คนสร้างสุข

directions_run

ส่งเสริมสิทธิและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและประชาสังคม ตามนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2560-2562 ทางสื่อวิทยุและสื่อออนไลน์

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมสิทธิและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและประชาสังคม ตามนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2560-2562 ทางสื่อวิทยุและสื่อออนไลน์
ภายใต้โครงการ ขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมประชาภาคสังคม ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้
ภายใต้องค์กร องค์กร???
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ 17 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 กันยายน 2560 - 31 ธันวาคม 2560
งบประมาณ 250,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้(Civic Women)
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางโซรยาจามจุรี (ประธาน) , นางสาวนิฮัสน๊ะ กูโน (รองประธาน/ธุรการ)
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 27 ก.ย. 2560 31 ธ.ค. 2560 250,000.00
รวมงบประมาณ 250,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2560 – 2562 จัดทำโดยสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนมาจัดทำนโยบาย ให้ตรงกับความต้องการ และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชน ศาสนา วัฒนธรรม อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ และประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในพื้นที่ รวมทั้งแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐทั้งนี้เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นกรอบและแนวทางหลักในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ครอบคลุมทุกมิติงาน ทั้งด้านการพัฒนาและงานด้านความมั่นคง ในการแก้ไขปัญหาตามนโยบายฉบับนี้ได้ยึดหลักยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” รวมทั้งให้ความสำคัญกับการสร้างเอกภาพ การบูรณาการของทุกหน่วยงาน เพื่อแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ การเพิ่มประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่รัฐกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคประชาชนและประชาสังคม อย่างไรก็ตาม แม้เป็นนโยบายที่ดี ทั้งในแง่ “เนื้อหา” และ “กระบวนการจัดทำ” แต่หากขาดการสื่อสาร เผยแพร่และการถ่ายทอดนโยบายไปยังประชาชน ตลอดจนภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่าง “เข้าถึง” และ “กว้างขวาง” ก็จะทำให้นโยบายนี้ไม่เป็นที่รู้จักและไม่ได้รับการยอมรับ รวมทั้งไม่สามารถให้เกิดพลังของการขับเคลื่อนอย่างมีส่วนร่วมจากทุกองคาพยพให้นโยบายนี้ไปสู่การปฏิบัติได้ โดยเฉพาะภาคประชาสังคม สตรีและเยาวชนตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป ที่นโยบายนี้ให้ความสำคัญ และระบุไว้เป็นวัตถุประสงค์ของที่ 2 ของนโยบาย ที่ว่า “เพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในพื้นที่ ให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา และแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้”นอกจากนี้ ในกระบวนการจัดทำ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ก็ได้เปิดโอกาสให้ภาคส่วนดังกล่าวนี้เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นในการให้ความคิดเห็นประกอบการจัดทำนโยบาย ซึ่งก็จะเป็นที่น่าเสียดายและเสียโอกาสเป็นอย่างยิ่ง หากไม่ดำเนินกิจกรรมสานต่อด้วยการเผยแพร่นโยบายให้ภาคส่วนเหล่านี้ได้รับรู้และเข้าใจว่า เสียงสะท้อนและความคิดเห็นของพวกเขาได้รับการรับฟัง และถูกบรรจุไว้ในนโยบายฉบับนี้ นอกจากนี้แล้ว นโยบายฉบับนี้ยังได้กล่าวถึงสิทธิและการมีส่วนร่วมต่างๆ ที่ประชาชน พึงได้รับจากนโยบาย อาทิเช่น การมีสิทธิและการมีส่วนร่วมในกลไกร่วมระหว่างภาครัฐและภาคประชาชนในการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ ให้อยู่ในกรอบกฎหมายอย่างเคร่งครัด สิทธิและการมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยา (ตามที่ระบุไว้ ในวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ในนโยบาย) การมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี และมีส่วนร่วมสร้างพื้นที่ปลอดภัย การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของสตรี เด็กและเยาวชนในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ (ตามที่ระบุไว้ ในวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ในนโยบาย) สิทธิและโอกาสที่จะได้รับการพัฒนาศักยภาพ การศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่เป็นธรรม ทั่วถึง และสอดคล้องกับวิถีชีวิต (ตามที่ระบุไว้ ในวัตถุประสงค์ข้อที่ 4 ในนโยบาย) และสิทธิและการมีส่วนร่วมที่จะแสดงความคิดเห็นอย่างปลอดภัยในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้และสนับสนุนกระบวนการพูดคุย(ตามที่ระบุไว้ ในวัตถุประสงค์ข้อที่ 5 ในนโยบาย) เป็นต้นซึ่งสมควรอย่างยิ่ง ที่จะเผยแพร่เรื่องดังกล่าวนี้ให้เป็นไปอย่างกว้างขวางและทั่วถึงเพื่อที่ภาคประชาชน และประชาสังคม จะได้ “เข้าถึง” และ “ใช้ประโยชน์” จากสิทธิและการมีส่วนร่วมที่ถูกระบุไว้ในนโยบายได้อย่างเข้มแข็งกระตือรือร้นและพร้อมที่จะเข้ามาเป็น “ภาคีเครือข่าย” ในการขยายผลนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาตามนโยบายได้ในอนาคตเพื่อประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดแก่ประชาชน(ตามที่ระบุในนโยบายข้อ 8 ปัจจัยความสำเร็จ)
และเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติได้จัดเวทีประชุมชี้แจงนโยบายดังกล่าวแก่กลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม ที่โรงแรมหรรษา เจบี อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยมีนายพรชาต บุนนาค ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล เป็นประธานและบรรยาย ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการเผยแพร่ และสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจต่อนโยบาย และควรจะได้รับการขยายผลและสานต่อ เพื่อให้การสื่อสารสร้างความเข้าใจในเรื่องนี้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง กว้างขวางและเข้าถึงภาคประชาสังคม และภาคประชาชนในพื้นที่ ที่จะเข้าร่วมเป็น “ภาคีเครือข่าย” ในโอกาสต่อไปได้ ทั้งนี้ โครงการที่จะดำเนินการนี้ ใช้สื่อต่างๆ ในการส่งเสริมและเผยแพร่สิทธิ/การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและประชาสังคมตามนโยบายอย่าง “ครอบคลุม” และ “เข้าถึง” กลุ่มเป้าหมายหลักใน 2 ระดับคือ ในระดับของ “ประชาชน” โดยทั่วไปในชุมชนท้องถิ่นจังหวัดชายแดนภาคใต้ ใช้สื่อ “วิทยุ” ที่ยังคงเป็นนิยมรับฟังในหมู่ประชาชน ในระดับของภาคประชาสังคม ใช้สื่อ “ออนไลน์”เผยแพร่ ซึ่งเป็นแนวทางการใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารกับประชาชนในพื้นที่ที่ในนโยบายให้ความสำคัญว่าต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม (ตามที่ระบุในนโยบาย ข้อ7.3 ด้านการบริหารจัดการ) ทั้งนี้ ในการเผยแพร่เนื้อหาที่เป็นสารคดี ผ่านทั้งสองช่องทาง (channel) ดังกล่าวจัดทำเป็นสองภาษา คือภาษาไทยและมลายู ซึ่งจะมีผลในทางจิตวิทยา และยิ่งทำให้เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการสื่อสาร และการเข้าถึงมากยิ่งขึ้น

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 250,000.00 2 2,850.00
27 ก.ย. 60 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 ประจำเดือนกันยายน 0 2,850.00 2,850.00
13 ต.ค. 60 - 13 ก.ค. 61 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 ประจำเดือนตุลาคม 0 2,850.00 -
27 ต.ค. 60 - 27 ส.ค. 61 ค่าจ้างคณะทำงาน งวดที่ 1 0 8,500.00 -
31 ต.ค. 60 ผลิตบทวิทยุสารคดีสั้น ความยาว 15-20 นาที (ตอนที่ 1-10) 0 60,000.00 -
22 พ.ย. 60 - 22 ธ.ค. 60 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 ประจำเดือนพฤศจิกายน 0 2,850.00 -
22 ธ.ค. 60 ผลิตบทวิทยุสารคดีสั้น ความยาว 15-20 นาที (ตอนที่ 11-20) 0 60,000.00 -
23 ธ.ค. 60 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 ประจำเดือนธันวาคม 0 2,850.00 -
23 ธ.ค. 60 ค่าดีวีดีและกล่อง 0 5,000.00 -
29 ธ.ค. 60 เผยแพร่สารคดีสั้น (2 ภาษา) 0 60,000.00 -
20 - 26 ม.ค. 61 ประเมินการผลิตและเผยแพร่สารคดีสั้น (2 ภาษา) 0 18,000.00 -
28 ม.ค. 61 ถอดบทเรียน (การผลิตและเผยแพร่สารคดีสั้น ๒ ภาษา) 0 15,600.00 -
29 ม.ค. 61 ค่าจ้างคณะทำงาน งวดที่ 2 และค่าจ้างเหมาจัดทำสรุปผลการดำเนินงานโครงการ 0 11,500.00 -
14 ก.ค. 61 อบรมบันทึกข้อมูลโครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา จชต. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 0 0.00 0.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2561 13:57 น.