สนับสนุนการสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสังเคราะห์บทเรียนและเขียนรายงานปิดโครงการ26 ธันวาคม 2021
26
ธันวาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย nana56psu@gmail.com
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสังเคราะห์บทเรียนและเขียนรายงานปิดโครงการ ระหว่างวันที่ 24-26 ธันวาคม 2564 ณ โรงแรมเซาเทิร์น แอร์พอร์ต อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จัดโดยหน่วยจัดการโครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID- 19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้


สนับสนุนโดยสำนักสร้างสรรค์โอกาส สสส. วัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม

  1. สรุปโครงการ และถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการย่อย
  2. เพื่อสร้างความเข้าใจต่อเครื่องมือที่ใช้หนุนเสริมในการดำเนินงานชุมชนน่าอยู่
  3. เพื่อกำหนดแผนการทำงานร่วมกันระหว่างโครงการย่อย และหน่วยจัดการ

1.ผู้รับผิดชอบโครงการย่อยโครงการละ 2 คน 15 โครงการ รวม 30 คน 2.หน่วยจัดการและพี่ เลี้ยงจังหวัด รวม 7 คน

วันที่ ธันวาคม 64 16.00 – 17.00 น. เช็คอินเข้าพักที่โรงแรม 17.00 – 18.30 น. เตรียมปฏิบัติภารกิจส่วนตัว 18.30 – 20.30 น. หน่วยจัดการ/พี่เลี้ยง ประชุมเตรียมความพร้อมการจัดกิจกรรม ผู้รับผิ ดชอบโครงการ
เตรียมตัวกิจกรรมนำเสนอ วันที่ 25 ธันวาคม 64 08.00 - 09.00 น. ลงทะเบียน กิจกรรมสันทนาการ โดย ทีมพี่เลี้ยง 09.00 - 09.30 น. เปิดกิจกรรมกล่าวต้อนรับ และชี้แจงกระบวนการของเวที โดย อาจารย์สุวิทย์ หมาดอะ ดำ ผู้จัดการโครงการฯ 09.30 - 10.30 น. โครงการย่อยนำเสนอผลลัพธ์โครงการ โครงละ 15 นาที และแลกเปลี่ยน 5 นาที 10.30 – 10.45 พักรับประทานอาหารว่าง 10.45 - 12.15 น. โครงการย่อยนำเสนอผลลัพธ์โครงการ โครงละ 15 นาที และแลกเปลี่ยน 5 นาที 12.00 - 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวันและปฏิบัติศาสนกิจ 13.30 - 15.30 น. โครงการย่อยนำเสนอผลลัพธ์โครงการ โครงละ 20 นาที และแลกเปลี่ยน 5 นาที 15.30 – 16.30 น. กระบวนการสังเคราะห์กลุ่มย่อย ในหัวข้อ “ หากชุมชนอื่นๆต้องการสร้างความรอบรู้ เรื่องสุขภาพ และการเงิน จะมีรูปแบบและขั้นตอนอย่างไร” พร้อมนำเสนอ 16.30 – 18.00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย 18.00 – 19.00 น. รับประทานอาหารเย็นร่วมกัน 19.00 – 21.00 น. กระบวนการสังเคราะห์กลุ่มย่อย ในหัวข้อ “ หากชุมชนอื่นๆจะทำโครงการเกี่ยวกับการ สร้างอาชีพและรายได้/การสร้างความมั่นคงทางอาหาร จะมีรูปแบบและขั้นตอน อย่างไร” พร้อมนำเสนอ
วันที่ 26 ธันวาคม 64 08.30 - 09.00 น. กิจกรรมสันทนาการ /สร้างสัมพันธ์ 09.00 - 10.00 น. กระบวนการสังเคราะห์กลุ่มย่อย ในหัวข้อ “ปัจจัยความสำเร็จ / ความไม่สำเร็จ และสิ่ง ที่ได้เรียนรู้(บทเรียน) ” พร้อมนำเสนอ 10.00 - 10.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.15 –12.00 น. การใช้ระบบติดตามโครงการ เพื่อปิดโครงการย่อยในระบบออนไลน์ ด้านกิจกรรม 12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน/ปฏิบัติศาสนกิจ
13.00 – 14.30 น. การใช้ระบบติดตามโครงการ เพื่อปิดโครงการย่อยในระบบออนไลน์ ด้านการเงิน (ต่อ) 14.30 – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง 14.45 – 15.30 น. ตรวจสอบความเรียบร้อยของระบบติดตามโครงการออนไลน์และการเงินโครงการย่อย 15.30 น.-16.00 น. สรุปเวทีและปิดการประชุม
โดย นายสุวิทย์ หมาดอะดำ หัวหน้าหน่วยจัดการชุมชนน่าอยู่ชายแดนใต้ ...................................... หัวข้อการนำเสนอโครงการย่อย

  1. ผลลัพธ์ด้าน จำนวน ของคนที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน (ดึงจากข้อมูล excel)
  2. ผลลัพธ์ด้าน อาชีพและรายได้(สำหรับโครงการที่เลือกประเด็นอาชีพและรายได้)และผลลัพธ์ด้านการสร้าง ความมั่นคงทางอาหาร(สำหรับโครงการที่ทำเรื่องความมั่นคงทางอาหาร)
  3. กลยุทธ์ /วิธีการดำเนินโครงการด้าน อาชีพและรายได้(สำหรับโครงการที่เลือกประเด็นอาชีพและรายได้) และการสร้างความมั่นคงทางอาหาร(สำหรับโครงการที่ทำเรื่องความมั่นคงทางอาหาร)
  4. มีหน่วยงานใดบ้างมาสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ
  5. บทเรียน/ข้อเรียนรู้สำหรับการดำเนินงาน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.แกนนำชุมชมเข้าร่วมโครงการจำนวน 4 คน 2.แกนนำชมชนนำเสนอรายงานผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงคือ
- ชุมชนมีแผนรับมือการจัดการโควิดภายในชุมชน
- สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการมีการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนจำนวน 27 คน ไม่มีการบันทึกจำนวน 3 คน และมรายได้จากเก็บออมเฉลี่ย 440 บาทต่อคน/ครัวเรือน - สมาชิกมีองค์ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ ปรับพฤติกรรมการเริ่มออกกำลังกาย บริโภคผักสมุนไพรเพื่อสร้างภูมิกัน ใส่ใจเรื่องการบริโภคอาหารคำนึ่งถึงโภชนาการทางอาหาร
- เกิดร้านค้าลอยฟ้าสินค้าเพื่อชุมชน ที่เิกิดการจากเก็บออมเงินกองทุนสมาชิกวันละ 10 บาท เที่ศูนย์กลางการเเลกเปลี่ยนสินค้า การแบ่งปัน เกิดการผ่อน-เดาน์สินค้าชุมชน เพื่อรายได้เป็นเงินปันผลแกสมาชิก - มีการขยายพื้นที่แหล่งผลิตอาหารเป็น 2 พื้นที่ ภายในชุมชน
- ภาคีเครือข่ายที่ร่วมสนับสนุนคือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล เทศบาลตำบล กศน. เกษตรอำเภอ พัฒนาชุมชนอำเภอ สถานบันการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
3.และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนกระบวนการทำงานโครงการให้บรรลุผลสำเร็จ 4 หัวข้อดังนี้ 3.1 กลไกวิธีการทำงานร่วมกันโครงการ คือ การสร้างความเข้าใจกลุ่มคณะทำงานร่วม การมีเป้าหมายร่วม ร่วมคิดร่วมทำ การกระจายโซนพื้้นที่การทำงาน ค้นหาศักยภาพพื้นที่ และการใช้เทคโนโลยีปรับใช้ในการงาน 3.2 ภาคีที่สนับสนุน
ภาคีสนับสนุนงบประมาณ องค์ความรู้ บุคคลากร และการมีแผนบรรจุในแผนงานหน่วยงาน การบูรณาการทำงานร่วมกันภาคีในพื้นที่ องค์กรต่างๆภายในชุมชน
3.3 บทเรียนที่ได้รับ การที่ได้รับผลกระทบร่วมกันนำมาซึ่งความสำเร็จของการดำเนินงาน การผลิตวิกฤติให้เป็นโอกาศ ความแตกต่างที่ไม่แตกแยก ทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้ 3.4 ความยั่นยืนของโครงการ และโควิดทำให้เรารู้จักการปรับตัว
การทำงานต่อเนื่องเป็การสร้างความยั่งยืน การติดตามและต่อยอดกิจกรรมเพื่อให้เกิดกิจกรรมใหม่ มีการอัพเดทกิจกรรมอยู่ตลอดเวลา และสร้างคนสองเเถวเพื่อส่งต่อข้อมูลและสร้างแกนนำรุ่นใหม่ 4.จัดรายงานคีย์ข้อมูลผลการปฏิบัติงานในระบบเพื่อให้พี่เลี้งติดตามโครงการ เพื่อปิดโครงการย่อยในระบบออนไลน์ ด้านการเงิน การบันทึกค่าใช้จ่ายรายกิจกรรมให้สอดคล้องกับการดำเนินงาน เพิ่มเติมกิจกรรมในส่วนรายละเอียดเนื้อหาและผลิตผลิตมากยิ่งขึ้น (ใคร ทำอะไร ที่ไหร อย่างไร ให้กับใคร เกิดอะไรขึ้นบ้าง)