directions_run

โครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่ด้วยการฟื้นฟูและอนุรักษ์ห้วยหนุนปาน

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่ด้วยการฟื้นฟูและอนุรักษ์ห้วยหนุนปาน
ภายใต้โครงการ โครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่
รหัสโครงการ 55-00993
วันที่อนุมัติ
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2013 - 31 กรกฎาคม 2013
งบประมาณ 187,550.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ wichai meechoo
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 10 ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.7464144890123,99.894349670448place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ย. 2012 15 มี.ค. 2013 1 พ.ย. 2012 15 มี.ค. 2013 0.00
2 16 มี.ค. 2013 31 ก.ค. 2013 16 มี.ค. 2013 31 ก.ค. 2013 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (187,550.00 บาท)

stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างเครือข่ายและสร้างกระบวนการในการพัฒนาองค์กร ความรู้ และการเรียนรู้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติสายคลองห้วยหนุนปานโดยองค์กรชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วม

1.มีองค์ความรู้ภาพรวมการจัดการแหล่ง น้ำโดยองค์กรชุมชน 2 จำนวนครั้งของกิจกรรมทางสังคมที่เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมกันของคนในชุมชนในการอนุรักษ์แหล่งน้ำไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง

2 เพื่อสร้างความตระหนักในเรื่องความมั่นคงทางอาหารและมีคุณค่าต่อสุขภาพ

กฎ ระเบียบ ข้อตกลง หรือแนวปฏิบัติที่ชุมชนกำหนดร่วมกันในการอนุรักษ์คลองห้วยหนุนปาน

3 สร้างกลไกชุมชน ในการจัดการและอนุรักษ์คลองห้วยหนุนปาน

1.เกิดกลไกศุกร์ศาลาที่เป็นที่รวมของผู้นำชุมชนในการปรึกษาหารือเพื่อแก้ปัญหาชุมชน 2.เกิดกติกาชุมชนที่เป็นที่ยอมรับและสามารถนำไปปรับใช้ได้

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วัตถุประสงค์ที่ 1 สร้างเครือข่าย สร้างกระบวนการในการพัฒนาและการเรียนรู้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติคลองตลิ่งชันโดยองค์กรชุมชน และสมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วม

กิจกรรม / วิธีการ

  1. ประชุมคณะทำงานสร้างเครือข่ายคนรักคลองห้วยหนุนปาน/สร้างอาสาสมัครทูตน้อยแห่งสายน้ำ
  2. เชื่อมร้อยเครือข่ายสร้างความตระหนักให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องอนุรักษ์และฟื้นฟูคลองห้วยหนุนปาน
  3. เวทีเสวนาเรื่องเล่าชุมชนคนรักคลองห้วยหนุนปาน(อดีต/ปัจจุบัน/อนาคต)
  4. วิธีการสร้างอาสาสมัครทูตน้อยแห่งสายน้ำ ค้นหาโดยการจัดกิจกรรม ประกวดเรียงความ / ประกวดวาดภาพ / แต่งกลอน / คำขวัญเกี่ยวกับลำน้ำคลอง
  5. ประชุมปรึกษาหารือวางแผนเก็บข้อมูลในแต่ละพื้นที่   - เวทีพูดคุยหาปัญหาเกิดจากอะไร   - ออกแบบสำรวจ / สอบถาม   - ลงพื้นที่เดินสำรวจคลอง
  6. จัดทำข้อมูลของคลองแบบมีส่วนร่วม
    • เวทีประชาคมหมู่บ้าน
    • รวบรวมแบบสำรวจ / สอบถามจากกิจกรรมที่ผ่านมา
    • ประมวลข้อมูลมาจัดทำเป็นรูปเล่ม ก็จะได้เป็นองค์ความรู้เกิดขึ้นมา และจะได้แผนพัฒนาคลอง
  7. สื่อเผยแพร่
    • จัดทำสื่อพื้นบ้าน หนังตะลุง มโนราห์
    • แผ่นพับ
    • เดินรณรงค์เกี่ยวกับการอนุรักษ์คลอง/ ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อวิทยุชุมชน

วัตถุประสงค์ที่ 2. เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติการฟื้นฟูดูแลทรัพยากรน้ำและสร้างสมดุลทางธรรมชาติในพื้นที่ของชุมชน

กิจกรรม / วิธีการ

  1. ค้นหารูปธรรมการจัดการคลองที่เหมาะสมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพคลอง
    • ออกแบบสำรวจ / สอบถาม / ดูข้อมูลจากเอกสาร
    • เวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถนำมา  ประยุกต์ใช้ที่เหมาะสมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพคลอง
  2. ปรับภูมิทัศน์และอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพคลองห้วยหนุนปาน / คืนวิถีชีวิต คืนระบบนิเวศน์ริมฝั่งคลองเป็นการผสานความร่วมมือของสมาชิกในชุมชนกับภาคี เครือข่าย องค์กรที่เกี่ยวข้อง 3.  ปลูกพืชป้องกันดินพังทลาย
    • ปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน
    • ปลูกต้นไม้และพืชผักสมุนไพร ผสานความร่วมมือไปทาง เครือข่ายลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เพราะทางโซนต้นน้ำ อ.ป่าพะยอม มีธนาคารต้นไม้ที่พอจะขอความร่วมมือช่วยในเรื่อของต้นไม้ที่จะนำมาปลูก เน้นต้นไม้ที่นกสามารถกินลูกได้ ปลูกเพื่อไว้ดูดซับน้ำสมุนไพรพื้นบ้านปลูกไว้ได้กินได้ใช้เป็นยารักษาโรค ไว้เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนในอนุชนรุ่นหลัง
    • คืนสัตว์น้ำ คืนคลอง เป็นการคืนความอุดมสมบูรณ์ทางด้านอาหารให้กับชุมชน ส่งเสริมวิถีชีวิตริมคลองให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง โดยจะผสานความร่วมมือกับหน่วยงานด้านประมง, เครือข่ายลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา , สมาชิกในพื้นที่ใกล้เคียงแบ่งธารน้ำใจในเรื่องพันธ์สัตว์น้ำ ( พิธีกรรมสะเดาะเคราะห์ปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ )
    • กิจกรรมสืบชะตาแม่น้ำ ฟื้นคืนขนบธรรมเนียมประเพณีทางน้ำ ประเพณีลอยกระทง / ลอยกลอย ดูจะลางเลือนไปจากสายน้ำคลองตลิ่งชัน ขาดการจัดกิจกรรม
    • นำข้อมูลมาจัดนิทรรศการ
    • ประกวดคำขวัญ / เรียงความ เกี่ยวกับคลอง
    • ประกวดยุวทูตน้อยแห่งลำน้ำ
    • ประกวดวาดภาพคลองในฝันที่ที่อยากเห็น
    • การทำกิจกรรมร่วมกันได้ความสามัคคี ปรองดองในหมู่คณะ
    • ได้ออกกำลังกายในกิจกรรมปลูกต้นไม้ ( ออกแรง ออกเหงื่อ รอยยิ้ม )
    • ได้แหล่งความมั่นคงทางด้านอาหาร ไม่ว่าจะเป็นพืชผักสมุนไพร / สัตว์น้ำ คืนกลับมาสามารถยังชีพและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภค ปัญหาการเจ็บป่วยก็จะลดน้อยลง แถมยังช่วยเสริมรายได้ ลดรายจ่ายในครอบครัว
    • ได้เห็นภูมิปัญญาในด้านพิธีกรรม / ขนบธรรมเนียมประเพณี เสียงสวรเสเฮฮาก็จะกลับมาอีกครั้ง
  3. เวทีพัฒนาทีมอาสาสมัครระวังลำน้ำคลองห้วยหนุนปาน   - มีเวทีประชุมคณะทำงาน, แกนนำสมาชิกในชุมชน , เด็กและเยาวชน , ปราชญ์ / ผู้สูงอายุ / หมอดินอาสา ค้นหาอาสาสมัครเพื่อเฝ้าระวังลำน้ำ 1 ชุด เพื่อผลัดเปลี่ยนมาดูและลำน้ำ เช่น ดูว่ามีการใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำที่ส่งผลกระทบต่อพันธุ์สัตว์น้ำหรือไม่ อาทิ การใช้ไฟฟ้าช๊อต , การใช้ยา หรือ ดูความเปลี่ยนแปลงของน้ำ ( กลิ่น / สี / น้ำเพิ่ม / น้ำลดน้อยลง ) เป็นต้น
    • กิจกรรมนี้ได้ให้เด็กและเยาวชน ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ไม่หันไปมั่วสุมยา เสพติด / สิ่งมึนเมา และเป็นการเชื่อมสายใยสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้สูงอายุให้มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น ผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมทำไม่รู้สึกว่าตัวเองโดนทอดทิ้งให้นั่งเหงาอยู่กับบ้าน

วัตถุประสงค์ที่ 3

  1. สร้างกลไกและสร้างปฎิญญาว่าด้วยการอนุรักษ์ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของลำน้ำคลองห้วยหนุนปาน

    กิจกรรม/ วิธีการ

    เวทีพูดคุยกับผู้เกี่ยวข้อง อบต. , แกนนำชุมชน , ผู้สูงอายุ , สมาชิกในชุมชน , เยาวชน เป็นการกำหนดพื้นที่ให้มีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยอาศัยหลักการทางอนุรักษ์วิทยา แต่เป็นการใช้หลักการทางอนุรักษ์ปฏิบัติ เช่น

    • ให้มีการกำหนดเขตการใช้ดิน ให้เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ โดยพิจารณาว่าพื้นที่ใดควรเหมาะสมสำหรับกิจกรรมใด จึงจะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลำน้ำ
    • ทรัพยากรธรรมชาติบางประเภทต้องสงวนไว้ สำหรับควบคุมความสมดุลของระบบนิเวศน์ลำน้ำ จึงไม่ควรใช้ประโยชน์ใดๆ เช่น ประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์และคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ
    • กำหนดพื้นที่การอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำ / รูปแบบเครื่องมือการจันสัตว์น้ำ เป็นต้น
    • การใช้มาตรการในการลงโทษผู้กระทำผิด เพื่อให้เกิดความเกรงกลัวต่อการบังคับ ใช้กฎในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะได้ข้อตกลงร่วมและ พันธสัญญาร่วมกัน 1 ฉบับ และสร้างให้เกิดความเข้มแข็งขึ้นในชุมชน ชุมชนก็จะสามารถพึ่งพาตนเองได้
  2. เวทีประชาคมร่วมกัน หาข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการทรัพยากรลำน้ำคลองโดยชุมชน เพื่อพิจารณากลั่นกรองประเด็นปัญหาและการแก้ไขปัญหาเพื่อกำหนดทิศทางในการเดินในอนาคต สิ่งที่จะเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาและทิศทางในอนาคต ( 1 ฉบับ )

  3. เวทียื่นข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมลำน้ำคลองโดยชุมชน ( ฉบับสมบูรณ์ ) กับส่วนราชการและวิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนาไปสู่การจัดการคลองอย่างยั่งยืน

กิจกรรม / วิธีการ

เวทีเสวนา ยื่นข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมลำน้ำคลองตลิ่งชัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับส่วนราชการในการวิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนาไปสู่การจัดการคลองอย่างยั่งยืน  สร้างข้อบัญญัติในระดับตำบล ผลักดันโครงการเข้าสู่แผนพัฒนา 3 ปี ขององค์การบริหารส่วนตำบล นำไปสู่พื้นที่ต้นแบบในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2012 11:12 น.