ส่งเสริมต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยชุมชนหานโพธิ์

กิจกรรมที่ 2 ประชุมกลุ่มเพื่อสร้างความเข้าใจในข้อกำหนดกติกาของกลุ่ม และการวางแผนการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัย19 กรกฎาคม 2020
19
กรกฎาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย Fishhanpho
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. กรรมการประสานงานนัดชาวบ้านผู้เลี้ยงปลาที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อแจ้งวันที่ เวลา และสถานที่เข้าร่วมประชุม
  2. ประสานงานผู้จัดเตรียมอาหาร
  3. จัดเตรียมสถานที่เครื่องขยายเสียงและอุปกรณ์สำนักงานที่จำเป็น
  4. เตรียมเอกสารใบสมัครผู้เข้าร่วมโครงการและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สมุดจดบันทึกสำหรับทำรายงานการประชุม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้รายชื่อผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 10 คน โดยมีการบันทึกลายมือชื่อลงในใบสมัคร พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน
  2. ได้ข้อกำหนดกติกาที่ตกลงร่วมกันระหว่างสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ ดังนี้ .....1) สามารถเข้าร่วมการประชุมกลุ่มประจำเดือน รวม 10 เดือน เพื่อสร้างความเข้าใจ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น การรับทราบผลการทำงาน และการแก้ปัญหาร่วมกันตามแต่สถานการณ์ .....2) จัดหากระชังขนาดกว้างคูณยาวไม่ต่ำกว่า 2x3 เมตร สำหรับใช้เลี้ยงปลาดุกของโครงการ 200 ตัว
    .....3) ปลาดุกที่ใช้ในโครงการ คือ ปลาดุกพันธุ์บิ๊กอุย .....4) ห้ามใช้อาหารเลี้ยงปลาดุกจากที่อื่น ให้ใช้อาหารจากโครงการที่ช่วยกันทำเท่านั้น เพื่อศึกษาผลการเจริญเติบโตของปลาดุกด้วยต้นทุนที่ต่ำลง .....5) มีการบันทึกข้อมูลการให้อาหารปลา น้ำหนักปลา ตามแบบฟอร์มที่โครงการจัดให้ .....6) เก็บตัวอย่างน้ำของบ่อที่จะใช้เลี้ยงปลาดุกปลอดภัย เพื่อส่งตรวจก่อนเลี้ยงจริง เพื่อฝึกการอ่านค่าสภาพน้ำและแก้ปัญหาได้เบื้องต้นได้ .....7) ปลูกพืชที่ใช้ทำอาหารปลาตามสูตรที่โครงการกำหนด .....8) ต้องจับปลาดุกที่เลี้ยงโตแล้ว (หลังจากเลี้ยงครบ 4 เดือน) เพื่อใช้ในการตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย (Safety Level) แก่โครงการ .....9) สามารถบอกต่อผู้อื่นที่สนใจ ถึงองค์ความรู้ที่ได้รับจากโครงการ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนได้ ....10) สามารถพัฒนาเป็นบ่อเรียนรู้ปลาดุกปลอดภัยของโครงการได้ ถ้าโครงการคัดเลือก
  3. สรุปวันที่ให้สมาชิกเก็บน้ำในบ่อเลี้ยงปลา มาตรวจสภาพน้ำก่อนเลี้ยง คือ วันที่ 14 สิงหาคม 2563
  4. สรุปวันที่จะเริ่มเลี้ยงปลาดุกปลอดภัย คือ วันที่ 23 สิงหาคม 2563 โดยทางคณะทำงานของโครงการจะรับผิดชอบจัดหาลูกปลาดุกบิ๊กอุยมาให้สมาชิกเลี้ยง คนละ 200 ตัว และในวันที่ 23 สิงหาคม จะนัดเป็นวันประชุมประจำเดือนสิงหาคมด้วย
  5. วางแผนการผลิตอาหารเลี้ยงปลาดุกตามสูตรของประมงจังหวัดพัทลุงแนะนำ โดยมอบหมายให้คุณจุฑามาศ เมฆเรือง รับไปทำหัวเชื้อจุลินทรีย์และเตรียมวัตถุดิบตามสูตร เนื่องจากต้องใช้เวลาหมักนานขั้นตอนละ 14 วัน
  6. แจ้งวันที่เริ่มผลิตอาหารแบบลดต้นทุน คือ วันที่ 20 กันยายน 2563
  7. แจ้งวันที่เริ่มใช้อาหารทำเองเพื่อลดต้นทุน คือ วันที่ 27 กันยายน 2563
  8. แจ้งวันที่เริ่มลงพื้นที่ เพื่อเก็บข้อมูลการเลี้ยงปลาและแลกเปลี่ยนรับฟังปัญหา ตามบ่อเลี้ยงปลาของสมาชิก คือ ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป
  9. แจ้งวันที่จะทำการจับปลาดุกที่ผ่านการเลี้ยงด้วยอาหารทำเอง เพื่อนำไปตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย (Safety Level) ที่ศูนย์เพาะเลี้ยงประมงน้ำจืดพัทลุง คือวันที่ 28 ธันวาคม 2563
  10. การแจ้งผลการตรวจมาตรฐานตามข้อ 9 แก่สมาชิก ค่อยสรุปอีกครั้ง เพราะต้องรอให้ทางห้องตรวจปฏิบัติการแจ้งวันที่มาก่อน