิต สังคมและปัญญา การส่งเสริมสุขภาพทางกายส่งเสริมการออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิกทุกวันที่ เทศบาลสวนขัน มีการออกแรงในการทำปุ๋ยหมัก ส่งเสริมสุขภาพทางใจให้คนในชุมชนนั่งสมาธิทุกวันพระที่วัดสวนขัน การส่งเสริมสุขภาพทางสังคมร่วมกันพัฒนาวัดและชุมชนทุกวันสำคัญทางศาสนาโดยการกวาดขยะบริเวณวัดสวนขัน การส่งเสริมสุขภาพทางปัญญานำเยาวชนมาทำกิจกรรมที่วัดสวนขันเช่น สวดมนต์ไหว้พระฟังธรรมเทศนา
    • ทางอ้อม : คนในชุมชนและหฒุ่บ้านใก้เคียง จำนวน 200 คนร่วมการออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิกทุกวัน ที่เทศบาลสวนขัน การส่งเสริมด้านจิตใจในวันพระก็มีการนั่งสมาธิฟังธรรมเทศนา ที่วัดสวนขันส่งเสริมสุขภาพด้านสังคม ร่วมกันพัฒนาวัดและชุมชนทุกวันสำคัญทางศาสนา
  296. โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนบ้านดอนตาบ่าวให้น่าอยู่ คลองสวยน้ำใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ปี 2

    • ทางตรง : มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวด้วยหลักสุขภาพ 3อ. 2ส.และจัดการครัวเรือนให้สอาดเป็นระเบียบจนสามารถเป็นครัวเรือนต้นแบบได้ 10ครัวเรือน และเลิกเหล้าได้ 2 คน เลิกบุหรี่ได้ 3 คน เป็นต้น
    • ทางอ้อม : เป็นชุมชนใกล้เคียงที่เข้าร่วมกิจกรรมด้วยการเป็นสมาชิกกลุ่มกลองยาว 3 คน และเป็นครูผู้สอนอีก1 คน และนักเรียนในโรงเรียนบ้านนาทุ่งอีก 80 คนที่ได้รับความรู้เรื่องการจัดการขยะและการดูแลสภาพแวดล้อม ทีมงานทหารและเทศบาลเมืองชุมพรที่ร่วมกิจกรรมพัฒนา 50 คน
  297. โครงการ : ชุมชนสูงวัย บ้านในซัง ต่อเนื่องปี 2

    • ทางตรง : การคัดแยกขยะในครัวเรือน
    • ทางอ้อม : มีการคัดแยกขยะในครัวเรือน และมีการจัดการขยะที่ถูกวิธี
  298. โครงการ : กลุ่มประมงบ้านบ่อเมา-แหลมแท่น รักษ์สิ่งแวดล้อม ปี3

    • ทางตรง : มีจิตสำนึกร่วมในการดูแลทรัพยากรบ้านบ่อเมา
    • ทางอ้อม : ช่วยกันสอดส่อง ดุแล และอนุรักษ์ทรัพยากรบ้านบ่อเมา
  299. โครงการ : ชุมชนหูยาน บ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง(ต่อเนื่องปี 3)

    • ทางตรง : จำนวนครัวเรือน 70ครัวเรือนที่เป็นต้นแบบ ปลูกผักปลอดสารพิษกินในครัวเรือน และมีเหลือไว้แลกเปลี่ยนในตลาดหูยานสะพานคนเดินและตลาดเกษตร
    • ทางอ้อม : ประชาชนในชุมชนบ้านหูยาน 627 คนและนอกชุมชนมีอาหารปลอดภัยกินเพียงพอในชุมชนและเหลือจำหน่ายนอกพื้นที่ เช่นตลาดหน้าเกษตรกลางเมืองและตลาดในชุมชนพื้นที่ของเครือข่าย
  300. โครงการ : การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ชุมชนบ้านคลองขนาน (ต่อเนื่อง ปี2)

    • ทางตรง : การคัดแยกขยะในครัวเรือนเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก
    • ทางอ้อม : ชุมชนสะอาด มีการคัดแยกและจัดเก็บขยะในชุมชน
  301. โครงการ : ศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม (ต่อเนื่อง)

    • ทางตรง : คณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน กลุ่มเด็กเยาวชน สมาชิกกลุ่มทำนาได้ร่วมกันทำนาอินทรีย์ชีวภาพ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี เพื่อการบริโภคในครัวเรือน และจัดหน่ายให้แก่คนในชุมชน
    • ทางอ้อม : คนในชุมชนใกล้เคียงและหน่วยงาน ภาคี เข้าร่วมศึกษาเรียนรู้การผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพครบวงจรสนใจที่จะเข้าร่วมเป็นสามาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ด้วย
  302. โครงการ : นาอินทรีย์คืนวิถีคนไทรงาม (ต่อเนื่อง)

    • ทางตรง : - ครัวเรือนผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพกินเอง - ผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
    • ทางอ้อม : - รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ การบริโภคข้าวสารที่ปลอดภัย - จัดทำฐานข้อมูลการบริโภคข้าวของคนในชุมชน เพื่อเป็นข้อมูลในการคืนให้เห็นความเป็นจริง
  303. โครงการ : ศูนย์การเรียนรู้การผลิตข้าวสังหยดอินทรีชีวภาพครบวงจรเพื่อขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่ที่บ้านควนพัง (ต่อเนื่องปี2)

    • ทางตรง : มีการจัดทำศูนย์การเรียนรู้ธนาคารข้าวอินทรีย์
  304. โครงการ : สร้างครัวคนห้วยยวนด้วยธนาคารริมคลอง (ต่อเนื่อง)

    • ทางตรง : การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ
  305. โครงการ : เมื่อเด็กกล้วยเถื่อนสร้างธนาคารฯที่บ้านทุ่งยูง(ต่อเนื่อง)

    • ทางตรง : จิตสำนึกในการร่วมกันอนุรักษ์ป่าทุ่งยูง
    • ทางอ้อม : คอยสอดส่องดูแลรักษาป่าต้นน้ำทุ่งยูงร่วมกัน และเข้าร่วมกิจกรรมที่เก่ยวกับการอนุรักษ์ป่าทุกครั้ง
  306. โครงการ : เยาวชนคนสองปาก ศึกษาราก เรียนรู้จากชุมชน(ต่อเนื่องปี2)

    • ทางตรง : การทำกิจกรรมเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนกับผู้ใหญ่เพื่อห่างไกลยาเสพติด 1.จัดกิจกรรมประชุมสภาเยาวชน และสภาผู้นำชุมชน 2.จัดกิจกรรมอบรมเยาวชนและพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่องพฤติกรรมของเยาวชน และเรื่องยาเสพติด 3.จัดกิจกรรมกีฬาสีครอบครัว 4.จัดกิจกรรมทำแผนด้านเยาวชน 5.กิจกรรมสำรวจสถานการณืด้านเยาวชน 6.กิจกรรมจัดตั้งทีมมัคคุเทศก์น้อย
    • ทางอ้อม : การทำกิจกรรมเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนกับผู้ใหญ่เพื่อห่างไกลยาเสพติด 1.กิจกรรมอบรมเยาวชนและพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่องพฤติกรรมของเยาวชน และเรื่องยาเสพติด 2.จัดกิจกรรมกีฬาสีครอบครัว 3.จัดกิจกรรมทำแผนด้านเยาวชน 4.กิจกรรมสำรวจสถานการณ์ด้านเยาวชน 5.กิจกรรมจัดตั้งทีมมัคคุเทศก์น้อย
  307. โครงการ : เยาวชนนาโต๊ะขุน คนรุ่นใหม่ ใส่ใจจัดการขยะ (ต่อเนื่อง ปี 2)

    • ทางตรง : - ชุมชนมีการจัดการขยะในบ้านเรือนและชุมชน
    • ทางอ้อม : - ชุมชนให้ความร่วมมือในการจัดการขยะและคัดแยกขยะ
  308. โครงการ : แหล่งเรียนรู้ ปลูกข้าวพันธ์พื้นเมือง ตามแนวทางชีววิถี บ้านคลองหมาก (ต่อยอด ปี 2)

    • ทางตรง : เกิดกลุ่มทำนาอินทรีย์ขึ้นในชุมชน
    • ทางอ้อม : เกิดกลุ่มทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อลดต้นทุนการทำนา
  309. โครงการ : เซเว่น ภูมิปัญญา สร้างสุขสองฝั่งคลองบ้านบางไทร (ต่อยอดปี2)

    • ทางตรง : เกิดสุขภาวะทางกาย ทางอารมณ์ ทางสังคม ทางสิ่งเเวดล้อมทำให้คุณภาพดีขึ้น
    • ทางอ้อม : ทำให้พฤติกรรมสุขภาพดีขึ้นกว่าเดิม
  310. โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึก จัดการขยะชุมชน

    • ทางตรง : ชุมชนมีการจัดการขยะในบ้านเรือน และเกิดธนาคารขยะ
    • ทางอ้อม : ชุมชนให้ความร่วมมือในการคัดแยกและจัดการขยะ
  311. โครงการ : ความสุขที่ชุมชนด้วยประชาหารือเพื่อสานสันติภาพแสวงหาแนวทางสันติวิธี

    • ทางตรง : 1. งานความร่วมมือกับโครงการพัฒนาตามนโยบาย ของรัฐ • อบรมเยาวชนกับยาเสพย์ติดด้วยวิถีชุมชน / ยะหา / ยะรัง/ บาเจาะ / ธารโต / หนองจิก / สุไหงปาดี / ยะหริ่ง / มายอ / สายบุรี / กาบัง /แว้ง • การสานเสวนาสัมพันธ์หมู่บ้านเป็นสุข ยะรัง/ บาเจาะ / หนองจิก / l / ยะหริ่ง / มายอ / สายบุรี / การบัง / ปะนาเระ • ร่วมพูดคุยในสภาสันติสุขตำบล / รือเสาะ / ยะหา / ยะรัง/ บาเจาะ / ธารโต / หนองจิก / lศรีสาคร / สุไหงปาดี / ยะหริ่ง / มายอ / สายบุรี / การบัง /ปะนาเระ/ ระแงะ • งานการช่วยเหลือด้านอุทกภัย/ ยะหา / ยะรัง/ บาเจาะ / ธารโต / หนองจิก / มายอ / ยะหริ่ง / มายอ / สายบุรี / 2.งานช่วยเหลือเด็กกำพร้า - การทำงานในพื้นที่แต่ละจังหวัด ร่วมกับ สี่เครือข่าย เสื้อเขียว / ทำดีมีอาชีพ / พยาบาล รักบ้านเกิด / สถานประกอบการ / เครือข่ายเยียวยา /กองงานมวลชนกอ.รมน. / ในการ สำรวจข้อมูลเด็กกำพร้า ตลอดจน การพิจารณาจัดเลือกเด็กกำพร้าและบันทึก รายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับเด็กกำพร้า - มองทุนการศึกษาเด็กพร้า / พัฒนารายได้ - พัฒนาศักยภาพเด็กพร้า / การพบปะ จัดกลุ่มพูดคุย ระหว่างองค์กรการช่วยเหลือ / จัดทัศนะศึกษาเด็กกำพร้าระหว่างองค์การการพัฒนาเด็ก / เช่นมูลนิธิผู้หญิง / จัดหางานจังหวัด - พบปะสัญจรเครือข่ายเยี่ยมเยียนเด็กกำพร้า และแลกเปลี่ยนกับองค์ภาคี 3.งานเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ - การหารือในกลุ่มผู้หญิงการสร้างความเข้าใจในบทบาทพลเมือง ร่วมกับองค์กรภาคี เช่น อบต. ศูนย์การเรียนรู้ / สถาบันการการศึกษา( ปอเนาะ) - ส่งเสริมอาชีพผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบ - ประสานงานกองทุนในการสนับสนุนผู้ได้รับผลกระทบ - พัฒนาทักษะความรู้ในเรื่องอาชีพแก่กลุ่มสตรีหม้ายและยากจน เช่น ฝึกอบรมนวดไทยแผนโบราณและผลิตภัณฑ์เครื่องน้ำยาเอนกประสงค์ 4.งานด้านยาเสพติด - โครงการคืนความเข้มแข็งให้ครอบครัว - โครงการหมู่บ้านปลอดยาเสพติด 5. งานภาคประชาสังคม - งานพบปะกลุ่มประชาสังคม/ ในภาระกิจการต่อความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ - เวทีพบปะภาคประชาสังคมในพื้นที่ประเด็น การศึกษา ศาสนา /การเมือง /สังคม / สิ่งแวดล้อม - เวทีแลกเปลี่ยนความคิดกลุ่มผู้หญิงและเยาวชน - การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของครอบครัวชุมชนเน้น กลุ่มสตรี 4 จังหวัดภาคใต้ - การพัฒนาศักยภาพมุสลีมะห์ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ ร่วมกับองค์กรท้องถิ่น และสมาคมสตรี 14 จว - งานศึกษาความรุนแรงและผลกระทบต่อสตรีเด็กในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ร่วมกับองค์ผู้หญิงในประเทศ และต่างภูมิภาค - งานสร้างความเข้าใจต่อพื้นที่เรื่องการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ในการสร้างสันติสุข - งานบทบาทสตรีกับการพูดคุยสันติสุขในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ - กิจกรรมในการอบรมค่ายครอบครัว - เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนความเข้าใจในพลเมือง - กิจกรรมค่ายเยาวชนเฝ้าระวังยาเสพติด 11. ผลงาน/กิจกรรมด้านนโยบายสาธารณะที่ปรากฏ การดำเนินงานที่ผ่านมา 1. งานความร่วมมือกับโครงการพัฒนาตามนโยบาย ของรัฐ • อบรมเยาวชนกับยาเสพย์ติดด้วยวิถีชุมชน / ยะหา / ยะรัง/ บาเจาะ / ธารโต / หนองจิก / สุไหงปาดี / ยะหริ่ง / มายอ / สายบุรี / กาบัง /แว้ง • การสานเสวนาสัมพันธ์หมู่บ้านเป็นสุข ยะรัง/ บาเจาะ / หนองจิก / l / ยะหริ่ง / มายอ / สายบุรี / การบัง / ปะนาเระ • ร่วมพูดคุยในสภาสันติสุขตำบล / รือเสาะ / ยะหา / ยะรัง/ บาเจาะ / ธารโต / หนองจิก / lศรีสาคร / สุไหงปาดี / ยะหริ่ง / มายอ / สายบุรี / การบัง /ปะนาเระ/ ระแงะ • งานการช่วยเหลือด้านอุทกภัย/ ยะหา / ยะรัง/ บาเจาะ / ธารโต / หนองจิก / มายอ / ยะหริ่ง / มายอ / สายบุรี / 2.งานช่วยเหลือเด็กกำพร้า - การทำงานในพื้นที่แต่ละจังหวัด ร่วมกับ สี่เครือข่าย เสื้อเขียว / ทำดีมีอาชีพ / พยาบาล รักบ้านเกิด / สถานประกอบการ / เครือข่ายเยียวยา /กองงานมวลชนกอ.รมน. / ในการ สำรวจข้อมูลเด็กกำพร้า ตลอดจน การพิจารณาจัดเลือกเด็กกำพร้าและบันทึก รายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับเด็กกำพร้า - มองทุนการศึกษาเด็กพร้า / พัฒนารายได้ - พัฒนาศักยภาพเด็กพร้า / การพบปะ จัดกลุ่มพูดคุย ระหว่างองค์กรการช่วยเหลือ / จัดทัศนะศึกษาเด็กกำพร้าระหว่างองค์การการพัฒนาเด็ก / เช่นมูลนิธิผู้หญิง / จัดหางานจังหวัด - พบปะสัญจรเครือข่ายเยี่ยมเยียนเด็กกำพร้า และแลกเปลี่ยนกับองค์ภาคี 3.งานเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ - การหารือในกลุ่มผู้หญิงการสร้างความเข้าใจในบทบาทพลเมือง ร่วมกับองค์กรภาคี เช่น อบต. ศูนย์การเรียนรู้ / สถาบันการการศึกษา( ปอเนาะ) - ส่งเสริมอาชีพผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบ - ประสานงานกองทุนในการสนับสนุนผู้ได้รับผลกระทบ - พัฒนาทักษะความรู้ในเรื่องอาชีพแก่กลุ่มสตรีหม้ายและยากจน เช่น ฝึกอบรมนวดไทยแผนโบราณและผลิตภัณฑ์เครื่องน้ำยาเอนกประสงค์
    • ทางอ้อม : งานด้านยาเสพติด - โครงการคืนความเข้มแข็งให้ครอบครัว - โครงการหมู่บ้านปลอดยาเสพติด งานภาคประชาสังคม - งานพบปะกลุ่มประชาสังคม/ ในภาระกิจการต่อความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ - เวทีพบปะภาคประชาสังคมในพื้นที่ประเด็น การศึกษา ศาสนา /การเมือง /สังคม / สิ่งแวดล้อม - เวทีแลกเปลี่ยนความคิดกลุ่มผู้หญิงและเยาวชน - การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของครอบครัวชุมชนเน้น กลุ่มสตรี 4 จังหวัดภาคใต้ - การพัฒนาศักยภาพมุสลีมะห์ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ ร่วมกับองค์กรท้องถิ่น และสมาคมสตรี 14 จว - งานศึกษาความรุนแรงและผลกระทบต่อสตรีเด็กในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ร่วมกับองค์ผู้หญิงในประเทศ และต่างภูมิภาค - งานสร้างความเข้าใจต่อพื้นที่เรื่องการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ในการสร้างสันติสุข - งานบทบาทสตรีกับการพูดคุยสันติสุขในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ - กิจกรรมในการอบรมค่ายครอบครัว

2. การเกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน องค์กรและชุมชนในพื้นที่

2 การเกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน องค์กรและชุมชนในพื้นที่ จำนวน 304 แห่ง/พื้นที่
1) เกิดกฏ กติกา ระเบียบ หรือมาตรการชุมชน 256 พื้นที่
2) เกิดกลไก ระบบ หรือโครงสร้างชุมชนที่พัฒนาขึ้นใหม่ 272 พื้นที่
3) เกิดต้นแบบ พื้นที่เรียนรู้ หรือแหล่งเรียนรู้ในระดับชุมชน 246 พื้นที่

1) เกิดกฏ กติกา ระเบียบ หรือมาตรการชุมชน
จำนวน 256 พื้นที่

  1. โครงการ : ศูนย์เรียนรู้ป่าต้นน้ำ บ้านผังปาล์ม 4,5

    - เกิดกฎกติกาหมู่บ้าน1ชุดโดยมีรายละเอียดครอบคลุม10ด้านซึ่งเป็นกฎที่ชาวบ้านต้องปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด

  2. โครงการ : สร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพที่บ้านทุ่งยาว

    กำหนดระเบียบและมาตรการทางสังคมในการที่จะเฝ้าระวัง ป้องกัน พัฒนา แหล่งน้ำ ป่าไม้ สัตว์น้ำ และเยาวชนดังนี้ 1.การอนุรักษ์ป่าไม้ที่ประชุมได้กำหนดแนวเขตจากห้วยไม่น้อยกว่า 2 เมตรในการปลูกป่าแทนยางพารา และกำหนดปลูกป่าเพิ่มโดยจัดหาพันธ์ไม้ใช้สอยและไม้ยืนต้นให้กับสมาชิกโครงการ 2.การอนุรักษ์สัตว์น้ำที่ประชุมได้มีการกำหนดเขคพื้นที่ห้ามจับสัตว์น้ำในระยะทาง 450 เมตร และมีมาตรการในการป้องกันเฝ้าระวังโดยการกำหนดลงโทษผู้ฝาฝืนจับปลาในเขตห่วงห้าม เป็นการปรับ 500-1000 บาท 3.การฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งน้ำประปาหมู่บ้านที่ประชุมกำหนดให้มีการสร้างฝายชะลอน้ำเพิ่มเติมเพื่อเก็บกักน้ำให้ได้นานที่สุด และทางสำนักงานเทศบาลตำบลโคกม่วงเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการน้ำในเรื่องการจ่ายน้ำประปาให้กับหมู่บ้านอย่างเป็นระบบ 4.การดูแลและป้องกัน/เฝ้าระวัง/พัฒนาเด็กและเยาวชน ที่ประชุมได้กำหนดแนวทางการพัฒนาเด็กและเยาวชน ในเรื่องการส่งเสริมให้เยาวชนเล่นกิฬาจัดกิจกรรมเข้าค่ายเยาวชนจิตอาสาถ่ายทอดภูมิปัญญาของท้องถิ่นให้กับเยาวชน

  3. โครงการ : ข้าวพื้นเมืองคืนชีวิตชาวนาปะขอ

    ข้อตกลงกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมือง 1 ชุด เป็นข้อตกลงร่วมกันเพื่อให้ชุมชนได้มีเมล็ดพันธ์เป็นของชุมชนไม่ต้องซื้อจากภายนอก ได้เมล็ดพันธุ์ดี เป็นพันธ์ข้าวพื้นบ้านอินทรีย์มีคณะกรรมการดูแล และแบ่งปัน มีการคืนกลับ ขยายในชุมชน

  4. โครงการ : ควนขนุนปลอดขยะท้องถิ่นปลอดถัง

    - กติกาของกลุ่มครัวเรือนที่คัดแยกขยะ ทุกครัวต้องคัดแยกออกเป็นขยะอินทรีย์ทำปุ๋ยหรือใช้หลุมกลบฝัง ขยะอื่นที่สามารถใช้ซ้ำ ใช้ใหม่ รีไซเคิลให้คัดแยกเป็นประเภท โดยมีกำหนดนัดหมายกันเพื่อรวมขาย

  5. โครงการ : ป่าฟื้น คนฟื้น ที่บ้านทุ่งยูง

    - เกิดกติกาในการดูแลต้นไม้ที่ปลูกเพิ่มขึ้นในพื้นที่ป่าต้นน้ำคลองเพลิ๊ยะ โดยมีการดูแลและปลูกแทนกรณีที่ต้นไม้ที่ปลูกไว้เกิดตายลง ต้องมีการปลูกซ่อม ตามจำนวนพื้นที่ที่มีการแบ่งกันไว้

  6. โครงการ : ต่อลมหายใจคนปลายน้ำที่บ้านทุ่งแซะ

    -มีกฏ ระเบียบของชุมชนในการกำกับดูแลเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ -การกำกับดูแลในการในการให้ความร่วมมือ การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของชุมชน ด้านการอนุรักพันธุ์สัตว์น้ำ โดยมีคณะกรรมการ ออกตรวจตราพื้นที่เขตอนุรักษ์ สามวันต่อหนึ่งครั้ง

  7. โครงการ : อนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมชุมชนถ้ำภูผาเพชร

    เกิดกฏ กติกา ระเบียบ หรือมาตรการชุมชน ที่มีความสมบูรณ์และมีผลบังคับใช้เป็นปัจจุบัน

  8. โครงการ : สร้างสุขภาวะ ชุมชนน่าอยู่ สานสามัคคี หมู่ 2

    มีกฎระเบียบข้อชันชีสุขภาพของชุมชนและตำบล

  9. โครงการ : สร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ( ต่อยอด )

    การพัฒนาสิ่งเเวดล้อมในชุมชนการฝื้นฟูข้อบังคับโดยเเบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม 1. ว่าด้วยเรื่องการฝื้นฟูได้มีการนำเสนอ 1.1 การปลูกป่าชายเลนประจำปี คือวันที่5 ธันวาคมเเละ 12 สิงหาคม ของทุกปีจัดให้มีกิจกรรมปลูกป่าชายเลน 1.2 จัดทำบ้านปูดำหรือธนาคารปูดำเพื่อเป็นเเหล่งเพาะพันธ์เเละขยายพันธ์ 1.3 จัดทำเเนวเขตห้ามตัดไม้บริเวณป่าชายเลน 1.4 รงณรงค์สร้างความตระหนักในการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน 1.5 สร้างเเหล่งเพาะพันธ์หอนนางรมหรือบ้านหอย 1.6 ปล่อยพันธ์สัตว์นำ 4 ชนิด กุ้งกุลาดปลากะพงปูดำเเละหอยำ 2.วาระ ลดการทำลายทรัพยากรเเละสิ่งเเวดล้อม 2.1จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ 2.2เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องป่าชายเลย 2.3จัดทำระเบียบกติกาว่าด้วยเรื่องการจัดการป่าชายเลนการจักการเรื่องขยะในชุมชนการปล่อยน้ำเสีย 3.การพัฒนาเรื่องทรัพยากรเเละสิ่งเเวดล้อม 3.1 พลัดดันให้เกิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3.2 พัฒนาเเหล่งเรียนรู้ป่าชายเล่น 3.3 พัฒนาเเหล่งเรียนรู้การจัดการขยะในชุมชน 3.4 ผลักดันให้เกิดการลดใช้พลังงานเกี่ยวข้อง 3.5 ผลักดันให้เกิดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

  10. โครงการ : ร้อยเรียงวิถีชุมชน ชุบชีวิตแบบยั่งยืน คืนชุมชนสู่ธรรมชาติ

    ได้กติกาหมู่บ้านในการใช้ประโยชน์จากการ ใช้ป่ายเลนร่วมกัน จำนวน 10ข้อประกอบด้วย 1. ห้ามตัดไม้บริเวณป่าชายเลน 2. ส่งเสริมให้มีการปลูกป่าทดแทน 3. ห้ามบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลน 4. ห้ามมีการทำประมุงผิดประเภทในชุมชน 5. ส่งเสริมการทำบ้านปลา(ธนาคารปลา) 6. จัดให้มีชุดลาดตระเวรเพื่อจับคุมผู้กระทำผิด 7. สร้างจิตสำนึกร่วมกันในการอนุรักษ์ธรรมชาติ 8. ไม่ทำลายแหล่งอาหารของสัตว์น้ำ 9. ห้ามล่าสัตว์สงวนภายในชุมชน 10. ชุมชนต้องยอมรับกฎกติการะเบียบข้อบังคับอย่างเคร่งครัด

  11. โครงการ : บ้านศาลาบางปู พัฒนาศูนย์เรียนรู้อาชีพเพาะเห็ดสู่สวัสดิการชุมชน ( ต่อยอด)

    มีกฎกติกาของกลุ่มกองทุน มีกองทุนเห็ด ให้สมาชิกสะสมเข้ากองทุนเดือนละ 100 บาท สมาชิกกลุ่มสามารถออมเงินได้ 15 % และมีกติการ่วมกัน ผู้ที่จะเป็นสมาชิกของกองทุนจะต้องมีกิจกรรมเพาะเห็ดเป็นของตนเองและสามารถเปิดรับสมาชิกที่อยู่ต่างหมู่บ้านได้ และเงินตั้งกองทุนครั้งแรกจะเอาเงินที่เหลือจากการดำเนินโครงการเข้ามาสมทบด้วย

  12. โครงการ : ชุมชนบ้านห้วยไทร นำขยะสร้างอาชีพ

    การพัฒนากองทุน และชี้แจง เพื่อให้มีทุนเข้าร่วมสมทบ และให้คนในชุมชน ที่เข้าร่วมโครงการออมเงิน และสามารถกู้ยืมเงินในกองทุนนี้ไปเป็นการลงทุนในการเพาะเห็ดของตนเองได้ แต่มีกติกาอยู่ว่า หุ้น 100 บาท ต้องออมทุกเดือน และออมมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และต้องมีผู้ค้ำประกัน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 1 บาทต่อเดือน และจะต้องจ่ายดอกเบี้ยทุกๆเดือน เมื่อครบสิ้นปี จะมีเงินปั้นผลให้สมาชิกที่ทำเห็ดกู้เงิน โดยไม่คิดดอกเบี้ย ...

  13. โครงการ : บ้านป่าไหม้ร่วมใจนำป่าสาคูสร้างสุข

    สภาผู้นำและผู้ที่เลี้ยงด้วงและชาวบ้านในชุมชน ร่วมกันตั้งกฏกติกาในการร่วมกันดูแลรักษาป่าสาคู

  14. โครงการ : สินสืบสุขร่วมใจสร้างชุมชนเข้มแข็ง (ต่อยอด)

    กองทุนขยะสินสืบสุขดำรงต่อเนื่อง คือการรับซื้อขาย ขยะทุกวันที่ 5 กติกาสินสืบสุขปลอดขยะมีต่อเนื่อง จำนวน 5 ข้อคือ 1.แยกขยะก่อนทิ้ง 2. ขายขยะรีไซเคิล 3. ทำน้ำหมักจากขยะอินทรีย์ 4. ร่วมกิจกรรมสสส.ทุกครั้ง 5. ทำบัญชีครัวเรือนลดรายจ่ายฟุ่มเฟือย

  15. โครงการ : บ้านบางสระ สาน 6 อ. สู่หมู่บ้านจัดการสุขภาพองค์รวม(ต่อยอด)

    กติกากลุ่มออกกำลังกายแต่ละกลุ่ม และการสนับสนุนวัสดุอุกรณ์ในการจัดกิจกรรมกลุ่ม

  16. โครงการ : ชุมชนหอยราก สืบสานตำนานขนมลาสร้างสุข

    เกิดข้อตกลงการตั้ง จตุภาคีขับเคลื่อนชุมชนหอยราก ประกอบด้วยเครือข่ายทั้ง 4 เครือข่าย ผู้สูงอายุ อสม. เยาวชน และผู้ประกอบการขนมลา

  17. โครงการ : ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในดอน

    คุ้มบ้านเศรษฐกิจพอเพียง 7 คุ้มบ้าน

  18. โครงการ : บ้านไม้มูกปลอดกลิ่นเหม็นจากมูลสัตว์ด้วยสมุนไพร

    ผู้เข้าร่วมโครงการมีข้อตกลงร่วมกันในการดำเนินโครงการตามกิจกรรมที่กำหนด

  19. โครงการ : บ้านต้นกระท้อนหลีกเลี่ยงสารเคมีด้วยครัวตัวอย่าง

    มีการกำหนดกติการ้วมกันว่าคนที่เข้าร้วมโครงการจะต้องปลูกผักกินเองโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และปรับปรุงครัวหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี

  20. โครงการ : เกษตรอินทรีย์บนเรือนแพบ้านสระกูด

    เกิดกติกาของชุมชนในการลดการใช้สารเคมี โดยหันมาปลูกผักและข้าวปลอดสารพิษบนเรือนแพ รวมถึงเกิดการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรม

  21. โครงการ : บ้านอู่แก้วเป็นหมู่บ้านวิถีพอเพียง (ต่อยอด)

    เกิดข้อบัญญัติชุมชน มี 11 ข้อ ประกอบด้วย 1.ทุกบ้านปลูกผักและสมุนไพรไว้กินเอง ไม่น้อยกว่า 5 ชนิด 2.ร่วมกันลดใช้สารเคมีในครัวเรือนและการเกษตรทุกชนิด 3.ลดใช้เครื่องปรุงรสและผงชูรสในการปรุงหรือประกอบอาหาร 4.ทุกบ้านต้องมีรั้ว และเป็นรั้วที่มีชีวิต มีป้ายบอกข้อคติเตือนใจ 5.ขยะจากครัวเรือน นำไปทำเป็นปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ 6.ทำบัญชีครัวเรือนเพื่อลดรายจ่าย 7.ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่และดื่มสุรา 8.ขับขี่รถมอเตอร์ไซด์ทุกครั้งต้องสวมหมวกกันน้อค 9.ให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายหรือออกแรงทุกวันให้มีเหงื่อซึม วันละ 30 นาที 10.ทุกครัวเรือนเข้าร่วมประชุมหมู่บ้าน 9 ครั้งต่อปี จึงจะมีสิทธิ์ในการรับสวัสดิการของชุมชน 11.ร่วมกำจัดยุงลายไม่ให้เกิดไข้เลือดออกในหมู่บ้าน การบังคับใช้ในระยะแรก ให้ทำเป็นแผ่นพับไปติดไว้ทุกบ้าน และทำไวนิล ติดไว้ในชุมชน

  22. โครงการ : บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร(ต่อยอด)

    ทุกครั้งที่ทำกิจกรรม มีการพัฒนาสถานที่ไปด้วย นำอุปกรณ์หรือวัสดุจากบ้านไปร่วมสมทบ นำสมุนไพรไปปลูกในพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้าน

  23. โครงการ : คลังอาหาร อยู่ดี กินดีที่บ้านหนองสีขวัญ

    1.เกิดกติกาการทำกลุ่ม 1.1 อุปกรณ์เครื่องใช้ มี 1 ชุด เก็บไว้เป็นกองกลาง เมื่อใช้แล้วให้นำมาคืนที่กองกลาง 1.2 สมาชิกกลุ่มที่สม้ครใจเข้าร่วมกิจกรรม จะได้การสนับสนุน แต่ถ้าขาดกิจกรรมจะไม่ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ในการดำเนินกิจกรรม

  24. โครงการ : บ้านหนองชีพูน เป็นบ้านอยู่เย็นเป็นสุข

    1.เกิดกติกาชุมชนในการทำกลุ่มปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ สมาชิกกลุ่มต้องนำเศษผัก เศษอาหารที่บ้านมาเข้าร่วมกิจกรรม จึงจะได้สิทธิ์ในการรับส่วนแบ่งทำกิจกรรม 2.ถ้าไม่เข้าร่วมกิจกรรมหรือขาดกิจกรรม จะไม่ได้รับสิทธิ์ใดๆ จากการทำกิจกรรมของกลุ่ม

  25. โครงการ : รวมพลัง สานสัมพันธ์สร้างสุขภาพคนเขาปูน

    1. ห้ามสูบบุหรี่บริเวณรอบเขาปูน ซึ่งเป็นสถานที่เดินวิ่ง ออกกำลังกายของคนในชุมชน 2. ครัวเรือนต้องปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเองอย่างต่อเนื่อง และนำมาแลกเปลี่ยนกัน 3. คณะกรรมร่วมกับ อสม ผลัดเปลี่ยนกัน ออกเยี่ยมผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง 4. ช่วยกันดูแลบุตรหลานไม่ให้ไปยุ่งเกี่ยงกับสิ่งเสพติด

  26. โครงการ : พลังแห่งความรัก ถักทอสายใย สานใจชุมชนบ้านปากคลอง

    1. ในการจัดกิจกรรมในชุมชน ห้ามทุกคนสูบบุหรี่ในสถานที่จัดกิจกรรม 2. งดเลี้ยงเหล้าในงานบุญ 3. ช่วยสอดสู่ดูแลแลบุตรหลานในชุมชนไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด 4. จัดกิจกรรมในวันผู้สูงอายุ วันแม่ วันพ่อ ฯลฯ ทุกปี มีกิจกรรมให้คนในชุมชนได้ร่วมทำกิจกรรม

  27. โครงการ : ฝายมีชีวิตสร้างสุขชุมชนบ้านตลาด

    1. งดการตัดต้นไทรต้นมะเดื่อ เพราะเป็นพืชที่ให้น้ำ และรักษาน้ำ 2. พืช ต้นไม้บริเวณหูช้าง งดการทำลายโดยสิ้นเชิงรัศมี 1ตารางกิโลเมตร 3. ทุกปี วันปีใหม่ วันสงกรานต์ กำหนดให้มีการปล่อยปลาในแหล่งคลองบ้านเขาแก้ว

  28. โครงการ : สืบสานวิถีชีวิตคนต้นน้ำบ้านขุนคีรี

    เกิดกติกาชุมชนในการทิ้งขยะ ห้ามทิ้งขยะบนที่สาธารณะโดยเด็ดขาดหากใครเห็น หรือเกิดการฝ่าฝืน ทางคณะกรรมการหมู่บ้านจะดำเนินการปรับตามระเบียบของชุมชน เกิดกติกา การรักษาสายน้ำบ้านขุนคีรี เช่น การสูบน้ำการรักษาปลาพลวงที่เป็นปลาพื้นบ้านของคีรีวง

  29. โครงการ : รองแง็งเยาวชน ต่อลมหายใจป่าชายเลน บ้านท่าน้ำเค็มใต้

    กติกาอนุรักษ์ป่าชายเลน

  30. โครงการ : หุ่นกระบอก ออกเดิน ที่บ้านสวนเทศ(ต่อเนื่อง)

    - กติกาชุมชน

  31. โครงการ : สุไหงมาตี พลิกฟื้นชีวี ด้วยความพอเพียง

    ไม่มี

  32. โครงการ : เด็กน้อยเกาะโตดนุ้ย เล่านิทานปูม้า ปูทะเล(ต่อเนื่อง)

    กติกาการอนุรรักษ์ปูไข่

  33. โครงการ : จากผืนนา สู่ผืนป่าชายเลนที่ควนโต๊ะเจ๊ะ (ต่อเนื่อง)

    กติกาการอนุกรัษ์ป่าชายเลนและสัตว์น้ำวัยอ่อน

  34. โครงการ : สภาทุ่งพัก นำพาตามหลักพอเพียง

    - มาตรการครอบครัวพอเพียง

  35. โครงการ : ชุมชนบ้านเจริญทรัพย์น่าอยู่เชิดชูผู้สูงวัย (ต่อเนื่อง)

    มีกติกากลุ่มอาชีพเสริมในครัวเรือนที่มีการผูกไม้กวาดดอกอ้อ ทำดอกไม้จันท์ และจักสาน ผลิตอุปกรณ์ของใช้ต่างๆด้วยเศษวัสดุเป็นของที่ระลึก โดยมีคณะกรรมการจัดการกลุ่มดูแลกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้เกิดนำรายได้จากการขายมอบให้กับผู้จัดทำอาชีพเสริมตามภาระงานที่ทำจำนวน 60%หักทุนไว้ เพื่อเป็นทุนต่อไป20%และค่าบริหารจัดการ20% และสั่งจองผ่านทางสมาชิก และมีระเบียบว่าผู้ที่จะสมัครนายกและแกนนำชุมชนต้องไม่สูบบุหรี และต้องปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างกับชุมชน

  36. โครงการ : ร่วมปลุกจิตสำนึกรักษ์บ้านชุมโค(ต่อเนื่อง)

    กฏกติกาชุมชนในการจับสัตว์น้ำ เช่น กำหนดขนาดของสัตว์น้ำแต่ละชนิดที่เหมาะสม และอนุญาตให้จับได้

  37. โครงการ : บ้านทุ่งยอน่าอยู่แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง (ต่อเนื่อง)

    มีนโยบายเรื่องการใช้พื้นที่ป่าต้นน้ำ และการใช้น้ำ โดยตั้งเป็นกติกาชุมชน ได้แก่ ห้ามตัดต้นไม้และทำลายป่าต้นน้ำ ซึ่งหากมีการฝ่าฝืนจะมีบทลงโทษ

  38. โครงการ : รักษาสิ่งแวดล้อมและประมงชายฝั่งบ้านสามเสียม

    มีการกำหนดกติกาการใช้พื้นที่ป่าชายเลนและการทำประมงชายฝั่ง ดังนี้ 1. ห้ามเรืออวนล้อมจับปลากระตักเข้ามาทำการประมงในทุนแนวเขต 2. ห้ามเรืออวนลากอวนรุนเข้ามาทำการประมงในทุนเขตแนว 3. อวนปู/เรือพาณิชย์/เรือขนาดใหญ่ วางในแนวเขต 4. ห้ามลอบปู/เรือพาณิชย์/เรือขนาดใหญ่วางในทุนแนวเขต 5. ห้ามเรืออวนล้อมจับ(อวนดำ)วางในทุนแนวเขต 6. ห้ามทำโป๊ะ/ยอ ในทุ่นแนวเขต 7. อสนลอยปลาทูห้ามใช้ช่องอวนต่ำกว่า 1.7 นิ้วหรือ 4.5 เซนติเมตร 8. ห้ามตัดไม้/ขุด/ทำลายไม้ทุกชนิดในพื้นที่ป่าชายเลน มาตราการดำเนินการเมื่อทำผิดกติกาชุมชน 1. ว่ากล่าวตักเตือน 2. ปรับเป็นเงินตั้งแต่ 5,000 - 10,000 บาท 3. ยึดเครื่องมือ 4. ดำเนินคดีตามกฎหมาย มีการปลูกป่าชายเลนทดแทนป่าที่เสื่อมโทรมจำนวน 1 ไร่ มีการจัดกิจกรรมเก็บขยะบริเวณชายหาดปีละ 2 ครั้ง เป็นพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งตามแนวเขตทุนที่ได้วางไว้ เมื่อสิ้นสุดโครงการมีการมอบประกาศเกียรติบัตรให้แก่กลุ่มผู้ทำดีจำนวน 10 คน เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคคลดังกล่าว

  39. โครงการ : ห้วยคล้าชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง สิ่งแวดล้อมยั่งยืน

    มีมาตรการทางสังคมการอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านห้วยคล้า จำนวน 10 ข้อ ได้แก่ 1.ห้ามตัดไม้ในพื้นที่อนุรักษ์ไปใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจและการค้า 2.ห้ามใช้ยาหรือสารเคมีในการจับสัตว์น้ำ 3. ห้ามบุกรุกหรือเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่อนุรักษ์โดยเป็นการเอื้อประโยชน์แก่ตนเอง 4. ห้ามไม่ให้มีสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่อนุรักษ์อันจะก่อให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ 5. ห้ามตัดต้นไม้หรือแผ้วถางป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้นำชุมชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6. ห้ามนำยาเสพติดและสิ่งผิดกฎหมายทุกชนิดเข้าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์โดยเด็ดขาด 7. ผู้ใดพบบุคคลเข้าไปบุกรุกแผ้วถางป่าหรือเข้าไปใช้ประโยชน์อื่นใดในการทำลายป่าหรือกระทำผิดต่อกฎหมายให้แจ้งต่อผู้นำชุมชนโดยทันที 8. ห้ามทิ้งขยะหรือสารเคมีในพื้นที่อนุรักษ์ป่าชายเลน 9. ห้ามใช้พื้นที่ป่าชายเลนเป็นแหล่งมั่วสุมในการกระทำผิดกฎหมายใดๆทั้งสิ้น 10. ประชาชนในพื้นที่ต้องมีส่วนร่วมในการดูแลป่าอนุรักษ์ทุกคน

  40. โครงการ : บ้านพังเหาสดใส ห่างไกลยาเสพติด มุ่งเน้นเศรษฐกิจพอเพียง

    ชุมชนมีนโยบายสาธารณะด้านการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด ดังนี้ 1. กำหนดบริเวรห้ามสูบบุหรี่ 3 สถานที่ 1)โรงเรียนบ้านพัง 2) สำนักสงฆ์บ้านในเหวด 3) ที่ประชุมหมู่บ้าน 2. กำหนดกฏระเบียบเกี่ยวกับยาเสพติดในชุมชน 1) ผู้นำหมู่บ้านทุกคน บุคคลที่อยู่ในบ้าน เสพ จำหน่าย ผู้ทำต้องลาออกโดยปริยาย 2)ถ้ามีการจับกุมเยาวชนที่ติดยาเสพติดห้ามบำบัดให้รับโทษโดยตรงและยึดเงินค่าประกันเข้าหมู่บ้าน 3)ให้ผู้ปกครองมีส่วนรับผิดชอบด้วย 4) ถ้าผู้ปกครองเสพ จำหน่ายให้ดำเนินคดีตามกฏหมาย ยึดเงินประกันเข้าและห้ามยุ่งเกี่ยวกับสถาบัญการเงินในหมู่บ้าน 5) ถ้ามีผู้ปกครองและเยาวชนทำผิดจริงต้องบำเพ็ญประโยชน์ในหมู่บ้าน 4 สถานที่ สำนักสงฆ์ โรงเรียน สถานีอนามัย และสถานีตำรวจ 6) ถ้าปฏิบัติตาม 5 ข้อข้างต้นไม่ได้ให้คณะกรรมการหมู่ ผู้ใหญ่บ้านตำรวจผู้ที่เกี่ยวข้องพิจารณาขั้นรุนแรงต่อไป

  41. โครงการ : ส่งเสริมการเรียนรู้เยาวชน ตามหลักวิถีเศรษฐกิจพอเพียง บ้านไสยง

    ประกาศเขตปลอดบุหรี่ในที่ประชุมหมู่บ้าน

  42. โครงการ : ปลุกพลังสังคมคนสวนใหม่ชุมชนในเกาะ

    1. ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บริเวณศาลาหมู่บ้าน 2. ครัวเรือนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน เช่น ศาลาหมู่บ้าน เส้นทางสาธารณะในหมู่บ้าน 3. ครัวเรือนต้องเข้าร่วมกิกจรรมทางศาสนาอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

  43. โครงการ : คอกช้างร่วมใจจัดการขยะ…รักสุขภาพ

    1. ชุมชนมีการกำหนดวันทำความสะอาดเดือนละ1ครั้ง เพื่อให้ชุมชนสะอาด และร่วมกันพัฒนาชุมชนของตัวเอง ทำไห้ประชาชนมีความสามัคคี 2. ชุมชนมีการกำหนดเขตปลอดขยะ โดยมีป้ายกำกับห้ามทิ้งขยะ เช่น แหล่งน้ำ 2แหล่งในชุมชนสถานที่ราชการ 6แห่ง

  44. โครงการ : วิทยาลัยทุ่งโพ เรียนรู้ร่วมกัน ร่วมสร้างสรรค์ชุมชนน่าอยู่ ปี 2 (ต่อเนื่อง)

    เกิดข้อตกลงร่วมของชุมชนในรูปแบบธรรมนูญชุมชน ประกอบด้วยข้อตกลงร่วมกัน จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด กำหนดให้มีคณะทำงานด้านการป้องกันยาเสพติด 2.ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน กำหนดให้ทุกครัวเรือนเปิดไฟส่องสว่างในตอนกลางคืนอย่างน้อย 1 ดวง และการกำหนดให้ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ลาดตระเวนทุกคืน ทำให้ปัญหาการลักขโมย และปัญหาอาชญากรรมในชุมชนลดลง 3.ด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กำหนดให้สมาชิกในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมศาสนาร่วมกับมัสยิดอย่างสม่ำเสมอ 4.ด้านสิ่งแวดล้อม กำหนดให้ทุกครัวเรือนมีการแยกขยะก่อนทิ้ง และการทำบ่อหมักก๊าซชีวภาพ ทำให้ปริมาณขยะและของเสียในชุมชนลดลง 5.ด้านการดูแลสุขภาพ กำหนดให้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุและบุคคลทั่วไปเดือนละ 1 ครั้ง ทำให้สมาชิกในชุมชนได้รับการบริการด้านสุขภาพและเข้าถึงการบริการสุขภาพเพิ่มขึ้น

  45. โครงการ : แนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหกให้น่าอยู่ปีที่ 2 : ป้อมหก Eco planet ปฎิบัติการชุมชนรักษ์โลก(ต่อเนื่อง)

    ร้อยละ 60 คนในชุมชนสามารถปฎิบัติตามข้อตกลงการจัดการขยะเปียก และแห้งในครัวเรือนเพื่อลดขยะในพื้นที่ชุมชน ผ่านกองทุนขยะสร้างสุขโดยมีการรับซื้อขยะรีไซเคิ่ลจากสมาชิกการแลกขยะพิษ กับเครื่องอุปโภค บริโภค ,และกิจกรรมจิตอาสา e-co kids ทำให้เกิดการขยายผลในชุมชนใกล้เคียงอีก 5 ชุมชน

  46. โครงการ : บ้านต้นมะขามเทศ น่าอยู่ สุขภาพดี ด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชน

    มีมาตรการการผลิตอาหารปลอดภัยโดยร่วมกับ อบต.ควนรู ในการให้ความรู้ สร้างความตระหนักให้กับคนในชุมชนในการลดใช้สารเคมี

  47. โครงการ : บ้านโคกเหล็กพอเพียงหลีกเลียงสารเคมี (ต่อยอด )

    1. มีเด็กและเยาวชนร่วมเป็นวิทยากรในฐานเรียนรู้ "บ้านพอเพียงหลีกเลี่ยงสารเคมี" ของกลุ่มบ้าน 10 บ้าน 2. เด็กและเยาวชนเป็นวิทยากรร่วมในการจัดกิจกรรมเรียนรู้ตามกลุ่มบ้าน ใช้เป็นกลไกกระตุ้นการทำงานของคณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 5 คน เด็กและเยาวชนเป็นทีมดำเนินการ เด็กและผู้ใหญ่ในชุมชนได้ฝึกปฏิบัติการจัดการขยะที่ดีในครัวเรือน เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนให้ร่วมกันพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพมากขึ้น ดังนี้ 1) ใช้ทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์ โดยปราชญ์ชุมชน และครู กศน. เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ การทำน้ำยาไล่แมลง การเพาะปลูก การเตรียมดิน เพื่อลดการใช้สารเคมีในการเกษตร โดยที่ ทุกคนได้นำมูลวัว และเศษวัสดุที่มาสามรถทำเป็นวัตถุดิบในการทำปุ๋ยมาจากบ้าน มาฝึกปฏิบัติพร้อมกันที่ศาลาหมู่บ้าน 2) ขณะดำเนินการได้มีวิธีที่ดี ต่อยอดความคิดเดิมเพิ่มความคิดใหม่ ร่วมกันปรับเปลี่ยนพื้นที่ว่างข้างศาลาเป็นแปลงสาธิตของหมู่บ้าน เป็นแปลงเพราะชำและเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับชุมชน 3) นำกิจกรรมในโครงการเข้าแผนตำบล เรื่องของการพัฒนาหมูบ้านตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4) ผลการตรวจสารเคมีในเลือด พบว่า มีความเสี่ยงลดลง ร้อยละ 605) เกิดบ้านตัวอย่างการทำแก็สชีวมวล 4 ครัวเรือน 6) มีหลุมเก็บขยะอันตราย จำนวน 2 หลุม 7) เกิดกลไกการติดตามผลและกระตุ้นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจากคณะกรรมการและปราชญ์ในชุมชน 8)ได้รับการสนับสนุนวัสดุและอุปกรณ์เพื่อส่งเสริมการทำเกษตรลดสารเคมีเพิ่มจาก อบต. และ กศน. เป็นต้น

  48. โครงการ : ปฏิรูปหัวลำภูสู่หมู่บ้านจัดการตนเอง(ต่อยอด)

    1.1 มีการประชุมทุกเดือนเกิดสภาผู้นำคณะปฏิรูป 1 คณะ ชื่อคณะปฏิรูปบ้านหัวลำภู เกิดเครือข่ายคณะปฏิรูป 5 คณะ ได้แก่ 1) ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน มีนายบุญธรรม สังผอม เป็นหัวหน้า สมาชิก 150 คน 2) ด้านวัฒนธรรมชุมชน มีนางสาววิชชุดา สุขช่วย เป็นหัวหน้า สมาชิก 30 คน 3) ด้านสวัสดิการชุมชน มีนางภูษณิศา แก้วเนิน เป็นหัวหน้า สมาชิก 30 คน 4) ด้านเศรษฐกิจชุมชน มีนางเตือนใจ คงกำไร เป็นหัวหน้า สมาชิก 30 คน 5) ด้านการศึกษา มีนายพิชชาบดี ดำจันทร์ เป็นหัวหน้า สมาชิก 30 คน 1.2 มีกติกาชุมชนร่วมกันปฏิบัติ เป็นแผนปฏิรูปของชุมชนให้เป็นหมู่บ้านสีเขียว บรรจุไว้ในแผนชุมชนและเป็นชุมชนที่จัดการตนเองได้ โดยแผนชุมชนบ้านหัวลำภู เปลี่ยนวิสัยทัศน์ใหม่ว่า '' หลวงพ่อพวยคู่บ้าน สืบสานวัฒนธรรม น้อมนำวิถีพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข สร้างเสริมเติมสุขทุกครัวเรือน " และใส่ไว้ในแผนชุมชนฉบับบูรณาการเรียบร้อยแล้ว 1.3 มีกติกาชุมชนร่วมกันปฏิบัติ เป็นแผนปฏิรูปของชุมชนให้เป็นหมู่บ้านสีเขียว บรรจุไว้ในแผนชุมชนและเป็นชุมชนที่จัดการตนเองได้ มีกติกาชุมชนจัดการตนเองร่วมกันกำหนดไว้เป็นแผนชุมชน เป็นหลักสูตรจัดการตนเองแบบฉบับคนหัวลำภู จำนวน 10 ข้อ ได้แก่ 1) ใช้วิถีพอเพียง 2) ลดการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตอาหาร 3) ไม่บริโภคแกงถุง 4) ไม่ใช้เครืองปรุงรส 5) ไม่ใช้ถุงพลาสติกใส่อาหาร 6) ทำบัญชีครัวเรือน 7) ปลูกผักกินเองอย่างน้อย 5 ชนิด 8)การจัดการขยะอย่างถูกวิธี 9) ร่วมประชุม ตรวจสุขภาพ ทุกปี 10) ร่วมกิจกรรมหมู่บ้านรักษาศีล 5

  49. โครงการ : บ้านปลาบ้านปูฟื้นฟูป่าชายเลนลดหนี้นอกระบบบ้านหน้าทับ

    1.1 มีปูเปี้ยวชายทะแลเพิ่มมากขึ้น จากเดิมเก็บได้วันละ 20 กิโลกรัมต่อวัน เพิ่มขึ้นเป็น 60 กิโลกรัม 1.2 ป่าชายเลนได้สร้างเป็นบ้านปลาบ้านปูร้อยละ 80 ของพื้นที่ 1.3 มีกติกาการทำประมงชายฝั่งในระดับหมู่บ้าน 1.4 มีการกำหนดขอบเขตเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ปู และพันธุ์ปลาของหมู่บ้าน

  50. โครงการ : เกษตรผสมผสานบ้านทะเลปัง

    จัดตั้งกลุ่มจัดตั้งกลุ่มตลาดนัดเคลื่อนที่ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันนำสินค้าไปจำหน่ายที่ตลาดนัด168 ตรงข้ามการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทุกเย็นวันอังคารมีคณะกรรมการบริหารจัดการกลุ่ม ประเมินผลการลดรายจ่ายจากการทำบัญชีครัวเรือน

  51. โครงการ : บ่อกุ้งร้างสร้างสุขบ้านหนองนกไข่

    มีกติกากลุ่มการเกษตรลดการใช้สารเคมี 1 กลุ่ม ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพในการเกษตร และใช้น้ำยาสมุนไพรไล่แมลง

  52. โครงการ : รูปแบบการจัดการตลาดเทศวิวัฒน์ 1 เพื่อสุขภาวะของชุมชน (ต่อเนื่อง)

    เกิดกติกาตลาดที่จะช่วยกันดูแลความสะอาด และความเป็นระเบียบ มีการขีดเส้นทางเดินในตลาด

  53. โครงการ : ชุมชนบูเกะสูดอร่วมใจจัดการขยะ สร้างสุขภาพ

    เกิดกติกาในการจัดการขยะในชุมชน โรงเรียน ตลาดนัด มัสยิด ซึ่งเป็นสถานที่สาธารณะของชุมชน อีกทั้งยังเป็นสถานที่สำคัญของชุมชนดังนี้ - ในตลาดนัดชุมชน มีการกำหนดกติกาให้ พ่อค้า แม่ค้า ประชาชนที่อยู่บริเวณตลาดนัดให้มีการคัดแยกขยะให้แล้วเสร็จภายในเวลา 17.00 น. และรณรงค์ให้มีการลดการใช้ถุงพลาสติก. - ในพื้นที่ในโรงเรียน ทุกๆเช้าของวันจันทร์ และ วันศุกร์ ก่อนเข้าห้องเรียนนักเรียนต้องช่วยกันเก็บขยะ และทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน สังเกตุได้ว่าหลังจากมีการรณรงค์ลดขยะครั้งนี้ทำให้ ครู บุคลากรในโรงเรียนรวมทั้งนักเรียนมีจิตสำนึกที่ดีในการแก้ไขปัญหาขยะ และตื่นตัวกับการลดขยะมากขึ้น ในชุมชนเกิดกติกาชุมชนในการจัดการขยะ ดังนี้ 1. ลดการใช้ถุงพลาสติก โดยใช้ตะกร้าจ่ายตลาด 2. ลดการใช้กล่องโฟม โดยใช้ปิ่นโตแทน 3. ห้ามทิ้งขยะในพื้นที่สาธารณะ 4. ทิ้งขยะในที่คัดแยกขยะประจำตลาดนัด 6. มีการสอดแทรกวาระการลดขยะในกิจกรรมต่างๆของชุมชน เช่น คุตบะห์ทุกวันศุกร์ การสอนเกี่ยวกับหลักธรรมศาสนาในมัสยิดประจำวันเสาร์-อาทิตย์ 7. สร้างค่านิยมรณรงค์ลดขยะโดยนำขยะกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์ เช่นการนำขยะมูลฝอยสดหรือเศษอาหารมาหมักทำปุ๋ย 8. มีธนาคารขยะเกิดขึ้นในชุมชน

  54. โครงการ : ชุมชนพิกุลทอง สุขภาพดี ด้วยสมุนไพรไทย

    เกิดกติกา ในชุมชน 1. มีการบริโภคสมุนไพรมากขึ้น 2. ครัวเรือนในชุมชนมีการปลูกสมุนไพร

  55. โครงการ : เยาวชนธรมมะบ้านบางน้อยใส่ใจสุขภาพสูงวัย

    ลานวัดปลอดเหล้า บุหรี่ เป็นมาตรการการสร้างพื้นที่ปลอดบุหรีและเหล้าในพื้นที่วัดใด้เน้นปฏิบัติตนตามเขตปลอดบุหรี่ และสุรา งานบุญปลอดเหล้า ไม่ฝ่าฝืน ซึ่งจากการดำเนินการชุมชนปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และมีผู้สอดส่องดูแลอย่างต่อเนื่อง

  56. โครงการ : ปือมูดอบือราเป๊ะ พิทักษ์สิ่งแวดล้อม

    1.ห้ามสูบุหรี ในที่สาธารณะ และที่ประชุมของชุมชน 2.ห้ามทิ้งขยะ สองข้างทาง 3.ห้าม ตัดไม้ ในพื้นที่สาธารณะ

  57. โครงการ : เมล็ดพันธุ์สารวัน สานพลังสร้างสุข

    เกิดกติกาที่ส่งเสริมสุขภาพเมื่อมีการตรวจสุขภาพ 6 เดือนครั้งแล้วมีสุขภาพที่ดีขึ้นนั้นจะมีรางวัลให้

  58. โครงการ : บ้านโคกไม้ไผ่ รู้จด รู้ใช้ สุขได้ด้วยพอเพียง

    มีกฏกติกาของครัวเรือนนำร่อง

  59. โครงการ : ความดันโลหิตสูง เบาหวาน บ้านสูแกเราเปลี่ยนได้

    ข้อตกลงระหว่างชุมชนบ้านสูแกกับผู้ประกอบการร้านอาหาร 1. ร้านอาหารใช้มาตรการลดอาหาร หวาน มัน เค็ม โดยค่อยๆลดทีละนิด 2. ร้านอาหารต้องมีสถานที่ประกอบอาหารที่สะอาดและใช้ของที่ฮาลาล 3. ให้ร้านอาหารปกปิดให้มิดชิด ป้องกันแมลงและที่แปลกปลอมปนเปื้อนอาหาร 4. คณะกรรมการร่วมตรวจเยี่ยมร้านอาหารเดือนละครั้ง 5. กำหนดให้ร้านอาหารตามสั่งมีเมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน 6. หากผู้ปฏิบัติไม่ปฏิบัติตามคณะกรรมการตักเตือน และให้คำแนะนำ

  60. โครงการ : เยาวชนต้นแบบบ้านลาเกาะ ม.2

    เกิดข้อตกลงข้อตกลงที่ทุกฝ่ายในบ้านลาเกาะ จะต้องให้ความร่วมมือกันอย่างจริงจังดังต่อไปนี้ 1. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับมัสยิดอันเป็นศูนย์กลางการปกครองหมู่บ้านมุสลิม จะต้องใช้หลักการศาสนาโดยตรงที่สั่งห้ามเรื่องยาเสพติดออกประกาศแก่สัปปุรุษทุกคน 2. รัฐจะต้องส่งเจ้าหน้าที่ปราบปรามและแพทย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับผลร้ายและวิธีการป้องกัน รวมถึงการออกกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดของคดียาเสพติดอย่างจริงจังและจริงใจ 3. ครูสอนศาสนาจะต้องปลูกฝังอีหม่ามที่เข้มแข็งให้กับเยาวชนและบุคคลทั่วไป ให้มีสภาพจิตใจที่พร้อมสำหรับการต่อสู้กับวิถีชีวิตและค่านิยมที่หลั่งไหลมาจากตะวันตก 4. ครูสามัญรวมทั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านจะต้องเป็นตัวอย่างในการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดที่แพร่ระบาดในสังคมเรา 5. สถาบันครอบครัวจะต้องมีบทบาทในการสังเกต และสามารถกวดขันพฤติกรรมเด็กและให้ความสำคัญในการดูแลอบรมลูกหลานตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นบิดามารดา เมื่อไม่สนใจต่อปัญหาของพวกเขาไม่ปลูกฝังศีลธรรมและจรรยาก็จะเกิดช่องว่างระหว่างเด็กกับความอบอุ่นทางครอบครัว ในที่สุดเยาวชนที่ควรจะเป็นคนดีของสังคมหันไปพึ่งยาเสพติดและสร้างจุดบอดขึ้นในสังคมมุสลิม

  61. โครงการ : โครงการจัดทำแผนการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบ้านควนตุ้งกู

    เกิดกฏ กติกา ข้อตกลงในการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบ้านควนตุ้งกู ประกอบด้วย กำหนดเขตพื้นที่ห้ามจับสัตว์น้ำในพื้นที่คลองบ้านควนตุ้งกู การกฏ ระเบียบในการจัดการป่าชายเลนชุมชน และเกิดระเบียบกำหนดเครื่องมือประมงที่สามารถทำการประมงในพื้นที่ทำการประมงของพื้นที่บ้านควนตุ้งกู

  62. โครงการ : คนเขาแก้วใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่

    - การดูแลต้นไม้ที่ปลูกไว้หากอยู่หน้าบ้านใคร เจ้าของบ้านต้องรับผิดชอบดูแล ให้อยู่รอดและเจริญเติบโต - ให้มีคณะทำงานร่วมกันระหว่างหมู่บ้านแลชุมชน เพื่อทำหน้าที่ประสานงานแก้ไขปัญหาลดผลกระทบมลภาวะจากโรงงาน

  63. โครงการ : ลดปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านสะแตน่าอยู่

    - มีมาตรการทางสังคมและมาตรการทางศาสนาหรือข้อตกลงร่วมกันของหมู่บ้านในการควบคุมและป้องกันยาเสพติด 1 เรื่อง 2.1 เด็กและเยาวชนต้องไม่เสพหรือดื่มสารเสพติดทุกชนิดในชุมชน กรณีฝ่าฝืน ครั้งที่ 1 กล่าวตักเตือน ครั้งที่ 2 กล่าวตักเตือนและเรียกผู้ปกครองมาคุยพร้อมให้เด็กและเยาวชนฟังบรรยายธรรมและทำบำเพ็ญประโยชน์ จำนวน 3 ครั้ง ครั้งที่ 3 ส่งดำเนินคดีตามกฏหมาย

  64. โครงการ : กติกาชุมชนคนนาเกตุ

    เกิดแผนสุขภาพตำบลนาเกตุ จำนวน 1 แผน ที่ได้มาจากความต้องการและสอดคล้องกับสภาพปัญหาสุขภาวะของประชาชนอย่างแท้จริง ประชาชนมีมาตรการในชุมชนในการร่วมกันดูุแลสุขภาวะประชาชนในพื้นที่เป็นระแวกของชุมชนในการเฝ้าระวังดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส เกิดทีมงานเครือข่ายสุขภาพตำบลนาเกตุ ในการเป็นผู้ประสานงานในการดูแลปัญหาสุขภาวะประชาชนบ้านนาเกตุ และบ้านหัวควน แบบมีส่วนร่วมในทุกกระบานการ ร่วมคิด ร่วมทำและร่วมรับผิดชอบ

  65. โครงการ : ส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นไทยสร้างสายใยชุมชน ปี 2

    1. ประเด็นเยาวชนของชุมชน เพื่อให้เยาวชนสามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาของเยาวชน คือการมั่วสุม กินน้ำกระท่อม แก้ปัญหาการลักขโมยของเยาวชนโดยการสร้างความสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องช่วยกันส่งเสริมให้เยาวชนะใช้เวลาให้เป็นประโยชน์และเข้าร่วมทำกิจกรรมต่างๆของชุมชน 2. ประเด็นการส่งเสริมด้านศิลปะวัฒนธรรมชุมชนทั้ง มโนราห์ และกลองยาวชุมชน 3. ประเด็นการส่งเสริมพื้นที่สร้างสรรค์ให้เยาวชนแสดงออก เช่น ลานวัด ลานมัสยิด 4. เยาวชนมีส่วนร่วมในการดูแล ส่งเสริม รักษา พัฒนา วัฒนธรรมท้องถิ่น

  66. โครงการ : ธนาคารต้นไม้เพื่อการอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านสาขาชุมชนวังกระบือ

    - ห้ามสูบบุหรี่ภายในบริเวณมัสยิดที่กำหนด โดยมีผู้มาละหมาดที่มัสยิด จำนวน 15-20 คน ทุกวัน 5 เวลาได้รับความปลอดภัยจากควันบุหรี่

  67. โครงการ : พลังชุมชน สร้างสัมพันธ์ สู่ฝันคนคลองช้าง ปี 2

    เกิดมาตรการทางสัมคมจากสภาผู้นำและสภาชูรอ ทั้งหมด 4 เรื่อง คือ 1.มาตรการทางสังคมเรื่องการพนัน 2.มาตรการทางสังคมเรื่องยาเสพติด 3.มาตรการทางสังคมเรื่องชู้สาว 4.มาตรการทางสังคมเรื่องการลักเล็กขโมย

  68. โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนสุขภาวะและท้องถิ่นน่าอยู่บ้านต้นทุเรียน

    1. ประเด็นเรื่องการจัดการขยะของชุมชน โดยขอให้ทุกหน่วยงานที่อยู่ในพื้นที่ส่งเสริมองค์ความรู้ต่างๆให้กับประชาชนในพื้นที่ เกี่ยวกับการขัดแยกขยะการจัดตั้งธนาคารขยะในชุมชน การลดการใช้ถุงพลาสติกของร้านค้าต่างเป็น เพื่อหาทางแก้ปัญหาเรื่องขยะของชุมชน 2. ประเด็นการปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อลดรายจ่ายเสริมรายได้แก่ครอบครัว การส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ ส่งเสิมความรู้ด้านเกษตรในแก่เกษตรกร เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพอีกทางนึง และที่สำคัญการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาพของคนที่เราอีกด้วย 3. ประเด็นเยาวชนของชุมชน เพื่อให้เยาวชนสามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาของเยาวชน คือการมั่วสุม กินน้ำกระท่อม แก้ปัญหาการลักขโมยของเยาวโดยการให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องช่วยกันส่งเสริมให้เยาวชนในชุมชนมีงานทำ มีเงิน และใช้เวลาให้เป็นประโยชน์

  69. โครงการ : โครงการเสริมสร้างการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบ้านน้ำราบ

    - เกิดกติกาการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบ้านน้ำราบ การกำหนดขนาดอวนในการจับปลา กำหนดเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ มาตรการทางกฎหมายเมื่อพบผู้กระทำผิด

  70. โครงการ : คนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย

    - ให้ครัวเรือนปลูกสมุนไพรอย่างน้อยครัวเรือนละ 5 ชนิด - คัดแยกขยะก่อนทิ้ง - ไม่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ เช่น ศาลาประชุม ศูนย์ศสมช. ลานสุขภาพ เป็นต้น - กำหนดให้ วันที่ 11 เมษายน ของทุกปี เป็นวันส่งเสริมสุขภาพ

  71. โครงการ : บ้านนาปริก สุขภาวะดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน ตามแนวทางวิถีพอเพียง

    1. งานเลี้ยงชุมชนเลี้ยงน้ำสมุนไรแทนน้ำอัดลม 2. งานเลี้ยงชุมชน มีเมนูผัก 2-3 ชนิด 3. ทุกครัวเรือนปลูกผัก อย่างน้อย 2 ชนิดขึ้นไป

  72. โครงการ : ผัก:สายสัมพันธ์สู่่ทับคริสต์วิถีชีวิตที่พอเพียง

    - เกิดกฎกติกาและข้อตกลงในชุมชนว่าบริเวณแหล่งเรียนรู้การผลิตผักปลอดภัยของกลุ่มและของเด็กเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ ปลอดเหล้าอย่างถาวร

  73. โครงการ : ขยะลอยน้ำบ้านเปี๊ยะหัวเนิน(ต่อยอด)

    คนในชุมชนมีข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการขยะ 1. มีการจัดเก็บขยะตามสถานที่สาธารณะในหมู่บ้านทุกเดือนโดยผู้นำกลุ่มบ้านรับผิดชอบกลุ่มบ้านตนเองอุปกรณ์ สภาผู้นำชุมชนเป็นผู้จัดเตรียม 2. ทุกครัวเรือนไม่ทิ้งขยะตามที่สาธารณะหากฝ่าฝืนจะมีการแจ้งเตือนทางเสียงตามสายของหมู่บ้าน 3. อบต คลองน้อยเก็บขยะที่รวบรวมไว้ทุกวันที่ 6 ของทุกเดือน เน้นขยะที่ไม่สามารถจัดการได้เช่นถุงพลาสติก 4. ขยะมีพิษให้ทุกครัวเรือนนำไปรวบรวมที่บ่อขยะพิษคือที่บริเวณศาลาหมู่บ้านและวัดศรีสุวรรณารามเพื่อรอ อบต นำไปจัดการอย่างถูกต้องต่อไป 5. กลุ่มบ้านรับผิดชอบในการเก็บขยะที่ลอยน้ำ ตามลำคลองในกลุ่มบ้านตนเอง 6. ร่วมกันรณรงค์เก็บขยะและพัฒนาหมู่บ้านปีละ2 ครั้ง ในวันพ่อและวันแม่ 7. มอบประกาศนียบัตรให้บ้านที่จัดบ้านน่าอยู่และสามารถจัดการขยะได้ ในเดือนมกราคม ของทุกปี

  74. โครงการ : บ้านดอนมะปราง มีชีวิตปลอดภัยด้วยเกษตรอินทรีย์

    1.ทุกคนต้องเข้าร่วมประชุม ร่วมคิด ร่วมทำ จึงจะได้รับสิทธิ์การแบ่งปันผลประโยชน์ 2.การแบ่งผลประโยชน์ แบ่งตามสัดส่วน ที่ให้ความร่วมมือกับชุมชน ถ้าทำมาก ได้พิจารณามาก ทำน้อย ได้น้อย 3.ห้ามทะเลาะกัน ในการทำกิจกรมเน้นสร้างสามัคคี ถ้าทะเลาะกันจะตัดออกจากกลุ่ม 4.ทุกกิจกรรม ถ้าจะทำอะไรต้องแจ้งในที่ประชุมหมู่บ้าน

  75. โครงการ : เอาพลาสติกคืนไปเอาพฤกษ์ไพรคืนบ้านดอนทะเล(ต่อยอด)

    กติกาชุมชน 1.ครัวเรือนมีสมุดบันทึกความดี บ้านละ 1 เล่ม เพื่อบันทึกกิจกรรมดีๆที่เป็นประโยชน์ 2.ครัวเรือนมีสมุดรับ-จ่าย บ้านละ 1เล่ม เพื่อบันทคชึกรายรับรายจ่าย ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการ 3.จัดการขยะตามแนวทางของบ้านดอนทะเล 4.ผู้นำหรือตัวแทนมีข้อมูลครัวเรือนที่ตนเองเป็นตัวแทนเพื่อนำผลมาพูดคุยแบ่งปันในที่ประชุมสภาเพื่อแลกเปลี่ยน ได้แก่ 4.1)ไม่ใช้ถุงพลาสติกใส่ข้าวสวยในงานต่างๆ ของหมู่บ้าน 4.2)ใครทิ้งขยะเพ่นพ่านให้รีบไปบอกกติกา และนำมาเสนอในที่ประชุมหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดความตระหนักในหารจัดการขยะ ใช้กลุ่มกระตุ้นให้บุคคลรักษาที่สาธารณะให้สะอาดอยู่เสมอ

  76. โครงการ : บ้านห้วยใหญ่ วิถีชุมชนพอเพียง

    เกิดกติกา การห้ามสูบบุหรี่ในที่ประชุมหากมีคนฝ่าฝืนจะต้องเสียค่าปรับ 2,000 บาท

  77. โครงการ : ฟื้นชีวิตเล คืนวิถีชีวิตชุมชน บ้านหัวลำภู

    1.มีกติกา ข้อตกลง การใช้ประโยชน์และการจัดการเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ คือ ตรวจพบผู้ที่เข้ามาทำประมงในเขตอนุรักษ์ ครั้งที่ 1 ตักเตือนพบครั้งที่ 2 ปรับ 1,000 บาท พบครั้งที่ 3 ยึดเครื่องมือประมงและสัตว์น้ำที่จับได้ 2.มีคณะกรรมการออกตรวจลาดตระเวณ และประชุมทำงานร่วมกับศูนย์บริหารประมงทะเลภาคใต้ตอนล่าง สงขลา เดือนละ 1 ครั้ง

  78. โครงการ : อยู่อย่างวิถีไทย ชาวควนสินชัยสุขภาพดี

    เกิดกติกาชุมชนโดยประชาชนในหมู่บ้านร่วมกันนำเสนอและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดดังนี้ 1. โรงเรียนและวัดปลอดบุหรี่และเหล้า 2. ร้านค้าในหมู่บ้านจะต้องไม่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่แก่เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี 3. ปิ่นโตเมนูสุขภาพถวายพระ 4. ทุกครัวเรือนจะต้องปลูกพืชผักสมุนไพรอย่างน้อย 5 ชนิด 5. ประชาชนในหมู่บ้านจะต้องมีการออกกำลังกายไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 3วัน 6. งานบุญปลอดเหล้า 7. ใช้น้ำสมุนไพรแทนน้ำหวานหรือน้ำอัดลมในงานเลี้ยงต่างๆ

  79. โครงการ : เด็กและเยาวชนร่วมรักษ์ป่าชายเลนบ้านหาดทรายยาว หมู่ที่ 2 ตำบลตันหยงโป

    ๑.ชุมชนกำหนดกติกาในการนำไม้ชายเลนมาใช้สอย ๑ ต้น จะต้องปลูกเพิ่มจำนวน ๑๐ ต้น ๒.ถ้าไม่ปฏิบัติตามจะถูกลงโทษทางสังคม ดังนี้ ๑)บริเวณภายในมัสยิด และบริเวณรอบๆมัสยิด โดยเด็ดขาด ๒)บริเวณภายในโรงเรียนบ้านหาดทรายยาว และบริเวณโดยรอบๆโรงเรียน ๓)บริเวณเต็นท์การจัดงานบุญต่างๆ ของคน ในชุมชน โดยผู้หนึ่งผู้ใดในชุมชนไม่ปฏิบัติตามจะใช้มาคราการดังนี้ ๑.อิหม่ามมัสยิดจะเรียกผู้นั้นมาตักเตือน ๒.ถ้าอิหม่ามตักเตือนเกิน ๓ ครั้งแล้วผู้นั้นยังไม่เชื่อฟัง เมื่อผู้นั้นจัดงานบุญที่บ้าน อิหม่ามก และคณะกรรมการมัสยิดก็จะไม่ไปงานบุญนั้นตามคำเชิญ ๓.ถ้ายังฝ่าฝืนอีก เมื่อเวลาคนในบ้านผู้ที่ฝ่าฝืนเสียชีวิต อิหม่ามจะอนุญาติ คณะกรรมการมัสยิดไปทำพิธีฝังศพ ได้แค่ ๓ คน

  80. โครงการ : สร้างคลอง สร้างฅน สร้างสุขภาวะชุมชนฅนหนองบัว

    เกิดกฎกติกาชุมชนในการอนุรักษ์คลอง เพื่อใช้เป็นตัวกำหนดและบังคับใช้พฤติกรรมส่อทำลายทรัพยากรคลองทั้งทางตรงและทางอ้อม

  81. โครงการ : บ้านโคกเคี่ยมสะอาดถูกหลัก คนที่รักปลอดโรค

    ยังไม่มีการกำหนดแนวทางการปฏิบัติของชุมชน เพราะเป็นปัญหา ที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการดำเนินงาน และสร้างความตระหนักให้กับคนในชุมชน

  82. โครงการ : ประกายฝันผู้สูงวัยบ้านควนโพธิ์

    เกิดกฎ กติกา ระเบียบ หรือมาตรการชุมชน เช่น มาตรการลดละเลิกเหล้าในหมู่บ้าน การจัดการขยะ ขยายพื้นที่ปลอดบุหรี่ 2) เกิดกลไก ระบบ หรือโครงสร้างชุมชนที่พัฒนาขึ้นใหม่ เช่น กลไกสภาผู้นำ, เกิดกองทุนของชุมชน, ระบบเตือนภัย/เฝ้าระวังภัยในชุมชน, การจัดพื้นที่เรียนรู้ในชุมชน, เกิดกลุ่มแกนนำอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 3) เกิดต้นแบบ พื้นที่เรียนรู้ หรือแหล่งเรียนรู้ในระดับชุมชน)

  83. โครงการ : ท่ามาลัยร่วมใจสานฝันครอบครัวอบอุ่น ตำบลปากน้ำ

    กติกาการร่วมของชุมชนเพื่อว่างกฎกติกาในการเป็นระเบียบปฏิบัติ ในการใช้ชีวิตร่วมกันในชุมชนเพื่อลดความแตกแยก ด้านศาสนา 1. มีการจัดอบรมจริยธรรมเดือนละ 1 ครั้ง ให้กับมุสลีมะฮ.และเยาวชนโดยเชิญวิทยากรด้านศาสนาหรือโตะตรูมาอบรม (จัดอบรมตอนกลางวัน) 2. กิจกรรมทางศาสนา เช่น วันรายาอีดิลฟิตรี มีกิจกรรมกีฬาและอานาซีด 3. ทำกองทุนออมทรัพย์เพื่อการกุบาน (เสนอกรรมการสุเหร่า) ด้านสิ่งแวดล้อม 1. ให้มีการอบรมเกี่ยวกับป่าชายเลน 2. มีการปลูกป่าปีละ 1 ครั้ง 3. ถ้ามีคนนอกมาตัดไม้ทำลายป่า ควรมีการประชุมเพื่อแก้ปัญหา 4. ให้ทุกคนในชุมชนสอดส่องดูแลพื้นที่ป่าชายเลนของท่ามาลัยเนื้อที่ 400 ไร่ 5. ห้ามเผ่าขยะประเภทสารเคมีต่างๆในหมู่บ้าน (ธุรกิจรับซื้อของเก่า) 6. แต่ละบ้านควรแยกประเภทของขยะก่อนนำไปทิ้งเสมอ 7. มีการรนรงค์การแยกขยะ 8. ควรลดการใช้ถุงพลาสติก และกล่องโฟม 9. กำหนดพัฒนาสองข้างทาง 3 เดือนครั้ง 10. แกนนำ 20 ครัวเรือนต้องปฏิบัติเป็นตัวอย่างในการพัฒนาชุมชน 11. ต้องมีการประชุม/จัดตั้งกลุ่มทำแผนบริหารการคัดแยกขยะในชุมชน ด้านสาธารณะสุข 1. บันทึกการปฏิบัติกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 2. อสม.และแกนนำครอบครัวเขตรับผิดชอบร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เดือนละ 1 ครั้ง 3. จัดให้มีแต่ละครัวเรือนมีการปลูกตะไคร้หอม 4. จัดการประกวดเขตรับผิดชอบดีเด่นในการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก ด้านเยาวชน 1. ให้ทุกครัวเรือนส่งเด็กเข้าเรียนศาสนา 2. คณะกรรมการหมู่บ้านติดตามเด็กที่ไม่เรียน 3. จัดให้มีเยาวชนสอดส่องดูแลเยาวชนกันเองในหมู่บ้าน (พี่ดูแลน้อง) 4. มีการสำรวจรายชื่อของเยาวชนที่ติดยาเสพติดเพื่อแก้ปัญหาต่อไป 5. มีการเยี่ยมครอบครัวของเยาวชนที่ติดยาเสพติด 6. จัดกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อใช้เวลาว่างของเยาวชนให้เกิดประโยชน์ ด้านการพัฒนาหมู่บ้าน 1. ห้ามทิ้งน้ำเสียและขยะลงคลอง 2. จัดให้มีการติดตั้งไฟแสงสว่างสองข้างทางในชุมชนให้เพียงพอ 3. มีการบริหารจัดการคัดแยกขยะ ดังนี้ 3.1 ขยะที่ใช้ได้นำมารีไซเคิลใช้ประโยชน์ต่อไป 3.2 ขยะที่ใช้ไม่ได้ควรทำลายโดยวิธีที่ปลอดภัย เช่น ฝั่งหรือกลบดิน ด้านการมีส่วนร่วมในชุมชน 1. จัดให้มีการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง 2. คนที่ไม่เข้าร่วมประชุมหมู่บ้านไม่สามารถรับโครงการใดๆหรือรับสิทธิประโยชน์ได้ 3. ถ้าคนในชุมชนคนใดคนหนึ่งมีจัดทำงานบุญ หรือมีการเจ็บไข้ได้ป่วย จะต้องมีการเยี่ยมเยียน โดยไม่เลือกปฏิบัติ

  84. โครงการ : บ้านดอนขี้เหล็กอุ่นใจ ห่างไกลภัยในชุมชน

    ชุมชนมีมาตรการในการดูแลความสงบเรียบร้อบมีการลาดตระเวรหากพบใครในยามวิกาลทางกลุ่มแกนนำสามารถเรียกตรวจได้และมีกติกาในการรักษาความสะอาดทุกวันสำคํญจะต้องร่วมกันพัฒนาชุมชนของเรา

  85. โครงการ : รักษ์สุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม ที่บ้านเขากอย

    เกิดกฏกติกาการอนุรักษ์คลองเขากอย คือ 1. ไม่ทิ้งขยะมูลฝอยหรือของเสียลงในคลองเขากอย 2. ไม่ฉีดยาฆ๋าหญ้าสองข้างคลองเขากอยข้างละ 5 เมตร 3. ไม่จับสัตว์น้ำด้วยอวนตาถี่ กัดตาถี่ การเบื่อปลาและการช๊อตปลาในคลองเขากอย บทลงโทษ 1. ตักเตือน 2. ปรับขั้นต่ำ 500 บาท ไม่เกิน 5,000 บาท โดย 100 % ของผู้ที่มาเข้าร่วมยอมรับกฏกติกานี้

  86. โครงการ : คนสามวัยใส่ใจสุขภาวะชุมชนบ้านทุ่งใหญ่

    - เกิดพื้นที่ปลอดบุหรี และเกิดกลุ่มผู้นำกลุ่มเล็กๆในชุมชนและเป็นการสร้างกลไกกลุ่มผู้นำเกิดขึ้น

  87. โครงการ : เกษตรพอเพียงตามวิถีมุสลิมบ้านคลองยาง

    - มีนัดเก็บขยะริมทางในชุมชนประจำทุกวันศุกร์สัปดาห์สุดท้ายของเดือน - งดสูบบุหรี่ บริเวณ , มัสยิด , โรงเรียน , รพ.สต. , ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - ห้ามตัดต้นไม้ และจับสัตว์น้ำบริเวณป่าชายเลน

  88. โครงการ : เกษตรกรบ้านบางไทรนนท์ร่วมใจลดภัยสารเคมี

    1. ผู้ใช้สารเคมีให้สวมอุปกรณ์ป้องกันทุกครั้งเมื่อมีการใช้สารเคมี 2. ภาชนะที่บรรจุสารเคมีเมื่อใช้หมดแล้วให้นำไปทิ้งที่หลุมขยะตามจุดที่ทำไว้ 3. สมาชิกกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษเมื่อต้องการทำน้ำหมักชีวภาพ ให้รวมกลุ่มกันแล้วมาใช้อุปกรณ์ของโครงการได้ 4. คนในชุมชนคอยสอดส่องผู้ที่มีพฤติกรรมชอบสูบบุหรี่ เมื่อพบเห็นให้ช่วยกันตักเตือนและคอยให้กำลังใจกับผู้ที่เลิกสูบบุหรี่

  89. โครงการ : คลองโชนเข้มแข็ง ชุมชนดี สู่วิถีพอเพียง

    เกิดกติกา การห้ามสูบบุหรี่ในที่ประชุมหากมีคนฝ่าฝืนจะต้องเสียค่าปรับ 2,000 บาท

  90. โครงการ : ชุมชนตันหยงโป หมู่ที่ 1 ร่วมใจ อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรสัตว์น้ำ และทรัพยากรชายฝั่ง

    เกิดข้อตกลงร่วมกันของชุมชนร่วมกันดังนี้คือ ๑.กำหนดเขตห้ามเรือประมง ประเภทอวนรุน อวนลากเข้ามาทำการประมงในระยะเขต ๑,๐๐๐ เมตร ห่างจากฝั่ง ๒.กำหนดห้ามทำการประมงโดยเด็ดขาดในระยะ ๓๐๐ เมตรห่างจากฝั่ง ยกเว้นการตกเบ็ด ๓.กำหนดการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำปีละ ๒ ครั้ง ๔.กำหนดปลูกป่าชายเลน ปีละ ๒ ครั้ง

  91. โครงการ : พัฒนาป่าชุมชนเพื่อแหล่งเรียนรู้และอนุรักษ์ทรัพยากรบ้านควนดิน(ต่อเนื่อง 2 )

    1)ห้ามจับสัตว์น้ำบริเวณเขตอนุรักษ์ 2)ห้ามตักไม้ทำลายป่า 3)ห้ามนำพืชสมุนไพรออกนอกพื้นที่ และให้คณะกรรมการคนใดอยู่ใกล้พื้นที่ป่าชายเลนไหนก็ให้คณะกรรมการคนนั้นรับผิดชอบดูแลสอดส่อง 4)แบ่งหน้าที่กันทำงานว่าคณะกรรมการคนไหนมีหน้าที่ทำอะไรบ้างโดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคืออนุรักษ์ทรัพยากรบ้านควนดิน

  92. โครงการ : ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของชุมชนทรัพย์อนันต์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2

    มีมาตรการชุมชน 8 ข้อ ประกอบด้วย1) ร่วมกันปลูกต้นไม้ริมทางด้วยพันธ์ุไม้ใบหนา 2) ช่วยกันดูแลหน้าบ้านตนเองให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย 3) ไม่ทิ้งก้นบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ 4)จัดเจ้าหน้าที่ชุดรักษาความสงบประจำหมู่บ้านและอปพร.ร่วมกันดูแลความปลอดภัยของชุมชน 5) เฝ้าระวังเส้นทางถนนเพชรเกษมที่เป็นจุดเสี่ยงในช่วงเทศกาล 6) จัดรณรงค์การออกกำลังกายที่บ้านและศูนย์สุขภาพชุมชน 7) จัดวันกตัญญูที่วัดและร่วมกันพัฒนาคูคลองส่งน้ำ8) สมาชิกกลุ่มพืชผักไร้สารบ้านทรัพย์อนันต์ มีเงินฝากเข้ากลุ่มอย่างน้อย 30 บาทต่อเดือน

  93. โครงการ : บ้านปลักใหญ่ใจดี สานสัมพันธ์ เชิดชูผู้สูงวัย สู่สุขภาวะ

    การวางมาตราการทางสังคม /กติกาชุมชน 1. ผู้สูงอายุฝากเงินออมเดือนละ 100บาท 2. ผู้สูงอายุ ปลูกผักสวนครัวทุกหลังคาเรือน 3. ผู้สูงอายุ ออกกำลังกายร่วมกันไม่น้อยกว่า 3 วัน ทุก วันอาทิตย์วันอังคารและวันศุกร์ 4. ผู้สูงอายุลดหวาน มัน เค็ม 5. ผู้สูงอายุลดละ เลิกบุหรี่ สุรา

  94. โครงการ : ศูนย์เรียนรู้วิถีอิสลามยั่งยืนบ้านน้ำเค็ม (ชุมชนเรียนรู้ ชุมชนเข้มแข็ง)

    เกิดฮูก่มปากัต ในการส่งเสริมสุขภาวะชุมชน การศึกษาของเด็กและเยาวชน ในการสร้างจิตสำนึกในการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิต

  95. โครงการ : สร้างสมบูรณ์สุขให้มีสุขภาพดีโดยการจัดการขยะ (ต่อเนื่อง2)

    มีมาตรการชุมชน ประกอบด้วย 1) ต้องรักษาบริเวณอาคารสถานที่อาศัยของตนเองไม่ให้มีขยะ สิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ที่ขัดต่อสุขอนามัย 2) เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใดๆ ต้องจัดให้มีที่รองรับขยะ สิงปฏิกูลหรือมูลฝอย 3) ที่รองรับขยะสิางปฏิกูลหรือมูลฝอย ต้องเป็นภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด ไม่รั่ว ไม่ซึม ไม่ส่งกลิ่นเหม็นออกมาข้างนอกเพื่อป้องกันแมลงและสัตว์ 4) ห้ามทิ้งขยะบนที่สาธารณะ เช่น ริมถนนในหมู่บ้าน คู คลอง ลำห้วย ฝาย ทำนบ บริเวณหน้าสนามมัสยิดและโรงเรียนสอนศาสนา 5) ก่อนนำขยะไปทิ้งหรืทำลายให้มีการคัดแยกขยะให้ถูกต้อง ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนลงโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

  96. โครงการ : เยาวชนบางกล้วยนอกนักจัดการทรัพยากรธรรมชาติบนฐานทรัพยากร 3 วงล้อ

    - มีคณะทำงานดูแลรักษาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนทั้ง 3 วงล้อร่วมกัน และใช้อย่างรู้คุณค่า โดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

  97. โครงการ : พันธมิตรพิชิตขยะ บ้านบางหละจัดการตนเอง

    1.ลดการใช้ถุงพลาสติกให้ใช้ถุงผ้าแทน 2.ให้คัดแยกขยะในครัวเรือนก่อนทิ้ง 3.ลดการใช้กล่องโฟมบรรจุอาหารให้ใช้ปิ่นโตแทน 4.ทิ้งขยะลงถังให้ถูกที่ 5.ห้ามทิ้งขยะในที่สาธารณะ (ทั้งภาษาไทยและภาษาพม่า)ปรับ 500 บาท 6.ช่วยกันพัฒนา ทุกวันศุกร์ 7.มีธนาคารขยะเกิดขึ้นในชุมชน 8.รณรงค์ใช้ถุงผ้าและตะกร้าจ่ายตลาด 9.ทิ้งขยะ 1 ชิ้น ต้องเก็บขยะ 50 ชิ้น

  98. โครงการ : กลองยาวเกษตรอินทรีย์ บ้านสาคูเหนือ(ต่อยอด)

    เกิดการให้ความรู้เสียงตามสาย และมาตรการการสุ่มตรวจผักผลิตภัณฑ์ ทางการเกษตรเพื่อความปลอดภัยสู่ชุมชน หากใครังคงใช้สารเคมี จะประกาศไว้ที่ ประชุมชนหมู่บ้าน

  99. โครงการ : ปลอดโรคปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียงบ้านมะม่วงขาว(ต่อยอด)

    เกิดกติกาการปลูกผักเพื่อการใช้ บริโภคในครัวเรือน ข้อห้ามในการใช้สารเคมี

  100. โครงการ : ตามรอยวิถีชีวิตมุสลิม นำมาสู่ความพอเพียง ชุมชนบ้านสนี ปี 3 : ชุมชนท้องถิ่่นจัดการตนเอง

    1.กฎ กติกา (ฮูกุมปากัต) ข้อตกลงร่วมของประชาชนในชุมชนบ้านสนี กำหนดเป็น 4 หมวด ว่าด้วย หมวดที่ 1 ว่าด้วยเรื่องของอบายมุข สุรา/ยาเสพติด ข้อ 1.1 ครอบครัวที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด กรณีสมาชิกในครอบครัวเสพยาเสพติด คณะกรรมการหมู่บ้านจะเรียกมาตักเตือน โดยมีผู้ปกครองมาร่วมฟัง รับรู้และร่วมรับผิดชอบดูแลอย่างต่อเนื่องจำนวน 3 ครั้ง หากยังไม่เลิก ก็จะถูกส่งตัวไปบำบัดยังศูนย์บำบัดยาเสพติดต่อไป ข้อ 1.2ครอบครัวที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด กรณีสมาชิกในครอบครัวมีพฤติกรรมค้ายาเสพติด หรือใช้เป็นที่มั่วสุม หรือเป็นที่พักลำเลียงยาเสพติดคณะกรรมการหมู่บ้านจะเรียกมาตักเตือนโดยมีผู้ปกครองมาร่วมฟัง รับรู้และร่วมผิดชอบดูแลอย่างต่อเนื่องจำนวน 1 ครั้ง หากยังไม่หยุด ก็จะถูกส่งตัวดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป ข้อ 1.3หากครอบครัวที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดถูกจับกุม ดำเนินคดี ห้ามผู้นำชุมชน เข้ามามีส่วนในการให้การช่วยเหลือ เดินเรื่องขอประกันตัวเป็นอันขาดมิเช่นนั้นจะถือว่าท่านมีส่วนในความผิดนี้ด้วย ข้อ 1.4หากครอบครัวที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดตามกรณีข้อ 1.1ข้อ 1.2และข้อ 1.3ถูกเรียกตัวแล้ว ถูกจับกุมดำเนินคดีแล้ว แต่ก็ยังไม่หลาบจำไม่หยุดพฤติกรรมการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับเสพติดอีกก็จะต้องใช้มาตรการขั้นสูงสุดคือ การปล่อยให้เดียวดาย ห้ามไม่ให้ชาวบ้านเข้าไปคลุกคลี ห้ามผู้นำศาสนาและชาวบ้านเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆที่ครอบครัวตามข้อ 1.1ข้อ 1.2และข้อ 1.3 จัดขึ้น และหากบุคคลเหล่านี้เสียชีวิตลง ก็จะไม่มีการจัดพิธีศพอย่างคนทั่วไป ไม่มีการเชิญคนทั่วไปมาทำการนมาซญินาซะ (สวดขอพรให้ศพ) นอกจากอีหม่าม คอเต็บ และบิลาล ตามหลักฟัรฎูกิฟาญะเท่านั้น หมวดที่ 2 ว่าด้วยเรื่องของการลักขโมย ข้อ 2.1 ผู้ใด ขโมยหรือลักทรัพย์ในหมู่บ้าน หากจับได้จะเรียกมาตักเตือน 3 ครั้ง ปรับ 2 เท่าของราคาทรัพย์สินที่ขโมยมา พร้อมกับขอโทษ (ขอมาอัฟ) เจ้าของทรัพย์สินที่ตนขโมย และหากยังไม่หยุดพฤติกรรมลักขโมยอีกก็จะถูกส่งตัวดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไปและห้ามผู้นำชุมชน เข้ามามีส่วนในการให้การช่วยเหลือ เดินเรื่องขอประกันตัวอีกด้วย ข้อ 2.2 ผู้ใด มีพฤติกรรมรับซื้อของโจร ให้ที่เก็บ ที่ลำเลียงของโจร (ของที่ขโมย) หากจับได้จะเรียกมาตักเตือน 3 ครั้ง ส่งคืนทรัพย์สิน และปรับตามจำนวนของราคาทรัพย์สินที่รับซื้อมาหากยังมีการกระทำซ้ำๆ อีกก็จะถูกส่งตัวดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไปและห้ามผู้นำชุมชน เข้ามามีส่วนในการให้การช่วยเหลือ เดินเรื่องขอประกันตัวอีกด้วย หมวดที่ 3 ว่าด้วยเรื่องของการให้ความร่วม มีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆของชุมชน ข้อ 3.1 ผู้ใดไม่เข้าร่วมประชุม/ประชาคมหมู่บ้าน หรือกิจกรรมต่างๆที่ผู้นำจัดและแจ้งให้ทราบแล้ว หากขาดประชุม ประชาคม ๓ ครั้งติดต่อกันจะถูกตัดสิทธิ์ในการขอรับการช่วยเหลือในโครงการต่างๆที่รัฐ และชุมชนจัดขึ้น ข้อ 3.2 ชายใดที่ขาดละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิดบ่อยๆ หรือขาดเกิน ๓ ครั้งติดต่อกัน ให้อีหม่าม และกรรมการมัสยิดเป็นผู้พิจารณาโทษ หมวดที่ 4 ว่าด้วยเรื่องของการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในชุมชน ข้อ 4.1 การกำหนดพื้นที่การรับผิดชอบของแต่ละเขตบ้าน ทั้ง 7 คุ้มบ้าน โดยให้ผู้นำแต่ละเขต ทำหน้าที่เสมือนเป็นตัวแทนผู้ใหญ่บ้าน ในการรับเรื่อง ร้องเรียน ร้องทุกข์ต่างๆของลูกบ้านในเขตนั้นๆ หากปัญหาใดที่สามารถแก้ไข ไกล่เกลี่ยได้ ให้อำนาจคำพิจารณาของผู้นำเขตบ้านนั้นเป็นที่สิ้นสุด แต่หากปัญหานั้นไม่สามารถไกล่เกลี่ยหรือแก้ไขได้ ให้นำเรื่องส่งต่อยังที่ทำการผู้ใหญ่บ้านเพื่อพิจารณาตามขั้นตอนปฏิบัติ และขั้นตอนกฎหมายต่อไป ข้อ 4.2 การกำหนดขอบเขตการใช้สอยในที่ดินสาธารณะ ที่ดินสงวนของชุมชน ซึ่งถือเป็นสิทธิอันชอบธรรมของชุมชน เพื่อสร้างประโยชน์แก่ชุมชน เพื่องานส่วนรวมให้แจ้งผู้นำ หรือคณะกรรมการหมู่บ้านที่รับผิดชอบโดยตรง และต้องได้รับอนุญาตจากผู้นำก่อนทุกครั้ง ก่อนจะดำเนินการต่างๆลงไป ข้อ 4.3 การดูแลรักษาต้นน้ำ ลำธาร ซึ่งเป็น ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของชุมชน ที่เปรียบเสมือนสายน้ำแห่งชีวิตคนในชุมชนบ้านสนีให้ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ที่ติดกับลำธารร่วมกันดูแลรักษาความสมบูรณ์ของต้นไม้ริมลำธารต้นน้ำเพื่อสร้างความชุ่มชื่นให้กับพื้นดินให้คงอยู่คู่ชุมชนต่อไป ข้อ 4.4 การปรับปรุงซ่อมแซมเส้นทางเศรษฐกิจ ถนนทางขึ้นควน ขึ้นเขาแต่ละสาย หากเกิดความชำรุดทำให้ไม่สะดวกต่อการเดินทางเพื่อทำมาหากินกรณีชำรุดไม่มาก ให้ผู้ที่มีสวน มีที่ทำกินอยู่ในเส้นทางสายนั้นและผู้ที่ใช้เส้นทางสายนั้นเป็นประจำ ช่วยกัน ลงขัน ลงแรง ร่วมกัน ปรับปรุง ซ่อมแซมแก้ไขปัญหากันเองก่อน จนกว่าจะมีหน่วยงานเข้ามาให้การช่วยเหลือต่อไป 2..ให้สถานที่ในชุมชน เช่นมัสยิด , ศูนย์การศึกษาจริยธรรม ตาดีกานัฮฎอตุ้ลอัฏฟาล (สนีล่าง),ตาดีกาดารุลนาอีม(สนีบน) และ โรงเรียนบ้านฉลุง เป็นสถานที่ปลอดยาเสพติด และจัดเป็นพื้นที่เรียนรู้ เกี่ยวกับยาเสพติดเพื่อนำไปสการลดลงของยาเสพติดในชุมชน

  101. โครงการ : พลังเยาวชนร่วมสืบสานวิถีวัฒนธรรมชุมชน: คนบ้านปริก

    ในด้านวัฒนธรรมชุมชนมุสลิม จะมีมาตรการในเรื่องประเพณี เช่น การแต่งกายชาย หญิง การละหมาด การถือศีลอดโดยใช้หลักธรรมของศาสนาในการให้คนในชุมชนทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ ในการดำเนินชีวิต

  102. โครงการ : พลังชุมชนร่วมรักษ์ป่าชายเลนบ้านบางค้างคาว

    - ได้ร่วมกันออกกฎระเบียบการใช้สอยป่าชายเลนของชุมชนบ้านบางค้างคาว จำนวน 1 ชุด - มีการบังคับใช้กฎระเบียบอย่างจริงจังโดยคณะกรรมการป่าชายเลนร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้าน

  103. โครงการ : ร่วมมือร่วมใจสร้างระบบอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง

    - ชุมชนมีการประชุมอย่างน้อย 1 ครั้ง/เดือน - ชุมชนใช้การประชาคมแบบมีส่วนร่วมในการกำหนดปัญหาความต้องการ - ชุมชนใช้แผนชุมชนพี่งตนเอง

  104. โครงการ : กล้วยเภาร่วมใจจัดการขยะสู่หมู่บ้านสุขภาวะ

    มีมาตรการในการลดขยะของหมู่บ้าน 1.ขอความร่วมมือให้ลูกค้าในหมู่บ้านนำตะกร้าหรือกระเป๋าเวลาไปซื้อของที่ร้านค้าในหมู่บ้าน 2.ทุกหลังคาเรือนต้องมีการคัดแยกขยะ 3.ไม่ทิ้งขยะหรือสร้างความสกปรกบริเวณถนน คู หรือสถานที่สาธารณะในหมู่บ้าน 4.ไม่กองหรือเผาขยะบริเวณหน้าบ้าน

  105. โครงการ : ตู้เย็นข้างเรินบ้านชายควน

    มีการแบ่งกลุ่มครัวเรือนออกเป็นสามกลุ่ม ทำนา เล้ยงสัตว์และปลูกผัก ต้องทำให้พอกินในครัวเรือนที่ทำ และถ้าเหลือจได้แบ่งปันสู่ครัวเรือนอื่นในหมู่บ้าน

  106. โครงการ : ร่วมใจแก้ไขปัญหาขยะในชุมชุนบ้านตูล

    มีกฏการห้ามทิ้งขยะในที่สาธารณะของหมู่บ้านพร้อมทั้งมีมาตรการเฝ้าระวังคนนอกหมู่บ้านที่จะนำขยะมาทิ้งในหมู่บ้าน

  107. โครงการ : โคกทรายเกษตรอินทรีย์สร้างสุข

    เกิดมาตราการหมู่บ้านในการลดใช้สารเคมี 1.พื้นที่นาโซน ก และ ข ไม่ใช้สารเคมีเพราะเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ 2.สมาชิกไม่ใช้สารเคมีในการทำนา โดยเฉพาะยาฆ่าหญ้า 3.สมาชิกใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนการใช้สารเคมี หากมีใครไมาปฏิบัติตาม สมาชิกจะไม่ปล่อยน้ำในการทำนา

  108. โครงการ : คนท่ายูงปลูกป่าในนาสหาย

    - ขยายพื้นที่ปลอดบุหรี่ จำนวน 2 แห่งคือ สถานที่ประชุมและลานจัดกิจกรรม - มีข้อตกลงห้ามล่าสัตว์ ตัดไม้ ในเขตพื้นที่ป่าชุมชนเนื้อที่ จำนวน 3 ไร่

  109. โครงการ : ร่วมสร้างสุขให้ชุมชน ด้วยการฟื้นเลบ้านคูขุด

    ชุมชนมีกฏกติกาให้ปฏิบัติร่วมกันในเครือข่ายสมาชิกแพปลาชุมชนบ้านคูขุด จำนวน 220 คน 1 เรื่อง ไม่จับสัตว์น้ำในเขตอนุรักษ์ฯหากใครฝ่าฝืนมีมาตราการลงโทษ เป็นลำดับขั้นจากเบาไปรุนแรง เช่น กล่าวตักเตือน, ไม่คุยไม่เข้าร่วมกรณีมีงานประเพณีทางศาสนา , ประสานเจ้าหน้าที่จับยึดเครื่องมือประมง 2 ถ้าจับสัตว์น้ำขนาดเล็กเกินไป กล่าวคือใช้อวนกันขนาดตาอวน ต่ำกว่า 5 เซนติเมตรทางแพปลาชุมชน จะไม่รับซื้อสัตว์น้ำเด็ดขาด

  110. โครงการ : ร่วมสร้างสุข ด้วยซั้งกอที่บ้านทะเลนอก

    เกิดกฏกติกาการไม่สูบบุหรี่ ระหว่างการพูดคุย ประชุมอย่างน้อยมีการรณรงค์ลดละเลิกบุหรี่เดือนละครั้ง โดยคณะทำงานคนที่ไม่สูบบุหรี่เป็นแบบอย่างที่ดีให้คนในชุมชน รู้ว่าเมื่อเลิกบุหรี่สุขภาพจะดีขึ้น

  111. โครงการ : รักษา"ครัวทะเล"ที่บ้านบาตู

    - เกิดข้อบัญญัติการอนุรักษ์พะยูน และ หญ้าทะเล

  112. โครงการ : ชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากร สิ่งแวดล้อมดี ที่บ้านพังสาย หมู่ 7 ต.กะดังงา อ.สทิงพระ จ.สงขลา

    เกิดกติการ่วมกันของชุมชนคือ ควรหยุด หรือ ไม่สูบบุหรี่ในเวทีวงคุยประชุมปรึกษาหารือกัน หากจะสูบก็ให้ไปสูบนอกสถานที่เวทีประชุมฯและทุกคนควรให้ความสำคัญกับการดูแลความสะอาดในชุมชน ริมชายหาดโดยกลุ่มคณะทำงานโครงการจำนวน 5 คน นำร่องเป็นตัวอย่างให้กับคนชุมชน

  113. โครงการ : ร่วมใจคืนสุขบ้านเกาะเหรียง

    มีพื้นที่ปลอดบุหรี่

  114. โครงการ : เกษตรสีเขียวบ้านคลองลำหลิง

    - เกิดกลุ่มทำนาอินทรีย์ มีกติการร่วมกันในการปรับเปลี่ยนการทำนาสู่การทำนาอินทรีย์ มีกองทุนพันธุ์ข้าวและเมล็ดพันธุ์หมุนเวียนให้ชุมชนมีเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองเอง - มีพื้นที่เขตปลอดบุหรี่

  115. โครงการ : ฟื้นป่า รักษ์เคย ที่บ้านปากหวะ หมู่.10 ต.ลำปำ

    ภายใต้การดำเนินงานโครงการสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ชุมชนมีระเบียบวินัยมากขึ้นโดยเฉพาะการมีกติกาข้อตกลงของชุมชนในการดํแลอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรที่คนในชุมชนและชุมชนใกล้เคียงต้องถือปฎิบัติร่วมกันเพื่อนำไปสู่การเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำและทรัพยากรที่อุดมสมบูณร์ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดอาชีพประมงที่ยั่งยืนในอนาคตโดยชุมชนมีการกำหนดแนวเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำและมีการดูแลร่วมกัน. มีประมงอาสาซึ่งเป็นตัวแทนขิงชุมชนทำหน้าที่ในการตรวจตราดูแลเขตอย่างต่อเนื่อง

  116. โครงการ : สร้างหลาด(ตลาด)ในห้วยที่บ้านห้วยไม้ไผ่

    - มีมาตรการเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยในชุมชน โดยมีการตรวจอาหาร และตรวจเลือด ให้กับคนในชุมชนทุกๆ 3 เดือน - มีการขยายพื้นที่รณรงค์ การสูบบุหรี่ในชุมชน โดยจัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่ จำนวน 2 ป้ายติดไว้ในสถานที่ประชุมและศูนย์เรียนรู้อาหารปลอดภัย

  117. โครงการ : พัฒนาคน...ชุมชนพอเพียง ณ บ้านควนยวน

    1. มีการประชุมทุกวันที่ 9 ของเดือน 2. ใช้การประชุมของหมู่บ้านในการกำหนดกติกา ระเบียบ หรือมาตรการของชุมชน

  118. โครงการ : ปลูกจิตสำนึกชุมชนบ้านในจูนน่าอยู่

    - เกิดระเบียบหมู่บ้าน เรื่อง การตัดไม้ทำลายป่า มีการทำประชาคมเรื่องกันว่าจะไม่บุกรุกทำลายป่า และเรื่องยาเสพติด การเล่นการพนัน ห้าเด็ดขาด

  119. โครงการ : บ้านวังทองน่าอยู่ด้วยวิถีพอเพียง

    มีกติกาที่ทุกคนที่อยู่ริมคลองต้องดูแลรักษาความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยอย่างสมำ่เสมอและต่อเนื่อง ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ปลูกเพิ่มเติม และร่วมกันพัฒนาชุมชนในวันสำคัญๆเช่นวันเฉลิมพระชนม์พรรษา วันต้นไม้และสิ่งแวดล้อมโลก เป็นต้น

  120. โครงการ : สภาพแวดล้อมดีชีวีมีสุขที่บ้านนาโครงช้าง

    ข้อตกลงกันจำนวน 8 ข้อ ประกอบด้วย 1. สมาชิกเรียกว่าสมาชิกโครงการสภาพแวดล้อมดีชีวีมีสุขที่บ้านนาโครงช้างร่วมกันจัดทำแผนกิจกรรมการจัดเก็บขยะ 2. สมาชิกทุกคนต้องเข้าร่วมอบรมการจัดเก็บขยะ และคัดเลือกขยะ 3. ต้องแยกขยะให้ขยะให้เป็น ขยะที่เป็นของใช้ ขยะเสียไม่มีประโยชน์ ขยะทำปุ๋ยได้และขยะขายได้ และขยะรีไซด์เค้นได้ 4. ขยะทุกอย่างต้องใส่ภาชนะที่ อบต.นำมาวางไว้ เพื่อที่จะได้จัดเก็บไปทิ้ง 5. คนในครัวเรือนต้องมีส่วนร่วมในการกำจัดขยะตามสภาพแวดล้อมดีชีวีมีสุข 6. สมาชิกทุกคนร่วมรณรงค์ประชาสัมพันธ์การจัดเก็บขยะในชุมชน 7. สมาชิกทุกคนร่วมทำกิจกรรมทุกกิจกรรมตามแผนการจัดเก็บขยะที่ทำไว้กับกลุ่ม 8. สมาชิกต้องให้สมาชิกในครัวเรือนร่วมกันให้เข้าใจต้องทำตามกิจกรรมกำจัดขยะในครัวเรือน

  121. โครงการ : ชุมชนชายฝั่ง สร้างพลังเศรษฐกิจพอเพียง บ้านยามู

    กติกาการใช้ทรัพยากร ( ป่าชายเลน ) 1.ตัด 1 ต้น ปลูกทดแทน 5 ต้น 2.ต้องมีอายุการตัด 5 ปีขึ้นไป 3.การตัดแต่ละครั้งต้องตัดแบบทิ้งระยะห่าง 4.การตัดแต่ละครั้งต้องได้รับอนุญาติจากคณะกรรมการ 5.ห้ามตัดในเชิงธุรกิจ 6.กำหนดบทลงโทษของผู้บุกรุกตัดต้นไม้โดยไม่ได้รัอนุญาติ

  122. โครงการ : เกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร

    มีการตั้งสภาเกษตรบ้านพรุสมภาร ก็มีการตั้งกติกาในการทำงานไว้

  123. โครงการ : สานสายใยรักบ้านไม้ขาวร่วมจัดการโรคเรื้อรัง

    1.เกิดข้อตกลงด้านสุขภาพด้านการบริโภค การออกกำลังกาย 2.กติการ่วมกันในการดำเนินงานโครงการ

  124. โครงการ : การจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน บ้านท่าฉัตรไชย

    -ประชากรในพื้นที่ มีกิจกรรมกลุ่มอาชีพทำให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น จากวันละ 300 บาท เป็นวันละ 500 บาท กลุ่มชาวประมงเรือหางยาว จะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการนำนักท่องเที่ยว ๆ ละ 500 บาท -มีระบบการจัดการแบ่งผลประโยชน์อย่างทั่วถึง ทำให้เป็นพื้นที่น่าอยู่มีความสะอาด ห่างไกลอบายมุขและสิ่งเสพติด

  125. โครงการ : ชุมชนเสาธงทองผักสวนครัวปลอดสารพิษขยะมีชีวิตร่วมคิดร่วมทำ

    การประชุมรุ่มกันของสภาผู้นำและกรรมการโครงการทุกวันที่ 10 ร่วมฝากเงินกองทุนออม ทุกวันที่ 10 สมาชิกทำบัญชีครีวเรือน และปลูกผักกินเอง ร่วมจัดการขยะครัวเรือน สถานที่ทำกิจกรรมปลอดบุหรี่

  126. โครงการ : ฝายกั้นขยะคืนชีวิตชุมชนบางฉนาก

    ข้อตกลงในครัวเรือนเรื่อการจัดการขยะ แยกขยะก่อนทิ้ง การลดปริมาณขยะโดยนำกลับมาใช้ประโยชน์ การประชุมร่วมกันของสภาผู้นำทุกเดือน การจัดตั้งพื้นที่ปลอดบุหรี่เมื่อทำกิจกรรม

  127. โครงการ : สร้างสุขภาวะชุมชนคนเสม็ดเรียง

    - มีกติการการใช่ "ลานสุขภาพชุมชน" โดยให้ใช้เป็นสถานที่ออกกำลังกาย ไม่ให้จอดรถ - คนในชุมชนสามารถขอใช้พื้นที่ในการจัดกิจกรรมอื่นๆ ได้ เช่น ปีใหม่ รดน้ำดำหัว

  128. โครงการ : โรงเรียนสร้างสุข สู้เศรษฐกิจ คืนวิถึชีวิตบ้านท้องลาน

    สมาชิกในชุมชนคนใดที่ไม่สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกในโครงการจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการ

  129. โครงการ : พัฒนาบ้านบางคูให้อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน

    การนัดประชุมกลุ่มทุกเดือน การงดสูบบุหรี่ในสถานที่ประชุม

  130. โครงการ : บ้านดอนจิกพัฒนาเพื่อส่งเสริมอาชีพ

    คนที่มาร่วมประชุมจะได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม แต่คนที่ไม่เข้าร่วมประชุมจะไม่ได้รับผลประโยชน์จากกิจกรรมทั้งหมดของหมู่บ้าน ห้ามสูบบุหรี่ในห้องประชุม

  131. โครงการ : คืนธรรมชาติบ้านท่าใหญ่สู่ต้นแบบชุมชนเกษตรอินทรีย์

    กติกาในการจับปลาตัวเล็กในลำคลอง และการทำลายสิ่งแวดล้อมก่อนได้รับอณุญาต

  132. โครงการ : กระจาดเดือนสิบรวมใจเฉลิมพระชนม์ 60พรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาที่ บ้านทุ่งจูด

    1.ต้องมาร่วมกันเตรียมกระจาดใหญ่ 1 กระจาด ตั้งที่ศาลาหมู่บ้าน ในเทศกาลบุญเดือนสิบ 2.กระจาดที่ตั้งที่ศาลาให้เป็นกระจาดส่วนกลางของหมุ่บ้าน 1 กระจาด ในทุกๆ ปี 3.จะต้องมีพิธีการสมโภชกระจาด ณ ศาลาหมู่บ้านก่อนนำไปถวายวัดต่างๆ

  133. โครงการ : ผักสวนครัวปลอดสารเคมี วิถีบ้านท่าช้าง

    1.สมาชิกกลุ่ม/ตัวแทนต้องเข้าร่วมประชุมทุกกิจกรรมตามโครงการ 2.กลุ่มสมาชิกต้องปลูกกผักสวนครัวกินเองอย่างน้อยครัวเรือนละ 5 ชนิด โดยไม่มีการใช้สารเคมี

  134. โครงการ : ตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา

    - มีกฏกติกาในการเข้าร่วมกิจกรรม ต้องมีใบสมัครเข้าร่วมโครงการ ในครัวเรือนต้องปลูกผักปลอดสารพิษ ไม่ใช้สารเคมี การทำบัญชีครัวเรือน เข้าร่วมกิจกรรมกับโครงการทุกครั้งคือการสมัครใจเข้าร่วมโครงการโดยกรอกใบสมัครโดยความสมัครใจ จำนวน 25 ครัวเรือน ในครัวเรือนต้องปลูกผักปลอดสารพิษ ไม่ใช้สารเคมี มีการทำบัญชีครัวเรือน เข้าร่วมกิจกรรมกับโครงการทุกครั้ง

  135. โครงการ : แก้มลิงบ้านทรายเพชรลดภัยพิบัติน้ำท่วม

    -ให้คนในชุมชนรู้จักเก็บขยะสิ่งปฏิกูลหรือวัชชพืชให้เป็นที่ไม่กีดขวางทางน้ำ -มีการเรียนรู้เรื่องแก้มลิง ภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อมภายในหมู่บ้าน -มีการเรียนรู้การพัฒนาแก้มลิงหานหาดเขือ/คลองน้ำผลุง คูน้ำและสิ่งแวดล้อมภายในหมู่บ้านปีละ4ครั้ง ใน1ปี -มีแผนรับมือภัยพิบัติ(แผนพัฒนาการรับมือภัยพิบัติ/แผนพัฒนาสิ่งแวดล้อม/แก้มลิง)

  136. โครงการ : ตลาดร่วมใจปากท่าซอง

    1.ผัก และผลผลิตในตลาด ต้องมีคุณภาพ ไม่มีสารเคมี 2.พ่อค้ารับซื้อผลผลิต ต้องมาที่ตลาด ห้าไปรับซื้อตามสวน 3.สมาชิกกลุ่มต้องร่วมกันดูแลตลาด

  137. โครงการ : บ้านไทรทองชีวิตปลอดสารพิษวิถีเศรษฐกิจพอเพียง

    - ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ การทำบัญชีครัวเรือน จะต้องทำแผนปฏิบัติการของครัวเรือน - ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภัยอันตรายของสารเคมีและการปลูกผักปลอดสารผิด จะต้องลงมือปฏิบัติจริง - คณะกรรมการจะต้องเข้าร่วมประชุมทุกเดือน

  138. โครงการ : เศรษฐกิจพอเพียงที่บ้านทุ่งหล่อ

    - กลุ่มเป้าหมาย 150 คน ไม่ใช้ใช้สารเคมี ในการปลูกผักกินเองและจำหน่ายในชุมชน - กลุ่มเป้าหมยจะต้องใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพที่ผลิตกันในกลุ่ม - ครัวเรือนต้นแบบ 20 ครัวเรือน ต้องทำบัญชีครัวเรือน เป็นแบบอย่างให้กับคนในชุมชน (ครอบครัว อสม.ทุ่งหล่อ เป็นครัวเรือนต้นแบบ)

  139. โครงการ : ชุมชนสามร้อยกล้า ใส่ใจสุขภาพ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปี2

    ลดการใช้สารเคมี รวมกลุ่มกันทำกิจกรรม

  140. โครงการ : ร้านค้าคุณธรรมนำวิถีเดิมลดสารเคมีบ้านปากลง

    กติกาการนำพืชผักมาวางไว้ที่ร้านค้าคุณธรรม กติกาการดูแลร้านค้าคุณธรรม

  141. โครงการ : นำศาสตร์พระราชา สร้างสุขสู่บ้านบางไทร

    1.การประชุมประจำเดือนทุกๆเดือนเกิดการพูดคุยคิดและแก้ไขปัญหาการเรียนรู้แบบเข้าใจตรงกัน 2.เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยให้คนที่มาเรียนรู้เข้าแล้วนำมาปฏิบัติในทางเดียวกัน

  142. โครงการ : กล้วยไข่บานลดสารเคมีบ้านพิตำ

    ทางกลุ่มตั้งกติกาไว้ว่า สมาชิกผู้ปลูกกล้วยต้องไม่ใช้สารเคมีในการปลูกกล้วย

  143. โครงการ : ร่วมสร้างผลไม้อินทรีย์จากสวนสมรมบ้านห้วยพาน

    สมาชิกกลุ่มหรือตัวแทนต้องเข้าร่วมโครงการทุกครั้ง ให้ชุมชนลดละเลิกการใช้สารเคมี

  144. โครงการ : ร่วมอนุรักษ์ปากน้ำกะแดะให้ชุมชนน่าอยู่

    - ผู้ที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ฯ จะต้องไม่ใช่เครื่องมือทำลายล้างในการจับสัตว์น้ำ และไม่หากินนอกพื้นที่เขตอนุญาตเพาะเลี้ยงหอย

  145. โครงการ : ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียงบ้านคลองเล

    เกิดกฎ กติกา ระเบียบ กับกลุ่มที่เกิดใหม่และออกกฎระเบียบเพิ่มกับกลุ่มที่มีอยู่แล้วตามมัติที่ประชุม กลไก ระบบ ที่เกิดใหม่ 1. เกิดสภาผู้นำ 1 กลุ่ม มีการจัดประชุมทุกเดือนที่จะมาสุมหัวกันคิดว่างแผนการในการพัฒนาชุมชน 2.เกิดกลุ่ม ทำข้าวไร่ 3.กลุ่มทำขนมกล้วยรังนก 4.กลุ่มปลูกผัก 5.กลุ่มทำน้ำหมักชีวภาพ แหลงเรียนรู้ในชุมชนศาลาเอนกประสงค์ และตามบ้านตัวอย่างในชุมชน

  146. โครงการ : สวนป่า สร้างสุขคนโกงเหลง

    1. ห้ามตัดต้นไม้และโค่นต้นไม้ทุกชนิด 2. ผลผลิตทุกชนิดเก็บกินได้แต่ห้ามนำไปจำหน่าย 3. คนในชุมชนต้องช่วยปลูกต้นไม้อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง 4. ต้องช่วยกันผลิตผักพื้นบ้านและต้นไม้เพื่อช่วยเหลือชุมชนอื่น 5. ห้ามทำกิจกรรมอันหนึ่งอันใด ที่ฝืนมติของกรรมการสวนป่าฯ 6. ต้องจัดงานถวายราชสักการะในวาระเฉลิมพระชนม์พรรษาทุกปี

  147. โครงการ : สมุนไพรสร้างสุขบ้านถ้ำผุด

    1. ใช้การถางหรือถอนแทนการฉีดยากำจัดวัชพืช 2. ใช้นำ้จากแหล่งนำ้ที่สะอาด 3. ลดการใช้ปุ๋ยเคมีโดยใช้ปุ๋ยคอกแทน 4. ต้องได้รับการรับรองจาก จีเอพี 5. เก็บเกี่ยวผลผลิตเมื่อถึงเวลาการเก็บเกี่ยว

  148. โครงการ : บ้านโคกใหญ่ร่วมใจส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ปลดหนี้ครอบครัว

    1มีการนัดประชุมทุกๆสิ้นเดือน 2.ชาวบ้านให้ความร่วมมือและเล็งเห็นถึงความสำคัญต่อโครงการ

  149. โครงการ : กินผักที่ปลูกและฮิญาบราคาถูกที่บ้านหลาแขก

    1.กติกาของสมาชิกกลุ่มคือ ครัวเรือนหรือตัวแทนต้องเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้งโดยกลุ่มทำผ้าฮฺิญาบมีสมาชิก 30ครัวเรือน กลุ่มปลูกผักร่องสวนมีสมาชิก 30 ครัวเรือน 2.ครัวเรือนสมาชิกทำบัญชีครัวเรือนสัปดาห์ละ 1ค รั้ง และ พบกลุ่มเพื่อตรวจสอบและชี้แนะเดือนละ 1 ครั้ง

  150. โครงการ : ลดขยะ สร้างสุขภาวะคนบ้านกลาง

    - มีข้อตกลงในการจัดการขยะ คือจะมีการรับซื้อขยะรีไซเคิล ทุกวันที่ 9 ของเดือน - มีการขยายพื้นที่เขตปลอดบุหรี่ จำนวน 2 แห่งคือ ที่ศาลาประชุมหมู่บ้าน และที่หน้าโรงเรียน บ้านกลาง

  151. โครงการ : บ้านบางคุระพอเพียงหลีกเลี่ยงสารเคมี

    1. ครัวเรือนมีใช้สารอินทรีย์และชีวภาพในการทำเกษตร 2. ครัวเรือนต้องเข้าร่วมกองทุนการออม 3. คนในชุมชต้องลดละบุหรี่และเหล้าในงานบุญของชุมชนและวันจัดกิจกรรมต่างๆของชุมชน 4. คนในชุมชนต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายและมีการประเมินผล

  152. โครงการ : ผัก สมุนไพรเชื่อมใยรักคนเขาปูน

    - เกิดกติกาชุมชน 4 ข้อ คือ 1. ให้ครัวเรือนเป้าหมายปลูกสมุนไพร อย่างน้อย 10 ชนิด เพื่อใช้ในครอบครัว 2. ในการแลกเปลี่ยนสมุนไพรที่มีอยู่ในธนาคารสมุนไพรนั้น ต้องเอาสมุนไพรมาแลกทุกครั้งเพื่อให้สมุนไพรในธนาคารมีจำนวนเท่าเดิมหรือมากขึ้น 3. ในส่วนของตู้อบสมุนไพรของหมู่บ้าน จะเปิดให้บริการ ตั้งแต่เวลา 15.00 น. - 18.00 น. ทุกวันโดยไม่มีการเก็บค่าบริการ 4. ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการปลูกสมุนไพรมากขึ้น

  153. โครงการ : กินดีมีสุข ณ บ้านเกาะรุ้ง

    1. คนในชุมชนได้ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆละ 30 นาที ตามวัย 2. คนในชุมชนลดละบุหรี่ในวันจัดกิจกรรมของชุมชน 3. ครัวเรือนต้องปลูกผักที่จะบริโภค และบริโภคผักที่ปลูกในชุมชน 4. ครัวเรือนนำเมนูอาหารที่ชุมชนจัดขึ้นไปเป็นเมนูในครัวเรือน

  154. โครงการ : มัคคุเทศน้อยแห่งเขาขุนพนม

    1. ช่วยกันสอดส่องดูแลบุตรหลานไ่ม่ให้ไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด 2. ช่วยกันสืบสารภูมิปัญญาของชุมชน 3. ครัวเรือนต้องจัดสภาพแวดล้อมบ้านให้เอื้อต่อสุขภาพ 4. ปรับสถานที่มั่วสุ่มของวัยรุ่นในชุมชนมีทีมงานค่อยส่อดสู่ดูแล 5. ตัวแทนครัวเรือนร่วมกันรณรงค์ทำความสะอาดสถานที่สาธารณสุขในชุมชนปีละ 2 ครั้ง

  155. โครงการ : ปรับพื้นที่ว่างปลดหนี้บ้านท่าม่วง

    -จัดตั้งคณะกรรมการโครงการ 15 คน -ปฏิบัติตามสัญญษข้อตกลง -มาร่วมประชุมทำกิจกรรมทุกครั้ง -เป็นสมาชิกของโครงการ -ชักชวนคนในชุมชนมาทำกิจกรรม

  156. โครงการ : วัฒนธรรมนำสุขคนกงตาก

    - เยาวชน และคนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของประเพณีพื้นบ้าน ประเพณีทางศาสนาในชุมชน และเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา และประเพณีวัฒนธรรมมากขึ้น โดยในแต่ละครั้งที่มีการจัดกิจกรรมทางด้านศาสนา เช่น ชวนลูกหลานเข้าวัดทำบุญ ร่วมสร้างวัดให้น่าอยู่น่าเข้า การทำขนมพื้นบานในงานบุญ มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเกินกว่าเป้าหมายที่วางไว้ - มีการรื้อฟื้นกิจกรรมทางศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมเดิมๆ ในชุมชน เช่น การลงแรงทำขนมพื้นบ้าน ขนมตามเทศกาลงานบุญ มีการช่วยกันห่อขนมต้มใบพ้อเพื่อใช้ในงานออกพรรษาและชักพระ มีการช่วยกันลากเรือพระ มีการช่วยกันทำความสะอาดวัด - มีกติกาในการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาประเพณีวัฒนธรรมของชุมชน จำนวน 4 ข้อ คือ 1. ให้มีการการแต่งกายด้วยผ้าไทยในงานบุญ งานวัดของชุมชน 2. ให้มีการแสดงมโนราห์ของเยาวชนในงานบุญงานวัดในชุมชน 3. สนุบสนุนให้เยาวชนได้มีเวทีในการแสดงมโนราห์ 4. ให้มีการซ้อมมโนราห์ และดนตรีในช่วงวันเสาร์ อาทิตย์ ที่โรงมโนราห์คณะผ่องศรีอำนวย

  157. โครงการ : บ้านไสโคกเกาะ ร่วมใจลดภัยสารเคมีในชุมชน

    1. ครัวเรือนลดการใช้สารเคมีโดยหันมาทำปุ๋ยชีวภาพใช้ทดแทน 2. ครัวเรือนทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพให้ครัวเรือน 3. ครัวเรือนปลูกผักปลอดสารผักไว้รับประทานเองในครัวเรือนมีผู้ติดตามครัวเรือน 4. ครัวเรือนต้องนำขยะพิษทิ้งในหลุ่มขยะพิษของชุมชนเพื่อนำไปจัดการที่ถูกวิธีต่อไป

  158. โครงการ : เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีพได้บ้านทุ่งกระจูด

    1. ครัวเรือนลดการใช้สารเคมีในการทำเกษตร 2. ครัวเรือนทำน้ำหมักและปุ๋ยหมักใช้เองในครัวเรือน 3. ครัวเรือนต้องลงบัญชีรายรับจ่ายด้วยความเป็นจริง

  159. โครงการ : บ้านไสใหญ่รายได้ดีชีวีมีสุข

    1. ครัวเรือนลดการใช้สารเคมีในการทำเกษตร 2. ครัวเรือนทำน้ำหมักและปุ๋ยหมักใช้เองในครัวเรือน 3. ครัวเรือนต้องลงบัญชีรายรับจ่ายด้วยความเป็นจริง 4. ครัวเรือนปลูกพืชผักเสริมขายกลุ่มเครื่องแกงเพิ่มรายได้

  160. โครงการ : บ้านห้วยทรายขาว ชีวิตดี มีเศรษฐกิจพอเพียง

    1. ครัวเรือนลดการใช้สารเคมีในการทำเกษตร 2. ครัวเรือนทำน้ำหมักและปุ๋ยหมักใช้เองในครัวเรือน 3. ครัวเรือนต้องลงบัญชีรายรับจ่ายด้วยความเป็นจริง 4. ในการจัดกิจกรรมในชุมชนห้ามผู้เข้าร่วมทุกคนสูบบุหรี่

  161. โครงการ : สุขสวรรค์ ที่ บ้านควนสวรรค์

    1. ด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด 1.1 ผู้ใดที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและผู้ค้าเมื่อถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดว่า มีความผิดจริงจะไม่ให้การช่วยเหลือทุก ๆ ด้าน และไม่รับเป็นสมาชิกทุกองค์กรในหมู่บ้าน 1.2 หลังจากถูกพ้นโทษและให้คณะกรรมการติดตามภายใน 1ปีหากว่าทางคณะกรรมการจะไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดแล้วจะพิจารณาให้เป็นสมาชิกได้ทุกองค์กรในหมู่บ้าน 1.3 ทางคณะกรรมการ สสส.จะคอยเฝ้าดูการแก้ปัญหาการเผยแพร่ระบาดของยาเสพติดอย่างเข้มแข็ง 2. การประชุมราษฎรประจำเดือนของหมู่บ้านทุก ๆ เดือน ของวันที่ 8ของทุกเดือนทุกครัวเรือนจะมีผู้เข้าประชุมอย่างน้อย 1 คน หากครัวเรือนใด ไม่เข้าร่วมประชุม ติดต่อ 3 ครั้ง คณะกรรมการสภาชุมชนบ้านควนสวรรค์จะพิจารณาร่วมมือในเรื่องทุก ๆ ด้าน ไม่มีการช่วยเหลือ ด้านบริการประชาชน 3. ข้อพิพาททางเพ่งและทางอาญาที่ยอมความกันได้ ให้นำข้อพิพาทแจ้งกับคณะกรรมการสภาชุมชนบ้านควนสวรรค์ และแก้ปัญหาหากไม่สามารถตกลงกันได้ให้ส่งไปศูนย์ดำรงธรรมทางอำเภอ 4. การรักษาสิ่งแวดล้อมทุกครัวเรือนต้องช่วยกันดูแลทรัพย์สินของท่านด้วย ห้ามจับสัตว์น้ำในฤดูวางไข่ ห้ามใช้อวน ซ๊อตไฟฟ้า ระเบิด หากใครฝ่าฝืนปรับครั้งละ 3,000บาท ห้ามยิงปืนทุกประเภทในงานพิธีต่าง ๆ 5. ผู้ใดที่ทำผลประโยชน์ที่สารธารณะจะต้องแจ้งกับคณะกรรมการสภาชุมชนบ้านควนสวรรค์และผู้นำในหมู่บ้านทุกครั้ง 6. ห้ามทิ้งขยะและเศษวัสดุต่าง ๆ ริมถนนทุกเส้นทางในหมู่ที่ 8 7. ทุกครั้วเรือนที่ใช้น้ำประปาให้ถือปฎิบัติตามกฎระเบียบกลุ่มผู้ใช้น้ำประปา 8. ลดการใช้สารเคมีในการปลูกผัก 9. ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก 10. ร่วมออกกำลังอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 11. ลดละเลิกการเล่นการพนันในงานพิธ๊ ของชุมชน 12. ในครัวต้องปลูกสมุนไพร อย่างน้อย 5 ชนิด 13. ให้คณะกรรมการสภาชุมชนบ้านควนสวรรค์เป็นผู้ดูแลบังคับใช้ในการถือปฏิบัติตามระเบียบของหมู่บ้านควนสวรรค์ในทุก ๆ เรื่อง

  162. โครงการ : สมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ ที่บ้านไร่เหนือ

    1.กำหนดให้ทุกคนเป็นสมาชิกโดยสมัคร ในการเข้าร่วมโครงการ และมีสิทธิที่จะเรียนรู้กิจกรรมตามโครงการ 2.สมาชิกต้องเข้ารวมกิจกรรมทุกครั้ง 3.อุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมต้องเป็นวัสดุกองกลาง เมื่อใช้แล้วให้นำไปไว้ที่เดิม

  163. โครงการ : บ้านสหกรณ์ เรียนรู้วิธีลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง

    เกิดกฏกติกาในการปลูกผักปลอดภัยผู้ที่เข้าร่วมโครงการห้ามใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

  164. โครงการ : ผังฟาร์มลดรายจ่ายที่บ้านทรายขาว

    1.มีการรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม 2.กลุ่มเป้าหมายต้องเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง 3.มีการเรียนรู้เรื่องหนี้สิน การทำบัญชีครัวเรือน วิธีลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เรียนรู้การทำน้ำยาอเนกประสงค์ การทำปุ๋ยหมักน้ำ-แห้ง เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 4.ทุกคนต้องปฏิบัติและเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตตามฐานการเรียนรุ้

  165. โครงการ : คนเอาถ่านบ้านวัดโหนด

    เกิดกฏกติการ่วมกัน 97 ครัวเรื่อน ที่เข้าร่วมกิจกรรม ต้องมี ผักปลอดสารพิษ อย่างน้อย 5 อย่าง

  166. โครงการ : ยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้

    เกิดกฎ กติกา ในการรวมกลุ่มการทำยาเหลือง และนัดกันมาทำยากันในชุมชน และที่บ้านของครูภูมิปัญญาท้องถิ่นคือ ครูณรงค์ เนาว์สุวรรณและเปิดรับสมาชิกให้มาร่วมกลุ่มกันทำในรูปแบบของการระดมทุนและเป็นสมาชิกกลุ่มและจดทะเบียนเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณจากส่วนท้องถิ่น และกระตุ้นให้คนในชุมชนรู้จักดูแลตนเองโดยใช้สมุนไพรแทนยาแผนปัจุบัน

  167. โครงการ : บ้านห้วยแหยง สืบสานภูมิปัญญา

    1. กำหนดให้ทุกคนในชุมชน สมัครใจเข้าร่วมพัฒนา 2. ทุกคนต้องให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม

  168. โครงการ : บ้านห้วยแหยง สืบสานภูมิปัญญา

    เกิดอย่างไร รูปแบบไหน หรือเป็นอย่างไร

  169. โครงการ : ข้าวยาโค ข้าวอาซูรอ สองศาสนาสานสัมพันธ์ที่บ้านยวนแหล

    1 เกิดกลุ่มสภาผู้นำในชุมชน เพื่อร่วมพลังกันมีการปรุชุมทุก วันอาทิตย์ที่สาม ของทุกเดือนเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของคนในชุมชน และพูดคุยถึงปัญหาต่างๆ ในชุมชนและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข 2 เกิดกลุ่มเยาชน เพื่อสนับสนุนการทำงานของสภาผู้นำ 3 เกิดกลุ่มสวัดดิการชุมชนเพื่อให้คนในชุมชนมาร่วมกันออมเงินเพื่ออนาคน และหากมีส่วนของกำไรส่วนหนี่งจะนำไปบริจาคแก่ผู้ยากไร้ในชุมชน โดยมติของที่ประชุม

  170. โครงการ : เกษตรอินทรีย์บ้านปลักจอกเสริมรายได้

    สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการตกลงร่วมกันที่จะไม่ใช้ยาฆ่าแมลงในการปลูกพืชผักทั้งบริโภคในครัวเรือนและปลูกเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้เสริมจัดให้มีการติดตามการปลูกพืชผักปลอดสารพิษการทำสารไล่แมลงน้ำหมักชีวภาพ ของสมาชิกหลังการประชุมประชาคมประจำเดือนทุกครั้งมีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษวัสดุในครัวเรือนทุกครัวเรือน

  171. โครงการ : เกษตรอินทรีย์สร้างรายได้บ้านในหัน

    มีการกำหนดกติการ่วมกันในการทำบัญชีครัวเรือน โดยกำหนดให้มีการประเมินการบันทึกบัญชีครัวเรือนทุก 3 เดือนเพื่อได้รับรู้รายได้รายจ่ายสรุปเป็นภาพรวมของหมู่บ้าน

  172. โครงการ : ชุมชนปลอดสารพิษตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในโคร๊ะ

    1.คนที่เข้าร่วมโครงการ ลดการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกผัก 2.การทำบัญชีครัวเรือนของผู้เข้าร่วมโครงการ จะต้องมาประเมิน 3 เดือนต่อครั้ง

  173. โครงการ : ผักปัญญาอ่อนสร้างสุขบ้านแขก

    มีการกำหนดกติการ้วมกันว่าคนที่เข้าร้วมโครงการจะต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ต้องมีการทำปัญชีคัรวเรือนโดยกำหนดมีการประเมินการบันทึกบัญชีครัวเรือนทุก 3 เดือน

  174. โครงการ : สองข้างทางสร้างรายได้ บ้านตีนคลอง

    กฏกติกา ชุมชน ในการลด ละ เลิกการใช้สารเคมีในชุมชน ตามป้ายรณรงค์โครงการ

  175. โครงการ : บ้านโปนปลอดสารพิษด้วยวิถีชีวิตพอเพียง

    1. เกิดกฏกติกาในชุมชน เรื่องลด ละเลิกการใช้สารสารเคมีในชุมชน โดยใช้ป้ายรณรงค์ *ป้ายบ้านโปนปลอดสารพิษด้วยวิถีชีวิต พอพียง*

  176. โครงการ : ชุมชนบ้านชะเอียนยิ้มได้ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง

    ทุกเย็นวันศุกร์เป็นวันที่จะมีการประชุมชุมชน มีเรื่องราวที่นำมาแจ้งแก่ตัวแทนครัวเรือน หลังจากการทำละหมาดทุกวันศุกร์

  177. โครงการ : สายน้ำสร้างสุขณ บ้านทุ่งโชน

    เกิดคณะตัวแทนครัวเรือนจำนวน 40 คนเข้าร่วมประชุมเพื่อร่างกติการักษาสายน้ำบ้านทุ่งโชน ผลลัพธ์เกิดร่างกติกาชุมชนรักสายน้ำบ้านทุ่งโชน คือ ห้ามตัดต้นไม้ทั้งบริเวณลำคลอง ป่าต้นน้ำ โดยเด็ดขาด ห้ามตัดต้นไทร ต้นมะเดื่อ ต้นปลง ที่ขึ้นบริเวณลำคลอง และห่างจากลำคลอง รัศมี 300เมตร ห้ามช้อตปลาในลำคลอง ห้ามล้างภาชนะ ขวดยาฉีดหญ้า ในลำคลอง ทุกวันที่ 1 ของทุกปี มีการปลูกต้นไม้ ร่วมกันรักษา ผักริมคลอง กบคลอง ปลาซิว ปลาปก และสัตว์น้ำอื่น ๆ ในคลองบ้านทุ่งโชน การบังคับใช้/การละเมิดตามข้อ 1-6 ดำเนินการโดยคณะกรรมการสภาหมู่บ้านโดยผู้ใหญ่บ้านเป็นประธาน โดยแต่ละข้อ/ประเด็นหรือ หากมีการเพิ่มประเด็น ให้อยู่ในการลงประชามติ ของที่ประชุม กติกา คือ 1.ห้ามตัดต้นไม้ทั้งบริเวณลำคลอง ป่าต้นน้ำ โดยเด็ดขาด 2.ห้ามตัดต้นไทร ต้นมะเดื่อ ต้นปลง ที่ขึ้นบริเวณลำคลอง และห่างจากลำคลอง รัศมี 300เมตร 3.ห้ามช้อตปลาในลำคลอง 4.ห้ามล้างภาชนะ ขวดยาฉีดหญ้า ในลำคลอง 5.ทุกวันที่ 1 ของทุกปี มีการปลูกต้นไม้ 6.ร่วมกันรักษา ผักริมคลอง กบคลอง ปลาซิว ปลาปก และสัตว์น้ำอื่น ๆ ในคลองบ้านทุ่งโชน 7.การบังคับใช้/การละเมิดตามข้อ 1-6 ดำเนินการโดยคณะกรรมการสภาหมู่บ้านโดยผู้ใหญ่บ้านเป็นประธาน โดยแต่ละข้อ/ประเด็นหรือ หากมีการเพิ่มประเด็น ให้อยู่ในการลงประชามติ ของที่ประชุม

  178. โครงการ : เกษตรอินทรีย์เพิ่มรายได้ส่งเสริมสุขภาพบ้านคลองตูก

    ยังไม่ดำเนินการในกิจกรรมนี้หรือ การประเมินสรุปผล ประกาศนำมาใช้

  179. โครงการ : บ้านคันเบ็ดปลอดสารพิษด้วยเศรษฐกิจพอเพียง

    กติกาการใช้สารเคมี คือ 1. พยามหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร หันมาใช้สารชีวภาพแทน 2. ถ้าจำเป็นต้องใช้ศึกษาให้เข้าใจถึงอันตรายและวิธีการใช้แต่ละชนิด 3. ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ เพื่อป้องกันอันตรายขณะที่มีการทำงานที่เกี่ยวกับสารเคมี 3. ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีควรตรวจสุภาพปีละครั้ง 4. หลีกเลี่ยงการอยู่บริเวณที่มีการใช้สารเคมี 5. อย่าล้างภาชนะบรรจุสารเคมีหรืออุปกรณ์เครื่องพ่นยาลงไปในแม่น้ำ ลำธาร บ่อ คลอง ฯลฯ

  180. โครงการ : รู้เร็ว รู้ไว จัดการภัยพิบัติ บ้านปลายทับใหม่

    มีกติกาชุมชนในการจัดการภัยพิบัติ

  181. โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านหัวหินปลอดขยะ

    เชิงปริมาณ มีข้อตกลงการจัดการขยะบ้านหัวหิน จำนวน 1 ฉบับ เชิงคุณภาพ ชุมชนมีกติกาในการจัดการคัดแยกขยะในครัวเรือน

  182. โครงการ : Green Food- Green market ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองจิก

    เชิงปริมาณ มีมาตรการการบริโภคผักปลอดสารพิษในกลุ่มเข้าร่วมโครงการ จำนวน 1 ชุด เชิงคุณภาพ ชุมชนให้ความใส่ใจในการบริโภคผักปลอดสารพิษ

  183. โครงการ : การจัดการทรัพยากรป่าชายเลน บ้านเขาทอง unseen อ่าวท่าเลน

    เชิงปริมาณ มีกติกาชุมชนในการจจัดการป่าชายเลน เชิงคุณภาพ ชุมชนให้ความใส่ในในการจัดการทรัพยากรป่าชายเลน

  184. โครงการ : ปลุกจิตสำนึกชุมชน คนป่าเสม็ดอนุรักษ์ป่าชายเลน

    ไม่มี

  185. โครงการ : บ้านไร่ทอน อนุรักษ์คลังปัญญา นำพาเศรษฐกิจพอเพียง

    กฎิกาชุมชน 1.ร่วมกันสืบทอดคลังปัญญาชุมชนให้คงอยู่ยาวนาน 2.ปลูกผักสมุนไพรอย่างน้อย 5 ชนิดในครัวเรือน 3.ไม่ใช้สารเคมีในการปลูกผักสวนครัว 100 เปอร์เซ็น 4.ทำบัญชีครัวเรือ รายได้ /รายจ่าย 5.สร้างจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนบริโภคผัก 6.ส่งเสริมให้มีการทำปุ๋ยหมักปุ๋ยชีวภาพใช้ในครัวเรือน 7.ประชาชนในหมู่บ้านร่วมกันใช้นำ้อย่างประหยัด 8.ร่วมกันอนุรักทรัพยากรนำ้ของหมู่บ้าน 9.ประหยัดนำ้

  186. โครงการ : คนบ้านควน รวมใจ ลงมือ ลดนักเสพหน้าใหม่ในชุมชน

    กติกาชุมชนด้านเด็กและเยาวชน

  187. โครงการ : สานชุมชน รวมพลเครือข่าย สู่เป้าหมายบ้านซอย 10 วิถีพอเพียง

    ไม่มี

  188. โครงการ : เปลี่ยนชีวิต ปรับวิถี เพื่อชีวีที่พอเพียง บ้านห้วยน้ำดำ

    1. ทุกครัวเรือนต้องมีตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรมหมู่บ้านและการประชุมประจำเดือนทุกครั้ง 2. ทุกครัวเรือนต้องมีการปลูกผักปลอดาสารพิษ 3. ทุกครัวเรือนต้องมีการการแยกขยะ ดูแลบริเวณบ้านให้มีความสะอาด 4. ทุกครั้งต้องไม่มีลูกน้ำ แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 5. ทุกครัวเรือนต้อง่วยกันประหยัดค่าไฟฟ้า 6. ทุกครัวเรือนเน้นการใช้ปุ๋ยหมัก,น้ำหมักชีวภาพ 7. ทุกครัวเรือนห่างไกลยาเสพติด

  189. โครงการ : รวมใจ สานสัมพันธ์ บ้านกุบังจามังเหนือ

    1. ใช้มาตรการทางสังคม ฮูก่มฟากัส 7 ข้อ เป็นมาตรการหลักซึ่งเกี่ยวข้องกับหลักศาสนา เกิดฮูกุมฟากัส *กลุ่มบุคคลที่ได้รับมาตรการลงโทษทางสังคม* 1). สัปบุรุษที่ไม่ละหมาดญุมอัตเกินกว่า 3 ครั้งติดต่อกันน ไม่มีเหตุผล 2). สัปบุรุษที่ไม่ถือศีลอดอย่างเปิดเผย โดยไม่มีเหตุผล 3). สัปบุรุษที่ผลิตหรือขายหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อย่างเปิดเผย 4). สัปบุรุษที่เล่นการพนันเป็นอาชีพ 5). สัปบุรุษที่ไม่ส่งลูกเรียนฟัรฎูอัยนฺ 6). สัปบุรุษที่ผลิตหรือขาย หรือเสพสิ่งเสพติดให้โทษ 7). สัปบุรุษชาย-หญิงที่อยู่ด้วยกันฉันสามี-ภรรยา โดยไม่นิกะหฺ *ขั้นตอนและมาตรการลงโทษทางสังคม* 1). ว่ากล่าวตักเตือนด้วยวาจาอย่างน้อย 1-3 ครั้ง 2). หากไม่มีผลตามข้อ 1 จะต้องกล่าวตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร 3). ใช้มาตรการลงโทษ โดยคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดจะงดร่วมกิจกรรมต่างๆที่สัปบุรุษจัดดังกล่าว ดังนี้ - งานเลี้ยงสมรส - งานเลี้ยงทั่วไป - หากเสียชีวิตจะละหมาดญานาซะไม่เกิน 3 คน 4).เมื่อกรรมการอิสลามประจำมัสยิดได้อบรมตักเตือนตามขั้นตอนครบ 6 เดือน ไม่เปลี่ยนพฤติกรรม จะถูกคัดออกจากทะเบียนมัสยิด 2. เพิ่มข้อตกลงโดยใช้หลักกฏหมาย เช่น ห้ามทะเลาะวิวาท ห้ามดื่มสุราในหมู่บ้าน ห้ามพกพาอาวุธ ห้ามลักขโมย หากมีการกระทำเหตุดังกล่าวจะใช้กฏหมายเป็นหลัก 3. ผู้ปกครองต้องรับผิดชอบร่วมกับเยาวชนที่กระทำความผิด 4. หากกรณีไม่ร้ายแรงให้ผู้นำในหมู่บ้านพิจารณาเป็นกรณีๆไป

  190. โครงการ : เยาวชนคนแป-ระใต้สามัคคี ทำดีเพื่อชุมชน

    - การทำงานเพื่อให้เกิดกติกาชุมชนด้านเด็กและเยาวชน - เกิดกติกาครอบครัวเพื่อให้ครอบครัวมีความเข้มแข็ง

  191. โครงการ : บ้านมะนังเข้มแข็งด้วยเศรษฐกิจพอเพียงที่ยั่งยืน

    - ลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ โดยการปลูกพืช ผัก มากกว่า 3 ชนิดขึ้นไป - มีการจัดทำบัญชีอย่างสม่ำเสมอ - เป็นสมาชิกกลุ่มในหมู่บ้าน มีการออมอย่างสม่ำเสมอ - เกิดการมีส่วนร่วมของครัวเรือนอื่นๆเพิ่มมากขึ้น

  192. โครงการ : เยาวชนอาสา บ้านผังปาล์ม 7 อนุรักษ์ทรัพยากร

    1. มีเขตพื้นที่อนุรักษ์เพื่อดูแลทรัพยากรร่วมกัน จำนวน 4 แปลง 2. กลุ่มเยาวชนนักอนุรักษ์มีทักษะในการบริหารจัดการป่าชุมชน 3. เกิดศูนย์เรียนรู้แหล่งทรัพยากรธรรมชาติจำนวน 1 แปลง 4. มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่

  193. โครงการ : รักษ์เกาะสาหร่าย หมู่ที่ 5 ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

    เกิดกติกาชุมชนดังนี้ 1.ซื้อของ ไม่เอาถุงพลาสติก เปลี่ยนเป็นถุงผ้าหรือตะกร้า 2. แยกขยะเปียก เช่น ปลาเปลือกผลไม้ สามารถนำมาทำปุ๋ยหมัก แล้วนำมาใช้ใส่ต้นไม้ - ขยะที่ย่อยยากแต่บางอย่างสามารถนำมาใช้ได้อีกคือมีการแยกออกเป็นแต่ละประเภท - ขยะอันตราย ต้องการเก็บให้ถูกวิธี 3.การงดใช้โฟมในร้านค้า เพราะมีสารอันตรายต่างๆ 4.น้ำมันให้ใช้แค่ 2 ครั้ง 5.การทำอาหารต้องมีพื้นที่สูง 10 เซนติเมตร 6.ถ้วยชามต้องมีผ้าสีขาวปิดไว้ 7.อาหารควรมีการแยก ผักและอาหารสด ถ้ามีเป็นกล่องจะดีมาก 8. ช้อนต้องตั้งให้ถูกต้อง ปลายขึ้นบน 9. ร้านของชำ ชั้นวางของต้องสูง ต้องมีการแยกขนม มีการแนะนำการใช้ถุง ย่าม หรือตะกร้า

  194. โครงการ : บ้านควนหนองหงส์เรียนรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง

    1.มีการวางแผนการทำงาน 2.ผู้ร่วมกิจกรรมต้องช่วยกันทำและแบ่งปันซึ่งกันและกัน 3.ผู้ร่วมกิจกรรมต้องพูดคุยปรึกษาหารือกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน

  195. โครงการ : บ้านปากบางจัดการขยะ สู่ชุมชนปลอดสารพิษ

    1.ในหมู่บ้านเกิดกฏ กติกา ชุมชน และประกาศใช้ภายในหมู่บ้านอย่างเคร่งครัด

  196. โครงการ : ครัวเรือนสะอาดชุมชนปลอดขยะ หมู่ที 2 บ้านสะพานเคียน

    1.ชาวสะพานเคียนร่วมใจคัดแยกขยะในครัวเรือน 2.ชาวสะพานเคียนร่วมใจหิ้วตะกร้าหรือถุงผ้าไปตลาดเพื่อลดการใช้ถุงพลาสติก 3.ชาวสะพานเคียนลดการใช้ถุงพลาสติกในชุมชน 4.ชาวสะพานเคียนร่วมใจงดใช้โฟมในชุมชน 5.ชาวสะพานเคียนร่วมใจพัฒนาชุมชนทุกวันศุกร์

  197. โครงการ : หมู่บ้านสีเขียว ปลอดโรค ปลอดสารเคมี ด้วยแนวทางเกษตรอินทรีย์ หมู่ที่ 4 บ้านควนโต๊ะเหลง

    1. งานเลี้ยงชุมชนเลี้ยงน้ำสมุนไรแทนน้ำอัดลม 2. งานเลี้ยงชุมชน มีเมนูผัก 2-3 ชนิด 3. ทุกครัวเรือนปลูกผัก อย่างน้อย5 ชนิดขึ้นไป

  198. โครงการ : หมู่ที่ 7 บ้านบูเกตยามูชีวิตดี วิถีพอเพียง

    หมู่ที่ 7 ต้องปฎิบัติ 7 ข้อ ดังนี้ 1. ต้องลดการบริโภคอาหารรสหวาน มัน เค็ม และสารปรุงแต่ง 2. ต้องร่วมกันบริโภคผักและผลไม้ปลอดสารพิษ 5 ขีดต่อวัน 3. ต้องร่วมกันใช้สมุนไพรในสวนครัว 4. ต้องออกกำลังกายอย่างเพียงพอและเหมาะสมกับตนเอง 6. ต้องลด ละ เลิก บุหรี่ สุรา 7. ต้องไม่ทิ้งขยะในบริเวณบ้านเรือนและที่สาธารณะ

  199. โครงการ : โครงการเยาวชนคนสร้างสุข บ้านนาเกาะไทร (ต่อเนื่อง ปี2)

    เชิงปริมาณ เกิดกติกากองทุนนำ้ชาชุมชน 1 ชุด เชิงคุณภาพ เยาวชนมีการแบ่งบทบาทหน้าที่และการบริหารจัดการสวัสดิกากองทุนนำ้ชา

  200. โครงการ : สือดังเบอร์ซาตู (ร่วมเป็นหนึ่ง)

    เกิดการเรียนรู้ในด้านวัฒนธรรมในชุมชน

  201. โครงการ : โครงการชุมชนกาแลแนสร้างสุขด้วยครอบครัววิถีศรัทธา

    - เกิดฮูก่มปากัตชุมชนกาแลแนสร้างสุขด้วยครอบครัววิถีศรััทธา

  202. โครงการ : สานใจคนสามวัย ร่วมสร้างบ้านโคกเมืองให้น่าอยู่ด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชน

    ในการประชุมหมู่บ้าน ทุกครัวเรือนต้องมีตัวแทนเข้าร่วม หากมีครัวเรือนไหนที่ขาดการมีส่วนร่วม จะไม่มีสิทธิในการได้รับช่วยเหลือจากทุนในชุมชน

  203. โครงการ : คนเกาะขาม ใส่ใจสุขภาพ ด้วยพืชผักสมุนไพร

    เกิดระเบียบการปฏิบัตรของสภาแกนนำในชุมชน

  204. โครงการ : ชาวนาปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค บ้านหนองถ้วย

    มีกติกาชองกลุ่มผลิตอาหารปลอดภัย เช่น การผลิตข้าว ในช่วงของข้าวตั้งท้องห้ามใช้สารเคมี เช่น การฉีดพ่นยาฆ่าแมลงในส่วนการปลูกผัก ก่อนจำหน่ายต้องมีการยินยอมให้กลุ่มมีการตรวจผลผลิต หากกรณีมีการตรวจพบสารตกค้างของสารเคมี ต้องหยุดจำหน่ายผลผลิตให้กับกลุ่ม และให้มีการปรับเปลี่ยนลดการใช้สารเคมี กลุ่มถึงจะมีการรับซื้อผลผลิตต่อไป

  205. โครงการ : อาชีพเสริมเพิ่มคุณภาพชีวิตชุมชนบ้านคลองต่อ

    ทำให้เกิดข้อตกลงด้านการห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะเพิ่มเติมเป็นจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ 1.บริเวณอาคารอเนกประสงค์มัสยิดบ้านคลองต่อใน 2.บริเวณจุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน

  206. โครงการ : ลดรายจ่าย เสริมรายได้ชุมชนต้นแบบวิถีพอเพียง บ้านหนองไม้แก่น

    เกิดระเบียบการปฏิบัตรของสภาแกนนำในชุมชน

  207. โครงการ : สิ่งแวดล้อมดี ชีวีเป็นสุข ชุมชนบ้านจุ้มปะ

    1.ตัวแทนครัวเรือนอย่างน้อย 1 คนเข้าร่วมพัฒนาบ้านเรือนและสถานที่สาธารณะประโยชน์ในชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง 2.ห้ามทิ้งขยะบริเวณถนน หนทาง

  208. โครงการ : ชุมชนบ้านบาลาเพิ่มมูลค่าขยะเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

    1. ห้ามทิ้งขยะในพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้านหรือทิ้งขยะไม่เป็นที่หากพบผู้ใดฝ่าฝืนต้องลงโทษโดยให้ทำคุณประโยชน์ให้กับสถานที่สาธารณะหมู่บ้าน 2. การจัดกิจกรรมภาคกลางคืนทุกครั้ง ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมให้เยาวชนจูเนียร์บ้านบาลา สำรวจขยะในครัวเรือนตนเองช่วยกันเก็บขยะไปยังศาลาหมู่บ้าน เพื่อการคัดแยกอีกครั้งก่อนส่งธนาคารขยะ 3. ร่วมกันสอดส่องขยะในบริเวณน้ำตกที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้าน 4. ช่วยกันทำความสะอาดกูโบร์ ฝายน้ำ คลอง ทุกๆเดือน และทำความสะอาดบริเวณมัสยิดทุกเดือน 5. ให้มีการช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก หากพบผู้ฝ่าฝืนให้ลงโทษโดยให้ทำคุณประโยชน์ให้กับสถานที่สาธารณะหมู่บ้าน

  209. โครงการ : ตะโละแน็งอามานสร้างสุข รู้จักพอเพียงและเพียงพอ

    ชุมชนมีการกำหนดบริเวณมัสยิด ให้เป็นเขตการปลอดบุหรี่ และไร้มลพิษทางตรงและทางอ้อม ทำให้สุขภาพของผู้ที่ไปปัฏิบัติศาสนกิจ มีจิตใจที่บริสุทธิ์ ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ เกิดระเบียบในการออมทรัพย์ในการเบิกจ่ายเงินออมทรัพย์ของกองทุน

  210. โครงการ : ทำนบร่วมสร้างอาชีพสร้างรายได้ อยู่อย่างพอเพียง

    ชุมชนมีการกำหนดบริเวณมัสยิด ให้เป็นเขตการปลอดบุหรี่ และไร้มลพิษทางตรงและทางอ้อม ทำให้สุขภาพของผู้ที่ไปปฏิบัติศาสนกิจ มีจิตใจที่บริสุทธิ์ ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ

  211. โครงการ : เยาวชนต้นตาลสุขภาพดี มีภูมิคุ้มกันยาเสพติด

    - ผู้นำชุมชนและผู้นำศาสนามีมติเกี่ยวกับเยาวชนในสานศึกษาว่าจะมีการจัดกิจกรรมที่เป็นภาพรวมของหมู่บ้าน เช่นการแข่งขันกีฬาสัมพันธ์ในชุมชนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง - เนื่องจากประสบปัญหาในชุมชนเรื่องเด็กแว๊นรถจักรยานในช่วงกลางคืน ซึ่งได้มีการตั้งกฎใหม่ว่าหากพบเห็นพฤติกรรมดังกล่าวในเวลาหลัง 21.00 น. จะเรียกผู้ปกครองเยาวชนมาพูดคุยตักเตือน ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของผู้ปกครองด้วยที่ต้องดูแลบุตร

  212. โครงการ : หมู่บ้านตือระร่วมมือร่วมใจสร้างสามัคคีสู่ชุมชนเข้มแข็ง

    การกำหนดนโยบายสาธารณะนั้นโดยแจ้งให้ทุกฝ่ายรับทราบเกี่ยวกับชายหญิงที่มิได้เป็นสามีภรรยากันหากพบอยู่ที่ปลอดผู้คนสองต่องก็จะมีการตักเตือนแต่หากมีการปฎิบัติที่เกินเลยระหว่างชายหญิงก็จะมีมาตรการโดยบังคับแต่งงานกัน

  213. โครงการ : คุณธรรมสร้างคน จริยธรรมสร้างใจ ลดปัญหายาเสพติด ณ บ้านน้ำตก

    เกิดกติกาในกลุ่มของเยาวชน โดยมีผู้นำและ สมาชิก เล่นกีฬาทุกวันในตอนเย็น

  214. โครงการ : ชาวตือกอร่วมมือ ร่วมใจ ชุมชนสะอาด

    เกิดฮูกัมปากัต (ข้อตกลงร่วมกัน) ในหมู่บ้าน 5 ข้อ ดังนี้ 1.ห้ามทิ้งขยะในเขตพื้นที่สาธารณะ ริมทาง ริมคลอง มัสยิด กูโบร์ 2.ทุกบ้านเรือนต้องทำความสะอาดบ้านเรือนตนเอง ทุกๆวันศุกร์ 3.ทุกครัวเรือนต้องเข้าร่วมทำความสะอาดสถานที่สาธารณะ ถนน ริมทาง กูโบร์ ทุกเดือน อย่างน้อยครัวเรือนละ 1 คน 4.ทุกครัวเรือนต้องมีถังขยะ ห้ามทิ้งขยะกองหน้าบ้าน 5.ลด ละ เลิก ใช้ถุงพลาสติก (ใช้ถุงผ้าแทน

  215. โครงการ : หมู่บ้านยะออ ชุมชนเข้มแข็ง สุขภาพกายใจดี ชีวีมีสุข

    ชุมชนและคณะทำงานได้มีการประชุม และลงมติขึ้นให้ ชุมชนมีการวางกฏระเบียบ กติกาในการอยู่ร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาโรคในช่องปากที่มีผลที่ประชนชนในทางลบ โดยมีการกำหนดกติกา ดังนี้ ห้ามร้านค้าในโรงเรียนจัดจำหน่ายอาหารขยะ และเครื่องดื่มรสหวาน น้ำอัดลม นักเรียนต้องแปรงฟันทุกครั้งก่อนอาบน้ำละหมาด โดยแปรงฟันอย่างน้อย 2 นาที ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ชุมชนให้ความร่วมมือ ที่สำคัญ ครู ผู้ปกครอง และผู้นำศาสนา ต่างเห็นความสำคัญของการแปรงฟัน และการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน โดยฉพาะการแปรงฟันก่อนละหมาด 5 เวลา เนื่องจากท่านศาสนามูฮำหมัดได้กล่าวว่า หากไม่เป็นการยากลำบาก สำหรับประชาชาติของฉัน ฉันจะให้แปรงฟันก่อนอาบน้ำละหมาด และสอดคล้องกับบทอื่นๆที่ท่านศาสดาให้ความสำคัญในเรื่องของการรักษาความสะอาด กล่าวคือ แท้จริงการรักษาความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา ซึ่งกิจกรรมนี้สอดของตามหลักคำสอนของศาสนาอิสลามที่คนในชุมชนนับถือ ทำให้การดำเนินงานราบรื่น เกิดความยั่งยืนในกิจกรรม และโครงการในชุมชนแห่งนี้ ที่สำคัญเกิดชุมชนเข้มแข็งเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งชุมชนในสังคม ถือเป็นโมเดล แบบอย่างให้กับสังคม ชุมชนอื่นๆ เนื่องจากเป็นการปลูกฝังนักเรียนและคนในชุมชนให้ตระหนักและ ดูแลรักษา สุขภาพช่องปากและองค์รวมบนพื้นฐานความเชื่อ ซึ่งมีความสอดคล้องกับงานวิจัยต่างๆในการแก้ปัญหาเรื่องสุขภาพ ยิ่งพฤติกรรมของมนุษย์ จากการสอบถามหลังจบกิจกรรมจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม สรุปได้ว่า ชุมชนเกิดความสนใจ ต่อกิจกรรม โครงการได้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง มีป้ายรณรงค์แปรงฟันก่อนละหมาดในหมู่บ้าน กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  216. โครงการ : เศรษกิจพอเพียงด้วยบัญชีครัวเรือนบ้านท่าพรุ

    มึตรัวเรีอนตามเป้าหมายต้องมีการออมเกิดขี้นมีความสะอาดถุกหลักอนามัย มีครอบครัวไม่ยุ้งกับยาเสพติดเกิดแกนนำเยาวชนในหมู่บ้านในกิจกรรมทางศาสนาอิสลามในการใช้ชีวิตประจำวันจำนวน 6คน และทุกวันที่20ของทุกเดือนมีนัดพบกันที่มัสยิดทุกกลุ่มวัย

  217. โครงการ : ทุ่งเกาะปาบร่วมรักษ์พืชผักพื้นบ้าน ม. 6 บ้านทุ่งเกาะปาบ

    1.ส่งเสริมให้คนในชุมชนปลูกพืชผักพื้นบ้านทุกครัวเรือน อย่างน้อยครัวเรือนละ 20 ชนิด และรณรงค์ให้คนในชุมชนไม่ทำลายพืชผักพื้นบ้านที่มีอยู่ในชุมชน 2.รณรงค์ให้มีการขยายพื้นที่เขตปลอดบุหรี่ในชุมชน จำนวน 2 พื้นที่

  218. โครงการ : หมู่บ้านยุคใหม่ใส่ใจสุขภาวะ หมู่ 7บ้านนาข่าใต้

    - มีกติกาชุมชนการลดการใช้สารเคมีในแปลงผัก

  219. โครงการ : โครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชน(ม. 11 บ้านห้วยมะพร้าว)

    - เกิดกติการ่วมของชุมชน ดังนี้ 1) ห้ามทุกคนในชุมชนเล่นการพนันทุกชนิดหรือข้องเกี่ยวกับยาเสพติดทุกชนิด หากพบเห็นโทรแจ้งตำรวจ 2) ไม่ให้ร้านค้า ขายสุรา บุหรี่ ให้แก่เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี หากฝ่าฝืนจะถูกปรับโดยกรรมการหมู่บ้านคนละ 300 บาท 3) ห้ามมิให้เยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เที่ยวเตร่หรือออกจากบ้านเวลากลางคืน หลังเวลา 24.00 น. โดยลำพัง ยกเว้นมีเหตุจำเป็นหรือไปกับผู้ปกครอง หากฝ่าฝืนจะถูกปรับคนละ 300 บาท เป็นต้น 4) การลักทรัพย์และทำให้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหายผู้ที่ลักทรัพย์สินของมีค่าของผู้อื่น ปรับ 3-5 เท่า ของมูลค่าทรัพย์สิน นั้น 5) ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ทุกชนิดและปล่อยสัตว์ให้ไปทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น ให้มีความผิดและปรับค่าเสียหาย ดังนี้ 5.1 ประเภทพืชยืนต้น คิดค่าปรับในอัตรา100 บาท/ต้น 5.2 นาข้าว ตารางเมตรละ 100 บาท 5.3 พืชไร่/พืชสวน คิดค่าปรับ ในอัตราระหว่าง 200-1,000บาท(แล้วแต่ความเสียหาย) 6) การรักษาความสงบ ให้ชุด ชรบ.หมู่บ้านมีการจัดเวรยามหรือลาดตระเวนในหมู่บ้าน อย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง 7) ห้ามก่อเหตุทะเลาะวิวาทภายในบริเวณที่สาธารณะของหมู่บ้าน โดยเป็นผู้ก่อเหตุ จะถูกปรับเป็นเงิน 500 บาท 8) ห้ามยิงปืนในหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุจำเป็น ถ้ายิงเล่นปรับ 500 บาทต่อ 1 นัด 9) สมาชิกครัวเรือนละ 1 คน เข้าร่วมประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านทุกเดือน หากครัวเรือนใดไม่เข้าร่วมประชุม สิทธิในการได้รับความช่วยเหลือจะให้การพิจารณาผู้เข้าร่วมประชุมทุกเดือนก่อน ไม่ว่ากรณีใดๆ 10) ครัวเรือนต้นแบบ 10.1 ต้องทำบัญชีครัวเรือน 10.2 ครัวเรือนต้องปลูกพักในครัวเรือนอย่างน้อย10ชนิด 10.3 ต้องเข้าร่วมประชุมทำกิจกรรมในหมู่บ้านทุกครั้ง 10.4 ต้องมีความรักความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 10.5 ต้องยอมรับและเข้าใจกฏกติการ่วมของหมู่บ้าน - คนในชุมชนยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้คนในชุมชนยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบของคนในชุมชน ป้องกันปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงของคนในชุมชน

  220. โครงการ : มัสยิดสัมพันธ์ศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ม.17 บ้านวังช่อนชัย

    - คนในชุมชนได้ร่วมกันสร้างกติกาในหมู่บ้าน คือ ห้ามการพนันทุกชนิดมาเล่นในหมู่บ้าน, - ห้ามนำยาเสพติดมาจำหน่าย หรือเสพยาเสพติดในหมู่บ้าน, - ประชาชนทุกครัวเรือนต้องร่วมกิจกรรมของหมู่บ้าน - การกู้ยืมเงินของกองทุนหมู่บ้านจะต้องชำระตามเวลาที่กำหนด ห้ามปล่อยสัตว์เลี้ยง เช่น วัวหรือแพะไปกินยางพารา หรือ กินพืชต่างๆของผู้อื่น - จะต้องช่วยเหลือกันเมื่อเกิดภัยภิบัติในหมู่บ้าน - ช่วยกันสอกส่องดูแลความปลอดภัยของหมู่บ้าน การรักษาความสงบ ให้ชุด ชรบ.หมู่บ้านมีการจัดเวรยามหรือลาดตระเวนในหมู่บ้าน อย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง - ฎระเบียบดังกล่าวข้างต้น สามารถเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงได้ในวันประชุมประจำเดือน หรือตามที่คณะกรรมการหมู่บ้าน เห็นสมควรเป็นเรื่องไป - ให้คณะกรรมการหมู่บ้าน เป็นผู้ดูแลและบังคับใช้ ในการถือปฏิบัติตามกฎระเบียบ ของหมู่บ้าน

  221. โครงการ : ชาวเกาะยวน หมู่ 3 ยุคใหม่ คิดใหม่ ทำใหม่ ใส่ใจสุขภาพ

    - ชุมชนได้กฎกติการ่วมกัน เพื่อถือปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

  222. โครงการ : ชาวเกาะยวน หมู่ 3 ยุคใหม่ คิดใหม่ ทำใหม่ ใส่ใจสุขภาพ

    - ชุมชนได้กฎกติการ่วมกัน เพื่อถือปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ธรรมนูญหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 (กติกาหมู่บ้าน) - หมวดที่ 1 ว่าด้วยการศึกษา 1.จัดให้มีการเรียนการสอนด้านศาสนาแก่เด็กเยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไปในวันเสาร์-อาทิตย์ ตามหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากองค์กรที่เกี่ยวข้องและส่งเสริมสนับสนุนอบรมแก่มุสลีมีน มุสลีม๊ะ 2.จัดการเรียนการสอนอัลกรุอ่านในชุมชน 3.สร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาร่วมกับสถานศึกษา เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ปกครองและผู้เรียนในโรงเรียนประถมศึกษาในตำบล - หมวดที่ 2 ว่าด้วยสาธารณูปโภคสาธารณูปการ 4.ร่วมดูแลบำรุงรักษาเส้นทางสัญจร ภายในหมู่บ้าน 5.จะใช่ช่องทางการสื่อสารให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันและทันสถานการณ์ เช่น เสียงตามสาย วิทยุชุมชน เอกสารเผยแพร่ - หมวดที่ 3 ว่าด้วยการป้องกัน การแก้ไขปัญหายาเสพติดและรักษาความสงบเรียบร้อยในชุมชน 6.กำหนดเพิ่มมาตรการ เฝ้าระวังรักษาความปลอดภัย สร้างความเข้มแข็งให้ชุดรักษาความสงบเรียบร้อย และชุดอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนในชุมชน 7.ไม่ยิงปืน ประทัด ในหมู่บ้าน ตำบล และในงานประเพณีต่างๆ 8.กำหนดแนวทางป้องกัน แก้ไขปัญหา ยาเสพติดและร่วมสอดส่องดูแลติดตามเด็ก เยาวชนในหมู่บ้านตำบลให้ห่างไกลยาเสพติด 9.การลักขโมย ของผู้อื่น เช่น ขี้ยาง (เศษยางพารา) จะต้องหมดไป 10.ร่วมสร้างค่านิยม รู้รักสามัคคี เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เพื่อลดความขัดแย้งภายในหมู่บ้าน 11.ช่วยสอดส่อง ตรวจสอบร้านเกมส์ให้มีการขออนุญาตเปิด-ปิด ให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการพร้อมประสานความร่วมมือไปยังท้องถิ่นข้างเคียงเพื่อสร้างมาตรฐาน หรือกติกาชุมชน - หมวดที่ 4 ว่าด้วยการพัฒนารายได้การส่งเสริมอาชีพ 12.สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมโดยการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ สร้างงาน เพื่อแก้ปัญหาคนว่างงาน ความยากจน การรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และดำเนินชีวิตโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว - หมวดที่ 5 ว่าด้วยศาสนา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น 13.ศรัทธาและยึดมั่นในหลักคำสอนของศาสนาอิสลามย่างแน่วแน่ เช่น การละหมาด 5 เวลาและการละหมาดวันศุกร์ เป็นต้น 14.รณรงค์ให้มุสลิมละศีลอด ร่วมกันที่มัสยิดและปลูกจิตสำนึกให้แก่ร้านค้าในชุมชน งดจำหน่ายหรือบริการอาหารและเครื่องดื่มในช่วงเวลากลางวันของเดือนรอมฎอน 15.พัฒนาศาสนสถานให้เป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ ส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรมในชุมชนและการบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกัน - หมวดที่ 6 ว่าด้วยสุขภาพและการสาธารณสุข 16.ร่วมรณรงค์ ป้องกันและแก้ไขปัญหาเบื้องต้นในการควบคุมโรคที่เป็นปัญหาในชุมชน เช่น ความดัน เบาหวาน โรคอ้วน 17.คนในตำบล หมู่บ้านทุกกลุ่มวัยรู้จักการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตนเอง 18.งดสูบบุหรี่/ใบจาก สิ่งมึนเมาในที่สาธารณะ เช่น โรงเรียน มัสยิด สถานที่ราชการ 19.ให้มีการปลูกผักปลอดสารพิษทุกครัวเรือนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของครัวเรือน 20.รณรงค์รวมพลังชุมชนลดการซื้อสินค้าตามโฆษณาที่เกินจริง - หมวดที่ 7 ว่าด้วยการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในชุมชน 21.สร้างความร่วมมือในการลดความขัดแย้งในชุมชนและระหว่างชุมชนที่เกิดจากความไม่ เข้าใจทางด้านการเมืองการปกครองและด้านอื่นๆ 22.ทุกหมู่บ้านกำหนดวันประชุมประจำเดือนและให้มีตัวแทนครัวเรือนอย่างน้อย 1 คน เข้าร่วมประชุมประจำเดือนตามที่หมู่บ้านนั้นๆ กำหนด 23.พัฒนากระบวนการประชาธิปไตยทางตรงเพื่อเป็นพื้นที่กลางในชุมชน 24.จัดทำแผนผังหมู่บ้านโดยจัดโซนเพื่อการบริการข้อมูลต่างๆ - หมวดที่ 8 ว่าด้วยการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 25.ร่วมกับภาครัฐ องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรท้องที่ องค์กรท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายอื่นๆ ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เช่นการจัดการที่ดินทำกินและเพื่อที่อยู่อาศัย การบริหารจัดการขยะและสิ่งปฏิกูล เพื่อชุมชนแห่งการเรียนรู้ - หมวดที่ 9 ว่าด้วยกองทุนการเงินชุมชนและสวัสดิการสังคม 26.ร่วมรณรงค์และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนสมัครเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชน (สัจจะเดือนละ 20 บาท) ให้ครอบคลุมและมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการกองทุนเงินต่างๆ ในตำบล 27.ให้ทุกครัวเรือนดูแล บริเวณบ้านเรือนของตนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่มีขยะมูลฝอย 28.ร่วมรณรงค์ให้คนในหมู่บ้าน ตำบลมีการรวมกลุ่มกันจัดทำกลุ่มออมทรัพย์

  223. โครงการ : เยาวชนหมู่ 6 บ้านหัวทางร่วมใจอนุรักษ์คลองละงู

    - ก่อให้เกิดกฎ กติการ่วมกันในสังคมและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการทำงานเป็นทีมในการวางกฎกติกา ด้านการอนุรักษ์คลองละงู เช่น การลงพื้นที่ลาดตระเวณ และกลุ่มแกนนำได้ทำงานร่วมกับกลุ่มเยาวชน ซึ่งทำให้กลุ่มเยาวชนห่างไกลจากยาเสพติด และได้มีการเรียนรู้ภายในคลองละงูนอกห้องเรียนจากการวางแผนการทำงานด้านการมีส่วนร่วมที่จะทำให้ทราบถึงข้อมูลที่ชัดเจนและครอบคลุมภายในชุมชนด้วย

  224. โครงการ : โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชนลดรายจ่าย ม.15 บ้านในใส ต.ละงู

    - เกิดกติกาหมู่บ้านและมาตรการเรื่องการเข้าประชุมคือหากผู้ใดไม่เข้าร่วมประชุมเกิน3ครั้งจะไม่พิจารณาเรื่องต่างๆ - คนในหมู่บ้านได้ปฏิบัติตามกฎกติกาหมู่บ้านที่ตั้งไว้เพราะหากผู้ใดไม่เข้าร่วมประชุมประชาคมต่างๆไม่สามารถได้รับผลประโยชน์จากโครงการต่างๆ

  225. โครงการ : บ้านห้วยไทร หมู่ 10 น่าอยู่ฟื้นฟูเศรษฐกิจเน้นความเจริญด้านอาหาร

    - ชาวบ้านได้รับผลประโยชน์จากการลงรายรับรายจ่าย - ห้ามมิให้ลูกหลานของตนเองยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด - ห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในสถานที่ราชการและบริเวณสวนของชาวบ้านที่

  226. โครงการ : โครงการชุมชนร่วมใจ สูงวัยมีสุข ม.12 บ้านในเมือง

    - การเฝ้าระวังดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว ไม่ให้ลูกหลานทอดทิ้งให้อยู่คนเดียวการส่งเสริมอาชีพให้กับผู้สูงอายุ การตรวจสุขภาพโดย อสม และการลงเยี่ยมบ้านให้มีเป็นประจำทุกเดือน

  227. โครงการ : โรงเรียนร้างสร้างชีวิตบ้านทุ่งหนองควาย (ต่อยอดปี 2)

    มีกฎระเบียบเพิ่ม 3 กลุ่ม และปฏิบัติร่วมกันทำให้คนในชุมชนมีวินัยทางสังคมมากขึ้น

  228. โครงการ : กระจาดสานใจเครื่องแกงกู้ภัยเศรษฐกิจบ้านนาแยกเหนือ (ต่อยอดปี 2)

    1. การทำปุ๋ยหมัก เกิดกฎ กติกา คือ ช่วยกันทำช่วยกันใช้ จะเป็นการนัดหมายว่าจะทำวันไหน เมื่อเตรียมวัตถุดิบพร้อม ก็ให้ช่วยกันลงมือทำโดยนัดหมาย ชักชวนกัน ร่วมไม้ร่วมมือกันทำ 2. การทำกระจาด เนื่องจากเป็นความสำนึกหรือตระหนักว่า ผู้ที่ทำนั้นเป็นผู้ที่ได้ตอบแทนบุญคุณตายายหรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จึงไม่มีกฎตายตัว จึงเป็นการแบ่งงานกันทำตามความรู้ ความสามารถ ความถนัดของแต่ละบุคคล

  229. โครงการ : ร้อยมือสร้างวิถีชุมชนบ้านบางโกระ

    การยิงปืนในที่สาธารณะปรับ500 บาท

  230. โครงการ : สร้างจิตสำนึกเยาวชนบ้านนาทอนเพื่อการเรียนรู้การเกษตร

    - การเข้าร่วมการประชุมของคนในชุมชนเพื่อสร้างมาตรการให้เป็นแบบแผนของชุมชนให้น่าอยู่ - การติดตามการกู้ยืมของกองทุนหมู่บ้านไปไปด้วยกฏ กติกาที่ได้วางไว้ - สมาชิกทุกคนสามารถทำตามกฎ ระเบียบแบบแผนได้อย่างลงตัว

  231. โครงการ : ร่วมพลังคนบ้านช่องไทรจัดการขยะเพื่อชุมชนน่าอยู่

    1.มีการตั้งกติกาในการรับซื้อขยะในชุมชน 2.ขยายพื้นที่ปลอดบุหรี่ มีพื้นที่ปลอดบุหรี่เพิ่มขึ้น ทำให้ลดการสูบบุหรี่ในพื้นที่นั้นเพิ่มขึ้น

  232. โครงการ : ส่งเสริมพัฒนาอาชีพบ้านท่าศิลา ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

    ขยายพื้นที่ปลอดบุหรี่ มีพื้นที่ปลอดบุหรี่เพิ่มขึ้น ทำให้ลดการสูบบุหรี่ในพื้นที่นั้นเพิ่มขึ้น

  233. โครงการ : พัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ในชุมชนบ้านบารายี

    - ทำให้เกิดกฎระเบียบในหมู่บ้านในเรื่องของ เขตพื้นที่ปลอดบุหรี่ เช่น มัสยิด โรงเรียน และอาคารอเนกประสงค์ที่ใช้ในการทำกิจกรรม

  234. โครงการ : มัสยิดสร้าง เยาวชน สู่ชุมชนสโลว์ปาแต่น่าอยู่

    กติกาชุมชน ชุมชนปลอดยาเสพติด 1. ชุมชนกำหนดกฎเกณฑ์ว่า “บ้านไหนค้าหรือเสพ จะตักเตือนโดยการเชิญมาคุยทั้งครอบครัวกับคณะกรรมการชุมชน แต่ถ้ายังปฏิบัติอีก จะไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน และขั้นสุดท้ายตัดความช่วยเหลือที่ชุมชนมีทุกประการ” แต่ขั้นตอนต่างๆนั้นจะผ่านกระบวนการสภาชุมชนในการพิจารณา ขั้นตอนที่ 1 เรียกตัวบุคคลที่ค้าและเสพ และสังเกตุพฤติกรรม ขั้นตอนที่ 2 หากมีพฤติกรรม เช่นเดิม จะเรียก ผู้เสพ หรือผู้ค้า พร้อมครอบครัว เชิญมาคุย ขั้นตอนที่ 3 ถ้ายังปฏิบัติอีก จะไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน และขั้นสุดท้ายตัดความช่วยเหลือที่ชุมชนมีทุกประการ

  235. โครงการ : บ้านนาข่าเหนือ หมู่ที่ 4 ร่วมใจจัดการขยะเพื่อความยั่งยืน

    - 1.สมาชิกกลุ่ม/ตัวแทนต้องเข้าร่วมประชุมทุกกิจกรรมตามโครงการ 2.กลุ่มสมาชิกต้องมีการคัดแยกขยะ โดยหน้าบ้านและบริเวณข้างถนนจะต้องไม่มีขยะ

  236. โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น ปี2

    มีกติกาชุมชนในด้าน1) กรรมการหมู่บ้านแต่ละฝ่ายต้องมีการประชุมชี้แจงประชาชนในทุกเดือน 2) ประชาชนต้องสมัครเป็นสมาชิกกองทุนออมทรัพย์หมู่บ้านจะมีสิทธิกู้เงินกองทุนได้และจะต้องมีการออมทุกเดือนอย่างน้อยเดือนละ 100 บาทและผ่านการออมมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน 3) ทุกกลุ่มกองทุนต้องหักเงินจำนวนร้อยละ 20 ของผลกำไรเพื่อใช้เป็นกองทุนสวัสดิการสาธารณประโยชน์ของหมู่บ้าน 4) จัดให้มีการมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบในการพัฒนาหมู่บ้านตามแขวงในวันสำคัญครบทั้ง 8 แขวง 5) ชาวบ้านทุกครัวเรือนต้องมีการเวียนกันทำข้าวกับข้าวไปถวายแด่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ในวัดตลอดทุกวันในช่วงเข้าพรรษาสามเดือนโดยจะแบ่งกันเวียนวันละสามครัวเรือน

  237. โครงการ : ท่องเที่ยวเชิงเกษตรลดสารเคมี สร้างสุขภาวะชุมชนบ้านคลองลำแชง (ต่อเนื่อง ปี 2)

    มีการกำหนดกฎการใช้ประโยชน์แหล่งท่องเที่ยวในชุมชน และข้อตกลงในการไม่ใช้สารเคมีในพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ

  238. โครงการ : รวมพลังสร้างสุขภาพบ้านศาลาไม้ไผ่(ต่อเนื่อง)

    ได้มาตรการทางสังคม อย่างน้อย 1 เรื่อง ยาเสพติด หากบ้านใครยุ้งเกี่ยวกับยาเสพติด ทางชุมชนจะไม่ช่วยเหลือใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางสังคม

  239. โครงการ : คุณค่าเด็กแว็นซ์ ที่บ้านปากคลองวัดแดง(ต่อยอดปี2)

    1.ใส่หมวกกันน็อคเมื่อขับรถมอเตอร์ไซต์ทุกครั้ง 2.ไม่ขับรถย้อนสอน 3.สถานที่ประชุมเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่

  240. โครงการ : วัด ชุมชน ร่วมจัดการทุนที่บ้านทองพูน (ต่อยอดปี 2)

    1.ให้คนที่เข้าร่วมกรรมนำวัสดุ ในการทำปุ๋ยหมักมาร่วมกันทำปุ๋ยหมัก 2.ทุกครัวเรือนให้ปลูกผักกินเองที่บ้าน ครัวเรือนละ 5 ชนิด 3.สถานที่ประชุมเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ 4.

  241. โครงการ : คลังอาหารบ้านดอนโรง(ต่อยอดปี 2)

    เกิดกติกาชุมชนจากการประชุม 1.ถ้ามีการขาดประชุมเกิน 4 ครั้งจะถือว่าขาดการเป็นสมาชิกประจำกลุ่ม 2.คนที่เป็นสมาชิกกลุ่ม ถ้าเอาวัสดุมาให้กับทางกลุ่มและร่วมทำกิจกรรมก็ให้สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องซื้อจากกลุ่ม 3.คนที่ไม่ใช่สมาชิกกลุ่ม จะต้องซื้อสินค้าเพื่อนำเงินมาเป็ฯสวัสดิการชุมชน เกิดอย่างไร รูปแบบไหน หรือเป็นอย่างไร 4.ในที่ประชุมจะร่วมกันรณรงค์ลดละเลิกบุหรี่โดยสถานที่ประชุมจะเป็นที่งดสูบบุหรี่

  242. โครงการ : ภูมิปัญญา เพิ่มรายได้ สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม (ต่อยอดปี 2)

    เกิดอย่างไร รูปแบบไหน หรือเป็นอย่างไร

  243. โครงการ : ภูมิปัญญา เพิ่มรายได้ สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม (ต่อยอดปี 2)

    1)ให้ทุกครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมให้นำเอาขยะในครัวเรือนมาทำน้ำหมักชีวภาพ 2)ทุกครัวเรือนปลูกพืชผักสมุนไพรกินเองอย่างน้อย 5 ชนิด 3)ทุกครัวเรือนที่เข้าร่วมต้องมีรังผึ้งโพรง

  244. โครงการ : ปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนด (ต่อยอดปี 2)

    1. กำหนดการในการฝึกซ้อมและการเรียนรู้ปันตงของเด็กและเยาวชน ในช่วงระยะเวลาว่าง เสาร์-อาทิตย์ 2. ระยะเวลาในการเรียนรู้ปันตง ในช่วงเวลา 13.00-16.00 น.

  245. โครงการ : ทุนชุมชนสร้างรายได้บ้านสวนขัน (ต่อยอดปี 2)

    1.ทุกในครัวเรือนต้องปลูกพืชสมุนไพรครัวเรือนละ 5ชนิด 2.ทุกครัวเรือนต้องมีเห็ดนางฟ้าครัวเรือนละอย่างน้อย 10 ก้อน 3.ทุกครัวเรือนต้องมีปุ๋ยน้ำหมัก 1กระสอบ

  246. โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนบ้านดอนตาบ่าวให้น่าอยู่ คลองสวยน้ำใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ปี 2

    กติกาชุมชนประกอบด้วย 1)ทุกครัวเรือนมีการแยกเก็บขยะได้อย่างถูกต้อง 2)ขยะแห้งเก็บไว้ขาย/ไว้ใช้ซ้ำ/ทิ้งถังขยะ3)ขยะเปียกทำปุ๋ยหมักชีวภาพหรือขุดฝังขยะอันตรายแยกเก็บใส่ถุงที่ปลอดภัยก่อนทิ้งหรือขาย รวมทั้งชุมชนต้องจัดการชุมชนและหน้าบ้านตนเองให้น่ามองด้วยการจัดการให้สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นต้น

  247. โครงการ : ชุมชนหูยาน บ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง(ต่อเนื่องปี 3)

    1.เกิดกฏ กติกา ระเบียบ หรือมาตรการชุมชนได้แก่ 1.1 มีเขตอภัยทานปลาคลองนาท่อมเป็นมาตรการของชุมชนเป็นเขตอนุรักษ์ 1.2 มีมาตรการการจัดการขยะด้วยการมีส่วนร่วม โดยมีการจัดการขยะต้นทางที่ครัวเรือน 1.3 มีการประชุมอย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือน

  248. โครงการ : การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ชุมชนบ้านคลองขนาน (ต่อเนื่อง ปี2)

    เชิงปริมาณ มีเวทีการพูดคุยในการจัดการขยะในชุมชน 5 ครั้ง เชิงคุณภาพ ชุมชนให้ความใส่ใจในการจัดการขยะเพิ่มขึ้น

  249. โครงการ : ศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม (ต่อเนื่อง)

    กติกาของกลุ่มทำนาอินทรีย์ที่จะไม่ใช้สารเคมีในการทำนา ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในการทำนา และสมาชิกลุ่มจะต้องขายข้าวที่ได้ให้กับกลุ่มตามจำนวนที่กำหนดเพื่อทำเป็นข้าวสารบรรจุถุงขายในชุมชน

  250. โครงการ : นาอินทรีย์คืนวิถีคนไทรงาม (ต่อเนื่อง)

    - มีข้อตกลงในการผลิตข้าวที่ปลอดภัย - ขยายพื้นที่ปลอดบุหรี่ในชุมชน จำนวน 2 แห่งคือ สถานที่ประชุมและสถานที่จัดกิจกรรม

  251. โครงการ : สร้างครัวคนห้วยยวนด้วยธนาคารริมคลอง (ต่อเนื่อง)

    มีกฏกติกาในดูแลป่าที่ยังคงบังคับใช้มาอย่างต่อเนื่อง

  252. โครงการ : เยาวชนคนสองปาก ศึกษาราก เรียนรู้จากชุมชน(ต่อเนื่องปี2)

    กติกาครอบครัวด้านเด็กและเยาวชน 1. ให้ลูกได้ร่วมกำหนดกฎระเบียบกฎหนดกฎเกณฑ์การปฏิบัติร่วมกับลูก กฎระเบียบต้องชัดเจน ปฏิบัติได้และเข้าใจง่าย 2. พ่อ แม่ผู้ปกครองอนุญาตให้ออกไปเที่ยวนอกบ้านได้ แต่ต้องกลับบ้านไม่เกิน 1 ทุ่ม 3. ชื่นชมเมื่อลูกปฏิบัติได้ตามกฎ เช่น อาจยกย่องชมเชยหรือจัดหารางวัลให้เหมาะสมกับโอกาส และสถานการณ์ 4. ทำกิจวัตรในครอบครัวร่วมกันเช่นการรับประทานอาหารร่วมกันละหมาดพร้อมกัน 5. ห้ามคนในครอบครัวพูดด้วยวาจาไม่สุภาพ ด่าทอ หยาบคาย และรุนแรง 6. ไม่มีเวลาให้กันภายในครอบครัว เช่น ไปเที่ยวด้วยกัน เดือนละครั้ง 7.พ่อ แม่ผู้ปกครองต้องเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับลูกๆ 8.คนในครอบครัวต้องไม่มั่วสุมกับสิ่งเสพติดและอบายมุขต่างๆ 9.คนในครอบครัวประพฤติตนตามหลักศาสนาอิสลาม

  253. โครงการ : เยาวชนนาโต๊ะขุน คนรุ่นใหม่ ใส่ใจจัดการขยะ (ต่อเนื่อง ปี 2)

    - การทำงานเพื่อให้เกิดกติกาชุมชนด้านการจัดการขยะ

  254. โครงการ : เซเว่น ภูมิปัญญา สร้างสุขสองฝั่งคลองบ้านบางไทร (ต่อยอดปี2)

    สลับหมุนเวียนดูแลแม่น้ำลำคลอง 3 เดือนต่อ 1 ครั้งและต้นไม้ที่ปลุกในสวนภูมิปัญญาของหมู่บ้าน

  255. โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึก จัดการขยะชุมชน

    เชิงปริมาณ มีระเบียบธนาคารขยะ 1 ชุด เชิงคุณภาพ ชุมชนร่วมกันดำเนินการธนาคารขยะ

  256. โครงการ : ความสุขที่ชุมชนด้วยประชาหารือเพื่อสานสันติภาพแสวงหาแนวทางสันติวิธี

    -มีการยกระดับความเร่งด่วนในการทำงานและการช่วยเหลือ -การก้าวข้ามการทำงานแบบพหุวัฒนธรรม -ลงขันในการทำงานและร่วมเป็นหุ้ส่วน -ต้องมีการเรียนรู้เรื่องใหม่ๆเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

2) เกิดกลไก ระบบ หรือโครงสร้างชุมชนที่พัฒนาขึ้นใหม่
จำนวน 272 พื้นที่

  1. โครงการ : ศูนย์เรียนรู้ป่าต้นน้ำ บ้านผังปาล์ม 4,5

    -เกิดกลไกสภาผู้นำชุมชนโดยประชุมผ่านสภาผู้นำชุมชนเดือนละ1ครั้ง

  2. โครงการ : สร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพที่บ้านทุ่งยาว

    เกิดกองทุนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบ้านทุ่งยาว โดยในกองทุนได้มีคณะกรรมการจำนวน ๓ ฝ่าย ๑ฝ่ายนโยบาย ๒ ฝ่ายป้องกันและเฝ้าระวัง ๓ ฝ่ายพัฒนา ในการนี้กองทุนได้มีทุนที่จะมาดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชนจำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท โดยทุนเหล่านี้ได้รับการสมทบจากคนทั้งในและนอกชุมชน จากองค์กรในชุมชน ซึ่งทุนนี้จะนำไปพัฒนา/เฝ้าระวังเด็กและเยาวชน ตลอดจนฟื้นฟูทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชน

  3. โครงการ : เกาะทองสมใหม่เกษตรอินทรีย์สร้างสุข

    สภาผู้นำชุมชนที่มีทั้งส่วนของคณะกรรมการหมู่บ้าน และตัวแทนจากการคัดเลือกจากชุมชนร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้าน และจัดการโครงการ จนเป็นที่ยอมรับของอำเภอ จังหวัด และเป็นศูนย์เรียนรู้ในเครือข่ายสุขภาพของหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพระดับจังหวัด

  4. โครงการ : เสริมพลังชุมชนด้วยคน 3 วัย บ้านโคกแย้ม

    1. ระบบผู้ปลูก ผู้ขาย ผู้บริโภคในชุมชนร้านค้าชุมชนขายพืชผักที่ปลูกในชุมชน คนในชุมชนเจาะจงเลือกพืชผักจากชุมชนมากขึ้น 2. เกิดสภาแกนนำหมู่บ้านที่มากจากกลุ่มบ้าน กลุ่มอาชีพ ร่วมคณะกรรมการหมู่บ้าน สนับสนุนผู้หญ่บ้านในการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้าน

  5. โครงการ : เสริมพลังชุมชนด้วยคน 3 วัย บ้านโคกแย้ม

    1. ระบบผู้ปลูก ผู้ขาย ผู้บริโภคในชุมชนร้านค้าชุมชนขายพืชผักที่ปลูกในชุมชน คนในชุมชนเจาะจงเลือกพืชผักจากชุมชนมากขึ้น 2. เกิดสภาแกนนำหมู่บ้านที่มากจากกลุ่มบ้าน กลุ่มอาชีพ ร่วมคณะกรรมการหมู่บ้านรวม 20 คน ร่วมประชุมหมู่ ุ่บ้าน และสนับสนุนผู้หญ่บ้านในการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้าน

  6. โครงการ : ข้าวพื้นเมืองคืนชีวิตชาวนาปะขอ

    มีสภาผู้นำและกลุ่มมีกระบวนการรร่วมคิด ร่วมตัดสินใจร่วมรับประโยชน์มีการวางแผน สรุปการทำงานและติดตามประเมินผล เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมและมีความร่วมมือจากภาคคีพี่เลี้ยงเสริมขบวนการขับเคลื่อน เช่น สำนักงานเกษตรอำเภอบางแก้วสมาคมรักษ์ทะเลไทย เครือข่ายเกษตรทางเลือก

  7. โครงการ : ควนขนุนปลอดขยะท้องถิ่นปลอดถัง

    มีระบบการรวบรวมขยะที่แตกต่างกันใน 3 หมู่ในหมู่ 6 และ 8 ครัวเรือนจะคัดแยกขยะเอง และมีพ่อค้ามีรับซื้อที่บ้าน ส่วนในหมู่ 5 จะนำขยะไปรวมที่ศาลาหมู่บ้าน แล้วทำการคัดแยก และนำไปขายให้กับพ่อค้าเองบ้าน

  8. โครงการ : ป่าฟื้น คนฟื้น ที่บ้านทุ่งยูง

    มีชุดลาดตระเวณจำนวน 8 คน ที่มีตารางการทำงานเดือนละสองครั้ง

  9. โครงการ : อนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมชุมชนถ้ำภูผาเพชร

    เกิดโครงการเศรษฐกิจพอเพียง มีศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับองค์กรเครือข่ายที่มีความสนใจ และสามารถปลูกจิตสำนึกเยาวชนคนรุ่นใหม่ เกิดสำนึกรักบ้านเกิดและเป็นกระบอกเสียงให้คนในชุมชนในการสร้างความรักความสามัคคีการมีส่วนร่วม เกิดเป็นชุมชนที่เข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนได้

  10. โครงการ : สร้างสุขภาวะ ชุมชนน่าอยู่ สานสามัคคี หมู่ 2

    เกิดสภาสุขภาวะชุมชนบ้านนาเปรีย

  11. โครงการ : สร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ( ต่อยอด )

    ประชุมคณะกรรมการสภาชุมชน ประชุมทุกเดือนเดือนละ 1 ครั้ง รวมทั้งหมด 10 ครั้ง ผู้เข้าร่วมแต่ละครั้งประมาณ 40 – 60 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการสภาชุมชน เด็กและเยาวชน สตรี อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กลุ่มอนุรักษ์กลุ่มอาชีพ

  12. โครงการ : ร้อยเรียงวิถีชุมชน ชุบชีวิตแบบยั่งยืน คืนชุมชนสู่ธรรมชาติ

    - มีกรรมการหมู่บ้าน กรรมการสภา 7 คน และชาวบ้าน จำนวนกว่า 30 คน ร่วมกันติดตามประเมินผล จำนวน 12 ครั้ง และมีความต่อเนื่องตลอดไป - คณะกรรมการสภาชุมชนจำนวน25 คน ประกอบด้วย ตัวแทนกลุ่มต่างๆในหมู่บ้าน ตัวแทนผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่นตัวแทนชาวบ้าน - มีการประชุมทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง รวมทั้งหมด 12 ครั้ง

  13. โครงการ : บ้านศาลาบางปู พัฒนาศูนย์เรียนรู้อาชีพเพาะเห็ดสู่สวัสดิการชุมชน ( ต่อยอด)

    ทางกลุ่มมีการเชื่อมโยงประสานกับทางหน่วยงานพัฒนาชุมชน และทางเทศบาลตำบลปากพูนในการร่วมกิจกรรมต่างๆเช่นการออกร้านจำหน่ายผลิตผล

  14. โครงการ : ชุมชนบ้านห้วยไทร นำขยะสร้างอาชีพ

    มีการสุนใจสุขภาพเรื่องการป้องกันการรับมลพิษโดยการเสวนาเรื่องการดูแลระบบทางเดินหายใจโดยการนำขยะมาเป็นทุน

  15. โครงการ : บ้านป่าไหม้ร่วมใจนำป่าสาคูสร้างสุข

    เพิ่มพื้นที่ป่าสาคูขึันในชุมชนเพราะทุกคนได้เรียนรู้ร่วมกันว่า ป่าสาคูมีประโยชน์ เพราะพื้นที่ลุ่มที่สาคูอยู่จะเป็นแหล่งพักพิงของปลา และปลาจะวางไข่ตามร่องระหว่างต้นสาคู

  16. โครงการ : สินสืบสุขร่วมใจสร้างชุมชนเข้มแข็ง (ต่อยอด)

    1.เชื่อมโยงประสานงานกรรมการชุมชน กรรมการอสม. และสภาผู้นำในเครือข่าย 2.เกิดกลุ่มสิ่งประดิษฐ์ สร้างสรรค์สินสืบสุข โดยเด้กและชาวบ้านที่ชอบทำสิ่งเดียวกันมาร่วมกันทำสิ่งประดิษฐ์และรวมกลุ่มส่งขายออกบูทในชุมชน

  17. โครงการ : บ้านบางสระ สาน 6 อ. สู่หมู่บ้านจัดการสุขภาพองค์รวม(ต่อยอด)

    มีการประชุมกรรมการโครงการต่อเนื่องจำนวน 15 คน ทุกเดือน เน้นการพูดคุยเป็นวาระต่อเนื่อง เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมโครงการแต่ละครั้ง และมีการประชุมภาคี ทุกเดือน กับบุคลภายนอกที่ทีส่วนเกี่ยวข้องในการสนับสนุนโครงการ มีส่วนร่วมกับกิจกรรม และผู้หลักผู้ใหญ่ในพื้นที่ และในตำบล เพื่อขอความร่วมมือ

  18. โครงการ : ชุมชนหอยราก สืบสานตำนานขนมลาสร้างสุข

    กลุ่มเยาวชนและอสม.ร่วมกันเป็นผู้อาสาดูแลสุขภาพชุมชนและมีแผนเป็นรูปธรรม

  19. โครงการ : ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในดอน

    คุ้มบ้านเศรษฐกิจพอเพียง 7 คุ้มบ้าน

  20. โครงการ : บ้านไม้มูกปลอดกลิ่นเหม็นจากมูลสัตว์ด้วยสมุนไพร

    ชุมชนมีกลุ่มแกนนำในการขับเคลื่อนการดำเนินของโครงการที่ดำเนินการกันอย่างต่อเนื่องในการทำงานในชุมชน มีกลุ่มเยาวชนรักษ์สมุนไพรเกิดขึ้นในหมู่บ้านที่เป็นพลังของคนรุ่นใหม่ในชุมชน

  21. โครงการ : บ้านต้นกระท้อนหลีกเลี่ยงสารเคมีด้วยครัวตัวอย่าง

    มีคณะทำงานของโครงการช่วยกันดำเนินกิจกรรมตามโครงการและเป็นแกนกำลังสำคัญของชุมนในการขับเคลื่อนกิจกรรมในหมู่บ้าน เกิดการประชุมร่วมกันทุกเดือนเพื่อรับฟังปัญหาและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข

  22. โครงการ : เกษตรอินทรีย์บนเรือนแพบ้านสระกูด

    เกิดกลไลการทำงานร่วมกันของคนในชุมชน เพื่อร่วมกันผลิตผักและข้าวปลอดสารพิษบนเรือนแพ คนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีทั้งปราชญ์ชาวบ้านที่ชำนาญเรื่อง สมุนไพรพื้นบ้าน การปลูกข้าว การปลูกผัก การเลี้ยงปลา ถ่ายทอดสู่กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ ทำให้มีเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของคนในชุมชน

  23. โครงการ : บ้านอู่แก้วเป็นหมู่บ้านวิถีพอเพียง (ต่อยอด)

    1.มีรูปแบบการทำงานเป็นทีม โดยนำทุกภาคส่วนเข้าร่วมเป็นคณะทำงาน และแบ่งหน้าที่กันทำงาน 2.มีการทำงานแบบทีมไขว้ โดยจะมีพี่เลี้ยงจากทุกหมู่ที่ ที่เคยรับโครงการ สสส.จะมาช่วยติดตาม ประเมินผลการทำงาน เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญ

  24. โครงการ : บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร(ต่อยอด)

    เกิดกลไกในการติดตามงาน มีการทำงานร่วมกันทุกหมู่บ้าน ตัวแทนหมู่บ้านละ 1 คน มาร่วมติดตามงาน เพื่อช่วยกระตุ้น ให้กำลังใจ และเรียนรู้งานไปพร้อมกัน

  25. โครงการ : คลังอาหาร อยู่ดี กินดีที่บ้านหนองสีขวัญ

    1.ในการทำกิจกรรมจะมีภาคีร่วมทำงานหลายภาคี และมีการมอบหมายหน้าที่การทำงานชัดเจน

  26. โครงการ : บ้านหนองชีพูน เป็นบ้านอยู่เย็นเป็นสุข

    1.การทำกิจกรรม จะมีสมาชิกกลุ่มที่เข้าร่วมแบบสมัครใจ ไม่มีการบังคับ 2.การประเมินผลและการติดตามงาน จะมีทีมพี่เลี้ยงจากโครงการรุ่นพี่ จะมาร่วมติดตามสอนแนะงาน และกระตุ้นให้ชาวบ้านสนใจเข้าร่วมกิจกรรม เพราะมีบุคคลต่างหมู่บ้านคอยสอดส่องดูแล โปร่งใส และทำงานเป็นทีม

  27. โครงการ : รวมพลัง สานสัมพันธ์สร้างสุขภาพคนเขาปูน

    เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคนในชุมชน จำนวน 2 แห่ง 1. มีโรงเรียนบ้านเขาปูนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านสุขภาพของชุมชนโรงเรียนได้เปิดบริการการสืบค้นข้อมูลด้านสุขภาพทางอินเตอร์เนตเชิญนักวิชาการด้านสุขภาพมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสุขภาพที่โรงเรียนเดือนละ 1 ครั้ง โดยเน้นผู้ป่วย ผู้สูงอายุ เยาวชน 2. มีเขาปูนเป็นสถานที่ออกกำลังกายของคนในชุมชนโดยการเดนวิ่งรอบเขาปูนอย่างต่อเนื่อง 225 คน

  28. โครงการ : พลังแห่งความรัก ถักทอสายใย สานใจชุมชนบ้านปากคลอง

    เกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน องค์กรและชุมชนในพื้นที่ จำนวน 1 แห่ง คือวัดเกาะรุ้ง เป็นศูนย์รวมของคนในชุมชนโดยมีเจ้าอาวาส เป็นแกนนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้คนในชุมชนหันมาเข้าวัด พัฒนาจิตใจให้เกิดความรักความสามัคคีในชุมชน

  29. โครงการ : ฝายมีชีวิตสร้างสุขชุมชนบ้านตลาด

    1. เกิดสภาชุมชนบ้านเขาแก้วขึ้นจำนวน 1คณะ 25คน ทำหน้าที่ในการประสานงานพัฒนากิจกรรมในหมู่บ้าน 2. เกิดกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมขึ้นจำนวน 1กลุ่ม สมาชิก50คน ทำหน้าที่ในการดูแลและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม

  30. โครงการ : สืบสานวิถีชีวิตคนต้นน้ำบ้านขุนคีรี

    เกิดสภาชุมชนบ้านขุนคีรี จำนวน 1คณะมีสมาชิก 30คนทำหน้าที่ในการดูแลพิจารณาและดำเนินการกิจกรรมในการแก้ปัญหาของชุมชนบ้านขุนคีรี ทำให้ชุมชนเกิดความรัก สามัคคี แบ่งปัน

  31. โครงการ : รองแง็งเยาวชน ต่อลมหายใจป่าชายเลน บ้านท่าน้ำเค็มใต้

    สภาผู้นำชุมชน

  32. โครงการ : หุ่นกระบอก ออกเดิน ที่บ้านสวนเทศ(ต่อเนื่อง)

    สภาผู้นำชุมชน

  33. โครงการ : สุไหงมาตี พลิกฟื้นชีวี ด้วยความพอเพียง

    สภาผู้นำชุชมน

  34. โครงการ : เด็กน้อยเกาะโตดนุ้ย เล่านิทานปูม้า ปูทะเล(ต่อเนื่อง)

    สภาผู้นำชุชมน

  35. โครงการ : จากผืนนา สู่ผืนป่าชายเลนที่ควนโต๊ะเจ๊ะ (ต่อเนื่อง)

    สภาผู้นำ

  36. โครงการ : สภาทุ่งพัก นำพาตามหลักพอเพียง

    - มาตรการครอบครัวพอเพียง

  37. โครงการ : ชุมชนบ้านเจริญทรัพย์น่าอยู่เชิดชูผู้สูงวัย (ต่อเนื่อง)

    มีสภาผู้นำชุมชนที่เข็มแข็ง มีการประชุมอย่างต่อเนื่องทุกเดือน มีการบูรณาการการดูแลด้านสุขภาพทุกภาคส่วน ประกอบด้วยเจ้าหน้าทีรพสต. เทศบาล โรงเรียนชุมชนทะเลทรัพย์ สถาบันราชมงคลฯ ตำรวจ และภาคประชาชน แกนนำอสม. จิตอาสา เยาวชน และชมรมผู้สูงอายู เป็นต้น

  38. โครงการ : ห้วยคล้าชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง สิ่งแวดล้อมยั่งยืน

    -เกิดโครงสร้างสภาผู้นำ แบ่งโซนการดูแลในละแวกบ้านที่เข้มแข็ง มีชุดรักษาความสงบเสมือนผู้นำหมู่บ้านมีหน้าที่สอดส่องดูแลให้การช่วยเหลือแก่สมาชิกในหมู่บ้าน -เกิดกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนจำนวน 50 คน ช่วยกันสอดส่องดูแลป่าชายเลนให้มีความอุดมสมบูรณ์

  39. โครงการ : ส่งเสริมการเรียนรู้เยาวชน ตามหลักวิถีเศรษฐกิจพอเพียง บ้านไสยง

    มีคณะทำงานเยาวชนในการจัดเก็บข้อมูลหมู่บ้าน

  40. โครงการ : ปลุกพลังสังคมคนสวนใหม่ชุมชนในเกาะ

    1.กลุ่มทำปุ๋ยหมัก 2.กลุ่มอนุรักษ์น้ำตกสวนใหม่

  41. โครงการ : คอกช้างร่วมใจจัดการขยะ…รักสุขภาพ

    1. คณะทำงานร่วมกันขับเคลื่อน และทำให้เทศบาลบรรจุการจัดการขยะในแผน3ปี ของเทศบาล 2. มีกองทุนสำหรับนำไปบริจาคไห้กับวัดเพื่อสร้างอาคาร

  42. โครงการ : วิทยาลัยทุ่งโพ เรียนรู้ร่วมกัน ร่วมสร้างสรรค์ชุมชนน่าอยู่ ปี 2 (ต่อเนื่อง)

    เกิดกลุ่มอาสาสมัครใหม่ จำนวน 5 กลุ่ม ได้แก่ 1 เกิดกลุ่มอาสาสมัครเฝ้าระวังป้องกันยาเสพติด เพื่อทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ด้านยาเสพติดของชุมชน กำหนดแผน และเป็นแกนนำในการดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน 2 เกิดกลุ่มอาสาสมัครยุวดาอีย์ เพื่อทำหน้าที่รณรงค์เชิญชวนกลุ่มเยาวชนให้เข้าร่วมกิจกรรมศาสนา และเป็นแกนนำเยาวชนในการจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน 3 เกิดกลุ่มอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียง เพื่อทำหน้าที่ดูแลและจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียง ที่ต้องการความช่วยเหลือ 4 เกิดกลุ่มอาสาสมัครมัคคุเทศน์อาสา เพื่อทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล ความรู้ ด้านประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาของชุมชน และทำหน้าที่เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้แก่ผู้มาทัศนศึกษาดูงานในชุมชน 5 เกิดกลุ่มอาสาสมัครส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อทำหน้าที่ดูแล ปรับปรุงทัศนียภาพภายในชุมชน เป็นแกนนำในการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน และส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน

  43. โครงการ : พื้นที่สร้างสรรค์เด็กและเยาวชน บ้านไทรขึง

    -เกิดระบบกลไกลผลัดกันดูแลลูกเธอลูกฉัน

  44. โครงการ : แนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหกให้น่าอยู่ปีที่ 2 : ป้อมหก Eco planet ปฎิบัติการชุมชนรักษ์โลก(ต่อเนื่อง)

    เกิดแกนนำชุมชนและเด็ก เยาวชน จำนวน 15 คน ในการทำงานขับเคลื่อนโครงการ และกองทุนขยะสร้างสุข ทำให้เกิดรูปแบบการทำงานร่วมกันของคนในชุมชน เช่น การประชุมหารือ การประชาสัมพันธ์ เช่น เสียงตามสาย บอร์ดนิทรรศการแผ่นพับ

  45. โครงการ : บ้านต้นมะขามเทศ น่าอยู่ สุขภาพดี ด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชน

    เกิดทีมทำงานคณะทำงานโครงการ ที่มาจากปราชญ์ชุมชน ผู้นำธรรมชาติ ผู้นำทางการ ครูมาเป็นกลไกในการวางแผนการปฎิบัติงานร่วมกัน มีการประชุมปรึกษาหารือ และการกระจายข่าวสาร ข้อมูลให้กับคนในชุมชน

  46. โครงการ : บ้านโคกเหล็กพอเพียงหลีกเลียงสารเคมี (ต่อยอด )

    1. มีเด็กและเยาวชนร่วมเป็นวิทยากรในฐานเรียนรู้ "บ้านพอเพียงหลีกเลี่ยงสารเคมี" ของกลุ่มบ้าน 10 บ้าน 2. เด็กและเยาวชนเป็นวิทยากรร่วมในการจัดกิจกรรมเรียนรู้ตามกลุ่มบ้าน ใช้เป็นกลไกกระตุ้นการทำงานของคณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 5 คน เด็กและเยาวชนเป็นทีมดำเนินการ เด็กและผู้ใหญ่ในชุมชนได้ฝึกปฏิบัติการจัดการขยะที่ดีในครัวเรือน เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนให้ร่วมกันพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพมากขึ้น ดังนี้ 1) ใช้ทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์ โดยปราชญ์ชุมชน และครู กศน. เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ การทำน้ำยาไล่แมลง การเพาะปลูก การเตรียมดิน เพื่อลดการใช้สารเคมีในการเกษตร โดยที่ ทุกคนได้นำมูลวัว และเศษวัสดุที่มาสามรถทำเป็นวัตถุดิบในการทำปุ๋ยมาจากบ้าน มาฝึกปฏิบัติพร้อมกันที่ศาลาหมู่บ้าน 2) ขณะดำเนินการได้มีวิธีที่ดี ต่อยอดความคิดเดิมเพิ่มความคิดใหม่ ร่วมกันปรับเปลี่ยนพื้นที่ว่างข้างศาลาเป็นแปลงสาธิตของหมู่บ้าน เป็นแปลงเพราะชำและเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับชุมชน 3) นำกิจกรรมในโครงการเข้าแผนตำบล เรื่องของการพัฒนาหมูบ้านตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4) ผลการตรวจสารเคมีในเลือด พบว่า มีความเสี่ยงลดลง ร้อยละ 605) เกิดบ้านตัวอย่างการทำแก็สชีวมวล 4 ครัวเรือน 6) มีหลุมเก็บขยะอันตราย จำนวน 2 หลุม 7) เกิดกลไกการติดตามผลและกระตุ้นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจากคณะกรรมการและปราชญ์ในชุมชน 8)ได้รับการสนับสนุนวัสดุและอุปกรณ์เพื่อส่งเสริมการทำเกษตรลดสารเคมีเพิ่มจาก อบต. และ กศน. เป็นต้น

  47. โครงการ : ปฏิรูปหัวลำภูสู่หมู่บ้านจัดการตนเอง(ต่อยอด)

    1.1 มีการประชุมทุกเดือนเกิดสภาผู้นำคณะปฏิรูป 1 คณะ ชื่อคณะปฏิรูปบ้านหัวลำภู เกิดเครือข่ายคณะปฏิรูป 5 คณะ ได้แก่ 1) ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน มีนายบุญธรรม สังผอม เป็นหัวหน้า สมาชิก 150 คน 2) ด้านวัฒนธรรมชุมชน มีนางสาววิชชุดา สุขช่วย เป็นหัวหน้า สมาชิก 30 คน 3) ด้านสวัสดิการชุมชน มีนางภูษณิศา แก้วเนิน เป็นหัวหน้า สมาชิก 30 คน 4) ด้านเศรษฐกิจชุมชน มีนางเตือนใจ คงกำไร เป็นหัวหน้า สมาชิก 30 คน 5) ด้านการศึกษา มีนายพิชชาบดี ดำจันทร์ เป็นหัวหน้า สมาชิก 30 คน 1.2 มีกติกาชุมชนร่วมกันปฏิบัติ เป็นแผนปฏิรูปของชุมชนให้เป็นหมู่บ้านสีเขียว บรรจุไว้ในแผนชุมชนและเป็นชุมชนที่จัดการตนเองได้ โดยแผนชุมชนบ้านหัวลำภู เปลี่ยนวิสัยทัศน์ใหม่ว่า '' หลวงพ่อพวยคู่บ้าน สืบสานวัฒนธรรม น้อมนำวิถีพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข สร้างเสริมเติมสุขทุกครัวเรือน " และใส่ไว้ในแผนชุมชนฉบับบูรณาการเรียบร้อยแล้ว 1.3 มีกติกาชุมชนร่วมกันปฏิบัติ เป็นแผนปฏิรูปของชุมชนให้เป็นหมู่บ้านสีเขียว บรรจุไว้ในแผนชุมชนและเป็นชุมชนที่จัดการตนเองได้ มีกติกาชุมชนจัดการตนเองร่วมกันกำหนดไว้เป็นแผนชุมชน เป็นหลักสูตรจัดการตนเองแบบฉบับคนหัวลำภู จำนวน 10 ข้อ ได้แก่ 1) ใช้วิถีพอเพียง 2) ลดการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตอาหาร 3) ไม่บริโภคแกงถุง 4) ไม่ใช้เครืองปรุงรส 5) ไม่ใช้ถุงพลาสติกใส่อาหาร 6) ทำบัญชีครัวเรือน 7) ปลูกผักกินเองอย่างน้อย 5 ชนิด 8)การจัดการขยะอย่างถูกวิธี 9) ร่วมประชุม ตรวจสุขภาพ ทุกปี 10) ร่วมกิจกรรมหมู่บ้านรักษาศีล 5

  48. โครงการ : หนังตะลุงโขนสดลดสารเคมีบ้านปากเหมือง(ต่อยอด)

    เชิงปริมาณ 1.1 มีเกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำการเรียนรู้การทำนา อินทรีย์มาประยุกต์ใช้ในครัวเรือนและชุมชนได้ 6 กลุ่มบ้าน รวม 60 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 70 1.2 มีเกษตรกรที่หันมาทำเกษตรอินทรีย์ 6 กลุ่มบ้าน รวม 60 ครัวเรือน ร้อยละ 70 1.3 มีกลุ่มชุมชนสารมารถผลิตสารอินทรีย์ใช้แทนสารเคมีได้ 6 กลุ่มบ้าน รวม 60 ครัวเรือน ร้อยละ 70 เชิงคุณภาพ กลุ่มนาอินทรีย์มีการรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฟื้นฟูความรู้การทำนาอินทรีย์ลดสารเคมีแบบดั้งเดิมของบ้านปากเหมือง ให้ประชาชนได้เรียนรู้และปฏิบัติจนเกิดเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน เนื่องจากได้มีการประชุมชี้แจงจนชาวบ้านเข้าใจ และมีแกนนำไปชวนถึงบ้าน ไปติดตามการทำที่ถูกวิธี ร่วมกันทำงานเพื่อจัดการดินให้ดี ไม่เสื่อมโทรม ทำเกษตรอินทรีย์ได้เหมือนเดิม ได้ร่วมกลุ่ม 6 กลุ่มบ้านเพื่อทำงานอย่างต่อเนื่องแม้ว่าโครงการเสร็จสิ้น แต่ชาวบ้านยังรวมตัว ประชุม เรียนรู้ และจัดกลุ่มทำเหมือนเดิม ต่อยอดเป็นกลุ่มวัวอีก 1 กลุ่ม พัฒนาเพิ่มเติมจากกลุ่มนาอินทรีย์ จากคำตอบของผู้รับผิดชอบโครงการเล่าว่า “คนที่เข้าร่วมมีความเข้าใจ เมื่อก่อนไม่เคยรู้ ในโครงการได้เรียนรู้จากวิทยากร และบอกคนอื่นได้ต่อว่าต้องทำแบบไหน เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมเวทีก็ตอบได้ และแนะนำให้คนที่ไม่มาเข้าร่วมได้นำไปปฏิบัติได้”

  49. โครงการ : สวนผักคนเมืองชุมชนพรหมมานนท์ (ต่อเนื่อง)

    1. เกิดกลุ่มสวนผักคนเมือง 2. มีตัวอย่างบ้านเรียนรู้การใช้พื้นที่จำกัดชุมชนเมืองปลูกผัก (บ่านายประจวบ เมฆเรือง)

  50. โครงการ : บ้านปลาบ้านปูฟื้นฟูป่าชายเลนลดหนี้นอกระบบบ้านหน้าทับ

    1.1 มีปูเปี้ยวชายทะแลเพิ่มมากขึ้น จากเดิมเก็บได้วันละ 20 กิโลกรัมต่อวัน เพิ่มขึ้นเป็น 60 กิโลกรัม 1.2 ป่าชายเลนได้สร้างเป็นบ้านปลาบ้านปูร้อยละ 80 ของพื้นที่ 1.3 มีกติกาการทำประมงชายฝั่งในระดับหมู่บ้าน 1.4 มีการกำหนดขอบเขตเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ปู และพันธุ์ปลาของหมู่บ้าน

  51. โครงการ : เกษตรผสมผสานบ้านทะเลปัง

    1.คนว่างงานได้ทำงาน 2.ผู้สูงอายุได้ลดโรคเรื้อรัง 3.เกิดตลาดนัดเคลื่อนที่ 4. เพิ่มรายได้ลดรายจ่าย 5.ลดหนี้สินในครัวเรือน 6.สร้างความสามัคคีมีความเอื้ออาทรจากการทำกิจกรรม 7.จัดการตนเองได้ 8.สร้างชุมชนเข้มแข็งด้วยคนในชุมชนเอง

  52. โครงการ : รูปแบบการจัดการตลาดเทศวิวัฒน์ 1 เพื่อสุขภาวะของชุมชน (ต่อเนื่อง)

    เกิดคณะกรรมการชุมชน คณะกรรมการตลาด แกนนำเยาวชน กลุ่มออกกำลังกายไทเก็ก และเกิด อสม. ในชุมชน

  53. โครงการ : ชุมชนบูเกะสูดอร่วมใจจัดการขยะ สร้างสุขภาพ

    มีกลุ่มสภาผู้นำชุมชนอามันดามัย และสภากลุ่มธนาคารขยะเกิดขึ้นในชุมชน “สภาชุมชนอามันดามัย” เป็นสภาในการแก้ปัญหาการจัดการขยะและผลักดันกติกาการจัดการขยะในชุมชนมีสมาชิกทั้งหมดจำนวน 50 คน ประกอบด้วยผู้นำชุมชน/กรรมการหมู่บ้าน/อบต., ผู้นำศาสนา/กรรมการมัสยิด , ชรบ. , อสม. , กลุ่มสตรี/แม่บ้าน , เยาวชน และครูตาดีกา/ข้าราชการในพื้นที่ มาร่วมกันแก้ไขปัญหาขยะในชุมชน มีเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน โดยมี เครือข่ายการทำงาน 2 เครือข่าย ประกอบด้วย - แกนนำครัวเรือนต้นแบบมีครัวเรือนที่เป็นสมาชิกทั้งหมด 70 ครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ คิดเป็นร้อยละ 27.8 จากครัวเรือนทั้งหมด 252 หลังคาเรือน โดยมีบทบาทที่เป็นตัวอย่างครัวเรือนในชุมชนด้านการนำความรู้เรื่องการจัดการขยะมาประยุกต์ใช้ในครัวเรือนโดยมีการคัดแยกขยะก่อนนำไปทิ้ง การนำขยะที่มีอยู่ในครัวเรือนนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยนำไปผลิตเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อใช้ในครัวเรือน ซึ่งทำให้ครัวเรือนต้นแบบได้รับประโยชน์และลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ย เพราะสามารถผลิดได้เอง มีความปลอดภัยอีกทั้งยังเป็นต้นแบบแก่ครัวเรือนอื่นๆในชุมชน - กลุ่มธนาคารขยะมีบทบาททำหน้าที่ในการดูแลการรับซื้อขยะในชุมชน โดยมีสมาชิกธนาคารขยะทั้งหมด 35 คน ประกอบด้วย ตัวแทนจากครัวเรือนต้นแบบ ผู้นำชุมชน/กรรมการหมู่บ้านอสม. , กลุ่มสตรี/แม่บ้าน , เยาวชนจากโรงเรียนบูเกะสูดอครูตาดีกาสอนตาดีกาซึ่งมีบทบาทในการรณรงค์ให้ชาวบ้านมีการคัดแยกขยะในครัวเรือนของตนเอง และเชิญชวนนำมาขายให้กับธนาคารขยะ เพื่อให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น ขยะในหมู่บ้านลดลงทำให้ชุมชนน่าอยู่ สะอาด ปลอดภัยจากโรค

  54. โครงการ : ชุมชนพิกุลทอง สุขภาพดี ด้วยสมุนไพรไทย

    เกิดกลไกในชุมชน ในการสร้างเกราะภูมิคุ้มกันต่อยาแผนปัจจุบัน โดยหันมาบริโภคสมุนไพร เช่น การรับประทานคู่กับอาหาร การหมัก การรับประทานแบบแคปซูล การประคบ นำสมุนไพรมาเป็นส่วนประกอบในสบู่ พิมเสน น้ำมันไพล น้ำสมุนไพร ชาสมุนไพร อีกทั้งยังมีกลุ่มที่สนใจทำผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าของหมูบ้านอีกด้วย

  55. โครงการ : โครงการเยาวชนตัวอย่าง ร่วมสร้างชุมชนอุเปน่าอยู่

    1.1 เกิดกลุ่มเยาวชนที่มีคุณธรรม และเกิดความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง นอกจากนี้เยาวชนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเข้าค่ายมาใช้ในชีวิตประจำวัน ฝึกให้รู้จักการอยู่รวมกัน ฝึกความสามัคคีในหมู่คณะ ความอดทน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พี่ดูแลน้อง พี่สอนน้อง 1 กลุ่ม คือ กลุ่มPemuda โดยมีสมาชิกเป็นเยาวชในหมู่บ้านอุเปจำนวน 50 คน ซึ่งมีแกนนำเยาวชนที่เป็นแรงขับเคลื่อนในการแก้ปัญหาชุมชน จำนวน 5 คน 1.2 เกิดทีมฟุตบอล 1 ทีม ที่เกิดจากการต่อยอดจากเสริมทักษะด้านกีฬาฟุตบอลเพิ่มขึ้น ที่สามารถเป็นตัวแทนของชุมชนไปแข่งขันในระดับสูงขึ้นต่อไปได้ ทำให้เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ห่างไกลยาเสพติด

  56. โครงการ : มัสยิดกุนุงจนองสร้างสุข สู่สองวัยใส่ใจสุขภาพ

    - มีการจัดการพื้นที่เรียนรู้ในชุมชน ศูนย์ถ่ายทอดความรู้เชิงประสบการณ์และภูมิปัญญาประจำหมู่บ้าน 1 ศูนย์ และเกิดกองทุนผู้สูงอายุกุนุงจนอง

  57. โครงการ : เยาวชนธรมมะบ้านบางน้อยใส่ใจสุขภาพสูงวัย

    เกิดกลุ่มเยาวชนธรรมมะสร้างสุขภาพ และกลุ่มสูงอายุนำพาสู่ธรรมะร่วมทำสมาธิร่วมกัน ออกกำลังกาย และดูแลผู้สูงอายุ เกิดพื้นที่สร้างสุขภาพ และพื้นที่สร้างกิจกรรมสัมพันธ์ของคนในชุมชน ชุมชนได้สร้างรูปแบบการดูแลสุขภาพทั้งทางกาย และจิตใจโดยใช้กระบวนการทางวิถีพุทธ โดยใช้วัดเป็นพื้นที่สร้างสุขภาพ

  58. โครงการ : ปือมูดอบือราเป๊ะ พิทักษ์สิ่งแวดล้อม

    1.ชุมชนมีการตระหนักมากขึ้นในการจัดการ สิ่งแวดล้อม 2.ชุมชนมีการจัดการแบบพึ่งพาตนเอง 3.มีกระบวนการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไข ให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด

  59. โครงการ : เมล็ดพันธุ์สารวัน สานพลังสร้างสุข

    1. เกิดกลไกการใช้สภาผู้นำในการพิจารณากิจกรรมหรือกำกับทิศทางของการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม 2. ผู้นำหรือตัวแทนจากชมรมต่างๆที่มีอยู่ในชุมชนมีบทบาทการพัฒนาชุมชนมากขึ้นและสมาชิกให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆของชุมชนมากขึ้น

  60. โครงการ : ความดันโลหิตสูง เบาหวาน บ้านสูแกเราเปลี่ยนได้

    กลุ่มสภาสุขภาพชุมชน เกิดกลุ่มร้านค้าเข้าร่วมโครงการ ร่วมร่างข้อตกลงเกี่ยวกับร้านค้าสุขภาพเป้นร้านอาหารทางเลือกในชุมชน ส่งเสริมเมนูอาหารสุขภาพ 1 กลุ่ม ที่มีเมนูอาหารสุขภาพเป็นทางเลือก 1- 2 เมนูตามวิถีชุมชน ชุมชนสามารถออกกำลังกายด้วยผ้าขนหนูในชุมชนเอง

  61. โครงการ : เยาวชนต้นแบบบ้านลาเกาะ ม.2

    หลังจากที่ชุมชนบ้านลาเกาะ ได้รับการอุดหนุนงบประมาณจาก สจรส. ในการจัดกิจกรรมเยาวชนต้นแบบบ้านลาเกาะขึ้น พื้นที่ใหม่ที่ได้จากโครงการนี้ คือ เวทีการประุชุมประจำเดือนของสภาผู้นำชุมชนบ้านลาเกาะ ในทุกๆวันศุกร์ที่ ๒ ของเดือน โดยใช้สถานที่หลักๆ คือ ห้องประชุมของมัสยิดนูรุลญัณนะห์ บ้านลาเกาะ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะจัน และ ลานกิจกรรมหน้าที่ทำการกำนันตำบลเกาะจัน โดยให้มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในชุมชนบ้านลาเกาะ ทั้งจากภาคส่วนของหน่วยงานราชการ และศาสนกิจต่างๆ จากภาคส่วนของผู้นำศาสนา และชมรมครูตาดีกาในตำบลเกาะจัน โดยเวทีแห่งนี้ ได้เน้นย้ำให้เยาวชน ต้องเข้าร่วมกิจกรรม เข้าร่วมประชุมทุกๆครั้ง

  62. โครงการ : โครงการจัดทำแผนการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบ้านควนตุ้งกู

    1. เกิดการจัดวางโครงสร้างการทำงานของกลุ่มประมงพื้นบ้านบ้านควนตุ้งกู 2. เกิดระบบการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งโดยชุมชน 3. มีการพัฒนากลไกการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลร่วมกับชุมชนอื่นๆใกล้เคียง

  63. โครงการ : คนเขาแก้วใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่

    - ให้มีคณะทำงานร่วมกันระหว่างหมู่บ้านแลชุมชน เพื่อทำหน้าที่ประสานงานแก้ไขปัญหาลดผลกระทบมลภาวะจากโรงงาน

  64. โครงการ : กติกาชุมชนคนนาเกตุ

    เกิดกลไลการดูแลผู้ด้อยโอกาสร่วมกันเป็นเครือข่ายสุขภาพตำบลนาเกตุุ ในการพัฒนาชุมชน โดยใช้คณะกรรมการ สภาชุมชนเป็นแกนนำขับเคลื่อน กระบวนการจัดการสุขภาวะ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีของผู้นำทึ่กลุ่มในชุมชน ในการให้ความสำคัญและเข้าร่วมสนับสนุนกิจกรรมจาก ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ในการเข้าร่วมการจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาสุขภาวะของประชาชนบ้านนาเกตุ และบ้านหัวควน อย่างเป็นระบบและเป็นรูปแบบที่ชัดเจนขึ้นสร้างนำแผนสุขภาวะสู่การปฎิบัติได้อย่างเป็นระบบ

  65. โครงการ : ส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นไทยสร้างสายใยชุมชน ปี 2

    เกิดสภาผู้นำชุมชน ที่ประกอบด้วย ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องที่ กลุ่มต่างประกอบด้วย กลุ่มเยาวชน กลุ่มแม่บ้าน อสม. กลุ่มเยาวชนคนวัฒนธรรม (นาฎราชศรัทธา) ทั้งศิลปะกลองยาว มโนราห์

  66. โครงการ : ธนาคารต้นไม้เพื่อการอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านสาขาชุมชนวังกระบือ

    - ชุมชนแวกูบา ซึ่งเป็นชุมชนขนาดเล็กของหมู่ 7 วังกระบือ ได้มีการรวมตัวจากจำนวนครัวเรือน เพียง 37 ครัวเรือนพัฒนาชุมชนแวกูบาเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติเพื่อให้ผู้คนจากภายนอกมาเยี่ยมเยือนและซื้อต้นไม้จากการเพาะขยายต้นสมุนไพรโดนมีการตั้งเป็นคณะกรรมรูปแบบย่อยของชุมชนขึ้นมา เกิดเป็นบ้านน่าอยู่รั้วกินได้ 15 ครัวเรือน

  67. โครงการ : พลังชุมชน สร้างสัมพันธ์ สู่ฝันคนคลองช้าง ปี 2

    เกิดสภาผู้นำ บ้านคลองช้าง ที่ประกอบด้วย ผู้นำศาสนา ผู้นำท้อง กลุ่มต่างประกอบด้วย กลุ่มเยาวชน กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผู้ด้อยโอกาส กลุ่มผู้ได้รับกระทบ และเกิดโครงการการบริหารจัดการปัญหาสุขภาวะของคนในชุมชน

  68. โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนสุขภาวะและท้องถิ่นน่าอยู่บ้านต้นทุเรียน

    เกิดการประชุมของสถาผู้นำชุมชนในทุกๆคน มีทีมผู้ใหญ่และชรบ.ที่ดูแลความปลอดภัยของหมู่บ้านและเฝ้าระวังเรื่องต่างๆ

  69. โครงการ : โครงการเสริมสร้างการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบ้านน้ำราบ

    1. เกิดกลไกการบริการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งร่วม (co-management)ที่เป็นความร่วมมือของภาคส่วนที่หลากหลาย โดยให้ความสำคัญกับองค์กรชุมชนเป็นหลัก

  70. โครงการ : คนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย

    - ชุมชนชนเป็นผู้เรียนรู้ และจัดการสุขภาพของตนเอง - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้สนับสนุนเงินทุน - สาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยงและปรึกษาวิชาการ - ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน เข้าร่วมในกระบวนการพัฒนา - มีการจัดการความรู้สิ่งดีๆ และนวัตกรรมชุมชน - มีระบบเฝ้าระวังและติดตามประเมินผลที่ดี

  71. โครงการ : เพิ่มต้นทุนชีวิต พิชิตโรค สู่ชุมชนน่าอยู่ บ้านหัวสะพานเหล็ก

    มีการใช้ทรัยากรชุมชนด้านคน ผู้ทรงคูณวุฒิ ปราชญ์ผู้รู้ ในการศึกษาภูมิปัญญา วิถีชุมชนและมีการระดมทุนจากผู้นำทางการในการขอรับสนุนกิจกรรมนอกเหนือจากแผนการดำเนินงาน คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายมีการรวมกลุ่มในการจัดทำกิจกรรมการดูแลสุขภาพ โดยการรวมกลุ่มชมรมจักรยานของชุมชน ภูมิปัญญากับการส่งเสริมสุขภาพ ลดโรค

  72. โครงการ : พัฒนาชุมชนราษฏร์บำรุงแบบเศรษฐกิจพอเพียง

    เกิดระบบการจัดการด้านการตลาดจำหน่ายสินค้าจากการผลิต

  73. โครงการ : บ้านนาปริก สุขภาวะดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน ตามแนวทางวิถีพอเพียง

    1. มีการเชื่อมโยงการทำงานกับเครือข่ายภายนอก เช่น รพ.สต.ควนโดนอบต.ควนโดนพัฒนาชุมชนเกษตรตำบล 2. ชุมชนมีการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และนำมาทำแผนในการแก้ไขปัญหาโดยชุมชนเอง

  74. โครงการ : ผัก:สายสัมพันธ์สู่่ทับคริสต์วิถีชีวิตที่พอเพียง

    1. เกิดกลุ่มแกนนำชุมชนที่ขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนจำนวน 20 คน หญิงจำนวน 13 คน ชาย 7 คน โดยจัดการประชุมเดือนละครั้งในการติดตามวางแผนและดูแลกลุ่มเด็กยุวเกษตรกรในชุมชนที่เข้ามาเรียนรู้ที่ศูนย์ฯทุกวันเสาร์อย่างสม่ำเสมอ 2. เกิดกองทุนชุมชนของกลุ่มผลิตผักปลอดภัยได้มาตรฐานและกลุ่มยุวเกษตรกร โดยการหักเปอร์เซนต์จากการขายผลผลิตโดยแบ่ง 50 เปอร์เซนต์เป็นค่าตอบแทนสมาชิก 25 เปอร์เซนต์เป็นกองทุนออมทรัพย์กลุ่มอีก 25 เปอร์เซนต์เป็นกองทุนหมุนเวียน

  75. โครงการ : ขยะลอยน้ำบ้านเปี๊ยะหัวเนิน(ต่อยอด)

    เกิดสภาผู้นำชุมชน จำนวน20 ในการจัดการขยะและปัญหาอื่นๆของชุมชนและเป็นการนำในพัฒนาชุมชน ทุกด้านเช่นด้านสุขภาพด้านสิ่งแวดล้อมเศรษฐกิจ ให้สามารถพึงตนเองได้

  76. โครงการ : บ้านดอนมะปราง มีชีวิตปลอดภัยด้วยเกษตรอินทรีย์

    1.ใช้เวทีการมีส่วนร่วม จากเดิมไม่มีทุกคนต้องร่วมกิจกรรม จึงจะได้สิทธิ์ในหมู่บ้าน

  77. โครงการ : เอาพลาสติกคืนไปเอาพฤกษ์ไพรคืนบ้านดอนทะเล(ต่อยอด)

    1.เกิดกติกาชุมชน 6 ข้อ 2. เกิดรูปแบบการประชุม 2 เวที คือ 1. สภากาแฟบ้านนางปราณี เทพา 2. เกิดเวทีประชุมสภาผู้นำและภาคีชุมชน ดอนทะเล ต่อเนื่อง

  78. โครงการ : บ้านห้วยใหญ่ วิถีชุมชนพอเพียง

    เกิดโครงสร้างผู้นำเงา และคุ้มบ้านต้านยาเสพติดทำหน้าที่เปรียบเสมือนผู้นำหมู่บ้านมีหน้าที่สอดส่องดูแลให้การช่วยเหลือแก่สมาชิกในคุ้มของตนเอง

  79. โครงการ : ฟื้นชีวิตเล คืนวิถีชีวิตชุมชน บ้านหัวลำภู

    เกิดสภาผู้นำ จำนวน 15 คน ซึ่งมาจากตัวแทน แกนนำชุมชน เช่น ปราช์ญชาวบ้าน จำนวน 3 คน, กลุ่มอาชีพ จำนวน3 คน , เด็ก เยาวชนจำนวน 2 คน ,ตัวแทนครูโรงเรียนวัดป่าขาดจำนวน2 คน คณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน 3 คน , คณะกรรมการฟาร์มทะเล จำนวน 2 คน

  80. โครงการ : อยู่อย่างวิถีไทย ชาวควนสินชัยสุขภาพดี

    เกิดกลไกและโครงสร้างในชุมชน ดังนี้ 1. เกิดสภาผู้นำชุมชนด้านสุขภาพ 2. เกิดกลุ่มชมรมด้านสุขภาพจำนวน12ชมรม 3. จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุบ้านควนสินชัย 4. มีการจัดตั้งชมรม อย.น้อยในโรงเรียน 5. มีการจัดตั้งคณะกรรมการดูแลลานกีฬาและอุปกรณ์กีฬาของหมู่บ้าน

  81. โครงการ : เด็กและเยาวชนร่วมรักษ์ป่าชายเลนบ้านหาดทรายยาว หมู่ที่ 2 ตำบลตันหยงโป

    ชุมชนร่วมกันกำหนดพื้นที่ของชุมชน จำนวน ๑๐ ไร่ในการ ปลูกป่าชุมชน เพื่อไว้ใช้สอย ของชุมชน แต่ถ้าจะมีการนำมาใช้งาน จำนวน ๑ ต้นก็จะต้องมีการปลูกเพิ่ม จำนวน ๑๐ ต้น มีการสร้างศูนย์เรียนรู้ระบบนิเวศทรัพยากรป่าชายเลน

  82. โครงการ : สร้างคลอง สร้างฅน สร้างสุขภาวะชุมชนฅนหนองบัว

    เกิดกลไกสภาผู้นำชุมชน จะเป็นแรงขับเคลื่อนในการพัฒนาคลองสายต้นตะเคีบยต่อไป

  83. โครงการ : ร้อยดวงใจ สู่ชุมชนสุขภาวะ วิถีไทยชุมชนบ้านกลาง(ต่อยอด)

    ผู้นำ กรรมการ สตรี เยาวชน และชาวบ้าน จำนวน 30 คน ร่วมประชุมสภาผู้นำชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง รวมทั้งหมดตลอดทั้งโครงการ 12 ครั้ง สภาผู้นำได้ขับเคลื่อนโครงการ เกิดการทบทวนกิจกรรมที่ผ่าน และวางแผนกิจกรรมครั้งต่อๆ ไป โดยกิจกรรมที่ผ่านการขับเคลื่อน ได้แก่ 1.กิจกรรมสำรวจและสรุปพฤติกรรม 2.กิจกรรมจัดเวทีคืนข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด 3.กิจกรรมจดทุกครั้งที่จ่ายเพื่อให้ครัวเรือนรู้รายรับ รายจ่ายที่แท้จริงและสามารถตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป 4.กิจกรรมลดรายจ่ายโดยการสอนสาธิตการทำน้ำยาล้างจานจากมะกรูด และการทำสมุนไพรไล่ยุงจากวัสดุธรรมชาติเพื่อหลีกเลี่ยงจากการสัมผัสกับสารเคมี 5. กิจกรรมครัวเรือนมีการปลูกผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ อย่างต่อเนื่องเพื่อ เพิ่มรายได้ให้ครอบครัว ทำให้ทีมมีศักยภาพในการบริหารจัดการโครงการ

  84. โครงการ : บ้านโคกเคี่ยมสะอาดถูกหลัก คนที่รักปลอดโรค

    ประชาชนได้รับทราบเกี่ยวกับ แนวทางการจัดการขยะในชุมชน เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะในครัวเรือน

  85. โครงการ : ประกายฝันผู้สูงวัยบ้านควนโพธิ์

    - การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน - การสร้างระบบบริการสังคมที่มีประสิทธิภาพ - การสร้างกลไกภาครัฐที่มีเป้าหมายและความรู้ในการสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยื่น - การสร้างภูมิคุ้มกันทางปัญญา

  86. โครงการ : อนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยสมุนไพรพื้้นบ้าน : บ้านคลองทราย

    มีแกนนำชุมชนที่มาจากคณะกรรมการโครงการ จำนวน 5 คน เป็นแกนหลัก ร่วมกับแกนนำคนอื่นๆ ขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการโดยสร้างพื้นที่การเรียนรู้คนเข้ามาเรียนรู้การดูแลสุขภาพตนเองโดยใช้สมุนไพร

  87. โครงการ : ท่ามาลัยร่วมใจสานฝันครอบครัวอบอุ่น ตำบลปากน้ำ

    -เกิดผู้นำที่เข้มแข็งขึ้นเช่น ผุ้นำหมู่บ้าน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา -กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มอาชีพกลุ่มเยาวชนอสม.ครูศูนย์ตาดีกาเข็มแข็งมากขึ้น

  88. โครงการ : บ้านดอนขี้เหล็กอุ่นใจ ห่างไกลภัยในชุมชน

    มีกลุ่มแกนนำในหมู่บ้านที่ทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องทั้งเด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่

  89. โครงการ : รักษ์สุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม ที่บ้านเขากอย

    1. เกิดคณะทำงานสภาผู้นำ จำนวน 20 คนเป็นคณะทำงาน ในการช่วยกันวิเคราะห์ และร่วมกันช่วยหาวิธีการทำงานต่างๆให้ผลออกมาดตามเป้าหมาย มีการผสานงานกันทุกขั้นตอนภายในคณะทำงานมีการช่วยเหลือช่วยชี้แนะ เสนอแนะวิธีการทำงานกันภายในกลุ่ม เพื่อความสามัคคีและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน 2. คนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปลูกผักกินเอง และสนใจสรรพคุณของพืชผักสมุนไพรในครัวเรือน 3. คนในชุมชนได้ตระหนักและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปฏิบัติต่อแม่น้ำลำคลองและการอนุรักษ์พันธุ์ปลาในลำคลอง

  90. โครงการ : คนสามวัยใส่ใจสุขภาวะชุมชนบ้านทุ่งใหญ่

    - โครงการนี้ได้เกิดกลุ่มแกนนำอาสาดูแลผู้สูงวัยในชุมชน

  91. โครงการ : เกษตรพอเพียงตามวิถีมุสลิมบ้านคลองยาง

    - ออมทรัพย์บ้านคลองยาง - กู้ชีพ-กู้ภัย คลองยาง - ชมรมรักษ์คลองยาง

  92. โครงการ : ชีวินทรีย์เพื่อสุขภาวะชุมชนคนอ่าวลึกน้อย

    กลุ่มกันจัดตั้งสภาผู้นำชุมชนและผลิตอาหารสัตว์นำไปใช้ประโยชน์จำนวน 53 คน ได้แก่ แม่บ้านเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน และยางพารา ผู้เลี้ยงปศุสัตว์, แพะ,ไก่พื้นเมือง, เพาะเลี้ยงประมง อาชีพรับจ้าง และเยาวชนกลุ่มเสี่ยงยาเสพติด

  93. โครงการ : เกษตรกรบ้านบางไทรนนท์ร่วมใจลดภัยสารเคมี

    1. เกิดสภาผู้นำ ในชุมชน จำนวน 20 คนเป็นคณะทำงาน ในการช่วยกันวิเคราะห์ และร่วมกันช่วยหาแนวทางแก้ไขปัญหาของชุมชน 2. เกิดแกนนำชุมชน จำนวน 10 ราย ซึ่งมาเป็นคณะทำงานช่วยขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆของโครงการและยังชักชวนขยายผลต่อไปยังกลุ่มนอกเป้าหมาย 3. คนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปลูกผัก(กินเอง)โดยใช้น้ำหมักชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี และนำสมุนไพรมาสกัดสารกำจัดศัตรูพืชแทนการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 4. คนในชุมชนได้ตระหนักและมีการปรับเปลียนพฤติกรรมให้มีความปลอดภัยในการใช้สารเคมีโดยสวมอุปกรณ์ป้องกันทุกครั้งและนำขยะพิษใส่หลุมที่ทำไว้

  94. โครงการ : คลองโชนเข้มแข็ง ชุมชนดี สู่วิถีพอเพียง

    -เกิดโครงสร้างสภาผู้นำ แบ่งโซนการดูแลในละแวกบ้านที่เข้มแข็ง มีชุดรักษาความสงบเสมือนผู้นำหมู่บ้านมีหน้าที่สอดส่องดูแลให้การช่วยเหลือแก่สมาชิกในหมู่บ้าน -เกิดกลุ่มเพาะเห็ดฟางที่มีทุนจากสมาชิก 40 คน มีเงิน 50,500 บาท และเงินบริหารจัดการที่หักจากการขายร้อยละ 20 เป็นเงิน 15,000 บาท มีสมาชิกหมุนเวียนกันขายวันละ 3 คน

  95. โครงการ : ชุมชนตันหยงโป หมู่ที่ 1 ร่วมใจ อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรสัตว์น้ำ และทรัพยากรชายฝั่ง

    การพัฒนาการเฝ้าระวัง ของชุมชนโดยมีการออกลาดตะเวณตรวจตรา การเฝ้าระวัง ไม่ให้เรืออวนรุน อวนลาก คนนอกพื้นที่ เข้ามาวางยาเบื่อ ระเบิดปลาของกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลน และเฝ้าระวังทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่ง และกลุ่มเยาวชนรักษ์บ้านเกิด ทำให้ชุมชนได้รู้ว่า การที่คนในชุมชนร่วมมือกันเฝ้าระวัง ทำให้มีทรัพยากรสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น และสามารถลดรายจ่าย ทำให้ครอบครัวมีความสุขมากขึ้น และคนในชุมชนก็อยู่กันอย่างมีความสุข

  96. โครงการ : พัฒนาป่าชุมชนเพื่อแหล่งเรียนรู้และอนุรักษ์ทรัพยากรบ้านควนดิน(ต่อเนื่อง 2 )

    มีสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ มีสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น คนในชุมชนมีความรักและหวงแหนทรัพยากรป่าชายเลนในชุมชน ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนในชุมชน

  97. โครงการ : ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของชุมชนทรัพย์อนันต์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2

    เกิดกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษที่มีทุนจากสมาชิก 34 คน มีเงิน 12,030 บาท และเงินบริหารจัดการที่หักจากการขายร้อยละ 20 เป็นเงิน 15,430 บาท มีสมาชิกหมุนเวียนกันขายวันละ 2 คน

  98. โครงการ : ศูนย์เรียนรู้วิถีอิสลามยั่งยืนบ้านน้ำเค็ม (ชุมชนเรียนรู้ ชุมชนเข้มแข็ง)

    เกิดกลไก สภาชูรอและพัฒนาขยายผลเป็นสภาชูรอเครือญาติ รวมถึงเกิดโครงสร้างในการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชนขึ้นมาใหม่ รวมถึงเกิดระบบเครือข่ายการเกษตรยั่งยืน ตามแนวทางวิถีอิสลามในการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง โดยมีการพัฒนาจากโมดูลต่างๆของชุมชน

  99. โครงการ : สร้างสมบูรณ์สุขให้มีสุขภาพดีโดยการจัดการขยะ (ต่อเนื่อง2)

    เกิดกลุ่มที่จะร่วมพัฒนาต่อยอด

  100. โครงการ : เยาวชนบางกล้วยนอกนักจัดการทรัพยากรธรรมชาติบนฐานทรัพยากร 3 วงล้อ

    - เกิดสภาผู้นำเยาวชนคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ จำนวน 20 คน

  101. โครงการ : พันธมิตรพิชิตขยะ บ้านบางหละจัดการตนเอง

    มีกองทุนขยะและสิ่งแวดล้อม 1 กองทุน

  102. โครงการ : กลองยาวเกษตรอินทรีย์ บ้านสาคูเหนือ(ต่อยอด)

    เกิดสภาพชุมชนที่ถ่ายทอดมาจาก คณะกรรมการชุมชน ทำหน้าที่พัฒนาชุมชนหมู่ที่ 10 บ้านสาคูเหนือ

  103. โครงการ : ปลอดโรคปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียงบ้านมะม่วงขาว(ต่อยอด)

    เกิดสภาชุมชนบ้านมะม่วงขาว พัฒนามาจากคณะกรรมการหมู่บ้าน ทำงานในรูปแบบของสภา เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาของชุมชน จำนวน 1คณะ

  104. โครงการ : ตามรอยวิถีชีวิตมุสลิม นำมาสู่ความพอเพียง ชุมชนบ้านสนี ปี 3 : ชุมชนท้องถิ่่นจัดการตนเอง

    มีการรวมเอา สภาองค์กรชุมชน กรรมการหมู่บ้าน มาร่วมกันทำงานภายใต้วงสภาผู้นำชุมชน ทำให้เกิดวงปรึกษาหารือ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลกิจกรรมต่างๆในชุมชน

  105. โครงการ : พลังชุมชนร่วมรักษ์ป่าชายเลนบ้านบางค้างคาว

    - มีการจัดตั้งสภาแกนนำชุมชนโดยมาจากแกนนำจากกลุ่มต่างๆ จำนวน 30 คน - สภาแกนนำมีการประชุมร่วมกันทุกวันที่ 10 ของเดือน เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชน

  106. โครงการ : ร่วมมือร่วมใจสร้างระบบอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง

    - เดิมกลไกขับเคลื่อนชุมชนบ้านหนองเพ็ง คือ ทีมผู้ใหญ่ผู้ช่วย 4คน - ปัจจุบันการบริหารขับเคลื่อนชุมชนบ้านหนองเพ็ง ใช้กลไกสภาผู้นำ 23 คน ใช้แผนชุมชนจากการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นเครื่องมือ

  107. โครงการ : ทบทวนปลดหนี้คนหมู่ 4 บ้านหน้าเขา

    มีสภาผู้นำที่มาจากกลุ่มบ้าน กลุ่มอาชีพ ผู้ทรงคุณวุฒิร่วมกับคณะกรรมการมูบ้าน และมีการประชุมทุกเดือนเพื่อการจัดการชุมนและร่วมบริหารหารโครงการ

  108. โครงการ : ตู้เย็นข้างเรินบ้านชายควน

    มีการใช้สภาฯบริหารโครงการและบริหารชุมชนได้ตามที่กำหนดไว้

  109. โครงการ : ร่วมใจแก้ไขปัญหาขยะในชุมชุนบ้านตูล

    เริ่มเห็นการก่อตัวของสภาฯคาดว่าน่าจะใช้ในการบริหารจัดการชุมชนโดยรูปแบบนี้ได้

  110. โครงการ : คนท่ายูงปลูกป่าในนาสหาย

    - เกิดกลไกสภาผู้นำจำนวน 35 คน - เกิดชุดลาดตระเวนเฝ้าระวังป่าไม้ จำนวน 15 คน - เกิดแกนนำอาสาสมัครเด็กเยาวชนพิทักษ์ป่า จำนวน 15 คน

  111. โครงการ : ร่วมสร้างสุขให้ชุมชน ด้วยการฟื้นเลบ้านคูขุด

    เกิดการพัฒนาองค์กรชุมชนให้เป็นนิติบุคคล คือสมาคมประมงทะเลสาบ อ.สทิพระ เป็นที่ยอมรับจากหน่วยงาน และบุคคลภายนอกมีการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ สมาชิก โดยมีการประชุมพูดคุยเพื่อวางแผนการดำเนินงาน อย่างน้อยเดือนละครั้ง มีกลุ่มกองทุนหมุนเวียนได้ช่วยเหลือสมาชิกในชุมชน เช่น กองทุนเครื่องมือประมง กองทุนสวัสดิการมีกองทุน และแผนป้องกันรับมือภัยพิบัติ เป็นต้น

  112. โครงการ : ร่วมสร้างสุข ด้วยซั้งกอที่บ้านทะเลนอก

    เกิดระบบกลไกการทำกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำร่วมกัน เช่น เมื่อมีการทำซั้งกอ(บ้านปลา) ทุกๆคนต้องเข้ามาร่วมกันทำด้วยความเสียสละเพื่ออาชีพ รายได้ ของชาวประมงทุกคน มีกลไกการบริหารกลุ่มออมทรัพย์ และกองทุนข้าวสารบริการให้สมาชิกคนในชุมชน

  113. โครงการ : รู้จักจ่าย รู้จักออม ร่วมสร้างงานที่บ้านม่วงเตี้ย

    มีสภาผู้นำที่มาจากกลุ่มบ้าน กลุ่มอาชีพ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9คน ร่วมกับคณะกรรมการมูบ้าน15คน รวมเป็น 24คนและมีการประชุมทุกเดือนเพื่อการจัดการชุมนและร่วมบริหารหารโครงการ

  114. โครงการ : ชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากร สิ่งแวดล้อมดี ที่บ้านพังสาย หมู่ 7 ต.กะดังงา อ.สทิงพระ จ.สงขลา

    เกิดกลไกการบริหารจัดการกลุ่มองค์กรชุมชน เช่น สมาคมประมงพื้นบ้านชายฝั่งอ่าวไทย อ.สทิงพระ ต้องมีการระดมทุนโดยชุมชน และภายนอก เพื่อเป็นทุนในการช่วยเหลือแกนนำ คนทำงานเพื่อส่วนร่วมอย่างน้อย 5-10 คน , มีแกนนำเป็นต้นแบบในการรักษาสิ่งแวดล้อม การปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพ จำนวน 1 คน คือ นายวิรัตน์เอียดประดิษฐ์

  115. โครงการ : ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้คนสำนักกอ

    มีสภาผู้นำที่มาจากกลุ่มบ้าน กลุ่มอาชีพ ผู้ทรงคุณวุฒิร่วมกับคณะกรรมการมูบ้านจำนวน 27คน และมีการประชุมทุกเดือนเพื่อการจัดการชุมนและร่วมบริหารหารโครงการ

  116. โครงการ : ร่วมใจคืนสุขบ้านเกาะเหรียง

    - เกิดกลไกสภาผู้นำขับเคลื่อนงานทำให้หมู่บ้านน่าอยู่ ปฏิบัติการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

  117. โครงการ : เกษตรสีเขียวบ้านคลองลำหลิง

    เกิดสภาชุมชนกลไกขับเคลื่อนการทำงานของชุมชนมีกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม

  118. โครงการ : เกษตรอินทรีย์บนความพอเพียง บ้านสหกรณ์

    เกิดการใช้สภาในการบริหารจัดการโครงการ

  119. โครงการ : อยู่ดี กินดี มีสุข บ้านทุ่งโต๊ะหย๊ะ

    เกิดสภาหมู่บ้าน

  120. โครงการ : ฟื้นป่า รักษ์เคย ที่บ้านปากหวะ หมู่.10 ต.ลำปำ

    ในระหว่างการดำเนินงานโครงการทำให้เกิดเวทีการพูดคุยระหว่างแกนนำชุมชนและผู้นำทางการมากขึ้นโดยผ่านเวทีสภาผู้นำ ส่งผลให้เกิดแกนนำและเพิ่มกลไกการทำงานที่เข้มแข็งมากขึ้นในชุมชน ในขณะเดียวกัน ยังเกิดกลุ่มเยาวชนที่รวมตัวกันในการทำกิจกรรมดูแลสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านเช่นเก็บขยะ ปลูกป่าริมทะเล กลุ่มเยาวชเหล่านี้ได้มีการเชื่อมโยงกับเครือข่ายเยาวชนในจังหวัดพัทลง จนเกิดเป็นสถาเด็กเยาวชนพัทลุง

  121. โครงการ : สร้างหลาด(ตลาด)ในห้วยที่บ้านห้วยไม้ไผ่

    - มีกลไกสภาผู้นำ ที่มาจากตัวแทนครัวเรือน แกนนำ ผู้นำ ที่ครอบคลุมจากองค์กรที่มีอยู่ในชุมชน เข้ามาขับเคลื่อน บริหารจัดการชุมชนร่วมกัน - เกิดครัวเรือนนำร่องการผลิตอาหารปลอดภัย - มีชุดเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยในชุมชน โดยเน้นอาสาสมัครสาธารณสุขปประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นหลัก

  122. โครงการ : พัฒนาคน...ชุมชนพอเพียง ณ บ้านควนยวน

    เกิดสภาผู้นำชุมชน จำนวน 21 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้นำชุมชน 1.นายชัยเลิศ รัตนรังสี 2.นายธวัชชัย หนูดำ 3.นายสุชาติ สงรอด 4.น.ส.นิพาพร จันทร์มุสิก กลุ่ม อสม. 1.น.ส.อาภรณ์ นวลเต็ม 2.นางรัชนี ชูกาล 3.นางสุปรียา แสงสว่าง 4.น.ส.ดุษฎี คงจันทร์ 5.นางหทัยกาญจน์ วาสุเทพ กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน 1.นายสมพร คงสง 2.นางรัชฎ์สุรางค์ บุญเพ็ง 3.นางนุชนาฏ ชูโรจน์ 4.นางรุจิเรศ หนูดำ กลุ่มแม่บ้าน 1.นางสาธณี ขาวศรี 2.นางสุจินต์ แก้วทอง 3.น.ส.กัลยา รัตนรังษี 4.นางสมใจ สงรอด 5.นางวรรณา สงรอด 6.นางทัศนี เหตุทอง 7.นางพรรณารินทร์ คงสง 8.นางปิยะนุช พลายแสง

  123. โครงการ : บ้านวังทองน่าอยู่ด้วยวิถีพอเพียง

    มีการจัดตั้งธนาคารกองทุนหมู่บ้านที่มีการออมของสมาชิกตั้งต้นคนละ50บาทต่อเดือน ในระยะเริ่มแรกยังร่างระเบียบข้อบังคับและปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิอยู่

  124. โครงการ : เกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร

    1. มีการประชุมประจำเดือน 2. มีการประชุมประจำกลุ่ม 3. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในกลุ่มคนที่ทำงานด้วยกัน 4. มีการทำงานเป็นทีม 5. มีการทำงานกันของเยาชนและผู้ใหญ่ในหมู่บ้าน

  125. โครงการ : สานสายใยรักบ้านไม้ขาวร่วมจัดการโรคเรื้อรัง

    1.เกิดกลไกสภาผูนำจำนวน 30 คน 2.การเฝ้าระวังและควบคุมโรคเรื้อรังโดยกลุ่มอาสาสมัคร 3.มีแผนปฏิบัติการควบคุมและจัดการโรคเรื้อรัง 4.มีระบบองค์กร 5.มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ

  126. โครงการ : การจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน บ้านท่าฉัตรไชย

    -มีการจัดวางระบบการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน บ้านท่าฉัตรไชย โดยแบ่งบทบาทหน้าที่รับผิดชอบตามเส้นทางการท่องเที่ยว กลุ่มจำหน่ายสินค้าชุมชน กลุ่มไกด์ชุมชน กลุ่มเรือหางยาว กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

  127. โครงการ : ชุมชนเสาธงทองผักสวนครัวปลอดสารพิษขยะมีชีวิตร่วมคิดร่วมทำ

    สภาผู้นำ ขับเคลื่อนโครงการ ร่วมกับ กรรมการชุมชนและกรรมการโครงการ

  128. โครงการ : ฝายกั้นขยะคืนชีวิตชุมชนบางฉนาก

    ทีมสภาผู้นำชุมชน ขับเคลื่อน กรรมการโครงการ และภาคีเครือข่าย อสม. ปราชญ และสมาชิกชุมชนที่มีจิตอาสา กลุ่มเยาวชนจิตอาสา เทศบาลเมืองปากพนังด้านการสนับสนุน สถานที่ อุปกรณ์ เรือ เก็บขยะ

  129. โครงการ : สร้างสุขภาวะชุมชนคนเสม็ดเรียง

    - สภาผู้นำชุมชน ที่เกิดจากแกนนำชุมชน อสม. ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ ศูนย์ส่้งเสริมสุขภาพชุมชน เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี เกษตรอำเภอ ทำหน้าที่ในการปรึกษาหารือแนวทางการทำงาน แนวทางการจัดการแก้ไขปัญหาของชุมชนแบบมีส่วนร่วม

  130. โครงการ : โรงเรียนสร้างสุข สู้เศรษฐกิจ คืนวิถึชีวิตบ้านท้องลาน

    สมาชิกคนใดที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการแล้วนำไปปฏิบัติจริงทางคณะกรรมการลงติดตามประเมินผลแล้วมีการเปลี่ยนแปลงทางเราจะมีรางวัลให้เพื่อเป็นกำัลงใจให้แก่ผู้ที่ปฏิบัติจริง

  131. โครงการ : พัฒนาบ้านบางคูให้อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน

    สภาผู้นำขับเคลื่อนโครงการ โดยการราวมกลุ่มระหว่า กรรมการหมู่บ้าน และกรรมการโครงการ และสมาชิกครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ อบต.กศน รพ.สต. เป็นภาคีสนับสนุนด้าน วิชาการ วิทยากร

  132. โครงการ : บ้านดอนจิกพัฒนาเพื่อส่งเสริมอาชีพ

    1 เกิดกลุ่มปลูกพริกขึ้นมา เป็นการรวมกลุ่มขึ้นมาใหม่ จากการต่างคนต่างปลูก 2 จากการทำบัญชีครัวเรือน จากคนทำไม่เป็น พัฒนาได้ทำเป็น 3 ทำให้เกิดการออมขึ็นในเด็ก

  133. โครงการ : คืนธรรมชาติบ้านท่าใหญ่สู่ต้นแบบชุมชนเกษตรอินทรีย์

    กลุ่มอาสาอนุรักษ์พันธ์ุปลา พันธ์ุไม้พื้นบ้าน

  134. โครงการ : กระจาดเดือนสิบรวมใจเฉลิมพระชนม์ 60พรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาที่ บ้านทุ่งจูด

    ให้ชุมชนร่วมกันกำหนด ขั้นตอน ข้อตกลง ในการจัดประเพณี "กระจาด" เพื่อถวายแก่สมเด็จพระเทพฯ และให้มีการสืบสานขั้นตอนที่ร่วมกำหนดในปีต่อๆไป เปิดเวที ให้ชุมชนรับทราบข้อมูลจาการสำรวจความสุขของครัวเรือนเกษตรกร ข้อมูลผู้มีภูมิรู้แต่ละด้าน ข้อมูลผู้ที่ต้องการอนุรักษ์การทำกระจาดดั้งเดิม การทำกระจาดประยุกต์ ข้อมูลแจ้งความประสงค์ที่จะเข้าร่วมกิจกรรม ให้ชุมชนร่วมกันกำหนดขั้นตอน วิธีดำเนินการ ทำพิธีสมโภชกระจาด

  135. โครงการ : ผักสวนครัวปลอดสารเคมี วิถีบ้านท่าช้าง

    1.มีการแบ่งโซนกลุ่มเป็น4โซน โดยมีคณะกรรมการโซนเพื่อการติดตามและขับเคลื่อนกิจกรรม 2.มีการติดตามและประเมินกิจกรรมเป็นระยะโดยคณะกรรมการโครงการ

  136. โครงการ : ตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา

    - ใช้การสำรวจพืชพื้นบ้านที่มีสรรพคุณเป็นยา ตำรับอาหารเป็นยา เพื่อสร้างความสนใจให้ชุมชน - เรียนรู้มิติการดูแลสุขภาพด้วยพืชพื้นบ้าน ปลอดสารเคมี เพื่ออาหาร ตำรับอาหาร และขนม ฟื้นฟูบัญชีครัวเรือน - พัฒนาให้เกิดแปลงสาธิตพืชพื้นบ้านทำอาหาร และขนมปลอดสารเคมีในร่องสวน 4 แปลง - พัฒนาให้เกิดสภาผู้นำ เข้ามาขับเคลื่อนกิจกรรม งาน และช่วยแก้ปัญหาอุปสรรคอื่นๆของหมู่บ้าน

  137. โครงการ : แก้มลิงบ้านทรายเพชรลดภัยพิบัติน้ำท่วม

    -มีการประชุมชักชวนคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและรับมือกับน้ำท่วม -มีแผนสำรองงบประมาณเพื่อช่วยเหลือน้ำท่วม -มีศูนย์การจัดการภัยพิบัติคอยช่วยเหลือเมื่อเกิดน้ำท่วม -มีผู้นำแกนนำ/อาสาภัยพิบัติร่วมกันเรียนรู้การจัดกิจกรรมในโครงการและนโยบายอื่นๆของหน่วยงานของราชกการต่างๆและพูดคุยวิเคราะห์เพื่อให้เกิดแนวทางช่วยเหลือแก้ปัญหาในชุมชน

  138. โครงการ : ตลาดร่วมใจปากท่าซอง

    มีตลาดของชุมชน ที่บริหารโดยคณะกรรมการหมู่บ้าน มีแหล่งวัตถุดิบในหมู่บ้านเอง ดีต่อสุขภาะผู้บริโภคไม่ใช้สารเคมี และกำหนดให้พ่อค้าต่างหมู่บ้านมารับซื้อผลผลิตที่นี่เท่านั้น

  139. โครงการ : บ้านไทรทองชีวิตปลอดสารพิษวิถีเศรษฐกิจพอเพียง

    ในการจัดประชุมคณะกรรมการแต่ละเดือน จะเน้นเข้าร่วมประชุมพร้อมกับการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน เพื่อจะได้แจ้งแนวทางดำเนินกิจกรรมของโครงการฯ ให้ชาวบ้านได้ทราบอย่างต่อเนื่อง

  140. โครงการ : เศรษฐกิจพอเพียงที่บ้านทุ่งหล่อ

    - คนในชุมชนร่วมกันคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา ที่เกิดขึ้นภายในชุมชน จากการร่วมกันทำกิจกรรมและวางแผนการดำเนินกิจกรรม - หัวหน้าโครงการ คณะกรรมการ และแกนนำเข้าร่วมประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านทุกเดือน พร้อมชี้แจงกิจกรรมโครงการที่จะทำอย่างต่อเนื่อง (เช่น กิจกรรมทำปุ๋ยหมัก น้ำหมัก ปลูกผักริมรั้ว แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกวดผักสวนครัวปลอดสารพิษ) ให้ประชาชนในหมู่บ้านได้รับทราบ

  141. โครงการ : ชุมชนสามร้อยกล้า ใส่ใจสุขภาพ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปี2

    เกิดฐานการเรียนรู้เรื่องเห็ดแครงเพิ่มขึ้น 1 ฐาน ในชุมชน ใช้เป็นสถานที่เรียนรู้การประกอบอาชีพให้คนในและนอกชุมชน

  142. โครงการ : ร้านค้าคุณธรรมนำวิถีเดิมลดสารเคมีบ้านปากลง

    ใช้กลไกร้านค้าคุณธรรมนำการเปลี่ยนแปลง ลดการใช้สารเคมี

  143. โครงการ : นำศาสตร์พระราชา สร้างสุขสู่บ้านบางไทร

    1.ผู้นำชุมชนมีความสนใจและมอบหมายหน้าที่ในการรับผิดชอบการทำงานของโครงการ 2.ชาวบ้านมีการนัดหมายในกลุ่มของการลงแขก 3.กลุ่มชาวบ้านและเด็กรวมกลุ่มกันทำงานแบบวิถีชิวิตแบบดั้งเดิม

  144. โครงการ : กล้วยไข่บานลดสารเคมีบ้านพิตำ

    เป็นองค์กรเพื่อศึกษาเรียนรู้เช่นการสะกัดสมุนไพรไล่แมลงเพื่อใช่แทนสารเคมี เพื่อศึกษาเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักใช่แทนปุ๋ยเคมี

  145. โครงการ : ควนสูงน่าอยู่ ครอบครัวสดใส ห่างไกลอบายมุข

    - สภาผู้นำชุมชน

  146. โครงการ : ร่วมสร้างผลไม้อินทรีย์จากสวนสมรมบ้านห้วยพาน

    ใด้เกิดกลุ่มผลไม้ปลอดสารเคมี กลุ่มปุ๋ยหมัก

  147. โครงการ : ร่วมอนุรักษ์ปากน้ำกะแดะให้ชุมชนน่าอยู่

    - เกิดกลุ่มนักสืบสายน้ำ จำนวน 30 คน

  148. โครงการ : ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียงบ้านคลองเล

    โครงสร้างถูกปรับเปลี่ยนเมือเกิดการถ่ายทอดความรู้ เช่นถ่ายทอดให้แก่คนที่เป็นสมาชิกในชุมชนที่ขยายเพิ่มมากขึ้น จาก 10 คน เป็น 20 คน

  149. โครงการ : สวนป่า สร้างสุขคนโกงเหลง

    - สภาผู้นำชุมชน ที่มีการประชุมทุกเดือนเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ ออกแบบการทำงานอย่างมีส่วนร่วม

  150. โครงการ : สมุนไพรสร้างสุขบ้านถ้ำผุด

    - เกิดกลุ่มสภาผู้นำ - เกิดกลุ่มสมุนไพร

  151. โครงการ : บ้านโคกใหญ่ร่วมใจส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ปลดหนี้ครอบครัว

    1.เกิดการประชุมกันขึ้นทุกๆเดือน 2.เกิดกลไกความรู้ความคิดที่สามารถให้ชาวบ้านสามารถนำไปพัฒาและปลูกพืชที่ปลอดสารเคมีได้ 3. เกิดกระบวนการประสิทธิภาพในการลดการใช้สารเคมีและสามารถที่จะหันมาใช้น้ำหมักชีวภาพกันมากขึ้น

  152. โครงการ : กินผักที่ปลูกและฮิญาบราคาถูกที่บ้านหลาแขก

    1เกิดกลไกสภาผู้นำติดตามและขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการ 1 สภา 2.เกิดกลุ่มแกนนำการทำบัญชีครัวเรือน จำนวน9 คน3 .เกิดกลุ่มแกนนำการทำผ้าฮิญาบด้วยมือ จำนวน3 คน 2.เกิดกลุ่มแกนนำการทำปุ๋ยหมักจากเศษขี้เลื่อยจำนวน2 คน

  153. โครงการ : ลดขยะ สร้างสุขภาวะคนบ้านกลาง

    - มีการจัดตั้งสภาผู้นำชุมชน 30 คน

  154. โครงการ : บ้านบางคุระพอเพียงหลีกเลี่ยงสารเคมี

    เกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน จำนวน1 แห่ง วัดบางคุระเป็นสถานที่จัดกิจกรรมของชุมชน และกำหนดเป็นที่เขตปลอดบุหรี่ของชุมชน

  155. โครงการ : ผัก สมุนไพรเชื่อมใยรักคนเขาปูน

    - เกิดสภาผู้นำชุมชนที่ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน จำนวน 25 คน โดยจะมีการประชุมทุกวันที่ 8 ของทุกเดือน เพื่อพุดคุยเรื่องราวที่ได้จากการประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อำเภอเวียงสระ และการปรึกษาหารือ วางแผน ออกแบบการดำเนินงานโครงการ ผัก สมุนไพร เชื่อมใยรักคนเขาปูนด้วย

  156. โครงการ : บ้านปากหานสร้างสุขด้วยสมุนไพร

    - มีสภาผู้นำ แต่บทบาทหลักยังเป็นของผู้ใหญ่บ้าน

  157. โครงการ : กินดีมีสุข ณ บ้านเกาะรุ้ง

    เกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน จำนวน1 แห่ง

  158. โครงการ : มัคคุเทศน้อยแห่งเขาขุนพนม

    เกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน จำนวน2 แห่ง 1. พระตำหนักเมืองนคร 2. ถ้ำเขาขุนพนม

  159. โครงการ : ปรับพื้นที่ว่างปลดหนี้บ้านท่าม่วง

    -มีคณะกรรมหลักและผู้รับผิดชอบโครงการ 7 คน -สร้างแกนนำในชุมชม 15 คน -แบ่งโซนพื้นที่รับผิดชอบ 4 โซน 4 กลุ่ม -ประชุมคณะทำงานทุกเดือน -กำหนดแผนการดำเนินงานลำดับดำเนินการ -ดำเนินงานตามวัตุประสงค์

  160. โครงการ : วัฒนธรรมนำสุขคนกงตาก

    - เกิดสภาผู้นำชุมชน จำนวน 25 คนที่จะใช้เวทีประชุมหมู่บ้านพูดคุยเรื่องราวของโครงการ และเรื่องอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน - เกิดมโนราห์เยาวชน อายุตั้งแต่ 5 ขวบ - 15 ปี จำนวนกว่า 20 คน และมีคณะมโนราห์ผ่องศรีอำนวยที่มีสมาชิกทั้งมโนราห์เยาวชน นักดนตรี ผู้สูงอายุ กว่า 50 ชีวิต ที่จะมาซ้อมกันทุกวันเสาร์ อาทิตย์

  161. โครงการ : บ้านไสโคกเกาะ ร่วมใจลดภัยสารเคมีในชุมชน

    เกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน 1. ศาลาหมู่บ้านเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ ของชุมชน จำนวน1 แห่ง 2. งานประเพณีในชุมชนปลอดเหล้า วันมาฆบูชา จำนวน 1 งาน

  162. โครงการ : เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีพได้บ้านทุ่งกระจูด

    เกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน สถานที่จัดกิจกรรมของชุมชนจัดเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ จำนวน 1 แห่ง

  163. โครงการ : บ้านไสใหญ่รายได้ดีชีวีมีสุข

    เกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน จำนวน1 แห่ง คือศาลาหมู่บ้านเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ในชุมชน

  164. โครงการ : บ้านห้วยทรายขาว ชีวิตดี มีเศรษฐกิจพอเพียง

    เกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน จำนวน1 แห่งศาลาหมู่บ้านจัดเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่

  165. โครงการ : ดาวเรืองสร้างสุขคนปากตรัง

    - เกิดกลไกสภาผู้นำชุมชน ที่ทำงานร่วมกับกลุ่มดาวเรืองสร้างสุข ทำหน้าที่ในการดูแลพี่น้องผู้ปลูกดาวเรือง การบริหารจัดการ การดูแลรักษา การตลาด ทำให้ผู้ปลูกดาวเรือง มีอาชีพ มีรายได้เสริม

  166. โครงการ : บ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ ด้วยวิถีพอเพียง

    1. เกิดกลไกโครงสร้างชุมชนบ้านท่าแห้ง เกิดสภาชุมชนบ้านท่าแห้ง ขับเคลื่อนการดำเนินงานกิจกรรมโครงการและกิจกรรมของชุนอย่างต่อเนื่องการเกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน องค์กร ชุมชน ในพื้นที่ จำนวน1แห่ง 2. สภาชุมชนบ้านท่าแห้งเกิดขึ้นเกิดจาก กลุ่มเป้าหมายคณะกรรมการหมู่บ้านเดิมที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำ มาเป็นคณะกรรมการสภาชุมชน จำนวน 25คน และเกิดการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่ 3. เกิดแกนนำที่มีบทบาทประสบความสำเร็จคือ โครงการสร้างแกนนำในการออกกำลังกาย มีคณะกรรมการจำนวน 20 คน ประกอบด้วยแกนนำที่มาจาก คณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 3 คน แกนนำออกำลังกานยมาจาก อสม. จำนวน 12คน และนอกนั้นเป็นแกนนำที่มาจากตัวแทนครัวเรือน และข้าราชการในพื้นที่

  167. โครงการ : คนปากเปียดสุขภาพดีด้วยวิถีพอเพียง

    กลไกโครงสร้างชุมชนบ้านปากเปียด หมู่ที่ 5 ตำบลนาแว อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราชจากการดำเนินงานรอบแรกเกิดสภาชุมบ้านปากเปียดขึ้น ขับเคลื่อนการดำเนินงานกิจกรรมโครงการและกิจกรรมของชุนอย่างต่อเนื่องการเกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน องค์กร ชุมชน ในพื้นที่ จำนวน1แห่ง คือสภาชุมชนบ้านปากเปียดโดยสภาพแวดล้อมของสภาชุมชนที่เกิดขึ้นเกิดจาก กลุ่มเป้าหมายคณะกรรมการหมู่บ้านเดิมที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำ คณะกรรมการสภาชุมชน จำนวน 25คน และเกิดการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่และแกนนำมีบทบาทในโครงการที่มีบทบาทประสบความสำเร็จคือ การส่งเสริมให้ครัวเรือนหันมากินผักปลอดสารพิษ เกิดกลุ่มเกษตรอินทรีย์มีสมาชิกจำนวน 30คน ประกอบด้วยแกนนำที่มาจาก คณะกรรมการหมู่บ้านทั้งหมด

  168. โครงการ : สุขสวรรค์ ที่ บ้านควนสวรรค์

    เกิดสภาชุมชนบ้านควนสวรรค์ จำนวน 1คณะ มีสมาชิกสภา จำนวน 25คน มีระเบียบวาระและแผนการประชุมอย่างต่อเนื่องทุกเดือน

  169. โครงการ : อาชีพเสริมเพิ่มรายได้บ้านควนยูง

    1. เกิดกลไกโครงสร้างชุมชนบ้านควนยูงเกิดสภาชุมชนบ้านควนยูง ขับเคลื่อนการดำเนินงานกิจกรรมโครงการและกิจกรรมของชุนอย่างต่อเนื่องการเกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน องค์กร ชุมชน ในพื้นที่ จำนวน1แห่ง 2. สภาชุมชนบ้านควนยูงเกิดขึ้นเกิดจาก กลุ่มเป้าหมายคณะกรรมการหมู่บ้านเดิมที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำ มาเป็นคณะกรรมการสภาชุมชน จำนวน 25คน และเกิดการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่ 3. เกิดแกนนำที่มีบทบาทประสบความสำเร็จคือ โครงการสร้างแกนนำในการออกกำลังกาย มีคณะกรรมการจำนวน 20 คน ประกอบด้วยแกนนำที่มาจาก คณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 10 คน แกนนำออกำลังกานยมาจาก อสม. จำนวน 8คน และนอกนั้นเป็นแกนนำที่มาจากตัวแทนครัวเรือน และข้าราชการในพื้นที่

  170. โครงการ : สมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ ที่บ้านไร่เหนือ

    1.การทำงานมีภาคีร่วมทำงานตั้งแต่ผู้นำ อสม เยาวชน และประชาชน 2.มีหน่วยงานราชการมาเป็นภาคี ได้แก่ รพสต.ไร่เหนือ อบต.เขาขาว และมีกองทุนสวัสดิการชุมชน กลุ่มออมทรัพย์

  171. โครงการ : บ้านสหกรณ์ เรียนรู้วิธีลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง

    เกิดการชักชวนยุยงส่งเสริมแกนนำในการปลูกพืชผสมผสานแบบปลอดภัยสู่ชุมชนจากเมื่อก่อนปลูกพืชเชิงเดียวและใช้สารเคมีในการปลูกพืชเพื่อการบริโภคและสู่ตลาดในชุมชน

  172. โครงการ : ผังฟาร์มลดรายจ่ายที่บ้านทรายขาว

    1.การเรียนรู้จะทำกันเป็นกลุ่มสมาชิก ในกล่มสมาชิกจะมีทั้งเยาวชน ประชาชน แกนนำชุมชน โดยเรียนรู้ร่วมกัน แล้วทำอย่างต่อเนื่อง เช่น การทำน้ำยาอเนกประสงค์ ปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ การทำบัญชีครัวเรือน โดยใช้ทุนในชุมชน และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรุ้ เริ่มแรกให้มีการทำฐานเรียนรู้ที่บ้านแกนนำ 2.มีหน่วยวงานราชการ เข้ามาร่วมเป็นพี่เลี้ยง ได้แก่ รพสต.เขาขาวสหกรณ์เขาขาวสหกรณ์นิคม สหกรณ์ที่ดิน พัฒนาการอำเภอ มหาวิทยาลัยราชมงคงศรีวิชัย

  173. โครงการ : คนเอาถ่านบ้านวัดโหนด

    เกิดกลไกของชุมชน โดยมีสภาผู้นำ มีมัสยิดเป็นศูนย์กลาง สิ่งที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ คือมูลใส้เดือนผักเพาะจากเมล็ดทานตะวัน

  174. โครงการ : ยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้

    มีหัวหน้าส่วนราชการในระดับอำเภอ เข้ามาเป็นเครือข่ายการทำงาน มากระตุ้นเสริมให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญ เห็นคุณค่าของการใช้ยาเหลือง ประชาชนเกิดความมั่นใจและมีความพร้อมที่จะพัฒนาไปด้วยกัน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงและเพิ่มปัจจัยที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ

  175. โครงการ : บ้านห้วยแหยง สืบสานภูมิปัญญา

    1.การทำกิจกรรมในชุมชน เป็นการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างวัย ส่งเสริมให้คนในชุมชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์เพิ่มขึ้น 2.ทุกคนต้องปฏิบัติตามกติกาและข้อตกลงลงร่วมกันของกลุ่ม 3.มีการจัดเวรยามและออกลาดตระเวณในหมู่บ้านและดูแลความสงบในชุมชนโดยมีการแต่งตั้งชุดชรบ.อปพร.อสตร จากชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและมีการประชาสัมพันธ์เมื่อมีการเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือเหตุดวนเหตุร้าย ให้กับชุมชน

  176. โครงการ : บ้านห้วยแหยง สืบสานภูมิปัญญา

    เกิดอย่างไร รูปแบบไหน หรือเป็นอย่างไร

  177. โครงการ : ข้าวยาโค ข้าวอาซูรอ สองศาสนาสานสัมพันธ์ที่บ้านยวนแหล

    จากการพูดคุยในที่ประชุมทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในชุมชนจนเกิดกลุ่มการทำงานต่างๆ ในชุมชน ทำให้ชุมชนมีความแข็มแข็งขึ้นมีอำนาจเรียกร้องจากหน่วยงานราชการมากขึ้นเช่น เมื่อในชุมชนมีความเห็นว่าต้องการไฟทางในหมู่บ้านเนื่องจากไม่มีแสงสว่างในกลางคืนทำให้เกิดอันตรายบ่อยครั้งจึงทำการรวบรวมรายชื่อคนในชุมชนเพื่อยื่นคำร้องให้กับทางเทศบาลตำบล จำส่งผลให้เกิดการทำไฟทางขึ้นมา

  178. โครงการ : เกษตรอินทรีย์บ้านปลักจอกเสริมรายได้

    มีสภาผู้นำ20คนจัดให้มีการประชุมทุกเดือน และเข้าร่วมประชุมประชาคมหมู่บ้านโดยประธานนำเสนอผลงานความเคลื่อนไหวและข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมเกษตรอินทรีย์ทั้งการผลิตและการตลาดจัดให้สมาชิกสภาผู้นำประจำคุ้มบ้านโดบแบ่งเป็น3คุ้ม ดูแลให้คำปรึกษารับทราบปัญหานำปัญหาสู่ที่ประชุมสภาผู้นำและนำเสนอต่อที่ประชุมประชาคมหมู่บ้าน

  179. โครงการ : เกษตรอินทรีย์สร้างรายได้บ้านในหัน

    มีสภาผู้นำจำนวน 18 คน ในการขับเคลื่อนการทำงานของโครงการและจัดการจัดกิจกรรมอื่นๆ ของชุมชน มีโครงสร้างชุมชนในการจัดการตามโครงการและแบ่งโซนบ้านเป็น 3โซน มีโซนบ้านเหนือ โซนบ้านกลาง และโซนบ้านใต้ เพื่อให้สะดวกต่อการบริการจัดการ

  180. โครงการ : ชุมชนปลอดสารพิษตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในโคร๊ะ

    ได้มีกลุ่มแกนนำในชุมชน เช่น กลุ่ม อสม. กลุ่มเยาวชนกลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อร่วมกันแบ่งหน้าที่ในการทำงานตามหน้าที่เช่น การหาคนเข้าร่วมโครงการ อสม.เป็นแกนนำหาคนมาเพื่อตรวจสุขภาพ หาสารเคมีตกค้าง กลุ่มเยาวชนเป็นตัวแทนฝึกสอนทำบัญชีครัวเรือนให้คนในชุมชนกลุ่มผู้สูงอายุ หันมาดูแลสุขภาพโดยการปั่นจักรยานในการออกกำลังกาย

  181. โครงการ : ผักปัญญาอ่อนสร้างสุขบ้านแขก

    มีสภาผู้นำเกิดขึ้น20คนช่วยกันขับเคลื่อนกิจกรรมในหมู่บ้าน เกิดการประชุมร่วมกันทุกเดือนเพื่อรับฟังปัญหาและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อนำไปปรับปรุง มีการแบ่งกลุ่มตามคุ้มบ้านเกิดขึ้น5คุ้มบ้านเพื่อการแบ่งงานติดตามประเมินผลตามโครงการ มีป้ายประชาสัมพันธ์ตารางปฏิทินของโครงการเพื่อให้ทุกคนได้รับรู้ตารางการดำเนินกิจกรรมของโครงการโดยได้ติดตั้งไว้ที่ศาลาเฉลิมพระเกียรติของหมู่บ้าน

  182. โครงการ : สองข้างทางสร้างรายได้ บ้านตีนคลอง

    1. ประชุมคณะกรรมการโครงการ และกลุ่มสมาชิกครัวเรือน สร้างกฏ กติกาชุมชนในการลด ละ เลิกการใช้สารเคมีในชุมชน 2. ทำป้ายรณรงค์ จำนวน 5 ป้าย ติดตามกลุ่มบ้าน ทุกกลุ่มบ้าน 3. มีแกนนำของทุกกลุ่มบ้านเพื่อขับเคลื่อนและติดตามงานในชุมชน

  183. โครงการ : บ้านโปนปลอดสารพิษด้วยวิถีชีวิตพอเพียง

    1.จัดป้ายรณรงค์ 6ป้าย ติดรณรงค์ ใน 6กลุ่มบ้าน 2.มีแกนนำแต่ละกลุ่มบ้านๆ 1 คน เพื่อติดตามและขับเคลื่อนกิจกรรม 3.มีการประเมินทุก 2 เดือน

  184. โครงการ : ชุมชนบ้านชะเอียนยิ้มได้ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง

    กลไกโครงสร้างชุมชนบ้านชะเอียน เกิดสภาชุนบ้านชะเอียน ขับเคลื่อนการดำเนินงานกิจกรรมโครงการและกิจกรรมของชุนอย่างต่อเนื่องการเกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน องค์กร ชุมชน ในพื้นที่ จำนวน1แห่ง คือสภาชุมชนบ้านชะเอียนโดยสภาพแวดล้อมของสภาชุมชนที่เกิดขึ้นเกิดจาก กลุ่มเป้าหมายคณะกรรมการหมู่บ้านเดิมที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำ คณะกรรมการสภาชุมชน จำนวน 25คน และเกิดการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่และแกนนำมีบทบาทในโครงการที่มีบทบาทประสบความสำเร็จคือ โครงการสร้างแกนนำในการออกกำลังกาย และ รักษ์สุขภาพ จำนวน 35 คน ประกอบด้วยแกนนำที่มาจาก คณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 15คน แกนนำออกำลังกายมาจาก อสม. จำนวน 12คน และนอกนั้นเป็นแกนนำที่มาจากตัวแทนครัวเรือน และข้าราชการในพื้นที่

  185. โครงการ : สายน้ำสร้างสุขณ บ้านทุ่งโชน

    กลไกโครงสร้างชุมชนบ้านทุ่งโชน เกิดสภาชุมชนบ้านทุ่งโชนเป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานกิจกรรมโครงการและกิจกรรมของชุนอย่างต่อเนื่องการเกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน องค์กร ชุมชน ในพื้นที่ จำนวน1แห่ง คือสภาชุมชนบ้านทุ่งโชนโดยสภาพแวดล้อมของสภาชุมชนที่เกิดขึ้นเกิดจาก กลุ่มเป้าหมายคณะกรรมการหมู่บ้านเดิมที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำ คณะกรรมการสภาชุมชน จำนวน 25คน และเกิดการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่และแกนนำมีบทบาทในกิจกรรมที่มีบทบาทประสบความสำเร็จคือ กิจกรรมการสืบชะตาสายน้ำบ้านทุ่งโชนและการสร้างฝายมีชีวิต จำนวน 20 คน ประกอบด้วยแกนนำที่มาจาก คณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 10คน แกนนำออกำลังกานยมาจาก อสม. จำนวน 10คน

  186. โครงการ : เกษตรอินทรีย์เพิ่มรายได้ส่งเสริมสุขภาพบ้านคลองตูก

    1. มีการประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการบริหารชุมชนจำนวน 6 ครั้ง 2. จัดตั้งสภาชุมชนบ้านคลองตูกมีสมาชิก จำนวน 25คน 3. มีการร่วมมือกันออกแบบสร้างเครื่องมือในการสำรวจหนี้สินและวิธีการทำการเกษตรภาคครัวเรือน สำรวจข้อมูลหนี้ครัวเรือน จำนวน 100 ครัว ในด้านการทำเกษตร ในหมู่ที่ 1 บ้านคลองตูกวิเคราะห์ข้อมูลคืนข้อมูลให้ชุมชน 4. สรุปรวบรวมข้อมูลจัดประชุมชี้แจง การคืนข้อมูลการการทำการเกษตรหนี้สิน และข้อมูลสุขภาพ จัดตั้งกลุ่มเรียนรู้เพื่อการเกษตรแบบอินทรีย์ บ้านคลองตูก หมู่ที่ 1 ตำบลกะปาง

  187. โครงการ : บ้านคันเบ็ดปลอดสารพิษด้วยเศรษฐกิจพอเพียง

    1. เกิดกลไกโครงสร้างสภาชุมชนบ้านคันเบ็ด ขับเคลื่อนการดำเนินงานกิจกรรมโครงการและกิจกรรมของชุนอย่างต่อเนื่องการเกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคน องค์กร ชุมชน ในพื้นที่ จำนวน1แห่ง 2. สภาชุมชนบ้านคันเบ็ดเกิดจากกลุ่มเป้าหมายคณะกรรมการหมู่บ้านเดิมที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำ มาเป็นคณะกรรมการสภาชุมชน จำนวน 25คน และเกิดการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่ 3. เกิดแกนนำที่มีบทบาทประสบความสำเร็จคือ โครงการการเรียนรู้เรื่องการใช้สารเคมีโดยมีวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อให้คนในชุมชนลดการใช้สารเคมีโดยถ่ายทอดกระบวนการคือครัวเรือนในชุมชนมีแปลงปลูกผักกินเองที่เป็นครู กจำนวน 10ครัวเรือน เพื่อทำการเป็นต้นแบบในการขยายต่อเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้สารเคมี วิธีการป้องกัน โทษพิษภัยของสารเคมีผลกระทบี่เกิดจากการใช้สารเคมีไม่ถูกต้อง จำนวน 100ครัวเรือน

  188. โครงการ : รู้เร็ว รู้ไว จัดการภัยพิบัติ บ้านปลายทับใหม่

    เกิดสภาผู้นำชุมชนและคณะทำงานจัดการภัยพิบัติชุมชน เกิดคณะทำงานกองทุนสวัสดิการชุมชนในการช่วยเหลือเบื้องต้นจากภัยพิบัติ

  189. โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านหัวหินปลอดขยะ

    ูเชิงปริมาณ มีสภาผู้นำชุมชนในการจัดการขยะชุมชนบ้านหัวหิน จำนวน 1 ชุด เชิงคุณภาพ มีการจัดการขยะโดยชุมชนมีส่วนร่วม

  190. โครงการ : Green Food- Green market ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองจิก

    เชิงปริมาณ มีสภาผู้นำการดำเนินงาน จำนวน 1 ชุด เชิงคุณภาพ ชุมชนให้ความใส่ใจในการบริโภคผักปลอดสารพิษ

  191. โครงการ : การจัดการทรัพยากรป่าชายเลน บ้านเขาทอง unseen อ่าวท่าเลน

    เชิงปริมาณ .มีสภาผู้นำคณะทำงานอนุรักษ์ป่าชายเลน บ้านอ่าวท่าเลน 1ชุด เชิงคุณภาพ ชุมชนให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ป่าชายเลน และการจัดการทรัพยากรป่าชายเลนของอ่าวท่าเลน

  192. โครงการ : ซีจันตุงฮาตี รวมพลอาบะ อาบี นำชีวีด้วยจริยธรรมแบบโคกทราย

    - สภาผู้นำชุมชน สมาชิก 30 คน ซึ่งเกิดการรวมจากกลุ่มแกนนำต่างๆในชุมชน

  193. โครงการ : ปลุกจิตสำนึกชุมชน คนป่าเสม็ดอนุรักษ์ป่าชายเลน

    สภาผู้นำชุมชน สมาชิก 35 คน

  194. โครงการ : บ้านไร่ทอน อนุรักษ์คลังปัญญา นำพาเศรษฐกิจพอเพียง

    สภาผู้นำชุมชน สมาชิก 30 คน

  195. โครงการ : คนบ้านควน รวมใจ ลงมือ ลดนักเสพหน้าใหม่ในชุมชน

    สภาผู้นำชุมชน สมาชิก 20 คน

  196. โครงการ : สานชุมชน รวมพลเครือข่าย สู่เป้าหมายบ้านซอย 10 วิถีพอเพียง

    สภาผู้นำชุมชน สมาชิก 40 คน

  197. โครงการ : เปลี่ยนชีวิต ปรับวิถี เพื่อชีวีที่พอเพียง บ้านห้วยน้ำดำ

    สภาผู้นำชุมชน สมาชิก 40 คนเป็นตัวแทนจากผู้นำชุมชน 3 คน ผู้นำศาสนา2 ท้องถิ่นท้องที่ 1 คน เยาวชน 2 คน และตัวแทนจากกลุ่มต่างๆ ได้แก่ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ กองทุนหมู่บ้าน อสม. ผูสูงอายุ กลุ่มน้ำยาง รวมทั้งสิ้น 40 คน มีการประชุมร่วมกันทุกเดือน ในการประชุมแต่ละครั้งไดพูดถึงเรื่องทั่วๆไปของการดำเนินงานในกลุ่ม และเรื่องปากท้องของชาวบ้าน

  198. โครงการ : รวมใจ สานสัมพันธ์ บ้านกุบังจามังเหนือ

    1. สภาผู้นำชุมชน สมาชิก 40 คน 2. แกนนำเยาวชน 15 คน

  199. โครงการ : เยาวชนคนแป-ระใต้สามัคคี ทำดีเพื่อชุมชน

    - เกิดสภาผู้นำชุมชนขึ้น ชื่อว่าสภาแกหรามีจำนวนสมาชิก 40คน ซึ่งเกิดการรวมจากกลุ่มแกนนำต่างๆในชุมชน

  200. โครงการ : บ้านมะนังเข้มแข็งด้วยเศรษฐกิจพอเพียงที่ยั่งยืน

    เกิดสภาผู้นำชุมชน มีการประชุมทุกเดือน เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนา

  201. โครงการ : เยาวชนอาสา บ้านผังปาล์ม 7 อนุรักษ์ทรัพยากร

    1. เกิดสภาผู้นำเพื่อปรึกษาหารือในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชุมชน 2. มีเวทีประชุมสภาผู้นำเดือนละ1 ครั้ง 3. มีกติการ่วมกันในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

  202. โครงการ : เปิดลานบ้านกำแพง ลด ละ เลิก เกมส์ออนไลน์

    1.มีแกนนำเยาวชน ร่วมทำงานในชุมชน 2.มีผู้ปกครอง เข้ามาสนับสนุนส่งเสริมเด็กที่ติดเกมส์ ช่วยสอดส่องดูแลให้คำปรึกษา ให้ไปทำกิจกรรมอย่างอื่นแทน เช่น หางานให้เด็กทำ กระตุ้นการทำงานของเยาวชนในเขตเทศบาล 3.มีการรวมทีมจัดการแข่งขันกีฬาสามัคคีเด็กกล้าแสดงออก กล้าลงมือปฏิบัติจริง 4เด็กรู้จักการรักษาเวลา ตรงต่อเวลา มีการชักชวนเพื่อนๆมาร่วมกันทำกิจกรรม 5.เกิดสภาเด็กและเยาวชนในเขตเทศบาลตำบลกำแพง -ลด ละ เลิก เกมส์ออนไลน์ -เยาวชนป้องกันเอดส์ -เยาวชนอาสาดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชน

  203. โครงการ : รักษ์เกาะสาหร่าย หมู่ที่ 5 ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

    กลุ่มครัวเรือนอาสา และกลุ่มจิตอาสาในชุมชน จำนวน 60 ครัวเรือน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อและใช้จ่ายสินค้าโดยใช้ถุงผ้าแทนถุงพาสติกในชุมชน

  204. โครงการ : บ้านควนหนองหงส์เรียนรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง

    เกิดการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมการทำน้ำยาเอนกประสงค์ การทำปุ๋ยหมัก การทำบัญชีครัวเรือน รายรับ รายจ่าย และสำรวจข้อมูลชุมชน เพื่อต้องการลดภาระหนี้สินในครัวเรือน เกิดการรวมกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษอย่างน้อย 5 ชนิดต่อครัวเรือน และเหลือจากบริโภคในครัวเรือนก็นำไปขาย สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน

  205. โครงการ : บ้านปากบางจัดการขยะ สู่ชุมชนปลอดสารพิษ

    1.เกิดสภาผู้นำเป็นเครื่องมือหนึ่งในการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาหมู่บ้านให้มีระเบียบ

  206. โครงการ : ครัวเรือนสะอาดชุมชนปลอดขยะ หมู่ที 2 บ้านสะพานเคียน

    1. มีสภาผู้นำชุมชนเข้มแข็ง 1 ชุด 2. ชุมชนมีฐานข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องขยะ จำนวน 1 ชุด 3. มีกลุ่มเยาวชนในการจัดเก็บข้อมูล

  207. โครงการ : หมู่บ้านสีเขียว ปลอดโรค ปลอดสารเคมี ด้วยแนวทางเกษตรอินทรีย์ หมู่ที่ 4 บ้านควนโต๊ะเหลง

    1, การเชื่อมโยงการทำงานกับเครือข่ายภายนอก เช่น รพ.สต.ควนโดนอบต.ควนโดนพัฒนาชุมชนเกษตรตำบล 2. ชุมชนมีการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และนำมาทำแผนในการแก้ไขปัญหาโดยชุมชนเอง

  208. โครงการ : หมู่ที่ 7 บ้านบูเกตยามูชีวิตดี วิถีพอเพียง

    มีสภาผู้นำผู้นำชุมชนจำนวน1 ชุดและมีการกำหนดบทบาทหน้าทีในการดำเนินงาน

  209. โครงการ : พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย สานสายใยสู่ชุมชน หมู่ที่ 10 บ้านคลองบาราเกตุ

    ชมรมผู้สูงอายุ

  210. โครงการ : โครงการเยาวชนคนสร้างสุข บ้านนาเกาะไทร (ต่อเนื่อง ปี2)

    เชิงปริมาณ 1. มีสภาผู้นำและสภาผู้นำชุมชนบ้านนาเกาะไทร จำนวน 1 ชุด 2. เกิดกองทุนนำ้ชาบ้านนาเกาะไทร 1 กองทุน เชิงคุณภาพ เยาวชนบ้านนาเกาะไทรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุน

  211. โครงการ : โครงการย้อนอดีตคืนความสุข 2 วิถีชุมชนสะพานม้า

    เกิดกลไกคณะกรรมการสภาผู้นำจำนวน42คน

  212. โครงการ : โครงการลาซังสร้างสันติสุขบ้านเตราะแก่นเชื่อมพี่น้องสองศาสนา

    เกิดกลไกคณะกรรมการสภาผู้นำ

  213. โครงการ : สือดังเบอร์ซาตู (ร่วมเป็นหนึ่ง)

    เกิดคณะกรรมการสภาผู้นำ

  214. โครงการ : กองปังสร้างสุขบ้านกะลาพอตก

    เกิดกลไกคณะกรรมการสภาผู้นำ

  215. โครงการ : โครงการชุมชนกาแลแนสร้างสุขด้วยครอบครัววิถีศรัทธา

    - เกิดโครงสร้างคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน

  216. โครงการ : โครงการ"อาหารของแม่สร้างพลังชุมชนปราแว"

    เกิดกลไกคณะกรรมการสภาผู้นำในการแก้ไขปัญหาของชุมชน

  217. โครงการ : สร้างบ้านสร้างป่าบูโดให้น่าอยู่ ม.7 บ้านเจาะกะพ้อใน

    โครงสร้างคณะทำงานและกลไกคณะกรรมการสภาผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนและแก้ปัญหาของชุมชน

  218. โครงการ : ซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง

    เกิดทีมทำงานของชุมชนในรูปแบบสภาผู้นำ จำนวน 22 คนมีการประชุมทุกเดือนเพื่อการรายงานผล และวางแผนปฎิบัติงานซึ่งเป็นเรื่องใหม่ของชุมชน ซึ่งจากเดิมชุมชนขาดกระบวนการพูดคุย หรือการทำกิจกรรมร่วมกัน แต่เมื่อมีกลไกสภาผู้นำเกิดขึ้น ทำให้มีการประชาสัมพันธ์ การส่งสาร ข้อมูลต่างๆให้คนในชุมชนได้รับรู้ และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมที่ตนเองสนใจ

  219. โครงการ : สานใจคนสามวัย ร่วมสร้างบ้านโคกเมืองให้น่าอยู่ด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชน

    เกิดสภาผู้นำ จำนวน 40 คน เป็นกลไกขับเคลื่อนในการดำเนินงานโครงการ และกิจกรรมอื่นของชุมชนคณะทำงานมีการประชุมร่วมกำหนดแผนปฎิบัติงานร่วมกัน มีการประชุมรายงานผลทุกเดือน

  220. โครงการ : คนเกาะขาม ใส่ใจสุขภาพ ด้วยพืชผักสมุนไพร

    เกิดสภาผู้นำ จำนวน 30 คน เป็นกลไกในการขับเคลื่อนโครงการ และกิจกรรมอื่นของชุมชน คณะทำงานมีการประชุมประจำเดือนและขับเคลื่อนงานโครงการให้เป็นไปตามแผนที่ได้ระบุไว้ในโครงการ

  221. โครงการ : ชาวนาปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค บ้านหนองถ้วย

    เกิดสภาผู้นำ จำนวน 40 คน เป็นกลไกขับเคลื่อนการทำงานโครงการ และกิจกรรมอื่นของชุมชน คณะทำงานมีการวางแผนปฎิทินงานร่วมกัน และมีการประชุมทุกเดือน

  222. โครงการ : อาชีพเสริมเพิ่มคุณภาพชีวิตชุมชนบ้านคลองต่อ

    -ทำให้เกิดกลุ่มอาชีพเสริมขึ้นในหมู่บ้านจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มผลิตภัณฑ์จากเชือกร่ม ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 40 คน 2.กลุ่มเลี้ยงผึ้งและชันโรง ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 30 คน 3.กลุ่มเกษตรผสมผสานปลูกพืชร่วมยาง ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 30 คน -ทำให้เกิดกลุ่มนักเรียนที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาชีพการเกษตรและเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 40 คน

  223. โครงการ : ลดรายจ่าย เสริมรายได้ชุมชนต้นแบบวิถีพอเพียง บ้านหนองไม้แก่น

    เกิดสภาผู้นำ จำนวน 30 คน เป็นกลไกในการขับเคลื่อนโครงการ และกิจกรรมอื่นของชุมชน คณะทำงานมีการประชุมประจำเดือนและขับเคลื่อนงานโครงการให้เป็นไปตามแผนที่ได้ระบุไว้ในโครงการ

  224. โครงการ : สิ่งแวดล้อมดี ชีวีเป็นสุข ชุมชนบ้านจุ้มปะ

    เกิดคณะทำงานสภาผู้นำ จำนวน 20 คนเป็นคณะทำงาน ในการช่วยกันวิเคราะห์ และร่วมกันช่วยหาวิธีการทำงานต่างๆให้ผลออกมาดตามเป้าหมาย มีการผสานงานกันทุกขั้นตอนภายในคณะทำงานมีการช่วยเหลือ ช่วยชี้แนะ เสนอแนะวิธีการทำงานกันภายในกลุ่ม เพื่อความสามัคคีและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน คนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลรักษษสิ่งแวดล้อมในชุมชนและสนใจปลูกพืชผักสวนครัวพืชสมุนไพรในครัวเรือน คนในชุมชนได้ตระหนักและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปฏิบัติต่อการรักษาความสะอาดรอบบ้านเรือนสถานที่สาธารณะ ร่วมกันดูแลรักษาความสะอาดของ ถนน คู คลอง

  225. โครงการ : ชุมชนบ้านบาลาเพิ่มมูลค่าขยะเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

    1. มีสภาผู้นำชุมชน 2. กลุ่มเยาวชนจูเนียร์ 3. กลุ่มสตรีจัดทำผลิตภัณฑ์ในชุมชน 4. มีวิทยากรในชุมชนเอง 5. มีวิทยากรรุ่นจิ๋ว

  226. โครงการ : ตะโละแน็งอามานสร้างสุข รู้จักพอเพียงและเพียงพอ

    ชุมชนเกิดสภาผู้นำและคณะกรรมการหมู่บ้านที่เข็มแข็งหลังที่ได้ทำการอบรม เพราะสภาผูนำเกิดความรู้ในด้านการพัฒนาคน พัฒนาหมู่บ้าน มีภาวะผู้นำสูง ต่อการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชนชุมชนมีการออมทรัพย์วันละ บาท ชุมชนมีความรัก ความสามัคคีต่อกัน สามารถนำมาเป็นต้นแบบให้คนในชุมชนหรือชุมชนใกล้เคียง เป็นชุมชนที่ยังพัฒนาด้านต่างๆเพื่อให้ชุมชนมีระเบียบใช้ชีวิตอย่างราบรื่นต่อไป เกิดกระบวนการร่วมคิดร่วมทำ เกิดกลุ่มสตรีสร้างรายได้ในชุมชน

  227. โครงการ : ทำนบร่วมสร้างอาชีพสร้างรายได้ อยู่อย่างพอเพียง

    ชุมชนเกิดสภาผู้นำและคณะกรรมการหมู่บ้านที่เข็มแข็งหลังที่ได้ทำการอบรม เพราะสภาผูนำเกิดความรู้ในด้านการพัฒนาคน พัฒนาหมู่บ้าน มีภาวะผู้นำสูง ต่อการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชนชุมชนมีการออมทรัพย์วันละ บาท ชุมชนมีความรัก ความสามัคคีต่อกัน สามารถนำมาเป็นต้นแบบให้คนในชุมชนหรือชุมชนใกล้เคียง เป็นชุมชนที่ยังพัฒนาด้านต่างๆเพื่อให้ชุมชนมีระเบียบใช้ชีวิตอย่างราบรื่นต่อไป

  228. โครงการ : เยาวชนต้นตาลสุขภาพดี มีภูมิคุ้มกันยาเสพติด

    - กลไกที่สำคัญอย่างหนึ่งของชุมชนคือการเพิ่มบทบาทของผู้นำศาสนา เนื่องจากเป็นบุคคลที่ชุมชนให้ความเคารพและเชื่อมั่น การดำเนินงานทุกกิจกรรมจึงกำหนดว่าต้องให้ผู้นำศาสนาเข้ามามีส่วนร่วมด้วย

  229. โครงการ : หมู่บ้านตือระร่วมมือร่วมใจสร้างสามัคคีสู่ชุมชนเข้มแข็ง

    ในชุมชนแบ่ง 4 เขต เขต 1 ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญบ้าน โต๊ะบีลา ผู้รับผิดชอบเขต 2 สมาชิกเทศบาล การเงินมัสยิด ที่ปรึกษาชุมชน ผู้รับผิดชอบ เขต 3 ประกอบด้วย คอเต็บ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ทีปรึกษาชุมชน ผู้รับผิดชอบ เขต 4 อีหม่าม ผู้ช่วย อุสตาส ผู้รับผิดชอบ ดูแลและมีหน้าที่รับผิดชอบเยียมประชาชนที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกิจกรรม เป็นที่ปรึกษาหากมีประชาชนในเขตมีปัญหาและดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ชักชวนประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบไปละหมาดที่มัสยิดและรณรงค์ทำความดี

  230. โครงการ : คุณธรรมสร้างคน จริยธรรมสร้างใจ ลดปัญหายาเสพติด ณ บ้านน้ำตก

    เกิดระบบ การ ดูแลสุขภาพที่ดีโดยทุกคน หันมาเล่นกีฬากลางแจ้ง

  231. โครงการ : ชาวตือกอร่วมมือ ร่วมใจ ชุมชนสะอาด

    เชิงปริมาณ มีสภาผู้นำดำเนินการจัดการขยะ 1 ชุด เชิงคุณภาพ มีการร่วมมือกันในการจัดการขยะชุมชน ทำให้ขยะในชุมชนลดลดเกิดปฎิทินหมู่บ้าน ทุกบ้านเรือนต้องทำความสะอาดบ้านเรือนตนเอง ทุกๆวันศุกร์ ทุกครัวเรือนต้องเข้าร่วมทำความสะอาดสถานที่สาธารณะ ถนน ริมทาง กูโบร์ ทุกเดือน อย่างน้อยครัวเรือนละ 1 คน

  232. โครงการ : เศรษกิจพอเพียงด้วยบัญชีครัวเรือนบ้านท่าพรุ

    มีทีมสภาผุ้นำคณะทำงานมีกลุ่มเกิดขึ้นมาจากแกนนำในชุมชนเกิดเครือค่ายการทำงานเช่น กศนตำบลรพสตตำบล เกตรอำเภอ พัทนาการอำเภอยุวมุสลิมจังหวัดกระบี่จากการดำเนินโครงการที่ผ่านมามีเครือข่ายเพิ่มขึ้นมีพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เข้ามาดูแลในกลุ่มคนพิการที่มีอยู่ในหมู่บ้านจำนวน 11 คน มีการสำรวจข้อมูลจะได้นำเนินงานต่อไป

  233. โครงการ : ทุ่งเกาะปาบร่วมรักษ์พืชผักพื้นบ้าน ม. 6 บ้านทุ่งเกาะปาบ

    1.มีสภาผู้นำหมู่บ้าน 1 สภา 2.มีการลงพื้นที่เฝ้าระวังปัองกันการทำลายพืชผักพื้นบ้านที่มีอยู่ในชุมชน

  234. โครงการ : หมู่บ้านยุคใหม่ใส่ใจสุขภาวะ หมู่ 7บ้านนาข่าใต้

    - มีคณะทำงานโครงการจำนวน 15 คน จำนวน1 ชุด - มีสภาหมู่บ้านจำนวน1สภา - สมาชิกสภามาจากกลุ่มต่างๆในชุมชนประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน และตัวแทนกลุ่มอื่นๆจำนวน 30 คน - มีการประชุมสภาผู้นำจำนวน 10 ครั้ง -มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 -มีแผนกิจกรรมอย่างน้อย 5 แผนงาน-

  235. โครงการ : โครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชน(ม. 11 บ้านห้วยมะพร้าว)

    - มีการทำงานเป็นทีม - มีกระบวนการทำงานที่รวดเร็วชัดเจน - เกิดทีมที่สามารถพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ได้

  236. โครงการ : มัสยิดสัมพันธ์ศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ม.17 บ้านวังช่อนชัย

    - เกิดสภาผู้นำหมู่บ้าน1สภา ที่ประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้าน อสม. ส.อบต กลุ่มสตรี คณะกรรมการมัสยิด และตัวแทนกลุ่มต่างๆในชุมชน เพื่อเป็นกลไลในการขับเคลื่อนงานต่างๆ และมีแผนการทำงานที่นำไปสู่การมีส่วนร่วมของชุมชน -

  237. โครงการ : ชาวเกาะยวน หมู่ 3 ยุคใหม่ คิดใหม่ ทำใหม่ ใส่ใจสุขภาพ

    - เกิดการทำงานเป็นทีมและมีสภาผู้นำหมู่บ้าน เพื่อคอยขับเคลื่อนงานของชุมชนพร้อมรับฟังปัญหาและความต้องการของคนในชุมชน - เกิดแผนพัฒนาร่วมกันของภาคีเครือข่าย หน่วยงานต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น

  238. โครงการ : เยาวชนหมู่ 6 บ้านหัวทางร่วมใจอนุรักษ์คลองละงู

    - เกิดกลไกสภาผู้นำหมู่บ้าน มีการทำงานเป็นกลุ่ม/ทีม ที่สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน มีกระบวนการทำงานที่รวดเร็วชัดเจน เกิดทีมที่สามารถพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ได้

  239. โครงการ : โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชนลดรายจ่าย ม.15 บ้านในใส ต.ละงู

    - มีการทำงานเป็นกลุ่ม - มีกระบวนการทำงานที่รวดเร็วชัดเจน - เกิดทีมที่สามารถพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ได้

  240. โครงการ : บ้านห้วยไทร หมู่ 10 น่าอยู่ฟื้นฟูเศรษฐกิจเน้นความเจริญด้านอาหาร

    - เกิดกลไกสภาผู้นำหมู่บ้าน - มีการทำงานเป็นกลุ่มที่สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน - มีกระบวนการทำงานที่รวดเร็วชัดเจน - เกิดทีมที่สามารถพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ได้

  241. โครงการ : โครงการชุมชนร่วมใจ สูงวัยมีสุข ม.12 บ้านในเมือง

    - เกิดสภาผู้นำหมู่บ้าน 1 สภา - เกิดสภาผู้สูงอายุ 1 สภา

  242. โครงการ : โรงเรียนร้างสร้างชีวิตบ้านทุ่งหนองควาย (ต่อยอดปี 2)

    เกิดสภาผู้นำที่จัดทำเวทีแลกเปลี่ยนมากขึ้น เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพิ่มใหม่ 3 กลุ่ม 1) วิสาหกิจโรงสีข้าวชุมชน 2) วิสาหกิจผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพ 3) วิสาหกิจการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา (ผลิตหมอนยางพารา)

  243. โครงการ : กระจาดสานใจเครื่องแกงกู้ภัยเศรษฐกิจบ้านนาแยกเหนือ (ต่อยอดปี 2)

    1. การทำกระจาดโบราณ เป็นการเปลี่ยนโครงสร้างด้านอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น จากผู้สูงอายุ สู่กลุ่มวัยทำงานและกลุ่มเด็ก

  244. โครงการ : ร้อยมือสร้างวิถีชุมชนบ้านบางโกระ

    การเกิดกลไกคณะกรรมการสภาผู้นำจำนวน28คน

  245. โครงการ : สร้างสุขคนบ้านปะโอ ชุมชนต้นแบบวิถีเกษตรอินทรีย์

    เกิดสภาผู้นำ จำนวน 21 คน เป็นกลไกในการขับเคลื่อนโครงการ และกิจกรรมอื่นของชุมชน คณะทำงานมีการประชุม รายงานผลการดำเนินงานทุกเดือน

  246. โครงการ : สร้างจิตสำนึกเยาวชนบ้านนาทอนเพื่อการเรียนรู้การเกษตร

    - การมีกระบวนการการสร้างความร่วมมือ ร่วมใจ ในการพัฒนาให้ชุมชนน่าอยู่ - เป็นการสร้างจิตสำนึกให้กับกลูุมเป้าหมายได้เรียนรู้และเป็นการปลูกฝังให้เด็กรุ่นใหมู่ได้รู้จักเรียนรู้การเกษตร

  247. โครงการ : ร่วมพลังคนบ้านช่องไทรจัดการขยะเพื่อชุมชนน่าอยู่

    1.มีสภาเยาวชนผู้นำชุมชน 2.ชุมชนมีฐานข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องขยะ 3.มีกลุ่มเยาวชนในการจัดเก็บข้อมูล 4.มีธนาคารขยะที่ชัดเจน

  248. โครงการ : ส่งเสริมพัฒนาอาชีพบ้านท่าศิลา ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

    เกิดความร่วมมือของคนในชุมชนเพื่อสร้างชุมชนให้พัฒนาขึ้นต่อไป

  249. โครงการ : พัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ในชุมชนบ้านบารายี

    - ได้มีการร่วมมือของสภาผู้นำ เช่น คณะกรมการหมู่บ้าน แกนนำ และองค์กรต่าง ๆ ในชุมชนเพื่อให้ชุมชนเกิดการพัฒนาขึ้น

  250. โครงการ : มัสยิดสร้าง เยาวชน สู่ชุมชนสโลว์ปาแต่น่าอยู่

    ระบบและกลไกที่เกิดขึ้นในชุมชน 1. การระดมความคิด และการแก้ปัญหาต่างๆในชุมชน ผ่านกระบวนสภาชุรอหมู่บ้าน 2. การมีส่วนร่วมของทุกกลุ่มในชุมชน 3. ประชุมเดือนละ 1 ครั้ง และมติที่ประชุมถือว่า ความต้องการของชุมชน

  251. โครงการ : บ้านนาข่าเหนือ หมู่ที่ 4 ร่วมใจจัดการขยะเพื่อความยั่งยืน

    - 1.มีการแบ่งโซนเป็น4โซน โดยมีคณะกรรมการโซนเพื่อการติดตามและขับเคลื่อนกิจกรรม 2.มีการติดตามและประเมินกิจกรรมเป็นระยะโดยคณะกรรมการโครงการ

  252. โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น ปี2

    การร่วมจัดกิจกรรมแปลงสาธิตพืชผักปลอดสารพิษชุมชนบ้านเนินทอง

  253. โครงการ : ท่องเที่ยวเชิงเกษตรลดสารเคมี สร้างสุขภาวะชุมชนบ้านคลองลำแชง (ต่อเนื่อง ปี 2)

    เกิดกลุ่มมัคคุเทศก์อาสา โดยมีแกนนำเป็นกลุ่มเยาวชน และเกิดกลุ่มเกษตรอินทรีย์ในชุมชน

  254. โครงการ : คุณค่าเด็กแว็นซ์ ที่บ้านปากคลองวัดแดง(ต่อยอดปี2)

    1.มีสภาผู้นำชุมชน และมีการประชุมทุกเดือน 2.มีการนำกลุ่มเยาวชนมาร่วมกันการทำกิจกรรมจากเมื่อก่อนที่ไม่ได้มีเยาวชนมาร่วมกิจกรรม

  255. โครงการ : วัด ชุมชน ร่วมจัดการทุนที่บ้านทองพูน (ต่อยอดปี 2)

    1.เกิดสภาผู้นำในการร่วมกันพัฒนาหมู๋บ้าน 2.เกิดกลุ่มปุ๋ยหมักขึ้น 3.วัดและชุมชนได้ทำกิจกรรมร่วมกันในการใช้สถานมี่ของวัดในการทำกิจกรรม

  256. โครงการ : คลังอาหารบ้านดอนโรง(ต่อยอดปี 2)

    จากเมื่อก่อนผู้นำชุมชนไม่เคยให้ความร่วมมือแต่เมื่อได้มีโครงการทำให้ผู้นำชุมชนมีความสนใจและชักชวนลูกบ้านมาเข้าร่วมกิจกรรมด้วย ชาวบ้านบางกลุ่ม ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมไม่เข้าร่วมประชุมหันมาสนใจร่วมกิจกรรมและสมัครเป็นสมาชิกกลุ่ม -เกิดสภาผู้นำ 30คน-ในการขับเคลือน พัฒนาหมุ่บ้าน

  257. โครงการ : ภูมิปัญญา เพิ่มรายได้ สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม (ต่อยอดปี 2)

    เกิดอย่างไร รูปแบบไหน หรือเป็นอย่างไร

  258. โครงการ : ภูมิปัญญา เพิ่มรายได้ สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม (ต่อยอดปี 2)

    1)ให้ความรู้การทำน้ำหมักและกลับไปทำที่บ้านครัวเรือนละ 1 ถัง 2)ให้ความรู้เรื่องสมุนไพรและกลับไปปลูกที่บ้านครัวเรือนละ 5 ชนิด 3)ให้ความรู้เรื่องผึ้งโพรงไทยและกลับไปทำที่บ้าน 1 รัง

  259. โครงการ : ปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนด (ต่อยอดปี 2)

    1. เกิดเป็นหลักสูตรปันตงของชุมชน 2.เกิดการปรองดองระหว่างครอบครัว และชุมชน โดยผ่านกระบวนการของเครือข่าย โดยมีตัวเชื่อมความปรองดองที่สำคัญคือ ปันตง

  260. โครงการ : ทุนชุมชนสร้างรายได้บ้านสวนขัน (ต่อยอดปี 2)

    1.ให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชสมุนไพรและให้ทุกครัวเรือนไปปลูกที่บ้าน 5 ชนิด 2.ให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะเห็ดนางฟ้าและให้ทุกครัวเรือนไปทำที่บ้านอย่างน้อย 10 ก้อน 3.ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักและให้ไปทำที่บ้าน 1 กระสอบ 4.มีกลุ่มปุ๋ยหมัก

  261. โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนบ้านดอนตาบ่าวให้น่าอยู่ คลองสวยน้ำใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ปี 2

    เกิดสภาผู้นำชุมชนที่กำลังพัฒนาให้มีความเข็มแข็งต่อไป ซึ่งในปีนี้มีคณะกรรมการและร่วมประชุมพบปะกันทุกเดือน

  262. โครงการ : ชุมชนหูยาน บ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง(ต่อเนื่องปี 3)

    2. เกิดกลไก ระบบ หรือโครงสร้างชุมชนที่พัฒนาขึ้นใหม่ 2.1 มีสภาแกนนำ จำนวน 15-21 คนเป็นกลไกพัฒนาขับเคลื่อนชุมชนหูยาน ใช้การประชุม พูดคุยเป็นหลัก 2.2 สภาแกนนำใช้แผนชุมชนเป็นเครื่องมือพัฒนาชุมชนหูยาน 2.3 ใช้วันที่ 10 ทุกเดือนเป็นวันครอบครัวของชุมชน ทานข้าวร่วมกันประชุมร่วมกัน พัฒนาร่วมกัน เป็นการรวมคนสร้างจสร้างจิตอาสา

  263. โครงการ : การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ชุมชนบ้านคลองขนาน (ต่อเนื่อง ปี2)

    เชิงปริมาณ มีสภาผู้นำชุมชน 1 ชุด เชิงคุณภาพ ชุมชนให้ความสนใจในการจัดการขยะชุมชน

  264. โครงการ : ศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม (ต่อเนื่อง)

    กลุ่มทำนาอินทรีย์บ้านโคกแย้มมีคณะกรรมการกลุ่ม 9 คนมีการจัดโครงสร้างและแบ่งหน้าที่ชัดเจน มีกิจกรรมของกลุ่มดังนี้ 1.ที่ได้ผลิตข้าวสารจากนาอินทรีย์จำหน่ายในชุมชนทั้งยังใช้พื้นที่นาอินทรีย์เป็นแหล่งเรียนรู้การทำนาให้กับกลุ่มผู้สนใจในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง 2.กลุ่มต้องผลิตข้าวสำหรับเป้นเมล็ดพันธ์ุไว้ใช้เองให้พอเพียง

  265. โครงการ : นาอินทรีย์คืนวิถีคนไทรงาม (ต่อเนื่อง)

    - มีสภาผู้นำชุมชน จำนวน 45 คน โดยมีโครงสร้างการบริหารจัดการชุมชนอย่างชัดเจนและมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ - มีการจัดพื้นที่เรียนรู้การผลิตข้าวปลอดภัยให้กับครัวเรือนนำร่องและคนในชุมชนจำนวน 3 ไร่ 3 แบบ คือ แปลงนาหว่าน แปลงนาดำ และแปลงนาโยน

  266. โครงการ : สร้างครัวคนห้วยยวนด้วยธนาคารริมคลอง (ต่อเนื่อง)

    ชุดลาดตระเวณยังคงทำหน้าที่ต่อเนื่อง

  267. โครงการ : เมื่อเด็กกล้วยเถื่อนสร้างธนาคารฯที่บ้านทุ่งยูง(ต่อเนื่อง)

    เกิดกลไกสภาหมู่บ้าน จำนวน 30 คน สามารถจัดประชุมได้ทุกเดือน สามารถใช้สภาในการบริหารจัดการโครงการ ส่วนบทบาทของสภาในการบริหารจัดการชุมชนยังเห็นไม่ชัดเจนในขณะนี้

  268. โครงการ : เยาวชนคนสองปาก ศึกษาราก เรียนรู้จากชุมชน(ต่อเนื่องปี2)

    สภาผู้นำชุมชน กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน 1. นางชรินรัตน์เส็นสามารถ 2. นางตีอัมซ๊ะพระสุธาพิทักษ์ 3. นางยูรีย๊ะโต๊ะบู 4. นางรีดาแดหวามาลัย กลุ่มมุสลีม๊ะ 1. นางสรอม๊ะบูเก็ม 2. นางอำส๊ะสันโด 3. นางหยันสุวาหลำ กลุ่มผู้นำชุมชน 1. นายยมอาดเตาวโต 2. นายยูโสบยีระงู 3. นายวาเหลด เส็นสามารถ 4. นายร่มหลียีระงู 5. นายหมัดสะอาดบุญเสน กลุ่มผู้นำศาสนา 1. นายเชบดานเด็น 2. นายอารีย์ตีกาสม 3. นายอาหมาดเตาวโต 4. นายมุสตอฟายาหมาย กลุ่ม อสม. 1. นางปอหราเตาวโต 2. นางวิลัดดาเส็นสามารถ 3. นางเจ๊ะน๊ะจิแอ 4. นางร่มหยันเตาวโต 5. นางมารูหนียาง๊ะ 6. นางอินทิราบุญเสน 6. กลุ่มออมทรัพย์ 1. นางเจ๊ะร๊ะ บริกัน 2. นางมีนาสุวาหลำ 3. นางขอดีย๊ะเทศอาเส็น 4. นางตีรอเกี๊ยะปิยาเหล 5. นางสุกันยายีระงู 7. กลุ่มผู้สูงอายุ 1. นายสมาน หมันนาเกลือ 2. นายหลีเส็นสามารถ กลุ่มเยาวชน(ไม่เรียนหนังสือ) 1. นายพานิชเตาวโต 2. นายอนันท์เส็นสามารถ 3. นายมุสตอฟายาง๊ะ 4. นายกอรอซีอุสมา 5. นายอามีรีนชุ่มจำรัส 6. นายกมลบริกัน 7. นายอับดุลคอลิคสุวาหลำ 8. นายอาทรหมาดอี กลุ่มเยาวชน(กำลังศึกษา) 1. นายสราวุธเส็นสามารถ 2. นางสาวฐิติพรทุมาลี 3. นายดนุพลยาง๊ะ 4. นายอาหลียันติง 5. นายอาณัติยีระงู 6. นายสงกรานต์อยู่เย็น 7. นางสาวสุรัตติยาอุมารี กลุ่มชมรมคนรักกีฬา 1. นางสิตีแบด๊ะโต๊ะราเกตุ 2. นางสาวมารีย๊ะดานเด็น 3. นายศักการียากอลาบันหลง กลุ่มสตรี 1. นางสาวซารีฟ๊ะดำกระบี่ 2. นางผ่องศรีหิรัญ

  269. โครงการ : เยาวชนนาโต๊ะขุน คนรุ่นใหม่ ใส่ใจจัดการขยะ (ต่อเนื่อง ปี 2)

    - เกิดสภาเยาวชน และสภาเยาวชนให้ความร่วมมือในการจัดการขยะในชุมชน ทำให้ขยะในชุมชนลดลง

  270. โครงการ : เซเว่น ภูมิปัญญา สร้างสุขสองฝั่งคลองบ้านบางไทร (ต่อยอดปี2)

    สมาชิกภายในหมู่บ้านช่วยกันดูแลแม่น้ำลำคลองและสวนภูมิปัญญาของหมู่บ้าน มีความสามัคคีมากขึ้น

  271. โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึก จัดการขยะชุมชน

    เชิงปริมาณ มีสภาผู้นำดำเนินการจัดการขยะ 1 ชุด เชิงคุณภาพ มีการร่วมมือกันในการจัดการขยะชุมชน ทำให้ขยะในชุมชนลดลด

  272. โครงการ : ความสุขที่ชุมชนด้วยประชาหารือเพื่อสานสันติภาพแสวงหาแนวทางสันติวิธี

    มีแกนนำอาสาทำงานทุกพื้นที่ใน37 อำเภอ ใน3จังหวัดภาคใต้

3) เกิดต้นแบบ พื้นที่เรียนรู้ หรือแหล่งเรียนรู้ในระดับชุมชน
จำนวน 246 พื้นที่

  1. โครงการ : ศูนย์เรียนรู้ป่าต้นน้ำ บ้านผังปาล์ม 4,5

    -มีแหล่งเรียนรู้ชุมชน1แห่งที่ชาวชุมชนยังเห็นความอุดมสมบูรณ์

  2. โครงการ : สร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพที่บ้านทุ่งยาว

    มีชุมชนภายนอกมาศึกษาดูงานในเรื่องของการบรูณาการ รวมคน/รวมทุนที่มีในชุมชนตลอดถึงการประสานงานองค์กรในพื้นที่ และหน่วยงานภาครัฐได้อย่างมีระบบ เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๙ ได้มีคณะศึกษาดูงานจากชุมชนควนรู อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน ๖๐ คน วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ มีคณะศึกษาดูงานจากจังหวัดกระบี่ ๘๐ คน และยังได้ลงนาม MOU. เป็นแหล่งเรียนรู้หรือห้องเรียนนอกพื้นที่ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา ในการมาเรียนรู้การอนุรักษ์น้ำโดยการสร้างฝายชะลอร่วมกับชุมชน จำนวน ๕ ครั้งสามารถสร้างฝ่ายเพิ่มขึ้นได้ถึง ๒๐ ตัว มีอาจารย์และนิสิตเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน ๕๐๐ กว่าคน

  3. โครงการ : เกาะทองสมใหม่เกษตรอินทรีย์สร้างสุข

    1.ศูนย์เรียนรูัการทำเกษตรปลอดสารพิษของชุมชนโดยนายวิโรจน์เหตุทอง 2.และเป็นศูนย์เรียนรู้ในเครือข่ายสุขภาพของหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพระดับจังหวัด 3. แหล่งเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งเพื่อลดสารเคมี

  4. โครงการ : เสริมพลังชุมชนด้วยคน 3 วัย บ้านโคกแย้ม

    เกิดการเรียนรู้การทำนาอินทรีย์ 4 แบบ เพื่อเปรียบเทียบการลดต้นทุนการผลิต ได้แก่การทำนาหว่านนำตม การทำนาดำ การทำนาโยน และการทำนาดำกล้าต้นเดียว

  5. โครงการ : ข้าวพื้นเมืองคืนชีวิตชาวนาปะขอ

    แหล่งเรียนรู้อนุรักษ์และฟื้นฟูพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน วิถีนาอินทรีย์ครบวงจร กระบวนการทำงานของชุมชน แปลงนาอินทีย์ใช้พันธุ์ข้าวพื้นเมืององค์ความรู้การทำนาอินทรีย์เอื้อเกิดสุขภาวะชุมชน สุขกาย สุขใจ ชุมชนมีสุข สิ่งแวดล้อมดี มีความมั่นคงทางอาหาร

  6. โครงการ : อนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมชุมชนถ้ำภูผาเพชร

    จากกิจกรรมสำรวจของดีชุมชน ได้รู้จักนำ้ตกวังใต้หนานค่ายคอมมิวนิสต์ และต้นไม้หลากหลายพืชพันธุ์ เรียนรู้ถึงสมุนไพรรักษาโรคจากภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการสำรวจแหล่งนำ้ตามธรรมชาติ และป่าต้นนำ้ของชุมชนมีการสำรวจพื้นที่ทำกิน และการใช้ประโยชน์พื้นที่ของชุมชน รวมทั้งพื้นที่ป่ากันชนที่ต้องร่วมกันอนุรักษ์แนวเขตป่าไว้

  7. โครงการ : สร้างสุขภาวะ ชุมชนน่าอยู่ สานสามัคคี หมู่ 2

    ชุมชนมีแหล่งปลูกผักปลอดสารพิษเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนมีศูนย์เรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก

  8. โครงการ : สร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ( ต่อยอด )

    สมาชิกกลุ่มโฮมสเตย์10 คนคณะทำงาน 10 คน จำนวน 20 คน สร้างโครงข่ายคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเกิดต้นแบบ เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมภายในกลุ่ม ได้บ้านต้นแบบ เกิดกระแสการปลูกผักสวนครัวในชุมชน การจัดการขยะในครัวเรือน และมีการทำของใช้เองในครัวเรือน เช่น การทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า เป็นต้น

  9. โครงการ : บ้านศาลาบางปู พัฒนาศูนย์เรียนรู้อาชีพเพาะเห็ดสู่สวัสดิการชุมชน ( ต่อยอด)

    เป็นแหล่งศึกษาดูงานของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช

  10. โครงการ : ชุมชนบ้านห้วยไทร นำขยะสร้างอาชีพ

    เกิดกลุ่มอาชีพเพาะเห็ดสมาชิกจำนวน 50 คน และสามารถเป็นผู้ถ่ายทอดการเรียนรู้และประสบการการเพาะเห้ดแก่ผุ้สนใจได้ จำนวน 5 คน

  11. โครงการ : บ้านป่าไหม้ร่วมใจนำป่าสาคูสร้างสุข

    ที่บ้านของผู้รับผิดชอบโครงการอุทิศที่ให้สร้างศุนย์เรียนรู้ หน่วยงานราชการเช่นพัฒนาชุมชนนำชาวบ้านที่มีความสนใจมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสถาบันการศึกษา ตลอดจนสื่อมวลชนมาถ่ายทำสารคดี เช่นจากช่อง 3 รายการ เกษตรโลก-เกษตรเรา โดยผุ้ดำเนินรายการ คุณคำรณ  หว่างหวังศรี และช่อง NBT นครศรีธรรมราช และสถามีวิทยุคลื่น FM มาสัมภาษณ์ออกอากาศเพื่อเป็นตัวอย่าง

  12. โครงการ : สินสืบสุขร่วมใจสร้างชุมชนเข้มแข็ง (ต่อยอด)

    ถนน พื้นที่รกร้าง หายไป กลายเป็นสวนผัก แปลงผักแทนที่ พื้นที่ในชุมชนสะอาดไม่มีขยะ เพราะคนเห็นคุณค่าขยะแต่ละประเภทและนำมาแปรรูปเป็นสิ่งประดิษฐ์สร้างรายได้ และขายเพิ่มรายได้

  13. โครงการ : บ้านบางสระ สาน 6 อ. สู่หมู่บ้านจัดการสุขภาพองค์รวม(ต่อยอด)

    บ้านบางสระเป็นหมู่บ้านที่รับงบสนับวนุนสสส.ในเรื่องการลดละเลิกบุหรี่ ในปี 55 และเป็นบ้านที่รับสมัครเข้าร่วมโครงการกองทุนแม่ของแผ่นดินซึ่งเน้นการรณรงค์การใช้สารเสพติด ดังนั้น การจัดกิจกรรมของโครงการจึงเน้นการบูรณาการให้เยาวชน และผู้ที่สบบุหรี่ ยาเสพติด ให้เกิดความตระหนักและจัดพื้นที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ สุราเมื่อทำกิจกรรมทุกครั้ง

  14. โครงการ : ชุมชนหอยราก สืบสานตำนานขนมลาสร้างสุข

    กลุ่มเยาวชนและอสม.ร่วมกันเป็นผู้อาสาดูแลสุขภาพชุมชนและมีแผนเป็นรูปธรรม มีการถ่ายทอดความรู้ในตัวบุคคลสู่กลุ่ม ในเรื่องการนวดบำบัดโรค

  15. โครงการ : ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในดอน

    คุ้มบ้านเศรษฐกิจพอเพียง 7 คุ้มบ้าน

  16. โครงการ : บ้านไม้มูกปลอดกลิ่นเหม็นจากมูลสัตว์ด้วยสมุนไพร

    มีครัวตัวอย่างหลีกเลี่ยงสารเคมี

  17. โครงการ : บ้านต้นกระท้อนหลีกเลี่ยงสารเคมีด้วยครัวตัวอย่าง

    มีครัวตัวอย่างเพื่อเป็นฐานเรียนรู้ชุมชน 58 ครัวเรือน

  18. โครงการ : เกษตรอินทรีย์บนเรือนแพบ้านสระกูด

    คนในชุมชนได้เรียนรู้การกินอยู่ด้วยการพึ่งตนเอง ลดการซื้อผักและข้าวจากนอกบ้าน หันมาทำกินเอง และมีแหล่งเรียนรู้ให้คนในชุมชนร่วมกันทำกิจกรรม เป็นการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์

  19. โครงการ : บ้านอู่แก้วเป็นหมู่บ้านวิถีพอเพียง (ต่อยอด)

    1.บ้านนายสัมพันธ์ พูลเสน แหล่งเรียนรู้การเลี้ยงไก่บ้าน 2.บ้านนางโฉมพยงค์ ชูแก้ว แหล่งเรียนรู้การทำปุ๋ยและเพาะเห็ดฟาง 3.บ้านนางวันดี อักษรคง แหล่งเรียนรู้น้ำยาเอนกประสงค์ 4.บ้านนางประคิ่น แนมใส แหล่งเรียนรู้เรื่องปุ๋ยชีวภาพ

  20. โครงการ : บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร(ต่อยอด)

    1.รอบสถานที่ศาลาเอนกประสงค์ได้ถูกพัฒนาให้เป็นสวนสมุนไพรชุมชน โดยมีการนำสมุนไพรจากครัวเรือนมาปลูกที่ศูนย์กลางของหมู่บ้านและแบ่งเวรหน้าที่รับผิดชอบในการดูแล 2.วัดพระพุทธบาทเป็นสถานที่สำรวจสมุนไพรและเป็นสถานที่สำหรับการจัดกิจกรรมเรื่องสมุนไพร

  21. โครงการ : คลังอาหาร อยู่ดี กินดีที่บ้านหนองสีขวัญ

    1.นายสุนทร ชื่นกลิ่น เป็นต้นแบบการปลูกมะนาว 2.นางสาวจุฑาทิพย์ บริเพชร เป็นต้นแบบการเลี้ยงปลาและสร้างคลังอาหารปลอดภัย 3.นางประไพ จันทร์ทอง เป็นต้นแบบการทำเกษตรลดเคมี

  22. โครงการ : บ้านหนองชีพูน เป็นบ้านอยู่เย็นเป็นสุข

    1.บ้านนางกัณหา จงไกรจักร เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการน้ำหมักชีวภาพ 2.บ้านนางโสภา บางหรง เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องข้าวกล้อง ปุ๋ยชีวภาพ 3.บ้านนางอารีย์ กรรมแต่ง เป็นแหล่งเรียนรู้่เรื่องปุ๋ยหมักชีวภาพ

  23. โครงการ : รวมพลัง สานสัมพันธ์สร้างสุขภาพคนเขาปูน

    กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำในการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่และแกนนำมีบทบาทในการทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ 1. คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน จำนวน20 คน ชับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2. ครูโรงเรียนวัดเขาปูน จำนวน3 คน จัดกระบวนการเรียนรู้พัฒนาความคิด โดยการจัดเวที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. อสม จำนวน 5 คนติดตามเยี่ยมดูแลกลุ่มป่วยติดเตียงจำนวน 5 คนกลุ่มพิการ 4 คนผู้สูงอายุ39 คน

  24. โครงการ : พลังแห่งความรัก ถักทอสายใย สานใจชุมชนบ้านปากคลอง

    กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เกิดแกนนำในการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่และแกนนำมีบทบาทในการทำให้โครงการสำเร็จ 1. คณะสภาผู้นำชุมชน ในการขับเตลื่อนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในชุมชนให้เกิดความรักความสามัคคี จากการร่วมกิจกรรม จำนวน 20 คน 2. ปราชญ์ชุมชนขับเคลื่อนการจัดกระบวนความคิดการเรียนรู้ทักษะอาชีพ โดยการจัดเวที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 5 คน 3. ข้าราชการบำนาญ ร่วมในการถอดบทเรียน จำนวน 4 คน 4. อสม เป็นแกนนำในการขับเคลื่อนพฤติกรรมการออกกำลังกาย จำนวน 5 คน มีคนร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายจำนวน 116 คน

  25. โครงการ : ฝายมีชีวิตสร้างสุขชุมชนบ้านตลาด

    1. เกิดแหล่งเรียนรู้เรื่องระบบนิเวศน์ที่อยู่ร่วมกันได้ระหว่างคน สัตว์พืช ระหว่างคนกับธรรมชาติ

  26. โครงการ : สืบสานวิถีชีวิตคนต้นน้ำบ้านขุนคีรี

    เกิดต้นแบบของการเรียนรู้เรื่องต้นกำเหนิดของแหล่งน้ำ การเกิดแหล่งนำที่สำคัญคือการเกิดมาจากแหล่งน้ำซับซึ่งมีมากบนเขาคีรีวง น้ำนั้นมาจาก การที่พืชสังเคราะห์แสงและคายน้ำออกมาทางรากของพืช แล้วทำให้เกิดแอ่งน้ำซับหลาย ๆ แหล่ง เกิดเป็นแอ่งน้ำบนภูเขา และรวมตัวไหลมากลายเป็นน้ำตก และพบปัญหาที่สำคัญคือการที่ป่าไม้ถูกทำลาย บุกรุกจากการทำพืชสวน ทำให้แหล่งน้ำเหล่านี้หายไป น้ำในคลองลดลง และเป็นปัญหาในยามแล้ง

  27. โครงการ : รองแง็งเยาวชน ต่อลมหายใจป่าชายเลน บ้านท่าน้ำเค็มใต้

    เพลงรองแง็งอนุรักษ์ป่าชายเลน ทำแผนที่ศักยภาพคน

  28. โครงการ : หุ่นกระบอก ออกเดิน ที่บ้านสวนเทศ(ต่อเนื่อง)

    - ธนาคารขยะ - เกษตรอินทรีย์

  29. โครงการ : สุไหงมาตี พลิกฟื้นชีวี ด้วยความพอเพียง

    เพิ่มรายได้จากการทำขนมพื้นเมือง

  30. โครงการ : เด็กน้อยเกาะโตดนุ้ย เล่านิทานปูม้า ปูทะเล(ต่อเนื่อง)

    ธนาคารปูไข่

  31. โครงการ : จากผืนนา สู่ผืนป่าชายเลนที่ควนโต๊ะเจ๊ะ (ต่อเนื่อง)

    การลดใช้สารเคมีเพื่ออนุรักษ์สัตว์น้ำวัยอ่อน

  32. โครงการ : สภาทุ่งพัก นำพาตามหลักพอเพียง

    - กลุ่มเครื่องแกง - กลุ่มเกษตรอินทรีย์ - กลุ่มประหยัดค่าไฟ

  33. โครงการ : ชุมชนบ้านเจริญทรัพย์น่าอยู่เชิดชูผู้สูงวัย (ต่อเนื่อง)

    เกิดศูนย์เรียนรู้การดูแลผู้สูงอายุ (Day Care)ในพื้นที่ชุมชน และตำบลทะเลทรัพย์ โดยมีรพสต.ทะเลทรัพย์เป็นศูนย์กลางวิชาการและเทศบาลตำบลทะเลทรัพย์สนับสนุนงบประมาณ และมีวัดทะเลทรัพย์เป็นจุดกลางในการปฏิบัติด้านจิตใจ

  34. โครงการ : ร่วมปลุกจิตสำนึกรักษ์บ้านชุมโค(ต่อเนื่อง)

    มีศูนย์เรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ป่าชายเลนที่มีฐานเรียนรู้และมีสถานที่รองรับการเรียนรู้ในพื้นที่ที่ค่อนข้างสมบูรณ์และมีกลุ่มนักเรียน นักศึกษาเข้าเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และร่วมปลูกป่าเสริมในส่วนที่เสียหาย ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งพื้นที่ป่า สัตว์น้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชุมชนมีความคาดหวังมาตั้งแต่ต้น

  35. โครงการ : อนุรักษ์ป่าต้นน้ำพรุตาอ้าย (พื้นน้ำ อาหาร บ้านยา ผืนป่า ปะทิว) (ต่อเนื่อง)

    ป่าต้นน้ำพรุตาอ้ายเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ ให้นักเรียนหรือหน่วยงานที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติได้ลงพื้นที่เพื่อเรียนรู้ในป่าต้นน้ำได้อย่างสมบูรณ์

  36. โครงการ : ห้วยคล้าชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง สิ่งแวดล้อมยั่งยืน

    ป่าชายเลนบ้านห้วยคล้า หมู่12ตำบลตะโกอำเภอทุ่งตะโกจังหวัดชุมพร

  37. โครงการ : ส่งเสริมการเรียนรู้เยาวชน ตามหลักวิถีเศรษฐกิจพอเพียง บ้านไสยง

    มีแหล่งเรียนรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์ที่ศูนย์ชีวาศรม

  38. โครงการ : ปลุกพลังสังคมคนสวนใหม่ชุมชนในเกาะ

    1.ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ 2.แปลงปลูกข้าวไร่การตำข้าวและทำข้าวเม่า 3.เส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์น้ำตกสวนใหม่

  39. โครงการ : คอกช้างร่วมใจจัดการขยะ…รักสุขภาพ

    ครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะ

  40. โครงการ : วิทยาลัยทุ่งโพ เรียนรู้ร่วมกัน ร่วมสร้างสรรค์ชุมชนน่าอยู่ ปี 2 (ต่อเนื่อง)

    เกิดพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน บ้านแคเหนือ เป็นแหล่งรวบรวมเรื่องราวประวัติความเป็นมาและภูมิปัญญาของชุมชน และเป็นสถานที่จัดแสดงสิ่งของ เครื่องใช้ และภูมิปัญญาของคนในอดีต

  41. โครงการ : แนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหกให้น่าอยู่ปีที่ 2 : ป้อมหก Eco planet ปฎิบัติการชุมชนรักษ์โลก(ต่อเนื่อง)

    -มีศูนย์เรียนรู้กองทุนขยะสร้างสุข 1 แห่ง เพื่อให้สมาชิกในชุมชนและนอกชุมชนได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการขยะของชุมชนป้อมหก -โรงเรียนบ้านป้าพร 1 แห่ง เพื่อเป็นพื้นที่ให้เด็ก เยาวชนได้เรียนรู้กิจกรรมโครงการ และเสริมทักษะในด้านวิชาการ การเขียน อ่าน ภาษาไทย ศิลปะ โดยมีบัณฑิตอาสาเข้ามาทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก เยาวชนในพื้นที่ เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยง

  42. โครงการ : บ้านต้นมะขามเทศ น่าอยู่ สุขภาพดี ด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชน

    เดิมทีความรู้ด้านกลองยาวมโนราห์ มีอยู่เฉพาะกลุ่มในพื้นที่ชุมชนแต่หลังจากดำเนินโครงการทำให้เกิดศิลปินน้อยจำนวน 40 คน ที่มีความรู้ ความสามารถด้านกลองยาวมโนราห์ อีกทั้งทางโรงเรียนวัดไทรใหญ่ได้มีการจัดการเรียน การสอนในส่วนของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนได้เลือกเรียนตามความถนัด ความสนใจของตนเอง ซึ่งปัจจุบันมีกลุ่มกลองยาวเกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งนักแสดงมีทั้งรุ่นใหญ่และรุ่นเล็ก ของกลุ่มเด็ก เยาวชน ทำให้เป็นที่น่าสนใจ ทำให้เกิดการจ้างงานให้กับกลุ่มในการออกไปแสดงตามสถานที่ต่างๆสร้างรายได้ให้กับเด็ก และกับครอบครัว อีกทั้งศิลปะการแสดงยังสามารถถูกถ่ายทอดส่งต่อ รุ่นสู่รุ่น

  43. โครงการ : บ้านโคกเหล็กพอเพียงหลีกเลียงสารเคมี (ต่อยอด )

    1. มีเด็กและเยาวชนร่วมเป็นวิทยากรในฐานเรียนรู้ "บ้านพอเพียงหลีกเลี่ยงสารเคมี" ของกลุ่มบ้าน 10 บ้าน 2. เด็กและเยาวชนเป็นวิทยากรร่วมในการจัดกิจกรรมเรียนรู้ตามกลุ่มบ้าน ใช้เป็นกลไกกระตุ้นการทำงานของคณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 5 คน เด็กและเยาวชนเป็นทีมดำเนินการ เด็กและผู้ใหญ่ในชุมชนได้ฝึกปฏิบัติการจัดการขยะที่ดีในครัวเรือน เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนให้ร่วมกันพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพมากขึ้น ดังนี้ 1) ใช้ทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์ โดยปราชญ์ชุมชน และครู กศน. เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ การทำน้ำยาไล่แมลง การเพาะปลูก การเตรียมดิน เพื่อลดการใช้สารเคมีในการเกษตร โดยที่ ทุกคนได้นำมูลวัว และเศษวัสดุที่มาสามรถทำเป็นวัตถุดิบในการทำปุ๋ยมาจากบ้าน มาฝึกปฏิบัติพร้อมกันที่ศาลาหมู่บ้าน 2) ขณะดำเนินการได้มีวิธีที่ดี ต่อยอดความคิดเดิมเพิ่มความคิดใหม่ ร่วมกันปรับเปลี่ยนพื้นที่ว่างข้างศาลาเป็นแปลงสาธิตของหมู่บ้าน เป็นแปลงเพราะชำและเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับชุมชน 3) นำกิจกรรมในโครงการเข้าแผนตำบล เรื่องของการพัฒนาหมูบ้านตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4) ผลการตรวจสารเคมีในเลือด พบว่า มีความเสี่ยงลดลง ร้อยละ 605) เกิดบ้านตัวอย่างการทำแก็สชีวมวล 4 ครัวเรือน 6) มีหลุมเก็บขยะอันตราย จำนวน 2 หลุม 7) เกิดกลไกการติดตามผลและกระตุ้นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจากคณะกรรมการและปราชญ์ในชุมชน 8)ได้รับการสนับสนุนวัสดุและอุปกรณ์เพื่อส่งเสริมการทำเกษตรลดสารเคมีเพิ่มจาก อบต. และ กศน. เป็นต้น

  44. โครงการ : ปฏิรูปหัวลำภูสู่หมู่บ้านจัดการตนเอง(ต่อยอด)

    2.1มีมัคคุเทศก์น้อยคนรุ่นเด็กและเยาวชนในหมู่บ้าน 35 คน เกิดภาคีการเป็นมัคคุเทศก์เพิ่มเติมจากนอกหมู่บ้าน 1 คน รวม 36 คน 2.2 มีโฮมสเตย์ จำนวน 15 บ้าน ผู้มาเยือนมาเรียนรู้ได้อยู่อาศัยในขณะฝึกปฏิบัติกับบ้านต้นแบบ "แหล่งเรียนรู้ คู่ธรรมชาติ บนวิถีชีวิตคนหัวลำภู" 1) บ้านนายบุญธรรม สังผอม รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 15 คน 2) บ้านนางส่อง คงเล่ห์รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 15 คน 3) บ้านนางจิดาภา แก้วเนิน รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน15 คน 4) บ้านนางสาวติ้ม แซ่พั่ว รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 15 คน 5) บ้านนางเตือนใจ คงกำไร รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 5 คน 6) บ้านนางหวน จันบรรจง รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 5 คน 7) บ้านนางฉิ้น สุขช่วย รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 10 คน 8) บ้านนางสาววิชชุดา สุขช่วย รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 10 คน 9) บ้านนางมนธิรา แก้วเนิน รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 10 คน 10) บ้านนางภูษณิศาแก้วเนิน รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 50 คน 11) บ้านนางชาลี นพรัตน์ รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน20 คน 12) บ้านนางบุญเรือน สุขช่วย รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน10 คน 13) บ้านนางสาวสุมณฑา หนูสีคง รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน10 คน 14) บ้านนายสุมาศ จันทร์ศรี รับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 5 คน 15) บ้านนางหนูเล็ก คงขลิกรับผู้มาเรียนรู้ได้จำนวน 5 คน 2.3 มีหลักสูตรชุมชนบ้านหัวลำภู แบบฉบับหลักสูตรการจัดการตนเอง 1 หลักสูตร

  45. โครงการ : หนังตะลุงโขนสดลดสารเคมีบ้านปากเหมือง(ต่อยอด)

    เชิงปริมาณ 2.1 เยาวชนและปราชญ์ชุมชนมีส่วนร่วมสืบสานภูมิปัญญาหนังตะลุงโขนแสดงสด รวม 30 คน 2.2 ชุมชนใกล้เคียงเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเเยาวชนและปราชญ์ชุมชนและมีส่วนร่วมสืบสานภูมิปัญญาหนังตะลุงโขนแสดงสดเผยแพร่ข้อมูลการทำนาอินทรีย์ลด สารเคมี จำนวน 160 คน เชิงคุณภาพ เยาวชนและปราชญ์ชุมชนได้มีส่วนร่วมสืบสานภูมิปัญญาหนังตะลุงโขนแสดงสด สามารถเผยแพร่ข้อมูลการทำนาอินทรีย์ลดสารเคมีเอกลักษณ์ของบ้านปากเหมืองได้ เนื่องจากตะลุงโขนเป็นภูมิปัญญาของชาวปากเหมืองที่มีดั้งเดิม เมื่อได้รับหารฟื้นฟูทำให้ชาวบ้านสนใจมาชม มาร่วมเรียน และร่วมถ่ายทอดมาก ในเนื้อหาได้บอกเรื่องการทำนาอินทรีย์ เป็นบทกลอนและการแสดงที่เป็นการให้ข้อมูลความรู้แบบกลางๆ เพื่อให้ผู้ร่วมได้ความรู้และเกิดความสนใจไปทำนาอินทรีย์ต่อ มีครูกลอนคือ ครูลำดวน ข้าราชการครูบำนาญ ให้คณะกรรมการเล่าเรื่องโครงการ แล้วครูได้แต่งเป็นกลอนตะลุงสด ให้เด็กและคณะหนังตะลุงโขนได้ฝึกฝน ฝึกว่ากลอนจนชำนาญ แล้วสามารถไปแสดงได้ในงานต่างๆ ที่แสดงมาแล้ว ได้แก่ งานปีใหม่ งานบวชนาค งานกระตุ้นการท่องเที่ยวตลาดน้ำกลางคืน การแสดงในโรงเรียน และในวิชาดนตรี ให้เด็กได้เรียนรู้ได้ต่อในโรงเรียน โดยมีแกนนำนักเรียน และครูไพศาล (ผู้อำนวยการโรงเรียน) เป็นผู้สืบสานต่อเนื่อง ให้เด็กโรงเรียนวัดผาสุก ได้เรียนรู้ได้ต่อเนื่อง เป็นต้น

  46. โครงการ : สวนผักคนเมืองชุมชนพรหมมานนท์ (ต่อเนื่อง)

    1. เกิดกลุ่มสวนผักคนเมือง 2. มีตัวอย่างบ้านเรียนรู้การใช้พื้นที่จำกัดชุมชนเมืองปลูกผัก (บ่านายประจวบ เมฆเรือง)

  47. โครงการ : บ้านปลาบ้านปูฟื้นฟูป่าชายเลนลดหนี้นอกระบบบ้านหน้าทับ

    2.1 เกิดแหล่งเรียนรู้บ้านปลาบ้านปูฟื้นฟูป่าชายเลนบ้านหน้าทับ 10 แห่ง 2.2 กลุ่มเป้าหมายมีรายได้ใช้หนี้นอกระบบได้ร้อยละ 90

  48. โครงการ : เกษตรผสมผสานบ้านทะเลปัง

    ต้นแบบที่1 ผักปลอดสารพิษ ได้แก่1.นายจำรัส สังข์อุ่น 2.นายเติม ดำคงสวน 3.นางวิริยา โยธาวงษา ต้นแบบที่2 ต้นแบบน้ำยาอเนกประสงค์ ได้แก่ 1.นางกรวรรณ เพชรคงทอง 2.นางหนูแผ้ว พลายด้วง 3.นางสมปอง แดงช่วย ต้นแบบที่3 ต้นแบบการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน ได้แก่ 1.นางอำนวย ศรีวารินทร์ 2.นางธภร จันทร์ศรี 3.นางเริง เพชรคงทอง ต้นแบบที่4 ต้นแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่ 1.นางนงเยาว์ บัวทอง 2.นางปราณี เพชรคงทอง 3.นางสมบูรณ์ พรหมเรือง ต้นแบบที่5 ต้นแบบเลี้่ยงปลาวิถีพอเพียง ได้แก่ 1.นางชนิดา จันทร์ศรี 2.นางฉลวย เมฆตรง 3.นายประเสริฐ แก้วหนู ต้นแบบที่6 ต้นแบบบ้านพอเพียง ได้แก่ 1.นางอารีย์ คงตุก 2.นางกัลยา โรจนธินัน 3.นางทิพรัตน์ พรหมด้วง

  49. โครงการ : คืนสู่ธรรมชาติบ้านพัฒนา

    มีชุดความรู้การทำเกษตรแบบดั้งเดิม จากการรวมกลุ่มปฏิบัติ 4 ชุดความรู้ ได้แก่ การเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ และเลี้ยงปลาแบบผสมผสานการทำปุ๋ยหมัก วิธีการทำน้ำหมักจากหอยเชอรี่ การเสียบยอดต้นไม้ในตระกูลเดียวกัน เช่น มะนาว มะขวิด มะกรูด ส้ม

  50. โครงการ : รูปแบบการจัดการตลาดเทศวิวัฒน์ 1 เพื่อสุขภาวะของชุมชน (ต่อเนื่อง)

    มีศูนย์เรียนรู้เรื่องการจัดการขยะในชุมชน ลานน้ำหมักชุมชน กำแพงภาพวาดในชุมชน

  51. โครงการ : ชุมชนพิกุลทอง สุขภาพดี ด้วยสมุนไพรไทย

    เกิดศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรท้องถิ่น ณ หมู่ที่ 1 ตำบลคีรีเขต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา (หมู่บ้านพิกุลทอง) ในศูนยืการเรียนรู้ มีตัวอย่างสมุนไพรท้องถิ่น ประมาณ 35 ชนิด

  52. โครงการ : โครงการเยาวชนตัวอย่าง ร่วมสร้างชุมชนอุเปน่าอยู่

    ไม่เกิด

  53. โครงการ : มัสยิดกุนุงจนองสร้างสุข สู่สองวัยใส่ใจสุขภาพ

    - ศูนย์ถ่ายทอดความรู้เชิงประสบการณ์และภูมิปัญญาประจำหมู่บ้าน 1 ศูนย์ ที่ตั้งอยู่ที่โรงเรียนตาดีกากุนุงจนอง ถ่ายทอดเรื่องอาหารและสมุนไพร

  54. โครงการ : เยาวชนธรมมะบ้านบางน้อยใส่ใจสุขภาพสูงวัย

    เกิดแหล่งเรียนรู้เรื่องสุขภาพ กาย จิต ตามวิถีพุทธ และการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนจากวัยสูงอายุสู่เยวชนที่วัด

  55. โครงการ : ปือมูดอบือราเป๊ะ พิทักษ์สิ่งแวดล้อม

    1.พื้นที่มีความสะอาด 2.แหล่งน้ำมีความสะอาด 3.คนในชุมชน มีใจรักสิ่งแวดล้อม

  56. โครงการ : เมล็ดพันธุ์สารวัน สานพลังสร้างสุข

    1. เกิดต้นแบบการปรับเปลี่ยนสุขภาพวิถีพุทธ 2. มีพื้นที่การเรียนรู้เรื่องฟาร์มตัวอย่างที่ส่งเสริมสุขภาพ 3. มีปราชญชาวบ้านเรื่องสมุนไพรและการดูแลตนเองของประธานชมรมผู้สูงอายุ 4. มีศูนย์สุขภาพชุมชนโดยชุมชนซึ่งตั้งอยู่ที่ศาลาในวัด

  57. โครงการ : บ้านโคกไม้ไผ่ รู้จด รู้ใช้ สุขได้ด้วยพอเพียง

    แหล่งเรียนรู่้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงบ้าน นายจวน คงชีภา เลขที่ 94/1 บ้านโคกไม้ไผ่ หมู่ที่ 4 ตำบลนาบินหลา อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

  58. โครงการ : เยาวชนต้นแบบบ้านลาเกาะ ม.2

    ปัจจุบันพื้นที่ชุมชนบ้านลาเกาะ เกิดค่านิยมใหม่ๆขึ้นในชุมชน โดยเฉพาะ พื้นที่การทำกิจกรรม พื้นที่การพุดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน โดยเฉพาะ มัสยิดนูรุลญัณนะห์ บ้านลาเกาะ ทุกๆคืน หลังละหมาดมัฆริบ ระหว่างละหมาดอีชา ประมาณ หนึ่งชั่วโมง จะมีการถกเถียงกันในการทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่างๆในชุมชน จนกลายเป็นค่านิผมหลักของชุมชนบ้านลาเกาะ ที่ ถ้าใครตกข่าว ตามไม่ทันกิจกรรมในชุมช ก็จะตกเทรนด์ กลายเป็นว่า ช่วงค่ำระหว่างรอละหมาด ที่ปกติ ชาวบ้านจะไปกินน้ำชาตามร้านน้ำชาต่างๆ เปลี่ยนมาเป็นนั่งพูดคุยที่มัสยิดกัน ต่อด้วยการเสนอกิจกรรมต่างๆ ให้ อบต.เกาะจัน เป็นหน่วยงานจัดหางบประมาณในการจัดกิจกรรมต่อไป

  59. โครงการ : โครงการจัดทำแผนการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบ้านควนตุ้งกู

    1. ธนาคารปูม้าไข่นอกระดอง เพื่อเพาะพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อนของชุมชน 2. มีพื้นที่ป่าชายเลนชุมชนสำหรับการเรียนรู้ของเยาวชน คนในชุมชนและภายนอกชุมชน

  60. โครงการ : กติกาชุมชนคนนาเกตุ

    เกิดพื้นที่การเรียนรู้ในการดูแลห่วงใยผู้ด้อยโอกาสในชุมชน มีการเข้าไปร่วมดูแลโดยภาคีเครือข่ายของชุมชน นายก / รองนายก / เลขานุการนายก / ปลัด อบต. / นักพัฒนาชุมชน / ผู้ใหญ่บ้าน / ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน / สมาชิกสภา อบต. /ผอ.รพ.สต.นาเกตุ /เจ้าหน้าที่ รพ.สต.นาเกตุ / อสม.นาเกตุ และเครือข่ายสุขภาพตำบลนาเกตุ ได้มีการร่วมกันดูแลผู้ด้อยโอกาสอย่างจริงจังและมีการเข้าเยี่ยมผู้ด้อยโอกาสถึงบ้านในรายที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ ในรูปแบบคณะกรรมการสภาชุมชนขับเคลื่อนจัดการสุขภาวะแบบมีส่วนร่วม

  61. โครงการ : ส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นไทยสร้างสายใยชุมชน ปี 2

    1. สภาผู้นำ ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชน ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน และเกิดการจัดการแก้ไขปัญหา ร่วมกันของคนในชุมชน รวมทั้งมีการกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ นำไปสู่กิจกรรมการแก้ไขปัญหาสุขภาวะที่สอดคล้องตามสภาพปัญาที่แท้จริง และเกิดมาตรการทางสังคมที่ได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน 2. เกิดการการร่วมมือในด้านทุนทางชุมชนเช่น วัดเลียบให้สถานที่ในการจัดกิจกรรม มัสยิดเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสุขภาวะชุมชน

  62. โครงการ : ธนาคารต้นไม้เพื่อการอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านสาขาชุมชนวังกระบือ

    - ศูนย์เรียนรู้ต้นไม้ของชุมชนแวกูบา 1 แห่งที่จัดขึ้นบริเวณบ้านของสมาชิกธนาคารต้นไม้ ซึ่งรวบรวมพันธุ์ไม้หายาก และเพาะขยายต้นไม้เพื่อจำหนาย โดยสามารถเปิดให้ผู้เข้าชม นักเรียนสามารถมาเรียนรู้ต้นไม้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางศึกษาธรรมชาติในหมู่บ้านเกิดต้นแบบบ้านน่าอยู่รั้วกินได้ 10 ครัวเรือนเป็นตัวอย่างแกนนำครัวเรื่อนที่สนับสนุนเป็นแหล่งเรียนรู้บ้านน่าอยู่รั้วกินได้ของชุมชนและสนับสนุนรวมถึงการสร้างกระแสบ้านน่าอยู่รั้วกินได้ของชุมชนให้เพิ่มขึ้น

  63. โครงการ : พลังชุมชน สร้างสัมพันธ์ สู่ฝันคนคลองช้าง ปี 2

    สภาผู้นำ ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชน ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน และเกิดการจัดการแก้ไขปัญหา ร่วมกันของคนในชุมชน รวมทั้งมีการกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ นำไปสู่กิจกรรมการแก้ไขปัญหาสุขภาวะที่สอดคล้องตามสภาพปัญาที่แท้จริง และเกิดมาตรการทางสังคมที่ได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน

  64. โครงการ : โครงการเสริมสร้างการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบ้านน้ำราบ

    1. พื้นที่ต้นแบบ/พื้นที่เรียนรู้ในการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งร่วม (co-management) โดยเป็นการประสานความร่วมมือในการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐ เอกชน และสถาบันวิชาการ ซึ่งถือเป็นพื้นที่แรกๆของประเทศไทย 2. เกิดพื้นที่เรียนรู้ในการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งโดยชุมชน (community-based management) 3. เกิดพื้นที่ต้นแบบ พื้นที่เรียนรู้หรือแหล่งเรียนรู้ในการจัดทำธนาคารปูม้าไข่นอกกระดองและการเพาะพันธุ์หญ้าทะเล

  65. โครงการ : คนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย

    - ศูนย์ ศสมช. ให้บริการด้านการแพทย์แผนไทย นวด อบ และประคบสมุนไพร - เป็นห้องเรียน อสม.หลักสูตร การส่งเสริมสุขาภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น - สวนสุขภาพ ประกอบด้วย ลานนวัตกรรมนวดฝ่าเท้า สวนสมุนไพร สุขศาลา ลานเปตอง กลุ่มคนปั่นจักยาน - หมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะ - มีอาสาสมัครจิตอาสาเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรัง "เพื่อนช่วยเพื่อน"

  66. โครงการ : พัฒนาชุมชนราษฏร์บำรุงแบบเศรษฐกิจพอเพียง

    หลักสูตรชุมชนและหลักสูตรอาหารพื้นบ้านลดหวานมันเค็ม

  67. โครงการ : ปราชญ์ตัวน้อยช่วยเศรษฐกิจที่บ้านไสหร้า

    เกิดฐานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนวัดประดิษฐาราม จำนวน 3 ฐาน ได้แก่ ฐานการเรียนรู้การทำน้ำหมักชีวภาพ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การเรียนรู้การทำน้ำยาไล่แมลง ฐานการเรียนรู้การปลูกผักปลอดสารพิษ ฐานการเรียนรู้พลังงานทดแทน

  68. โครงการ : บ้านนาปริก สุขภาวะดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน ตามแนวทางวิถีพอเพียง

    1. มีการรวมกุล่มด้านการจัดทำวิสาหกิจชุมชนด้านการเพาะเห้ด 2.มีการนำทุนทางสังคมด้านพื่ชสมุนไพร และจัดเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน

  69. โครงการ : ผัก:สายสัมพันธ์สู่่ทับคริสต์วิถีชีวิตที่พอเพียง

    1. แหล่งเรียนรู้การผลิตผักปลอดภัยประเภทการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ที่มีเยาวชน ชาวบ้านที่สนใจเข้ามาศึกษากระบวนการเรียนรู้ตั้งแต่การเพาะเมล็ด การปลูก และการดูแลจนถึงระยะการเก็บผลผลิต 2. เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนสำหรับให้นักเรียนโรงเรียนอุปถัมภ์วิทยาพนมเข้ามาเรียนรู้งานการผลิตผัก 3. เป็นแหล่งเรียนรู้การผลิตเมล่อนในโรงเรือนที่ใช้วัสดุปลูกจากปุ๋ยหมักชีวภาพ การดูแลรักษา การผสมเกษร การตัดกิ่งแขนงเมล่อน ซึ่งเป็นสถานที่เรียนรู้แห่งแรกในตำบลคลองชะอุ่น

  70. โครงการ : ปรับพฤติกรรมการกิน สร้างสุขคนควนทัง

    1. เกิดบุคคลต้นแบบในการทำเกษตรปลอดสารพิษภายในชุมชน คือ นางจำเนียร รักเมือง , นายสุธา แก้วมาเคียม , นายปัญญา , อดีตข้าราชการ , ลุงเบิ้ม 2. ชาวบ้านมีความตระหนักถึงสุขภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น 3. ลานกีฬาเป็นพื้นที่พบปะของเยาวชนที่ร่วมกันใส่ใจสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย

  71. โครงการ : ขยะลอยน้ำบ้านเปี๊ยะหัวเนิน(ต่อยอด)

    เกิดแกนนำชุมชนที่สามารถเป็นวิทยากรเรื่องการจัดการขยะและขยายเครือข่ายให้ครัวเรือนในแต่ละกลุ่มบ้านได้ และเป็นบ้านตัวอย่างในการจัดการขยะ แกนนำกลุ่มบ้านมีบ้านตัวอย่างร่วมด้วยคณะทำงาน 20 คน แกนกลุ่มบ้านกลุ่มบ้าน 5 คน ตัวแทนผู้ค้า 30 คน รวม 55 คน

  72. โครงการ : บ้านดอนมะปราง มีชีวิตปลอดภัยด้วยเกษตรอินทรีย์

    ปราชญ์ชุมชนได้แก่ 1.นางสาวนภารัตน์ เพชรทอง เป็นปราชญ์และต้นแบบการทำปุ๋ยหมัก 2.ผู้ใหญ่สุทัศน์ ไชยเดช เป็นต้นแบบของผู้นำและต้นแบบการพัฒนาทุกเรื่อง 3.นายชาตรี รองเรืองฤทธิ์ เป็นปราชญ์เรื่องการเลี้ยงปลา 4.นายจรูญ ขวัญแก้ว เป็นปราชญ์ด้านการพัฒนาทุกด้าน 5.นางปราณี นะสงคราม เป็นปราชญ์เรื่องการปลูกผัก

  73. โครงการ : เอาพลาสติกคืนไปเอาพฤกษ์ไพรคืนบ้านดอนทะเล(ต่อยอด)

    เกิดร้านค้าสวัสดิการชุมชน ในพื้นที่ชุมชน รวม 4 โซน ซึ่งหัวหน้าโซนเป็นผู้รับผิดชอบ ในการจัดการเรื่องสินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชน และ การรีไซเคิล ขยะ โดยมีกรรมการโครงการมาประชุมร่วมกันเดือนละครั้ง

  74. โครงการ : บ้านห้วยใหญ่ วิถีชุมชนพอเพียง

    เกิดต้นแบบด้านการลด ละ เลิกยาเสพติด ประเภท สุรา บุหรี่ กะท่อมจำนวน 3 รายและต้นแบบการทำบัญชีครัวเรือน

  75. โครงการ : ฟื้นชีวิตเล คืนวิถีชีวิตชุมชน บ้านหัวลำภู

    บ้านหัวลำพู หมู่ 1 มีวิถีชุมชน แบบ โหนด นา เลในด้านการประกอบอาชีพประมง ชุมชนมีความตระหนักที่จะช่วนกันฟื้นฟู อนุรักษ์สัตว์น้ำในพื้นที่ โดยได้รวมตัวกันของกลุ่มคนทำประมง และเกิดเป็นกลุ่มในการอนุรักษ์ทรัพยากร มีกิจกรรมที่กลุ่มได้ร่วมกันทำ คือ การทำซั้งบ้านปลาการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ และการออกตรวจลาดตระเวณในเขตอนุรักษ์โดยกลุ่มอาสาสมัครชาย จำนวน 15 คน

  76. โครงการ : อยู่อย่างวิถีไทย ชาวควนสินชัยสุขภาพดี

    เกิดพื้นที่ต้นแบบแหล่งเรียนรู้ด้านสุขภาพในชุมชน 1. ลานวัดลานกีฬา 2. สวนสมุนไพรหมู่บ้าน 3. ตลาดนัดผักปลอดสารพิษ 4. โรงเรียน อสม.ห้องเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

  77. โครงการ : เด็กและเยาวชนร่วมรักษ์ป่าชายเลนบ้านหาดทรายยาว หมู่ที่ 2 ตำบลตันหยงโป

    ศูนย์เรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลน หมู่ที่ ๒ บ้านหาดทรายยาว เป็นศูนย์เรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนที่จะให้ผู้สนใจ นักเรียน นักศึกษา ได้เข้ามาศึกษาดูงานในศูนย์เรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลน ประกอบด้วย ๑.พันธ์ุไม้ป่าชายเลนทุกชนิดที่มีอยู่ในบ้านหาดทรายยาว มีดังนี้ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ถั่วดำ ถั่วขาว แสมทะเล แสมขาว แสมดำ ตะบูนขาว ตะบูนดำ ปรงทะเล เป๋งทะเล หวายลิง เหงือกปลาหมอ ๒.สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่บริเวณป่าชายเลน หอยตาแดง หอยกาบ(หอยลอกัน) ปลาตีน หอยเข็ม หอยอูมัง ปูดำ ปูก้ามดาบ ปูเปรี้ยว ปูไฟ(ก้ามมีหลายสี) งูทะเล ตะกรวด นาค หอยลอกัน หอยสันขวาน(เจดีย์) ลิงแสม งูปล้องทอง งูปล้องอ้อย ๓.สัตว์น้ำที่อาศัยบริเวณชายฝั่ง กุ้งขาว กุ้งหางแดง กุ้งเปลือกแข็ง กุ้งหางแข็ง ปูดำ ปูม้า ปูขีดไฟ ปลากะพงขาว ปลาดุทะเล ปลาพงแดง กั้ง ปลาตรวด(ปลาลาหมา) กุ้งแม่แม่หวัด(กุลาดำ) ปลากระบอก ปลากุเรา หอยแครง ปลาเก๋า ปลากูกู่)

  78. โครงการ : สร้างคลอง สร้างฅน สร้างสุขภาวะชุมชนฅนหนองบัว

    เกิดพื้นที่เรียนรู้ ซึ่งจัดเป็นแหล่งเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติในคลองหรือบริเวณคลอง และศึกษาหาข้อมุลที่ชัดเจนในการจัดการคลองให้มีระบบนิเวศดีขึ้นและมีประโยชน์ต่อคน ชุมชน และสังคม ได้อย่างยั่งยืนต่อไป

  79. โครงการ : ร้อยดวงใจ สู่ชุมชนสุขภาวะ วิถีไทยชุมชนบ้านกลาง(ต่อยอด)

    เกิดครัวเรือนต้นแบบด้านต่างๆ ได้แก่ ครัวเรือนต้นแบบปลูกผักเลี้ยงสัตว์ทำเกษตรผสมผสาน, ครัวเรือนต้นแบบปลูกผักปลอดสารพิษรับประทานในครัวเรือน, ครัวเรือนต้นแบบผักที่เหลือจากการกินนำมาขายเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว

  80. โครงการ : บ้านโคกเคี่ยมสะอาดถูกหลัก คนที่รักปลอดโรค

    มีต้นแบบบ้านจัดการขยะในชุมชน เพื่อเป็นต้นแบบการจัดการขยะให้กับคนในชุมชนที่สนใจ เช่น การคัดแยกขยะเพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน การทำปุ๋ยหมักเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ย เป็นต้น

  81. โครงการ : ประกายฝันผู้สูงวัยบ้านควนโพธิ์

    "เศรษฐกิจพอเพียง" ประโยคนีี้ดูจะคุ้นหูและความรู้สึกของประชาชนในยุคนี้ โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสให้ปวงชนชาวไทยได้มีสติ รู้จักคิด รู้จักใช้ งดใช้เงิน-ของฟุ่มเฟือย เพื่ออนาคตของทุกคนจะได้ไม่ยากลำบากในยามเศรษฐกิจทรุด บ้านควนโพธิ์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลควนโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ด้วยสภาพการเป็นอยู่ในชุมชน เน้นการพึ่งพาตนเอง จนเป็นที่ยอมรับและเป็นตัวอย่างที่ดี มีผู้มาศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดบ้านควนโพธิ์ส่งเสริมให้ประชาชน ได้นำผักพื้นบ้านมารับประทาน อาทิ ดอกอัญชัน ยอดมะระ ชะอม ใบชะพลู ใบบัวบก ฯลฯ ใช้ประกอบเป็นอาหารหลัก นางนาถลดาชินประสิทธิ์ ประธานกลุ่มเกษตรกรพื้นบ้าน เล่าให้ฟังการทำหมู่บ้านให้เป๋นแหล่งศูนย์การเรียนรู้นี้ ไม่ได้มุ่งหวังเรื่องเงิน แต่มุ่งหวังเรื่องการเรียนรู้ ปัญหาคือ ชุมชนอ่อนแอเพราะขาดความรู้ ถ้าเราแบ่งคนเป็น 3 ฐาน ฐานที่ 1 คือคนระดับมันสมอง จะไหลออก ไม่อยู่ในชุมชน ผู้ที่เรียนหนังสือจนสำเร็จการศึกษามักไม่กลับไปบ้านเกิด ทำให้ชุมชนอ่อนแอไปเรื่อย ๆ ต้องหาทางให้คนกลุ่มนี้กลับมาซึ่งยากเพราะแต่ละคนมีภารกิจหน้าที่ต้องดูแลครอบครัว เพราะฉะนั้นจึงต้องทำให้คนกลุ่มที่ 2 และ 3 ที่อยู่ในพื้นที่ให้เก่งให้ได้ กลุ่มที่ 3 คือฐานล่าง ที่สุด เพราะมีการเรียนรู้ช้า ต้องใช้เวลาในการพูดคุยหรือทำงานมากกว่ามาตรฐานคนปกติ 3 เท่า จึงจะสามารถขยับตัวขึ้นมาเป็นคนกลุ่มที่ 2 ได้ และทำให้คนกลุ่มที่ 2 พัฒนาเป็นคนกลุ่มที่ 1 แต่อยากให้คนกลุ่มที่ 1 ที่เคยออกจากพื้นที่ กลับมาเยี่ยมเยียนบ้าน เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคนในพื้นที่แค่นั้นก็เพียงพอแล้ว แต่ต้องใช้เวลา เพราะเป็นการพัฒนาคน สร้างคนรุ่นใหม่จากชุมชน วันนี้เราต้องให้ความสำคัญกับชุมชนฐานล่างให้มากขึ้น ให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้มากกว่าผลลัพธ์ ควรมีศูนย์การเรียนรู้ เพราะศูนย์การเรียนรู้มีค่า ตัวอย่างเช่น วิชาส้มตำถ้าเขากลับไปปลูกมะละกอสัก 5 ต้นก็คุ้มแล้ว สอนทุกเรื่องที่อยากรู้สามารถนำไปประกอบอาชีพได้โดยไม่ต้องพึ่งพาใครอีก นางนาถลดาชินประสิทธิ์ ประธานกลุ่มเกษตรพื้นบ้าน กล่าวว่าที่บ้าน ทำสวนเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกมะนาวในท่อ โดยใช้ปูุ๋ยหลายอย่างเพื่อเป็นการทดลอง เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงปลาดุก เลี้ยงไก่พื้นบ้าน เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไส้เดือนเพื่อทำปุ๋ย เพาะเห็ดนางฟ้าเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้ให้กับครอบครัว แค่นี้ก็พอใจแล้ว

  82. โครงการ : หมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียง บ้านทุ่งมะปรัง

    เกิดคนต้นแบบด้านการจัดการสุขภาพและครัวเรือนต้นแบบที่ใช้ชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 15ครัวเรือน

  83. โครงการ : อนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยสมุนไพรพื้้นบ้าน : บ้านคลองทราย

    มีแปลงปลูกสมุนไพรตัวอย่าง เนื้อที่ 2 ไร่ มีพืชสมุนไพรปลูก 50 ชนิด เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ตะไคร้หอม ย่านาง ค้างคาวดำ หญ้าปักกิ่ง ต้นเนียม หญ้าหวาน บอระเพ็ด เจตมูลเพลิงแดง มะขามป้อม ฟ้าทะลายโจรฯลฯในบริเวณสำนักสงฆ์ป่าลูกโคกสุทธาวาสใสามารถเป็นพื้นที่เรียนรู้ให้กับคนในชุมชน เยาชน เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านลำชิง

  84. โครงการ : ท่ามาลัยร่วมใจสานฝันครอบครัวอบอุ่น ตำบลปากน้ำ

    -เกิดต้นแบบครอบครัวอบอุ่น -การจัดการกองทุนสุขภาพ -กองทุนการทำกุรบาน(พิธีกรรมทางศาสนา) -เกิดการประชุมร่วมสภาอาซูรอ

  85. โครงการ : บ้านดอนขี้เหล็กอุ่นใจ ห่างไกลภัยในชุมชน

    มีการสร้างแหล่งเรียนรู้และใช้เป็นที่ประชุมปรึกษาหารือเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน

  86. โครงการ : รักษ์สุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม ที่บ้านเขากอย

    เกิดแปลงสาธิตพืชผักสมุนไพรจำนวน 2 แปลงและเกิดการเรียนรู้การทำน้ำหมักชีวภาพ โดยสามารถที่จะให้เด็ก เยาวชนภายในชุมชนได้รู้ถึงสรรพคุณของพืชผักสมุนไพรแต่ละชนิดที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และเกิดแกนนำในการทำน้ำหมักชีวภาพที่จะสามารถถ่ายทอดไปยังผู้อื่นได้

  87. โครงการ : คนสามวัยใส่ใจสุขภาวะชุมชนบ้านทุ่งใหญ่

    - โครงการนี้เป็นต้นแบบของจิตอาสาในการดูแลผู้สูงอายุและ และเป็นต้นแบบของแกนนำในชุมชน

  88. โครงการ : เกษตรพอเพียงตามวิถีมุสลิมบ้านคลองยาง

    - แหล่งเรียนรู้เส้นทางธรรมชาติ ระยะทาง 500 เมตร + ศาลาศูนย์รวม - แหล่งเรียนรู้ชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน - แหล่งเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

  89. โครงการ : เกษตรกรบ้านบางไทรนนท์ร่วมใจลดภัยสารเคมี

    1. เกิดต้นแบบพื้นที่เรียนรู้ในชุมชน ซึ่งได้ดัดแปลงพื้นที่ว่างเปล่าบริเวณหน้าบ้านที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาเป็นแปลงปลูกผักปลอดสารพิษและมีการเพาะปลูกอย่างต่อเนื่องจำนวน 10 ครัวเรือน 2. มีจุดสาธิตและขั้นตอนการทำน้ำหมักชีวภาพเป็นแหล่งเรียนรู้ในระดับชุมชน

  90. โครงการ : คลองโชนเข้มแข็ง ชุมชนดี สู่วิถีพอเพียง

    -มีบุคคลต้นแบบการทำบัญชีครัวเรือน -มีบุคคลต้นแบบในการลดละเลิกบุหรี่/สุรา -มีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านคลองโชน

  91. โครงการ : ชุมชนตันหยงโป หมู่ที่ 1 ร่วมใจ อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรสัตว์น้ำ และทรัพยากรชายฝั่ง

    การพัฒนาอ่าวตันหยงโปให้มีความอุดมสมบูรณ์ โดยมีคณะทำงานเป็นตัวขับเคลื่อน ระหว่างคนในชุมชน ชาวประมงพื้นบ้าน ช่วยกันดูแลพื้นที่ ภายในระยะเวลา ๑ ปี ทำให้เกิดศูนย์เรียนรู้ ปูดำ ซึ่งจะเป็นการต่อยอดในการอนุรักษ์ ดูแล รักษา อ่าวตันหยงโป ต่อไปอย่างยั่งยืน สามารถที่จะให้ผู้ที่สนใจ เข้าศึกษาดูงาน เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ และทรัพยากรชายฝั่งได้

  92. โครงการ : พัฒนาป่าชุมชนเพื่อแหล่งเรียนรู้และอนุรักษ์ทรัพยากรบ้านควนดิน(ต่อเนื่อง 2 )

    เป็นแหล่งเรียนรู้ในเยาวชน ประชาชนในชุมและหมู่บ้านใกล้เคียงเข้ามาศึกษาด้านพันธุ์สัตว์น้ำพืชสมุนไพร ต้นไม้หายากในป่าชายเลน

  93. โครงการ : ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของชุมชนทรัพย์อนันต์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2

    ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านทรัพย์อนันต์

  94. โครงการ : บ้านปลักใหญ่ใจดี สานสัมพันธ์ เชิดชูผู้สูงวัย สู่สุขภาวะ

    ศูนย์เรียนรู้ชุมชน

  95. โครงการ : ศูนย์เรียนรู้วิถีอิสลามยั่งยืนบ้านน้ำเค็ม (ชุมชนเรียนรู้ ชุมชนเข้มแข็ง)

    เกิดต้นแบบครัวเรียนส่งเสริมสุขภาวะ ครัวเรือนเกษตรผสมผสาน ครัวเรือนส่งเสริมการออมและทางศาสนา และพื้นที่สวนต้นแบบวนเกษตร รวมถึงเกิดพื้นที่การวิจัยแปลงผักที่ไม่ตัดต่อพันธุกรรม และสวนเกษตรผสมผสาน

  96. โครงการ : สร้างสมบูรณ์สุขให้มีสุขภาพดีโดยการจัดการขยะ (ต่อเนื่อง2)

    กระเป๋ากระดาษมีหูหิ้วใส่อาหาร เสื้อยืดที่เลิกใช้แล้วเป็นกระเป๋าลดโรคร้อน

  97. โครงการ : เยาวชนบางกล้วยนอกนักจัดการทรัพยากรธรรมชาติบนฐานทรัพยากร 3 วงล้อ

    - เกิดต้นแบบในพื้นที่ ม.3 จำนวน10 แปลง ที่สามารถทำเกษตรอินทรีย์แบบไม่ต้องพึ่งสารเคมี และเกิดความมั่นคงทางอาหารเพื่อตอบโจทย์ในการส่งเสริมสุภาพ อาหารปลอดภัย ไร้สารเคมี

  98. โครงการ : พันธมิตรพิชิตขยะ บ้านบางหละจัดการตนเอง

    1.เกิดพื้นที่เรียนรู้ด้านการจัดการขยะในชุมชน 1 แห่ง คือกองทุนขยะและสิ่งแวดล้อม หรือ ธนาคารขยะรีไซเคิลในชุมชน

  99. โครงการ : กลองยาวเกษตรอินทรีย์ บ้านสาคูเหนือ(ต่อยอด)

    จุดรวมพลฝึกซ้อมกลองยาว เผยแพร่เรียนรู้การรำกลองยาว

  100. โครงการ : ปลอดโรคปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียงบ้านมะม่วงขาว(ต่อยอด)

    เกิดพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้เรื่องการประกอบอาชีพ แบ่งเป็นฐานเรียนรู้ ตามละแวกบ้าน จำนวน 5 ฐานเรียนรู้ คือ 1. ฐานเรียนรู้การเลี้ยงโคลูกผสม ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 15/4 บ้านนางบุญมานาคเนตร 2. ฐานเรียนรู้การทอผ้ายกเมืองนคร ตั้งอย่บ้านเลขที่ 55/1นางสาววันดีปิละวัฒน์ 3. ฐานการเรียนรู้การเลี้ยงไก่พื้นเมือง และขนมไทย17/2บ้านนางสมบัติ ควรรรำพึง 4. ฐานเรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์และการทำบัญชีครัวเรือนบัญชีต้นทุนตั้งอยู้บ้านเลขที่ 168หมู่ที่ 4นางปราณีวางกลอน 5. ฐานเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้าน นายธวัชจิตคำนึงบ้านเลขที่ 11/2หมู่ที่ 4ตำบลนาสาร อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช

  101. โครงการ : ตามรอยวิถีชีวิตมุสลิม นำมาสู่ความพอเพียง ชุมชนบ้านสนี ปี 3 : ชุมชนท้องถิ่่นจัดการตนเอง

    1.เกิดทีมทำงานในชุมชน "สภาผู้นำ" ในการขับเคลื่อนโครงการฯและกิจกรรมต่างๆ ในการพัฒนาชุมชนบ้านสนีสู่ชุมชนสุขภาวะต่อไป 2 กลุ่มอาสาตาสัปปะรด โดยมี อสม.น้อยบ้านสนี เยาวชนกลุ่มเสี่ยง เป็นเป็นหู เป็นตาให้กับชุมชนเพื่อเฝ้าระวังภัยทางสังคม ร่วมกับอาสามัครชุมชนและหน่วยงานท้องถิ่น และอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลและขั้นตอนการลงพื้นที่ 3 เกิดข้อตกลง กฏกติกา(ฮูกุมปากัต) ข้อตกลงร่วมของประชาชนในชุมชนบ้านสนี โดยให้ มัสยิด , ศูนย์การศึกษาจริยธรรม ตาดีกานัฮฎอตุ้ลอัฏฟาล (สนีล่าง),ตาดีกาดารุลนาอีม(สนีบน) สถาบันปอเนาะนูรุลกุรอาน และ โรงเรียนบ้านฉลุง เป็นสถานที่ปลอดยาเสพติด และจัดเป็นพื้นที่เรียนรู้ นิทรรศการความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด 4 เกิดแหล่งเพาะพันธ์พืช กลุ่มธนาคารพันธุ์พืชและแปลงนาสาธิต ณ ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง

  102. โครงการ : พลังเยาวชนร่วมสืบสานวิถีวัฒนธรรมชุมชน: คนบ้านปริก

    1. แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรปลอดภัย ของนายฟาริด เบ็ญมุสา และนายกอริส โอกาส 2. แหล่งเรียนการจัดการขยะและพลังงานทดแทน นายอาหลีหมัดหนิ และนายซาการียา หมัดเลียด 3. แหล่งเรียนรู้ส่งเสริมอาชีพการทำน้ำพริกแห้ง น้ำพริกสมุนไพร

  103. โครงการ : พลังชุมชนร่วมรักษ์ป่าชายเลนบ้านบางค้างคาว

    - ได้ร่วมกับโรงเรียนบ้านบางค้างคาวจัดตั้งชุมนุมอนุรักษ์ป่าชายเลน มีสมาชิกจำนวน 25 คน เพื่อเป็นแนวร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าชายเลน - ได้จัดให้มีการเรียนการสอนเรื่องการอนุรักษ์ป่าชายเลนเดือนละ 2 ครั้งโดยเรียนในห้องเรียน 1 ครั้ง และลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติจริง 1 ครั้ง

  104. โครงการ : ร่วมมือร่วมใจสร้างระบบอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง

    เกิดตลาดนัดเพื่อสุขภาพหรือตลาดเขียว 1 แห่ง คือ ตลาดใต้เลียบ เป็นตลาดอาหาร ผักสดทุกเช้า รณรงค์สร้างให้เป็นแหล่งอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง 1 แห่ง

  105. โครงการ : รักษ์ป่า รักษ์น้ำ รักษ์ชีวิต ที่บ้านเขาปู่

    เกิดรูปแบบการสร้างฝายมีชีวิต จำนวน 1 จุด

  106. โครงการ : ตู้เย็นข้างเรินบ้านชายควน

    ฐานกิจกรมทั้งสามฐานมีแนวโน้มว่าสามารถพัฒนายกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้ได้

  107. โครงการ : คนท่ายูงปลูกป่าในนาสหาย

    ป่าต้นน้ำเขาแก้วสามารถยกระดับขึ้นเป็นแหล่งเรียนรู้ในการบริหารจัดการป่าต้นได้

  108. โครงการ : ร่วมสร้างสุขให้ชุมชน ด้วยการฟื้นเลบ้านคูขุด

    แพปลาชุมชนบ้านคูขุด เป็นต้นแบบศูนย์เรียนรู้ของการทำธุรกิจชุมชนที่มีการบริหารจัดการที่ครอบคลุม ทั้งด้านทรัพยากรพัฒนาศักยภาพ การจัดการกลุ่มกองทุนฯกลุ่มสวัสดิการที่มีอยู่ให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน มีฐานข้อมูลชุมชน ข้อมูลสัตว์น้ำ ข้อมูลเขตอนุรักษ์ ฯลฯ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ถึงปัจจุบัน

  109. โครงการ : ฟื้นป่า รักษ์เคย ที่บ้านปากหวะ หมู่.10 ต.ลำปำ

    ชุมชนมีทิศทางและแผนงานที่ชัดเจนโดยการต่อยอดจากการทำกิจกรรมในประเด็นการขยายผลองค์ความรู้และภูมิปัญญาชุมชนที่เชื่อโยงในการฟื้นฟูทรัพยากร เช่นการแปรรูปทำกะปิกุ้ง/ปลา ซึ่งเหลือเพียงที่เดียวในพื้นที่ชายฝั่งพัทลุงให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของหมู่บ้านและตำบลลำปำ โดยประสานแผนทำงานร่วมกับ กศน พัทลุงเรีบยบร้อยแล้ว.ขณะนี้มีผู้รู้ด้านแปรรูบได้แลกเปลี่ยนถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับเด็กในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

  110. โครงการ : สร้างหลาด(ตลาด)ในห้วยที่บ้านห้วยไม้ไผ่

    - มีแหล่งเรียนรู้เรื่องการผลิตอาหารปลอดภัย - มีแหล่งเรียนรู้เรื่องการเพิ่มพื้นที่การผลิตอาหารการปลูกพืชร่วมในสวนยาง - มีธนาคารพันธ์ไม้ พันธ์พื้นบ้านของชุมชน - มีศูนย์เรียนรู้การผลิตอาหารปลอดภัยในชุมชน โดยมีฐานการเรียนรู้จำนวน 5 ฐาน

  111. โครงการ : พัฒนาคน...ชุมชนพอเพียง ณ บ้านควนยวน

    1. กลุ่มการแปรรูปเห็ด เช่น ขนมเห็ดสามรส ห่อหมกเห็ด 2. กลุ่มการเพาะเลี้ยงไส้เดือน มีการผลิตปุ๋ยจากมูลไส้เดือน สามารถเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ในชุมชน 3. กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ สามารถลดรายจ่ายในครัวเรือน ส่วนหนึ่งสามารถจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

  112. โครงการ : เกษตรพอเพียงตามวิถีชุมชนบ้านพรุสมภาร

    1. เกิดศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 1 แห่งตามโครงการ 2. เกิดแหล่งเรียนรู้ในชุมชนอีก 3 แห่ง 3. เกิดกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประกอบอาชีพ 1 กลุ่ม

  113. โครงการ : สานสายใยรักบ้านไม้ขาวร่วมจัดการโรคเรื้อรัง

    1.มีพื้นที่ออกกำลังกาย 2.มีแหล่งเรียนรู้ ด้านสุขภาพระดับชุมชนเช่นโรงเรียนบ้านไม้ขาว โรงเรียนนวัตกรรมชุมชน ปราชญ์ุชุมชน

  114. โครงการ : การจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน บ้านท่าฉัตรไชย

    เกิดสถานที่ท่องเที่ยววิถีชุมชน แหล่งใหม่ซึ่งมีการประชาสัมพันธ์ทำให้นักท่องเที่ยวอยากเข้าไปใช้บริการมากยิ่งขึ้น จุดสนใจพิเศษ คือ การเป็น อเมซิง แหล่งถ่ายรูปกลางทะเลลึกใต้สะพานสารสิน ฐานเรียนรู้ ตำนานรักสารสิน

  115. โครงการ : ชุมชนเสาธงทองผักสวนครัวปลอดสารพิษขยะมีชีวิตร่วมคิดร่วมทำ

    เกิดต้นแบบบัญชีครัวเรือน ได้แก่ นส.บังอร ช่วยสมบัติ ต้นแบบปลูกผัก นางวิไล นวลศรี นส.จินดา ทองนุ่ม นางปรียา เจริญศรี นายอำพลดำรักษ์

  116. โครงการ : ฝายกั้นขยะคืนชีวิตชุมชนบางฉนาก

    คุณประเสริฐ ชูสุวรรณ ต้นแบบด้านการจัดการขยะ โดยการคัดแยกขยะในร้านของชำเกิดรายได้ และประโยชน์ในครัวเรือน นายพวน เงินทอง นำเศษอาหารไปเลี้ยงไก่ ซึ่งเป็นอาชีพเสริมได้ สท.วินัย เจริญสวัสดิ์ แปรรูปเศษอาหารตามร้านค้า ต่างๆ ไปเลี้ยงไก แพะ ลดรายจ่ายจากการซื้ออาหารสัตว์

  117. โครงการ : สร้างสุขภาวะชุมชนคนเสม็ดเรียง

    - "ลานสุขภาพชุมชน" เป็นพื้นที่เรียนรู้การออกกำลังกายในหลายรูปแบบ เช่น เปตอง แบตมินตัน กะลานวดฝ่าเท้า และเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสมุนไพรที่ปลูกไว้รอบๆ ลานด้วย

  118. โครงการ : โรงเรียนสร้างสุข สู้เศรษฐกิจ คืนวิถึชีวิตบ้านท้องลาน

    นายวิชาญ หนูเล็ก ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุราเป็นต้นแบบให้แก่คนในชุมชนและยังประกอบอาชีพหลายด้านทั้งด้ารการเลี้ยงสัตว์ ด้านเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง

  119. โครงการ : พัฒนาบ้านบางคูให้อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน

    นาย สัมฤทธิ์ เมืองบรรจง ต้นแบบปลูกพืชปลอดสารพิษ ทั้งกินเอง และเหลือจำหน่าย

  120. โครงการ : บ้านดอนจิกพัฒนาเพื่อส่งเสริมอาชีพ

    นาย ปภังกร จงไกรจักร ผู้นำเลิกเหล้า และบุหรี่ เป็นตัวอย่างให้กับทุกๆคนในหมู่บ้าน

  121. โครงการ : คืนธรรมชาติบ้านท่าใหญ่สู่ต้นแบบชุมชนเกษตรอินทรีย์

    เกิดแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ตามวิถีชุมชนคนในอดีต

  122. โครงการ : กระจาดเดือนสิบรวมใจเฉลิมพระชนม์ 60พรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาที่ บ้านทุ่งจูด

    ศาลาหมู่บ้าน บ้านทุ่งจูดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่ ซึ่งจะมีเรื่องราวของประวัติศาสตร์ชุมชน ประวัติศาสตร์การทำกระจาดดั้งเดิม และขนมคู่กระจาดรวมอยู่ในศาลาอีกหนึ่งเรื่องราวที่ได้บันทึกไว้ให้เรียนรู้ตลอดสู่รุ่นต่อไป

  123. โครงการ : ผักสวนครัวปลอดสารเคมี วิถีบ้านท่าช้าง

    1. มีต้นแบบครัวเรือนปลูกผักปลอดสารเคมี 4 ครัวเรือน และสามารถถ่ายทอดให้แก่สมาชิกคนอื่นๆได้ 2.เกิดต้นแบบการทำน้ำหมักชีวภาพโดยใช้น้ำหมักจากหอยเชอรี่ และหอยโข่ง 1 ครัวเรือน

  124. โครงการ : ตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา

    - เกิดแปลงสาธิตที่สามารถเรียนรู้ได้ ในโรงเรียนบ้านนาพา โดยมีการปลูกผักพืชบ้านและปลอดสารพิษคือการปลูก ผักเขลียง โดยมีเด็ก จำนวน 20 คน เข้าร่วมโครงการ มีครัวเรือนต้นแบบจำนวน 25 ครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างและสามารถชักชวนคนในกลุ่มอื่นๆมาเข้าร่วมได้

  125. โครงการ : แก้มลิงบ้านทรายเพชรลดภัยพิบัติน้ำท่วม

    -มีเป็นหมู่บ้านให้พื้นที่อื่นมาเรียนรู้เรื่องการจัดการภัยพิบัติ

  126. โครงการ : บ้านไทรทองชีวิตปลอดสารพิษวิถีเศรษฐกิจพอเพียง

    - ผู้นำชุมชนให้ความสำคัญกับโครงการฯ โดยได้เข้ามาเป็นแกนนำในการรวบรวมสมาชิก เพื่อจัดตั้งกลุ่มปุ๋ยหมัก ซึ่งเดิมเคยเจอปัญหาการขาดผู้นำที่มีคุณภาพ จนทำให้กลุ่มต้องหยุดกิจกรรม - เกิดกลุ่มปุ๋ยหมัก - กลุ่มปุ๋ยหมักได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย โดยผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ดำเนินเสนอโครงการ

  127. โครงการ : เศรษฐกิจพอเพียงที่บ้านทุ่งหล่อ

    - เกิดครัวเรือนต้นแบบ 20 ครัวเรือน ในการทำบัญชีครัวเรือน

  128. โครงการ : ชุมชนสามร้อยกล้า ใส่ใจสุขภาพ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปี2

    1.เกิดต้นแบบการเรียนรู้ของชุมชน ในการพึ่งพาตนเองจากการร่วมกลุ่มกัน 2.กระตุ้นในภาพรวม

  129. โครงการ : ร้านค้าคุณธรรมนำวิถีเดิมลดสารเคมีบ้านปากลง

    แหล่งเรียนรู้กระบวนการชุมชนเพื่อให้เกิดความสามารถจัดการตนเองได้ของชุมชน

  130. โครงการ : นำศาสตร์พระราชา สร้างสุขสู่บ้านบางไทร

    1.เกิดการลดการใช้สารเคมีลดลง 2.ชาวบ้านหันมารักสุขภาพในการใช้พืชสมุนไพรมากขึ้น 3.ปรับเปลี่ยนสภาพพื้นที่บริเวณข้างบ้านมาเป็นแปลงผักปลอดสารพิษไว้กินเอง 4.แปลงสาธิต 10 แปลงหันมาใช้เกษตรอินทรีย์และใช้น้ำหมักแทนสารเคมีเพิ่มขึ้น 5.พื้นที่บ้านที่น้ำท่วมหันมาใช้ภาชนะที่เหลือใช้มาปลูกผักไว้กินเอง

  131. โครงการ : กล้วยไข่บานลดสารเคมีบ้านพิตำ

    ทำสารกำจัดศัตรูพืชจากชื่อไตรโคเดอร์มาร์ ทำสารไล่แมลงจากสมุนไพรกลิ่นฉุน รสขม ผสมสูตรของภูมิปัญญาบ้านพิตำ

  132. โครงการ : ร่วมสร้างผลไม้อินทรีย์จากสวนสมรมบ้านห้วยพาน

    เกิดพื้นที่เรียนรู้เรื่องสมุนไพรที่สำนักสงค์ถํ่าหลอด

  133. โครงการ : ร่วมอนุรักษ์ปากน้ำกะแดะให้ชุมชนน่าอยู่

    - เกิดแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำบ้านปลา/บ้านหอย จำนวน 10 จุด

  134. โครงการ : ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียงบ้านคลองเล

    ส.อบต. สุรัตนวดี ชุมไชโย นางสมทรง สรรเพรชผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่นจนสามารถจัดตั้งเป็นกลุ่มทำขนมกล้วยรังนกบ้านคลองเล จะจดเป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ต่อไป

  135. โครงการ : สวนป่า สร้างสุขคนโกงเหลง

    - ป่าชุมชนบ้านโกงเหลง เป็นพื้นที่เรียนรู้ด้านการจัดการป่าชุมชน พืชสมุนไพรในชุมชน ที่มีนักเรียนทั้งในชุมชน และนอกชุมชนแวะเวียนมาศึกษาเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

  136. โครงการ : สมุนไพรสร้างสุขบ้านถ้ำผุด

    - เกิดศูนย์กลางการเรียนรู้ในชุมชน 1 จุด คือ บ้านนางอารีย์ จบฤทธิ์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ชุมชน

  137. โครงการ : บ้านโคกใหญ่ร่วมใจส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ปลดหนี้ครอบครัว

    1.สภาพแวดล้อมในพื้นเอื้ออำนวยต่อการทำแปลงเกษตรปลอดสารพิษ 2.ชุมชนและสภาพพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ในการปลูกพืชแปลงผักการเกษตร

  138. โครงการ : กินผักที่ปลูกและฮิญาบราคาถูกที่บ้านหลาแขก

    1.มีต้นแบบแหล่งเรียนรู้ด้านการทำบัญชีครัวเรือน 9 ครัวเรือน และสามารถถ่ายทอดแก่สมาชิกกลุ่มได้ 2.มีแหล่งเรียนรู้การทำผ้าฮิญาบทำมือ1 ศูนย์ 3.เกิดศูนย์การทำปุ๋ยหมักในชุมชน 1ศูนย์

  139. โครงการ : ลดขยะ สร้างสุขภาวะคนบ้านกลาง

    - มีศูนย์ดูแลสุขภาพด้วยการอบสมุนไพรในชุมชน

  140. โครงการ : บ้านบางคุระพอเพียงหลีกเลี่ยงสารเคมี

    กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่และแกนนำมีบทบาทในการทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ 1. คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน มีบทบาทในการขับเคลื่อนในการจัดกิจกรรมทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ จำนวน 20 คน 2. อสม ทีมีบทบาทในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย จำนวน 5 คน 3. ปราชญ์ชุมชนที่ร่วมจัดกระบวนการพัฒนาความคิด การเรียนรู้ โดยการจัดเวที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 5 คน

  141. โครงการ : ผัก สมุนไพรเชื่อมใยรักคนเขาปูน

    - เกิดศูนย์เรียนรู้แปลงสาธิตสมุนไพรเพื่อชุมชน โดยมีการปรับพื้นที่ ปลูกสมุนไพรเพิ่มขึ้น ติดตั้งป้ายสื่อความหมาย ป้ายสรรพคุณ เพื่อให้เป็นที่เรียนรู้ของคนที่สนใจ โดยนำป้ายชื่อสมุนไพร ที่มีทั้งหมด 50 ชื่อ ไปติดให้ตรงกับชนิดของสมุนไพรที่ได้ปลูกไว้แล้วในสวนป่า ซึ่งต่อไปจะเป็นศูนย์เรียนรู้แปลงสาธิตสมุนไพรชองชุมชน "บ้านเขาปูน"

  142. โครงการ : กินดีมีสุข ณ บ้านเกาะรุ้ง

    กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่และแกนนำมีบทบาทในการทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ 1. คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน มีบทบาทในการขับเคลื่อนในการจัดกิจกรรมทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ จำนวน 20 คน 2. อสม ทีมีบทบาทในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย จำนวน 5 คน 3. เกิดแกนนำในการเป็นต้นแบบการดูแลสุขภาพ จำนวน 6 คน 4. แกนนำการแปลงเปลี่ยนพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่จำนวน 2 คน 5. แกนนำการทำเกษตรอินทรีลดการใช้สารเคมี จำนวน 25 ครัวเรือน

  143. โครงการ : มัคคุเทศน้อยแห่งเขาขุนพนม

    กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่และแกนนำมีบทบาทในการทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ 1. คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน มีบทบาทในการขับเคลื่อนในการจัดกิจกรรมทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ จำนวน 20 คน 2. อสม ทีมีบทบาทในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดปัจจัยเสี่ยงไม่มั่วสุมสารเสพติด จำนวน 5 คน 3. มัคคุเทศในชุมชนและครูที่ร่วมจัดกระบวนการพัฒนาความคิด การเรียนรู้ เป็นต้นแบบในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 8 คน

  144. โครงการ : ปรับพื้นที่ว่างปลดหนี้บ้านท่าม่วง

    -เกิดกลุ่มคนที่เป็นคนต้นแบบเพื่อเป็นแกนนำในการนำร่องปรับพื้นที่ว่างปลูกผักปลอดสารพิษ

  145. โครงการ : วัฒนธรรมนำสุขคนกงตาก

    - พื้นที่เรียนรู้มโนราห์ และภูมิปัญญาการร้อยลูกปัดทำชุดมโนราห์ ของคณะมโนราห์ผ่องศรีอำนวย เป็นพื้นที่กลางให้เยาวชนมาใช้ประโยชน์ทุกเย็น หรือเสาร์อาทิตย์ จะมีเยาวชนร่วม 20 คน มาซ้อทรำมโนราห์

  146. โครงการ : บ้านไสโคกเกาะ ร่วมใจลดภัยสารเคมีในชุมชน

    กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่และแกนนำมีบทบาทในการทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ 1. คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน มีบทบาทในการขับเคลื่อนในการจัดกิจกรรมทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ จำนวน 20 คน 2. อสม ทีมีบทบาทในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย จำนวน 5 คน 3. ปราชญ์ชุมชนที่ร่วมจัดกระบวนการพัฒนาความคิด การเรียนรู้ โดยการจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 5 คน

  147. โครงการ : เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีพได้บ้านทุ่งกระจูด

    กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่และแกนนำมีบทบาทในการทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ 1. คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน มีบทบาทในการขับเคลื่อนในการจัดกิจกรรมทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ จำนวน 20 คน 2. แกนนำ อสม ทีมีบทบาทในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย จำนวน 7 คน 3. ปราชญ์ชุมชนที่ร่วมจัดกระบวนการพัฒนาความคิด การเรียนรู้ โดยการจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 คน

  148. โครงการ : บ้านไสใหญ่รายได้ดีชีวีมีสุข

    กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่และแกนนำมีบทบาทในการทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ 1. คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน มีบทบาทในการขับเคลื่อนในการจัดกิจกรรมทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ จำนวน 20 คน 2. แกนนำชุมชน ทีมีบทบาทในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค จำนวน 20 คน 3. ปราชญ์ชุมชนที่ร่วมจัดกระบวนการพัฒนาความคิด การเรียนรู้ โดยการจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 คน

  149. โครงการ : บ้านห้วยทรายขาว ชีวิตดี มีเศรษฐกิจพอเพียง

    กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่และแกนนำมีบทบาทในการทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ 1. คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน มีบทบาทในการขับเคลื่อนในการจัดกิจกรรมทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ จำนวน 20 คน 2. อสมและแกนนำ ทีมีบทบาทในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการลดการสูบบุหรี่ จำนวน 20 คน 3. มีครัวเรือนต้นแบบในชุมชนที่ร่วมจัดกระบวนการพัฒนาความคิด การเรียนรู้ โดยการจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 คน

  150. โครงการ : ดาวเรืองสร้างสุขคนปากตรัง

    - ศูนย์เรียนรู้ดาวเรือง ที่มีการเพาะกล้าดาวเรืองไว้ขาย ไว้แจก มีการอบรมสร้างการเรียนรู้สำหรับคนที่สนใจจะปลูกดาวเรืองเป็นอาชีพเสริม

  151. โครงการ : บ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ ด้วยวิถีพอเพียง

    1. การเกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคนสำหรับพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้ คือการเกิดกลุ่มออกกำลังกายในชุมชนจำนวน 1 องค์กร ชุมชน ในพื้นที่ จำนวน 1 แห่ง/พื้นที่รูปแบบสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นคือหลังจากที่ได้มีการจัดประชุมหารือ จนสามารถจัดตั้งกลุ่มออกกำลังกายได้สำเร็จ โดยมีคณะกรรมการแกนนำ จำนวน 5 คน ได้แก่ 1) นางจำเนียร สิทธิฤทธิ์ 2) นางสาวฉลวย ประชุม 3) นางสมสุข เสนาธิบดี 4) นางฉวี วิรัช 5) นางสาวสาธิตา มะปริด มีหน้าทีในการขับเคลื่อนกิจกรรมออกกำลังกายในชุมชนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน 2. เกิดกลุ่มเต้นแอโรบิคขึ้นวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ เวลา 17.00-18.00 น. และได้กำหนดให้วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน 2558 เป็นวันเริ่มต้นกิจกรรมเต้นแอโรบิคเพื่อสุขภาพของพี่น้องบ้านท่าแห้ง โดยมีนายโยธิน รอดเจริญ เป็นวิทยากรนำออกกำลังกายซึ่งในกิจกรรมดังกล่าวได้มีป้ายประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้พี่น้องชุมชนใกล้เคียงมาร่วมกิจกรรมดังกล่าวด้วย โดยไม่เก็บค่าบริการ และยังมีเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพให้บริการฟรี ทั้งนี้ทางคณะกรรมการโครงการและทางกลุ่มออกกำลังกายยังได้ร่วมกันหาแนวทางในการดึงให้เยาวชนและชาวบ้านมาร่วมออกกำลังกายประเภทอื่น ๆ ในเวลาดังกล่าวด้วย เช่น กีฬาเทเบิ้ลเทนนิส กีฬาฟุดบอล และออกกำลังกายโดยใช้เครื่องออกกำลังกายของหมู่บ้านถึงแม้จะมีไม่กี่ชิ้นและมีสภาพไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าใดก็ตาม ซึ่งตอนท้ายของการประชุมได้เชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในการเต้นแอโรบิคมาแนะนำวิธีการออกกำลังกาย "เต้นแอโรบิคอย่างไรจึงจะส่งผลดีต่อสุขภาพ" หลังจากนั้นก็ได้มีการรับประทานอาหารร่วมกันอย่างเป็นกันเองฉันท์พี่น้อง ซึ่งงบในการจัดหาอาหารดังกล่าวเป็นความร่วมมือกันของพี่น้องบ้านท่าแห้ง

  152. โครงการ : คนปากเปียดสุขภาพดีด้วยวิถีพอเพียง

    การเกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคนสำหรับพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้ คือการปลูกและกินผักปลอดสารพิษ ปลอดสารเคมีในพื้นที่ จำนวน 1 แห่ง/พื้นที่รูปแบบสภาภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นคือหลังจากที่ได้มีการจัดประชุมหารือ ถึงหาทางออกในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว เกิดแปลงผักปลอดสารพิษที่ทำเป็นตัวอย่างในระยะแรกจำนวน 3แปลงในชุมชน โดยใช้พื้นที่เปล่าว่างเป็นพื้นที่กลางในเรื่องของการจัดทำ และทำเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับครัวเรือนอีก 70ครัวเรือนในชุมชนเพื่อส่งเสริมให้ครัวเรือนปลูกผักกินเองใช้เอง

  153. โครงการ : สุขสวรรค์ ที่ บ้านควนสวรรค์

    พื้นที่เรียนรู้ในชุมชน ประเด็นการเรียนรู้ และ รูปแบบการให้ความรู้ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของชุมชนในการแก้ปัญหาชุมชนในระยะยาว

  154. โครงการ : อาชีพเสริมเพิ่มรายได้บ้านควนยูง

    1. การเกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคนสำหรับพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้ คือเกิดสภาผู้นำที่มีกระบวนการบริหารจัดการของคนในชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่จำนวน 1 คณะ 2. องค์กรชุมชนขับเคลื่อนกิจกรรมและแก้ไขปัญหาของชุมชนบ้านควนยูง ตำบลนาแว อำเภอฉวางอย่างเป็นประจำต่อเนื่องทุกเดือน 3. จัดทำร่าง แบบสอบถามเครื่องมือในการสำรวจข้อมูลเศรษฐกิจครัวเรือน จำนวน 100ชุดจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50คน ได้ร่วมกันออกแบบการสร้างเครื่องมือ และเรียนรู้วิธีการและขั้นตอนการสร้างเครื่องมือเพื่อสำรวจเศรษฐกิจครัวเรือน เช่นจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือน พร้อมทั้งรับสมุดจดบันทึกรายรับรายจ่ายครัวเรือน ผลลัพธ์ เกิดชุดการสำรวจข้อมูลเศรษฐกิจชุมชน เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในการสำรวจข้อมูลเศรษฐกิจของครัวเรือนประกอบด้วย ข้อมูลครัวเรือน ที่ตั้ง บ้านเลขที่ จำนวนสมาชิก ที่ทำงานได้ และสมาชิกอื่น ๆ รายรับของสมาชิกแต่ละคน/เดือนหมวดค่าใช้จ่าย ค่าอาหาร ค่าสาธารณูปโภค ค่าภาษีสังคม ค่าบุหรี่ค่าเหล้า เฉลี่ยคนต่อเดือน เป็นเงินเท่าไหร่ สรุปรายรับ- รายจ่ายมีความสมดุลย์สอดคล้องกันอย่างไร เพื่อเป้าหมายให้ครัวเรือนเกิดความตระหนัก ความรู้ในการวางแผนค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 4. เพื่อเป็นการส่งเสริมต่อยอดกิจกรรมและขยายพันธุ์พืชที่ปลูกแซมร่องยางเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน

  155. โครงการ : สมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ ที่บ้านไร่เหนือ

    นายประเสริฐ นุ่นสุวรรณ เป็นครูเรื่องสมุนไพร

  156. โครงการ : บ้านสหกรณ์ เรียนรู้วิธีลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง

    เกิดครอบครัวต้นแบบในการเรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักแห้ง น้ำ มีบ้านนางจรรจิราเกตุแก้วเรียนรู้เกษตรผสมผสาน มีบ้านนางสมทรงไกรวงค์เรียนรู้การเลี้ยงผึ้ง และการประมง มีบ้านนายบุญเรือนนาคพันธ์เรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนบ้านนางวจินาหนูแก้วการเลี้ยงสัตว์บ้านนายอภิวัฒคุ้มภัย

  157. โครงการ : ผังฟาร์มลดรายจ่ายที่บ้านทรายขาว

    นางเยาวภา คำแหง เป็นต้นแบบเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง คุณลุงวัยเป็นต้นแบบเศรษฐพอเพียงเรื่องดิน ครู กศน. อ.ณรงค์ รัตนมณี เป็นต้นแบบเร่ื่องบัญชีครัวเรือน นส.สุธิศา จันตง เป็นต้นแบบเรื่องเกษตร

  158. โครงการ : คนเอาถ่านบ้านวัดโหนด

    เกิดต้นแบบการเรียนรู้ การเพาะมูลใส้เดือน การเพาะเมล็ดทานตะวัน ปุ๋ยน้ำสังเคราะแสง เกิดศูนย์สภาผู้นำ

  159. โครงการ : ยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้

    ครูณรงค์ เนาว์สุวรรณ เป็นต้นแบบเรือ่งสูตรยาเหลือง คุณยายเกลื้อม ขวัญทอง เป็นต้นแบบสมุนไพรในการทำยาเหลือง

  160. โครงการ : บ้านห้วยแหยง สืบสานภูมิปัญญา

    1.กำนันสุทัศน์ ปานจีนและนายสุชาติ สิริชุม เป็นครูสอนเรื่องศิลปะมวยไทยให้กับเยาวชน 2.นางเชย ปานจีน เป็นผู้สอนเกี่ยวกับการทำปลาร้า และการแปรรูปอาหารแห้ง 3.นายบุญฤทธิ์ คงดี สอนการเรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมัก

  161. โครงการ : บ้านห้วยแหยง สืบสานภูมิปัญญา

    เกิดอย่างไร รูปแบบไหน หรือเป็นอย่างไร

  162. โครงการ : ข้าวยาโค ข้าวอาซูรอ สองศาสนาสานสัมพันธ์ที่บ้านยวนแหล

    เกิดต้นแบบการเรียนรู้เรื่องการกวนข้าวยาโค และการกวนข้าวอาซูรอ ซึ่งจากการทำกิจกรรมที่ผ่านมาสงผลให้ทางหน่วยงานราชการ เทศบาลตำบลโพธิ์เสด็จได้แล็งเห็นถึงความสำคัญโดนทางเทศบาลตำบลโพธิ์เสด็จได้นำประเพณีการกวนข้าวยาโค และการกวนข้าวอาซูรอเข้าในแผนพัฒนาชุมชนเพื่อให้มีประเพณีการกวนข้าวยาโค และการกวนข้าวอาซูรอสืบไป

  163. โครงการ : เกษตรอินทรีย์บ้านปลักจอกเสริมรายได้

    1.การปลูกผักปลอดสารพิษของสมาชิกโครงการเป็นแหล่งเรียนรู้การปลูกพืชขนาดเล็กโดยไม่ใช้สารเคมีทั้งการเตรืยมดิน การปลูก การดูแลรักษา การทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ2.มีต้นแบบการปลูกพืชผักโดยไม่ใช้สารเคมีที่มีการขยายผลของตนเอง คือนางพร้อม ศรีจันทร์อยู่บ้านเลขที่ 45 หมู่ที่ 6 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา

  164. โครงการ : เกษตรอินทรีย์สร้างรายได้บ้านในหัน

    1.เกิดแหล่งเรียนรู้แปลงผักสาธิตของชุมชน

  165. โครงการ : ชุมชนปลอดสารพิษตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในโคร๊ะ

    1.มีบ้านต้นแบบที่ทำบัญชีครัวเรือนทุกวัน สามารถนำมาเป็นแบบอย่างในการศึกษาได้ในการทำบัญชีครัวเรือน จำนวน 5 ครัวเรือน 2.มีต้นแบบครัวเรือนที่ปลอดสารเคมี 1 ครัวเรือน

  166. โครงการ : สองข้างทางสร้างรายได้ บ้านตีนคลอง

    1.เกิดบ้านต้นแบบในการปลูกผักปลอดสารพิษ 2 หลังคาเรือน และสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนได้ 2.เกิดบ้านต้นแบบในการทำน้ำหมักชีวภาพ 2 หลังคาเรือน และสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนได้

  167. โครงการ : บ้านโปนปลอดสารพิษด้วยวิถีชีวิตพอเพียง

    1.เกิดแหล่งขายผักปลอดสารพิษในชุมชน 1 ร้าน ตั้งอยู่ข้างๆป้ายรณรงค์ 2.เกิดต้นแบบบ้านที่ปลูกผักปลอดสารเคมี จำนวน 20บ้าน 3.กิดต้นแบบบ้านที่ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ จำนวน1 บ้านและสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนได้

  168. โครงการ : ชุมชนบ้านชะเอียนยิ้มได้ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง

    การเกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคนสำหรับพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้ คือการออกกำลังกายในชุมชนและกลุ่มรักษ์สุขภาพ จำนวน 1 องค์กร ชุมชน ในพื้นที่ จำนวน 1 แห่งแห่ง/พื้นที่รูปแบบสภาภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นคือหลังจากที่ได้มีการจัดประชุมหารือ จนสามารถจัดตั้งกลุ่มออกกำลังกายได้สำเร็จ โดยมีคณะกรรมการแกนนำ จำนวน 35 คน นางปราณีพาวันแกนนำในการออกกำลังกาย

  169. โครงการ : สายน้ำสร้างสุขณ บ้านทุ่งโชน

    การเกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคนสำหรับพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้ คือการสืบชะตาสายน้ำบ้านทุ่งโชน และการส้รางฝายมีชีวิตในสายน้ำบ้านทุ่งโชน จำนวน 1 แห่งแห่ง/พื้นที่รูปแบบสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นคือหลังจากที่ได้มีการจัดประชุมหารือ จนสามารถจัดกิจกรรมการสืบชะตาสายน้ำบ้านทุ่งโชน และการสร้างฝายได้สำเร็จ โดยมีคณะกรรมการแกนนำ จำนวน 15คน ได้ร่วมกันขับเคลื่อน และประสานงานกิจกรรม ได้แก่ นางสาวศิริลักษร์ขุนรัง

  170. โครงการ : เกษตรอินทรีย์เพิ่มรายได้ส่งเสริมสุขภาพบ้านคลองตูก

    1. เกิดการเรียนรู้ในการทำการเกษตรแบบอินทรีย์ 2. ชุมชนรู้จักวิธีการสร้างเครืองมือ เก็บและวิเคราะห์ การประเมินภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชนได้

  171. โครงการ : บ้านคันเบ็ดปลอดสารพิษด้วยเศรษฐกิจพอเพียง

    1. การเกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาวะของคนสำหรับพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้ คือ การเชิญตัวแทนครัวเรือน จำนวน 100 คน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำเกษตรปลอดสารพิษร่วมทำข้อตกลงของชุมชนในการปลูกผักปลอดสารพิษ คัดเลือกบ้านต้นแบบในการปลูกผักปลอดสารพิษ จำนวน 10 บ้านเพื่อทำเป็นแปลงสาธิตการเกษตร 2. เกิดครัวเรือนในชุมชนมีการปลูกสมุนไพร 20 ครัวเรือนและสาธิตการใช้สมุนไพรได้อย่าต่อเนื่องและมีประโยชน์ จัดทำทะเบียนสมุนไพรไว้ในชุมชน

  172. โครงการ : รู้เร็ว รู้ไว จัดการภัยพิบัติ บ้านปลายทับใหม่

    เป็นพื้นที่ต้นแบบของตำบลดินแดงในการจัดการภัยพิบัติชุมชน

  173. โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านหัวหินปลอดขยะ

    เชิงปริมาณ เป็นหมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะชุมชน 1 แห่ง เชิงคุณภาพ ได้รับเป็นพื้นที่เรียนรู้การจัดการขยะชุมชนในตำบลเกาะกลาง

  174. โครงการ : การจัดการทรัพยากรป่าชายเลน บ้านเขาทอง unseen อ่าวท่าเลน

    เชิงปริมาณ มีพื้นที่ต้นแบบการจัดการทรัพยากรป่าชายเลน 1 แห่ง เชิงคุณภาพ ชุมชนได้มีการจัดการเพื่ออนุรักษ์ป่าชายเลน

  175. โครงการ : ซีจันตุงฮาตี รวมพลอาบะ อาบี นำชีวีด้วยจริยธรรมแบบโคกทราย

    - แผนแม่บทด้านเด็กและเยาวชนของหมู่บ้าน - หลักสูตรการสอดแทรกด้านคุณธรรม จริยธรรม

  176. โครงการ : ปลุกจิตสำนึกชุมชน คนป่าเสม็ดอนุรักษ์ป่าชายเลน

    ไม่มี

  177. โครงการ : บ้านไร่ทอน อนุรักษ์คลังปัญญา นำพาเศรษฐกิจพอเพียง

    1.ศูนย์คลังปัญญาชุมชน ทำกระต่ายขูดมะพร้าว งานไม้ต่างๆ หลายชนิด 2.กลุ่มเลี้ยงแพะในหมู่บ้าน 3.กลุ่มทำไทรปู

  178. โครงการ : คนบ้านควน รวมใจ ลงมือ ลดนักเสพหน้าใหม่ในชุมชน

    เกิดกลุ่มกีฬาและวัฒนธรรมจำนวน 1 กลุ่ม (ทีมฟุตบอลและกลุ่มการแสดงมวยไทย)เยาวชนจำนวน 20 คน

  179. โครงการ : สานชุมชน รวมพลเครือข่าย สู่เป้าหมายบ้านซอย 10 วิถีพอเพียง

    - วัดซอย 10 สถานที่สอนการทำเรือพระแก่ประชาชน - บ้านครูมโนราห์ที่สอน ฝึกซ้อมให้แก่เยาวชน

  180. โครงการ : เปลี่ยนชีวิต ปรับวิถี เพื่อชีวีที่พอเพียง บ้านห้วยน้ำดำ

    1. เกิดกลุ่มเด็กแสดงลิเกฮูลู 2. เกิดกลุ่มเครือข่ายการปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือนแล้วนำไปขายที่ตลาดนัดสีเขียว 3. เกิดพื้นที่ป่าชุมชน ที่ชาวบ้านร่วมกันปลูกขึ้นในพื้นที่รกร้าง

  181. โครงการ : รวมใจ สานสัมพันธ์ บ้านกุบังจามังเหนือ

    เกิดแกนนำเยาวชนจำนวน 15 คน ที่มีความมุ่งมั่นที่จะทำกิจกรรมเพื่อทำให้เยาวชนในชุมชนตระหนักถึงปัญหาและการแก้ไขความขัดแย้ง ยาเสพติด

  182. โครงการ : เยาวชนคนแป-ระใต้สามัคคี ทำดีเพื่อชุมชน

    - การทำแผนผังเครือญาติและแผนที่ศักยภาพคน - โรงเรียนพ่อแม่เพื่อสร้างกติกาครอบครัวเป็นรากฐานของการสร้างชุมชนให้น่าอยู่

  183. โครงการ : บ้านมะนังเข้มแข็งด้วยเศรษฐกิจพอเพียงที่ยั่งยืน

    - เกิดต้นแบบการออมอย่างสม่ำเสมอ มีกิจกรรมการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ โดยการปลูกพืช ผัก มากกว่า 3 ชนิดขึ้นไปมีการจัดทำบัญชีอย่างสม่ำเสมอ - เกิดต้นแบบการรวมกลุ่มเพื่อทำขนมเค้ก คุกกี้ และขนมอบรอบต่างๆ เพื่อส่งขาย เพิ่มรายได้ สร้างอาชีพ ในหมู่บ้าน โดยมีสมาขิกกลุ่ม จำนวน 10 คน

  184. โครงการ : เยาวชนอาสา บ้านผังปาล์ม 7 อนุรักษ์ทรัพยากร

    1. มีเขตพื้นที่อนุรักษ์เพื่อดูแลทรัพยากรร่วมกัน จำนวน 4 แปลง 2. กลุ่มเยาวชนนักอนุรักษ์มีทักษะในการบริหารจัดการป่าชุมชน 3. เกิดศูนย์เรียนรู้แหล่งทรัพยากรธรรมชาติจำนวน 1 แปลง 4. มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่

  185. โครงการ : รักษ์เกาะสาหร่าย หมู่ที่ 5 ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

    ศูนย์เรียนรู้โอมสเตชุุมชนเรื่องการรณรงค์ไม่ใช้โพม คัดแยกขยะ

  186. โครงการ : บ้านควนหนองหงส์เรียนรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง

    มีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ของปราชญ์ชุมชน คือ นายสมนึก มีชนะ และการปลูกพืชแบบผสมผสานโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงบ้าน นายสุรินทร์ มีชนะ

  187. โครงการ : บ้านปากบางจัดการขยะ สู่ชุมชนปลอดสารพิษ

    หมู่ที่ 8 บ้านปากบางเป็นที่เรียนรู้กระบวนการจัดการขยะของตำบลตาเนาะแมเราะ

  188. โครงการ : ชุมชนสามัคคีปลอดโรค ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง หมู่ที่ 3 บ้านถ้ำทะลุ

    แหล่งเรียนรู้ในชุมชนด้านเศรษศฐกิจพอเพียงนายฮหมิแกสมาน

  189. โครงการ : หมู่บ้านสีเขียว ปลอดโรค ปลอดสารเคมี ด้วยแนวทางเกษตรอินทรีย์ หมู่ที่ 4 บ้านควนโต๊ะเหลง

    มีการรวมกุล่มด้านการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์2.มีการนำทุนทางสังคมด้านพื่ชสมุนไพร ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จัดเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน

  190. โครงการ : หมู่ที่ 7 บ้านบูเกตยามูชีวิตดี วิถีพอเพียง

    ศูนย์เรียนรู้บูเกตยามูโมเดล

  191. โครงการ : พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย สานสายใยสู่ชุมชน หมู่ที่ 10 บ้านคลองบาราเกตุ

    ชมรมผู้สูงอายุ

  192. โครงการ : โครงการเยาวชนคนสร้างสุข บ้านนาเกาะไทร (ต่อเนื่อง ปี2)

    เชิงปริมาณ มีแหล่งเรียนรู้การจัดการกองทุนนำ้ชา 1 แห่ง เชิงคุณภาพ ชุมชนมีการร่วมกันจัดการสวัสดิกาเยาวชนบ้านนาเกาะไทรทำให้เกิดผลกำไรและขยายการดำเนินงานต่อมา

  193. โครงการ : สือดังเบอร์ซาตู (ร่วมเป็นหนึ่ง)

    เกิดแผนที่ชุมชนและผังเครื่อญาติ

  194. โครงการ : ซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง

    มีพื้นที่เรียนรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์จำนวน 1 แห่ง ทำให้เกิดการเรียนรู้ในการทำปุ๋ยอินทรีย์ชนิดแห้ง และน้ำหมัก ของคนในชุมชนทั้งหญิง และชายจำนวน 50 คน และจากชุมชนใกล้เคียง จำนวน 30 คน ที่มาร่วมกลุ่มทำปุ๋ยใช้เอง

  195. โครงการ : สานใจคนสามวัย ร่วมสร้างบ้านโคกเมืองให้น่าอยู่ด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชน

    มีศูนย์เรียนรู้ในด้านพลังงานทดแทน ,การปลูกผักปลอดสาร ,การเลี้ยงไก่ไข่

  196. โครงการ : คนเกาะขาม ใส่ใจสุขภาพ ด้วยพืชผักสมุนไพร

    พื้นที่แหล่งเรียนรู้ด้านสมุนไพรในโรงเรียน 1 แห่ง

  197. โครงการ : ชาวนาปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค บ้านหนองถ้วย

    เกิดแหล่งเรียนรู้ของกลุ่มผลิตอาหารปลอดภัย และการแปรรูปผลผลิต เช่น เครื่องแกงใต้

  198. โครงการ : อาชีพเสริมเพิ่มคุณภาพชีวิตชุมชนบ้านคลองต่อ

    ทำให้เกิดจุดจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ของชุมชนขึ้นจำนวน 1 แห่ง

  199. โครงการ : ลดรายจ่าย เสริมรายได้ชุมชนต้นแบบวิถีพอเพียง บ้านหนองไม้แก่น

    เกิดครัวเรือนต้นแบบในการดำเนินกิจกรรมทางบัญชีครัวเรือน และครัวเรือนต้นแบบในการปลูกผักปลอดสารพิษ

  200. โครงการ : สิ่งแวดล้อมดี ชีวีเป็นสุข ชุมชนบ้านจุ้มปะ

    แบ่งเขตการพัฒนาชุมชนออกเป็นคุ้มบ้าน ดังนี้ 1. เขตคุ้มบ้านต้นกะ 2. เขตคุ้มบ้านคลองภูมี(บ้านออก) 3. เขตคุ้มบ้านหนองเอื้อย 4. เขตคุ้มบ้านคลองเคียน เขตคุ้มบ้านดำเนินการจัดตั้งผู้นำหลักและสร้างผู้นำเพื่อช่วยกันรับผิดชอบพื้นที่ของเขตคุ้มบ้านและปฏิบัติงานร่วมกันกับสมาชิกเขตคุ้มบ้าน

  201. โครงการ : ชุมชนบ้านบาลาเพิ่มมูลค่าขยะเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

    1. มีธนาคารขยะที่เป็นรู้แบบชัดเจน 2. เป็นหมู่บ้านจัดการขยะครบเต็มรู้แบบในตำบลโละจูด

  202. โครงการ : ตะโละแน็งอามานสร้างสุข รู้จักพอเพียงและเพียงพอ

    เกิดชุมชนการเรียนรู้ต่อคนในชุมชน ชุมชนสามารถนำพื้นที่ความรุ้ ที่เป็นต้นแบบ เช่น การปลูกผักสวนครัวริมรั้วการเลี้ยงปลาดุก การออมทรัพย์วันละบาทมาพัฒนาตัวเอง และส่งเสริมการทำอาชีพเสริม หลังจากที่ได้ประกอบอาชีพหลักแล้ว เพื่อเกิดประโยชน์และเป็นชุมชนตัวอย่างให้มีความยั่นยื่นและเป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิตตามแบบเศรษฐกิจพอเพียงของคนใชุมชนหรือชุมชนใกล้เคียงสร้างความเข็มแข็งของคนในชุมชนเช่นเดียวกัน ให้กับครัวเรือนที่ยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการ

  203. โครงการ : ทำนบร่วมสร้างอาชีพสร้างรายได้ อยู่อย่างพอเพียง

    เกิดชุมชนการเรียนรู้ต่อคนในชุมชน ชุมชนสามารถนำพื้นที่ความรุ้ ที่เป็นต้นแบบ เช่น การปลูกผักสวนครัวริมรั้วการเลี้ยงปลาดุก การทำขนมแปรรูป การออมทรัพย์วันละบาทมาพัฒนาตัวเอง และส่งเสริมการทำอาชีพเสริม หลังจากที่ได้ประกอบอาชีพหลักแล้ว เพื่อเกิดประโยชน์และเป็นชุมชนตัวอย่างให้มีความยั่นยื่นและเป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิตตามแบบเศรษฐกิจพอเพียงของคนใชุมชนหรือชุมชนใกล้เคียงสร้างความเข็มแข็งของคนในชุมชนเช่นเดียวกัน

  204. โครงการ : เยาวชนต้นตาลสุขภาพดี มีภูมิคุ้มกันยาเสพติด

    - ปัจจุบันพื้นที่เรียนรู้ของชุมชน จะมีเพียงมัสยิดที่ใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้กับคนในชุมชนโดยข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นจะรับโดยตรงจากผู้นำชุมชน และมีอาคารที่เรียนกีรออาตีสำหรับเด็กเยาวชนที่มาเรียนอัลกุรอานในช่วงเวลากลางคืน ในอนาคตมีแผนที่จำทำที่อ่านหนังสือในหมู่บ้าน

  205. โครงการ : คุณธรรมสร้างคน จริยธรรมสร้างใจ ลดปัญหายาเสพติด ณ บ้านน้ำตก

    เกิดเยาวชนกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มที่ติดยา รวมกลุ่มมา ขุดบ่อเลี้ยงปลาดุกในยามว่าง

  206. โครงการ : ชาวตือกอร่วมมือ ร่วมใจ ชุมชนสะอาด

    -เชิงปริมาณ เป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะ 1 แห่ง เชิงคุณภาพ ชุมชนมีการบริหารจัดการเรื่องธนาคารขยะจนเป็นพื้นที่เรียนรู้

  207. โครงการ : เศรษกิจพอเพียงด้วยบัญชีครัวเรือนบ้านท่าพรุ

    มีการออมวันละบาทมีการทำขนมพีันข้าวเหนียวใบกระพ้อเป็นพีชที่มีอยุ่ในชุมชนมีอสมดีเด่นระดับชาติปี53 สาขาสุขภาพจิตในชุมชน มีงานฝีมีอผุ้สุงอายุ มีป่าชุมชนที่ได้รับรางวัญลุกโลกสีเขียวเกิอครัวเรือนต้นแบบ ในการดำเนินงานยังขาดระบบในการดำเนินกิจกรรม แต่ทีมงานหวังที่จะพัฒนาให้เป็นระบบเพราะว่ามันเป็นทุนจากธรรมชาติและมนุษย์ที่สามรถทำให้เกิดรายได้กับชุมชนได้อีกหนทางหนึ่ง

  208. โครงการ : ทุ่งเกาะปาบร่วมรักษ์พืชผักพื้นบ้าน ม. 6 บ้านทุ่งเกาะปาบ

    1.มีครัวเรือนต้นแบบจำนวน 5 ครัวเรือน 2.สนับสนุนให้ครัวเรือนต้นแบบเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

  209. โครงการ : หมู่บ้านยุคใหม่ใส่ใจสุขภาวะ หมู่ 7บ้านนาข่าใต้

    - มีครัวเรือนต้นแบบปลูกพืชผักปลอดสารเคมี 80 ครัวเรือน - มีชาวสาวนยางต้นแบบที่ลดการใช้ยาฆ่าหญ้าในสาวนยาง - มีฐานข้อมูลสถานการณ์คนในชุมชนในการใช้สารเคมีในสาวนยางและพืชผักสวนครัว - มีแกนนำที่มีความรู้มีความเข้าใจเรื่องอันตรายสารเคมี และเรื่องการบริโภคที่ปลอดภัย - มีศูนย์เรียนรู้ของชุมชนจำนวน 3 ฐาน ประกอบด้วย ฐานผลิตปุ๋ยชีวภาพ ฐานธนาคารพันธ์ผัก ฐานออมเรียนรู้แปลงเกษตรปลอดสารเคมี

  210. โครงการ : โครงการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ชุมชน(ม. 11 บ้านห้วยมะพร้าว)

    - เกิดศูนย์เรียนรู้ในชุมชนจำนวน1ศูนย์ ในพื้นที่โรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว - เกิดครัวเรือนต้นแบบขึ้นในชุมชนจำนวน 40 ครัวเรือน - เกิดผู้นำชุมชนเพิ่มมากขึ้น

  211. โครงการ : มัสยิดสัมพันธ์ศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ม.17 บ้านวังช่อนชัย

    - มีมัสยิดเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ 1 แห่ง เพื่อให้คนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน - เกิดแหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยใช้สระน้ำในหมู่บ้าน ให้ตระกูลทั้ง 7 ตระกูล ได้นำผักสวครัวที่อยู่มาปลูกรอบๆบริเวณสระน้ำ และเป็นที่ให้คนในชุมชนได้ใช้เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ได้พบปะพูดคุยกัน

  212. โครงการ : ชาวเกาะยวน หมู่ 3 ยุคใหม่ คิดใหม่ ทำใหม่ ใส่ใจสุขภาพ

    - เกิดศูนย์เรียนรู้ในชุมชนการปลูกผักโดยให้ครัวเรือนจำนวน 30 ครัวเรือนนำผักที่มีในหมู่บ้านมาช่วยกันปลูก - เกิดครัวเรือนต้นแบบการปลูกพืชสวนครัวรั้วกินได้ โดยให้แต่ละครัวเรือนที่เป็นครัวเรือนนำร่องในการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ โดยใช้พื้นที่บริเวณบ้านปลูกผักจำนวน ครัวเรือนละ 15 ชนิด

  213. โครงการ : เยาวชนหมู่ 6 บ้านหัวทางร่วมใจอนุรักษ์คลองละงู

    - เกิดแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ทำให้ทราบถึงจำนวนทรัพยากรที่มีอยู่ในคลองละงูว่ามีทั้งหมดกี่ชนิดและมีความอุดมสมบูรณ์มากน้อยเพียงใดจากการสอบถามหรือการสำรวจจากป่าชายเลน กรมประมง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และคณะทำงานมีความเขเาใจเกี่ยวกับโครงการที่จะทำ และมีการแลกเปลี่ยนแนวความคิดโดยมีส่วนร่วมในการวางแผนและนำไปสู่การจัดตั้งสภาหมู่บ้าน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาสู่การจัดการที่ถูกต้องและเหมาะสมให้กับชุมชนด้วย เกิดครัวเรือนตั้นแบบในการนำร่องกลุ่มแกนนำและเยาวชนร่วมกัน จำนวน40คน เกิดสภาในชุมชน ขึ้น 1 สภา

  214. โครงการ : โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชนลดรายจ่าย ม.15 บ้านในใส ต.ละงู

    - เกิดศูนย์เรียนรู้ในชุมชนจำนวน1ศูนย์ - เกิดครัวเรือนต้นแบบขึ้นในชุมชนจำนวน60ครัวเรือน - เกิดผู้นำชุมชนเพิ่มมากขึ้น

  215. โครงการ : บ้านห้วยไทร หมู่ 10 น่าอยู่ฟื้นฟูเศรษฐกิจเน้นความเจริญด้านอาหาร

    - เกิดศูนย์เรียนรู้ในชุมชน 3ศูนย์ (1) ศูนย์เรียนรู้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยไทร (2) ศูนย์เรียนโรงเรียนบ้านห้วยไทร(3) ศูนย์เรียรู้ในหมู่บ้านห้วยไทร - เกิดครัวเรือนตั้นแบบในการนำร่อง 30 ครัวเรือน - เกิดสภาในชุมชนขึ้น 1 สภา

  216. โครงการ : โครงการชุมชนร่วมใจ สูงวัยมีสุข ม.12 บ้านในเมือง

    - สภาผู้สูงอายุ

  217. โครงการ : โรงเรียนร้างสร้างชีวิตบ้านทุ่งหนองควาย (ต่อยอดปี 2)

    เกิดห้องจำลองฐานเรียนรู้ เกิดแปลงสาธิตการปลูกข้าวในผ้ายางพราสติก เกิดกลุ่มทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพในระดับอำเภอ

  218. โครงการ : กระจาดสานใจเครื่องแกงกู้ภัยเศรษฐกิจบ้านนาแยกเหนือ (ต่อยอดปี 2)

    1. การทำชุดความรู้กระจาดโบราณ เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน

  219. โครงการ : ร้อยมือสร้างวิถีชุมชนบ้านบางโกระ

    ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านบางโกระ 1ศูนย์

  220. โครงการ : สร้างสุขคนบ้านปะโอ ชุมชนต้นแบบวิถีเกษตรอินทรีย์

    เป็นพื้นทีแหล่งเรียนรู้ในด้านการรวมกลุ่มอาชีพต่างๆในชุมชน จำนวน 5 กลุ่ม ประกอบด้วย - เกษตรกรกลุ่มทำนา - เกษตรกรกลุ่มเลี้ยงวัว - เกษตรกรกลุ่มปลูกผัก - เกษตรกรกลุ่มเลี้ยงปลาน้ำจืด - เกษตรกร แปรรูปอาหาร โดยกลุ่มอาชีพ ได้ให้การช่วยเหลือสมาชิกในชุมชนการสร้างงาน สร้างอาชีพเน้นการพึ่งตนเอง

  221. โครงการ : สร้างจิตสำนึกเยาวชนบ้านนาทอนเพื่อการเรียนรู้การเกษตร

    - มีแปลงสาธิตให้กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้ของชุมชน - เกิดเป็นชุมชนต้นแบบสามารถให้ชุมชนใกล้เคียงได้มาเรียนรู้ - คนในชุมชนสามารถถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจในหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

  222. โครงการ : ร่วมพลังคนบ้านช่องไทรจัดการขยะเพื่อชุมชนน่าอยู่

    1.เกิดธนาคารขยะขึ้นเกิดต้นแบบในชุมชน โดยมีกลุ่มเยาวชนในการจัดการขยะชุมชนเกิดขึ้น 2.และในกิจกรรมส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกผักกินเองลดเวลาว่าง

  223. โครงการ : ส่งเสริมพัฒนาอาชีพบ้านท่าศิลา ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

    เกิดต้นแบบในชุมชน กลุ่มเยาวชนเลี้ยงไก่ปลูกผักลดเวลาว่างสร้างรายได้ให้ตนเองและครอบครัว

  224. โครงการ : พัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ในชุมชนบ้านบารายี

    - ในชุมชนมีแหล่งเรียนที่เกิดขึ้นมาจากกลุ่มต้นแบบในชุมชน

  225. โครงการ : มัสยิดสร้าง เยาวชน สู่ชุมชนสโลว์ปาแต่น่าอยู่

    ต้นแบบในชุมชนที่เกิดขึ้นผ่านการจัดกิจกรรมตามโครงการมัสยิดสร้างเยาวชนสู่ชุมชนสโลว์ปาแตน่าอยู่ 1. ชุมชนสามารถสร้างเครือข่ายเยาวชนในการจัดกิจกรรมตามโครงการมัสยิดสร้างเยาวชน สู่ชุมชนสโลว์ปาแตน่าอยู่ จำนวน 1 เครือ่ข่าย เปรียบเสมือนตัวแทนสภาชูรอ

  226. โครงการ : บ้านนาข่าเหนือ หมู่ที่ 4 ร่วมใจจัดการขยะเพื่อความยั่งยืน

    - 1.มีครัวเรือนต้นแบบในการคัดแยกขยะ 5 ครัวเรือน และสามารถถ่ายทอดให้แก่สมาชิกคนอื่นๆได้ 2.เกิดต้นแบบการทำน้ำหมักชีวภาพโดยใช้น้ำหมักจากเศษอาหารที่เหลือใช้ 1 ครัวเรือน

  227. โครงการ : ท่องเที่ยวเชิงเกษตรลดสารเคมี สร้างสุขภาวะชุมชนบ้านคลองลำแชง (ต่อเนื่อง ปี 2)

    มีการสำรวจและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยว สามารถเรียนรู้ธรรมชาติและระบบนิเวศได้

  228. โครงการ : คุณค่าเด็กแว็นซ์ ที่บ้านปากคลองวัดแดง(ต่อยอดปี2)

    1.มีศูนย์เผ้าระวังอุบัติเหตุที่อบต.เขาพระบาท 2.แกนนำอสม.รณรงค์การใส่หมวกกันน็อคจากเมื่อกอ่นในการไปประชุมจะไม่ใส่หมวกกันน็อคเวลาไปประชุมจะตอ้งใส่หมวกกันน็อคทุกครั้ง 3.มีกลุ่มเลี้ยงปลานิลโดยมีฐานเรียนรู้ที่บ้าน นายมนัสดำด้วงโรม

  229. โครงการ : วัด ชุมชน ร่วมจัดการทุนที่บ้านทองพูน (ต่อยอดปี 2)

    1.พระอาจารย์เกียรติศักดิ์ รองเจ้าอาวาสวัดทองพูด เป็นต้นแบบในการเปลี่ยนพฤติกรรมของคน 2.นายสมศักดิ์ปิติสุข เป็นต้นแบบการเผาถ่านควันไม้ 3.ฐานเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักที่วัดทองพูน 4.ฐานเรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรที่วัดทองพูน 5.ฐานเรียนรู้เรือ่งเตาน้ำสัมควันไม้ที่วัดทองพูน

  230. โครงการ : คลังอาหารบ้านดอนโรง(ต่อยอดปี 2)

    1.นางหนูฟองหนูทองเป็นต้นแบบในการใช้นำ้ยาเอนกประสงค์ ซึ่งเป็นคนที่ใช้นำ้ยาเอนกสงค์ในครัวเรือนมาตลอดสามารถที่จะถ่ายทอดวิธีการทำการใช้นำ้ยาเอนกประสงค์ และที่บ้านเป็นศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับการทำนำ้ยาเอนกสงค์และเป็นสถานที่จำหน่ายนำ้ยาเอนกประสงค์ 2.ฐานเรียนรู็การเพาะปลานิล ที่บ้านนายศักดิ์ชายเรืองสังข์ ซึ่งเป็นบ่อปลาที่สมาชิดได้ร่วมกันเลือกและเตรียมบ่อในการเป็นบ่อสำหรับขยายพันธุ์ปลาเพื่อจะกระจายให้สมาชิกต่อไป

  231. โครงการ : ภูมิปัญญา เพิ่มรายได้ สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม (ต่อยอดปี 2)

    เกิดอย่างไร รูปแบบไหน หรือเป็นอย่างไร

  232. โครงการ : ภูมิปัญญา เพิ่มรายได้ สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม (ต่อยอดปี 2)

    เกิดฐานเรียนรู้การทำน้ำหมักการปลูกพืชผักสมุนไพรและการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยจำนวน 2 ฐาน คือ 1)บ้านนายสมชาย ศรีเพิ่ม 2)บ้านนายคมศิลป์ แก้วมณี

  233. โครงการ : ปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนด (ต่อยอดปี 2)

    1. การละเล่น "ปันตง" สร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพ 2. มีพื้นที่ในการเรียนรู้ภูมิปัญญาวัฒนธรรมท้องถิ่นเกิดขึ้นในชุมชน

  234. โครงการ : ทุนชุมชนสร้างรายได้บ้านสวนขัน (ต่อยอดปี 2)

    มีฐานเรียนรู้ 2 ศูนย์ ฐานเรียนรู้ปลูกพืชสมุนไพรที่ศาลาหมู่บ้าน ฐานเรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้าและการทำปุ๋ยหมักที่สวนคุณตานายไชยันต์ พลเมือง

  235. โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนบ้านดอนตาบ่าวให้น่าอยู่ คลองสวยน้ำใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ปี 2

    เกิดกลุ่มกลองยาวที่อนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นที่พร้อมจะสานต่อให้กับคนรุ่นหลัง

  236. โครงการ : ชุมชนหูยาน บ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง(ต่อเนื่องปี 3)

    3. เป็นชุมชนต้นแบบด้านการจัดการสุขภาพแบบมีส่วนร่วมที่มีแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการอาหารปลอดภัย 3.1 แหล่งเรียนรู้โรงเรียนผึ้ง 1 แห่งที่มีการเรียนการสอนขยายผลไปในตำบลนาท่อม จำนวน 4 ครั้งจากเทศบาลตำบลนาท่อมตั้งงบประมาณ 3.2 แหล่งเรียนรู้ชุมชนต้นแบบด้านสร้างภูมิคุ้มกันตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการปลูกผักปลอดสารพิษครัวเรือนละ 20 ชนิดลดรายจ่ายครัวเรือน ได้ขยายผลไปทั้ง 8 หมู่บ้าน จนกองทุนสุขภาพตำบลนาท่อมได้รับรางวัลพื้นที่ต้นแบบระดับจังหวัดพัทลุงที่มีการบริหารจัดการจนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อสุขภาพในระดับตำบล 3.3 แหล่งเรียนรู้ตลาดเขียว หรือ ตลาดหูยานสะพานคนเดิน เป็นพื้นที่คนรักษ์สุขภาพของชุมชนที่มีผลผลิตอาหารสุขภาพ มาจากการรณรงค์สร้างครัวเรือนต้นแบบ ปลูกผักปลอดสารพิษครัวเรือนละ 20 ชนิดเหลือบริโภคในครัวเรือนนำมาวางจำหน่ายในตลาดชุมชนที่เกิดจากการรวมตัวของครัวเรือนต้นแบบ 3.4 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสีเขียวบ้านหูยานรวมกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยของชุมชนที่เกิดจากการรวมกลุ่มกิจกรรมกลุ่มผึ้ง กลุ่มเครื่องแกง กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์-ดินปุ๋ย กลุ่มสินค้าทดแทน กลุ่มแปรรูปน้ำสมุนไพร 3.5 กลุ่มปิ่นโตสร้างสุข เป็นการรวบรวมกลุ่มครัวเรือนที่ปลูกผักปลอดสารพิษพัฒนาเมนูสุขภาพเพื่อนำมาทานร่วมกันในทุกวันที่ 10 และนำมาบริหารผู้มาศึกษาดูงาน เป็นการกระจายรายได้ให้กับสมาชิกที่เป็นครัวเรือนต้นแบบ 3.6 เกษตรธรรมชาติ เป็นการทำเกษตรที่นำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนมาปรับใช้ในชุมชนตนเอง ด้วย จุลินทรีย์ 7อย่างเป็นฐาน เพื่อลดต้นทุนได้เกือบ 100 % ในการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง โดยใช้ส่วนผสมจุลินทรีย์ 7 อย่างแก้ปัญหาได้แก่ การทำเชื้อจุลินทรีย์จากพืชสีเขียวการทำเชื้อจุลินทรีย์จากผลไม้สุกการทำฮอร์โมนพืสมุนไพรการทำน้ำซาวข้าวกับเปลือกไข่การหมักน้ำซาวข้าวกับถ่านกระดูกสัตว์การทำเชื้อจุลินทรีย์จากเศษไส้เดือนรกหมู ปลา การผลิตเชื้อราขาว

  237. โครงการ : การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ชุมชนบ้านคลองขนาน (ต่อเนื่อง ปี2)

    เชิงปริมาณ เกิดพื้นที่การคัดแยกขยะในชุมชน 1 แห่ง เชิงคุณภาพ เยาวชนในชุมชนได้เรียนรู้การคัดแยกขยะในโรงเรียนและนำไปใช้ต่อที่ครัวเรือน

  238. โครงการ : ศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม (ต่อเนื่อง)

    1.แหล่งเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ 2.แหล่งเรียนรู้การทำนาเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ตามหลักวิชาการท่ี่สนับสนุนวิชาการโดยศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง 3.แหล่งเรียนรู้การทำนาอินทรีย์

  239. โครงการ : นาอินทรีย์คืนวิถีคนไทรงาม (ต่อเนื่อง)

    - มีพื้นที่เรียนรู้การผลิตข้าวปลอดภัย จำนวน 3 ไร่ 3 แบบ คือ แปลงนาหว่าน แปลงนาดำ และแปลงนาโยน - มีต้นแบบการผลิตข้าวปลอดภัย จำนวน 15 คน

  240. โครงการ : ศูนย์การเรียนรู้การผลิตข้าวสังหยดอินทรีชีวภาพครบวงจรเพื่อขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่ที่บ้านควนพัง (ต่อเนื่องปี2)

    - เกิดธนาคารเมล็ดพันธ์ุชุมชน - มีศูนย์เรียนรู้ธนาคารเมล็ดพันธ์ข้าว

  241. โครงการ : เยาวชนคนสองปาก ศึกษาราก เรียนรู้จากชุมชน(ต่อเนื่องปี2)

    สภาเยาวชนบ้านคลองสองปาก 1.เกิดสภาเยาวชนที่เข็มแข็ง 1 สภา มีการประชุมและจัดกิจกรรมต่อเนื่องทั้งโครงการ มีการประชุมสภาเยาวชน เดือนละ 1 ครั้ง และแต่งตั้งคณะทำงาน ดังนี้ - ประธานสภาเยาวชนนายอาซารเส็นสามารถ - รองประธานสภาเยาวชนนายมาลิคเส็นสามารถ - รองประธานสภาเยาวชนนายกอรอซีอุสมา - ประชาสัมพันธ์สภาเยาวชนนายสราวุธเส็นสามารถ - กรรมการและเลขานุการนางสาวศิรประภาหมันนาเกลือ

  242. โครงการ : เยาวชนนาโต๊ะขุน คนรุ่นใหม่ ใส่ใจจัดการขยะ (ต่อเนื่อง ปี 2)

    - เป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะมีการบริหารจัดการเรื่องธนาคารขยะ

  243. โครงการ : แหล่งเรียนรู้ ปลูกข้าวพันธ์พื้นเมือง ตามแนวทางชีววิถี บ้านคลองหมาก (ต่อยอด ปี 2)

    เกิดศูนย์การเรียนรู้และอนุรักษ์พันธ์ข้าวพื้นเมือง กองทุนพันธ์ข้าวพื้นเมืองในชุมชน ที่สามารถให้ความรู้เรื่องการทำนาและเป็นธนาคารพันธุ์ข้าวของที่ใช้สำหรับเพาะปลูกในปีต่อๆ ไป

  244. โครงการ : เซเว่น ภูมิปัญญา สร้างสุขสองฝั่งคลองบ้านบางไทร (ต่อยอดปี2)

    ทำให้คนในหมู่บ้านมีความสามัคคี ช่วยเหลือ และรู้จักการดูแลรักษาแม่น้ำลำคลองและสิ่งแวดล้อมภายในหมู่บ้าน

  245. โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึก จัดการขยะชุมชน

    เชิงปริมาณ เป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะ 1 แห่ง เชิงคุณภาพ ชุมชนมีการบริหารจัดการเรื่องธนาคารขยะจนเป็นพื้นที่เรียนรู้

  246. โครงการ : ความสุขที่ชุมชนด้วยประชาหารือเพื่อสานสันติภาพแสวงหาแนวทางสันติวิธี

    -ต้องสร้างพื้นที่นำร่องในการเรียนรู้ด้านมนุษย์ธรรม ของศาสนามาใช้ในการขับเคลื่อนงาน -การทำงานสนับสนุนความเท่าเทียมกันในสังคม ยอมรับความแตกต่างส่งเสริมในความเหมือนสนับสนุนสันติวิธี

3. กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำในการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่ และแกนนำมีบทบาทในการทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ

3 กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำในการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่ และแกนนำมีบทบาทในการทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ จำนวน 1149 คน
  1. เศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 157 คน
  2. เกษตรอินทรีย์/ลดใช้สารเคมี จำนวน 119 คน
  3. การจัดการขยะ จำนวน 102 คน
  4. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ จำนวน 71 คน
  5. สร้างเสริมสุขภาพในชุมชน/ออกกำลังกาย/อาหารปลอดภัย/การจัดการภาวะน้ำหนักเกิน/บริโภคผัก ผลไม้ จำนวน 112 คน
  6. การดูแลระบบสุขภาพ/โรคเรื้อรัง จำนวน 33 คน
  7. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มสุรา/การสูบบุหรี่ จำนวน 58 คน
  8. การลดอุบัติเหตุทางถนน จำนวน 4 คน
  9. สร้างเสริมครอบครัวอบอุ่น จำนวน 17 คน
  10. สร้างเสริมศักยภาพเยาวชน จำนวน 83 คน
  11. สร้างเสริมคุณค่าผู้สูงอายุเป็นสุข จำนวน 34 คน
  12. สร้างเสริมอาชีพ จำนวน 59 คน
  13. การจัดการหนี้สิน จำนวน 4 คน
  14. สร้างเสริมกลุ่มออมทรัพย์ จำนวน 24 คน
  15. ชุมชนน่าอยู่/ สร้างความเข้มแข็งชุมชน/ จัดการข้อมูลชุมชน/ วางแผน/ ปฏิบัติ ระบบกลไกชุมชน สภาผู้นำชุมชน จำนวน 252 คน
  16. อื่นๆ จำนวน 20 คน

4. โครงการตัวอย่างที่ปฏิบัติการที่ดี (Best practice)

4 โครงการตัวอย่างที่ปฏิบัติการที่ดี (Best practice) จำนวน 236 โครงการ
  1. ชื่อ Best Practice : ธนาคารอาหารชุมชน

    โครงการ : คนเขาแก้วใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - หมู่บ้านมอบหมายให้เด็กและเยาวชนเพาพันธ์กล้าไม้ - จัดงานวันปลูกต้นไม้ของหมู่บ้าน - โรงงานให้ความร่วมมือในการปลูกต้นไม้ ส่งพนักงานในโรงงานจำนวน 12 คนมาช่วยปลูก - ต้นไม้สองข้างถนนภายในชุมชนเพิ่มขึ้น จำนวน 500 ต้น คือ ชะอม มันปู ต้นขี้เหล็ก ต้นผักเหมียง เป็นต้น - มีข้อตกลงในการดูแลต้นไม้ที่ปลูก ให้คนที่ปลูกดูแลรักษาต้นไม้ และให้คนที่มี ต้นไม้หน้าบ้านได้ร่วมกันดูแลต้นไม้ที่ปลูกไว้หน้าบ้านด้วย
    ผลของ Best Practice : - มีแหล่งอาหารเพิ่มขึ้นในหมู่บ้าน - ต้นไม้สองข้างถนนภายในชุมชนเพิ่มขึ้น จำนวน 1,500 ต้น คือ ชะอม มันปู ต้นขี้เหล็ก ต้นผักเหมียง เป็นต้น

  2. ชื่อ Best Practice : ข้อมูลชุมขน

    โครงการ : บ้านหนองชีพูน เป็นบ้านอยู่เย็นเป็นสุข
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.ทีมงานร่วมกับชุมชน คิดแบบสอบถาม เพื่อสำรวจข้อมูลชุมชน 2.การสำรวจข้อมุลชุมชน ใช้หลักการมีส่วนร่วมของเยาวชนและวัยทำงาน
    ผลของ Best Practice : 1.ได้รับรู้ปัญหาของชุมชน 2.มีแนวทางการพัฒนาชุมชน ตามสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน 3.มีการสอนงานระหว่างวัยทำงานและนักเรียน

  3. ชื่อ Best Practice : ข้อมูลชุมขน

    โครงการ : บ้านหนองชีพูน เป็นบ้านอยู่เย็นเป็นสุข
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.ทีมงานร่วมกับชุมชน คิดแบบสอบถาม เพื่อสำรวจข้อมูลชุมชน 2.การสำรวจข้อมุลชุมชน ใช้หลักการมีส่วนร่วมของเยาวชนและวัยทำงาน
    ผลของ Best Practice : 1.ได้รับรู้ปัญหาของชุมชน 2.มีแนวทางการพัฒนาชุมชน ตามสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน 3.มีการสอนงานระหว่างวัยทำงานและนักเรียน

  4. ชื่อ Best Practice : ปุ๋ยชีวภาพ

    โครงการ : บ้านหนองชีพูน เป็นบ้านอยู่เย็นเป็นสุข
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.เป็นการนำเอา วัสดุที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ในการทำปุ๋ยหมัก โดยทั้ง 4 จุด แต่ละจุดไม่เหมือนกัน จุดที่ 1 เป็นการนำเอาขยะจากครัวเรือน มาทำปุ๋ยชีวภาพจุดที่ 2 เป็นการนำเอาผักที่ได้จากการการทำเกษตรจุดที่ 3 เป็นการนำเอาเศษวัชพืชมาทำเป็นปุ๋ยชีวภาพจุดที่ 4 เป็นการนำเอาฟางข้าว ขี้วัว ขี้ไก่ แกลบ มาใช้ในการทำปุ๋ยชีวภาพ
    ผลของ Best Practice : 1.ทำให้ได้เรียนรู้ว่าแต่ละวิธี มีระยะเวลาในการหมักแตกต่างกัน 2.ปุ๋ยแต่ละชนิด พื้ชมีการเจริญแตกต่างต่างกัน พบว่่าปุ๋ยจากฟางข้าวและแกลบหมักไ้ด้เร็วกว่าและกลายเป็นปุ๋ยได้เร็วกว่า

  5. ชื่อ Best Practice : ข้อมูลชุมขน

    โครงการ : บ้านหนองชีพูน เป็นบ้านอยู่เย็นเป็นสุข
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.ทีมงานร่วมกับชุมชน คิดแบบสอบถาม เพื่อสำรวจข้อมูลชุมชน 2.การสำรวจข้อมุลชุมชน ใช้หลักการมีส่วนร่วมของเยาวชนและวัยทำงาน
    ผลของ Best Practice : 1.ได้รับรู้ปัญหาของชุมชน 2.มีแนวทางการพัฒนาชุมชน ตามสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน 3.มีการสอนงานระหว่างวัยทำงานและนักเรียน

  6. ชื่อ Best Practice : ปุ๋ยชีวภาพ

    โครงการ : บ้านหนองชีพูน เป็นบ้านอยู่เย็นเป็นสุข
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.เป็นการนำเอา วัสดุที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ในการทำปุ๋ยหมัก โดยทั้ง 4 จุด แต่ละจุดไม่เหมือนกัน จุดที่ 1 เป็นการนำเอาขยะจากครัวเรือน มาทำปุ๋ยชีวภาพจุดที่ 2 เป็นการนำเอาผักที่ได้จากการการทำเกษตรจุดที่ 3 เป็นการนำเอาเศษวัชพืชมาทำเป็นปุ๋ยชีวภาพจุดที่ 4 เป็นการนำเอาฟางข้าว ขี้วัว ขี้ไก่ แกลบ มาใช้ในการทำปุ๋ยชีวภาพ
    ผลของ Best Practice : 1.ทำให้ได้เรียนรู้ว่าแต่ละวิธี มีระยะเวลาในการหมักแตกต่างกัน 2.ปุ๋ยแต่ละชนิด พื้ชมีการเจริญแตกต่างต่างกัน พบว่่าปุ๋ยจากฟางข้าวและแกลบหมักไ้ด้เร็วกว่าและกลายเป็นปุ๋ยได้เร็วกว่า

  7. ชื่อ Best Practice : น้ำหมักชีวภาพ

    โครงการ : บ้านหนองชีพูน เป็นบ้านอยู่เย็นเป็นสุข
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.เป็นการนำเอาวัสดุที่เหลือจากครัวเรือน ที่ย่อยสลายได้ มาทำเป็นนำ้หมักชีวภาพ 2.เป็นการนำเอาวัสดุที่มีอยู่ในชุมชน มาทำเป็นน้ำหมักชีวภาพ 3.ให้ทุกครัวเรือนได้ทำน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้เอง
    ผลของ Best Practice : 1.น้ำหมักชีวภาพนำไปใช้รดผักและต้นไม้ ปลอดสารเคมี 2.ลดอัตราการเกิดหนูหรือสัตว์นำโรค

  8. ชื่อ Best Practice : ประเพณีจาดลดความขัดแย้ง

    โครงการ : กระจาดเดือนสิบรวมใจเฉลิมพระชนม์ 60พรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาที่ บ้านทุ่งจูด
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : นำประเพณีสารทเดือนสิบ(จาด) ซึ่งเป็นประเพณีที่ทุกครัวเรือนในหมู่บ้านต้องปฏิบัติเป็นธรรมเนียม ความเชื่อ เพื่อทำบุญให้ญาติพี่น้องที่เสียชีวิตไป มากำหนดขั้นตอน การเตรียมงาน เตรัียมพิธี โดยดึงทุกครัวเรือน 3 ฝ่ายที่มีความขัดแย้งในหมู่บ้านมาทำร่วมกัน และยึดเอาสมเด็จพระเทพที่คนในหมู่บ้านเคารพ มาเป็นประธานเพื่อถวายเป็นราชกุศลแด่พระองค์ท่าน
    ผลของ Best Practice : สภาผู้นำเห็นความสำคัญนำประเพณีนี้มาจัดให้เป็นประจำทุกปี

  9. ชื่อ Best Practice : ไม่มีชื่อ

    โครงการ : กลุ่มชุมชนพันวาลร่วมใจพัฒนาอาชีพ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป้นการจัดการความคิดของทีมผู้รับผิดชอบโครงการและสมาชิกกลุ่มที่ได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับทีมโครงการสสส.ด้วยกันทำให้มีความคิดที่จะจัดการชุมชนตนเองโดยไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณจากภายนอก ต้องใช้กำลังและความสามารถของกลุ่มในการบริหารจัดการตนเองและชุมชน
    ผลของ Best Practice : มีครัวเรือนต้นแบบที่ทำแล้วดีขึ้นเป็นพี่เลี้ยงให้กับครัวเรือนอื่น ๆได้

  10. ชื่อ Best Practice : กลุ่มเครือข่ายการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง

    โครงการ : กลุ่มประมงบ้านบ่อเมา-แหลมแท่น รักษ์สิ่งแวดล้อม ปี3
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : จากการเฝ้าระวังพื้นที่ชายฝั่งและป่าชายเลน ทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องนำปัญหาที่ตนเองพบและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาปรึกษาหารือกัน โดยหมุนเวียนเจ้าภาพตามความเหมาะสม
    ผลของ Best Practice : นำจุดเด่นของการสื่อสารมาเชื่อมโยงกันสามารถติดต่อกันได้รวดเร็วขึ้นโดยมีพิกัดกลุ่มที่แน่นอน

  11. ชื่อ Best Practice : ...-

    โครงการ : การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยชุมชนเพื่อชุมชนอำเภอปะทิว
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : -
    ผลของ Best Practice : -

  12. ชื่อ Best Practice : การปั่นจักรยานปลูกป่าชายเลน

    โครงการ : การจัดการทรัพยากรป่าชายเลน บ้านเขาทอง unseen อ่าวท่าเลน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : กิจกรรมการปั่นจักรยานปลูกป่าชายเลนนอกจากจะเป็นการออกกำลังกายที่ดีแล้วยังช่วยทำให้มีกิจกรรมการเพ่ิมพื้นที่ป่าชายเลนอีกด้วย
    ผลของ Best Practice : มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเกินเป้าหมายที่กำหนด

  13. ชื่อ Best Practice : การปั่นจักรยานปลูกป่าชายเลน

    โครงการ : การจัดการทรัพยากรป่าชายเลน บ้านเขาทอง unseen อ่าวท่าเลน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : กิจกรรมการปั่นจักรยานปลูกป่าชายเลนนอกจากจะเป็นการออกกำลังกายที่ดีแล้วยังช่วยทำให้มีกิจกรรมการเพ่ิมพื้นที่ป่าชายเลนอีกด้วย
    ผลของ Best Practice : มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเกินเป้าหมายที่กำหนด

  14. ชื่อ Best Practice : กติกาชุมชน

    โครงการ : การจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน บ้านท่าฉัตรไชย
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : กำหนดกติกาข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติ ทำเป็นป้ายประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านท่าฉัตรไชย ปลอดสิ่งเสพติด งดเหล้า บุหรี่
    ผลของ Best Practice : นักท่องเที่ยวปฏิบัติตามกฏกติกาชุมชน

  15. ชื่อ Best Practice : ไกด์ชุมชน

    โครงการ : การจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน บ้านท่าฉัตรไชย
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ชาวมอเกล็นสามารถเรียนรู้ยกระดับเป็นไกด์ชุมชน ได้
    ผลของ Best Practice : ชาวบ้านได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยววิถีชุมชน

  16. ชื่อ Best Practice : ไกด์ชุมชน

    โครงการ : การจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน บ้านท่าฉัตรไชย
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ชาวมอเกล็นสามารถเรียนรู้ยกระดับเป็นไกด์ชุมชน ได้
    ผลของ Best Practice : ชาวบ้านได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยววิถีชุมชน

  17. ชื่อ Best Practice : กติกาชุมชน

    โครงการ : การจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน บ้านท่าฉัตรไชย
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : กำหนดกติกาข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติ ทำเป็นป้ายประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านท่าฉัตรไชย ปลอดสิ่งเสพติด งดเหล้า บุหรี่
    ผลของ Best Practice : กำหนดกติกาข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติ ทำเป็นป้ายประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านท่าฉัตรไชย ปลอดสิ่งเสพติด งดเหล้า บุหรี่

  18. ชื่อ Best Practice : การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะบ้านคลองขนาน

    โครงการ : การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ชุมชนบ้านคลองขนาน (ต่อเนื่อง ปี2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : จากการนำข้อมูลขยะและไข้เลือดออกในชุมชนมาวิเคราะห์และวางแผนการดำเนินงานโดยบูรณาการกิจกรรมในชุมชน
    ผลของ Best Practice : ทำให้ปริมาณขยะในครัวเรือนและการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนลดลง

  19. ชื่อ Best Practice : การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะบ้านคลองขนาน

    โครงการ : การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ชุมชนบ้านคลองขนาน (ต่อเนื่อง ปี2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : จากการนำข้อมูลขยะและไข้เลือดออกในชุมชนมาวิเคราะห์และวางแผนการดำเนินงานโดยบูรณาการกิจกรรมในชุมชน
    ผลของ Best Practice : ทำให้ปริมาณขยะในครัวเรือนและการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนลดลง

  20. ชื่อ Best Practice : ล้อมรั้วเยาวชนด้วยรัก

    โครงการ : การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ชุมชนบ้านคลองขนาน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เกิดจากการนำแนวคิดตามหลักการศาสนาอิสลาม มาทำให้เกิดกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมและทำให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ภายใต้รูปแบบการบริหารจัดการเป็นร้านค้่าปุ๋ยชุมชน จัดตั้งกองทุนความร่วมมือเพื่อคนยุคใหม่บ้านคลองขนาน (NCF- New Generation Contitency Fund) ได้อย่างยั่งยืนต่อยอดสู่การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในรูปแบบกองทุนหนูน้อยนมแม่ อย่างต่อเนื่อง
    ผลของ Best Practice : เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการกองทุนและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามหลักศาสนาอิสลาม

  21. ชื่อ Best Practice : ล้อมรั้วเยาวชนด้วยรัก

    โครงการ : การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ชุมชนบ้านคลองขนาน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เกิดจากการนำแนวคิดตามหลักการศาสนาอิสลาม มาทำให้เกิดกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมและทำให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ภายใต้รูปแบบการบริหารจัดการเป็นร้านค้่าปุ๋ยชุมชน จัดตั้งกองทุนความร่วมมือเพื่อคนยุคใหม่บ้านคลองขนาน (NCF- New Generation Contitency Fund) ได้อย่างยั่งยืนต่อยอดสู่การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในรูปแบบกองทุนหนูน้อยนมแม่ อย่างต่อเนื่อง
    ผลของ Best Practice : เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการกองทุนและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามหลักศาสนาอิสลาม

  22. ชื่อ Best Practice : เมนูอาหารปลอดภัย 10 เมนู ทำบริโภคในครัวเรือน

    โครงการ : กินดีมีสุข ณ บ้านเกาะรุ้ง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1. ร่วมกันคิดเมนู ที่ทำจากผลผลิตในชุมชน และมีคุณค่าทางอาหาร โดยมีนักวิชาการเข้าร่วมด้วยแบ่งครัวเรือนในชุมชนเป็น 10 กลุ่มบ้าน เพื่อ ร่วมกันจัดทำเมนูอาหาร กลุ่มบ้านละ 1 อย่าง ได้ เมนู อาหาร 10 อย่าง 2. เผยแพร่เมนูอาหารให้ทุกครัวเรือนในชุมชน ทำบริโภคหมุนเวียนในครัวเรือน 3. จัดประกวด เมนูอาหาร มอบของรางวัล 4. ทำข้อตกลงใช้การประกอบอาหาร อย่างต่อเนื่อง และมี คณะกรรมการโครงการและเยาวชนในชุมชนร่วมติดตาม
    ผลของ Best Practice : 1. มีเมนูอาหาร ที่ร่วมกันคิด 10 เมนู ที่ใช้ผลผลิตจากชุมชน เป็นส่วนผสม และมีคุณค่าทางอาหารครบ 2. ครัวเรือนในชุมชนมีข้อตกลงใช้เมนูที่ร่วมกันคิดเป็นเมนูของครัวเรือน ทำสลับหมุนเวียน 3. เกิดความรักความสามัคคีแบ่งปั่น ผลผลิตซึ่งกันและกัน 4. สมาชิกครัวเรือนในชุมชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดสารพิษ จากการ ทำบริโภคเอง 5. ครัวเรือนลดรายจ่าย ในการซื้อผลผลิตจากท้องตลาด

  23. ชื่อ Best Practice : ผู้นำละแวก

    โครงการ : เก็บขยะถูกที่ ดูดีต่อชุมชน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การแบ่งละแวกให้ผู้แทนครัวเรือนรับผิดชอบ เช่นเดียวกับผู้ใหญ่บ้านหรือประธานชุมชน ทำให้การดูแลสมาชิกชุมชนทั่วถึงมากขึ้น
    ผลของ Best Practice : ผู้นำละแวกจะทำหน้าที่เสมือนประธานละแวก คอยรับเรื่องหรือปัญหาของชุมชนมานำเสนอที่ประชุมแกนนำ ทำให้การบรรเทาความเดือดร้อนของสมาชิกทั่วถึงมากขึ้น สมาชิกมีความพึงพอใจ

  24. ชื่อ Best Practice : นโยบายสาธารณะหรือกติกาชุมชน

    โครงการ : เก็บขยะถูกที่ ดูดีต่อชุมชน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : คณะกรรมการจัดทำร่างข้อเสนอนโยบายสาธารณะของชุมชนเพื่อนำเสนอในเวทีรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกชุมชน
    ผลของ Best Practice : ชุมชนมีนโยบายสาธารณะหรือกติกาของชุมชนที่ทางเทศบาลรับรองและจะนำไปเป็นต้นแบบในการจัดการขยะของชุมชนอื่นๆ ในชุมชนเขตเทศบาลเมืองชุมพร

  25. ชื่อ Best Practice : ......หน้าบ้าน น่ามอง

    โครงการ : เกษตรปลูกผักและสมุนไพรปลอดสารเคมีไม่มีสารพิษใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ครัวเรือนปลูกผักสวนครัวหน้าบ้านตนเองในปล้องบ่อ(ได้รับการสนับสนุนจากโครงการ SML)เพื่อไม่ให้น้ำท่วมถึงทุกครัวเรือน ดูแลปลูกโดยใช้หลักการปลอดสารพิษ ให้มีกินตลอดทั้งปี
    ผลของ Best Practice : เกิดกิจกรรมร่วมกันในครัวเรือน มีผักปลอดสารพิษกินตลอดปี สร้างความสวยงามของหมู่บ้าน ลดค่าใช้จ่ายของครัวเรือน เกิดกลุ่มพูดคุยกันเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

  26. ชื่อ Best Practice : ปรับสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างสุขภาวะ

    โครงการ : เกษตรผสมผสานบ้านทะเลปัง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ลงแขกปรับพื้นที่ทำเกษตรผมผสาน ปลูกผักปลอดสารพิษ เลี้ยงสัตว์ เพื่อเตรียมวัตถุดิบได้นำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์ของชุมชน และจำหน่ายในตลาดนัดเคลื่อนที่ได้ต่อเนื่อง
    ผลของ Best Practice : มีการบริหารจัดการครบทั้งระบบเกิดความยั่งยืนได้

  27. ชื่อ Best Practice : ปรับสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ

    โครงการ : เกษตรผสมผสานบ้านทะเลปัง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ลงแขกปรับพื้นที่ทำเกษตรผมผสาน ปลูกผักปลอดสารพิษ เลี้ยงสัตว์ เพื่อเตรียมวัตถุดิบได้นำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์ของชุมชน และจำหน่ายในตลาดนัดเคลื่อนที่ได้ต่อเนื่อง
    ผลของ Best Practice : นำไปเป็นตัวอย่างคนร่วมพัฒนาพื้นที่ ปรับการดำเนินชีวิต สร้างรายได้ ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

  28. ชื่อ Best Practice : การส่งเสริมการปลูกผักในชุมชน

    โครงการ : เกษตรพอเพียงตามวิถีมุสลิมบ้านคลองยาง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - มีแผนการปลูกผักในถนนในหมู่บ้านเพื่อเป็นแหล่งอาหารของคนในชุมชน และให้คนในชุมชนช่วยกันดูแล - เยาวชนเพาะพันธฺุกล้าผัก แจกจ่ายให้คนในชุมชนทุกครั้งที่มีการประชุม เพื่อให้นำไปปลูกที่บ้าน
    ผลของ Best Practice : - มีการขยายการปลูกผักสวนครัวเพิ่มในชุมชน

  29. ชื่อ Best Practice : การสร้างพื้นที่ปลูกผักในโรงเรียนเป็นพื้นที่เรียนรู้

    โครงการ : เกษตรพอเพียงตามวิถีมุสลิมบ้านคลองยาง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - การสร้างโรงเรียนเป็นสถานที่ในการทดลองปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ปลูกข้าวในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้คนในชุมชน
    ผลของ Best Practice : - ชุมชนมีแนวคิดขยายพื้นที่เรียนรู้สู่ชุมชน และส่งเสริมการทำเกษตรให้คนในชุมชนเพิ่มขึ้น

  30. ชื่อ Best Practice : การสร้างพื้นที่ปลูกผักในโรงเรียนเป็นพื้นที่เรียนรู้

    โครงการ : เกษตรพอเพียงตามวิถีมุสลิมบ้านคลองยาง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - การสร้างโรงเรียนเป็นสถานที่ในการทดลองปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ปลูกข้าวในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้คนในชุมชน
    ผลของ Best Practice : - ชุมชนมีแนวคิดขยายพื้นที่เรียนรู้สู่ชุมชน และส่งเสริมการทำเกษตรให้คนในชุมชนเพิ่มขึ้น

  31. ชื่อ Best Practice : เกษตรสีเขียวคลองลำหลิงสืบทอดชาวนารุ่นใหม่

    โครงการ : เกษตรสีเขียวบ้านคลองลำหลิง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : กระบวนการสืบทอดให้ลูกหลานปลูกฝังให้ตระหนักถึงความสำคัญของข้าวพื้นบ้าน วิถีนาอินทรีย์ครบวงจร การปลูก แปรรูป ตลาด กระบวนการกลุ่ม แม้ลูกหลานทำอาชีพอื่นก็ไม่ให้ทิ้งการทำนาลูกหลานได้มีบทบาทในการขับเคลือนทำนาอินทรีย์ ฝ่ายตลาด กระจายข้าวพื้นบ้านให้กับผู้บริโภค เพื่อนที่ไม่ได้ทำนา เสริมให้มีรายได้ชุมชนมีความมั่นคงทางอาหาร ปกป้องพื้นที่ทำนาไว้ให้ลูกหลานได้ และมีภาคีของภาคีที่หลากหลายหนุนเสริมการขับเคลื่อนสร้างชุมชนน่าอยู่
    ผลของ Best Practice : มีคนรุ่นใหม่ในชุมชนสืบทอดวิถีการทำนา สอดคล้องกับวิถี และเชื่อมโยงคนสามวัยในการร่วมสร้างชุมชนมีความสุข มีสุขภาพดี สิ่งแวดล้อมดี มีอาหารปลอดภัยเพียงพอการบริโภคในชุมชน และสร้างรายได้ครอบครัวและชุมชน

  32. ชื่อ Best Practice : แพปลูกข้าวและผักอินทรีย์

    โครงการ : เกษตรอินทรีย์บนเรือนแพบ้านสระกูด
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การนำผักตบชวา (วัชพืชที่มีมากในสระกูด) ปุ๋ยหมัก และวัสดุเหลือใช้มาเป็นส่วนประกอบของแพ ด้านบนใช้ปุ่ยหมัก ผักตบชวา ทำเป็นดินสำหรับปลูกข้าวและผักอินทรีย์
    ผลของ Best Practice : วัชพืช ผลผลิตเหลือใช้ทางการเกษตร สามารถนำมาทำปุ๋ยหมัก สำหรับใช้เป็นพื้นที่สำหรับปลูกข้าวและผักอินทรีย์ได้

  33. ชื่อ Best Practice : การทำเกษตรอินทีย์ในสระกูด

    โครงการ : เกษตรอินทรีย์บนเรือนแพบ้านสระกูด
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : คนในชุมชน หน่วยงานในชุมชน ร่วมกันทำโครงการ โดยเน้นการใช้ประโยชน์ในพื้นที่รกร้าง ดึงกลุ่มเยาวชนให้มาร่วมกันทำกิจกรรม
    ผลของ Best Practice : คนในชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมีการทำงานประสานกันมากขึ้น กลุ่มเยาวชนนำเวลาว่างมาทำประโยชน์ร่วมกัน

  34. ชื่อ Best Practice : แก้มลิงทรายเพชร

    โครงการ : แก้มลิงบ้านทรายเพชรลดภัยพิบัติน้ำท่วม
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ค้นหาทุนด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชน กระตุ้นให้เกิดการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วมโดยชุมชนเพื่อชุมนเอง
    ผลของ Best Practice : ชุมชนมีสภาผู้นำ ขับเคลื่อนเรื่องราวต่างๆในหมู่บ้าน ชุมชนมีแผนพัฒนาสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน เกิดกลุ่มอาสาที่ผ่านการอบรม มีความพร้อม ในการช่วยเหลือชุมชนเมื่อเกิดภัยพิบัติ

  35. ชื่อ Best Practice : ชุมชนต้นแบบสืบสานกีฬาพื้นบ้านเพื่อสุขภาพ

    โครงการ : ใกล้บ้านใกล้ใจ สร้างจิตสดใส สุขภาพแข็งแรง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : มีการจัดกิจกรรมกีฬาสัมพันธ์โดยได้มีการแบ่งแยกสี โดยสมาชิกในกลุ่มมีการแบ่งสีกลุ่มโดยการจับสลากเลือกสี ซึ่งมี 2กลุ่ม คือ กลุ่มสีขาว มีชื่อว่า"อัยย๊ะ" ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งสีน้ำเงิน มีชื่อว่า "แจ๋วแหวว"และจัดให้มีการเล่นฮุูลาฮู เดินเปี้ยว มอญซ่อนผ้า เก้าอี้ดนตรี ลูกโป่ง ห่วงยาง และแบดมินตัน สำหรับเดินเปี้ยว มอญซ่อนผ้า เก้าอี้ดนตรี ลูกโป่ง ห่วงยาง เป็นกีฬาพื้นบ้านที่กำลังจะหายไปจากชุมชน
    ผลของ Best Practice : นายกเทศมนตรีตำบลน้ำจืด เห็นความสำคัญสนับสนุนให้ขยายพื้นที่การจัดกิจกรรมกีฬาสัมพันธ์(ชุมชนต้นแบบสืบสานกีฬาพื้นบ้านเพื่อสุขภาพ)และสนับสนุนงบประมาณ รวมทั้งบรรจุอยู่ในแผนฯของเทศบาล

  36. ชื่อ Best Practice : ข้างถนนกินได้

    โครงการ : ข้างถนนกินได้สร้างรายได้บ้านในถุ้ง(ต่อยอด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice :
    ผลของ Best Practice : ใช้เป็นจุดเรียนรู้ของชุมชน

  37. ชื่อ Best Practice : ข้างถนนกินได้

    โครงการ : ข้างถนนกินได้สร้างรายได้บ้านในถุ้ง(ต่อยอด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ชุมชนได้ร่วมกันปรับเปลี่ยนบริเวณข้างไหล่ทางถนนซึ่งเดิมเคยเป็นสถานที่ทิ้งขยะ ให้เป็นข้างถนนกินได้ กำหนดไว้ในเป้าหมายทั้งหมด 3 สาย สามารถปฏิบัติได้ทั้ง 3 สาย คิดเป็นร้อยละ 100 ได้แก่ สายที่ 1 ซอยข้างสุสาน มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่จากเดิมเป็นกองขยะปรับเปลี่ยนมาเป็นพื้นที่ปลูกผัก มี อบต.มาช่วยปรับพื้นที่ให้ชาวบ้านได้ปลูกผักและร่วมกันดูแลอย่างต่อเนื่อง สายที่ 2ซอยโต๊ะอีหม่าม ปลูกชะอม ตะไคร้ และปลูกผักสวนครัว ขยายผลไปตามบ้าน ซอยเครื่องแกง ปลูกบวบ ขมิ้น พริก ผักบุ้ง ชะอม หวัมัน กะเพรา กล้วย และสายที่ 3 ซอยบ้านผู้ใหญ่ ปลูกกล้วยขิง ข่า มะเขือพวง
    ผลของ Best Practice : ใช้เป็นจุดเรียนรู้ของชุมชน

  38. ชื่อ Best Practice : เพลงมโนราห์กับพุดกีรี

    โครงการ : ข้าวยาโค ข้าวอาซูรอ สองศาสนาสานสัมพันธ์ที่บ้านยวนแหล
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นการนำท่ารำมโนราห์กับท่าลิเกฮูลู มาใช้ในการแสดงเพื่อสร้างสัมพันธ์ บันเทิงและใช้ออกกำลังกาย
    ผลของ Best Practice : ทำให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างสองศาสนาในกลุ่มเยาวชน

  39. ชื่อ Best Practice : เพลงมโนราห์กับพุดกี

    โครงการ : ข้าวยาโค ข้าวอาซูรอ สองศาสนาสานสัมพันธ์ที่บ้านยวนแหล
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นการนำท่ารำมโนราห์กับท่าลิเกฮูลู มาใช้ในการแสดงเพื่อสร้างสัมพันธ์ บันเทิงและใช้ออกกำลังกาย
    ผลของ Best Practice : ทำให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างสองศาสนาในกลุ่มเยาวชน

  40. ชื่อ Best Practice : พิธีกวนข้าวยาโค

    โครงการ : ข้าวยาโค ข้าวอาซูรอ สองศาสนาสานสัมพันธ์ที่บ้านยวนแหล
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.มีการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่สมาชิกในชุมชน โดยการเชิญผู้มีความรู้มาให้ความรู้ข้าวยาโคและข้าวอาซูรอ 2.มีการแนะนำให้ความรู้เรื่องวัตถุดิบ ขั้นตอนการทำเพื่อมากอบพิธีกรรมในการกวนข้าวยาโคและข้าวอาซูรอ ซึ่งจะมีความคล้ายคลึงกันมาก แตกต่างเฉพาะเรื่องเครื่องเทศ และวันกวน 3.เรียนรุ้พิธีกรรมกวนข้าวยาโคและอาซูรอ
    ผลของ Best Practice : 1.เกิดการเรียนรู้วิถีภุมิปัญญาทำให้เกิดคุณค่าและการอนุรักษ์ไว้

  41. ชื่อ Best Practice : การมีส่วนร่วมของเยาวชน

    โครงการ : ข้าวยาโค ข้าวอาซูรอ สองศาสนาสานสัมพันธ์ที่บ้านยวนแหล
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เยาวชนเข้ามาเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสองศาสนา มีกิจกรรมที่ทำร่วมกัน -การช่วยจัดสถานที่ประชุม -การประชาสัมพันธ์ -การสำรวจข้อมูล วิเคราะห์ -การจัดการขยะ -การออกกลังกาย -กีฬาต้านยาเสพติด
    ผลของ Best Practice : เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชน เป็นตัวเชื่อมระหว่างครัวเรือน ระหว่างสองศาสนา ลดความขัดแย้ง และสร้างรูปแบบการทำงานในหมู่บ้าน

  42. ชื่อ Best Practice : การมีส่วนร่วมของเยาวช

    โครงการ : ข้าวยาโค ข้าวอาซูรอ สองศาสนาสานสัมพันธ์ที่บ้านยวนแหล
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เยาวชนเข้ามาเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสองศาสนา มีกิจกรรมที่ทำร่วมกัน -การช่วยจัดสถานที่ประชุม -การประชาสัมพันธ์ -การสำรวจข้อมูล วิเคราะห์ -การจัดการขยะ -การออกกลังกาย -กีฬาต้านยาเสพติด
    ผลของ Best Practice : เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชน เป็นตัวเชื่อมระหว่างครัวเรือน ระหว่างสองศาสนา ลดความขัดแย้ง และสร้างรูปแบบการทำงานในหมู่บ้าน

  43. ชื่อ Best Practice : ฝายมีชีวิตเขาแก้ว

    โครงการ : คนท่ายูงปลูกป่าในนาสหาย
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - ประชาสัมพันธ์ แลกเปลียนความรู้ในขั้นตอนการจัดทำฝายมีชีวิท
    ผลของ Best Practice : - แกนนำสามารถถ่ายทอดความรู้ และ การบวนการในการจัดทำฝ่ายมี่ชีวำ

  44. ชื่อ Best Practice : การประหยัดพลังงานโดยการใช้จักรยานสูบน้ำ

    โครงการ : คนนาโหรงร่วมทำฐานเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยพลังงานทดแทนเพื่อเพิ่มรายได้
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การประหยัดพลังงานโดยการการสูบน้ำโดยการใช้จักยาน เป้นประหยัดพลังงาน และเป็นการออกกำลังกายที่เพลิดเพลินส่งเสริมความสัมพันธ์ภายในครอบครัว และเป็นการประยุกต์วัสดุเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์ ลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนสามารถนำน้ำที่ได้มารดผักและเป็นการออกกำลังกายไปด้วย ผักที่ปลูกได้รดน้ำทุกวันซึ่งเป็นผลพลอยได้ จากการออกกำลังกาย และน้ำส้มควันไม้ที่ได้จากการเผาถ่านสามารถนำมาใช้เป็นยาไล่แมลง ได้ ประชาชนได้รับประธานผักปลอดสารพิษ และ เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน ซึ่งเป็นการสร้างสุขให้เกิดกับชุมชนอย่างเป็นพลวัตร
    ผลของ Best Practice : การ ประหยัดพลังงานโดยการการสูบน้ำโดยการใช้จักยาน เป้นประหยัดพลังงาน และเป็นการออกกำลังกายที่เพลิดเพลินส่งเสริมความสัมพันธ์ภายในครอบครัว และเป็นการประยุกต์วัสดุเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์ ลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนสามารถนำน้ำที่ได้มารดผักและเป็นการออกกำลังกาย ไปด้วย ผักที่ปลูกได้รดน้ำทุกวันซึ่งเป็นผลพลอยได้ จากการออกกำลังกาย และน้ำส้มควันไม้ที่ได้จากการเผาถ่านสามารถนำมาใช้เป็นยาไล่แมลง ได้ ประชาชนได้รับประธานผักปลอดสารพิษ และ เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน ซึ่งเป็นการสร้างสุขให้เกิดกับชุมชนอย่างเป็นพลวัตร

  45. ชื่อ Best Practice : กลุ่มเยาวชนมวยไทย

    โครงการ : คนบ้านควน รวมใจ ลงมือ ลดนักเสพหน้าใหม่ในชุมชน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การนำเยาวชน7-12 ปี 15 คนและ 13-20 ปี 15 คน ทั้งหญิงและชายมาฝึกมวยไทยอย่างสม่ำเสมอ สามารถทำการแสดงได้ และออกแสดงตามงานและวันสำคัญต่างๆ
    ผลของ Best Practice : เยาวชนกลุ่มมวนไทยได้ฝึกร่างกายให้แข็ง ได้ใช้เวลาว่างทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ พ่อแม่ผู้ปกครองมีความสุขได้เห็นลูกหลานทำกิจกรรมที่เกิดประโยชน์ ไม่ใช้เวลาไปมั่วสุม ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

  46. ชื่อ Best Practice : แกนนำเกษตรอินทรีย์ ผักปลอดสารพิษข้างบ้าน

    โครงการ : คนปากเปียดสุขภาพดีด้วยวิถีพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : คัดเลือกครัวเรือนที่มีความพร้อม ด้านทำการเกษตร เกษตรปลอดสารพิษ โดยทำเป็นต้นแบบ จำนวน 5 ครัวเรือน
    ผลของ Best Practice : ครัวเรือนต้นแบบด้านการทำการเกษตรปลอดสารพิษ ปลูกผักทุกชนิดที่กินโดยใช้พื้นที่ว่างเปล่าข้างบ้านมาเป็นแปลงเพาะปลูก ส่งผลให้ครัวเรือนนั้นได้นำผลผลิตทางการเกษตรมาใช้ในครัวเรือนแบบไม่ขัดสน และสามารถกินผักปลอดสารพิษได้ทุกวัน ไม่ต้องซ้ือจากตลาด บางรายให้คำกำกัดความว่าเป็นตู้เย็นข้างบ้านเซเว่นข้างบ้าน และเมื่อการดำเนินงานของครัวเรือนดังกล่าวมาระยะหนึ่งได้ขยายสู่ครัวเรือนอื่น ที่เป็นเป้าหมายของ ครัวเรือนแกนนำเกษตรอินทรีย์ เกิดแหล่งเรียนรุ้ขั้นต้นจากครัวเรือนที่เกิดความพร้อมอันดับแรก

  47. ชื่อ Best Practice : สื่อเยาวชน

    โครงการ : คนปากเปียดสุขภาพดีด้วยวิถีพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การรวมตัวของเยาวชน เพื่อการจัดทำสื่อให้ความรู้กับคนในชุมชน โดยความร่วมมือของผู้ใหญ่
    ผลของ Best Practice : คนในชุมชนได้รับสื่อ แนะนำเรื่องการปกิบัติตัว การป้องกันโรคและการออกกำลังกายโดยเยาวชนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง และเยาวชนเป็นตัวอย่างนการเป็นผู้นำในการออกำลังกาย

  48. ชื่อ Best Practice : การดูแลสุขภาพด้วยแพทย์แผนไทย

    โครงการ : คนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักถึงคุณค่าของสมุนไพรและของใกล้ตัวในบ้านที่มีประโยชน์
    ผลของ Best Practice :

  49. ชื่อ Best Practice : การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาเพื่อนำไปสูการแก้ไขแบบมีส่วนร่วม

    โครงการ : คนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - การสร้างความรู้ ความเข้าใจ การมีส่วนร่วมในการทำงานทุกขั้นตอน
    ผลของ Best Practice : - คนในชุมชน เห็นประโญชน์ เห็นคุณค่า ให้ความร่วมมือ

  50. ชื่อ Best Practice : การสร้างนวัตกรรมสุขภาพ

    โครงการ : คนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ชวนกันจัดทำนวัตกรรมการดูแลสุขภาพ เช่น ลานลวดฝ่าเท้า ถุงทราย เพื่อให้ทุกคนได้มาใช้ร่วมกันในการดูแลสุขภาพ
    ผลของ Best Practice : คนในชุมชนหันมาออกกำลังกายที่ลานสุขภาพ มีการนำสมุนไพรมาใช้เป้นอาหารมากขึ้น

  51. ชื่อ Best Practice : การพัฒนากระบวนการรับผิดชอบต่อชุมชนท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม

    โครงการ : คนวังฆ้องร่วมใจพัฒนาคลองสองสายน้ำเกิดสายน้ำแห่งความสุข
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : สร้างความร่วมมือในการดำเนินงาน และส่งเสริมให้ทุกคน รับผิดชอบร่วมกัน พร้อมทั้งสร้างจิตสำนึก และมอบหมายความรับผิดชอบที่ชัดเจน และเต็มใจ บนพื้นฐาน ของประชาธิปไตย และการเมืองของภาคพลเมือง ส่งเสริม ให้ทุกคนรู้สิทธิที่พึงได้รับ และหน้าที่ ที่ต้องปฏิบัติ เพื่อ ให้สังคมสันติสุข ภายใต้ สิ่งแวดล้อมที่ดี
    ผลของ Best Practice :

  52. ชื่อ Best Practice : การมีส่วนร่วมของเยาวชน

    โครงการ : คนเอาถ่านบ้านวัดโหนด
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เยาวชนมาช่วยกิจกรรม เหตุผลที่เข้ามาเพราะเป็นนักเรียน ครู ชวนมา ผู้ปกครองสนับสนุน
    ผลของ Best Practice : เด็กนักเรียน เยาวชน เปลี่ยนแปลง โดยมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ชอบซักถาม อยากเข้าร่วมกิจกรรม กระตือรือร้นมากขึ้น

  53. ชื่อ Best Practice : การมีส่วนร่วของเยาวชน

    โครงการ : คนเอาถ่านบ้านวัดโหนด
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เยาวชนมาช่วยกิจกรรม เหตุผลที่เข้ามาเพราะเป็นนักเรียน ครู ชวนมา ผู้ปกครองสนับสนุน
    ผลของ Best Practice : เด็กนักเรียน เยาวชน เปลี่ยนแปลง โดยมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ชอบซักถาม อยากเข้าร่วมกิจกรรม กระตือรือร้นมากขึ้น

  54. ชื่อ Best Practice : การทำดินผสม

    โครงการ : คนเอาถ่านบ้านวัดโหนด
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.เป็นการนำวัสดุที่เหลือใช้ทุกชนิดที่ย่อยสลายได้ เอามาทำให้เกิดประโยชน์โดยมาผสมคลุกเคล้ากัน เช่น ใบไม้ แกลบ ขี้เลื่อย เปลือกผลไม้ มาผสมคลุกเคล้ากัน
    ผลของ Best Practice : 1.เป็นดินที่มีส่วนผสมหลากหลาย นำไปปลูกต้นไม้ได้หลายชนิด 2.ดินที่ผสม เป้นดินที่ปลอดสารเคมี

  55. ชื่อ Best Practice : การทำดินผสม

    โครงการ : คนเอาถ่านบ้านวัดโหนด
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.เป็นการนำวัสดุที่เหลือใช้ทุกชนิดที่ย่อยสลายได้ เอามาทำให้เกิดประโยชน์โดยมาผสมคลุกเคล้ากัน เช่น ใบไม้ แกลบ ขี้เลื่อย เปลือกผลไม้ มาผสมคลุกเคล้ากัน
    ผลของ Best Practice : 1.เป็นดินที่มีส่วนผสมหลากหลาย นำไปปลูกต้นไม้ได้หลายชนิด 2.ดินที่ผสม เป้นดินที่ปลอดสารเคมี

  56. ชื่อ Best Practice : การทำดินผสม

    โครงการ : คนเอาถ่านบ้านวัดโหนด
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.เป็นการนำวัสดุที่เหลือใช้ทุกชนิดที่ย่อยสลายได้ เอามาทำให้เกิดประโยชน์โดยมาผสมคลุกเคล้ากัน เช่น ใบไม้ แกลบ ขี้เลื่อย เปลือกผลไม้ มาผสมคลุกเคล้ากัน
    ผลของ Best Practice : 1.เป็นดินที่มีส่วนผสมหลากหลาย นำไปปลูกต้นไม้ได้หลายชนิด 2.ดินที่ผสม เป้นดินที่ปลอดสารเคมี

  57. ชื่อ Best Practice : กิจกรรมเรียนรู้พืชสมุนไพร

    โครงการ : คบเด็กสร้างป่าสร้างสุขภาวะคนบ้านเขาอ้อ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : จากผู้รู้ ผู้เฒ่า ปราชญ์ชาวบ้านจำนวน 3 คน ถ่ายทอดความรู้ชนิด ปริมาณ สรรพคุณ ของสมุนไพรทีมีอยู่ในชุนชนบ้านเขาอ้อ ผ่านเวทีเสวนา คุณค่าสมุนไพร
    ผลของ Best Practice : กลุ่มคนทั้ง 3 วัยในหมู่บ้านมีความรู้ ความเข้าใจ ชนิด ปริมาณ สรรพคุณ ของสมุนไพรในชุมชนมากกว่า 73 ชนิดที่มีอยู่ในชุมชน จึงมีแนวคิด ตั้งใจลงมือทำร่วมกันในเรื่องที่จะอนุรักษ์ ฟื้นฟู สมุนไพรในชุมชนให้ลูกหลานได้เรียนรู้ต่อไป โดยผ่านกิจกรรมจัดเก็บข้อมูลโดยลงพื้นที่สำรวจป่าในชุมชนเอง

  58. ชื่อ Best Practice : กิจกรรมเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชนผ่านงานประจำปี

    โครงการ : คบเด็กสร้างป่าสร้างสุขภาวะคนบ้านเขาอ้อ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : จากผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้านในพื้นที่
    ผลของ Best Practice : กลุ่มคนทั้ง 3 วัยในหมู่บ้านมีความรู้ ความเข้าใจ ชนิด ปริมาณ สรรพคุณ ของสมุนไพรในชุมชนมากกว่า 73 ชนิดที่มีอยู่ในชุมชน จึงมีแนวคิด ตั้งใจลงมือทำร่วมกันในเรื่องที่จะอนุรักษ์ ฟื้นฟู สมุนไพรในชุมชนให้ลูกหลานได้เรียนรู้ต่อไป ซึ่งเป็นผลดีกับชุมชนที่ทางหน่วยงานการท่องเที่ยวจังหวัดเห็นความสำคัญจึงมีการดำเนินกิจกรรมนี้อย่างต่อเนื่องโดยสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ต่อไป

  59. ชื่อ Best Practice : ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจแบบพอเพียง

    โครงการ : ครัวเรือนสุขภาพดีตามวิถีควนตราบ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เกิดแนวคิดร่วมกันระหว่างผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน นักพัฒนา กรรมการโครงการครัวเรือนสุขภาพดีตามวีถีควนตราบน่าจะมีแหล่งเรียนรู้ไว้ให้สมาชิกของชุมได้มาเรียนรู้ทั้งในด้านวิชาการ เทคนิค และการปฏิบัติจริงในศูนย์เรียนรู้ จึงได้เริ่มก่อตั้งขึ้นมาโดยใช้ที่ดินของนายเสนอ ไชยสุวรรณ เป็นไร่นาสวนผสมเก่าที่แปลงมาปลูกยางพารา และที่ดินของนายไชยยศ สาระรักษ์ เป็นบ่อเลี้ยงปลาเก่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว ซึ่งปัจจุบันนายไชยยศ สาระรักษ์ ทำงานเป็นเกษตรอำเภอชะอวด มีความรู้ทางด้านเกษตรเป็นอย่างดีสามารถสนับสนุนด้านวิชาการให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดี
    ผลของ Best Practice : เป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจแบบพอเพียงของบ้านควนตราบ เป็นแหล่งสนับสนุนในทุกๆด้านที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น วิชาการ หัวเชื้อ ปด.1-7 สำหรับทำปุ๋ยหมักชีวภาพ พื้นที่สำหรับปลุกผัก(ผู้ที่ไม่มีที่ดินที่จะปลูกผัก)

  60. ชื่อ Best Practice : น้ำใจนักกีฬา

    โครงการ : คลองสองปากน่าอยู่ ลูกหลานปลอดยา
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การออกค้นหาผู้ด้อยโอกาสในสังคมแล้วลงมือลงแรงร่วมกันทั้งเยาวชนและผู้ใหญ่ท
    ผลของ Best Practice : ได้งาน ได้ใจ ได้ความภาคภูมิใจ ความสามัคคี

  61. ชื่อ Best Practice : น้ำใจนักกีฬา

    โครงการ : คลองสองปากน่าอยู่ ลูกหลานปลอดยา
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การออกค้นหาผู้ด้อยโอกาสในสังคมแล้วลงมือลงแรงร่วมกันทั้งเยาวชนและผู้ใหญ่ท
    ผลของ Best Practice : ได้งาน ได้ใจ ได้ความภาคภูมิใจ ความสามัคคี

  62. ชื่อ Best Practice : การเลียงกบภูมิปัญญา

    โครงการ : คลังอาหาร อยู่ดี กินดีที่บ้านหนองสีขวัญ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.มีการจัดกลุ่มด้วยความสมัครใจ เรียนรู้การเลี้ยงกบด้วยวิธีภูมิปัญญา 2.ศึกษาการจัดทำบ่อเลี้ยงกบ การบริบาลลูกกบ 3.การผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงกบ ด้วยภูมิปัญญา
    ผลของ Best Practice : 1.มีการสร้างคลังอาหารโปรตีนในครัวเรือน 2.มีแนวทางการเพิ่มรายได้ครัวเรือน 3.ส่งเสริมการนำภูมิปัญญามาใช้ในการพัฒนา 4.เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้ามาเรียนรู้

  63. ชื่อ Best Practice : การปลูกมะนาว

    โครงการ : คลังอาหาร อยู่ดี กินดีที่บ้านหนองสีขวัญ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.มีการจัดกลุ่มเรียนรู้การปลูกมะนาว ด้วยการตอนกิ่งมะนาว และการเพาะด้วยเมล็ด 2.เรียนรู้การปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์ 3.เรียนรู้การกำจัดแมลงหรือเชื้อรา ด้วยวิธีภูมิปัญญา
    ผลของ Best Practice : 1.มีการสร้างคลังอาหารในครัวเรือน 2.มีแนวทางการสร้างรายได้ครัวเรือน 3.เพ่ิมพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร 4.ลดการใช้สารเคมี

  64. ชื่อ Best Practice : การเลียงกบภูมิปัญญา

    โครงการ : คลังอาหาร อยู่ดี กินดีที่บ้านหนองสีขวัญ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.มีการจัดกลุ่มด้วยความสมัครใจ เรียนรู้การเลี้ยงกบด้วยวิธีภูมิปัญญา 2.ศึกษาการจัดทำบ่อเลี้ยงกบ การบริบาลลูกกบ 3.การผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงกบ ด้วยภูมิปัญญา
    ผลของ Best Practice : 1.มีการสร้างคลังอาหารโปรตีนในครัวเรือน 2.มีแนวทางการเพิ่มรายได้ครัวเรือน 3.ส่งเสริมการนำภูมิปัญญามาใช้ในการพัฒนา 4.เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้ามาเรียนรู้

  65. ชื่อ Best Practice : การปลูกมะนาว

    โครงการ : คลังอาหาร อยู่ดี กินดีที่บ้านหนองสีขวัญ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.มีการจัดกลุ่มเรียนรู้การปลูกมะนาว ด้วยการตอนกิ่งมะนาว และการเพาะด้วยเมล็ด 2.เรียนรู้การปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์ 3.เรียนรู้การกำจัดแมลงหรือเชื้อรา ด้วยวิธีภูมิปัญญา
    ผลของ Best Practice : 1.มีการสร้างคลังอาหารในครัวเรือน 2.มีแนวทางการสร้างรายได้ครัวเรือน 3.เพ่ิมพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร 4.ลดการใช้สารเคมี

  66. ชื่อ Best Practice : การเลี้ยปลานิล

    โครงการ : คลังอาหาร อยู่ดี กินดีที่บ้านหนองสีขวัญ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.เป็นการเลี้ยงปลานิลแบบธรรมชาติ โดยใช้บ่อปลาข้างบ้าน 2.ใช้อาหารธรรมชาติ คือเศษอาหาจากครัวเรือน 3.เน้นการเลี้ยงปลาแบบวิถีพื้นบ้าน
    ผลของ Best Practice : 1.เศษอาหาร เศษผัก จากครัวเรือน นำไปเลี้ยงปลาได้2.ได้อาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษ3.เป็นการเลี้ยงปลาที่ง่าย สะดวก ไม่ยุ่งยาก

  67. ชื่อ Best Practice : การเลียงกบภูมิปัญญา

    โครงการ : คลังอาหาร อยู่ดี กินดีที่บ้านหนองสีขวัญ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.มีการจัดกลุ่มด้วยความสมัครใจ เรียนรู้การเลี้ยงกบด้วยวิธีภูมิปัญญา 2.ศึกษาการจัดทำบ่อเลี้ยงกบ การบริบาลลูกกบ 3.การผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงกบ ด้วยภูมิปัญญา
    ผลของ Best Practice : 1.มีการสร้างคลังอาหารโปรตีนในครัวเรือน 2.มีแนวทางการเพิ่มรายได้ครัวเรือน 3.ส่งเสริมการนำภูมิปัญญามาใช้ในการพัฒนา 4.เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้ามาเรียนรู้

  68. ชื่อ Best Practice : การปลูกมะนาว

    โครงการ : คลังอาหาร อยู่ดี กินดีที่บ้านหนองสีขวัญ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.มีการจัดกลุ่มเรียนรู้การปลูกมะนาว ด้วยการตอนกิ่งมะนาว และการเพาะด้วยเมล็ด 2.เรียนรู้การปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์ 3.เรียนรู้การกำจัดแมลงหรือเชื้อรา ด้วยวิธีภูมิปัญญา
    ผลของ Best Practice : 1.มีการสร้างคลังอาหารในครัวเรือน 2.มีแนวทางการสร้างรายได้ครัวเรือน 3.เพ่ิมพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร 4.ลดการใช้สารเคมี

  69. ชื่อ Best Practice : การเลี้ยปลานิล

    โครงการ : คลังอาหาร อยู่ดี กินดีที่บ้านหนองสีขวัญ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.เป็นการเลี้ยงปลานิลแบบธรรมชาติ โดยใช้บ่อปลาข้างบ้าน 2.ใช้อาหารธรรมชาติ คือเศษอาหาจากครัวเรือน 3.เน้นการเลี้ยงปลาแบบวิถีพื้นบ้าน
    ผลของ Best Practice : 1.เศษอาหาร เศษผัก จากครัวเรือน นำไปเลี้ยงปลาได้2.ได้อาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษ3.เป็นการเลี้ยงปลาที่ง่าย สะดวก ไม่ยุ่งยาก

  70. ชื่อ Best Practice : 1.ฐานปลานิล

    โครงการ : คลังอาหารบ้านดอนโรง(ต่อยอดปี 2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.เป็นการเรียนรู้วิธีการเพาะฟักปลานิล เพื่อแจกจ่ายให้กับคนในชุมชน โดยลดต้นทุนการผลิต 2.ครัวเรือนที่นำปลานิลไปเลี้ยง จะเลี้ยงแบบธรรมชาติ ไม่ให้เมล็ดอาหารที่ซื้อตามท้องตลาด 3.เมื่อนำปลาไปเลี้ยงแล้ว ให้คืนทุนกับกลุ่มตามความสมัครใจ เช่น 500 บาท 4.ปลานิลจะแจกจ่ายให้กับสมาชิกกลุ่มเท่านั้น
    ผลของ Best Practice : 1.ชุมชนมีปลานิลที่เลี้ยงเอง ไว้บริโภคเอง ปลอดภัย ปลอดสารเคมี 2.เป็นการลดรายจ่าย ครัวเรือน

  71. ชื่อ Best Practice : 1.ฐานปลานิล

    โครงการ : คลังอาหารบ้านดอนโรง(ต่อยอดปี 2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.เป็นการเรียนรู้วิธีการเพาะฟักปลานิล เพื่อแจกจ่ายให้กับคนในชุมชน โดยลดต้นทุนการผลิต 2.ครัวเรือนที่นำปลานิลไปเลี้ยง จะเลี้ยงแบบธรรมชาติ ไม่ให้เมล็ดอาหารที่ซื้อตามท้องตลาด 3.เมื่อนำปลาไปเลี้ยงแล้ว ให้คืนทุนกับกลุ่มตามความสมัครใจ เช่น 500 บาท 4.ปลานิลจะแจกจ่ายให้กับสมาชิกกลุ่มเท่านั้น
    ผลของ Best Practice : 1.ชุมชนมีปลานิลที่เลี้ยงเอง ไว้บริโภคเอง ปลอดภัย ปลอดสารเคมี 2.เป็นการลดรายจ่าย ครัวเรือน

  72. ชื่อ Best Practice : 1.ฐานปลานิล

    โครงการ : คลังอาหารบ้านดอนโรง(ต่อยอดปี 2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.เป็นการเรียนรู้วิธีการเพาะฟักปลานิล เพื่อแจกจ่ายให้กับคนในชุมชน โดยลดต้นทุนการผลิต 2.ครัวเรือนที่นำปลานิลไปเลี้ยง จะเลี้ยงแบบธรรมชาติ ไม่ให้เมล็ดอาหารที่ซื้อตามท้องตลาด 3.เมื่อนำปลาไปเลี้ยงแล้ว ให้คืนทุนกับกลุ่มตามความสมัครใจ เช่น 500 บาท 4.ปลานิลจะแจกจ่ายให้กับสมาชิกกลุ่มเท่านั้น
    ผลของ Best Practice : 1.ชุมชนมีปลานิลที่เลี้ยงเอง ไว้บริโภคเอง ปลอดภัย ปลอดสารเคมี 2.เป็นการลดรายจ่าย ครัวเรือน

  73. ชื่อ Best Practice : มีไข่กินทุกครัวเรือน

    โครงการ : คลังอาหารบ้านดอนโรง(ต่อยอดปี 2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ส่งเสริมให้ทุกบ้านมีการเลี้ยงเป็ดและเลี้ยงไก่ โดยเลี้ยงประมาณ 10 ตัวหรือ 20 ตัว บางครัวเรือน 40 ตัว โดยใช้เศษอาหารที่เหลือจากครัวเรือนนำมาเลี้ยงไก่ พอเลี้ยงได้สัก 4 – 6 เดือน ไก่จะไข่ออกมา ทำให้มีไข่ไว้กินทุกครัวเรือน
    ผลของ Best Practice : 1.มีไข่กินทุกครัวเรือน เป็นอาหารสำหรับทุกบ้าน 2.ไข่ที่เหลือก็สามารถขายได้ เป็นรายได้ 3.ขี้ไก่ สามารถขายเพื่อนำไปทำปุ๋ยขีวภาพ

  74. ชื่อ Best Practice : มีไข่กินทุกครัวเรือน

    โครงการ : คลังอาหารบ้านดอนโรง(ต่อยอดปี 2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ส่งเสริมให้ทุกบ้านมีการเลี้ยงเป็ดและเลี้ยงไก่ โดยเลี้ยงประมาณ 10 ตัวหรือ 20 ตัว บางครัวเรือน 40 ตัว โดยใช้เศษอาหารที่เหลือจากครัวเรือนนำมาเลี้ยงไก่ พอเลี้ยงได้สัก 4 – 6 เดือน ไก่จะไข่ออกมา ทำให้มีไข่ไว้กินทุกครัวเรือน
    ผลของ Best Practice : 1.มีไข่กินทุกครัวเรือน เป็นอาหารสำหรับทุกบ้าน 2.ไข่ที่เหลือก็สามารถขายได้ เป็นรายได้ 3.ขี้ไก่ สามารถขายเพื่อนำไปทำปุ๋ยขีวภาพ

  75. ชื่อ Best Practice : เสียงตามสายรณรงค์การจัดการขยะ

    โครงการ : ควนเก รีไซเคิล
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การวางแผน เขียนบท ออกเสียงตามสาย
    ผลของ Best Practice : การรณรงค์จัดการขยะควบคู่การป้องกันไข้เลือกออก เพราะเป็นพื้นที่ระบาด

  76. ชื่อ Best Practice : หลักสูตรการฝึกอบรมการผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจร

    โครงการ : ความมั่นคงทางด้านอาหารวิถีบ้านท่าช้าง ( ต่อเนื่อง )
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจร 5 ครั้ง ครั้งละ 2 วัน กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คุยวงใหญ่และกลุ่มย่อย เรียนรู้จากการปฏิบัติ โดยนำหลักสูตร และคู่มือมาใช้ในการเสริมกระบวนการเรียนรู้ โดยมีวิทยากรกระบวนการและปฏิบัติการเป็นแกนนำชุมชนจำนวนชุมชน 10 คน พัฒนาศักยาภาพแกนนำของแหล่งเรียนรู้ความมั่นคงทางด้านอาหาร จากการปฏิบัติการจริง ร่วมกับภาคี และสร้างเครือข่ายขยายฐานสมาชิกในชุมชนเข้ามาร่วมเรียนรู้ อาสาสมัครได้นำความรู้ที่ได้ใช้ในแปลงนา และถ้ามีปัญหาได้มาแลกเปลี่ยนช่วยหาแนวทางการแก้ปัญหาในการสร้างแปลงตัวอย่างทำนาอินทรีย์ ผักพื้นบ้านคืนปลาให้นาข้าว เช่น ศูนย์วิจัยข้าว เกษตรอำเภอ ประกอบด้วย ครั้งที่ 1 การปรับปรุงดิน/อนุรักษ์น้ำ ครั้งที่ 2 การคัดพันธุ์ข้าว/การปลูก ครั้งที่ 3 ดูแลรักษาต้นข้าว ครั้งที่ 4 การเก็บเกี่ยว ครั้งที่ 5 แปรรูปและตลาด มีผู้เข้าร่วมอบรมได้แก่ชาวบ้านท่าช้าง 38 คน วิทยากรรและคณะทำงาน 13 คน
    ผลของ Best Practice : สำหรับอบรม แกนนำชาวนาให้มีความรู้และทักษะที่สำคัญในการทำนาอินทรีย์ครบวงจร เป็ความรู้ที่ผสมผสานระหว่างความรู้ใหม่และความรู้เดิม รวมถึงบทเรียนที่เกิดจากการทำจริงนำมาถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ผสมผสานบทเรียนตรงและวิชาการ

  77. ชื่อ Best Practice : งานวันรณรงค์วัฒนธรรมข้าว

    โครงการ : ความมั่นคงทางด้านอาหารวิถีบ้านท่าช้าง ( ต่อเนื่อง )
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : งานวันรณรงค์วัฒนธรรมข้าว -เวทีเสวนาการผลิตข้าวอินทรีย์วิถีเมืองลุง :ความมั่นคงทางด้านอาหาร -จัดนิทรรศการตามโครงการ -ทำขวัญข้าว -กวนข้าวยาคู
    ผลของ Best Practice : สามารถนำหลักคิดนี้ไปใช้ในการรณรงค์สำหรับพื้นที่ที่ต้องการจะรื้อฟื้นวิถีนาของชุมชน

  78. ชื่อ Best Practice : กองทุนขยะ

    โครงการ : คอกช้างร่วมใจจัดการขยะ…รักสุขภาพ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : มาจาการที่ชาวบ้านนำขยะเข้ามาทอดกฐิน แล้วแปลงเป็นเงิน กลายเป็นกองทุน นำไปใช้งานสาธารณะ
    ผลของ Best Practice : ชุมชนมีการจัดการขยะที่เป็นการขายแล้วนำเงินมาเป็นกองกลางสำหรับกิจกรรมของชุมชน

  79. ชื่อ Best Practice : กองทุนขยะ

    โครงการ : คอกช้างร่วมใจจัดการขยะ…รักสุขภาพ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การนำขยะมาบริจาคและแลกเป็นเงินกลายเป็นกองทุน
    ผลของ Best Practice : ชุมชนมีการจัดการขยะที่เป็นการขายแล้วนำเงินมาเป็นกองกลางสำหรับกิจกรรมของชุมชน

  80. ชื่อ Best Practice : การอนุรักษ์พันธ์ปลา และระบบนิเวศน์ชายฝั่ง ร่วมกับภาคีเครือข่ายหลากหลาย

    โครงการ : คืนธรรมชาติบ้านท่าใหญ่สู่ต้นแบบชุมชนเกษตรอินทรีย์
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การชักชวนกลุ่มที่มีแนวคิดอุดมการรักษาสิ่งแวดล้อมเหมือนกัน มาจัดกิจกรรมร่วมกันและให้เครดิตภาคีเครือข่ายในการเป็นผู้นำกลุ่มย่อยเพื่อการสร้างสรรค์กิจกรรมเชิงอนุรักษ์ ภายใต้การบูรณาการงบประมาณ
    ผลของ Best Practice : เกิดการมีส่วนร่วมในภาคองคกรมากมายได่แก่ กรมประมง ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม อบต เกษตรอำเภอ ปศุสัตว์ และนักอนุรกษ์อิสระ

  81. ชื่อ Best Practice : เกิดแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ตามวิถีชุมชนคนในอดีต

    โครงการ : คืนธรรมชาติบ้านท่าใหญ่สู่ต้นแบบชุมชนเกษตรอินทรีย์
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การสร้างต้นแบบ และพื้นที่เรียนรู้ หรือแหล่งเรียนรู้ในระดับชุมชนจัดกิจกรรมที่ต่อเนื่อง โดยอาศัยการร่วมมือกับภาคีเครือข่าย
    ผลของ Best Practice : การลดสารพิษในอาหาร ในดินและในน้ำ

  82. ชื่อ Best Practice : การแบ่งทีมทำงาน 3 ทีม

    โครงการ : คุณค่าเด็กแว็นซ์ ที่บ้านปากคลองวัดแดง(ต่อยอดปี2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.มีการแบ่งทีมทำงานออกเป็น 3 ทีม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 บ้านหัวท่อมแบ่งผู้นำและอสม. ในเขตรับผิดชอบ ดังนี้ นางประคิ่นชูแก้ว, นางบัญญัติดำด้วงโรม, นางสุนีย์วงศ์ศิลป์, นางสมพงศ์นวลศรี, นางศรีวิลัยทองใสพร, นางสาครส่งสุทธิต, นางลัดดาวัลย์หารยางนอก, นางสาววิลัย นาแก้ว, นายมนัส ดำด้วงโรม, นางสาวศิราณี เขียวบุญจันทร์ กลุ่มที่ 2 บ้านปากคลองวัดแดง ทีมงานประกอบด้วยนายสมหมายมีเสน, นายสุทิน พังแพร่, นางพร้อม อินทร์ปรางค์, นางสาวกมลทิพย์ ศรีส่งสุข, นางสาวอรอุมาไขแก้ว, นางอุทุมพร บูชากรณ์, นายไมตรีน้ำทอง, นส.พะเยาว์เกลี้ยงแป้น, นางประคองถนนทอง, นางกมล บูชากรณ์, นส.น้ำอ้อยขวัญมิ่ง กุล่มที่ 3 บ้านปากช่อง ประกอบด้วย นายประเสริฐรักสวนเงิน, นางจำเป็นทวี, นางบุญธรรม ศรีทันเดช, นายกิ่งรักษ์ ย้อยไชยา, นายจักรเทพวัฒนสุข, นางเพ็ญศรี จันทร์เทพ, นางจุฑาลักษณ์สดไธสง 2.มีการมอบหมายหน้าที่การงานแต่ละกลุ่ม
    ผลของ Best Practice : 1.มีการมอบหมายหน้าที่การทำงานในแต่ละกลุ่ม 2.มีหัวหน้ากลุ่มและผู้ประสานในแต่ละทีม 3.ทุกครัวเรือนได้เข้าถึงกิจกรรม

  83. ชื่อ Best Practice : การแบ่งทีมทำงาน 3 ทีม

    โครงการ : คุณค่าเด็กแว็นซ์ ที่บ้านปากคลองวัดแดง(ต่อยอดปี2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.มีการแบ่งทีมทำงานออกเป็น 3 ทีม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 บ้านหัวท่อมแบ่งผู้นำและอสม. ในเขตรับผิดชอบ ดังนี้ นางประคิ่นชูแก้ว, นางบัญญัติดำด้วงโรม, นางสุนีย์วงศ์ศิลป์, นางสมพงศ์นวลศรี, นางศรีวิลัยทองใสพร, นางสาครส่งสุทธิต, นางลัดดาวัลย์หารยางนอก, นางสาววิลัย นาแก้ว, นายมนัส ดำด้วงโรม, นางสาวศิราณี เขียวบุญจันทร์ กลุ่มที่ 2 บ้านปากคลองวัดแดง ทีมงานประกอบด้วยนายสมหมายมีเสน, นายสุทิน พังแพร่, นางพร้อม อินทร์ปรางค์, นางสาวกมลทิพย์ ศรีส่งสุข, นางสาวอรอุมาไขแก้ว, นางอุทุมพร บูชากรณ์, นายไมตรีน้ำทอง, นส.พะเยาว์เกลี้ยงแป้น, นางประคองถนนทอง, นางกมล บูชากรณ์, นส.น้ำอ้อยขวัญมิ่ง กุล่มที่ 3 บ้านปากช่อง ประกอบด้วย นายประเสริฐรักสวนเงิน, นางจำเป็นทวี, นางบุญธรรม ศรีทันเดช, นายกิ่งรักษ์ ย้อยไชยา, นายจักรเทพวัฒนสุข, นางเพ็ญศรี จันทร์เทพ, นางจุฑาลักษณ์สดไธสง 2.มีการมอบหมายหน้าที่การงานแต่ละกลุ่ม
    ผลของ Best Practice : 1.มีการมอบหมายหน้าที่การทำงานในแต่ละกลุ่ม 2.มีหัวหน้ากลุ่มและผู้ประสานในแต่ละทีม 3.ทุกครัวเรือนได้เข้าถึงกิจกรรม

  84. ชื่อ Best Practice : การแบ่งทีมทำงาน 3 ทีม

    โครงการ : คุณค่าเด็กแว็นซ์ ที่บ้านปากคลองวัดแดง(ต่อยอดปี2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.มีการแบ่งทีมทำงานออกเป็น 3 ทีม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 บ้านหัวท่อมแบ่งผู้นำและอสม. ในเขตรับผิดชอบ ดังนี้ นางประคิ่นชูแก้ว, นางบัญญัติดำด้วงโรม, นางสุนีย์วงศ์ศิลป์, นางสมพงศ์นวลศรี, นางศรีวิลัยทองใสพร, นางสาครส่งสุทธิต, นางลัดดาวัลย์หารยางนอก, นางสาววิลัย นาแก้ว, นายมนัส ดำด้วงโรม, นางสาวศิราณี เขียวบุญจันทร์ กลุ่มที่ 2 บ้านปากคลองวัดแดง ทีมงานประกอบด้วยนายสมหมายมีเสน, นายสุทิน พังแพร่, นางพร้อม อินทร์ปรางค์, นางสาวกมลทิพย์ ศรีส่งสุข, นางสาวอรอุมาไขแก้ว, นางอุทุมพร บูชากรณ์, นายไมตรีน้ำทอง, นส.พะเยาว์เกลี้ยงแป้น, นางประคองถนนทอง, นางกมล บูชากรณ์, นส.น้ำอ้อยขวัญมิ่ง กุล่มที่ 3 บ้านปากช่อง ประกอบด้วย นายประเสริฐรักสวนเงิน, นางจำเป็นทวี, นางบุญธรรม ศรีทันเดช, นายกิ่งรักษ์ ย้อยไชยา, นายจักรเทพวัฒนสุข, นางเพ็ญศรี จันทร์เทพ, นางจุฑาลักษณ์สดไธสง 2.มีการมอบหมายหน้าที่การงานแต่ละกลุ่ม
    ผลของ Best Practice : 1.มีการมอบหมายหน้าที่การทำงานในแต่ละกลุ่ม 2.มีหัวหน้ากลุ่มและผู้ประสานในแต่ละทีม 3.ทุกครัวเรือนได้เข้าถึงกิจกรรม

  85. ชื่อ Best Practice : ลดจุดเสี่ยงชุมชน

    โครงการ : คุณค่าเด็กแว็นซ์ ที่บ้านปากคลองวัดแดง(ต่อยอดปี2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ลดจุดเสี่ยง โดยการขอความร่วมมือ จากชุมชน ย้อนศรน้อยลงลดอุบัติเหตุ การลดจุดเสี่ยง โดยภาพรวมพบว่า ไม่มีอุบัตเหตุเลย บริเวณหน้าบ้านมีการถางป่าหน้าบ้านออกไป ทุกครัวเรือนเมื่อก่อนไม่มีใครสนใจ ตอนนี้ทุกคนก็เริ่มหันมาให้ความสนใจ ในการพัฒนาหมู่บ้านเดิมเราคิดว่าบางบ้านไม่ทำ แต่เมื่อถึงกิจกรรมทุกคนก็ร่วมมือเป็นอย่างดี
    ผลของ Best Practice : 1.เป็นการลดอุบัติเหตุในชุมชน 2.การปรับสภาพแวดล้อมทำให้บ้านเรือนสะอาดขึ้น 3.การเกิดอุบัติเหตุมีเพียง 2 ราย

  86. ชื่อ Best Practice : ลดจุดเสี่ยงชุมชน

    โครงการ : คุณค่าเด็กแว็นซ์ ที่บ้านปากคลองวัดแดง(ต่อยอดปี2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ลดจุดเสี่ยง โดยการขอความร่วมมือ จากชุมชน ย้อนศรน้อยลงลดอุบัติเหตุ การลดจุดเสี่ยง โดยภาพรวมพบว่า ไม่มีอุบัตเหตุเลย บริเวณหน้าบ้านมีการถางป่าหน้าบ้านออกไป ทุกครัวเรือนเมื่อก่อนไม่มีใครสนใจ ตอนนี้ทุกคนก็เริ่มหันมาให้ความสนใจ ในการพัฒนาหมู่บ้านเดิมเราคิดว่าบางบ้านไม่ทำ แต่เมื่อถึงกิจกรรมทุกคนก็ร่วมมือเป็นอย่างดี
    ผลของ Best Practice : 1.เป็นการลดอุบัติเหตุในชุมชน 2.การปรับสภาพแวดล้อมทำให้บ้านเรือนสะอาดขึ้น 3.การเกิดอุบัติเหตุมีเพียง 2 ราย

  87. ชื่อ Best Practice : การทำน่ำปุ๋ยหมักชีวภาพ โดยเศษอาหาร

    โครงการ : คูเชื่อมคนกองพลน่าอยู่
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : โดยการนำเศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ที่เหลือจากครัวเรือนในค่ายทหาร นำมาใช้ประโยชน์ทำน้ำหมัก ทำเป็นปุ๋ย ลดการซื้อปุ๋ยจากโรงงาน
    ผลของ Best Practice : ผู้บังคับบัญชาสั่ การให้ทุกกองพัน นำเศษอาหารมาใช้ประโยชน์ นำมาหมักทำปุ๋ยและพัฒนาขึ้นเป็นบ่อแกสชีวภาพใช้ในกองพัน

  88. ชื่อ Best Practice : การใช้ประโยชน์จากสิ่งปฎิกูลเหลือใช้เศษอาหารเหลือใช้ในครัวเรือน

    โครงการ : คูเชื่อมคนกองพลน่าอยู่
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การนำเศษอาหารและสิ่งเหลือใช้ขยะเปียกมาทำปุ๋ยชีวภาพมาใช้ในแปลงสาธิตแปลงผักปลอดสารพิษ
    ผลของ Best Practice : เศษอาหารที่เหลือจากโรงอาหารและครัวเรือน ได้เกิดประโยชน์โดยการนำมาทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ ลดการทำลายสิ่งแวดล้อมการ การทิ้งเพ่นพ่าน ส่งกลิ่นรบกวน และเกิดเป็นกติกาในค่ายทหารในการจัดการกับเศษอาหาร

  89. ชื่อ Best Practice : การพัฒนาคนโดยใช้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวเชื่อม

    โครงการ : คูเชื่อมคนกองพลน่าอยู่
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ในค่ายทหารเทพกษัตย์ตรี ประกอบด้วยทหารประจำการ แม่บ้าน ทหารเกณฑ์ ส่วนมากเวลาว่างของคนกลุ่มนี้ เช้น ทหารตั้งวงดื่ม แม่บ้านเล่นการพนัน นินทาเพื่อนบ้าน ดังนั้นเมื่อนำคนเหล่านี้มา ร่วมกันทำกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การทำปุ๋ยหมัก การปลกผักสวนครัว หลังบ้านแปลงผัก ประกวดบ้านทำให้คนเหล่านี้ หันมาทำกิจกรรม การใช้เวลาว่างเกิดประโยชน์มากขึ้น
    ผลของ Best Practice : เกิดการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เกิดควาสามัคคี เกิดอาหารเลี้ยงครัวเรือน ปลอดภัยต่อสุขภาพของคนในครอบครัว

  90. ชื่อ Best Practice : ผู้นำกลุ่มบ้านจัดการขยะ

    โครงการ : โคกเหล็กสะอาดจัดการขยะดีทุกชีวีมีสุข
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : รวมกลุ่มเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจนสำเร็จเป็นตัวอย่างเพื่อบ้านได้
    ผลของ Best Practice : ถ่ายทอดและขยายผลในครัวเรือนอื่นๆ ได้

  91. ชื่อ Best Practice : ผู้นำกลุ่มบ้านจัดการขยะ

    โครงการ : โคกเหล็กสะอาดจัดการขยะดีทุกชีวีมีสุข
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : รวมกลุ่มเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจนสำเร็จเป็นตัวอย่างเพื่อบ้านได้
    ผลของ Best Practice : ถ่ายทอดและขยายผลในครัวเรือนอื่นๆ ได้

  92. ชื่อ Best Practice : ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หมู่ 2 ต.วัดจันทร์

    โครงการ : โครงการ"จากโรงเรียนสู่บ้าน สืบสานความพอเพียง" หมู่ 2 ตำบลวัดจันทร์ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : วิธีการทำให้เกิด: มีการไปศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ภายในจังหวัด โดยการนำครู ก. ที่จะมาฝึกหัดทำกิจกรรมด้านพลังงาน หรือกิจกรรมการทำปุ๋ยหมัก จากนั้นมาพัฒนาเป็นคณะทำงานศูนย์ฯ และมีกิจกรรมด้านการถ่ายทอดแนวคิดแก่นักเรียน และผู้ปกครอง มีการประชุมและถอดบทเรียนเป็นระยะๆๆ
    ผลของ Best Practice : ผลของนวัตกรรม 1. อบต.วัดจันทร์ สำนักงานเกษตร อ.สทิงพระ ให้ความสำคัญ และจะบรรจุไว้ในแผนสนับสนุนของหน่วยงาน 2. โรงเรียนสนับสนุนการทำกิจกรรมเนื่องจากสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียนในการพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง 3. โรงเรียนมีความใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น เช่น การให้น้ำส้มควันไม้ไล่แมลงแก่ผู้สนใจแบบไม่คิดมูลค่า การเป็นแหล่งฝึกอบรม และการเป็นแหล่งผลิตจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรแบบปลอดสารพิษ การนำไปใช้ประโยชน์ 1.การเป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวคิดการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนและประชาชนรอบพื้นที่โรงเรัียน 2. การฝึกฝนให้นักเรียนกลุ่มเสี่ยงหรือมีพฤติกรรมเกเร มีความรับผิดชอบมากขึ้น

  93. ชื่อ Best Practice : 1. ธนาคารขยะรีไซเคิล ต.วัดจันทร์

    โครงการ : โครงการ"จากโรงเรียนสู่บ้าน สืบสานความพอเพียง" หมู่ 2 ตำบลวัดจันทร์ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : มีการจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิลขึ้นบริเวณอาคารที่เคยเป็นคอกแพะเดิม ปรับให้มีคอกเก็บขยะทำจากตะแกรงโลหะ เพื่อแยกขยะตามแต่ละประเภทหรือชนิดที่สามารถนำไปขายเพื่อรีไซเคิลได้ กล่าวคือ กระดาษขาว กระดาษลัง กระดาษหนังสือพิมพ์ พลาสติกใส พลาสติกขุ่น โลหะ กระป๋อง จัดโครงสร้างการบริหารจัดการธนาคารขยะในรูปแบบของคณะทำงานของธนาคารขยะที่มีผู้อำนวยการ ร.ร.และ ชาวบ้านร่วมเป็นที่ปรึกษา มีนักเรียนร่วมเป็นคณะทำงานของธนาคารขยะ ระบบการบริหารจัดการ คือ 1. ชาวบ้านและนักเรียนจะต้องสมัครสมาชิกและเปิดสมุดฝาก-ถอนกับทางธนาคาร พร้อมกับการชำระค่าธรรมเนียมราคา 30 บาท 2. นักเรียนและชาวบ้านที่สมัครเป็นสมาชิกธนาคารขยะต้องนำสมุดมาฝากกับธนาคารทุกครั้งที่มีการฝากขยะ 3. ธนาคารขยะจะเปิดทำการทุกวันระหว่างเวลา 12.00-13.00 น. 4. ราคาของขยะแต่ละประเภทจะมีราคาที่แตกต่างกันขึ้นลงตามราคาของตลาด ซึ่งธนาคารจะมีการแสดงราคาขยะแต่ละประเภทไว้ที่ป้ายราคาขยะ 5. สมาชิกสามารถถอนเงินฝากหรือการถอนเป็นการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในร้านค้าศูนย์ บาท 6. สมาชิกธนาคารขยะจะถอนเงินฝากได้ปีละ 1 ครั้ง
    ผลของ Best Practice : 1. ชาวบ้านและนักเรียนสามารถแยกขยะถูกต้องตามประเภทของขยะ 2. นักเรียนและชาวบ้านตระหนักถึงคุณค่าของขยะที่เกิดขึ้นจากการดำรงชีวิตประจำวัน 3. สามารถสร้างรายได้แก่ชาวบ้านและนักเรียนจากการขายขยะ 4. เป็นการฝึกฝนการบริหารจัดการเกี่ยวกับธนาคารขยะของคณะทำงาน 5. ชาวบ้านเข้าไปรู้จักและเห็นความสำคัญของการจัดตั้งธนาคารขยะในโรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์

  94. ชื่อ Best Practice : การขยายผลสู่โรงเรียน

    โครงการ : โครงการการจัดการป่าชุมชนบ้านควนยูงแบบมีส่วนร่วม
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - จัดกิจกรรมเสริมสรา้งความรู้ความเข้าใจ - สร้างเครือข่ายการอนุรักษ์ - ใช้เป็นพื้นที่ในการสร้างกระบสนการเรียนรู้ของโรงเรียน
    ผลของ Best Practice : - โรงเรียนสนใจอยากร่วมทำหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนในโรงเรียน

  95. ชื่อ Best Practice : การสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมน

    โครงการ : โครงการการจัดการป่าชุมชนบ้านควนยูงแบบมีส่วนร่วม
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - ประสานภาคีเครือข่ายการทำงานที่หลากหลายเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน ทั้งกลุ่มเด็ก กลุ่มวัยทำงาน แกนนำชุมชน และกลุ่มเพื่อสูงอายุ และให้บทบาทหน้าที่ให้ทุกคนได้มีความสำคัญอย่างเท่าเทียมกัน
    ผลของ Best Practice : - แกนนำแต่ละกลุ่มที่เข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายการทำงาน ทราบบทบาทหน้าที่ของตนเอง และทำตามหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่ เยาวชนร่วมเรียนรู้และอนุรักษื ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุที่มีความรู้ ถ่ายทอดความรู้สู่เยาวชน ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีของคนหลากหลายวัยที่ได้รักษาและดูและในสิ่งเดียวกัน (มีจุดหมายร่วม)

  96. ชื่อ Best Practice : ...กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

    โครงการ : โครงการการจัดการป่าชุมชนบ้านควนยูงแบบมีส่วนร่วม
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - การจัดกิจกรรมที่มีการนำคนหลากหลายเพศ หลากหลายวัยมาทำกิจกรรมร่วมกัน - การประสานงานองค์กรภาคีเครือข่ายทั้งในชุมชนและนอกชุมชนเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการจัดกิจกรรม การทำงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้คนในชุมชนให้ความสำคัญกับภาคีที่เข้าร่วมจัด และมาเข้าร่วมกิจกรรรมของชุมชนอย่างต่อเนื่อง
    ผลของ Best Practice : - เกิดการทำงานแบบมีส่วนร่วม - มีภาคเครือข่ายการทำงานทั้งในและนอกชุมชน เช่น มูลนิธิป่าทะเลเพื่อชีวิต กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์จังหวัดสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนที่ 12 จังหวัดสุราษฎร์ธานี วัดสานติไมตรี โรงเรียนบ้านควนยูง โรงเรียนมัธยมพัชรกิตติยาภา 2 โรงเรียนสอนคนพิการสุราษฎร์ธานี เป็นต้น

  97. ชื่อ Best Practice : ค่ายพัฒนาศักยภาพเยาวชน

    โครงการ : โครงการการจัดการอ่าวทุ่งนุ่ย
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นกิจกรรมค่ายที่ให้เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์ชุมชน วิถีชีวิตชุมชน หลักการของศาสนา และได้ทบทวนตัวเองในกระบวนการสายธารชีวิต ร่วมกับผู้ปกครอง
    ผลของ Best Practice : เยาวชนเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจกับความเป็นมาและความสำคัญของของชุมชนในอดีต มีความตระหนักในการดูแลครอบครัว มีความเข้าใจซึ่งกันและกันภายในครอบครัวเพิ่มมากขึ้น จากการที่ได้ร่วมกันเปิดใจรับฟังความคิดเห็น ความต้องการระหว่างเยาวชนและพ่อแม่ ผ่านกระบวนการทบทวนตัวเอง และเกิดความรู้สึกผูกพันธ์กับชุมชนมากขึ้น เกิดความตระหนักในการดูแลทรัพยากรในพื้นที่อ่าวทุ่งนุ้ยและพื้นที่อื่นๆ รวมถึงร่วมกันสร้างแผนสำรวจพื้นที่ มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เป็นการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากร

  98. ชื่อ Best Practice : กระบวนการมีส่วนร่วม

    โครงการ : โครงการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวบ้านนางกำ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - การนำองค์กรจากภายนอกมาหนุนเสริมการจัดกิจกรรม - การสร้างกิจกรรมเชิงสาระผนวกกับกิจกรรมนันทนาการ เพื่อดึงดูดความสนใจ
    ผลของ Best Practice : - มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่าเป้าหมายที่วางไว้ - สร้างการตื่นตัวและรับรู้ให้คนในชุมชนอย่างกว้างขวาง - ชุมชนอยากร่วมกิจกรรมแบบนี้อีก

  99. ชื่อ Best Practice : ...กระบวนการทำงานแบบบูรณาการและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว

    โครงการ : โครงการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวบ้านนางกำ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - บูรณาการการทำงานขององค์กรทุกองค์กรที่มีในชุมชนมาทำงานด้านการอนุรักษ์ควบคู่กันไป ให้ทุกองค์กรได้รับประโยชน์จากการทำงานเท่าเทียมกัน เช่น กลุ่มธุรกิจอาหาร กลุ่มเรือนำเที่ยวย ชาวประมงในพื้นที่ กลุ่มคนรักษ์นางกำ กลุ่มเยาวชนรักษ์นางกำ กลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบ้านนางกำ
    ผลของ Best Practice : - เมื่อมีการอนุรักษ์ทรัพยากรทางการท่องเที่ยวไว้ ก็เกิดเป็นการท่องเที่ยวชุมชน ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยม มาเที่ยว แวะกินอาหารในชุมชนมากขึ้น มีการกระจายรายได้ให้คนในชุมชนมากขึ้นด้วย

  100. ชื่อ Best Practice : มาตรการชุมชนการงดเลี้ยงน้ำอัดลมและการปลูกผักเพื่อรับประทานเอง

    โครงการ : โครงการชาวปากช่องประสานใจ สร้างถนนสายหลัก สานใยรักษ์สุขภาพชุมชน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1. ประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือจากเจ้าภาพ ติดป้ายแนะนำในทุกงานเลี้ยง และจัดเวทีเกียรติคุณประกาศขอบคุณเจ้าภาพที่ให้ความร่วมมือ 2. อบรมการปลูกผักในล้อยาง คุณประโยชน์ของพืชสมุนไพรต่างๆ วิธีการกรีดล้อยางให้มีพื้นที่กว้างขึ้นเพื่อปลูกพืช วิธีการผสมดิน และวิธีการดูแลหลังจากทำการปลูกแล้ว จากนั้นทางคณะทำงานก็ได้สอบถามความต้องการของชาวบ้านว่าต้องการจะปลูกผักชนิดใดบ้าง เพื่อที่ทางคณะทำงานจะได้จัดหามาให้ในครั้งแรก และได้ตกลงกันว่าหากใครได้รับพืชชนิดใดไป หลังจากการปลูกแล้ว จะต้องมีหน้าที่ขยายพันธ์เพื่อแจกจ่ายให้กับเพื่อนบ้านด้วย
    ผลของ Best Practice : เครือข่ายชุมชนสนใจรณรงค์ติดตามมากกว่า 2 ชุมชน คือ ชุมชนบ้านทุ่งส้าน หมู่ที่ 8 , หมู่ที่ 6 หมู่ที่ 10 ตำบลจะโหนง และมีบางตำบลที่เข้าร่วมโครงการ เช่น ตำบลคลองเปียะ สะพานไม้แก่น ก็สนใจนำมาตรการต่าง ๆ ไปใช้ที่สำคัญหลังจากจัดโครงการในบางมาตรการที่สามารถทำได้ไม่ยาก เช่น งานงดเลี้ยงน้ำอัดลม และการปลูกผักในล้อยาง

  101. ชื่อ Best Practice : การเพราะเลี้ยงไสเดือนดินด้วยวัสดุเหลือใช้จากการเษตรและครัวเรือน......

    โครงการ : โครงการชีวินทรีย์ เพื่อสุขภาวะชุมชนคนอ่าวลึกน้อย
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ค้นหาพันธ์ไส้เดือนที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ จัดทำโรงเรือนที่เหมาะสม ใช้ชั้นลอ๊กเกอร์(ชั้นปลาสติกที่ใช้สำหรับเก็บของ)วางเป็นชั้นๆเจาะรูด้านล่างตามความเหมาะสม ยกเว้นชั้นล่างสุดเพราะใช้เก็บฉี่เดือน นำเศษขยะเหลือใช้ทางการเกษตรและครัวเรือนนำไปหมักเพื่อให้เกิดการย่อยสลายตมระเวลา หลังจากนั้นนำขยะที่ย่อยสลายเรียบรัอยแล้วไปเพาะเลียงไส้เดือนต่อไป
    ผลของ Best Practice : พันธ์ไส้เดือน มูลไส้เดือน ไข่ไส้เดือน ฉี่ไส้เดือน สามารถนำไปใช้ในแปลงเกษตรทุกชประเภท พื้นฟูสภาพดิน ทำให้ระบบสภาพแวดล้อมดีขึ้น

  102. ชื่อ Best Practice : คู่หูต่างวัยใส่ใจสิ่งแวดล้อม

    โครงการ : โครงการชุมชนท่าแขกน่าอยู่
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : กลุ่มเยาวชนลงพื้นที่ร่วมกับกลุ่มผู้สูงอายุจิตอาสาไปแบบประกบคู่
    ผลของ Best Practice : เมื่อมีกิจกรรมสาธารณะในชุมชนคู่หูกลุ่มนี้จะมีตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรมด้วยทุกครั้ง

  103. ชื่อ Best Practice : ศูนย์รับซื้อขยะชุมชน(ธนาคารขยะ)

    โครงการ : โครงการชุมชนท่าแขกน่าอยู่
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : หลังจากการให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะ ส่งผลให้ชุมชนมีการคัดแยกขยะในครัวเรือน และจำเป็นที่จะต้องนำขยะไปหาที่จัดเก็บก่อนนำไปขายหรือนำไปแปรสภาพ แกนนำชุมชนอย่างคุณราตรี มีแนวคิดที่จะอาสาเป็นสถานที่พักขยะก่อนขายให้พ่อค้าที่มารับซื้อขยะ โดยรับซื้อขยะที่คัดแยกแล้วจากครัวเรือน และรับซื้อขยะทุกชนิดจากเด็กและเยาวชนที่เก็บจากพื้นที่สาธารณะของชุมชน แล้วมาคัดแยกเอง แต่งเป็นการนิสัยในการรักความสะอาดและเป็นระเบียบใก้กับเด็กและเยาวชน จึงเป็นที่มาของศูนย์รับซื้อขยะชุมชนที่จะพัฒนาไปสู่ธนาคารขยะในโอกาสต่อไป
    ผลของ Best Practice : สร้างพฤติกรรมการรักความสะอาดแก่เด็กและเยาวชน เด็กเห็นขยะจะเก็บทุกครั้ง อนาคตเมื่อเด็กกลุ่มเติบโตขึ้นจะทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร ที่มีการประพฤติสืบต่อกันไป

  104. ชื่อ Best Practice : ...-

    โครงการ : โครงการชุมชนบ้านเจริญทรัพย์ปลอดหนี้สิน ทำกินกันตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : -
    ผลของ Best Practice : -

  105. ชื่อ Best Practice : .ไม่มี

    โครงการ : โครงการชุมชนบ้านเจริญทรัพย์ปลอดหนี้สิน ทำกินกันตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice :
    ผลของ Best Practice :

  106. ชื่อ Best Practice : ตลาดผักริมทางปลอดสารพิษ

    โครงการ : โครงการชุมชนบ้านส้านแดงเกษตรอินทรีย์ อยู่ดีมีสุข(ปี 2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : จากการที่ชุมชนมีการปลูกพืชผักปลอดสารพิษเกือบทุกครัวเรือนทำให้คณะทำงานโครงการมีแนวคิดที่จะเปิดพื้นที่ในชุมชนจำหน่ายพืชผักปลอดสาร โดยใช้พื้นที่ริมถนนหน้าบ้านหลวงแดงเป็นตลาด เริ่มดำเนินการโดยผู้รับผิดชอบโครงการ(หลวงแดง)เห็นว่าภรรยาว่างงานจึงทำเพิงให้ขาย ต่อมาผู้ที่สัญจรผ่านไปมาเริ่มมาจับจ่ายมากขึ้น หลวงแดงจึงปรึกษาคณะทำงานและตกลงเปิดเป็นตลาดจำหน่ายผักปลอดสารริมทางขึ้น โดยรับซื้อพืชผักของสมาชิกในราคายุติธรรมแล้วมาจำหน่ายในราคาบวก 1 บาท(เป็นค่าขาย)ซึ่งสมาชิกพึงพอใจ ส่งผลให้ตลาดริมทางอยู่ได้
    ผลของ Best Practice : จากการจัดการดังกล่าวส่งผลให้ตลาดหลวงแดงเป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้นจากการที่หลวงแดงนำสมาชิกและเด็กนักเรียนไปจำหน่ายผักปลอดสารที่ตลาดนัดถ้ำสิงห์ และตลาดนัดกม.18

  107. ชื่อ Best Practice : ครูรูเกษตรอินทรีย์และหมอดิน

    โครงการ : โครงการชุมชนบ้านส้านแดงเกษตรอินทรีย์ อยู่ดีมีสุข(ปี 2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : หลวงแดงหรือนายดำรงค์ ทันนาเขตต์ และทีมงาน(พี่ตุ่ย/พี่โย่ง) ร่วมกันฝึกทักษะการเป็นวิทยากรจากประสบการณ์ให้คำแนะนำหรือบรรยายเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ครบวงจรเป็นประจำทำให้มีประสบการณ์สนสมาชิกในชุมชนตั้งให้เป็นครูรู เนื่องจากมีสมาชิกทั้งในชุมชนและนอกชุมชนมาเรียนรู้เป็นประจำ ในชุมชนสวนของใครพืชผักผลไม้อาการไม่ดี หรือต้องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ติดต่อทีมครูรูแดง สำหรับปุ๋ยมีการจัดตั้งเป็นกองทุนปุ๋ย ให้เยาวชนในชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการ ผลิตและจำหน่ายให้กับสมาชิกในชุมชนและเกษตรกรที่สนใจ โดยที่หลวงแดงได้อนุญาตให้ใช้สถานที่จัดตั้งเป็นศูนย์เกษตรอินทรีย์บริเวณสวนของหลวงแดง
    ผลของ Best Practice : หลวงแดงและทีมงานได้รับเชิญจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคท้องถิ่นให้ไปเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องการบำรุงดินและการทำเกษตรอินทรีย์เกษตรปลอดสารตามโรงเรียน ชุมชนและศูนย์หมู่บ้านต่างๆทั้งในและนอกพื้นที่

  108. ชื่อ Best Practice : ...-

    โครงการ : โครงการชุมชนสามร้อยกล้า ใส่ใจสุขภาพ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice :
    ผลของ Best Practice :

  109. ชื่อ Best Practice : ...เศรษฐกิจพอเพียง

    โครงการ : โครงการชุมชนสามร้อยกล้า ใส่ใจสุขภาพ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ทบทวนตนเอง วิเคราะห์ตนเอง รู้จักตนเอง ลงมือปฏิบัติ
    ผลของ Best Practice : สามารถพึ่งตนเองเองได้ ทำกิน ทำใช้ ทำขาย แลกเปลี่ยนแบ่งปัน

  110. ชื่อ Best Practice : ...การสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมของชุมชน

    โครงการ : โครงการชุมชนสามร้อยกล้า ใส่ใจสุขภาพ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : รวมกลุ่มปลูกผัก ทำน้ำยาเอนกประสงค์ชีวภาพ ดูแลสิ่งแวด การเข้าวัดฟังธรรมทุกวันพระ ทำโยคะ สมาธิ การออกกำลังกาย. การผลิตอาหารสุขภาพ ความสัมพันธ์ของสมาชิกกลุ่มและเครือข่าย ชุมชนมีความเหนียวแน่นมากขึ้น นำไปสู่ความร่วมมือที่ดีขึ้น มีวิทยากรและมีการถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ ตามวิถีชุมชนได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น
    ผลของ Best Practice : มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีกันอย่างต่อเนื่องบางกิจกรรมได้เกิดเป็นกลุ่มที่เหนียวแน่น สามารถเลี้ยงตนเองได้ และมีการนำไปใช้จริง เช่นการทำปุ๋ยหมัก การปลูกผัก น้ำยาเอนกประสงค์ แชมพูสมุนไพร สบู่ น้ำยาซักผ้า ทำให้ลดค่าใช้จ่ายและเกิดความภูมิใจและเห็นคุณค่าของการพึ่งตนเอง

  111. ชื่อ Best Practice : สภาเยาวชน (อายุ13-25ปี)

    โครงการ : โครงการตาดีกายุคใหม่ ใส่ใจพัฒนาสุขภาวะเยาวชนมุสลิมอย่างยั่งยืน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.สร้างกิจกรรมประเพณีและกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 2.การใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ของเยาวชน 3การเล่นกีฬา 4การอบรมเขียนโครงการโดยการับสมัครเยาวชน/ศูนย์การเรียนรู้ภาคประชาชน 6เปิดเวลารับฟังความคิดเห็นของเยาวชน
    ผลของ Best Practice : 1.ประชุมในชุมชนโดยการมอบหมายและวางแผนให้เยาวชนรับชอบงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 2.เยาวชนต่อยอดความคิดโดยการปลูกผักสวนที่บ้าน

  112. ชื่อ Best Practice : เดินเพื่อสุขภาพ

    โครงการ : โครงการถักทอพลังสร้างสรรค์เยาวชนสู่ศรียาภัยน่าอยู่(ปี2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การเชิญชวนโดยการทำเป็นตัวอย่าง อย่างที่ป้าเปี๊ยบหรือน.ส.ฉวีวรรณ เนตรสุวรรณ อดีตหัวหน้าพยาบาลโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ชักชวนเพื่อนบ้านเดินออกกำลังกายในชุมชนจากช่วงแรกมีเพียง 3 คน แต่เมื่อทำทุกวัน ทำให้เกิดสมาชิกเพิ่มขึ้นจนปัจจุบันมีสมาชิกเกือบสิบคน
    ผลของ Best Practice : มีสมาชิกร่วมเดินออกกำลังกายตอนเช้าและตอนเย็นเป็นประจำ

  113. ชื่อ Best Practice : กองทุนขยะ/ธนาคารขยะชุมชนป้อมหก

    โครงการ : โครงการแนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหกให้น่าอยู่
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : กองทุนธนาคารขยะเป็นเสมือนกุศโลบายให้คนในชุมชนป้อมหก หันมาสนใจการคัดแยกขยะให้ถูกต้อง เห็นคุณค่าของขยะที่เกิดขึ้นในบ้านเรือน กระบวนการที่ทำให้เกิดกองทุนขยะ เริ่มจากการสำรวจข้อมูลจุดที่เป็นแหล่งเสื่อมโทรมทิ้งขยะของคนในชุมชนป้อมหก กระบวนการทำให้เกิดธนาคารขยะ ประกอบด้วย การจัดตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินงานของธนาคารขยะ อันมีองค์ประกอบจากทุกภาคส่วนของชุมชน ประชุมเพื่อออกแบบแนวทางการฝาก ถอน ขยะ การจัดกิจกรรมเพื่อการเผยแพร่ความรู้เรื่อง การแยกขยะของประชาชน จากนั้นก็จะมีการเปิดให้ฝากของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ และจะสรุปผลการฝากแต่ละครั้ง
    ผลของ Best Practice : - เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการขยะในชุมชน ส่งผลให้มีชาวบ้านชาวป้อมหกสนใจสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกของธนาคารจำนวนมาก ชาวบ้านของชุมชนจะฝึกนิสัยการคัดแยกขยะแต่ประเภท ตามราคาที่กำหนดขึ้น การที่ตั้งราคาแต่ละชนิดจะเป็นตัวกระต้นให้คนมีการแยก เนื่องจากราคาของขยะที่แยกจะมีราคาที่สูงกว่าที่ไม่แยก - ชาวบ้านชาวป้อมหกมีพฤติกรรมการคัดแยกขยะมากขึ้นและเห็นคุณค่าของขยะ

  114. ชื่อ Best Practice : กองทุนขยะ/ธนาคารขยะชุมชนป้อมหก

    โครงการ : โครงการแนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหกให้น่าอยู่
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : กองทุนธนาคารขยะเป็นเสมือนกุศโลบายให้คนในชุมชนป้อมหก หันมาสนใจการคัดแยกขยะให้ถูกต้อง เห็นคุณค่าของขยะที่เกิดขึ้นในบ้านเรือน กระบวนการที่ทำให้เกิดกองทุนขยะ เริ่มจากการสำรวจข้อมูลจุดที่เป็นแหล่งเสื่อมโทรมทิ้งขยะของคนในชุมชนป้อมหก กระบวนการทำให้เกิดธนาคารขยะ ประกอบด้วย การจัดตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินงานของธนาคารขยะ อันมีองค์ประกอบจากทุกภาคส่วนของชุมชน ประชุมเพื่อออกแบบแนวทางการฝาก ถอน ขยะ การจัดกิจกรรมเพื่อการเผยแพร่ความรู้เรื่อง การแยกขยะของประชาชน จากนั้นก็จะมีการเปิดให้ฝากของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ และจะสรุปผลการฝากแต่ละครั้ง
    ผลของ Best Practice : - เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการขยะในชุมชน ส่งผลให้มีชาวบ้านชาวป้อมหกสนใจสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกของธนาคารจำนวนมาก ชาวบ้านของชุมชนจะฝึกนิสัยการคัดแยกขยะแต่ประเภท ตามราคาที่กำหนดขึ้น การที่ตั้งราคาแต่ละชนิดจะเป็นตัวกระต้นให้คนมีการแยก เนื่องจากราคาของขยะที่แยกจะมีราคาที่สูงกว่าที่ไม่แยก - ชาวบ้านชาวป้อมหกมีพฤติกรรมการคัดแยกขยะมากขึ้นและเห็นคุณค่าของขยะ

  115. ชื่อ Best Practice : ร้านค้า 0 บาท

    โครงการ : โครงการแนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหกให้น่าอยู่
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นกิจกรรมต่อยอดโครงการธนาคารขยะชุมชนป้อมหก โดยการนำเงินจากกองทุนมาซื้อของอุปโภคบริโภคที่จำเป็นภายในครัวเรือน เช่น น้ำมันพืช น้ำปลา ซอส เป็นต้น เพื่อนำมาให้แทนการจ่ายเงินสำหรับสมาชิกของกองทุนขยะ โดยราคาของที่จำหน่ายจะเป็นราคาทุนไม่แพง ถูกกว่าท้องตลาด
    ผลของ Best Practice : - สมาชิกกองทุนธนาคารขยะเกิดแรงจูงใจในการมาร่วมกันฝากขยะผ่านกองทุนของชุมชนป้อมหกเนื่องจากสามารถได้รับผลตอบแทนทันใจ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันด้วย - สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านสินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือนได้

  116. ชื่อ Best Practice : กองทุนขยะ/ธนาคารขยะชุมชนป้อมหก

    โครงการ : โครงการแนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหกให้น่าอยู่
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : กองทุนธนาคารขยะเป็นเสมือนกุศโลบายให้คนในชุมชนป้อมหก หันมาสนใจการคัดแยกขยะให้ถูกต้อง เห็นคุณค่าของขยะที่เกิดขึ้นในบ้านเรือน กระบวนการที่ทำให้เกิดกองทุนขยะ เริ่มจากการสำรวจข้อมูลจุดที่เป็นแหล่งเสื่อมโทรมทิ้งขยะของคนในชุมชนป้อมหก กระบวนการทำให้เกิดธนาคารขยะ ประกอบด้วย การจัดตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินงานของธนาคารขยะ อันมีองค์ประกอบจากทุกภาคส่วนของชุมชน ประชุมเพื่อออกแบบแนวทางการฝาก ถอน ขยะ การจัดกิจกรรมเพื่อการเผยแพร่ความรู้เรื่อง การแยกขยะของประชาชน จากนั้นก็จะมีการเปิดให้ฝากของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ และจะสรุปผลการฝากแต่ละครั้ง
    ผลของ Best Practice : - เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการขยะในชุมชน ส่งผลให้มีชาวบ้านชาวป้อมหกสนใจสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกของธนาคารจำนวนมาก ชาวบ้านของชุมชนจะฝึกนิสัยการคัดแยกขยะแต่ประเภท ตามราคาที่กำหนดขึ้น การที่ตั้งราคาแต่ละชนิดจะเป็นตัวกระต้นให้คนมีการแยก เนื่องจากราคาของขยะที่แยกจะมีราคาที่สูงกว่าที่ไม่แยก - ชาวบ้านชาวป้อมหกมีพฤติกรรมการคัดแยกขยะมากขึ้นและเห็นคุณค่าของขยะ

  117. ชื่อ Best Practice : กติกาชุมชนเพื่อจัดการขยะของชุมชน...

    โครงการ : โครงการบ้านดอนทะเลร่วมใส่ใจรักษ์สิ่งแวดล้อม
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : กำหนดข้อตกลงร่วมกันของคนในชุมชน 3 ประเด็น 1.ลดการใช้โฟมบรรจุอาหาร 2.ไม่ใช่ถุงพลาสติกใส่ข้าวในงาน 3.ทุกครั้งที่มีกิจกรรมในชุมชน ต้องช่วยกันจัดเก็บจนสะอาด
    ผลของ Best Practice : 1.ทำให้ในชุมชนมีขยะโฟมลดลง 2.ในงานเลี้ยงทุกงานใช้หม้อข้าวแทนถุงพลาสติก 3.เกิดความสามัคคีร่วมกันจัดเก็บในวัดทุกครั้งที่มีงานบุญ

  118. ชื่อ Best Practice : ชุมชนพอเพียง

    โครงการ : โครงการบ้านทุ่งยอน่าอยู่แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : จากการเข้าร่วมโครงการของสมาชิกชุมชนซึ่งเป็นคนที่มาจากต่างถิ่นกัน ทั้งจากภาคกลาง ภาคอีสานและภาคใต้บางส่วน คนพื้นเพเดิมมีน้อย ได้ไปดูการดำเนินงานเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของพื้นที่อื่น ทำให้สมาชิกชุมชนกลับมาให้ความสำคัญกับการสร้างความพอเพียงของตนเอง โดยพร้อมใจกันปลูกพืชผักกินเอง เหลือแจกและขาย
    ผลของ Best Practice : สมาชิกชุมชนมีความเป็นอยู่แบบพอเพียง มีการนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบันเป็นลดรายจ่าย และยังเพิ่มรายได้ให้แก่สมาชิกด้วย เป็นที่เข้ามาแลกเปลี่ยนของชุมชนใกล้เคียง

  119. ชื่อ Best Practice : 1. โรงเรียนนวตกรรมชุมชน

    โครงการ : โครงการบ้านวัดเลียบพอเพียง ทำ กิน อยู่ใช้ ด้วยปัญญา(หมู่บ้านเกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตพอเพียง) "พันธุกรรมนำชีวิต สู่เศรษฐกิจพอเพียง"
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ของหมู่ 10 ต.ชิงโค อ.สิงหนคร ซึ่งมีโรงเรียนนวตกรรมอาหารปลอดภัย เป็นจุดประสานงาน ทำหน้าที่พัฒนาให้เกิดแกนนำด้านการผลิตที่ปลอดภัยด้านอาหารในหมู่บ้าน เนื่องจากที่ผ่านมามีแกนนำแยกตามโซน จำนวน 3 โซน ซึ่งผลิตอาหารและพืชผลทางการเกษตรที่ปลอดภัย ไร้สารพิษอยู่แล้ว แต่ที่ต้องดำเนินการ คือ การพัฒนาหลักสูตรที่ชัดเจนของโรงเรียน นวตกรรมด้านสุขภาพ มีการพัฒนาหลักสูตรสร้างเสริมสุขภาพจำนวน 8 หลักสูตรและมีการเปิดรับสมัครอบรมเชิงปฏิบัติการโดยให้ชาวบ้านสมัครเข้าเรียนตามความสนใจและสมัครใจ
    ผลของ Best Practice : จะเป็นจุดสำหรับการพัฒนาศักยภาพของประชาชนที่สนใจเข้าร่วมการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่โรงเรียนนวตกรรมชุมชน

  120. ชื่อ Best Practice : 2.หลักสูตรสร้างเสริมสุขภาพ

    โครงการ : โครงการบ้านวัดเลียบพอเพียง ทำ กิน อยู่ใช้ ด้วยปัญญา(หมู่บ้านเกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตพอเพียง) "พันธุกรรมนำชีวิต สู่เศรษฐกิจพอเพียง"
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นหลักสูตรที่เกิดขึ้นจากการระดมความคิดเห็นของชาวบ้านที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม จนได้หลักสูตรจำนวน 8 หลักสูตร ดังนี้ 1) กาย ธรรมชาติบำบัด : ใช้สมุนไพรและพืชที่หาได้ทั่วไปมาผ่านกรรมวิธีเพื่อนำมาบำบัดร่างกาย ผู้ให้ความรู้คือ คุณวันเพ็ญ นิลวงศ์ และคุณซ่อนกลิ่น ศรีสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมชาติบำบัด 2) จิตบำบัด ทำสมาธิแบบเคลื่อนไหว : การเจริญสติในรูปแบบของกายเคลื่อนไหว ผู้ให้ความรู้คือ คุณชิด ศรีสุวรรณ 3) เศรษฐกิจพอเพียง : หลักในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง ซึ่งเน้นหลักในการประกอบอาชีพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ผู้ให้ความรู้คือ คุณนภัทรพจน์ กาเลี่ยง พัฒนากรอำเภอสิงหนคร 4) แผนแม่บทชุมชนนำสู่แผนสุขภาพ : เรียนรู้ขั้นตอนการทำแผนแม่บทชุมชน และการเชื่อมโยงแผนชุมชนไปสู่แผนสุขภาพ ผู้ให้ความรู้ คือ คุณปณัฐพร ฤกขะวุฒิกุล อาจารย์ประจำหลักสูตรสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน 5) การเผาถ่านเพื่อทำน้ำส้มควันไม้ : เรียนรู้ขั้นตอนการทำน้ำส้มควันไม้เพื่อนำมาเป็นสารไล่แมลง ผู้ให้ความรู้คือ คุณสมจิตร นิลวงศ์ นักวิชาการท้องถิ่นประจำบ้านวัดเเลียบ 6) กองทุนสวัสดิการ : เรียนรู้รายละเอียดและทำความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนสวัสดิการเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ผู้ให้ความรู้คือ คุณเรืองวิทย์ ศรีสุวรรณ ประธานกองทุนสวัสดิการตำบลชิงโค 7) เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ : การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น การใช้อินเตอร์เน็ทเพื่อค้นหาข้อมูลและความรู้ต่างๆ ผู้ให้ความรู้ คือ น.ส.ธีรดา ศรีสุวรรณ และ น.ส.อุบลรัตน์ ณ รังษี บัณฑิตรักถิ่นจ.สงขลา 8) การจัดการเวลา : เรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการเวลา เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการชีวิต
    ผลของ Best Practice : เป็นแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพแก่ประชาชนที่สนใจ/ตลอดจนการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของชาวบ้าน ครูภูมิปัญญาของชุมชนให้มีการถ่ายทอดความรู้และทักษะของการเสริมสร้างสุขภาพ

  121. ชื่อ Best Practice : 3.ธนาคารเมล็ดพันธุ์ชุมชน

    โครงการ : โครงการบ้านวัดเลียบพอเพียง ทำ กิน อยู่ใช้ ด้วยปัญญา(หมู่บ้านเกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตพอเพียง) "พันธุกรรมนำชีวิต สู่เศรษฐกิจพอเพียง"
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นแหล่งรวบรวมเมล็ดพันธุ์พืชท้องถิ่นทั้งผัก ผลไม้ พืชพื้นเมือง โดยมีการแยกหมวดหมู่ของพืชที่จะนำมาไว้ในธนาคาร มีการระดมความคิดเห็นกฎกิติกาของธนาคารเมล็ดพันธุ์ การตั้งเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของธนาคาร ประกอบด้วย 1. เพื่อแหล่งรวบรวมเมล็ดพันธุ์พืชท้องถิ่นทั้งประเภท พืช ผัก ผลไม้ 2. เพื่อเป็นการอนุรักษ์/ปรับปรุงพันธุ์พืชให้คงเอกลักษณ์เฉพาะของพันธฺุ์พืชแต่ละชนิด 3. เพื่อเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนพันธุ์พืชระหว่างสมาชิกด้วยกันเองหรือระหว่างองค์กร 4. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แบบมีชีวิตของการอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์พืชชุมชน
    ผลของ Best Practice : 1. เป็นแหล่งรวบรวมเมล็ดพันธุ์พืชท้องถิ่น 2. เป็นแหล่งอนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์พืชโดยตัวของเกษตรกรเอง 3. เกิดเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการคัดเลือกสายพันธุ์ การอนุรักษ์สาย การเก็บรักษาพันธุ์พืช

  122. ชื่อ Best Practice : 2.ธนาคารเมล็ดพันธุ์ชุมชน

    โครงการ : โครงการบ้านวัดเลียบพอเพียง ทำ กิน อยู่ใช้ ด้วยปัญญา(หมู่บ้านเกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตพอเพียง) "พันธุกรรมนำชีวิต สู่เศรษฐกิจพอเพียง"
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นแหล่งรวบรวมเมล็ดพันธุ์พืชท้องถิ่นทั้งผัก ผลไม้ พืชพื้นเมือง โดยมีการแยกหมวดหมู่ของพืชที่จะนำมาไว้ในธนาคาร มีการระดมความคิดเห็นกฎกิติกาของธนาคารเมล็ดพันธุ์ การตั้งเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของธนาคาร ประกอบด้วย 1. เพื่อแหล่งรวบรวมเมล็ดพันธุ์พืชท้องถิ่นทั้งประเภท พืช ผัก ผลไม้ 2. เพื่อเป็นการอนุรักษ์/ปรับปรุงพันธุ์พืชให้คงเอกลักษณ์เฉพาะของพันธฺุ์พืชแต่ละชนิด 3. เพื่อเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนพันธุ์พืชระหว่างสมาชิกด้วยกันเองหรือระหว่างองค์กร 4. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แบบมีชีวิตของการอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์พืชชุมชน
    ผลของ Best Practice : 1. เป็นแหล่งรวบรวมเมล็ดพันธุ์พืชท้องถิ่น 2. เป็นแหล่งอนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์พืชโดยตัวของเกษตรกรเอง 3. เกิดเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการคัดเลือกสายพันธุ์ การอนุรักษ์สาย การเก็บรักษาพันธุ์พืช

  123. ชื่อ Best Practice : 1.หลักสูตรนักสร้างเสริมสุขภาพ

    โครงการ : โครงการบ้านวัดเลียบพอเพียง ทำ กิน อยู่ใช้ ด้วยปัญญา(หมู่บ้านเกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตพอเพียง) "พันธุกรรมนำชีวิต สู่เศรษฐกิจพอเพียง"
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นหลักสูตรที่เกิดขึ้นจากการระดมความคิดเห็นของชาวบ้านที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม จนได้หลักสูตรจำนวน 8 หลักสูตร ดังนี้ - กาย ธรรมชาติบำบัด : ใช้สมุนไพรและพืชที่หาได้ทั่วไปมาผ่านกรรมวิธีเพื่อนำมาบำบัดร่างกาย ผู้ให้ความรู้คือ คุณวันเพ็ญ นิลวงศ์ และคุณซ่อนกลิ่น ศรีสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมชาติบำบัด - จิตบำบัด ทำสมาธิแบบเคลื่อนไหว : การเจริญสติในรูปแบบของกายเคลื่อนไหว ผู้ให้ความรู้คือ คุณชิด ศรีสุวรรณ - เศรษฐกิจพอเพียง : หลักในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง ซึ่งเน้นหลักในการประกอบอาชีพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ผู้ให้ความรู้คือ คุณนภัทรพจน์ กาเลี่ยง พัฒนากรอำเภอสิงหนคร - แผนแม่บทชุมชนนำสู่แผนสุขภาพ : เรียนรู้ขั้นตอนการทำแผนแม่บทชุมชน และการเชื่อมโยงแผนชุมชนไปสู่แผนสุขภาพ ผู้ให้ความรู้ คือ คุณปณัฐพร ฤกขะวุฒิกุล อาจารย์ประจำหลักสูตรสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน - การเผาถ่านเพื่อทำน้ำส้มควันไม้ : เรียนรู้ขั้นตอนการทำน้ำส้มควันไม้เพื่อนำมาเป็นสารไล่แมลง ผู้ให้ความรู้คือ คุณสมจิตร นิลวงศ์ นักวิชาการท้องถิ่นประจำบ้านวัดเเลียบ - กองทุนสวัสดิการ : เรียนรู้รายละเอียดและทำความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนสวัสดิการเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ผู้ให้ความรู้คือ คุณเรืองวิทย์ ศรีสุวรรณ ประธานกองทุนสวัสดิการตำบลชิงโค - เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ : การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น การใช้อินเตอร์เน็ทเพื่อค้นหาข้อมูลและความรู้ต่างๆ ผู้ให้ความรู้ คือ น.ส.ธีรดา ศรีสุวรรณ และ น.ส.อุบลรัตน์ ณ รังษี บัณฑิตรักถิ่นจ.สงขลา - การจัดการเวลา : เรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการเวลา เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการชีวิต
    ผลของ Best Practice : เป็นแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพแก่ประชาชนที่สนใจ/ตลอดจนการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของชาวบ้าน ครูภูมิปัญญาของชุมชนให้มีการถ่ายทอดความรู้และทักษะของการเสริมสร้างสุขภาพ

  124. ชื่อ Best Practice : 1.หลักสูตรนักสร้างเสริมสุขภาพ

    โครงการ : โครงการบ้านวัดเลียบพอเพียง ทำ กิน อยู่ใช้ ด้วยปัญญา(หมู่บ้านเกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตพอเพียง) "พันธุกรรมนำชีวิต สู่เศรษฐกิจพอเพียง"
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นหลักสูตรที่เกิดขึ้นจากการระดมความคิดเห็นของชาวบ้านที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม จนได้หลักสูตรจำนวน 8 หลักสูตร ดังนี้ กาย ธรรมชาติบำบัด : ใช้สมุนไพรและพืชที่หาได้ทั่วไปมาผ่านกรรมวิธีเพื่อนำมาบำบัดร่างกาย ผู้ให้ความรู้คือ คุณวันเพ็ญ นิลวงศ์ และคุณซ่อนกลิ่น ศรีสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมชาติบำบัด จิตบำบัด ทำสมาธิแบบเคลื่อนไหว : การเจริญสติในรูปแบบของกายเคลื่อนไหว ผู้ให้ความรู้คือ คุณชิด ศรีสุวรรณ เศรษฐกิจพอเพียง : หลักในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง ซึ่งเน้นหลักในการประกอบอาชีพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ผู้ให้ความรู้คือ คุณนภัทรพจน์ กาเลี่ยง พัฒนากรอำเภอสิงหนคร แผนแม่บทชุมชนนำสู่แผนสุขภาพ : เรียนรู้ขั้นตอนการทำแผนแม่บทชุมชน และการเชื่อมโยงแผนชุมชนไปสู่แผนสุขภาพ ผู้ให้ความรู้ คือ คุณปณัฐพร ฤกขะวุฒิกุล อาจารย์ประจำหลักสูตรสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน การเผาถ่านเพื่อทำน้ำส้มควันไม้ : เรียนรู้ขั้นตอนการทำน้ำส้มควันไม้เพื่อนำมาเป็นสารไล่แมลง ผู้ให้ความรู้คือ คุณสมจิตร นิลวงศ์ นักวิชาการท้องถิ่นประจำบ้านวัดเเลียบ กองทุนสวัสดิการ : เรียนรู้รายละเอียดและทำความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนสวัสดิการเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ผู้ให้ความรู้คือ คุณเรืองวิทย์ ศรีสุวรรณ ประธานกองทุนสวัสดิการตำบลชิงโค เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ : การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น การใช้อินเตอร์เน็ทเพื่อค้นหาข้อมูลและความรู้ต่างๆ ผู้ให้ความรู้ คือ น.ส.ธีรดา ศรีสุวรรณ และ น.ส.อุบลรัตน์ ณ รังษี บัณฑิตรักถิ่นจ.สงขลา การจัดการเวลา : เรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการเวลา เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการชีวิต
    ผลของ Best Practice : เป็นแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพแก่ประชาชนที่สนใจ/ตลอดจนการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของชาวบ้าน ครูภูมิปัญญาของชุมชนให้มีการถ่ายทอดความรู้และทักษะของการเสริมสร้างสุขภาพ

  125. ชื่อ Best Practice : การทำนาแบบโยนกล้า

    โครงการ : โครงการปลูกข้าวพันธ์พื้นเมือง ตามแนวทางชีววิถี บ้านคลองหมาก หมู่ที่3 ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : มีการจัดเตรียมดิน เพื่อดำเนินการใส่แผงเพาะกล้าจนได้ต้นกล้าที่สมบูรณ์เพื่อโยนลงสู่แปลงนา
    ผลของ Best Practice : สามารถลงต้นทุนในการปลูกข้าว และสามารถขยายผลให้แปลงนาอื่น ๆ สามารถนำมาไปปรับใช้ได้

  126. ชื่อ Best Practice : หลักสูตรโรงเรียนชาวนา

    โครงการ : โครงการปลูกข้าวพันธ์พื้นเมือง ตามแนวทางชีววิถี บ้านคลองหมาก หมู่ที่3 ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : รวบรวมองค์ความรู้ที่ได้จัดกิจกรรมปลูกข้าวปลอดสารพิษโดยวิธีการโยนข้าว นำมาจัดทำเป็นหลักสูตรโรงเรียนชาวนา
    ผลของ Best Practice : สามารถนำไปถ่ายทอดให้กับโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 6 โรงเรียน และเครือข่ายชาวนาจังหวัดกระบี่ และจังหวัดพังงา

  127. ชื่อ Best Practice : .โครงการปลูกข้าวพันธ์พื้นเมือง ตามแนวทางชีววิถี บ้านคลองหมาก หมู่ที่3 ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่..

    โครงการ : โครงการปลูกข้าวพันธ์พื้นเมือง ตามแนวทางชีววิถี บ้านคลองหมาก หมู่ที่3 ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การเรียนรู้การทำนาโยนกล้าจากนอกพื้นที่ แล้วนำมาประยุคให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ ทดลองจนเห็นผล หลังจากนั้นเกิดการรวมตัวของคนในพื้นที่ ประสานหน่วยงานองค์กรเพื่อเสนอแนวทางในการสนับสนุน
    ผลของ Best Practice : รักษาระบบนิเวศป่าชายเลน ปกป้องพื้นที่เกาะท่าไร่ เป็นแหล่งเรียนรู้ การเชื่อมโยงเครือข่าย เป็นแหล่งท่องเที่ยว เกิดแกนนำเยาวชนคนรุ่นใหม่ เป็นแหล่งรายได้ เกิดการบริหารจัดการ และการรักษาพันธ์ข้าวพื้นเมือง

  128. ชื่อ Best Practice : การจัดการข้อมูล

    โครงการ : โครงการพลังจิตอาสา เพื่อสวนสาธารณะสีขาว
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - ศึกษาข้อมูล - สรุปผล - นำเสนอข้อมูลที่เป็นจริงต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    ผลของ Best Practice : - องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเกิดความตระหนักในปัญหา และเข้ามาหนุนเสริมการทำงานของโครงการ

  129. ชื่อ Best Practice : ...กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชน

    โครงการ : โครงการพลังจิตอาสา เพื่อสวนสาธารณะสีขาว
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - ใช้เยาวชนเป็นตัวเดินเรื่องในการเกี่ยวกับการรณรงค์ เพราะเยาวชนเป็นตัวกลางในการสร้างการตืนตัว เป็นถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภัยจากเหล้าและบุหรี่
    ผลของ Best Practice : - เยาวชนนำความรู้ที่ได้ ไปขยายผลสู่กลุ่มเพื่อน โรงเรียนของตนเอง

  130. ชื่อ Best Practice : การสร้างพื้นที่สีขาว สวนสาธารณะสีขาว

    โครงการ : โครงการพลังจิตอาสา เพื่อสวนสาธารณะสีขาว
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ - การสร้างความรู้ ความเข้าใจต่อเหล้า บุหรี่ - การขอความร่วมมือจากแม่ค้าและผู้มาใช้บริการในสวนสาธารณะ - การประสานความร่วมมือจากภาคีที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อรับทราบสถานการณ์ปัญหา และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
    ผลของ Best Practice : - ขยายผลไปยังสวนสาธารณะอื่นๆ

  131. ชื่อ Best Practice : การเพิ่มขึ้นของผืนป่าชายเลน

    โครงการ : โครงการพัฒนาป่าชุมชนเพื่อแหล่งเรียนรู้และอนุรักษ์ทรัพยากรบ้านควนดิน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1. สร้างแกนนำอนุรักษ์ป่าชายเลนในชุมชนเพื่อดูแลผืนป่าชายเลน 2. สร้างเครือข่ายภายนอกในการเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าชายเลน เช่น อบต. อำเภอ โรงเรียน 3. จัดกิจกรรมในพื้นที่ป่าชายเลนอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างแรงจูงใจและความตระนักในการดูแลผืนป่าชายเลน เช่น การปลูกป่าชายเลน การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ
    ผลของ Best Practice : 1. ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลป่าชายเลน 2. ประชาชนมีรายได้จากผืนป่าชายเลน 3. มีพื้นที่แหล่งอาหารในชุมชน 4. เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงอนุรักษ์

  132. ชื่อ Best Practice : การจัดการคนต่างด้าว

    โครงการ : โครงการพิศิษฐ์ฯ ร่วมใจ เสริมใยรักษ์ ไร้พรมแดน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1. สำรวจข้อมูลคนต่างด้าว 2. จัดอบรมแกนนำคนต่างด้าว 3. แกนนำต่างด้าวดำเนินงานดูแลคนต่างด้าวด้วยกัน
    ผลของ Best Practice : มีการทำงานเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่ง

  133. ชื่อ Best Practice : เกิดกติกาการดูแลป่าชุมชน...

    โครงการ : โครงการฟื้นฟูป่าชุมชนบ้านควนสูง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : มีการร่างกติกาการดูแลป่าของชุมชน
    ผลของ Best Practice : ผลของการสร้างกติกาทำให้คนในชุมชน สนใจเข้ามาร่วมดูแลป่าชุมชนมากขึ้น โดยเฉพาะ บริเวณที่โรงเรียนดูแล เนื่องจากมีกำลังจากนักเรียน กฎชุมชน 1.ห้ามนำผลผลิตจากป่าชุมชนไปจำหน่ายเป็นการส่วนตัว 2.ห้ามเข้าไปกระทำการใดๆในป่าชุมชนก่อนได้รับอนุญาติจากกรรมการ 3.การกระทำการไดๆของแต่ละกลุ่มต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกลางป่าชุมชน

  134. ชื่อ Best Practice : การมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและคนในชุมชน

    โครงการ : โครงการยาบี ลดเสี่ยง เลี่ยงโรค เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หมู่ที่5บ้านโคกวัด ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานีปี2(โรงเรียนพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนลดเสี่ยงบ้านโคกวัดอบอุ่น)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.การทำแผนชุมชน(แผนผู้ใหญ่และเด็กเยาวชนนำมาสู่การบูรณการ)
    ผลของ Best Practice : การทำปฎิบัตการการเรียนรู้ภายใต้กิจกรรมโครงการ

  135. ชื่อ Best Practice : การมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและคนในชุมชน

    โครงการ : โครงการยาบี ลดเสี่ยง เลี่ยงโรค เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หมู่ที่5บ้านโคกวัด ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานีปี2(โรงเรียนพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนลดเสี่ยงบ้านโคกวัดอบอุ่น)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.การทำแผนชุมชน(แผนผู้ใหญ่และเด็กเยาวชนนำมาสู่การบูรณการ)
    ผลของ Best Practice : การทำปฎิบัตการการเรียนรู้ภายใต้กิจกรรมโครงการ

  136. ชื่อ Best Practice : ศูนย์เรียนรู้ชุมชนอิสลามเข้มแข็งบ้านนาเกาะไทรi

    โครงการ : โครงการเยาวชนคนสร้างสุข บ้านนาเกาะไทร (ต่อเนื่อง ปี2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : จากการประชุมร่วมกันของกลุ่มผู้นำศาสนาและผู้นำหมู่บ้านและประชาคมหมู่บ้าน
    ผลของ Best Practice : 1.ข้อมูลเชิงลึกด้านชมุชน ประวัติชุมชนจากคำบอกเล่าและการอ้างอิงโดยสถานที่จริง 2.หลักสูตรและคู่มือการศึกษาของเด็กและเยาวชนที่พัฒนาให้การเรียนการสอนของชุมชนมีคุณภาพยิ่งขึ้น 3.ฐานเรียนรู้ชุมชน5 ฐาน ประกอบด้วย 1.จุดรวมพล 2.การศึกษาโดยชุมชน3.เศรษฐกิจพอเพียง4. ส่งเสริมอาชีพครัวเรือน5.สุขภาวะครอบครัว ซึ่ง5ฐานนี้เรียกว่า "วงเวียนเรียนรู้"

  137. ชื่อ Best Practice : ศูนย์เรียนรู้ชุมชนอิสลามเข้มแข็งบ้านนาเกาะไทรi

    โครงการ : โครงการเยาวชนคนสร้างสุข บ้านนาเกาะไทร (ต่อเนื่อง ปี2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : จากการประชุมร่วมกันของกลุ่มผู้นำศาสนาและผู้นำหมู่บ้านและประชาคมหมู่บ้าน
    ผลของ Best Practice : 1.ข้อมูลเชิงลึกด้านชมุชน ประวัติชุมชนจากคำบอกเล่าและการอ้างอิงโดยสถานที่จริง 2.หลักสูตรและคู่มือการศึกษาของเด็กและเยาวชนที่พัฒนาให้การเรียนการสอนของชุมชนมีคุณภาพยิ่งขึ้น 3.ฐานเรียนรู้ชุมชน5 ฐาน ประกอบด้วย 1.จุดรวมพล 2.การศึกษาโดยชุมชน3.เศรษฐกิจพอเพียง4. ส่งเสริมอาชีพครัวเรือน5.สุขภาวะครอบครัว ซึ่ง5ฐานนี้เรียกว่า "วงเวียนเรียนรู้"

  138. ชื่อ Best Practice : ...-

    โครงการ : โครงการเยาวชนตลาดใน-จานเรียวรักครอบครัวรักษ์ชุมชน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice :
    ผลของ Best Practice :

  139. ชื่อ Best Practice : พฤติกรรมที่พึงประสงค์

    โครงการ : โครงการร่วมปลูกจิตสำนึกรักษ์บ้านชุมโค
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ผู้นำเป็นตัวอย่างที่ดีในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ส่งผลให้สมาชิกชุมชนปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ
    ผลของ Best Practice : ทำให้ลดค่าใช้ และเป็นต้นแบบที่ดีของสมาชิกในชุมชนทุกกลุ่มอายุ

  140. ชื่อ Best Practice : พฤติกรรมเปลี่ยนไป

    โครงการ : โครงการร่วมปลูกจิตสำนึกรักษ์บ้านชุมโค
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : จากการประชุมชี้แจงโครงการที่ชี้แนะว่าโครงการนี้ใช้เงินของประชาชนที่สนับสนุนการทำร้ายร่างกายทางอ้อม มาให้สมาชิกได้ดำเนินการสร้างชุมชนตนเองให้น่าอยู่ และวันนั้นผู้ใหญ่ทวีประกาศตนเองในการเลิกสูบบุหรี่และผู้ใหญ่ก็ทำได้
    ผลของ Best Practice : ผู้ใหญ่ทวีใช้ตนเองเป็นบทเรียนในการพูดคุยกับชาวบ้านทุกวันประชุมว่าตนเองเลิกบุหรี่ได้ ลดรายจ่ายไปเยอะ ส่งผลให้ลูกบ้านมีการลด ละและเลิกบุหรี่หลายคน นอกจากนี้ผู้ใหญ่ยังนำไปใช้กับเวทีประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านทุกวันประชุมเช่นกัน ได้เครือข่ายไว้หลายหมู่บ้าน

  141. ชื่อ Best Practice : กระบวนการนโยบายสาธารณะระดับชุมชนหมู่บ้าน

    โครงการ : โครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่ด้วยการฟื้นฟูและอนุรักษ์ห้วยหนุนปาน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ใช้กระบวนการยกร่างแนวทางโดยคณะทำงาน ผ่านการประชาพิจารณืของคนในหมู่บ้าน และเสนอต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อนำไปกำหนดเป็นมาตรการต่อไป
    ผลของ Best Practice : มีการจัดทำกติตาร่วมของชุมชนในการดูแลห้วยหนุนปาน โดยเริ่มจากการที่ผู้ใหญ่บ้านทั้ง 4 หมู่บ้านที่อยู่โดยรอบห้วยหนุนปานมาประชุมหารือร่วมกับคณะทำงานเพื่อร่างกติกาชุมชนขึ้นมา จากนั้นจึงนำร่างดังกล่าวมาประชุมร่วมกับชาวบ้านในทุกหมู่บ้านผ่านเวทีประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน จากนั้นจึงเปิดเวทีในการรับฟังความคิดเห็นรอบสุดท้ายก่อนนำกติกาดังกล่าวประกาศให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบและถือปฏิบัติ มีการกำหนดมาตรการลงโทษ มีมาตรการปรับผู้ที่ผ่าฝืน

  142. ชื่อ Best Practice : ...กระบวนการสร้างการเรียนรู้

    โครงการ : โครงการล้อมรั้ว ล้อมรัก ด้วยผักพื้นบ้าน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - การจัดลำดับเนื้อหาสาระในการจัดกิจกรรม เพื่อให้เด้กและเยาวชนเกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม เริ่มจากการศึกษาชุมชน ศึกษาพันธุ์ไม้ที่ไม่ในชุมชน สอนทักษะการขยายพันธุ์ การทำปุ๋ยเพื่อการดูแลรักษา การลงมือปฏิบัติจริง การปลูกต้นไม้ ซึ่งลักษณะกิจกรรมดังกล่าว สามารถเรียกว่าเป็น "กระบวนการปลูกต้นไม้ในใจคน" คือ ปลุกจิตสำนึกจากสิ่งที่เห็น สิ่งที่พบ ก่อนจะลงมอืทำ
    ผลของ Best Practice : - พันธุ์พืช พันธุ์ไม้ ผักพื้นบ้านในชุมชนเพิ่มมากขึ้น - ขยายพื้นที่ปลูกต้นไม้ในที่ว่างของชุมชน เพื่อเป็นพืชอาหารสาธารณะที่ใครก็สามารถเก็บกินได้

  143. ชื่อ Best Practice : ...เกิดเป็นแล่งเรียนรู้ด้านศิลปินของชุมชน และตำบล

    โครงการ : โครงการวัฒนธรรมสร้างใจ ศิลปินสร้างงาน ชุมชนสร้างสุข
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : มีการรวมตัวของศิลปินในชุมชน ทั้งทางด้าน หนังตะลุง คนตรีไทย
    ผลของ Best Practice : มีคนในชุมชน รวมทั้ง คนนอกหมู่บ้านเข้ามาเรียน และ อบต.ได้นำเสนอหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมของตำบล จนได้รับรางวัล

  144. ชื่อ Best Practice : ....เกิดเป็นแล่งเรียนรู้ด้านศิลปินของชุมชน และตำบล

    โครงการ : โครงการวัฒนธรรมสร้างใจ ศิลปินสร้างงาน ชุมชนสร้างสุข
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : มีการรวมตัวของศิลปินในชุมชน ทั้งทางด้าน หนังตะลุง คนตรีไทย
    ผลของ Best Practice : มีคนในชุมชน รวมทั้ง คนนอกหมู่บ้านเข้ามาเรียน และ อบต.ได้นำเสนอหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมของตำบล จนได้รับรางวัล

  145. ชื่อ Best Practice : คู่มือ.หมอ 6 คน 6 ด้าน..

    โครงการ : โครงการวิถีชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูแพทย์แผนไทย
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : มีการสัมภาษณ์ หมอในชุมชนทั้ง 6 ด้านได้แก่ หมอนวด หมองู หมอยา หมอรักษาเด็ก หมอตำแย และฤษีดัดตน มีการถอดบทเรียนจากหมอทั้ง 6 คน แล้วจึงจัดทำเป็นคู่มือ เพื่อแจกให้กับคนในชุมชน
    ผลของ Best Practice : ชาวบ้านในชุมชนเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นมากขึ้น

  146. ชื่อ Best Practice : หลักสูตรชุมชนบ้านแคเหนือ

    โครงการ : โครงการวิทยาลัยทุ่งโพ เรียนรู้ร่วมกัน ร่วมสร้างสรรค์ชุมชนน่าอยู่
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เนื่องจากปัญหาความแตกแยกเป็นปัญหาที่มีขนาดใหญ่ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน และเป็นอุปสรรคต่อการสร้างสรรค์ชุมชนให้น่าอยู่ จากประเด็นปัญหานี้ทำให้คณะทำงานใช้กระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนร่วมกับหลักแนวคิดของศาสนาอิสลามมาตัวขับเคลื่อนให้ชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม โดยเริ่มจากกลุ่มเด็ก กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มทำงานและผู้นำศาสนา เข้ามาร่วมสานเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในการจัดทำหลักสูตรสำหรับชุมชนของตนเองขึ้นมา จากจุดนี้จะทำให้ชาวบ้านรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของส่งผลให้อยากเข้าร่วมกิจกรรม
    ผลของ Best Practice : กระบวนการเรียนรู้จะช่วยให้ชุมชนเปลี่ยนทัศนคติในเชิงลบ ทำให้อยู่ร่วมกันด้วยความรัก ความสามัคคี เสียสละ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาทั้งตนเองและผู้อื่นได้ต่อไป

  147. ชื่อ Best Practice : ...การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีในชุมชนและภาคีเครือข่ายการทำงานอย่างคุ้มค่า

    โครงการ : โครงการส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชนบ้านเหนือน้ำให้น่าอยู่
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - สร้างกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชน เยาวชน และภาคีเครือข่ายการทำงานโดยการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีในชุมชนอย่างคุ้มค่า ได้แก่ ป่าชุมชน ป่าชายเลน ปูแสม
    ผลของ Best Practice : - มีคนในชุมชนและคนภายนอกชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างเกินความคาดหมาย มากกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ - ได้ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายที่กว้างขวางขึ้น เช่น มูลนิธิป่าทะเลเพื่อชีวิต ท้องถ่ิ่น ท้องที่ กศน. เป็นต้น

  148. ชื่อ Best Practice : ...การเชื่อมกิจกรรมในพื้นที่

    โครงการ : โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชนด้านพันธุ์ไม้ยืนต้น พืชสมุนไพร และผักพื้นบ้านปลอดสารพิษ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - นำความรู้และกิจกรรมที่มีในอยู่แล้วในชุมชน เช่น ธนาคารต้นไม้ กิจกรรมของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีตำบลบ้านส้อง มาหนุนเสริมกิจกรรมของโครงการ
    ผลของ Best Practice :

  149. ชื่อ Best Practice : - การจัดการขยะด้วยวิธีการขยะแลกผัก

    โครงการ : โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชนด้านพันธุ์ไม้ยืนต้น พืชสมุนไพร และผักพื้นบ้านปลอดสารพิษ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - เป็นการสร้างกระบวนการจัดการขยะแบบครบวงจร คือ การจัดการขยะเปียก ขยะอินทรีย์ ด้วยการทำปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยหมัก แล้วส่งเสริมให้ปลูกผักในครัวเรือน โดยการนำปุ๋ยน้ำมาใช้ในการปลูกผักปลอดสารพิษ แล้วนำผักปลอดสารพิษมาให้คนในชุมชนแลกกับขยะรีไซเคิล เพื่อจัดการกับขยะรีไซเคิลในชุมชน
    ผลของ Best Practice : - ลดปริมาณขยะ - ส่งเสริมรายได้ด้วยผัก - สร้างเสริมสุขภาพกายด้วยการกินผักปลอดสารพิษที่ปลูกเอง กินเอง - ขยายผลสู่ครัวเรือน ชุมชนใกล้เคียง

  150. ชื่อ Best Practice : ผักแลกขยะ

    โครงการ : โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชนด้านพันธุ์ไม้ยืนต้น พืชสมุนไพร และผักพื้นบ้านปลอดสารพิษ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - การสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ - การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ด้วยการนำสิ่งที่มีในชุมชนมาสร้างประโยชน์ด้านอื่นๆ เพิ่มเติม
    ผลของ Best Practice : - คนในชุมชนหันมาปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเอง ที่เหลือสามารถนำมาใช้ในการส่งเสริมการจัดการขยะในชุมชน - ขยะในชุมชนลดลง เป็นผลลัพธืที่ตามมากกว่าการปลูกผักไว้กินเอง

  151. ชื่อ Best Practice : การเชื่อมโยงสิ่งที่มีในชุมชนมาสร้างการเรียนรู้

    โครงการ : โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชนด้านพันธุ์ไม้ยืนต้น พืชสมุนไพร และผักพื้นบ้านปลอดสารพิษ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - นำการเรียนรู้เรื่องป่าชุมชน พืชสมุนไพร พืชอาหาร เกษตรอินทรีย์ เกษตรผลอดสารพิษ การจัดการขยะมาเชื่อมโยงเป็นกิจกรรมในโครงการเพื่อสร้างการมีสว่นร่วมของเยาวชนและคนในชุมชน
    ผลของ Best Practice : - มีอาหารปลอดภัยบริโภคในชุมชน - การสร้างจิตสำนัก และมีส่วนร่วมในการจัดการขยะของชุมชน

  152. ชื่อ Best Practice : 1.การออกกำลังกายแบบชิกง

    โครงการ : โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายและเศรษฐกิจพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นการปรับประยุกต์ใช้ท่ารำแบบมวยจีนไทเก๊ก มาใช้ในการออกกำลังกาย โดยกำหนดลมหายใจตามการเคลื่อนไหว วิธีการทำให้เกิดนวตกรรม : การฝึกอบรมวิธีการออกำลังกายโดยอาจารย์ปราโมทย์ น้อยเนียม ประธานชมรมผู้สูงอายุ แกนนำ ฝึกไปพร้อมกับการปฏิบัติจริงของผู้สูงอายุ
    ผลของ Best Practice : ผู้สูงอายุสามารถปรับประยุกต์การออกกำลังกายโดยวิธีชิกง มาออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในช่วงเช้า ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความสุข สนุกสนาน เนื่องจากจะต้องมีการกำหนดลมหายใจเข้าออก

  153. ชื่อ Best Practice : 1.การสร้างความร่วมมือของคนในชุมชน 2ความความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานรัฐกับคนในชุมชน

    โครงการ : โครงการส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นไทย สร้างสายใยชุมชน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การนำศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นสื่อในการสร้างความของคนในชุมชนกับหน่วยงานภาครัฐ
    ผลของ Best Practice : 1. การนำศิลปวัฒนธรรมสร้างรายได้ให้กับเยาวชน 2. เยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 3. เยาวชนในการแสดงออกและสร้างความสัมพันธ์กลุ่มเยาวชน

  154. ชื่อ Best Practice : กระบวนการสภาซูรอ

    โครงการ : โครงการสร้างชุมชนให้มีสุขด้วยสภาซูรอ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ความร่วมมือของประชาชนในชุมชนในการค้นหาปัญหาร่วมกันและสามารถนำปัญหามาแก้ไขตรงกับความต้องการของประชาชน
    ผลของ Best Practice : การส่งเสริมการดูแลสุขภาวะของประชาชนในชุมชนโดยชุมชนเอง

  155. ชื่อ Best Practice : กองทุนเด็กกำพร้าและผู้ด้อยโอกาสตำบลนาเกต

    โครงการ : โครงการสร้างชุมชนให้มีสุขด้วยสภาซูรอ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.การจัดประชุมสภาซูรอโดยผู้เข้าร่วมเป็นกลุ่มเป้าหมายในชุมชน 2.การนำเสนอข้อมูลปัญหา วิเคราะห์ปัญหาของชุมชน ร่วมกันกำหนด ร่วมกันแก้ไขปัญหาของชุมชน
    ผลของ Best Practice : 1.เกิดการจัดตั้งกองทุนเด็กกำพร้าและผู้ด้อยโอกาสตำบลนาเกต 2.การจัดทำฐานข้อมูลเด็กกำพร้าและผู้ด้อยโอกาสตำบลนาเกต 3การช่วยเหลือเด็กกำพร้าและผู้ด้อยโอกาสตำบลนาเกต

  156. ชื่อ Best Practice : แผนที่สถานการณ์การใช้สารเคมีทางการเกษตร

    โครงการ : โครงการสร้างสุขภาวะเกษตรกร ลดใช้สารเคมีทางการเกษตร
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นการประมวลข้อมูลสถานการณ์การใช้สารเคมีทางการเกษตรในประเด็น ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเกษตรกร สถานการณ์โรคทางกายลักษณะการทำการเกษตร และปริมาณสารเคมีที่ใช้ในแต่ละปี คิดเป็นมูลค่า วิธีการทำให้เกิดนวตกรรม: พัฒนาศักยภาพเยาวชนของโรงเรียนในพื้นที่ จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย โรงเรียนบ้านเขาพระ โรงเรียนควนดินแดง และโรงเรียนบำรุงศาสน์ ในการออกลงเก็บข้อมูลข้อมูลด้วยเครื่องมือ แบบสอบถาม จากนั้นจึงให้กลุ่มเยาวชนลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามเป้าหมายและแผนงานที่วางไว้ จากนั้นทำการสรุปข้อมูลสถานการณ์การใช้สารเคมีทางการเกษตรในรูปแบบแผนที่ทำมือ นำข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าวไปใช้เพื่อการนำเสนอและวิเคราะห์แนวทางแก้ไขปัญหาด้วยกัน
    ผลของ Best Practice : เกิดคณะทำงานและเยาวชนมีส่วนร่วมในการเก็บข้อมูลสถานการณ์การใช้สารเคมีทางการเกษตร เยาวชนได้ตระหนักถึงโทษและแนวโน้มสถานการณ์ของการใช้สารเคมีทางการเกษตร เกิดชุดข้อมูลในรูปแบบของแผนที่ทำมือเกี่ยวกับสถานการณ์การใช้สารเคมี การนำไปใช้ประโยชน์ จะมีการนำไปเสนอข้อมูลแก่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ตลอดจนการติดตามความเปลี่ยนแปลงของการมีพฤติกรรมลดละเลิก ใช้สารเคมี

  157. ชื่อ Best Practice : 1.หนังสือเมนูผักพื้นบ้าน

    โครงการ : โครงการสร้างสุขภาวะเกษตรกร ลดใช้สารเคมีทางการเกษตร
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นหนังสือที่เกิดขึ้นจากการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับชนิดของผักพื้นบ้านที่มีอยู่ในพื้นที่ ต.เขาพระ กระบวนการทำให้เกิดเอกสารฉบับนี้ ใช้การรวบรวมข้อมูลโดยมีแบบฟอร์มรวบรวมข้อมูลชนิดของผักพื้นบ้าน ประโยชน์ วิธีการปรุง โดยนักเรียนจากโรงเรียนควนดินแดง และโรงเรียนบ้านเขาพระ ทำหน้าที่เก็บรวบรวม จากนั้นจึงมีการมาสังเคราะห์เป็นเอกสาร และส่งพิมพ์
    ผลของ Best Practice : 1. เป็นชุดความรู้เกี่ยวกับชนิด ประโยชน์และการปรุง เมนูที่สามารถนำไปประกอบเป็นอาหาร สำหรับเผยแพร่ความรู้แก่ผู้สนใจ/หน่วยงานที่สนใจต่อไป 2. การนำเอกสารชุดนี้เพื่อประกอบการผลักดันให้โรงเรียนในพื้นที่ จำนวน 5 แห่ง นำเอาเมนูผักพื้นบ้านเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาหารให้กับนักเรียนได้รับประทาน

  158. ชื่อ Best Practice : ชุมชนนำร่องในการเฝ้าระวังสุขภาพโดยชุมชนเอง โรคไข้เลือดออก โดยใช้ นวัตกรรมกับดักลูกน้ำยุงลาย

    โครงการ : โครงการสร้างเสริมสุขภาพ รู้เท่าทันไข้เลือดออก และมาลาเรีย
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : กระบวนการวางแผน การดำเนินงานตามแผน การมีส่วนร่วมของชุมชน
    ผลของ Best Practice : -การสร้างเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง -การนำ นวัตกรรมกับดักลูกน้ำยุงลายไปใช้ ช่วยในการตัดวงจรของยุงลาย สาเหตุการเกิดโรคไข้เลือดออก

  159. ชื่อ Best Practice : การจัดการทรัพยากรร่วม (co-management

    โครงการ : โครงการเสริมสร้างการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบ้านน้ำราบ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การประสานความร่วมมือจากหน่วยงานหรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาร่วมคิดร่วมทำและร่วมรับผิดชอบในการจัดการทรัพยากรของชุมชน
    ผลของ Best Practice : เป็นแนวทางที่เหมาะสมสำหรับจัดการทัรพยากรที่มีลักษณะเป็นของส่วนรวมและมีสิทธิการจัดการแบบเชิงซ้อน กล่าวมีทั้งสิทธิชุมชน สิทธิของรัฐและสิทธิของผู้ที่ได้รับประโยชน์จากทรัพยากร ซึ่งมีต้นทุนและอำนาจหน้าที่แตกต่างกันไป สามารถปรับใช้ได้เกือบทุกประเภทของทรัพยรกรได้ด้วย

  160. ชื่อ Best Practice : การจัดการทรัพยากรโดยชุมชน (community-based management)

    โครงการ : โครงการเสริมสร้างการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบ้านน้ำราบ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การสร้างความร่วมมือของคนในชุมชนให้มาเห็นความสำคัญของทรัพยากรตนเองและร่วมกันจัดการฯ
    ผลของ Best Practice : ชุมชนมีความตระหนักในการจัดการทรัพยากรของตนเองมากขึ้นและสามารถดำเนินได้อย่างเป็นรูปธรรมมากกว่า เนื่องจากเป็นผู้อยู่ใกล้ชิดทรัพยากร ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและได้รับผลกระทบทางตรงจากการเปลี่ยนแปลงของระบบทรัพยากร การนำไปใช้ประโยชน์สามารถใช้ได้ในทุกชุมชนและทรัพยากรฯ

  161. ชื่อ Best Practice : การจัดการทรัพยากรเชิงนิเวศ

    โครงการ : โครงการเสริมสร้างการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบ้านน้ำราบ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นวิธีการในการจัดการทรัพยากรที่มุ่งเน้นการมองระบบนิเวศที่กว้างไปมากกว่าขอบเขตพื้นที่่ของตนเอง และประสานความร่วมมือพื้นที่อื่นที่อยู่ภายใต้นิเวศทรัพยากรเดียวกันให้มีทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันด้วย
    ผลของ Best Practice : 1.เกิดการขยายขอบเขตการทำงานที่เชื่อมโยงออกไปกว้างขวางกว่าเพียงพื้นที่ของตนเองและสามารถประสานพลังในการขับเคลื่อนได้มากกว่าการทำเพียงชุมชนเดียว 2. การนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ต้องมีการทำควบคู่ไปกับการสร้างความเข้าใจและความร่วมมือของคนในชุมชนและต้องประสานงานจากความร่วมมือที่หลากหลายด้ว

  162. ชื่อ Best Practice : กฏ กติกา ข้อตกลงชุมชน

    โครงการ : โครงการเสริมสร้างการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบ้านน้ำราบ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การร่วมกันร่างกฏ กติกาหรือข้อตกลงของชุมชนสำหรับใช้ในการจัดการทรัพยากรในชุมชนของตนเอง โดยในกระบวนการจัดทำต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งจะต้องเกิดประโยชน์ระยะยาวในทางส่วนรวมที่จะเกิดขึ้นต่อทุกคนที่ใช้ทรัพยากรร่วมกัน
    ผลของ Best Practice : 1. คนในชุมชนยอมรับในกฏ กติกาหรือข้อตกลง เพราะเป็นสิ่งที่ร่วมทำกันมาและร่วมกันปกป้องการเข้ามาทำลายจากคนชุมชนอื่นๆ เพราะตนเองรู้สึกเป็นเจ้าของทรัพยากรและสิ่งที่ร่วมทำกันมา 2. นำไปใช้ประโยชน์ได้ทั่วไป เพราะในอดีตทุกชุมชนมีกฏ กติกาหรือข้อตกลงชุมชนอยู่แล้ว เพียงแต่อาจจะต้องมีกระบวนการในการรื้อฟื้นขึ้นมา

  163. ชื่อ Best Practice : แผนการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

    โครงการ : โครงการเสริมสร้างการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบ้านน้ำราบ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนร่วมกันเขียนแผนบนพื้นฐานของการมีข้อมูลของชุมชนอย่างเพียงพอ
    ผลของ Best Practice : 1. เป็นแนวทางในการดำเนินงานของชุมชนสำหรับการจัดการทรัพยากร 2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปบูรณาการกับแผนงานของตนเองและให้การสนับสนุนได้

  164. ชื่อ Best Practice : สื่อพัฒนาศัยภาพผู้บริโภค

    โครงการ : โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนากลไกการทำงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคระดับพื้นที่ในจังหวัดสงขลา
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การใช้พลังสื่อที่หลากหลายเพื่อเข้าถึงกลุ่มคน เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารแก่และรับเรื่องร้องเรียน จากผู้ขริโภค
    ผลของ Best Practice : ผู้บริโภคมีช่องทางในการรับรู้ข่าวสารข้อูล สิทธิผู้บริโภค รวมทั้งช่องทางการร้องเรียน

  165. ชื่อ Best Practice : สนามเคลื่อนที่

    โครงการ : โครงการเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ชุมชนบ้านพะงุ้นมีกิจกรรมออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิคที่เกิดจากการดำเนินโครงการกิจกรรมหนึ่งที่มีการจัดกิจกรรมโดยเริ่มแรกจัดสัปดาห์ละ 3 วัน ต่อมาสมาชิกเรียกร้องให้จัดทุกวัน สถานที่เป็นใต้ถุนโรงเรียนบ้านพะงุ้น แต่เมื่อดำเนินการไปได้ระยะหนึ่งสมาชิกที่ไปออกกำลังกายเสนอให้จัด 2 ที่ คือ ที่โรงเรียนและศาลาเอนกประสงค์ของหมู่บ้าน ต่อมาสมาชิกเสนอให้เวียนไปในชุมชน หน้าบ้านผู้นำบ้าง พื้นที่ว่างบ้าง โดยสมาชิกให้เหตุผลว่าควรให้มีความเท่าเทียมเสมอภาค สมาชิกมีการวางแผนกันเองว่าจะเดินสายไปที่ไหนบ้าง ตามฉันทามติของเสียงส่วนใหญ่ สนามแอโรบิคเคลื่อนที่จึงเกิดขึ้น
    ผลของ Best Practice : จากการมีฉันทามติร่วมทำให้การออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิคเป็นที่สนใจและให้ความสำคัญของสมาชิกชุมชนมีการเข้าร่วมเพิ่มขึ้นเพราะไปจัดใกล้บ้านตนเองและกิจกรรมนี้ยังคงมีการดำเนินการตลอดมาจนถึงปัจจุบันอาจมีหยุดบ้างตรงฝนตกหนัก เป็นกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของสมาชิกชุมชน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความยั่งยืน

  166. ชื่อ Best Practice : ความมั่นคงทางอาหาร

    โครงการ : โครงการเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice :
    ผลของ Best Practice : จากการบริโภคอาหารที่ปลอดสารเคมี ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังผู้สูงอายุมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตดีขึ้น กลับมามีส่วนร่วมในกิจกรรมมากขึ้น นอกจากการปลูกผักสวนครัว ยังมีการต่อยอดด้วยการเลี้ยงปลาไว้บริโภคกันเองในชุมชน ส่วนที่เหลือขาย

  167. ชื่อ Best Practice : การจัดการเศรษฐกิจชุมชน

    โครงการ : โครงการเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : มีการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพครัวเรือนรายย่อยในด้านอาชีพ เช่น การเลี้ยงปลาดุกในกระซัง ในบ่อซิเมนต์ การปลูกพืชพื้นบ้านและผักปลอดสารพิษ และมีการจัดการโดยมีคณะกรรมการจัดการตั้งแต่การจัดหาพันธุ์ปลา พันธ์พืชผัก การจัดหาแหล่งจำหน่าย(การตลาด) และการจัดการด้านอาชีพอื่นๆที่สมาชิกชุชนสนใจ คณะกรรมจะจัดหาให้ตามศักยภาพ
    ผลของ Best Practice : มีการจัดการอย่างเป็นระบบทำให้การส่งเสริมหรือสนับสนุนด้านอาชีพสามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง และเมื่อหมดงบประมาณสามารถใช้รายได้ส่วนหนึ่งมาขยายหรือต่อยอดกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง

  168. ชื่อ Best Practice : เกิดความสามัคคีผ่านกระบวนการเรียนรู้ระหว่างเครือญาติ...

    โครงการ : โครงการเสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการหมู่บ้านเพื่อบ้านพรุขี้กลาน่าอยู่เข้มแข็ง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ค้นหาจุดเด่นของแต่ละตระกูล เช่น การทำขนม การทำอาชีพ หรือ อาหาร และให้มีการถ่ายทอดความรู้ ให้กับตระกูลอื่นๆ
    ผลของ Best Practice : หลังจากการจัดกิจกรรม ทำให้เครือญาติมีความสัมพันธ์และรู้จักกันมากขึ้น ทั้งที่เป็นทางการและไม่ทางการ เกิดการช่วยเหลือระหว่างกันมากขึ้น ลูกหลานรู้จักเครือญาติของตนเอง

  169. ชื่อ Best Practice : 1.ธนาคารต้นไม้เขารัดปูน

    โครงการ : โครงการหมู่บ้านสมุนไพรเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เขารัดปูน ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นแหล่งสำหรับฝึกฝนชาวบ้านในการเพาะเมล็ดพันธุ์พืช ฝึกปฏิบัติจริงเกี่ยวกับการเพาะเมล็ดพันธุ์พืช การขึ้นทะเบียนต้นไม้รอบบ้าน การฝากต้นไม้กับธนาคาร และการออมทรัพย์กับธนาคารที่เกิดขึ้น
    ผลของ Best Practice : 1. ชาวบ้านเขารัดปูนเห็นคุณค่าของต้นไม้มากขึ้น เนื่องจากในอดีตชาวบ้านมองเห็นต้นไม้แค่ สิ่งที่ขึ้นมาเป็นผืนดินตนเอง เวลาจะก่อสร้างอะไรก็ไม่สนใจ คิดเรื่องของการตัดต้นไม้ออกจากที่เพียงอย่างเดียว แต่ในปัจจุบัน ชาวบ้านเห็นต้นไม้มีมูลค่า ราคา สามารถสร้างรายได้แก่ตนเองในอนาคต 2. ชาวบ้านมีความรู้เรื่องการเพาะเมล็ดพันธุ์พืชพื้นเมือง โดยเริ่มจั้งแต่กระบวนการ รวบรวมเมล็ดพันธุ์พืชที่จะนำมาเพาะปลูกในธนาคารเมล็ดพันธุ์ การเพาะเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิด 3. สามารถเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนพันธุ้ไม้พื้นบ้าน ระหว่างชาวบ้าน-ชาวบ้าน และระหว่างสภาองค์กรชุมชนภายในจังหวัด หรือ ระหว่าง หน่วยงาน

  170. ชื่อ Best Practice : การนวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ

    โครงการ : โครงการหมู่บ้านสมุนไพรเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เขารัดปูน ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : คุณลักษณะของแกนนำนวดฝ่าเท้า คือ เป็นชาวบ้านที่สนใจในการฝึกนวดฝ่าเท้า นำมาฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้รู้ว้าการนวดฝ่าเท้ามีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง ต้องเตรียมตัวอย่างไรในการนวดเท้า วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม: ใช้การรับสมัครชาวบ้านที่สนใจเรียนรู้และฝึกกานวดฝ่าเท้า จากนั้นมาฝึกปฏิบัติการกับวิทยากรจากโรงพยาบาลระโนด และมีการรวมกลุ่มเพื่อออกฝึกปฏิบัติเพื่อเพิ่มความชำนาญในงานประเพณีสำคัญของพื้นที่ หรือแหล่งชุมนุมคน
    ผลของ Best Practice : 1. ชาวบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำเอาความรู้เรื่อง การนวดฝ่าเท้านำทักษะเหล่านี้ไปใช้ในการนวดเพื่อดูแลสุขภาพตนเอง จากอาการปวดเมื่อยจากการทำงาน 2. สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ในยามว่างโดยการรวมกลุ่มกันเพื่อออกให้บริการนวดแก่ชาวบ้านที่มาร่วมงานประเพณีสำคัญของชุมชนและงานที่มีคนชุมนุมเยอะๆ

  171. ชื่อ Best Practice : การบวชป่าไม้บนเขารัดปูน

    โครงการ : โครงการหมู่บ้านสมุนไพรเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เขารัดปูน ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นการใช้หลักศาสนา/พิธีกรรมทางศาสนา มาใช้เป็นกุศโลบายในการให้ชาวบ้านมาร่วมกันอนุรักษ์ต้นไม้บนเขารัดปูน โดยมีการให้พระสงฆ์มาร่วมสวดขอพร ประพรมน้ำมนต์ และการใช้ผ้าเหลือง ในการห่มต้นไม้ในบริเวณเขา/และวัดรัดปูน โดยมีการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่มาร่วมกันผูกผ้าจีวรรอบต้นไม้ที่ต้องการอนุรักษ์ ส่งผลให้คนในพื้นที่มีความเกรงกลัวต่อการทำลายต้นไม้
    ผลของ Best Practice : 1. ผู้นำชุมชนและชาวบ้านเขารัดปูนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ต้นไม้บนเขารัดปูน 2. ต้นไม้บนเขารัดปูนซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความสุ่มเสี่ยงต่อการถูกทำลายจากชาวบ้านรอบเขาและบุคคลภายนอก

  172. ชื่อ Best Practice : กติกาชุมชนว่าด้วยการ

    โครงการ : โครงการหมู่บ้านสมุนไพรเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เขารัดปูน ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นแนวทางการอนุรักษ์ของชุมชนเกี่ยวกับต้นไม้ ประกอบด้วย การที่จะต้องห้ามบุกรุกเขารัดปูน ส่วนผู้ที่ปลูกต้นยางพาราอยู่แล้วห้ามมีการปลูกเพิ่มเติม และชุมชนจะต้องช่วยกันดูแลไม่ให้มีการบุกรุกเข้าเขารัดปูน ส่วนการใช้ประโยชน์ เช่น การเก็บสมุนไพรหรือใช้ประโยชน์สามารถทำได้ แต่ห้ามมีการทำลายต้นไม้ จะต้องมีการปลูกต้นไม้เพิ่มเติมเพื่อให้มีการเพิ่มจำนวน วิธีการ: มีการระดมความคิดเห็นชาวบ้านและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากนั้นให้ชาวบ้านแสดงประชามติ และประกาศใช้ในชุมชน
    ผลของ Best Practice : ชาวบ้านเขารัดปูนเกิดความตระหนักและการปฏิบัติตามกติกาชุมชน ว่าด้วยการอนุรักษ์เขารัดปูน

  173. ชื่อ Best Practice : การสร้างเครือข่ายที่กว้างขวาง...

    โครงการ : โครงการหมู่บ้านสีเขียวเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ผู้เข้ามาขอโครงการเป็นผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นคนมีวิสัยทัศน์และเครือข่ายมาก เมื่อได้มีโอกาสมาร่วมกระบวนคิดโดยหลักของสจรส ทำให้เกิดความคิดเป็นระบบและต่อยอดได้ เมื่อได้รับคำแนะนำก็สามารถปฏิบัติได้อย่างดีเยี่ยม่มีโอกาสนำการจัดการนี้ผลักดันเป็นนโยบายสาธารณะรัดับจังหวัดได้
    ผลของ Best Practice : รอให้เกิดนโยบายสาธารณะเรื่องการจัดการทรัพยกรธรรมชาติ ประเด็น โอมสเตร์ของหมู่บ้าน

  174. ชื่อ Best Practice : เยาวชนสีขาว

    โครงการ : โครงการแหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจพอเพียง(ต่อยอด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : จากการที่มีการเข้าค่ายครอบครัวอบอุ่น ทำให้เยาวชนของแต่ละครอบครัวได้มีโอกาสพูดคุญทำกิจกรรมร่วมกันสนิทกันจึงได้รวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นกลุ่มเยาวชนสีขาวเยาวชนกลุ่มนี้จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดและอบายมุข มีจำนวน 10 คน หลังกลับจากค่ายกลุ่มนี้มีแนวคิดที่จะนำน้องๆในโรงเรียนและในชุมชนเข้าร่วมกลุ่มเพื่อช่วยกันดำเนินการเชิญชวนเรียกร้องให้เด็กและเยาวชนสีเทาลด ละ เลิกสิ่งเสพติดและอบายมุขซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่
    ผลของ Best Practice : กลุ่มเยาวชนก่อการดีในชุมชนที่มีแนวคิดจะขยายเครือข่ายให้ครอบคลุมกลุ่มเยาวชนในชุมชน

  175. ชื่อ Best Practice : การทวงคืนผืนป่ากลับจากผู้บุกรุก

    โครงการ : โครงการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำพรุตาอ้าย(พื้นน้ำ อาหาร บ้านยา ผืนป่า ปะทิว)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : สร้างแกนนำการอนุรักษ์ป่าเพื่อคอยตรวจสอบและดูแลพื้นที่ป่าเพื่อป้องกันการบุกรุก พร้อมทั้งขอคืนพื้นที่ป่าจากผู้ที่บุกรุกโดยการใช้วิธีการพูดคุยและใช้มาตรการทางกฎหมายในกรณีผู้บุกรุกไม่ยอมคืน
    ผลของ Best Practice : สามารถทวงคืนผืนป่าได้บางส่วนทำให้มีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น

  176. ชื่อ Best Practice : จัดตั้งแหล่งเรียนรู้ซึ่งเป็นต้นทุนในหมู่บ้าน ทำให้มีแหล่งเรียนรู้ที่เป็นทุน9 แหล่งเรียนรู้ที่ชาวบ้านและเยาวชนเข้ามาศึกษาดูงานได้ ได้แก่ 1.การเลี้ยงไก่ไข่ 2.โไงเพาะเห้ดฟาง 3.การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก 4.การเลี้ยงปลาดุกในกระชัง 5.การเลี้ยงปลาซิวเพื่อขยายพั

    โครงการ : งานสร้างคน เพื่อ พัฒนาชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การหาแหล่งต้นทุนที่แข้มแข็งคัดกรองจากแกนนำที่ปฏิบัติจริง และนำมาเข้าระบบสู่กระบวนการเรียนรู้
    ผลของ Best Practice : ชาาวบ้านมีแบบแผนในการปฏิบัติตามและสามารถมาเรียนรู้เพิ่มเติมตามแหล่งเรียนรู้เกิดการศึกษา ทำให้เกิดผลผลิตมีการขายลดค่าใช้จ่ายสภาพความเป็นอยู่ดีขึ้นตามลำดับ

  177. ชื่อ Best Practice : - การจัดตั้ง ชุมชนเป็นชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นรูปธรรม / การยกระดับผู้นำชุมชนผุ้เป็นส่วนช่วยเหลือและผลักดันเข้าประกวดในระดับจังหวัด /การยกระดับชุมชนดดยการส่งเข้าประกวดด้านชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงและชุมชนต้นแบบ

    โครงการ : งานสร้างคน เพื่อ พัฒนาชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การร่วมกันบูรณาการข้อมูลเพื่อสร้างเครือข่ายและการกระตุ้นชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมดดยการให้ข้อมุลข่าวสารในชุมชนทุกดอกาส
    ผลของ Best Practice : - เป็นการยกระดับชุมชนให้เป้นตัวอย่างในการพัฒนาและเล้งเห็นถึงคุณค่าของในชุมชนตนเอง - ชาวบ้านตระหนักและรักชุมชน - เกิดความสามัคคีลดละอบายมุขอันเป็นที่น่ารังเกียจของชุมชน

  178. ชื่อ Best Practice : การจัดตั้งแหล่งสาธิตในชุมชน

    โครงการ : งานสร้างคน เพื่อ พัฒนาชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การรวบรวมแหล่งเรียนรู้ และหาจุดบกพร่องของแหล่งเรียนรู้แต่ละแหล่งรวมถึงการให้ข้อมูลความต้องการของชาวบ้านที่หาแหล่งเรียนรู้เด่นมาจัดตั้งเป็นศูนย์สาธิตที่เกิดในชุมชน เช่นสูนนย์สาธิตการเพาะเห้ดนางฟ้า
    ผลของ Best Practice : เกิดศูนย์สาธิต ขึ้น 2 คือสูนย์สาธิตเห้ดนางฟ้า และสูนยืสาธิตทางระบบนิเวสนืวิทยา ที่รวมเอาหลายๆด้านของการเกษตรเข้ามารวมกัน

  179. ชื่อ Best Practice : อนุรักษ์หอยลอกัน

    โครงการ : จากผืนนา สู่ผืนป่าชายเลนที่ควนโต๊ะเจ๊ะ (ต่อเนื่อง)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - นำเยาวชนออกศึกษา เรียนรู้ และหาหอยมาปล่อยในป่าอนุรักษ์สมบูรณ์ เพื่อขยายพันธุ์
    ผลของ Best Practice : - เยาวชนได้รู้จักหอย วิธีหาหอย - เกิดจิตสำนึกการอนุรักษ์ป่าชายเลน ลดการใช้เคมีทางการเกษตร เพื่อให้สัตว์น้ำรวมถึงหอยลอกันอยู่ได้ คนมีอาหารปลอดภัยกัน

  180. ชื่อ Best Practice : ใช้ประโยชน์จากทุนป่าชายเลนของหมู่บ้านด้วยการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นนำสู่การประกอบอาชีพ

    โครงการ : จูงมือลูก จูงมือหลาน สร้างสำนึกอนุรักษ์ป่าชายเลน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : จัดกิจกรรมโดยให้ปราชญ์ชาวบ้านผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากต้นจาก ได้แก่ การทำน้ำตาลจาก การทำเสวียนหม้อ การทำจากมุงหลังคา การทำหมวก (ตูดง) โดยมี เด็ก เยาวชน ประชาชนในหมู่บ้าน จำนวน 30 คน เข้ารับการอบรม จำนวน 5 วัน แบ่งเป็นกิจกรรมดังนี้ - วันที่ ๑ - ๒ ถ่ายทอดความรู้เรื่องการทำน้ำตาลจาก โดยนายหลี ทิ้งน้ำรอบ - วันที่ ๓ ถ่ายทอดความรู้เรื่องการทำจากมุงหลังคา โดยนางหยำอะ มาลียัน - วันที่ ๔ ถ่ายทอดความรู้เรื่องการทำหมวก (ตูดง) โดยนางสมศรี หาญทะเล - วันที่ ๕ ถ่ายทอดความรู้เรื่องการทำเสวียนหม้อ น.ส.เลียน ลิ่มศรีพุทธ
    ผลของ Best Practice : - การสืบทอดภูมิปัญญาการทำน้ำตาลจากไม่ให้หายไป - ผู้ที่เรียนรู้สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ มีรายได้เพิ่มมาในครอบครัว

  181. ชื่อ Best Practice : ...นโยบายการหนุนเสริมการปลูกข้าวพื้นเมืองในพื้นที่่สวนยางพาราที่โค่นและปลูกแทน ของสำนักงานสงเคราะห์การทำสวนยาง ศูนย์วิจัยข้าวจ.พัทลุง เทศบาลตำบลร่มเมือง

    โครงการ : ชวนลูกหลานเรียนรู้วิถีชาวนาอินทรีย์
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เกิดจากการที่มีการทำงานร่วมกันมาในช่วงปีที่ผ่านมาที่ดึงเอาความร่วมมือของศูนย์วิจัยข้าวที่ทำงานร่วมกับเครือข่ายเกษตรทางเลือกและเครือข่ายชาวนาอินทรีย์จ.พัทลุงที่ต้องการเพิ่มพื้นที่ในการผลิตข้าวพื้นเมืองและได้เริ่มเข้ามาร่วมกับบ้านบ่อโพธ์ในโครงการปีแรก และัพัฒนาต่อยอดในการเชื่อมเอา ทต.ร่มเมือง สกย.จ.พัทลุงและอีกหลายภาคีที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมมือกัน เพราะตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญในความมั่นคงทางอาหารของชุมชนจะเป็นปัจจัยที่สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนได้
    ผลของ Best Practice : เกิดการรณรงค์ให้มีการทำข้าวไร่ในพื้นที่สวนยางพารา โดยมีภาคีหุ้นส่วนได้แก่ ทต.ร่มเมืองประกาศให้การหนุนเสริมแก่ผู้ที่โค่นยางพาราและต้องการปลูกข้าวไร่ เป็นนโยบายของตำบล ในขณะที่ สกย.จ.พัทลุงประกาศให้ทุนผู้ปลูกข้าวไรในพื้นทีสวนยางที่โค่นและปลูกแทน ในจำนวนไร่ละ 4,000 บาท และตัวแทนศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงประกาศหนุนพันธ์ข้าวพื้นเมืองเพื่อให้ผู้ปรสงค์ทำข้าวไร่ในสวนยางพาราที่โค่นและปลูกแทน นับว่าเป็นกิจกรรมที่มีการพัฒนาต่อเนื่องจนกลายมาเป็นนโยบายสาธารณะระดับท้องถิ่นที่น่าสนใจ

  182. ชื่อ Best Practice : ประสานงานดีได้งานคุณภาพชุมชนพัฒนา

    โครงการ : ชาววารีสวัสดิ์พัฒนา คนร่วมสร้างชุมชนสีเขียว
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ชุมชนมีเทคนิคการประสานงานเริ่มจากส่วนตัวก่อนโดยประธานและเลขาเข้าไปพูดคัยติดต่อซื้อวัสดุและใช้พื้นที่ก่อสร้างแบบพิมพ์หล่อกระถางปูนตามแบบที่กำหนด จำนวนและวันเวลา โดยให้ช่างของโรงปูนเป็นผู้ฝึกประสบการณ์ให้กับกลุ่มจิตอาสาในชุมชน โดยเป็นการติดต่อขอซื้อที่ช่วยให้ชุมชนเกิดความรู้ในการทำกระถางปูน เกิดทักษะและเทคนิกในการทำกระถางปูน มีความคิดสร้างสรรคแบบต่างๆเพื่อนำมาใช้ที่บ้าน และมีความสนุกสนาน บรรยาการศเป็นมิตรจากการช่วยกันทำถางปูน และได้วัสดุคือกระถางปูนตามจำนวนที่ต้องการครบถ้วน คุณภาพดี มีภาคีเพิ่ม
    ผลของ Best Practice : กิจกรรมอื่นๆในโครงการ

  183. ชื่อ Best Practice : สวนหย่อมคงคา-วารีสวัสดิ์และข้อตกลงการใช้สวนสาธารณะชุมชน

    โครงการ : ชาววารีสวัสดิ์พัฒนา คนร่วมสร้างชุมชนสีเขียว
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การประสานงานและพูดคุยประเด็นประโยชน์ชุมชนและประโยชน์ส่วนตนที่เป็นแบบ วิน-วิน โดยการใช้พื้นที่สาธารณะของชุมชนคงคาสวัสดิื และใช้งบประมาณและการจัดการของชุมชนวารีสวัสดิื ภายใต้การบริหารจัดการของสสส. และภาคีสนับสนุนจากพี่เลี้ยงโครงการและเทศบาลเมืองปากพนัง
    ผลของ Best Practice : เกิดสวนหย่อมคนเมืองที่บริเวณท่าลงแพขนานยนต์ ให้คนข้ามฟากมีพื้นที่ผ่อนคลาย ร่มรืน มีมุมอ่านหนังสือเสริมความรู้

  184. ชื่อ Best Practice : มุมหนังสือ สวนหย่อมคงคา วารีสวัสดิ์

    โครงการ : ชาววารีสวัสดิ์พัฒนา คนร่วมสร้างชุมชนสีเขียว
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ชุมชนวารีสวัสดิ์เป็นชุมชนที่ไม่มีหน่วยงานใดๆในพื้นที่ การร่วมมือกันสร้างสวนหย่อมเพื่อเป็นสถานที่พบปะ ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ จึงเป็นสิ่งที่ดีและสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนได้
    ผลของ Best Practice : เกิดปอดในเมือง เกิดสวสาธารณะ ที่พักผ่อนหย่อนใจ มีมุมความรู้หนังสือรับบริจาคช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อคนในชุมชน

  185. ชื่อ Best Practice : การรับจำนำผู้สูงอายุ

    โครงการ : ชุมชนบ้านเจริญทรัพย์น่าอยู่เชิดชูผู้สูงวัย (ต่อเนื่อง)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ทีมจิตอาสาดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ระดับหนึ่งและมีการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ด้วยการทำสิ่งประดิษฐ์ตามความสามารถและความเหมาะสม
    ผลของ Best Practice : ผู้สูงอายุและผู้พิการมีความสุข มีรายได้เสริมและเชื่อมความสัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชนได้

  186. ชื่อ Best Practice : คนสามวัยใส่ใจสุขภาพ

    โครงการ : ชุมชนบ้านเจริญทรัพย์น่าอยู่เชิดชูผู้สูงวัย (ต่อเนื่อง)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : อาสาสมัครที่มาจากเยาวชน(ผู้อำนวยการสนับสนุนให้ร่วมกิจกรรม) วัยทำงาน (มีเวลาช่วงบ่ายทุกวันหลังจากภารกิจอาชีพ)ผู้สูงอายุว่างเสมอสำหรับลูกหลานในชุมชน มีวัดถ้ำทะเลทรัพย์และศูนย์เรียนรู้บ้านทรัพย์เจริญเป็นสถานที่ศูนย์รวมใจ มีหมออนามัยเป็นตัวเชื่อมประสาน มีชมรมผู้สูงอายุเป็นตัวหนุน และภาคเอกชน/อปท/เทศบาลสนับสนุนงบประมาณและอื่น ๆ ตามความเหมาะสม สุดท้ายมีอาสาสมัครคนสามวัยเป็นคนเดินเรื่องตามแผนงานที่กำหนดร่วมกัน
    ผลของ Best Practice : ผลที่ได้รับทำให้ทุกคนในชุมชนเห็นความสำคัญ ยอมรับและร่วมกันดำเนินการต่อเนื่องเพื่อให้เป็นวัฒนธรรมชุมชนเจริญทรัพย์สืบไป

  187. ชื่อ Best Practice : ทอดผ้าป่าขยะ

    โครงการ : ชุมชนบ้านนครธรรม นักจัดการขยะ นักจัดการสุขภาพ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ให้ผู้ที่มาทำบุญที่วัดได้นำขยะมาเพื่อมารวบรวมไปขายแล้วนำเงินไปทำบุญให้วัด
    ผลของ Best Practice : ทำให้ผู้คนคิดว่า ได้กำจัดขยะพร้อมกับทำบุญ โดยไม่ต้องเสียเงิน และทำให้หมู่บ้านสะอาดขึ้นด้วย

  188. ชื่อ Best Practice : การสร้างการมีส่วนร่วม

    โครงการ : ชุมชนบ้านนครธรรม นักจัดการขยะ นักจัดการสุขภาพ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การสร้างการมีส่วนร่วมโดยอาศัยความสัมพันธ์พื้นฐานของคนในชุมชนที่มีความเห็นร่วมคือ ศาสนา ซึ่งในโครงการนี้ได้ใช้วัดเป็นสถานที่ในการดำเนินกิจกรรม โดยนำเอาจุดแข็งมาปรับใช้กับโครงการ
    ผลของ Best Practice : ชุมชนที่ศาสนามีบทบาท จะสามารถนำเอาแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมหรือโครงการที่ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้คนในชุมชน เพราะศาสนาเป็นเครื่องมือในการเชื่อมกันของคนในสังคมอยู่แล้ว

  189. ชื่อ Best Practice : 1.ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ

    โครงการ : ชุมชนบ้านปากคลองวัดแดง ร่วมใจลดอุบัติเหตุ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.จากการจัดตังโครงสร้างกรรมการบริหารโครงการ ไ้ด้เสนอให้มีการจัดกิจกรรม 1.1 จัดทำป้ายไวนิลรณรงค์ลดอุบัติเหตุช่วง 7 วันอันตราย 1.2 อบต.เขาพระบาท จัดตั้งจุดพักรถและจุดเฝ้าระวังอุบัติเหตุที่สี่แยกปากคลองวัดแดง 1.3 รณรงค์ให้ความรู้ประชาชนในหมู่บ้าน
    ผลของ Best Practice : 1.ไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในช่วง 7 วันอันตราย 2.มีแผ่นป้ายรณงค์ 10 แผ่นป้ายตามจุดสำคัญๆ

  190. ชื่อ Best Practice : 1.การจำหน่ายหมวกกันน้อค ครึ่งราคา

    โครงการ : ชุมชนบ้านปากคลองวัดแดง ร่วมใจลดอุบัติเหตุ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.ได้ประสานงานกับบริษัทกลาง เพื่อขอซืื้อหมวกกันน้อค มาจำหน่ายให้กับประชาชนในราคาครึ่งราคา ใบละ 100 บาท 2.งบดำเนินงานในการจัดซื้อ ขอยืมมาจากชมรม อสม.ตำบลเขาพระบาท ซึ่งเป็นงบสวัสดิการ 3.เปิดจำหน่ายให้กับประชาชน โดยตั้งราคาดังนี้ สำหรับคณะกรรมการผู้ร่วมโครงการและ อสม.ใบละ 100 บาท สำหรับประชาชนทั่วไปใบละ 150 บาท
    ผลของ Best Practice : 1.ประชาชนได้ซื้อหมวกกันน้อค ในราคาถููก ซึ่งเป็นการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการดำเนินกิจกรรม 2.เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญของกิจกรรม

  191. ชื่อ Best Practice : 2.การประกวดภาพถ่ายและคำขวัญรณรงค์ลดอุบัติในโรงเรียน

    โครงการ : ชุมชนบ้านปากคลองวัดแดง ร่วมใจลดอุบัติเหตุ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.ได้เปิดโอกาสให้นักเรียนวัดแดง ร่วมกันเขียนคำขวัญ และวาดภาพประกวด ตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 1 ถึงมัธยมปีที่ 3 2.ผลงานนักเรียนทุกคน ได้มีการแสดงให้เพื่อนๆ ได้อ่าน 3.ผลงานทีดี จะได้คัดเลือก ให้รางวัลที่ 1 เป็นเงิน 500 บาท รางวัลที่ 2 เป็นเงิน 300 บาท รางวัลที่ 3 เป็นเงิน 200 บาท และชมเชย 5 รางวัล รางวัลละ 100 บาท 4.การคัดเลือกรางวัลและนำเสนอ คุณครูโรงเรียนวัดแดงเป็นผู้ดำเนินการ
    ผลของ Best Practice : 1.เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนเห็นความสำคัญ และสามารถบอก ชักชวนผู้ปกครองได้ 2.ทำให้นักเรียนเกิดความภูมิใจ และสร้างทัศนคติบวกให้เกิดกับนักเรียนในการลดอุบัติเหตุจราจรในโรงเรียน

  192. ชื่อ Best Practice : 1.การจำหน่ายหมวกกันน้อค ครึ่งราคา

    โครงการ : ชุมชนบ้านปากคลองวัดแดง ร่วมใจลดอุบัติเหตุ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.ได้ประสานงานกับบริษัทกลาง เพื่อขอซื้อหมวกกันน้อค มาจำหน่ายให้กับประชาชนในราคาครึ่งราคา ใบละ 100 บาท 2.งบดำเนินงานในการจัดซื้อ ขอยืมมาจากชมรม อสม.ตำบลเขาพระบาท ซึ่งเป็นงบสวัสดิการ 3.เปิดจำหน่ายให้กับประชาชน โดยตั้งราคาดังนี้ สำหรับคณะกรรมการผู้ร่วมโครงการและ อสม.ใบละ 100 บาท สำหรับประชาชนทั่วไปใบละ 150 บาท
    ผลของ Best Practice : 1.ประชาชนได้ซื้อหมวกกันน้อค ในราคาถูก ซึ่งเป็นการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการดำเนินกิจกรรม 2.เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญของกิจกรรม

  193. ชื่อ Best Practice : 2.การประกวดภาพถ่ายและคำขวัญรณรงค์ลดอุบัติในโรงเรียน

    โครงการ : ชุมชนบ้านปากคลองวัดแดง ร่วมใจลดอุบัติเหตุ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.ได้เปิดโอกาสให้นักเรียนวัดแดง ร่วมกันเขียนคำขวัญ และวาดภาพประกวด ตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 1 ถึงมัธยมปีที่ 3 2.ผลงานนักเรียนทุกคน ได้มีการแสดงให้เพื่อนๆ ได้อ่าน 3.ผลงานทีดี จะได้คัดเลือก ให้รางวัลที่ 1 เป็นเงิน 500 บาท รางวัลที่ 2 เป็นเงิน 300 บาท รางวัลที่ 3 เป็นเงิน 200 บาท และชมเชย 5 รางวัล รางวัลละ 100 บาท 4.การคัดเลือกรางวัลและนำเสนอ คุณครูโรงเรียนวัดแดงเป็นผู้ดำเนินการ
    ผลของ Best Practice : 1.เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนเห็นความสำคัญ และสามารถบอก ชักชวนผู้ปกครองได้ 2.ทำให้นักเรียนเกิดความภูมิใจ และสร้างทัศนคติบวกให้เกิดกับนักเรียนในการลดอุบัติเหตุจราจรในโรงเรียน

  194. ชื่อ Best Practice : 3.มาตราการลดอุบัติเหตุุ

    โครงการ : ชุมชนบ้านปากคลองวัดแดง ร่วมใจลดอุบัติเหตุ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.นายก อบต.เขาพระบาท ได้นำประชาชน ร่วมกันประกาศเจตนารมย์ และมาตราการในการลดอุบัติเหตุชุมชนตำบลเขาพระบาท 4 ข้อ คือ (1)พวกเราทุกคนจะสวมหมวกกันน้อค เปิดไฟทุกครั้งที่ขับขี่ (2)พวกเราทุกคนจะปฏิบัติตามกฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด (3)พวกเราทุกคนจะตักเตือนบุตรหลานไม่ขับรถซิ่ง ไม่ย้อนศร (4)พวกเราจะร่วมสร้างตำบลเขาพระบาทให้น่าอยู่
    ผลของ Best Practice : 1.ประชาชนได้เกิดความตระหนัก เนื่องจากเป็นมาตราการที่ประกาศใช้ทั่วกัน 2.เป็นการสร้างกระแส ในการลดอุบัติเหตุ 3.เป็นการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง 4.สร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดกับทุกภาคส่วน

  195. ชื่อ Best Practice : การเตรียมสวนสมุนไพร

    โครงการ : ชุมชนพิกุลทอง สุขภาพดี ด้วยสมุนไพรไทย
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : รวบรวมองค์ความรู้ด้านสมุนไพรของชุมชนร่วมกับปราชญ์ชุมชน
    ผลของ Best Practice : มี แหล่งเรียนรู้ (แต่ยังอยู่ระหว่างจัดการ)

  196. ชื่อ Best Practice : การจัดการข้อมุลสุขภาวะชุมชน

    โครงการ : ชุมชนพิกุลทอง สุขภาพดี ด้วยสมุนไพรไทย
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การให้เยาวชนในชุมชน ร่วมเป็นกลุ่มที่ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูล การลงเก็บข้อมูล และทำกิจกรรมคืนข้อมูล
    ผลของ Best Practice : นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลทำให้ชุมชนได้เห็นข้อมูล และเป็นวิธีการกระตุ้นให้ทุกคนเห็นความสำคัญร่วมกัน

  197. ชื่อ Best Practice : 1.ประชาคมหมู่บ้านในการจัดตั้งกองทุนขยะ

    โครงการ : ชุมชนร่วมใจกำจัดภัยขยะอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนในตำบลคลองรี
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ร่วมแสดงความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ของชุมชน โดยการใช้เวทีการทำประชาคม ทำให้เห็นปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา กิจกรรมที่จะดำเนินการในพื้นที่
    ผลของ Best Practice : การนำข้อตกลงของชุมชนที่ผ่านจากการทำประชาคมไปดำเนินกิจกรรมในระดับพื้นที่

  198. ชื่อ Best Practice : 2.กิจกรรมการคัดแยกขยะโดยใช้คู่มือ และแบบประเมินในการคัดแยกขยะ

    โครงการ : ชุมชนร่วมใจกำจัดภัยขยะอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนในตำบลคลองรี
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การใช้คู่มือและแบบประเมินในการให้ความรู้แก่ประชาชน และแกนนำใช้เป็นคัมภีร์ในการทำงาน
    ผลของ Best Practice : ใช้เป็นคู่มือประเมินครัวเรือนในการแยกขยะในแต่ละประเภท ให้มีความถูกต้องตามเกณฑ์

  199. ชื่อ Best Practice : ...ขยายผลคนสุขภาพดี

    โครงการ : ชุมชนสุขภาพดีวิถีชีวิตบ้านสมควร
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : มีการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม ตั้งแต่ร่วมคิดกติการ่วมกัน ร่วมกันปฏิบัติ และประเมินผล โดยใช้การประชุมอย่างต่อเนื่องเป็นตัวช่วยให้ทำสำเร็จ
    ผลของ Best Practice : เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่มเครือข่ายต่างๆ ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ เช่น อสม.,หมอดิน,กศน,กลุ่มในชุมชน ได้เข้าร่วมเป็นวิทยากร และสังเกตการณ์ การดำเนินงานโครงการของสมาชิกโครงการ การขยายผลการดำเนินการไปในละแวกบ้าน

  200. ชื่อ Best Practice : เพื่อนช่วยเพื่อน

    โครงการ : ชุมชนสูงวัย บ้านในซัง ต่อเนื่องปี 2
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ผู้สูงอายุที่เป็นอสม.และจิตอาสาเข้าเยี่ยมผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ติดบ้านและติดเตียง โดยได้รับงบประมาณบางส่วนจากอบจ.กับผู้อนุเคราะห์
    ผลของ Best Practice : เป็นชุมชนต้นแบบในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุให้กับชุมชนอื่น ๆ

  201. ชื่อ Best Practice : เปิดใจเปิดบัญชีออม

    โครงการ : ชุมชนเสาธงทองผักสวนครัวปลอดสารพิษขยะมีชีวิตร่วมคิดร่วมทำ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ผู้รับผิดชอบโครงการได้เอาแนวคิดให้ผู้เข้าร่วมโครงการที่จดบันทึกบัญชีครัวเรือน ตามข้อตกลง ได้รับเงินก้นถุงเปิดบัญชี คนละ 50 บาท จากค่าอาหารที่เหลือจากการจัดกิจกรรมในครั้งแรก และครั้งต่อไปให้ผู้เข้าร่วมฝากเข้าบัญชีกลุ่มออม
    ผลของ Best Practice : ผู้เข้าร่วมโครงการได้ประโยชน์จากการร่วมโครงการ สร้างแรงจูงใจให้เกิดการร่วทกิจกรรมต่อเนื่อง

  202. ชื่อ Best Practice : การเพาะเห็ดชุมชน

    โครงการ : ชุมชนเสาธงทองผักสวนครัวปลอดสารพิษขยะมีชีวิตร่วมคิดร่วมทำ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : รวมกลุ่มการเพาะเห็ดเพื่อแบ่งกันกินในชุมชน โดยมีที่เพาะเห็ดอยู่ที่เดียวแต่กระจายก้อนเห็ดไปดูแลและรับผลผลิตกันเอง 40 ครัวเรือน
    ผลของ Best Practice : ครัวเรือนที่รวมกลุ่มมีความรู้สามารถเพาะเลี้ยงเห็ดเองในครัวเรือน และมีการนำเห็ดไปปรุงอาหารและเหลือแบ่งขายลดรายจ่ายได้

  203. ชื่อ Best Practice : การเพาะเห็ด

    โครงการ : ชุมชนเสาธงทองผักสวนครัวปลอดสารพิษขยะมีชีวิตร่วมคิดร่วมทำ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ศึกาาดูงาน ลองทำการเพาะเห็ดร่วมกับโรงเรือนชุมชนอื่น จากนั้น นำเห็ดก้อนมาแบ่งปันกันเลี้ยงนำมาบริโภคในครัวเรือน
    ผลของ Best Practice : ลดรายจ่าย เกิดอาชีพใหม่ะ ขายเห็ดก่อน และขายเห็ดที่เพาะเองในบ้าน

  204. ชื่อ Best Practice : ประชุมไว รู้เรื่องไว จัดการไว

    โครงการ : ชุมชนหอยราก สืบสานตำนานขนมลาสร้างสุข
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : คนทำขนมลาไม่มีเวลามาทำงานอื่นนานๆ การจัดการประชุมร่วมกันจึงเป้นภาระที่หนักหน่วง และคนไม่อยากร่วม การแก้ปัญหา คือการใช้เวลาในการประชุมพูดคุยหลังจากเวลาเลิกทำขนมลาเพียงครั้งละ ไม่เกิน 2 ชม. จึงได้รับความร่วมมือดี
    ผลของ Best Practice : คนชอบ มีส่วนร่วม และมาร่วมกิจกรรมมาก

  205. ชื่อ Best Practice : โครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง

    โครงการ : ชุมชนหูยาน บ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง(ต่อเนื่องปี 3)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : รวมคนจาก 5 กลุ่มบ้านพัฒนาศักยภาพเป็นสภาแกนนำ เพื่อแก้ปัญหา 3 เรื่องหลัก คือ ปัญหาสารเคมีตกค้างในร่างกาย ปัญหาต่างคนต่างอยู่ และปัญหาเศรษฐกิจ - วิธีทำคือ - พัฒนาสร้างสภาแกนนำ 15 คน ชวนคนมาปลูกผัก 20 ชนิดปลอดสารพิษ เลี้ยงผึ้งเพิ่มรายได้ - ประชุมสมำเสมออย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือนเพื่อสร้างความเข้าใจไปสือสารแต่ละกลุ่มบ้าน ลดปัญหาต่างคนต่างอยู่ - สร้างและพัฒนาตลาดเขียว คนรักษ์สุขภาพ ในชุมชน แก้ปัญหารายรับน้อยกว่ารายจ่าย คือ เมื่อส่งเสริมปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อสุขภาพ เหลือกินก็ต้องมีที่วางจำหน่าย เพิ่มรายได้ - ปิ่นโตสุขภาพเป็นการต่อยอดพัฒนาเมนูอาหารสุขภาพและการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม
    ผลของ Best Practice : - สภาแกนนำแก้ปัญหา สังคมต่างคนต่างอยู่ปัญหาสุขภาพปัญหาเศรษฐกิจของชุมชมได้ โดยใช้การประชุมอย่างมีระบบต่อเนื่อง(แผนชุมชน)

  206. ชื่อ Best Practice : โรงเรียนผึ้ง

    โครงการ : ชุมชนหูยาน บ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เกิดจากการถอดความรู้ในการเลี้ยงผึ่้งและนำมาเรียบเรียงตามขั้นตอน กำหนดเนื่อหา เป็น 20:60:20 คือ 20= แนะนำภาคทฤษฏี: 60= เย่ี่ยมชมภาคปฏิบัติ: 20= แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนา -กำหนดการใช้สื่อนำเสนอตอนสาธิต ประกอบด้วย กล่องหรือหีบผึ้ง,ชุดเก็บนำ้ผึ้ง,ไวนิลนำเสนอ,แผ่นพับ,และอุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้อง -ได้กำหนดวิทยากรประจำศูนย์ 2 ท่าน คือ นางบุญเรือง แสงจันทร์และนายมานพ แสงจันทร์ โดยใช้บ้านที่เลี้ยงผึ้งทั้งหมดในชุมชนเป็นสถานที่ถ่ายทอดควมรู้แก่นทั้งในและนอกชุมชน
    ผลของ Best Practice : เป็นแหล่งเรียนรู้ถ่ายทอดความรู้ในการเลี้ยงผึ้งต่อคนทั้งในและนอกชุมชน

  207. ชื่อ Best Practice : รั้งผึ้งจากไม้ยางพารา

    โครงการ : ซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การค้นหาปราชญ์ชุมชนที่มีความรู้ และประสบการณ์ในการเลี้ยงผึ้ง มาจุดประกายให้ความรู้กับคนในชุมชนในการสร้างอาชีพเสริม สร้างรายได้ให้กับตนเอง มีการใช้ต้นทุน ค่าใช้จ่ายที่ไม่มาก สามารถหาวัสดุที่เหลือใช้จากครัวเรือนมาทำได้ อีกทั้งยังสามารถรักษาระบบนิเวศน์และอนุรักษ์พันธุ์พืช พันธุสัตว์ เพราะผึ้งสามารถสร้างประโยชน์ในด้านของการผสมเกษรดอกไม้ ผลไม้ในช่วงของการออกดอก ทำให้เกิดความสมดุลมากขึ้น
    ผลของ Best Practice : การทำรังผึ้งจากไม้ยางพารา โดยใช้ไม้ยางพารา หรือไม้อื่นๆ ที่เหลือใช้มาดัดแปลงเป็นที่อยู่อาศัยของผึ้ง วางในบริเวณในสวนยางพารา สวนผลไม้ ทำให้เกิดการรักษาสมดุลธรรมชาติ และการนำน้ำผึ้งมาใช้ในชีวิตประจำวันทั้งในทางยาและรับประทาน ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และสามารถสร้างเป็นรายได้เสริมในชุมชน

  208. ชื่อ Best Practice : 1.น้ำหมักจากครัวเรือน

    โครงการ : ดอนโรงสร้างสุข ด้วยวิถีเกษตรพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : นำเศษอาหารจากครัวเรือน ทั้งเศษผัก เศษปลา เศษเนื้อ มาหมักในถังหมัก เมื่อถังหมักเต็มให้ผสมด้วยน้ำตาล ปิดไว้ 1 เดือนจึงนำมาใช้รดผัก จุดเด่นคือ มีทั้งสารโปรตีน แร่ธาตุ เป็นปุ๋ยหมักแบบผสม
    ผลของ Best Practice : 1.ลดการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน 2.เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการ 3.ลดรายจ่าย และนำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 4.ลดขยะในครัวเรือน 5.ลดแหล่งเพาะพันธุ์หนู

  209. ชื่อ Best Practice : ผักเหนาะสมรม

    โครงการ : ดอนโรงสร้างสุข ด้วยวิถีเกษตรพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.กลุ่มเป้าหมายได้ร่วมกันจัดทำและสร้าง ตู้เย็นข้างบ้าน คำว่า “ตู้เย็นข้างบ้าน” ในความหมายคือ รณรงค์ให้ประชาชนบ้านดอนโรง ปลูกผักไว้กินเอง เป็นผักสด ปลูกผักที่กิน กินผักที่ปลูก และปลูกผักหลากหลายชนิด ไม่มีสารเคมีปนเปื้อน กินของสดได้ตลอดเวลา
    ผลของ Best Practice : 1.ได้กินผักสดที่ปลอดสารเคมี 2.มีการปลุกผักไว้กินเองที่บ้าน รอบบ้าน เป็นการออกแรง 3.ได้กินผักหลากหลายชนิด ช่วยต้านมะเร็ง 4.เน้นให้คนบ้านดอนโรงเห็นความสำคัญของการกินผักพื้นบ้าน 5.เป็นการปลูกฝังและชวนเยาวชน เข้าร่วมกิจกรรม

  210. ชื่อ Best Practice : ผักเหนาะสมรม

    โครงการ : ดอนโรงสร้างสุข ด้วยวิถีเกษตรพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.กลุ่มเป้าหมายได้ร่วมกันจัดทำและสร้าง ตู้เย็นข้างบ้าน คำว่า “ตู้เย็นข้างบ้าน” ในความหมายคือ รณรงค์ให้ประชาชนบ้านดอนโรง ปลูกผักไว้กินเอง เป็นผักสด ปลูกผักที่กิน กินผักที่ปลูก และปลูกผักหลากหลายชนิด ไม่มีสารเคมีปนเปื้อน กินของสดได้ตลอดเวลา
    ผลของ Best Practice : 1.ได้กินผักสดที่ปลอดสารเคมี 2.มีการปลุกผักไว้กินเองที่บ้าน รอบบ้าน เป็นการออกแรง 3.ได้กินผักหลากหลายชนิด ช่วยต้านมะเร็ง 4.เน้นให้คนบ้านดอนโรงเห็นความสำคัญของการกินผักพื้นบ้าน 5.เป็นการปลูกฝังและชวนเยาวชน เข้าร่วมกิจกรรม

  211. ชื่อ Best Practice : ครัวเรือนต้นแบบ บ้านนางสมมารถ ทองเอียด

    โครงการ : ดอนโรงสร้างสุข ด้วยวิถีเกษตรพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.เป็นครัวเรือนที่มีการดำเนินชีวิตตามเศรษฐกิจพอเพียง 2.มีการทำน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมักชีวภาพไว้ใช้เอง 3.มีการปลูกผักปลอดสารพิษ 4.มีวิธีการปรับปรุงดิน ปรับสภาพน้ำด้วยตนเอง 5.บริเวณปรับให้เป็นแหล่งเรียนรุในชุมชน 6.เป็นครัวเรือนที่ขยัน อดทน และมีการทำงานตลอดเวลา เป็นคนจริงจัง เสียสละ
    ผลของ Best Practice : 1.เป็นครัวเรือนตันแบบที่มีการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ตลอดเวลา 2.ไม่เป็นหนี้สิน 3.สภาพครอบครัวอบอุ่น น่าอยู่ บุตรทุกคนได้รับการศึกษา 4.เป็นครอบครัวที่อบอุ่น

  212. ชื่อ Best Practice : ป้ายชื่อครัวเรือนต้นแบบ

    โครงการ : ดอนโรงสร้างสุข ด้วยวิถีเกษตรพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.รับสมัครครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม พัฒนาตนเองตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 2.ดำเนินชีวิตโดยการลดต้นทุน ประหยัดค่าใช้จ่าย ได้แก่ 2.1 เศษอาหารจากครัวเรือนที่ย่อยสลายได้ นำมาทำปุ๋ยหมักและนำ้หมักชีวภาพ 2.2 มีการปลูกผักไว้กินเอง ผักปลอดสารพิษ 2.3มีการอนุรักษ์น้ำ อนุรักษ์ดิน 2.4 มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน 2.5 มีการปลูกสมุนไพรและพึ่งตนเองในการรักษาด้านสุขภาพ 2.6มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2.7 ครอบครัวอบอุ่น
    ผลของ Best Practice : 1.มีครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม 130 ครัวเรือน 2.มีการมอบป้ายให้กับครัวเรือนต้นแบบ เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติ 3.ครัวเรือนเหล่านี้เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

  213. ชื่อ Best Practice : กิจกรรมเรียนรู้การทำขนม/จัดหมรับขนมเดือนสิบ

    โครงการ : ดับบ้าน ดับคน กับวิถีชุมชนคนไทรงาม
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : จากความรู้ของผู้รู้ในชุมชนจำนวน 6 คน ถ่ายทอดวิธีการทำ การจัดหมรับขนมเดือนสิบและลงมือทำพร้อมเรียนรู้ร่วมกัน
    ผลของ Best Practice : กลุ่มเด็กและเยาวชน สนุก ตั้งใจ ให้ความร่วมมือในการเรียนรู้และลงมือทำขนม การจัดหมรับขนมเดือนสิบ ที่สำคัญเด็กเยาวชนได้ลงมือทำ ลงมือจัดหมรับขนมเดือนสิบของชุมชนเองทำให้เด็กเยาวชนมีความภูมิใจในการมีส่วนร่วมของกิจกรรมงานของชุมชน

  214. ชื่อ Best Practice : กิจกรรมเรียนรู้ประวัติศาสตร์บ้านไทรงาม

    โครงการ : ดับบ้าน ดับคน กับวิถีชุมชนคนไทรงาม
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ความรู้จากผู้รู้ ผู้เฒ่ามีแก่ในชุมชนจำนวน 3 คน ได้ถ่ายทอดความรู้ ความเป็นมาของหมู่บ้านผ่านวงคุย วงเสวนา การเรียนรู้ร่วมกันของกลุ่มคน 3 วัย
    ผลของ Best Practice : กลุ่มคนในชุมชน เด็กเยาวชน ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของหมู่บ้านบ้านไทรงามเริ่มตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานของครอบครัวดั่งเดิมจากสายสกุลหลักคือ ชูส่งแสง จึงทำให้กลุ่มคน เด็กเยาวชนสนใจอยากเรียนรู้ประวัติศาสตร์หมู่บ้านเพิ่มเติม โดยผ่านการจัดทำผังเครือญาติและแผ่นที่ตั้งของหมู่บ้านต่อไป

  215. ชื่อ Best Practice : ดาวเรืองเชื่อมชุมชน

    โครงการ : ดาวเรืองสร้างสุขคนปากตรัง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การนำดาวเรืองมาเป็นตัวกลางในการเชื่อมคนในชุมชน เชื่อมโรงเรียน เชื่อมภาคีเครือข่าย และสร้างรายได้เสริมให้คนในชุมชน
    ผลของ Best Practice : - คนในชุมชนมีรายได้เสริมเพิ่มขึ้น มีความเข้าใจกันมากขึ้น มีการพูดคุยปรึกษาหารือ รวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อปลูกดาว - เป็นพื้นที่เรียนรู้การปลูกดาวเรือง

  216. ชื่อ Best Practice : ดาวเรืองเชื่อมชุมชน

    โครงการ : ดาวเรืองสร้างสุขคนปากตรัง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การนำดาวเรืองมาเป็นตัวกลางในการเชื่อมคนในชุมชน เชื่อมโรงเรียน เชื่อมภาคีเครือข่าย และสร้างรายได้เสริมให้คนในชุมชน
    ผลของ Best Practice : คนในชุมชนมีรายได้เสริมเพิ่มขึ้น มีความเข้าใจกันมากขึ้น มีการพูดคุยปรึกษาหารือ รวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อปลูกดาว

  217. ชื่อ Best Practice : การจัดการตลาดอย่างมีส่วนร่วม

    โครงการ : ตลาดร่วมใจปากท่าซอง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : นำทุนที่เป็นอาชีพด้านการเกษตร มาพัฒนาภายใต้วิชาการ และปลอดภัยต่อผู้บริโภค แล้วชักชวนคนในชุมชนมาร่วมจัดการให้เป็นตลาดที่ขายพืชผลทางการเกษตรปลอดสารเคมี
    ผลของ Best Practice : มีตลาดถาวรเกิดขึ้นในหมู่บ้าน 1 แห่ง

  218. ชื่อ Best Practice : ตำรับอาหาร(หลสยเมนู)เป็นยาที่้านนาพา

    โครงการ : ตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ใช้วิถีการเกษตร มาปรับความตระหนักของครัวเรือน ให้รวมกลุ่มปลูก พืช ผัก สมุนไพร รับประทานเอง แล้วชักชนกันำเมนูพื้นบานเพือดูแลสุขภาพกันเอง โดยอาศยหลักคิดของภูมิปญญาที่ผ่านมา
    ผลของ Best Practice : เกิดกระแสการปลูกผักข้งบ้าน มาเพิ่มรายได้ใน

  219. ชื่อ Best Practice : เศษทองคำในงานประเพณี

    โครงการ : ตู้เย็นข้างบ้านคลังอาหารในสวนลดโรคอ้วนในชุมชน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ชักชวนเ้จ้าของงาน กลุ่มเป้าหมายในชุมชน เข้าไปช่วยกันจัดการขยะที่เหลือจากงานประเพณี จากเดิมที่เจ้าของงานมองเห็นเป็นปัญหา ชุมชนมองเป็นปัญหา ปัจจุบันกลับกลายเป็นขยะที่มีค่า มีราคา นำมาทำเป็นปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ
    ผลของ Best Practice : ๑.ลดปัญหาขยะในงานที่เกิดขึ้นในชุมชน ๒.ลดแหล่งก่อโรคในชุมชน ๓.สร้างรายได้ ๔ลดความเครียดของเจ้าของงานและชุมชนจากปัญหาขยะเน่าเหม็น ๕.สร้างกระบวนทำให้เกิดความรัก ในชุมน

  220. ชื่อ Best Practice : ...เศษทองคำในงานประเพณี

    โครงการ : ตู้เย็นข้างบ้านคลังอาหารในสวนลดโรคอ้วนในชุมชน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นการนำขยะที่เหลือจากงานประเพณีในชุมชน นำมาทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ลดปัญหาการเกิดขยะและแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคในชุมชน
    ผลของ Best Practice : 1.ลดปัญหาจากกลิ่นของขยะที่เหลือจากงานประเพณี 2.ลดปัญหาแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค 3.สร้างรายได้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย 4.ลดความเครียดของเจ้าของงานและเพื่อนบ้านจากปัญหากลิ่นของขยะที่เหลือ

  221. ชื่อ Best Practice : ...เศษทองคำในงานประเพณี

    โครงการ : ตู้เย็นข้างบ้านคลังอาหารในสวนลดโรคอ้วนในชุมชน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นการนำขยะที่เหลือจากงานประเพณีในชุมชน นำมาทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ลดปัญหาการเกิดขยะและแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคในชุมชน
    ผลของ Best Practice : 1.ลดปัญหาจากกลิ่นของขยะที่เหลือจากงานประเพณี 2.ลดปัญหาแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค 3.สร้างรายได้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย 4.ลดความเครียดของเจ้าของงานและเพื่อนบ้านจากปัญหากลิ่นของขยะที่เหลือ

  222. ชื่อ Best Practice : น้ำหมักสูตรกล้วย

    โครงการ : ตู้เย็นข้างบ้านปลอดสารพิษภัย
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ให้นำต้นกล้วยทุกส่วน มาใช้หมักเป็นน้ำหมักชีวภาพ เพราะผลกล้วยมีความหวาน ทำให้เกิดการหมักอย่างสมบูรณ์
    ผลของ Best Practice : 1.น้ำหมักกล้วย เป็นส่วนเร่งดอกผลให้เจริญเติบโตอย่างเร็ว 2.ลดการใช้สารเคมี 3.ผลผลิตดี

  223. ชื่อ Best Practice : น้ำหมักจากเศษอาหารในครัวเรือน

    โครงการ : ตู้เย็นข้างบ้านปลอดสารพิษภัย
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เศษอาหารที่่ย่อยสลายได้ในครัวเรือน นำไปทิ้งลงถังหมัก เพื่อทำเป็นน้ำหมักชีวภาพ มีทั้งเศษหัวปลา เศษผัก ทำให้ได้เป็นน้ำหมักที่มีสรรพคุณครบถ้วน ทั้งโปรตีนและวิตามิน
    ผลของ Best Practice : 1.ขยะในครัวเรือนลดลง 2.หนู ในครัวลดลง 3.ลดการซื้อปุ๋ยเคมีในการปลูกผัก 4.ลดการนำ้สารเคมีเข้าสู่ร่างกาย

  224. ชื่อ Best Practice : 1.การนำน้ำหมักไปใชักับน้ำยาง

    โครงการ : ตู้เย็นข้างบ้านปลอดสารพิษภัย
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.นำนำ้หมักที่ได้ไปใช้แทนกรดน้ำส้มหรือน้ำส้มฆ่ายาง ทำให้ยางแข็งตัวเร็ว
    ผลของ Best Practice : 1.น้ำหมักชีวภาพนำไปใช้หยอด ในน้ำยาง ทำให้ขี้ยางแข็งตัวเร็วและได้น้ำหนักดี 2.น้ำหมักชีวภาพ ใช้ทาหน้ายางไม่ให้เป็นเชื้อรา ซึ่งเป็นส่วนผสมที่มาจากเปลือกลูกเนียงหมักกับกล้วยน้ำว้าสุก 3.ทำเองได้ในครัวเรือน 4.ลดรายจ่าย 5.ปลอดสารเคมี

  225. ชื่อ Best Practice : 1.การนำน้ำหมักไปใช้กับน้ำยางพารา

    โครงการ : ตู้เย็นข้างบ้านปลอดสารพิษภัย
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.นำน้ำหมักที่ได้ไปใช้แทนกรดน้ำส้มหรือน้ำส้มฆ่ายาง ทำให้ยางแข็งตัวเร็ว
    ผลของ Best Practice : 1.น้ำหมักชีวภาพนำไปใช้หยอด ในน้ำยาง ทำให้ขี้ยางแข็งตัวเร็วและได้น้ำหนักดี 2.น้ำหมักชีวภาพ ใช้ทาหน้ายางไม่ให้เป็นเชื้อรา ซึ่งเป็นส่วนผสมที่มาจากเปลือกลูกเนียงหมักกับกล้วยน้ำว้าสุก 3.ทำเองได้ในครัวเรือน 4.ลดรายจ่าย 5.ปลอดสารเคมี

  226. ชื่อ Best Practice : กลุ่มปลูกผักปลอดภัย

    โครงการ : ตู้เย็นข้างเรินบ้านชายควน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เรียนรู้เรื่องอาหารปลอดภัยและผลกระทบจากสารเคมี และนำมาค้นหาผู้สมัครใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมการผลิตอาหารปลอดภัยด้านการปลูกผักผสมผสาน ได้แก่ผักบุ้ง ผักกาด มะเขือ ถั่วฝักยาวฯ สลับสับเปลี่ยนตามความเหมาะสมกับฤดูกาล
    ผลของ Best Practice : พอกินเหลือขาย ใช้น้ำขี้หมูเป็นปุ๋ย เป็นแบบอย่างให้คนในชุมชน

  227. ชื่อ Best Practice : ...ธนาคารปูไข่

    โครงการ : โตดนุ้ยรักษ์ถิ่น - เล - ป่า
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - ชักชวนชาวประมงที่จับปูเข้าร่วมกลุ่ม - กำหนดกติการการบริจาคแม่ปูไข่เข้าธนาคาร การดูแลบ่ออนุบาล - ร่วมกันทำบ่ออนุบาลปูไข่ - ทำแนวเขตห้ามจับสัตว์น้ำเพื่อให้ปูได้ขยายพันธุ์ - เก็บบันทึกปริมาณปูที่จับได้เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลก่อนหลัง
    ผลของ Best Practice : - มีายได้เพิ่มขึ้นจากการที่จับปูได้มากขึ้น - เกิดการมีส่วนร่วมจากการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ - เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่หน่วยงานประมงจัดให้พื้นที่อื่นมาศึกษาดูงาน

  228. ชื่อ Best Practice : 1.การส่งเสริมปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ และการปลูกพืชแสริมในสวนยางในพื้นที่ต้นน้ำ

    โครงการ : ทบทวนปลดหนี้คนหมู่ 4 บ้านหน้าเขา
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1. ส่งเสริมชุมชนเรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก และใช้ปุ๋ยหมักกับสวนยาง สวนพืชผักผลไม้ ในพื้นที่ต้นน้ำ 2. ส่งเสริมการปลูกบุก กลอย ในสวนยาง สวนผลไม้
    ผลของ Best Practice : 1. ลดต้นทุน ลดการใช้ปุ่ยเคมี 2. เป็นอาชีพเสริมรายได้ นอกจากได้ผลผลิตแล้วจะยังช่วยเป้นพืชคลุมหน้าดินให้ชุ่มชื้น ป้องกันการทำลายหน้าดิน จากแสงแดด และสายฝน

  229. ชื่อ Best Practice : ...การจัดการขยะในห้างสรรพสินค้า

    โครงการ : ทุ่งสงรักษ์สะอาดลดโลกร้อน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ๑. คน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชัดเจนมาก ข้อมูลจากบุคลากรในห้างสหไทย บอกว่า “เมื่อก่อนไม่มีการจัดการขยะ ตอนนี้ทำได้ทุกคน” ๒. สิ่งแวดล้อมในห้างเปลี่ยนไปมาก สะอาด เป็นระเบียบ สัตว์นำโรคลดลง ๓. เกิดนโยบายและกติกาของห้างสหไทย เรื่องการจัดการขยะ ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามจะมีผลต่อการประเมินผลปฏิบัติงาน มีหัวหน้าฝ่าย/หัวหน้างานงานของห้างคอยดูแลใกล้ชิด” ๔. มีการรับซื้อขยะรีไซเคิลในห้างเพิ่มรายได้
    ผลของ Best Practice : เป็นแบบอย่างของห้างสรรพสินค้าในเครือข่าย และพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ได้

  230. ชื่อ Best Practice : ...ศูนย์การค้าจัดการขยะ

    โครงการ : ทุ่งสงรักษ์สะอาดลดโลกร้อน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ๑. คน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชัดเจนมาก ข้อมูลจากบุคลากรในห้างสหไทย บอกว่า “เมื่อก่อนไม่มีการจัดการขยะ ตอนนี้ทำได้ทุกคน” ๒. สิ่งแวดล้อมในห้างเปลี่ยนไปมาก สะอาด เป็นระเบียบ สัตว์นำโรคลดลง ๓. เกิดนโยบายและกติกาของห้างสหไทย เรื่องการจัดการขยะ ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามจะมีผลต่อการประเมินผลปฏิบัติงาน มีหัวหน้าฝ่าย/หัวหน้างานงานของห้างคอยดูแลใกล้ชิด” ๔. มีการรับซื้อขยะรีไซเคิลในห้างเพิ่มรายได้
    ผลของ Best Practice : เป็นแบบอย่างของเครือข่าย พัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายได้

  231. ชื่อ Best Practice : การเพาะเห็ดนางฟ้า

    โครงการ : ทุนชุมชนสร้างรายได้บ้านสวนขัน (ต่อยอดปี 2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.รับสมัครผุู้สนใจเรียนรู้เรื่องการเพาะเห็ดนางฟ้า โดยใช้วัสดุในชุมชน 2.เรียนรู้การเพาะเห็ดตามวิถีภุมิปัญญา
    ผลของ Best Practice : 1.เป็นการสร้างแหล่งอาหารให้กับชุมชน 2.เกิดกระบวนการสอนงานระหว่างครัวเรือน

  232. ชื่อ Best Practice : การเพาะเห็ดนางฟ้า

    โครงการ : ทุนชุมชนสร้างรายได้บ้านสวนขัน (ต่อยอดปี 2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.รับสมัครผุู้สนใจเรียนรู้เรื่องการเพาะเห็ดนางฟ้า โดยใช้วัสดุในชุมชน 2.เรียนรู้การเพาะเห็ดตามวิถีภุมิปัญญา
    ผลของ Best Practice : 1.เป็นการสร้างแหล่งอาหารให้กับชุมชน 2.เกิดกระบวนการสอนงานระหว่างครัวเรือน

  233. ชื่อ Best Practice : การเพาะเห็ดนางฟ้า

    โครงการ : ทุนชุมชนสร้างรายได้บ้านสวนขัน (ต่อยอดปี 2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.รับสมัครผุู้สนใจเรียนรู้เรื่องการเพาะเห็ดนางฟ้า โดยใช้วัสดุในชุมชน 2.เรียนรู้การเพาะเห็ดตามวิถีภุมิปัญญา
    ผลของ Best Practice : 1.เป็นการสร้างแหล่งอาหารให้กับชุมชน 2.เกิดกระบวนการสอนงานระหว่างครัวเรือน

  234. ชื่อ Best Practice : ปุ๋ยหมักชีวภาพ

    โครงการ : ทุนชุมชนสร้างรายได้บ้านสวนขัน (ต่อยอดปี 2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.เป็นการเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ โดยการเอาขยะจากครัวเรือนที่เหลือใช้และย่อยสลายได้ มาทำเป็นปุ๋ยหมัก 2.เป็นการผลิตเองในครัวเรือน และใช้เอง
    ผลของ Best Practice : 1.ลดขยะในครัวเรือน 2.เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารโดยการนำปุ๋ยชีวภาพไปใช้ปลูกผัก เป็นผักปลอดสารพิษ

  235. ชื่อ Best Practice : ปุ๋ยหมักชีวภาพ

    โครงการ : ทุนชุมชนสร้างรายได้บ้านสวนขัน (ต่อยอดปี 2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.เป็นการเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ โดยการเอาขยะจากครัวเรือนที่เหลือใช้และย่อยสลายได้ มาทำเป็นปุ๋ยหมัก 2.เป็นการผลิตเองในครัวเรือน และใช้เอง
    ผลของ Best Practice : 1.ลดขยะในครัวเรือน 2.เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารโดยการนำปุ๋ยชีวภาพไปใช้ปลูกผัก เป็นผักปลอดสารพิษ

  236. ชื่อ Best Practice : ปุ๋ยหมักชีวภาพ

    โครงการ : ทุนชุมชนสร้างรายได้บ้านสวนขัน (ต่อยอดปี 2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.เป็นการเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ โดยการเอาขยะจากครัวเรือนที่เหลือใช้และย่อยสลายได้ มาทำเป็นปุ๋ยหมัก 2.เป็นการผลิตเองในครัวเรือน และใช้เอง
    ผลของ Best Practice : 1.เป็นการเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ โดยการเอาขยะจากครัวเรือนที่เหลือใช้และย่อยสลายได้ มาทำเป็นปุ๋ยหมัก 2.เป็นการผลิตเองในครัวเรือน และใช้เอง

  237. ชื่อ Best Practice : แหล่งเรียนรู้เกษตรชีวภาพ

    โครงการ : ทุนชุมชนสร้างรายได้บ้านสวนขัน (ต่อยอดปี 2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นการจัดทำแหล่งเรียนในชุมชน โดยการทำเกษตรชีวภาพแบบผสมผสาน มีการปลูกผัก เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา และนำส่วนที่เหลือเช่น ขี้ไก่ ขี้วัว ส่วนที่เหลือจากเศษวัสดุธรรมชาติ นำมาทำเป็นปุ๋ยชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ
    ผลของ Best Practice : 1.ทำให้เกิดแหล่งเรียนรู้2.ลดรายจ่ายด้านเกษตร 3.ลดสารเคมี

  238. ชื่อ Best Practice : แหล่งเรียนรู้เกษตรชีวภาพ

    โครงการ : ทุนชุมชนสร้างรายได้บ้านสวนขัน (ต่อยอดปี 2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นการจัดทำแหล่งเรียนในชุมชน โดยการทำเกษตรชีวภาพแบบผสมผสาน มีการปลูกผัก เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา และนำส่วนที่เหลือเช่น ขี้ไก่ ขี้วัว ส่วนที่เหลือจากเศษวัสดุธรรมชาติ นำมาทำเป็นปุ๋ยชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ
    ผลของ Best Practice : 1.ทำให้เกิดแหล่งเรียนรู้2.ลดรายจ่ายด้านเกษตร 3.ลดสารเคมี

  239. ชื่อ Best Practice : การจัดการความขัดแย้ง

    โครงการ : นาควารีคนสุขภาพดีชุมชนสีเขียว
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : มีคนกลางคือพี่เลี้ยงโครงการให้แกนนำในชุมชนหันหน้าปรึกษากันโดยใช้กลวิธี โทโส โดยให้ทุกคนระบายและพูดความรู้สึกโดยไม่กล่าวโทษใคร และผู้จัดกระบวนการใช้เทคนิคสุนทรียสนทนาในการดำเนินการ
    ผลของ Best Practice : ถือว่าแก้ปัญหาขัดแย้งในกลุ่มด้วยความเข้าใจผิด และอคติ ระหว่างกันได้ ซึ่งเกิดในช่วงแรกที่บางคนมองว่าเป็นผลประโยชนื ความไม่โปร่งใสในการใช้งบประมาณ หลังจากใช้กระบวนการจัดการความขัดแย้งและให้ทุกคนจับมือกันในวันที่ 10 ตุลาคม พบว่า กลุ่มแกนนำกลมเกลียวช่วยเหลือกัน และร่วมกันขับเคลื่อน และเกิดความพร้อมในทีมสูงมาก

  240. ชื่อ Best Practice : การพัฒนาหลักสูตรพัฒนาชีวิตพิชิตหนี้

    โครงการ : นำศาสตร์พระราชา สร้างสุขสู่บ้านบางไทร
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : พ่อบ้าน แม่บ้าน ครู และเด็ก รวมตัวกันเรียนรู้หลักสูตรแผนชีวิตพิชิตหนี้อย่างเป็นรูปแบบ และต่อเนื่องตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง สอดคล้องกับการนำศษสตรพระราชามาน้อมนำแก้ปัญหาชุมชนเรื่องเศรษฐกิจ
    ผลของ Best Practice : คนมีความรู้และมีแนวคิดที่ถูกต้องในการจัดการตนเองสอดคล้องกับการนำศษสตรพระราชามาน้อมนำแก้ปัญหาชุมชนเรื่องเศรษฐกิจ

  241. ชื่อ Best Practice : การจัดการความรู้การทำผลิตภัณฑ์ใช้เองในครัวเรือน

    โครงการ : นำศาสตร์พระราชา สร้างสุขสู่บ้านบางไทร
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : กลุ่มที่เรียนรู้การทำผลิตภัณฑ์น้ำดื่มสมุนไพร ทำน้ำหมักชีวภาพ ได้มีการทดลองใช้วัสดุแตกต่างกันในแต่ละครั้งเพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น และถ่ายผลผลที่เกิดขึ้น กรรมวิธีการทำ เทคนิคในการทำแก่คนในหมู่บ้านที่สนใจ
    ผลของ Best Practice : ทำแผ่นพับและแนะนำถ่ายผลผลที่เกิดขึ้น กรรมวิธีการทำ เทคนิคในการทำแก่คนในหมู่บ้านที่สนใจ

  242. ชื่อ Best Practice : โครงการครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์

    โครงการ : บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่ (ต่อเนื่อง)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : กำหนดให้วันอาทิตย์เป็นวันครอบครัวในตำบลนาท่อม โดยการรวมเด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ นักปั่นจักรยานในวันอาทิตย์ อย่างต่อเนื่อง 2 ปีกว่าและร่วมกันสื่อสารรณรงค์ ในกิจกรรม สืบชะตาคลองนาท่อม ดูแลสิ่งแวดล้อมตำบลนาท่อมทั้งระบบ 4 กิจกรรม เก็บขยะ ปลูกไม้ ปล่อยปลา ขยายผล กิจกรรม โดยใช้เด็กและจักรยานเป็นสื่อสารประชาสัมพันธ์รณรงค์
    ผลของ Best Practice : จิตสำนึกสาธารณะของชุมชนมีมากขึ้น ขยะในที่สาธารณะลดลง ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นในการรณรงค์

  243. ชื่อ Best Practice : กระบวนการสร้างจิตสำนึกเด็กและเยาวชน

    โครงการ : บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่ (ต่อเนื่อง)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การใช้กิจกรรมเด็กเป็นสื่อ ในหลายกิจกรรม คิดโดยเด็ก ทำโดยเด็ก ทำกิจกรรมรณรงค์สร้างจิตสำนึกเรื่องสิ่งแวดล้อม
    ผลของ Best Practice : 1. เกิดป้ายรณรงค์ เขตอภัยทานขยะ ทั้ง 8 หมู่บ้าน 2. ครอบครัวจักรยานปั่นรณรงค์เรียนรู้ชุมชน บำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ เช่นเก็บขยะ ปลูกไม้ ปล่อยปลา 3. สภาเด็กและเยาวชน ทำหนังสือเล่มเล็ก เด็กเล่าเรื่องชุมชน, พื้นที่ 3D, แผ่นที่เดินดิน, ละครหุ่นเงาเล่าเรื่องสิ่งแวดล้อม,ค้นหาพื้นที่ดี พื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชน

  244. ชื่อ Best Practice : กระบวนการสร้างจิตสำนึกเด็กและเยาวชน

    โครงการ : บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่ (ต่อเนื่อง)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การใช้กิจกรรมเด็กเป็นสื่อ ในหลายกิจกรรม คิดโดยเด็ก ทำโดยเด็ก ทำกิจกรรมรณรงค์สร้างจิตสำนึกเรื่องสิ่งแวดล้อม
    ผลของ Best Practice : 1. เกิดป้ายรณรงค์ เขตอภัยทานขยะ ทั้ง 8 หมู่บ้าน 2. ครอบครัวจักรยานปั่นรณรงค์เรียนรู้ชุมชน บำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ เช่นเก็บขยะ ปลูกไม้ ปล่อยปลา 3. สภาเด็กและเยาวชน ทำหนังสือเล่มเล็ก เด็กเล่าเรื่องชุมชน, พื้นที่ 3D, แผ่นที่เดินดิน, ละครหุ่นเงาเล่าเรื่องสิ่งแวดล้อม,ค้นหาพื้นที่ดี พื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชน

  245. ชื่อ Best Practice : บ่อกุ้งร้างสร้างสุข

    โครงการ : บ่อกุ้งร้างสร้างสุขบ้านหนองนกไข่
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ปรับพื้นที่บ่อกุ้งรกร้างเป็นพื้นที่เลี้ยงปลา ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์
    ผลของ Best Practice : เป็นแบบอย่างการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

  246. ชื่อ Best Practice : นัดประชุมหัวค่ำ

    โครงการ : บ่อร้างสร้างคุณค่า เลี้ยงปลากะชังเสริม ปลูกผักเพิ่ม เติมรายได้ให้ชาวเกาะพุด
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : นำอุปสรรคและข้อจำกัดของผู้ร่วมกิจกรรมมาเป็นกุศโลบายลดข้ออ้าง เนื่องจากการจัดประชุมในกลางวัน มีข้ออ้างมากเช่น ยุ่ง ทำงาน ไปนา ตัดหญ้า เอาวัวไปเดิน เอาวัวเข้าคอก รับลูกโรงเรียน ไปหาหมอ เป็นต้น ผู้ใหญ่บ้านและแกนนำจึงนัดหัวค่ำมาร่วมประชุมหลังเลิกงาน อาบน้ำ มานั่งปรึกษากัน ประมาณ 2 ชม. ง่วงพอดีก็กลับไปนอน
    ผลของ Best Practice : ทีมพร้อม มาประชุมครบ หมดข้ออ้าง ตามตัวง่าย

  247. ชื่อ Best Practice : ประชุมยามค่ำ พบปะกันในไร่

    โครงการ : บ่อร้างสร้างคุณค่า เลี้ยงปลากะชังเสริม ปลูกผักเพิ่ม เติมรายได้ให้ชาวเกาะพุด
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เนื่องจากวิถีชีวิเกษตรกรอยู่แต่ในไร่นา ทำให้มีเวลากลางวันน้อย ไม่สะดวก จึงรวนกันเอาเวลาหลังขึ้นโคก หรือเลิกงาน มาพบปะปรึกษากัน
    ผลของ Best Practice : การพบปะกันโดยมีสมาชิกพร้อมเพรียงได้ปรึกษาต่อเนื่องมีผลดีทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจ และปรองดองกัน ส่วนกลางวัน คนที่ไร่นาติดๆกันก้ได้ชวนกันปรึกษาการจัดการในกระบวนการทำน้ำหมัก การแก้ปัญหาการเลี้ยงปลากะชังช่วงน้ำแล้ง

  248. ชื่อ Best Practice : การนำหอยเชอรี่ทำน้ำหมัก

    โครงการ : บ่อร้างสร้างคุณค่า เลี้ยงปลากะชังเสริม ปลูกผักเพิ่ม เติมรายได้ให้ชาวเกาะพุด
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การสังเกต กาทำซ้ำๆ ของสมาชิกในกลุ่มและนำมาปรับปรุง
    ผลของ Best Practice : จากการพูดคุยกันชาวบ้านค้นพบวิธีการจับหอยเชอรีโดยไม่ต้องลงลุยน้ำโดยการเอา ทางมะพร้าวแห้งเป็นตัวล่อให้หอยเชอรี่มาเกาะที่ทางมะพร้าวโดยใช้ทางมะพร้าวไปแช่ไว้ในน้ำ 1 คีนช่วงกลางคืนจะมีหอยเชอรี่มาเกาะเป็นจำนวนมาก แต่มีพี่ตึ่งบอกว่าของพี่ตึ่งใช้ต้นมะละกอ หรือทางมะละกอเป็นตัวล่อหอยเชอรี่ให้มาเกาะ ส่วนการเลี้ยงปลาในกระชังของกำนันประสิทธฺ์ คงเคล้า นั้นได้รับผลเป็นที่น่าพอใจ เพราะบ่อเลี้ยงปลาในกระชังของท่านน้ำไม่แห้ง เมื่อตอนที่พ่อของท่านเสียชีวิตได้นำปลาในกระชังมาทอดเลี้ยงแขก ส่วนผักที่ปลูกนั้นส่วนใหญ่จะแลกกันกิน แบ่งกันไป และยังได้นำไปช่วยในงานศพของคุณพ่อของกำนันประสิทธิ์ คงเคล้าอีกด้วย ส่วนปลาที่ตายบางคนนำไปใส่ผสมทำน้ำหมักชีวภาพ

  249. ชื่อ Best Practice : 1.สวนสมุนไพรชุมชน

    โครงการ : บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร(ต่อยอด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.มีการรวมกลุ่มเพื่อนำสมุนไพรจากครัวเรือน มาปลูกในสถานที่สาธารณะ เพื่อทำเป็นสวนสมุนไพรชุมชน 2.มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลสมุนไพรจากชุมชน 3.เป็นการอนุรักษ์สมุนไพรในชุมชน 4.มีการสอนให้เยาวชนมาร่วมดู รักษาสมุนไพร
    ผลของ Best Practice : 1.เกิดการรวมกลุ่มกันของคนสามวัยในการดูแลสมุนไพรชุมชน 2.เกิดกระบวนการอนุรักษ์หวงแหนสมุนไพร 3.มีการแบ่งหน้าที่ในการดูแลสุมไพร 4.ส่งเสริมให้เกิดความรัก สามัคคี

  250. ชื่อ Best Practice : 2.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยสมุนไพร

    โครงการ : บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร(ต่อยอด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.มีการนำสมุนไพรที่มีอยุู่่ในชุมชน มาใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มที่สำรวจพฤติกรรมสุขภาพพบว่าตนเองมีความเสี่ยง ดังนี้ 1.1 ดื่มน้ำสมุนไพรลดอ้วน ได้แก่ การดื่มน้ำมะนาวกับน้ำผึ้งรวง และนำ้อุ่น ทุกวัน เพื่อลดน้ำหนัก 1.2 การล้างสารพิษในร่างกาย โดยการดื่มน้ำใบย่านาง 1.3 การปรับสมดุลร่างกาย โดยการดื่มน้ำคลอโรฟิลล์ และดื่มน้ำกระชาย 2.กรณีที่มีอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ เคล้็ดขัดยอก เข็ดเมื่อย ให้ทำการประคบด้วยลูกสมุนไพรชุมชน 3.กรณีที่ปวดเมื่อย เป็นภูมิแพ้ ปรับสมดุลร่างกาย ให้อบสมุนไพร
    ผลของ Best Practice : 1.เป็นการดูแลรักษาตัวเอง โดยไม่ต้องใช้ยาเคมี 2.ลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ 3.เป็นการปรับสมดุลร่างกายด้วยภูมิปัญญา 4.สร้างคุณค่าให้เกิดกับสมุนไพร

  251. ชื่อ Best Practice : 1.สวนสมุนไพรชุมชน

    โครงการ : บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร(ต่อยอด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.มีการรวมกลุ่มเพื่อนำสมุนไพรจากครัวเรือน มาปลูกในสถานที่สาธารณะ เพื่อทำเป็นสวนสมุนไพรชุมชน 2.มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลสมุนไพรจากชุมชน 3.เป็นการอนุรักษ์สมุนไพรในชุมชน 4.มีการสอนให้เยาวชนมาร่วมดู รักษาสมุนไพร
    ผลของ Best Practice : 1.เกิดการรวมกลุ่มกันของคนสามวัยในการดูแลสมุนไพรชุมชน 2.เกิดกระบวนการอนุรักษ์หวงแหนสมุนไพร 3.มีการแบ่งหน้าที่ในการดูแลสุมไพร 4.ส่งเสริมให้เกิดความรัก สามัคคี

  252. ชื่อ Best Practice : 2.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยสมุนไพร

    โครงการ : บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร(ต่อยอด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.มีการนำสมุนไพรที่มีอยุู่่ในชุมชน มาใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มที่สำรวจพฤติกรรมสุขภาพพบว่าตนเองมีความเสี่ยง ดังนี้ 1.1 ดื่มน้ำสมุนไพรลดอ้วน ได้แก่ การดื่มน้ำมะนาวกับน้ำผึ้งรวง และนำ้อุ่น ทุกวัน เพื่อลดน้ำหนัก 1.2 การล้างสารพิษในร่างกาย โดยการดื่มน้ำใบย่านาง 1.3 การปรับสมดุลร่างกาย โดยการดื่มน้ำคลอโรฟิลล์ และดื่มน้ำกระชาย 2.กรณีที่มีอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ เคล้็ดขัดยอก เข็ดเมื่อย ให้ทำการประคบด้วยลูกสมุนไพรชุมชน 3.กรณีที่ปวดเมื่อย เป็นภูมิแพ้ ปรับสมดุลร่างกาย ให้อบสมุนไพร
    ผลของ Best Practice : 1.เป็นการดูแลรักษาตัวเอง โดยไม่ต้องใช้ยาเคมี 2.ลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ 3.เป็นการปรับสมดุลร่างกายด้วยภูมิปัญญา 4.สร้างคุณค่าให้เกิดกับสมุนไพร

  253. ชื่อ Best Practice : 1.สวนสมุนไพรชุมชน

    โครงการ : บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร(ต่อยอด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.มีการรวมกลุ่มเพื่อนำสมุนไพรจากครัวเรือน มาปลูกในสถานที่สาธารณะ เพื่อทำเป็นสวนสมุนไพรชุมชน 2.มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลสมุนไพรจากชุมชน 3.เป็นการอนุรักษ์สมุนไพรในชุมชน 4.มีการสอนให้เยาวชนมาร่วมดู รักษาสมุนไพร
    ผลของ Best Practice : 1.เกิดการรวมกลุ่มกันของคนสามวัยในการดูแลสมุนไพรชุมชน 2.เกิดกระบวนการอนุรักษ์หวงแหนสมุนไพร 3.มีการแบ่งหน้าที่ในการดูแลสุมไพร 4.ส่งเสริมให้เกิดความรัก สามัคคี

  254. ชื่อ Best Practice : 2.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยสมุนไพ

    โครงการ : บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร(ต่อยอด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.มีการนำสมุนไพรที่มีอยุู่่ในชุมชน มาใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มที่สำรวจพฤติกรรมสุขภาพพบว่าตนเองมีความเสี่ยง ดังนี้ 1.1 ดื่มน้ำสมุนไพรลดอ้วน ได้แก่ การดื่มน้ำมะนาวกับน้ำผึ้งรวง และนำ้อุ่น ทุกวัน เพื่อลดน้ำหนัก 1.2 การล้างสารพิษในร่างกาย โดยการดื่มน้ำใบย่านาง 1.3 การปรับสมดุลร่างกาย โดยการดื่มน้ำคลอโรฟิลล์ และดื่มน้ำกระชาย 2.กรณีที่มีอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ เคล้็ดขัดยอก เข็ดเมื่อย ให้ทำการประคบด้วยลูกสมุนไพรชุมชน 3.กรณีที่ปวดเมื่อย เป็นภูมิแพ้ ปรับสมดุลร่างกาย ให้อบสมุนไพร
    ผลของ Best Practice : 1.เป็นการดูแลรักษาตัวเอง โดยไม่ต้องใช้ยาเคมี 2.ลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ 3.เป็นการปรับสมดุลร่างกายด้วยภูมิปัญญา 4.สร้างคุณค่าให้เกิดกับสมุนไพร

  255. ชื่อ Best Practice : น้ำยาเอนกประสงค์

    โครงการ : บ้านควนหนองหงส์เรียนรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.รับสมัครผู้ที่สนใจแบบสมัครใจ อบรมให้ความรู้ในการใช้นำ้ยาเอนกประสงค์ 2.ให้อบรมเชิงปฏิบัติการเป็นกลุ่ม และทดลองฝึกทำน้ำยาเอนกประสงค์ แล้วให้กลับไปทำต่อที่บ้าน
    ผลของ Best Practice : 1.ลดการใช้สารเคมี 2.ลดต้นุทนครัวเรือน

  256. ชื่อ Best Practice : สมุนไพรชุมชน

    โครงการ : บ้านควนหนองหงส์เรียนรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.มีการรับสมัครทีมที่จะทำการสำรวจสมุนไพรในชุมชน 2.สำรวจสมุนไพรที่มีอยู่ข้างบ้าน และในสวนยาง พร้อมทังเรียนประโยชน์ของสมุนไพร 3.นำมารวบรวมเป็นข้อมุูลหมู่บ้าน
    ผลของ Best Practice : 1.ทำให้ทราบถึงสมุนไพรที่อยู่ในหมู่บ้าน และเรียนรุ้สรรพคุณ 2.มีการนำสมุนไพรมาใช้ในการดูแลตนเอง

  257. ชื่อ Best Practice : การมีส่วนร่วม ลงหุ้น

    โครงการ : บ้านควนหนองหงส์เรียนรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ในการทำน้ำยา จะมีการรวมหุ้นเพื่อซื้อสารตั้งต้น ในการทำน้ำยาเอนกประสงค์ ชุดละ 192 บาท ชุด 3 คน เฉลี่ย คนละ 70 บาท
    ผลของ Best Practice : ได้นำยาประมาณ 1 แกลลอน ใช้ได้ประมาณ 3 เดือน เฉลี่ยเดือนละ 25 บาทขึ้นกับปริมาณและจำนวนคนที่อาศัยอยู่ในบ้าน 1.รุ้จักการทำงานเป็นทีม 2.รู้จักแบ่งปัน 3.ใครมีอะไร ก็นำมาแบ่งกันกิน แบ่งกันใช้ 4.ทำเสร็จแล้ว ทุกคนเก็บสถานที่ ไม่มีบ้านใครบ้านมัน 5.ตอนนี้มีหมู่บ้านอื่นเข้ามาร่วมกิจกรรมด้วย

  258. ชื่อ Best Practice : น้ำยาเอนกประสงค์

    โครงการ : บ้านควนหนองหงส์เรียนรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.รับสมัครผู้ที่สนใจแบบสมัครใจ อบรมให้ความรู้ในการใช้นำ้ยาเอนกประสงค์ 2.ให้อบรมเชิงปฏิบัติการเป็นกลุ่ม และทดลองฝึกทำน้ำยาเอนกประสงค์ แล้วให้กลับไปทำต่อที่บ้าน
    ผลของ Best Practice : 1.ลดการใช้สารเคมี 2.ลดต้นุทนครัวเรือน

  259. ชื่อ Best Practice : การมีส่วนร่วม ลงหุ้น

    โครงการ : บ้านควนหนองหงส์เรียนรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ในการทำน้ำยา จะมีการรวมหุ้นเพื่อซื้อสารตั้งต้น ในการทำน้ำยาเอนกประสงค์ ชุดละ 192 บาท ชุด 3 คน เฉลี่ย คนละ 70 บาท
    ผลของ Best Practice : ได้นำยาประมาณ 1 แกลลอน ใช้ได้ประมาณ 3 เดือน เฉลี่ยเดือนละ 25 บาทขึ้นกับปริมาณและจำนวนคนที่อาศัยอยู่ในบ้าน 1.รุ้จักการทำงานเป็นทีม 2.รู้จักแบ่งปัน 3.ใครมีอะไร ก็นำมาแบ่งกันกิน แบ่งกันใช้ 4.ทำเสร็จแล้ว ทุกคนเก็บสถานที่ ไม่มีบ้านใครบ้านมัน 5.ตอนนี้มีหมู่บ้านอื่นเข้ามาร่วมกิจกรรมด้วย

  260. ชื่อ Best Practice : เด็กแหลงหอ

    โครงการ : บ้านโคกไม้ไผ่ รู้จด รู้ใช้ สุขได้ด้วยพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : อบรมสร้างการเรียนรู้การสร้างความเข้าใจการสื่อสาร ต่างๆ เน้นเรื่องการเรียนรู้การสื่อสารผ่านวิทยุ คลื่นกระจายเสียง เรียนรู้เทคนิคการจัดรายการวิทยุ ไหวพริบ การส่ง การรับข้อมูลผ่านการจำลองจัดรายการวิทยุ โดยจับคู่เพื่อจัดรายการวิทยุ ฝึกการสรุปเนื้อข่าวเพื่อเป็นสคิปในการนำเสนอข่าวผ่านการจัดรายการวิทยุ หรือการสื่อสารข้อมูลข่าวสารช่องทางอื่นๆ อย่างเข้าใจและครบถ้วน เรียนรู้การจัดรายการ ห้องจัดรายการ เครื่องมือในการการส่งสัญญาณวิทยุ แก่เด็กแลเยาวชนในหมู่บ้าน
    ผลของ Best Practice : เด็กและเยาวชนสามารถจัดรายการผ่านหอกระจายข่าวของหมู่บ้าน เผยแพร่ข้อมูลความเคลื่อนไหวของการดำเนินงานตามโครงการแก่คนในชุมชน

  261. ชื่อ Best Practice : แก็สชีวมวลลดขยะเพิ่มรายได้

    โครงการ : บ้านโคกเหล็กพอเพียงหลีกเลียงสารเคมี (ต่อยอด )
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : นางศศิวรรณ จันทร์สอน ได้เรียนรู้การทำแก็สชีวมวล แล้วได้นำมาพัฒนาด้วยตัวเอง จนเป็นแก็สชีวมวลที่เหมาะสมกับบ้านตนเอง ไม่ต้องซื้อวัตถุดิบ ลดค่าใช้จ่าย จากการใช้ปัญญาของตนเอง
    ผลของ Best Practice : เป็นแบบอย่างให้เพื่อนบ้านและผู้สนใจนำไปปฏิบัติและพัฒนาต่อเนื่อง

  262. ชื่อ Best Practice : การทำปุ๋ยคอกจากก้อนเห็ด

    โครงการ : บ้านดอนจิกพัฒนาเพื่อส่งเสริมอาชีพ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ก้อน เห็ดจำนวนมากจะกลายเป็นขยะ นำระบบการจัดการขยะมาเป็นปุยในการทำแปลงผัก
    ผลของ Best Practice : การสามัคคี การร่วมคิดร่วมทำ ร่วมประโยชน์

  263. ชื่อ Best Practice : ฐานข้อมูลชุมชน

    โครงการ : บ้านดอนมะปราง มีชีวิตปลอดภัยด้วยเกษตรอินทรีย์
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.คณะทำงานได้ร่วมกันคิดแบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลชุมชน มี 2 ชุด คือ ชุดแรกเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของชุมชน ชุดที่ 2 เกี่ยวกับการใช้สารเคมีและการดำรงชีพของชุมชน 2.มีการแบ่งกันทำงานเป็นทีม แต่ละทีมประกอบด้วยวันทำงานและเยาวชน เก็บข้อมูลทุกครัวเรือน 3.มีการนำข้อมูลมาสรุปและนั่งพูดคุย และนำเสนอเป็นภาพรวมของหมู่บ้าน
    ผลของ Best Practice : 1.มีฐานขอ้มูลของชุมชน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการนำข้อมูลไปใช้วางแผนในการปรับวิถีการดำรงชีวิตและวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน

  264. ชื่อ Best Practice : บัญชีครัวเรือน

    โครงการ : บ้านดอนมะปราง มีชีวิตปลอดภัยด้วยเกษตรอินทรีย์
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.คณะทำงานได้ประชุมกันและหารูปแบบการทำบํัญชีครัวเรือน 2.แบ่งการทำงานเป็นทีม เพื่อสอนแนะในการทำบัญชีครัวเรือน 3.ครัวเรือนใดที่ได้ทำบัญชีครัวเรือนมาก่อน เปิดโอกาสให้ทำแบบเดิม 4.มีการนั่งคุยสรุปถึงรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย และแนวทางการลดราจ่าย
    ผลของ Best Practice : 1.การทำบัญชีครัวเรือนทำให้ครัวเรือนได้รับทราบสถานะการดำรงชีพของตนเอง 2.ทำให้รับทราบรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย 3.มีการวางแผนการลดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย เช่น การปลูกผักกินเอง การทำน้ำหมักใช้เอง การลดละเครื่องปรุงรส

  265. ชื่อ Best Practice : นำ้ส้มควันไม้

    โครงการ : บ้านดอนมะปราง มีชีวิตปลอดภัยด้วยเกษตรอินทรีย์
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.เป็นผลพลอยได้ที่เกิดจากการเผาถ่าน ทำให้ได้น้ำส้มควันไม้ 2.น้ำส้มควันไม้ มีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ปราบศัตรูพืช ลดการใช้เคมีภัณฑ์
    ผลของ Best Practice : 1.น้ำส้มควันไม้ ลดการใช้สารเคมี เพราะนำไปใช้ในการกำจัดศัตรูพืช 2.น้ำส้มควันไม้ ราคาถูกมาก ทำให้ประหยัดรายจ่าย 3.น้ำส้มควันไม้สามารถนำไปรักษาโรคผิวหนังได้

  266. ชื่อ Best Practice : ฐานข้อมูลชุมชน

    โครงการ : บ้านดอนมะปราง มีชีวิตปลอดภัยด้วยเกษตรอินทรีย์
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.คณะทำงานได้ร่วมกันคิดแบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลชุมชน มี 2 ชุด คือ ชุดแรกเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของชุมชน ชุดที่ 2 เกี่ยวกับการใช้สารเคมีและการดำรงชีพของชุมชน 2.มีการแบ่งกันทำงานเป็นทีม แต่ละทีมประกอบด้วยวันทำงานและเยาวชน เก็บข้อมูลทุกครัวเรือน 3.มีการนำข้อมูลมาสรุปและนั่งพูดคุย และนำเสนอเป็นภาพรวมของหมู่บ้าน
    ผลของ Best Practice : 1.มีฐานขอ้มูลของชุมชน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการนำข้อมูลไปใช้วางแผนในการปรับวิถีการดำรงชีวิตและวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน

  267. ชื่อ Best Practice : บัญชีครัวเรือน

    โครงการ : บ้านดอนมะปราง มีชีวิตปลอดภัยด้วยเกษตรอินทรีย์
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.คณะทำงานได้ประชุมกันและหารูปแบบการทำบํัญชีครัวเรือน 2.แบ่งการทำงานเป็นทีม เพื่อสอนแนะในการทำบัญชีครัวเรือน 3.ครัวเรือนใดที่ได้ทำบัญชีครัวเรือนมาก่อน เปิดโอกาสให้ทำแบบเดิม 4.มีการนั่งคุยสรุปถึงรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย และแนวทางการลดราจ่าย
    ผลของ Best Practice : 1.การทำบัญชีครัวเรือนทำให้ครัวเรือนได้รับทราบสถานะการดำรงชีพของตนเอง 2.ทำให้รับทราบรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย 3.มีการวางแผนการลดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย เช่น การปลูกผักกินเอง การทำน้ำหมักใช้เอง การลดละเครื่องปรุงรส

  268. ชื่อ Best Practice : นำ้ส้มควันไม้

    โครงการ : บ้านดอนมะปราง มีชีวิตปลอดภัยด้วยเกษตรอินทรีย์
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.เป็นผลพลอยได้ที่เกิดจากการเผาถ่าน ทำให้ได้น้ำส้มควันไม้ 2.น้ำส้มควันไม้ มีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ปราบศัตรูพืช ลดการใช้เคมีภัณฑ์
    ผลของ Best Practice : 1.น้ำส้มควันไม้ ลดการใช้สารเคมี เพราะนำไปใช้ในการกำจัดศัตรูพืช 2.น้ำส้มควันไม้ ราคาถูกมาก ทำให้ประหยัดรายจ่าย 3.น้ำส้มควันไม้สามารถนำไปรักษาโรคผิวหนังได้

  269. ชื่อ Best Practice : สามพลังเขยื้อนคนดอนรักษ์

    โครงการ : บ้านดอนรักษ์ร่วมใจสร้างความปลอดภัยในชุมชน ปี2
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การรวมตัวเรื่องดนตรีพื้นบ้าน(กลองยาว) ที่กลุ่มเด็กนักเรียน ผู้ปกครอง ผู้สูงอายุ รวมตัวกันซ้อมกลองยาว เสียงของกลองยาวที่ตีเป็นจังหวะร้าวเป็นการเรียกคนดนตรีที่อยู่ที่บ้านให้ขยับเข้ามาหา ไม่ได้ตีแต่ขอให้ได้รำหน้ากลองยาว เป็นภาพที่หลายคนอยากเห็นอยากให้เกิดขึ้นบ่อยๆ
    ผลของ Best Practice : กลองยาวคนดอนรักษ์เป็นที่รู้จักในวงกว้าง จ้างดนตรี แถมนางรำ ที่ไม่มีค่าตัว ใครๆก็อยากได้ ดังนั้น ดนตรีคณะนี้ไม่ค่อยมีคิวว่าง มีคนจองตลอด

  270. ชื่อ Best Practice : สามพลังเขยื้อนคนดอนรักษ์

    โครงการ : บ้านดอนรักษ์ร่วมใจสร้างความปลอดภัยในชุมชน ปี2
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การรวมตัวเรื่องดนตรีพื้นบ้าน(กลองยาว) ที่กลุ่มเด็กนักเรียน ผู้ปกครอง ผู้สูงอายุ รวมตัวกันซ้อมกลองยาว เสียงของกลองยาวที่ตีเป็นจังหวะร้าวเป็นการเรียกคนดนตรีที่อยู่ที่บ้านให้ขยับเข้ามาหา ไม่ได้ตีแต่ขอให้ได้รำหน้ากลองยาว เป็นภาพที่หลายคนอยากเห็นอยากให้เกิดขึ้นบ่อยๆ
    ผลของ Best Practice : กลองยาวคนดอนรักษ์เป็นที่รู้จักในวงกว้าง จ้างดนตรี แถมนางรำ ที่ไม่มีค่าตัว ใครๆก็อยากได้ ดังนั้น ดนตรีคณะนี้ไม่ค่อยมีคิวว่าง มีคนจองตลอด

  271. ชื่อ Best Practice : ครัวตัวอย่างหลีกเลี่ยงสารเคมี

    โครงการ : บ้านต้นกระท้อนหลีกเลี่ยงสารเคมีด้วยครัวตัวอย่าง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : คนในชุมชนร่วมกันเรียนรู้โดยปราชญ์ในชุมชน ใช้ภูมิปัญญาของท้องถิ่นใช้ทรัพยากรที่มีในชุมชน ร่วมทำปุ๋ยชีวภาพ ปลูกผักปลอดสารพิษ มีผู้นำในหมู่บ้านเห็นความสำคัญ นำมาทำต่อมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
    ผลของ Best Practice : สร้างครัวตัวอย่างของชุมชนการลดการใช้สารเคมีเพื่อขยายไปยังครัวเรือนอื่นในชุมชน

  272. ชื่อ Best Practice : แปลงผักกลาง

    โครงการ : บ้านท่าแห้งปลอดโรค ปลดหนี้ ด้วยวิถีพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เกิดการรวมตัวของครัวเรือนในการทำแปลงผักของส่วนกลางของชุมชน โดยใช้ที่ดินริมคลองซึ่งเป็นที่ที่ดินไม่มีเจ้าของ เกิดจากการขยายของตลิ่งจากการทับถมของดินที่ผ่านมา นำมาทำการปลูกผัก พืชต่าง ๆ ที่เป็นอาหารของชุมชน โดยความร่วมมือของชุมชน
    ผลของ Best Practice : ชุมชน ครัวเรือน มีแหล่งอาหารในชุมชนที่ดูแลโดยชุมชนเอง และมีการบริหารจัดการกันเอง โดยการสนับสนุนของคณะกรรมการหมู่บ้านหรือคณะกรรมการสภาชุมชน

  273. ชื่อ Best Practice : การทำปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพ

    โครงการ : บ้านทุ่งคาเรียนรู้บัญชีวิถีพ่อ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่าวัสดุบางอย่างไม่ควรนำมาเป็นส่วนประกอบหรือเป็นส่วนผสมในการทำทั้งน้ำหมักและปุ๋ยหมัก โดยจะส่งผลเสีย ทั้งทางด้านเวลาในการย่อยสลายที่นานขึ้น หรืออาจจะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้ไม่ได้ผลเท่าที่ควร เช่นขุยมะพร้าว หรือเศษไม้ผุบางชนิด หรือเศษเหลือที่ทำจากยางหรือพลาสติกหรือถุงหิ้วหรือกระดาษมันเป็นต้น
    ผลของ Best Practice : 1.เป็นการอนุรักษ์ บำรุงดิน 2.ลดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องใช้สารเคมี 3.เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเกิดองค์ความรู้ในการทำปุ๋ยชีวภาพ 4. ก่อให้เกิดความสามัคคีในกลุ่มต่อเนื่องไปในอนาคต ในการช่วยเหลือเกื้อกูล และพึ่งดาอาศัยกันในด้านต่าง ๆ ไม่ใช่เฉพาะเรื่องการทำบัญชีหรือการทำปุ๋ยหมัก/น้ำหมัก เท่านั้น

  274. ชื่อ Best Practice : วิสาหกิจชุมชนสู่ครัวเรือนต้นแบบ

    โครงการ : บ้านนาปริก สุขภาวะดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน ตามแนวทางวิถีพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : มีสาธิตการทำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า ซึ่งเป็นความตั้งใจของประชาชนในพื้นที่อยู่แล้ว เพื่อที่จะได้นำความรู้ไปใช้ในทำจริงไม่ว่าในครัวเรือนหรือการรวมกลุ่มก็ตาม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและยั่งยืน โดยทุกคนได้ให้ความร่วมมือลงมือปฏิบัติจริง ตั้งแต่การผสมอัตราส่วนตั้งแต่ รำ ขี้เลื่อย การอัด การใส่เชื้อ การเรียงก้อนเห็ด การนึ่ง และได้ให้ความรู้ต่อจนถึงวิธีการพักเชื้อ นำไปให้เชื้อเห็ดเดินเต็มที่ จนครบกระบวนการถึงการออกดอก ซึ่งทุกคนได้ให้ความสนใจซึ่งส่วนหนึ่งจากการทำจะมอบให้เป็นผลผลิตของกลุ่ม ส่วนหนึ่งให้ชาวบ้านได้นำกลับไปดูแลเองที่บ้าน
    ผลของ Best Practice : เพิ่มรายได้และส่งเสริมแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

  275. ชื่อ Best Practice : เมนูชูสุขภาพ

    โครงการ : บ้านนาปริก สุขภาวะดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน ตามแนวทางวิถีพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : มีการแบ่งโซนการคัดเลือกพืชผัก สมุนไพรในเขต มาทำเป็นเมนูชูสุขภาพโดยมีการนำสุมนไพรและสิ่งต่างๆปรึกษาปราชญ์ผู้รู้ในชุมชน จำนวน 6 เมนู คือ ประเภทยำสมุนไพร ต้มปลา นำ้พริกผักลวก แกงเลียง น้ำสมุนไพร มีการบรรยายสรรพคุณเพิ่อให้ชุมชนรับทราบ
    ผลของ Best Practice : จัดทำคู่มือชุมชน และทำเป็นเมนูงานเลี้ยงชุมชน

  276. ชื่อ Best Practice : 90 วัน คนนาปริก สลัดมัน ลดพุง ตามวิถีพอเพียง

    โครงการ : บ้านนาปริก สุขภาวะดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน ตามแนวทางวิถีพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : มีการรวมกลุ่มสมาชิกกลุ่มเสี่ยง และมีการจัดทำข้อตกลงพันธะสัญญาในการลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพ ในหลักการ 90 วัน คนนาปริก สลัดมัน ลดพุง ตามวิถีพอเพียง โดยมีตัวแทนแต่ละกลุ่มเป็นผู้เซ็นสัญญาร่วมกับท่านนายกอบต.ควนโดน คุณธิดาเหมือนพะวงศ์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข(รพ.สต.ควนโดน) นายหยัน โต๊ะประดู่ ผู้ใหญ่บ้าน นายก็หลัด บินหมาน ประธานรับผิดชอบโครงการ และนายเจ๊ะอิสมาแอน ปะดุกา ผู้นำศาสนา และมีผู้ร่วมกิจกรรมทั้งหมดแนบท้ายรายชื่อในการลงนาม
    ผลของ Best Practice : การสร้างแรงจูงใจ คนต้นแบบและถอดบทเรียนเพื่อจัดทำคู่มือหรือสื่อชุมชน

  277. ชื่อ Best Practice : ปรับการดำเนินชีวิต ให้สามารถมีชีวิตได้อย่างมีความสุข

    โครงการ : บ้านบางคุระพอเพียงหลีกเลี่ยงสารเคมี
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1. ให้คนในครัวเรือนช่วยกันลดรายจ่าย 2. ให้คนในครัวเรือนช่วยกันลดละเลิก อบายมุข โดยเฉพาะ บุหรี่และเหล้า 3. ช่วยกับปรับเปลี่ยนสภาพสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านให้สะอาด 4. ช่วยกันปลูกผักที่ใช้ในการปรุ่งอาหารสำหรับครัวเรือนตนเอง และไม่ใช้สารเคมี 5. มีปัญหาอะไร ร่วมกันพูดคุยกันเพราะหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน
    ผลของ Best Practice : 1. ครัวเรือนช่วยกันลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น การพนันครัวเรือนมีรายจ่ายลดลง 2. สมาชิกในครัวเรือนสามารถลดละ อบายมุข โดยเฉพาะ บุหรี่และเหล้า 3. สภาพสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านให้สะอาด 4. ครัวเรือนมีผักที่ใช้ในการปรุ่งอาหารสำหรับครัวเรือนตนเอง และไม่ใช้สารเคมี 5. มีปัญหาอะไร ร่วมกันพูดคุยกันเพราะหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน

  278. ชื่อ Best Practice : แกนนำกลุ่ม สร้างสรรค์กลุ่ม

    โครงการ : บ้านบางสระ สาน 6 อ. สู่หมู่บ้านจัดการสุขภาพองค์รวม(ต่อยอด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : มีการจัดประชุมกลุ่มทางสุขภาพโดยแยกกลุ่มในลักษณะเน้นโครงสร้างแบบไม่เป็นทางการ เช่น ความสนิท การเล่นกีฬาด้วยกัน และการมีโรคประจำตัวและปัญหาสุขภาพคล้ายคลึงกัน เข้ากลุ่มกัน คน 1 คน สามารถเข้าร่วมกลุ่มได้ ตามความพอใจ
    ผลของ Best Practice : กลุ่มที่เกิดขึ้น มีลักษณะสอดคล้องกับกิจกรรมทั่วไปที่บ้าน ในด้านการดูแลสุขภาพ การทำกิจกรรมตามแผนโครงการ และข้อจำกัดด้านการออกกำลังกาย เวลา และอื่นๆ โดยเกิดดลุ่ม อย่างน้อย 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเด้กและวัยรุ่น รวมตัวกันเล่นกีฬาแบตมินตัน 2.กลุ่มเต้นแอโรบิก เป็นกลุ่มแม่บ้าน และวัยผู้ใหญ่ 3. กลุ่มรำไม้พลอง เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 4. กลุ่มเล่นตะกร้อ เป็นกลุ่มผู้ชาย เป็นต้น ซึ่งแต่ละกลุ่มสร้างหัวหน้ากลุ่มประสานงานเรื่อการจัดกิจกรรมกลุ่ และการประเมินผลกิจกรรมและประเมินผลสุขภาพของกลุ่ม ร่วมกับ กรรมการโครงการ และมีการบริหารจัดการค่าใช้สอยแต่ละกลุ่มอย่างเหมาะสม

  279. ชื่อ Best Practice : วิธีการเรียนรู้แลกไข่หลบเริน

    โครงการ : บ้านบางสระ สาน 6 อ. สู่หมู่บ้านจัดการสุขภาพองค์รวม(ต่อยอด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ผู้รับผิดชอบโครงการใช้ไข่มาเป็นกุศโลบายในการดึงคนมาร่วมกิจกรรมให้ครบตามเวลา โดยเจียดค่าอาหารกลางวันบางส่วนมาสนับสนุนแลกไข่กลับบ้านได้ โดยการไม่แจกหรือไม่แลกไข่ทุกครั้ง ทำให้เเกิดการคาดเดาไม่ได้ และคนมาร่วมกิจกรรมครบทุกครั้ง
    ผลของ Best Practice : คนมาร่วมกิจกรรมครบ

  280. ชื่อ Best Practice : บ้านปลาบ้านปูปลดหนี้

    โครงการ : บ้านปลาบ้านปูฟื้นฟูป่าชายเลนลดหนี้นอกระบบบ้านหน้าทับ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ชาวบ้านมีปัญญาเรื่องการอนุรักษ์สัตว์น้ำแบบธรรมชาติ เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ้น มีผู้นำในหมู่บ้านเห็นความสำคัญ นำมาทำต่อ ปรึกษาปราชญ์ชาวบ้าน มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
    ผลของ Best Practice : การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไว้ให้ลูกหลานได้ทำมาหากิน ได้เรียนรู้ และพัฒนาอาชีพได้อย่งยั่งยืน

  281. ชื่อ Best Practice : บ้านปลาบ้านปูปลดหนี้

    โครงการ : บ้านปลาบ้านปูฟื้นฟูป่าชายเลนลดหนี้นอกระบบบ้านหน้าทับ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ชาวบ้านมีปัญญาเรื่องการอนุรักษ์สัตว์น้ำแบบธรรมชาติ เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น มีผู้นำในหมู่บ้านเห็นความสำคัญ นำมาทำต่อ ปรึกษาปราชญ์ชาวบ้าน มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
    ผลของ Best Practice : การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไว้ให้ลูกหลานได้ทำมาหากิน ได้เรียนรู้ และพัฒนาอาชีพได้อย่างยั่งยืน

  282. ชื่อ Best Practice : กติกาชุมชน

    โครงการ : บ้านป่าไหม้ร่วมใจนำป่าสาคูสร้างสุข
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : สภาผู้นำและผู้ที่เลี้ยงด้วงและชาวบ้านในชุมชน
    ผลของ Best Practice : ร่วมกันตั้งกฏกติกาในการร่วมกันดูแลรักษาป่าสาคู

  283. ชื่อ Best Practice : แหล่งศึกษาดูงาน

    โครงการ : บ้านป่าไหม้ร่วมใจนำป่าสาคูสร้างสุข
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ที่บ้านของผู้รับผิดชอบโครงการอุทิศที่ให้สร้างศุนย์เรียนรู้
    ผลของ Best Practice : หน่วยงานราชการเช่นพัฒนาชุมชนนำชาวบ้านที่มีความสนใจมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสถาบันการศึกษา ตลอดจนสื่อมวลชนมาถ่ายทำสารคดี เช่นจากช่อง 3 รายการ เกษตรโลก-เกษตรเรา โดยผุ้ดำเนินรายการ คุณคำรณ หว่างหวังศรี และช่อง NBT นครศรีธรรมราช และสถามีวิทยุคลื่น FM มาสัมภาษณ์ออกอากาศเพื่อเป็นตัวอย่าง

  284. ชื่อ Best Practice : ...วิธีการขับเคลื่อนให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

    โครงการ : บ้านเปี๊ยะหัวเนินน่าอยู่สะอาดตาปลอดภัยปลอดโรค
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ตัวผู้นำหมู่บ้านมีความมุ่งมั่น โดยเริ่มจากการแบ่งหมู่บ้านเป็นกลุ่มบ้าน กลุ่มบ้านละ 20 ครัวเรือนบ้าง 30กว่าครัวเรือนบ้าง โดยดูจากละแวกบ้านที่ใกล้เคียงจัดไว้ในกลุ่มบ้านเดียวกัน แล้วหาผู้นำกลุ่มบ้านที่มีจิตอาสาที่จะทำงานด้วยใจมาเป็นแนวร่วม ขยายแนวคิดให้ผู้นำกลุ่มบ้าน ให้ผู้นำกลุ่มบ้านไปขับเคลื่อนต่อในสมาชิกกลุ่มบ้านตนเอง จากนั้นก็ให้สมาชิกในกลุ่มบ้าน ไปขับเคลื่อนต่อในครัวเรือนตนเอง สุดท้ายผลสัมฤทธิ์ก็ออกมา คนในชุมชนช่วยกันทำงานแบบมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน ตั้งแต่ร่วมคิดร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์ ร่วมรับผิดชอบ
    ผลของ Best Practice : กิจกรรมการจัดการขยะสามารถดำเนินการได้ประสบผลสำเร็จ คนในชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงร่วมกันรับผิดชอบที่จะพัฒนาชุมชนของตนเองให้สามารถพึงตนเองได้

  285. ชื่อ Best Practice : มีการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ

    โครงการ : บ้านโปนปลอดสารพิษด้วยวิถีชีวิตพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1. การประสานงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในชุมชน เช่น รพ.สต. 2. การประสานงานร่วมกับภาคีเครือข่ายภายนอกชุมชน ได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียง องค์การบริหารส่วนตำบล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 3. ผู้ประสานงานในชุมชนต้องมีบทบาทในชุมชน และต้องเป็นที่เคารพนับถือ หรือยอมรับของคนในชุมชน
    ผลของ Best Practice : ได้ทำงานร่วมกันกับเครือข่ายต่างๆ ทำให้คนในชุมชนมองเห็นปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหามากขึ้น นอกจากนี้การทำงานร่วมกันทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีทั้งคนภายในชุมชนเองและภายนอกชุมชน

  286. ชื่อ Best Practice : กลองยาวหมู่บ้าน

    โครงการ : บ้านมะนังเข้มแข็งด้วยเศรษฐกิจพอเพียงที่ยั่งยืน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การซ้อมกลองยาวเพื่อไปร่วมกิจกรรมในหมู่บ้าน บ่อยๆและส่งเข้าประกวดได้รับรางวัลของอำเภอทำให้เกิดความภาคภูมิใจและเกิดเป็นกลุ่มที่ยั่งยืน
    ผลของ Best Practice : นำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆของหมู่บ้าน ได้รับเชิญจากหมู่บ้านอื่นๆและใช้ต้อนรับแขกที่มาเยือน

  287. ชื่อ Best Practice : บ้านตัวอย่างการปลูกสมุนไพร

    โครงการ : บ้านไม้มูกปลอดกลิ่นเหม็นจากมูลสัตว์ด้วยสมุนไพร
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : คนในชุมชนร่วมกันปลูกสมุนไพรที่เป็นพืชพันธ์ที่มีในชุมชนตามละแวกบ้านพื้นที่ว่างของตนเองเพื่อเป็นแหล่งความรู้ของชุมชน
    ผลของ Best Practice : บ้านตัวอย่างการปลูกสมุนไพรเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในชุมชน

  288. ชื่อ Best Practice : การสำรวจชุมชน

    โครงการ : บ้านไร่ทอน อนุรักษ์คลังปัญญา นำพาเศรษฐกิจพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ใช้แบบสำรวจข้อมูลชุมชนที่ได้จาก สสส.สำนัก 3มาสำรวจข้อมูล200ครัวเรือน โดยใช้เยาวชนและจิตอาสา 50คนในการเก็บข้อมูล
    ผลของ Best Practice : - ได้ข้อมูลสำหรับเป็นฐานในการจัดทำแผนชุมชน - เกิดการจัดการตนเองด้านข้อมูล เรียนรู้การแก้ปัญหาที่เริ่มจากการสำรวขข้อมูลจริง เพื่อทราบสถานการณ์​ขนาด/ปัญหา

  289. ชื่อ Best Practice : การขยายผลโดยวิธีการจับคู่คนเก่าและคนใหม่

    โครงการ : บ้านไร่ทอน อนุรักษ์คลังปัญญา นำพาเศรษฐกิจพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การขยายผลงานอาชีพ โดยให้กลุ่มเดิมจับคู่กับคนใหม่ที่สนใจ เพื่อถ่ายทอดและเป็นพี่เลี้ยงในการทำงานอาชีพ ได้แก่ การทำเกษตรผสมผสาน และการเลี้ยงแพะ
    ผลของ Best Practice : ทำให้เกิดการขยายผลแบบหนึ่งเท่าตัว เพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือนในชุมชนที่ไม่เคยมีรายได้ด้านนี้มาก่อน ได้แก่ กลุ่มแพะ 30ครัวเรือน กลุ่มเกษตรผสมผสาน20ครัวเรือน

  290. ชื่อ Best Practice : การประชาสัมพันธ์โครงการสู่OTOP

    โครงการ : บ้านศาลาบางปู พัฒนาศูนย์เรียนรู้อาชีพเพาะเห็ดสู่สวัสดิการชุมชน ( ต่อยอด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เทศบาลเมืองตำบลปากพูนได้จัดกิจกรรมรวบรวมOTOP ในชุมชนทั้งหมด เพื่อการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์และหาตลาดแก่กลุ่มอาชีพในชุมชนตำบลปากพูน ซึ่งโครงการศศศฬของชุมชนศาลาบางปูได้เข้าร่วมกิจกรรม นำผลิตภัณฑ์มาโชว์และจำหน่าย
    ผลของ Best Practice : กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการมีความภาคภูมิใจในผลผลผลิตของชุมชนโดยเริ่มมาจากครอบครัว และได้รับการตอบรับที่ดีจากหน่วยงานต่างๆและชุมชนใกล้เคียง ได้ตลาดรองรับ

  291. ชื่อ Best Practice : การนำก้อนเห็ดเก่ามาใช้ซ้ำ

    โครงการ : บ้านศาลาบางปู พัฒนาศูนย์เรียนรู้อาชีพเพาะเห็ดสู่สวัสดิการชุมชน ( ต่อยอด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : โดยการเอาก้อนเห็ดที่ไม่ใช้แล้ว มานึ่งใหม่ แล้วนำไปเพาะได้เห็ดฮังการี
    ผลของ Best Practice : ลดอัตราการทิ้งก้อนเห็ดเก่าและเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับก้อนเห้ดเก่ามีประโยชน์

  292. ชื่อ Best Practice : เห็ดรักษาโรค

    โครงการ : บ้านศาลาบางปู พัฒนาศูนย์เรียนรู้อาชีพเพาะเห็ดสู่สวัสดิการชุมชน ( ต่อยอด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : โดยการนำเห็ดทั้ง 3 ชนิด คือ เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดแครง มาต้มรวมกันกินครั้งละ 3 เวลา ประมาณ 1 เดือน
    ผลของ Best Practice : ช่วยลดความดันโลหิตและใขมันในเส้นเลือดให้ลดลงได้ จากการทดลองกินของนาง เอริสา สกุลวิโรจน์

  293. ชื่อ Best Practice : สภาผู้นำชุมชน

    โครงการ : บ้านสวนเทศน่าอยู่ สู่สุขภาวะ ด้วยสองมือเรา
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - มีกรรมการสภาที่มาจากกลุ่มต่างๆของชุมชนทุกกลุ่ม - หากหย่อมบ้านใดไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆ ก็ให้ส่งตัวแทนมาเป็นสมาชิกสภาฯด้วยเพื่อนการสื่อสารและร่วมตัดสินใจ - ประชุมเป็นประจำเดือนละครั้ง - มีการนำผลการประชุมแจ้งในวัด และมัสยิด
    ผลของ Best Practice : - การสื่อสารในหมู่บ้านมีประสิทธิภาพ เกิดความเป็นธรรมขึ้นในบางเรื่อง เช่น การแจกพันธุ์ไม้ สัตว์ - เป็นตัวอย่างให้หมู่บ้านอื่น

  294. ชื่อ Best Practice : ...สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างไทยพุทธ-มุสลิม

    โครงการ : บ้านสวนเทศน่าอยู่ สู่สุขภาวะ ด้วยสองมือเรา
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - จัดตั้งสภาผู้นำชุมชน - ให้การจัดการชยะเป็นตัวเดินเรื่อง - ใช้วัดเป็นสถานที่ในการทำกิจกรรม - ทำกิจกรรมต่างร่วมกันระหว่างไทยพุทธ-มุสลิมอย่างสม่ำเสมอ
    ผลของ Best Practice : - เกิดความสามัคคี มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ ของหมู่บ้าน

  295. ชื่อ Best Practice : เกิดกลุ่มผัก

    โครงการ : บ้านสหกรณ์ เรียนรู้วิธีลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : รวบรวมผัก ไปส่งที่ตลาดชุมชน ไปยังอำเภอทุ่งสง จันดี นคร หัวอิฐและไปยังกระบี่
    ผลของ Best Practice : ทำให้อาชีพต่อเนื่องมีรายได้ลดรายจ่าย ตอนนี้เซ็นทรัล มาดูแปลงแล้ว เพื่อมารับผักไปขาย

  296. ชื่อ Best Practice : เกิดกลุ่มผัก

    โครงการ : บ้านสหกรณ์ เรียนรู้วิธีลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : รวบรวมผัก ไปส่งที่ตลาดชุมชน ไปยังอำเภอทุ่งสง จันดี นคร หัวอิฐและไปยังกระบี่
    ผลของ Best Practice : ทำให้อาชีพต่อเนื่องมีรายได้ลดรายจ่าย ตอนนี้เซ็นทรัล มาดูแปลงแล้ว เพื่อมารับผักไปขาย

  297. ชื่อ Best Practice : 1.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ลดหนี้

    โครงการ : บ้านสหกรณ์ เรียนรู้วิธีลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.จัดกิจกรรมโดยทุกคนเข้่าร่วมสมัครใจ โดยมีการสวดมนต์ไหว้ก่อนทำกิจกรรม 2.เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น และความรู้สึกได้ ทุกครั้ง 3.ให้ทุกคนเล่าประสบการณ์ของตนเอง ในการก่อสภาพหนี้ วิธีการลดหนี้ เพื่อเป็นแนวทางและกำลังใจระหว่างกัน
    ผลของ Best Practice : 1.เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการทำงานร่วมกัน

  298. ชื่อ Best Practice : 1.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ลดหนี้

    โครงการ : บ้านสหกรณ์ เรียนรู้วิธีลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.จัดกิจกรรมโดยทุกคนเข้่าร่วมสมัครใจ โดยมีการสวดมนต์ไหว้ก่อนทำกิจกรรม 2.เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น และความรู้สึกได้ ทุกครั้ง 3.ให้ทุกคนเล่าประสบการณ์ของตนเอง ในการก่อสภาพหนี้ วิธีการลดหนี้ เพื่อเป็นแนวทางและกำลังใจระหว่างกัน
    ผลของ Best Practice : 1.เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการทำงานร่วมกัน

  299. ชื่อ Best Practice : 1.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ลดหนี้

    โครงการ : บ้านสหกรณ์ เรียนรู้วิธีลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.จัดกิจกรรมโดยทุกคนเข้่าร่วมสมัครใจ โดยมีการสวดมนต์ไหว้ก่อนทำกิจกรรม 2.เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น และความรู้สึกได้ ทุกครั้ง 3.ให้ทุกคนเล่าประสบการณ์ของตนเอง ในการก่อสภาพหนี้ วิธีการลดหนี้ เพื่อเป็นแนวทางและกำลังใจระหว่างกัน
    ผลของ Best Practice : 1.เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการทำงานร่วมกัน

  300. ชื่อ Best Practice : เกิดวง “คนกล้าพูด กล้าทำ”

    โครงการ : บ้านสหกรณ์ เรียนรู้วิธีลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : มีการตั้งวงคุย และค้นหาคน แบบเปิดใจ ทำให้คนที่ไม่กล้า เดินเข้ามาพูดคุย มีวงให้พูดทุกคนมีการโต้ตอบมีการเสนอความคิดเห็น
    ผลของ Best Practice : ทุกวันนี้ทุกคนต้องคุย เดิมมาคุย ประชุมคนเดียว ตอนนี้มาประชุมทั้งสามี ภรรยา เมื่อคนจับไม คุยคนเดียว ตอนนี้ได้คุยทั้งหมด

  301. ชื่อ Best Practice : สวนผักริมขอบสระ

    โครงการ : บ้านสหกรณ์ เรียนรู้วิธีลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เลี้ยงปลาแบบผสม มีปลาหลายชนิด ปลาดุก นิล ปลาดี ปลาขาว กุ้งขาว หอยขม ปลาแก้มช้ำ ปลาบ้า ปลานวลจันทร์
    ผลของ Best Practice : 1.มีการใช้พื้นที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์ 2.สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน 3.ลดปัญหาพื้นที่เสี่ยงซึ่งเดิมเยาวชนใช้เป็นแหล่งมั่วสุม

  302. ชื่อ Best Practice : เกิดวง “คนกล้าพูด กล้าทำ”

    โครงการ : บ้านสหกรณ์ เรียนรู้วิธีลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : มีการตั้งวงคุย และค้นหาคน แบบเปิดใจ ทำให้คนที่ไม่กล้า เดินเข้ามาพูดคุย มีวงให้พูดทุกคนมีการโต้ตอบมีการเสนอความคิดเห็น
    ผลของ Best Practice : ทุกวันนี้ทุกคนต้องคุย เดิมมาคุย ประชุมคนเดียว ตอนนี้มาประชุมทั้งสามี ภรรยา เมื่อคนจับไม คุยคนเดียว ตอนนี้ได้คุยทั้งหมด

  303. ชื่อ Best Practice : สวนผักริมขอบสระ

    โครงการ : บ้านสหกรณ์ เรียนรู้วิธีลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เลี้ยงปลาแบบผสม มีปลาหลายชนิด ปลาดุก นิล ปลาดี ปลาขาว กุ้งขาว หอยขม ปลาแก้มช้ำ ปลาบ้า ปลานวลจันทร์
    ผลของ Best Practice : 1.มีการใช้พื้นที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์ 2.สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน 3.ลดปัญหาพื้นที่เสี่ยงซึ่งเดิมเยาวชนใช้เป็นแหล่งมั่วสุม

  304. ชื่อ Best Practice : เกษตรอินทรีย์ พลิกฟื้นชีวิตอยู่ดี มีสุข

    โครงการ : บ้านไสโคกเกาะ ร่วมใจลดภัยสารเคมีในชุมชน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1. ให้ความรู้และทักษะในการใช้สารเคมีและการป้องการตนเองจากสารเคมี 2. สร้างความตระหนักและจิตสำนึกให้คนในชุมชนเกี่ยวกับโทษพิษภัยจากสารเคมีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ 3. สร้างความรักความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชนจากการให้ทำกิจกรรมในชุมชนร่วมกันบ่อยๆ 4. ใช้สารอินทร์และชีวภาพในการทำการเกษตร 5. จัดกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6. จัดระเบียบและสร้างกติกาชุมชน 7. จัดตั้งกลุ่มในชุมชนเช่นกลุ่มทำเกษตรอินทรีย์
    ผลของ Best Practice : 1. คนในชุมชนลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยการหันมาใช้สมุนไพรกำจัดศัตรูพืชแทน 2. คนในชุมชนมีสุขภาพดีไม่มีสารเคมีตกค้างในเลือดที่จะนำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรัง 3. คนในชุมชนปรับเปลี่ยนวิถีการใช้จ่ายโดยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและหารายได้เสริม เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือน 4. คนในชุมชนดำรงชีวิตโดยใช้แนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง 5. คนในชุมชนมีความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

  305. ชื่อ Best Practice : การเรียนรู้ภูมิปัญญา

    โครงการ : บ้านห้วยแหยง สืบสานภูมิปัญญา
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.กำนันได้เปิดโอกาสให้กลุ่มเยาวชนเป้าหมาย เข้าเรียนรู้ภูมิปัญญา โดยกำหนดให้ทุกคนต้องเรียนรู้ครบทั้ง 5 ฐาน 2.ข้อกำหนดของการเรียนรู้ เยาวชน 1 คน ต้องนผู้ปกครอง 1 คน เพื่อนมาอีก 1 คน เพื่อร่วมเรียนรู้ร่วมกัน 3.การเรียนรู้ภูมิปัญญามวยไทย เป็นการเรียนรู้กระบวนท่ามวยไทย การออกกำลังกาย และศิลปะการป้องกันตัวและให้เยาวชนได้รับการฝึกทักษะ เป็นเวลา 6 ครั้ง และไปฝึกการออกกำลังกายท่ามวยไทยต่อที่บ้าน ซึ่งมีปราชญ์ชุมชนคือนายสุชาติ ศิริชุมและนายประเสริฐ บัวกิ่ง เป็นครูผู้ฝึกสอน 4.เรียนรู้เรื่องการตัดผม โกนผม โกนหนวด โดยเรียนรู้เทคนิคการตัดผม การใช้กรรไกร การใช้บัดตาเลี่ยน การตัดผมโกนผม เพื่อเสริมบุคลิกภาพ และ การโกนหนวด รวมทั้งสอนการพัฒนาบุคลิกภาพจำนวน 3 ครั้ง และนำกิจกรรมเหล่านี้ไปช่วยเหลือหรือพัฒนาบุคลิกภาพที่บ้านหรือเพื่อนบ้าน โดยมีปราชญ์ชุมชนคือนายสุทัศน์ปานจีน และนายเผยอเกลี้ยงจันทร์ เป็นครูผู้ฝึกสอน
    ผลของ Best Practice : 1.เยาวชนได้เห็นคุณค่าภุมิปัญญา 2.เป็นการสร้างความตระหนักและยอมรับในส่ิงที่ดีงาม

  306. ชื่อ Best Practice : การเรียนรู้ภูมิปัญญา

    โครงการ : บ้านห้วยแหยง สืบสานภูมิปัญญา
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.กำนันได้เปิดโอกาสให้กลุ่มเยาวชนเป้าหมาย เข้าเรียนรู้ภูมิปัญญา โดยกำหนดให้ทุกคนต้องเรียนรู้ครบทั้ง 5 ฐาน 2.ข้อกำหนดของการเรียนรู้ เยาวชน 1 คน ต้องนผู้ปกครอง 1 คน เพื่อนมาอีก 1 คน เพื่อร่วมเรียนรู้ร่วมกัน 3.การเรียนรู้ภูมิปัญญามวยไทย เป็นการเรียนรู้กระบวนท่ามวยไทย การออกกำลังกาย และศิลปะการป้องกันตัวและให้เยาวชนได้รับการฝึกทักษะ เป็นเวลา 6 ครั้ง และไปฝึกการออกกำลังกายท่ามวยไทยต่อที่บ้าน ซึ่งมีปราชญ์ชุมชนคือนายสุชาติ ศิริชุมและนายประเสริฐ บัวกิ่ง เป็นครูผู้ฝึกสอน 4.เรียนรู้เรื่องการตัดผม โกนผม โกนหนวด โดยเรียนรู้เทคนิคการตัดผม การใช้กรรไกร การใช้บัดตาเลี่ยน การตัดผมโกนผม เพื่อเสริมบุคลิกภาพ และ การโกนหนวด รวมทั้งสอนการพัฒนาบุคลิกภาพจำนวน 3 ครั้ง และนำกิจกรรมเหล่านี้ไปช่วยเหลือหรือพัฒนาบุคลิกภาพที่บ้านหรือเพื่อนบ้าน โดยมีปราชญ์ชุมชนคือนายสุทัศน์ปานจีน และนายเผยอเกลี้ยงจันทร์ เป็นครูผู้ฝึกสอน
    ผลของ Best Practice : 1.เยาวชนได้เห็นคุณค่าภุมิปัญญา 2.เป็นการสร้างความตระหนักและยอมรับในส่ิงที่ดีงาม

  307. ชื่อ Best Practice : กลุ่มกิจกรรม กลายเป็นกลุ่มอาชีพ

    โครงการ : บ้านห้วยแหยง สืบสานภูมิปัญญา
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.รวมตัวกันจัดทำกิจกรรม โดยความสมัครใจ 2.ส่งเสริมการเลี้ยงปลาดุก และนำปลาดุกมาทำเป็นปล้ารา มีการแปรรูปปลาร้า 3.ส่งเสริมการแปรรูปปลาเป็นอาชีพเสริมของครัวเรือน ได้แก่ ปลาร้า เคยปลา 4.สอนโดยปราชญ์ในชุมชน
    ผลของ Best Practice : 1.ทำให้เกิดกระบวนการมีส่่วนร่วม 2.ทำให้เกิดอาชีพในชุมชน

  308. ชื่อ Best Practice : การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

    โครงการ : บ้านห้วยแหยง สืบสานภูมิปัญญา
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.ออกกำลังกายเพิ่มขึ้นมีการออกกำลังกายจากเดิมไม่ถึงร้อยละ 30 ตอนนี้ เกือบทุกครัวเรือน ประมาณร้อยละ 60 (มี 270 ครัว) 2.ตอนนี้ทุกครัวเรือน ได้บริโภคผักที่ปลูกเองในครัวเรือนในชุมชน ปลูกแต่ละบ้าน เป็นพืชสมุนไพร ไม่น้อยกว่า 10 ชนิดต่อครัว บางชนิดปลูกครบทุกอย่างที่ใช้ 3.ในหมู่บ้านมีการรณรงค์บุหรี่และเหล้าตอนนี้ทุกครัวเรือน ลด บุหรี่และดื่มสุราทุกครัวเรือน
    ผลของ Best Practice : 1.ลดรายจ่ายในการซื้อผักในครัวเรือน 2.ประชาชนได้รู้จักออกกำลังกายสร้างสุขภาพ 3.หลายครัวเรือนมีการลด ละเลิก บุหรี่และเหล้า

  309. ชื่อ Best Practice : การเรียนรู้ภูมิปัญญา

    โครงการ : บ้านห้วยแหยง สืบสานภูมิปัญญา
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.กำนันได้เปิดโอกาสให้กลุ่มเยาวชนเป้าหมาย เข้าเรียนรู้ภูมิปัญญา โดยกำหนดให้ทุกคนต้องเรียนรู้ครบทั้ง 5 ฐาน 2.ข้อกำหนดของการเรียนรู้ เยาวชน 1 คน ต้องนผู้ปกครอง 1 คน เพื่อนมาอีก 1 คน เพื่อร่วมเรียนรู้ร่วมกัน 3.การเรียนรู้ภูมิปัญญามวยไทย เป็นการเรียนรู้กระบวนท่ามวยไทย การออกกำลังกาย และศิลปะการป้องกันตัวและให้เยาวชนได้รับการฝึกทักษะ เป็นเวลา 6 ครั้ง และไปฝึกการออกกำลังกายท่ามวยไทยต่อที่บ้าน ซึ่งมีปราชญ์ชุมชนคือนายสุชาติ ศิริชุมและนายประเสริฐ บัวกิ่ง เป็นครูผู้ฝึกสอน 4.เรียนรู้เรื่องการตัดผม โกนผม โกนหนวด โดยเรียนรู้เทคนิคการตัดผม การใช้กรรไกร การใช้บัดตาเลี่ยน การตัดผมโกนผม เพื่อเสริมบุคลิกภาพ และ การโกนหนวด รวมทั้งสอนการพัฒนาบุคลิกภาพจำนวน 3 ครั้ง และนำกิจกรรมเหล่านี้ไปช่วยเหลือหรือพัฒนาบุคลิกภาพที่บ้านหรือเพื่อนบ้าน โดยมีปราชญ์ชุมชนคือนายสุทัศน์ปานจีน และนายเผยอเกลี้ยงจันทร์ เป็นครูผู้ฝึกสอน
    ผลของ Best Practice : 1.เยาวชนได้เห็นคุณค่าภุมิปัญญา 2.เป็นการสร้างความตระหนักและยอมรับในส่ิงที่ดีงาม

  310. ชื่อ Best Practice : ธงสัญลักษณ์

    โครงการ : บ้านเหนือสะอาด ชุมชนสดใส ประชาร่วมใจพัฒนา
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - การนำธงสีมาแสดงการรวมกลุ่มบ้าน และมีการมอบหมายภาระหน้าที่ให้คนในกลุ่มได้ทำหน้าที่ดูแลติดตามกันเอง แบบเพื่อดูแลเพื่อน เป็นการเสริมแรงการทำงานซึ่งกันและกัน
    ผลของ Best Practice : - ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา มีการกระตุ้น และติดตามกันเองในการทำงาน

  311. ชื่อ Best Practice : การแบ่งโซนการดูปัญหาขยะด้วยธงสี

    โครงการ : บ้านเหนือสะอาด ชุมชนสดใส ประชาร่วมใจพัฒนา
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - การนำธงสีมาแสดงการรวมกลุ่มบ้าน และมีการมอบหมายภาระหน้าที่ให้คนในกลุ่มได้ทำหน้าที่ดูแลติดตามกันเอง แบบเพื่อดูแลเพื่อน เป็นการเสริมแรงการทำงานซึ่งกันและกัน
    ผลของ Best Practice : - ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา มีการกระตุ้น และติดตามกันเองในการทำงาน

  312. ชื่อ Best Practice : น้ำยาเอนกประสงค์สูตรมะกรูด

    โครงการ : บ้านอู่แก้วเป็นหมู่บ้านวิถีพอเพียง (ต่อยอด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : นำเอามะกรูด ที่เป็นผลสุก มาใช้ทำน้ำยาเอนกประสงค์ เพราะสามารถกำจัดไขมัน กลิี่นตกค้าง และคราบมันได้เป็นอย่างดี
    ผลของ Best Practice : นำเอามะกรูด มาเผาไฟอ่อนๆ เพื่อให้น้ำมันหอมระเหย ได้ออกฤทธิ์ แล้วนำไปฝาน แล้วปั่นเอาน้ำมะกรูด พาไปตั้งไฟอ่อนๆ นำมาผสมกับน้ำยาเอนกประสงค์

  313. ชื่อ Best Practice : น้ำยาเอนกประสงค์สูตรมะกรูด

    โครงการ : บ้านอู่แก้วเป็นหมู่บ้านวิถีพอเพียง (ต่อยอด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : นำเอามะกรูด ที่เป็นผลสุก มาใช้ทำน้ำยาเอนกประสงค์ เพราะสามารถกำจัดไขมัน กลิี่นตกค้าง และคราบมันได้เป็นอย่างดี
    ผลของ Best Practice : นำเอามะกรูด มาเผาไฟอ่อนๆ เพื่อให้น้ำมันหอมระเหย ได้ออกฤทธิ์ แล้วนำไปฝาน แล้วปั่นเอาน้ำมะกรูด พาไปตั้งไฟอ่อนๆ  นำมาผสมกับน้ำยาเอนกประสงค์

  314. ชื่อ Best Practice : การเพาะเห็ด

    โครงการ : บ้านอู่แก้วเป็นหมู่บ้านวิถีพอเพียง (ต่อยอด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นการเพาะเห็ดฟางที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน และกลุ่มสมาชิกอีก 20 หลังคาเรือน โดยขอรับสนุนงบประมาณจาก กศน.เชียรใหญ่ ใช้กระบวนการทางชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ มารดเพื่อเห็ด มีการเจริญเติบโต
    ผลของ Best Practice : เป็นการเพาะเห็ดฟาง ภายในบ้านเรื่อนของตนเอง เป็นการเสริมอาชีพ เสริมรายได้ ให้กับครัวเรือน เป็นการเลี้ยงไว้กินเอง ใช้น้ำหมักชีวภาพ ปลอดภัย

  315. ชื่อ Best Practice : น้ำยาเอนกประสงค์สูตรมะกรูด

    โครงการ : บ้านอู่แก้วเป็นหมู่บ้านวิถีพอเพียง (ต่อยอด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : นำเอามะกรูด ที่เป็นผลสุก มาใช้ทำน้ำยาเอนกประสงค์ เพราะสามารถกำจัดไขมัน กลิี่นตกค้าง และคราบมันได้เป็นอย่างดี
    ผลของ Best Practice : นำเอามะกรูด มาเผาไฟอ่อนๆ เพื่อให้น้ำมันหอมระเหย ได้ออกฤทธิ์ แล้วนำไปฝาน แล้วปั่นเอาน้ำมะกรูด พาไปตั้งไฟอ่อนๆ  นำมาผสมกับน้ำยาเอนกประสงค์

  316. ชื่อ Best Practice : การเพาะเห็ด

    โครงการ : บ้านอู่แก้วเป็นหมู่บ้านวิถีพอเพียง (ต่อยอด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นการเพาะเห็ดฟางที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน และกลุ่มสมาชิกอีก 20 หลังคาเรือน โดยขอรับสนุนงบประมาณจาก กศน.เชียรใหญ่ ใช้กระบวนการทางชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ มารดเพื่อเห็ด มีการเจริญเติบโต
    ผลของ Best Practice : เป็นการเพาะเห็ดฟาง ภายในบ้านเรื่อนของตนเอง เป็นการเสริมอาชีพ เสริมรายได้ ให้กับครัวเรือน เป็นการเลี้ยงไว้กินเอง ใช้น้ำหมักชีวภาพ ปลอดภัย

  317. ชื่อ Best Practice : มาตรการเก็บออมของหมู่บ้าน

    โครงการ : ปฎิรูปครัวเรือน มุ่งสู่แบบพอเพียงบ้านปาล์ม 3
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : จากการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และต้องการให้เกิดความมั่นคงในหมู่บ้าน และการผลักดันของผู้นำชุมชน
    ผลของ Best Practice : ปัจจุบันดำเนินการจัดตั้งสหกรณ์หมู่บ้านนนน

  318. ชื่อ Best Practice : กระบวนการจัดการตนเองเพื่อให้ชุมชนน่าอยู่

    โครงการ : ปฏิรูปหัวลำภูสู่หมู่บ้านจัดการตนเอง(ต่อยอด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ใช้ข้อมูลสถานการณ์ปัญหามาจัดทำแผนหมู่บ้าน ดำเนินงานโดยหมู่บ้านเป็นแกนน หน่วยงานอื่นช่วยหนุนเสริม มีการประชุมกันต่อเนื่อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเป็นเรื่องประจำของหมู่บ้าน มีการพัฒนากลุ่มและพัฒนาครัวต้นแบบเพิ่มและขยายผลไปยังพื้นที่ใกล้เคียงได้
    ผลของ Best Practice : เป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการตนเองเพื่อให้ชุมชนน่าอยู่

  319. ชื่อ Best Practice : ชุมชนจัดการตนเอง

    โครงการ : ปฏิรูปหัวลำภูสู่หมู่บ้านจัดการตนเอง(ต่อยอด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ใช้ข้อมูลสถานการณ์ปัญหามาจัดทำแผนหมู่บ้าน ดำเนินงานโดยหมู่บ้านเป็นแกนน หน่วยงานอื่นช่วยหนุนเสริม มีการประชุมกันต่อเนื่อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเป็นเรื่องประจำของหมู่บ้าน มีการพัฒนากลุ่มและพัฒนาครัวต้นแบบเพิ่มและขยายผลไปยังพื้นที่ใกล้เคียงได้
    ผลของ Best Practice : เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการจัดการตนเองเพื่อสร้างชุมชนให้น่าอยู่

  320. ชื่อ Best Practice : ...-

    โครงการ : ประเพณีเชื่อมร้อยจิตใจสร้างสายใยชุมชน(การทำกระจาด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice :
    ผลของ Best Practice :

  321. ชื่อ Best Practice : ประเพณีแห่กระจาดโบราณ

    โครงการ : ประเพณีเชื่อมร้อยจิตใจสร้างสายใยชุมชน(การทำกระจาด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เอาประเพณีแห่กระจาดมาเป็นตัวเดินเรื่อง รวมกลุ่มคนแกนนำ เข้าหาครูภูมิปัญญา รับการถ่ายทอดเรื่องราวที่แฝงไว้ด้วยหลักธรรม ความเชื่อ ความศรัทธา ศาสนา ความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเป็นเครือญาติของคนในชุมชน ทุกคนจึงมีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญ ความสำเร็จเกิดขึ้นจากความร่วมไม้ร่วมมือกันของทุกคน ทำให้คนรุ่นหลังได้หันมาภาคภูมิใจในชุมชนท้องถิ่นของตนเอง ที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปัน ใครมีอะไรก็นำกันมาร่วมมาทำช่วยกันตามความถนัดจนทุกคนมีสำนึกร่วมของความเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน - ทุกขั้นตอนทั้งแก่การเตรียมคน เตรียมอุปกรณ์ เตรียมองค์ความรู้ เตรียมพื้นที่ การแบ่งงานกันทำ การเชื่อมโยงกับกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มอสม. ผู้สูงอายุ เด็กเยาวชน ที่ช่วยทำอาหารเลี้ยงตลอดการทำกิจกรรม การทำกระจายที่เปผ็นการถ่ายทอดผ่านประสบการณ์ตรง กลุ่มกลองยาวที่ช่วยในขบวนแห่ ได้ออกแรง ได้ความรู้ความเพลิดเพลิน เกิดสำนึกรักบ้านเกิด เกิดความสัมพันธ์ที่ดีของคนในชุมชน
    ผลของ Best Practice : กระจาดเป็นความภาคภูมิใจร่วมกันทั้งชุมชน การได้รางวัลที่1 ในการประกวดกระจาด ยังไม่สำคัญเท่ากับความกลมเกลียวของลูกหลานคนในชุมชน ผู้เฒ่าผู้แก่แม้จะเหนื่อยแต่ก็มีความสุขที่ลูกหลาน/ผู้นำชุมชนเห็นความสำคัญในประเพณีที่ยึดถือปฎิบัติกันมาและกำลังจะถูกลืมเลือนไปให้กลับมาเป็นที่เชื่อมั่นและศรัทธาอีกครั้งหนึ่งและเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนใุมชนอย่างแท้จริง เกิดสังคมสุขภาวะอย่างยั่งยืนได้

  322. ชื่อ Best Practice : ...ประเพณีแห่กระจาดโบราณ

    โครงการ : ประเพณีเชื่อมร้อยจิตใจสร้างสายใยชุมชน(การทำกระจาด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ฃเอาประเพณีแห่กระจาดมาเป็นตัวเดินเรื่อง รวมกลุ่มคนแกนนำ เข้าหาครูภูมิปัญญา รับการถ่ายทอดเรื่องราวที่แฝงไว้ด้วยหลักธรรม ความเชื่อ ความศรัทธา ศาสนา ความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ซึ่ง้กี่ยวข้องกับความเป็นเครือญาติของคนในชุมชน ทุกคนจึงมีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญ ความสำเร็จเกิดขึ้นจากความร่วมไม้ร่วมมือกันของทุกคน ทำให้คนรุ่นหลังได้หันมาภาคภูมิใจในชุมชนท้องถิ่นของตนเอง ที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปัน ใครมีอะไรก็นำกันมาร่วมมาทำช่วยกันตามความถนัดจนทุกคนมีสำนึกร่วมของความเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน - ทุกขั้นตอนทั้งแก่การเตรียมคน เตรียมอุปกรณ์ เตรียมองค์ความรู้ เตรียมพื้นที่ การแบ่งงานกันทำ การเชื่อมโยงกับกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มอสม. ผู้สูงอายุ เด็กเยาวชน ที่ช่วยทำอาหารเลี้ยงตลอดการทำกิจกรรม การทำกระจายที่เปผ็นการถ่ายทอดผ่านประสบการณ์ตรง กลุ่มกลองยาวที่ช่วยในขบวนแห่ ได้ออกแรง ได้ความรู้ความเพลิดเพลิน เกิดสำนึกรักบ้านเกิด เกิดความสัมพันธ์ที่ดีของคนในชุมชน
    ผลของ Best Practice : กระจาดเป็นความภาคภูมิใจร่วมกันทั้งชุมชน การได้รางวัลที่1 ในการประกวดกระจาด ยังไม่สำคัญเท่ากับความกลมเกลียวของลูกหลานคนในชุมชน ผู้เฒ่าผู้แก่แม้จะเหนื่อยแต่ก็มีความสุขที่ลูกหลาน/ผู้นำชุมชนเห็นความสำคัญในประเพณีที่ยึดถือปฎิบัติกันมาและกำลังจะถูกลืมเลือนไปให้กลับมาเป็นที่เชื่อมั่นและศรัทธาอีกครั้งหนึ่งและเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนใุมชนอย่างแท้จริง เกิดสังคมสุขภาวะอย่างยั่งยืนได้

  323. ชื่อ Best Practice : การเห็นจากของจริง

    โครงการ : ปรับพฤติกรรมการกิน สร้างสุขคนควนทัง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - การพาผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ไปเรียนรู้กับของจริง เช่น ไปดูการทำเกษตรปลอดภัย การสาธิตการทำอาหารเพื่อสุขภาพ การพาไปอบรมที่โรงพยาบาลและคนการดูรชชแลรักษาผู้ป่วยเพื่อสร้างความตระหนักและการปรั้บเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
    ผลของ Best Practice : - ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และกลุ่มเสี่ยง เข้าใจการบริโภคที่ถูกต้อง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคได้

  324. ชื่อ Best Practice : การเห็นจากของจริง

    โครงการ : ปรับพฤติกรรมการกิน สร้างสุขคนควนทัง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - การพาผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ไปเรียนรู้กับของจริง เช่น ไปดูการทำเกษตรปลอดภัย การสาธิตการทำอาหารเพื่อสุขภาพ การพาไปอบรมที่โรงพยาบาลและคนการดูรชชแลรักษาผู้ป่วยเพื่อสร้างความตระหนักและการปรั้บเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
    ผลของ Best Practice : - ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และกลุ่มเสี่ยง เข้าใจการบริโภคที่ถูกต้อง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคได้

  325. ชื่อ Best Practice : มัคคุเทศก์น้อย

    โครงการ : ปลุกจิตสำนึกชุมชน คนป่าเสม็ดอนุรักษ์ป่าชายเลน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - เยาวชน 35 คนมาเรียนรู็วิธีการนำเที่ยวป่าชายเลน วันแรกเรียนรู้ตั้งแต่ทักษะการพูด ความรู้เกี่ยวกับป่าชายเลน การนำเสนอจุดเด่นที่น่าสนใจของการท่องเที่ยวบ้านป่าเสม็ด - วันที่สองเยาวชน 35 คน ได้ฝึกการนำเที่ยว แต่ไม่ได้ลงพื้นที่จริงเนื่องจากฝนตก
    ผลของ Best Practice : - ได้กลุ่มมัคคุเทศก์ 35 คนที่มีความรู้ความสามารถนำเที่ยวป่าชายเลนของชุมชน - เยาวชนมีจิตสำนึกอนุรักษ์และหวงแหนป่าชายเลนมากขึ้น

  326. ชื่อ Best Practice : ร่วมด้วยใจ

    โครงการ : ปลูกจิตสำนึกชุมชนบ้านในจูนน่าอยู่
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : จากการมีสภาผู้นำ ส่งผลให้ทีมสภาผู้นำสามารถจัดกระบวนการให้สมาชิกชุมชนได้มีส่วนร่วมในงานพัฒนาชุมชนมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนหน้านี้ สมาชิกทุกคนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าโครงการนี้ได้มาด้วยความคิดของสมาชิกบางส่วนแต่ทำแล้วได้รวมด้วยใจของสมาชิกทุกคนไว้ด้วยกัน
    ผลของ Best Practice : จากการเริ่มของโครงการสสส.ส่งผลให้ ทุกกิจกรรม/ทุกโครงการ ที่ชุมชนได้รับ สมาชิกชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมรับผิดชอบ อาทิ โครงการกระต้นเศรษฐกิจตำบลละ 5 ล้าน หรือ หมู่บ้านละ2 แสน ล้วนมาจากการร่วมใจของสมาชิกชุมชนทุกโครงการ

  327. ชื่อ Best Practice : เดินป่าสำรวจข้อมูล -พืชอาหาร -พืชสมุนไพร -พืชใช้สอย -สัตว์ เพื่อจัดทำฐานข้อมูลป่าชุมชน

    โครงการ : ป่าฟื้น คนฟื้น ที่บ้านทุ่งยูง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ทำความเข้าใจกับชุมชนในการทำให้เห็นความสำคัญของการที่ชุมชนต้องลุกขึ้นมาจัดการป่าไม้ด้วยชุมชนเอง รณรงต์จนคนเห็นความสำคัญ สมัครเข้าร่วมโครงการ และส่งเด็กและเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรม และช่วยกันจัดทำแบบสำรวจข้อมูลโดยมีทีมเจ้าหน้าที่จากอุทยานแห่งชาติเขาปู่เขาย่าร่วมให้คำปรึกษาในการออกแบบ ทำให้ผู้เก็บคือคณะทำงาน เด็กและเยาวชนเข้าใจ ทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลได้อย่างสมบูรณ์ สามารถนำมาใช้ประกอบในการดำเนินงานตามโครงการได้อย่างดี ทำแผนที่ป่าไม้ ทราบว่ามีพันธ์ไม้อะไรขนาดใด อายุเท่าไร อยู่ตรงไหน สะดวกต่อการจัดการดูแล
    ผลของ Best Practice : สามารถทราบได้ว่ามีพันธ์พืชพันธ์สัตว์หรือทรัพยากรอื่นอะไรอยู่ที่ไหนจุดไหน มีสภาพอย่างไร สามารถนำมาวางแผนในการรักษา ฟื้นฟู และเฝ้าระว้งได้อย่างสอดคล้องกับความจริงและเหมาะสมกับสถานการณ์

  328. ชื่อ Best Practice : กิจกรรมการบวชป่าบูชาเทวดา

    โครงการ : ป่าฟื้น คนฟื้น ที่บ้านทุ่งยูง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : มีการเชิญนอภ.ศรีบรรพต/ตัวแทนเขตห้ามล่าฯเทือกเขาบรรทัด/ตัวแทนอุทยานเขาปู่เขาย่า/กำนัน ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านอื่นในตำบล ตัวแทนอบต.เขาปู่ ตัวแทนเครือข่ายรักษ์เทือกเขาบรรทัด(เครือข่ายภาคประชาชน)ฯเข้าร่วมกิจกรรม
    ผลของ Best Practice : ในส่วนของภายในหมู่บ้านการบวชป่าเหมือนกับเป็นการประกาศว่าป่าผืนนี้เป็นป่าของชุมชนที่ทุกคนต้องช่วยกันรักาษดูแล ในส่วนของภายนอกสามารถสร้างความสนใจและอยากเข้าร่วมโครงการนี้จากหมู่บ้านอื่นๆ และเป็นการสร้างผลงานขยายแนวคิดการดำเนินงานในการจัดการป่าต้นน้ำแก่พี่น้องโซนเขาได้อย่างดี และสามารถเชื่อมต่อการหนุนเสริมกับหน่วยงานภาครัฐได้บางส่วน

  329. ชื่อ Best Practice : กิจกรรมค่ายศิลปะเด็กรักษ์ป่า

    โครงการ : ป่าฟื้น คนฟื้น ที่บ้านทุ่งยูง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : จัดกิจกรรมค่ายศิลปะโดยใช้สถานที่คือในป่าเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่เขาย่า และมีทีมวิทยากรเป็นเจ้าหน้าที่อุทยาน
    ผลของ Best Practice : เด็กๆสนุกสนานกันมากที่มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมในค่ายนี้ ได้ถ่ายทอดจินตนาการผ่านภาพวาด ได้ฟังเรื่องราวของความสมบูรณ์ในอดีตของป่าแถบนี้จากคนรุ่นแรกๆ ได้เรียนรู้ถึงพัฒนาการการตั้งถิ่นฐานของชุมชนละแวกนี้ สร้างความรู้สึกผูกพัน และภูมิใจในถิ่นเกิด

  330. ชื่อ Best Practice : เวทีแลกเปลี่ยนในกลุ่มเพิ่มรายได้จากการขายขยะ

    โครงการ : เปลี่ยนชีวิต ปรับวิถี เพื่อชีวีที่พอเพียง บ้านห้วยน้ำดำ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : รับสมัครแกนนำจากกลุ่มที่นำขยะมาขายเป็นประจำ ให้จดรายได้จากการขายขยะทุกเดือน นำมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันทุก 2 เดือน จำนวน 3 ครั้ง
    ผลของ Best Practice : พบว่าช่วงแรกรายได้ของทุกครัวเรือนจากการขายขยะเพิ่มขึ้น ต่อมาระยะหนึ่งรายได้น้อยลง จากการแลกเปลี่ยนพบว่าเนื่องจาก ในครัวเรือนมีการจัดการขยะ ของเหลือใช้ที่ดีขึ้น ขยะในครัวเรือนลดลง มีระบบระเบียบการเก็ยของเหลือใช้เพื่อนำไปขาย ทำให้ครัวเรือนสะอาดขึ้น สวยงาม ไม่เป็นแหล่งก่อเชื้อโรค แมลง สัตว์รบกวน

  331. ชื่อ Best Practice : การนำทุนชุมชนมาพัฒนาต่อยอด

    โครงการ : ผัก สมุนไพรเชื่อมใยรักคนเขาปูน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - ชุมชนมีสมุนไพร มีภูมิปัญญาการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพร มีตู้อบสมุนไพร โครงการได้นำสิ่งเหล่านี้มาต่อยอด ส่งเสริมให้คนในชุมชนปลูกสมุนไพร เรียนรู้สมุนไพร แปรรูปสมุนไพร เพื่อนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพ เป็นอาหาร เป็นยา
    ผลของ Best Practice : - มีคนใช้ตู้อบในการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น ปลูกสมุนไพรในชุมชนเพิ่มขึ้น มีศูนย์เรียนู้สมุนไพรในชุมชน

  332. ชื่อ Best Practice : การนำทุนชุมชนมาพัฒนาต่อยอด

    โครงการ : ผัก สมุนไพรเชื่อมใยรักคนเขาปูน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - ชุมชนมีสมุนไพร มีภูมิปัญญาการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพร มีตู้อบสมุนไพร โครงการได้นำสิ่งเหล่านี้มาต่อยอด ส่งเสริมให้คนในชุมชนปลูกสมุนไพร เรียนรู้สมุนไพร แปรรูปสมุนไพร เพื่อนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพ เป็นอาหาร เป็นยา
    ผลของ Best Practice : - มีคนใช้ตู้อบในการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น ปลูกสมุนไพรในชุมชนเพิ่มขึ้น มีศูนย์เรียนู้สมุนไพรในชุมชน

  333. ชื่อ Best Practice : - กองทุนผักเพื่อชุมชน

    โครงการ : ผัก:สายสัมพันธ์สู่่ทับคริสต์วิถีชีวิตที่พอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - มีการนำรายได้จากการขายผัก และการระดมทุนจากสมาชิกมาใช้ในการบริหารจัดการโครงการ
    ผลของ Best Practice : - โครงการมีความต้องเนื่อง โดยไม่ต้องพึ่งพางบประมาณจากภายนอก

  334. ชื่อ Best Practice : การนำศาสนามาประยุกต์ใช้ และเชื่อมคนในชุมชนด้วยผัก

    โครงการ : ผัก:สายสัมพันธ์สู่่ทับคริสต์วิถีชีวิตที่พอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - ทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรม จะมีการน้อมนำคำสั่งสอนทางศาสนามาสอนเยาวชนก่อนเริ่มทำกิจกรรมทุกครั้ง เพื่อให้เยาวชนเรียนรู้ เข้าใจ ซึมซับถึงหลักธรรมคำสอน - การมอบบทบาทให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในพิธีกรรมทางศาสนา ให้เกิดความรับผิดชอบ และเห็นคุณค่าของตนเอง ทำให้เกิดความภาคภูมิใจ และอยากเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ - การใช้ผักเป็นตัวเชื่อมให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเยาวชนและผู้สูงอายุในชุมชน ให้เยาวชนใช้ผัดกในการเยี่ยมเยียน ดูแลผู้สูงอายุ
    ผลของ Best Practice : - มีการขยายการปลูกผักไปสู่คนอื่นๆ ในชุมชนด้วย โดยเฉพาะครอบครัวของเยาวชน - เยาวชนสามารถมีส่วนร่วมพิธีกรรมทางศาสนา และการน้อมนำหลักคำสอนมาปฏิบัติ

  335. ชื่อ Best Practice : - การนำศาสนามาประยุกต์ใช้ และเชื่อมคนในชุมชนด้วยผัก

    โครงการ : ผัก:สายสัมพันธ์สู่่ทับคริสต์วิถีชีวิตที่พอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - ทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรม จะมีการน้อมนำคำสั่งสอนทางศาสนามาสอนเยาวชนก่อนเริ่มทำกิจกรรมทุกครั้ง เพื่อให้เยาวชนเรียนรู้ เข้าใจ ซึมซับถึงหลักธรรมคำสอน การมอบบทบาทให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในพิธีกรรมทางศาสนา ให้เกิดความรับผิดชอบ และเห็นคุณค่าของตนเอง ทำให้เกิดความภาคภูมิใจ และอยากเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ การใช้ผักเป็นตัวเชื่อมให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเยาวชนและผู้สูงอายุในชุมชน ให้เยาวชนใช้ผัดกในการเยี่ยมเยียน ดูแลผู้สูงอายุ
    ผลของ Best Practice : - มีการขยายการปลูกผักไปสู่คนอื่นๆ ในชุมชนด้วย โดยเฉพาะครอบครัวของเยาวชน เยาวชนสามารถมีส่วนร่วมพิธีกรรมทางศาสนา และการน้อมนำหลักคำสอนมาปฏิบัติ

  336. ชื่อ Best Practice : - การนำศาสนามาประยุกต์ใช้ และเชื่อมคนในชุมชนด้วยผัก

    โครงการ : ผัก:สายสัมพันธ์สู่่ทับคริสต์วิถีชีวิตที่พอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - ทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรม จะมีการน้อมนำคำสั่งสอนทางศาสนามาสอนเยาวชนก่อนเริ่มทำกิจกรรมทุกครั้ง เพื่อให้เยาวชนเรียนรู้ เข้าใจ ซึมซับถึงหลักธรรมคำสอน การมอบบทบาทให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในพิธีกรรมทางศาสนา ให้เกิดความรับผิดชอบ และเห็นคุณค่าของตนเอง ทำให้เกิดความภาคภูมิใจ และอยากเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ การใช้ผักเป็นตัวเชื่อมให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเยาวชนและผู้สูงอายุในชุมชน ให้เยาวชนใช้ผัดกในการเยี่ยมเยียน ดูแลผู้สูงอายุ
    ผลของ Best Practice : - มีการขยายการปลูกผักไปสู่คนอื่นๆ ในชุมชนด้วย โดยเฉพาะครอบครัวของเยาวชน เยาวชนสามารถมีส่วนร่วมพิธีกรรมทางศาสนา และการน้อมนำหลักคำสอนมาปฏิบัติ

  337. ชื่อ Best Practice : บัญชีครัวเรือน

    โครงการ : ผังฟาร์มลดรายจ่ายที่บ้านทรายขาว
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.นำผู้ที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์ มาเรียนรู้การทำบัญสหกรณ์ 2.เจ้าหน้าที่จากสหกรณ์การบัญชี ได้มาสอน ทำให้ประชาชนได้เรียนรู้การทำบัญชี 3.ผู้เข้าเรียนรู้ทำบัญชีได้ ประหยัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นในครัวเรือน
    ผลของ Best Practice : 1.ได้เรียนรู้การทำบัญชีที่ถูกต้อง 2.การทำบัญชีสามารถประหยัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นในครัวเรือนได้ 3.ผู้เข้าร่วมเรียนรู้สามารถทำบัญชีได้และมองเห็นประโยชน์ของการทำบัญชี

  338. ชื่อ Best Practice : บัญชีครัวเรือน

    โครงการ : ผังฟาร์มลดรายจ่ายที่บ้านทรายขาว
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.นำผู้ที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์ มาเรียนรู้การทำบัญสหกรณ์ 2.เจ้าหน้าที่จากสหกรณ์การบัญชี ได้มาสอน ทำให้ประชาชนได้เรียนรู้การทำบัญชี 3.ผู้เข้าเรียนรู้ทำบัญชีได้ ประหยัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นในครัวเรือน
    ผลของ Best Practice : 1.ได้เรียนรู้การทำบัญชีที่ถูกต้อง 2.การทำบัญชีสามารถประหยัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นในครัวเรือนได้ 3.ผู้เข้าร่วมเรียนรู้สามารถทำบัญชีได้และมองเห็นประโยชน์ของการทำบัญชี

  339. ชื่อ Best Practice : บัญชีครัวเรือน

    โครงการ : ผังฟาร์มลดรายจ่ายที่บ้านทรายขาว
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.นำผู้ที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์ มาเรียนรู้การทำบัญสหกรณ์ 2.เจ้าหน้าที่จากสหกรณ์การบัญชี ได้มาสอน ทำให้ประชาชนได้เรียนรู้การทำบัญชี 3.ผู้เข้าเรียนรู้ทำบัญชีได้ ประหยัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นในครัวเรือน
    ผลของ Best Practice : 1.ได้เรียนรู้การทำบัญชีที่ถูกต้อง 2.การทำบัญชีสามารถประหยัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นในครัวเรือนได้ 3.ผู้เข้าร่วมเรียนรู้สามารถทำบัญชีได้และมองเห็นประโยชน์ของการทำบัญชี

  340. ชื่อ Best Practice : สิ่งที่เหลือ ใช้จากครัวเรือน

    โครงการ : ผังฟาร์มลดรายจ่ายที่บ้านทรายขาว
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นการนำสิ่งที่เหลือใช้จากครัวเรือนนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพหรือน้ำหมักชีวภาพ เช่น ผักที่เหลือจากทำอาหาร ไม่ต้องทิ้ง แต่ให้ทิ้งลงถังน้ำหมัก
    ผลของ Best Practice : 1.ลดรายจ่ายในการปลูกผักเพราะใช้ชีวภาพ 2.ลดขยะครัวเรือน 3.ลดแมลงนำโรค

  341. ชื่อ Best Practice : บ่อปลาข้างบ้าน

    โครงการ : ผังฟาร์มลดรายจ่ายที่บ้านทรายขาว
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นการส่งเสริมการเลี้ยงปลาดุกข้างบ้าน โดยการก่ออิฐไว้กับผนังบ้าน สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน การเลี้ยงปลาดุกใช้ทั้งเศษข้าวที่เหลือและอาหารปลาดุก
    ผลของ Best Practice : 1.ใช้พื้นที่เกิดประโยชน์ 2.สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน 3.เป็นแหล่งอาหารชุมชน

  342. ชื่อ Best Practice : สิ่งที่เหลือ ใช้จากครัวเรือน

    โครงการ : ผังฟาร์มลดรายจ่ายที่บ้านทรายขาว
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นการนำสิ่งที่เหลือใช้จากครัวเรือนนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพหรือน้ำหมักชีวภาพ เช่น ผักที่เหลือจากทำอาหาร ไม่ต้องทิ้ง แต่ให้ทิ้งลงถังน้ำหมัก
    ผลของ Best Practice : 1.ลดรายจ่ายในการปลูกผักเพราะใช้ชีวภาพ 2.ลดขยะครัวเรือน 3.ลดแมลงนำโรค

  343. ชื่อ Best Practice : บ่อปลาข้างบ้าน

    โครงการ : ผังฟาร์มลดรายจ่ายที่บ้านทรายขาว
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นการส่งเสริมการเลี้ยงปลาดุกข้างบ้าน โดยการก่ออิฐไว้กับผนังบ้าน สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน การเลี้ยงปลาดุกใช้ทั้งเศษข้าวที่เหลือและอาหารปลาดุก
    ผลของ Best Practice : 1.ใช้พื้นที่เกิดประโยชน์ 2.สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน 3.เป็นแหล่งอาหารชุมชน

  344. ชื่อ Best Practice : กลุ่มจิตอาสารักษาสิ่งแวดล้อม

    โครงการ : ฝายกั้นขยะคืนชีวิตชุมชนบางฉนาก
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : วตกรรมหรือสิ่งใหม่ที่เกิดประโยชน์ในการนำไปใช้ ท่านสท.อมรเทพบุญมาศ บอกว่า ฝายกั้นขยะ ของเรา น่าจะเป็นอุปกรณ์ที่เป้นแนวคิดของคนในชุมชน และสร้างประโยชน์ในการกำจัดขยะที่มากับสายน้ำ ถึงแม้ว่าไม่เป็นของใหม่ แปลก แต่ตัวฝายและแนวคิดการทำฝาย ทำให้เราได้ค้นพบพลังของชุมชนเช่น เยาวชน วัยรุ่น เด็กๆที่เล่นในสวนสาธารณะ ต่างคนต่างรวมตัวช่วยกันทำประโยชน์และช่วยกันรักษาความสะอาดในบ้านเรือนและในชุมชน
    ผลของ Best Practice : การร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์ต่อเนื่องในวันสำคัญเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อม

  345. ชื่อ Best Practice : ฝายมีชีวิต

    โครงการ : ฝายมีชีวิตสร้างสุขชุมชนบ้านตลาด
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เกิดการสร้างฝายโดยใช้วัสดุธรรมชาติ โดยคำนึงถึงคนอยู่ร่วมกับธรรมชาติธรรมชาติอยู่ร่วมกับคน เกิดการเรียนรู้เรื่องต้นไม้ให้น้ำ ต้นไม้อุ้มน้ำ ต้นไม้พยุงราก
    ผลของ Best Practice : เกิดการเรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะดินและน้ำ โดยเลียนแบบธรรมชาติ นำธรรมชาติคืนสู่ชุมชน และขายยการเรียนรู้สู่พื้นที่ใกล้เคียง ทั้งในและนอกจังหวัด ประมาณ 50 พื้นที่

  346. ชื่อ Best Practice : การอบรมให้ตระหนักคุณค่าชีวิตของผู้บริโภค

    โครงการ : พลิกฟื้นเกษตรอินทรีย์ ชีวียั่งยืนกลับคืนวิถีชีวิต
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : วิทนากรสอดแทรกหลักศาสนาในการผลิตอาการที่เหมาะสม ไม่ทำร้ายผู้อื่น การบริโภคอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นสิ่งที่ศาสนาบัญญัติไว้
    ผลของ Best Practice : เกษตกรได้เห็นคุณค่าของชีวิตทั้งตนเองและผู้อื่น และการไม่เบียดเบียนผู้อื่น หันกลับมาใช้เกษตรอินทรีย์ในการผลิตพืชผล

  347. ชื่อ Best Practice : .บูรณาการหลักศาสนาเพื่อเสริมพลังให้ใช้เกษตรอินทรีย์

    โครงการ : พลิกฟื้นเกษตรอินทรีย์ ชีวียั่งยืนกลับคืนวิถีชีวิต
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - วิทยากรศาสนานำเยาวชนศึกษาหาหลักคำสอนหลักศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหารที่ไม่เบียดเบียนตนเอง ผู้อื่น - นำหลักศาสนามาทำเป็นเอกสารเผยแพร่ รณรงค์ให้เกิดกระแสการทำเกษตรอินทรีย์มากขึ้น
    ผลของ Best Practice : - เกษตรกรมีพลังใจในการผลิตพืชอินทรีย์ เนื่องจากรู้สึกดีที่ได้ปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนาที่ว่า ไม่เบียดเบียนชีวิตตนเองและผู้อื่นด้วยสารเคมี

  348. ชื่อ Best Practice : ผลภัณฑ์ไส้เดือน

    โครงการ : พัฒนาคน...ชุมชนพอเพียง ณ บ้านควนยวน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การส่งเสริมให้ชุมชนเลี้ยงไส้เดือน เพื่อปรับปรุงดิน ลดต้นทุนเคมีผลผลิตจากไส์เดือน มูลไส้เดือน จี่ไส้เดือน ปุ๋ยไส้เดือน
    ผลของ Best Practice : - เกษตรอินทรีย์ อาหารปลอดภัย สิ่งแวดล้อมดี

  349. ชื่อ Best Practice : สวนผักหนีน้ำ

    โครงการ : พัฒนาบ้านบางคูให้อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เกิดจากความคิดที่ต้องการปลูกผักได้ตลอดฤดูกาลแม้น้ำท่วม
    ผลของ Best Practice : การปลูกผักสามารถปลูกได้ตลอดปี และเป็นแบบอย่างให้แก่คนอื่นได้

  350. ชื่อ Best Practice : บัญชีต้นทุน

    โครงการ : พัฒนาบ้านบางคูให้อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เกิดจากการทำบัญชีครัวเรือน
    ผลของ Best Practice : การทำบัญชีครัวเรือนชาวบ้านบันทึกแค่รายรับและรายจ่าย และเงินออม ต้นแบบเลยคิดทำบัญชีต้นทุนเพื่อทราบถึงการลงทุน ได้กำไร ขาดทุน

  351. ชื่อ Best Practice : ผลิตภัณฑ์แป้งสาคู

    โครงการ : พัฒนาอาชีพเกษตรผสมผสานเพื่อเพิ่มรายได้บ้านกะโสม
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : นำต้นจาก หรือต้นสาคู เป็นพืชท้องถิ่น มาสกัดเอาแป้งสาคู ใว้ใช้ และจำหน่าย
    ผลของ Best Practice : มีแป้งสาคูใช้ในครัวเรือน และจำหน่ายให้กับเพื่อนบ้านและชุมชนอื่น

  352. ชื่อ Best Practice : การสร้างมูลค่าเพิ่มจากแป้งสาคู

    โครงการ : พัฒนาอาชีพเกษตรผสมผสานเพื่อเพิ่มรายได้บ้านกะโสม
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : นำแป้งสาคูซึ่งเป็นพืชที่มีมกในชุมมชน มาสร้างเป็นมูลค่าเพิ่ม โดยการทำแป้งจากต้นสาคูมาทำขนม และจำหน่าย
    ผลของ Best Practice : ประชาชนได้บริโภคขนมที่ทำจากต้นสาคู ซึ่งปัจจุบันหาทานยาก ปลอดสารพิษ และจำหน่ายสู่ชุมชนอื่น ๆ

  353. ชื่อ Best Practice : การสร้างมูลค่าเพิ่มในการขายกิ่งตอนพืชพันธ์

    โครงการ : พัฒนาอาชีพเกษตรผสมผสานเพื่อเพิ่มรายได้บ้านกะโสม
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ชุมชนมีรายได้หลักจาการกรีดยางเป็นสำคัญ บางครั้งฝนตกไม่สามารถที่จะกรีดยางได้ เกิดการว่างงาน หันหน้าเข้าสู่อบายมุข ในชุมชนมีพืขพัฯธ์หลายชนิดที่สามารถนำมาขยายพัน์และส่งขายเป็นที่ต้องการของตลาด เช่น ยอดเขลียง
    ผลของ Best Practice : สมาชิกครัวเรือนมีรายได้เสริมจากการขายกิ่งพันธ์มากขึ้น

  354. ชื่อ Best Practice : การสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการทำกิจกรรม

    โครงการ : พื้นที่สร้างสรรค์ สานสัมพันธ์คนสองวัยชุมชนหัวแหลมพัฒนา
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - มีการประชุมกลุ่มเยาวชน คณะทำงาน เพื่อให้เยาวชนเสนอความคิดเห็นว่าต้องการทำกิจกรรม ต้องการเรียนรู้อะไรในชุมชน และจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการ
    ผลของ Best Practice : - เยาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมตั้งใจเรียนรู้ และสามารถนำความรู้ไปใช้ได้จริง

  355. ชื่อ Best Practice : - การจัดทำฐานข้อมูลสมุนไพรพื้นบ้าน

    โครงการ : ฟื้นฟูความรู้สมุนไพรพื้นบ้านเพื่อการดูแลสุขภาพ สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจชุมชนและสืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรสู่เยาวชน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - จากการเสวนาแลกเปลี่ยนของกลุ่มวานีตาและหมอพื้นบ้านในชุมชนแล้วรวบรวมเป็นฐานข้อมูล
    ผลของ Best Practice : - การนำความรู้มาจัดค่ายเยาวชนให้เรียนรู้สมุนไพรพื้นบ้าน - เยาวชนนำความรู้ไปขยายต่อในโรงเรียนในพื้นที่ตำบลโล๊ะจูด

  356. ชื่อ Best Practice : เรียนรู้วิถีภูมิปัญญา

    โครงการ : ภูมิปัญญา เพิ่มรายได้ สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม (ต่อยอดปี 2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.เป็นการเรียนรู้วิถีภูมิปัญญาเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาด้านการเกษตร เป็นการลดใช้สารเคมี ลดรายจ่าย และเพ่ิ่มรายได้ครัวเรือน
    ผลของ Best Practice : 1.ครัวเรือนได้มีผักไว้บริโภค ซึ่งเป็นผักปลอดสารพิษ ปลอดภัย 2.ชุมชนมีแนวทางการเรียนรู้เรื่องเกษตรผสมผสาน

  357. ชื่อ Best Practice : เรียนรู้วิถีภูมิปัญญา

    โครงการ : ภูมิปัญญา เพิ่มรายได้ สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม (ต่อยอดปี 2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.เป็นการเรียนรู้วิถีภูมิปัญญาเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาด้านการเกษตร เป็นการลดใช้สารเคมี ลดรายจ่าย และเพ่ิ่มรายได้ครัวเรือน
    ผลของ Best Practice : 1.ครัวเรือนได้มีผักไว้บริโภค ซึ่งเป็นผักปลอดสารพิษ ปลอดภัย 2.ชุมชนมีแนวทางการเรียนรู้เรื่องเกษตรผสมผสาน

  358. ชื่อ Best Practice : เรียนรู้วิถีภูมิปัญญา

    โครงการ : ภูมิปัญญา เพิ่มรายได้ สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม (ต่อยอดปี 2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.เป็นการเรียนรู้วิถีภูมิปัญญาเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาด้านการเกษตร เป็นการลดใช้สารเคมี ลดรายจ่าย และเพ่ิ่มรายได้ครัวเรือน
    ผลของ Best Practice : 1.ครัวเรือนได้มีผักไว้บริโภค ซึ่งเป็นผักปลอดสารพิษ ปลอดภัย 2.ชุมชนมีแนวทางการเรียนรู้เรื่องเกษตรผสมผสาน

  359. ชื่อ Best Practice : ลงขันสมทบทุนตั้งเป็นกองทุนของชุมชน

    โครงการ : ภูมิปัญญาเกษตรในครัวเรือนพัฒนาอาชีพรักษาสิ่งแวดล้อม
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ในแต่ละกลุ่มเช่นกลุ่มเลี้ยงปลาเลี้ยงไก่เมื่อผลผลิตมีรายได้ก็นำเงินมาลงขันร่วมกันตั้งเป็นกองทุนของชุมชนเพื่อจะได้ใช้เป็นค่าวัสดุในการทำกิจกรรมร่วมกันในชุมชนอย่างต่อเนื่องและนำกลับมาใช้ในครัวเรือนต่อไป เช่นการทำน้ำหมัก ปุ๋ยหมัก
    ผลของ Best Practice : มีเงินสบทบจากกลุ่มเป้าหมายที่มีรายได้จากผลผลิตที่เกิดจากกิจกรรมของโครงการ มาเป็นทุนจัดตั้งเป็นกองทุนของชุมชนเพื่อไปเป็นค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมของชุมชนอย่างต่อเนือง

  360. ชื่อ Best Practice : ลงขันสมทบทุนตั้งเป็นกองทุนของชุมชน

    โครงการ : ภูมิปัญญาเกษตรในครัวเรือนพัฒนาอาชีพรักษาสิ่งแวดล้อม
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ในแต่ละกลุ่มเช่นกลุ่มเลี้ยงปลาเลี้ยงไก่เมื่อผลผลิตมีรายได้ก็นำเงินมาลงขันร่วมกันตั้งเป็นกองทุนของชุมชนเพื่อจะได้ใช้เป็นค่าวัสดุในการทำกิจกรรมร่วมกันในชุมชนอย่างต่อเนื่องและนำกลับมาใช้ในครัวเรือนต่อไป เช่นการทำน้ำหมัก ปุ๋ยหมัก
    ผลของ Best Practice : มีเงินสบทบจากกลุ่มเป้าหมายที่มีรายได้จากผลผลิตที่เกิดจากกิจกรรมของโครงการ มาเป็นทุนจัดตั้งเป็นกองทุนของชุมชนเพื่อไปเป็นค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมของชุมชนอย่างต่อเนือง

  361. ชื่อ Best Practice : ...หลักสูตรมหาวิทยาลัยหมู่บ้านพอเพียง

    โครงการ : มหาวิทยาลัยหมู่บ้าน บ้านหัวลำภู
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : นำคนต้นแบบมาพัฒนาศักยภาพ ถอดบทเรียนภูมิปัญญาและการปฏิบัติ จากความรู้ในคน มาเขียนเป็นหลักสูตรเพื่อให้เพื่อนบ้านได้มาเรียนรู้ เป็นหลักสูตรฉบับชาวบ้านที่เกิดจากการปฏิบัติจริงในบ้านตนเอง เพื่อจัดการให้เกิดการเรียนรู้ของผู้สนใจ
    ผลของ Best Practice : นำไปจัดการเรียนการสอนในหมู่บ้านแบบชาวบ้านสอนชาวบ้าน สอนภูมิปัญญาของหมู่บ้าน ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้ได้ช่วยตนเอง ครอบครัว ชุมชน แก้จน อยู่อย่างพอเพียง เกิดสุขภาวะชุมชน

  362. ชื่อ Best Practice : ...หลักสูตรมหาวิทยาลัยหมู่บ้านสุขภาวะ

    โครงการ : มหาวิทยาลัยหมู่บ้าน บ้านหัวลำภู
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : นำคนต้นแบบมาพัฒนาศักยภาพ ถอดบทเรียนภูมิปัญญาและการปฏิบัติ จากความรู้ในคน มาเขียนเป็นหลักสูตรเพื่อให้เพื่อนบ้านได้มาเรียนรู้ เป็นหลักสูตรฉบับชาวบ้านที่เกิดจากการปฏิบัติจริงในบ้านตนเอง เพื่อจัดการให้เกิดการเรียนรู้ของผู้สนใจ
    ผลของ Best Practice : นำไปจัดการเรียนการสอนในหมู่บ้านแบบชาวบ้านสอนชาวบ้าน สอนภูมิปัญญาของหมู่บ้าน ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้ได้ช่วยตนเอง ครอบครัว ชุมชน แก้จน อยู่อย่างพอเพียง เกิดสุขภาวะชุมชน

  363. ชื่อ Best Practice : มัคคุเทศก์น้อยในชุมชน

    โครงการ : มัคคุเทศน้อยแห่งเขาขุนพนม
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1. พัฒนาศักยภาพเยาวชนเป็นแกนนำในการทำกิจกรรมเพื่อชุมชน 2. สืบค้นเรื่องราวของชุมชนโดยกลุ่มเยาวชนเพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้ประวัติของชุมชนจากเรื่องเล่าของคนรุ่นเก่าในชุมชน 3. ฝึกเยาวชนเป็นมัคคุเทศ โดยพี่สอนน้อง 4. ชักชวนให้คนในชุมชน โดยเริ่มจากครอบครัว จัดกิจกรรมครอบครัวอบอุ่นโดยคนในครอบครัว จัดกิจกรรมครอบครัวสัมพันธ์พ่อแม่ลูก 5. ส่งเสริมให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ร่วมทำความดีเพื่อชุมชน 6. สร้างพลังและแรงจูงใจให้เยาวชนเห็นคุณค่าของตนเอง
    ผลของ Best Practice : 1. มีกลุ่มแกนนำการทำกิจกรรมที่เป็นเยาวชนสืบทอดวัฒนธรรมรุ่นสู่รุ่น 2. กลุ่มเยาวชนมีส่วนร่วมทำความดีเพื่อชุมชน 3. มีมัคคุเทศน้อยในชุมชนสืบทอด 4. เกิดสถาบันครอบครัวอบอุ่น

  364. ชื่อ Best Practice : ฮาลาเกาะห์

    โครงการ : มัสยิดกุนุงจนองสร้างสุข สู่สองวัยใส่ใจสุขภาพ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นการจัดการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของคนในชุมชน โดยเน้นการเรียนรู้ศาสนาเป็นฐาน
    ผลของ Best Practice : ให้ผู้คนในชุมชนจัดการเรียนรู้แบบกลุ่ม และมีการเวียนไปตามบ้านของสมาชิกแต่ละคน ที่เป็นสมาชิกกลุ่ม

  365. ชื่อ Best Practice : ผังเครือญาติ

    โครงการ : มัสยิดกุนุงจนองสร้างสุข สู่สองวัยใส่ใจสุขภาพ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การจัดเก็บข้อมูลชุมชนว่าด้วยเรื่องของประวัติความเป็นมาและการให้เยาวชนมีส่วนร่วมได้ง่าย
    ผลของ Best Practice : จะใช้เป็นเหมือนการเตรียมชุมชนให้มีความพร้อมก่อนที่จะเริ่มคิดงานด้านการพัฒนาด้านอื่นๆ

  366. ชื่อ Best Practice : การจัดการข้อมูลของผู้สูงอายุ

    โครงการ : มัสยิดกุนุงจนองสร้างสุข สู่สองวัยใส่ใจสุขภาพ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การให้เยาวชนในชุมชนได้ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูล และร่วมวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ
    ผลของ Best Practice : จะทำให้เยาวชนที่มีผู้สูงอายุอยู่ในบ้านเข้าใจวิธีการจัดการและการดูแลมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการทำให้เยาวชนเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุ จึงเป็นการสร้างความรักและสามัคคีกันระหว่างวัยได้

  367. ชื่อ Best Practice : เรือนเพาะชำกล้าไม้ ที่ร.ร.ชุณหวัณ

    โครงการ : เมื่อเด็กกล้วยเถื่อนสร้างธนาคารฯที่บ้านทุ่งยูง(ต่อเนื่อง)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ประชุมสร้างความเข้าใจในการสร้างพื้นที่สีเขียวและพืชอาหารเพิ่มในชุมชน ร่วมกับร.ร.ฯและหมู่บ้าน ร่วมกันออกแบบ ผู้ปกครองและเด็กจัดหาพันธ์ไม้มาอนุบาลในเรือนเพาะชำ และจัดเวรกันดูแลพันธ์ไม้
    ผลของ Best Practice : เป็นแหล่งอนุบาลพันธ์ไม้ที่ช่วยกันหามา รักษาให้พร้อมและแข็งแรงพอ ก่อนที่จะนำไปปลูก จะเพิ่มจำนวนการอยู่รอดของต้นไม้ท่เอาไปปลูก ดีกว่าที่ขุดมาแล้วนำไปปลูกเลย จะมีอัตราการตามยสูงมาก

  368. ชื่อ Best Practice : สวนผักชายหนน ถนนสายเข้าร.ร.ชุณหวัณและถนนภายในหมู่บ้าน

    โครงการ : เมื่อเด็กกล้วยเถื่อนสร้างธนาคารฯที่บ้านทุ่งยูง(ต่อเนื่อง)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ประชุมสร้างความเข้าใจคนในหมู่บ้านร่วมกับกลุ่มเด็กและครู ร.ร.ชุณหวัณ ถึงความจำเป็นที่จะต้องสร้างพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น มีพืชอาหารเพิ่มขึ้นในชุมชน ช่วยกันหาพันธ์ไม้ไปอนุบาลไว้ในเรือนเพาะชำที่โรงเรียนฯ และช่วยกันเตรียมพื้นที่ปลูก ถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมก็นัดกันเอามาปลูกในที่ๆเตรียมไว้
    ผลของ Best Practice : มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น มีพืชอาหารเพิ่มขึ้นในชุมชน

  369. ชื่อ Best Practice : บัญชีครัวเรือน

    โครงการ : ยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.รับสมัครกลุ่มเป้าหมายมาทำกิจกรรมเรียนรู้บัญชีครัวเรือน วิธีลดหนี้สินครัวเรือนเรียนรู้วิธีการบันทึกบัญชีครัวเรือน 2.เพื่อต้องการแก้ปัญหาหนี้สินระดับครัวเรือนโดยเรียนรู้จากรายรับรายจ่ายในครอบครัวและมีวิธีการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 3.หลังจากเรียนรู้บัญชีการฝึกนิสัยการรับผิดชอบและรู้จักสังเกตรายรับรายจ่ายในครัวเรือน เพื่อให้ทุกคนในครัวเรือนร่วมกันประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนชีครัวเรือนแล้ว 4.ให้กลุ่มเป้าหมายได้ไปบันทึกที่บ้านและทุกเดือน และเอาผลการบันทึกบัญชีมาพูดคุยอะไรเป็นค่าใช้จ่ายที่มากที่สุด อะไรเป็นค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย สามารถที่จะประหยัดส่วนใหนได้บ้างเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบบรมได้ รู้จักข้อมูลของครัวเรือนตนเอง
    ผลของ Best Practice : 1.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้การลดรายจ่ายในครัวเรือน 2.เกิดแนวทางการลดหนี้ครัวเรือน

  370. ชื่อ Best Practice : บัญชีครัวเรือน

    โครงการ : ยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.) รับสมัครกลุ่มเป้าหมายมาทำกิจกรรมเรียนรู้บัญชีครัวเรือน วิธีลดหนี้สินครัวเรือนเรียนรู้วิธีการบันทึกบัญชีครัวเรือน 2.) เพื่อต้องการแก้ปัญหาหนี้สินระดับครัวเรือนโดยเรียนรู้จากรายรับรายจ่ายในครอบครัวและมีวิธีการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 3.) หลังจากเรียนรู้บัญชีการฝึกนิสัยการรับผิดชอบและรู้จักสังเกตรายรับรายจ่ายในครัวเรือน เพื่อให้ทุกคนในครัวเรือนร่วมกันประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนชีครัวเรือนแล้ว 4.) ให้กลุ่มเป้าหมายได้ไปบันทึกที่บ้านและทุกเดือน และเอาผลการบันทึกบัญชีมาพูดคุยอะไรเป็นค่าใช้จ่ายที่มากที่สุด อะไรเป็นค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย สามารถที่จะประหยัดส่วนใหนได้บ้างเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบบรมได้ รู้จักข้อมูลของครัวเรือนตนเอง
    ผลของ Best Practice : 1.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้การลดรายจ่ายในครัวเรือน 2.เกิดแนวทางการลดหนี้ครัวเรือน

  371. ชื่อ Best Practice : บัญชีครัวเรือน

    โครงการ : ยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.รับสมัครกลุ่มเป้าหมายมาทำกิจกรรมเรียนรู้บัญชีครัวเรือน วิธีลดหนี้สินครัวเรือนเรียนรู้วิธีการบันทึกบัญชีครัวเรือน 2.เพื่อต้องการแก้ปัญหาหนี้สินระดับครัวเรือนโดยเรียนรู้จากรายรับรายจ่ายในครอบครัวและมีวิธีการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 3.หลังจากเรียนรู้บัญชีการฝึกนิสัยการรับผิดชอบและรู้จักสังเกตรายรับรายจ่ายในครัวเรือน เพื่อให้ทุกคนในครัวเรือนร่วมกันประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนชีครัวเรือนแล้ว 4.ให้กลุ่มเป้าหมายได้ไปบันทึกที่บ้านและทุกเดือน และเอาผลการบันทึกบัญชีมาพูดคุยอะไรเป็นค่าใช้จ่ายที่มากที่สุด อะไรเป็นค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย สามารถที่จะประหยัดส่วนใหนได้บ้างเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบบรมได้ รู้จักข้อมูลของครัวเรือนตนเอง
    ผลของ Best Practice : 1.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้การลดรายจ่ายในครัวเรือน 2.เกิดแนวทางการลดหนี้ครัวเรือน

  372. ชื่อ Best Practice : “ลดการขัดแย้งด้วยกลุ่มยาเหลือง”

    โครงการ : ยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ชวนคนเข้ามารวมกลุ่ม โดยครั้งแรกให้เรียนรู้เรื่องน้ำยาเอนกประสงค์ แล้วสอนเรื่องสมุนไพรและรวมกลุ่มทำยาเหลือ และสอนไปในโรงเรียนให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้
    ผลของ Best Practice : -ลดความขัดแย้งในชุมชน -เป็นการสร้างสิ่งที่ดีให้กับชุมชน -เป็นการสร้างรายได้กับชุมชนและครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม -เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน กับโรงเรียน

  373. ชื่อ Best Practice : “ลดการขัดแย้งด้วยกลุ่มยาเหลือง”

    โครงการ : ยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ชวนคนเข้ามารวมกลุ่ม โดยครั้งแรกให้เรียนรู้เรื่องน้ำยาเอนกประสงค์ แล้วสอนเรื่องสมุนไพรและรวมกลุ่มทำยาเหลือ และสอนไปในโรงเรียนให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้
    ผลของ Best Practice : -ลดความขัดแย้งในชุมชน -เป็นการสร้างสิ่งที่ดีให้กับชุมชน -เป็นการสร้างรายได้กับชุมชนและครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม -เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน กับโรงเรียน

  374. ชื่อ Best Practice : การเรียนรู้อาชีพเสริมของผู้ปกครอง

    โครงการ : เยาวชนคนแป-ระใต้สามัคคี ทำดีเพื่อชุมชน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : นำเยาวชนศึกษาและลองทำอาชีพเสริมของผู้ปกครอง ได้แก่ การตัดเย็บเสื้อผ้า การทำขนมพื้นเมือง ทำตะกร้าเส้นพลาสติด และสบู่
    ผลของ Best Practice : - เยาวชนเกิดการเรียนรู้ความยากง่าย ความเหนื่อยยากของผู้ปกครองที่ต้องทำงานหลักคือ ทำสวยยางแล้ว ยังต้องทำอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว - เยาวชนมีความรู้ ทักษะในงานอาชีพนั้นๆ สามารถช่วยพ่อแม่ได้ หรือหารายได้ให้กับตัวเองได้

  375. ชื่อ Best Practice : แผนที่ศักยภาพคน

    โครงการ : เยาวชนคนสองปาก ศึกษาราก เรียนรู้จากชุมชน(ต่อเนื่องปี2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เยาวชนลงพื้นที่ในหมู่บ้าน สำรวจสถานการณ์เยาวชน และค้นหา
    ผลของ Best Practice : อยู่ในขั้นดำเนินการ ยังไม่ได้นำไปใช้

  376. ชื่อ Best Practice : เยาวชนบรรยายธรรมเรื่องศาสนากับการจัดการขยะ

    โครงการ : เยาวชนนาโต๊ะขุน คนรุ่นใหม่ ใส่ใจจัดการขยะ (ต่อเนื่อง ปี 2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - สภานาโต๊ะขุน เยาวชนขาหุ้น อิหม่าม ร่วมทำความเข้าใจเยาวชนและครูโรงเรียนตาดีกา รวม 40 คน - อิหม่ามบรรยายหลักศาสนาที่สอดคล้องกับการจัดการขยะ - ครูตาดีกา ชวนนักเรียนให้คิดต่อยอดจากที่อิหม่ามบรรยาย และเขียนเป็นสุนทรพจน์ของตนเอง และให้นักเรียนส่ง - ครูตาดีกาคัดเลือกสุนทรพจน์ และฝึกให้นักเรียนบรรยายธรรม - นำนักเรียน 3 คนที่ได้รับการคัดเลือกบรรยายในการละหมาดวันศุกร์
    ผลของ Best Practice : - เยาวชนมีความรู้ ความเข้าสามารถเชื่อมโยงหลักศาสนากับการจัดการขยะ - เยาวชนมีทักษะการพูด - ผู้นำศาสนาได้มามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมโครงการ - ผู้ปกครองได้ชื่นชมความสามารถของเยาวชน และเข้าใจ ให้ความร่วมมือในการจัดการขยะมากขึ้น

  377. ชื่อ Best Practice : การจัดตั้งสภเด็กและเยาวชน ทำหน้าที่แทนสภาผู้นำชุมชน

    โครงการ : เยาวชนบางกล้วยนอกนักจัดการทรัพยากรธรรมชาติบนฐานทรัพยากร 3 วงล้อ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - คัดเลือก จัดตั้ง ตัวแทนเยาวชน มาทำหน้าที่ในการจัดกิจกรรมการดำเนินงานโครงการ ร่วมกับผู้ใหญ่ที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา เพื่อให้เยาวชนบริหารจัดการกันเอง
    ผลของ Best Practice : - เยาวชนมีพัฒนาการในการทำงาน สามารถดูแลกันเองได้ และเข้าถึงกันมากกว่าให้ผู้ใหญ่มาบริหารจัดการ

  378. ชื่อ Best Practice : สภาเด็กและเยาวชน

    โครงการ : เยาวชนบางกล้วยนอกนักจัดการทรัพยากรธรรมชาติบนฐานทรัพยากร 3 วงล้อ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - การจัดตั้งสภเด็กและเยาวชน ทำหน้าที่ร่วมกับสภาผู้นำชุมชน ให้บทบาท ความสำคัญกับเด็กและเยาวชนในชุมชนในการพัฒนาบ้านเกิดของบตนเอง
    ผลของ Best Practice : - เยาวชนมีพัฒนาการในการทำงาน สามารถดูแลกันเองได้ และเข้าถึงกันมากกว่าให้ผู้ใหญ่มาบริหารจัดการ

  379. ชื่อ Best Practice : สภาเด็กและเยาวชน

    โครงการ : เยาวชนบางกล้วยนอกนักจัดการทรัพยากรธรรมชาติบนฐานทรัพยากร 3 วงล้อ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - การจัดตั้งสภเด็กและเยาวชน ทำหน้าที่ร่วมกับสภาผู้นำชุมชน ให้บทบาท ความสำคัญกับเด็กและเยาวชนในชุมชนในการพัฒนาบ้านเกิดของบตนเอง
    ผลของ Best Practice : - การทำให้เด็กมีบทบาท มีหน้าที่ ทำให้เขาเห็นถึงคุณค่า และความสำคัญของตนเอง ต่อครอบครัว ต่อสังคม

  380. ชื่อ Best Practice : การสร้างพื้นที่สร้างสรรค์เยาวชนคนเกาะจันทร์

    โครงการ : เยาวชนร่วมใจอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านควนเกาะจันทร์
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ใช้ดนตรีไทยเป็นสื่อให้เยาวชน นักเรียนในหมู่บ้านได้เข้ามาเรียนรู้และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เกิดสมาธิในการเรียนและลดการมั่วสุมในกลุ่มเสี่ยง
    ผลของ Best Practice : เกิดวงดนตรีไทยโรงเรียนบ้านควนเกาะจันทร์ฺ

  381. ชื่อ Best Practice : เพลงอัลนาซีส สอนใจให้เยาวชนรักถิ่นและห่างไกลยาเสพติด

    โครงการ : เยาวชนรักถิ่น บ้านหัวเขา
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - การอบรมวิธีการแต่งเนื้อร้อง ทำนอง และการขับร้อง
    ผลของ Best Practice : - มีสื่อด้านการป้องกันยาเสพติดที่ทำขึ้นเองโดยเยาวชน

  382. ชื่อ Best Practice : เพลงอัลนาซีส สอนใจให้เยาวชนรักถิ่นและห่างไกลยาเสพติด

    โครงการ : เยาวชนรักถิ่น บ้านหัวเขา
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - การอบรมวิธีการแต่งเนื้อร้อง ทำนอง และการขับร้อง
    ผลของ Best Practice : - มีสื่อด้านการป้องกันยาเสพติดที่ทำขึ้นเองโดยเยาวชน

  383. ชื่อ Best Practice : ลิเกฮูลู

    โครงการ : เยาวชนวัยใส ใส่ใจ ป้องกันภัยยาเสพติดบ้านหูเล่ (ต่อเนื่อง)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : รวมกลุ่มจัดหาเครื่องเล่นดนตรีเเละซักซ้อมการเเสดงลิเกฮูลู
    ผลของ Best Practice : ประชาชนสนใจอย่างมากหน่วยงานต่างๆติดต่อนำไปแสดงหลายแห่ง

  384. ชื่อ Best Practice : การเฝ้าระวังอุบัติเหตุโดยชุมชน

    โครงการ : ร่วมสร้าง เส้นทางลดความตาย มีได้ด้วยอาสาร่วมพัฒนาทีมช่วยเพื่อนบ้านทันเวลาและปลอดภัย
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การร่วมมือและถอดบทเรียนและทดลองทำฝึก
    ผลของ Best Practice : ชุมชนเข้มแข็งเพิ่งตนเองได้ในเรื่องของการเฝ้าระวังอุบัติเหตุชุมชน

  385. ชื่อ Best Practice : ....จักรยานสานฝันวันอาทิตย์

    โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนนากวดน่าอยู่ ด้วยกิจกรรมโครงการสืบชะตาคลองนาท่อม
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ปั่นเก็บขยะ ปั่นปลูกต้นไม้ ปั่นกวาดขยะวัด โรงเรียน ชลประทาน ถนนสาธารณะ โดยปดาห์ปคณะทำงานเป็นแกนนำชักชวนเด็ก เยาวชนและครอบครัวในชุมชนเข้าร่วมและขยายผลเพิ่มปริมาณชักชวนคนในชุมชนเข้าร่วม ปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ 60-80 คนต่อสัปดาห์
    ผลของ Best Practice : ป็นการรวมคนเพื่อสร้างกิจกรรมการมีส่วนร่วมที่เป็นประโยชน์และเป็นฐานในการต่อยอดกิจกรรมอื่นในอนาคต

  386. ชื่อ Best Practice : กองทุนน้ำชา

    โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ โครงการ เยาวชนคนสร้างสุข
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นความร่วมมือของคนในชุมชนที่จะส่งเสริมให้เยาวชนได้มีเวทีฝึกอาชีพและมีรายได้เป็นของตนเอง
    ผลของ Best Practice : เกิดการต่อยอดและยั่งยืนในการประกอบอาชีพของเยาวชนในชุมชน

  387. ชื่อ Best Practice : กองทุนน้ำชา

    โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ โครงการ เยาวชนคนสร้างสุข
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นความร่วมมือของคนในชุมชนที่ต้องารส่งเสริมให้เยาวชนได้มีการฝึกอาชีพและมีรายได้เป็นของตนเอง
    ผลของ Best Practice : เยาวชนเกิดการเรียนรู้ในการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืนและเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

  388. ชื่อ Best Practice : การเชื่อมโยงเครือข่ายบริการฉุกเฉิน

    โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ บ้านดอนรักร่วมใจสร้างความปลอดภัยในชุมชน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : มีการนำแนวทางการปฏิบัติงานจากการเรียนรู้ของผู็รับผิดชอบโครงการและทีมงาน มาจัดระบบใหม่ ที่สามารถประสานกับหน่วยงานอื่น ๆที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยกู้ชีพด้วยกัน โรงพยาบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลและอำเภอสวี พร้อมทั้งดึงแกนนำชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมด้วยเพื่อการหนุนเสริมในด้านกำลังใจ งบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่นรถรับส่งจากโรงพยาบาลสวี เป็นต้น
    ผลของ Best Practice : สามารถประสานงานกับหน่วยกู้ชีพและกู้ภัยอื่น ๆได้โดยไม่มีความขัดแย้ง

  389. ชื่อ Best Practice : การลดโรคไข้เลือดออกในชุมชน

    โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึก จัดการขยะชุมชน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : มีการสำรวจลูกนำ้ยุงลายและจัดเก็บภาชนะบริเวณบ้านเรือน
    ผลของ Best Practice : ทำให้อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนลดลง

  390. ชื่อ Best Practice : การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะ

    โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึก จัดการขยะชุมชน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : จากการนำข้อมูลขยะในชุมชนมาวิเคราะห์และร่วมกันหาวิธีการจัดการ โดยใช้สภาผู้นำชุมชนมาร่วมกันวางแผนและติดตามประเมินการดำเินงานอย่างต่อเนื่อง
    ผลของ Best Practice : 1.ปริมาณขยะในชุมชนลดลง เหลือ 300 กิโลกรัม ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ 2. เกิดธนาคารขยะในชุมชนและสวัสดิการชุมชนจากรายได้ในการขายขยะ 3. มีการขยายผลสู่หมู่บ้านใกล้เคียงทั้งในและนอกตำบลทรายขาว และ เกิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกันในกลุ่มการจัดการขยะชุมชน เกิดกลุ่มรักษ์สะอาดในชุมชน 4. ช่วยลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน 5.ขยายสู่การดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จนได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่งในการประกวดการจัดการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดกระบี่ ประจำปี 2559น

  391. ชื่อ Best Practice : เกษตรอินทรีย์

    โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านหัวหินปลอดขยะ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ชุมชนรวมตัวกันจัดทำปุ๋ยหมักใช้ในครัวเรือนและใส่ในพืชเกษตรชุมชนเช่นปาล์ม
    ผลของ Best Practice : ชุมชนลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อปุ๋ยใส่ปาล์มในหมู่บ้าน

  392. ชื่อ Best Practice : การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะของแหล่งท่องเที่ยวบ้านหัวหิน

    โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านหัวหินปลอดขยะ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ชุมชนได้นำข้อมูลขยะในแหล่งท่องเที่ยวบ้านหัวหิน มาวิเคราะห์และร่วมกันวางแผนการดำเนินงานโดยใช้หลักศาสนาอิสลามมาเป็นแนวคิดในการทำงาน มีการจัดเก็บข้อมูลขยะโดยละเอียด ก่อนจัดอบรมและให้ความรู้ในการจัดการขยะและการศึกษาดูงานพื้นที่อื่น นำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ในพื้นที่ เริ่มด้วยการรับสมัครครัวเรือนที่สนใจและแบ่งพื้นที่การทำงานเป็น 7 โซน มอบหมายผู้ติดตามประเมินในแต่ละโซน มีการเสริมแรงจูงใจในการจัดประกวดครัวเรือนสะอาดโซนบ่้านน่ามองและการประชุมขอความร่วมมือผู้ประกอบการในบริเวณบ้านหัวหินโดยเฉพาะที่ท่าเทียบแพขนานยนต์บ้านหัวหินซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางสู่เกาะลันตา
    ผลของ Best Practice : 1.ทำให้ชุมชนบ้านหัวหินมีความสะอาด 2. เป็นประตูที่นักท่องเที่ยวเดินทางผ่านและเกิดความประทับใจในความสะอาดของชุมชน

  393. ชื่อ Best Practice : การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะของแหล่งท่องเที่ยวบ้านหัวหิ

    โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านหัวหินปลอดขยะ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ชุมชนได้นำข้อมูลขยะในแหล่งท่องเที่ยวบ้านหัวหิน มาวิเคราะห์และร่วมกันวางแผนการดำเนินงานโดยใช้หลักศาสนาอิสลามมาเป็นแนวคิดในการทำงาน มีการจัดเก็บข้อมูลขยะโดยละเอียด ก่อนจัดอบรมและให้ความรู้ในการจัดการขยะและการศึกษาดูงานพื้นที่อื่น นำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ในพื้นที่ เริ่มด้วยการรับสมัครครัวเรือนที่สนใจและแบ่งพื้นที่การทำงานเป็น 7 โซน มอบหมายผู้ติดตามประเมินในแต่ละโซน มีการเสริมแรงจูงใจในการจัดประกวดครัวเรือนสะอาดโซนบ่้านน่ามองและการประชุมขอความร่วมมือผู้ประกอบการในบริเวณบ้านหัวหินโดยเฉพาะที่ท่าเทียบแพขนานยนต์บ้านหัวหินซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางสู่เกาะลันตา
    ผลของ Best Practice : 1.ทำให้ชุมชนบ้านหัวหินมีความสะอาด 2. เป็นประตูที่นักท่องเที่ยวเดินทางผ่านและเกิดความประทับใจในความสะอาดของชุมชน

  394. ชื่อ Best Practice : การได้รับความร่วมมือจากฝ่ายตรงข้าม

    โครงการ : ร่วมอนุรักษ์คลองบางไทร ล้อมรั้วด้วยใจ ถักทอสวนสายใยด้วยภูมิปัญญา นำพาสุขภาวะชุมชน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ด้วยผู้ใหญ่บ้านเพิ่งได้รับการเลือกตั้งใหม่ ส่วนหนื่งมีความบาดหมางกันบ้างในชุมชน แต่ผู้ใหญ่บ้านท่านได้ไปชักชวนกลุ่มแกนนำซึ่งเป็นกลุ่มผู้ใหญ่บ้านคนก่อน ให้เข้ามาร่วมเป็นแกนนำในการทำโครงการและได้ชักชวนกลุ่มเพื่อนเข้ามาร่วมกิจกรรมด้วย
    ผลของ Best Practice :

  395. ชื่อ Best Practice : สวนภูมิปัญญาบ้านบางไทร

    โครงการ : ร่วมอนุรักษ์คลองบางไทร ล้อมรั้วด้วยใจ ถักทอสวนสายใยด้วยภูมิปัญญา นำพาสุขภาวะชุมชน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : สร้างสรรค์และรวบรวมวัฒนธรรมบางไทร มาเก็บ แสดง ไว้ และ ทำให้มีชีวิต โดยการสร้างสวนหย่อม พื้นที่อุปกรณ์ออกกำลังกาย ให้ เป็นสถานที่ เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพคนในชุมชนทุกเพศทุกวัย ใช้เป็นเวทีชาวบ้านในการพูดคุยปรึกษาปัญหาชุมชน
    ผลของ Best Practice : ศูนย์เรียนรู้ด้านภูมิปัญญาบางไทร

  396. ชื่อ Best Practice : ข้อตกลงการใช้สวนภูมิปัญญาบางไทร

    โครงการ : ร่วมอนุรักษ์คลองบางไทร ล้อมรั้วด้วยใจ ถักทอสวนสายใยด้วยภูมิปัญญา นำพาสุขภาวะชุมชน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : จัดทำข้อตกลงร่วมกัน
    ผลของ Best Practice : สรุปข้อตกลงในการจัดทำสวนภูมิปัญญาเพื่อสุขภาพของบ้านบางไทร โดยการระดมสมอง อภิปราย แล้วลงมติ และจัดทำป้ายมาประกาศไว้ที่สวนภูมิปัญญา มีข้อตกลงดังนี้ 1. ที่ดินที่ใช้เป็นสถานที่จัดทำสวนภูมิปัญญานี้ได้รับบริจาคให้ใช้ประโยชน์โดย นส.เสาวนีย์ ศรีต้า สมาชิก อบต.บ้านบางไทร 2. สวนภูมิปัญญาและอุปกรณ์ สิ่งของต่างๆ เป็นสมบัติของบ้านบางไทร ห้ามมิให้ผู้ใดนำออกจากบริเวณสวนภูมิปัญญา 3. บริเวณสวนภูมิปัญญามีวัตถุประสงค์จัดทำขึ้นเพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านบางไทร 4. สถานที่นี้เป็นเขตปลอดบุหรี่-สุราตามนโยบายการคุ้มครองสุขภาพ และห้ามนำสารเสพติดให้โทษเข้ามาในบริเวณสวนภูมิปัญญา 5. สวนภูมิปัญญา เป็นสวนสุขภาพ จัดทำขึ้นโดยชาวบางไทรเพื่อประโยชน์ทางสุขภาพและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องของบ้านบางไทร 6. หลังทำกิจกรรมชุมชน ให้ผู้จัดหรือผู้ขออนุญาตจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง รับผิดชอบในการเก้บกวาดให้เรียบร้อย 7.สถานที่นี้เป็นสวนสุขภาพ โปรดจงช่วยรักษาความสะอาด ไม่ทิ้งขยะ หรือนำสัตว์มาเลี้ยง ปล่อย 8.กรณีที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงมติข้อตกลงให้ใช้ที่ประชุมกรรมการหมู่บ้านในการลงมติ 9. สวนภูมิปัญญาบ้านบางไทร รับบริจาคอุปกรณ์เครื่องมือ

  397. ชื่อ Best Practice : การนำปัญหาร่วมของชุมชนมาใช้ในการดำเนินงานโครงการ

    โครงการ : ร่วมอนุรักษ์ปากน้ำกะแดะให้ชุมชนน่าอยู่
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - จากการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน พบว่า ชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ประสบกับปัญหาการรู้ไม่เท่าทัน ไม่รู้กฏหมายใหม่เกี่ยวกับประมงพื้นที่บ้าน เมื่อมีการดำเนินงานเรื่องนี้ จึงได้รับความสนใจ ความร่วมมือ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับปากท้องโดยตรง
    ผลของ Best Practice : - ในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับกฏหมายประมงพื้นบ้าน มีผู้สนใจเข้าร่วมมากกว่าเป้าหมายที่วางไว้ และให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ เพราะเป็นเรื่องของคนทุกคนในชุมชน

  398. ชื่อ Best Practice : การนำปัญหาร่วมของชุมชนมาใช้ในการดำเนินงานโครงการ

    โครงการ : ร่วมอนุรักษ์ปากน้ำกะแดะให้ชุมชนน่าอยู่
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - จากการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน พบว่า ชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ประสบกับปัญหาการรู้ไม่เท่าทัน ไม่รู้กฏหมายใหม่เกี่ยวกับประมงพื้นที่บ้าน เมื่อมีการดำเนินงานเรื่องนี้ จึงได้รับความสนใจ ความร่วมมือ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับปากท้องโดยตรง
    ผลของ Best Practice : - ในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับกฏหมายประมงพื้นบ้าน มีผู้สนใจเข้าร่วมมากกว่าเป้าหมายที่วางไว้ และให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ เพราะเป็นเรื่องของคนทุกคนในชุมชน

  399. ชื่อ Best Practice : ...การเปิดเวทีให้ผู้ที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีตำบลพนางตุง ได้แถลงนโยบายในการจัดการเขตอนุรักษ์พันธ์พืชและพันธ์สัตว์น้ำทั้งในระดับหมู่บ้านและตำบล เพื่อให้คนในชุมชนได้ทราบถึงแนวคิดและแนวทางปฏิบัติของเทศบาลในอนาคต

    โครงการ : รักษ์นาต้องรักษ์คลอง ชวนน้องมาช่วยทำ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : สร้างการเรียนรู้ให้คนในชุมชนได้เห็นความสำคัญของการทำงานร่วมกับหน่วยงานระดับตำบล ที่ชุมชนมีส่วนกำหนดแนวทางการพัฒนาตำบลและชุมชน ผ่านนโยบายสาธารณะระดับท้องถิ่น โดยอาศํยช่วงระยะเวลาของการหมดวาระของทีมบริหารเทศบาลตำบลพนางตุง และอยู่ในช่วงการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกฯ เชิญผู้บริหารของทุกทีมมาแถลงนโยบายในการจัดการทรัพยากรธรมชาติของชุมชนและตำบล เพื่อให้คนได้เรียนรู้และประกอบการตัดสินใจในการเลือกผู้นำ
    ผลของ Best Practice : เป็นการเปิดโอกาสให้คนในชุมชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะรดับชุมชนหรือท้องถิ่น เป็นการบอกความต้องการของชุมชให้แก่ผู้ที่อาสาเข้ามาทำหน้าที่ผู้บริหารระดับตำบล ในโอกาสเดี่ยวกันก็เปิดโอกาสให้แก่ผู้สมัครฯที่จะได้มีช่องทางในการสื่อสารกับชุมชนถึงแนวคิดที่จะจัดการทรัพยากรธรมชาติหากได้รับการเลือกตั้งเข้ามาเป็นผู้บริหารฯ เป็นการสร้างให้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องการเมืองภาคพลเมือง หรือการเมืองที่ชาวบ้านมีส่วนกำหนดนโยบายท้องถิ่นเอง

  400. ชื่อ Best Practice : การสร้างแนวเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ

    โครงการ : รักษาสิ่งแวดล้อมและประมงชายฝั่งบ้านสามเสียม
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การรวมกลุ่มของประชาชนและได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานในการวางแนวเขตในทะเลเพื่อกันไว้เป็นพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำและการประมงชายฝั่งของชาวบ้าน
    ผลของ Best Practice : มีเขตพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำเพื่อให้เป็นแหล่งอาหารของประชาชนทุกคน

  401. ชื่อ Best Practice : เพาะถั่วงอกจากวัสดุเหลือใช้

    โครงการ : รูปแบบการจัดการตลาดเทศวิวัฒน์ 1 เพื่อสุขภาวะของชุมชน (ต่อเนื่อง)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การเพาะถั่วงอกแบบใหม่ด้วยการนำวัสดุเหลือจากการมองไม่เห็นคุณค่าสามารถนำมาเพิ่นคุณค่าเป็นรายได้เสริมแก่ตคนในชุมชนที่ให้ความสนใจและเป็นถั่วงอกที่ปลอดสารเจือปน
    ผลของ Best Practice : นำมาขายเป็นอาชีพเสริมแก่ผู้ที่สนใจ

  402. ชื่อ Best Practice : การซ้อมแผนอุบัติภัยพิบัติ

    โครงการ : รู้เร็ว รู้ไว จัดการภัยพิบัติ บ้านปลายทับใหม่
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การอบรมและการฝึกปฏิบัติการ
    ผลของ Best Practice : ทำให้คนในชุมชนได้รับความรู้และมีการดำเนินการเมื่อเกิดภัยพิบัติจริงในชุมชน

  403. ชื่อ Best Practice : กองทุนสวัสดิการภัยพิบัติบ้านปลายทับใหม่

    โครงการ : รู้เร็ว รู้ไว จัดการภัยพิบัติ บ้านปลายทับใหม่
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เกิดจากการร่วมกันของคนในชุมชนในการจัดสวัสดิการช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติในหมู่บ้าน ทำให้สามารถได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุการณ์
    ผลของ Best Practice : ช่วยเหลือผู้ประสพเหตุภัยพิบัติในหมู่บ้าน

  404. ชื่อ Best Practice : การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการภัยพิบัติ บ้านปลายทับใหม่

    โครงการ : รู้เร็ว รู้ไว จัดการภัยพิบัติ บ้านปลายทับใหม่
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เกิดจากการนำข้อมูลการเกิดภัยพิบัติและความเสียหายในหมู่บ้านมาร่วมกันวิเคราะห์และหาแนวทางการแก้ไขร่วมกัน โดยผ่านสภาผู้นำชมชน มีการจัดทำข้อมูลหมู่บ้านด้วยGIS การซ้อมแผนภัยพิบัติและการเตรียมอุปกรณ์การสื่อสารตลอดจนการจัดตั้งกองทุนภัยพิบัติ เพื่อการช่วยเหลือเบื้องต้นในชุมชน
    ผลของ Best Practice : 1. ทำให้คนในชุมชนมีความอุ่นใจ ลดความกังวลเมื่อต้องเจอภัยพิบัติ 2. ได้รับการคัดเลือกนำเสนอในเวทีวิชาการงานสร้างสุขภาคใต้ ปี 2559 3. นำเป็นส่วนหนึ่งของการประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับจังหวัดกระบี่ ปี 2559

  405. ชื่อ Best Practice : ...ปุ๋ยหมักชีวภาพ

    โครงการ : เรียนรู้อยู่ได้ห่างไกลโรคอ้วน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : มีการทดลองทำปุ๋ยชีวภาพ 3 ครั้ง โดยมีส่วนผสมต่างกัน แต่สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ ขุยมะพร้าวไม่ควรนำมาใช้ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เพราะทำให้เกิดเชื้อรา
    ผลของ Best Practice : 1.เป็นการอนุรักษ์ บำรุงดิน 2.ลดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องใช้สารเคมี 3.เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเกิดองค์ความรู้ในการทำปุ๋ยชีวภาพ

  406. ชื่อ Best Practice : ...1.ปุ๋ยหมักชีวภาพ

    โครงการ : เรียนรู้อยู่ได้ห่างไกลโรคอ้วน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : มีการทดลองทำปุ๋ยชีวภาพ 3 ครั้ง โดยมีส่วนผสมต่างกัน แต่สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ ขุยมะพร้าวไม่ควรนำมาใช้ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เพราะทำให้เกิดเชื้อรา
    ผลของ Best Practice : 1.เป็นการอนุรักษ์ บำรุงดิน 2.ลดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องใช้สารเคมี 3.เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเกิดองค์ความรู้ในการทำปุ๋ยชีวภาพ

  407. ชื่อ Best Practice : พัฒนาคน พัฒนาสิ่งแวดล้อม เพื่อสุขภาวะชุมชน

    โครงการ : โรงเรียนร้างสร้างชีวิต
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ปรับเปลี่ยนความคิดของคนให้เห็นศักยภาพของชุมชน ของตนเอง มาร่วมกันทำงานเป็นทีม โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทาง ร่วมกันพัฒนาโรงเรียนร้างให้เป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชน
    ผลของ Best Practice : ให้ประชาชน นักเรียน และหน่วยงาน ได้ร่วมเรียนรู้ ร่วมพัฒนาให้เป็นตัวอย่างแก่หมู่บ้านอื่นๆ

  408. ชื่อ Best Practice : การเรียนรู้จากโรงเรียนร้างนำสู่ครัวเรือน

    โครงการ : โรงเรียนร้างสร้างชีวิตบ้านทุ่งหนองควาย (ต่อยอดปี 2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ชาวบ้านรวมตัวกันทำจุดเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและในครัวเรือน ใช้โรงเรียนร้างเป็นจุดเริ่มต้น ขยายผลสู่ครัวเรือน ใช้ผังครัวเรือนเป็นเครื่องช่วยเรียนรู้
    ผลของ Best Practice : เป็นตัวอย่างของการพัฒนาองค์ความรู้ของชุมชน จากภูมิปัญญาท้องถิ่น

  409. ชื่อ Best Practice : โรงเรียนร้างสร้างชีวิต

    โครงการ : โรงเรียนร้างสร้างชีวิตบ้านทุ่งหนองควาย (ต่อยอดปี 2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ผู้นำชุมชนได้นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในประเด็นการมีเหตุผลและการมีภูมิคุ้มกัน มาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของหมู่บ้าน 1. หลักการมีเหตุผล กลุ่มผู้นำชุมชน ประชาชน และหน่วยงานในท้องถิ่น ร่วมมือกันพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าและอาคารชำรุดในโรงเรียนร้าง ให้เป็นฐานการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาอาชีพพอเพียง ด้วยการใช้ศักยภาพของคนในชุมชน ใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างมีเหตุผล 2. หลักการสร้างภูมิคุ้มกัน กลุ่มผู้นำชุมชนและประชาชน ใช้ความรู้ของกลุ่มอาชีพเศรษฐกิจพอเพียง 4 กลุ่ม ประยุกต์เป็นฐานเรียนรู้ ให้ประชาชนได้เรียนรู้การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาอาชีพ เกิดความตระหนัก สามารถนำความรู้กลับไปปรับปรุงพื้นที่ว่างของครอบครัว ให้ได้ใช้ประโยชน์ เกิดเป็นอาชีพเกษตรผสมผสาน มีรายได้เพิ่ม มีเงินมาจ่ายค่าหนี้ สมาชิกครอบครัวไม่ต้องหลบหนีหนี้ ได้กลับมาอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ส่งผลให้ครอบครัวและชุมชนมีภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างพอเพียง
    ผลของ Best Practice : เกิดแหล่งเรียนรู้และมีการถ่ายทอดความรู้สู่ลูกหลาน

  410. ชื่อ Best Practice : โรงเรียนร้างสร้างชีวิต

    โครงการ : โรงเรียนร้างสร้างชีวิตบ้านทุ่งหนองควาย (ต่อยอดปี 2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : โรงเรียนร้างสร้างชีวิต ผู้นำชุมชนได้นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในประเด็นการมีเหตุผลและการมีภูมิคุ้มกัน มาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของหมู่บ้าน 1. หลักการมีเหตุผล กลุ่มผู้นำชุมชน ประชาชน และหน่วยงานในท้องถิ่น ร่วมมือกันพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าและอาคารชำรุดในโรงเรียนร้าง ให้เป็นฐานการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาอาชีพพอเพียง ด้วยการใช้ศักยภาพของคนในชุมชน ใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างมีเหตุผล 2. หลักการสร้างภูมิคุ้มกัน กลุ่มผู้นำชุมชนและประชาชน ใช้ความรู้ของกลุ่มอาชีพเศรษฐกิจพอเพียง 4 กลุ่ม ประยุกต์เป็นฐานเรียนรู้ ให้ประชาชนได้เรียนรู้การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาอาชีพ เกิดความตระหนัก สามารถนำความรู้กลับไปปรับปรุงพื้นที่ว่างของครอบครัว ให้ได้ใช้ประโยชน์ เกิดเป็นอาชีพเกษตรผสมผสาน มีรายได้เพิ่ม มีเงินมาจ่ายค่าหนี้ สมาชิกครอบครัวไม่ต้องหลบหนีหนี้ ได้กลับมาอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ส่งผลให้ครอบครัวและชุมชนมีภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างพอเพียง
    ผลของ Best Practice : เกิดแหล่งเรียนรู้และมีการถ่ายทอดความรู้สู่ลูกหลาน

  411. ชื่อ Best Practice : โรงเรียนมีชีวิต

    โครงการ : โรงเรียนสร้างสุข สู้เศรษฐกิจ คืนวิถึชีวิตบ้านท้องลาน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เกิดการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็กและมีพื้นที่สาธารณะ
    ผลของ Best Practice : 1.โรงเรียนร้างได้รับการซ่อมแซมบันไดใหม่ 2.โรงเรียนร้างได้เปลี่ยนพื้นกระดานใหม่บางส่วนที่ชำรุด 3. โรงเรียนร้างได้ซ่อมห้องนำ้ใหม่ 4.โรงเรียนร้างได้รับการทาสีใหม่ 5.โรงเรียนร้างได้มีกระติกนำ้ร้อนใหม่เพื่อใช้ประจำที่โรงเรียน 6.โรงเรียนร้างได้เดินสายไฟภายในอาคารใหม่

  412. ชื่อ Best Practice : ขยะแลกไข่

    โครงการ : ลดขยะ สร้างสุขภาวะคนบ้านกลาง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - ให้คนในชุมชนคัดแยกขยะ และนำมาขยะรีไซเคิลที่คัดแยกไว้มาแลกไข่ โดยได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลตำบลเขานิพันธ์
    ผลของ Best Practice : - ทำให้คนในชุมชนเกิดความตระหนัก และคัดแยกขยะเพิ่มขึ้น เพราะเห็นประโยชน์จากสิ่งที่ทำ

  413. ชื่อ Best Practice : การประสานทุนชุมชนเพื่อสร้างนวัตกรรม

    โครงการ : ลดขยะ สร้างสุขภาวะคนบ้านกลาง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - การนำสิ่งต่างๆ ที่มีในชุมชน ขยะ ภูมิปัญญา กลุ่มคน มาคิดค้น ออกแบบกิจกรรม ส่งเสริมให้คนในชุมชนออกกำลังกาย
    ผลของ Best Practice : - มีการนำสิ่งที่ทำไปแสดง ไปโชว์ เผยแพร่นอกชุมชน และถ่ายทอดให้คนนอกชุมชน

  414. ชื่อ Best Practice : การประสานทุนชุมชนเพื่อสร้างนวัตกรรม

    โครงการ : ลดขยะ สร้างสุขภาวะคนบ้านกลาง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - การนำสิ่งต่างๆ ที่มีในชุมชน ขยะ ภูมิปัญญา กลุ่มคน มาคิดค้น ออกแบบกิจกรรม ส่งเสริมให้คนในชุมชนออกกำลังกาย
    ผลของ Best Practice : - มีการนำสิ่งที่ทำไปแสดง ไปโชว์ เผยแพร่นอกชุมชน และถ่ายทอดให้คนนอกชุมชน

  415. ชื่อ Best Practice : การสืบสาวยาวโยชน์

    โครงการ : วัฒนธรรมนำสุขคนกงตาก
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - การล้อมวงพูดคุย สอบถามให้เห็นถึงรากเหง้าของชุมชน จนพบของดี ของสำคัญที่กำลังจะสูญหายไปจากชุมชน
    ผลของ Best Practice : - เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการร่วมกันอนุรักษ์ สืบสานการแสดงพื้นบ้านให้คงอยู่ แบบผู้สูงอายุถ่ายทอดสู่เยาวชน คนทำงานช่วยกันเล่นดนตรี ตีกลอง ประสานเป็นปนึ่งเดียวกันทั้งชุมชน

  416. ชื่อ Best Practice : การสืบสาวยาวโยชน์

    โครงการ : วัฒนธรรมนำสุขคนกงตาก
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การล้อมวงพูดคุย สอบถามให้เห็นถึงรากเหง้าของชุมชน จนพบของดี ของสำคัญที่กำลังจะสูญหายไปจากชุมชน
    ผลของ Best Practice : เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการร่วมกันอนุรักษ์ สืบสานการแสดงพื้นบ้านให้คงอยู่ แบบผู้สูงอายุถ่ายทอดสู่เยาวชน คนทำงานช่วยกันเล่นดนตรี ตีกลอง ประสานเป็นปนึ่งเดียวกันทั้งชุมชน

  417. ชื่อ Best Practice : มโนราห์สร้างสุข

    โครงการ : วัฒนธรรมนำสุขคนกงตาก
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การสืบสาวเรื่องราวชุมชนทำให้พบของดี คนดีที่มีภูมิปัญญา และมีการนำมาต่อยอด ถ่ายทอดให้กับเยาวชน
    ผลของ Best Practice : เยาวชนมีโอกาสได้แสดงในงานวันเด็กที่ทางเทศบาลจัด งานกีฬา งานแห่ผ้าหลวงพ่อชาน และมีการฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะแสดงในงานสำคัญของชุมชนต่อไป

  418. ชื่อ Best Practice : มโนราห์สร้างสุข

    โครงการ : วัฒนธรรมนำสุขคนกงตาก
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การสืบสาวเรื่องราวชุมชนทำให้พบของดี คนดีที่มีภูมิปัญญา และมีการนำมาต่อยอด ถ่ายทอดให้กับเยาวชน
    ผลของ Best Practice : เยาวชนมีโอกาสได้แสดงในงานวันเด็กที่ทางเทศบาลจัด งานกีฬา งานแห่ผ้าหลวงพ่อชาน และมีการฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะแสดงในงานสำคัญของชุมชนต่อไป

  419. ชื่อ Best Practice : การสืบสาวยาวโยชน์

    โครงการ : วัฒนธรรมนำสุขคนกงตาก
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การล้อมวงพูดคุย สอบถามให้เห็นถึงรากเหง้าของชุมชน จนพบของดี ของสำคัญที่กำลังจะสูญหายไปจากชุมชน
    ผลของ Best Practice : เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการร่วมกันอนุรักษ์ สืบสานการแสดงพื้นบ้านให้คงอยู่ แบบผู้สูงอายุถ่ายทอดสู่เยาวชน คนทำงานช่วยกันเล่นดนตรี ตีกลอง ประสานเป็นปนึ่งเดียวกันทั้งชุมชน

  420. ชื่อ Best Practice : 1.แหล่งเรียนรู้ปุ๋ยหมัก

    โครงการ : วัด ชุมชน ร่วมจัดการทุนที่บ้านทองพูน (ต่อยอดปี 2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.วัดทองพูนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน โดยมีการจัดทำปุ๋ย และมีจิตอาสาเข้ามาร่วมพัฒนา 2.เศษอาหาร เศษใบไม้ และมูลสัตว์แห้งถูกนำมารวมกันแล้วหมัก เพื่อเป็นปุ๋ยตามระยะเวลาที่กำหนด
    ผลของ Best Practice : 1.ประชาชนเห็นความสำคัญของวัด และเป็นศูนย์กลางการพัฒนา 2.ประชาชนได้ร่วมกันพัฒนาวัด โดยใช้ชุดสังฆทานดินเป็นจุดเดินเรื่อง

  421. ชื่อ Best Practice : 1.แหล่งเรียนรู้ปุ๋ยหมัก

    โครงการ : วัด ชุมชน ร่วมจัดการทุนที่บ้านทองพูน (ต่อยอดปี 2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.วัดทองพูนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน โดยมีการจัดทำปุ๋ย และมีจิตอาสาเข้ามาร่วมพัฒนา 2.เศษอาหาร เศษใบไม้ และมูลสัตว์แห้งถูกนำมารวมกันแล้วหมัก เพื่อเป็นปุ๋ยตามระยะเวลาที่กำหนด
    ผลของ Best Practice : 1.ประชาชนเห็นความสำคัญของวัด และเป็นศูนย์กลางการพัฒนา 2.ประชาชนได้ร่วมกันพัฒนาวัด โดยใช้ชุดสังฆทานดินเป็นจุดเดินเรื่อง

  422. ชื่อ Best Practice : 1.แหล่งเรียนรู้ปุ๋ยหมัก

    โครงการ : วัด ชุมชน ร่วมจัดการทุนที่บ้านทองพูน (ต่อยอดปี 2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.วัดทองพูนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน โดยมีการจัดทำปุ๋ย และมีจิตอาสาเข้ามาร่วมพัฒนา 2.เศษอาหาร เศษใบไม้ และมูลสัตว์แห้งถูกนำมารวมกันแล้วหมัก เพื่อเป็นปุ๋ยตามระยะเวลาที่กำหนด
    ผลของ Best Practice : 1.ประชาชนเห็นความสำคัญของวัด และเป็นศูนย์กลางการพัฒนา 2.ประชาชนได้ร่วมกันพัฒนาวัด โดยใช้ชุดสังฆทานดินเป็นจุดเดินเรื่อง

  423. ชื่อ Best Practice : แหล่งเรียนรุ้ที่วัด

    โครงการ : วัด ชุมชน ร่วมจัดการทุนที่บ้านทองพูน (ต่อยอดปี 2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ตอนนี้วัดทองพูนได้เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักเตาถ่าน ตอนนี้ทางวัดได้ เอาปุ๋ยมาใช้ปลูกสมุนไพร โดยใช้ทั้งปุยและน้ำหมักทำให้การขยายพันธสมุนไพร ได้เร็วขึ้น และประชาชนสนใจ มากขึ้นตอนนี้สามารถเอาสมุนไพรมาทำเป็นเครื่องยาได้แล้ว
    ผลของ Best Practice : 1.สร้างคุณค่าแหล่งเรียนรุ้คือวัด ให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนา 2.เกิดคุณค่าทางจิตใจ เพราะวัดเป็นแหล่งเรียนรู้ แแหล่งรวมตัวของชุมชน

  424. ชื่อ Best Practice : แหล่งเรียนรู้ที่วัด

    โครงการ : วัด ชุมชน ร่วมจัดการทุนที่บ้านทองพูน (ต่อยอดปี 2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ตอนนี้วัดทองพูนได้เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักเตาถ่าน ตอนนี้ทางวัดได้ เอาปุ๋ยมาใช้ปลูกสมุนไพร โดยใช้ทั้งปุยและน้ำหมักทำให้การขยายพันธสมุนไพร ได้เร็วขึ้น และประชาชนสนใจ มากขึ้นตอนนี้สามารถเอาสมุนไพรมาทำเป็นเครื่องยาได้แล้ว
    ผลของ Best Practice : 1.สร้างคุณค่าแหล่งเรียนรุ้คือวัด ให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนา 2.เกิดคุณค่าทางจิตใจ เพราะวัดเป็นแหล่งเรียนรู้ แแหล่งรวมตัวของชุมชน

  425. ชื่อ Best Practice : การใช้ที่ดินว่างเปล่าสู่การเป็นแปลงผัก

    โครงการ : ศรีท่าน้ำสุขภาวะดี วิถีพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การสร้างการเรียนรู้และความตระหนักของชุมชนต่อการให้การใส่ใจเยาวชนในโรงเรียนตาดีกา และการได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการในการขับเคลื่อน
    ผลของ Best Practice : มีการใช้ประโยชน์จากที่ดินรกร้างว่างเปล่าของชุมชนมาเป็นการสร้างผลผลิตและเป็นอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียน

  426. ชื่อ Best Practice : การเสวนาโดยใช้ศาลาสถานที่ในการประชุมประจำเดือนทุกเดือนของหมู่บ้าน

    โครงการ : ศาลาเสวนาปลดหนี้
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : นัดกลุ่มเป้าหมายมาทำกิจกรรม การเสวนาให้เกิดความรู้ เกิดการวิเคราะห์ตนเอง ครอบครัว ชุมชน รู้ที่มาที่ไปของตนเองและครอบครัว
    ผลของ Best Practice : การพูดคุยเสาวนา โดยเฉพาะเรื่องที่สำคัญ ๆ เช่นเรื่องที่เป็นการสร้างความตระหนักมั่นคงให้กับคนในชุมบน สถานที่จัดเสวานา พบปะ เป็นเรื่องสำคัญ ศาลาที่ประชุม หมู่ที่ 4 บ้านมะม่วงขาว เป็นศาลาที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของคนใหมู่บ้านทำการก่อสร้าง ทั้งด้านแรงงาน งบประมาณ เป็นที่เลือ่มใสศรัทธา ชาวบ้านทุกคนมีความรู้สึกว่าเป็นเจ้าของ เกิดความไว้วางใจ เปรียบเหมือนบ้ายของตนเอง ส่งผลให้เรื่องราวของการสนทนา การประชุมชี้แจง การให้ความรู้แก่ชาวบ้านได้รับความสนใจและร่วมมือมากขึ้น ดังนั้นในการจัดประชุม หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ สถานที่ส่วนกลางที่ชาวบ้านมีความรู้สึกว่าทุกคนเป็นเจ้าของมีส่วนสำคัญที่ทำให้บรรยากาศ และเนื้อหาของการประชุมประสบความสำเร็จมากขึ้น

  427. ชื่อ Best Practice : การเสวนาแบบเปิดใจ

    โครงการ : ศาลาเสวนาปลดหนี้
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : นัดกล่มแกนนำมาประชุมแบบเสวนาแบบเปิดใจ ให้ทุกคนเปิดใจเกี่ยวกับสาเหตุของการเป็นหนี้ ระดับครอบครัว
    ผลของ Best Practice : พื้นเพของชาวบ้านส่วนหนึ่งคือการไม่ยอมรับว่าตนเองเป็นหนี้ หรือมีหนี้สิน กลังบ้าง อายเพื่อนบ้านบ้าง ทำให้ภาระหนี้สินยังคงไม่ได้รับการแก้ไข การเสวนาแบบเปิดใจ ทำให้ผู้ร่วมเสวนาให้ข้อมูลที่เป็นจริง สำนึกต่อปัญหาที่จะเกิดขึ้นในระยะไกล้ไกล หันมาให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมแก้ปัญหา

  428. ชื่อ Best Practice : การลดการใช้สารเคมี

    โครงการ : ศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม (ต่อเนื่อง)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ชาวนาในโครงการไม่ใช้สารเคมีในการทำนา ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีแต่ใช้ปุ๋ยอิทรีย์แห้ง ปุ๋ยอินทรีย์น้ำหมักแทน
    ผลของ Best Practice : ข้าวงอกงานดี รวงใหญ่ เป็นที่ยอมรับและนำน้ำหมักไปใช้ในการปลูกพืชผักอื่นๆ

  429. ชื่อ Best Practice : ไม่ใช่สารเคมีในนาข้าว

    โครงการ : ศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม (ต่อเนื่อง)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เริ่มต้นที่การเก็บข้อมุลการใช้สารเคมีในชุมชนของโครงการในปีที่ 1ประกอบกับการเจาะเลือดตรวจสารเคมีปนเปื้อนในเลือดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่อมทั้ง 2 กิจกรรมนี้ได้นำข้อมูลมาคืนแก่ชุมชน เสริมความรู้ สร้างความเข้าใจ สู่ความตระหนักจนสภาผู้นำชุมชนเลือกเอาประเด็นนี้มาเป็นประเด็นที่ต้องแก้ไข เริ่มตั้งแต่การปลูกและบริโภคพืชผักปลอดสารพิษ ที่ปลูกในครัวเรื่อนในชุมชน และขยายผลไปสุ่การทำนาอินทรีย์ปลอดการใช้สารเคมี เพื่อสุขภาพที่ดีของชาวนา และประชาชนคนกินข้าว ภายใต้กติกาดังนี้ 1. ไม่ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช กำจัดศัตรูพืช ในการทำนา 2. ให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เป้นหลัก ส่วนปู่ยเคมีให้ใช้ได้บ้าง 3. ไม่เผาฟาง เน้นการไถกลบตอซัง 4. กำหนดอาณาเขตพื้นที่นาอินทรีย์ไว้ชัดเจน ปักป้ายประกาศให้ทราบทั่วกัน
    ผลของ Best Practice : 1. คนทำนาลดภาวะเสี่ยงต่อการรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย 2. ลดการปนเปื้อน หรือการตกค้างของสารเคมีในระบบห่วงโซ่อาหาร โดยเฉพาะในแปลงนาอินทรีย์ 3. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ การไถกลบตอซังช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศในนาข้าวที่เป็นผลดีต่อสุขภาพ 4. การไม่เผาฟางหรือซังข้าว ช่วยลดการสร้างมลพิษในอากาศ ลดภาวะโลกร้อน ลดการทำลายจุลินทรีย์ในดินที่เป้นประโยชน์ต่อพืชในระบบเกษตรอินทรีย์ 5.ได้ข้าวสารปลอดสารเคมี ข้าวเพื่อสุขภาพบริโภคในชุมชน และขายให้กับคนรักษ์สุขภาพ

  430. ชื่อ Best Practice : สภาหมู่บ้านแก้ปัญหา

    โครงการ : ศูนย์เรียนรู้ป่าต้นน้ำ บ้านผังปาล์ม 4,5
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.ประชุมหมู่บ้านทุกเดือน 2.นำปัญหาต่างๆมาพุดคุยกันและเชิญผุ้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมประชุม 3.เลขาประสานผุู้เกี่ยวข้องและคอยกระตุ้นตลอด
    ผลของ Best Practice : สามารถแก้ปัญหาในหมู่บ้านได้ เช่น ปัญหาทะเลาะกันในหมู่บ้านลดลง

  431. ชื่อ Best Practice : สภาคนปาล์มทอง

    โครงการ : เศรษฐกิจพอเพียง เลี้ยงชุมชน คนปาล์มทอง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.การเข้าร่วมโครงการทำให้เข้าใจแนวคิดวิธีสร้างชุมชนเข้มแข็ง 2.ประชุมสภาหมู่บ้านทุกเดือน 3.จัดกิจกรรมตามประเพณีทำให้ได้รับความร่วมมือจากทุกวัยในชุมชน 4.การมีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจของคนในชุมชนเกิดความสัมพันธ์ที่ดีลดความขัดแย้งได้ 5.เกิดผู้เข้ามาช่วยเหลือชุมชนเพิ่มขึ้น ได้แก่ เกษตรอำเภอ ส่วนราชการ องค์การบริหารส่วนตำบล
    ผลของ Best Practice : ชุมชนสามารถแก้ปัญหาหนี้สินได้บางส่วน

  432. ชื่อ Best Practice : ไม่มีชื่อ

    โครงการ : ส่งเสริมพัฒนาอาชีพบ้านหินเภาพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง (ต่อเนื่อง)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การนำวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีความหลากหลายของชุมชนเป็นจุดรวมของประชาชน มีผู้นำดี ประชาชนมีความสามัคคี ช่วยเหลือกัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเองภายในชุมชนเกิดกลุ่มสภาอาชีพชุมชน
    ผลของ Best Practice : มีระเบียบกลุ่มที่กำหนดให้ทุกคนที่เป็นสมาชิกต้องมีการออม สามารถนำเงินที่ได้ไปใช้ตามกติกาที่กำหนด มีคณะกรรมการบริหารจัดการที่เกิดจากการเลือกตั้ง

  433. ชื่อ Best Practice : สมุนไพรชุมชน

    โครงการ : สมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ ที่บ้านไร่เหนือ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.มีการรับสมัครทีมที่จะทำการสำรวจสมุนไพรในชุมชน 2.สำรวจสมุนไพรที่มีอยู่ข้างบ้าน และในสวนยาง พร้อมทังเรียนประโยชน์ของสมุนไพร 3.นำมารวบรวมเป็นข้อมุูลหมู่บ้าน
    ผลของ Best Practice : 1.ทำให้ทราบถึงสมุนไพรที่อยู่ในหมู่บ้าน และเรียนรุ้สรรพคุณ 2.มีการนำสมุนไพรมาใช้ในการดูแลตนเอง

  434. ชื่อ Best Practice : สมุนไพรชุมชน

    โครงการ : สมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ ที่บ้านไร่เหนือ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.มีการรับสมัครทีมที่จะทำการสำรวจสมุนไพรในชุมชน 2.สำรวจสมุนไพรที่มีอยู่ข้างบ้าน และในสวนยาง พร้อมทังเรียนประโยชน์ของสมุนไพร 3.นำมารวบรวมเป็นข้อมุูลหมู่บ้าน
    ผลของ Best Practice : 1.ทำให้ทราบถึงสมุนไพรที่อยู่ในหมู่บ้าน และเรียนรุ้สรรพคุณ 2.มีการนำสมุนไพรมาใช้ในการดูแลตนเอง

  435. ชื่อ Best Practice : สภาผู้นำ ชุมชน

    โครงการ : สมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ ที่บ้านไร่เหนือ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นกระบวนการประชุมที่เกิดจากคนในชุมชน ผู้นำชุมชน มานั่งคิดมานั่งคุย และหาวิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน จากเดิมทะเลาะกัน ไม่เข้าประชุม ตอนนี้ทุกคนเข้าร่วมกิจกรรม
    ผลของ Best Practice : 1.ทุกคนกล้าคิด มีคนกล้าพูดและสมัครใจเข้าร่วม บางคนก็ไม่เข้ามาร่วมกิจกรรม ถ้าใครไม่เข้าร่วมกิจกรรม การขอรับสวัสดิการชุมชนไว้หลังสุด 2.กำหนดเป็นข้อตกลง จากน้ำอัดลมให้ ใช้น้ำสมุนไพร แปรรูป แทน เช่น น้ำสมุนไพร แทนน้ำอัดลม น้ำใบย่านาง ตะไคร้ มะขาม ดอกอัญชัญใบเตย

  436. ชื่อ Best Practice : สมุนไพรชุมชน

    โครงการ : สมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ ที่บ้านไร่เหนือ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.มีการรับสมัครทีมที่จะทำการสำรวจสมุนไพรในชุมชน 2.สำรวจสมุนไพรที่มีอยู่ข้างบ้าน และในสวนยาง พร้อมทังเรียนประโยชน์ของสมุนไพร 3.นำมารวบรวมเป็นข้อมุูลหมู่บ้าน
    ผลของ Best Practice : 1.ทำให้ทราบถึงสมุนไพรที่อยู่ในหมู่บ้าน และเรียนรุ้สรรพคุณ 2.มีการนำสมุนไพรมาใช้ในการดูแลตนเอง

  437. ชื่อ Best Practice : สภาผู้นำ ชุมชน

    โครงการ : สมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ ที่บ้านไร่เหนือ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นกระบวนการประชุมที่เกิดจากคนในชุมชน ผู้นำชุมชน มานั่งคิดมานั่งคุย และหาวิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน จากเดิมทะเลาะกัน ไม่เข้าประชุม ตอนนี้ทุกคนเข้าร่วมกิจกรรม
    ผลของ Best Practice : 1.ทุกคนกล้าคิด มีคนกล้าพูดและสมัครใจเข้าร่วม บางคนก็ไม่เข้ามาร่วมกิจกรรม ถ้าใครไม่เข้าร่วมกิจกรรม การขอรับสวัสดิการชุมชนไว้หลังสุด 2.กำหนดเป็นข้อตกลง จากน้ำอัดลมให้ ใช้น้ำสมุนไพร แปรรูป แทน เช่น น้ำสมุนไพร แทนน้ำอัดลม น้ำใบย่านาง ตะไคร้ มะขาม ดอกอัญชัญใบเตย

  438. ชื่อ Best Practice : การใช้วัดเป็นพื้นที่กลางในการจัดกิจกรรม

    โครงการ : สมุนไพรสร้างสุขบ้านถ้ำผุด
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - การมองหาจุดรวมตัวของคนในชุมชนเพื่อนำมาเป็นทุนในการทำงาน
    ผลของ Best Practice : - มีการจัดกิจกรรมในวัด หรือวันพระ เพื่อให้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น มีการใช้พื้นที่วัดมากขึ้น ทำให้คนเข้าวัดมากขึ้น เยาวชนเข้าวัดมากขึ้น

  439. ชื่อ Best Practice : กระบวนการทำงานเป็นทีม

    โครงการ : สมุนไพรสร้างสุขบ้านถ้ำผุด
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - ในคณะทำงาน มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ แต่มีการเปิดโอกาสให้ทีมงาน รับผิดชอบการทำงานตามหน้าที่ ตามความถนัด มีการแสดงความคิดเห็น เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพ ไม่มีระบบสั่งการ
    ผลของ Best Practice : - ทีมงานชุดนี้ สามารถเคลื่อนงานในประเด็นอื่นๆ ของชุมชนได้ ตามความถนัด ตามความสามารถ และเป็นทีมงานชุดที่ได้รับการยอมรับ ได้รับความไว้วางใจ

  440. ชื่อ Best Practice : กระบวนการทำงานเป็นทีม

    โครงการ : สมุนไพรสร้างสุขบ้านถ้ำผุด
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - ในคณะทำงาน มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ แต่มีการเปิดโอกาสให้ทีมงาน รับผิดชอบการทำงานตามหน้าที่ ตามความถนัด มีการแสดงความคิดเห็น เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพ ไม่มีระบบสั่งการ
    ผลของ Best Practice : - ทีมงานชุดนี้ สามารถเคลื่อนงานในประเด็นอื่นๆ ของชุมชนได้ ตามความถนัด ตามความสามารถ และเป็นทีมงานชุดที่ได้รับการยอมรับ ได้รับความไว้วางใจ - เกิดการทำงานเป็นทีม ที่ต้องอาศัยความเชื่อมั่น เชื่อใจในการทำงาน ทำให้ผลงานออกมามีคุณภาพ

  441. ชื่อ Best Practice : ...กิจกรรมรื้อครัว

    โครงการ : สร้างกระบวนการเรียนรู้สู่ชีวิตที่ปลอดโรค
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นวิธีการลดการใช้เครื่องปรุงรส โดยกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการต้องทำการสำรวจว่าบ้านของตนเองใช้เครื่องปรุงอะไรบ้าง มีโทษอย่างไร และหาวิธีการโดยการค่อยๆลด และมีการปลูกผักสดไว้ทดแทน มีการปรุงอาหารก่อนกิน เพื่อให้ได้รสชาติอร่อย โดยทำการสำรวจทุกเดือน เพื่อติดตามความเปลี่ยน
    ผลของ Best Practice : 1.ช่วยลดการเปื้อนสารเคมีจากเครื่องปรุงรส 2.ลดอัตราการเกิดโรคเรื้อรัง ในกลุ่มเมตาบอลิก 3.ลดรายจ่ายในการซื้อเครื่องปรุงรส 4.ช่วยสร้างกระบวนการเรียนรู้สู่ชีวิตที่ปลอดโรค

  442. ชื่อ Best Practice : ...กิจกรรมรื้อครัว

    โครงการ : สร้างกระบวนการเรียนรู้สู่ชีวิตที่ปลอดโรค
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นวิธีการลดการใช้เครื่องปรุงรส โดยกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการต้องทำการสำรวจว่าบ้านของตนเองใช้เครื่องปรุงอะไรบ้าง มีโทษอย่างไร และหาวิธีการโดยการค่อยๆลด และมีการปลูกผักสดไว้ทดแทน มีการปรุงอาหารก่อนกิน เพื่อให้ได้รสชาติอร่อย โดยทำการสำรวจทุกเดือน เพื่อติดตามความเปลี่ยน
    ผลของ Best Practice : 1.ช่วยลดการเปื้อนสารเคมีจากเครื่องปรุงรส 2.ลดอัตราการเกิดโรคเรื้อรัง ในกลุ่มเมตาบอลิก 3.ลดรายจ่ายในการซื้อเครื่องปรุงรส 4.ช่วยสร้างกระบวนการเรียนรู้สู่ชีวิตที่ปลอดโรค

  443. ชื่อ Best Practice : ...กิจกรรมรื้อครัว

    โครงการ : สร้างกระบวนการเรียนรู้สู่ชีวิตที่ปลอดโรค
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นวิธีการลดการใช้เครื่องปรุงรส โดยกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการต้องทำการสำรวจว่าบ้านของตนเองใช้เครื่องปรุงอะไรบ้าง มีโทษอย่างไร และหาวิธีการโดยการค่อยๆลด และมีการปลูกผักสดไว้ทดแทน มีการปรุงอาหารก่อนกิน เพื่อให้ได้รสชาติอร่อย โดยทำการสำรวจทุกเดือน เพื่อติดตามความเปลี่ยน
    ผลของ Best Practice : 1.ช่วยลดการเปื้อนสารเคมีจากเครื่องปรุงรส 2.ลดอัตราการเกิดโรคเรื้อรัง ในกลุ่มเมตาบอลิก 3.ลดรายจ่ายในการซื้อเครื่องปรุงรส 4.ช่วยสร้างกระบวนการเรียนรู้สู่ชีวิตที่ปลอดโรค 5.ลดปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือด

  444. ชื่อ Best Practice : ...กลุ่มน้ำยาอเนกประสงค์

    โครงการ : สร้างกระบวนการเรียนรู้สู่ชีวิตที่ปลอดโรค
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นการผลิตน้ำยาเอนกประสงค์ไว้ใช้เอง โดยการนำส่วนผสมของการทำน้ำยาล้างจาน แล้วผสมกับน้ำมะนาว มะกรูด น้ำขี้เถ้า ถ้าต้องการสีเขียวก็ใส่ใบเตย อยากได้สีเหลืองใช้ขมิ้น สีแดงใช้กระเจี๊ยบ เป็นการลดการใช้สารเคมี
    ผลของ Best Practice : 1.ลดการใช้สารเคมีในครัวเรือน 2.ประหยัดค่าใช้จ่าย 3.ส่งเสริมกิจกรรมกลุ่ม ทำให้เกิดความรัก

  445. ชื่อ Best Practice : 1.แหล่งเรียนรู้ในครอบครัว

    โครงการ : สร้างคน สร้างชุมชนทองพูนตามรอยพ่อ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.ครู ก และ ครู ได้ร่วมกันรวบรวมองค์ความรู้ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนนรู้ระหว่างกัน นำความรุ้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาบ้านตนเอง 2.องค์ความรู้ที่นำไปพัฒนาในบ้านตนเอง ได้แก่ (1)การทำน้ำหมักชีวภาพ (2)ขยะที่เหลือทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ (3)น้ำยาเอนกประสงค์ (4)สบู่สมุนไพรขมิ้น (5)ยาสระผมสมุนไพร มะกรูด (6)การทำบัญชีครัวเรือนลดหนี้ ลดรายจ่าย (7)การทำน้ำส้มควันไม้ ไล่แมลง (8)การใช้ภูมิปัญญาดูแลสุขภาพตนเอง (9)การใช้สมุนไพรดูแลสุขภาพตนเอง
    ผลของ Best Practice : 1.ชุมชนได้เรียนรู้ภูมิปัญญาและเห็นคุณค่าของปราชญ์ขุมชน 2.ชุมชนได้ใช้สมุนไพรในการทำผลิตภัณฑ์และลดการนำสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย 3.ลดขยะในครัวเรือนโดยทำเป็นปุ๋ยชีวภาพ 4.มีแหล่งเรียนรู้ทีทุกคนเรียนรู้ไ้ต้ตลอดเวลา

  446. ชื่อ Best Practice : สมุนไพรไล่แมลง

    โครงการ : สร้างคน สร้างชุมชนทองพูนตามรอยพ่อ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ปราชญ์ชุมชนได้นำความรุ้สมัยบรรพบุรุษมาสอนกลุ่มเป้าหมายให้ทำยาสีฟันใช้เอง ซึ่งมีส่วนผสมง่ายๆคือ มเสน การบูร เกลือ เมนทอล รากข่อย นำมาผสมกันโดยตำ ใส่พิมเสนก่อน เมนทอน และใส่การบูร เกลือ คนให้เข้ากัน หลังจากนั้นตำรากข่อย นำไปผสมให้เข้ากัน สูตรที่แนะนำให้ใส่ข้าวจ้าวพอประมาณ เพื่อทำให้เหนียว ง่ายต่อนำไปใช้ ไม่เป็นน้ำ
    ผลของ Best Practice : 1.รสชาดดี ไม่มีอันตราย เพราะทำจากใบข่อยและเกลือ 2.ประหยัด ราคาถูก 3.เป็นการสืบทอดภูมิปัญญา

  447. ชื่อ Best Practice : แหล่งเรียนรู้ในครอบครัว

    โครงการ : สร้างคน สร้างชุมชนทองพูนตามรอยพ่อ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.ครู ก และ ครู ได้ร่วมกันรวบรวมองค์ความรู้ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนนรู้ระหว่างกัน นำความรุ้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาบ้านตนเอง 2.องค์ความรู้ที่นำไปพัฒนาในบ้านตนเอง ได้แก่ (1)การทำน้ำหมักชีวภาพ (2)ขยะที่เหลือทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ (3)น้ำยาเอนกประสงค์ (4)สบู่สมุนไพรขมิ้น  (5)ยาสระผมสมุนไพร มะกรูด (6)การทำบัญชีครัวเรือนลดหนี้ ลดรายจ่าย (7)การทำน้ำส้มควันไม้ ไล่แมลง (8)การใช้ภูมิปัญญาดูแลสุขภาพตนเอง (9)การใช้สมุนไพรดูแลสุขภาพตนเอง
    ผลของ Best Practice : 1.ชุมชนได้เรียนรู้ภูมิปัญญาและเห็นคุณค่าของปราชญ์ขุมชน 2.ชุมชนได้ใช้สมุนไพรในการทำผลิตภัณฑ์และลดการนำสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย 3.ลดขยะในครัวเรือนโดยทำเป็นปุ๋ยชีวภาพ 4.มีแหล่งเรียนรู้ทีทุกคนเรียนรู้ไ้ต้ตลอดเวลา

  448. ชื่อ Best Practice : สมุนไพรไล่แมลง

    โครงการ : สร้างคน สร้างชุมชนทองพูนตามรอยพ่อ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ปราชญ์ชุมชนได้นำความรู้สมัยบรรพบุรุษมาสอนกลุ่มเป้าหมายให้ทำยาสีฟันใช้เอง ซึ่งมีส่วนผสมง่ายๆคือ พิมเสน การบูร เกลือ เมนทอล รากข่อย นำมาผสมกันโดยตำ ใส่พิมเสนก่อน เมนทอน และใส่การบูร เกลือ คนให้เข้ากัน หลังจากนั้นตำรากข่อย นำไปผสมให้เข้ากัน สูตรที่แนะนำให้ใส่ข้าวจ้าวพอประมาณ เพื่อทำให้เหนียว ง่ายต่อนำไปใช้ ไม่เป็นน้ำ
    ผลของ Best Practice : 1.รสชาดดี ไม่มีอันตราย เพราะทำจากใบข่อยและเกลือ 2.ประหยัด ราคาถูก 3.เป็นการสืบทอดภูมิปัญญา

  449. ชื่อ Best Practice : แหล่งเรียนรู้ในครอบครัว

    โครงการ : สร้างคน สร้างชุมชนทองพูนตามรอยพ่อ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.ครู ก และ ครู ได้ร่วมกันรวบรวมองค์ความรู้ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาบ้านตนเอง 2.องค์ความรู้ที่นำไปพัฒนาในบ้านตนเอง ได้แก่ (1)การทำน้ำหมักชีวภาพ (2)ขยะที่เหลือทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ (3)น้ำยาเอนกประสงค์ (4)สบู่สมุนไพรขมิ้น (5)ยาสระผมสมุนไพร มะกรูด (6)การทำบัญชีครัวเรือนลดหนี้ ลดรายจ่าย (7)การทำน้ำส้มควันไม้ ไล่แมลง (8)การใช้ภูมิปัญญาดูแลสุขภาพตนเอง (9)การใช้สมุนไพรดูแลสุขภาพตนเอง
    ผลของ Best Practice : 1.ชุมชนได้เรียนรู้ภูมิปัญญาและเห็นคุณค่าของปราชญ์ขุมชน 2.ชุมชนได้ใช้สมุนไพรในการทำผลิตภัณฑ์และลดการนำสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย 3.ลดขยะในครัวเรือนโดยทำเป็นปุ๋ยชีวภาพ 4.มีแหล่งเรียนรู้ทีทุกคนเรียนรู้ไต้ตลอดเวลา

  450. ชื่อ Best Practice : การประสานความร่วมมือ

    โครงการ : สร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพที่บ้านทุ่งยาว
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เรื่องเดิม..หมู่บ้านนี้เป้นหมู่บ้านที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน แต่จากการเปลี่ยนผู้นำเมื่อปี 2556 ทำให้ความสามัคคีกลมเกลียวลดลง ความสัมพันธ์ระหว่างทีมผู้นำเก่า และผู้นำใหม่ไม่ราบรื่นดีนัก กิจกรรมต่างๆ ในหมู่บ้านถูกทิ้งห่างมาก่อนการเลือกตั้ง จุดเปลี่ยน.. ผู้นำให่ม่เป้นคนที่ใส่ใจ และอุทิศตนแก่ชุมชนมาตลอด ประกอบกับเศรษฐานะดี ทีมงานดี วัยวุฒิเหมาะสม และได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ด้วยโครงการที่มีความแตกต่างจากโครงการของรัฐโดยสิ้นเชิง โดยที่เบื้องต้นแกนนำได้เรียนรู้บริบทชุมชนอย่างจริงจัง ได้ขอ้มูลความต้องการร่วมที่แท้จริง ได้ทีมงานจากการพัฒนาโครงการที่เข้าใจเป้าหมาย วัตถุประสงค์โครงการตลอด วิธีการ.. 1. มีการประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่อง ทั่วถึง 2. มีการประสานงานกับองค์กรอืน เช่น เทศบาล โรงเรียน สถาบันการเงินชุมน สหกรณ์กองทุนสวนยาง ประชาสัมพันธ์จังหวัด ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัด นักการเมืองในระดับ สท. สจ.และ สส. 2.1 โรงเรียนพานักเรียนลูกเสือเนตรนารี เข้าร่วมกิจกรรมทำฝายชะลอน้ำ 2.2 สถาบันการเงินสนับสนุนเงิน 10,000 บาท และระดมสมาชิกร่วมกิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำ 2.3 สหกรณ์กองทุนสวนยาง ระดมสมาชิกร่วมกิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำ 2.4 เทศบาลตำบลโคกม่วง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ สมาชิกสภา ระดมทุน กระสอบ อาหาร เครื่องดื่ม มาเป้นเจ้าภาพจัดทำฝายชะลอน้ำในโครงการฯ 2.5 สจ.ในพื้นที่ และ อดีต สส.ในเขต มาร่วมกิจกรรม บริจากกระสอบ 2,000 ลูก 2.6. ฝ่ายข่าวสิ่งแวดล้อมช่อง 7 สี ลงพื้นที่ทำข่าวการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมของโครงการ 2.7 ทสจ.พัทลุง จัดแผนงบประมาณปี 2558 สนับสนุนการฟื้ฟูและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสายห้วยสังแก เพื่อเชื่อเป็นเครือข่ายจัดการสิ่งแวดล้อมร่วมกับตำบลตะโหมด 3. มีการบริหารการเงิน อย่างมีประสิทธิภาพ ชี้แจงสถานะการเงินทุกครัั้งที่เสร็จกิจกรรม พร้อมประกาศผ่านหอกระจายข่าว และประกาศระดมทุนเมื่อต้องการความร่วมมือจากชุมชน 4. คณะทำงานทุกคนทุ่มเทในทุกกิจกรรม 5. ประสานผู้ชำนาญการจากชุมชนต้นแบบที่ไปดูงาน มาร่วมกิจกรรม สร้างความมั่นใจในการทำกิจกรรม 6. ชักชวนเอาเด้ก เยาวชนเข้าร่วมกิจกรรม จนสามารถเอากลุ่มเยาวชนที่มีปัญหาเสพน้ำท่อม เข้าร่วมกิจกรรมได้หลายครั้ง 7. นำเอากระแสความร่วมมือของชุมชน ไปขอความร่วมมือเทศบาลให้ปรับแผนฯ จ่ายขาดเงินสะสมเพื่อสนับสนุการขุดลอกแหล่งเก็บน้ำผลิตประปาได้สำเร็จ 8. นำคณะทำงานของโครงการ ร่วมช่วยเหลือบันเทาความเดือดร้อนซ่อมเปลี่ยนหลังคาบ้านให้คนชราเสร้จได้ภายในวันเดียว
    ผลของ Best Practice : 1. การประสานงานภาคีเครือข่าย เพื่อสร้างความร่วมมือ อย่างแท้จริงของชุม 2. ยังผลให้เกิดสถานที่พักผ่อน บริเวณหน้าฝายชะลอน้ำ 3. ยังผลให้กบห้วย กบประจำถิ่นที่ใกล้จะสูญพันธุุ์ กลับมาปรากฏให้เห็น และเกิดกลุ่มอนุรักษ์กบห้วย(อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบ้านทุ่งยาว)

  451. ชื่อ Best Practice : ความร่วมมือของชุมชน

    โครงการ : สร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพที่บ้านทุ่งยาว
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ทำงานที่แก้ปัญหา เน้นประชาสัมพันธ์ สรรหาทุนสมทบจากชุมชน ประสานงานทั่วถึงทั้งภาครัฐ เอกชน และการอ่อนน้อมถ่อมตนของผู้นำ
    ผลของ Best Practice : มีความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ที่ร่วมกันทำกิจกรรมสู่เป้าหมาย

  452. ชื่อ Best Practice : ความร่วมมือของชุมชน

    โครงการ : สร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพที่บ้านทุ่งยาว
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ทำงานที่แก้ปัญหา เน้นประชาสัมพันธ์ สรรหาทุนสมทบจากชุมชน ประสานงานทั่วถึงทั้งภาครัฐ เอกชน และการอ่อนน้อมถ่อมตนของผู้นำ
    ผลของ Best Practice : มีความร่วมมือทุกภาคส่วน ที่ร่วมกันทำกิจกรรมสู่เป้าหมาย

  453. ชื่อ Best Practice : กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม

    โครงการ : สร้างชุมชนอยู่ดีมีสุขที่บ้านเขาเพ-ลา
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - มีการดึงภาคีเครือข่ายจากภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และองค์กรอื่นๆ ให้เข้ามาทำกิจกรรมในพื้นที่ เช่น ป่าไม้ โรงเรียน กศน. ทำให้กิจกรรมมีความน่าเชื่อถือ และทำให้คนในชุมชนเกิดความต่ืนตัวมากขึ้น - การใช้พื้นที่กลางในการจัดกิจกรรม คือ สำนักสงฆ์ ซึ่งเป็นสถานที่รวมของคนในชุมชนและนอกชุมชน ทำให้ไม่มีข้อโต้แย้ง หรือความขัดแย้งเกิดขึ้นในการทำงานร่วมกัน
    ผลของ Best Practice : การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและนอกชุมชนในการทำกิจกรรมทางสังคมอื่นๆ ร่วมกัน

  454. ชื่อ Best Practice : การร่วมมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม...

    โครงการ : สร้างพลังด้วย 2 มือ เพื่อลดขยะชุมชน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : -การสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชนกับเยาวชนและประชาชนในหมู่บ้าน
    ผลของ Best Practice : -นอกจากการจัดเก็บขยะทั้งบนบกและในทะเลซึ่งทำให้ปริมาณขยะลดลงแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของบริเวณอ่าวพังงาด้วย เนื่องจากบริเวณที่ตั้งของหมู่บ้านอยู่บริเวณอ่าวพังงาซึ่งอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำต่างๆ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา นานา โดยธรรมชาติของอ่าวพังงาจะเป็นป่าชุ่มน้ำที่สำคัญ รวมทั้งเป็นที่อนุบาลของสัตว์น้ำที่ดี ที่ตั้งของชุมชนเป็นท่าเรือที่จะท่องเที่ยวในอ่าวพังงาได้อีกจุดหนึ่งและจะอยู่ใกล้ถ้ำลอดมากที่สุดซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญจุดหนึ่งในอ่าวพังงา ในการรณรงค์การจัดเก็บขยะจึงมีส่วนช่วยให้ทรัพยากรแห่งนี้สะอาดน่าท่องเที่ยว การรักษาแห่งอนุบาลสัตว์น้ำไว้เป็นคลังอาหาร ไว้คอยรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวในอ่าวพังงา -เป็นการสร้างและปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเยาวชนในการรักษาความสะอาดทั้งในบ้าน บริเวณบ้าน และในชุมชนที่อาศัยอยู่ โดยมีกลยุทธ คือ ในการสิ้นสุดโครงการจะมีการประกวดปริมาณขยะที่จัดเก็บได้จากสมุดฝาก รวมทั้งผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนด้วย -เป็นกิจกรรมที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สร้างความผูกพันให้กับชาวบ้านในชุมชนและในชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนมุสลิมที่มีกิจกรรมทางศาสนาเป็นประจำทุกวันศุกร์ในมัสยิดในหมู่บ้านจึงง่ายในการประชาสัมพันธ์ -การมีธนาคารขยะโดยการบูรณาการกับร้านรับซื้อขยะในชุมชน จะมีผลดี คือ เกิดความยั่งยืน จากที่ได้เข้าร่วมประชุมพบว่าแต่ละบ้านให้ความสนใจที่จะคัดแยกขยะตั้งแต่ในครัวเรือน บริเวณรอบบ้าน และในชุมชน -เยาวชนให้ความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เป็นกิจกรรมที่เด็กๆในชุมชนชอบและเป็นเรื่องสนุก การได้เห็นแบบอย่างจากผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นการปลูกฝังนิสัยที่ดีและคาดว่าจะเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต -เป็นการลดแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรค เช่น โรค ไข้เลือดออก

  455. ชื่อ Best Practice : การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของอ่าวพังงา...

    โครงการ : สร้างพลังด้วย 2 มือ เพื่อลดขยะชุมชน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : -การร่วมมือในการจัดการกับขยะที่มีในชุมชน ทั้งบนบกและในทะเล เพื่ออนุรักษ์ไว้ให้เยาวชนรุ่นหลัง และเกิดการหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติของอ่าวพังงา ที่เรียงรายอยู่รอบหมู่บ้าน -เป็นการสร้างความตระหนักในการทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทาง รวมทั้งการจัดการกับขยะที่เกิดจากนักท่องเที่ยว
    ผลของ Best Practice : -มีการคัดแยกขยะ เป็นการลดปริมาณขยะของชุมชน

  456. ชื่อ Best Practice : ความร่วมมือของชุมชนในการลดปริมาณขยะ...

    โครงการ : สร้างพลังด้วย 2 มือ เพื่อลดขยะชุมชน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : -การคัดแยกขยะในครัวเรือน โดยขยะเปียกนำไปหมักเป็นปุ๋ยชีวภาพ ส่วนขยะแห้งนำไปขายที่ธนาคารขยะ -ปริมาณขยะลดลงทั้งบนบกและในทะเล -เป็นการอนุรักษ์อ่าวพังงา
    ผลของ Best Practice : -บริเวณบ้านและในชุมชนสะอาด น่าอยู่น่ามอง พร้อมที่จะรองรับนักท่องเที่ยวได้อย่างเต็มภาคภูมิ -เป็นการลดแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรค เช่น แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

  457. ชื่อ Best Practice : การสร้างช่องทางการดำเนินชีวิต

    โครงการ : สร้างสมบูรณ์สุขให้มีสุขภาพดีโดยการจัดการขยะ (ต่อเนื่อง2)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การนำผลการเรียนรู้จากนอกพื้นที่มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อพื้นที่ของตนเองเอง
    ผลของ Best Practice : การสร้างรายได้จากอาชีพเสริมและการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงเพื่อลดสภาวะการใช้เิงนในอนาคตของประชาชน

  458. ชื่อ Best Practice : บุคคลต้นแบบ

    โครงการ : สร้างสังคมมีสุขด้วยครอบครัวคุณภาพ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : -ทุกคนในหมู่บ้านช่วยกันค้นหาบุคคลต้นแบบ โดยในกระบวนการได้ออกแบบไว้ในแบบสำรวจบ้าน
    ผลของ Best Practice : -บุคคลต้นแบบ รวมทั้งหมด 36 คน จำแนกได้เป็น 7 ด้าน รวม 3 กลุ่ม -บุคคลต้นแบบ เป็นศูนย์เรียนรู้ของหมู่บ้าน

  459. ชื่อ Best Practice : ...ใช้ปลาชะโดในคลองที่ผ่านหมู่บ้านมาเดินเรื่องให้เกิดการอนุรักษ์ปลา รักษาสภาพน้ำในคลอง

    โครงการ : สร้างสัมพันธ์เยาวชนให้รักคลองดาหลำ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - สร้างการเรียนรู้วิถีชีวิตคนสมัยก่อนกับลำคลอง - สร้างองค์ความรู้เรื่องปลาชะโดทั้งในกลุ่มผู้ใหญ่และเด็ก - ช่วยกันพัฒนาลำคลองเพื่อให้ปลาอยู่ได้ คนก็อยู่ได้ด้วย
    ผลของ Best Practice : - เกิดองค์ความรู้วงจรชีวิตของปลาชะโดและการอนุรักษ์ - เด็กเยาวชนได้เรียนรู้ประวัติชุมชน ลำคลองดาหลำ ชิวิตความเป็นอยู่ การทำมาหากินสมัยรุ่นโต๊ะ(ปู่ย่าตายาย) - เกิดกระแสช่วยกันอนุรักษ์ปลาชะโด ช่วยกันพัฒนาลำคลอง

  460. ชื่อ Best Practice : การเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายการทำงาน

    โครงการ : สร้างสุขภาวะชุมชนคนเสม็ดเรียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - เชื่อมโยงภาคีการทำงาน หน่วยงานที่สามารถหนุนเสริมการทำงานเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างการเรียนรู้ จัดกิจกรรมร่วมกับคนในชุมชน เช่น ศูนย์ศุขภาพชุมชน เทศบาล ภาคเอกชน
    ผลของ Best Practice : - เกิดการมีส่วนร่วมในการทำงานของทุกภาคส่วน - มีการเอื้อประโยชน์ในการทำงานให้ชุมชน หนุนเสริมการทำงานของชุมชนด้วยการมอบที่ดิน เพื่อให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

  461. ชื่อ Best Practice : การเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายการทำงาน

    โครงการ : สร้างสุขภาวะชุมชนคนเสม็ดเรียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - เชื่อมโยงภาคีการทำงาน หน่วยงานที่สามารถหนุนเสริมการทำงานเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างการเรียนรู้ จัดกิจกรรมร่วมกับคนในชุมชน เช่น ศูนย์สุขภาพชุมชน เทศบาล ภาคเอกชน
    ผลของ Best Practice : - เกิดการมีส่วนร่วมในการทำงานของทุกภาคส่วน - มีการเอื้อประโยชน์ในการทำงานให้ชุมชน หนุนเสริมการทำงานของชุมชนด้วยการมอบที่ดิน เพื่อให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

  462. ชื่อ Best Practice : การเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายการทำงาน

    โครงการ : สร้างสุขภาวะชุมชนคนเสม็ดเรียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - เชื่อมโยงภาคีการทำงาน หน่วยงานที่สามารถหนุนเสริมการทำงานเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างการเรียนรู้ จัดกิจกรรมร่วมกับคนในชุมชน เช่น ศูนย์สุขภาพชุมชน เทศบาล ภาคเอกชน
    ผลของ Best Practice : - เกิดการมีส่วนร่วมในการทำงานของทุกภาคส่วน - มีการเอื้อประโยชน์ในการทำงานให้ชุมชน หนุนเสริมการทำงานของชุมชนด้วยการมอบที่ดิน เพื่อให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

  463. ชื่อ Best Practice : ครัวเรือนผลิตอาหารปลอดภัย

    โครงการ : สร้างหลาด(ตลาด)ในห้วยที่บ้านห้วยไม้ไผ่
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1. กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินดังนี้.. - บ้านคงทนแข็งแรงอาศัยอยู่ได้เกิน๑๐ปี - มีการจัดระเบียบบริเวณรอบบ้านและภายในบ้านรวมถึงการจัดเก็บอุปกรณ์ภายในครัวเป็นระเบียบเรียบร้อย - ปราศจากลูกน้ำ - คนในครัวเรือนปลอดอบายมุข - มีการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต - มีการปลูกผักกินเองเพียงพอต่อการบริโภคในครัวเรือน - มีการปลูกสมุนไพรที่จำเป็นไว้ใช้ไม่น้อยกว่า ๑๐ ชนิด - มีการเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่กินเอง - ครอบครัวมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือชุมชน - มีการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทย - ครอบครัวมีการออมและไม่เป็นหนี้นอกระบบ 2.มีการจัดตั้งตัวแทนสภาผู้นำเพื่อเป็นคณะกรรมการประเมิน ประสานงานกับแกนนำนิสิต คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นคณะกรรมการประเมิน 3. กำหนดวันเวลาลงประเมินนำคะแนนการประเมินมาสรุปผล จัดลำดับผลการประเมิน มอบเกียรติบัตรเพื่อยกย่องผู้ผ่านการรับการประเมินตามลำดับ
    ผลของ Best Practice : - เกิดครัวเรือนผลิตอาหารปลอดภัยจำนวน 81 ราย - เกิดพื้นที่ผลิตอาหารปลอดภัยในสวนยาง(พืชร่วมยาง) จำนวน 2 แปลง

  464. ชื่อ Best Practice : เยาวชนฝึกการทำเรือพระ

    โครงการ : สานชุมชน รวมพลเครือข่าย สู่เป้าหมายบ้านซอย 10 วิถีพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - เยาวชน อายุ 7-11 ปีจำนวน 20 คน อายุ 12-20 ปี จำนวน 20 คน มาเรียนรู้การตกแต่งเรือพระในประเพณีชักพระ จากปราชญ์ชาวบ้าน 2 ท่าน เรียนกันที่วัด จำนวน 10 ครั้ง
    ผลของ Best Practice : - เยาวชน 40 คน เกิดความรู้เรื่องลายไทยต่าง เกิดความทักษะในการลอกลาย ระบายสี และตัดโฟม/หยวก

  465. ชื่อ Best Practice : ...การแบ่งกลุ่มโซนปลูกสมุนไพร

    โครงการ : สานสัมพันธ์คนสามวัยสืบสานตำรับสมุนไพรพื้นบ้าน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : แบ่งกลุ่มการปลูกสมุนไพรออกเป็น 3 โซนคือ 1)กลุ่มบ่อหลา 2)กลุ่มทางพล 3)กลุ่มไกรไทย เพื่อร่วมกันปลูกสมุนไพรดังนี้ กลุ่มที่ 1 ปลูกขมิ้นชัน ตะไคร้ หัวไพล และสมุนไพรที่หายากในชุมชน กลุ่มที่ 2 ปลูกใบมะกรูด ย่านนาง ว่านหางจระเข้ และสมุนไพรที่ได้รับการถ่ายทอดมา กลุ่มที่ 3 ปลูกใบบัวบก กระชายดำ ทุเรียนน้ำ ตำลึง เตยหอม และสมุนไพรที่ได้รับการถ่ายทอดมา
    ผลของ Best Practice : 1.ทุกครัวเรือนมีการปลูกสมุนไพร ไม่ซ้ำกัน และนำสมุนไพรมาแลกกันได้ในชุมชน 2.แต่ละกลุ่มทำหน้าที่เพาะพันธุ์ชำกล้าสมุนไพร เพื่อแจกจ่ายไปยังกลุ่มอื่นๆ ทำให้เกิดความรัก สามัคคีในกลุ่ม 3.เป็นการเรียนรู้สมุนไพรที่ตนเองปลูก และได้เรียนรู้สมุนไพรที่เพื่อนบ้านปลูกไปพร้อมกัน

  466. ชื่อ Best Practice : ...การแบ่งกลุ่มโซนปลูกสมุนไพร

    โครงการ : สานสัมพันธ์คนสามวัยสืบสานตำรับสมุนไพรพื้นบ้าน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : แบ่งกลุ่มการปลูกสมุนไพรออกเป็น3 โซนคือ 1)กลุ่มบ่อหลา 2)กลุ่มทางพล 3)กลุ่มไกรไทย เพื่อร่วมกันปลูกสมุนไพรดังนี้ กลุ่มที่ 1 ปลูกขมิ้นชัน ตะไคร้ หัวไพล และสมุนไพรที่หายากในชุมชน กลุ่มที่ 2 ปลูกใบมะกรูด ย่านนาง ว่านหางจระเข้ และสมุนไพรที่ได้รับการถ่ายทอดมา กลุ่มที่ 3 ปลูกใบบัวบก กระชายดำ ทุเรียนน้ำ ตำลึง เตยหอม และสมุนไพรที่ได้รับการถ่ายทอดมา
    ผลของ Best Practice : 1.ทุกครัวเรือนมีการปลูกสมุนไพร ไม่ซ้ำกัน และนำสมุนไพรมาแลกกันได้ในชุมชน 2.แต่ละกลุ่มทำหน้าที่เพาะพันธุ์ชำกล้าสมุนไพร เพื่อแจกจ่ายไปยังกลุ่มอื่นๆ ทำให้เกิดความรัก สามัคคีในกลุ่ม 3.เป็นการเรียนรู้สมุนไพรที่ตนเองปลูก และได้เรียนรู้สมุนไพรที่เพื่อนบ้านปลูกไปพร้อมกัน

  467. ชื่อ Best Practice : ..ชุดอบสมุนไพรสด.

    โครงการ : สานสัมพันธ์คนสามวัยสืบสานตำรับสมุนไพรพื้นบ้าน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นการนำสมุนไพรสดที่ปลูกในชุมชน มาทำเป็นชุดอบสมุนไพร โดย 1.ใช้ผ้าขาวชนิดหนา มาเย็บทำเป็นมุ้งสำหรับอบสมุนไพร 2.นำสมุนไพรได้แก่ ตะไคร้ ขมิ้นชัน หัวไพล ใบส้มป่อย ใบมะขาม ลูกมะกรูด พิมเสน เกลือ ยอดผักบุ้ง ใบหนาด 3.ระยะเวลาการอบ 15 นาทีต่อครั้ง รวม 2 ครั้ง 4.ระหว่างการรออบให้ดื่มน้ำสมุนไพร ใบขลู่ตากแห้ง
    ผลของ Best Practice : 1.นำมาใช้ในการดูแลสุขภาพผู้ป่วย พบว่ากลุ่มทดลองอบสมุนไพร 15 คน มีอาการดีขึ้น ได้ อาการปวดกล้ามเนื้อ กลุ่มวัยทอง และกลุ่มที่นอนไม่หลับ 2.การอบสมุนไพรทำได้ง่าย สมุนที่มีอยู่ในชุมชน และประหยัด 3.ทำให้เกิดการรวมตัวจัดเป็นกลุ่มอบสมุนไพร และใช้สมุนไพรแต่ละบ้านที่ปลูกนำมาใช้อบ ทำให้เกิดรายได้

  468. ชื่อ Best Practice : ...เพลงบอกสมุนไพร

    โครงการ : สานสัมพันธ์คนสามวัยสืบสานตำรับสมุนไพรพื้นบ้าน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นการนำเรื่องราวและผูกร้อยเรื่องสมุนไพรในชุมชนบ้านไกรไทย มาแต่งเป็นเพลงบอก และทำการแสดงโดยกลุ่มเยาวชน หรือ กลุ่ม อสม.น้อย
    ผลของ Best Practice : 1.เป็นการประชาสัมพันธ์โครงการ 2.สื่อพื้นบ้าน เข้าใจง่าย และยอมรับได้ง่าย 3.สะท้อนให้เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทย คุณค่าด้านสมุนไพร

  469. ชื่อ Best Practice : ...การแบ่งกลุ่มโซนปลูกสมุนไพร

    โครงการ : สานสัมพันธ์คนสามวัยสืบสานตำรับสมุนไพรพื้นบ้าน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : แบ่งกลุ่มการปลูกสมุนไพรออกเป็น 3 โซนคือ 1)กลุ่มบ่อหลา 2)กลุ่มทางพล 3)กลุ่มไกรไทย เพื่อร่วมกันปลูกสมุนไพรดังนี้ กลุ่มที่ 1 ปลูกขมิ้นชัน ตะไคร้ หัวไพล และสมุนไพรที่หายากในชุมชน กลุ่มที่ 2 ปลูกใบมะกรูด ย่านนาง ว่านหางจระเข้ และสมุนไพรที่ได้รับการถ่ายทอดมา กลุ่มที่ 3 ปลูกใบบัวบก กระชายดำ ทุเรียนน้ำ ตำลึง เตยหอม และสมุนไพรที่ได้รับการถ่ายทอดมา
    ผลของ Best Practice : 1.ทุกครัวเรือนมีการปลูกสมุนไพร ไม่ซ้ำกัน และนำสมุนไพรมาแลกกันได้ในชุมชน 2.แต่ละกลุ่มทำหน้าที่เพาะพันธุ์ชำกล้าสมุนไพร เพื่อแจกจ่ายไปยังกลุ่มอื่นๆ ทำให้เกิดความรัก สามัคคีในกลุ่ม 3.เป็นการเรียนรู้สมุนไพรที่ตนเองปลูก และได้เรียนรู้สมุนไพรที่เพื่อนบ้านปลูกไปพร้อมกัน

  470. ชื่อ Best Practice : ...ชุดอบสมุนไพร

    โครงการ : สานสัมพันธ์คนสามวัยสืบสานตำรับสมุนไพรพื้นบ้าน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นการนำสมุนไพรสดที่ปลูกในชุมชน มาทำเป็นชุดอบสมุนไพร โดย 1.ใช้ผ้าขาวชนิดหนา มาเย็บทำเป็นมุ้งสำหรับอบสมุนไพร 2.นำสมุนไพรได้แก่ ตะไคร้ ขมิ้นชัน หัวไพล ใบส้มป่อย ใบมะขาม ลูกมะกรูด พิมเสน เกลือ ยอดผักบุ้ง ใบหนาด 3.ระยะเวลาการอบ 15 นาทีต่อครั้ง รวม 2 ครั้ง 4.ระหว่างการรออบให้ดื่มน้ำสมุนไพร ใบขลู่ตากแห้ง
    ผลของ Best Practice : 1.นำมาใช้ในการดูแลสุขภาพผู้ป่วย พบว่ากลุ่มทดลองอบสมุนไพร 15 คน มีอาการดีขึ้น ได้ อาการปวดกล้ามเนื้อ กลุ่มวัยทอง และกลุ่มที่นอนไม่หลับ 2.การอบสมุนไพรทำได้ง่าย สมุนที่มีอยู่ในชุมชน และประหยัด 3.ทำให้เกิดการรวมตัวจัดเป็นกลุ่มอบสมุนไพร และใช้สมุนไพรแต่ละบ้านที่ปลูกนำมาใช้อบ ทำให้เกิดรายได้

  471. ชื่อ Best Practice : ...เพลงบอกสมุนไพร

    โครงการ : สานสัมพันธ์คนสามวัยสืบสานตำรับสมุนไพรพื้นบ้าน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นการนำเรื่องราวและผูกร้อยเรื่องสมุนไพรในชุมชนบ้านไกรไทย มาแต่งเป็นเพลงบอก และทำการแสดงโดยกลุ่มเยาวชน หรือ กลุ่ม อสม.น้อย
    ผลของ Best Practice : 1.เป็นการประชาสัมพันธ์โครงการ 2.สื่อพื้นบ้าน เข้าใจง่าย และยอมรับได้ง่าย 3.สะท้อนให้เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทย คุณค่าด้านสมุนไพร

  472. ชื่อ Best Practice : ...ชุดประคบสด

    โครงการ : สานสัมพันธ์คนสามวัยสืบสานตำรับสมุนไพรพื้นบ้าน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : เป็นการนำสมุนไพรในชุมชน มาทำเป็นลูกประคบสด โดยมีหัวไพล ขมิ้น ตะไคร้ มะกรูด พิมเสน เกลือ มาผสมกัน แล้วทำเป็นลูกประคบ ใช้เวลานึ่งประมาณ 10 นาที แล้วนำมาประคบบริเวณที่อักเสบ สมุนไพรสด ให้สรรพคุณดีกว่าแห้ง
    ผลของ Best Practice : 1.นำมาใช้รักษาอาการปวดเมื่อย ปวดกล้ามเนื้อ 2.นำมาประคบหญิงหลังคลอด เพื่อให้มดลูกเข้าอุู่เร็ว ขับน้ำคาวปลา 3.เกิดการรวมตัวของกลุ่มสมุนไพร ทำเป็นอาชีพเสริม

  473. ชื่อ Best Practice : ชุดความรู้การเลี้ยงปลานิลในบ่อกุ้งร้าง

    โครงการ : สามประสานร่วมพัฒนาองค์ความรู้นำสู่การแลกเปลี่ยนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงของกลุ่มคน เรียกว่ากลุ่มสามประสาน เรียนรู้แล้วมาทดลองทำในบ่อกุ้งร้าง ใช้สารอินทรีย์ในท้องถิ่น พัฒนาสูตรการดูแลกันเอง ทำและพัฒนาสูตร ปรับปรุงจนได้ผลดี เป็นชุดความรู้ของกลุ่ม มีบ้านน้องเปี้ยว บ้านป้าเอียด เป็นตัวอย่างให้เพื่อบ้านได้มาเรียนรู้ได้
    ผลของ Best Practice : ได้เรียนรู้ ได้รายได้เพิ่ม ได้อาชีพที่มั่นคง ลดความเครียดเรื่องเศรษฐกิจ ได้สุขภาพองค์รวม ขณะเดินให้อาหารปลา เดินดูปลา ได้ออกกำลังกาย มีความสุขใจ ได้แลกเปลี่ยนกับเพื่อนบ้าน ได้สังคมดี และเกิดความรักในอาชีพ เข้าถึงจิตวิญญาณของเกษตรกร

  474. ชื่อ Best Practice : ชุดความรู้การเลี้ยงปลานิลในบ่อกุ้งร้าง

    โครงการ : สามประสานร่วมพัฒนาองค์ความรู้นำสู่การแลกเปลี่ยนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงของกลุ่มคน เรียกว่ากลุ่มสามประสาน เรียนรู้แล้วมาทดลองทำในบ่อกุ้งร้าง ใช้สารอินทรีย์ในท้องถิ่น พัฒนาสูตรการดูแลกันเอง ทำและพัฒนาสูตร ปรับปรุงจนได้ผลดี เป็นชุดความรู้ของกลุ่ม มีบ้านน้องเปี้ยว บ้านป้าเอียด เป็นตัวอย่างให้เพื่อบ้านได้มาเรียนรู้ได้
    ผลของ Best Practice : ได้เรียนรู้ ได้รายได้เพิ่ม ได้อาชีพที่มั่นคง ลดความเครียดเรื่องเศรษฐกิจ ได้สุขภาพองค์รวม ขณะเดินให้อาหารปลา เดินดูปลา ได้ออกกำลังกาย มีความสุขใจ ได้แลกเปลี่ยนกับเพื่อนบ้าน ได้สังคมดี และเกิดความรักในอาชีพ เข้าถึงจิตวิญญาณของเกษตรกร

  475. ชื่อ Best Practice : สภาผู้นำ

    โครงการ : สามพลัง ร่วมสร้างคนวัดพระขวางให้อบอุ่น
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การจัดตั้งสภาผู้นำ
    ผลของ Best Practice : ทีมงานสภาผู้นำช่วยให้การดำเนินงานคล่องตัวขึ้นเนื่องจากบางคนเป็นทั้งคณะกรรมการโครงการและสภาผู้นำทำให้ช่วยเหลืองานกันได้อย่างลงตัว

  476. ชื่อ Best Practice : สิ่งประดิษฐ์สร้างคนสร้างสุขลดปัญหาสุขภาพ

    โครงการ : สามวัยสานใจดูแลชุมชนสนามกีฬา
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : คนสามวัยมาร่วมทำหมอนสุขภาพและปลาตะเพียนเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน มีกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว ในชุมชน จนเกิดเป็นการปฏิบัติทุกวัน เกิดการออกกำลังกายคลายเมื่อคลายเครียดโดยบังเอิญ
    ผลของ Best Practice : สร้างเสริมสุขภาพคนสามวัย

  477. ชื่อ Best Practice : -การใช้ภูมิปัญญาโดยการเลี้ยงปลาในลำคลองธรรมชาติ

    โครงการ : สำนึกรักบ้านเกิด
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : -การจัดทำเป็นร่องน้ำให้พอดีกับตาข่ายที่ล้อมไว้เป็นรั้ว -ใช้น้ำตามธรรมชาติ ซึ่งไม่ปนเปื้อนสารเคมี -ปลาอื่นๆในแหล่งน้ำได้อาหารจากการเลี้ยงปลาในกระชัง
    ผลของ Best Practice : -การอนุรักษ์แหล่งน้ำ -การไม่ใช้สารเคมีในการเพาะปลูก และในแปลงพืชผักอื่นๆ -เป็นคลังอาหารของหมู่บ้าน -ความร่วมมือของประชาชนและผู้นำชุมชนที่มีความเข้มแข็ง

  478. ชื่อ Best Practice : -บทเรียนที่มีการถอดจากปราชญ์ชาวบ้าน...

    โครงการ : สำนึกรักบ้านเกิด
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : -การถ่ายทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเป็นความงดงามที่เกิดขึ้นในชุมชนแห่งนี้ และเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็กและเยาวชน มีผู้ให้ความสนใจร่วมเรียนรู้เป็นจำนวนมาก -สรุปเป็นบทเรียนไว้เป็นรูปเล่ม เป็นการเผยแพร่ได้ทั่วไปพร้อมที่จะขยายความรู้สู่ชุมชม และมีการจัดเก็บไว้ที่ศาลากลางหมู่บ้าน นอกจากนี้ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนต่างๆ ที่มาขอศึกษาดูงานอยู่เป็นระยะๆ -ชุมชนมีความรักสามัคคี และสามารถพึ่งตนเองได้
    ผลของ Best Practice : -ผู้สนใจสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา และปัจจุบันได้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนต่างๆที่ขอมาศึกษาดูงานทั้งจากภายในและต่างจังหวัด ประมาณ เดือนละ2 คณะเป็นอย่างน้อย -เป็นชุนชนที่มีความเข้มแข็ง ทั้งนี้เกิดจากส่วนหนึ่งเนื่องจากมีผู้นำที่เข้มแข็งและมีความเสียสละ -การพร้อมใจกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ที่สำคัญ คือ ต้นชก ไว้เป็นมรดกให้กับลูกหลานตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน -การจัดทำโครงการในครั้งนี้เป็นการจุดประกายให้กับชุมชนอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ระลึกถึงอดีตที่ผ่านมารวมถึงการดำรงชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ผลจากการอนุรักษ์ในอดีตได้ตกทอดมาให้ลูกหลานในปัจจุบันและจะยั่งยืนไปสู่รุ่นหลัง -การได้เห็นคุณค่าของทรัพยากรชุมชน

  479. ชื่อ Best Practice : เกิดกลุ่มน้ำหมักเพื่อบริโภค และน้ำหมักอุปโภคใช้ในครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากก่อนโครงการ

    โครงการ : สินสืบสุขร่วมใจทำบ้านน่าอยู่สิ่งแวดล้อมสะอาดปราศจากโรค
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การประชาสัมพันธ์โครงการแก่ผู้ร่วมกิจกรรม และส่งผลให้ผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกระทำกิจกรรมในเชิงแข่งขันกันทำที่บ้านตนเอง และใช้กลวิธี ติดตามเยี่ยมชมถึงบ้าน ให้กำลังใจ และบันทึกภาพร่วมกันพร้อมขอซื้อตัวอย่างไปจัดนิทรรศการ
    ผลของ Best Practice : เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสร้างกระแสรักสุขภาพในชุมชน ครัวเรือนที่เคยรับการแบ่งปัน จากเพื่อนบ้านมีการหัดทำใช้เองบ้าง และขยายกลุ่มใหญ่มากขึ้น

  480. ชื่อ Best Practice : ข้อตกลงสินสืบสุขร่วมใจทำบ้านน่าอยู่

    โครงการ : สินสืบสุขร่วมใจทำบ้านน่าอยู่สิ่งแวดล้อมสะอาดปราศจากโรค
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : จากกิจกรรมประกวดครัวเรือนต้นแบบแต่ละซอย ทำให้คณะกรรมการประจำแต่ละซอยจัดประชุมเกณฑ์การประกวดบ้านน่าอยู่ และได้ข้อสรุป4 ข้อ และแจ้งให้ชาวสินสืบสุขทราบเพื่อนำไปปฏิบัติ ดังนี้ 1. มีการจัดการขยะในครัวเรือนตามข้อตกลง 3 R 2. มีการร่วมกิจกรรมทุกครั้งของชุมชน 3. ปฏิบัติตามข้อตกลง และกติกาชุมชนสินสืบสุขปลอดขยะ 4. มีผลลัพธ์ในการจัดการขยะที่เป็นจุดเด่นและเชิงประจักษ์เป็นรูปธรรม
    ผลของ Best Practice : ชาวสินสืบสุขภูมิใจที่ชุมชนเป้นผู้นำในการขับเคลื่อนชุมชนอื่นๆและการนำข้อตกลงไปใช้ทุกครัวเรือนทำให้ชุมชนน่าอยู่และสะอาดปราศจากโรค

  481. ชื่อ Best Practice : โต้วาที สร้างวาทกรรมรักษาสิ่งแวดล้อม

    โครงการ : สินสืบสุขร่วมใจสร้างชุมชนเข้มแข็ง (ต่อยอด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ผลักดันกลุ่มนักเรียนให้ร่วมกิจกรรมกับชุมชน และมีผลต่อการจัดการเรียนการสอย สอดแทรกอย่างต่อเนื่องด้านการร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
    ผลของ Best Practice : เด้กที่โต้วาทีมีความภาคภูมิใจในกิจกรรมที่มีส่วนร่วม และ สร้างจิตสำนึก และเป้นแบบอย่างที่ดีแก่เพื่อนๆ ทั้งด้านเจตคติรักาาสิงแวดล้อม และพฤติกรรมที่เป๋นแบบอย่าง

  482. ชื่อ Best Practice : สินสืบสุขขยะเปลี่ยนชีวิต

    โครงการ : สินสืบสุขร่วมใจสร้างชุมชนเข้มแข็ง (ต่อยอด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การชูประเด็นนำขยะที่ย่อยสลายยากและมีสีสวยมาฝึกทำสิ่งประดิษฐ์ จากการช่วยกันฝึกคน 2 คน กลายเป็นนำมาบอกต่อและฝึกต่อในชุมชน จนชำนาญและรวมตัวกันมารวมผลิตภัณฑ์จนนำมาขายเป้นชุดสิ่งประดิษฐ์จากขยะ เช่นโคมไฟหลอดดุด ห่อขนมเงินโปรยทาน กระเช้าไพ่ตอง เป้นต้น
    ผลของ Best Practice : มีการเกิดสิ่งประดิษฐ์หลายประเภท ในชุมชน มีการแข่งขันกันทำให้สวย การหาตลาด และ การใช้เวลาว่างสร้างสัมพันธ์ครอบครัว ลดการเล่นการพนันของแม่บ้าน

  483. ชื่อ Best Practice : การถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่ชุมชน...

    โครงการ : สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การสาธิตและสอนรวมทั้งให้ร่วมฝึกปฏิบัติ เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน ทั้งกับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเยาวชนในโรงเรียน
    ผลของ Best Practice : -การถอดบทเรียนไว้เป็นเอกสารสำหรับศึกษาค้นคว้า

  484. ชื่อ Best Practice : ภูมิปัญญาของชุมชน...

    โครงการ : สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : -มีการดำเนินชีวิตด้วยวิถีดั้งเดิม แต่ยังไม่ได้มีการรวบรวมไว้เป็นบทเรียนสำหรับเผยแพร่ให้แก่คนรุ่นหลัง ดังนั้นการรวบรวมในครั้งนี้ จะเป็นการอนุรักษ์ให้ภูมิปัญญาคงอยู่คู่กับชุมชนต่อไป
    ผลของ Best Practice : -มีการรวบรวมภูมิปัญญาของท้องถิ่นไว้ให้เยาวชนรุ่นหลัง

  485. ชื่อ Best Practice : -การมีส่วนร่วมของชุมชน...

    โครงการ : สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : -เป็นตัวอย่างของชุมชนที่พึ่งตัวเองและทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียนอยู่ในชุมชน ยกตัวอย่างได้จาก อาหารกลางวันที่ใช้ผักพื้นบ้านและที่ปลูกในชุมชน และนำมาประกอบอาหาร -การมีผู้นำที่เป็นนักพัฒนาและร่วมในกระบวนการของชุมชนทุกครั้ง ซึ่งเป็นจุดที่น่าสนใจ คือ เป็นการดึงให้ประชาชนคนอื่นๆของหมู่บ้านให้เข้ามาร่วมกิจกรรมมากขึ้น -การเป็นกลุ่มที่มีความคิดสร้างสรรค์ คือ เป็นการรวบรวมสิ่งละอันพันละน้อยที่มีในชุมชนซึ่งถ้าไม่มีการอนุรักษ์ไว้ ก็จะทำให้สูญหายไปกับปราชญ์ด้วย และการที่นำเยาวชนมาร่วมเรียนรู้จะทำให้มีการคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมดั้งเดิมของท้องถิ่น -สำหรับผลิตภัณฑ์สบู่น้ำผึ้งเป็นการต่อยอดจากการเลี้ยงผึ้งโดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่มีกลุ่มเลี้ยงในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นการเลี้ยงตามธรรมชาติ คือ ผึ้งจะออกหาอาหารในป่าธรรมชาติที่อยู่รอบๆหมู่บ้าน และจะมาอาศัยรังที่สร้างขึ้นด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน สำหรับการเก็บน้ำผึ้งจะเก็บในเดือนห้า ซึ่งถือว่าเป็นน้ำผึ้งที่มีคุณภาพมากที่สุด จากเดิมน้ำผึ้งที่ผลิตได้จะขายเป็นน้ำผึ้งโดยตรง และการทำเป็นสบู่เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับน้ำผึ้ง
    ผลของ Best Practice : -เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทุกคนได้ใช้ เป็นการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง -เกิดผลพลอยได้อื่นๆ เช่น การลดการใช้สารเคมีในการปลูกพืชผักในชุมชน เป็นการปลูกผักอินทรีย์ที่ควรจะส่งเสริมให้ขยายเพิ่มขึ้น รวมทั้งในโอกาสต่อไปจัดทำเป็นตลาดนัดผักปลอดสารพิษ -การอนุรักษ์ป่าเพื่อให้มีเกษรเป็นอาหารของผึ้ง เนื่องจากการทำลายป่าจะทำให้เกษรดอกไม้ลดลงทุกคนจึงต้องร่วมมือกัน การอนุรักษ์ป่าทำให้ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ -การปลูกผักสวนครัวในแต่ละบ้านจะไม่ใช้สารเคมี เนื่องจากกลิ่นสารเคมี และสารเคมีจะทำลายผึ้ง ซึ่งทำให้ทุกคนได้บริโภคพืชผักที่ปลอดสารเคมี รวมทั้งการส่งขายผักปลอดสารพิษ -การเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับน้ำผึ้ง แทนที่จะขายเป็นน้ำผึ้งซึ่งราคาไม่สูงมากแต่เมื่อผลิตเป็นสบู่จะทำให้ราคาเพิ่มขึ้น รวมทั้งเป็นการส่งเสริมสินค้าOTOPของหมู่บ้านด้วย -เกิดการเรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้านสู่ชุมชน

  486. ชื่อ Best Practice : สร้างกลไกความสามัคคีโดยศูนย์รวมพ่อท่านคล้าย

    โครงการ : สุขสวรรค์ ที่ บ้านควนสวรรค์
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ปลูกจิตสำนึกรักบ้านเกิด โดยการนำเกจิทางภาคใต้ พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ มาเป็นศูนย์รวมจิตใจ สร้างความสามัคคี
    ผลของ Best Practice : คนในชุมชนเกิดความรัก สำนึกรักบ้านเกิดโดยมีศูนย์รวมจิตใจ พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ วัดควนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถืออย่างมาก ทำให้เกิดความร่วมมือกับทุกฝ่าย ทั้งด้านแรงกาย แรงใจ และกำลังทรัพย์ตามสมควร

  487. ชื่อ Best Practice : การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ

    โครงการ : เสริมพลังชุมชนด้วยคน 3 วัย บ้านโคกแย้ม
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ส่งเสริมครอบครัวต้นแบบ จัดสถานที่ให้นำผักปลอดสารพิษมาขาย ประชาสัมพันธ์
    ผลของ Best Practice : ครอบครัวขยายผล ทำปุ๋ยหมัก ปลูกผักปลอดสารพิษ ร้านค้ารับจำหน่ายให้ชุมชน

  488. ชื่อ Best Practice : การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ

    โครงการ : เสริมพลังชุมชนด้วยคน 3 วัย บ้านโคกแย้ม
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ส่งเสริมครอบครัวต้นแบบ จัดสถานที่ให้นำผักปลอดสารพิษมาขาย ประชาสัมพันธ์
    ผลของ Best Practice : ครอบครัวขยายผล ทำปุ๋ยหมัก ปลูกผักปลอดสารพิษ ร้านค้ารับจำหน่ายให้ชุมชน

  489. ชื่อ Best Practice : ตะลุงโขนเล่นสดลดสารเคมี

    โครงการ : หนังตะลุงโขนสดลดสารเคมีบ้านปากเหมือง(ต่อยอด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : นำภูมิปัญญาการเล่นหนังตะลุงคนมาฟื้นฟู และแต่งกลอนเล่าเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ และลดการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน
    ผลของ Best Practice : รณรงค์ลดการใช้สารเคมี

  490. ชื่อ Best Practice : ตะลุงโขนเล่นสดด้วยคนจริงนำเสนอผลงาการลดการใช้สารเคมี

    โครงการ : หนังตะลุงโขนสดลดสารเคมีบ้านปากเหมือง(ต่อยอด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : นำภูมิปัญญาการเล่นหนังตะลุงคนมาฟื้นฟู และแต่งกลอนเล่าเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ ลดการใช้สารเคมี
    ผลของ Best Practice : เป็นแหล่งเรียนรู้การใช้วัฒนธรรมท้องถิ่นสร้างเสริมสุขภาพ

  491. ชื่อ Best Practice : การทำบัญชีครัวเรือนในโรงเรียน

    โครงการ : หน้าบ้านน่ามองด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นลดการใช้สารเคมีในสวนของเกษตรกร
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : สอนการทำบัญชีครัวเรือนให้แก่นักเรียน
    ผลของ Best Practice : เด็กนักเรียน นำบัญชีครัวเรือนไปใช้ในครัวเรือนของตนเอง เป็นการส่งเสริมและขัดเกลาให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญมากขึ้นในเรื่องของการทำบัญชีครัวเรือน

  492. ชื่อ Best Practice : 1.ศูนย์เรียนรู้สมุนไพรชุมชน

    โครงการ : หมอชาวบ้านสืบสานภูมิปัญญาสมุนไพรพื้นบ้าน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.ผู้ใหญ่บ้านเปิดโอกาสให้ลูกบ้าน ไ้ด้นำสมุนไพรมาปลูกที่ศูนย์เรียนคนละ 1 ต้น เพื่อให้ทุกคนไ้ด้เรียนรู้สรรพคุณ และเป็นแหล่งเผยแพร่ความรุ้ในชุมชน
    ผลของ Best Practice : 1.มีแหล่งเรียนรู้สุมนไพรชุชน มีมากว่า 50 ชนิด เพื่อให้ประชาชนไ้ด้เรียนรู้

  493. ชื่อ Best Practice : ลูกประคบสมุนไพรชุมชน ขนาดพกพา

    โครงการ : หมอชาวบ้านสืบสานภูมิปัญญาสมุนไพรพื้นบ้าน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : มีการนำสมุนไพรในชุมชนมาทำเป็นลูกประคบ โดยทำเป็นลูกประคบขนาดพกพา มีส่วนประกอบของไพล ขมิ้น ตะไคร้ ผิวมะกรูด หัวเปราะ ซึ่งเป็นสมุนไพรที่พบในชุมชน การประคบสมุนไพรดังกล่าวช่วยแก้อัมพฤกษ์ด้วย
    ผลของ Best Practice : 1.เป็นการอนุรักษ์สมุนไพรชุมชน 2.ลดรายจ่าย 3.ช่วยในการบำบัดรักษาโรค

  494. ชื่อ Best Practice : ลูกประคบสมุนไพรชุมชน ขนาดพกพา

    โครงการ : หมอชาวบ้านสืบสานภูมิปัญญาสมุนไพรพื้นบ้าน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : มีการนำสมุนไพรในชุมชนมาทำเป็นลูกประคบ โดยทำเป็นลูกประคบขนาดพกพา มีส่วนประกอบของไพล ขมิ้น ตะไคร้ ผิวมะกรูด หัวเปราะ ซึ่งเป็นสมุนไพรที่พบในชุมชน การประคบสมุนไพรดังกล่าวช่วยแก้อัมพฤกษ์ด้วย
    ผลของ Best Practice : 1.เป็นการอนุรักษ์สมุนไพรชุมชน 2.ลดรายจ่าย 3.ช่วยในการบำบัดรักษาโรค

  495. ชื่อ Best Practice : สวนสมุนไพรชุมชน

    โครงการ : หมอชาวบ้านสืบสานภูมิปัญญาสมุนไพรพื้นบ้าน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของผุ้นำ ประชาชน เยาวชน โดยการนำสมุนไพรที่มีอยุ่ในชุมชน มาปลูกเป็นแปลงสมุนไพรชุมชน 2.มีการเขียนสรรพคุณสมุนไพร ไว้ให้ประชาชนได้เรียนรุู้ 3.มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำสวนสมุนไพร
    ผลของ Best Practice : 1.เป็นแหล่งเรียนรู้สมุนไพรของชุมชน

  496. ชื่อ Best Practice : การฟื้นฟูสภาพพื้นที่ป่าชายเลน

    โครงการ : ห้วยคล้าชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง สิ่งแวดล้อมยั่งยืน
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : 1.การสำรวจข้อมูลในพื้นที่ การให้ข้อมูลสถานการณ์ป่าชายเลนที่ถูกทำลายแก่ประชาชนในพื้นที่ทราบ 3.เชิญชวนประชาชนที่สนใจเข้าร่วมเป็นแกนนำอนุรักษ์ 4.จัดกิจกรรมฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลน(ปลูกป่าชายเลน) 5.การเฝ้าระวังพื้นที่ป่าชายเลน/การทำลายเตาเผาถ่านในพื้นที่ 6.การกำหนดเขตพื้นที่ป่าชายเลนที่ชัดเจน 7.การมอบรางวัลแก่บุคคล/กลุ่มที่ทำดีในการอนุรักษ์
    ผลของ Best Practice : การกำหนดมาตรการในการอนุรักษ์พื้นที่ป่าชายเลนในพื้นที่

  497. ชื่อ Best Practice : วงเวียนนำขยะมาใช้เป็นวัสดุทำเห็ดอย่างต่อเนื่อง

    โครงการ : เห็ดศาลาบางปู ลดหนี้ ลดขยะ สร้างอาชีพ
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การทดลองทำ การเก็บข้อมูลการทำ การพปปะพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ จนเกิดปญญา
    ผลของ Best Practice : เกิดรายได้และลดขยะ ลดภาวะโลกร้อน

  498. ชื่อ Best Practice : กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

    โครงการ : อนุรักษ์ผืนป่าดอนเทพมูลเพื่อพ่อหลวง ปี2
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ชุมชนร่วมกันพัฒนาผืนป่าและเชิญทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกิจกรรม เช่นป่าไม้ ดรงเรียน สาธารณสุข เป็นต้น จัดทำต้นแบบคนรุ่นใหม๋
    ผลของ Best Practice : มีหน่วยงานเห็นความสำคัญของป่าดอนเทพมูลและยินดีเข้าร่วมเรียนรู้และพัฒนาผืนป่าดอนเทพมูลมีการสนับสนุนงบประมาณบางส่วน เช่นการขุดสระน้ำ และให้รั้วลวดหนาม เป้นต้น

  499. ชื่อ Best Practice : การส่งเสริมการดูแลสุขภาพ

    โครงการ : อยู่อย่างวิถีไทย ชาวควนสินชัยสุขภาพดี
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - การให้ความรู้ความเข้าใจ การสร้างความตระหนัก และการทำให้ดูเป็นแบบอย่าง - การอำนวยความสะดวหในหารปลูกสมุนไพรด้วยการสร้างโรงเรือนกลางที่เป็นของคนทุกคนในชุมชน
    ผลของ Best Practice : - คนในชุมชนสนใจการนำสมุนไพรมาใช้ในการดูแลสุขภาพมากขึ้น

  500. ชื่อ Best Practice : การสร้างความเป็นเจ้าของร่วม

    โครงการ : อยู่อย่างวิถีไทย ชาวควนสินชัยสุขภาพดี
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ในการทำงานทุกอย่าง มีการสร้างความเป็นเจ้าของร่วมให้กับคนในชุมชน ร่วมจ่าย ร่วมสมทบ ร่วมดูแล เช่น สวนสมุนไพรชุมชน ที่คนทุกคนสามารถมานำพันธ์ุผักกลับไปปลูกที่บ้านได้ แต่ต้องมีของตนเองมาแลก ลานกีฬา ที่ต้องจ่ายสมทบดูแลอุปกรณ์กีฬา ครั้งละ 5 บาท
    ผลของ Best Practice : ทุกคนเกิดความรัะก ความเป็นเจ้าของทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในชุมชน

  501. ชื่อ Best Practice : การส่งเสริมการดูแลสุขภาพ

    โครงการ : อยู่อย่างวิถีไทย ชาวควนสินชัยสุขภาพดี
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : การให้ความรู้ความเข้าใจ การสร้างความตระหนัก และการทำให้ดูเป็นแบบอย่าง การอำนวยความสะดวหในหารปลูกสมุนไพรด้วยการสร้างโรงเรือนกลางที่เป็นของคนทุกคนในชุมชน
    ผลของ Best Practice : คนในชุมชนสนใจการนำสมุนไพรมาใช้ในการดูแลสุขภาพมากขึ้น

  502. ชื่อ Best Practice : การร่วมจ่าย

    โครงการ : อยู่อย่างวิถีไทย ชาวควนสินชัยสุขภาพดี
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : - จากการจัดลานกีฬาให้กับเยาวชนและคนในชุมชน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดูแลลานกีฬา และอุปกรณ์กีฬา มีการสมทบการใช้บริการอุปกรณ์กีฬาคนละ 5 บาท มีการจัดกองทุนกีฬาในชุมชน
    ผลของ Best Practice : - เยาวชน และคนในชุมชนหันมาออกกำลังกายกันมากขึ้น - มีการขยายผลด้วยการจัดกีฬาพื้นบ้านเชื่อมความสัมพันธ์ในช่วงเทศกาลสำคัญในชุมชน

  503. ชื่อ Best Practice : ทุ่งนาปลาคลัก ของตำบลบ่อแดง

    โครงการ : อาหารปลอดภัยในนาอินทรีย์
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : จากการสร้างครอบครัวต้นแบบในการใช้ปู๋ยอินทรีย์แทนสารเคมี จนกระทั่งได้มีการรวมกลุ่มเพื่อทำนาโดยใช้กระบวนการทำนาแบบภูมิปัญญาดั้งเดิม ใช้พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน เพื่อสร้างสุขภาวะ รักษาสิ่งแวดล้อมและเพื่อให้ชุมชนพึ่งตนเองได้
    ผลของ Best Practice : เกิดทุ่งนาปลาคลักซึ่งจะเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ในชุมชนและเป็นอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ และยังได้พันธุ์ข้าวพื้นบ้านขยายสู่แปลงนาชุมชนเพิ่มมากขึ้น

  504. ชื่อ Best Practice : การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย

    โครงการ : เอาพลาสติกคืนไปเอาพฤกษ์ไพรคืนบ้านดอนทะเล(ต่อยอด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ผู้นำกลุ่มส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลที่ให้ความสนใจในเรื่องของชุมชน และมีความพยายามหาแหล่งทุนมาเข้าสู่ชุมชน พยายามไปประชุมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อสร้างภาคีเครือข่าย สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปแล้วแต่โอกาสของแต่ละคน
    ผลของ Best Practice : ได้รับการบรรจุในแผนพัฒนาของทางเทศบาลในเรื่องของการจัดการขยะ ได้รับเมล็ดพันธืผัก และได้รับงบประมาณจากบริษัทเชฟร่อนในการศึกษาดูงาน ส่งเสริมด้านอาชีพ และจัดตั้งกองทุนในชุมชน

  505. ชื่อ Best Practice : วิทยากรกระบวนการ

    โครงการ : เอาพลาสติกคืนไปเอาพฤกษ์ไพรคืนบ้านดอนทะเล(ต่อยอด)
    วิธีการทำให้เกิด Best Practice : ทางด้านทีมของผู้รับผิดชอบโครงการเป็นทีมที่มีความใฝ่รู้ ผ่านการอบรมจากหน่วยงานต่างๆอยู่บ่อย สามารถเก็บประสบการณ์ที่ได้มา รู้จักนำมาประยุกต์ใช้ ผ่านกระบวนการฝึกฝนก่อนที่จะนำมาใช้นำกิจกรรมทุกครั้งเพื่อให้เกิดกิจกรรมสันทนาการ ก่อนดำเนินกิจกรรม และขณะที่ดำเนินกิจกรรม สอดแทรกให้เกิดความผ่อนคลาย ผู้ร่วมเกิดความสนุก กล้าพูด กล้าแสดงออกซึ่งความคิดเห็น
    ผลของ Best Practice : ทุกคนจะพยายามคิดหากิจกรรมนันทนาการที่ใหม่ๆอยู่เสมอและบางครั้งยังได้รับเชิญไปยังชุมชนอื่นๆด้วย

5. นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ

5 นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 278 กรณี
  1. ชื่อนวัตกรรม : ดอกไม้จันทน์

    โครงการ : บ้านหนองชีพูน เป็นบ้านอยู่เย็นเป็นสุข
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1.กลุ่มผู้สูงอายุ มีการรวมกลุ่มทำดอกไม้จันทน์ โดยใช้วัสดุที่เหลือใช้ในชุมชนมาให้เกิดประโยชน์ 2.มีการรวมกลุ่มที่บ้านนางฟื้น มากทอง 3.ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.เป็นการส่งเสริมการทำอาชีพ 2.ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยขน์ 3.ลดความเหงาในกลุ่มผู้สูงอายุ 4.ส่งเสริมให้เกิดคุณค่าในกลุ่มสูงอายุ

  2. ชื่อนวัตกรรม : เกิดพลังความร่วมมือของประชาชนที่เกิดจากสภาพปัญหาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ปัจจุบัน

    โครงการ : กติกาชุมชนคนนาเกตุ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เกิดกระบวนการ จัดการข้อมูลที่เป็นระบบและสะท้อนข้อมูลตามสภาพปัญหาที่แท้จริงของคนส่วนใหญ่ในชุมชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เกิดการแก้ไขปัญหาในชุมชนอย่างมีส่วนร่วม

  3. ชื่อนวัตกรรม : จาดทุ่งจูดร่วมใจ

    โครงการ : กระจาดเดือนสิบรวมใจเฉลิมพระชนม์ 60พรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาที่ บ้านทุ่งจูด
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : นำประเพณีสำคัญของชุมชนคนปักษ์ใต้ มาออกแบบเตรียมงาน โดยยึดหลักกระตุ้นให้คนในหมู่บ้านที่มีความขัดแย้งเรืองการเมืองท้องถิ่นมาร่วมทำกิจกรรม โดยให้ศูนย์รวมใจเพื่อถวายแก่พระเทพรัตนราชสุดา
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ให้คนในหมู่บ้านเกิดความสามัคคี ลดความขัดแย้ง

  4. ชื่อนวัตกรรม : เครื่องแกงต้านมะเร็ง

    โครงการ : กระจาดสานใจเครื่องแกงกู้ภัยเศรษฐกิจบ้านนาแยกเหนือ (ต่อยอดปี 2)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ข่าอ่อน กระชาย พริกไทยอ่อน ใบมะกรูด ผิวมะกรูด นอกจากจะเพิ่มรสชาติ ความหอมกรุ่นที่สามารถช่วยดับกลิ่นคาวได้แล้ว ยังเป็นสมุนไพรช่วยย่อยอาหาร ช่วยต้านอนุมูลอิสระ เกิดองค์ความรู้ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนความรู้กัน ว่าเครื่องแกงสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้ ต้านอนุมูลอิสระได้ ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สอนให้ลูกหลานทำอาหารให้เป็นยาได้
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เกิดการปลูกฝังให้คนในชุมชนทำอาหารกินเอง ลดการบริโภคอาหารสะดวกซื้อ และได้การอนุรักษ์ภูมิปัญญาในการทำเครื่องแกง

  5. ชื่อนวัตกรรม : กล้วยไข่บานสานพลัง

    โครงการ : กล้วยไข่บานลดสารเคมีบ้านพิตำ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : กลุ่มประชาชนที่ปลูกกล้วยไข่บานในหมู่บ้าน รวมตัวกันเพื่อเรียนรู้การใช้สารอินทรีย์ทดแทนการใช้สารเคมีในการปลูกกล้วยไข่บาน จนเกิดการเรียนรู้ในวงกว้าาง ขยายผลไปยังกลุ่มอื่นๆ ให้ใช้สารอินทรีย์แทนสารเคมี เพื่อเพิ่มคุรภาพผลผลิต
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เพิ่มความมั่นใจในการปลูกกล้วยไข่บาน ที่ไม่ใช้สารเคมี

  6. ชื่อนวัตกรรม : การใช้ข้อมูลขยะมาสร้างความตระหนักและความร่วมมือจากชุมชน

    โครงการ : การจัดการขยะสู่ชุมชนน่าอยู่บ้านทอนตรน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : คณะทำงานออกแบบกระบวนการจัดเก็บข้อมูล
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : คืนข้อมูลสู่ชุมชขนผ่านเวทีการประชุม ให้ชุมชนมองเห็นว่าชนิด ปริมาณ ประเภทของขยะว่ามีจำนวนเท่าไร แต่ละประเภทสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร เช่นขยะอินทรีย์ 60เปอร์เซ็นต์ สามารถนำมาทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพเพื่อลดรายจ่ายค่าปุ๋ยเคมีได้ ขยะอื่นสามารถนำมาใช้ใหม่ใช้ซ้ำ ขายได้ ลดรายจ่ายได้ ที่สำคัญคือขยะต้องเป็นเงิน ซึ่งทำให้คนในชุมชนสามารถมองเห็นภาพของประโยชน์ของขยะได้ นำไปสู่ความร่วมมือกันเข้าร่วมในกิจกรมของโครงการ

  7. ชื่อนวัตกรรม : วงคิด/คุย

    โครงการ : การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยชุมชนเพื่อชุมชนอำเภอปะทิว
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : มีการพูดคุยกันและร่วมกันตั้งกลุ่มปะทิวรักษ์ถิิ่น ในพื้นที่ตำบลชุมโค
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : กลุ่มปะทิวรักษ์ถิ่น ร่วมกันรณรงค์ส่งเสริมอาชีพธุรกิจขนาดเล็ก เช่นประมงชายฝั่ง เลี้ยงสัตว์ ปาล์มนำ้มัน และร่วมกัรรณงค์ไม่เอาอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

  8. ชื่อนวัตกรรม : มัคคุเทศน์น้อย

    โครงการ : การจัดการทรัพยากรป่าชายเลน บ้านเขาทอง unseen อ่าวท่าเลน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : จากการประชุมประชาคมร่วมกันในสภาผู้นำชุมชนในการป้องกันเยาวชนให้ลดพฤติกรรมเสี่ยง โดยการจัดอบรมการเป็นไกด์นำเที่ยวให้แก่เยาวชนในพื้นที่ เพื่อให้มีความรู้และสามารถมีรายได้ช่วยเหลือครอบครัว
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : นำไปขยายผลในแหล่งท่องเที่ยวอื่น

  9. ชื่อนวัตกรรม : หลักสูตรชุมชน

    โครงการ : การพัฒนาศักยภาพชุมชนโดยใช้มัสยิดเป็นศูนย์กลาง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เป็นหลักสูตรที่เกิดจากกระบวนการในการ ใช้ การถอดบทเรียน เพิ่มเติมด้วยกับการศึกษาดูความสำเร็จของชุมชนอื่น และ มาสร้างหลักสูตรร่วมกับผู้ชำนาญการ (คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา) เป็นกระบวนการที่อาศัยองค์ความรู้และการดึงความสามารถของหน่วยงานอื่นมาร่วมพัฒนาระบบการศึกษาของชุมชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ได้หลักสูตรที่เป็นที่เหมาะสมกับชุมชนและใช้ในการพัฒนาเยาวชนโดยให้มัสยิดมีส่วนสำคัญในการบริหารจัดการ

  10. ชื่อนวัตกรรม : ธนาคารขยะ

    โครงการ : การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ชุมชนบ้านคลองขนาน (ต่อเนื่อง ปี2)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การพูดคุยประชาคมในหมู่บ้าน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : นำไปขยายผลสู่หมู่บ้านอื่นๆ

  11. ชื่อนวัตกรรม : หลักสุตรการเรียนรู้ชุมชนบ้านคลองขนาน

    โครงการ : การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ชุมชนบ้านคลองขนาน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : จากปัญหาที่พบในชุมชนเรืองการทะเลาะวิวาทของวัยรุ่นในชุมชนหรือปัญหาแต่งงานกันในเครือญาติเองเนื่องจากความไม่รู้ในเครือญาติในตระกูลตนเอง ทำให้เกิดกระบวนการวางแผนงานให้เยาวชนในชุมชนได้เข้ามาเรียนรู้ที่มาที่ไปของชุมชน และต้นตระกูลต่างๆในชุมชน โดยการให้เด็กได้สัมภาษณ์พูดคุยกับผุ้สูงอายุ หรือผุ้รู้ในชุมชนเกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเยาวชนและผู้สูงอายุ ทำให้ผุ้สูงอายุรู้สึกถึงความมีคุณค่าในตนเองและอยากถ่ายทอดให้รุ่นต่อไป นำมาต่อยอดเป็นหลักสุตรท้องถิ่นสำหรับโรงเรียนในชุมชนให้นักเรียนได้เรียนรู้จักชุมชนตนเองเพิ่มขึ้น
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : จัดทำเป็นหลักสูตรเรียนรุ้ชุมขนบ้านคลองขนานสำหรับเด็กนักเรียนในโรงเรียนของชุมชน

  12. ชื่อนวัตกรรม : ...ด่านตรวจยาเสพติดในเวลากลางคืนโดยชุมชน

    โครงการ : การมีส่วนร่วมป้องกันภัยยาเสพติดเพื่อชุมชนน่าอยู่บ้านหูเล่
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เกิดจากการที่ที่ประชุมหมู่บ้านได้เรียนรู้ข้อมูลยาเสพติดที่แพร่ระบาดในชุมชนและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทำให้คนในชุมชนมีความตระหนักและร่วมกันออกกฏของหมู่บ้าน ข้อหนึ่งคือการตั้งด่านตรวจยวดยานที่ผ่านเข้ามาในหมู่บ้าน ที่มีเป้าหมายเพื่อสกัดการระบาดของยาเสพติดในชุมชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : การแพร่ระบาดของยาเสพติดลดลงอวย่างเห็นได้ชัดตลอดเวลาที่มีการตั้งด่าน

  13. ชื่อนวัตกรรม : การทำผ้าฮิญาบโดยใช้เศษผ้า ลูกไม้

    โครงการ : กินผักที่ปลูกและฮิญาบราคาถูกที่บ้านหลาแขก
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เป็นนวัตกรรมการประดิษฐ์ด้วยมือที่มีความคิดสร้างสรรค์ ใช้เศษวัสดุเหลือใช้ในครัวเรือนและชุมชน มาทำให้เกิดคุณค่า
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.สร้างรายได้ให้ครัวเรือน 2 สามารถใช้ในครัวเรือนและชุมชนของตนเอง

  14. ชื่อนวัตกรรม : การปลูกผักแบบดาวล้อมเดือน

    โครงการ : เกษตรแนวใหม่ สร้างพลังใจ พลังคนสู่ชุมชนที่สดใส
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การนำผักหลายชนิดมาปลูกลงในแปลงเดียวกันส่วนมากใช้ยางรถยนต์มาเป็นแปลงเพาะ
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ใช้เป็นที่ประดับหน้าบ้านด้วยในระดับหนึ่ง

  15. ชื่อนวัตกรรม : จัดตั้งกลุ่มจัดตั้งกลุ่มตลาดนัดเคลื่อนที่ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันนำสินค้าไปจำหน่ายที่ตลาดนัด168 ตรงข้ามการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทุกเย็นวันอังคาร

    โครงการ : เกษตรผสมผสานบ้านทะเลปัง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : มีคณะกรรมการบริหารจัดการกลุ่ม ประเมินผลการลดรายจ่ายจากการทำบัญชีครัวเรือน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เรียนรู้การจัดการและการบริหารกลุ่มให้ยั่งยืน

  16. ชื่อนวัตกรรม : ถนนกินได้

    โครงการ : เกษตรพอเพียงตามวิถีมุสลิมบ้านคลองยาง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : - ส่งเสริมให้มีการปลูกผัก 5 ชนิดในถนนสายหลักของหมู่บ้านเพื่อเป็นแหล่งอาหารของคนในชุมชน ได้แก่ ชะอม มะขาม มะละกอ ผักหวาน และเหรียง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - คนในชุมชนมีผักปลอดสารพิษบริโภคในชุมชน

  17. ชื่อนวัตกรรม : บ้านผึ้ง

    โครงการ : เกษตรอินทรีย์บนความพอเพียง บ้านสหกรณ์
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การเลี้ยงผึ้งของชุมชน ชุมชนได้ช่วยกันสร้างบ้านผึ้ง และมีสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่มีการใช้สารเคมี ทำให้ผึ้งอยู่กับครอบครัว ชุมชนนั้นนาน ๆ ให้น้ำผึ้งได้ใช้เป็นอาหารเป็นยาดูแลสุขภาพครอบครัว และได้มีการแบ่งปันขายในและนอกชุมชนสร้างรายได้ให้กับสมาชิก
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ชุมชนมีบ้านผึ้งทำใช้เอง ลดต้นทุน เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีลดละเลิกการใช้สารเคมี สุขภาวะของชุมชน

  18. ชื่อนวัตกรรม : แพปลูกข้าวและผักอินทรีย์

    โครงการ : เกษตรอินทรีย์บนเรือนแพบ้านสระกูด
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การทำแพจากไม้ไผ่ วัสดุเหลือใช้ โดยใช้ปุ๋ยหมักที่ทำจากผักตบชวา ผลิตผลเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นดินสำหรับปลูกข้าวและผัก เน้นการใช้ปู่ยอินทรีย์ น้ำหมักอินทรีย์ ที่คนในชุมชน ร่วมกันทำ โดยการถ่ายทอดประสบการณ์จากปราชญ์ชาวบ้าน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ปราชญ์ชาวบ้านได้ทดลองทำแพอินทรีย์ที่บ้านของตนเอง โดยทำเป็นแพขนาดเล็ก สำหรับปลูกพืชสวนครัว ในร่องนำที่ไหลมาจากสระกดูด

  19. ชื่อนวัตกรรม : น้ำหมักสูตรน้ำพ่อ

    โครงการ : เกษตรอินทรีย์บ้านปลักจอกเสริมรายได้
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การทำน้ำหมักน้ำพ่อ ประกอบด้วย วัสดุที่ใช้ ได้แก่ ฟักทอง กล้วยน้ำหว้าสุก จุลินทรีย์หัวเชื้อ และกากน้ำตาล โดยมีวิธีทำ ดังนี้ นำฟักทองและกล้วยน้ำหว้าฝานเป็นชิ้นๆ ขนาดเท่าลูกเต๋า จำนวน อย่างละ 3 กิโลกรัม แล้วนำมารวมกัน ใช้กากน้ำตาล จำนวน 1.5 ลิตร คนไปในทิดทางเดียวกัน ใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์ หมักไว้ประมาณ 15 - 20 วัน บรรจุในถังปิดฝาไว้หลวมๆ คนทุกวัน เมื่อครบกำหนดจึงนำน้ำหัวเชื้อเข้มข้นำ จำนวน 10 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ้น 3 -5 วันต่อครั้ง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ใช้ในการบำรุงพืชกินผล เช่น มะเขือ แตงกวา พริก บวบ และพืชกินผลทุกชนิด

  20. ชื่อนวัตกรรม : น้ำหมักไล่แมลง

    โครงการ : เกษตรอินทรีย์สร้างรายได้บ้านในหัน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : วิธีการทำน้ำยาไล่แมลง 1.นำเศษพืชที่มีรสขม เช่น สะเดา ขี้เหล็ก ฟ้าทลายโจร ฯลฯ 2.นำพืชหรือเศษพืชที่มีรสเมาเช่นยาเส้น ก้านใบลำต้น 3.ต้นพืช ต้นของพืชที่มีฤทธิ์ทำให้ถูกตัวตาย เช่น หัวหนอนตายยาก โดยนำมาหมักร่วมกัน แล้วนำเอาน้ำไว้สำหรับฉีดพ่นไล่แมลง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : นำไปฉีดพ่นไล่แมลง ไม่ต้องใช้สารเคมี สำหรับใช้ในการปลูกพืชผักต่าง ๆ

  21. ชื่อนวัตกรรม : แก้มลิงทรายเพชร

    โครงการ : แก้มลิงบ้านทรายเพชรลดภัยพิบัติน้ำท่วม
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : นำทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติ ที่อ่างเก็บน้ำใกล้ๆแม่น้ำตาปี คลอง ที่เป็นทางผ่านของน้ำที่ตื้นเขินมาทำให้เกิดการมีส่วนร่วมโดยชักชวนชาวบ้าน มาพัฒนา แผ้วถาง ใช้กำลังคน มาจัดการ เพื่อลดน้ำท่วมในหมู่บ้าน และนำกิจกรรมที่เป็นภูมิปัญญา ด้านการป้องกัน เฝ้าระวังมาพัฒนาให้ทุกครัวเรือนได้ฝึก และเฝ้าระวังครัวเรือนของตนเอง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ลด/ชลอน้ำท่วม ในหมู่บ้านที่ 10 หมู่บ้านใกล้เครียง และกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำให้น้ำไหลเร็วขึ้นไม่ท่วมขังในหมู่บ้าน และในยามหน้าแล้งยังเป็นแหล่งน้ำไว้ใช้ในการเกษตรของชาวบ้านทั้ง 3 หมู่บ้าน

  22. ชื่อนวัตกรรม : ปุ๋ยหมักลดขยะ

    โครงการ : ขยะเป็นปุ๋ยเพิ่มผลผลิตลดสารเคมี
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : นำถุงเห็ดที่ทิ้งเป็นขยะ มาเป็นวัสดุหลักในการทำปุ๋ยหมัก
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เกิดการทำการเกษตรลดสารเคมี ลดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนการผลิตปุ๋ย และเกิดความสามัคคีในกลุ่ม

  23. ชื่อนวัตกรรม : ข้างถนนกินได้

    โครงการ : ขยะสร้างคนข้างถนนกินได้
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เกิดการมีส่วนร่วมของหน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ อบต. กลุ่มสตรี ผู้นำหมู่บ้าน ผู้อำนวยการโรงเรียน นักเรียน ได้มาร่วมกันปรับสิ่งแวดล้อมจากเดิมเป็นกองขยะเน่าเหม็น ให้เปลี่ยนเป็นสวนผักข้างถนน เกิดความภาคภูมิใจของทุกคน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : มีกลุ่มผู้นำชุมชนในหมู่บ้านใกล้เคียง และนักเรียนโรเรียนใกล้เคียง แจ้งความประสงค์มาขอเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะเป็นสวนผักข้างถนน จนหมู่บ้านต้องฝึกวิทยากรประจำหมู่บ้านไว้

  24. ชื่อนวัตกรรม : กระบวนการความร่วมมือทุกภาคส่วน

    โครงการ : ข้าวพื้นเมืองคืนชีวิตชาวนาปะขอ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : กระบวนการขับเคลื่อนงานที่ให้หลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนสู่วิถีนาอินทรีย์ มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนให้ชุมชนและเครือข่ายหมู่บ้านใกล้เคียง ทำให้เสริมสร้างฐานความมั่นคงอาหาร และมีอาหารปลอดสารพิษ
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - ครอบครัวชาวนาปรับเปลี่ยนแนวคิดและทำนาอินทรีย์ร้อยละ 80 - ได้ความร่วมมือภาคีในการสนับสนุนการสร้างวิถีนาอินทรีย์ใช้ข้าวพื้นเมือง ต่อยอด โรงสีชุมชน ได้รับบรรจุแผน อบต. สนุนสนุนโรงสี 1 โรง

  25. ชื่อนวัตกรรม : ประดิษฐ์ของใช้จากขยะ

    โครงการ : ข้าวยาโค ข้าวอาซูรอ สองศาสนาสานสัมพันธ์ที่บ้านยวนแหล
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เยาวชนได้นำสิ่งที่เหลือใช้มาทำเป็นของใช้ ได้แก่ 1.ไม้กวาดจากขวดพลาสติก 2.โคมไฟจากฝาขวดพลาสติก ส่ิงที่ได้เรียนรู้คือ 1.ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์หลังเลิกเรียน2.เป็นการนำขยะมาใช้ใหม่โดยแปรรูป 3.ลดขยะในชุมชน เพราะขยะบางชนิดขายไม่ได้ เช่นขวดพลาสติกที่เป็นสี ไม่่สามารถขายได้ จึงนำมาใช้ประโยชน์
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.ลดปริมาณขยะในครัวเรือน 2.ลดปริมาณขยะในครัวเรือน 3.สร้างรายได้แก่เยาวชน

  26. ชื่อนวัตกรรม : การออกกำลังกายโดยการสีข้างด้วยครกสี

    โครงการ : ข้าวสังหยดขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่ที่บ้านควนพัง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เป็นนวัตกรรมที่บูรณาการแนวทางการผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้ครกสี มาร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพ จึงเกิดเป็นการออกกำลังกายที่ได้ทั้งกำลังกายและได้สุขภาพดีจากการได้บริโภคอาหารปลอดสารเคมีด้วย
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : การนำไปใช้ประโยชน์ได้นำนวีัตกรรมมาเผยแพร่ให้ประชาชนในพื้นทีทมาอออกกำลังกายกันมากขึ้นนอกจากนั้นยังจัดตั้งเป็นกลุ่มแปรรูปข้าวสังหยดอินทรีย์ด้วยครกสีที่สร้างรายได้ให้กับกลุ่มได้อรกทางหนึ่ง

  27. ชื่อนวัตกรรม : ถ่านผลไม้ ดับกลิ่น

    โครงการ : คนนาโหรงร่วมทำฐานเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยพลังงานทดแทนเพื่อเพิ่มรายได้
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การเผาถ่านด้วยเตาเผาถ่านที่มีประสิทธิภาพสูง ถ่านที่ได้หลังจากการเผาแล้ว ลักษณะของก้อนถ่านจะคงรูป เหมือนวัตถุดิบ ที่นำลงเตาเผา จะปรากฏรูปทรง เหมือนเดิมทุกประการทำให้เกิดแนวคิดที่จะนำผลไม้ เช่น สัปปะรด เงาะ มังคุด หรือ ผลไม้อื่น ๆ ทดลองลงเตาเผา ผลปรากฏได้ ถ่านผลไม้ ที่คงรูปสวยงามสามารถจัดลงใน ภาชนะ และตกแต่งให้สวยงาม วางไว้ในตู้เย็น เป็นก้อนดับกลิ่น ที่มีประสิทธิภาพดี ยิ่ง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : นำถ่านผลไม้วางเป็นก้อนดับกลิ่น ในตู้เย็น ในห้องน้ำ ห้องส้วม

  28. ชื่อนวัตกรรม : ชมรมมวยไทย

    โครงการ : คนบ้านควน รวมใจ ลงมือ ลดนักเสพหน้าใหม่ในชุมชน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เด็ก 7-12 ปี จำนวน30คน เรียนรู้ ฝึกทักษะมวยไทย ออกทำการแสดงแม่ไม้มวยไทยตามงานเทศกาล
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีพื้นที่การแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอสุขภาพแข็งแรง

  29. ชื่อนวัตกรรม : ลานนวัตกรรมสุขภาพ

    โครงการ : คนพรุกระแชงสุขภาพดีด้วยภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : - มีการจัดลานสุขภาพที่หลากหลาย โดยเน้นการนำภูมิปัญญามาใช้ในการดูแลสุขภาพ เช่น ลานกะลา
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - คนในชุมชนตระหนักในการดูแลสุขภาพมากขึ้น และหันมาใช้แพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพ

  30. ชื่อนวัตกรรม : สวัสดิการชุมชนคนรักถิ่น

    โครงการ : คนวังฆ้องร่วมใจพัฒนาคลองสองสายน้ำเกิดสายน้ำแห่งความสุข
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เป็นกระบวนการสร้างความรับผิดชอบ ในการดูแลลำคลองและภูมิทัศน์ ริมฝั่งคลอง อย่างเป็นรูปธรรมโดยใช้กติกาของสังคม และกระตุ้นสร้างจิตสำนึก และความตระหนักให้รักท้องถิ่นตน โดยมีกติกา ให้ชุมชนริมฝั่งคลองรับผิดชอบท่านำ้ของตนเอง โดยผู้ทีมีผลงานยอดเยี่ยม จะได้รับการ ยกเว้นการส่งเงินสบทบเงินกองทุนสวัสดิการชุมชน 1 ปี ทางชุมชนร่วมรับผิดชอบ ส่งเงินสมทบให้ 1ปี
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ :

  31. ชื่อนวัตกรรม : การเก็บข้อมูลอย่างมีส่วนร่วม โดยใช้เครื่องมือภาพถ่ายเล่าเรื่อง

    โครงการ : คนสามวัยใส่ใจสุขภาวะชุมชนบ้านทุ่งใหญ่
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การสอนให้เด็กและเยาวชนได้ลงชุมชนและถ่ายภาพที่ตังเองสนใจ จากนั้นทีมพี่เลี้ยงตั้งคำถามว่า รู้สึกอย่างไรกับภาพ ทำไมถึงถ่าย ภาพนี้สื่อถึงอะไร คิดอย่างไร ให้เด็กและเยาวชนไปสัมภาษณ์เพื่อมาเขียนเป็นเรื่องราว สุดท้ายทุกคนได้หนึ่งภาพกับหนึ่งเรื่องราวในชุมชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : อยู่ระหว่างการดำเนินงานต่อในพื้นที่

  32. ชื่อนวัตกรรม : มูลไส้เดือน

    โครงการ : คนเอาถ่านบ้านวัดโหนด
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : มีการปรับสภาพดินแล้ว นำไส้เดือนดินมาเลี้ยงในดินที่มีการเตรียมไว้ เพื่อให้ไส้เดือนถ่ายมูลไว้ แล้วนำมูลไส้เดือนผสมกับปุ่ย ก่อนนำไปปลูกผัก
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.มูลไส้เดือน จะนำไปใช้ในการปลูกผักปลอดสารพิษ 2.ไส้เดือนเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าดินปลอดสารพิษ

  33. ชื่อนวัตกรรม : สื่อเพลงพื้นบ้าน

    โครงการ : ครัวเรือนสะอาดชุมชนปลอดขยะ หมู่ที 2 บ้านสะพานเคียน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1. คณะทำงาน เตรีมข้อมูล ประวัติหมู่บ้านสถานการณ์ขยะ ชุดข้อมูลประเภท วิธีการ กำจัดขยะ ความรู้เรื่องโรค เพื่อเป็นข้อมูลด้านเนื้อหาในการแต่งเพลง ที่ใช้เป็นสื้อชุมชน 2. ปรึกษาพี่เลี่ยงในการจัดทำสื่อ 3. คัดหา นักร้องในชุมชน เพื่อเป็นต้นเสียงในการขับร้อง 4. ติดต่อ นักแต่งเพลง และตัดต่อเพลง 5. เตรียมนำสื่อเพลงในการจัดทำคืนชุมชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เป็นสื่อประชาสัมพันธ์การจัดการขยะและกระตุ้นจิตสำนึกคนในชุมชนเพื่อให้เหมาะสมกับบริบทสอดคล้องวิถีชุมชน

  34. ชื่อนวัตกรรม : ภูมิปัญญาไล่แมลง

    โครงการ : ครัวเรือนสุขภาพดีตามวิถีควนตราบ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : นำสมุนไพรชื่อไหลหางแดงนำมาหมักรวมกับน้ำ EM ไว้ 1 เดือน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : น้ำหมักที่ได้จากการหมักสมุนไพรไหลหางแดง นำมาผสมน้ำสะอาดในอัตรา 1:100 ฉีดพ่นพืชผักที่มีแมลงมารบกวน

  35. ชื่อนวัตกรรม : บัญชีครัวเรือน

    โครงการ : คลังอาหาร อยู่ดี กินดีที่บ้านหนองสีขวัญ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1.มีการเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน โดยการบันทึกข้อมูลง่ายๆ ไม่จำเป็นต้องมีแบบฟอร์ม 2.บันทึกข้อมูลที่จำได้ ไม่ต้องกังวล 3.ทุกเดือนนำมาให้คณะทำงานช่วยดู และต้องบันทึกสมำ่เสมอ
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.มีการเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนแบบง่ายๆ 2.บันทึกข้อมูลที่บันทึกไ้ด้ 3.มีแนวทางการลดรายจ่ายครัวเรือน 4.เป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือน

  36. ชื่อนวัตกรรม : คลังอาหารชุมชน

    โครงการ : คลังอาหารบ้านดอนโรง(ต่อยอดปี 2)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1.รับสมัครกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 2.กำหนดกระบวนการพัฒนาคลังอาหารชุมชน 3.กำหนดกิจกรรมแต่ละครัวเรือน 4.เป็นการเรียนรุ้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยทุกบ้านนำประยุกต์ใช้ตามความถนัดของตนเอง 5.คลังอาหารที่สร้างขึ้น เป็นอาหารที่ปลอดภัย ไม่มีสารเคมี เช่น ผัก ไก่ ปลา เป็ด 6.ทุกครัวเรือน สามารถผลิตอาหารได้เอง ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.ทุกครัวเรือนได้มีอาหารไว้บริโภคตลอดเวลา ไม่อด 2.ทุกครัวเรือนลดรายจ่ายในการซื้อผัก หรือปลา ในการประกอบอาหาร 3.ทุกครัวเรือนบริโภคอาหารที่ปลอดสารเคมี

  37. ชื่อนวัตกรรม : ระบบการจัดการขยะ

    โครงการ : ควนขนุนปลอดขยะท้องถิ่นปลอดถัง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1. หมู่ 5 จะนำขยะที่ผ่านการคัดแยกจากครัวเรือนแล้วและสามารถขายได้มารวบรวมไว้ที่ศาลาประชุมหมู่บ้าน และตั้งกรรมการขึ้นแล้วพาไปขายอีกที 2. หมู่ 6 แต่ละครอบครัวนำขยะที่ผ่านการคัดแยกและขายได้มารวมไว้ที่ศาลาประชาคมหมู่บ้านเดือนละครั้ง และจะมีพ่อค้ามารับซื้อขยะที่ศาลา 3. หมู่ 8 จะให้แต่ละครัวเรือนคัดแยกจากบ้านเอง และให้พ่อค้าไปรับซื้อตามบ้าน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : สร้างระบบการจัดการขยะที่ผ่านการคัดแยกจากครัวเรือน มาขาย เพื่อสร้างรายได้และลดขยะในชุมชน

  38. ชื่อนวัตกรรม : แปลงทดลองปลูกข้าวพันธ์พื้นเมือง เพื่อค้นหาพันธ์ข้าวที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

    โครงการ : ความมั่นคงทางด้านอาหารวิถีบ้านท่าช้าง ( ต่อเนื่อง )
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : มีอาสาสมัคร 5 คน ร่วมจ้ดทำแปลงทดลองปลูกข้าวพื้นบ้าน ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน 6 สายพันธุ์ มืข้าวสังข์หยดพัทลุง ขัาวเฉี้ยงพัทลุง ข้าวหน่วยเขือ ข้าวเล็บนก ข้าวเหนียวดำ ข้าวปิ่นแก้ว สาเหตุที่เลือกใช้พันธุ์ข้าว 6 ชนืดนี้ ก็เพราะว่า เดิมชุมชนมีพันธุ์ข้าวมากกว่า 30 สายพันธุ์แต่ได้สูญพันธุ์ไปหมด วิชชาลัยรวงข้าว ร่วมกับชุมชนได้ฟื้นมาได้และปลูกขยายในแปลงนาของสมาชิกเพียง 6 สายพันธุ์นี้ ส่วนเมล็ดพันธุ์ชนิดอื่นๆ มีจำนวนเมล็ดพันธุ์น้อยจึงปลูกไว้ในกระถางเพื่อป้องก้นความเสี่ยง ใช้พื้นที่แปลงนาของอาสาสมัครในการทดลอง 1)แปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุงจำนวน 2 ไร่ 2)แปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวเฉี้ยงพัทลุงจำนวน 3 ไร่ 3)แปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวหน่วยเขือจำนวน 4 ไร่ 4)แปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวเล็บนกจำนวน 3 ไร่ 5)แปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียวดำจำนวน 2 งาน 6)แปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวปิ่นแก้วจำนวน 2 ไร่ รวมแปลงทดลองปลูกข้าวพันธุ์พื้นบ้าน จำนวน 14 ไร่ 2 งาน เตรียมดินโดยการไถกรบตอซังข้าว และไถกลบปอเทืองปุ๋ยพืชสด ทิ่งไว้อย่างน้อย 10 วัน โดยมีนำ้ขังครั้งที่ 2 คราดทำเทือกให้เสมอกันทั้งแปลงชักลากทำร่องนำ้ 3 - 4 เมตร ต่อร่อง ระบายนำ้ออกให้แห้ง หว่านข้าวงอก จำนวน 10 กิโลกรัม / ไร่ ปักป้ายชื่อพันธุ์ข้าว แต่ละชนิด และ จดบันทึก ตามแบบบันทึกลักษณะประจำพันธุ์ บันทึกตลอดฤดูกาล ตามระยะการเจริญเติบโต เพื่อจัดทำเป็นองค์ความรู้และเพื่อค้นหาพันธ์ที่เหมาะสมกับสภาพในพื้นที่นี้ 
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เนื่องจากเดิมมีข้าวพื้นเมืองที่ปลูกหลายสายพันธ์ แต่ได้สูญหายไปจากพื้นที่ ทำให้ต้องการที่จะทราบว่าข้าวที่นำมาทดลองปลูกนี้พันธ์ใดจะมีความเหมาะสมใช้ปลูกในสภาพนิเวศของทุ่งไชยรองนี้ได้ จะได้ขยายพันธ์ไว้ใช้ตามจุดเด่นของแต่ละสายพันธ์ และเก็บสำรองไว้ในธนาคารพันธ์ข้าวของชุมชน เพื่อสมาชิกจะมีพันธ์ข้าวไว้ใช้โดยไม่ต้องซื้อ เป็นการลดต้นทุนและรักษาสายพันธ์ข้าวไว้ได้อย่างดี

  39. ชื่อนวัตกรรม : ถังขยะตะแกรงเหล็ก

    โครงการ : คอกช้างร่วมใจจัดการขยะ…รักสุขภาพ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การนำตะแกรงเหล็กราคาถูกมารณรงค์ให้ชาวบ้านช่วยกันมาประดิษฐ์
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ชาวบ้านมีถังขยะสำหรับแยกขยะในครัวเรือน

  40. ชื่อนวัตกรรม : คืนกีฬาพื้นบ้านสู่การมีสุขภาพที่แข็งแรง

    โครงการ : คืนธรรมชาติบ้านท่าใหญ่สู่ต้นแบบชุมชนเกษตรอินทรีย์
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : จัดกิจกรรมแข่งขันกีฬาและการละเล่นพื้นบ้านในอดีต เพื่อทบทวนวิธีการเล่น กฎ กติกา ยกระดับให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการออกกำลังกาย พัฒนาสุขภาพด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยมอบค่าตอบแทนเป็นเมล็ดพันธ์ผักหรือต้นไม้
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เชื่อมความสามัคคี

  41. ชื่อนวัตกรรม : เกษตรดั้งเดิม

    โครงการ : คืนสู่ธรรมชาติบ้านพัฒนา
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ปรับปรุงพื้นที่ข้างบ้านเป็นแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ โดยใช้ปุ๋ยจากขี้ไก่ ขี้เป็ด มีการเลี้ยงปลาในร่องผัก เรียกว่าเกษตรดั้งเดิมครบวงจร
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ลดการบริโภคสารเคมี ดีต่อสุขภาพ

  42. ชื่อนวัตกรรม : เครือข่ายร่วมลดอุบัติเหตุ

    โครงการ : คุณค่าเด็กแว็นซ์ ที่บ้านปากคลองวัดแดง(ต่อยอดปี2)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1.มีการประสานกับเครือข่ายในการทำงาน ซึ่งประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย สารวัตรกำนัน นายกอบต.เขาพระบาท รพ.สต.เขาพระบาท ชมรมผู้สูงอายุสถานีภูธรการะเกด กลุ่ม อสม.บ้านปากคลองวัดแดง กลุ่ม EMS
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.ได้มีการประสานงานและขอความร่วมมือเครือข่ายภายนอก เข้ามาร่วมมือในการลดอุบัติเหตุในชุมชนและทุกหน่วยงานยินดีเข้ามาร่วมพัฒนา

  43. ชื่อนวัตกรรม : แกนนำกลุ่มบ้านจัดการขยะ

    โครงการ : โคกเหล็กสะอาดจัดการขยะดีทุกชีวีมีสุข
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ผู้นำกลุ่มบ้านสอนการจัดการขยะและเป็นบ้านตัวอย่างการจัดการขยะได้ มีการนำขยะมาทำแก็สชีวมวล
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ถ่ายทอดกระบวนการทำงานและขยายผลให้ครัวเรือนอื่นได้

  44. ชื่อนวัตกรรม : ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หมู่ 2 ต.วัดจันทร์

    โครงการ : โครงการ"จากโรงเรียนสู่บ้าน สืบสานความพอเพียง" หมู่ 2 ตำบลวัดจันทร์ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เป็นจุดที่ทำหน้าที่ฝึกฝนและถ่ายทอดแนวคิดการปรับประยุกต์ใช้ชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย - การผลิตถ่านจากเตาชีวมวลขนาด 1000 ลิตร - การผลิตน้ำส้มควันไม้ไล่แมลง - การผลิตผักปลอดสารพิษ - การผลิตเตาอั้งโล่ห์ ประหยัดพลังงาน วิธีการทำให้เกิด: มีการไปศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ภายในจังหวัด โดยการนำครู ก. ที่จะมาฝึกหัดทำกิจกรรมด้านพลังงาน หรือกิจกรรมการทำปุ๋ยหมัก จากนั้นมาพัฒนาเป็นคณะทำงานศูนย์ฯ และมีกิจกรรมด้านการถ่ายทอดแนวคิดแก่นักเรียน และผู้ปกครอง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ผลของนวัตกรรม 1. อบต.วัดจันทร์ สำนักงานเกษตร อ.สทิงพระ ให้ความสำคัญ และจะบรรจุไว้ในแผนสนับสนุนของหน่วยงาน 2. โรงเรียนสนับสนุนการทำกิจกรรมเนื่องจากสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียนในการพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง 3. โรงเรียนมีความใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น เช่น การให้น้ำส้มควันไม้ไล่แมลงแก่ผู้สนใจแบบไม่คิดมูลค่า การเป็นแหล่งฝึกอบรม และการเป็นแหล่งผลิตจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรแบบปลอดสารพิษ การนำไปใช้ประโยชน์ 1.การเป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวคิดการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนและประชาชนรอบพื้นที่โรงเรัียน 2. การฝึกฝนให้นักเรียนกลุ่มเสี่ยงหรือมีพฤติกรรมเกเร มีความรับผิดชอบมากขึ้น

  45. ชื่อนวัตกรรม : กลุ่มเยาวชนของชุมชน

    โครงการ : โครงการกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนสู่ชุมชนที่น่าอยู่ หมู่ที่ 6 ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เป็นการรวมตัวของกลุ่มเยาวชนที่มีความพร้อมในการดำเนินการกิจกรรมของชุมชน มีการแลกเปลี่ยนวิธีการทำงานกับผู้นำศาสนาที่มีประสบการณ์ร่วมกันถ่ายทอดประสบการณ์ให้แกนนำเยาวชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : รูปแบบการไปใช้ยังไม่ชัดเจนเนื่องจากอยู่ในระยะก่อตัว

  46. ชื่อนวัตกรรม : การบวชป่าชุมชน

    โครงการ : โครงการการจัดการป่าชุมชนบ้านควนยูงแบบมีส่วนร่วม
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : - การทำพิธีกรรมทางศและการทำพิธีกรรมทางศาสนา (สวดพระพุทธมนต์) และการทำพิธีกรรมทางความเชื่อ (การบูชารุกขเทวดา) ทำให้เกิดพลังศรัทธาให้กับคนในชุมชน - การนำจีวรพระห่มให้กับต้นไม้ในป่าชุมชน ทำให้เกิดความบังเกิดความกลัวเกรงต่อบาป ทำให้ไม่กล้าตัดไม้ในป่าที่ผ่านพิํธีกรรมการบวชป่าชุมชนแล้ว
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - ต้นไม้ในป่าชุมชนได้รับการดูแลรักษา ไม่ัมีใครกล้าตัด เพราะกลัวเกรงต่อบาป - เป็นสัญลักษณ์ของการร่วมแรงร่วมใจกันดูแลรักษาต้นไม้ที่ผ่านพิธีกรรมบวชป่าแล้ว

  47. ชื่อนวัตกรรม : แผนที่ฐานทรัพยากรชุมชน

    โครงการ : โครงการการจัดการอ่าวทุ่งนุ่ย
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : แผนที่แสดงทรัพยากรต่างๆ ในบริเวณอ่าวทุ่งนุ้ย ซึ่งเป็นการผนวกรวมกับแผนที่ชุมชน มีการแสดงลักษณะทางภูมิศาสตร์ และบริเวณต่าง ๆ ที่มีทรัพยากรแต่ละชนิดหนาแน่น เช่น บริเวณพื้นที่ที่เป็นป่าชายเลน บริเวณที่มีหอย กุ้ง ปลา เป็นต้น โดยข้อมูลที่นำมาจัดทำเป็นแผนที่ได้มาจากการสำรวจฐานข้อมูลทรัพยากรโดยกลุ่มแกนนำและเยาวชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ใช้ในการนำเสนอฐานข้อมูลทรัพยากรชุมชนให้กับคนในชุมชน และหน่วยงานต่าง ๆ ที่สนใจ ซึ่งส

  48. ชื่อนวัตกรรม : กระสอบใส่ขยะธรรมดา.

    โครงการ : โครงการเกาะบุโหลนเลปลอดขยะ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : แกนนำได้มีการปรึกษาหารือกับคณะนักศึกษาพยาบาลมหาลัยสงขลานครินทร์ถึงวิธีการทำถังขยะพบว่ามีวัสดุเหลือใช้ได้แก่ กระสอบจึงได้กระสอบมาทำถึงขยะ ปัจจุบันกำลังทดลองและทางแกนนำของโครงการกำลังคิดหาวิธีการที่ดีกว่าเดิมโดยใช้วัสดุที่คงทนและสวยงามเหมาะกับพื้นที่ หลักคิดคือ ไม่มีถังขยะให้เห็นแต่มีขยะที่แยกแล้วในครัวเรือน ถ้ามีถังขยะในระยะแรกก็สวยงาม ราคาถูก หรือได้จากวัสดุเหลือใช้และเหมาะสมกับพื้นที่
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ใช้ใส่ขยะแยกเป็น 2- 3 ช่องเพื่อให้ชาวบ้านหัดแยกขยะเป็น

  49. ชื่อนวัตกรรม : หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ

    โครงการ : โครงการขยายเครือข่ายอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ "เพื่อนช่วยเพื่อน" รุ่นที่ 2
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : หลักสูตรสำหรับการดูแลผู้สูงอายุเป็นการร่วมกันวิเคราะห์ถึงความจำเป็นอันอาสาสมัครผู้สูงอายุควรมีความรู้และเข้าใจ ตลอดจนการฝึกทักษะการใช้เครื่องมือ ประกอบด้วย 1. การเปลี่ยนแปลงของวัยสูงอายุ 2. วิธีดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ 3. การเตรียมตัวและการปฏิบัติตนต่อผู้สูงอายุ 4. การใช้เครื่องมือวัดความดันโลหิตได้ถูกต้อง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ผลของนวัตกรรม สามารถใช้เป็นหลักสูตรต้นแบบสำหรับการฝึกอบรมอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุได้ที่มีความรู้และศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน การนำไปใช้ประโยชน์ สามารถเป็นต้นแบบในการฝึกอบรม อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ

  50. ชื่อนวัตกรรม : - กระบวนการสันทนาการแบบสะท้อนคิดสร้างการเรียนรู้

    โครงการ : โครงการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวบ้านนางกำ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : - การจัดกิจกรรมสันทนาการที่ผสมผสานระหว่างความสนุกสนาน การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และการสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ผ่านการคิด การแสดงออกของคนในชุมชนที่สื่อสารออกมาด้วยละครที่เน้นด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - เห็นกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ตั้งแต่กระบวนการคิด การแสดงออกทางความคิด การร่วมแรง ร่วมใจกันของคนทุกเพศทุกวัย

  51. ชื่อนวัตกรรม : ...กลุ่มยุวมัคคุเทศก์อาสาอนุรักษ์พันธ์หอย Happy Banghin

    โครงการ : โครงการชาวบางหินร่วมใจ นำวิถีชีวิตไทย สู่สุขภาวะชุมชน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : มีการรวมกลุ่มของเยาวชน จำนวน 20 คน จัดทำทำเนียบยุวมัคคุเทศก์ โดยมี น.ส.เลขาจิตร ชิดเอื้อ เป็นประธาน เพื่อการพัฒนาโปรแกรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และกิจกรรมท่องเที่ยวตามวิถีชุมชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : นำไปเผยแพร่สู่เครือข่ายและบุคคลภายนอกผ่านสื่อต่างๆ

  52. ชื่อนวัตกรรม : ปฏิทินเมนูสุขภาพ

    โครงการ : โครงการชาวปากช่องประสานใจ สร้างถนนสายหลัก สานใยรักษ์สุขภาพชุมชน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : โดยผ่านการตรวจสอบจากนักโภชนากร แล้วแจกปฏิทินให้กับสมาชิก เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : นำเสนอปฏิทินเมนูสุขภาพให้กับทาง อบต.เพื่อกระจายความรู้ไปสู่ทุกหมู่บ้านในตำบล

  53. ชื่อนวัตกรรม : ...เป็นกระบวนการผลิตปุ๋ยชีวภาพเพื่อนำมาเลี้ยงไส้เดือน

    โครงการ : โครงการชีวินทรีย์ เพื่อสุขภาวะชุมชนคนอ่าวลึกน้อย
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ...นำทางปาล์มมาย่อยสลายผสมกับมูลสัตว์และเศษอาหารจากครัวเรือนนำมาหมักเพื่อให้เกิดอุนภูมิที่พอเหมาะในระยะเวลาหนึ่งเดือนหลังจากนั้นจึงนำมาเป็นอาหารของไส้เดือน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ...มูลของไส้เดือนสามารถนำไปเป็นปุ๋ยคุณภาพที่ดีและฉี่ของไส้เดือนสามารถนำไปเป็นฮอร์โมนพืชเพื่อเร่งการเจริญเดิบโตและเพิ่มผลผลิต

  54. ชื่อนวัตกรรม : การจัดทำว่าววงเดือน

    โครงการ : โครงการชุมชน 2 วิถีนำชุมชนน่าอยู่
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1.สืบค้นวิทยากรภูมิปัญญาการทำว่าววงเดือน 2.วิทยากรทบทวนกระบวนการและขั้นตอนการทำว่าววงเดือน 3.รวบรวมเอกสารการทำว่างวงเดือน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.การเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทยพุทธและไทยมุสลิม 2.การอนุรักษ์ภูมิปัญญาและประเพณีดั่งเดิม(การทำว่าววงเดือน/การแข่งว่าว) 3การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 4.การเสริมรายได้ให้กับเยาวชน

  55. ชื่อนวัตกรรม : โปรแกรมการจัดการข้อมูล การทำแผนที่ชุมชน

    โครงการ : โครงการชุมชนคนไทดำเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : - ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมควอนตั้มมาใช้ในการจัดทำแผนที่ชุมชน ทำให้สามารถเห็นรายละเอียดของชุมชนในทุกมิติ
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - ชุมชนเข้าใจบริบทของพื้นที่มากขึ้น สามารถทำแผนพัฒนาชุมชนได้อย่างถูกต้อง

  56. ชื่อนวัตกรรม : เพื่อนคู่หูสองวัย

    โครงการ : โครงการชุมชนท่าแขกน่าอยู่
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม :
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : คู่หูจะชวนกันไปเก็บขยะหลังเลิกเรียนทำให้ชุมชนสะอาด สบายตา และชวนกันดูแลการทิ้งขยะของชุมชนให้คำแนะนำถ้าสมาชิกทำไม่ถูกต้อง

  57. ชื่อนวัตกรรม : ...ไ่ม่มี

    โครงการ : โครงการชุมชนบ้านเจริญทรัพย์ปลอดหนี้สิน ทำกินกันตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : -
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : -

  58. ชื่อนวัตกรรม : ...-

    โครงการ : โครงการชุมชนสามร้อยกล้า ใส่ใจสุขภาพ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม :
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ :

  59. ชื่อนวัตกรรม : หลักสูตรตาดีกาสีขาว

    โครงการ : โครงการตาดีกายุคใหม่ ใส่ใจพัฒนาสุขภาวะเยาวชนมุสลิมอย่างยั่งยืน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1.ระดมความคิดเห็นของทุกภาคส่วนในชุมชน2.วิเคราะห์ สังเคราะห์จากปัจจัย สาเหตุ นำสู่แนวทางแก้ไขปัญหา 3.จัดทำร่างหลักสูตรโดยแกนนำเครือข่ายในชุมชน 4.ทดลองใช้ร่างหลักสูตรภายในระยะเวลา1 เดือนกับนักเรียนตาดีกา 5.พัฒนาหลักสูตรที่สมบูรณ์
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : การนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติในกลุ่มเด็กในโรงเรียนตาดีกา

  60. ชื่อนวัตกรรม : ถังขยะจากตะแกรงเหล็ก

    โครงการ : โครงการนักจัดการขยะและสุขภาพบ้านศรีนคร
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : จากได้ไปดูงานจากชุมชมบ้านนครธรรม
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ใช้ในการคัดแยกขยะและป้องกันการวางระเบิด

  61. ชื่อนวัตกรรม : ศุนย์เรียนรู็การเลี้ยงนกกระทา

    โครงการ : โครงการนากอฮูแตรวมพลังสร้างฝันพลังสีขาว
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ศููนย์เรียนรู้ให้กับชุนชนได้จริงและฝึกปฏิบัติจริงเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนภายใต้การดูแลของกลุ่มสตรีและเยาชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : กลุ่มสตรีและเยาชนมีรายได้จากการเลี้ยงไข่นกกระทา สามารถต่อยอดสู่ครัวเรือนต่างๆในชุมชนเพื่อการสร้างอาชีพเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือนได้ เกิด เกิดรูปแบบการนำเงินเข้าชุนชน โดยให้การออกแแบบกระจายเงิน ให้เข้ากองกลางชุมชนร้อยละ 80 และ เยาวชนผู้เลี้ยง ร้อยละ 20 จากรายได้การเลี้ยงของศูนย์

  62. ชื่อนวัตกรรม : 1.กองทุนขยะของชุมชนป้อมหก

    โครงการ : โครงการแนวทางร่วมสร้างชุมชนป้อมหกให้น่าอยู่
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : กองทุนธนาคารขยะเป็นเสมือนกุศโลบายให้คนในชุมชนป้อมหก หันมาสนใจการคัดแยกขยะให้ถูกต้อง เห็นคุณค่าของขยะที่เกิดขึ้นในบ้านเรือน กระบวนการที่ทำให้เกิดกองทุนขยะ เริ่มจากการสำรวจข้อมูลจุดที่เป็นแหล่งเสื่อมโทรมทิ้งขยะของคนในชุมชนป้อมหก กระบวนการทำให้เกิดธนาคารขยะ ประกอบด้วย การจัดตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินงานของธนาคารขยะ อันมีองค์ประกอบจากทุกภาคส่วนของชุมชน ประชุมเพื่อออกแบบแนวทางการฝาก ถอน ขยะ การจัดกิจกรรมเพื่อการเผยแพร่ความรู้เรื่อง การแยกขยะของประชาชน จากนั้นก็จะมีการเปิดให้ฝากของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ และจะสรุปผลการฝากแต่ละครั้ง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการขยะในชุมชน ส่งผลให้มีชาวบ้านชาวป้อมหกสนใจสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกของธนาคารจำนวนมาก ชาวบ้านของชุมชนจะฝึกนิสัยการคัดแยกขยะแต่ประเภท ตามราคาที่กำหนดขึ้น การที่ตั้งราคาแต่ละชนิดจะเป็นตัวกระต้นให้คนมีการแยก เนื่องจากราคาของขยะที่แยกจะมีราคาที่สูงกว่าที่ไม่แยก - ชาวบ้านชาวป้อมหกมีพฤติกรรมการคัดแยกขยะมากขึ้นและเห็นคุณค่าของขยะ

  63. ชื่อนวัตกรรม : กระบวนการสร้างแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

    โครงการ : โครงการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เริ่มจากกระบวนการพูดคุยกันของคนในชุมชน จากเดิมการดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับการพัฒนาอ่างเก็บน้ำป่าพะยอมและพื้นที่ต้นน้ำ จะถูกจัดการโดยหน่วยงานรัฐเป็นหลัก คือกรมป่าไม้และชลประทาน แต่หลังจากดำเนินโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ได้มีกระบวนการใหม่ที่คนในชุมชนสามารถมาพูดคุย ปรึกษาหารือ และกำหนดกิจกรรมในการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำอ่างเก็บน้ำป่าพะยอมได้โดยคนในชุมชนเอง หน่วยงานราชการเป็นเพียงหน่วยหนุนเสริม ซึ่งถือเป็นกระบวนการทางสังคมใหม่ที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน จากกระบวนการเกิดกลุ่มคนอาสา และร่วมกันพัฒนาพื้นที่ป่าต้นน้ำให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ใหม่ในชุมชนคือ เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ป่าต้นน้ำป่าพะยอม ซึ่งภายในเส้นทางการท่องเที่ยวนี้ประกอบด้วยป้ายแสดงองค์ความรู้เกี่ยวกับพันธ์พืชในพื้นที่ป่าต้นน้ำ ฐานการเรียนรู้การใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรในพื้นที่ป่าต้นน้ำ ซึ่งเยาวชนและผู้สนใจสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ และมีกลุ่มอาสาสมัครอนุรักษืป่าต้นน้ำ เป็นวิทยากรให้ความรู้ ท้ายสุดของกระบวนการนี้คือคณะทำงานได้มีการประชุมร่วมกับประชาชนในชุมชนและกำหนดเป็นกติกาชุมชนในการอนุรักษ์พื้ยที่ป้่าต้นน้ำ มีการจำกัดการใช้ทรัพยากร มีการห้ามจับสัตว์ป่า การจับปลาที่ผิดวิธี ซึ่งคนในชุมชนส่วนใหญ่ยอมรับกติกาดังกล่าวและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการสอดส่องดูแลผู้ที่ไม่ทำตามกติกาของชุมชนด้วย และขับเคลื่อนไปจนถึงขั้นการเสนอแนวทางนี้ไปสู่องค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนมาตรการต่อไป
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : มีการนำนวัตกรรมนี้ไปใช้ในการจัดทำแนวทางมาตรการต่าง ๆ ของชุมชน โดยใช้ที่ประชุมหมู่บ้านเป็นที่ปรึกษาหารือและใช้กระบวนการมีส่วนร่วมตามกระบวนการสร้างแนวทางบริหารจัดการทรัพยากรโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นหลัก อาทิเช่น การจัดการแหล่งน้ำ การจัดการกองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น

  64. ชื่อนวัตกรรม : ห้องเรียนธรรมชาติ

    โครงการ : โครงการบ้านน่ามอง คลองน่าดู ชุมชนน่าอยู่ หมู่ประชาเข้มแข็ง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ครูใช้ชุมชนเป็นฐานเรียนรู้ด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ที่มีแกนนำชุมชนเป็นครู เป็นการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรมมการเรียนการสอนของโรงเรียน

  65. ชื่อนวัตกรรม : ...ไม่มี

    โครงการ : โครงการบ้านปากบ่อชุมชนต้นแบบสร้างสุขภาพเข้มแข็งแบบยั่งยืน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ไม่มี
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ไม่มี

  66. ชื่อนวัตกรรม : 1. โรงเรียนนวตกรรมชุมชน

    โครงการ : โครงการบ้านวัดเลียบพอเพียง ทำ กิน อยู่ใช้ ด้วยปัญญา(หมู่บ้านเกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตพอเพียง) "พันธุกรรมนำชีวิต สู่เศรษฐกิจพอเพียง"
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เป็นการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ของหมู่ 10 ต.ชิงโค อ.สิงหนคร ซึ่งมีโรงเรียนนวตกรรมอาหารปลอดภัย เป็นจุดประสานงาน ทำหน้าที่พัฒนาให้เกิดแกนนำด้านการผลิตที่ปลอดภัยด้านอาหารในหมู่บ้าน เนื่องจากที่ผ่านมามีแกนนำแยกตามโซน จำนวน 3 โซน ซึ่งผลิตอาหารและพืชผลทางการเกษตรที่ปลอดภัย ไร้สารพิษอยู่แล้ว แต่ที่ต้องดำเนินการ คือ การพัฒนาหลักสูตรที่ชัดเจนของโรงเรียน นวตกรรมด้านสุขภาพ มีการพัฒนาหลักสูตรสร้างเสริมสุขภาพจำนวน 8 หลักสูตรและมีการเปิดรับสมัครอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : จะเป็นจุดสำหรับการพัฒนาศักยภาพของประชาชนที่สนใจเข้าร่วมการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่โรงเรียนนวตกรรมชุมชน

  67. ชื่อนวัตกรรม : การทำนาแบบลดต้นทุน

    โครงการ : โครงการปลูกข้าวพันธ์พื้นเมือง ตามแนวทางชีววิถี บ้านคลองหมาก หมู่ที่3 ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การเพาะต้นกล้าลงแผงก่อนโดยใชัดินที่มีการเกาะตัวดีเพื่อสะดวกในการโยนกล้าลงสู่แปลงนา
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : การประยุกใช้ดินในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมเพื่อนำมาเพาะต้นกล้า สามารถลดทัศนคติของคนทานาแบบเดิมๆของคนในชุมชน สามารถขยายความรู้ให้เกษตรกรขยายการทำนาแบบโยนกล้าให้เป็นที่แพร่หลายได้เพิ่มมากขึ้น และได้นำองค์ความรู้จากการปลูกข้าวปลอดสารพิษและปลูกข้าวแบบโยนกล้าไปถ่ายทอดให้กับเครือข่ายชาวนาในจังหวัดกระบี่ และจังหวัดพังงา (อำเภอเกาะยาวน้อย)

  68. ชื่อนวัตกรรม : 1.ข้อตกลงของชุมชน

    โครงการ : โครงการยาบี ลดเสี่ยง เลี่ยงโรค เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หมู่ที่5บ้านโคกวัด ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานีปี2(โรงเรียนพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนลดเสี่ยงบ้านโคกวัดอบอุ่น)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1.ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดการทางสังคมของชุมชน 2.ชุมชนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนร่วมกันในการกำหนดทิศทางแนวทางของชุมชน 3.หน่วยงานรัฐเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความรู้ด้านกฏหมาย
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : การดูแลซึ่งกันและกันของชุมชนในเรื่องความปลอดภัยและการดูแลคนในชุมชน

  69. ชื่อนวัตกรรม : ธนาคารต้นกล้าผักในครัวเรือน

    โครงการ : โครงการเยาวชนคนสร้างสุข บ้านนาเกาะไทร (ต่อเนื่อง ปี2)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : จากการประชาคมหมู่บ้านและการพูดคุยในกลุ่มเด็กและเยาวชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เยาวชนเพาะต้นกล้าผักในครัวเรือนและนำต้นกล้าไปแจกจ่ายแก่ชาวบ้านในชุมชน และเก็บเมล็ดพันธ์ผักพื้นบ้านในชุมชน เช่นถั่วฝักยาว 1 เมตร ,เมล็ดพันธ์ผักเสี้ยนสด นำมาเพาะพันธ์ขยายต้นกล้า

  70. ชื่อนวัตกรรม : 1.เกิดกลุ่มนักอนุรักษ์ในระดับโรงเรียน

    โครงการ : โครงการเยาวชนเครือข่ายโรงเรียนปริกอาสาทำดีตามรอยเท้าพ่อ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1. การนำเด็กเยาวชนในโรงเรียนเครือข่าย 10 โรงเรียนมาทำกิจกรรมร่วมกัน โดยการจัดค่ายศึกษา การเรียนรู้ วิถีชุมชน ประเพณี วัฒนธรรม สภาพแวดล้อม และการดำรงชีวิตการประกอบอาชีพของคนในชุมชน 2. เด็กเยาวชนร่วมเรียนรู้ประสบการณ์จากปราญช์ชุมชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชน และฐานการเรียนรู้ของชุมชนในเขตเทศบาลปริก เช่น การจัดการขยะแบบฐานศูนย์ การทำน้ำหมักชีวภาพ ฯลฯ ซึ่งเด็กเยาวชนที่เข้าร่วมเรียนรู้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปขายายผลในระดับครอบครัวและชุมชนของตนเอง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : แกนนำเยาวชนในโรงเรียนเครือข่าย จำนวน 10 โรงเรียน จำนวน 80 คน ในการนำความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การจัดการขยะ การรักษาสิ่งแวดล้อม การใช้วิถีการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 2.เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างเหมาะสม และมีความสุข ตลอดจนมีทักษะความเป็นผู้นำในการถ่ายทอดความรู้ ความภาคภูมิใจ ในวิถีชีวิตของคนในชุมชนตำบลปริกให้ชุมชนอื่นได้รับรู้และเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน

  71. ชื่อนวัตกรรม : ...-

    โครงการ : โครงการเยาวชนตลาดใน-จานเรียวรักครอบครัวรักษ์ชุมชน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม :
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ :

  72. ชื่อนวัตกรรม : ดอกไม้ติดเสื้อและผ้าคลุม

    โครงการ : โครงการเยาวชนตัวอย่าง ร่วมสร้างชุมชนอุเปน่าอยู่
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เป็นดอกไม้ที่ผลิตจากฝีมือของเยาวชนโดยทำจากถุงน่องสีต่างๆมาประดิษฐ์เป็นดอกไม้ติดเสื้อและผ้าคลุม
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : นำมาใช้ตอนฝึกกีฬาใช้เป็นอุปกรณ์วอร์มร่างกายก่อนลงเล่นกีฬา

  73. ชื่อนวัตกรรม : กระบวนการขับเคลื่อนงานชุมชนในลักษณะพหุภาคี ประชาสังคมนำ วิชาการหนุน ท้องถิ่นเสริม

    โครงการ : โครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่ด้วยการฟื้นฟูและอนุรักษ์ห้วยหนุนปาน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : จาการทำงานมีการจัดกระบวนการทำงานใหม่เพิ่มเติมจากสามเหลี่ยมเขยื่อนภูเขา คือนอกเหนือจากมีภาครัฐ ภาคความรู้ ภาคประชาชน แล้ววันนี้มีการเพิ่มภาคส่วน ท้องถิ่นและท้องที่เพิ่มขึ้น ทำให้กระบวนการทำงานมีความใกล้ชิดกับชุมชนมากยิ่งขึ้น กลุ่มใหม่ที่เกิดขึ้นในชุมชนจากการดำเนินโครงการนี้คือเกิดกลุ่มอาสาสมัครอนุรักษ์ห้วยหนุนปาน ที่มาจากประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบห้วยหนุนปานจากหมู่ที่ 2 หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 8 และหมู่ที่ 10 นอกจากนี้ยังมีนักเรียนจาก 2 โรงเรียนซึ่งอยู่ใกล้เคียงห้วยหนุนปานคือ โรงเรียนบ้านโหล๊ะเร็ด และโรงเรียนบ้านไทรทอง มีสมาชิกเข้าร่วมในเบื้องต้นประมาณ 40 คน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เกิดกลุ่มการทำงานที่มาจากทุกภาคส่วน ร่วมกันดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น

  74. ชื่อนวัตกรรม : ยังไม่เกิด

    โครงการ : โครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ บ้านปากคลองบางสน ด้วยการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอ่าวบางสนอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน(ปี2)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม :
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ :

  75. ชื่อนวัตกรรม : สิ่งประดิษฐ์จากสิ่งของเหลือใช้

    โครงการ : โครงการร่วมสร้างสมบูรณ์สุขให้มีสุขภาพดีโดยการจัดการขยะ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : -การชักชวนชาวบ้านได้รับทราบถึงปัญหาจากขยะโดยการจัดอบรมให้ความรู้และการฝึกอบรมมาประดิษฐ์สิ่งของเหลือใช้จากครัวเรือนมาใช้ประโยชน์ -การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และรายได้เสริมจากสิ่งของเหลือใช้ในครัวเรือน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : -ประชาชนลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนจากการประดิษฐ์สิ่งของเหลือใช้ -ปริมาณขยะในชุมชนลดลง

  76. ชื่อนวัตกรรม : การสร้างกลุ่มครอบครัวในการจัดการยาเสพติดในชุมชน

    โครงการ : โครงการร่วมสร้างสุขให้ชุมชนบ้านยี่งอน่าอยู่ บ้านยี่งอ หมู่ที่ 7 ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เกิดการรวมตัวของครอบครัวอบอุ่นและครอบครัวที่มีกลุ่มเสี่ยงยาเสพติดรวมตัวกันแลกเปลี่ยนมาช่วยจัดการยาเสพติดในชุมชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ยังไม่ชัดเจนเนื่องจากอยู่ในระยะก่อตัว

  77. ชื่อนวัตกรรม : หลักสูตรชุมชน เรื่องปัญจะสีละ...

    โครงการ : โครงการร่องรอยศิลปะของชุมชน ขับเคลื่อนชุมชนให้น่าอยู่
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ได้ปัญจะสีละ ซึ่งเป็นกีฬาพื้นบ้าน เป็นกีฬาที่มีการละเล่นกัน 8 คน เป็นศิลปะป้องกันตัว และ เพื่อการออกกำลังกาย ทำให้ผู้เล่น มีสุขภาพร่างกายแข็ง สามารถฝึกให้มีสมาธิ พร้อมทั้งป้องกันตัวได้ เป็นประเพณีที่ดึงดูดในให้ทุกคนมีส่วนร่วมได้
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ :

  78. ชื่อนวัตกรรม : รายละเอียดอยู่ในแบบประเมินคุณค่าแล้ว

    โครงการ : โครงการลด คัด แยก ขยะ ต้นทาง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม :
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ :

  79. ชื่อนวัตกรรม : คู่มือยาเสพติดในโรงเรียนตาดีกา

    โครงการ : โครงการลดปัญหายาเสพติดเพื่อหมู่บ้านตันหยงน่าอยู่ บ้านตันหยง หมู่ที่ 4 ตำบลบาเระใต้ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : - คู่มือ แนวทางการสอน ยาเสพติดในโรงเรียนตาดีกา ที่มีครูโรงเรียนประถมศึกษา ครูดรงเรียนตาดีกา ผู้นำศาสนา ร่วมกันพัฒนาขึ้น
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : สามารถนำไปใช้เป็นหลักสูตรเสริมในโรงเรียนตาดีกา เดิมโรงเรียนตาดีกาจะมีมิติด้านศาสนกิจอย่างเดียวเท่านั้น

  80. ชื่อนวัตกรรม : เครื่องพ่นน้ำละอองฝอย

    โครงการ : โครงการลดหนี้เพิ่มรายได้สู่ชุมชนบ้านทอนจันทร์น่าอยู่
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : นำท่อที่ไม่ใช้แล้ว เจาะเป็นรูด้วยตะปู มีระยะห่างพอประมาณ ใช้แขวนไว้บริเวณใกล้ที่วางก้อนเชื้อเห็ด ปลายท่อเชื่อมกับก๊อกน้ำ เปิดก๊อกรดน้ำก้อนเชื้อเห็ดวันละ 1 ครั้ง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ :

  81. ชื่อนวัตกรรม : ธนาคารผักพื้นบ้านในโรงเรียน

    โครงการ : โครงการล้อมรั้ว ล้อมรัก ด้วยผักพื้นบ้าน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ประสานโรงเรียนเพื่อขอใช้สถานที่ในการจัดทำธนาคารผักพื้นบ้านในโรงเรียน และให้นักเรียนดูแลรักษา
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - เยาวชนเห็นคุณค่าของผักพื้นบ้าน - คนในชุมชนได้ใช้ประโยชน์จากพันธุ์ผักที่มีในธนาคารผักพื้นบ้าน

  82. ชื่อนวัตกรรม : หลักสูตรชุมชนบ้านแคเหนือจำนวน 5 หลักสูตร

    โครงการ : โครงการวิทยาลัยทุ่งโพ เรียนรู้ร่วมกัน ร่วมสร้างสรรค์ชุมชนน่าอยู่
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เนื่องจากปัญหาความแตกแยกเป็นปัญหาที่มีขนาดใหญ่ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน และเป็นอุปสรรคต่อการสร้างสรรค์ชุมชนให้น่าอยู่ จากประเด็นปัญหานี้ทำให้คณะทำงานใช้กระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนร่วมกับหลักแนวคิดของศาสนาอิสลามมาตัวขับเคลื่อนให้ชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม โดยเริ่มจากกลุ่มเด็ก กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มทำงานและผู้นำศาสนา เข้ามาร่วมสานเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในการจัดทำหลักสูตร เกิดเป็นหลักสูตรท้องถิ่นด้านสุขภาวะที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน จำนวน 5 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรครอบครัวอิสลาม หลักสูตรฟัรดูกิฟายะห์ (จิตอาสา) หลักสูตรสิทธิชุมชน หลักสูตรการจัดการขยะ และหลักสูตรประวัติศาสตร์ชุมชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : จากการจัดกิจกรรมเรียนรู้ตามหลักสูตร มีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้ 1. หลักสูตรครอบครัวอิสลาม ครั้งที่ 1 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 112 คน 2. หลักสูตรครอบครัวอิสลาม ครั้งที่ 2 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 150 คน 3. หลักสูตรฟัรดูกิฟายะห์ ครั้งที่ 1 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 130 คน 4. หลักสูตรฟัรดูกิฟายะห์ ครั้งที่ 2 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 120 คน 5. หลักสูตรฟัรดูกิฟายะห์ ครั้งที่ 3 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 122 คน 6. หลักสูตรสิทธิ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 85 คน 7. หลักสูตรประวัติศาสตร์ชุมชน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 100 คน 8. หลักสูตรการจัดการขยะ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 68 คน สมาชิกในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาหลักสูตรที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้ง 5 หลักสูตร และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ ส่งผลให้คนในชุมชนอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ความสามัคคี และเสียสละ

  83. ชื่อนวัตกรรม : น้ำยาเอนกประสงค์สูตรใบยางพารา

    โครงการ : โครงการส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชนบ้านเหนือน้ำให้น่าอยู่
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : - การคิดสูตรผสมของน้ำยาเอนกประสงค์ใหม่ โดยใช้ใบยางพาราที่มีในชุมชนมาเป็นส่วนผสม สามารถใช้ในการดับกลิ่นคาวได้ดี
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - น้ำยาเอนกประสงค์สูตรใบยางพาราสามารถดับกลิ่นคาว กลิ่นเหม็นได้ดี โดยเฉพาะกลิ่นปู กลิ่นปลา ที่เกิดจากการประกอบอาชีพของคนในชุมชน ทำให้คนในชุมชนหันมาใช้กันมากขึ้น

  84. ชื่อนวัตกรรม : ผักแลกขยะ

    โครงการ : โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชนด้านพันธุ์ไม้ยืนต้น พืชสมุนไพร และผักพื้นบ้านปลอดสารพิษ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : - ส่งเสริมให้มีการปลูกผักปลอดสารพิษ โดยการใช้ปุ๋ยจากน้ำหมัก แล้วให้คนที่ปลูกผัก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเยาวชน นำผักมาให้คนในชุมชนเอาขยะรีไซเคิลมาแลก เพื่อนำขยะเหล่านั้นไปขาย นำเงินรายได้มาจัดการเรื่องการปลูกผักต่อ เป็นกระบวนการทำงานที่ต่อเนื่องกันไป
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - เกิดการตื่นตัวเรื่องการจัดการขยะ อีกทั้งยังได้สุขภาวะทางกายที่ได้บริโภคผักปลอดสารพิษ

  85. ชื่อนวัตกรรม : 1.สารไล่แมลงและสารป้องกันแมลงจากสาร พด.7

    โครงการ : โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายและเศรษฐกิจพอเพียง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เป็นสารน้ำหมักจากสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม เช่น ตะไคร้หอม สะเดา มะกรูด เป็นต้น หมักผสมกับสารเร่ง พด.7 ปิดไว้ในถังระยะเวลา 20 วัน จึงนำมากรอกเอาเฉพาะน้ำที่ได่ไปผสมน้ำเพื่อฉีดไล่แมลง และช่วยบำรุงต้นไม้ วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม คือ : การถ่ายทอดวิธีการทำสารไล่แมลงโดยครูภูมิปัญญาและให้สมาชิกชมรมที่เข้าร่วมฝึกปฏิบัติการ
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1. สมาชิกชมรมมีความรู้และทักษะการทำสารไล่แมลงจาก สารเร่ง พด. 7 2. สมาชิกชมรมผู้สูงอายุได้รับผลผลิต คือ สารไล่แมลงจากสารเร่ง พด. 7 ไปใช้ในการปลูกผักรับประทานเองที่บ้าน

  86. ชื่อนวัตกรรม : กองทุนบ้านหินเภา

    โครงการ : โครงการส่งเสริมพัฒนาอาชีพบ้านหินเภาพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ชุมชนมีการคิด วิเคราะห์ สรุปเป็นแนวทางที่จะมีการพัฒนาต่อยอดโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน คาดว่าจะนำผลผลิตที่ได้ทุกกิจกรรมทั้งปลา ไข่ไก่ และการแปรรูปมะพร้าว จากโครงการนี้นำมาสมทบเป็นเงินกองกลางเพื่อพัฒนาชุมชนต่อไป
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : นำผลผลิตที่ได้เป็นกองกลางหลังจากแบ่งปันส่วนตนแล้วจะนำไปขายนำเงินเข้ากองทุนบ้านหินเภาเพื่อเป็นต้นทุนในการพัฒนาหมู่บ้านต่อไป

  87. ชื่อนวัตกรรม : 1.กลุ่มมโนราห์และปันสิลิตของชุมชนโรงภาษีเก่า 1ชุด

    โครงการ : โครงการส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นไทย สร้างสายใยชุมชน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1. ความร่วมมือและความสัมพันธ์ของคนในชุมชน 2. ภาครัฐให้ความสำคัญในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนโรงภาษีเก่าและให้การสนับสนุนงบประมาณ
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1. เกิดกลุ่มเยาวชนอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชน 2. สร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชน

  88. ชื่อนวัตกรรม : ภูมิปัญญาพื้นบ้านการดูแลสุขภาพ

    โครงการ : โครงการสมุนไพรไทยทางเลือกใหม่ของชุมชน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : มีการนำสมุนไพรมาทำลูกประคบ - มีการนำสมุนไพรมาทำน้ำมันนวด - มีการนำสมุนไพรมาประยุกต์ใช้ในครัวเรือน - มีการนวดแผนโบราณร่วมกับการใช้สมุนไพร
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้พิการ ครอบครัว นำความรู้เรื่องสมุนไพร และการนวด ไปใช้ในการฟื้นฟู บำบัด และรักษาโรคและอาการเจ็บป่วยได้

  89. ชื่อนวัตกรรม : ผังเครือญาติชุมชน

    โครงการ : โครงการสร้างชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่ของหมู่ที่ 2 บ้านปากละงู
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เยาวชน และกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่เป็นผู้ปฏิบัติ การเก็บรวบรวมข้อมูล เครือญาติในชุมชน มีการแบ่งพื้นที่โซนรับผิดชอบ การตั้งวงวิเคราะห์โดยใช้ผู้มีประสบารณ์จากหน่วยงาน รพสต. สกว มาช่วยวิเคราะห์ภาพความสัมพันธ์ของคนในชุมชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชุมชน

  90. ชื่อนวัตกรรม : สภาซูรอ

    โครงการ : โครงการสร้างชุมชนให้มีสุขด้วยสภาซูรอ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1.การคัดเลือกคณะกรรมการและอนุกรรมการสภาซูรอโดยกระบวนการของประชาชนในชุมชน 2.การใช้สภาซูรอเป็นเครืองมือให้ประชาชนในชุมชนเข้ามามรส่วนร่วมการการค้นหาปัญหาและจัดการปัญหาของชุมชน 3เกิดมาตราการร่วมจากความร่วมทุกภาคส่วน ภาครัฐ ภาคประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.การนำกระบวนการสภาซูรอเป็นเครื่องมือแบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของชุมชน 2.การแก้ไขและจัดการปัญหาของชุมชน 3.การดูแลสุขภาวะของประชาชนในชุมชน

  91. ชื่อนวัตกรรม : แผนที่สถานการณ์การใช้สารเคมีทางการเกษตร

    โครงการ : โครงการสร้างสุขภาวะเกษตรกร ลดใช้สารเคมีทางการเกษตร
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เป็นการประมวลข้อมูลสถานการณ์การใช้สารเคมีทางการเกษตรในประเด็น ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเกษตรกร สถานการณ์โรคทางกายลักษณะการทำการเกษตร และปริมาณสารเคมีที่ใช้ในแต่ละปี คิดเป็นมูลค่า วิธีการทำให้เกิดนวตกรรม: พัฒนาศักยภาพเยาวชนของโรงเรียนในพื้นที่ จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย โรงเรียนบ้านเขาพระ โรงเรียนควนดินแดง และโรงเรียนบำรุงศาสน์ ในการออกลงเก็บข้อมูลข้อมูลด้วยเครื่องมือ แบบสอบถาม จากนั้นจึงให้กลุ่มเยาวชนลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามเป้าหมายและแผนงานที่วางไว้ จากนั้นทำการสรุปข้อมูลสถานการณ์การใช้สารเคมีทางการเกษตรในรูปแบบแผนที่ทำมือ นำข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าวไปใช้เพื่อการนำเสนอและวิเคราะห์แนวทางแก้ไขปัญหาด้วยกัน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1. เกิดคณะทำงานและเยาวชนมีส่วนร่วมในการเก็บข้อมูลสถานการณ์การใช้สารเคมีทางการเกษตร 2. เยาวชนได้ตระหนักถึงโทษและแนวโน้มสถานการณ์ของการใช้สารเคมีทางการเกษตร 3. เกิดชุดข้อมูลในรูปแบบของแผนที่ทำมือเกี่ยวกับสถานการณ์การใช้สารเคมี การนำไปใช้ประโยชน์ จะมีการนำไปเสนอข้อมูลแก่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ตลอดจนการติดตามความเปลี่ยนแปลงของการมีพฤติกรรมลดละเลิก ใช้สารเคมี

  92. ชื่อนวัตกรรม : นวัตกรรมกับดักลูกน้ำยุงลาย

    โครงการ : โครงการสร้างเสริมสุขภาพ รู้เท่าทันไข้เลือดออก และมาลาเรีย
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : วัสดุ อุปกรณ์ 1. ขวดน้ำพลาสติกขนาด 1.5 ลิตร 2. มุ้งลวด 3. ผ้าสีดำ 4. ท่อพีวีซี 5. สเปรย์สีดำ 6. เทปกาว เริ่มจากตัดส่วนบนขวดน้ำพลาสติกออก แล้วใช้สเปรย์สีดำพ่น เพราะว่ายุงชอบวางไข่ในที่มืดๆ จากนั้นก็ตัดท่อพีวีซี โดยเลือกขนาดเข้ากับปากขวดได้ แล้วนำมุ้งลวดมาพันเทปเข้ากับท่อพีวีซี หลังจากนั้นก็นำมาใส่ในขวด ส่วนวิธีการใช้ก็ให้ใส่น้ำลงไปในขวดให้สูงกว่ามุ้งลวดประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วก็นำไปวางตามมุมของบ้าน ในที่มืดๆที่อับๆ
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ยุงก็จะมาวางไข่ในน้ำในกับดักลูกน้ำยุวลาย แล้วเมื่อลูกน้ำกลายเป็นยุง ก็จะไม่สามารถที่จะบินออกไปได้ เพราะมีมุ้งลวดปิดเอาไว้ เป็นการตัดวงจรชีวิตของยุง

  93. ชื่อนวัตกรรม : การจัดการทรัพยากรร่วม (co-management)

    โครงการ : โครงการเสริมสร้างการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบ้านน้ำราบ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การประสานความร่วมมือจากหน่วยงานหรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาร่วมคิดร่วมทำและร่วมรับผิดชอบในการจัดการทรัพยากรของชุมชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เป็นแนวทางที่เหมาะสมสำหรับจัดการทัรพยากรที่มีลักษณะเป็นของส่วนรวมและมีสิทธิการจัดการแบบเชิงซ้อน กล่าวมีทั้งสิทธิชุมชน สิทธิของรัฐและสิทธิของผู้ที่ได้รับประโยชน์จากทรัพยากร ซึ่งมีต้นทุนและอำนาจหน้าที่แตกต่างกันไป สามารถปรับใช้ได้เกือบทุกประเภทของทรัพยรกรได้ด้วย

  94. ชื่อนวัตกรรม : ระบบฐานข้อมูล เวปไซต์ www.consumersongkhla.org

    โครงการ : โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนากลไกการทำงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคระดับพื้นที่ในจังหวัดสงขลา
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เป็นระบบฐานข้อมูลเวปไซต์ ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้บริการข้อมูลต่างๆ
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เผยแพร่ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค, การรณรงค์ รับเรื่องร้องเรียนผ่านออนไลน์ ให้คำปรึกษาและส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สคบ.

  95. ชื่อนวัตกรรม : 1.ธนาคารต้นไม้เขารัดปูน

    โครงการ : โครงการหมู่บ้านสมุนไพรเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เขารัดปูน ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เป็นแหล่งสำหรับฝึกฝนชาวบ้านในการเพาะเมล็ดพันธุ์พืช ฝึกปฏิบัติจริงเกี่ยวกับการเพาะเมล็ดพันธุ์พืช การขึ้นทะเบียนต้นไม้รอบบ้าน การฝากต้นไม้กับธนาคาร และการออมทรัพย์กับธนาคารที่เกิดขึ้น
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1. ชาวบ้านเขารัดปูนเห็นคุณค่าของต้นไม้มากขึ้น เนื่องจากในอดีตชาวบ้านมองเห็นต้นไม้แค่ สิ่งที่ขึ้นมาเป็นผืนดินตนเอง เวลาจะก่อสร้างอะไรก็ไม่สนใจ คิดเรื่องของการตัดต้นไม้ออกจากที่เพียงอย่างเดียว แต่ในปัจจุบัน ชาวบ้านเห็นต้นไม้มีมูลค่า ราคา สามารถสร้างรายได้แก่ตนเองในอนาคต 2. ชาวบ้านมีความรู้เรื่องการเพาะเมล็ดพันธุ์พืชพื้นเมือง โดยเริ่มจั้งแต่กระบวนการ รวบรวมเมล็ดพันธุ์พืชที่จะนำมาเพาะปลูกในธนาคารเมล็ดพันธุ์ การเพาะเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิด 3. สามารถเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนพันธุ้ไม้พื้นบ้าน ระหว่างชาวบ้าน-ชาวบ้าน และระหว่างสภาองค์กรชุมชนภายในจังหวัด หรือ ระหว่าง หน่วยงาน

  96. ชื่อนวัตกรรม : การจัดการความคิด...

    โครงการ : โครงการหมู่บ้านสีเขียวเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ประชุมร่วมกันระหว่างทีมงาน ทีมวิทยากร พี่เลีียงร่วมวิเคราะห์ทุนของหมู่บ้าน ออกแบบงาน สร้างเรื่องราว เช่น จัดทำน้ำตะไคร้ให้เป็นสัญลัีกษณ์ของหมู่บ้่านเพราะแต่เดิมหมู่บ้านตะโละใสชื่อว่าตะโละสุรายแปลว่า อ่าวตะไคร้ จึงใช้แนวคิดนี้ทำเป็นสัญญลัษณ์เด่นและเรื่องราวให้เยาวชนได้รับรู้ รวมถึงมีแนวคิดในการปลูกตะไครัรอบหมู่บ้านเพื่อทำเป็นนำตะไคร้
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : น้ำตะไคร้ของหมู่บ้านใช้ออกงานได้

  97. ชื่อนวัตกรรม : การมีส่วนร่วมของชุมชน

    โครงการ : โครงการอนุรักษ์ผืนป่าดอนเทพมูลเพื่อพ่อหลวง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ผู้รับผิดชอบโครงการร่วมกับผู้เข้าร่วมโครงการเชิญผู้ที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ป่าชุมชน(บุกรุก)มารับทราบกิจกรรมดำเนินโครงการและยินดีที่จะเข้ากลุ่ม
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ประชาชนมีความรักพื้นป่ามากขึ้นเมื่อเห็นต้นไม้ยืนต้นและพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ แกนนำที่เข้ากลุ่มมีความตั้งใจ สูง

  98. ชื่อนวัตกรรม : เศรษฐกิจมชนพอเพียงในชุมชน

    โครงการ : งานสร้างคน เพื่อ พัฒนาชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เกิดการเรียนรู้ และเป็นแหล่งสนใจในกิจกรรม และแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกิจวัตรและพฤตืกรรม
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ชาวบ้านรู้จักการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ยกเลิกการมั่วสุม หันมาศึกษาแหล่งเรียนรู้เพื่อนำไปทดลองปฏิบัติเกิดเป็นกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์

  99. ชื่อนวัตกรรม : ...การจัดการขยะด้วย 3R

    โครงการ : จัดการขยะชุมชนเพื่อร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านชะรัด
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : วิธีจัดการขยะอย่างมีระบบ ด้วย 3 R -Reduce ลดปริมาณ -Reuse ใช้ให้คุ้มค่า -Recycle นำกลับมาใช้ใหม่
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ครัวเรือนนำร่องได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติ

  100. ชื่อนวัตกรรม : ...การจัดการขยะ 3R

    โครงการ : จัดการขยะสู่ชุมชนน่าอยู่บ้านสะพานแต้ว
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : วิธีจัดการขยะอย่างมีระบบ ด้วย 3 R -Reduce ลดปริมาณ -Reuse ใช้ให้คุ้มค่า -Recycle นำกลับมาใช้ใหม่
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : สร้างการเรียนรู้และนำไปใช้ในครัวเรือนนำร่อง

  101. ชื่อนวัตกรรม : การมีส่วนร่วมชุมชน

    โครงการ : ฉีดวัคซีนต้านรายจ่าย เพิ่มรายได้ ชุมชนบ้านปาล์ม 2
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การแก้ปัญหาในชุมชนโดยผ่านสภาผุ้นำชุมชน ทำให้ได้รับการยอมรับและเกิดการมีส่วนร่วมจากประชาชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ชุมชนสามารถแก้ปัญหาได้ แกนนำชุมชนเข้าแข้็งขึ้น ทำงานเป็นทีม

  102. ชื่อนวัตกรรม : ( 1.) การผลิตเชื้อราไตรโครโดม่า( 2 ) การผลิตเชื้อราบิวเวอร์เรีย ..

    โครงการ : ชาวนาปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค บ้านหนองถ้วย
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1.) การผลิตเชื้อราไตรโครโดม่า เพื่อใช้ในการจำกัดเชื่้อราในโรคพืช ทำให้พืชมีความทนทาน โดยไม่ต้องใช้สารเคมี 2) การผลิตเชื้อราบิวเวอร์เรีย ..ใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่น เพลี้ยงไฟ หนอนห่อบข้าว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจั้กจั่น แมลงหวี่ขาว
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เป็นการลดใช้สารเคมี และยาฆ่าแมลง ผลผลิตของเกษตรมีความคุ้มค่า ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บรโภค การทำไม่ซับซ้อนยุงยาก วัสดุสามารถหาได้ในท้องถิ่น

  103. ชื่อนวัตกรรม : บูรณาการวิชาจิตอาสา

    โครงการ : ชาววารีสวัสดิ์พัฒนา คนร่วมสร้างชุมชนสีเขียว
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ประธานโครงการและแกนนำโครงการร่วมปรึกษากัผู้อำนวยการโรงเรียนวัดนาควารีเรื่องขอใช้สถานที่ดำเนินการจัดกิจกรรมบางกิจกรรม ที่ต้องร่วมมือร่วมแรง จึงจัดตั้งกลุ่มอาสาเป็นเด้กนักเรียน ครั้งละ 30 คนในการราวมกิจกรรมร่วมกับตัวแทนผู้เข้าร่วมโครงการ จึงมีการบูรณาการกิจกรรมจิตอาสาของเด็กนักเรียนที่สมัครใจเข้าผนวกเป็นกิจกรรมจิตอาสาในวิชาสปช.ระดับป 4-6 ซึ่งเด็กนักเรียนมาช่วยกันยกชั้น และครูผู้ควบคุมการเรียนการสอนก็ให้ความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าวและเห็นว่า เป็นการฝึกนิสัยการช่วยเหลือผู้อื่น รวมทั้งฝึกการมีจิตสาธารณะ ร่วมแก้ปัญหาชุมชนและร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : สามารถปรับไปใช้ในกิจกรรมต่อไปได้

  104. ชื่อนวัตกรรม : ...กลอนหนังตะลุงโขนถ่ายทอดความรู้เพื่อลดการใช้สารเคมี

    โครงการ : ชุมชนคลายทุกข์ร่วมสร้างสุขคนปากเหมือง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ปราชญ์ชาวบ้านสอนเด็ก และร่วมกันฝึกซ้อมเพื่อแสดงในงานของหมู่บ้านและงานประเพณีของตำบลและอำเภอหัวไทร
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เกิดการสืบสานภูมิปัญญาหนังตะลุงโขนที่จะหายไปให้ลูกหลานได้ทำต่อเนื่อง และช่วยให้ข้อมูลเรื่องการลดการใช้สารเคมี เพื่อช่วยให้คนมีสุขภาพดี

  105. ชื่อนวัตกรรม : คุ้มบ้านฐานโอทอป

    โครงการ : ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในดอน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : จัดฐานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : นำไปเผยแพร่ให้คนในหมู่บ้านใกล้เคียงได้ พัฒนาเป็นรายได้ของชุมชน

  106. ชื่อนวัตกรรม : รูปแบบการวางซั้งกอ และปะการังเทียม

    โครงการ : ชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากร สิ่งแวดล้อมดี ที่บ้านพังสาย หมู่ 7 ต.กะดังงา อ.สทิงพระ จ.สงขลา
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การวางปะการังเทียมในเขตอนุรักษ์ทะเลหน้าบ้าน ห่างจากฝั่งประมาณ 2000 เมตร เป็นรูป 4 เหลี่ยมคันนารอบๆ นอกเป็นประการังดัานในเป็นซั้งกอที่ต้องวางเป็น 4 เหลี่ยมคันนา เพราะ ปะการังที่เป็นที่อยู่อาศัย ขยายพันธุ์ของสัตว์น้้ำแล้วแนวปะการังจะเป็นเสมือนเกราะป้องกันเรือประมงพานิชย์ ที่ใช้เครื่องมือประมงประเภทจับสัตว์น้ำทุกชนิด ตัวโต ตัวเล็กติดอวนขึ้นมาหมด ทำให้การวางปะการังรูปแบบนี้ ป้องกันเรือประมงพานิชย์ ไม่สามารถเข้ามาจับสัตว์น้ำวัยอ่อนในพื้นที่อนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำได้
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : นำไปใช้เป็นนวัตกรรม ให้พื้นที่อื่นๆ ได้ศึกษารูปแบบแนะนำไปปรับใช้กับพื้นที่วางปะการัง หรือซั้งกอ ในพื้นที่ของตน

  107. ชื่อนวัตกรรม : เซเว่นข้างบ้าน

    โครงการ : ชุมชนบ้านชะเอียนยิ้มได้ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ใช้พื้นที่ข้างบ้าน ปลูกผักทุกชนิดที่รับประทานได้ เช่น ตะไคร้ ขิง ข่า ใบมะกรูด ผักชี โหระพา เกือบทุกชนิดที่ใช้ในครัวเรือน เหมือนกับการเดินไปในร้านสะดวกซื้อ หาได้ทุกอย่าง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ทำให้ครัสเรือนที่เข้าโครงการเซเว่นข้างบ้านมีผักที่ปลอดสารพิษกินตลอดปี และแบ่งปันเพื่อบ้าน ที่สำคัญเป็นครัวเรือนต้นแบบในการทำกิจกรรมผักแลดสารพิษ เพราะชุมชนบ้านชะเอียนที่ผ่านมาไม่เคยมีการปลูกผัก ใช้บริการผักจากตลาดหัวอิฐตลอดเวลา จากผลการตรวจหาสารเคมีตกค้างพบว่ามีความเสี่ยงหลายราย ดังนั้น นวตกรรมตรงนี้ทำให้ครัวเรือนปลอดจากกสารพิษได้

  108. ชื่อนวัตกรรม : ศูนย์เรียนรู้

    โครงการ : ชุมชนบ้านนครธรรม ต้นแบบนักจัดการขยะ นักจัดการสุขภาพ (ต่อเนื่อง)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การใช้การพูดคุย การทำกิจกรรมร่วมของกลุ่มเป้าหมายเป็นที่มาของการเกิดการรวบรวมข้อมูลเป็นเล่มเอกสารสามารถเผยแพร่ให้กับผู้สนใจได้ดูเป็นตัวอย่าง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : มีการแจกเอกสารดังกล่าวให้กับหมู่บ้านใกล้เคียงและส่วนราชการในพื้นที่

  109. ชื่อนวัตกรรม : คู่มือการจัดการขยะฉบับครัวเรือน

    โครงการ : ชุมชนบ้านนครธรรม นักจัดการขยะ นักจัดการสุขภาพ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เป็นการนำองค์ความรู้ในการปฏิบัติได้อย่างง่ายมาจัดทำเป็นเอกสารแจกให้กับครัวเรือนต้นแบบในโครงการ โดยได้มีการสาธิตและให้ความรู้ก่อน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ครัวเรือนต้นแบบสามารถ นำความรู้ที่ได้รับจากวิทยากรในการอบรมและสามารถเรียนรู้ความรู้เบื้องต้นจากคู่มือในการปฏิบัติการตามกิจกรรมแยกขยะจากโครงการ

  110. ชื่อนวัตกรรม : โคมไฟ ดอกไม้ จากขยะ

    โครงการ : ชุมชนบ้านบาลาเพิ่มมูลค่าขยะเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การนำขยะมาประดิษฐ์โคมไฟ นำขวดนำ้มาทำเป็นดอกไม้ในแจกัน นำแก้วน้ำพลาสติกมาทำเป็นโคมไฟ
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : สามารถนำไปขายให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวป่าฮาลา บาลา ได้ซื้อป็นของที่ระลึก

  111. ชื่อนวัตกรรม : 1.เกิดโครงสร้างการทำงานแบบบูรณาการ

    โครงการ : ชุมชนบ้านปากคลองวัดแดง ร่วมใจลดอุบัติเหตุ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1.มีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการ โดยหน่วยงานรัฐเข้ามามีส่วนร่วม 2.หน่วยงานรัฐได้เสนอให้กำหนดบทบาทการทำงานให้ช้ดเจนและเสนอตัวเข้ามาช่วย -องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระบาท รับผิดชอบในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและคำสั่งคณะกรรมการ -สถานีตำรวจภูธรการะเกด รับผิดชอบวิทยากรและจุดเฝ้าระวัง -รพสต.เขาพระบาท รับผิดชอบวิทยากรและเป็นพี่เลี้ยงในการทำงาน -โรงเรียนวัดแดง รับผิดชอบประสานกับครู ผู้ปกครองและนักเรียนในการทำกิจกรรม 3.หน่วยงานของรัฐ ได้นำประเด็นนี้ ไปใส่ไว้ในแผนงานของหน่วยงานด้วย เพื่อเป็นจุดเน้นในการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.ได้บุรณาการทุกหน่วยงานในพื้นที่เข้ามาร่วมทำงาน 2.ผลักดันกิจกรรมดังกล่าวเข้าไปอยู่ในแผนงานของหน่วยงานราชการในพื้นที่ได้

  112. ชื่อนวัตกรรม : เพาะเห็ดจากขี้เื่ลื่ออย

    โครงการ : ชุมชนบ้านห้วยไทร นำขยะสร้างอาชีพ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การนำขี้เลื่อยขยะมาสร้างเป็นทุน เพื่อพัฒนาเป็นกลุ่มอาชีพ สร้างรายได้ครอบครัวละ 3000-5000 ต่อเดือน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : สร้างอาชีพ สร้างรายได้ เกิดการจัดการความรู้

  113. ชื่อนวัตกรรม : ปุ๋ยหมักบ้านในโคร๊ะ

    โครงการ : ชุมชนปลอดสารพิษตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในโคร๊ะ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : มีส่วนผสมดังนี้ มูลวัว มูลไก่ ขุยมะพร้าว ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด โอดี(หัวเชื้อปุ๋ย) น้ำหมัก ขั้นตอนการทำ เอาส่วนผสมทั้งหมดมารวมกัน มูลวัว 2 กระสอบ มูลไก่2 กระสอบ ขุยมะพร้าว 2 กระสอบ ปุ๋ยอินทรีย์ 1 กิโลกรัม โอดี 3 ขีด น้ำหมัก 300 cc เอามาคนให้เข้ากัน จากนั้นผสมน้ำหมักประมาณ 10 ลิตรเพื่อราดลงในกองปุ๋ยหมัก ผสมให้เข้ากัน และตักใส่กระสอบทิ้งไว้10วันก็นำมาใช้ได้ ก่อนใช้ต้องเอามาผสมกับดินหรือขุยมะพร้าวเพิ่มอีกครั้งถึงจะนำไปใช้ได้ เพราะปุ๋ยหมักนี้เท่ากับเป็นหัวเชื้อปุ๋ยแล้ว การขยายหัวเชื้อปุ๋ยหมักเพื่อเอาไปใช้เท่ากับปุ๋ยหมัก1กระสอบนำมาผสมกับขุยมะพร้าว3กระสาบ พดมะพร้าวสับ1กระสอบ ดินทั่วไปครึ่งกระสอบ นำมาผสมกันแล้วนำไปปลูกผักต่อได้
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ใช้ในการปลูกผักปลอดสารพิษ

  114. ชื่อนวัตกรรม : การจัดการองค์ความรู้สมุนไพร

    โครงการ : ชุมชนพิกุลทอง สุขภาพดี ด้วยสมุนไพรไทย
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน เพื่อจัดทำเป็นองค์ความรู้รวม และเก็บเป็นฐานข้อมูลของชุมชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ทุกคนได้ใช้ประโยชน์จากการนำเอาสมุนไพรใกล้ตัวมาใช้ แทนการใช้ยาแผนปัจจุบัน

  115. ชื่อนวัตกรรม : คู่มือ ชุดความรู้ ในการจัดการขยะและการคัดแยกขยะ

    โครงการ : ชุมชนร่วมใจกำจัดภัยขยะอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนในตำบลคลองรี
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : จัดพิมพ์คุ่มือ จำนวน 735 เล่ม ให้กับสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการฯ การจัดการและการคัดแยกขยะในระดับครัวเรือน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เป็นชุดความรู้เรื่องการจัดการและการคัดแยกขยะ เพื่อเป็นแนวทางในการแยกขยะในระดับครัวเรือนได้อย่างถูกต้อง

  116. ชื่อนวัตกรรม : ...น้ำหมักชีวภาพป้องกันและรักษาโรครากเน่าในยางพารา

    โครงการ : ชุมชนสีเขียวบรรยากาศสีขาว
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : องค์ความรู้ในการใช้ชีวภาพในสวนยางและแปลงนา เช่น สูตรน้ำหมักสมุนไพรรักษารากเน่าโคนเน่า ส่วนผสม หางไหล,บอระเพ็ด,หนอนตายยาก,ตะไคร้หอม,เปลือกสะเดาหรือใบแก่,สาบเสือ,ยาสูบ(ก้านหรือ ใบสด ใช้อย่างใด อย่างหนึ่ง) วิธีทำ นำส่วนผสมมาสับให้ละเอียดใส่ในโอ่งหรือถุงใส่น้ำให้ท่วมฝ่ามือ (30 – 50 ลิตร) จากนั้นใส่เหล้าขาว 1 ขวด ตามด้วยหัวน้ำส้ม 150 ซีซี (ถ้าไม่มีใส่ผลมะกรูด หรือมะนาวผ่าซีก 2 ลูก) หากมีกลิ่นเหม็นให้ใส่กากน้ำตาล หมักไว้ 7 วัน สามารถนำไปใช้ได้
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ใช้ฉีดพ่นหรือรดบริเวณโคนต้นยางพาราเพื่อป้องกัน และในต้นยางพาราท่เริ่มเป็นแล้วแต่ยังไม่ตายเพื่อรักษา ในอัตราส่วน ครึ่งต่อครึ่ง น้ำหมัก 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน

  117. ชื่อนวัตกรรม : ข้อบัญญัติจัดการสุขภาพ

    โครงการ : ชุมชนสุขภาพดีวิถีชีวิตบ้านสมควร
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การกำหนดติกาข้อบังคับเป็นสิ่งที่ทุกชุมชนต้องมีไว้เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของกลุ่มคน สำหรับข้อบัญญัติชุมชนบ้านสมควร9ประการเป็นอีกกติกาหนึ่งที่เกิดจากคนในชุมชนได้เห็นถึงความสำคัญของสุขภาพ เพราะสุขภาพดีเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินชีวิตและให้มีความยั่งยืน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ผู้เข้าร่วมโครงการทั้ง50ครัวเรือนได้มีมติข้อตกลงร่วมกันในการนำไปปฎิบัติส่วนชาวบ้านในชุมชนที่เข้าร่วมประชุมหมู่บ้านเห็นป้ายข้อบัญญัติเกิดความสงสัยและเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีถ้าทุกคนปฎิบัติได้ ทางทีมงานโครงการก็ได้อธิบายให้ที่ประชุมประจำเดือนหมู่บ้านทราบถ้าสนใจสามารถนำไปปฎิบัติได้แต่ต้องให้เกิดความต่อเนื่อง

  118. ชื่อนวัตกรรม : ศูนย์รวมน้ำใจ

    โครงการ : ชุมชนสูงวัย บ้านในซัง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : บ้านประธานชุมชน(ป้าหนู) เป็นสถานที่ที่ทุกคนสามารถมาพบปะพูดคุยได้ทุกเรื่อง เรื่องไหนที่ให้คำแนะนำและช่วยเหลือได้ป้าหนูก็จะทำทันที สิ่งไหนถ้าทำหรือแก้ไขไม่ได้ป้าหนูจะหาที่ปรึกษาและส่งต่อทันทีเช่นกัน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ทุกระดับและชุมชนใกล้เคียงขอความช่วยเหลือจากชุมชนบ้านในซังอย่างต่อเนื่อง

  119. ชื่อนวัตกรรม : ออมแล้วไม่อด จดแล้วไม่จน

    โครงการ : ชุมชนเสาธงทองผักสวนครัวปลอดสารพิษขยะมีชีวิตร่วมคิดร่วมทำ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เกิดข้อตกลงการส่งเสริมการออมโดยใช้งบค่าอาหารของการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง สมทบกับเงินของผู้เข้าร่วมกิจกรรมออมทุกคนสัดส่วนคนละครึ่ง รวมครั้งละ 50 บาท รวบรวมเก็บนำฝากโดยกรรมการชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง เป็นการฝากไม่ถอนซึ่งการใช้สัดส่วนค่าอาหารครึ่งหนึ่งมากระตุ้นทำให้คนเข้าร่วมเพราะไม่อยากเสียสิทธิส่วนนั้นไป
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ผลของการทำนวตกรรมอมมแล้วไม่อด จดแล้วไม่จน นอกจากมีผลให้ครัวเรือนเกิดวินัยในการส่งเงินออมแล้่ว ยังเกิดความภาคภูมิใจและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกครั้งของชุมชน เนื่องจากข้อตกลงการออม คือการมาร่วมกิจกรรม และการจดบัญชีครัวเรือนต่อเนื่อง ทำให้ครัวเรือนรับผิดชอบ และมีเงินออม อย่างน้อย 100 ครัวเรือน และมีจำนวน อย่างน้อยครัวเรือนละ 500 บาท บางครัวเรือน มาของส่งรายคน 3-5 คน ตกครัวเรือนละ 2500 บาท

  120. ชื่อนวัตกรรม : จตุภาคี พัฒนาศรีสมบูรณ์

    โครงการ : ชุมชนหอยราก สืบสานตำนานขนมลาสร้างสุข
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : มีการร่วมมือใน 4 เครือข่ายได้แก่ เครือข่ายเยาวชนศรีสมบูรณ์อาสาพัฒนา เครือข่ายผู้สูงอายุเพื่อนช่วยเพื่อน เครือข่ายอสม.สร้างสุข และเครือข่ายผู้ทำขนมลาหอยราก และเกิดข้อตกลงในการจัดกิจกรรมพัฒนาชุมชน ร่วมขับเคลื่อนชุมชนศรีสมบูรณ์กับกรรมการชุมชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เกิดแผนพัฒนาและจัดการสุขภาพชุมชนต่อเนื่องเป็นระบบมากขึ้น

  121. ชื่อนวัตกรรม : โรงเรียนผึ้งบ้านหูยาน

    โครงการ : ชุมชนหูยาน บ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง(ต่อเนื่องปี 3)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : - การเลี้ยงผึ้ง ผึ้งไม่ชอบ ยาฆ่าแมลงและสารเคมีทุกชนิด ชุมชนส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งเท่ากับชุมชนเลิกใช้สารเคมีผึ้งผสมเกสรดอกไม้ให้ติดดอดออกผล เพิ่มผลผลิต ผึ้งให้น้ำหวานที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - การพัฒนาแปรรูผลิตภัณฑฺ์จากผึ้ง แก้ปัญหาเศรษฐกิจ ขายน้ำผึ้งจากรังทำสบู่ทำกล่องเลี้ยงผึ้งทำหมวกเก็บน้ำผึ้ง น้ำผึ้งเป็นยาสมุนไพร

  122. ชื่อนวัตกรรม : ...ปิ่นโตสร้างสุข

    โครงการ : ชุมชนหูยาน บ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ใช้การประยุกต์วิถีเดิมที่มีคุณค่าและงดงาม โดยคณะทำงานประสานตัวแทนครัวเรือนในชุมชนให้หิ้วปิ่นโตมาเพื่อถวายเป็นภัตตาหารเพลแก่พระภิกษุ ในวัดหูยานซึ่งใช้เป็นสถานที่ประชุมหมู่บ้าน ซึ่งครั้งแรกเป็นเวทีสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานตามโครงการนี้ สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างคน 3 วัยให้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ หลังจากการประชุมเสร็จสิ้นก็ได้ร่วมกันทำบุญและรับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : สร้างความร่วมมือกับคนในชุมชน เพื่อดึงคนเข้าร่วมเรียนรู้ในการดำเนินงานตามโครงการ ซึ่งทางคณะทำงานจะใช้วิธีการนี้ในทุกครั้งที่มีการประชุมหมู่บ้านเพื่อติดตาม รายงานผล และสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

  123. ชื่อนวัตกรรม : การทำข้อมูลสถานการณ์ด้านคุณธรรม จริยธรรมของเยาวชน

    โครงการ : ซีจันตุงฮาตี รวมพลอาบะ อาบี นำชีวีด้วยจริยธรรมแบบโคกทราย
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การสำรวจความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการมีคุณธรรม จริยธรรมของเยาวชน3กลุ่มวัย คือ เด็ก วันรุ่น และเยาวชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : อยู่ในขั้นสำรวจข้อมูล

  124. ชื่อนวัตกรรม : แพเชื่อมเครือข่าย

    โครงการ : ซุปเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติ บ้านปะติมะ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ชุมชนจัดกิจกรรมแข่งพายแพของสมาชิกในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง ในช่วงวันปีใหม่ การพายแพไม่มีใครเคยจัดมาก่อน ชุมชนใช้แพไม้ไผ่แทนเรือ จุดเด่นอยู่ที่แพยาวกว่าเรือสองเท่าตัว คนพายมีหัวกับท้าย ความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันเท่านั้นจึงจะชนะคู่ต่อสู้ และสามารถสร้างความสัมพันธ์ของสมาชิกให้มีส่วนร่วมกันทำกิจกรรมกองเชียร์ คนลงแข่งไม่ได้มีโอกาสจัดทีม แต่งกรรมการจะเป็นคนเรียกรุ่นไหน อายุเท่าไหร่ในแพ เป็นต้น อาทิ รุ่นลายคราม รุ่นผสมเยาวชนกับผู้สูงอายุ สมาชิกต้องวิ่งหาคนร่วม เป็นต้น
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : จากกิจกรรมนี้ส่งผลให้สมาชิกในชุมชนและชุมชนใกล้เคียงมีความสมัครสมานสามัคคีกันมากขึ้น

  125. ชื่อนวัตกรรม : เซเว่นภูมิปัญญาบ้นบางไทร

    โครงการ : เซเว่น ภูมิปัญญา สร้างสุขสองฝั่งคลองบ้านบางไทร (ต่อยอดปี2)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1ขยายผลภูมิปัญญาพื้นบ้านให้เป็นรูปธรรม เกิดการจัดการคความรู้จากครัวเรือนสู่ชุมชน ในรูปผลิตภัณฑสมุนไพรสุขภาพ การออกกำลังกาย และกีฬาพื้นบ้าน 2.พัฒนาชุมชนให้มีอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ และวิถีชุมชนที่เป็นจุดเด่น และเป็นตัวอย่างแก่ชุมชนอื่นด้านการอนุรักษ์สายน้ำและเป็นแหล่งห่วงโซ่อาหาร สืบสานภูมิปัญญาพื้นบ้าน 3.ชุมชนมีการจัดการที่เป็นระบบมีสภาชุมชนทำหน้าที่ขับเคลื่อนตามทิศทางที่เหมาะสมและมีเป้าหมายชัด
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : มีพื้นที่จัดกิจกรรมที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของหมู่บ้านชัดเจน

  126. ชื่อนวัตกรรม : ...คู่มือในการจัดการขยะและน้ำเสียของชุมชน

    โครงการ : ฐานทรัพยากรมั่นคง ชุมชนในโป๊ะท่าน้ำ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : คณะทำงานของชุมชนได้รวบรวมเอกสารองค์ความรู้ และร่วมกันเรียบเรียงเป็นคู่มือในการจัดการขยะและน้ำเสียของชุมชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ใช้ประกอบการเรียนรู้ของชุมชน

  127. ชื่อนวัตกรรม : 1.น้ำหมักจากครัวเรือน

    โครงการ : ดอนโรงสร้างสุข ด้วยวิถีเกษตรพอเพียง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : นำเศษอาหารจากครัวเรือน ทั้งเศษผัก เศษปลา เศษเนื้อ มาหมักในถังหมัก เมื่อถังหมักเต็มให้ผสมด้วยน้ำตาล ปิดไว้ 1 เดือนจึงนำมาใช้รดผัก จุดเด่นคือ มีทั้งสารโปรตีน แร่ธาตุ เป็นปุ๋ยหมักแบบผสม
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.ลดการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน 2.เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการ 3.ลดรายจ่าย และนำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 4.ลดขยะในครัวเรือน 5.ลดแหล่งเพาะพันธุ์หนู

  128. ชื่อนวัตกรรม : แผนที่หมู่บ้าน

    โครงการ : ดับบ้าน ดับคน กับวิถีชุมชนคนไทรงาม
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เป็นความรู้ใหม่และสิ่งประดิษฐ์ใหม่สำหรับหมู่บ้านนี้ แผนที่ที่แสดงถึงลักษณะทางกายภาพของหมู่บ้านประกอบด้วยผังบ้านเรือน ถนน คลอง เหมือง บ้านบุคคลสำคัญ สถานที่สำคัญ เกิดจากการให้เด็กและเยาวชนทำแผนที่เดินดิน 6 เขตแล้วนำมาประกอบต่อกันเป็นแผนที่หมู่บ้าน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เป้นเครื่องมือในการทำให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้สภาพภูมิศาสตร์ของหมู่บ้านเอง ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทำงานร่วมกันระหว่างคนสามวัย หมู่บ้านมีแผนที่ไว้ประกอบการเรียนรู้การวางแผน และสามารถขยายเป็นแผนที่สุขภาพได้ในอนาคต

  129. ชื่อนวัตกรรม : ดาวเรืองเชื่อมชุมชน

    โครงการ : ดาวเรืองสร้างสุขคนปากตรัง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : - การนำดาวเรืองมาเป็นตัวกลางในการเชื่อมคนในชุมชน เชื่อมโรงเรียน เชื่อมภาคีเครือข่าย และสร้างรายได้เสริมให้คนในชุมชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - คนในชุมชนมีรายได้เสริมเพิ่มขึ้น มีความเข้าใจกันมากขึ้น มีการพูดคุยปรึกษาหารือ รวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อปลูกดาว

  130. ชื่อนวัตกรรม : นิทานปูม้า

    โครงการ : เด็กน้อยเกาะโตดนุ้ย เล่านิทานปูม้า ปูทะเล(ต่อเนื่อง)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : นิทานที่แต่งโดยเยาวชนเกาะโตด
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - เยาวชนเองเกิดจิตสำนึกจากกระบวนการเรียนรู้การแต่งนิทาน เมื่อได้ฟังนิทานของเพื่อนก็ช่วยย้ำความคิดดีที่มีอยู่ - การนำนิทานออกเผยแพร่จะทำให้บุคคลภายนอกเกิดความรู้สึกเห็นใจในความมุมานะพยายามของลูกหลานชาวประมงเกาะโตดในการอนุรักษ์ปู สัตว์เศรษฐกิจที่ทำรายได้หลักของเกาะโตด

  131. ชื่อนวัตกรรม : เศษทองคำในงานประเพณี

    โครงการ : ตู้เย็นข้างบ้านคลังอาหารในสวนลดโรคอ้วนในชุมชน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : นำเศษขยะที่เหลือจากงานประเพณี ที่จ้ดในชุมชน นำมาทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ ลดปัญหาการเกิดกลิ่นเหม็นเน่าจากขยะในชุมชน และสร้างรายได้ให้เกิดกับกลุ่มเป้าหมาย
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ๑.ลดปัญหาจากกลิ่นขยะในงานที่เกิดขึ้นในชุมชน ๒.ลดปัญหาการสะสมหมักหมมและแหล่งก่อโรคในชุมชน ๓.สร้างรายได้ ลดรายจ่ายแก่กลุ่มเป้าหมาย ๔ลดความเครียดของเจ้าของงานและชุมชนจากปัญหาขยะเน่าเหม็น

  132. ชื่อนวัตกรรม : ปุ๋ยหมักสูตรกล้วย

    โครงการ : ตู้เย็นข้างบ้านปลอดสารพิษภัย
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เป็นการนำกล้วยมาทำน้ำหมักชีวภาพ ผลกล้วย ต้นกล้วย ปลีกล้วย เหตุผลกล้วยมีความหวาน ทำให้เกิดการหมักได้ดี นำไปใช้ลูกดก
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.กล้วยทำให้กระบวนการหมักสมบูรณ์ เพราะมีความหวานเยอะ 2.กล้วยทำให้ผลดก ได้ผลผลิตเยอะ 3.กล้วยใช้ไ้ดุ้ทุกส่วน และหาได้ง่ายในพื้นที่

  133. ชื่อนวัตกรรม : ฐานการเรียนรู้ 3 ฐาน

    โครงการ : ตู้เย็นข้างเรินบ้านชายควน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : กลุ่มเลี้ยงไก่ 10 ครัวเรือนคอล่อนกับไก่บ้าน โตช้าไม่ซื้ออาหาร อาหารหากินเองกับข้าวเปลือก ได้ผลอยู่ 3 ครัวเรือน เพราะเลี้ยงเกินกว่า 30 ตัวขึ้นไปกินอาหารผสมผสานทั้งอาหารสำเร็จหัวอาหาร หัวสาคู กลุ่มทำนา 25 ครัวเรือน 55 ไร่ สังหยด เล็บนก พอกินในครัวเรือน กลุ่มปลูกผัก 25 ครัวเรือน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เป็นฐานในการเรียนรู้ของคนในชุมชน

  134. ชื่อนวัตกรรม : ธนาคารปูไข่

    โครงการ : โตดนุ้ยรักษ์ถิ่น - เล - ป่า
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : - การรวมกลุ่มสมาชิกมาจากทุกครัวเรือนที่ทำอวนปู - การร่วมลงแรงทำบ่ออนุบาล - มีการเก็บข้อมูลปูไข่ที่จับได้ก่อน-หลังการทำธนาคาร - การวางกติกา แนวเขตการจับปู
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - เป็นศูนย์เรียนรู้ให้หมู่บ้านอื่น

  135. ชื่อนวัตกรรม : ผลผลิตจากบุก กลอย และลูกชก

    โครงการ : ทบทวนปลดหนี้คนหมู่ 4 บ้านหน้าเขา
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1. ผลผลิตจากบุุก กลอย ที่ส่งเสริมการปลูก และใช้กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากชุมชนให้สามารถนำมาเป็นอาหาร หรือขายเป็นรายได้ 2. การเก็บลูกชกที่ถ่ายทอดภูมิปัญญาให้สามารถนำมากิน ขายได้
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1. สร้างงาน สร้างรายได้ให้ครอบครัว และชุมชน 2. ได้แหล่งอาหารคาโบไฮเดรต แหล่งใหม่ของชุมชน

  136. ชื่อนวัตกรรม : ...น้ำหมักสูตรหมอดินชะมายรักษ์โลกร้อน

    โครงการ : ทุ่งสงรักษ์สะอาดลดโลกร้อน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : น้ำหมักและปุ๋ยหมักโดยใช้วัสดุท้องถิ่น พัฒนาจนสามารถนำมาสอนเพื่อนบ้านได้ กำลังพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้จากขยะแปลงเป็นปุ๋ยได้อีกแห่งหนึ่งของทุ่งสง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เป็นแหล่งเรียนรู้จากขยะแปลงเป็นปุ๋ยได้อีกแห่งหนึ่งของทุ่งสง

  137. ชื่อนวัตกรรม : บัญชีครัวเรือน

    โครงการ : ทุนชุมชนสร้างรายได้บ้านสวนขัน (ต่อยอดปี 2)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1.นำบัญชีครัวเรือน จากแหล่งต่างๆ มาปรับประยุกต์ โดยสอดคล้องกับข้อมูลชุมชน 2.เน้นให้ทุกคนในหมู่บ้าน ทำบัญชีครัวเรือนได้
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.ทุกครัวเรือนได้เรียนรู้การลดรายจ่ายและวิเคราะห์เส้นทางการเกิดหนี้ครัวเรือนได้ 2.เป็นการกระตุ้นเตือนให้ทุกคนได้ตระหนัก

  138. ชื่อนวัตกรรม : เอาผัก ปลา มาแลกไข่

    โครงการ : นาควารีคนสุขภาพดีชุมชนสีเขียว
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : แนวคิดการนำผลิตผลในครัวเรือนมาแลกเปลี่ยนกันเพื่อกระตุ้นการมาร่วมกิจกรรมอย่างพร้อมเพรียง โดยนางเพ็ญพร โอชาพงศ์ เป็นผู้นำเสนอกระบวนการ ..เอาผักปลา มาแลกไข่..โดยการทำข้อตกลงในการจัดกิจกรรมชุมชน ที่เป็นการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต้องการให้ คนมาประชุมตามเป้าหมาย และไม่กลับก่อน โดยการให้ตัวแทนครัวเรือน นำผัก หรือ ปลา ที่ตนเองเข้าร่วมโครงการมาแบ่งปันกัน และ แบ่งขายในรายที่ได้รับผลผลิตจำนวนมาก จากนั้น นำงบประมาณรายจ่ายค่าอาหารบางส่วน นำไปซื้อไข่เป็ด ไข่ไก่จากผุ้ผลิตในชุมชนเดียวกันหรือชุมชนใกล้เคียง มามอบให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมก่อนกลับบ้าน สำหรับผู้ที่ร่วมกิจกรรมครบตามข้อตกลง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : นวตกรรม เอาผัก ปลา มาแลกไข่..เกิดประโยชน์ต่อ1.ผู้จัด คือ ผู้จัดใช้งบประมาณได้ตอบสนองต่อความต้องการและความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ ทำให้เค้ารู้สึกว่า มาร่วมกิจกรรมแล้วได้ไข่กลับไปฝากที่บ้าน 2. ผลต่อผุ้จัด คือ คนอยู่ร่วมกิจกรรมครบ 3. ผลต่อชุมชน คือ มีการแลกเปลี่ยนแบ่งปัน กันในชุมชน ทำให้ราคาผลผลิตดีขึ้น และกระตุ้นให้ครัวเรือนมาร่วมกิจกรรมมากขึ้น

  139. ชื่อนวัตกรรม : กระบวนการผลิตข้าวปลอดภัย

    โครงการ : นาอินทรีย์คืนวิถีคนไทรงาม (ต่อเนื่อง)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เรียนรู้ระบบการผลิตข้าวปลอดภัย จำนวน 3 รูปแบบ คือ แบบหว่าน แบบดำ และแบบโยน เพื่อให้เห็นถึงข้อมูลการเปรียบเทียบด้านต้นทุนการผลิตและกระบวนการทำนาแบบปลอดภัย
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - แปลงนาหว่าน จำนวน 31 ไร่ - แปลงนาดำ จำนวน 1 ไร่ - แปลงนาโยน จำนวน 1 ไร่

  140. ชื่อนวัตกรรม : การทำน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

    โครงการ : นำศาสตร์พระราชา สร้างสุขสู่บ้านบางไทร
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : นักเรียนและผู้ปกครองที่เข้าร่วมหลักสูตรปรับแผนชีวิตพิชิตหนี้จำนวน 50 คน ช่วยกันนำผัก สมุนไพรในพื้นที่ มากลั้นเป็นน้ำสมุนไพรให้นักเรียน และ แขกบริโภค ในกรณีมีงานต่างๆในโรงเรียน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : การทำผลิตภัณฑ์ของโรงเรียนและชุมชนเอง

  141. ชื่อนวัตกรรม : -พิธีขอมาพระแม่คงคงสืบชะตาคลองนาท่อม-และพิธีลงนามปฏิญญาร่วมอนุกรักษ์ของ ผู้นำ 3 ส่วน กำนัน นายก ประธานสะภา

    โครงการ : บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่ (ต่อเนื่อง)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องของชุมชน ของครอบครัวจักรยานสาฝันวันอาทิตย์ ที่เป็นสื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้คนเกิดจิตสำนึกทั่วทั้งตำบล
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : กฏกติกาที่เกิดขึ้นร่วมกันเป็นนโยบายของเทศบาลตำบลนาท่อมในการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งระบบ

  142. ชื่อนวัตกรรม : ..เกษตรผสมผสานในพื้นที่นากุ้งร้าง

    โครงการ : บ่อกุ้งร้างสร้างสุข
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : จากเดิมเป็นบ่อกุ้งรกร้าง ดินเสื่อมโทรม น้ำเสีย ได้พัฒนาพื้นที่ และเรียนรู้การทำเกษตรแบบผสมผสาน มาเป็นพื้นที่เกษตรแบบผสมผสานของตำบล ใช้เนื้อที่ข้างบ้านและบ้านเก่าให้เกิดประโยชน์ ในเนื้อที่ดังกล่าว ประกอบด้วย สวนแก้วมังกร สวนส้มโอพิมพร เลี้ยงหมูในบ้าน สวนละมุด เลี้ยงปลาดุกใต้ถุนบ้าน เลี้ยงปลาในบ่อ รอบบ่อเป็นสวน และปลูกพืชนานาชนิด เป็นต้น
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : นำความรู้เรื่องเกษตรผสมผสานไปปรับปรุงพื้นที่ว่างให้เกิดประโยชน์ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว สร้างสุขให้กับครอบครัวและชุมชน

  143. ชื่อนวัตกรรม : บ่อร้างสร้างสุข

    โครงการ : บ่อกุ้งร้างสร้างสุขบ้านหนองนกไข่
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ปรับพื้นที่บ่อกุ้งรกร้างเป็นพื้นที่เลี้ยงปลา ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เป็นแบบอย่างการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์

  144. ชื่อนวัตกรรม : กระชังเกาะพุดน้ำขึ้นขึ้นน้ำลงลง

    โครงการ : บ่อร้างสร้างคุณค่า เลี้ยงปลากะชังเสริม ปลูกผักเพิ่ม เติมรายได้ให้ชาวเกาะพุด
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ช่างผู้ชำนาญในการตัดเย็บกระชังพยายามหาวิธีป้องกันน้ำท่วมกระชังในฤดูน้ำหลาก จึงลองผิดลองถูก ก่อน ดดยครั้งแรกใช้แกลลอนติดที่มุมทั้ง 4 ของกระชังเพื่อลอยตามระดับน้ำ
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ยังทำได้ไม่ครบทุกกระชังโดยได้ทำในจุดแปลงสาธิตให้ผู้ร่วมโครงการนำไปทำต่อเอง และปรับใช้สำหรับกระชังที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม พบว่า สามารถลอยน้ำได้ตามแผน

  145. ชื่อนวัตกรรม : ...กระบวนการชุมชนมีส่วนร่วม

    โครงการ : บางสระสัมพันธ์ออกกำลังกายร่วมกันผูกพันครอบครัว
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : หมู่บ้านใช้กระบวนการชุมชนเพื่อสร้างจิตสำนึกการออกกำลังกายเพื่อป้องกันและรักษาโรค ทุกขั้นตอน โดยให้ชาวบ้านเข้ามาร่วมคิดตั้งแต่เริ่มเขียนโครงการ มีการทำประชาคมเพื่อหากลุ่มแกนนำ และกลุ่มแกนนำไปบอกชาวบ้านต่อเนื่อง เมื่อชาวบ้านมาร่วมจะมีการประชุมสอบถามความคิดเห็นและขอความร่วมมือจากหน่วยงานในท้องที่มาช่วยสนับสนุนทุกครั้ง ได้แก่ อบต. รพ.สต. พัฒนาชุมชน และหน่วยงานอื่นๆ ในอำเภอ เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องการออกกำลังกายให้ประชาชนได้ปฏิบัติอย่างจริงจัง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เป็นแบบอย่างด้านการออกกำลังกายให้แก่พื้นที่อื่นๆ ได้เป็นอย่างดี เป็นฐานเรียนรู้ให้กับพื้นที่อื่นๆ ได้

  146. ชื่อนวัตกรรม : ธนาคารสมุนไพร

    โครงการ : บ้านไกรไทยเป็นชุมชนสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยตำรับสมุนไพร(ต่อยอด)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1.ให้เยาวชนและคณะทำงาน รวมกันสำรวจสมุนไพรในครัวเรือน 2.แต่ละครัวเรือน มอบสมุนไพรให้กับธนาคาร ได้คนละกี่ต้น อะไรบ้าง 3.จัดกิจกรรมกลุ่มธนาคารสมุนไพรในการเก็บรวบรวม และขยายพันธ์ุสมุนไพร
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.มีการขึ้นทะเบียนสมุนไพรของครัวเรือนและชุมชน 2.มีการอนุรักษ์สมุนไพร โดยธนาคารสมุนไพรเป็นผุู้รวบรวม 3.เกิดแนวทางการหวงแหนสมุนไพรชุมชน 4.เกิดคุณค่า และเห็นประโยชน์ 5.เรียนรู้ภูมิปัญญาชุมขน

  147. ชื่อนวัตกรรม : กระโจมอบสมุนไพรเคลื่อนที่

    โครงการ : บ้านควนไสน รวมพลังสร้างสุขภาพ ปลูกและใช้สมุนไพรใกล้ตัว
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เป็นกระโจมอบที่เย็บด้วยมือและนำไปแขวนให้ห้อยลงมาใช้สำหรับอบสมุนไพรได้ในชุมชนเพื่อรักษาโรคหรือบรรเทาอาการของโรคโดยไม่ต้องใช้ยา
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง โดยนำมาใช้มากว่า 10 ครั้งมีเสียงตอบรับจากผู้ใช้ว่าดีจริง

  148. ชื่อนวัตกรรม : ปุ๋ยหมักชีวภาพสูตรผสม

    โครงการ : บ้านควนหนองหงส์เรียนรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1.เป็นการนำเศษใบไม้ เศษมูลไก่ และเศษอาหารครัวเรือน มาทำการผสมและหมักเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ 2.สูตรดังกล่าว เป็นปุ๋ยผสม และมีสารอินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อต้นไม้
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.ลดการใช้สารเคมีในครัวเรือน 2.ลดต้นทุนในการปลูกผัก

  149. ชื่อนวัตกรรม : กระบวนการเก็บข้อมุล รับจ่ายของครัวเรือนนำร่อง

    โครงการ : บ้านโคกไม้ไผ่ รู้จด รู้ใช้ สุขได้ด้วยพอเพียง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การร่วมกันกำหนดรายละเอียดของข้อมูลที่ต้องการทราบ/ นำไปสู่การออกแบบที่เหมาะสมมีเครื่องมือที่เหมาะสม /การทำความเข้าใจทีมเก็บ/การแบ่งพื้นที่กันเก็บและรับผิดชอบดูแลให้ได้ข้อมูลจริง/การรวบรวมประมวลผลข้อมูล/การวิเคราะห์ข้อมูล/การจัดทำแผนครัวเรือน แผนลดรายจ่ายของชุมชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ปลุกจิตสำนึกของคนให้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมลดรายจ่าย เพิ่มการออม

  150. ชื่อนวัตกรรม : บ้านพอเพียง

    โครงการ : บ้านโคกเหล็กพอเพียงหลีกเลียงสารเคมี (ต่อยอด )
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ปรับพื้นที่ว่างข้างบ้านมาเป็นการปลูกผักปลอดสารพิษ เลี้ยงสัตว์ ทำแก็สชีวมวล ใช้ปุ๋ยที่ทำขึ้นเองจากมูลสัตว์
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เป็นตัวอย่างของการลดสารเคมีในการทำการเกษตรพอเพียง

  151. ชื่อนวัตกรรม : การทำปุ๋ยหมัก

    โครงการ : บ้านโคกใหญ่ร่วมใจส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ปลดหนี้ครอบครัว
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : รวมกลุ่มเกษตรอินทรีย์ทำปุ๋ยหมักแบ่งปันกันในกลุ่ม
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.สามารถนำพืชผักสิ่งที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่นสามารถนำมาเป็นอาหารได้โดยไม่ต้องพึ่งผักที่มีสารเคมี 2.ชาวบ้านสามารถนำพืชผักที่มีอยู่แล้วที่บ้านสามารถที่จะนำมาประกอบเป็นอาหารและน้ำพืชผักสมุนไพรได้โดยไม่ต้องหันไปพึ่งสารเคมี 3.สามารถหันมาใช้น้ำหมักแทนสารเคมีที่มีราคาแพงขึ้นในปัจจุบัน 4.สามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้มากยิ่งขึ้น 5.ชาวบ้านมีความปลอดภัยและห่างไกลจากสารเคมี 6.ห่างไกลจากสารเคมีเพิ่มมากขึ้น

  152. ชื่อนวัตกรรม : น้ำดีและน้ำเสีย

    โครงการ : บ้านดอนจิกพัฒนาเพื่อส่งเสริมอาชีพ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เกิดจากการทดลองและเปรียบเทียบชนิดของน้ำที่ใช้ในการเพาะเห็ด
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ค้นพบการจัดการใหม่โดยการนำน้ำฝนและนำ้บ่อหรือน้ำคูเปรียบเทียบกันในการเพาะเห็ดน้ำฝนเห็ดจะออกดอกสวยกว่าและไม่เป็นเชื้อรา ส่วนก้อนที่ใช้น้ำบ่อหรือน้ำคู เห็ดจะเป็นเชื้อรา

  153. ชื่อนวัตกรรม : เผาถ่านแบบปิด

    โครงการ : บ้านดอนมะปราง มีชีวิตปลอดภัยด้วยเกษตรอินทรีย์
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เป็นการเอาถังน้ำมัน มาประยุกต์ เพื่อทำให้เป็นเตาเผาถ่านแบบปิดเป็นถ่านให้ความร้อนสูงและเผาไหม้สมบูรณ์แบบ
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.ลดการใช้แก๊สหุงต้ม ประหยัดค่าพลังงาน 2.เป็นการนำเอาเศษไม้ มาเผา ทำให้เกิดประโยชน์ไม่ทำลายธรรมชาติ

  154. ชื่อนวัตกรรม : ครัวตัวอย่างหลีกเลี่ยงสารเคมี

    โครงการ : บ้านต้นกระท้อนหลีกเลี่ยงสารเคมีด้วยครัวตัวอย่าง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ครัวตัวอย่างที่เป็นต้นแบบการเรียนรู้การปลูกผักปลอดสารพิษไว้บริโภคเอง การทำปุ๋ยหมักปุ๋ยชีวภาพลดต้นทุนไม่ใช้สารเคมี และรู้จักเลือกรู้จักบริโภคหลีกเลี่ยงสารเคมี สารเจือปนในอาหาร
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เป็นตัวอย่างการลดการใช้สารเคมีเพื่อขยายไปยังครัวเรือนอื่นในชุมชน

  155. ชื่อนวัตกรรม : แพสร้างสุข

    โครงการ : บ้านตรังสร้างสุข
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : จัดกิจกรรมล่องแพเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ชุมชน และช่วยจัดสภาพแวดล้อมสองฝั่งคลอง เพื่อเชื่อมเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน และมีการนำเสนอทางไลท์/เอกสารแผ่นพับให้เครือข่าย
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : มีนักท่องเที่ยวที่ต้องการธรรมชาติเข้ามาเยี่ยมชมหลายพื้นที่ อาทิ กลุ่ม อสม.จังหวัดกระบี่จำนวน 54 คน/ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านภาคใต้ จำนวน 50 คน/อสม.สตูลจำนวน 45 คน/กลุ่มแม่บ้านจังหวัดนครศรีฯ จำนวน 50 คน/คณะครูจาก กทท. จำนวน 30 คน/คณะ อสม. 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง จำนวน 50 คน

  156. ชื่อนวัตกรรม : น้ำหมักชีวภาพ

    โครงการ : บ้านทุ่งคาเรียนรู้บัญชีวิถีพ่อ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เป็นการนำวัสดุเหลือใช้ในครัวเรือน/ในท้องถิ่นที่สามารถย่อยสลายได้ รวมทั้งเศษอาหารที่เหลือจากการบริโภคในครัวเรือน ทุกประเภท สามารถนำมาเป็นวัตถุดิบในการทำได้ทั้งสิ้น
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.เป็นการใช้เกษตรวิถีในการกำจัดแมลง ที่ได้จากธรรมชาติ และนำกลับไปสู่ธรรมชาติ เพื่อก้องกันแมลงรบกวน และทำความเสียหายให้กับพืช2.เป็นการอนุรักษ์ ฟื้นฟู บำรุงดิน 3.ประหยัด ทำง่าย ไม่ต้องพึ่งสารเคมี หรือเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในครัวเรือน จากการซื้อสารเคมีมาไล่แมลงเหมือนในอดีต

  157. ชื่อนวัตกรรม : วิสาหกิจชุมชนสู่ครัวเรือนต้นแบบ

    โครงการ : บ้านนาปริก สุขภาวะดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน ตามแนวทางวิถีพอเพียง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : มีสาธิตการทำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า ซึ่งเป็นความตั้งใจของประชาชนในพื้นที่อยู่แล้ว เพื่อที่จะได้นำความรู้ไปใช้ในทำจริงไม่ว่าในครัวเรือนหรือการรวมกลุ่มก็ตาม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและยั่งยืน โดยทุกคนได้ให้ความร่วมมือลงมือปฏิบัติจริง ตั้งแต่การผสมอัตราส่วนตั้งแต่ รำ ขี้เลื่อย การอัด การใส่เชื้อ การเรียงก้อนเห็ด การนึ่ง และได้ให้ความรู้ต่อจนถึงวิธีการพักเชื้อ นำไปให้เชื้อเห็ดเดินเต็มที่ จนครบกระบวนการถึงการออกดอก ซึ่งทุกคนได้ให้ความสนใจซึ่งส่วนหนึ่งจากการทำจะมอบให้เป็นผลผลิตของกลุ่ม ส่วนหนึ่งให้ชาวบ้านได้นำกลับไปดูแลเองที่บ้าน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เพิ่มรายได้และส่งเสริมแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

  158. ชื่อนวัตกรรม : คัมภีร์สุขภาพวิถีบางสระ

    โครงการ : บ้านบางสระ สาน 6 อ. สู่หมู่บ้านจัดการสุขภาพองค์รวม(ต่อยอด)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เกิดการจัดการความรู้จากความรู้ในตน สู่การเป็นต้นแบบ โดยการบอกผลเปรียบเทียบข้อมูลสุขภาพบุคคล เกิดการแลกเปลี่ยนผลที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ต่อสุขภาพสมาชิกและสมาชิได้เรียนรู้ท่าออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง แนวทางออกกำลังกายอย่างปลอดภัยในผู้ป่วยเบาหวาน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เรียนรู้และต้นแบบในผป.โรคเดียวกัน

  159. ชื่อนวัตกรรม : คู่บัดดี้ (เครือข่ายคนสองวัย ร่วมใจดูแล)

    โครงการ : บ้านปลักใหญ่ใจดี สานสัมพันธ์ เชิดชูผู้สูงวัย สู่สุขภาวะ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : นวัตกรรมเชิงกระบวนการ ที่นำกลุ่มเครือข่ายเยาวชนในระบบและนอกระบบ ที่มีความสุ่มเสี่ยงด้านพฤติกรรม มาร่วมกิจกรรมในการดูแลผู้สูงอายุ ฝึกทักษะการดูแล และเก็บชั่วโมงการปฏิบัติงาน จัดทำคู่มือการลงบันทึกการติดตาม มีการมอบความรับผิดขอบการดูแลผู้สูงอายุ เยาวชน 1 คน ต่อ ผู้สูงอายุ 2 คน มีการร่วมผูกข้อมือรับเป็นคู่บัดดี้ต่างวัย เพื่อเสริมหนุน เติมเต็ม และการเรียนรู้แนวทางการใช้ชีวิต และเป็นศูนย์รวมจิตใจ ความอบอุ่นร่วมกัน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เกิดรูปแบบ กระบวนการ การดูแลร่วมกันของคนสองวัย โดยชุมชนเพื่อชุมชน

  160. ชื่อนวัตกรรม : บ้านปลาบ้านปูฟื้นฟูป่าชายเลน

    โครงการ : บ้านปลาบ้านปูฟื้นฟูป่าชายเลนลดหนี้นอกระบบบ้านหน้าทับ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ชาวประมงรวมกันคิดวิธีการอนุรักษ์สัตว์น้ำไว้เพื่อทำมาหากิน ใช้ความรู้ภูมิปัญญาเรื่องบ้านปลาบ้านปู
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ทำให้ชาวประมงได้ปลดหนี้นอกระบบ และมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มออมทรัพย์ กู้ทำมาหากินโดยไม่มีดอกเบี้ย

  161. ชื่อนวัตกรรม : การเพาะด้วงสาคูบ้านป่าไหม

    โครงการ : บ้านป่าไหม้ร่วมใจนำป่าสาคูสร้างสุข
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การจักสาน วิธีการเพาะด้วงสาคู ได้เกิดนวัตกรรมใหม่ในต้นสาคู เมือกจากต้นสาคูสามารถใช้แทนกาวปิดกระดาษได้ ส่วนแป้งจากต้นสาคูเอามาทำเป็นขนมพื้นบ้านได้ เช่นขนมกวน เป็นต้น ส่วนเศษของต้นสาคูหลังจากเพาะด้วงแล้วนำไปทำปุ๋ยชีวภาพ ให้คนที่เพาะด้วงได้ดีและมีคุณภาพ ออกมาแลกเปลี่ยนเทคนิคการเพาะด้วงให้สมาชิกในโครงการทราบว่า ทำอย่างไรให้ได้ผลผลิตของตัวด้วงออกมาให้ได้มากและสมบูรณ์ สรุป ถ้าตัวด้วงที่เพาะออกมาให้สภาพที่สมบูรณ์ ไม่มีกลิ่นเห็น ไม่เหม็นสาปอาหารสุกร เราก็สามารถส่งออกไปยังตลาดได้อย่างต่อเนื่อง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้

  162. ชื่อนวัตกรรม : คู่มือ "รู้ทันสารพิษ ชีวิตปลอดภัย"

    โครงการ : บ้านโปนปลอดสารพิษด้วยวิถีชีวิตพอเพียง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การทำประชาคม โดยการร่วมแสดงความคิดเห็นของคนในชุมชน ทำให้ได้ประเด็นที่คนในชุมชนต้องการ ซึ่งได้แก่ ความรู้เรื่องสารพิษตกค้างทางการเกษตร การป้องกันตนเองจากการได้รับสารพิษ การล้างสารเคมีตกค้างในผักและผลไม้ และวิธีการทำน้ำหมัก ปุ๋ยหมักชีวภาพ และน้ำยาไล่แมลง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : คนในชุมชนได้ล้างผักและผลไม้ โดยใช้ผงฟู ด่างทับทิม เกลือและน้ำไหลผ่าน โดยใช้หลากหลายตามความสะดวก ก่อนรับประทานทุกครั้ง

  163. ชื่อนวัตกรรม : สภาขับเคลื่อนแก้ปัญหา

    โครงการ : บ้านมะนังเข้มแข็งด้วยเศรษฐกิจพอเพียงที่ยั่งยืน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1.แกนนำประชุมอย่างไม่เป็นทางการก่อนทำกิจกรรมในโครงการบ่อย เดือนละ1-2 ครั้ง 2.นำมาขับเคลื่อนในสภาหมู่บ้าน ประชุมเดือนละ 1 ครั้ง 3.ชาวบ้านยอมรับและให้ความร่วมมือเพิ่มมากขึ้นมีผู้เข้าร่วมประชุมเพิ่มขึ้นทุกเดือน 4.มีการเชิญหน่วยงานราชการเข้ามาร่วม เช่น โรงเรียน อำเภอ เป็นต้น
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : สภาผู้นำชุมชนขับเคลื่อนกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายจนประสบผลสำเร็จได้

  164. ชื่อนวัตกรรม : สูตรน้ำหมักสมุนไพรใช้ดับกลิ่นมูลสัตว์

    โครงการ : บ้านไม้มูกปลอดกลิ่นเหม็นจากมูลสัตว์ด้วยสมุนไพร
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เป็นการนำสมุนไพรที่มีในชุมชนร่วมเช่น พริก ตะไคร้ ขิง ข่า ว่าน นำมาเป็นสูตรผสมกับน้ำหมักชีวภาพที่นำไปใช้ราดหรือใส่หรือล้างในที่ที่มีกลิ่นเหม็นของมูลสัตว์ เพื่อช่วยในการดับกลิ่น
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : นำไปใช้ราดหรือใส่หรือล้างในที่ที่มีกลิ่นเหม็นของมูลสัตว์ เพื่อช่วยในการดับกลิ่นมูลสัตว์

  165. ชื่อนวัตกรรม : กระต่ายขูดมะพร้าว

    โครงการ : บ้านไร่ทอน อนุรักษ์คลังปัญญา นำพาเศรษฐกิจพอเพียง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ปราชญ์ภูมิปัญญางานหัตถกรรมจากไม้ จับอุปกรณ์อีกครั้ง เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับคนในชุมชนที่สมัครใจมาเรียน หลังจากหยุดทำไปนาน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เกิดการผลิตชิ้นงานจากไม้หลายอย่าง ได้แก่ กระต่ายขูดมะพร้าว ด้ามพร้า ด้ามจอบ เก้าอี้ แคร่ เป็นต้น

  166. ชื่อนวัตกรรม : การเพาะเห้ดชุมชนศาลาบางปู

    โครงการ : บ้านศาลาบางปู พัฒนาศูนย์เรียนรู้อาชีพเพาะเห็ดสู่สวัสดิการชุมชน ( ต่อยอด)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การแบ่งกลุ่มเป็นศูนย์การเรียนรู้ต่อยอดต้นแบบ 7 กลุ่ม
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ต้นแบบ 7 คน เกิดกระจายศูนย์เรียนรู้การเพาะเห็ด 7 ศูนย์ เพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชน

  167. ชื่อนวัตกรรม : ผังฟาร์มลดหนี้

    โครงการ : บ้านสหกรณ์ เรียนรู้วิธีลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1.การเขียนผังฟาร์ม โดยให้ทุกคนเขียนผังการดำเนินงานพัฒนาครัวเรือนตนเอง 2.กลุ่มเป้าหมายพัฒนาบ้านตนเองตามผังฟาร์มที่ตนเองเขียนได้ 3.เป็นการสร้างรายได้ครัวเรือน โดยใช้ผังฟาร์มเป็นตัวกำหนดกิจกรรม
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.ครัวเรือนเป้าหมายมีแนวทางลดหนี้ของตนเอง 2.การจัดทำผังฟาร์มเป็นการกระตุ้นให้เกิดการทำอย่างต่อเนื่อง 3.ใช้เป็นตัวชี้วัดในการประเมินกิจกรรม

  168. ชื่อนวัตกรรม : เรียนรู้ภูมิปัญญาขนมจี

    โครงการ : บ้านห้วยแหยง สืบสานภูมิปัญญา
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1.เป็นการเรียนรู้ภูมิปัญญา เรียนรุ้วิธีการทำเส้นขนมจีน โดยเยาวชนได้เรียนรู้การนำแป้ง มาทำเป็นเส้นขนมจีน 2.เยาวชนได้เรียนรู้ วิธีการแปรรุปอาหาร 3.เยาวชนได้เรียนรู้เส้นทางภูมิปัญญา และเห็นคุณค่า
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญา 2.เป็นการสร้างกระบวนการลดการปนเปื้อนในขนมจีน และสร้างสุขภาพ

  169. ชื่อนวัตกรรม : ธงสัญลักษณ์ประจำกลุ่ม

    โครงการ : บ้านเหนือสะอาด ชุมชนสดใส ประชาร่วมใจพัฒนา
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : - มีการจัดทำธงผ้าเป็นสีต่างๆ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการเข้าร่วมจัดการขยะในชุมชน และจะสามารถใช้ในการกำกับติดตามการจัดการขยะในครัวเรือน และการประกวดหน้าบ้านน่ามองต่อไป
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - คนในชุมชนเกอดการตื่นตัว เกิดการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะในชุมชน เนืองจากเมื่อมองเห็นธงหน้าบ้านก็จะรู้ว่า ตนเองเข้าร่วมโครงการจัดการขยะในชุมชนแล้ว และต้องดูแลบ้านตนเอง รอบๆ บ้านให้สะอาดอยู่เสมอ

  170. ชื่อนวัตกรรม : ข้อบัญญัติชุมชน

    โครงการ : บ้านอู่แก้วเป็นหมู่บ้านวิถีพอเพียง (ต่อยอด)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เป็นการระดมความคิดเห็นของชุมชน ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม โดยมีการเปิดเวทีในหมู่บ้าน และให้ผู้นำชุมชน ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทังประชาชน เป็นคนร่วมคิดนโยบาย เป็นคนที่ร่วมใช้นโยบาย และวันดังกล่าวเป็นการประกาศใช้นโยบาย แต่การบังคับยังไม่เข้มข้น ให้ทุกคนได้เรียนรู้ ให้ทุกคนได้เข้าใจบทบาทตนเองมากกว่า การบังคับ
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ข้อบัญญํติที่เกิดขึ้น มี 11 ข้อ ประกอบด้วย 1) ทุกบ้านปลูกผักและสมุนไพรไว้กินเอง ไม่น้อยกว่า 5 ชนิด 2) ร่วมกันลดใช้สารเคมีในครัวเรือนและการเกษตรทุกชนิด 3) ลดใช้เครื่องปรุงรสและผงชูรสในการปรุงหรือประกอบอาหาร 4) ทุกบ้านต้องมีรั้ว และเป็นรั้วที่มีชีวิต มีป้ายบอกข้อคติเตือนใจ 5) ขยะจากครัวเรือน นำไปทำเป็นปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ 6) ทำบัญชีครัวเรือนเพื่อลดรายจ่าย 7) ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่และดื่มสุรา 8) ขับขี่รถมอเตอร์ไซด์ทุกครั้งต้องสวมหมวกกันน้อค 9) ให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายหรือออกแรงทุกวัน ให้มีเหงื่อซึม วันละ 30 นาที 10) ทุกครัวเรือนต้องเข้าร่วมประชุมหมู่บ้าน 9 ครั้งต่อปี จึงจะมีสิทธิ์ในการรับสวัสดิการของชุมชน 11) การป้องกันโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน การบังคับใช้ในระยะแรก ให้ทำเป็นแผ่นพับไปติดไว้ทุกบ้าน และทำไวนิล ติดไว้ในชุมชน

  171. ชื่อนวัตกรรม : ชุดข้อมูลหนี้สินจากการมีส่วรร่วมชุมชน

    โครงการ : ปฎิรูปครัวเรือน มุ่งสู่แบบพอเพียงบ้านปาล์ม 3
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ครัวเรือนมากกว่าร้อยละ 80ให้ความร่วมมือในการสำรวจหนี้สินและมีส่วรร่วมในการคิดแก้ปัญหาในภาพรวมของชุมชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เกิดแนวทางและมาตราการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ของชุมชน

  172. ชื่อนวัตกรรม : หมู่บ้านจัดการตนเอง

    โครงการ : ปฏิรูปหัวลำภูสู่หมู่บ้านจัดการตนเอง(ต่อยอด)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ชุมชนได้นำเอกลักษณ์ของตนเองมาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดเวที ครบทั้ง 3 ด้าน คือ เกษตรยั่งยืน วัมนธรรม และสวัสดิการ ที่น่าสนใจมากที่สุดคือ เกษตรยั่งยืน เนื่องจากเป็นทางออกของการเกษตรในปัจจุบัน ตามวิถีพอเพียง ที่ทำให้อยู่ได้ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และปัญหาสุขภาพเพิ่มมากขึ้น รองลงมาคือ ด้านวัฒนธรรม ช่วยเรื่องการออกกำลังกาย ความรัก สามัคคี ทำให้คนไดหลั้งสารสุข มีความสุขจากการทำกิจกรรม และทำต่อเนื่องได้ดี ส่วนด้านสวัสดิการเป็นส่วนช่วยหนุนเสริมให้ทำ 2 ด้าน ที่กล่าวมาได้สำเร็จ เป็นแรงใจ แรงทรัพยากรในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เป็นแหล่งเรียนรู้ของเพื่อนบ้าน และผู้ประสงค์มาศึกษาดูงานได้ รับได้ครั้งละ 200 คน กระจายตามบ้าน เรียนได้ทั้ง 3 ด้าน มีผู้นำแต่ละด้านจัดการตนเอง และเป็นผู้จัดการทีมของตนเองได้เป็นอย่างดี

  173. ชื่อนวัตกรรม : สมุดโทรศัพท์ของชุมชน

    โครงการ : ประชาร่วมใจ ชุมชนตลาดปลอดภัยและน่าอยู่ : ชุมชนตลาดเทศวิวัฒน์ 1 (ปี 2)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1.รวบรวมข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ที่เกี่ยวข้อง(ทั้งหน่วยงานและแกนนำชุมชน) 2.จัดทำสมุดโทรศัพท์จำนวน200เล่ม
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : การจัดสมุดโทรศัพท์ของชุมชนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในระหว่างเกิดสถานการณ์ความไม่สงบ (ชั่วโมงเร่งด่วน)

  174. ชื่อนวัตกรรม : ...-

    โครงการ : ประเพณีเชื่อมร้อยจิตใจสร้างสายใยชุมชน(การทำกระจาด)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม :
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ :

  175. ชื่อนวัตกรรม : ค้างถั่วฝักยาวลดโลกร้อน

    โครงการ : ปรับพื้นที่ว่างปลดหนี้บ้านท่าม่วง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การนำอวนตาห่างมาทำค้างถั่วฝักยาวแทนกิ่งไม้เกิดความคิดในการปลูกถั่วฝักยาวจากเดิมใช้กิ่งไม้ทำค้างถั่วต้องใช้กิ่งไม้ต้นละกิ่งทำให้ปลูกได้ไม่มาก จึงคิดปลูกถั่วฝักยาวเพื่อขายต้องปลูกมากจังใช้วิธีทำค้างถั่วโดยไม่ใช้กิ่งไม้ คิดใช้อวนตาห่างมาขึงตามแนวร่องถั่วโดยใช้ไม้ไผ่เป็นเสาเป็นระยะเพื่อให้เถาถั่วเลื้อยพันตาข่ายลดการตัดไม้
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ใช้ขยะหรืออุปกรณ์เหลือใช้ให้เกิดประโยชร์ ลดการตัดไม้

  176. ชื่อนวัตกรรม : กล้วยรังนก

    โครงการ : ปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียงบ้านคลองเล
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : คนที่มีหนี้ได้เรียนรู้นำวัสดุในท้องถิ่นมาคิดเป็นอาหารแปรรูปเป็นสิ่งประดิษฐ์ของหมู่บ้าน ที่ใช้ความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน ทำแล้วเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน เพิ่มรายได้
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ความรู้ในการแปรรูปกล้วยให้มีรูปแบบน่าสนใจ เพิ่มความต้องการของตลาด เพิ่มรายได้ เกิดคุณค่ากับผู้คิดค้น

  177. ชื่อนวัตกรรม : พลังผู้สูงวัยเพิ่มคุณค่าตัวเอง

    โครงการ : ปลุกพลังผู้สูงวัยบ้านลำคลอง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : กลุ่มเป้าหมาย 20 ครัวเรือน ได้ร่วมกันลงแขกปรับพื้นที่ข้างบ้านเป็นพื้นที่ปลูกพืชผักได้ โดยนำอุปกรณ์การปรับพื้นที่มาจากบ้านตนเอง มาช่วยกันปรับพื้นที่รกร้างข้างบ้าน ได้ปลูกพืชผัก ร่วมกันเพาะเมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาว มะเขือ พริก เป็นต้น ร่วมกันทำวันละ 2 บ้าน แม้ว่ามีฝนตกก็ช่วยกันจนเสร็จ ขณะลงแขกได้เกิดการเรียนรู้แบบเอื้ออาทร คือ ทีมงานได้นำเมล็ดผักจากบ้านแรกไปปลูกให้บ้านที่สอง แลกเปลี่ยนกัน ได้ร่วมเรียนรู้การลดสารเคมีเพื่อเพิ่มรายได้เพิ่มเติม เช่น การทำน้ำยาอเนกประสงค์ การทำน้ำยาฆ่าแมลงจากสมุนไพร เป็นต้น เคล็ดลับการทำวิถีเกษตรพอเพียง ได้แก่ การใช้เศษอาหารที่เหลือกินมาคลุกเคล้ากับปลายข้าวใช้เป็นอาหารเลี้ยงไก่ การนำเศษผักที่เหลือใช้ในครัวเรือนมาใช้เป็นอาหารปลา เป็นต้น เวทีความสุขของผู้สูงอายุ เนื่องจากการได้พูดคุยกับเพื่อนทุกเดือน ได้แลกเปลี่ยนผลผลิต ได้โชว์ผลงาน และได้กำลังใจจากเพื่อนๆ มีสุขภาพใจดีกว่าเดิมมาก ต้องการให้มีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เป็นตัวอย่างการสร้างคุณค่าให้ผู้สูงอายุ สร้างเสริมสุขภาพ

  178. ชื่อนวัตกรรม : สระ

    โครงการ : ปลูกจิตสำนึกชุมชนบ้านในจูนน่าอยู่
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : สมาชิกชุมชนร่วมกันจัดทำแหล่งพักน้ำในพื้นที่ราบเล็กบนเขาเพื่อให้เป็นแหล่งชะลอความรุนแรงของน้ำในช่วงหน้าน้ำหลาก และเก็บน้ำไว้ใช้ช่วงหน้าแล้ง โดยการใช้กระสอบทรายผสมปูนวางเป็นฐานและตามด้วยต้นไม้รายรอบเป็นการเสริมฐานและขอบให้แข็งแรง ไม่พังทะลาย
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ปีนี้ทั้งปีสามาระรองรับน้ำได้ไม่เกิดการพังลงมา และการไหลของน้ำไม่รุนแรง ในช่วงหน้าแล้งมีน้ำใช้ตลอดฤดู

  179. ชื่อนวัตกรรม : ล้อรถ,ตอไม้ ใช้ปลูกผักไว้กินเอง

    โครงการ : ปลูกผักปลอดสารพิษพิชิตโรค บ้านสำนักขัน หมู่ที่ 5 ต.สามตำบล อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ยางล้อรถจักยานยนต์,จักรยาน สามารถนำมาปลิ้นข้างนอกเอาไว้ข้างใน, ล้อรถยนต์ ตัดส่วนตรงกลางออกตามแนวล้อรถ,ตอไม้ขนาดใหญ่ กว้านเนื้ไม้ข้างในออก จำสามารถทำเป็นพื้นที่ปลูกผักได้
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : นำล้อรถที่ดัดแปลงแล้วไปวางในบริเวณบ้านที่ไม่มีพื้นดิน,หรือบ้านที่ปูพื่นด้วยซีเมนต์ และนำดิน,ปุ๋ยใส่จะสมมารถปลูกผักได้

  180. ชื่อนวัตกรรม : ปันตงสร้างสุข

    โครงการ : ปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนด (ต่อยอดปี 2)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : คนสามวัย ร่วมฟื้นฟูการละเล่นร่วมกัน ใช้การสื่อสารเชิงบวกเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน สร้างครอบครัวอบอุ่น
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : พัฒนาเด็กและเยาวชนร่วมกับส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

  181. ชื่อนวัตกรรม : ตู้อบสมุนไพรเพื่อสุขภาพแบบส่วนตัว

    โครงการ : ผัก สมุนไพรเชื่อมใยรักคนเขาปูน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : - ในชุมชนมีห้องอบสมุนไพรเพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพ แต่บางคนอาจไม่สะดวกในการเดินทาง หรืออาจไม่มีเวลา ทางโครงการจึงได้แนะนำการอบสมุนไพรด้วยตนเอง ด้วยการประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในบ้าน เช่น การนำท่อพีวีซีมาทำโครงการ 4 เหลี่ยมแล้วหุ้มผ้า การการนำโครงตู้เสื้อผ้าพลาสติกมาใช้เป็นตู้ หรือการสั่งซื้อชุดอบสำเร็จรูป แล้วใช้หม้อหุงข้าวไฟฟ้าในการต้มสมุนไพร ก็สามารถอบสมุนไพรดูแลสุขภาพตนเองได้แล้ว โดยสูตรในการอบสามารถไปขอได้ที่ครูภูมิปัญญา เช่น สูตรดูแลสุขภาพ สูตรดูแลผิวพรรณ สูตรลดน้ำหนัก
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - มีผู้สนใจนำมาใช้ที่บ้าน บางคนก็ไปอบสมุนไพรที่ห้องอบสมุนไพร - จากการไปเผยแพร่ในงานสร้างสุข มีผู้สนใจจะนำกลับไปประยุกต์ใช้ในชุมชนของตนเอง

  182. ชื่อนวัตกรรม : ผักเชื่อมสัมพันธ์

    โครงการ : ผัก:สายสัมพันธ์สู่่ทับคริสต์วิถีชีวิตที่พอเพียง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : - การให้เยาวชนช่วยกันเพาะชำกล้าพันธุ์ผักไว้ที่โรงเรือน ให้ผู้ใหญ่และเด็กๆ ช่วยกันทำโรงเรือนผักให้กับผู้สูงอายุ แล้วให้เยาวชนนำผักที่เพาะชำไว้ไปปลูกให้ผู้สูงอายุที่บ้าน แวะเวียนไปเยี่ยม ไปช่วยดูแลผักของผู้สูงอายุ ทำให้เกิดความสัมพันธืที่ดีต่อกัน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - มีการขยายการปลูกผักไปสู่คนอื่นๆ ในชุมชนด้วย โดยเฉพาะครอบครัวของเยาวชน

  183. ชื่อนวัตกรรม : การปลูกพืชสำหรับพืชที่ใช้น้ำน้อย (ผักปัญญาอ่อน)

    โครงการ : ผักปัญญาอ่อนสร้างสุขบ้านแขก
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : วิธีการปลูกพืชสำหรับพืชที่ใช้น้ำน้อย (ผักปัญญาอ่อน)ให้เหมาะสมตามฤดูการโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านแบบดั้งเดิม เช่น การเผาแปลงปลูกเพื่อเปลี่ยนธาตุอาหารในดิน การปลูกตะใคร้หอมตามจุดต่างๆ รอบแปลงเพื่อไล่แมลง การปลูกแฝกเพื่อรักษาความชื้นของหน้าดิน การคลุมฟางเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ บวกกับการใช้ความรู้ใหม่ที่ทำคู่กันได้เช่น ระบบจุลินทรีย์ที่เป็นภูมิปัญญาเก่าแต่เป็นความรู้ใหม่ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น จุลินทรีย์จาวปลวก ในการช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับผักและช่วยป้องกันโรค ในการปลูกจะต้องเลือกชนิดผักที่ให้ผลผลิตเร็ว ทนแล้งและเป็นพืชที่เหมาะสมกับตลาด และพร้อมปฏิบัติ การเตรียมดิน และการปลูกพืชร่วมเพื่อไล่แมลง โดยมีกรรมการในแต่ละกลุ่มคอยให้คำแนะนำในการเตรียมดินการใส่ปุ๋ยปรับปรุงดิน การใส่จุลินทรีย์ การคลุมแปลงเพื่อป้องกันวัชพืช ประเภท และอายุการเก็บเกี่ยว ของผักแต่ละชนิด 1.ผักปัญญาอ่อน อายุไม่เกิน 50 วัน เช่น คะน้า กวางตุ้ง ฮ่องเต้ ผักกาดขาวผักบุ้ง 2.ผักเก็บเกี่ยวในรอบ 1 ปี พริก มะเขือ ตะใคร้ ถั่วพลู ขมิ้น 3.ใช้ได้ยาวตลอด เช่น ชะอม ผักหวาน มะกอก มะเขือพวง มันปู หัวครก ต้นหอม ผักชี กุ่ยช่ายชอบ
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : คนในชุมชนร่วมเรียนรู้การปลูกผักใช้น้อยเพื่อแก้ปัญหาการขาดน้ำในหน้าแล้งตามภูมิปัญญาของชุมชน

  184. ชื่อนวัตกรรม : สภาขับเคลื่อนแก้ปัญหา

    โครงการ : ผังนิคมเข้มแข็ง เสริมสร้างสุขภาพเด็กเยาวชนอย่างยั่งยืน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1.แกนนำประชุมอย่างไม่เป็นทางการก่อนทำกิจกรรมในโครงการบ่อย เดือนละ1-2 ครั้ง 2.นำมาขับเคลื่อนในสภาหมู่บ้าน ประชุมเดือนละ 1 ครั้ง 3.ชาวบ้านยอมรับและให้ความร่วมมือเพิ่มมากขึ้นมีผู้เข้าร่วมประชุมเพิ่มขึ้นทุกเดือน 4.มีการเชิญหน่วยงานราชการเข้ามาร่วม เช่น โรงเรียน อำเภอ เป็นต้น
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : สภาผู้นำชุมชนขับเคลื่อนกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายจนประสบผลสำเร็จได้

  185. ชื่อนวัตกรรม : ข้อมูลชุมชน

    โครงการ : ผังฟาร์มลดรายจ่ายที่บ้านทรายขาว
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1.เป็นการสำรวจข้อมูลที่มาจากความต้องการของชุมชน ร่วมกันคิดข้อคำถามจากชุมชน และออกแบบโดยคนในชุมชนได้ข้อมูลที่ต้องการ และทราบสถานการณ์ปัญหา
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.เป็นข้อมูลและคำถามจากชุมชน และนำไปใช้พัฒนาชุมชนได้ 2.ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลจริงของคนในชุมชน 3.เป็นฐานข้อมูลชุมชนและนำมาใช้พัฒนาชุมชน

  186. ชื่อนวัตกรรม : ฝายกั้นขยะในบริเวณริมเขื่อนแม่น้ำปากพนัง ติดตั้งครั้งแรก เมื่อ มค.59 และชำรุดไป ซ่อมใหม่ ติดตั้งเสร็จ เมื่อ สิงหา 59

    โครงการ : ฝายกั้นขยะคืนชีวิตชุมชนบางฉนาก
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การทำฝายกั้นขยะ เป็นการร่วมคิดร่วมทำ คิดไปทำไป บนพื้นฐานการใช้ข้อมูล ประสบการณ์ มาตัดสินใจแก้ปัญหา ลองผิดลองถูก ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้มีประสบกาารณ์ในการใช้ชีวิตริมน้ำ ร่วมกันใช้สติปัญยาในการจัดการขยะ และร่วมกัยกลุ่มที่มีจิตสำนึกอนุรักษ์ในการช่วยจัดเวรเก็บขยะจากฝายและการกลับทิศทางดักขยะ เวลาน้ำขึ้นและน้ำลง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ถ่ายทอดความรู้เดิมที่เป็นภูมิปัญญาของชุมชน ในการเย็บอวนการติดตั้งเสากลางทะเล การทำโพงพางดักปลา การดูทิศทางน้ำประสบการณ์ในการจัดการน้ำขึ้นน้ำลง มาใช้ในการจัดทำและติดตั้งโพงพางดักขยะของชุมชน ในบริเวณหน้าเขื่อนแม่น้ำปากพนัง

  187. ชื่อนวัตกรรม : ไส้เดือน

    โครงการ : พัฒนาคน...ชุมชนพอเพียง ณ บ้านควนยวน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อย่อยสลายวัตถุอินทรีย์ในชุมชนเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อเป็นปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติ ทำให้เกิดรายได้จากผลผลิตของไสเดือน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - ดินดี ธรรมชาติดี สุขภาพของทุกคนลดสารปนเปื้อนสู่ร่างกาย - ลดการใช้สารเคมีในดิน เป็นปุ๋ยธรรมชาติ - ปรับปรุงบำรุงดินให้มีชีวิต - สามารถทำเป็นอาชีพเลี้ยงไส้เดือน

  188. ชื่อนวัตกรรม : คู่บัดดี้ (เครือข่ายคนสองวัย ร่วมใจดูแล)

    โครงการ : พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย สานสายใยสู่ชุมชน หมู่ที่ 10 บ้านคลองบาราเกตุ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : นวัตกรรมเชิงกระบวนการ ที่นำกลุ่มเครือข่ายเยาวชนในระบบและนอกระบบ ที่มีความสุ่มเสี่ยงด้านพฤติกรรม มาร่วมกิจกรรมในการดูแลผู้สูงอายุฝึกทักษะการดูแล และเก็บชั่วโมงการปฏิบัติงาน จัดทำคู่มือการลงบันทึกการติดตาม มีการมอบความรับผิดขอบการดูแลผู้สูงอายุเยาวชน 1 คน ต่อ ผู้สูงอายุ 2 คนเพื่อเสริมหนุน เติมเต็ม และการเรียนรู้แนวทางการใช้ชีวิต และเป็นศูนย์รวมจิตใจ ความอบอุ่นร่วมกัน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เครือข่ายการดุแลผู้สูงอายุในชุมชน

  189. ชื่อนวัตกรรม : กฎ กติกา มารยาท

    โครงการ : พัฒนาบ้านบางคูให้อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ทุกคนร่วมคิด
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เกิดกติกาการร่วมกลุ่มเกษตรอินทรีย์ เป็นข้อตกลงกลุ่ม

  190. ชื่อนวัตกรรม : กติกาชุมชน

    โครงการ : พัฒนาพื้นที่สาธารณะห้วยหนองถินเพื่อสุขภาพ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การสร้างกติาของชุมชนในการดูแลห้วยหนองถิน โดยกติกาดังกล่าวเกิดจากการพูดคุยกันของคณะทำงานโครงการ และนำเสนอต่อองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเต่า ร่วมพิจารณา หลังจากนั้นจึงเปิดเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับกติกาเหล่านี้ หลังจากนั้นจึงมีการประชาสัมพันธ์กติกาให้คนในชุมชนได้รับทราบโดยทั่วกัน แต่กติกาเหล่านี้เป็นเพียงข้อตกลงเบื้องต้นยังไม่ถึงกับมีมาตรการลงโทษหากไม่ปฏิบัติตามกติกา แต่จะใช้มาตรการทางสังคมเป็นหลักในการควบคุมการดำเนินการตามกติกา
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : กติกาการอนุรักษืห้วยหนุนปานเป็นเพียงมาตรการเบื้องต้น ยังไม่มีบทลงโทษที่ชัดเจน ดังนั้นสิ่งที่ใช้ในการควบคุมการดำเนินการตามกติกาจึงเป็นมาตรการทางสังคม เช่น เมื่อทราบว่าใครจับปลาในห้วยหนองถินผิดวิธีก็จะถูกคนในชุมชนติฉินนินทา หรือเมื่อมีการระดมพลพัฒนาห้วยหนองถินหากครัวเรือนใดในชุมชนไม่มาร่วมก็จะไม่ได้รับความร่วมมือจากคนในหมู่บ้านเมื่อครัวเรือนนั้นมีกิจกรรมใดๆ เป็นต้น

  191. ชื่อนวัตกรรม : น้ำส้มรดขี้ยงชีวภาพลดรายจ่ายเพิ่มรายได้

    โครงการ : พัฒนาอาชีพเกษตรผสมผสานเพื่อเพิ่มรายได้บ้านกะโสม
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : จากความคิดและการทดลองปฏิบัติของปราชญ์ชุมชน เมื่อก่อนทำคนเดียวเนื่องจากไม่มีเวทีได้แลกเปลี่ยน เมื่อมีโครงการนี้ ได้มีเวทีแลกเปลี่ยน ความรู้นี้จึงได้ขยายผล
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ลดการใช้สารเคมีและลดต้นทุน จากเดิมต้องซื้อน้ำกรดขวดละ ๓๐ บาท ตอนนี้ทำเอง ต้นทุนไม่ถึง ๕ บาท นอกจากนี้ยังได้ประโยชนืเมื่อนำไปใช้กลายเป็นปุ๋ยรดต้นยางได้อีกด้วยเนื่องจากเป็นชีวภาพ

  192. ชื่อนวัตกรรม : ปิ่นโตเพื่อสุขภาพ

    โครงการ : พันธมิตรพิชิตขยะ บ้านบางหละจัดการตนเอง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : สร้างกระแสการลดการสร้างขยะในชุมชนโดยการรณรงค์ให้มาใช้ปิ่นโตแทนข้าวกล่องในงานเลี้ยง งานอบรม
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ลดขยะจากการอบรม เช่น กล่องโฟม พลาสติก และภาชนะที่ใส่อาหาร

  193. ชื่อนวัตกรรม : แผนที่เดินดิน

    โครงการ : เพิ่มต้นทุนชีวิต พิชิตโรค สู่ชุมชนน่าอยู่ บ้านหัวสะพานเหล็ก
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1.เรียนรู้การสร้างทีม จากกลุ่มในชุมชนและให้ทีมงานแบ่งโซนตามบริบทและการเข้าถึง ความสะดวกในการเดินทางแต่ละบ้าน แบ่งเป็น 2 โซน คือ 1. "สายเหนือ A ร่วมกัน" 2. "สายใต้ B ร่วมใจ" 2. การวิเคราะห์ชุมชน เรียนรู้ถึงการทำแผนที่ชุมชน โดยร่วมกันวาดแผนที่และลงข้อมูลสัญลักษณ์์แสดงตำแหน่งบ้านและแยกกลุ่มผู้ป่วยต่างๆ ได้แก่สัญลักษณ์สี่เหลี่ยม หมายถึง บ้าน, สามเหลี่ยม หมายถึง บ้านนั้นมีผู้ป่วยเบาหวาน, รูปดาว หมายถึง ผู้ป่วยความดัน, วงกลม หมายถึง ผู้ป่วยมะเร็ง, บวกหมายถึง หลอดเลือด, รูปหัวใจ หมายถึง โรคหัวใจ, ดอกจัน หมายถึง อื่นๆ จากนั้นร่วมกันวิเคราะห์และลงสัญลักษณ์ในแผนที่
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เป็นเครื่องมือของทีมในการติดตาม และการพัฒนาต่อยอดในกิจกรรมต่อไป

  194. ชื่อนวัตกรรม : กลุ่มฟาร์มทะเล

    โครงการ : ฟื้นชีวิตเล คืนวิถีชีวิตชุมชน บ้านหัวลำภู
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : กลุ่มฟาร์มทะเล การรวมกลุ่มของคนทำประมงในชุมชนหมู่ที่ 1 บ้านหัวลำพู ต.ป่าขาด อ.สิงหนคร ที่นำเอาปัญหาประมง สัตว์น้ำในทะเลสาบลดลง จึงได้เกิดการรวมตัวทำเขตอนุรักษ์ ฟาร์มทะเล การทำซั้งบ้านปลาเกิดอส. จำนวน 15 คน ออกลาดตะเวณจับกุมการทำผิดเครื่องมือประมง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : -เกิดการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อน -เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรโดยชุมชนมีส่วนร่วม

  195. ชื่อนวัตกรรม : เกษตรผสมผสาน

    โครงการ : ภูมิปัญญา เพิ่มรายได้ สร้างสุขที่บ้านยางในลุ่ม (ต่อยอดปี 2)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1.เป็นการทำฐานเรียนรู้เกษตรผสมผสาน โดยใช้วัสดุที่เหลือในครัวเรือน มาทำเป็นปุ๋ยชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ และนำไปใช้ในการปลูกผัก 2.เป็นการเรียนรู้เกษตรผสมผสานเพื่อนำไปลดหนี้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.มีการเรียนรู้เรื่องเกษตรผสมผสาน 2.มีการจัดทำบัญชีเปรียบเท่ียบรายรับ จ่าย

  196. ชื่อนวัตกรรม : มหาวิทยาลัยหมู่บ้านสุขภาวะ

    โครงการ : มหาวิทยาลัยหมู่บ้าน บ้านหัวลำภู
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เกิดมหาวิทยาลัยหมู่บ้านโดยความร่วมมือของประชาชนและหน่วยงานในท้องถิ่น
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เป็นแหล่งเรียนรู้ของเครือข่ายสุขภาวะ

  197. ชื่อนวัตกรรม : ฮาลาเกาะห์

    โครงการ : มัสยิดกุนุงจนองสร้างสุข สู่สองวัยใส่ใจสุขภาพ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสร่วมกันในวงการเรียนการสอนศาสนาประจำสัปดาห์โดยมีการแทรกข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับการจัดการสุขภาพควบคู่กันไป
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เป็นการใช้กุศโลบายให้ผู้สูงอายุเรียนรู้การจัดการปัญหาสุขภาพของตนเองผ่านเวทีกิจกรรมทางศาสนาอย่างผสมผสาน

  198. ชื่อนวัตกรรม : ฝายมีชีวิต

    โครงการ : เมื่อเด็กกล้วยเถื่อนสร้างธนาคารฯที่บ้านทุ่งยูง(ต่อเนื่อง)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : กว้าง 7 ยาว 11 ทราย 13,000 กระสอบ คิดเป็นงบ ประมาณ 300,000 บาทไปดูงานฝายมีชีวิตที่นครศรีธรรมราช และกลับมาประชุมหมู่บ้านเพื่อหารือและร่วมกันตัดสินใจว่าจะทำ และลงมือทำโดยมีทีมครูฝายจากนครศรีธรรมราชมาสอนให้ทำ
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1. เก็บกักน้ำไว้เพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุนของอ่างเก็บน้ำป่าพะยอม 2. สร้างพื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณฝายในพื้นที่ด้านบนฝายและด้านล่างฝาย

  199. ชื่อนวัตกรรม : ยาเหลืองสูตรคุณยาย

    โครงการ : ยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1.นำความรู้จากภูมิปัญญาเรื่องยาเหลือง มาถ่ายทอด โดยนางเคลื่อม ขวัญทอง และอาจารย์ณรงค์ เนาว์สุวรรณ เป็นผู้ถ่ายทอด 2.ครูภูมิปัญญา สาธิตวิธีการทำยาเหลืองให้กับชุมชน และกลุ่มคนที่สนใจ 3.ครูภูมิปัญญา ยินดีมอบสูตรในการทำยาเหลือง ไว้ให้กับบ้านก่าโห่ใต้ 4.ทำยาเหลือง และมอบให้ทุกบ้านนำไปใช้ จนกลายเป็นยาสามัญประจำบ้าน แก้ปวดเมื่อย และรักษาแผลถลอก
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญา 2.นำไปใช้ในการดูแลสุขภาพ 3.ลดค่าใช้จ่ายครัวเรือน

  200. ชื่อนวัตกรรม : ทีมเยี่ยมบ้านเยาวชน

    โครงการ : เยาวชนคนแป-ระใต้สามัคคี ทำดีเพื่อชุมชน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : อบรมแกนนำทีมเยี่ยมบ้านให้มีความรู้ ทักษะในการเป็นที่ปรึกษา ให้กำลังใจแก่เยาวชนและครอบครัว จัดทำแผนการเยี่ยม ทำแนวคำถามเพื่อเป็นเครื่องมือในการเยี่ยมและประเมินผล
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ทีมมีความรู้ ทักษะในการเยี่ยม สามารถปฏิบัติได้

  201. ชื่อนวัตกรรม : ตะแกรงคัดแยกขยะในชุมชน

    โครงการ : เยาวชนนาโต๊ะขุน คนรุ่นใหม่ ใส่ใจจัดการขยะ (ต่อเนื่อง ปี 2)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ทำตะแกรงขนาด 1.5 x 4.5 x 1.5 เมตร จำนวน 3 ชิ้น วาง3 จุดในชุมชนที่มีขยะจำนวนมาก
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ชาวบ้าน เยาวชนให้ความร่วมมือในการคัดแยกลงตะแกรง ทำให้ขยะในจุดที่วางลดลง

  202. ชื่อนวัตกรรม : ใบโกงกางทอดกรอบ

    โครงการ : เยาวชนบางกล้วยนอกนักจัดการทรัพยากรธรรมชาติบนฐานทรัพยากร 3 วงล้อ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : - การนำภูมิปัญญามาต่อยอด มาสร้างการเรียนรู้ให้กับเยาวชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - เยาวชนเกิดการเรียนรู้ และมีแผนการนำภูมิปัญญอื่นๆ มาใช้ในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เยาวชน และคนในชุมชนด้วย

  203. ชื่อนวัตกรรม : นักเอกซเรย์ตัวจิ๋ว

    โครงการ : เยาวชนวัยใส ใส่ใจ ป้องกันภัยยาเสพติดบ้านหูเล่ (ต่อเนื่อง)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ให้เด็กและเยาวชนเป็นคนสำรวจข้อมูลบ้านและสภาพแวดล้อมของชุมชน โดยใช้แบบสำรวจและนำข้อมูลต่างๆ มาลงในแผนที่ จนได้แผนที่ที่เรียกว่าแผนที่เดินดิน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : แผนที่เดินดิน มีประโยชน์คือได้ทราบข้อมูลของบ้านและสภาพแวดล้อมของชุมชน และนำข้อมูลในแผนที่มาแก้ปัญหายาเสพติดได้ในระดับหนึ่ง เช่น 1.การจัดการกับสภาพแวดล้อมของชุมชนให้เอื้อต่อการป้องกันไม่ให้เยาวชนไปมั่วสุ่มยาเสพติด เช่นร้านเกมส์ ขหนำร้าง พืชกระท่อมที่ปลูกในหมู่บ้าน 2.การนำภูมิปัญญาในท้องถิ่น มากำหนดเป็นกิจกรรมให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ร่วมกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน และสอดแทรกเนื้อหายาเสพติด เช่น เรียนรู้การทำด้ามพร้า เรียนรู้การทำขนม เรียนรู้การนวดแผนโบราณ เรียนรู้การทำชากฤษณา

  204. ชื่อนวัตกรรม : เวปเพจ ชื่อ รวมใจสานสัมพันธ์ บ้านกุบังจามังเหนือ จ.สตูล

    โครงการ : รวมใจ สานสัมพันธ์ บ้านกุบังจามังเหนือ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : - จัดอบรมเยาวชนให้รู้จักวิธีการสร้างเวปเพจ ของเฟสบุ้ค การถ่ายรูป การเขียนบรรยายให้น่าสนใจ
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - เยาวชนมีพื้นที่ในการเผยแพร่กิจกรรมการแสดงออกมนทางที่สร้างสรรค์ - มีพื้นที่บนโซเชียล เนตเวิร์คในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการ

  205. ชื่อนวัตกรรม : ...ผลิตภัณฑ์จักรสานจากเตยปาหนัน เช่น ซองโทรศัพท์มือถือ พวงกุญแจ และโมบาย

    โครงการ : ร่วมด้วยช่วยกัน สานฝัน พัฒนาบ้านเรา
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : - เยาวชนเรียนรู้ขั้นตอนการผลิตเสื่อจากเตยปาหนัน แล้วนำความรู้ที่ได้มาผลิตเป็นสิ่งประดิษฐ์อื่นที่สามารถใช้ประโยชน์และจำหน่ายได้
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - จำหน่ายเป็นของที่ระลึกของหมู่บ้าน

  206. ชื่อนวัตกรรม : ตลาดลาดชุมชนใต้เลียบ

    โครงการ : ร่วมมือร่วมใจสร้างระบบอาหารปลอดภัยบ้านหนองเพ็ง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : แหล่งซื้อขายอาหารปลอดภัยของชุมชนบ้านหนองเพ็ง ที่ดำเนินการโดยชุมชน สภาผู้นำ เทศบาล รพสต. ให้การสนับสนุนด้านความรู้และงบประมาณปรับปรุงสภาพแวดล้อม
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ - เป็นแหล่งอาหารปลอดภัยของชุมชน

  207. ชื่อนวัตกรรม : ...1.จักรยานสานฝัน (ทุกวันอาทิตย์)

    โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนนากวดน่าอยู่ ด้วยกิจกรรมโครงการสืบชะตาคลองนาท่อม
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เด็ก/เยาวชน/ผู้นำแกนนำ/อสม. ประมาณ50-100คน ร่วมกันขี่จักรยานตามเส้นทางในตำบล เพื่อรณรงค์การจัดการขยะของหมู่บ้านนากวด แวะชมสถานที่สำคัญในตำบลเพื่อให้ผู้ใหญ่สอนเด็กเรียนรู้สถานที่สำคัญ แวะเยี่ยมบุคคลสำคัญ สำรวจและทำแผนที่ขยะในตำบล เก็บขยะในที่สาธารณะ (คณะทำงานจะออกแบบกิจกรรมให้ทำรายสัปดาห์)
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : -ขยายผลจากกิจกรรมระดับหมู่บ้านเป็นกิจกรรมระดับตำบล -เป็นกิจกรรมที่ครอบครัวได้ร่วมกิจกรรมกันทุกวันอาทิตย์ -เป็นกิจกรรมทางเลือกที่เด็กและเยาวชนได้เข้ามามีส่วนร่วมและมีส่วนในการกำหนดกิจกรรม เด็กสนุก -ได้ออกกำลังกาย -เป็นการรณรงค์กระตุ้นคนในชุมชนและตำบลในการเข้าร่วมในกิจกรมเพื่อส่วนรวม ซึ่งไปไกลจากเรื่องขยะ -เป็นฐานในการรวมคนซึ่งจะนำไปสู่การร่วมกันแก้ไขปัญหาอื่นๆของชุมชน -การแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรมผ่านรายการวิทยุ สวท.พัทลุง รายการหนูนุ้ยคุ้ยข่าวทุกวันอาทิตย์ส่งผลต่อพื้นที่อื่นในพัทลุงซึ่งสนใจและเริ่มมีการทำกิจกรรมขี่จักรยานตามแบบของนากวด

  208. ชื่อนวัตกรรม : แปลงปลูกข้าวไร่ปลอดสารพิษ

    โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น ปี2
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : จัดพื้นที่สาธารณะจำนว 3 ไร่เศษให้เป็นแปลงปลูกข้าวไร่ปลอดสาร โดยการนำครัวเรือนที่สมัครเข้ากิจกรรมครัวเรือนอุ่นรักปลูกร่วมกัน และร่วมกันดูแลเพื่อให้ได้ผลผลิตข้าวที่มีคุณภาพดี
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ผลผลิตของข้าวครั้งนี้ใช้เป็นเมล็ดพันธ์ุเพื่อแจกจ่ายให้สมาชิกนำไปปลูกในพื้นที่ของตนเองต่อไป และส่วนที่เหลือจะนำไปขายเพือเป็นต้นทุนในการจัดการต่อไป

  209. ชื่อนวัตกรรม : ลูกประคบ

    โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : มีการนำสมุนไพรชื่อว่านเอ็นเหลืองมาหั่นตากแห้งแล้วนำห่อรวมกับผิวมะกรูด ใบหนาด ขมิ้นชัน กระชาย การบูร พิมเสน เกลือ ใบสมป่อย ใบมะขาม และหัวไพร ในจำนวนที่เหมาะสม (ชั่งตามคู่มือ)ห่อด้วยผ้าดิบ ใช้เชือกผูกให้แข็งแรง พร้อมใช้ต่อไป
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ใช้แก้โรคขยายหลอดเลือด เส้นเอ็น ปรับอุณหภูมิในร่างกายให้สมดุล แก้คัน และทำให้หายใจสะดวก ร่างกายสดชื่น

  210. ชื่อนวัตกรรม : หลักสูตรการเรียนรู้วิถีชีวิตมุสลิม

    โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ โครงการ เยาวชนคนสร้างสุข
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เป็นความร่วมมือของคนในชุมชนที่ต้องการให้มีหลักสูตรสำหรับเยาวชนในพื้นที่ในการเรียนรู้วิถีชีวิตมุสลิม ที่ถูกตอ้ง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : นำไปใช้ในการเรียนการสอนฟัสดูอีนในวันหยุดของเยาวชน

  211. ชื่อนวัตกรรม : ธนาคารขยะ

    โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึก จัดการขยะชุมชน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรู้ในการจัดการขยะ และมีการรวมตัวกันเพื่อจัดทำธนาคารขยะชุมชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ทำให้ชุมชนมีความสามัคคีเห็นปัญหาของส่วนร่วมและร่วมมือกันจัดการขยะ เกิดการเพิ่มมูลค่าให้กับชุมชนและลดการเกิดแหล่งโรคสำคัญ เช่น ไข้เลือดออกได้อีกด้วย

  212. ชื่อนวัตกรรม : ชุดข้อมูลขยะบ้านหัวหิน

    โครงการ : ร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านหัวหินปลอดขยะ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ชุมชนได้มีการคิดจัดทำฐานข้อมูลขยะในชุมชน โดยนำเยาวชนในพื้นที่มาให้ความรู้ในการจัดเก็บข้อมูลและสำรวจข้อมูลขยะในชุมชนตลอดจนคืนข้อมูลให้ชุมชนรับทราบเพื่อร่วมกันจัดการขยะในชุมชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : นำข้อมูลไปใช้วางแผนการจัดทำกระบวนการจัดการขยะในชุมชน

  213. ชื่อนวัตกรรม : น้ำสมุนไพรสกัดลดสารเคมี

    โครงการ : ร่วมสร้างผลไม้อินทรีย์จากสวนสมรมบ้านห้วยพาน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ใช้สมุนไพรพื้นบ้านหาได้บนเขาเหลี้ยม เขานางหงส์ มาทำเป็นน้ำสมุนไพรสกัด ใช้ฉีดพ่นพืชผักเพื่อไล่แมลง แทนการใช้ยาฆ่าแมลง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : นำน้ำสมุนไพรมาสกัดเป็นสารไล่แมลง ใช้แล้วปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค

  214. ชื่อนวัตกรรม : หมู่บ้านเปลี่ยนพฤติกรรม

    โครงการ : ร่วมสร้างแผนชุมชนบ้านยางงามสู่ความพอเพียง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : สภาแกนนำร่วมกับ รพสต นาท่อม จัดกิจกรรมรณรงค์ การกิน การออกกำลังกาย ลดอาหารประเภท หวาน มัน เค็ม และนำเสนอผ่านแกนนำต่อ สาธารณะสุขจังหวัด
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : การดูแลสุขภาพของประชาชนทั่วไป ผู้สูงอายุ โดยมีวินัยในการการคัดกรอง เติมยาเป็นประจำ เอาใจใส่ต่อการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ่นกว่าเดิม

  215. ชื่อนวัตกรรม : สวนภูมิปัญญาบางไทร

    โครงการ : ร่วมอนุรักษ์คลองบางไทร ล้อมรั้วด้วยใจ ถักทอสวนสายใยด้วยภูมิปัญญา นำพาสุขภาวะชุมชน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การรื้อฟื้นประเพณีลงแขกรวมพลังกันในชุมชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : สวนภูมิปัญญาบ้านบางไทร ที่เป็นทั้งศูนย์เรียนรู้ ภูมิปัญญา พื้นบ้านและจุดประสานงานโครงการ เพื่อชุมชน ซึ่งเกิดจากความร่วมมือร่วมใจ การเสียสละ เช่น ที่ดินในการใช้สถานที่ แรงกาย แรงคิด จากช่างไม้ ลูกมือจากหนุ่มๆในหมู่บ้าน ฝีมือในการเสกสรรค์ทำป้ายของผู้ใหญ่มีชัย ดีถนอม การทำบอกเวียน และรวบรวมเครื่องมือจักรสาน ที่เคยใช้ทำมาหากิน ในอดีต ไม้จัดเก็บตกแต่ง ศาลาภูมิปัญญา โดยมี อ.สุวิทย์ สุขศรีนวล เป็นผู้รวบรวมด้านข้อมูลประกอบ

  216. ชื่อนวัตกรรม : ปะการังเทียม

    โครงการ : ร่วมอนุรักษ์ปากน้ำกะแดะให้ชุมชนน่าอยู่
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : - มีการใช้ท่อปูนซีเมนต์มาทำเป็นปะการังเทียม สร้างบ้านปูบ้านปลา สร้างพื้นที่อนุรักษ์
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - เป็นการสร้างแบบกึ่งถาวร ทำให้มีอายุในการทำงานนานขึ้น ไม่ไหลไปตามกระแสน้ำ

  217. ชื่อนวัตกรรม : เพลงริมเล

    โครงการ : รองแง็งเยาวชน ต่อลมหายใจป่าชายเลน บ้านท่าน้ำเค็มใต้
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เพลงที่แต่งเพื่อสื่อสารการอนุรักษ์ป่าชายเลน โดยใช้ทำนองเพลงรองเง็ง แต่งขึ้นเองโดยกิจกรรมโครงการ มีการอัดคลิป upload youtube
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - เยาวชนที่ร้องเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง - ชุมชนรู้สึกรักหวงแหนในถิ่นเกิดที่มีผลงานนี้ออกมา - นำไปใช้สื่อสารเพื่อการอนุรักษ์ที่เข้าถึงง่าย จดจำง่าย เกิดแรงบันดาลใจให้อนุรักษ์ป่าชายเลน

  218. ชื่อนวัตกรรม : ...เขตอนุรักษ์พันธ์พืชน้ำพืชริมคลอง และเขตสงวนพันธ์สัตว์น้ำท่าประดู่ทอง

    โครงการ : รักษ์นาต้องรักษ์คลอง ชวนน้องมาช่วยทำ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับคนในชุมชนโดยการศึกษาข้อมูลระบบนิเวศของคลองเปรียบเีทียบระหว่างในอดีตและปัจจุบันเพื่อให้เกิดจิตสำนึกในการเห็นคุณค่าของระบบนิเวศของคลอง และร่วมกันกำหนดกฏกติกาในการร่วมกันดูแลและรักษาเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : การประกาศเขตสงวนพันธุ์สัตว์น้ำเป็นป้ายทำด้วยเหล็ก ขนาด 120 X 120 เมตร มีตัวหนังสือ ประกาศเขตสงวนพันธุ์สัตว์น้ำท่าประดู่ ห้ามทำการประมง และจับสัตว์น้ำ อาณาเขตมีดังนี้ ทิศเหนือ จด แนวตลิ่ง ทิศตะวันออก เลยสะพาน 20 เมตร ทิศใต้ จด หมู่ 7 ต. ชัยบุรี ทิศตะวันตก จดแนวตลิ่ง ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษ ยึดอุปกรณ์ทำการประมง ปรับ 5,000 บาท โดยอาสาสมัครได้นำมาปักไว้บริเวณเขตสงวนพันธุ์สัตว์น้ำริมถนนใกล้กับหัวสะพาน มองเห็นได้ชัดเจนสามารถจัดตั้งและจัดทำเขตอนุรกษ์พันธุ์พืชพื้นเมืองและพันธุ์สัตว์น้ำได้ตามที่กำหนดไว้จัดตั้งเขตอนุรักษ์พันธุ์พืชน้ำพืชริมคลอง พันธุ์สัตว์ป่าริมคลองและพันธุ์สัตว์น้ำโดย 1.การจัดหาพันธุ์และปลูกพืชริมน้ำและในน้ำ 5 ชนิดได้แก่ต้นคล้าย ต้นสาคู ต้นหว้า ต้นมะเดื่อ และบัวแดง 2.จัดหาและอนุบาลพันธุ์สัตว์น้ำ 3 ชนิด ได้แก่ ปลาจะระเม็ดน้ำจืด ปลาตะเพียนและปลานิลคณะทำงานได้นำทุ่นมาลอยไว้เป็นระยะเป็นที่มองเห็นอย่างชัดเจน ในการกำหนดเขตเป็นการร่วมมือกันทั้งสองฝั่งคลอง ทั้ง 2 หมู่บ้าน

  219. ชื่อนวัตกรรม : ร้านค้าคุณธรรม

    โครงการ : ร้านค้าคุณธรรมนำวิถีเดิมลดสารเคมีบ้านปากลง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ชาวบ้านร่วมมือกันทำ และให้ความหมายคำว่า "คุณธรรม" คือผู้ผลิตมีคุณธรรมโดยไม่ใช้สารเคมี" ขยายผลให้เกิดพื้นที่ปลอดสารเคมีในอนาคต
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ใช้ความร่วมมือร่วมใจและร่วมรับผลประโยชน์ เป็นกลยุทธ์การสร้างเสริมสุขภาพ

  220. ชื่อนวัตกรรม : เนินดินสุขภาวะประสานภูมิปัญญานำพาเยาวชนมาร่วมเป็นเจ้าของ

    โครงการ : ริมบาทวิถีสองฝั่งนทีเพื่อชีวีลูกเกาะเสือ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เยาวชนและประชาชนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดและร่วมออกแบบการทำเนินดินสุขภาพและร่วมดูแล
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เกิดความเข้าใจและยอมรับความแตกต่างระหว่างวัย ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข มีพื้นที่สุขภาวะ

  221. ชื่อนวัตกรรม : กล่องเอนกประสงค์จากโฟม

    โครงการ : รูปแบบการจัดการตลาดเทศวิวัฒน์ 1 เพื่อสุขภาวะของชุมชน (ต่อเนื่อง)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การนำขยะกล่องโฟมมาประดิษฐ์เป็นกล่องเอนกประสงค์บรรจุสิ่งของและทำเก้าอี้โดย1.นำกล่องโพมมาทำความสะอาด 2.นำกระดาษเหลือใช้ปะปิดกล่องโฟม3.ทาสี วาดรูป ติดรูปภาพสวยๆ 4.เคลือบด้วยวานิชเพื่อความสวยงามและทนทาน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.บรรจุสิ่งของ 2.ประดิษฐ์เป็นเก้าอี้

  222. ชื่อนวัตกรรม : การจัดทำข้อมูลหมู่บ้านด้วยระบบGIS ในโปรแกรมQuatum

    โครงการ : รู้เร็ว รู้ไว จัดการภัยพิบัติ บ้านปลายทับใหม่
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เป็นการจัดเก็บข้อมูลหมู่บ้านด้วยการใช้เทคโนโลยี ทำให้เห็นภาพของหมู่บ้านได้อย่างเป็นปัจจุบัน real time
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : สามารถทราบข้อมูลในหมู่บ้านเมื่อเกิดวาตภัยทำให้การเข้าช่วยเหลือเป็นไปอย่างทันท่วงที

  223. ชื่อนวัตกรรม : ...รกหมูหมักชีวภาพ

    โครงการ : เรียนรู้อยู่ได้ห่างไกลโรคอ้วน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : นำรกหมู เศษอาหาร กระเทียม ใบยอดกระเทียม ยาสูบ นำหมัก 15 วัน นำไปใช้รดต้นไม้
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.เป็นการใช้เกษตรวิถีในการกำจัดแมลง ได้แก่ยาสูบป้องกันไม่ให้หนอนกิน หรือกระเทียมป้องกันการกินรากของแมลง ต้นไม้ได้โปรตีนได้จากรกหมูและการใช้ ยาสูบเพื่อใช้ฆ่าแมลง 2.เป็นการอนุรักษ์ ฟื้นฟู บำรุงดิน 3.ประหยัด ทำง่าย ไม่ต้องพึ่งสารเคมี

  224. ชื่อนวัตกรรม : โรงเรียนร้างสร้างชีวิต

    โครงการ : โรงเรียนร้างสร้างชีวิต
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เกิดการมีส่วนร่วมของทุกคน พัฒนาโรงเรียนร้างมาเป็นศูนย์เรียนรู้ จากของเดิมเป็นโรงเรียนรกร้างมาก มีปลวกขึ้น แต่ตอนนี้กลายเป็นศูนย์เรียนรู้ มีแปลงผัก มีการใช้ประโยชน์ในอาคาร ใช้เป็นที่ประชุม มีแผนงานพัฒนาให้โรงเรียนเป็นศูนย์รวมของหมู่บ้าน พัฒนาพื้นที่เพื่อเป็นตัวอย่างเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : พัฒนาพื้นที่เพื่อเป็นตัวอย่างเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง หน่วยงานมาร่วมมากขึ้น ได้แก่ เกษตรตำบล เกษตรอำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบล พัฒนาชุมชน การศึกษานอกโรงเรียน มาร่วมกิจกรรมแล้วเห็นว่าดี จึงเสนอแนวทางการพัฒนาต่อเป็นตลาดชุมชน ในเดือนหน้าจะมีหัวหน้าส่วนราชการทุกหน่วยงานในอำเภอ มาประชุมร่วมกันที่โรงเรียนแห่งนี้ เพื่อหาแนวทางพัฒนาให้เป็นพื้นที่สาธารณะ ให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ เป็นพื้นที่เป็นตัวอย่าง เป็นแปลงสาธิต ให้เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับหมู่บ้านอื่นๆ

  225. ชื่อนวัตกรรม : โรงเรียนร้างสร้างสุข

    โครงการ : โรงเรียนร้างสร้างชีวิตบ้านทุ่งหนองควาย (ต่อยอดปี 2)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ชาวบ้านรวมตัวกันทำจุดเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและในครัวเรือน ใช้โรงเรียนร้างเป็นจุดเริ่มต้น ขยายผลสู่ครัวเรือน ใช้ผังครัวเรือนเป็นเครื่องช่วยเรียนรู้
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เป็นตัวอย่างของการพัฒนาองค์ความรู้ของชุมชน จากภูมิปัญญาท้องถิ่น

  226. ชื่อนวัตกรรม : ยาแก้โรคผิวหนัง

    โครงการ : โรงเรียนสร้างสุข สู้เศรษฐกิจ คืนวิถึชีวิตบ้านท้องลาน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : กลุุ่มที่เลี้ยงวัวเมื่อก่อนวัวเป็นโรคผิวหนังจะซื้อยาจากในตลาดมาให้กิน หรือใช้ทิงเจอร์ไอโอดีนทา จะไม่ค่อยได้ผล แต่ลองเอาน้ำมันเครื่องเก่ามาผสมกับการบูร์ กำมะถันจะทำให้หายได้เร็วกว่าและไม่มีแผล
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : สามารถทำใช้เองได้

  227. ชื่อนวัตกรรม : ชุดมโนราห์จากขยะ

    โครงการ : ลดขยะ สร้างสุขภาวะคนบ้านกลาง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : - มีครูภูมิปัญญาด้านการรำมโนราห์ มีการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยแอโรบิก และมีครูภูมิปัญญาด้านการแปรรูปขยะ จึงนำทุกอย่างมาผสมผสานกัน ถ่ายทอดให้กลุ่มออกกำลังกายนำไปใช้ในการแสดง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - สามารถสร้างชื่อเสียงในการนำขยะมาแปรรูป ให้คนเห็นคุณค่าของขยะ และลดต้นทุนการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชน

  228. ชื่อนวัตกรรม : อาชีพเสริมการเลี้ยงผึ้งโพรง

    โครงการ : ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้คนสำนักกอ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ผึ้งโพรงเลี้ยงง่ายไม่ต้องลงทุนมาก เพียงใส่ใจไม่มีศัตรูรบกวน ก็จะได้น้ำผึ้งเก็บขายในราคาขวดละ 500 บาท ประกอบกับชุมชนมีสวนปาล์ม สวนผลไม้ใกล้บ้านอยุ่แล้ว โครงการนี้จึงจัดอบรมส่งเสริมความรู้ พาไปดูงานเพื่อความมั่นใจ สนับสนุนวัสดุให้เพื่อการเริ่มต้น
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เกิดอาชีพเสริมใหม่ด้วยการเลี้ยงผึ้งโพรง มีรายได้เสริมและยังช่วยผสมเกษรให้ต้นปาล์มอีกด้วย

  229. ชื่อนวัตกรรม : ศูนย์การเรียนรู้ทางวัฒนธรรม (พิพิธภัณฑ์) ตั้งอยู่ในวัดมาตุคุณาราม

    โครงการ : วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ๑. เกิดการร่วมบริจาค สิ่งทางวัฒนธรรมของชุมชน มาไว้รวม จนเกิดเป็นพิพิธภัณฑ์ของชุมชนชัดเจน ๒. พิพิธภัณฑ์ดังกล่าวอยู่ภายในวัด และเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน (เป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรม)
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ๑. ศึกษาดูงานแก่ผู้ที่สนใจและคนรุ่นหลัง ๒. เป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของชุมชน

  230. ชื่อนวัตกรรม : มโนราห์สร้างสุข

    โครงการ : วัฒนธรรมนำสุขคนกงตาก
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : - การสืบสาวเรื่องราวชุมชนทำให้พบของดี คนดีที่มีภูมิปัญญา และมีการนำมาต่อยอด ถ่ายทอดให้กับเยาวชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - เยาวชนมีโอกาสได้แสดงในงานวันเด็กที่ทางเทศบาลจัด และมีการฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะแสดงในงานสำคัญของชุมชนต่อไป

  231. ชื่อนวัตกรรม : 1.สังฆทานดิน

    โครงการ : วัด ชุมชน ร่วมจัดการทุนที่บ้านทองพูน (ต่อยอดปี 2)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1.จิตอาสาและเครือข่ายมีการเรียนรุ้เรื่องการทำปุ่๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ โดยใช้วัดทองพูนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา 2.มีการปุ่ยหมักร่วมกัน โดยจัดทำเป็นโรงปุ๋ยหมักที่วัดทองพูน 3.ปุ๋ยที่แพคเป็นกระสอบ และจัดจำหน่ายให้กับประชาชนที่มาทำบุญที่วัด โดยทำบุญปุ๋ยและนำไปใส่ต้นไม้ เรียกว่า สังฆทานดิน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.ประชาชนที่มาทำบุญที่วัด ไม่จำเป็นต้องซื้อชุดสังฆทานที่ไม่มีประโยชน์หรือใช้การไม่ได้ 2.สังฆทานดิน เป็นการใส่ปุ่ยให้กับต้นไม้ที่วัด 3.เป็นการส่งเสริมเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติ 4.เป็นการกระตุ้นให้เกิดกระบวนการหวงแหนธรรมชาติ

  232. ชื่อนวัตกรรม : การใช้ยางยืดในการออกกำลังกายของสตรีมุสลิม

    โครงการ : ศรีท่าน้ำสุขภาวะดี วิถีพอเพียง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การรณรงค์ให้สตรีมุสลิมซึ่งมีปัญหาด้านสุขภาพโดยสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการไม่ได้มีการออกกำลังกายที่เหมาะสม เนื่องจากประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ทำให้สตรีมุสลิมสามารถใช้ยางยืด ออกกำลังกายลดการเจ็บป่วย และสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และใช้พื้นที่น้อย

  233. ชื่อนวัตกรรม : การผลิตเมล็ดพันธุ์ของข้าวชุมชน

    โครงการ : ศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม (ต่อเนื่อง)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ชุมชนผลิตพันธ์ุข้าวที่นิยมปลูก(ข้าวเล็บนก) และพันธ์ุข้าวราคาแพง(ข้าวไรซ์เบอรี่) โดยได้รับการพัฒฯาความรู้จากนักวิชาการเกษตร และนักวิชาการจากศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ได้เมล็ดพันธ์ุข้าวที่ผลิตตามหลักวิชาการ

  234. ชื่อนวัตกรรม : สภาชูรอบ้านน้ำเค็ม

    โครงการ : ศูนย์เรียนรู้วิถีอิสลามยั่งยืนบ้านน้ำเค็ม (ชุมชนเรียนรู้ ชุมชนเข้มแข็ง)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : กลุ่มคนที่อาสาสมัครและคัดเลือกมาเป็นกลุ่มเพื่อขับเคลื่อนชุมชน ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ สร้างข้อตกลง มีผู้นำที่ได้รับการยอมรับ และการดำเนินงานสอดคล้องกับบริบทพื้นที่
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : สามารถขับเคลื่อนชุมชนและเป็นที่ยอมรับ

  235. ชื่อนวัตกรรม : แผนการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดิน

    โครงการ : เศรษฐกิจพอเพียง เลี้ยงชุมชน คนปาล์มทอง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การร่วมมือการทำแผนที่โดยแกนนำเยาวชนและผู้นำชุมชน เริ่มจากประชุมวงเล็กๆและการเก็บข้อมูลของเยาวชนทำให้เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับในชุมชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ใช้แก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างบ้านในเรื่องที่ดินทำกินโดยไม่เป็นทางการ

  236. ชื่อนวัตกรรม : การจัดทำบัญชีครัวเรือน

    โครงการ : ส่งเสริมการเรียนรู้เยาวชน ตามหลักวิถีเศรษฐกิจพอเพียง บ้านไสยง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เกิดการสำรวจข้อมูลชุมชนและนำมาวิเคราะห์และคืนข้อมูลให้แก่ชุมชน เกิดครัวเรือนที่สมัครใจจัดทำบัญชีครัวเรือนทั้งหมด 217 หลังคาเรือน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ มองเห็นรายรับ รายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงทั้งที่จำเป็นและสูญเปล่า สามารถอุดช่องโหว่ของรายจ่ายในครัวเรือนได้

  237. ชื่อนวัตกรรม : แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติของชุมชน...

    โครงการ : ส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าชายเลน ป่าชุมชน ลำคลอง และเพิ่มพันธุ์สัตว์น้ำ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ร่วมกันพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีอยู่ในหมู่บ้าน เช่น ลำคลอง ป่าชุมชน เป็นต้น โดยปราชญ์ชาวบ้านและเด็กเยาวชนในหมู่บ้าน ให้เกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน และร่วมสร้างกฎกติกาชุมชนในการอนุรักษ์แหล่งเที่ยวท่องที่ชาวบ้านช่วยการพัฒนาให้ยั่งยืน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น โดย นำนักท่องเที่ยวล่องแก่งและชมธรรมชาติ และขายสินค้าพื้นบ้านมากขึ้น

  238. ชื่อนวัตกรรม : ห้องสมุดมีชีวิต

    โครงการ : ส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าชุมชน ป่าชายเลน ลำคลองและเพิ่มพันธุ์สัตว์น้ำชุมชนบ้านท่าจูด
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เป็นศูนย์เรียนทางธรรมชาติ พัฒนาป่าชุมชนประมาณ ๘๐ ไร่ โดยการสำรวจและรวบรวมพันธ์ไม้ ทำป้ายต้นไม้ นำไปติดตามต้นไม้ตามทางเดินผ่าน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ

  239. ชื่อนวัตกรรม : สมุนไพรรักษาโรค

    โครงการ : ส่งเสริมพัฒนาอาชีพบ้านหินเภาพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง (ต่อเนื่อง)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : นำใบหญ้าหวานที่ปลูกไว้ในครัวเรือนต้นแบบผสมกับใบเตยหอม หั่นแล้วนำไปอบแห้ง นำไปชงเป็นน้ำชาดื่มได้
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ช่วยในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานและช่วยบำรุงหัวใจ

  240. ชื่อนวัตกรรม : ร้านค้าสวัสดิการชุมชน

    โครงการ : ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของชุมชนทรัพย์อนันต์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เป็นร้านค้าที่มีล้อเลื่อนสามารถเคลื่อนที่ได้จำนวน 2 ชุด
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ชุมชนได้ใช้เป็นสถานที่ขายพืชผักปลอดสารพิษ และผลผลิตอื่น ๆ ของชุมชน ที่มีสมาชิกร่วมกันรับผิดชอบ

  241. ชื่อนวัตกรรม : การมีส่วนร่วมของประชาชน

    โครงการ : ส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นไทยสร้างสายใยชุมชน ปี 2
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การปรับระบบคิดของประชาชนเน้นการมีส่วนในการระดมความคิดเห็น การยอมความคิดเห็นของผู้อื่น การเปิดโอกาสในการรับคิดเห็นของทุกภาคส่วนในชุมชน การจัดการแก้ปัญหาของชุมชนโดยชุมชนมีส่วนร่วม
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ประชาชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลที่เป็นจริงและสอดคล้องต้องของประชาชนในพื้นเพื่อทำจัดทำแผนุมชน

  242. ชื่อนวัตกรรม : ธนาคารขยะ

    โครงการ : สภาพแวดล้อมดีชีวีมีสุขที่บ้านนาโครงช้าง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เป็นการรวมกลุ่มของนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านคุริงที่เป็นรูปธรรมที่มีการแต่งตั้งประธาน และฝ่ายต่างๆ อีก 3 ฝ่าย ประกอบด้วยฝ่ายจัดซื้อ.ฝ่ายคัดแยก/จัดเก็บฝ่ายทำบัญชี และคุณครูผู้ให้คำเเนะนำ มีสถานที่ตั้งไว้ในโรงเรียนและกำหนดระเบียบของธนาคาร
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : นักเรียนในโรงเรียนมีการคัดแยกขยะที่บ้านแล้วนำมาฝาก/ขาย/แลกคะแนนกับธนาคาร ถือเป็นชั่วโมงเรียนอย่างหนึ่งซึ่งมทุกวันศุกร์ของสัปดาห์

  243. ชื่อนวัตกรรม : ข้อมูลชุมชน

    โครงการ : สมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ ที่บ้านไร่เหนือ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1.ข้อมูลที่สำรวจ เป็นการคิดข้อคำถามร่วมกันจากชุมชน และออกแบบโดยคนในชุมชน ว่าต้องการข้อมูลอะไร อยากได้ข้อมูลอะไร หรือต้องการทราบสถานการณ์ปัญหาอะไร 2.ข้อมูล สำรวจโดยคนในชุมชนที่สมัครใจ
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.เป็นข้อคำถามที่คิดจากชุมชน โดยคนในชุมชน 2.ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลจริงของคนในชุมชน 3.เป็นฐานข้อมูลชุมชนและนำมาใช้พัฒนาชุมชน

  244. ชื่อนวัตกรรม : ...น้ำหมักลูกยอล้างจาน

    โครงการ : สร้างกระบวนการเรียนรู้สู่ชีวิตที่ปลอดโรค
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : นำลูกยอสุกมาหมัก โดยหมักกับน้ำตาลทรายแดง เป็นเวลา 6 เดือนปิดฝาไว้ เมื่อครบระยะเวลาก็นำมาล้างจาน ไม่ต้องผสมกับอะไร กลิ่นสะอาด ล้างจานได้หมดจด ไม่มีสารเคมีปนเปื้อน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.ลดการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน 2.เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการ 3.ลดรายจ่าย และนำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

  245. ชื่อนวัตกรรม : ...การใช้ละครหุ่นมือเป็นสื่อในการสร้างการเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะ

    โครงการ : สร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะเพื่อชุมชนม่วงทวนน่าอยู่
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ฝึกหัดนักเรียนในโรงเรียนบ้านม่วงทวนให้สามารถเล่นละครหุ่นมือ เรื่องเด็กรุ่นใหม่หัวใจรีไซเคิล และจัดแสดงในโรงเรียนเพื่อสร้างการเรียนรู้ในการคัดแยกขยะและ ปลูกจิตสำนึกในเรื่องการจัดการขยะ
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ใช้นวัตกรรมละครหุ่นมือในการสร้างความตระหนักสร้างความร้ในการคัดแยกขยะต่อเด็กในโรงเรียนบ้านม่วงทวนและต่อนในชุมชน

  246. ชื่อนวัตกรรม : ...การใช้ทุนเดิมคือกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านช่องฟืนมาเป็นแกนกลางในการบริหารจัดการโครงการจัดการขยะ

    โครงการ : สร้างการสุขภาวะชุมชนโดยการ"กวาดเกาะเพื่อให้ทะเลสะอาดที่บ้านช่องฟืน"
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : คุณลักษณะคือการใช้กลุ่มองค์กรที่เป็นศูนย์รวมของคนส่วนใหญ่ในชุมชนในที่นี้คือกลุ่มออมทรัพย์ฯซึ่งเป็นกลไกหลักในการบริหารจัดกรชุมชนมีทั้งผู้ใหญ่บ้าน สท.ตัวแทนองค์กรได้แก่กลุ่มแพปลาชุมชน กลุ่มจัดการทรัพยากรทางทะเล อสม.ตัวแทนทางศาสนา ครูโรงเรียนบ้านช่องฟืน ซึ่งคนกลุ่มนี้ได้เป็นแกนหลักในการบริหารชุมชนอยู่แล้วมาบริหารจัดการโครงการขยะฯซึ่งไม่ต้องจัดตั้งกลไกใหม่ให้ซ้ำซ้อน เพียงเพิ่มบทบาทภารกิจขึ้นใหม่ก็สามารถใช้กลไกนี้ทำงานเพิ่มขึ้นได้
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ไม่ต้องสร้างกลไกใหม่ขึ้นในชุมชน เพียงพัฒนาศักยภาพกลไกเดิมให้เข้าใจในแนวทางการดำเนินงานตามโครงการก็สามารถรับหน้าที่ใหม่ที่เพิ่มขึ้นได้

  247. ชื่อนวัตกรรม : สบู่ขมิ้น แชมพูมะกรูด

    โครงการ : สร้างคน สร้างชุมชนทองพูนตามรอยพ่อ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1.ครูภูมิปัญญาไ้ด้สอนให้ทำสบู่ขมิ้นไว้ใช้เองในครัวเรือน เป็นการนำสมุนไพรใกล้ตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ลดการนำสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย และขมิ้นบำรุงผิว 2.แชมพูมะกรูด เป็นการนำมะกรูดที่มีอยุ่ในครัวเรือน มาทำเป็นแชมพู ลดการใช้สารเคมี ทำให้ผมนุ่ม ดกดำ
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.ลดรายจ่ายในการซื้อสบู่ และยาสระผม 2.ลดการใช้สารเคมี 3.อนุรักษ์ส่ิงแวดล้อม

  248. ชื่อนวัตกรรม : ฝายมีชีวิต

    โครงการ : สร้างครัวคนห้วยยวนด้วยธนาคารริมคลอง (ต่อเนื่อง)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : กว้าง ุ6 ยาว 9 ทรายคิดเป็นงบประมาณ 200,000 บาทไปดูงานฝายมีชีวิตที่นครศรีธรรมราช และกลับมาประชุมหมู่บ้านเพื่อหารือและร่วมกันตัดสินใจว่าจะทำ และลงมือทำโดยมีทีมครูฝายจากนครศรีธรรมราชมาสอนให้ทำ
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1. เก็บกักน้ำไว้เพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุนของอ่างเก็บน้ำป่าพะยอม 2. สร้างพื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณฝายในพื้นที่ด้านบนฝายและด้านล่างฝาย

  249. ชื่อนวัตกรรม : การทำฝายแม้ว

    โครงการ : สร้างความมั่นคงทางอาหารบ้านทุ่งทวย
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การทำฝายแม้วเพื่อกั้นลำห้วย คลองย่อยในพื้นที่ ทำจากวัสดุที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น ประกอบด้วยโครงสร้างภายนอกจากไม้ปักเป็นสองแถวห่างกันประมาณ1 เมตร ถมด้วยกระสอบทรายสองข้างด้านริมทั้งด้านนอกและด้านใน แกนกลางถมด้วยก้อนหินเพื่อความมั่นคงแข็งแรง มีความยาวตามขนาดความกว้างของลำห้วยหรือคลอง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : กักเก็บน้ำไว้เพื่อสร้างความชุ่มชื้นแก่ดินบริเวณเหนือน้ำ/เป็นแหล่งปล่อยและอนุบาลพันธํ์สัตว์น้ำ/ เป็นแหล่งปลูกพืชริมน้ำ

  250. ชื่อนวัตกรรม : หมุนเวียนการฝังกลบขยะในตลาด

    โครงการ : สร้างคุณค่า พัฒนาแหล่งชุมชน จัดการขยะบ้านผังปาล์ม 1
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มแม่ค้า และประชาชนบ้านใกล้เคียงซึ่งได้รับผลกระทบการกลิ่น และสัตว์นำโรครอบๆตลาด รวมตัวกันและแสดงความคิดเห็นต่อาการจัดการ ยินดีให้มีการขุดหลุมขยะในพื้นที่บ้านตัวเองเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว และเมื่อหลุมขยะเต็มบ้านอื่นก็ยินดีให้ขุดแถวบ้านตัวเองเพื่นหมุนเวียน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ลดปัญหากลิ่นเหม็นจากขยะและแมลงสัตว์นำโรคในชุมชน

  251. ชื่อนวัตกรรม : ทรัพยากรในท้องถิ่นมาเป็นวัตถุดิบในการเกษตร ได้แก่ 1) การเลี้ยงปลา การเลี้ยงไก่ โดยใช้อาหารที่หาได้จากชุมชนตามธรรมชาติ 2) การทำปุ๋ยหมักใช้เองโดยใช้วัสดุที่มีในชุมชนเช่น ขี้วัว แกลบ ฟางข้าวและเศษผักที่ได้จากตลาดในชุมชนมาเป็นส่วนผสมของปุ๋ยหมัก 3) ใช้ไม้จากส

    โครงการ : สร้างงานสานรอยยิ้มบ้านบางไร่
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหมู่บ้าน เรียนรู้จากบ้านต้นแบบ และปราชญ์ชุมชน จากนั้นได้นำมาปฏิบติจนเกิดผล
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เป็นความรู้ของชุมชนได้ถ่ายทอดให้ลูกหลาน

  252. ชื่อนวัตกรรม : เครื่องผสมเชื้อเห็ดยุคไฮเทค

    โครงการ : สร้างสมบูรณ์สุขให้มีสุขภาพดีโดยการจัดการขยะ (ต่อเนื่อง2)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : แกนนำใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ในชุมชนมาปรับใช้เป็นเครื่องผสมเชื้อเห็ด เพื่อบรรจุในถุงเพาะเห็ด โดยการนำเครื่องผสมปูนที่ใช้ทำก่อสร้าง มาเคาะปูนที่แห้งเกรอะกรังออก ล้างจนสะอาดทิ้งไว้ให้แห้ง ก่อนนำเชื้อเห็ดและขุยมะพร้าวมาใส่ผสมลงไปในเครื่องโม่ และใช้การโม่ด้วยไฟฟ้า ประหยัดแรงงานและเวลา
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : การผสมเชื้อเห็ดด้วยวิธีการนี้ใช้เวลาเพียง 15-20 นาทีโดยใช้คนเพียง 1 คนในการควบคุมเวลา แต่ถ้าใช้ผสมด้วยคนกว่าจะเข้าที่ต้องใช้แรงคนเป็นจำนวนมาก(ุ5-10)ในการสลับกันผสมส่วนผสม และใช้เวลาถึง 50 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ซึ่งนานกว่า แต่ละครั้งในการบรรจุเชื้อเห็ดได้ 2000=3000 ถุง ต่อวัน

  253. ชื่อนวัตกรรม : การทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ น้ำหมัก สารไล่แมลง

    โครงการ : สร้างสุขคนบ้านปะโอ ชุมชนต้นแบบวิถีเกษตรอินทรีย์
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมัก สารไล่แมลง โดยคนชุมชน เพื่อเป็นทางเลือกให้กับคนในชุมชนในการทำเกษตรอินทรีย์ ลดใช้สารเคมี ลดต้นทุนในการทำเกษตร เนื่องจากในชุมชนมีเฉพาะร้านที่จำหน่ายสารเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ ทำให้คนในชุมชนมีการทำเกษตรเคมีมาตลอด ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ดินเสื่อม แหล่งน้ำ สัตว์น้ำ เกิดการทำลายทรัพยากรในระยะยาว ขาดความมั่นคงทางอาหารของคนในพื้นที่ หลังจากที่ได้มีการดำเนินโครงการให้คนในชุมชนได้เรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เช่น ราคาผลผลิตจำหน่ายได้ในราคาที่สูงขึ้น เช่น แตงโม ผักและข้าวความสัมพันธ์ของคนในชุมชนพบปะกันมากขึ้น มีการประชุม การแสดงความคิดเห็น การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ทำให้การทำเกษตรมีความปลอดภัย เกษตรกรลดใช้สารเคมี และมีรูปแบบในการผลิตแบบอินทรีย์

  254. ชื่อนวัตกรรม : ลานสุขภาพชุมชน

    โครงการ : สร้างสุขภาวะชุมชนคนเสม็ดเรียง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : - เกิดจากการประสานงานของใช้สิทธิบนพื้นที่ของเอกชนที่มีพื้นที่ว่างอยู่ในชุมชน จนได้พื้นที่ขนาด 168 ตารางวา มาจัดการปรับปรุงร่วมกับภาคีเครือข่ายโดยใช้การระดมทุน ระดมแรง ขอความอนุเคราะห์จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี คนในชุมชน เจ้าของร้านขายยางรถยนต์ จนเกิดเป็นลานสุขภาพที่สามารถเต้นแอโรบิก เปตอง แบตมินตัน ใช้เป็นพื้นที่กลางสำหรับผู้สูงอายุเดินออกกำลังกาย ให้ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพชุมชนตลาดดอนนกใช้ในการตรวจสุขภาพคัดกรองผู้ป่าวยแทนการตั้งเต้นท์บนถนน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - มีการใช้ประโยชน์จากลานสุขภาพของคนในชุมชนทุกวัย ทำให้เกิดกิจกรรมทางกายของคนในชุมชนเพิ่มขึ้น

  255. ชื่อนวัตกรรม : สวนผักคนเมือง

    โครงการ : สวนผักคนเมืองชุมชนพรหมมานนท์ (ต่อเนื่อง)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การปลูกผักในที่จำกัดปลูกริมถนน ข้างบ้าน หน้าบ้าน โดยใช้วสดุเหลือใช้มาเป็นภาชนะ
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ประชาชนในชุมชนเมืองได้ปลูกผักกินเอง ได้กินผกปลอดสารพิษ

  256. ชื่อนวัตกรรม : วิธีล้างผักภูมิปัญญาชาวบ้าน

    โครงการ : สองข้างทางสร้างรายได้ บ้านตีนคลอง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : คิดสูตรล้างผักแบบภูมิปัญยาชาวบ้าน คือใช้น้ำส้มสายชู ผงฟู
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : นำไปถ่ายทอดให้หมู่บ้านอื่นได้ เพื่อลดสารเคมีตกค้างในพืชผัก ผลไม้

  257. ชื่อนวัตกรรม : น้ำแร่สุขภาพ หมู่ที่ 8 บ้านศาลาไม้ไผ่

    โครงการ : สานมือ รวมพลังสร้างสุขภาพบ้านหลาไม้ไผ่
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ส่วนประกอบสำคัญของน้ำแร่สุขภาพ คือ ผัก ๒-๓ ชนิดผลไม้ ๑ ชนิด และนมถั่วเหลืองเราสามาถเลือกผักและผลไม้ได้หลากหลายชนิดตามที่เรานำมาประกอบอาหารในวันนั้นๆหรือผักที่มีข้างบ้านไม่จำเป็นต้องซื้อผักหรือผลไม้ราคาแพงเสมอไป ขั้นตอนการทำน้ำแร่สุขภาพ ๑.ต้องล้างผักและผลไม้ผ่านน้ำหลายๆครั้งหรือแช่เพื่อล้างสารพิษตกค้างในผักและผลไม้ ๒.นำมาหั่นให้เป็นชิ้นเล็กเพื่อปั่น ๓.นำไปปั่น ๔.นำน้ำที่ปั่นได้กรองด้วยผ้าที่สะอาดแยกกากออก ๕.ผสมนมถั่งเหลืองในน้ำที่ปั่นที่คั้นแล้ว ประมาณ๒๐๐ซีซี ๖.ได้น้ำแร่สุขภาพพร้อมดื่มทันที
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ปัจจุบันคนส่วนมากได้รับสารอาหารมากเกินความต้องการของร่างกายก่อให้เกิดความอ้วนหรืออ้วนลงพุงมีภาวะไขมันในเลือดสูง ก่อให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา เช่นโรคหัวใจและหลอดเลือดโรคความดันโลหิตสูงเบาหวานและมะเร็งเป็นต้นการกินผักและผลไม้เป็นประจำสามารถสามารลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวและลดระดับไขมันในเลือดได้ การที่จะทำให้เรากินผักให้เพิ่มขึ้นอย่างมีความสุข ไม่น่าเบื่อคือนำมาปั่นและคั้นน้ำดื่มเป็นประจำทุกวัน

  258. ชื่อนวัตกรรม : อวนหยุก

    โครงการ : สานสัมพันธ์คนสามวัยจัดการขยะชุมชน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : นำอวนที่ใช้งานไม่ได้แล้วมาดัดแปลงเป็นถุงเพื่อใสขยะแห้งในครัวเรือน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ใช้ใส่ขยะในครัวเรือน ไม่เหม็นอับเนื่องจากเป็นตาข่าย มีความโปร่ง

  259. ชื่อนวัตกรรม : ...ตำรับยาสมุนไพร

    โครงการ : สานสัมพันธ์คนสามวัยสืบสานตำรับสมุนไพรพื้นบ้าน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : จัดกิจกรรมถอดบทเรียน รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรพื้นบ้าน ได้ความรู้จากปราชญ์ชุมชน 5 คน บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตำรับยาสมุนไพร ได้มา 3 ชนิด ซึ่งเป็นสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนบ้านไกรไทย ดังนี้ 1.ตำรับยาประคบ 2.ตำรับยาบำรุงเลือด 3.ตำรับยาอายุวัฒนะ
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.เป็นการอนุรักษ์ หวงแหนสมุนไพรที่หายากในชุมชน 2.เป็นการสืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านไทย 3.เป็นการสร้างความตระหนักให้คนในชุมชนได้หันมารัก หวงแหนสมุนไพร 4.สร้างให้เกิดกระบวนการเรียนรู้เรื่องสมุนไพร 5.ลดการใช้สารเคมีและยาแผนปัจจุบัน

  260. ชื่อนวัตกรรม : ...กลองยาวเด็กสร้างสุข

    โครงการ : สามประสานร่วมพัฒนาองค์ความรู้นำสู่การแลกเปลี่ยนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เด็กได้ฝึกกลองยาวจากปราชญืชุมชน ได้รับการสนับนุนจากองค์กรและภาคีในชุมชนเป็นอย่างดี
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เกิดความสุขกับคนทุกกลุ่ม ทุกวัย ที่ได้เข้าร่วมการรำกลองยาวในงานประเพณี และในวันฝึกซ้อมของเด็ก

  261. ชื่อนวัตกรรม : กติการชุมชน

    โครงการ : สามพลัง ร่วมสร้างคนวัดพระขวางให้อบอุ่น
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : จากการมีงานประเพณีทำให้คณะกรรมการได้สังเกตคนที่เข้าวัดพบว่าบางคนโดยเฉพาะเยาวชนนุ่งขาสั้นใส่เสื้อเอวลอย ซึ่งเมื่อก้มลงจะทำให้ไม่น่าดู จึงคิดหาวิธีการที่จะให้มีการปฏิบัติให้เกิดวัฒนธรรมชุมชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ผู้สูงอายุและผู้หลักผู้ใหญ่ผู้ปกครองเห็นชอบแต่กลุ่มเยาวชนโอดครวญ หาว่ากลั่นแกล้งเด็ก

  262. ชื่อนวัตกรรม : พิธีลอยแพเจ้าเจ็บเจ้าไข้...

    โครงการ : สามวัยเพื่อสายน้ำท่าดี
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : นำพิธีกรรมที่หายไปจากหมู่บ้านมากกว่า 70 ปี มาฟื้นฟู โดยให้ชาวบ้านทุกกลุ่มวัยเข้าร่วมกิจกรรม ตั้งแต่ ค้นหา ความเป็นมาของพิธี นำพิธีมาเป็นสื่อเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน และความเจ็บไข้เคราะห์ร้ายมาเป็นสื่อเรื่องการอนุรักษ์ต้นน้ำ โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าแพนี้ไปติดที่หน้าหัวสวนใคร เจ้าของหัวสวนต้องมาคุ้ยทราย หรือตัดรากไม้ที่ขวางแพออกให้แพลอยไปได้อย่างสะดวก โดยห้ามใช้อุปกรณ์ใดๆมาเขี่ยหรือดันแพออกมิฉะนั้นจะทำให้เคราะห์ร้ายไม่ผ่านไป
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.ส่งเสริมความสามัคคี การมีส่วนร่วมของชุมชน 2.อนุรักษ์ต้นน้ำ คลอง 3.ความภาคภูมิใจและสำนึกรักในบ้านเกิดของตนเอง

  263. ชื่อนวัตกรรม : หมอนสร้างสุข

    โครงการ : สามวัยสานใจดูแลชุมชนสนามกีฬา
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : นำหลอดดูดมาประดิษฐ์เป็นหมอนสุขภาพโดยคนสามวัย มีการร่วมทำเป็นครอบครัวและเป็นกลุ่มอย่างต่อเนื่อง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ใช้หนุนเพื่อสุขภาพ

  264. ชื่อนวัตกรรม : 1.ถุงหลากสีมีประโยชน์

    โครงการ : สินสืบสุขร่วมใจทำบ้านน่าอยู่สิ่งแวดล้อมสะอาดปราศจากโรค
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : คณะทำงานลดรายจ่ายจากการซื้อถุงใส่ขยะแจกครัวเรือน จึงตกลงให้ใช้ถุงกรอบแกรบที่ได้เวลาซื้อของมาแยกสีเก็บขยะโดยกำหนดสีขาวเป็นขยะแห้ง สีดำ หรือเขียวเป็นขยะเปียก สีฟ้าเป็นขยะที่ขายได้ ส่วนสีแดงเป็นขยะอันตราย ซึ่งแต่ละครัวเรือนยอมรับและปฏิบัติได้ ส่วนถุงใหม่ๆถ้้าพับเรียบร้อยรวบวมส่งให้พี่อุ่นรับซื้อกก.ละ 5 บาท
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ลดขยะที่ทิ้งลงถัง ลดรายจ่ายในการซื้อถุงใส่ขยะของโครงการและครัวเรือน ประยุก นำขยะกลับมาใช้ใหม่ เอื้ออาทรกันมากขึ้นจากการส่งมอบถุง ยางเส้นมัดถุงให้แก่แม้ค้าในซอย

  265. ชื่อนวัตกรรม : ถนนสวยด้วยผัก

    โครงการ : สินสืบสุขร่วมใจสร้างชุมชนเข้มแข็ง (ต่อยอด)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : คนได้ประโยชน์ เทศบาลหนุนเสริม เพิ่มผลผลิตผักเพื่อสุขภาพ
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เพิมพื้นที่สีเขียวในชุมชน ลดภาวะโลกร้อน บรรยากาศสดชื่ีน คนร่วมกิจกรรมมีส่วนร่วม เป็นตัวอย่าซึ่งกัรนและกัน เกิดข้อตกลง การลงปลูกผัก การ ช่วยเหลือกัน การแบ่งปันผักกันกินในครัวเรือน

  266. ชื่อนวัตกรรม : ...แผนการลดน้ำหนักรายบุคคลที่อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักเกิน

    โครงการ : สุขภาพดีด้วยวิถีมุสลิม
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การตรวจวัดน้ำหนักกลุ่มบุคคลที่คาดว่ามีน้ำหนักเกินในชุมชนทุกครัวเรือนโดย อสม.จัดการสร้างความเข้าใจในผลกระทบโทษภัยของโรคอ้วน ชักชวนให้เข้าร่วมกระบวนการพิชิตไขมันโดยสมัครใจ จัดทำแผนการลดน้ำหนักรายบุคคล ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้อย่างเคร่งครัด ติดตามตรวจสอบผลทุกเดือน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : จากกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการในกลุ่มผู้ใหญ่ (อายุเกิน18 ปี)เข้าร่วมโครงการ 62 คน สามารถลดน้ำหนักโดยเฉลี่ย3-5 กก.ได้จำนวน 62 คน ในกลุ่มเด็ก เข้าร่วม 22 คนสามารถลดน้ำหนักได้ 16 คน

  267. ชื่อนวัตกรรม : เมนูอร่อยจากหอยเชอรี่

    โครงการ : เสริมพลังชุมชนด้วยคน 3 วัย บ้านโคกแย้ม
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : ปัญหา.. หอยเชอรี่เป้นศัตรูต้นข้าว กัดกินต้นข้าวของชาวนา และขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว กำจัดยากมาก วิธีคิด.. จากการลงแปลงนาของเยาวชน เห้นหอยเชอรี่ตัวใหญ่ๆ กำลังผสมพันธุ์กอดติดกันจำนวนมาก ถ้าช่วยจับมาทำอาหาร หอยเชอรี่ก็จะเป้นแหล่งอาหาร และจะถูกควบคุมจำนวนด้วยการกินเป้นอาหาร วิธีทำ.. 1. สอบถามผู้รู้ ศึกษาจากเอกสาร เรื่องการทำอาหารจากหอย หอยที่กินได้ หอยที่กินไม่ได้ ซึ่งไดความว่าหอยเชอรี่กินได้ แต่ไม่นิยมเท่าหอยโข่ง(หอยโข่งไม่มีแล้ว) 2. คิดออกแบบเมนูอาหารจากหอยเชอรี่ดังนี้ 2.1 แกงหอยใบชะพลู แกงกะทิ แกงเผ็ด (ภูมิปัญญาการแกงหอยโข่งในชุมชน) 2.2 หอยจี่ (ภูมิปัญญาการจี่หอยของคนอีสาน) 2.3 หอยเชอรี่ผัดเผ็ด (คิดเอง) 2.4 หอยเชอรี่ผัดตะใคร้พริกไทยดำ (คิดเอง) 2.5 หอยเชอรี่ต้มส้มใบชะมวง (คิดเอง) วิธีขยายผล.. 1. ทำเป้นอาหารแก่ผู้ร่วมกิจกรรมในวันทำนา 2. ทำเป็นอาหารสาธิต ให้ลองชิม ในวันนำเสนอข้อมูลครั้งที่ 1
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ได้เมนูอาหารที่อร่อยได้รับการชื่นชม และชิมกันจนหมดเกลี้ยง และเมื่อคนจำนวนมากกิน หอยเชอรี่ก็จะกลายเป้นแหล่งอาหารใหม่ ทั้งยังช่วยกำจัดศัตรูข้าวของชาวนาในอนาคต

  268. ชื่อนวัตกรรม : ตะลุงโขนเล่นสดลดสารเคมี

    โครงการ : หนังตะลุงโขนสดลดสารเคมีบ้านปากเหมือง(ต่อยอด)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : นำภูมิปัญญาการเล่นหนังตะลุงคนมาฟื้นฟู และแต่งกลอนเล่าเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ และลดการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : รณรงค์ลดการใช้สารเคมี

  269. ชื่อนวัตกรรม : ปุ๋ยหมักจากวัสดุเพาะเห็ด

    โครงการ : หน้าบ้านน่ามองด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นลดการใช้สารเคมีในสวนของเกษตรกร
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : วัสดุในการเพาะเห็ดส่วนมากเมื่อ เสื่อมสภาพแล้วนำไปทิ้งไร้คุณค่า ทางโครงการได้นำเศษวัสดุมาทำการเพาะเห็ดแทนการสูญเปล่า
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ครัวเรือนได้ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยเคมี และการใช้วัสดุที่เหลืออย่างชาญฉลาด

  270. ชื่อนวัตกรรม : สมุนไพรแก้อัมพฤกษ์

    โครงการ : หมอชาวบ้านสืบสานภูมิปัญญาสมุนไพรพื้นบ้าน
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1.เป็นการนำเอาภูมิปัญญาชุมชน มาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพ ทำเป็นลูกประคบรักษาอัมพฤกษ์ สมุนไพรประกอบด้วย ผักเสี้ยนผี ไพล ขิง พริกไทย หอม เกลือ หัวเปราะ(แก้ปวดเมื่อย)
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : 1.ใช้ประคบบำบัดผู้ป่วยอัมพฤกษ์ ตอนนี้อาการดีขึ้น

  271. ชื่อนวัตกรรม : Bilk for diet

    โครงการ : หมู่ที่ 7 บ้านบูเกตยามูชีวิตดี วิถีพอเพียง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : เกิดการรวมกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ที่จากเดิม ขาดการออกกำลังกาย ลุกขึ้นมาในการดูแลตนเองและชวนกันมา ทำประโยชน์โดยกลุ่มนี้ จะนัดกันช่วงห้าโมงเย็น ของวัน อังคาร พุธ ศูกร์ เสาร์ มาปั่นจักรยานรอบเส้นทางในหมู่บ้าน และในสนามโรงเรียน หลังจากเสร็จ ก็จะมารดน้ำต้นไม้ ปลูกผักเพิ่ม และการเก็บผักเพื่อการบริโภค จนถึงเวลา หกโมงครึ่ง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน

  272. ชื่อนวัตกรรม : ไบซิเคิลทัวร์

    โครงการ : หมู่บ้านสีเขียว ปลอดโรค ปลอดสารเคมี ด้วยแนวทางเกษตรอินทรีย์ หมู่ที่ 4 บ้านควนโต๊ะเหลง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : 1. การคัดเลือกเยาวชนร่วมเป็นเครือข่าย 2. รวมกลุ่มในการเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน 3. จัดกระบวนการพี่สอนน้อง 4. ออกปฏิบัติการร่วมกันในการ เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและการติดตามเยียมผู้ด้อยโอกาสในชุมชน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เครือข่าย/โครงสร้างใหม่ในชุมชนในการทำงานร่วมกัน

  273. ชื่อนวัตกรรม : ละครหุ่นกระบอก

    โครงการ : หุ่นกระบอก ออกเดิน ที่บ้านสวนเทศ(ต่อเนื่อง)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : - เนื้อหาเรื่องราวหุ่นกระบอกมีความสนุกสนาน(ใช้เรื่องผู้ใหญ่ลีกับนามมา)และสอดแทรกเรื่องการจัดการขยะ
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - ผู้ชมเข้าถึงวิธีการจัดการขยะได้ง่าย สนุกสนาน

  274. ชื่อนวัตกรรม : วงเวียนเศษวัสดุการทำเห็ดกลายชนิดต่ลดขยะ

    โครงการ : เห็ดศาลาบางปู ลดหนี้ ลดขยะ สร้างอาชีพ
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : มีการพัฒนาความรู้จากการปฏิบัติเรื่องการทำเห็ดหลายชนิด ให้มีขั้นตอนในการนำวัตถุดิบจากขยะหรือเศษวัสดุที่เหลือจากเห็ดก่อนทำ มาเป็นวัตถุดิบเห็ดในขั้นต่อไป เป็นวงเวียนลดขยะได้ เกิดปัญญาในการทำงาน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เกิดสุขภาวะทางปัญญา ลดขยะจากการจัดลำดับการทำเห็ดหลายชนิดที่นำเศษวัสดุมาใช้ซึ่งกันและกัน เป็นวงจรอย่างต่อเนื่อง หมุนเวียนมาใช้ใหม่ได้อยู่เรื่อยๆ ไม่ทิ้งเป็นขยะ จึงลดขยะได้

  275. ชื่อนวัตกรรม : ทอดผ้าป่าพืชสมุนไพร

    โครงการ : อยู่อย่างวิถีไทย ชาวควนสินชัยสุขภาพดี
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : - เป็นการระดม สะสมพืชสมุนไพรที่มีในชุมชนโดยไม่ต้องใช้เงินซื้อ แต่เป็นการขอรับบริจาค จากคนในชุมชนตามกำลังศรัทธา
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : - มีสมุนไพรในโรงเรือนที่จัดสร้างขึ้นอย่างหลากหลาย และคนในชุมชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการขยายพันธุ์ ปลุกเพิ่มได้ โดยต้องนำสมุนไพรมาแลกเปลี่ยนที่โรงเรือน

  276. ชื่อนวัตกรรม : แชมพูใบเตย

    โครงการ : อาชีพเสริมเพิ่มรายได้บ้านควนยูง
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : จากการที่ชุมชนได้ร่วมกันทำน้ำยาเอนกประสงค์เพื่อใช้เองในครอบครัว และส่งเสริมให้ชาวบ้านผลิดแชมพูต่าง ๆ โดยการนำเอาวัสดุ หรือ ของที่มีอยุ่ในชุมชนมาผลิดเป็นสินค้า ตัวแทนครัวเรือนได้คิดประดิษฐืแชมพูใบเตยหอม ซึ่งมีมากในชุมชนมาเป็นวัสดุในการจัดทำ
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : ใบเตยให้ความหอม และมีส่วนในการบำรุงรักษาผม เป็นกลิ่นที่ชาวบ้านชอบเพราะเหมือนกับธรรมชาติ ผลิตเป็นสินค้าที่มีความต้องการมากในชุมชน

  277. ชื่อนวัตกรรม : ...1.ระบบการเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยโดยชุมชน

    โครงการ : อาหารดีสุขภาพแข็งแรง สู่ชุมชนน่าอยู่บ้านควนขี้แรด
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : อบรมให้ความรู้ต่อกลุ่มแกนนำอสม.และแกนนำเยาวชนในหมู่บ้านในการให้สามารถใช้เครื่องตรวจสอบอาหารได้อย่างถูกต้อง ทำได้ใช้เป็น และให้ดำเนินการตรวจสอบอาหารที่มีจำหน่ายและบริโภคในชุมชนได้เอง
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : นำผลของการตรวจสอบเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยในชุมชน แจ้งให้กับคนในชุมชนให้ทราบผลหากไม่ปลอดภัยก็จะได้หลีกเลี่ยงและแจ้งต่อผู้ผลิตหรือจำหน่ายอาหารท่ผ่านการตรวจสอบหากพบรายการไดไม่ปลอดภัยก็ให้ปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือเสาะหาแหล่งผลิตใหม่ที่ปลอดภัยเพื่อนำมาจำหน่ายแก่คนในชุมชน

  278. ชื่อนวัตกรรม : ยืดอกพกถุง(ผ้า)

    โครงการ : เอาพลาสติกคืนไปเอาพฤกษ์ไพรคืนบ้านดอนทะเล(ต่อยอด)
    คุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรม : การให้สัญญากับตนเองในการใช้ถุงผ้าในการใช้ชีวิตประจำวัน และได้ขอความร่วมมือกับร้านค้าในชุมชน ช่วยเป็นหูเป็นตาและร่วมให้คะแนนในสมุดบันทึกความดีในกรณีที่ผู้เข้าร่วมโครงการใช้ถุงผ้าไปซื้อของที่ร้าน
    ผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์ : เป็นต้นแบบและตัวอย่างให้กับครอบครัวที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรม