assignment
บันทึกกิจกรรม
ทำรายงานปิดโครงการ15 กันยายน 2558
15
กันยายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อรายงานผลการดำเนินโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทำรายงานปิดโครงการ ง.1ง.2รายงานส.2ส.3 ตรวจเอกสารการเงินค่าใช้จ่ายทั้งโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทำรายงานโครงการได้อย่างถูกต้องและนำส่ง สจรส.

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ

น.ส.จินตหราบัวหนู

นายสุวัจน์ มุสิการัตน์

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ว่าที่ ร.ต.หญิงใบเฟริ์น สุวรรณมณี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

งานเปิดตัวงานสื่อ ในกิจกรรม “เราสื่อ ชาวบ้านรับ ร่วมกันปรับบ้านไทรขึงให้น่าอยู่”24 กรกฎาคม 2558
24
กรกฎาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เด็กและเยาวชนรวมทั้งผู้ปกครองมาร่วมถอดบทเรียนการเรียนรู้ที่ผ่านมา

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เด็กๆมีการเตรียมงานเพื่อแสดงผลงานนิทรรศการที่แต่ละคนสนใจ รวมกลุ่มกันทำนิทรรศการ ทั้งของเล่นพื้นบ้าน พวงมโหตรศิลปะตัดกระดาษที่ฝึกสมาธิ และความคิดสร้างสรรค์ ร้อยลูกปัดสร้อยข้อมือ นิทรรศการภาพ รวมทั้งมีพ่อๆ แม่ๆ มาร่วมกันทำอาหารและขนมพื้นบ้านให้เรารับประทานระหว่างจัดกิจกรรม จากกิจกรรมทั้งหมดที่เราทำร่วมกันตลอดทั้งปีเพื่อให้เราได้มองเห็นเป็นภาพเดียวกัน ร่วมกันพูดคุยแลกเปลี่ยนอดีตและอนาคตเด็กไทรขึง รวมทั้งร่วมกำหนดพื้นที่สร้างสรรค์ พื้นที่เสี่ยง หาทางพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์และปรับเปลี่ยนพื้นที่เสี่ยงอย่างไรไม่ให้เด็กต้องเข้ามาทำกิจกรรมที่พ่อแม่มองว่าเป็นกิจกรรมที่เสี่ยงรวมทั้งครูกอบกิตแก้วอรุณ ผู้รับผิดชอบโครงการพื้นที่สร้างสรรค์เด็กและเยาวชนบ้านไทรขึงได้ เปิดพื้นที่เรียนรู้ห้องเรียนนาข้าวให้เด็กและเยาวชนบ้านไทรขึงเรียนรู้การทำนาและรับผิดชอบดูแลนาข้าวของเด็กๆร่วมกันในปี 2558 จำนวน 2 ไร่

ส่วนกิจกรรมที่เด็กๆแบ่งกลุ่มกันนำเสนอมีดังนี้

  • ของเล่นพื้นบ้าน ซึ่งเป็นการละเล่นที่เราพยายามฟื้นให้เด็กมีการเล่นกันมากขึ้น เช่น เดินกะลา กระโดดยางลากเตาะหมาก เครื่องบิน ตี้ และอื่นๆอีกหลายการละเล่น

  • การจัดซุ้มกิจกรรมของน้องๆ ทั้งพวงมโหตรร้อยลูกปัด นิทรรศการภาพถ่าย แผนที่เดินดิน รวมทั้งดนตรี

  • พ่อแม่ผู้ปกครองมาช่วยทำอาหารรับประทานร่วมกันระหว่างคุยเรื่องเด็กบ้านเรา

  • แจกเอกสารถอดบทเรียนโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ของเล่นพื้นบ้าน ซึ่งเป็นการละเล่นที่เราพยายามฟื้นให้เด็กมีการเล่นกันมากขึ้น เช่น เดินกะลา กระโดดยาง  ลากเตาะหมาก เครื่องบิน ตี้ และอื่นๆอีกหลายการละเล่น
  • การจัดซุ้มกิจกรรมของน้องๆ ทั้งพวงมโหตร  ร้อยลูกปัด นิทรรศการภาพถ่าย แผนที่เดินดิน รวมทั้งดนตรี
  • พ่อแม่ผู้ปกครองมาช่วยทำอาหารรับประทานร่วมกันระหว่างคุยเรื่องเด็กบ้านเรา
  • แจกเอกสารถอดบทเรียนโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 45 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กและเยาวชนบ้านไทรขึง
  • เด็กและเยาวชนที่สนใจ
  • ทีมทำงาน
  • ผู้ปกครอง -ผู้นำชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เรียนรู้การทำขนมพื้นบ้าน ครั้งที่ 211 กรกฎาคม 2558
11
กรกฎาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้วิถีการทำขนมจากที่มีมาตั้งแต่รุ่นปู่ รุ่นย่า

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เด็กๆได้เรียนรู้การทำขนมจาก ซึ่งเป็นขนมพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งห่อด้วยใบจากที่หาได้จากคลองไม่ไกลจากบ้านเรานัก แล้วนำมาย่างบนรางเตาถ่าน โดยเด็กได้เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่กระบวนการผสมแป้ง ห่อขนมจาก ย่าง แล้วก็นำไปให้น้องๆรับประทาน เป็นอีกกิจกรรมที่เห็นรอยยิ้ม เห็นความร่วมมือของเด็กๆ

ขนมจากเป็นขนมไทยที่มาจากภูมิปัญญาของคนโบราณสมัยก่อน คือการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติทั้งผลผลิตทางการเกษตร รวมถึงการใช้ประโยชน์จากต้นไม้ในการเป็นภาชนะห่ออาหารก็คือใบจาก ใบจากเป็นใบคล้ายๆใบมะพร้าวชอบขึ้นตามคลองน้ำกร่อยภูมิปัญญาของคนโบราณ คือขนมไทยแท้ๆ ที่ได้จาก แป้งที่โม่จากข้าว มะพร้าวที่ให้กะทิ และน้ำตาลที่ได้จากอ้อยหรือมะพร้าว เป็นต้น ขนมจากสูตรนี้ เป็นขนมจากที่ผสมจากมะพร้าวอ่อนและมะพร้าวทึนทึก กับแป้งข้าวเหนียวดำและน้ำตาลผสมเข้ากันแล้ว ก็ห่อด้วยใบจาก กลัดด้วยไม้กลัดแล้วเอาไปย่าง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เด็กได้เรียนรู้การทำขนมจากแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน เพราะมีผู้รู้เพียงไม่กี่คนที่ได้เห็นกระบวนการนี้อย่างแท้จริง
  • ฝึกการช่วยเหลือกัน แบ่งปันกัน
  • เป็นขนมที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ความสัมพันธ์กับคนในชุมชน จากการที่เด็กไปเรียนรู้ภูมิปัญญาชุมชนจากคนในชุมชนตัวเอง
  • ได้เรียนรู้สืบทอดภูมิปัญญา
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 18 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กและเยาวชนบ้านไทรขึง
  • ทีมทำงาน
  • ปราชญ์ชาวบ้าน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

รางย่างขนมแตกทีมทำงานจึงเปลี่ยนเป็นฝาพัดลมแทน เพื่อความปลอดภัยของเด็กๆ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

คืนข้อมูลชุมชน17 มิถุนายน 2558
17
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อถอดบทเรียนกิจกรรมที่ผ่านมา

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีการถอดบทเรียนการทำงานและสรุปกิจกรรมแต่ละกิจกรรมเป็นแบบเอกสารหนังสือภาพสีที่มีความเหมาะสมกับคนทุกวัยได้ศึกษาและเรียนรู้โดยมีผู้เขียน 2 คน คือ น.ส. จินตหรา บัวหนูและนายสุวัจน์ มุสิการัตน์ เพื่อให้เด็กและผู้ปกคลองได้เรียนรู้และสรุปผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พิมพ์หนังสือเพื่อเป็นการสื่อสารความสำเร็จของโครงการ

เนื้อหาการถอดบทเรียนโครงการพื้นที่สร้างสรรค์เด็กและเยาวชนบ้านไทรขึง

"เรามารู้จักบ้านไทรขึงกันก่อนนะคะ" บ้านไทรขึงเป็นชุมชนดั้งเดิมที่อยู่อาศัยกันมานานกว่า 3 รุ่นคน คาดว่าอายุไม่ต่ำกว่า 150 ปีเนื่องจากกลุ่มบ้านมี 2 ฝั่ง คือฝั่งบ้านออกกับบ้านตก และเมื่อก่อนยังไม่มีถนนตัดผ่าน คนบ้านเราจึงเดินทางไปมาหาสู่กันทางแม่ขึง ซึ่งเป็นบึงน้ำที่มีต้นไทรใหญ่รากยาวทอดผ่านแม่ขึงที่เป็นวัง(แอ่ง)น้ำลึก คนเฒ่าคนแก่เล่าว่าลึกขนาดจมช้างทั้งตัวได้เลยทีเดียว ประกอบกับแหล่งน้ำนี้เป็นสายน้ำที่ส่งต่อความสมบูรณ์ของนาข้าวและพืชผักในถิ่น เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำให้คนในบ้านได้หาอยู่หากิน จึงเป็นจุดสำคัญจนเป็นที่มาของการตั้งชื่อหมู่บ้านว่า ”บ้านไทรขึง” บ้านไทรขึงมีภูมิบ้านซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบรรพบุรุษรุ่นแรกของบ้านไทรขึงคือพ่อพุ่มและแม่พวง เป็นภูมิบ้านที่คอยปกปักรักษาให้บ้านไทรขึงมีความสงบร่มเย็นมาตลอด เป็นที่รักและเคารพบูชากันมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ซึ่งเราจะเห็นว่ามีชาวบ้านมาบนบานศาลกล่าว พ่อพุ่มแม่พวงอยู่เป็นระยะ มีการทำพิธีบูชากันทุกปี ในช่วงเดือน 5 หนังตะลุงเป็นการแสดงที่ท่านทั้งสองชอบ ซึ่งลูกหลานรับมาเล่นให้ท่านดูทุกปีพร้อมกับการแก้บน หลังว่างจากงาน เก็บเกี่ยวพืชผลเสร็จก็นำเอาข้าวใหม่มาทำบุญภูมิบ้าน เพื่อตอบแทนที่ท่านดูแลป้องปักรักษาคนทั้งบ้านไทรขึง


"ที่มาของพื้นที่สร้างสรรค์เด็กและเยาวชนบ้านไทรขึง" พื้นที่สร้างสรรค์เด็กและเยาวชนเกิดขึ้นเนื่องจาก ชุมชนได้ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา และเห็นร่วมกันว่าเด็กต้องการพื้นที่ ต้องการแสดงออกถึงศักยภาพที่มีอยู่ แต่ขาดครอบครัว ขาดเพื่อนที่เข้าใจที่มีทักษะในการแลกเปลี่ยนในการพัฒนาทักษะชีวิต ทำให้ปัจจุบันเด็กและเยาวชนเข้าไปอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงจากสถานการณ์แพร่ระบาดของยาเสพติด ติดเกมส์ซิ่งรถ เป็นที่ตระหนักของคนในชุมชนเนื่องจากมีการระบาดค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดยาแก้ไอสี่คูณร้อย ยาบ้ายาไอซ์ จึงเกิดผลกระทบต่อชุมชนในวงกว้าง อย่างการลักขโมยทำให้ตระหนักว่าหากไม่มีกระบวนการจัดการให้สิ่งเหล่านี้หมดไป หรือชุมชนยังไม่มีมาตรการที่เพียงพอ ทำให้ยาเสพติดขยายวงกว้างกว่าเดิม ความรุนแรงของการลักขโมยจักเพิ่มขึ้นความรู้สึกปลอดภัยของคนในชุมชนเราก็จะลดน้อยลงไปเช่นกัน แม้กระบวนการแก้ปัญหาจะยาก แต่หากมีวางกระบวนการแก้ไขร่วมกันทุกส่วนรวมทั้งตัวเด็กเองได้เข้ามามีส่วนร่วมออกแบบในสิ่งที่เขาต้องการก็จะเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่มีความกดดันทั้งคนทำงานและเด็ก การทำงานจึงนำไปสู่ความสุขของทุกคน และร่วมกันแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปเรื่อยๆ จนเป็นกิจวัตร จนทำให้บ้านไทรขึงเป็นหมู่บ้านที่น่าอยู่

"แห่ หมรับแบบฉบับของเด็กไทรขึง" ทุกๆปีในช่วงเดือนสิบจะมีประเพณีวันสารท ซึ่งเป็นประเพณีของพี่น้องชาวปักต์ใต้ ที่บ้านไทรขึงก็เช่นเดียวกันเมื่อรู้ว่าใกล้จะถึงวันสารทต่างก็คลึกครื้นกันจัดหมรับ ซึ่งมีความเชื่อว่าเป็นการเตรียมอาหารคาวหวานบรรจุภาชนะไปถวายพระ อุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพชน ให้นำกลับไปใช้สอยในนรกภูมิ ลูกหลานจะต้องจัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ อาหาร มิให้ขาดตกบกพร่องตกแต่งประดับประดาสวยงามด้วยใจที่กตัญญู ที่บ้านไทรขึงได้มีการจัดหมรับถึง2หมรับ มีทั้งของผู้ใหญ่และเด็ก เด็กๆจะมาเรียนรู้การทำหมรับ จากผู้ใหญ่ แล้วเรียนรู้การทำขนมเดือนสิบ ก่อนที่จะทำเป็นของเด็กๆ เองอีกหนึ่งอันแต่ก็ยังต้องอาศัยให้ผู้ใหญ่มาช่วยจัดด้วย
รุ่งเช้า วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ทุกคนในหมู่บ้านต่างก็มาดูหมรับของหมู่บ้าน ต่างชื่นชมในชิ้นงานที่ทุกคนมีส่วนร่วมรวมถึงเด็กๆที่แต่งตัวทาแป้งหน้าขาวยืนรอ เพื่อตั้งขบวนแห่หมรับ เมื่อทุกคนมากันพร้อมหน้าพร้อมตากันก็จัดขบวนแห่หมรับรอบๆ หมู่บ้านแล้วเดินทางไปยังวัดควนมีดเพื่อทำพิธีกรรมทางศาสนา เมื่อเสร็จพิธีแล้วก็มีการชิงเปรต ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกๆปีเรียบร้อยแล้วก็เดินทางกลับบ้านไทรขึง เพื่อเตรียมงานแข่งกีฬาพื้นบ้านที่ เด็กๆได้ออกแบบกันว่าจะเล่นกันหลังจากเสร็จงานบุญ ภาพความประทับใจ ความสวยงามที่เด็กที่ร่วมกิจกรรมสืบทอดประเพณีที่ดีงามของชุมชนร่วมกับ พ่อๆแม่ๆบ้านไทรขึง เป็นอีกภาพความทรงจำที่เราทุกคนในบ้านไทรขึงได้จดจำ


"พ่อแม่รู้จักฉัน.....รึยัง" พ่อแม่รู้จักฉัน..รึยัง เป็นความคิดที่เด็กๆ ต่างก็คิดไว้ในใจ แทบจะไม่เคยได้ถามพ่อ แม่อย่างแท้จริงแต่เราได้เปิดโอกาสให้พ่อ แม่ได้ฟังน้องๆมากขึ้น เมื่อเราจัดกิจกรรม “พ่อแม่ รู้จักฉัน” ให้พ่อแม่ที่เลี้ยงลูกได้ประสบความสำเร็จมาถ่ายทอดวิธีการเลี้ยงลูก อย่างไร ให้ทุกคนเข้าในเจตนาและความต้องการของพ่อแม่ และลูก และมีการเรียนรู้นิสัยของเด็กแต่ละช่วงวัย เพื่อทำความเข้าใจตัวเด็กมากขึ้น


"ห้องเรียนนาข้าว" เมื่อเราเปิดพื้นที่การเรียนรู้พื้นที่แรกคือ ห้องเรียนนาข้าวค่ะ ในกิจกรรมนาโยนเริ่มตั้งแต่การเพาะต้นกล้าตลอดจนนำมาโยนในแปลงนาที่ทำการไถเป็นโคลนเทือก โดยแปลงนี้เป็นแปลงแรกและปีแรกที่ ลุงคม “อาคมแก้วมาก” เจ้าของนา ที่หันมาทำนาโยนในพื้นที่บ้านไทรขึงโดยเปลี่ยนจากนาดำ และนาหว่าน
ลุงคมได้เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้ปฏิบัติการโยนข้าวด้วยตัวเองด้วยซึ่งเป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่เด็กๆทั้งสนุกสนานและได้เรียนรู้เรื่องราวบ้านเราไปพร้อมๆกันพร้อมทั้งปลูกฝังวิถีของพ่อแม่ให้เด็กได้เรียนรู้ขั้นตอนการทำนาและได้ลงนา เดินตามรถไถ่นาวิ่งไล่จับปลาอย่างสนุกสนานโดยไม่กลัวเลอะโคลนที่สกปรก เด็กๆได้สะท้อนการเรียนรู้กับพวกเราว่าเป็นการเรียนรู้ที่สนุกสนานและมีน้องๆสะท้อนว่าเราได้รู้คุณค่าของข้าวมากยิ่งขึ้น เมื่อรู้ว่า กว่าจะได้ข้าวมาสักเมล็ดให้เราได้กิน เราต้องเหนื่อยลำบาก และสัญญาว่าจะทานข้าวไม่ให้เหลือ เพราะรู้ว่าพ่อแม่เราทำนามาอย่างเหนื่อยยาก



"ลอยกระทง ตอบแทนบุญคุณของแม่น้ำ" ประเพณีลอยกระทงมีขึ้นทุกๆปี ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12เป็นประเพณีที่คนไทยปฏิบัติกันมาอย่างช้านาน แต่บ้านไทรขึงไม่จัดงานลอบกระทงมาหลายปีแล้ว เด็กๆเลยออกแบบงานลอยกระทงที่ตัวเองต้องการก็คือ มีการประกวดหนูน้อยนพมาศ ประกวดกระทง และแสดงความสามารถของเด็กๆ ที่อยากจะถ่ายทอดความสมารถของตนเองสร้างความบันเทิงให้กับเพื่อนคนอื่นๆ และต้องการเห็นงานที่ดูแลสิ่งแวดล้อม ดูแลน้ำอย่างแท้จริง อย่างเช่นสืบสานตำนานของแม่ขึงซึ่งเป็นสายคลองที่สำคัญของคนไทรขึงตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน


"ห้องเรียน...หาอยู่หากิน" เรื่องราว การหาอยู่ หากินของคนไทรขึง มีเรื่องเล่าที่มากมาย เพราะเป็นชุมชนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ซึ่งเป็นคำกล่าวที่ติดปากคนไทรขึงตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แต่ทว่าเรื่องราวและวิถีต่างๆ ไม่ได้ถูกเล่าต่อไม่ได้ถูกสืบทอด น้ำก็มีแค่น้ำ นาก็เป็นได้เพียงแค่พื้นที่รกร้างว่างเปล่า กว่าหลายชั่วอายุคนยังคงดูแลสืบทอดวิถีอันดีงามนี้ให้อยู่อยู่กับชุมชนมาโดยตลอด ในช่วงฤดูทำนาปีนี้ก็เช่นกัน นอกจากเด็กๆได้เรียนรู้การทำนาแล้ว เขาก็เรียนรู้การหากิน เพราะช่วงทำนาจะมีน้ำอุดมสมบูรณ์ตลอด มีปลาน้อยใหญ่อาศัยอยู่ในคูเหมือง ในนา บ่อปลา และสายน้ำต่างๆรอบบ้านไทรขึง
หลังจากเลิกเรียนเด็กผู้ชายก็รวมกลุ่มกันเพื่อจะออกหาปลา ด้วยวิถีต่างๆ ตามแต่สภาพพื้นที่อย่างวันหนึ่งที่ น้องสปายและทีมเพื่อนออกตกปลาในคูเหมือง หรือน้องโตโต้ใช้สวิงช้อนปลาที่ล้นมากับน้ำที่วังพลุ่งแล้วเด็กๆก็เอาปลาที่ได้ไปขาย เอาเงินมาซื้อขนมแบ่งกันกิน
วิถีเหล่านี้ที่เรายังเห็นอยู่ทำให้รู้ว่าคนรุ่นต่อรุ่นได้สืบทอดวิถีการหาอยู่หากินที่เป็นทักษะการดำเนินชีวิต และหากเด็กๆโตขึ้น เขามีทักษะการเอาตัวรอดที่จะอยู่ได้ด้วยการพึ่งตนเอง


"เรื่องเล่าจาก ห้องเรียนนาข้าว"

พื้นที่เรียนรู้ใหม่....ของคนตัวเล็ก

สองเท้าที่ก้าวย่างอย่างหนักแน่น แม้ขนาดของเธอยังเล็กนัก แต่เท้ากว่า 20 คู่ ก็ก้าวไปอย่างมั่นคงและย่ำลงบนรอยเท้าที่ชัดเจนแต่มีขนาดใหญ่กว่า ของพ่อ แม่ เธอทั้งหลายไม่เคยรังเกียจ โคลนที่มีกลิ่นเหม็นสาบๆ น้ำที่เขียวมีฟองขึ้นเต็มป้องนา เธอกลับสนใจที่จะเรียนรู้และมักจะตื่นตากับสิ่งแปลกใหม่ อย่างหอยเชอรี่และไข่ของมันที่มีสีชมพูดูสวยงาม แต่พอเธอได้ความรู้จากฉันว่าหอยพวกนี้เป็นตัวการกัดกินต้นข้าว พวกเธอก็ไม่รอช้าเก็บหอยและไข่ มาเป็นอาหารเป็ดที่ลุงเขียวเลี้ยงไว้........ แค่หอยเชอรี่ตัวเล็กๆก็เป็นอีกหนึ่งภารกิจที่เด็กกลุ่มนี้ต้องช่วยกัน เพราะนาข้าวผืนใหญ่ในทุ่งบ้านไทรขึง โคกโหนด และป่าพลูก็เป็นนาผืนเดียวกันที่ต่อยาวร้อยเรียงกัน และแน่นอนหนึ่งในนั้นก็เป็นนาของพ่อแม่สมาชิกตัวน้อยของเราทั้งสิ้น นอกจากเรียนรู้การทำนาโยนจากลุงคม เมื่อต้นเดือนเราก็ต้องออกมาดูการเปลี่ยนแปลงของนาที่เรามาโยนร่วมกัน และดูการเปลี่ยนแปลงของนาตัวเองด้วย บทเรียนท้องทุ่งของพื้นที่เด็กและเยาวชนบ้านไทรขึงเพิ่งเริ่มต้น การเรียนรู้นี้ยังมีอีกหลายบทเรียนที่เราต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน


"ห้องเรียน บนผืนสาด" พื้นที่สร้างสรรค์ต่างๆ ไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการที่จะเรียนรู้ของเด็กๆไปหมดทุกเรื่อง ถ้าหากผู้ใหญ่เป็นเพียงแค่คนที่คิดและหาการเรียนรู้ต่างๆให้เขา โดยที่เด็กเองไม่ได้มีส่วนร่วมในความอยากรู้นั้นด้วยห้องเรียนบนผืนสาดเป็นกิจกรรมที่ได้มากจากการเสนอของเด็กๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เสริมทักษะ สร้างพัฒนาการอย่างกิจกรรมตัดการดาษ “พวงมโหตร” ที่ทีมทำงานได้ไปดูงานพื้นที่สร้างสรรค์จากต่างพื้นที่มาปรับใช้กับเด็กๆบ้านไทรขึง เป็นกิจกรรมที่สร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อมือ ให้เด็กๆจินตนาการเลือกสีกระดาษที่เข้ากัน เป็นการเล่าเรื่องราวผ่านสีกระดาษ และฝึกการวางแผนก่อนจะตัดกระดาษเด็กๆต้องวางแผนก่อนว่าตัดออกมาแล้วจะมีความสวยงามมากน้อยแค่ไหน ร้อยลูกปัด สร้อยข้อมือ
เป็นสร้อยข้อมือที่มาจากจินตนาการที่ไม่มีวันสิ้นสุด ของเด็กๆ ซึ่งผลงานแต่ละชิ้นไม่มีซ้ำกับชิ้นอื่นแน่นอน กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ฝึกสมาธิ และการออกแบบชิ้นงานตามจินตนาการให้มีความน่าสนใจ และเด็กได้ปฏิบัติการการขายด้วย โดยสมาชิกแบ่งกันเอาไปขายที่โรงเรียนและละแวกบ้านของตัวเอง เงินที่ได้ก็แบ่งให้เด็กๆ ส่วนหนึ่งและเข้ากองทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์มาต่อยอดกิจกรรม


“ภูเขาใบไม้ หน้าต่างใบไม้” จากมือเล็กๆ ที่ช่วยกันตัดกระดาษทีละชิ้นด้วยกรรไกรและมีดกว่าจะได้มาเป็นหน้าต่างที่มีลายเส้นจากใบไม้หลากหลายสีติดอยู่ในดวงตาใสแจ๋วของแต่ละคน พร้อมรอยยิ้ม ทำเอาลุ้นกันว่าเราจะเห็นใบไม้ได้สวยงามขนาดไหน ทักษะของการเลือกใบไม้มาติดในหน้าต่างแต่ละบานต้องมีความแตกต่างและหลากสี เด็กๆสนุกกับการดูลายเส้นของใบไม้ได้สัมผัสและรู้สึกกับธรรมชาติผ่านใจและฝึกมอง ฟังเสียงรอบข้างโดยที่ตัวเราต้องเงียบเพื่อฟังสิ่งเหล้านั้นได้ถนัดขึ้น


“ กีฬาสานสัมพันธ์ เด็กทุกวัย” เมื่อพูดถึงการแข่งขันกีฬา เด็กๆก็ไม่รอข้าที่จะเสนอชนิดกีฬา หนึ่งในนั้นก็เป็นฟุตบอล แบตมินตัน ชักกะเยอร์ คือประเภทแรกๆ ที่เด็กสนใจรวมถึงผู้ใหญ่เองก็มีความรู้กติกาของกีฬาเหล่านี้ดีจนเป็นที่มาให้เราได้จัดการแข่งขันกีฬาขึ้นเป็นระยะ เพื่อให้น้องได้มีการวางแผนกันในทีม ก่อนแข่งขันเมื่อน้องๆจัดทีมเรียบร้อยแล้ว ต่อมาก็คือการวางแผนเพื่อเอาชนะคู่แข่งของเราและการวอร์มร่างกายให้มีความพร้อมทุกครั้งที่ลงแข่งขัน สิ่งที่ทุกคนมองเห็นเมื่อมีกิจกรรมแข่งกีฬาก็คือเด็กๆทุกคนต่างก็กระตือรือร้น ในการเล่นในการเชียร์


“ มือเปื้อนดิน ” เม็ดดินแต่ละเม็ดมีคุณค่าคณานับ เด็กๆจะรู้ว่าดินเป็นแหล่งกำเนิดของทุกชีวิต หลังจากได้เรียนรู้การทำเกษตรเพื่อฝึกทักษะการอยู่รอดทั้งที่โรงเรียน ที่บ้านรวมถึงทั้งไปดูงานที่สวนครูพัง “ ณัฐกิตติ์จันดำ” และครูนึง “ คํานึง นวลมณีย์ ” ทำให้เด็กๆรู้ว่าพืชผักรอบตัวเรา มีคุณค่ามาก และเป็นอีกวิถีการอยู่รอดด้วยการพึ่งตนเอง ทีมทำงานมีความภูมิใจที่อย่างน้อยเราก็สอนให้เขาปลูกผักเป็น สอนให้เขาทำอาหารได้ เขาสามารถเติบโตและดูแลตัวเองขั้นพื้นฐานได้อย่างแน่นอน


"แผนที่เดินดินของคนตัวนุ้ย" แผนที่เดินดิน จะชวยทำให้เรามองเห็นภาพรวมของชุมชนครบถ้วนที่สุด และข้อมูลที่ได้มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะกระบวนการทำแผนที่ต้องลงเดินตามจุดต่างๆของหมู่บ้าน และสามารถบอกรายละเอียดของชุมชนได้อย่างครบถ้วน โดยการลงสำรวจทรัพยากร พืชผักผลไม้ สมุนไพรของชุมชนสำรวจที่ตั้งของบ้านทั้งหมู่บ้าน รวมทั้งสามารถบอกจุดสำคัญในหมู่บ้านได้ เช่น ศาลากลางบ้าน กลุ่มน้ำยาง ร้านค้า บ้านของปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งแผนที่เดินดินทั้งหมดนี้ทีมทำงานและเยาวชนในบ้านไทรขึงเป็นคนเก็บข้อมูล และวาดแผนที่ร่วมกัน ผ่านการแก้ไขส่วนต่างๆหลายส่วนจนเสร็จสมบูรณ์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย
  • ทีมทำงาน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ห้องเรียนบนผืนสาด ครั้งที่ 8 "พวงมโหตร"7 มิถุนายน 2558
7
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้การทำพวงมโหตรและการนำไปใช้งานในพิธีกรรมต่างๆ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พื้นที่สร้างสรรค์ต่างๆ ไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการที่จะเรียนรู้ของเด็กๆไปหมดทุกเรื่อง ถ้าหากผู้ใหญ่เป็นเพียงแค่คนที่คิดและหาการเรียนรู้ต่างๆให้เขา โดยที่เด็กเองไม่ได้มีส่วนร่วมในความอยากรู้นั้นด้วยห้องเรียนบนผืนสาดเป็นกิจกรรมที่ได้มากจากการเสนอของเด็กๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เสริมทักษะ สร้างพัฒนาการอย่างกิจกรรมตัดการดาษ “พวงมโหตร” ที่ทีมทำงานได้ไปดูงานพื้นที่สร้างสรรค์จากต่างพื้นที่มาปรับใช้กับเด็กๆบ้านไทรขึง เป็นกิจกรรมที่สร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อมือ ให้เด็กๆจินตนาการเลือกสีกระดาษที่เข้ากัน เป็นการเล่าเรื่องราวผ่านสีกระดาษ และฝึกการวางแผนก่อนจะตัดกระดาษเด็กๆต้องวางแผนก่อนว่าตัดออกมาแล้วจะมีความสวยงามมากน้อยแค่ไหน

วัสดุอุปกรณ์

  1. กระดาษว่าว
  2. กรรไกร
  3. กาว-ไม้ไผ่หลาวให้กลมพันด้วยกระดาษสี
  4. ไม้บรรทัด-ดินสอ
  5. กระดาษแข็ง
  6. คัดเตอร์
  7. เชือกด้าย

การทำพวงมโหตรใช้กระดาษโปตส์เตอร์สีสองหน้า เช่นกัน ถ้าจะให้สวยต้องใช้กระดาษหลายๆ สี พับกระดาษสี่เหลี่ยมจัตุรัสให้เป็นรูปสามเหลี่ยม แล้วพับครึ่งสามเหลี่ยมนั้นต่ออีก 2 ครั้ง หมุนยอดสามเหลี่ยมเอาด้านสัน (ด้านที่เปิดไม่ได้) ไปไว้ทางขวามือ พับสันทับเข้าไปจนดูคล้ายสามเหลี่ยม 2 รูปซ้อนทับกันอยู่

จากนั้น ใช้กรรไกรตัดกระดาษสามเหลี่ยมแบบสลับฟันปลา โดยตัดจากยอดบนลงล่างจนเกือบถึงชายด้านล่างให้มีระยะห่างเท่าๆ กัน คลี่กระดาษออกและใช้กรรไกรเจาะรูตรงกลางกระดาษทั้ง 3 แผ่นเพื่อสอดกระดาษแข็งรูปวงกลมซึ่งร้อยเชือกผูกกับไม้ไว้เรียบร้อยแล้ว สำหรับทำเป็นไม้แขวน ใช้มือจับแต่งกระดาษที่ซ้อนกันอยู่นั้นให้เป็นทรงจอมแห

พวงมโหตร เป็นเครื่องแขวนโบราณที่ทำจากกระดาษสีต่าง ๆ นำมาพับและตัดเป็นรูปต่าง ๆ เป็นภูมิปัญญา พวงมโหตรเป็นเครื่องแขวนประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้แขวนในงานมงคลเท่านั้น เช่นงานแต่ง งานบวช งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ของทางภาคกลางและภาคเหนือ ส่วนภาคใต้ยังไม่ค่อยพบเจอแต่ที่ทีมทำงานเอามาให้เด็กๆได้ทำเพื่ออยากให้เขาได้เรียนรู้และสร้างจินตนาการในการตัดกระดาษ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กิจกรรมตัดพวงมโหตร เป็นกิจกรรมที่สร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อมือ ให้เด็กๆจินตนาการเลือกสีกระดาษที่เข้ากัน เป็นการเล่าเรื่องราวผ่านสีกระดาษ
  • ฝึกการวางแผนก่อนจะตัดกระดาษเด็กๆต้องวางแผนก่อนว่าตัดออกมาแล้วจะมีความสวยงามมากน้อยแค่ไหน ดูได้จากการวางกระดาษที่เท่ากัน และความถี่ในการตัดกระดาษจะส่งผลต่อรูปทรงของพวงมโหตร
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 7 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย
  • ทีมทำงาน
  • เด็กและเยาวชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เด็กที่ยังเล็กต้องการจะทำด้วยแต่ตัดกระดาษยังไม่ได้ ทีมทำงานจึงให้จับคู่กับพี่ที่โตกว่าเพื่อให้น้องได้มีพวงมโหตรสวยๆเหมือนกับพี่
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมประจำเดือน6 มิถุนายน 2558
6
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ทีมทำงานได้วางแผนการทำงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เพื่อรายงานกิจกรรมที่ผ่านมาและร่วมถอดบทเรียนเพื่อวิเคราะห์การทำงาน ประจำเดือนทุกเดือน ร่วมกับแกนนำเด็กและเยาวชน ประชาชน ผู้นำชุมชน ผู้ปกครองจิตอาสา และมีกิจกรรม “คลีนิกเพื่อน พ้อง น้อง พี่ ปรึกษาปัญหาชีวิต” จะมีพี่ที่ปรึกษา มาร่วมให้คำปรึกษาเด็กและเยาวชนและชนในชุมชนเข้ามาปรึกษาปัญหาชีวิตแบบตัวต่อตัว เด็กเยาวชนสามารถเข้ามาปรึกษาปัญหาและความไม่สบายใจกับพี่ๆ ที่เขาไว้ใจและให้คำปรึกษาได้ เพื่อร่วมรับฟัง ให้ความคิดเห็น เพื่อช่วยแก้ปัญหา

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

  “คลีนิกเพื่อน พ้อง น้อง พี่ ปรึกษาปัญหาชีวิต” จะมีพี่ที่ปรึกษา มาร่วมให้คำปรึกษาเด็กและเยาวชนและชนในชุมชนเข้ามาปรึกษาปัญหาชีวิตแบบตัวต่อตัว เด็กเยาวชนสามารถเข้ามาปรึกษาปัญหาและความไม่สบายใจกับพี่ๆ ที่เขาไว้ใจและให้คำปรึกษาได้ เพื่อร่วมรับฟัง ให้ความคิดเห็น เพื่อช่วยแก้ปัญหา

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 7 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย
  • ทีมทำงาน
  • เด็กและเยาวชนบ้านไทรขึง
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมประจำเดือน17 พฤษภาคม 2558
17
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามการทำงานของโครงการและรายงานความคืบหน้า

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

โครงการกำลังจะสิ้นสุดในอีก 2 เดือนดังนั้นกิจกรรมที่ยังคงเหลืออีก หลายกิจกรรมทำให้ทีมทำงาน มาช่วยกันออกแบบกิจกรรมเพื่อให้สำเสร็จตามเป้าหมายของโครงการที่วางไว้  และมอบหมายการจัดการ จัดกิจกรรมเพื่อความชัดเจนในหน้าที่ของแต่ละคน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 7 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย
  • ทีมทำงาน
  • เด้กและเยาวชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

วิเคราะห์ข้อมูลชุมชน โดยการทำแผนที่เดินดิน16 พฤษภาคม 2558
16
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เด็กเยาวชนบ้านไทรขึงได้เรียนรู้ชุมชนให้มองเห็นภาพรวมของชุมชนได้ครบถ้วนมีความน่าเชื่อถือ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เด็กๆ จะวาดแผนที่โซนบ้านที่ตัวเองรับผิดชอบอย่างละเอียดร่วมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งรายละเอียดที่เด็กๆวาดจะเป็นพื้นที่ที่อยู่อาศัย และพื้นที่กิจกรรมของชุมชน เช่นบ้าน ศาลากลางบ้าน ศาลาเอนกประสงค์ ร้านค้า ส่วนรายละเอียดส่วนของทรัพยากร เด็กออกแบบร่วมกันว่า จะนำมาวาดรวมในแผนที่หมู่บ้านโดยรวมเลย หลังจากวาดแผนที่โซนบ้านแล้วก็เอาแผนที่โซนบ้านมาวางต่อกัน แล้วร่างแผนที่รวมทั้งหมู่บ้าน

วิธีการวาดแผนที่ที่เด็กๆทำกันก็คือเริ่มวางจุดสำคัญของหมู่บ้าน ได้แก่ วัดควนมีดถนนรถไฟและจุดที่เด็กๆเลือกคือ วัดควนมีดตรงมาก็เป็นกลุ่มน้ำยางบ้านไทรขึง ศาลาเอนกประสงค์ และมีสี่แยก มีร้านขายของ และตรงไปเข้าชุมชน วาดบ้านแต่ละหลังและเน้นบ้านที่มีความสำคัญในชุมชน ได้แก่บ้านที่ปลูกสมุนไพร บ้านที่ทำเกษตรอินทรีย์ บ้านปราชญ์ชาวบ้าน บ้านที่ทำขนมพื้นบ้าน บ้านผู้นำชุมชน รวมทั้งวาดทรัพยากรในหมู่บ้านทั้งนาข้าว สวนยาง ไร่ พื้นที่เลี้ยงวัว ฟาร์มโคทุ่งเขาแก้ว และอื่นๆ ที่มีความสำคัญในชุมชนหลังจากนั้นก็วาดแผนที่โซนบ้านทั้ง

เพราะแผนที่เดินดิน จะช่วยทำให้เรามองเห็นภาพรวมของชุมชนครบถ้วนที่สุด และข้อมูลที่ได้มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะกระบวนการทำแผนที่ต้องลงเดินตามจุดต่างๆของหมู่บ้าน และสามารถบอกรายละเอียดของชุมชนได้อย่างครบถ้วน โดยการลงสำรวจด้วยการเดินดิน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เด็กๆสามารถบอกรายละเอียดของพื้นที่โซนที่ตัวเองรับผิดชอบได้โดยมีข้อผิดพลาดน้อยมาก
  • เด็กๆ สามารถแยกพื้นที่ดี พื้นที่เสี่ยงของหมู่บ้านได้ อย่างถูกต้อง
  • ผู้ใหญ่และปราชญ์ชาวบ้านมาช่วยกันตรวจความถูกต้องของแผนที่เป็นระยะ และมีการแก้ไขจนสมจริง
  • เด็กๆมีการการสร้างความคุ้นเคยกับชาวบ้านในชุมชนควบคู่กับการเขียนแผนที่ แวะทักทาย ชาวบ้านระหว่างการทำงาน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 23 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน
  • เด็กเยาวชนในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ห้องเรียนบนผืนสาด ครั้งที่ 7 "ร้อยลูกปัดสร้อยข้อมือ"9 พฤษภาคม 2558
9
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เด็กได้มีพื้นที่แสดงออกที่เด็กสามารถออกแบบกิจกรรมเองได้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พื้นที่สร้างสรรค์ต่างๆ ไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการที่จะเรียนรู้ของเด็กๆไปหมดทุกเรื่อง ถ้าหากผู้ใหญ่เป็นเพียงแค่คนที่คิดและหาการเรียนรู้ต่างๆให้เขา โดยที่เด็กเองไม่ได้มีส่วนร่วมในความอยากรู้นั้นด้วยห้องเรียนบนผืนสาดเป็นกิจกรรมที่ได้มากจากการเสนอของเด็กๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เสริมทักษะ สร้างพัฒนาการ อย่างกิจกรรมร้อยลูกปัด สร้อยข้อมือ ซึ่งเป็นสร้อยข้อมือที่มาจากจินตนาการที่ไม่มีวันสิ้นสุด ของเด็กๆ ซึ่งผลงานแต่ละชิ้นไม่มีซ้ำกับชิ้นอื่นแน่นอน กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ฝึกสมาธิ และการออกแบบชิ้นงานตามจินตนาการให้มีความน่าสนใจ และเด็กได้ปฏิบัติการการขายด้วย โดยสมาชิกแบ่งกันเอาไปขายที่โรงเรียนและละแวกบ้านของตัวเอง เงินที่ได้ก็แบ่งให้เด็กๆ ส่วนหนึ่งและเข้ากองทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์มาต่อยอดกิจกรรม

อุปกรณ์

  • ลูกปัดจีน(กลม) 11/0
  • ลูกปัดมุกพลาสติก (กลม) 6M
  • ลูกปัดมุกพลาสติก (กลม) 10M
  • ตะขอก้ามปู 5x10 มิล
  • เชือกเทียน
  • เอ็นยางยืด
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เด็กมีความสนใจกิจกรรมสร้างสรรค์มาก เพราะเป็นการเรียนรู้ที่มีความสนุกสนาน
  • เด็กมีความภาคภูมิใจที่สามารถหารายได้ ได้ด้วยตนเองแม้จะไม่มากแต่ทำให้เข่รู้ค่าของเงิน
  • เป็นการสร้างจินตนาการและเทคนิคในการประดิษฐ์ชิ้นงานของตนเอง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 17 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กและเยาวชน
  • ทีมทำงาน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมประจำเดือน25 เมษายน 2558
25
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้มีการพูดคุยและชี้แจงการดำเนินงานของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เพื่อรายงานกิจกรรมที่ผ่านมาและร่วมถอดบทเรียนเพื่อวิเคราะห์การทำงาน ประจำเดือนทุกเดือน ร่วมกับแกนนำเด็กและเยาวชน ประชาชน ผู้นำชุมชน ผู้ปกครองจิตอาสา และมีกิจกรรม “คลีนิกเพื่อน พ้อง น้อง พี่ ปรึกษาปัญหาชีวิต” จะมีพี่ที่ปรึกษา มาร่วมให้คำปรึกษาเด็กและเยาวชนและชนในชุมชนเข้ามาปรึกษาปัญหาชีวิตแบบตัวต่อตัว เด็กเยาวชนสามารถเข้ามาปรึกษาปัญหาและความไม่สบายใจกับพี่ๆ ที่เขาไว้ใจและให้คำปรึกษาได้ เพื่อร่วมรับฟัง ให้ความคิดเห็น เพื่อช่วยแก้ปัญหา

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

รายงานกิจกรรมที่ผ่านมาและร่วมถอดบทเรียนเพื่อวิเคราะห์การทำงาน ประจำเดือนทุกเดือน ร่วมกับแกนนำเด็กและเยาวชน ประชาชน ผู้นำชุมชน ผู้ปกครองจิตอาสา และมีกิจกรรม 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 8 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย
  • ทีมทำงาน
  • เด็กและเยาวชนบ้านไทรขึง
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

อบรมผลิตสื่อ "นักข่าวตัวนุ้ย"23 เมษายน 2558
23
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีพื้นที่ในการแสดงออกอย่าถูกต้อง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีการประชุมเพื่อออกแบบประเด็นการสื่อสารของชุมชน โดยตั้งประเด็น "ปฏิบัติการงานสื่อสารเพื่อเล่าเรื่องราวตำบลคลองเปียะ" ที่โรงเรียนชุมชนวัดควนมีด วิทยากรโดย คุณภาวิณีไชยภาคคุณสุวิระ โกสม(จะนะนิวส์ ) อาจารย์สมัทชา นิลปัท คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และมีทีมพี่เลี้ยงนักศึกษาจากคณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เพื่อช่วยเป็นพี่เลี้ยงในการทำสื่อของเด็กเยาวชนบ้านไทรขึง

เมื่อคณะนักศิกษาและอาจารย์เดินทางมาถึงก็มาทำความเข้าใจกับกิจกรรมและทำความรู้จัก แบ่งกลุ่มพี่เลี้ยงและเด็กเยาวชน จากนั้นก็ทำความเข้าใจกับชุมชน และให้แต่ละกลุ่มเก็บประเด็นชุมชนที่สนใจเพื่อศึกษารายละเอียดของประเด็น และพัฒนาประเด็นต่อเพื่อสื่อสาร

เมื่อเลือกประเด็นเสร็จ ให้น้องๆ ลงพื้นที่พร้อมกับพี่เลี้ยงเพื่อศึกษารายละเอียดของประเด็น ซึ่งมีทั้ง - ขนมพื้นบ้านบ้านไทรขึง
- กลุ่มเลี้ยงโคทุ่งเขาแก้ว
- พลังงานบนหลังคาบ้าน
-ย้อนประวัติวัดควนมีด

-กลุ่มออมทรัพย์ตำบลคลองเปียะ

ให้เวลาในการลงพื้นที่ทำความเข้าใจประเด็น 3 ชั่วโมง ตอนค่ำทุกกลุ่มต้องมีภาพเล่าเรื่องกลุ่มละ 3 ภาพเพื่อเล่าเรื่องประเด็นที่ตัวเองกำลังศึกษา พร้อมทั้งว่างโครงเรื่องในการเล่าเรื่องและเลือกช่องทางการสื่อสารในแต่ละกลุ่มและเขียนสคลิปต์ก่อนการถ่ายทำ

วันที่ 2 กับการลงพื้นที่ถ่ายทำเรื่องราวที่แต่ละกลุ่มรับผิดชอบ รวมทั้งตีประเด็นเรื่อง ตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบของเรื่องราวที่จะนำเสนอ จากนั้นก็ส่งรายละเอียดของสคลิปต์ให้อาจารย์และวิทยากรดูเป็นระยะ เพื่อปรับการเล่าเรื่องก่อนการตัดต่อ และเพื่อเก็บภาพให้พอกับเรื่องที่เล่า ออกแบบการเล่าเรื่องและวิธีเล่าเรื่อง ซึ่งมีโจทย์การเล่าเรื่องดังนี้

  • แผนที่ชุมชน
  • หนังสือพิมพ์กำแพง
  • ละคร
  • ข่าว สกู๊ป สารคดี
  • สคลิปต์ภาพ
  • นิวมีเดีย
  • นิทรรศการภาพ

แล้วก็ให้เลือกวิธีการนำเสนอ จากนั้นก็ให้แต่ละกลุ่มเลือกพื้นที่ในการผลิตสื่อ ทั้งเขียนสคลิปต์ รายงาน และตัดต่อ จนน้องๆและพี่เลี้ยงได้ชิ้นงานมากลุ่มละ 1 ชิ้น และนำเสนอ มานั่งดูร่วมกัน มีการวิเคราะห์ชิ้นงานกันด้วย

และมีชิ้นงานออกอากาศรายการนักข่าวพลเมืองช่องไทยพีบีเอช

กลุ่มเลี้ยงโคทุ่งเขาแก้ว http://www.citizenthaipbs.net/node/4986

เส้นทางผักสวนครัวโรงเรียนชุมชนควนมีด http://www.citizenthaipbs.net/node/5017

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ประเด็นของชุมชนเพื่มมากขึ้น และสามารถวิเคราะห์ชุมชนได้ด้วยตนเอง
  • เด็กและเยาวชนได้มีส่วนร่วมในการบอกเล่าเรื่องราวในชุมชนให้คนอื่นรับรู้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 35 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

มีผู้เข้าร่วมจำนวน  35  คน

  • เด็กและเยาวชน
  • ผู้ปกครอง
  • ครูและแกนนำชุมชน
  • ทีมทำงาน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ทีมเด็กเดินดินเก็บข้อมูลวันที่ 416 เมษายน 2558
16
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เด็กและเยาวชนเกิดจิตสำนึกในการสืบทอดวิถีชีวิตและภูมิปัญญาของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทีมทำงาน ทีมเด็กเดินดิน ลงพื้นที่ทำปฏิทินฤดูกาลของบ้านไทรขึง โดยมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการทำปฏิทินฤดูกาลดังนี้

  • แบ่งสอบถามข้อมูลฤดูกาลทั้ง 12 เดือน ของชาวบ้านบ้านไทรขึง
  • เขียนบันทึกข้อมูลชุมชน รวมทั้งข้อมูลครูภูมิปัญญาที่มีในแต่ละด้านในบ้านไทรขึง
  • สอบถามข้อมูลพืชไร่ พืชสวน สมุนไพร ที่มีในแต่ละฤดูกาล
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ปฏิทินฤดูกาลของบ้านไทรขึง และบทเรียนการเรียนรู้ฤดูกาลกับผลผลิตต่างๆ
  • เด็กๆสนุกกับการวาดภาพผลผลิตที่พ่อแม่ตนเองได้ตามฤดูกาลต่างๆ เช่น เงาะ ทุเรียน ลองกอง มังคุด น้อยหน่า กล้วย จำปาดะ สะตอ ลูกเนียง ลูกเหรียง และพืชสมุนไพรที่เด็กรู้ัก
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 12 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • ทีมทำงาน
  • ทีมเด็กเดินดิน
  • เด็กและเยาวชนที่สนใจเพิ่มเติม
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมประจำเดือน31 มีนาคม 2558
31
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ทีมทำงานได้ชี้แจงการดำเนินงานของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เพื่อรายงานกิจกรรมที่ผ่านมาและร่วมถอดบทเรียนเพื่อวิเคราะห์การทำงาน ประจำเดือนทุกเดือน ร่วมกับแกนนำเด็กและเยาวชน ประชาชน ผู้นำชุมชน ผู้ปกครองจิตอาสา และมีกิจกรรม “คลีนิกเพื่อน พ้อง น้อง พี่ ปรึกษาปัญหาชีวิต” จะมีพี่ที่ปรึกษา มาร่วมให้คำปรึกษาเด็กและเยาวชนและชนในชุมชนเข้ามาปรึกษาปัญหาชีวิตแบบตัวต่อตัว เด็กเยาวชนสามารถเข้ามาปรึกษาปัญหาและความไม่สบายใจกับพี่ๆ ที่เขาไว้ใจและให้คำปรึกษาได้ เพื่อร่วมรับฟัง ให้ความคิดเห็น เพื่อช่วยแก้ปัญหา

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เพื่อรายงานกิจกรรมที่ผ่านมาและร่วมถอดบทเรียนเพื่อวิเคราะห์การทำงาน ประจำเดือนทุกเดือน ร่วมกับแกนนำเด็กและเยาวชน ประชาชน ผู้นำชุมชน ผู้ปกครองจิตอาสา และมีกิจกรรม “คลีนิกเพื่อน พ้อง น้อง พี่ ปรึกษาปัญหาชีวิต” จะมีพี่ที่ปรึกษา มาร่วมให้คำปรึกษาเด็กและเยาวชนและชนในชุมชนเข้ามาปรึกษาปัญหาชีวิตแบบตัวต่อตัว เด็กเยาวชนสามารถเข้ามาปรึกษาปัญหาและความไม่สบายใจกับพี่ๆ ที่เขาไว้ใจและให้คำปรึกษาได้ เพื่อร่วมรับฟัง ให้ความคิดเห็น เพื่อช่วยแก้ปัญหา

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 16 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กและเยาวชนบ้านไทรขึง
  • ทีมทำงาน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ห้องเรียนบนผืนสาด ครั้งที่ 6 "มือเปื้อนดิน"18 มีนาคม 2558
18
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เด็กได้มีพื้นที่แสดงออกที่เด็กสามารถออกแบบกิจกรรมเองได้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

“ มือเปื้อนดิน ”

เม็ดดินแต่ละเม็ดมีคุณค่าคณานับ เด็กๆจะรู้ว่าดินเป็นแหล่งกำเนิดของทุกชีวิต หลังจากได้เรียนรู้การทำเกษตรเพื่อฝึกทักษะการอยู่รอดทั้งที่โรงเรียน ที่บ้านรวมถึงทั้งไปดูงานที่สวนครูพัง “ ณัฐกิตติ์จันดำ” และครูนึง “ คํานึง นวลมณีย์ ” ทำให้เด็กๆรู้ว่าพืชผักรอบตัวเรา มีคุณค่ามาก และเป็นอีกวิถีการอยู่รอดด้วยการพึ่งตนเอง ทีมทำงานมีความภูมิใจที่อย่างน้อยเราก็สอนให้เขาปลูกผักเป็น สอนให้เขาทำอาหารได้ เขาสามารถเติบโตและดูแลตัวเองขั้นพื้นฐานได้อย่างแน่นอน


สวนครูพัง เด็กๆได้เรียนรู้การทำเกษตรผสมผสาน บนเนื้อที่ 1 ไร่ จากเดิมเป็นสวนยาง กรีดยางได้วันละ 50 บาท จึงผันเปลี่ยนเป็นปลูกผักบุ้งและเป็นที่มาให้ขุดสระน้ำเพื่อเลี้ยงปลาและมีน้ำไว้รดผัก หลังจากนั้นก็เพิ่มจำนวนพืชไปเรื่อยๆ ทั้งมะนาว กล้วย ไผ่ มะละกอ ผักต่างๆ และพืชอีกหลากหลายบนเนื้อที่ 1 ไร่ ตอนนี้ครูพังทำรายได้ได้เดือนละ 15,000 บาท


สวนครูคำนึงเป็นพื้นที่การเรียนรู้ที่คนทั่วไปหาว่าครูนึงเพี้ยน เพราะครูนึงปลูกข้าวในล้อรถ และบ่อซีเมนหลังจากนั้นก็ก่ออิฐทำเป็นบ่อปูผ้ายางและปลูกข้าวในนั้น รวมทั้งปลูกไผ่นาๆชนิด ขายหน่อ ขายลำต้น ขายน้ำไผ่ เป็นเกษตรกรก็ความสุขเพราะทุกอย่างเหนื่อยครั้งเดียวคือตอนปลูกส่วนตอนดูแลเราก็ไม่จำเป็นต้องดูแลทุกวัน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เด็กมีทักษะในการใช้ชีวิตพึ่งตนเองได้
  • เด็กสามารถวิเคราะห์ประโยชน์ของตนไม่แต่ละชนิดได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 21 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กและเยาวชนบ้านไทรขึง
  • เด็กและเยาวชนที่สนใจ
  • ทีมทำงาน
  • ปราชญ์ชาวบ้าน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ห้องเรียนบนผืนสาด ครั้งที่ 5 "นันทนาการกีฬาพื้นบ้านสานสัมพันธ์"9 มีนาคม 2558
9
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เด็กมีทักษะร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

“ กีฬาสานสัมพันธ์ เด็กทุกวัย” เมื่อพูดถึงการแข่งขันกีฬา เด็กๆก็ไม่รอข้าที่จะเสนอชนิดกีฬา หนึ่งในนั้นก็เป็นฟุตบอล แบตมินตัน ชักกะเยอร์ คือประเภทแรกๆ ที่เด็กสนใจรวมถึงผู้ใหญ่เองก็มีความรู้กติกาของกีฬาเหล่านี้ดีจนเป็นที่มาให้เราได้จัดการแข่งขันกีฬาขึ้นเป็นระยะ เพื่อให้น้องได้มีการวางแผนกันในทีม ก่อนแข่งขันเมื่อน้องๆจัดทีมเรียบร้อยแล้ว ต่อมาก็คือการวางแผนเพื่อเอาชนะคู่แข่งของเราและการวอร์มร่างกายให้มีความพร้อมทุกครั้งที่ลงแข่งขัน สิ่งที่ทุกคนมองเห็นเมื่อมีกิจกรรมแข่งกีฬาก็คือเด็กๆทุกคนต่างก็กระตือรือร้น ในการเล่นในการเชียร์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เด็กได้มีกิจกรรมที่ผ่อนคลายและสามารถทำกิจกรรมเองได้อย่างภูมิใจ
  • เกิดความสามัคคี
  • เด็กมีจิตอาสาในการช่วยเตรียมงานและเก็บกวาดเมื่อเสร็จกิจกรรม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 21 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กและเยาวชนที่สนใจ
  • เด้กและเยาวชนบ้านไทรขึง
  • ทีมทำงาน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เรียนรู้การทำนาครั้งที่ 525 กุมภาพันธ์ 2558
25
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เด็กเยาวชนบ้านไทรขึงได้เรียนรู้ ตลอดจนสามารถปฏิบัติกิจกรรมตามประเพณีของท้องถิ่นและตระหนักที่จะสืบทอดประเพณีของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เรื่องราว การหาอยู่ หากินของคนไทรขึง มีเรื่องเล่าที่มากมาย เพราะเป็นชุมชนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ซึ่งเป็นคำกล่าวที่ติดปากคนไทรขึงตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แต่ทว่าเรื่องราวและวิถีต่างๆ ไม่ได้ถูกเล่าต่อไม่ได้ถูกสืบทอด น้ำก็มีแค่น้ำ นาก็เป็นได้เพียงแค่พื้นที่รกร้างว่างเปล่า กว่าหลายชั่วอายุคนยังคงดูแลสืบทอดวิถีอันดีงามนี้ให้อยู่อยู่กับชุมชนมาโดยตลอด ในช่วงฤดูทำนาปีนี้ก็เช่นกัน นอกจากเด็กๆได้เรียนรู้การทำนาแล้ว เขาก็เรียนรู้การหากิน เพราะช่วงทำนาจะมีน้ำอุดมสมบูรณ์ตลอด มีปลาน้อยใหญ่อาศัยอยู่ในคูเหมือง ในนา บ่อปลา และสายน้ำต่างๆรอบบ้านไทรขึง


หลังจากเลิกเรียนเด็กผู้ชายก็รวมกลุ่มกันเพื่อจะออกหาปลา ด้วยวิถีต่างๆ ตามแต่สภาพพื้นที่อย่างวันหนึ่งที่ น้องสปายและทีมเพื่อนออกตกปลาในคูเหมือง หรือน้องโตโต้ใช้สวิงช้อนปลาที่ล้นมากับน้ำที่วังพลุ่งแล้วเด็กๆก็เอาปลาที่ได้ไปขาย เอาเงินมาซื้อขนมแบ่งกันกิน


วิถีเหล่านี้ที่เรายังเห็นอยู่ทำให้รู้ว่าคนรุ่นต่อรุ่นได้สืบทอดวิถีการหาอยู่หากินที่เป็นทักษะการดำเนินชีวิต และหากเด็กๆโตขึ้น เขามีทักษะการเอาตัวรอดที่จะอยู่ได้ด้วยการพึ่งตนเอง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เด็กๆได้เรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิต
  • เด็กๆได้เรียนรู้การหาอยู่หากินกับทรัพยากรที่อยู่รอบตัวเรา
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 11 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กและเยาวชนบ้านไทรขึง
  • ทีมทำงาน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมประจำเดือน21 กุมภาพันธ์ 2558
21
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามการทำงานของพื้นที่และรายงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมพูดคุยความคืบหน้าของโครงการและประเมินผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา รวมทั้งวางแผนกิจกรรมถัดไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ติดตามความคืบหน้าโครงการ
  • ติดตามรายงานการเงินโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 12 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย
  • ทีมทำงาน
  • เด็กและเยาวชนบ้านไทรขึง
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ทำแบบประเมินโครงการ2 กุมภาพันธ์ 2558
2
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ใบเฟริ์น สุวรรณมณี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามการทำงานของพื้นที่และรายงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทำแบบประเมินโครงการและทำรายงานกิจกรรม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทำแบบประเมินโครงการ
  • ทำรายงานกิจกรรม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ทีมทำงาน
  • พี่เลี้ยง
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ว่าที่ ร.ต.หญิงใบเฟริ์น สุวรรณมณี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมประจำเดือน24 มกราคม 2558
24
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการวางแผนกระบวนการของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีการประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงานของโครงการ และเด็กมาร่วมกันถอดบทเรียนกิจกรรมที่ผ่านมา

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ติดตามผลการทำงานที่ผ่านมาของงวดที่ 1 และวางแผนกิจกรรมในงวดที่ 2มีการถอดบทเรียนเล่าสถานการณ์ปัจจุบันของเด็กในบ้านไทรขึงและบ้านใกล้เคียง และคาดการณ์ความเป็นไปได้ของกิจกรรมที่ทีมทำงานจัดกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กในทางที่ดีขึ้น เพื่อให้เห็นผลที่ดี

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 6 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

6 คน

  • ทีมทำงาน

  • เด็กและเยาวชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ทีมเด็กเดินดินเก็บข้อมูลวันที่ 311 มกราคม 2558
11
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เด็กเยาวชนบ้านไทรขึงได้เรียนรู้ ตลอดจนสามารถปฏิบัติกิจกรรมตามประเพณีของท้องถิ่นและตระหนักที่จะสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เด็กๆ เก็บข้อมูลและลงพื้นที่ทำกิจกรรมที่กลุ่มวางไว้ก่อนออกเก็บข้อมูลตามโซนบ้าน ที่ได้แบ่งไว้ โดย แบ่งเป็น 5 โซนบ้าน

กลุ่มที่ 1 โซนบ้านโคกโหนด

กลุ่มที่ 2 โซนบ้านบ่อต้นปริง

กลุ่มที่ 3 โซนบ้านโคกวัด

กลุ่มที่ 4 โซนบ้านตก

กลุ่มที่ 5 โซนบ้านกลาง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เด็กๆร่วมกันเก็บข้อมูลของชุมชนตามแบบฟอร์มที่เราวางร่วมกันไว้ ด้วยการสัมภาษณ์ตามจุดต่างๆตามโซนบ้านที่ตัวเองรับผิดชอบ

รายละเอียดที่เด็กวางแผนการเก็บข้อมูลร่วมกันดังนี้

  • ข้อมูลทรัพยากรของบ้านไทรขึง

  • ข้อมูลการประกอบอาชีพและรายได้

  • ประวัติศาสตร์ชุมชน

  • พื้นที่ดี พื้นที่เสี่ยง

  • ประเพณีและวัติธรรมชุมชน

  • คนต้นแบบของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

30 คน

  • เด็กและเยาวชนบ้านไทรขึง
  • เด็กและเยาวชนที่สนใจ
  • ทีมทำงาน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ทีมเด็กเดินดินเก็บข้อมูล วันที่ 210 มกราคม 2558
10
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เด็กเยาวชนบ้านไทรขึงได้เรียนรู้ ตลอดจนสามารถปฏิบัติกิจกรรมตามประเพณีของท้องถิ่นและตระหนักที่จะสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เด็กๆ เก็บข้อมูลและลงพื้นที่ทำกิจกรรมที่กลุ่มวางไว้ก่อนออกเก็บข้อมูลตามโซนบ้าน ที่ได้แบ่งไว้ โดย แบ่งเป็น 5 โซนบ้าน

กลุ่มที่ 1 โซนบ้านโคกโหนด

กลุ่มที่ 2 โซนบ้านบ่อต้นปริง

กลุ่มที่ 3 โซนบ้านโคกวัด

กลุ่มที่ 4 โซนบ้านตก

กลุ่มที่ 5 โซนบ้านกลาง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เด็กๆร่วมกันเก็บข้อมูลของชุมชนตามแบบฟอร์มที่เราวางร่วมกันไว้ ด้วยการสัมภาษณ์ตามจุดต่างๆตามโซนบ้านที่ตัวเองรับผิดชอบ

รายละเอียดที่เด็กวางแผนการเก็บข้อมูลร่วมกันดังนี้

  • ข้อมูลทรัพยากรของบ้านไทรขึง

  • ข้อมูลการประกอบอาชีพและรายได้

  • ประวัติศาสตร์ชุมชน

  • พื้นที่ดี พื้นที่เสี่ยง

  • ประเพณีและวัติธรรมชุมชน

  • คนต้นแบบของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

30 คน

  • เด็กและเยาวชนบ้านไทรขึง
  • เด็กและเยาวชนที่สนใจ
  • ทีมทำงาน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ทีมเด็กเดินดินเก็บข้อมูล วันที่ 19 มกราคม 2558
9
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เด็กเยาวชนบ้านไทรขึงได้เรียนรู้ ตลอดจนสามารถปฏิบัติกิจกรรมตามประเพณีของท้องถิ่นและตระหนักที่จะสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เด็กๆ เก็บข้อมูลและลงพื้นที่ทำกิจกรรมที่กลุ่มวางไว้ก่อนออกเก็บข้อมูลตามโซนบ้าน ที่ได้แบ่งไว้ โดย แบ่งเป็น 5 โซนบ้าน

กลุ่มที่ 1 โซนบ้านโคกโหนด

กลุ่มที่ 2 โซนบ้านบ่อต้นปริง

กลุ่มที่ 3 โซนบ้านโคกวัด

กลุ่มที่ 4 โซนบ้านตก

กลุ่มที่ 5 โซนบ้านกลาง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เด็กๆร่วมกันเก็บข้อมูลของชุมชนตามแบบฟอร์มที่เราวางร่วมกันไว้ ด้วยการสัมภาษณ์ตามจุดต่างๆตามโซนบ้านที่ตัวเองรับผิดชอบ

รายละเอียดที่เด็กวางแผนการเก็บข้อมูลร่วมกันดังนี้

  • ข้อมูลทรัพยากรของบ้านไทรขึง

  • ข้อมูลการประกอบอาชีพและรายได้

  • ประวัติศาสตร์ชุมชน

  • พื้นที่ดี พื้นที่เสี่ยง

  • ประเพณีและวัติธรรมชุมชน

  • คนต้นแบบของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

30 คน

  • เด็กและเยาวชนบ้านไทรขึง
  • ทีมทำงาน
  • เด็กและเยาวชนบ้านไทรขึง
  • เด็กและเยาวชนที่สนใจ
  • ทีมทำงาน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดอบรมทีมเด็กเดินดิน8 มกราคม 2558
8
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เด็กเยาวชนบ้านไทรขึงได้เรียนรู้ ตลอดจนสามารถปฏิบัติกิจกรรมตามประเพณีของท้องถิ่นและตระหนักที่จะสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทีมทำงานและทีมงานทำกิจกรรมเด็กเดินดิน ร่วมจัดกิจกรรมเด็กเดินดิน ประชุมทีมและอบรมผู้เข้าร่วมทำฐานข้อมูลชุมชนบ้านไทรขึง ซื่งมีทั้ง ทำแผนที่เดินดินทำมือ ปฏิทินฤดูกาลของบ้านไทรขึง เก็บข้อมูลและสืบค้นประวิติศาสตร์ชุมชน และทำความเข้าใจกับเครื่องมือแต่ละชนิดก่อนการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจริง และวางแผนแบ่งกลุ่มเพื่อลงสำรวจชุมชนและเก็บข้อมูลเพื่อทำแผนที่โซนบ้าน และต่อเป็นแผนที่บ้านไทรขึงภาพรวม

ผู้เข้าร่วมได้ร่วมกันตั้งเป้าหมายการเก็บข้อมูลในครั้งนี้เพื่อต่อยอดไปถึงการใช้งานได้จริงในชุมชน ซึ้งเป้าหมายที่ผู้เข้าร่วมได้ร่วมกันวางไว้คือ

  1. เพื่อให้มองเห็นภาพรวมของบ้านไทรขึงอย่างละเอียด

  2. เพื่อค้นหาพื้นที่ดี พื้นที่เสี่ยงเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการแก้ปัญหาชุมชน

  3. ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เด็กๆ ได้ทำความเข้าใจก่อนการลงพื้นที่เก็บข้อมูล และวางแผนการเก็บข้อมูลแต่ละโซนบ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 21 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • ทีมทำงาน
  • เด็กและเยาวชนบ้านไทรขึง
  • เด็กและเยาวชนที่สนใจ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ออกแบบเครื่องมือสำรวจชุมชน7 มกราคม 2558
7
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้คนในชุมชนตระหนักที่จะเรียนรู้ และร่วมสนับสนุนการแก้ไขปัญหาของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เมื่อออกแบบแบบสอบถามและวิธีเก็บข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ก็มาออกแบบวิธีการแบ่งกลุ่มและการลงเก็บข้อมูลในแบบที่เด็กๆสนใจไม่น่าเบื่อ ทีมทำงานมาร่วมออกแบบกับแกนนำเยาวชนที่เสนอตัวเข้ามาเป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรม จำนวน 5 คน
ซึ่งเด็กๆ เสนอให้เริ่มเก็บข้อมูลง่ายๆจากอาหารในครัวของเรา ว่ามีเมนูอะไรน่าสนใจบ้าง จากนั้นก็ย้อนไปดูวัตถุดิบที่ได้มาจากในตลาดนัดวัดควนมิตร และในสวนในไร่ แล้วมาปักหมุดกันดูว่าสิ่งเหล่านั้นอยู่ตรงไหนและมีที่มาที่ไปอย่างไรบ้าง เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนบ้านเราและเราจะเดินไปคุยไปหาแม่ที่ขายผัก พ่อที่ทำกับข้าว พ่อเฒ่าแม่เฒ่าที่นั่งยนหมากถากหญ้าปลูกผักเพื่อบอกเล่าความเป็นคนบ้านไทรขึงเราด้วยกัน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เด็กๆรู้สึกภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการออกแบบแบบฟอร์มเก็บข้อมูลชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กเยาวชน
  • ทีมทำงาน
  • ผู้นำชุมชน
  • ปราชญ์ชาวบ้าน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ออกแบบเครื่องมือสำรวจชุมชน7 มกราคม 2558
7
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้คนในชุมชนตระหนักที่จะเรียนรู้และร่วมสนับสนุนการแก้ปัญหาของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

อ.สมัทชา นิลปัท คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  นายสุพล บทขจร  ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดควนมีด และทีมทำงานร่วมกันออกแบบแบบสอบถามการเก็บข้อมูลชุมชนร่วมกันเพื่อเป็นแบบฟอร์มในการเก็บข้อมูลที่เป็นอันเดียวกันเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ รวมทั้งได้ออกแบบการแบ่งกลุ่ม การสอบถามข้อมูล มารยาทการสัมภาษณ์เพื่อเป็นระเบียบเดียวกันในการเก็บข้อมูลชุมชนบ้านไทรขึง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทุกคนช่วยกันออกแบบ ความต้องการข้อมูล ความสำคัญของแต่ละเรื่องร่วมกัน
  • ออกแบบรูปแบบการเก็บข้อมูลที่นอกเหนือจากฟอร์มที่เราวางไว้ กับคนที่เป็นปราชย์ชาวบ้าน  แยกต่างจากชาวบ้านทั่วไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

10 คน
-ทีมทำงาน

-ครูโรงเรียนชุมชนวัดควนมีด

-นักวิชาการ

-ผู้นำชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมประจำเดือน20 ธันวาคม 2557
20
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามการทำงานของพื้นที่และรายงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายงานการทำกิจกรรมที่ผ่านมา และร่วมกันถอดบทเรียน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เด็กๆ มีความกล้าแสดงออกในการเสนอความคิดเห็นและออกความคิดในการวางแผนกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 6 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย
  • ทีมทำงาน

  • เด็กและเยาวชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ห้องเรียนบนผืนสาด ครั้งที่ 4 "ภูเขาใบไม้ หน้าต่างใบไม้"14 ธันวาคม 2557
14
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิต ของคนในชุมชนและทำความเข้าใจกับธรรมชาติรอบตัว

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เมื่อทีมทำงานประชุมวางแผนและออกแบบกิจกรรมรวมถึงสถานที่ทำกิจกรรมเรียบร้อยก็ชวนเด็กๆเข้ามาออกแบบการจัดการของกิจกรรม "ภูเขาใบไม้ หน้าต่างใบไม้"  โดยมีน้องมาย เป็นประธานกิจกรรม แล้วก็ออกเดินทางกันไปที่น้ำตกเขาเหรง เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาเหรง ที่หมู่ที่ 3 บ้านป่ายาง ต.คลองเปียะ  อ.จะนะ  จ.สงขลา  เพื่อทำกิจกรรมภูเขาใบไม้ หน้าต่างใบไม้


ภูเขาใบไม้ หน้าต่างใบไม้เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่สร้างจินตนาการให้กับเด็กๆ ได้ฝึกสมาธิ จากมือเล็กๆ ที่ช่วยกันตัดกระดาษที่ละชิ้นด้วยกรรไกรและมีด จนได้มาเป็นหน้าต่างที่มีลายเส้นจากใบไม้หลายสีติดอยู่ในดวงตาใสแจ๋วของน้องๆ ทุกคู่พร้อมรอยยิ้ม ทำให้ฉันพลอยยิ้มตามไปด้วยเมื่อแสงลอดลงมาตามปลายไม้พวกเราก็ส่องกันแล้วส่องกันอีก เสียงฮือฮาดังขึ้นตลอดเวลาที่ได้ยื่นมือออกไปพร้อมหน้าต่างใบไม้ของแต่ละคน

เด็กๆ ได้สะท้อนผลตอบรับกลับมาว่าเป็นกิจกรรมที่สนุกและลุ้นตลอดเวลาว่าใบไม้ที่เราส่องไปมองแดดจะสวยงามมากน้อยแค่ไหน บางคนก็เปลี่ยนใบสลับไป มา เพื่อให้ได้สีที่สวยกว่า ใครจะไปคิดว่าแค่ใบไม้ใบหนึ่งที่ร่วงหล่นไปตามกาลเวลาจะถูกหยิบขึ้นมา ติดที่ช่องหน้าต่างเล็กๆของกระดาษแล้วจะเห็นลายเส้นที่สวยงาม จินตนาการไปตามสีเพื่อเรียงสลับไปมาให้ได้หน้าต่างที่มีช่องไล่เรียงกันเป็นแถวที่สวยงาม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ขณะทำกิจกรรมทีมทำงานเห็นถึงความตั้งใจของเด็กๆ ตั้งแต่เริ่มฟังกติกาของกิจกรรม และทุกคนต่างก็ทำผลงานของตัวเองอย่างตั้งใจ จนผลที่ออกมาเป็นไปตามควาามตั้งใจของทีมทำงาน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 28 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กและเยาวชนบ้านไทรขึง
  • ผู้ปกครอง
  • ทีมทำงาน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

เกิดอุบัติเหตุระหว่าดำเนินกิจกรรม มีเด็กปั่นจักรยานแล้วเสียหลักล้มจนหัวแตก แก้ปัญหาด้วยการเรียนรถกู้ชีพตำบลคลองเปียะ ส่งโรงพยาบาล

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เรียนรู้การทำนาครั้งที่ 413 ธันวาคม 2557
13
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิต ของคนในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีการลงสำรวจนาข้าวและเรียนรู้การตกปลาในนาข้าว ดักพล่ำ ดักกัด วางบอก เป็นบทเรียนการเรียนรู้ที่แผงไปได้สนความสนุกสนาน เป็นของเล่นที่เป็นประโยชน์ และได้เรียนรู้วิถีการใช้ชีวิตของบรรพบุรุษห้องเรียนนาข้าวจึงเป็นอีกพื้นที่ที่ทำให้เขารู้จักต้นข้าวมากยิ่งขึ้นบทเรียนการทำนาที่จะต่อยอดไปยังการเรียนรู้รวมทั้งฤดูการทำนา ยังมีการเรียนรู้อีกเป็นระยะตามการเจริญเติบโตของต้นข้าว จนถึงฤดูการเก็บเกี่ยว

นอกจากเด็กๆได้เรียนรู้การทำนาแล้ว เขาก็เรียนรู้การหากิน เพราะช่วงทำนาจะมีน้ำอุดมสมบูรณ์ตลอด มีปลาน้อยใหญ่อาศัยอยู่ในคูเหมือง ในนา บ่อปลา และสายน้ำต่างๆรอบบ้านไทรขึง
หลังจากเลิกเรียนเด็กผู้ชายก็รวมกลุ่มกันเพื่อจะออกหาปลา ด้วยวิถีต่างๆ ตามแต่สภาพพื้นที่อย่างวันหนึ่งที่ น้องสปายและทีมเพื่อนออกตกปลาในคูเหมือง หรือน้องโตโต้ใช้สวิงช้อนปลาที่ล้นมากับน้ำที่วังพลุ่งแล้วเด็กๆก็เอาปลาที่ได้ไปขาย เอาเงินมาซื้อขนมแบ่งกันกิน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เด็กๆ ได้บทเรียนการใช้ชีวิตในบ้านเกิดเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งบทเรียน เท่ากับเด็กมีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
  • เด็กมีความสนุกสนานกับการเรียนรู้ในครั้งนี้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 21 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กเยาวชน

  • ทีมทำงาน

  • ปราชญ์ชาวบ้าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ห้องเรียนบนผืนสาด ครั้งที่ 3 "แหล่งน้ำกับวิถีชีวิตชุมชน"12 ธันวาคม 2557
12
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิต ของคนในชุมชน(ในด้านใด)

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เด็กๆ แบ่งทีมกันออกสำรวจเส้นทางน้ำ และการใช้ประโยชน์จากน้ำของคนบ้านไทรขึง เมื่อแบ่งทีมเสร็จแล้วก็ออกสำรวจกัน อย่างวังพลุ่งเป็นสายน้ำที่เก่าแก่เชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่เริ่มเป็นบ้านไทรขึงเลย มีปูปลาสมบูรณ์มาก เพราะมีวังลึกทำให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำได้ทั้งปี

แม่ขึง เชื่อกันว่าเป็นที่มาของชื่อบ้านไทรขึง เพราะเมื่ออดีตแม่ขึงเป็นทางเข้าออกหมู่บ้าน มีต้นไทรใหญ่รากเลื้อยขวางคลองเพื่อเป็นสะพานทอดข้ามคลองได้ และเป็นทางน้ำไหลผ่านนา ชาวบ้านจึงเปิดน้ำจากวังพลุ่งเข้าทำนาในฤดูทำนา

คลองเสือตาย เป็นสายน้ำที่เลี้ยงชีวิตคนไทรขึงตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันเป็นแหล่งเพาะพันธ์และอนุบาลกุ้ง หอย ปู ปลา

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลที่เกิดขึ้นจริงในการทำกิจกรรมสำรวจเส้นทางน้ำ

-เด็กๆเรียนรู้ต้นน้ำของคลองแต่ละสาย ทั้งคลองวังพรุ่ง คลองแม่ขึง และคลองท่าบ้า

-เด็กๆเรียนรู้วิถีชีวิตของคนกับคลองตลอดสาย ทั้งการดักบอก การทำเหมืองน้ำเพื่อพาน้ำมาทำนา

-หลังจากนั้นก็เอาเรื่องราวที่กลุ่มตัวเองพบเจอ มาเล่าให้เพื่อนๆฟัง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 19 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กและเยาวชนบ้านไทรขึง

  • ทีมทำงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมประจำเดือน พ.ย.23 พฤศจิกายน 2557
23
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามการทำงานของพื้นที่และรายงานผลกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมสรุปกิจกรรมเดือนที่ผ่านมาและถอดบทเรียนกิจกรรมที่ผ่านมา
  • ชี้แจงงบประมาณที่ใช้ไป และเหลืออยู่ของงวดที่ 1
  • วางแผนวันและเวลาการทำกิจกรรมถัดไป

(ใครเป็นคนชี้แจงผลการดำเนินงานงวดที่ 1ผลการดำเนินงานกิจกรรม)

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงาน
  • เด็กเสนอจัดค่ายทรัพยากร ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเหรง เพราะเป็นป่าต้นน้ำของบ้านไทรขึง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 18 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

18 คน

  • ทีมทำงาน

  • เด็กและเยาวชนบ้านไทรขึง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ส่งรายงาน งวดที่ 17 พฤศจิกายน 2557
7
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามการทำงานของพื้นที่และรายงานปิดงบงวดที่ 1 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ติดตามรายงานปิดงบประมาณงวดที่ 1 กับพี่เลี้ยงโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ติดตามรายงานปิดงบประมาณงวดที่ 1 กับพี่เลี้ยงโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

-ทีมทำงาน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ห้องเรียนบนผืนสาด (เรียนรู้ประเพณีลอยกระทง) ครั้งที่ 26 พฤศจิกายน 2557
6
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาเรียนรู้ประเพณี วัฒนธรรมที่ปฏิบัติกันในท้องถิ่น

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เพื่อเรียนรู้และสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่นบ้านเราและรณรงค์ให้คนเห็นความสำคัญของทรัพยากรน้ำ ร่วมดูแลรักษาและดูแลแหล่งน้ำที่เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติคู่บ้านไทรขึง ซึ่งมีอยู่  2 สายคือคลองวังพลุ่ง และแม่ขึงและมีการเล่าสืบทอดกันมาหลายอายุคนที่เกี่ยวกับประวัติและตำนานของวังน้ำแต่ละแห่ง และเป็นพื้นฐานที่คนไทรขึงมาเลือกหมู่บ้านในพื้นที่ดังกล่าวตั้งหมู่บ้านเพื่อเป็นบทเรียนให้กับเด็กและเยาวชน และมีบทเรียนเรื่องนี้กับบทเรียนถัดไปที่เด็กๆได้ออกแบบ ส่วนของกิจกรรมวันนี้ก็เป็นกิจกรรมสนุกสนานและกิจกรรมที่แสดงออกถึงความสามารถของเด็กๆ เด็กๆได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชนแล้วยังได้สืบทอดประเพณีที่ดีงามอย่าง ลอยกระทง แล้ะรู้เท่าทันการทำกิจกรรมในพื้นที่ที่ปลอดภัยแล้สร้างสรรค์ ทั้งการเต้น  การร้องเพลงประสานเสียง ประกวดหนูน้อยนพมาศ ประกวดกระทง เล่นดนตรี ตอบคำถามรวมทั้งได้ช่วยกันดูแลผู้ที่มางานร่วมกัน และพ่อแม่ น้าๆ มาร่วมกันทำอาหารกินร่วมกัน เริ่มด้วยการเตรียมพื้นที่จัดงานที่ศาลาริมทางรถไฟ ทีมผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยและอาสาสมัครเข้ามาช่วยกันถางหญ้า ปรับพื้นที่เพื่อจัดงาน  แม่บ้านก็ช่วยกันทำกับข้าวเพื่อเลี้ยงคนที่มางาน จากนั้นเด็กๆก็ช่วยกันเก็บขยะในพื้นที่จัดงาน แล้วก็มีกิจกรรมบนเวทีต่อจากนี้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เด็กและคนในชุมชนได้มีกิจกรรมที่ดี และสร้างสรรค์ในชุมชน และเป็นอีกกิจกรรมที่รวมพลชาวบ้านมาร่วมกันช่วยเหลือทั้ง ทำอาหาร ขนเต้นท์ เวที และจัดการเรื่องการดูแลเรื่องอาหาร

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 75 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย

-เด็กและเยาวชน 53 คน

-ผู้ปกครอง  17 คน

-ทีมทำงาน  5 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เสวนา "พ่อ แม่ รู้จักฉัน"2 พฤศจิกายน 2557
2
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทำความเข้าใจรายละเอียดของโครงการกับทีมสื่อเพื่อการสนับสนุนการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์เด็กและเยาวชนบ้านไทรขึง 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การสาสน์เสวนา เป็นเวทีการพูดคุยที่ทั้งคนในชุมชนและครูที่มีประสบการณ์การทำกิจกรรมกับเด็กมาร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดการเลี้ยงลูกและการออกแบบกระบวนการให้เด็กมีส่วนร่วมทั้งในโรงเรียน  ที่บ้าน และในชุมชน เราสามารถสร้างบทบาทและตัวตนให้เขาสามารถมีผลงานปรากฏได้ทุกๆสังคม และผู้ปกคลองก็ต้องยอมรับความเป็นจริงของลูกและร่วมมือกันแก้ไขปัญหาที่พบเห็นตั้งแต่เนิ่น อย่างปล่อยปะละเลยจนแก้ไขไม่ได้  และการที่เด็กต้องหากิจกรรมทำเองโดยที่ไม่เป็นที่ต้องการของชุมชน เพราะเรายังไม่ให้ความสำคัญกับเด็กเท่าที่ควร  การออกแบบกระบวนการทำกิจกรรมร่วมกันโดยสร้างสรรค์ต้องเริ่มที่ครอบครัวร่วมออกแบบเที่ยวนอกบ้านหรือทำกิจกรรมครอบครัวร่วมกัน เพื่อสร้างความคุ้นเคยกันของคนในครอบครัว รวมทั้งเมื่อออกไปสังคมภายนอกก็ชวนเขาไปด้วยเช่นไปช่วยงานศพ ไปงานวัด การทำกิจกรรมร่วมกันนอกจากการสร้างความคุ้นเคยแล้วยังเป็นการดีที่คนในครอบครัวสามารถสังเกตุการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมคนในครอบครัวได้

  • มีกิจกรรมการเล่นเกมส์การละเล่นพื้นบ้านแบบย้อนยุค  โดยมีพ่อแม่มาช่วยสอนการเล่น  เช่น การเล่นตี่ ตี่  การเล่นทอยกรอก การเล่นฉับโพง  การเล่นเครื่องบินและอีกหลายๆ อย่าง พ่อแม่ จะเป็นคนเล่นเกมส์ให้ดูเป็นตัวอย่างและสอนกติกาการเล่น  เพราะเราคิดว่าการเล่นเกมส์แบบย้อนยุคเป็นการเอาเวลาว่างของเด็กๆจากการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ และเป็นการสร้างสรรค์แนวคิด  การปฏิสัมพันธ์กันระหว่างเพื่อนและเป็นการเล่นที่ปลอดภัย

  • มีนิทรรศการภาพถ่ายที่เป็นภาพกิจกรรมที่เด็กๆได้ทำกิจกรรมที่ผ่านมา มาแสดงให้พ่อแม่ผู้ปกครอง และคนในชุมชนได้ดูได้ชมกัน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้ใหญ่ พ่อแม่ ให้ความสำคัญกับเด็กและร่วมออกแบบกิจกรรมให้ความร่วมมือกับกิจกรรมจำนวน 80% ของผู้ที่ร่วมกิจกรรม

  • เด็กๆได้แสดงผลงานและนิทรรศการภาพกิจกรรมเป็นความภูมิใจของเด็กที่มีชิ้นงานที่ดี

  • พ่อแม่เห็นผลงานของลูกแล้วเกิดความภูมิใจ

-ผู้นำชุมชนเข้ามาช่วยเตรียมงานและร่วมวงพูดคุยกับพี่น้องบ้านไทรขึงด้วย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 63 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

-เด็กและเยาวชน  38 คน
-พ่อแม่ผู้ปกครอง  20 คน

-ทีมทำงาน  5 คน

-ผู้นำชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดทำรายงานปิดงวด 11 พฤศจิกายน 2557
1
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพี่เลี้ยง โดย ใบเฟริ์น สุวรรณมณี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรมและทำรายงานงวดที่ 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ตรวจสอบเอกสารการเงิน การลงข้อมูลในเว๊ปไซค์ การวางแผนการดำเนินงานในครั้งต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทางโครงการสามารถที่จะแก้ไขการบันทึกข้อมูล เอกสารการเงินให้ถูกต้อง และสามารถที่จะวางแผนการดำเนินกิจกรรมในงวดต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

สจรส 1 คน พี่เลี้ยง 2คน ผู้รับผิดชอบโครงการ 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ทำรายงานปิดงบประมาณงวดที่ 11 พฤศจิกายน 2557
1
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามการทำงานของพื้นที่และรายงานปิดงบงวดที่ 1 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทำรายงานปิดงวดที่ 1 และทำความเข้าใจการทำรายงานจากพี่เลี้ยง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ทำรายงานปิดงบประมาณงวดที่ 1 แต่ยังไม่เสร็จเรียบร้อย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ทีมทำงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ว่าที่ ร.ต.หญิงใบเฟริ์น สุวรรณมณี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

คืนเงินเปิดบัญชี29 ตุลาคม 2557
29
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ใบเฟริ์น สุวรรณมณี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อคืนเงินเปิดบัญชีธนาคาร

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คืนเงินจากการเปิดบัญชีธนาคารกรุงเทพ 500 บาท

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คืนเงินเปิดบัญชีธนาคาร 500 บาท

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

”เรียนรู้การทำนา” ครั้งที่ 325 ตุลาคม 2557
25
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เด็กและเยาวชนเกิดจิตสำนึกในการสืบทอดวิถีชีวิตและภูมิปัญญาของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เด็กๆ  รวมตัวกัน  และวางแผนออกดำเนินกิจกรรมโดยการแบ่งหน้าที่ของแต่ละคน  การเรียนรู้นาข้าวในวันนี้มีโจทย์ร่วมกันว่า "เราจะออก ติดตามสำรวจผล การทำนาโยนเมื่อครั้งที่ 1 และดูแลวัชพืช ศัตรูพืช " แบ่งหน้าที่สำรวจทุ่งนาออกเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 สำรวจวิธีการทำนา ว่านาข้าวบ้านไทรขึงมีวิธีการทำกี่แบบ  แต่ละแบบแบบไหนข้าวสมบูรณ์กว่ากัน และออกสำรวจการทำนาร่วมกัน ในระหว่างกิจกรรมสังเกตุเห็นรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และความตื่นตาที่เด็กๆได้เจอกับการเปลี่ยนแปลงของต้นข้าว บ้างก็แตกกอสวยงาม  บ้างก็ตาย  บ้างก็เจอหนูกัดกินข้าว

กลุ่มที่ 2 สำรวจดูแลวัชพืชและศัตรูพืช เช่น ปู หอยเชอรี่ รวมถึงเก็บทำลาย และนำมาให้เป็ดกิน เรียนรู้ประโยชน์และโทษของวัชพืช ศัตรูพืชแต่ละชนิดเพื่อให้รู้ว่าเราต้องจัดการอย่างไรเมื่อเจอกับสิ่งดังกล่าว เมื่อเรียนรู้ว่านาข้าวมีการเปลี่ยนแปลงเด็กๆก็มีคำถามขึ้นมาว่า  หลังจากนี้ต้องทำอะไรกับนาต่อ และใช้เวลานานแค่ไหนกว่าที่ข้าวจะออกรวง ซึ่งเป็นคำถามที่เป็นการบ้านให้เด็กไปค้นหาต่อจาก พ่อแม่ผู้ปกครองหรือผู้ที่รู้เรื่องการทำนาที่แท้จริง  แล้วเราก็เอาเรื่องดังกล่าวมาคุยกัน ในการเรียนรู้นาข้าวครั้งหน้า

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เด็กๆออกเรียนรู้ตามกลุ่มที่แบ่งไว้

  • กลุ่มที่1. สำรวจว่าการทำนาที่บ้านไทรขึงมีทั้งหมด3แบบได้แก่ นาดำ นาโยน และนาหว่าน แต่ส่วนใหญ่แล้วการทำนาที่นิยมกันมากและปฎิบัติตามกันมาตั้งแต่ในอดีตคือการทำนาดำ แต่ในปัจจุบันมีความรู้และนวัตกรรมการทำนารูปแบบใหม่ คือนา            หว่านและนาโยนเพื่อประหยัดเวลาในการทำและลดต้นทุนในการผลิต

  • กลุ่มที่2. สำรวจตรวจเก็บสิ่งต่างๆที่ทำลายต้นข้าวอ่อน เพราะระยะแรกนี้ตันข้าวจะถูกทำลายได้ง่าย ดังนั้นแล้วการจัดเก็บ วัชพืชและศัตรูพืช เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะต้องทำและดูแลรักษาเป็นพิเศษ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 33 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย

-เด็กและเยาวชนบ้านไทรขึง  17 คน

-ผู้ปกครอง 12  คน

-ทีมทำงาน  4 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ทุกวัยได้คุย ครั้งที่ 2 "ประชุมทีมทำงานเด็กและเยาวชน"8 ตุลาคม 2557
8
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพูดคุยถอดบทเรียนกิจกรรมที่ผ่านมา

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมวางแผนคณะทำงานเด็กเพื่อวางผังและหน้าที่ปฏิบัติงานตามกิจกรรมต่างๆ  เลือกประธานโครงการ รองประธาน ผู้ประสานงาน ประชาสัมพันธ์ สวัสดิการ และแบ่งกลุ่มเพื่อดูแลเพื่อนๆ น้องๆ ได้ร่วมออกแบบกิจกรรมที่ตอนเองอยากจะทำ  มีเด็กเสนอว่าจะจัดกิจกรรมวันลอยกระทง ซึ่งเป็นประเพณีไทยที่เราทำกันทุกปี  แต่ต้องการให้มีงานและประกวดหนูน้อยนพมาศขึ้น เพื่อให้น้องๆ เด็กๆได้แสดงความสามารถที่มีอยู่ในตัวของแต่ละคน และสร้างความสนุกสนานรื่นเริง 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เราได้ทีมทำงานเด็กเยาวชน เพื่อแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในโครงการและเป็นผู้ร่วมออกแบบกิจกรรมตามที่เด็กๆสนใจ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

-เด็กและเยาวชน  20 คน

-ทีมทำงาน  5 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เรียนรู้การทำนา ครั้งที่ 24 ตุลาคม 2557
4
ตุลาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เด็กเยาวชนบ้านไทรขึงได้เรียนรู้ ตลอดจนสามารถปฏิบัติกิจกรรมตามวิถีของชุมชนได้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เปิดพื้นที่การเรียนรู้ห้องเรียนนาข้าวของเด็กบ้านไทรขึง ในการทำกิจกรรมนาโยนเริ่มตั้งแต่การเพาะต้นกล้าตลอดจนนำมาโยนในแปลงนาที่ทำการไถเป็นโคลนเทือก โดยแปลงนี้เป็นแปลงแรกและปีแรกที่เจ้าของนาหันมาทำนาโยนของพื้นที่ของบ้านไทรขึงโดยเปลี่ยนจากนาดำ และนาหว่าน และเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้ปฏิบัติโยนข้าวด้วยตัวเองด้วย เป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่เด็กๆทั้งสนุกสนานและได้เรียนรู้เรื่องราวบ้านเราไปพร้อมๆกัน  พร้อมทั้งปลูกฝังวิถีของพ่อแม่ให้เด็กได้เรียนรู้ขั้นตอนการทำนาและได้ลงนา เดินตามรถไถ่นา เด็กๆสะท้อนว่าเป็นการเรียนรู้ที่สนุกสนานและอยากเรียนรู้การทำนาดำเพิ่มเติม เพราะอยากลองดำนา มีน้อง 2 คนที่เสนอว่าตัวเองเป็นลูกชาวนา แต่ดำนาไม่เป็น ห้องเรียนนาข้าวจึงเป็นอีกพื้นที่ที่ทำให้เขารู้จักต้นข้าวมากยิ่งขึ้น และมีน้องสะท้อนว่าเราได้รู้คุณค่าของข้าวมากยิ่งขึ้น เมื่อรู้ว่ากว่าจะได้ข้าวมาสักเมล็ดให้เราได้กิน เราต้องเหนือยลำบากและสัญญาว่าจะทานข้าวไม่ให้เหลือ เพราะรู้ว่าพ่อแม่เราทำนามาอย่างเหนื่อยยาก และลำบาก  บทเรียนการทำนาที่จะต่อยอดไปยังการเรียนรู้รวมทั้งฤดูการทำนา ยังมีการเรียนรู้อีกเป็นระยะตามการเจริญเติบโตของต้นข้าว จนถึงฤดูการเก็บเกี่ยว

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เด็กมีความตื่นเต้นและสนุกสนานกับกิจกรรม การทำนาโยนที่เขาสามารถทำได้ด้วยตัวของเขาเอง และเกิดความภาคภูมิใจกับตนเองมากเพราะปกติแล้วกลุ่มเด็กเหล่านี้ไม่เคยที่จะได้ปฏิบัติจริงมาก่อนเลย เพราะพ่อแม่ส่วนใหญ่แล้วมักมองว่าบางสิ่งบางอย่างลูกของตนทำไม่ได้แต่จริงๆแล้วเด็กก็สามารถทำได้ด้วยตัวเองเพียงแค่มีพื้นที่ให้เขาได้ทำร่วมกับผู้ใหญ่

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 41 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย

-เด็กและเยาวชน  27  คน -พ่อแม่ ผู้ปกครอง  9 คน -ทีมทำงาน  5 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

"แข่งกีฬาพื้นบ้าน" ห้องเรียนบนผืนสาดครั้งที่ 123 กันยายน 2557
23
กันยายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เด็กเยาวชนบ้านไทรขึงมีพื้นที่เรียนรู้ที่ปลอดภัย ตระหนักที่จะทำกิจกรรมที่ถูกต้อง และสร้างความสามัคคีให้กับเด็กเยาวชนและคนในหมู่บ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เด็กๆมีความสนใจเรียนรู้และปฏิบัติกิจกรรมตามกฏ กติการที่วางไว้  ส่วนของกิจกรรมกีฬาพื้นบ้านก็มีหลายกิจกรรมด้วยกัน  ทั้งแตะปี๊บ วิ่งเปรี้ยว ปิดตาตีปี๊บ แข่งฟุตบอล วอลเลย์บอล กินวิบาก โดยผู้ใหญ่และผู้ปกครองมาคอยเชียร์และเป็นกำลังใจ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-เด็กๆ รู้จักวางแผนทีม

-มีการช่วยเหลือกัน

-เด็กๆมีความสนุกสนาน

-เป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยในการทำกิจกรรม

-เด็กมีโอกาศได้คิดและแสดงออกเองได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 62 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

-เด็กเยาวชน  49 คน

-ทีมทำงาน  5 คน

-ผู้ปกครอง 8 คน

-คนในชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

บางกิจกรรมยังมีความปลอดภัยน้อยไปอย่างปี๊บ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

การแก้ไข  ให้วัสดุอื่นที่มีความปลอดภัยกว่าแทน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

แห่หมรับ "กลองยาว 4 วัยในวงเดียว"23 กันยายน 2557
23
กันยายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เด็กเยาวชนบ้านไทรขึงได้เรียนรู้ ตลอดจนสามารถปฏิบัติกิจกรรมตามประเพณีของท้องถิ่นและตระหนักที่จะสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมแห่หมรับ เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากวันที่ 22 กันยายน 2557  ที่เด็กๆได้ร่วมเรียนรู้และทำหมรับ  วันนี้ 23 กันยายน 2557 เป็นวันสาทรเดือนสิบของทางภาคใต้จึงมีการส่งตา ยาย เป็นพื้นที่เรียนรู้กิจรรมที่เด็กเกิดความสนใจ เมื่อเราทำหมรับกันแล้ว ก็ได้ฤกษ์ออกแห่หมรับตอน 9 โมงเช้า เดินทางไปยังวัดควนมีด ในขบวนมีหมรับ 3 หมรับ คือ หมรับเล็กของครูกอบกิต แก้วอรุณ  หมรับกลางเป็นของเด็กๆที่ร่วมกันทำเมื่อวานนี้ และหมรับใหญ่ที่เป็นของคนบ้านไทรขึงซึ่งทำกันทุกๆปี ขบวนกลองยาว สร้างสีสรรค์และสร้างความคลึกคลึ้นหระหว่างแห่หมรับ  จากนั้นก็เดินขบวนเข้าวัดควนมีดกัน เด็กๆสะท้อนความรู้สึกว่าเกิดความภูมิใจในกิจกรรมทุกๆวันที่ผ่านมามาก เกิดการยอมรับจากผู้ใหญ่ ดีใจและขอบคุณทีมทำงานที่คอยช่วยเหลือส่งเสริมกิจกรรมจนผลงานของเราออกมาดี  ผู้ใหญ่ในชุมชนก็สะท้อนว่าสิ่งที่ภูมิใจที่สุดคือ เด็กๆทำกิจกรรมในวันนี้ทำให้เห็นว่าชุมชนมีความสามัคคี

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-มีผลตอบรับจากชุมชนดีมาก

-ชุมชนมีความสามัคคีขึ้น

-เด็กมีพื้นที่แสดงออกอย่างถูกต้อง

-เด็กมีความสนุกสนานกับการเรียนรู้

-เกิดความภาคภูมิใจทั้งในตัวเด็กเอง พ่อแม่ผู้ปกครอง และคนในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 62 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

-เด็กและเยาวชน 49 คน

-ผู้ปกครอง 8 คน

-ทีมทำงาน  5 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เรียนรู้การทำหมรับ22 กันยายน 2557
22
กันยายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เด็กเยาวชนบ้านไทรขึงได้เรียนรู้ ตลอดจนสามารถปฏิบัติกิจกรรมตามประเพณีของท้องถิ่นและตระหนักที่จะสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เด็กมาร่วมเรียนรู้การทำหมรับ วิธีการขึ้นหมรับ การคาดหมรับ โดยมีตาทิพย์  คงหนู เป็นครูภูมิปัญญาช่วยสอนและให้เด็กๆได้ลงมือทำพร้อมกับผู้ใหญ่ ในวันนี้บ้านไทรขึงมีหมรับ 2 หมรับ  เพราะนอกจากของผู้ใหญ่ที่เป็นหมรับใหญ่แล้ว ก็ยังมีหมรับเด็กที่เด็กๆได้ร่วมกันทำและเรียนรู้ขึ้นมา  ต่อเนื่องจากที่ทำขนมเดือน 10 แล้วก็เอาขนมที่ทำมาใส่ในหมรับด้วย เป็นการเรียนรู้ที่เด็กมีความสนใจ ให้ความร่วมมือทุกขั้นตอน ลงมือทำเองด้วยความตั้งใจ และเด็กๆยังสะท้อนกลับมาอีกว่ามีความสนุกสนาน และเป็นกิจกรรมที่ยังไม่เคยทำ อยากให้มีกิจกรรมแบบนี้ในทุกๆปี  และเขาภูมิใจที่ผู้ใหญ่ยอมรับในความคิดของเด็กและร่วมมือร่วมใจกันช่วยเหลือให้ความรู้จนหมรับเสร็จลง  ในส่วนของผู้ใหญ่และผู้ปกครองของเด็กๆ ก็มีความภูมิใจที่เด็กบ้านไทรขึงมีความสนใจและเห็นความสำคัญกับประเพณีพื้นบ้านแบบนี้  และก็อยากให้เขาเรียนรู้  จนนำไปปฏิบัติเองได้ในอนาคต  และขอบคุณทีมทำงานที่คิดวางแผนกิจกรรม และร่วมดูแลเด็กๆ  จนเสร็จกิจกรรม เป็นอีกกิจกรรมที่ทำให้คนไทรขึงและคนข้างนอกมองเห็นถึงความสามัคคีของชุมชน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-มีผลตอบรับจากชุมชนดีมาก

-ชุมชนมีความสามัคคีขึ้น

-เด็กมีพื้นที่แสดงออกอย่างถูกต้อง

-เด็กมีความสนุกสนานกับการเรียนรู้

-เกิดความภาคภูมิใจทั้งในตัวเด็กเอง พ่อแม่ผู้ปกครอง และคนในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 62 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

-เด็กและเยาวชน  61 คน

-ผู้ปกครอง 3 คน

-ทีมทำงาน 8 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เรียนรู้การทำขนม ครั้งที่ 121 กันยายน 2557
21
กันยายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิต ของคนในชุมชน 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้เด็กและผู้ที่สนใจเข้ามาเรียนรู้ศิลปะ วิถีชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรมพื้นบ้านของชุมชน ร่วมกันเรียนรู้  ร่วมกันสอน และถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องวัฒนธรรม ให้กับคนรุ่นหลัง  เด็กและเยาวชนร่วมออกแบบ การเรียนรู้ขนมพื้นบ้านและพื้นถิ่นตามประเพณีนิยม จึงได้ขอเสนอว่าเด็กและเยาวชนสนใจเรียนรู้การทำขนม ตามประเพณีวันสารท จึงออกแบบทำขนม เจาะหู ขนมเทียน ขนมต้ม โดยร่วมเรียนรู้ถึงขั้นตอนและวิธีการทำขนมแต่ละชนิดตลอดจนลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง  ตั้งแต่การทำแป้งขนาเจาะหู  โดยป้าชน  "นางสุชน  หนูแก้ว"  ครูภูมิปัญญาขนมพื้นบ้าน มาให้ความรู้ช่วยสอน และแนะนำวิธีการทำให้เด็กๆ พร้อมทั้งให้เด็กๆได้ปฏิบัตเองทุกคนตอน เพื่อเป็นการเรียนรู้ที่เข้าใจ  รวมถึงการทำขนมต้ม  ป้าสาว "นางกริ้ว  ขวัญแก้ว" เป็นครูภูมิปัญญาขนมพื้นบ้านช่วยสอนในเรื่องการผัดข้าวเหนียวต้ม  การห่อต้ม และการต้มต้ม จากนั้นน้องกิ๊กผู้มีประสบการการทำขนมเทียน ก็ลงมือสาธิตการละลายแป้งขนมเทียนพร้อมทั้งชวนเพื่อนๆ มาห่อด้วย  เป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน ได้ความรู้และเป็นทักษะชีวิตที่น้องๆ  จะได้นำเอาไปใช้ได้ในอนาคต  และเด็กๆยังเชิญชวนทุกคนมาร่วมกันทำหมรับเดือน 10 ซึ่งเป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากวันนี้ด้วย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-เด็กและเยาวชนมีความตั้งใจและช่วยกันทำขนมและร่วมเรียนรู้กิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะและสร้างวินัยในตัวเองเกิดความสามัคคีในกลุ่ม -เด็กเกิดความภาคภูมิใจในตนเองที่สามารถทำขนมได้ -ผู้ปกครองสนับสนุนกิจกรรมและให้ความสำคัญกับกิจกรรมในครั้งนี้ -เด็กมีกิจกรรมทำร่วมกันในวันหยุดแทนที่เขาจะใช้เวลานั้นไปโดยเปล่าประโยชน์กลับมาทำกิจกรรมที่สร้างสรรค

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 54 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย

-เด็กและเยาวชน  30 คน

-ผู้ปกครอง 16 คน

-ทีมทำงาน  8 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-ระยะเวลาการเตรียมการน้อยเกินไปจึงทำให้กิจกรรมออกมาไม่ดีเท่าที่ควร -ด้วยความเป็นเด็กและเยาวชนจึงมีการเรียนรู้พร้อมด้วยการเล่นและซุกซนตามลักษณะนิสัยของเด็กทั่วๆไป ฉะนั้นแล้ว เราค่อยๆปลูกฝังจิตสำนึกในตัวเขาเองไปเรื่อยๆจนทำให้เด็กมีวินัยและไม่เห็นแก่ตัวเมื่อเขาโตขึ้น

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ทักษะชีวิต"เด็กไทรขึง มีจิตอาสา" เรียนรู้การทำนาครั้งที่ 120 กันยายน 2557
20
กันยายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิต ของคนในชุมชน 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เด็กๆร่วมกันทำความสะอาดคอกหมูในโรงเรียนชุมชนวัดควนมีด และเรียนรู้การทำอาหาร  การให้อาหารหมู  เรียนรู้การเลี้ยงไก่ไข่  ซึ่งเป็นอาหารในครัวเรือน  การทำปุ๋ยชีวภาพจากมูลไก่และหมู โดยครูหมิด  "กอบกิต  แก้วอรุณ" หัวหน้าโครงการเป็นผู้ให้ความรู้และทำกระบวนการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เด็กๆร่วมกันทำความสะอาดคอกหมูในโรงเรียนชุมชนวัดควนมีด และเรียนรู้การทำอาหาร  การให้อาหารหมู  เรียนรู้การเลี้ยงไก่ไข่  ซึ่งเป็นอาหารในครัวเรือน  การทำปุ๋ยชีวภาพจากมูลไก่และหมู โดยครูหมิด  "กอบกิต  แก้วอรุณ" หัวหน้าโครงการเป็นผู้ให้ความรู้และทำกระบวนการ

-เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะการใช้ชีวิต

-แม้ว่าจะเหนื่อยและร้อน เด็กๆก็เร่งมือจนเสร็จตามคาดหวัง -เพิ่มความรู้เรื่องการใช้ชีวิตในสังคม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 39 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย

-เด็กเยาวชนบ้านไทรขึงและใกล้เคียง  31 คน -ทีมทำงาน 5 คน -ผู้ปกครอง 3 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่31 กรกฎาคม 2557
31
กรกฎาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นสัญลักษณ์พื้นที่ปลอดภัยจากบุหรี่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีการติดป้ายปลอดบุหรี่ เพื่อเป็นข้อความเชิงสัญลักษณ์ว่าเป็นพื้นที่ที่ปลอดจากควันบุหรี่ และเป็นพื้นที่สีขาวเพื่อทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนบ้านไทรขึง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการติดป้ายพื้นที่ปลอดบุหรี่

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 1 คน
ประกอบด้วย

ทีมทำงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ทุกวันได้คุยครั้งที่ 1 "ประชุมทีมทำงานเดือนกรกฏาคม"13 กรกฎาคม 2557
13
กรกฎาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

การสร้างพื้นที่สร้างสรรค์เด็กและเยาวชนบ้านไทรขึง  -------------- พื้นที่สร้างสรรค์เด็กและเยาวชนในที่นี้หมายถึง พื้นที่ทางความคิด ที่เด็กๆ ได้ออกแบบกิจกรรมของพวกเธอและเขาเอง เกิดขึ้นได้ทุกที่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เตรียมเปิดตัวงานของคนตัวเล็กอย่างเป็นทางการ กับโครงการพื้นที่สร้างสรรค์เด็กและเยาวชนบ้านไทรขึง

กับครูมิตรและพี่วัจพี่จอยพี่แพ็บ ครูอุษา

เราเห็นอยู่ว่าเด็กของเรา เจอปัญหาหลายอย่าง ในภาวะที่สังคมเปลี่ยนเร็ว พ่อแม่ไม่ค่อยมีเวลาได้เรียนรู้กับลูก ผ่านการทำงาน หรือกิจกรรมใดหนึ่ง ทำให้เด็กห่างออกจากตัวครอบครัวและชุมชนออกไปมาก จากการออกแบบกิจรรมที่เธอและเขาสนใจด้วยตัวเอง โรงเรียนเป็นที่หนึ่งที่เด็กใช้เวลากว่าครึ่งของวันในการเรียนรู้ แต่เด็กก็ยังไม่รู้สึกปลอดภัยพอที่จะบอกเล่าความคิด ความสนใจ ความทุกข์ สุขของตัวเองให้ครูฟัง
เราจะทำอย่างไรที่จะได้เปิดใจของทั้งเด็ก ผู้ปกครองและครู มาเรียนรู้เรืองราวของ ลูกๆ หลานๆ ไปพร้อมกัน โดยที่ยังไม่รีบตัดสิน นี่คือ การบ้านที่ทีมงานพื้นที่สร้างสรรค์เด็กและเยาวชนอย่างครูมิตร พี่จอย พี่วัจ และพี่แพ็บ กำลังคิดและออกแบบ โดยมีป้าพัน และลูกหลานๆ ร่วมทาง การออกแบบที่ดีที่สุดคือ ต้องไปคุยกับคนกลุ่มที่เกี่ยวข้อง ไปคุยแบบวงเล็ก
วงย่อยแบบไม่เป็นทางการ ว่าเด็กๆ เอง สนใจอะไร และพร้อมที่จะให้เราได้รับฟัง เรื่องราวของเธอและเขาแค่ไหน เราควรได้ความคิดตรงส่วนนี้มาจากเด็กก่อน เพราะเรื่องนี้คือเรื่อง ของเธอโดยตรง ในช่วงเดียวกันนอกจากทีมครูแล้ว กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกอบต. ผู้ใหญ่ในชุมชนและผู้ปกครอง เราก็ต้องไปออกแบบการคุยเพื่อให้ได้มุมมองความคิดที่มองลูกหลาน และออกแบบดูว่า เขามองเรื่องนี้อย่างไร แล้วเขาอยากเห็นลูกหลานเป็นอย่างไร (มองภาพอนาคต) เพื่อมาสู่การออกแบบการสนับสนุน ลูกหลานให้ได้จริงในแบบที่เธอต้องการ ในวันเปิดตัวโครงการพื้นที่สร้างสรรค์เด็กและเยาวชนบ้านไทรขึง อย่างเป็นทางการต้นเดือนหน้า เราน่าจะได้เห็นห้องเรียนบนผืนสาด และกิจกรรมต่างๆ ที่ลูกหลานเราทำมาแล้วในโรงเรียนและในชุมชน และมาทำพร้อมกันในวันงาน ทั้งเราจะได้ฟังข้อเสนอจากพวกเธอว่า นอกจากสิ่งที่กำลังทำอยู่ตอนนี้แล้ว เธอต้องการพัฒนาตัวเองในด้านต่างๆ อย่างไรบ้าง และผู้ใหญ่อย่างพวกเรา จะร่วมกิจกรรม สนับสนุน ได้แบบไหนอย่างไร กระบวนการ เริ่มจากสิ่งที่มี ฟังให้รอบด้าน ใช้การสนทนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพาพวกเราไปปฏิบัติการแบบที่แต่ละคนถนัด ภายใต้การออกแบบร่วมกัน สำหรับทีมงานความสำเร็จเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่ให้โอกาสตัวเองได้ฟัง และเรียนรู้ร่วมกับทุกกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ออกแบบการคุยเพื่อให้ได้มุมมองความคิดที่มองลูกหลาน และออกแบบดูว่า เขามองเรื่องนี้อย่างไร แล้วเขาอยากเห็นลูกหลานเป็นอย่างไร (มองภาพอนาคต) เพื่อมาสู่การออกแบบการสนับสนุน ลูกหลานให้ได้จริงในแบบที่เธอต้องการ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 6 คน จากที่ตั้งไว้ 4 คน
ประกอบด้วย

ทีมทำงาน  6 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมชี้แจงโครงการ6 กรกฎาคม 2557
6
กรกฎาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีการชี้แจงรายละเอียดของโครงการและแผนการดำเนินงานของโครงการตลอดทั้ง 1 ปีให้ที่ประชุมทราบและมีการพูกคุยสถานการณ์ของเด็กในปัจจุบันด้วย  ส่วนมากปัญหาที่ผู้ปกครองห่วงกังวลก็กลัวว่าเด็กที่จบประถมแล้วจะต้องออกไปเรียนต่อนอกพื้นที่ มีความกังวลเรื่องความปลอดภัยและเรื่องภัยต่างๆรอบตัวเรา  เราต้องช่วยกันสร้างเกราะไว้ให้ลูกเราได้ช่วยเหลือตัวเอง และสร้างความคิดความตระหนักที่จะเป็นคนดี    เมื่อเรามีโครงการที่ดีอย่างนี้แล้ว  เราก็ควรใช้ทรัพยากรคน พื้นที่ ความรู้และทุนให้เกิดประโยชน์ส่วนรวมกับเด็กให้มากที่สุด  หากเป็นไปได้ก็มีการต่อยอดหลังจากเสร็จสิ้นโครงการนี้ไปแล้ว

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ผู้ปกครองได้ออกแบบกิจกรรมร่วมกับทีมทำงาน และเด็กๆ

-มีการพูดคุยเพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรมแต่ละกิจกรรมอย่างละเอียดและมีกระบวนการที่เด็กเข้ามามีส่วนร่วมทุกกิจกรรม

-ทำความเข้าใจกระบวนการทำงานของทีม และคนก็เข้าใจและเห็นด้วยว่าเป็นโครงการที่ดี

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 109 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

-เด็กและเยาวชนบ้านไทรขึง  29 คน

-ผู้ปกครอง  70 คน

-ทีมทำงาน  6  คน

-ผู้นำชุมชน  4  คน

รวม 109  คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ว่าที่ร.ต.หญิงใบเฟริ์น สุวรรณมณี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ปฐมนิเทศโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ปี 255714 มิถุนายน 2557
14
มิถุนายน 2557รายงานจากพี่เลี้ยง โดย ใบเฟริ์น สุวรรณมณี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปฐมนิเทศโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ปี 2557

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ปฐมนิเทศโครงการ ทำความเข้าใจในการดำเนินงาน สอนการลงปฏิทิน การทำรายงาน การบันทึกข้อมูลในเว็ปไซค์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทางโครงการมีความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมโครงการ สามารถลงข้อมูลในเว็ปไซค์ และบันทึกกิจกรรมได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ 3 ท่าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ปฐมนิเทศโครงการ14 มิถุนายน 2557
14
มิถุนายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ไทรขึง จะนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทำความเข้าใจรายละเอียดของโครงการกับทีมสื่อเพื่อการสนับสนุนการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์เด็กและเยาวชนบ้านไทรขึง 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีการชี้แจงรายละเอียดการทำงาน รายละเอียดการรายงานโครงการ รายงานการเงิน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ทำความเข้าใจรายละเอียดการทำงาน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ทีมทำงาน 2 คน พี่เลี้ยง 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ว่าที่ ร.ต.หญิงใบเฟริ์น สุวรรณมณี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-