ส่งเสริมต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยชุมชนหานโพธิ์

กิจกรรมที่ 10 การตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย (Safety Level)24 พฤศจิกายน 2020
24
พฤศจิกายน 2020รายงานจากพื้นที่ โดย Fishhanpho
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. กรรมการประสานงานนัดรวมสมาชิกที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ และชักชวนชาวบ้านที่สนใจทั่วไป แจ้งวันที่ เวลา และสถานที่เข้าร่วมการอบรม เพื่อทำกิจกรรมที่ 10 การตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย
  2. ประสานงานเจ้าหน้าที่ประมงอำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม และ เพื่อประสานงานการส่งเอกสารขอตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัยแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. ประสานงานผู้จัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่มแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  4. จัดเตรียมสถานที่ เครื่องขยายเสียง ป้ายโครงการ และอุปกรณ์สำนักงานที่จำเป็นต้องใช้
  5. เตรียมเอกสารชุดความรู้เรื่องการตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย (Safety Level : SL)
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. กรรมการโครงการส่งเสริมต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัยชุมชนหานโพธิ์ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ประมงอำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ได้ทำการบรรยาย และอธิบายถึงจุดเริ่มต้น ที่มาที่ไป และความจำเป็นของการตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย (Safety Level : SL) รวมทั้งได้อธิบายถึงวิธีการ ขั้นตอน การบันทึกเอกสาร และหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการขอตรวจรับรองฯ
  2. สมาชิกในกลุ่มโครงการฯ ยื่นเอกสารขอตรวจรับรองทั้งหมด 8 ราย อีก 2ราย ไม่ประสงค์จะขอตรวจเนื่องจากติดปัญหาเรื่องเอกสารที่ดินที่บ่อเลี้ยงปลาตั้งอยู่
  3. สมาชิกและชาวบ้านผู้สนใจที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ มีความตระหนักถึงความจำเป็นของการผลิตอาหารปลอดภัย เพื่อให้ได้มาซึ่งมาตรฐานฯ ที่มีความสำคัญอันเป็นเครื่องหมายการันตีต่อผู้บริโภคที่จะตัดสินใจเลือกซื้อ
  4. มีผู้แสดงความประสงค์จะขอเข้าร่วมโครงการฯ กับทางกลุ่มเพื่อทำการเลี้ยงปลาดุกแบบปลอดภัย และ ลดต้นทุน ตามวิถีของโครงการฯ เพิ่มขึ้นอีก 5 ราย **
  5. ความรู้ที่สมาชิกและชาวบ้านได้รับเกี่ยวกับมาตรฐานSafety Level หรือ SL โดยสรุป ดังนี้ ....5.1. ประเทศไทยประสพปัญหาการตกค้างของยาและสารเคมี ในสินค้าที่ส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เมื่อปี พ.ศ.2546 จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับ โดยสำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการผลิตอาหารสัตว์น้ำปลอดภัย เพื่อให้เกษตรกรมีความพร้อมในการพัฒนาตนเองไปสู่การผลิตที่มีมาตรฐานสูงขึ้น โดยเฉพาะการผลิตกุ้งก้ามกรามส่งออก ให้มีศักยภาพสูงในการสร้างรายได้
    ....5.2 มาตรฐานการตรวจรับรองการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย ได้เริ่มขี้นเมื่อปีพ.ศ. 2547 โดยกำหนดอยู่ใน "ระเบียบกรมประมงว่าด้วยการออกใบรับรองการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย พ.ศ.2547" ซึ่งมีสำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายในการดำเนินงาน ....5.3 มาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย เป็นพื้นฐานสำคัญ ที่จะนำไปสู่การขอรับรองมาตรฐานที่สูงขึ้นเพื่อใช้ในการส่งออก คือ มาตรฐานการปฎิบัติทางประมงที่ดีหรับสัตว์น้ำ หรือ จี เอ พี (GAP) ....5.4 ยาและสารเคมีที่ห้ามใช้ในสัตว์น้ำ ได้แก่ คลอแรมฟินิคอล(Chloramphenicol)/ ไนโทรฟิวราโซน(Nitrofurazone)/ ไนโทรฟิวแรนโทอิน(Nitrofurantoin)/ ฟิวราโซลิโดน(Furazolidone)/ ฟิวแรลทาโดน(Furaltadone)/ และ มาลาไคท์ กรีน(Malachite Green) (ที่มา: ประกาศการะทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 299 พ.ศ.2549 วันที่ 18 สิงหาคม 2549) ....5.5 เอกสารหลักฐานที่จำเป็นต้องใช้ในการยื่นขอตรวจรับรอง SL ได้แก่
    .......5.5.1 สำเนาทะเบียนบ้าน ,สำเนาบัตรประชาชน, สำเนาบัตรประจำตัวเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ(ทบ.1), สำเนาโฉนดที่ดินที่บ่อเลี้ยงปลาตั้งอยู่, ใบเสร็จรับเงินของฟาร์มที่ไปซื้อลูกปลามาเลี้ยงหรือใบบันทึกข้อมูลการเลี้ยงปลา ....5.6 เกษตรกรจะต้องเก็บอาหารที่ใช้เลี้ยงปลาไว้ส่งตรวจร่วมกับปลาที่เลี้ยงด้วย โดยปลาที่จะนำส่งตรวจจะใช้ 1 กิโลกรัม ส่วนอาหารปลา ใช้ประมาณ 100 กรัม ....5.7 ประมงอำเภอ จะเป็นผู้ช่วยประสานงาน ตั้งแต่การส่งเอกสาร และการติดตามผลการตรวจ รวมทั้งการแจ้งผลการตรวจแก่เกษตรกร **
  6. เกณฑ์การประเมินมาตรฐานขั้นปลอดภัยฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ ....6.1 มีการขึ้นทะเบียนฟาร์ม ....6.2 ไม่มีการใช้สารต้องห้ามที่ทางราชการประกาศ (มีภาพประกอบ) ....6.3 ไม่มียาปฎิชีวนะและสารต้องห้ามที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคตกค้างในเนื้อสัตว์น้ำเกินกว่าที่ทางราชการกำหนด ....6.4 มีใบกำกับการจำหน่ายพันธุ์สัตว์น้ำและลูกพันธ์ุสัตว์น้ำ หรือ มีการลงบันทึกการเลี้ยงตามแบบฟอร์มที่ประมงกำหนด