1569 items|« First « Prev 5 6 (7/157) 8 9 Next » Last »|
Submitted by สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน on 18 มี.ค. 63 20.35

ถ้าต้องการจองห้องประชุม เป็นส่วนตัว หรือต้องแจ้งปัญหาการใช้งาน ติดต่อได้ที่ โทร. 08-1818-2543 คุณสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน (เอ๋) Line: 18182543

   

       

   

   

Submitted by pska_47 on 8 ก.พ. 63 23.45

เนื่องจากการทำฟาร์มในอนาคตจะต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และต้องลงทุนในด้านมาตรฐานการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามกระแส Green Policy อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนี้เองจะเป็นปัจจัยสำคัญในการตีกรอบให้ผู้ประกอบการฟาร์มจะต้องยึดถือและดำเนินการอย่างถูกต้อง ใครที่คิดจะทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ในอนาคตนั้นจึงไม่ง่ายเลย ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ รายกลาง หรือรายย่อย

ลักษณะของภาคปศุสัตว์ไทยในอนาคต น่าจะมีการปรับเปลี่ยนตามแนวโน้มชัดเจนใน 6 ประเด็นหลัก ดังต่อไปนี้ ลองติดตามดูกัน ...

เรื่องของพันธุ์และวัตถุดิบ : ประเทศไทยยังต้องพึ่งวัตถุดิบอาหารสัตว์และพันธุ์สัตว์จากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบประเภทกากถั่วเหลืองหรือข้าวโพด ส่วนพันธุ์สัตว์โดยเฉพาะไก่นั้น ประเทศไทยยังคงต้องนำเข้าพันธุ์ทั้งหมดซึ่งแน่นอนว่าการพึ่งพิงดังกล่าวก็คือต้นทุนการผลิตเนื้อสัตว์ของไทย ส่วนสุกรถือว่าบ้านเราพัฒนามาได้ไกลพอควรแล้วจึงไม่น่าเป็นห่วงนัก แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดใด ความสำคัญจะอยู่ที่ตลาดรองรับเพียงพอหรือไม่

เรื่องของสิ่งแวดล้อม : นับเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของวันนี้ เพราะกระแสโลกมุ่งเน้นไปที่การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ส่งผลให้มีการยกระดับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมตามไปด้วย และการลงทุนในด้านสิ่งแวดล้อม ย่อมต้องใช้เม็ดเงินมหาศาลเพื่อให้ผ่านการรองรับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม กฎเกณฑ์เหล่านี้จะเป็นตัวคัดกรองผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หากไม่มีเงินลงทุนที่สูงพอแล้ว แทบจะมองไม่เห็นหนทางที่จะได้เป็นเจ้าของฟาร์มเลี้ยงสัตว์เลย เพราะหากไม่ลงทุนในด้านสิ่งแวดล้อมและทำความเข้าใจกับผู้คนรอบด้านแล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือการต่อต้านจากชุมชน-ท้องถิ่นที่ตั้งของฟาร์มนั้นๆ

เรื่องของการรวมกลุ่ม : ความยากลำบากในการประกอบอาชีพทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ในอนาคตจากการถูกบีบให้เข้าหลักเกณฑ์รักษาสิ่งแวดล้อม จะส่งผลให้กลุ่มฟาร์มรายย่อยมีจำนวนน้อยลง แต่เกษตรกรรายย่อยก็ยังมีทางออกและสามารถอยู่รอดได้ โดยการรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนในรูปสหกรณ์ หรือ นิติบุคคล เพื่อให้เกิดความร่วมมือและเพิ่มศักยภาพในการผลิตและการตลาด หากมีพลังมากๆ ก็สามารถกลายเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ได้เช่นกัน

เรื่องของการขนส่งและระบบกระจายสินค้า (โลจิสติกส์) : นี่เป็นปัญหาใหญ่อีกข้อหนึ่งของประเทศไทย ... บ้านเรามีข้อจำกัดในการจัดการขนส่งและการกระจายสินค้าค่อนข้างมาก และที่สำคัญ การขนส่งสินค้าปศุสัตว์ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตนั้น จะยิ่งยุ่งยากและลำบากมากกว่าการขนส่งสินค้าทั่วไป เพราะแบคทีเรียทำงานตลอดเวลา หากจัดการระบบโลจิสติกส์ไม่ดีย่อมจะเกิดความเสียหายมหาศาลตามมา การจัดการเรื่องนี้จึงเป็นปัจจัยสำคัญของการอยู่รอดของธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสัตว์ด้วย ประการสุดท้ายเรื่องประชาพิจารณ์ : การขยายฟาร์มใหม่มีข้อจำกัดมาก เพราะไม่มีใครต้องการให้มีฟาร์มเลี้ยงสัตว์ไปอยู่ใกล้ที่ดินหรือบ้านของตน อันจะเป็นเหตุให้ราคาที่ดินบริเวณนั้นตกต่ำลง ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการฟาร์มรายใหม่ ยังต้องผ่านการทำประชาพิจารณ์จากผู้เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่นอีกมากมาย ซึ่งแม้จะมองว่าเป็นการสนับสนุนให้เกิดการทำฟาร์มให้เป็นธุรกิจสีเขียว แต่ก็เปิดช่องให้เกิดการเรียกเก็บเงินที่สูงเกินจริงได้

จากหลายๆ ประการที่กล่าวมา ทำให้มองเห็นแนวโน้มราคาเนื้อสัตว์ในอนาคตด้วยเช่นกัน แม้จะทราบกันดีอยู่ว่า ราคาสินค้าเกษตร-ปศุสัตว์มีความผันผวนขึ้น-ลง เนื่องมาจากอุปสงค์และอุปทานอยู่เสมอ และจะยังคงเป็นความท้าทายที่คนทำฟาร์มในภาคเกษตร-ปศุสัตว์ยังต้องเผชิญต่อไป แต่ที่สำคัญคือปัจจัยต่างๆ ดังที่กล่าวมาล้วนเป็นต้นทุนมหาศาลของผู้ประกอบการฟาร์มทั้งสิ้น ซึ่งย่อมกระทบเป็นลูกโซ่ไปยัง “ราคาเนื้อสัตว์ปลายทาง” แน่นอน

แม้ราคาจะสูงขึ้นจากต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม แต่ผู้บริโภคในอนาคตก็คงพร้อมที่จะจ่ายให้แก่ผลิตภัณฑ์ที่มีการตระหนักในประเด็นนี้ ซึ่งแนวโน้มนี้เราได้เริ่มเห็นแล้วจากผลิตภัณฑ์ด้านกรีนต่างๆ ทยอยออกสู่ตลาดมากขึ้น อาทิเช่น ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับตราสัญลักษณ์คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดีแม้จะรู้สึกว่ามีราคาสูงกว่าเล็กน้อย

ถึงบรรทัดนี้ ต้องบอกว่าเกษตรกรที่ทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์อยู่ในขณะนี้อย่าเพิ่งตระหนก หากแต่ต้องเรียนรู้กระแสโลกและพร้อมปรับตัวสู่ธุรกิจสีเขียว เรียนรู้ที่จะรวมกลุ่มสร้างแนวทางบริหารร่วมกันอย่างครบวงจร ตั้งแต่วางแผน ผลิต และขาย เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองให้กลุ่มของตนเอง..ซึ่งในที่สุด การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้จะไม่เพียงดีต่อโลก แต่จะดีต่อคุณและเพื่อนเกษตรกรด้วยกันอย่างแน่นอน

การดูแลรักษา​ดินหญ้าให้อุดมสมบูรณ์​ไปสู่ธรรมชาติ​ไม่ยากเลยถ้าจัดวางถูกขั้นตอนของระบบของธรรมชาติ​ ปัจจัยสำคัญ​ในการจัดทำโครงการรณรงค์​อนุรักษ์​ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมครั้งนี้เพื่อชาวบ้าน​เกษตรกร​ได้มีเวลาว่างให้เป็น​ประโยชน์​ในการดูแลงานในด้านตนถนัด​ดีอยู่แล้ว​ ปัจจุบัน​ได้มีการดูแลสัตว์​ของตนเลี้ยงสมบูรณ์​และมีการเติบโตขยายตัว​ทางเศรษฐกิจ​อีกด้วย

Submitted by สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน on 18 มี.ค. 62 10.38


  • งานสร้างสุขภาคใต้ '62 ครั้งที่ 11 สุราษฯ


  • งานสร้างสุขภาคใต้ '61 ครั้งที่ 10 สงขลา

  • งานสร้างสุขภาคใต้ '59 ครั้งที่ 9 สงขลา

Submitted by นายสะแปอิง ยะปา on 15 มี.ค. 62 10.53

 

Submitted by สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน on 23 ส.ค. 61 09.28

  1. ชุมพร
    • นางสมใจ ด้วงพิบูลย์
    • ดร.มัลลิกา สุบงกฏ พระจอมเกล้า ลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร
    • อ.อำนาจ รักษาพล (อ.อ่ำ) ม.แม่โจ้ จ.ชุมพร
  2. ระนอง
  3. พังงา
    • ดร.อุไรวรรณ ตัณฑอาริยะ สสจ.พังงา
  4. สุราษฏร์ธานี
    • ดร.คชาพล นิ่มเดช สสจ.สุราษฏร์
    • ดร.ดุริยางค์
    • ดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
    • ดร.ประวิตร
    • ดร.อารยา
  5. ภูเก็ต
    • อ.วิโรจน์
    • ดร.จินดา สวัสดิ์ทวี ม.สงขลานครินทร์ ภูเก็ต
    • ดร.อภิรมย์  พรหมจรรยา ม.สงขลานครินทร์ ภูเก็ต 076-27-6845
  6. กระบี่
    • นายประวิช นศ.ป.โท สจรส.ม.อ.
    • นางสาวฐิติชญา บุญโสม นักศึกษา ป.เอก/ท่องเที่ยวชุมชนกระบี่
  7. นครศรีธรรมราช
    • ดร.กอรปกมล ศรีภิรมย์ ม.วลัยลักษณ์
    • อ.ชุติมา รอดเนียม ม.วลัยลักษณ์
    • นายยุทธนา หอมเกตุ นักศึกษา ป.เอก/สสจ.นครศรีฯ
  8. พัทลุง
    • นายเสงี่ยม ศรีทวี
    • นายสมนึก นุ่นด้วง
    • นายถาวร คงศรี
    • ทีม ม.ทักษิณ
  9. ตรัง
    • นายเชภาดร จันทร์หอม ท่องเที่ยวชุมชน ตรัง
    • อ.มาฆะฤกษ์ ชูช่วย ม.ราชภัฏสวนดุสิต ตรัง
    • อ.นบ ศรีจันทร์   ม.ราชภัฏสวนดุสิต ตรัง
    • อ.กนกวรรณ ไทยประดิษฐ์   ม.ราชภัฏสวนดุสิต
    • ดร.ไพสิฐ บุณยะกวี วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร
    • อ.พรพรหม เสียงสอน     ม.ราชภัฏสวนดุสิต
  10. สตูล
    • ดร.บี
    • ดร.สุทัศน์
  11. สงขลา
    • ดร.มุมตาส มีระมาน ม.ราชภัฏสงขลา
    • ดร.ภารดา อุทโท ม.ราชภัฏสงขลา
    • ดร.ลำไย
    • นายอาหมัด หรีขาหลี
    • นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี
  12. ปัตตานี
    • ดร.จิรัชยา เจียวก๊ก   ม.สงขลานครินทร์ ปัตตานี
    • ผศ.ณชพงศ์ จันจุฬา   ม.สงขลานครินทร์ ปัตตานี
    • อ.สวัสดิ์ ไหลภาภรณ์   ม.สงขลานครินทร์ ปัตตานี
    • อ.อับดุลคอเล็ต เจะแต ม.สงขลานครินทร์ ปัตตานี
    • ดร.ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ  ม.ฟาฏอนี
    • นายสัญญา แพทย์จะเกร็ง
    • ผศ.มะดาโอะ ปูเตะ ม.ฟาฏอนี (รปศ.)
  13. ยะลา
    • ดร.จริยาภรณ์ มาสวัสดิ์ ม.ราชภัฏยะลา
    • xx วิทยาลัยพยาบาล ยะลา
  14. นราธิวาส
    • อ.อิบรอฮิม สารีมาแซ   ม.นราธิวาสราชนครินทร์
    • อ.พัชนี ตูเล๊ะ ม.นราธิวาสราชนครินทร์
    • นายอาหามะ เจ๊ะโซะ
    • นางเพียงกานต์ เด่นดารา
    • นางนิมนต์ หะยีนิมะ

Submitted by สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน on 23 ส.ค. 61 09.15

รายชื่อนักติดตามภาคเหนือฯ

  1. พิษณุโลก
    • ผศ.ดร.ทักษ์ อุดมรัตน์  คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
    • ดร.เกรียงศักดิ์ สร้อยสุวรรณ อาจารย์พิเศษ ม.นเรศวร (มรภ.เลย)
    • ดร.สิริกร ชาคำมูล ม.พิษณุโลก
    • นพดล พุ่มยิ้ม สปสช.เขต2  พิษณุโลก
  2. กำแพงเพชร
    • อ.ฤทธิรงค์ เกาฏีระ มรภ.กำแพงเพชร
  3. พิจิตร
    • ดร.ชัยณรงค์  สังข์จ่าง สสจ.พิจิตร
  4. สุโขทัย
    • ดร.กาญจน์สิริรักษา บุญเปี่ยม สถาบันการพลศึกษา สุโขทัย
  5. ตาก
    • อ.ภูริณัฐร์ โชติวรรณ มรภ.กำแพงเพชร (แม่สอด)
  6. เพชรบูรณ์
    • ดร.ภูมินทร์ คำหนัก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอวิเชียรบุรี
  7. อุตรดิตถ์
    • ดร.ภาคภูมิ โชคทวีพาณิชยฺ มรภ.อุตรดิตถ์
  8. นครสวรรค์
    • ผศ.ดร.วรพจน์  วงษ์รอด มรภ.นครสวรรค์
  9. อุทัยธานี
    • ผศ.ดร.วรรณภัทร  ใจเอื้อ มรภ.นครสวรรค์
  10. เชียงใหม่
    • อ.ปวีณา  ยศสุรินทร์ วิทยาลัยพยบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่
    • ดร.วิชุลดา มาตันบุญ สถาบันวิจัยสังคม ม.เชียงใหม่
  11. ลำพูน
    • อ.วันเพ็ญ พรินทรากูล สถาบันวิจัยหริกุญชับย มจร.ลำพูน
  12. ลำปาง
    • ดร.ณัฐ  ชาคำมูล มรภ.ลำปาง
    • ดร.พัฒนา นาคทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ลำปาง
  13. เชียงราย
    • ดร.เสถียร  ฉันทะ มรภ.เชียงราย
    • นายนิรันดร์ แปลงคำ เครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงราย
    • ดร.สำราญ เชื้อเมืองพาน สสอ.แม่ลาว
  14. พะเยา
    • ดร.รักษิต  สุทธิพงษ์ วิทยาลัยวิชาการศึกษา ม.พะเยา
  15. แพร่
    • อ.ศิริพร พันธุลี ม.แม่โจ้ วิทยาเขตแพร่
    • อ.เพชรรุ่ง เชาวกรวัชร์ นักวิชาการอิสระ (สมัชชาสุขภาพจังหวัดแพร่)
  16. น่าน
    • ดร.มาโนชญ์ ชายครอง นักวิชาการอิสระ (อ.พิเศษวิทยาลัยชุมชนน่าน)
    • ดร.วิชาภรณ์ คันทะมูล สสอ.ปัว จ.น่าน
  17. แม่ฮ่องสอน
    • นายวิสุทธิ์ เหล็กสมบูรณ์ นักวิชาการอิสระ  (เคยปฏิบัติงาสถาบันวิจัยทางสังคม มช. มาก่อน)
Submitted by เฌอบูโด on 6 ส.ค. 61 11.52

วันนี้นายเพาซี ยะซิง และนางสาวรอฮานะ สิเดะ กลุ่มเฌอบูโด ร่วมเป็นวิทยากรถ่ายทอดและทคนิคการสื่อสารเพื่อชุมชนให้กับนักศึกษา
รัฐประศาสนศาสตร์  ราชภัฏยะลา จำนวน 100 คน ผ่านเทคนิค MOJO Mobile Journalism

Submitted by สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน on 4 ส.ค. 61 22.42

แนวคิดและหลักการในการออกแบบระบบการติดตามประเมินผล ปรัชญาการประเมิน การประเมินเป็นวิธีการศึกษาปรากฏการณ์เชิงประจักษ์ ศึกษาค่าของข้อเท็จจริง (Fact) ในแง่มุมต่างๆ เพื่อให้ได้ความจริง (Truth) ในด้านคุณค่า การประเมินจึงต้องใช้หลักปรัชญา วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆ เพื่อให้ความรอบด้าน และต้องใช้วิจารณญาณอันสมเหตุสมผล ภายใต้แต่ละบริบทของสังคม ทั้งนี้เพื่อให้ข้อเท็จจริงใกล้เคียงกับความจริงมากที่สุด นิยามการติดตาม (Monitoring)
หมายถึง การศึกษากระบวนการและขั้นตอนการดำเนินโครงการ ตั้งแต่การใช้ปัจจัยนำเข้า (Input) ขั้นตอนแต่ละขั้นตอนของการดำเนินงาน (Process) และผลผลิตที่เกิดขึ้น (Output) ตามแผนงานที่กำหนดไว้ ทั้งนี้เพื่อทบทวน แก้ไข ปรับปรุง และหนุนเสริม วิธีการปฏิบัติให้ผลงานเป็นไปตามแผนงานอย่างมีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพมากที่สุด การติดตาม ควรจะตอบคำถามต่อไปนี้ 1. ในการดำเนินโครงการ ในแต่ละขั้นตอน ได้ใช้ทรัพยากรต่อไปนี้อย่างไร - คน แบ่งเป็น กลุ่มคนที่เป็นตัวหลัก และกลุ่มคนที่เป็นตัวยุทธศาสตร์ (คนที่เป็นตัวหลัก หมายถึง คนที่มีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโดยตรง ส่วนตัวยุทธศาสตร์ หมายถึง คนที่มีส่วนสำคัญอย่างมากในการผลักดันการดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จ โดยตัวหลักหรือตัวยุทธศาสตร์อาจจะเป็นคนเดียวกันก็ได้) แต่ละกลุ่มคนเข้ามามีบทบาทในการทำงานอย่างไร - ข้อมูลและฐานข้อมูลรวมถึงชุดความรู้และความรู้ที่ใช้ประกอบในการทำงาน และควรบอกถึงที่มาของข้อมูลและชุดความรู้นั้น(แหล่งของข้อมูล) - มีการปฏิบัติการตามหรือประยุกต์การทำงานจากแผนงานที่มีอยู่เดิมและที่เป็นแผนปฏิบัติการอย่างไร(หมายถึงแผนชุมชน แผนของหน่วยงาน แผนของท้องถิ่น หรือแผนที่จัดทำขึ้นมาเพื่อใช้ในการจัดการปัญหานั้นๆ)
- มีการใช้งบประมาณมากน้อยเพียงไร และจากแหล่งงบประมาณใด
- มีการใช้สถานที่ เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ อย่างไร - มีการใช้ทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชนมาหนุนเสริมการทำงานอย่างไร ได้แก่ ทรัพยากรในชุมชน ภูมิปัญญา วัฒนธรรมและวิถีชีวิต เป็นต้น 2. ในการดำเนินโครงการได้ปฏิบัติงานตามแผนงานที่กำหนดหรือไม่ อย่างไร มีปัญหาอุปสรรคอะไร และมีการปรับวิธีการทำงาน รวมถึงมีการปรับแผนอย่างไร 3. ได้ผลแต่ละขั้นตอนตรงตามที่วางแผนหรือไม่ และควรจะต้องปรับวิธีการทำงานอย่างไร รวมถึงต้องการการหนุนเสริมจากใคร หน่วยงานใด ในเรื่องใดบ้าง อย่างไร
การติดตามจะเป็นประโยชน์ต่อการเร่งรัดให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามเป้าหมายของโครงการและแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด การติดตามต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นข้อมูลย้อนกลับให้ตนเอง ตลอดจนผู้รับผิดชอบโครงการทุกระดับ เพื่อให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ แก้ไข สนับสนุน ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานตามแผนบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

นิยามการประเมินผล (Evaluation)
หมายถึง การศึกษาคุณค่าที่เกิดขึ้นจากกระบวนการดำเนินโครงการ ตั้งแต่ปัจจัยนำเข้า (Input) ขั้นตอนของการดำเนินงาน (Process) ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ (Output, Outcome, Impact) ที่เกิดขึ้น โดยทั่วไปการบ่งชี้คุณค่ามักใช้การเปรียบเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานหรือสิ่งที่กำหนดไว้ การประเมินผล ควรจะตอบคำถามต่อไปนี้

  1. มีปัจจัยสำคัญใดบ้างทั้งที่ทำให้โครงการบรรลุและไม่บรรลุเป้าหมาย(หมายถึงปัจจัยเอื้อและปัจจัยที่เป็นอุปสรรค) และควรสามารถระบุว่ามีปัจจัยสำคัญอะไรบ้างที่จะส่งผลต่อความสำเร็จในการ ดำเนินงานของโครงการ
  2. ในการประเมินโครงการสร้างเสริมสุขภาพ (สุขภาวะ) ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อสุขภาวะสามารถ แบ่งเป็น 3 ปัจจัยหลักได้แก่ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัจเจกบุคคลและกลุ่มคน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ สภาพแวดล้อม และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกลไกการดำเนินงานด้านสุขภาพ
  3. การดำเนินงานแต่ละขั้นตอน ต้องใช้กระบวนอะไร อย่างไรบ้างและควรใช้กระบวนการสำคัญ อะไรบ้างที่จะส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของโครงการ ในการประเมินโครงการสร้างเสริมสุขภาพ (สุขภาวะ) มักให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้ และ กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ นอกจากนี้ยังรวมถึงกระบวนการจัดการข้อมูล ความรู้ กระบวนการบริหารจัดการ กระบวนการขับเคลื่อนสังคม เป็นต้น
  4. ผลที่เกิดขึ้นทั้งที่โดยตั้งใจและไม่ตั้งใจมีอะไรบ้างทั้งที่เป็นผลผลิต ผลลัพธ์และผลกระทบในการ ประเมินโครงการสร้างเสริมสุขภาพ (สุขภาวะ) มักให้ความสำคัญกับผลลัพธ์มากกว่าผลผลิตของ กิจกรรม โดยเฉพาะในเรื่องการพัฒนาขีดความสามารถ (Empower) ของคนในชุมชนและการพัฒนา กระบวนการขับเคลื่อนของสังคม (Social Movement
  5. คุณค่าทั้งภายในและภายนอก ความสำเร็จที่สำคัญของโครงการ และแนวทางการพัฒนาอย่าง ต่อเนื่อง ในการประเมินโครงการสร้างเสริมสุขภาพ (สุขภาวะ) จะเน้นคุณค่าทั้งภายนอกและภายใน โดยเฉพาะคุณค่าภายในที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะทางปัญญาและสุขภาวะทางจิตวิญญาณ
1569 items|« First « Prev 5 6 (7/157) 8 9 Next » Last »|