ส่งเสริมต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยชุมชนหานโพธิ์

กิจกรรมที่ 3 เวทีอบรมให้ความรู้ก่อนการเลี้ยง หัวข้อการเตรียมบ่อ เตรียมน้ำ และการเตรียมกระชังปลา9 สิงหาคม 2020
9
สิงหาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย Fishhanpho
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. กรรมการประสานงานนัดรวมสมาชิกที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อแจ้งวันที่ เวลา และสถานที่เข้าร่วมการอบรมกิจกรรมที่ 3
  2. ประสานงานผู้จัดเตรียมอาหาร
  3. จัดเตรียมสถานที่เครื่องขยายเสียงและอุปกรณ์สำนักงานที่จำเป็น
  4. เตรียมเอกสารชุดความรู้เรื่อง การเตรียมบ่อ การเตรียมน้ำ และการเตรียมกระชังปลา ก่อนการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัย
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สมาชิกและผู้ที่สนใจอยากได้ความรู้ เข้าร่วมการอบรมทั้งสิ้น 18 คน
  2. สมาชิกสามารถเข้าใจได้ว่าการนำน้ำไปตรวจสภาพเบื้้องต้นก่อนการปล่อยปลาลงไปเลี้ยง ช่วยให้การจัดการน้ำ และ การปรับสภาพน้ำง่ายขึ้น
  3. สมาชิกเข้าใจได้ว่าการปรับสภาพน้ำโดยการใช้ปูนขาว คือใช้เพื่อการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค และเพื่อการปรับสภาวะความเป็นกรดด่างของบ่อปลาให้เหมาะสม โดยมีปริมาณการใช้ และวิธีการใช้ตามเอกสารชุดความรู้ที่โครงการจัดทำให้
  4. สมาชิกสามารถทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงเพื่อบำบัดน้ำเสียได้ในระหว่างการเลี้ยงปลาดุกแบบปลอดภัย
  5. สมาชิกสามารถเลือกหาขนาดของกระชังปลาให้เหมาะสมกับปริมาณการเลี้ยง ตามอัตราการปล่อยปลาดุก จำนวน 50-60 ตัวต่อตารางเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่ทำให้ปลาไม่หนาแน่นจนเกินไปและปลาจะโตเร็วกว่า
  6. สมาชิกร่วมประกอบกระชังปลาแบบที่ทำจากท่อพีวีซี โดยสามารถออกแบบ และเลือกขนาดที่เหมาะสมตามความต้องการการใช้งานได้
  7. สมาชิกสามารถเข้าใจได้ว่า พันธุ์ปลาดุกที่นิยมเลี้ยง เพื่อใช้รับประทาน และเพื่อการแปรรูปนั้น คือปลาดุกพันธุ์บิ๊กอุย
  8. วิธีการดูให้รู้ว่าลูกปลาดุกที่ไปซื้อมาเลี้ยงนั้น เป็นปลาดุกพันธุ์บิ๊กอุยหรือไม่ ในเบื้องต้นให้ดูจากข้างลำตัว จะเห็นเป็นจุดขาวๆ ยาวทอดขวางลำตัว และเมื่อปลาโตขึ้นอีกหน่อยจะเห็นว่าที่หนังหัวของปลาจะเป็นหยักรูปตัววีที่ก้นมน ไม่แหลมเหมือนกับปลาดุกรัสเซีย