โครงการพลิกฟื้นเศรษฐกิจโดยฟื้นฟูการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโคกไครอย่างยั่งยืน ตำบลมะรุ่ย อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา

ประชุมถอดบทเรียน29 กรกฎาคม 2023
29
กรกฎาคม 2023รายงานจากพื้นที่ โดย roshidahkasirak
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมถอดบทเรียน

วัตถุประสงค์ 1. การประเมินผลการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา

  1. การวิเคราะห์บทเรียน/บทสรุป จากการเปลี่ยนแปลงในแต่ละมิติ

เวลา 09.00 – 09.30 น. - ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมอบรม

เวลา 09.30 – 09.40 น. - กล่าวต้อนรับ และประธานโครงการ ชี้แจง วัตถุประสงค์และเป้าหมายของกิจกรรม โดยนายดลอ้าหลีม กะสิรักษ์

เวลา 09.40 – 10.40 น. - การพบปะพูดคุยการดำเนินโครงการที่ผ่านมา โดยนายธีระวัฒน์ หัสนี

เวลา 10.40 – 11.00 น. - พักรับประทานอาหารว่าง

เวลา 11.00 – 12.00 น. - พูดคุยการถอดบทเรียนโครงการ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงแต่ละมิติ โดยนายดลอ้าหลีม กะสิรักษ์ - มิติด้านเศรษฐกิจ - มิติด้านสังคม - มิติด้านสิ่งแวดล้อม - มิติด้านสุขภาพ

เวลา 12.00 – 12.10 น. - แลกเปลี่ยน/สอบถาม

เวลา 12.10 – 13.15 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.15 – 14.40 น. - พูดคุยการถอดบทเรียนโครงการ เรื่อง บทสรุปและบทเรียนโครงการ โดยนายดลอ้าหลีม กะสิรักษ์

เวลา 14.40 – 15.00 น. - พักรับประทานอาหารว่าง

เวลา 15.00 – 16.00 น. - สรุปผลกิจกรรมการถอดบทเรียนโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 29 กรกฎาคม 2566 เป็นวันประชุมถอดบทเรียนของโครงการพลิกฟื้นเศรษฐกิจโดยฟื้นฟูการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโคกไครอย่างยั่งยืน มีผู้เข้าร่วม จำนวน 40 คน

โดยมีนายสมพร สาระการ ประธานโครงการ ชี้แจงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ หลังจากที่นายสมพร สาระการ ชี้แจงรายละเอียดต่างๆ แล้ว ก็ได้มีนายธีระวัฒน์ หัสนี

ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงโครงการมาพบปะพูดคุยการดำเนินโครงการที่ผ่านมา หลังจากนั้น นายดลอ้าหลีม กะสิรักษ์ พูดคุยการถอดบทเรียนโครงการ เรื่องการเปลี่ยนแปลงแต่ละมิติ ดังนี้

มิติด้านเศรษฐกิจ

  • การพัฒนาอาชีพเสริม

  • เพิ่มรายได้

  • ลดรายจ่าย

  • เกิดการจ้างงาน

  • กระจายรายได้สู่ครัวเรือน

  • ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

    มิติทางสังคม

  • เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน

  • พัฒนาต่อยอดภูมิปัญญา

  • เกิดความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกัน ขยายผลสู่ครัวเรือน

  • ร่วมกันคิดแผนพัฒนาร่วมกันในชุมชน

    มิติทางสิ่งแวดล้อม

  • การคัดแยกขยะต้นทางจากครัวเรือน

  • การจัดการขยะเปียกในครัวเรือนโดยใช้ถังขยะเปียก

  • ลดการใช้สารเคมี

  • ถนนสะอาด (หน้าบ้านหน้ามอง)

    มิติทางสุขภาพ

  • ทานอาหารปลอดสารพิษ
  • รอบรู้เรื่องสุขภาพ
  • ส่งเสริมการออกกำลังกาย
  • ส่งเสริมอาหารสุขภาพ จากสมุนไพรข้างบ้าน

เมื่อเสร็จจากการเปลี่ยนแปลงแต่ละมิติ ต่อด้วยการถอดบทเรียนโครงการ เรื่อง บทสรุปและบทเรียนโครงการ ดังนี้
อะไรที่ทำสำเร็จ (เหตุผล)

  • ผู้เข้าร่วมโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้น

  • พัฒนาต่อยอดการผลิตสินค้าภายในครัวเรือน

  • ลดการใช้สารเคมี

  • ลดรายจ่าย

  • ได้รับประทานผักปลอดสารพิษ

  • ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันภายในชุมชน

  • ได้รับความรู้เรื่องการขายออนไลน์
    อะไรที่ทำไม่สำเร็จ

  • การทำบัญชีครัวเรือน (ไม่ต่อเนื่อง)

  • การตลาด (ไม่ชัดเจน)

  • การผลิต (ไม่ต่อเนื่อง)

    ข้อคิด/บทเรียน

  • ไม่ให้ความสำคัญกับการทำบัญชี /ส่งเสริมติดตาม /สร้างแรงจูงใจ

  • ข้อจำกัดภายในหมู่บ้าน/หาตลาดภายนอก/ส่งเสริมตลาดออนไลน์

  • ่ทุนหมุนเวียน/ส่งเสริมการออม/หาแหล่งเงินทุนภายนอก