สนับสนุนการสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 46 สิงหาคม 2021
6
สิงหาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย nana56psu@gmail.com
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม :
ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 4 มีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมดังนี้ 1. เพื่อทบทวนบันไดผลลัพธ์
2. เพื่อรายงานผลการปฏิบัติงานของเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2564 3. เพื่อวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 กิจกรรมประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่  4  เป็นการประชุมวางแผนการทำงานของกันของคณะทำงานครั้งที่ 3 มีคณะกรรมการผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานจำนวน 30  คน โดยเป็นกระบวนการพูดคุยแลกเปลี่ยนการทำงานร่วมกันด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม และวางเป้าหมายร่วมกันว่า กิจกรรมภายในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2564 ตามแผนงานโครงการต้องดำเนินการอะไรบ้าง เพื่อตอบโจทย์ตัวชีวัดโครงการ และมีการทบทวนแผนงานให้รับคณะกรรมการได้รับฟัง เพื่อทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน เริ่มต้นการประชุมด้วยการกล่าวต้อนรับคณะทำงานโครงการจำนวน 30 คน โดยนายไซลฮูดิง  สาอิ ประธานผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวคือ ประธานที่ประชุมได้กล่าวตอนรับทุกคนที่เข้าประชุม ที่ได้ร่วมให้ความสำคัญกับการทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาฟื้นฟูคุณภาพชีวิต ให้กับชุมชน และได้ชี้แจ้งสถานการณ์โควิดภายในหมู่บ้านว่าอยู่ในช่วงวิกฤติ เนื่องจากพบเจอผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด 19 ภายในหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง จึงขอความร่วมมือช่วยเหลือจากคณะกรรมการทุกคนช่วยกันเฝ้าระวัง ปฏิบัติตามมาตรการป้องโควิด 19 อย่างเคร่งครัด สาเหตุที่พอเจอผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้เสี่ยงสูงบางกลุ่ม มีความปกปิดข้อมูล ป่วยโดยไม่ได้มีการแจ้ง อสม. และคณะทำงานผู้ใหญ่บ้าน จึงส่งผลให้เกิดการระบาดอย่างต่อเนื่อง และหวังเป็นอย่างว่า ทุกคนจะปฏิบัติตามกฎกติกาชุมชน และขอบคุณผู้เข้าร่วมโครงการในวันนี้ และได้ทวนวัตถุประสงค์โครงการให้กับผู้เข้าร่วมโครงการอีกครั้งคือเพื่อพัฒนาความรู้ทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19และ เพื่อสนับสนุนสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชน และได้นางสาวอารีนา  สามะ ผู้บันทึกข้อมูลเป็นผู้นำกระบวนการประชุมในครั้งนี้ นางสาวอารีนา  สามะ ได้นำกระบวนการประชุมครั้งนี้โดยชี้แจ้งวัตถุประสงค์ในการประชุมว่า เป็นการประชุมครั้งที่ 4 ต่อเนื่องจากครั้งที่แล้ว ตามมติที่ประชุมครั้งก่อนว่าให้มีการในวันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2564 โดยมีประวัตถุประสงค์ดังนี้คือ 1. ทบทวนการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์โครงการ 2. วางแผนการดำเนินงานกิจกรรมภายในเดือนสิงหาคมตามแผนงานโครงการ จากการดำเนินการประชุมมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. ทบทวนการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์โครงการ การดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างความมั่นคงทางอาหารภายในชุมชน โดยดำเนินการไปแล้ว 6 กิจกรรม คือ 1. ประชุมชนชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ , 2.ประชุมประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2564  , 3. สำรวจข้อมูลแหล่งผลิตอาหารภายในชุมชน , 4.  ประชุมประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ.2564  5. ประชุมประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564  6.อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ 3 อ. 2 ส. 7. อบรมให้ความรู้การรับมือภัยพิบัติโควิด 19 สาธิต แผนเผชิญเหตุเพื่อรับมือ โดยอยู่ในขั้นบันไดที่ 2  คือกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะการดำเนินงาน โดยตอบโจทย์ผลลัพธ์  1. เกิดระบบการรับมือสถานการณ์โควิดจำนวน 1 แผนงาน  2. กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 80 มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและตระหนักถึงการดูแลสุขภาพ 3 อ. 2 ส. 2. วางแผนการดำเนินงานกิจกรรมภายในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2564 ตามแผนงานโครงการ นางสาวอารีนาได้สรุปกิจกรรมตามแผนบันไดผลลัพธ์โครงการว่า จากแผนงานโครงการที่ต้องดำเนินงานต่อจากนี้คือ
- 1. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มผลิตอาหารสาธิตผลิตอาหารปลอดภัยการปลูกผักแปลงใหญ่ (ศูนย์กลางชุมชน)  และจากการประชุมสรุปได้ว่าให้มีการจัดกิจกรรมนี้ในวันที่  10 สิงหาคม พ.ศ. 2564 จัดขึ้น ณ ศูนย์เฝ้าระวังภัยพิบัติชุมชน เวลา 08.30 – 16.30 น. โดยเน้นกลุ่มหมายคือ ประชาชนทั่วไปในชุมชนจำนวน 30 ครัวเรือน โดยให้คณะกรรมการประสานเจ้าหน้าพัฒนากรอำเภอ  เกษตรอำเภอ และพัฒนาที่ดินจังหวัดปัตตานี มาให้ความรู้และมีงบประมานในการดำเนินกิจกรรมตามแผนงานคือจำนวน 4,450 บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดการทบทวนบันได้ผลลัพธ์โครงการอยู่ในขั้นบันไดที่ 2 คือ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะการดำเนินงาน
  • เกิดการวางแผนกิจกรรมประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ.2564 จำนวน 1 กิจกรรม ดังนี้ o พัฒนาศักยภาพกลุ่มผลิตอาหารสาธิตผลิตอาหารปลอดภัยการปลูกผักแปลงใหญ่ (ศูนย์กลางชุมชน จัดขึ้น ณ ศูนย์เฝ้าระวังภัยพิบัติชุมชน เวลา 08.30 – 16.30 น.
  • เกิดการวางแผนกติกาการปลูกสวนครัวในครัวเรือนเพื่อบริโภค อย่างน้อยครัวเรือนละ 5-7 ชนิดต่อครัวเรือน