แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 3

รหัสโครงการ 55-01868
สัญญาเลขที่ 55-00-0955

ชื่อโครงการ พัฒนาอาชีพเกษตรผสมผสานเพื่อเพิ่มรายได้บ้านกะโสม
รหัสโครงการ 55-01868 สัญญาเลขที่ 55-00-0955
ระยะเวลาตามสัญญา 1 ตุลาคม 2012 - 31 ตุลาคม 2013

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นายอภิวัฒน์ ไชยเดช
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2 นางสุดา ไพศาล นางกำไล สมรักษ์
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม
วันที่ส่งรายงานถึง สสส.
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นายสัจจา พิพัฒน์ผล 161 หมู่ที่ 4 ตำบลกะปาง อำเภอท่งสง นครศรีธรรมราช 089-5881800
2 นางพวงน้อย พิพัฒน์ผล 161 หมู่ที่ 4 ตำบลกะปาง อำเภอท่งสง นครศรีธรรมราช 080-8859321
3 นายสายันต์ เมฆาภาค 212 หมู่ที่ 4 ตำบลกะปาง อำเภอท่งสง นครศรีธรรมราช 080-7172203

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องเกษตรผสมผสานบนพื้นฐานทรัพยากรของชุมชน

1.1 ครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 20 1.2 ครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำเกษตรผสมผสานกันทุกเดือน ร้อยละ 80

2.

เพื่อให้ผู้ร่วมโครงการ มีรายได้เพิ่มจากการทำบัญชีครัวเรือน และเกษตรผสมผสาน เกิดอาหารปลอดภัยที่ผลิตขึ้นเองในชุมชน

2.1 มีปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยพืช  และดินปลูกใช้ และจำหน่าย ร้อยละ 20 ของครัวเรือนในหมู่บ้านทั้งหมด 2.2 มีผลิตภัณฑ์จากแป้งสาคูและหัตกรรมจากสาคู  ไว้กิน  ใช้  และจำหน่าย ร้อยละ 20 ของครัวเรือนในหมู่บ้านทั้งหมด 2.3 มีการปลูกผักพื้นบ้าน  พืชสมุนไพร และพืชใช้สอย  ใช้กิน  และจำหน่าย ร้อยละ 20 ของครัวเรือนในหมู่บ้านทั้งหมด 2.3 มีการรวมกลุ่มเกษตรผสมผสานดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 2 กลุ่ม

2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมย่อย: i

คณะกรรมการหมู่บ้าน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

มีการประชุมคณะกรรมการให้มีความเข้าใจเรื่องการดำเนินงานของโครงการ  และรับมอบหมายหน้าที่ตามมติที่ประชุม  คณะกรรมการรับเอกสารของโครงการไปศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติม  และเตรียมไว้เป็นคู่มือในการปฏิบัติงานของโครงการตลอดระยะเวลา  1 ปี  คณะกรรมการที่เป็นคณะกรรมการขององค์กรเกษตรผสมผสานจะรับหน้าที่เป็นวิทยากรในกิจกรรมต่างๆคณะกรรมการประชุมร่วมกัน ที่ทำการโครงการ มีนายสัจจา  พิพัฒน์ผล เป็นประธาน

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

คณะกรรมการสามารถสรุปงานและวางแผนงานเพื่อความต่อเนื่องของโครงการได้

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

คณะกรรมการมีความเข้าใจและให้ควาร่วมมือในการดำเนินงานตามโครงการม

กิจกรรมย่อย: i

คณะกรรมการดำเนินงานในชุมชน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

คณะกรรมการจำนวน 15 คนร่วประชุม มีนายสัจจา พิพัฒน์ผลเป็นประธานในที่ประชุมได้แจ้งวาระการประชุมเรื่องการสรุปการจัดกิจกรรมแลกเปลียนเรียนรู้เรี่องการทำปุ๋ยน้ำ และวางแผนงานการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักและการขยายพันธุ์พืชพื้นบ้านพืชสมุนไพรและไม้ใช้

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

คณะกรรมการจำนวน 15 คน ได้ประชุมร่วมกับคณะกรรมการองค์กรเกษตรผสมผสาน โดยมีนายสัจจา พิพัฒน์ผล เป็นประธานในที่ประชุม ได้แจ้งวาระการประชุม ในเรื่องการสรุปกิจกรรมจัดเวทีชี้แจงโครงการแก่ชุมชน คณะกรรมการช่วยกันออกแบบใบสมัครและช่วยกันกำหนดวิธีการ โดยในช่วงที่มีการหาเสียงของการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลกะปางจนเลือกตั้งเสร็จ ให้คณะกรรมการช่วยกันรับสมัครชาวบ้านที่สนใจในเขตบ้านของตนเอง และให้นำมารวมกันในวันที่ 19 ธ.ค.2555

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

 

กิจกรรมย่อย: i

ครัวเรือนเป้าหมายในชุมชน 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำบัญชีครัวเรือน  โดยมีวิทยากรจากองค์กรเกษตรผสมผสานเป็นผู้ร่วมแลกเปลี่ยน สอนวิธีการทำบัญชีครัวเรือนแก่สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการและผู่้สนใจ

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

สมาชิกร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และฝึกทำบัญชีครัวเรือน ณ ที่ทำการโครงการ  โดยมีวิทยากรจากองค์กรเกษตรผสมผสานเป็นผู้ร่วมแลกเปลี่ยน โครงการได้ขอสนับสนุนสมุดบัญชีครัวเรือนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์สาขาที่วัง อำเภอทุ่งสง จำนวน 38 เล่ม วิทยากรแนะนำการลงรายการในสมุดสมาชิกชักถามการลงรายการที่ไม่แน่ใจจะลงอย่างไร  การจัดกิจกรรมมีการกำหนดติดตามความก้าวหน้าของการทำบัญชืโดยการให้สมาชิกนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทุกวันที่ 27 ของเดือน  และทางโครงการมีการส่งเสริมให้สมาชิกทำบัญชีกันในทุกครัวเรือน โดยการจัดให้มีรางวัลสำหรับสามชิกที่ทำบัญชีครัวเรือนอย่างสม่ำเสมอแม่ใกล้จะสิ้นสุดโครงการ

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

สมาชิกรับแจกสมุดบัญชีไปทำบัญชีครัวเรือนของตนเองเริ่มวันที่  1 มีนาคม  2556 การประสานงานกับธกส. เป็นผลจากธกส.จะเลือกหมู่ที่ 4 เป็นหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง และจะประสานงานให้เกิดธนาคารต้นไม้ในหมู่ที่4 ของตำบลกะปาง เพราะในสมาชิกขององค์เกษตรผสมผสานที่ร่วมกิจกรรมกับโครงการพัฒนาอาชีพเกษตรผสมผสานมีการปลูกไม้ใช้สอย และไม่ยืนต้นที่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นธนาคารต้นไม้ไว้แล้วหลายพันต้น

กิจกรรมย่อย: i

ครัวเรือนเป้าหมาย 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

จัดกิจกรรมให้สมาชิกเข้าร่วมเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการทำปุ๋ยน้ำจากเศษผักเศษอาหารในครัวเรือน โดยมีวิทยากรหลักคือ สมาชิกขององค์กรเกษตรผสมผสานที่เป็นสมาชิกของกองทุนปุ๋ยหมักชุมชน ม. 4 ต.กะปาง โครงการนี้จัดเตรียมวัสดุในการฝึกปฏิบัติให้ และมีการแจกกากน้ำตาลให้สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการไปฝึกทำที่บ้านของตนเอง

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

สมาชิกเข้าให้ความสนใจร่วมเรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยน้ำสูตรต่างๆ ได้แก่ สูตรหมักจากเศษอาหารในครัวเรือน  สูตรหมักจากพืชผัก สูตรหมักจากส้มชนิดต่างๆ(สูตรน้ำส้มหยอดขี้ยาง) สมาชิกฝึกทำปุ๋ยน้ำ ฝึกเตรียมวัตถุดิบ เตรียมกากน้ำตาล เตรียมพด.2(เชื้อจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย ได้รับการสนับสนุนจากกรมพัฒนาที่ติน)วิทยากรจากองค์กรเกษตรผสมผสานร่วมแลกเปลี่ยนกับสมาชิก  สมาชิกลงมือฝึกปฏิบัติทำปุ๋ยน้ำ  โครการแจกกากน้ำตาล และ พด.2 ให้สมาชิกไปฝึกทำที่บ้านของตนเอง มีตัวแทนจาก กศน.อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มาประสานงานกับโครงการเรื่องการปลูกผักและพืชพื้นบ้าน  จะให้งบประมาณสนับสนุนการทำกิจกรรมการขยายพันธุ์พืชของโครงการ คณะกรรมการโครงการจึงเชิญให้ชี้แจงรายละเอียดให้สมาชิกรับทราบด้วย

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

สมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมให้ความสนใจการทำปุ๋ยน้ำ มีทั้งสมาชิกในหมู่ที่ 4 และหมู่ท่ี 6 ซึ่งเป็นหมู่บ้านติดต่อกันเข้าร่วมกิจกรรมด้วย  สมาชิกให้ความสนใจการทำปุ๋ยน้ำที่ใช้ใส่ต้นยางและปุ๋ยน้ำสูตรน้ำส้มหยอดขี้ยาง  เพราะสามารถนำไปใช้ประโยชน์กับอาชีพของตนเองได้ โดยเฉพาะสูตรหยอดขี้ยางสมาชิกที่กรีดยางทำขี้ยางจะให้ความสนใจมาก  สนใจฝึกและรับแจกกากน้ำตาล และพด.2 ไปทำที่บ้านตนเองเมื่อทดลองทำแล้วไม่ยุ่งยาก สมาชิกได้ร่วมแลกเปลี่ยนกันในเรื่องประโยชน์ของปุ๋ยน้ำ มีสมาชิกได้ทดลองใช้ปุ๋ยน้ำแล้ว กรีดยางได้น้ำยางมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับต้นที่ไม่ใส่ปุ๋ยน้ำ สมาชิกอีกหลายๆคนสนใจจะใช้ปุ๋ยน้ำด้วย ผลจากการเข้ามาประสานงานของ กศน.อำเภอทุ่งสง เข้าร่วมเวทีชี้แจงโครงการที่ลงสู่ฃุมฃนให้ผู้ที่สนใจปลูกผักพื้นบ้าน  ก.ศ.น.จะทำให้โครงการได้รับงบประมาณ

กิจกรรมย่อย: i

ครัวเรือนกล่มเป้าหมาย 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

จัดกิจกรรมให้สมาชิกผุู้้เข้าร่วมโครงการเรียนรู้เรื่องการขยายพันธุ์พืชผักพื้นบ้าน พืชสมุนไพร และไม้ใช้สอย ฝึกขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง การติดตา การทาบกิ่ง ฯ และให้สมาชิกไปฝึกขยายพันธุ์พืชในพื้นท่ีีตนเองมาแลกเปลี่ยนกับสมาชิกท่านอื่นๆ

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

สมาชิกเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการขยายพันธุ์พืชผักพื้นบ้าน พืชสมุนไพร และไม้ใช้สอย  สมาชิกได้ฝึกขยายพันธุ์พืชพื้นบ้านคือ ต้นเขลียง ด้วยวิธีการตอน ฝึกเตรียมถุงขุยมะพร้าว เชือกสำหรับผูกกิ่งตอน  ฝึกทำมีดสำหรับใช้ตอนกิ่ง การปลูกพืชพื้นบ้านสมาชิกส่วนใหญ่ต้องการปลูกต้นเขลียง เพราะสามารถปลูกแซมในสวนยางได้ ดูแลง่ายไม่ต้องใช้สารเคมี  ทางโครงการจะจัดหากิ่งพันธุ์เขลียงแจกให้สมาชิกเอง  เพราะการทำกิจกรรมนี้ทางโครงการได้รับความร่วมมือจาก กศน.ทุ่งสง สนับสนุนงบประมาณ จำนวน 9100 บาท ทางโครงการจึงกำหนดจะใช้งบประมารดังกล่าวซื้อกิ่งพันธุ์เขลียง  โดยจะซื้อจากสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการขยายพันธุ์กับโครงการ  สมาชิกที่ฝึกตอนกิ่งพันธุ์เขลียงในพื้นที่ตนเองต้งใช้เวลา 2-3 เดือนจึงจะสามารถให้กับโครงการได้ การปลูกผักสวนโครงการส่งเสริมให้สมาชิกปลูกผักสวนครัว สมาชิกได้รับแจกพันธุ์พริก และมะเขือไปปลูกในกระถาง ซึ่งกระถางนั้นสมาชิกมีมติให้จัดซื้อด้วยงบประมาณค่าอาหารกลางวัน

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

สมาชิกผุู้เข้าร่วมโครงการได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการขยายพันธุ์พืชผักพื้นบ้าน พืชสมุนไพร และไม้ใช้สอย และนำไปฝึกขยายพันธุ์พืชในพื้นที่ของตนเอง  ฝึกขยายพันธ์พืชด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การเพาะเมล็ด การตอน การติดตา การทาบกิ่ง ฯ และให้สมาชิกไปฝึกขยายพันธ์พืชในพื้นท่ีีตนเองมาแลกเปลี่ยนกับสมาชิกท่านอื่นๆ ผลที่เกิดขึ้นจริง สมาชิกผุู้้เข้าร่วมโครงการสนใจการตอนกิ่งเขลียง ซึ่งการตอนนั้นสามารถปรับใช้ในการตอนพืชชนิดอื่นได้  สมาชิกมีการรวมกลุ่มกันลงแขกหรือหมุนเวียนกันช่วยตอนกิ่งเขลียงในพื้นที่ของตนเองและหมุนเวียนกัน จำนวน 10 คน ซึ่งกิ่งพันธุ์ที่ได้จากการตอนดังกล่าวจะนำมาจำหน่ายคืนให้กับโครงการบางส่วนและส่วนที่เหลือจะจำหน่ายผ่านกลุ่มพันธุ์กรรมพืช สมาชืกรับแจกถุงขุยมะพร้าวไปฝึกตอนที่บ้านตนเอง การปลูกพืชผักสวนครัวรับแจกพันธุ์มะเขือและพริกคนละ 15 ต้น กระถางคนละ 10 ใบ (เดิมจะแจกคนละ 15 ใบ แต่เนื่องจากมีผู้สนใจเพิ่มเติมจึงลดปริมาณเพื่อกระจายให้ได้คนปลูกจำนวนมากขึ้น)

กิจกรรมย่อย: i

สมาชิกครัวเรือนเป้าหมาย 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

จัดกิจกรรมให้สมาฃิกแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำปูุุ๋ยหมัก  ฝึกทำปุ๋ยหมัก โดยมีวิทยากรจากกองทุนปุ๋ยหมักคอยให้คำแนะนำ

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

สมาฃิกเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำปูุุ๋ยหมัก  ฝึกทำปุ๋ยหมัก โดยมีวิทยากรจากกองทุนปุ๋ยหมักคอยให้คำแนะนำ มีการเรียนรู้สูตรปุ๋ยหมัก การเตรียมวัตถุดิบ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำปุ๋ยหมัก สมาชิกได้ทดลองทำปุ๋ยหมักโดยใช้วัตถุดิบต่างๆ ได้แก่  มูลสัตว์(มูลวัว มูลไก่ มูลหมู มูลค้างคาว )รำข้าว  ผักตบชวา แกลบ  น้ำหมักชีวภาพ และ พด.1  สมาชิกได้ช่วยกันฝึกกองปุ๋ยหมักเป็นชั้นๆ ตามที่วิทยากรแนะนำ ซึ่งปุ๋ยกองนี้เมื่อหมักสำเร็จจะได้นำมาแจกให้สมาชิกไปทดลองใช้ที่บ้านตนเอง

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

สมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมัก  ฝึกทำปุ๋ยหมักได้ 1 กอง จะใช้เวลาหมักประมาณ 3 เดือน เมื่อเสร็จจะแบ่งกันไปใช้ที่บ้าน สมาชืกได้ใช้ปุ๋ยหมักที่กองทุนปุ๋ยหมักผลิตไว้แล้ว มาผสมกับดินเพื่อใส่กระถางปลูกพริกและมะขือที่โครงการแจกให้ สมาชิกของโครงการบางคนเป็นสมาชิกของกองทุนปุ๋ยหมักชุมชนหมู่ที่ 4 ได้ทดลองใช้ปุ๋ยตั้งแต่ ปี 2551 ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ มีการช่วยกันทำทุกปี ซึ่งจะทำกันช่วงปิดกรีด หรือหน้าแล้งเพราะว่างจากการทำสวนยาง เป็นระยะเวลาปิดกรีด และเป็นการเตรียมปุ๋ยไว้ใส่สวนยางก่อนจะเปิดกรีด แต่ละปีผลิตได้ไม่น้อยกว่า 30 ตัน

กิจกรรมย่อย: i

ครัวเรือนเป้าหมาย 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำหัตถกรรมจากสาคู ได้แก่ การทำเสื่อ เข่ง  ชะลอม  และ  การทำไม้กวาดจากต้นชั้ง  ทำกิจกรรมร่วมกับวิทยากรภูมิปัญญาในชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

สมาชิกร่วมเรียนรู้การทำไม้กวาดจากชั้ง การสานชะลอมจากทางสาคู การทำกลดักแมลงจากทางมะพร้าว

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

สมาชิกที่เข้าทำไม้กวาดได้บางคน และได้ไมักวาดกลับไปใช้ที่บ้าน รู้วิธีการทำชะลอม การทำกลดักแมลง

กิจกรรมย่อย: i

ครัวเรือนเป้าหมาย 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

สมาชิกร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำแป้งสาคู การนำแป้งสาคูมาทำขนมชนิดต่าง

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการและคณะกรรมผู้ชายช่วยกันคัดเลือกต้นสาคูที่เหมาะสำหรับทำแป้ง ช่วยกันโค่นตัดเป็นท่อนๆ และขนท่อนสาคูมาทำแป้งที่กลุ่มอนุรักษ์และแปรรูปสาคู  การทำแป้งสาคูมีวิทยากรของกลุ่มอนุรักษ์ฯ ช่วยแนะนำกรรมวิธีการทำแป้งสาคู ซึ่งเริ่มจาก การคัดเลือกต้นสาคูที่เหมาะสม การโค่น การตัดเป็นท่อนๆ การปอกเปลือก การผ่าสาคูเป็นชิ้นๆให้เหมาะสำหรับการขูด  การขูดสาคูให้เป็นผงคล้ายการขูดมะพร้าว การปั้นเอาแป้งออกจากกากสาคู  การตกตะกอนแป้ง การล้างแป้ง  การตากและการร่อนแป้งเป็นเม็ดสาคู  สมาชิกให้ความสนใจและร่วมกันเรียนรู้  ส่วนการทำขนมจากแป้งสาคู  วิทยากรนำเสนอขนม  3  ชนิด ได้แก่ ขนมจาก ขนมกวน และขนมทองพับ  สมาชิกผู้หญิงจะให้ความสนใจเป็นพิเศษ

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

ปัญหาการทำแป้งสาคู คือการโค่นและการเคลื่อนย้ายสาคูจากแหล่งปลูกมาทำแป้งต้องใช้แรงงานผู้ชาย และหลายคน  และกสารทำแป้งสาคูต้องใช้แรงงานมากและหลายขั้นตอน  แนวทางการแก้ไข คือ เพิ่มมูลค่าของต้นสาคู เพิ่มค่าจ้างในการขนย้ายเพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการอนุรักษ์ต้นสาคูด้วย การทำแป้งสาคู ในบางขั้นตอนอาจจะใช้เครืองมือช่วย  เช่น การขูด การปั้น  และการตากแป้งสาคูที่ต้องพีึ่งพาแสงแดดสามารถใช้เครืองอบลมร้อนช่วยในฤดูฝน หรือเมื่อไม่มีแสงแดด

กิจกรรมย่อย: i

ครัวเรือนเป้าหมาย 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

ให้สมาชิกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับวิทยากรจากกลุ่มพันธุ์กรรมพืชขององค์กรเกษตรผสมผสานเรื่องการปลูกพืชพื้นบ้าน พืชสมุนไพร และไม้ใช้สอย

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

สมาชิกข้าร่วมแลกเลี่ยนเรียนรู้การปลูกพืชพื้นบ้าน พืชสมุนไพร และไม้ใชสอยกับวิทยากร 3 ท่าน  เรื่องการปลูกพืชพื้นบ้าน วิทยากรได้นำเสนอพืชพื้นบ้านหลายชนิดเช่น  ผักเขลียง  ผักกูด ผักหวานช้างโขลง ส้มเม่า ตาหมัด ขี้พร้าแม่หมก ฯ  แนะนำการปลูก การใส่ปุ๋ยให้ใช้ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก  การดุแลไม่ยุ่งยาก ไม่มีโรคและแมลงมารบกวน  สมาชิกสามารถปลูกไว้เป็นอาหารที่ปลอดภัยของครอบครัว เรื่องพืชสมุนไพร วิทยากรได้แลกเปลี่ยนเรื่องชนิดของสมุนไพร  การนำมาใช้ประโยขน์ เช่น ยาตาล แก้ตาลทรางในเด็กเล็ก  ว่านหางจรเข้ ทารักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก  สเลดพังพอน ทาแก้พิษจากสัตว์ เช่น ตะขาบ งู แมลงมีพิษต่างๆ  กระวาน  ใช้ประกอบอาหาร รับประทานเพื่อแก้ท้องอืดท้องเพ้อ  ฟ้าทะลายโจร ช่วยแก้หวัด  ขมิ้นอ้อย รักษาเกี่ยวกับระบบเลือด  ชะมวง ช่วยละลายไขมันในเลือด ฯ เรื่องการปลูกไม้ใช้สอย  วิทยากรร่วมและเปลี่ยนกับสมาชิกโดยการแจกแบบสำรวจพันธุ์ไม้ต่างๆที่อยู่รอบบ้าน และในสวนของสมาชิก ซึ่งประกอบด้วย พันธุ์ไม้ผล ไม้ใฃ้สอย และผักพื้นบ้าน/พืชสมุนไพร  ซึ่งขอมูลที่ได้จากการสำรวจสมารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการปลูกไม้ผลของสมาชิกในโอกาสต่อไป  การปลูกไม้ใช้สอยของสมาชิกบางคนปลูกมาหลายปีแล้ว และมีหลากหลายชนิด วิทยากรได้นำราเสนอรายละเอียดการปลูไม้ใช้หนี้ การปลูกไม้เพื่อออมเงินกับธกส. ในโครงการธนาคารต้นไม้  สมาชิกให้ความสนใจและอยากร่วมหลายคน

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

สมาชิกให้ความสนใจในทุกกิจกรรม เพราะการปลูกพืชผักพื้นบ้านนั้นสามารถสร้างรายได้ และได้บริโภคผักปลอดสารพิษ  การใช้สมุนไพรรักษา/บำบัดโรคก็สามารถหาได้ใกล้ตัว ส่วนการปลูกไม้ใช้สอยช่วยลดโลกร้อน มีไม้ไว้ใช้ยามจำเป็น ถ้าเข้าร่วมโรงการธนาคารต้นไม้ สามารถใช้หนี้และออมเงินกับธกส.ได้ สมาชิกร่วมสมัครเข้าร่วมโครงการแล้ว 12 คน

กิจกรรมย่อย: i

คณะกรรมการสมาชิกกล่มเป้าหมาย 0.00 0.00 0 0 ผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ :

คณะกรรมการ ผู้นำชุมชน สมาชิกแกนนำร่วมกัน สรุปผลงาน ถอดบทเรียน และ ดำเนินการจัดทำรายงาน 3 ครั้ง

ผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง :

คณะกรรมการ และผู้เกี่นวข้องจำนวน 100 คน ได้มาร่วกันทำกิจกรรม สรุปผลการดำเนินงาน 1 ครั้ง ถอดบททเรียน 1 ครั้ง และ ร่วมกันวางแผนการจัดทำรายงานโครงการฉบับสมบูรณ์

สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ :

โครงการได้ร่วมกันถอดบทเรียน พบว่า หลังจากการดำเนินงานตามโครงการ ชุมชนเกิดความร่วมมือ เกิดอาชีพเสริมจากการกรีดยางพารา เกิดความรู้ใหม่ในการทำหน้ำส้มหยอดหน้ายาง และชุมชนนำความรู้ที่ได้มาดำเนินงานในชุมชน

2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
น้ำส้มหยอดขี้ยาง

สืบเนื่องจากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยน้ำ ได้ทราบถึงประโยชน์ของการนำปุ๋ยน้ำไปใช้ ซึ่งสามารถทำสูตรบำรุงส่วนต่างๆของพืช และสามารถใช้แทนน้ำกรดหรือน้ำส้มฆ่ายางที่ชาวบ้านใช้ในการทำให้ยางแข็งตัว  ผู้สนใจนั้นได้เรียนรู้ปุ๋ยน้ำสูตรหมักจากพืช หมักจากเศษอาหารในครัวเรือน และสูตรหมักน้ำส้มหยอดขี้ยาง(ได้รับควมสนใจมาก) เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ สมาชิกนำไปทดลองทำที่บ้านของตนเอง

สามารถนำไปใช้แทนน้ำส้มที่ซื้อมาจากท้องตลาดในราคาขวดละสามสิบบาท เป็นการทุ่นค่าใช้จ่ายในภาคครัวเรือน และรักษาสิ่งแวดล้อมเพราะเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ

น้ำยาเร่งราก

สืบเนื่องจากการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยพืชสด โดยการนำเศษวัสดุ ผลไม้มาหมักร่วมกับสาร ผงด ได้มีสมาชิก นำไปใช้ชุบ ทาต้นเขลียงที่ชำไว้ สามารภเพิ่มระยะการแตกรากจากถุงชำกิ่งได้เร็วกว่าปกติ

สามารถนำไปใช้ทดแทนน้ำยาเร่งรากที่ซื้อจากท้องตลดได้ และชุมชนเกิดการเรียนรู้ถ่ายถอดภูมิปํญาสู่คนร่นหลัง

2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
การสร้างมูลค่าเพิ่มจากแป้งสาคู

นำแป้งสาคูซึ่งเป็นพืชที่มีมกในชุมมชน มาสร้างเป็นมูลค่าเพิ่ม โดยการทำแป้งจากต้นสาคูมาทำขนม และจำหน่าย

ประชาชนได้บริโภคขนมที่ทำจากต้นสาคู ซึ่งปัจจุบันหาทานยาก ปลอดสารพิษ และจำหน่ายสู่ชุมชนอื่น ๆ

การสร้างมูลค่าเพิ่มในการขายกิ่งตอนพืชพันธ์

ชุมชนมีรายได้หลักจาการกรีดยางเป็นสำคัญ บางครั้งฝนตกไม่สามารถที่จะกรีดยางได้ เกิดการว่างงาน หันหน้าเข้าสู่อบายมุข ในชุมชนมีพืขพัฯธ์หลายชนิดที่สามารถนำมาขยายพัน์และส่งขายเป็นที่ต้องการของตลาด เช่น ยอดเขลียง

สมาชิกครัวเรือนมีรายได้เสริมจากการขายกิ่งพันธ์มากขึ้น

2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
นายสัจจา พิพัฒน์ผล 161 หมู่ที่ 4 ตำบลกะปาง อำเภอท่งสง

ผู้นำ ในการจัดการตามโครงการ

นายสายนัต์ เมฆาภาค 212 หมู่ที่ 4 ตำบลกะปาง

ผู้ร่วมในการนำการเปลี่ยนแปลง

2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

คน

สุขภาพกาย ใจ ดีขึ้น ลดอบายมุข  ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

กระบวนการ

มีการรวมกล่ม เกิดกติกาชุมชน

สภาพแวดล้อม

สิงแวดล้อมได้รับการดูแล การใช้ประโยชน์จากป่าสาคู ป่าสาคูได้รับการดูแลมากขึ้นไม่เป็นที่เพาะพันธ์ของยุง หรือแมลงอันตราย

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม
3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

 

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

 

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

 

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

 

2.2 การใช้จ่ายเงิน

 

2.3 หลักฐานการเงิน

 

ผลรวม 0 0 0 0
ผลรวมทั้งหมด 0 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

ผู้รับผิดชอบโครงการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี เกิดความร่วมมือขึ้นในชุมชน ครัวเรือนเข้าร่วมโครงการร้อยละ 20 ครัวเรือนเข้าวมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำเกษตรผสมผสานกันทุกเดือนตามเป้าหมาย มีกล่มปุ๋ยหมัก ปู่ยพืชสด และดินปลูกพืชใช้ในชุมชน และจำหน่าย ร้อยละ 20 ของครัวเรือน เกิดผลิดภัณฑ์จากแป้งสาคูไว้กินไว้ใช้และจำหน่ายร้อยละ 20 ของครัวเรือนมีการปลูกผักพื้นบ้าน พืชสมุนไพร และพืชใช้สอยใช้กินและจำหน่ายร้อยละ 20 ของครัวเรือนในหมู่บ้าน มีการรวมกล่มของเกษตรกรผสมผสานดำเนินงานอย่างต่อเนื่องอย่าน้อย 2 กล่ม

สร้างรายงานโดย Peeraya Jindamanee