ส่งเสริมต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยชุมชนหานโพธิ์

กิจกรรมที่ 1.3 ประชุมกลุ่มประจำเดือนเพื่อสร้างความเข้าใจในการทำงาน และวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน (สิงหาคม'63)23 สิงหาคม 2020
23
สิงหาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย Fishhanpho
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประสานงานสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยชุมชนหานโพธิ์ แจ้งวันที่ เวลา และสถานที่เข้าร่วมประชุม
  2. ประสานงานผู้จัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม
  3. จัดเตรียมสถานที่ เอกสาร และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการประชุม
  4. จัดเตรียมลูกปลาดุกบิ๊กอุยให้สมาชิก คนละ 200 ตัว รวมทั้งหมด 2,000 ตัว
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 13 คน

  2. สมาชิกรับลูกปลาดุกบิ๊กอุย คนละ 200ตัว โดยจ่ายตามรายชื่อผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 10 ราย พร้อมรับอาหารปลาสำหรับลูกปลาวัยอนุบาล ที่มีโปรตีนสูงร้อยละ 40 จำนวนคนละ 2 กิโลกรัม โดยหลักเกณฑ์การให้อาหารในช่วงวัยอนุบาลนั้น เน้นการให้อาหารให้บ่อย ไม่ต่ำกว่าวันละ 2ครั้ง แต่ละครั้งให้ในปริมาณที่เหมาะสม ดังนี้ ....2.1 อาทิตย์แรกของการเลี้ยง ควรให้อาหาร 10-20 กรัมต่อมื้อ(หรือประมาณ 3ช้อนโต๊ะ โดยจากการชั่งน้ำหนักอาหารพบว่า 1ช้อนโต๊ะหนักเท่ากับ 5 กรัม) โดยให้ 2-3 มื้อต่อวัน ....2.2 อาทิตย์ที่ 2 ควรให้อาหารมื้อละ 20-30 กรัม โดยให้ 2-3 มื้อต่อวัน ....2.3 อาทิตย์ที่ 3 ควรให้อาหารมื้อละ 30-50 กรัม โดยให้ 2 มื้อต่อวัน ....2.4 อาทิตย์ที่ 4 ควรให้อาหารมื้อละ 50-80 กรัม โดยให้ 2 มื้อต่อวัน รวมปริมาณอาหารที่จะให้ทั้งหมดในช่วง 1 เดือนแรก ไม่ควรเกิน 1.8 กิโลกรัม ต่อจากนั้นอาหารที่จะต้องใช้เลี้ยงปลาดุก จะต้องเป็นอาหารที่ทำเองโดยทางโครงการจะสอนวิธีการทำพร้อมสูตรอาหารปลาดุกปลอดภัย ที่มีโปรตีนอยู่ในช่วงร้อยละ 30-33

  3. ในที่ประชุมมีการตกลงกันว่า จะต้องมีการแบ่งหน้าที่ให้สมาชิก เพื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูลการเลี้ยงปลา โดยข้อมูลที่ต้องทำการบันทึกจะครอบคลุมในเรื่องของ ....2.1 ปริมาณการให้อาหารปลาในแต่ละมื้อ ....2.2 สำรวจอัตราการเจริญเติบโตของปลาเบื้องต้น จากการวัดขนาดลำตัว และหรือการชั่งน้ำหนัก โดยวัดขนาดก่อนเลี้ยง และเมื่อเลี้ยงปลาจนมีอายุครบ 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน และ 4เดือน(ได้ขนาดจับขาย) เป็นต้น ....2.3 สอบถามปัญหาที่พบเจอในระหว่างการเลี้ยง และ ทางผู้เลี้ยงมีการจัดการกับปัญหาได้หรือไม่อย่างไร ....2.4 สภาพแวดล้อมในการเลี้ยง เช่น รอบๆ บ่อเลี้ยงปลามีการฉีดยาฆ่าหญ้าหรือไม่ สภาพน้ำในบ่อเลี้ยงปลาเปรียบเทียบน้ำในกระชัง กับน้ำนอกกระชัง เหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง

  4. หากมีการลงพื้นที่ สมาชิกที่ทำการลงพื้นที่จะต้องแจ้งวันที่และเวลาการลงพื้นที่ให้สมาชิกทราบล่วงหน้า โดยแจ้งทางโทรศัพท์ หรือแจ้งมาในกล่องข้อความของกลุ่มทางโซเชี่ยล(ในแอพแชทMessenger)
  5. คณะทำงานโครงการแจ้งที่ประชุมเรื่องกิจกรรมครั้งถัดไป คือ กิจกรรมประชุมกลุ่มประจำเดือนกันยายน 2563 เรื่องการวางแผนเตรียมการทำอาหารปลาดุก โดยแบ่งหน้าที่ผู้ที่ต้องจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ดังนี้ ....4.1 คุณสุภาพร ประสานงานขอหัวเชื้อน้ำหมักจุลินทรีย์แลคโตบาซิลัส มาจากประมงจังหวัด เพื่อทำการต่อเชื้อใช้หมักหยวกในถังหมักของกลุ่ม และจัดเตรียมถังหมักขนาด 150 ลิตร จำนวน 1 ถัง ....4.2 คุณสุจินต์ รับหน้าที่จัดหาหยวก ....4.3 คุณจุฑารัตน์ รับหน้าที่บดสับหยวก จำนวน 100 กิโลกรัม ....4.4 คุณปัทมา รับหน้าที่จัดหาน้ำซาวข้าว เพื่อใช้ต่อเชื้อจุลินทรีย์สำหรับการหมักหยวก ที่จะเตรียมไว้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารปลาดุก