ส่งเสริมต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยชุมชนหานโพธิ์

กิจกรรมที่ 1.6 ประชุมกลุ่มประจำเดือนเพื่อสร้างความเข้าใจในการทำงาน และวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน (พฤศจิกายน'63)6 พฤศจิกายน 2020
6
พฤศจิกายน 2020รายงานจากพื้นที่ โดย Fishhanpho
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประสานงานสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยชุมชนหานโพธิ์ โดยแจ้งวันที่ เวลา และสถานที่เข้าร่วมประชุมแก่สมาชิกและผู้สนใจ
  2. ประสานงานผู้จัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม
  3. จัดเตรียมวัตถุดิบทำอาหารปลาดุกปลอดภัย สูตรโปรตีน 28% สำหรับปลาดุกอายุ 2.5 เดือนขึ้นไป
  4. จัดเตรียมสถานที่ เอกสาร และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการประชุม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สมาชิกโครงการ ได้เรียนรู้สูตรอาหารปลาดุกสูตรใหม่ที่มีโปรตีน28% สูตรผสมหญ้าเนเปียร์ สำหรับเลี้ยงปลาดุกที่มีอายุ 2.5 เดือนขึ้นไป โดยสูตรนี้จะทดลองใช้ หญ้าเนเปียร์ มาแทนหยวกกล้วยหมัก ด้วยเหตุผล คือ ....1.1) หญ้าเนเปียเป็นพืชที่หาได้ในท้องถิ่นเช่นเดียวกันกับหยวก แต่จะมีโปรตีนที่สูงกว่า จึงสามารถทำให้ปรับลดปริมาณปลาป่น และกากถั่วเหลือง ที่มีราคาสูงกว่าลงได้ นั่นหมายถึงจะทำให้อาหารปลามีต้นทุนที่ลดลง
    ....1.2) เนื่องจากหญ้าที่เรานำมาใช้ยังไม่ได้ผ่านการหมัก จึงคาดว่าน่าจะเหมาะที่จะนำมาใช้กับปลาในวัยที่โตขึ้น มากกว่าปลาวัยเล็ก ในเรื่่องของความาสามารถในการย่อย กรณีนี้จะช่วยลดเวลาในการเตรียมหยวกหมักได้ แต่ถ้าจะใช้สำหรับปลาวัยเล็กแนะนำให้ใช้หญ้าเนเปียหมัก เพราะจะช่วยให้ลูกปลาย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น ....1.3) การทำอาหารปลา สามารถปรับสูตรได้ตามปริมาณวัตถุดิบที่มีมากในท้องถิ่น ....
  2. สมาชิกช่วยกันเตรียมส่วนผสม เช่น การช่วยกันสับหญ้าเนเปียให้เป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อให้ปลากินได้ง่าย และสะดวกในการปั้นก้อน รวมทั้งช่วยกันต้มปลายข้าวและกากถั่วเหลือง เพื่อทำให้แป้งสุกปลาจะย่อยได้ง่าย และช่วยให้มีความเหนียวเพื่อจับเป็นก้อนง่ายเวลาปั้น
  3. อาหารปลาดุกโปรตีน28% สูตรผสมหญ้าเนเปียร์สับ ใช้ส่วนผสมดังนี้ ....3.1) ปลาป่น 55% --------->25 กิโลกรัม ....3.2) กากถั่วเหลือง--------->22 กิโลกรัม ....3.3) ปลายข้าวนึ่ง ---------->25 กิโลกรัม ....3.4) หญ้าเนเปียสับ -------->25 กิโลกรัม ....3.5) น้ำมันพืช------------->2.8 กิโลกรัม ....3.6) เกลือแกง ----------->0.2 กิโลกรัม

  4. น้ำหนักวัตถุดิบเริ่มต้นที่ 100 กิโลกรัม แต่พอนำวัตถุดิบ เช่น กากถั่วเหลือง และปลายข้าว มาต้มให้สุกก่อนนำไปใช้ น้ำหนักของอาหารปลาจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 80% คือจะได้อาหารปลาที่มีน้ำหนัก 180 กิโลกรัม

  5. สมาชิกลงความเห็นว่า ในช่วงปลาที่อายุ 2 เดือนขึ้นไป ปลาจะโตเร็ว ดังนั้นจึงควรย่นเวลาของการทำอาหารปลาให้เร็วขึ้น จากเดิมที่ทำอยู่ คือ 12 วันครั้ง ก็ให้ย่นมาเหลือ 7 วัน หรือ 1สัปดาห์ ต่อครั้ง และให้เพิ่มปริมาณการทำที่มากขึ้น เพื่อเตรียมไว้สำหรับหน้าฝน ซึ่งจะช่วยลดปัญหาเรื่องการตากอาหารไม่แห้ง กันอาหารขึ้นรา

  6. สมาชิกได้พูดถึงการนำปลาดุกไปแปรรูปเป็นปลาดุกร้า เพราะมีตลาดภายนอกติดต่อเข้ามา ว่าต้องการปลาดุกร้าที่ผลิตจากปลาดุกปลอดภัย แต่ทั้งนี้ก็ต้องให้ปลาดุกที่เลี้ยงในกลุ่มได้ผ่านการตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำเบื้องต้น(Safety Level) เสียก่อน โดยต่างก็ได้พูดคุยวางแผนการเลี้ยงไว้ล่วงหน้า ถ้าสามารถเจรจาราคาซื้อขายได้ลงตัวตามที่ต้องการ

  7. สมาชิกช่วยกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และบอกกล่าววิธีการให้อาหารปลาของแต่ละคน เช่น บางคนบอกว่าใช้วิธีการโยนอาหารลงกระชัง โดยก่อนโยนจะทำการแกะอาหารออกเป็นชิ้นที่เล็กลงจากก้อนใหญ่ และบางคนที่ให้โดยวิธีการใส่ตระกร้าลอยน้ำให้ปลาไปตอดกิน

  8. สมาชิกบันทึกข้อมูลอายุของลูกปลาดุก เท่ากับ 73 วัน นับจากวันที่ 23 ส.ค. - 6 พ.ย 2563


    ....................