stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ชุมชนหูยาน บ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง
ภายใต้โครงการ โครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่
รหัสโครงการ 56-00268
วันที่อนุมัติ
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2013 - 31 พฤษภาคม 2014
งบประมาณ 200,500.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายถาวร คงศรี
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ จุรีย์ หนูผุด
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่ บ้านหูยานหมู่ที่ 8 ตำบลนาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.5585466060932,99.996528625488place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2013 30 ก.ย. 2013 1 พ.ค. 2013 30 ก.ย. 2013 80,000.00
2 1 ต.ค. 2013 31 มี.ค. 2014 1 ต.ค. 2013 31 พ.ค. 2014 100,500.00
3 1 เม.ย. 2014 31 พ.ค. 2014 20,000.00
รวมงบประมาณ 200,500.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพสภาแกนนำฯ บ้านหูยานและครัวเรือนขยายผลเลี้ยงผึ้ง

1.1 ได้แผนพัฒนาชุมชนพึ่งตนเอง 1.2 เรียนรู้และทำบัญชีครัวเรือน 50 ครัวเรือน 1.3 ชักชวนประชาชนขยายผู้เลี้ยงผึ้งจาก 25 เป็น 50 ครัวเรือน

2 2.เพื่อจัดตั้งและขยายผลโรงเรียนผึ้งและพัฒนาเป็นหลักสูตรชุมชน

2.1 ตั้งโรงเรียนผึ้งและทำหลักสูตรผึ้ง 1 หลักสูตรเป็นหลักสูตรชุมชน 2.2 เรียนรู้หลักสูตรผึ้ง 1 รุ่น 25 คน 2.3 รวมกลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างน้อย  3 กลุ่ม

3 3.พัฒนาตลาดเขียวพื้นที่คนรักษ์สุขภาพมีการรับรองมาตรฐานสินค้าอาหารปลอดภัย

3.1 พัฒนาตลาดเขียวเปิดพื้นที่คนรักษ์สุขภาพจำหน่ายผลผลิตอาทิตย์ละ 1 ครั้ง 3.2 พัฒนาสินค้าตลาดเขียวให้ได้รับตราสินค้ามาตรฐานอาหารปลอดภัยมาตรฐานจากคณะกรรมคุ้มครองผู้บริโภคตำบลนาท่อม
3.3 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมตลอดโครงการ.

4 4.เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน

จำนวนครั้งที่พื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กระบวนการดำเนินงาน กลวิธีและกิจกรรม

  1. เพื่อพัฒนาศักยภาพสภาแกนนำฯ บ้านหูยานและครัวเรือนขยายผลเลี้ยงผึ้ง

    1) ประชุมสร้างความเข้าใจสมาชิกสภาแกนนำฯและครัวเรือนต้นแบบ

    2) จัดทำโครงสร้างที่ดำเนินงานของสภาแกนนำฯ เพื่อออกแบบการบริหารแต่ด้าน

    3) กิจกรรมสภาแกนนำฯปรับกระบวนการทำแผนชุมชนพึ่งตนเองอย่างมีส่วนร่วมและ  กระบวนการผลักดันแผนสู่การปฏิบัติ สู่การประเมินผลประจำปีของชุมชน

    4) ศึกษาดูงานการออกแบบชุมชนพึ่งตนเอง บ้านคีรีวง จ. นครศรีธรรมราช เรื่องการออกแบบชุมชน การสร้างอาชีพสร้างรายได้พึ่งตนเอง และสรุปผลการดูงาน โดยวิธีคัดเลือกตัวแทนสมาชิกสภาแกนนำกำหนดให้แต่ละคนเก็บประเด็น แต่ละด้าน แต่ละเรื่อง นำมาสรุปร่วมกันเพื่อนำมาออกแบบให้สอดคล้องกับบริบทบ้านหูยาน

    5) แจ้งวัตถุประสงค์ในสร้างครัวเรือนขยายผลการเลี้ยงผึ้งกับสมาชิกใหม่ 25 ครัวเรือนและการบันทึกบัญชีครัวเครือนของครัวเรือนต้นแบบสวนผัก จำนวน 50 คนเพื่อเก็บข้อมูลวิเคราะห์นำมาสู่การแก้ปัญหา ครอบครัว ชุมชน

  1. เพื่อจัดตั้งและขยายผลโรงเรียนผึ้งและพัฒนาเป็นหลักสูตรชุมชน

    1) พัฒนาการเลี้ยงผึ้งเป็นสูตรชุมชน 1หลักสูตร โดยมีนายนิกร อรุณกิจ เจ้าของภูมิปัญญามากกว่า 40 ปีร่วมกับนางบุญเรือง แสงจันทร์ เป็นเจ้าของโรงเรียนผึ้งและอาจารย์ชำนาญการเป็นที่ปรึกษาออกแบบหลักสูตร

    2) จัดตั้งพัฒนาเป็นโรงเรียนผึ้งโดยมี นางบุญเรือง  แสงจันทร์ เป็นเจ้าของโรงเรียนและเป็นครูสอนการเลี้ยงผึ้ง ปรับปรุงสถานที่ ทำสื่อแผ่นพับ vdo นำเสนอ และเรียนรู้วิธีนำเสนอการเรียน การสอน

  3) เปิดสอนการเลี้ยงผึ้ง 1 รุ่น 25 คน เป็นครัวเรือนขยายการเลี้ยงผึ้ง

  4) ครัวเรือนต้นแบบ 50 คนเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนตามแบบฉบับของธนาคาร ธกส. และเชิญวิทยากรจาก ธกส เป็นผู้สอน และร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลจากบัญชีครัวเรือน 3 เดือน/ครั้ง จำนวน 4 ครั้ง เพื่อรู้ตนเองโดยใช้ทฤษฎีหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นครอบในการวิเคราะห์

  5) จัดตั้งกลุ่มและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างน้อย 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเลี้ยงผึ้ง  กลุ่มสินค้าทดแทน  กลุ่มสวนผักชุมชนฯ โดยกำหนดโครงสร้างกลุ่มและกฎกติกากลุ่มเพื่อขอจดทะเบียนเป็นสมาชิกขึ้นกับสภาองค์กรชุมชนประโยชน์ในการขอทุนสนับสนุนต่อไป โดยเชิญหน่วยงานเกษตรจังหวัด สหกรณ์จังหวัดหรือพาณิชย์จังหวัด ให้คำปรึกษาในการจัดตั้งกลุ่ม

  1. พัฒนาตลาดเขียวพื้นที่คนรักษ์สุขภาพมีการรับรองมาตรฐานสินค้าอาหารปลอดภัย

  1) สร้างความเข้าใจกับสมาชิกครัวเรือนต้นแบบหรือสมาชิกกลุ่มสวนผัก 60 คน ให้ทราบกฎกติกากลุ่มตลาดเขียว โครงสร้างกลุ่มตลาดเขียว สินค้าตลาดเขียว และวิธีดำเนินงานตลอดจนการออกมาตรฐานสินค้า

  2) ร่วมกันออกแบบกำหนดมาตรฐานสินค้าโดยการรับรองสินค้าปลอดภัยจากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคตำบลนาท่อม

  3) พัฒนาตลาดเขียวโดยกำหนดให้เปิดอาทิตย์ละ 1 วันในพื้นที่ตลาดสดโคกม่วงวันพุธ โดยสินค้าผ่านการรับรองและมีตรามาตรฐานฯบริหารตลาดโดยกลุ่มตลาดสีเขียว

4) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ตลาดสีเขียว ผึ้ง และโครงการ ด้วย วิทยุชุมชน ทำแผ่นพับ vdo

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 2013 09:42 น.