ส่งเสริมต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยชุมชนหานโพธิ์

กิจกรรมที่ 4 เวทีออกแบบสูตรอาหารปลาดุกปลอดภัย การจัดหาลูกพันธุ์ปลาดุก และการออกแบบการเก็บข้อมูลการเลี้ยงที่สอดคล้องกับสูตรอาหาร20 กันยายน 2020
20
กันยายน 2020รายงานจากพื้นที่ โดย Fishhanpho
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. กรรมการประสานงานนัดรวมสมาชิกที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ และชักชวนชาวบ้านที่สนใจทั่วไป แจ้งวันที่ เวลา และสถานที่เข้าร่วมการอบรมกิจกรรมที่ 4
  2. ประสานงานผู้จัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่มแก่ผู้เข้าร่วมการอบรม
  3. จัดเตรียมสถานที่เครื่องขยายเสียงและอุปกรณ์สำนักงานที่จำเป็นต้องใช้
  4. เตรียมเอกสารชุดความรู้เรื่อง อาหารและการผลิตอาหารสัตว์น้ำ เอกสารแบบฟอร์มการบันทึกข้อมูลการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัย
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สมาชิกในโครงการได้เรียนรู้เรื่องอาหารสัตว์น้ำ และสามารถแยกแยะประเภทของปลาดุก ได้ว่า เป็นปลาที่กินทั้งเนื้อและพืชแต่เน้นไปทางเนื้อ
  2. สมาชิกสามารถทราบแหล่งพลังงานของอาหารปลาดุกว่าได้มาจากโปรตีน แป้ง และไขมัน โดยมีวิตมินและแร่ธาตุเป็นตัวช่วยเสริมให้ธาตุอาหารหลักทำงานได้ดี และส่วนใหญ่ก็อยู่ในผักและผลไม้
  3. แหล่งโปรตีนที่สำคัญของปลาดุก คือ ปลาป่น และกากถั่วเหลือง เพราะให้ปริมาณโปรตีนที่สูงกว่่า หาได้ง่ายกว่า ทำให้ปลาในวัยอนุบาลเจริญเติบโตได้ดีกว่าการใช้โปรตีนจากแหล่งอาหารชนิดอื่น
  4. สูตรอาหารปลาที่เกษตรกรทำเอง จะต้องคำนึงถึงอายุของลูกปลา ว่าวัยไหนต้องการโปรตีนเท่าไหร่ ถึงจะทำให้ปลาเจริญเติบโตตามช่วงอายุได้ดี เช่น ปลาวัยอนุบาลควรทำอาหารที่มีโปรตีน 35-40% ปลาวัยเด็กและวัยรุ่นควรจะมีโปรตีน 30-32% และปลาวัยผู้ใหญ่(ปลาที่พ่ร้อมจับขาย อายุประมาณ 3.5เดือนขึ้นไป) ควรจะลดโปรตีนลงแค่ 25-28% เพราะปลาที่โตแล้วความต้องการโปรตีนจะลดลง จะเน้นไปทางแป้งมากขึน
  5. การคำนึงถึงปริมาณแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตในอาหารปลาก็มีความจำเป็น โดยปลาที่กินพืชจะทำการย่อยแป้งได้ดีกว่าปลาที่กินเนื้อ นั่นคือ สำหรับปลาดุกที่กินทั้งพืชทั้งเนื้อแต่ค่อนไปทางเนื้อ ควรจะให้มีแป้งในอาหารเพียงร้อยละ 30-40 ก็เพียงพอ ถ้ามากไปกว่านั้นปลาจะไม่ย่อย ทำให้ท้องอืด ไม่สบายเอาง่ายๆ และก่อให้เกิดการสูญเสียอาหารไปเปล่าๆ
  6. น้ำมันพืชที่ใช้แล้วสามารถนำมาใช้ทำอาหารปลาเพื่อลดต้นทุนได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องไม่ใช้น้ำมันพืชที่มีตะกอนดำๆ เพราะจะอันตรายมากกว่า และปริมาณที่ใช้ในอาหารปลาส่วนใหญ่ไม่เกินร้อยละ 3
  7. การทำอาหารปลา นอกจากจะคำนึงถึงปริมาณสารอาหารแล้ว สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงก็คือ การช่วยให้อาหารนั้นสามารถย่อยได้ดีในตัวปลา และถ่ายออกมาจะไม่ทำให้น้ำเสียเร็ว ทั้งนี้ก็ต้องใช้จุลินทรีย์ที่ดีต่อระบบย่อยอาหารมาช่วยเสริม เช่น การทำหยวกหมักมาเป็นส่วนผสมในอาหารปลา เป็นต้น
  8. เนื่องจากเกษตรกรไม่มีเครื่องอัดเม็ด อาหารปลาที่ทำเอง จึงจำเป็นต้องปั้นเป็นก้อนและตากให้แห้ง แล้วจึงนำไปให้ปลา
  9. ปริมาณการให้อาหารปลา ควรจะให้ประมาณ 10% ของน้ำหนักตัวต่อวัน และปลาในช่วงวัยเล็กๆ ควรจะให้วันละ 3 มื้อ เนื่องจากปลายังต้องสร้างการเจริญเติบโต ส่วนปลาใหญ่ให้วันละ 2 มื้อก็เพียงพอ
  10. การบันทึกข้อมูลการให้อาหาร บันทึกน้ำหนักปลา บันทึกต้นทุน บันทึกสิ่่งที่เกี่ยวข้องที่เกิดขึ้นระหว่างการเลี้ยง เช่นการเกิดปัญหารปลาตาย ปัญหาน้ำเสีย และบันทึกวิธีการแก้ปัญหา จะช่วยให้การเลี้ยงปลาดุกในรุ่นต่อๆ ไป ง่ายขึ้น และสามารถป้องกันปัญหาที่จะเกิดซ้ำได้ ทั้งนี้การออกแบบใบบันทึกข้อมูล ควรจะเข้าใจง่ายเมื่อนำข้อมูลมาอ่านทบทวนในคราวหลัง
  11. อาหารปลาที่ทำการอบรมในวันนี้คือ อาหารปลาโปรตีน 32% สูตรผสมหยวกกล้วยหมัก วัตถุดิบที่ใช้ได้แก่ ....11.1) ปลาป่น 55% --------->38 กิโลกรัม ....11.2) กากถั่วเหลือง---------->22 กิโลกรัม ....11.3) ปลายข้าวนึ่ง ---------->20 กิโลกรัม ....11.4) หยวกกล้วยหมัก ------>17 กิโลกรัม ....11.5) น้ำมันพืช ----------->2.8 กิโลกรัม ....11.6) เกลือแกง ---------->0.2 กิโลกรัม
  12. อาหารปลาที่ได้มีน้ำหนักรวม 150 กิโลกรัม (น้ำหนักเปียก) จะเห็นได้ว่าส่วนผสมที่เราใช้มีแค่ 100 กิโลกรัม แต่เมื่อนำมาผสมกันกลับได้อาหารที่มีน้ำหนักมากขึ้น ทั้งนี้เพราะ ส่วนผสมที่เป็นกากถั่วเหลืองและปลายข้าว ทางกลุ่มจะเอามาต้มให้สุกก่อนใช้ เพื่อทำให้ปลาย่อยได้ง่ายขึ้น จึงทำให้ได้น้ำหนักอาหารที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยพบว่าปลายข้าว 1 กิโลกรัมเมื่อทำการต้มแล้วจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 3 เท่า หรือเท่ากับ 3 กิโลกรัม ส่วนกากถั่วเหลือง จะได้น้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 2เท่า หรือ 2 กิโลกรัม