สนับสนุนการสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

อบรมเสริมความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือนเก็บออมการจัดการบริหารการเงิน และกลุ่มออมทรัพย์ชุมชน30 กันยายน 2021
30
กันยายน 2021รายงานจากพื้นที่ โดย nana56psu@gmail.com
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผลการจัดกิจกรรม (สำหรับบันทึกข้อมูลการจัดกิจกรรมในแต่ละครั้ง) ชื่อกิจกรรม : อบรมเสริมความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน เก็บออม การจัดการ บริหารการเงิน และกลุ่มออมทรัพย์
วันเดือนปีที่จัดกิจกรรม : 30  กันยายน พ.ศ.2564  เวลา 09.00 น. – 12.00 น. สถานที่ : ศูนย์การศึกษาอิสลาม (ตาดีกา) นูรูลฮูดา ลูโบ๊ะซูลง กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 และประชาชนทีสนใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 166  คน รายละเอียดกิจกรรม : กิจกรรมอบรมเสริมความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน เก็บออม การจัดการบริหารการเงิน และกลุ่มออมทรัพย์ มีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมดังนี้ 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความรู้ความเข้าในเรื่องการการจัดทำบัญชีครัวเรือน การบริหารจัดการการเงิน
2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 มีการเก็บออมเงิน มีการจดบันทึกและติดตามผล เริ่มต้นกิจกรรมเสริมความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน การเก็บออม และการจัดการบริการหารเงินเวลา 09.00 น.เพื่อทราบจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการและเพื่อง่ายต่อการบริการจัดการ เวลาเมื่อเวลา 09.30 น. เป็นต้นไป เริ่มกระบวนการด้านเวที ซึ่งมีผู้รับผิดชอบโครงการนายไซลฮูดิง สาอิ (ผู้ใหญ่บ้าน) กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการและได้เกริ่นทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมา และเน้นย้ำว่าเป้าหมายกิจกรรมครั้งนี้ว่ามุ่งเน้นช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 เหลือว่าทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมล้วนเป็นบุคคลที่ได้รับผลกระทบทั้งสิ้น เมื่อได้รับผลกระทบแล้วสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ เราต้องมีแผนรับมือสถานการณ์หรือวิธีจัดการเพื่อการดำเนินชีวิตต่อ และกิจกรรมวันอาจเป็นเครืองมือวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้เรามีการจัดการที่ดีขึ้นหรือการสร้างภูมิคุ้มกันด้านความรู้การจัดการบริหารการเงินให้ยามวิกฤติเช่นนี้
ต่อมานางสาวอารีนา สามะผู้รับผิดชอบโครงการได้อธิบายวัตถุประสงค์กิจกรรมคือ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความรู้ความเข้าในเรื่องการการจัดทำบัญชีครัวเรือน การบริหารจัดการการเงิน  มุ่งเน้นให้กลุ่มเป้าหมายมีการจดบันทึกบัญชีครัวเรือน เพื่อให้ทราบถึงที่มา ที่ไป ของค่าใช้จ่ายต่างๆในแต่ละ มีการเก็บออม และมีเหตุผล ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพื่อเป็นการสร้างภูมิด้านการเงินในทางที่ดีขึ้น จากนั้นได้แนะนำวิทยากรผู้ที่จะให้ความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือนคือ นางสาวยัสมี  อาลี ดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการครู กศน. ตำบลเตราะบอน
วิทยากรได้ให้ความรู้การจัดทำบัญชีครัวเรือน การเก็บออม สามารถสรุปได้ดังนี้ การทำบัญชี คือ การจดบันทึก ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในการดำรงชีวิตของตัวเอง และภายในครอบครัว ชุมชน รวมถึงประเทศ ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกจะเป็นตัวบ่งชี้อดีตปัจจุบันและอนาคตของชีวิตของตัวเอง สามารถนำข้อมูลอดีตมาบอกปัจจุบันและอนาคตได้ ข้อมูลที่ได้ ที่บันทึกไว้ จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนชีวิตและกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต ในครอบครัว
การทำบัญชีครัวเรือนเป็นการจดบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวันของครัวเรือน และสามารถนำข้อมูลมาวางแผนการใช้จ่ายเงินในอนาคตได้อย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการออม การใช้จ่ายเงินอย่างประหยัดคุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ดังนั้นการทำบัญชีชีครัวเรือนมีความสำคัญดังนี้ 1. ทำให้ตนเองและครอบครัวทราบรายรับ รายจ่าย หนี้สิน และเงินคงเหลือในแต่ละวัน 2. นำข้อมูลการใช้จ่ายเงินภายในครอบครัวมาจัดเรียงลำดับความสำคัญของรายจ่าย และวางแผนการใช้จ่ายเงิน โดยพิจารณาแต่ละรายการในแต่ละวันมีรายจ่ายใดที่มีความสำคัญมาก และรายจ่ายใดไม่จำเป็นให้ตัดออก เพื่อให้การใช้จ่ายเงินภายในครอบครัวมีพอใช้และเหลือเก็บเพื่อการออมทรัพย์สำหรับใช้จ่ายสิ่งที่จำเป็นในอนาคต บัญชีครัวเรือนถือเป็นส่วนสำคัญในการปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยยึดหลัก 3 ข้อคือ การพอประมาณ ถ้ารู้รายรับรายจ่าย ก็จะใช้แบบพอประมาณ แต่ มีเหตุผล รู้ว่ารายจ่ายใดจำเป็นไม่จำเป็น และเมื่อเหลือจากใช้จ่ายก็เก็บออม นั่นคือภูมิคุ้มกัน ที่เอาไว้คุ้มกันตัวเราและครอบครัว บัญชีครัวเรือนสามารถจัดได้หมด จึงนับว่ามีประโยชน์มาก การวางแผนการใช้จ่ายเงินให้เหมาะสมระหว่างรายรับและรายจ่าย ครอบครัวต้องมีรายรับมากกว่ารายจ่าย หากพบว่ารายรับน้อยกว่ารายจ่าย ต้องหาแนวทางนำเงินมาใช้จ่ายให้เพียงพอ โดยอาจต้องกู้ยืมเงินมาใช้จ่าย แต่การกู้ยืมเงินไม่ใช่แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ เพียงแต่ช่วยให้การใช้จ่ายมีสภาพคล่องชั่วขณะเท่านั้น และในระยะยาวยังส่งผลให้ครอบครัวมีภาระหนี้สินจำนวนมาทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยซึ่งจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามระยะเวลาที่ยาวนานในการกู้ยืมเงิน เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก สำหรับการแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องในการใช้จ่ายเงินหรือปัญหารายรับไม่เพียงพอกับรายจ่ายนั้นมีแนวทางดังนี้   1. การตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออก เพื่อลดภาระการจ่ายเงินออกจากครอบครัว เช่น รายจ่ายเกี่ยวกับการพนัน สิ่งเสพติดของมึนเมา รายจ่ายฟุ่มเฟือย เป็นต้น เป็นการสร้างนิสัยมิให้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย   2. การลดรายจ่ายที่จำเป็นลง เพื่อสร้างนิสัยการประหยัด อดออม การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดอย่างคุ้มค่า เช่น การปลูกผัก ผลไม้ไว้รับประทานเอง เพื่อช่วยลดค่าอาหาร และค่าเดินทางไปตลาด อีกทั้งทำให้สุขภาพดีอีกด้วย ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแล้วหันมาออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยาน หรือ การเดิน การวิ่งแทนการขับรถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์ เป็นต้น   3. การเพิ่มรายรับ หารายได้เสริมนอกเวลาทำงานปกติ เช่น การใช้เวลาว่างรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า การขายอาหารหลังเลิกงาน การปลูกผัก หรือเลี้ยงสัตว์ไว้ขาย เป็นต้น   4. การทำความเข้าใจกันภายในครอบครัวเพื่อให้ทุกคนร่วมมือกันประหยัด รู้จักอดออม การใช้ทรัพยากรต่างๆ ลด ละ เลิก รายจ่ายหรือสิ่งที่ไม่จำเป็น และช่วยกันสร้างรายรับให้เพียงพอ เหมาะสมกับเศรษฐกิจปัจจุบัน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีกลุ่มเป้าหมายสนเข้าใจเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 30 คน
  2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน และการบริหารจัดการเงิน
  3. กลุ่มเป้าหมายได้มีการทดลองบันทึกบัญชีครัวเรือนตนเอง ผลปรากฏว่าว่า ครัวเรือนการการใช้จ่ายเงินฟุ้งเฟื่อยเกิดนความจำ เมื่อทราบการเคลื่อนไหวและรายละเอียดของค่าใช้จ่ายของตน
  4. เกิดการตั้งเป้าปมายร่วมกันว่าจะเก็บออมทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1-5 บาท
  5. เกิดคณะกรรมการติดตามการบันทึกบัญชีครัวเรือนจำนวน 5 คน โดยแบ่งเป็นเขตโซน 5 โซน
  6. เกิดแผนงานการติดตามการบันทึกบัญชีครัวเรือนเดือนละ 1 ครั้ง โดยจะมีการติดตามทุกวันสิ้นเดือน