assignment
บันทึกกิจกรรม
จัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการ25 มกราคม 2016
25
มกราคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย kannapat janthong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อจัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการส่ง สสส. สจรส.มอ.
  • เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณงวดที่ 3
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จัดทำรายงานกิจกรรมที่ได้ดำเนินงานไปแล้วลงเว็บไซด์ คนใต้สร้างสุข
  • ตรวจสอบเอกสารการเงิน และจัดทำรายงานการเงิน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สามารถจัดทำรายงานกิจกรรมลงเว็บไซด์ได้ทั้่งหมด
  • มีการตรวจสอบเอกสารการเงินเพื่อความถูกต้อง และลงรายงานการเงิน
  • สามารถส่งรายงานให้ สจรส. มอ. เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณโครงการงวดที่ 3 ได้ ตามกำหนดเวลาโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

กิจกรรมเยาวชนรักษ์หลักประกัน9 มกราคม 2016
9
มกราคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย kanlasom
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้เยาวชนได้มีความรู้เรื่องสิทธิระบบหลักประกันสุขภาพของตนเอง
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เยาวชนรักษ์หลักประกันฯ 9 มกราคม 2559 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร

  • 08.00 - 09.00 ลงทะเบียน
  • 09.00 - 10.00 วาดรูปสุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องสร้างเอง
  • 10.00 - 12.00 สิทธิของฉัน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สิทธิประโยชน์ระบบหลักประกันสุขภาพ สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของ 3 กองทุน

  • ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ตำรวจ ข้าราชการบำนาญ บุตร พ่อ แม่ คู่สมรส ข้าราชการ
  • ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประชาชนที่เลขบัตร 13 หลัก
  • ประกันสังคม ลูกจ้างโรงงาน ลูกจ้างเอกชน
  • บุคคลที่ไม่ได้อยู่ใน 2 กองทุนฯ ข้างต้น พนักงานธนาคาร ฟื้นฟูคนพิการ

    การตรวจสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาล
  1. ผ่าน App ตรวจสอบสิทธิหลักประกันสุขภาพ
  2. เว็บไซต์ http://www.nhso.go.th
  3. รพ.สต.
  4. โรงพยาบาล

ลงทะเบียนสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาล

  1. รพ.สต. ใกล้บ้าน
  2. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
  3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
  4. โรงพยาบาล

เอกสารในการลงทะเบียนสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาล

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ หากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า15ปี ใช้สำเนาสูติบัตร (ใบเกิด)
  2. สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้ขอมีชื่ออยู่
  3. แบบคำร้องลงทะเบียนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ/ขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ

กรณีพักอาศัยไม่ตรงตามทะเบียนบ้าน ให้แสดงหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

  1. สำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลที่ตนไปพักอาศัยอยู่ พร้อมหนังสือรับรองของเจ้าบ้าน
  2. หนังสือรับรองของผู้นำชุมชน ซึ่งรับรองว่าผู้ขอลงทะเบียนได้พักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ หนังสือรับรองของผู้ว่าจ้างหรือนายจ้าง
  3. เอกสารหรือหลักฐานอื่น เช่น สัญญาเช่าที่พัก ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าที่พัก ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำ
  4. ใบเสร็จรับเงินค่าโทรศัพท์บ้าน ฯลฯ ที่แสดงว่าผู้ขอลงทะเบียนได้พักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ จริง

คุ้มครองสิทธิประโยชน์

คุ้มครอง

  • การตรวจวินิจฉัยโรค
  • เบาหวานความดัน
  • การคลอดบุตรไม่จำกัด
  • การประสบภัยจากรถ
  • ฟื้นฟูคนพิการ
  • โรคมะเร็ง
  • ผ่าตัดตา/ต้อกระจก
  • ตรวจมะเร็งเต้านม
  • แพทย์แผนไทย
  • ค่าอาหาร/ห้องสามัญ
  • อุดฟัน/ถอดฟัน

ไม่คุ้มครอง

  • การผสมเทียม - การเปลี่ยนเพศ
  • ศัลยกรรมเสริมความงาม
  • รักษารากฟัน
  • โรคที่กำลังค้นคว้าทดลอง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 150 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • เยาวชนอำเภอละแม
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุม ครั้งที่ 105 มกราคม 2016
5
มกราคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย kanlasom
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อวางแผนการทำงาน
  • เพื่อรายงานความก้าวหน้าและสรุปผลการทำงาน
  • เพื่อถอดบทเรียนการทำงานโครงการปรับพฤติกรรมการกินฯ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 10 5 มกราคม 2559 ณ สถานีวิทยุชุมชนเครือข่ายละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

  • 09.00 - 09.30ลงทะเบียน
  • 09.30 - 10.00 รายงานผลการดำเนินงาน
  • 10.00 - 12.00 ถอดบทเรียนการทำงานโครงการ

หมายเหตุ : รับประทานอาหารว่างระหว่างการประชุม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ที่ประชุมรายงานผลการดำเนินงานโครงการปรับพฤติกรรมการกินสร้างสุขคนควนทัง

  • ตลอดระยะเวลาที่ดำเนินโครงการปรับพฤติกรรมการกิน สร้างสุขคนควนทัง พบว่า ชาวบ้านหมู่ 7 มีความรู้ในเรื่องการปรับพฤติกรรมการกิน สังเกตได้จากที่บริเวณบ้านเริ่มมีการปลูกพืชผักรับประทานกันเองและจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีปริมาณที่ลดลง และภายในชุมชนยังมีบุคคลต้นแบบในการทำเกษตรอินทรีย์ เช่น นางจำเนียร รักเมือง , นายปัญญา อภิรัตนวรรณ , ลุงบิ้ม

ผลการถอดบทเรียนการทำงานโครงการ

  • การทำกิจกรรมในแต่ครั้งต้องมีการเตรียมและวางแผนงานอยู่ตลอดบางครั้งวางแผนงานแล้วแต่ไม่ปฏิบัติการตามแผนที่วางไว้ด้วยเพราะภารกิจของคณะทำงาน และจะต้องจัดกิจกรรมที่มีความหลายหลากมากยิ่งขึ้น ต้องขยายแกนนำไปยังเยาวชนให้ได้มากยิ่งขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • อสม.
  • คณะกรรมการสถานีวิทยุ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมอบรมเยาวชนเรียนรู้วิถีชีวิตพอเพียง12 ธันวาคม 2015
12
ธันวาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย kanlasom
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้รู้ถึงวิธีการเก็บข้อมูลในชุมชน- เพื่อที่จะสามารถทำงานทีมเพื่อลงพื้นที่- เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง - เพื่อให้เยาวชนสำนึกรักษ์ถิ่นบ้านเกิด - เพื่อให้เยาวชนได้พบปะและสร้างความสัมพันธ์
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เยาวชนเรียนรู้วิถีชีวิตพอเพียง 12 ธันวาคม 2558 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

  • 09.00 - 09.30 ลงทะเบียน
  • 09.30 - 10.00 ชี้แจ้งวัตถุประสงค์ของกิจกรรม
  • 10.00 - 10.15 สันทนาการ
  • 10.15 - 10.30 รับประทานอาหารว่าง
  • 10.30 - 12.00 เรียนรู้วิถีชีวิตพอเพียง
  • 12.00 - 13.00 รับประทานอาหารเที่ยง
  • 13.00 - 14.30 วางแผนงานการดำเนินงาน
  • 14.30 - 15.00 นำเสนอ
  • 15.00 ปิดการอบรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ทฤษฏีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง
  • บันไดขั้นที่ 1-4 คือ เศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน

    • ขั้นที่ 1 พอกิน พื้นฐานที่สุดของมนุษย์ คือ ความต้องการปัจจัย 4 และประการสำคัญที่สุดของปัจจัย 4 คือ อาหาร ขั้นที่ 1 ของแนวทางแก้ปัญหาที่ยั่งยืนคือ ตอบคำถามให้ได้ว่า “ทำอย่างไรจึงจะพอกิน” โดยให้ความสำคัญกับ ข้าวปลาอาหาร ไม่ให้ความสำคัญกับเงิน ซึ่งเป็นเพียงแค่ “ตัวกลาง” ในการแลกเปลี่ยนตามมาตรฐานสากล โดยยึดหลักว่า “เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาสิของจริง” เกษตรกรต้องเริ่มจากการอยู่ให้ได้โดยไม่ใช้เงิน มีอาหารพอมี พอกิน ด้วยการปลูกพืช ผัก ผลไม้ ให้พอกิน ชาวนาต้องเก็บข้าวไว้ให้เพียงพอสำหรับการมีกินทั้งปี ไม่ขายข้าวเปลือกเพื่อนำเงินไปซื้อข้าวสาร นอกจากนั้น หัวใจสำคัญของ “พอกิน” ยังมีความหมายรวมไปถึงความปลอดภัยในอาหาร กินอย่างไรให้มีสุขภาพดี ไม่สะสมเอาความเจ็บไข้ได้ป่วยไว้ในร่างกาย นี่คือความหมายของบันได
    • ขั้นที่ 1 ที่เกษตรกรต้องก้าวข้ามให้ได้
  • ขั้นที่ 2-4 พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น

    • บันไดขั้นที่ 2-4 พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น เกิดขึ้นได้พร้อมกัน ด้วยคำตอบเดียวคือ “ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ซึ่งป่า 3 อย่างจะให้ทั้ง อาหาร เครื่องนุ่งห่ม สมุนไพรสำหรับรักษาโรค ทั้งโรคคน โรคพืช โรคสัตว์ ให้ไม้สำหรับทำบ้านพักที่อยู่อาศัย และให้ความร่มเย็นกับบ้าน กับชุมชน กับโลกใบนี้ ซึ่งเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกรไทย ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถแก้ปัญหาได้จริง และยังสามารถย้อนกลับไปแก้ไขปัญหาหนี้สินซึ่งสะสมพอกพูนจากการทำ เกษตรเชิงเดี่ยว ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากร ปัญหาความขาดแคลนนำ ภัยแล้ง ทั้งหมดล้วนแก้ไขได้จากแนวคิดป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่างขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
    • บันไดขั้นที่ 5-9 คือ เศรษฐกิจพอเพียงขั้นก้าวหน้า
  • ขั้นที่ 5-6 บุญและทาน

    • เครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง เชื่อมั่นว่าสังคมไทยเป็นสังคมบุญ สังคมทาน ไม่เน้นการแลกเปลี่ยนทางการค้า แต่เน้นการทำบุญ ไม่เน้นการสะสมเป็นของส่วนตัว แต่เน้นการให้ทานและสะสมโดยมอบให้เป็นทรัพย์สินส่วนรวมโดยวัด หรือศาสนสถานตามแต่ละศาสนาเป็นศูนย์กลาง เป็นการฝึกจิตใจ ให้ละซึ่งความโลภ และกิเลสในการอยากได้ ใคร่มี ลดปัญหาช่องว่างระหว่างชนชั้น ตามความหมายอันลึกซึ้งของคำ “Our Loss is Our Gain” หรือ “ยิ่งทำยิ่งได้ ยิ่งให้ยิ่งมี” การให้ไปคือได้มา และเชื่อมั่นในฤทธิ์ของทาน ว่าทานมีฤทธิ์จริง และจะส่งผลกลับมาเป็นเพื่อน เป็นกัลยาณมิตร เป็นเครือข่ายที่ช่วยเหลือกันในทุกสถานการณ์ แม้ในวันที่โลกนี้ประสบกับวิกฤตการณ์
  • ขั้นที่ 7 เก็บรักษา

    • ขั้นต่อไปหลังจากสามารถพึ่งตนเองได้ พอมี พอเหลือทำบุญ ทำทานแล้ว คือการรู้จักเก็บรักษา ซึ่งเป็นการตั้งอยู่ในความไม่ประมาท และการรู้จักเก็บรักษา ยังเป็นการสร้างรากฐานของการเอาตัวรอดในเวลาเกิดวิกฤตการณ์ โดยยึดแนวทางตามวิถีชีวิตชาวนาสมัยก่อนซึ่งเก็บรักษาข้าวไว้ในยุ้งฉางเพื่อ ให้พอมีกินข้ามปี คัดเลือกและเก็บรักษา “ข้าวพันธุ์” ไว้สำหรับเป็นพันธุ์ข้าวในปีต่อไป ซึ่งผิดกับวิถีชาวนาในปัจจุบันที่ใช้วิธีการขายข้าวทั้งหมด แล้วนำเเงินที่ขายได้ไปซื้อพันธุ์ข้าวเพื่อปลูกในปีต่อไป ส่งผลให้เกิดการขาดความมั่นคงและเปรียบเสมือนการใช้ชีวิตอยู่บนเส้นทางสาย ความประมาท เพราะหากเกิดภัยแล้ง น้ำท่วม ผลผลิตไม่ได้ตามที่ตั้งใจไว้ ย่อมหมายถึงปัญหาหนี้สินและการขาดแคลนพันธุ์ข้าวสำหรับปลูกในปีต่อไป
    • นอกจากเก็บพันธุ์ข้าวแล้ว ยังเน้นให้รู้จักวิธีการถนอมอาหาร การสะสม อาหารไว้กินในยามหน้าแล้ง ด้วยการแปรรูปอาหารหลากชนิด อาทิ ปลาร้า ปลาแห้ง มะขามเปียก พริกแห้ง หอม กระเทียม เพื่อเก็บไว้กินในอนาคต
  • ขั้นที่ 8 ขาย

    • เนื่องจากเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่เศรษฐกิจการค้า แต่ก็ไม่ใช่เศรษฐกิจหลังเขา การค้าขายสามารถทำได้ แต่ทำภายใต้การรู้จักตนเอง รู้จักพอประมาณ และทำไปตามลำดับ โดยของที่ขาย คือ ของที่เหลือจากทุกขั้นแล้วจึงนำมาขาย เช่น ทำนาอินทรีย์ ปลูกข้าวปลอดสารเคมี ไม่ทำลายธรรมชาติ ได้ผลผลิตเก็บไว้พอกิน เก็บไว้ทำพันธุ์ ทำบุญ ทำทาน แล้วจึงนำมาขายด้วยความรู้สึกของการ “ให้” อยากที่จะให้สิ่งดีๆ ที่เราปลูกเอง เผื่อแผ่ให้กับคนอื่นๆ ได้รับสิ่งดีๆ นั้นๆ ด้วย การค้าขายตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นการค้าที่มองกลับด้าน “เพราะรักคุณจึงอยากให้คุณได้รับในสิ่งดีๆ” พอเพียงเพื่ออุ้มชู เผื่อแผ่ แบ่งปัน ไปด้วยกัน
  • ขั้นที่ 9 (เครือ) ข่าย กองกำลังเกษตรโยธิน

    • คือการสร้างกองกำลังเกษตรโยธิน หรือการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงทั้งประเทศ เพื่อขยายผลความ สำเร็จตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิวัติแนวคิด และวิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคม ในชุมชน เพื่อการแก้ปัญหาวิกฤต 4 ประการ อันได้แก่ วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติ (Environmental Crisis) วิกฤตการณ์โรคระบาดทั้งในคน สัตว์ พืช (Epidemic Crisis) วิกฤตเศรษฐกิจ ข้าวยากหมากแพง (Economic Crisis) วิกฤตความขัดแย้งทางสังคม/สงคราม (Political/Social Crisis)

วางแผนการดำเนินงาน

  • กลุ่มที่ 1 หาพื้นที่สำหรับทำกิจกรรม สิ่งที่แรกที่จะทำคือ การปลูกผักปลอดสารพิษ นำมารับประทานเองและเมื่อมีส่วนที่เหลือก็สามารถนำไปขายในตลาดนัดสีเขียว (ตลาดปลอดสารเคมี) เท่านั้นยังไม่เพียงพอต่อสุขภาพ ส่งเสริมให้มีการออกกำลังกาย ลานกีฬาของชุมชน เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง มีรายได้เสริมให้กับครอบครัว ใช้วิถีชีวิตแบบพอเพียง
  • กลุ่มที่ 2 มีพื้นที่ในการทำกิจกรรมโดยใช้สวนของสมาชิกในกลุ่ม เป็นพื้นที่ปลูกผักสวนครัว พืชสมุนไพรต่างๆ มีโรงเพาะเห็ด และเข้าไปมีส่วนร่วมกิจกรรมกับวัด บำเพ็ญประโยชน์ ร่วมกิจกรรมกับโรงเรียน เพื่อให้เป็นการทำงานที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นๆ จากประสบการณ์ที่ได้ออกไปศึกษาเรียนรู้ ดูงาน จากพื้นที่ต่างๆ สามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการจัดทำแผนงานเศรษฐกิจพอเพียง
  • กลุ่มที่ 3 จากการวิเคราะห์ทุนและศักยภาพของพื้นที่ คือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ขนมไทย หมอสมุนไพร กลุ่มเลี้ยงผึ้ง หมอกระดูก ไม้กวาดดอกอ้อ ช่างไม้ หน่วยงานที่เข้ามาสนับสนุน ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืช ตชด. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประมง ทำปะการังเทียม เพาะเลี้ยงไส้เดือด ขยายพันธ์ปาล์ม เรือใบโบราณ และ สื่อวิทยุชุมชน สามารถนำเรื่องราวของชุมชน หรือ กิจกรรมต่างๆภายในชุมชน ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อวิทยุ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • กลุ่มเยาวชน 30 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมการเรียนรู้วิธีการทำการเกษตรปลอดสารพิษ5 พฤศจิกายน 2015
5
พฤศจิกายน 2015รายงานจากพื้นที่ โดย kanlasom
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อได้รู้ถึงวิธีการทำการเกษตรปลูกสารพิษ- เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการการเกษตรปลอดสารพิษเพื่อสามารถนำกลับมาใช้ที่บ้านได้- เพื่อบอกถึงคุณค่าทางสารอาหารที่ได้จากผักที่ปลูกว่ามีประโยชน์- เพื่อสร้างกระแสการบริโภคผัก
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมการเรียนรู้วิธีการทำเกษตรปลอดสารพิษ 5 พฤศจิกายน 2558 ณ ศาลาหมู่บ้านควนทัง หมู่ 7 ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

  • 09.00 - 09.30 ลงทะเบียน
  • 09.30 - 10.00 สันทนาการ
  • 10.00 - 12.00 เรียนรู้การทำการเกษตรปลอดสารพิษ
  • 12.00 - 13.00 รับประทานอาหารเที่ยง
  • 13.00 - 15.00 ลงสำรวจพื้นที่ภายในชุมชนการเกษตรอินทรีย์
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การเรียนรู้วิธีการทำเกษตรปลอดสารพิษ

  • เกษตรอินทรีย์คือ การทำการเกษตรที่เลียนแบบธรรมชาติ เป็นการทำการเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมีใด ๆ หัวใจของการทำการเกษตรอินทรีย์อยู่ที่ดิน กระบวนการปรับปรุงดินที่ตายแล้วคืนสู่ดินมีชีวิต จะไม่มีความยากลำบากใด ๆ เลยต่อเกษตรกรที่มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะเปลี่ยนจากเกษตรกรรมอันมืดมน มาสู่เกษตรกรรมที่รุ่งเรือง ก้าวหน้า และมีสุขภาพพลานามัย หรือคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพ ทำให้การเปลี่ยนแปลงตามปกติ เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด เมื่อปฏิบัติไปได้สักระยะหนึ่ง เมื่อดินได้ถูกปรับสภาพแล้ว ผลผลิตของเกษตรอินทรีย์จะผิดไปจากเกษตรกรรมเคมีโดยสิ้นเชิง คือ รสชาติอร่อย เก็บไว้ได้นาน น้ำหนักดี สีสวย ไร้สารพิษ ปราศจากอันตรายต่อชีวิตผู้ผลิต และผู้บริโภค ผลไม้บางชนิด และหลายชนิด เมื่อดินถูกปรับสภาพจะทำให้ผลผลิตดกตลอดปี เศรษฐกิจดีกว่าเก่า ปัญหาโรคแมลงศัตรูพืชจะลดลง เพราะจุลินทรีย์จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ภูมิต้านทานธรรมชาติ ใบอ่อนของพืชจะไม่ถูกทำลาย ใบแก่ที่ขาดภูมิต้านทานธรรมชาติอาจถูกทำลายจากศัตรูพืชบ้าง
  • เป็นระบบการเกษตรที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในการปรับปรุงบำรุงดิน ไม่ใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช ตลอดจนไม่ใช้ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ ระบบนี้เน้นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและของชีวภาพ คือดินที่มีจุลินทรีย์ และสิ่งที่มีชีวิตเล็ก ๆ ในดินที่เป็นประโยชน์ในปริมาณที่มาก
  • เกษตรอินทรีย์ไม่ใช่เกษตรธรรมชาติ (Natural Agriculture) ตามแบบของประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะของนายยาซาโนมุ ฟูกุโอกะ นักธรรมชาติวิทยาที่คำนึงถึงระบบนิเวศน์มาก ได้ทำฟาร์มเกษตรธรรมชาติ โดยมีหลักการใช้คำว่า “ไม่ 4ตัว” คือ “ไม่ไถพรวน” “ไม่ใส่ปุ๋ย” “ไม่ป้องกันกำจัดศัตรูพืช” “ไม่กำจัดวัชพืช” โดยหยุดการแทรกแซงธรรมชาติโดยสิ้นเชิง กระทำตนให้เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ
  • เกษตรอินทรีย์ เองก็มี “ 4 ไม่” เช่นกัน คือ “ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี” “ไม่ใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช” “ไม่ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช” และไม่ใช้ฮอร์โมนกระตุ้นความเจริญเติบโตของพืช
  • เกษตรอินทรีย์ คือ การทำการเกษตรที่เลียนแบบธรรมชาติ เป็นการทำการเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมีใด ๆ หัวใจของการทำการเกษตรอินทรีย์อยู่ที่ดิน กระบวนการปรับปรุงดินที่ตายแล้วคืนสู่ดินมีชีวิต จะไม่มีความยากลำบากใด ๆ เลยต่อเกษตรกรที่มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะเปลี่ยนจากเกษตรกรรมอันมืดมน มาสู่เกษตรกรรมที่รุ่งเรือง ก้าวหน้า และมีสุขภาพพลานามัย หรือคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพ ทำให้การเปลี่ยนแปลงตามปกติ เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด เมื่อปฏิบัติไปได้สักระยะหนึ่ง เมื่อดินได้ถูกปรับสภาพแล้ว ผลผลิตของเกษตรอินทรีย์จะผิดไปจากเกษตรกรรมเคมีโดยสิ้นเชิง คือ รสชาติอร่อย เก็บไว้ได้นาน น้ำหนักดี สีสวย ไร้สารพิษ ปราศจากอันตรายต่อชีวิตผู้ผลิต และผู้บริโภค ผลไม้บางชนิด และหลายชนิด เมื่อดินถูกปรับสภาพจะทำให้ผลผลิตดกตลอดปี เศรษฐกิจดีกว่าเก่า ปัญหาโรคแมลงศัตรูพืชจะลดลง เพราะจุลินทรีย์จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ภูมิต้านทานธรรมชาติ ใบอ่อนของพืชจะไม่ถูกทำลาย ใบแก่ที่ขาดภูมิต้านทานธรรมชาติอาจถูกทำลายจากศัตรูพืชบ้าง

คุณประโยชน์ของผัก

1.ประโยชน์ของผักบุ้ง

  • ประโยชน์ของผักบุ้งข้อแรกคือมีส่วนช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส มีน้ำมีนวล
  • มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการชะลอวัยความแก่ชรา และชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
  • มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดหรือลดอัตราการเกิดของโรคมะเร็งได้
  • ช่วยบำรุงสายตา รักษาอาการตาต้อ ตาฝ้าฟาง ตาแดง สายตาสั้น อาการคันนัยน์ตาบ่อย ๆ
  • ช่วยบำรุงธาตุ
  • ต้นสดของผักบุ้งใช้เป็นยาดับร้อน แก้อาการร้อนใน
  • ต้นสดของผักบุ้งช่วยในการบำรุงโลหิต
  • ช่วยเสริมสร้างศักยภาพในด้านความจำและการเรียนรู้ให้ดีขึ้น
  • ยอดผักบุ้งช่วยแก้โรคประสาท
  • ช่วยแก้อาการเหงื่อออกมาก (รากผังบุ้ง)
  • มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
  • ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย
  • ต้นสดของผักบุ้งไทยต้นขาวช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
  • ช่วยแก้อาการเหงือกบวม
  • ช่วยรักษาแผลร้อนในในปาก ด้วยการนำผักบุ้งสดมาผสมเกลืออมไว้ในปากประมาณ 2 นาที วันละ 2 ครั้ง

คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้งต่อ 100 กรัม

  • พลังงาน 19 กิโลแคลอรี่
  • คาร์โบไฮเดรต 3.14 กรัม
  • เส้นใย 2.1 กรัม
  • วิตามินเอ 315 ไมโครกรัม 39%
  • ไขมัน 0.2 กรัม
  • โปรตีน 2.6 กรัม
  • วิตามิน บี 1 0.03 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามิน บี 2 0.1 มิลลิกรัม 8%
  • วิตามิน บี 3 0.9 มิลลิกรัม 6%
  • วิตามินบี 5 0.141 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินบี 6 0.096 มิลลิกรัม 7%
  • วิตามินบี 9 57 ไมโครกรัม 14%
  • วิตามินซี 55 มิลลิกรัม 66%
  • ธาตุแคลเซียม 77 มิลลิกรัม 8%
  • ธาตุเหล็ก 1.67 มิลลิกรัม 13%
  • ธาตุแมกนีเซียม 71 มิลลิกรัม 20%
  • ธาตุแมงกานีส 0.16 มิลลิกรัม 8%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม 6%
  • ธาตุโพแทสเซียม 312 มิลลิกรัม 7%
  • ธาตุโซเดียม 113 มิลลิกรัม 8%
  • ธาตุสังกะสี 0.18 มิลลิกรัม 2

2.ประโยชน์ของคะน้า

  • มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆในร่างกายได้
  • ผักคะน้า ประโยชน์ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานในกับร่างกาย ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณและป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ
  • ผักคะน้ามีวิตามินซีซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้นมากขึ้น (วิตามินซี)
  • สรรพคุณผักคะน้า ช่วยบำรุงและรักษาสายตา (วิตามินเอ)
  • สรรพคุณของคะน้ามีสาร ลูทีน (Lutein) ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจกได้ถึง 29% (ลูทีน)
  • ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม และยังช่วยป้องกันการเสื่อมของศูนย์จอตาได้อีกด้วย
  • ประโยชน์ของผักคะน้า ช่วยบำรุงโลหิต
  • ธาตุเหล็กและธาตุโฟเลตในผักคะน้า มีความสำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง
  • ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต

คุณค่าทางอาหาร : คะน้าเป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าทางอาหารสูงซึ่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ธาตุอาหารพืชของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริการายงานว่าในปริมาณ100กรัม

  • ผักคะน้ามีน้ำ83%
  • พลังงาน53แคลลอรี่
  • โปรตีน6.0กรัม
  • ไขมัน0.8กรัม
  • คาร์โบไฮเดรท9.0กรัม
  • แคลเซี่ยม249มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส93มิลลิกรัม
  • เหล็ก2.7มิลลิกรัม
  • โซเดี่ยม75มิลลิกรัม
  • โปแตสเซี่ยม378มิลลิกรัม
  • วิตามิน10,000ไอ.ยู
  • ไธอะมิน0.16มิลลิกรัม
  • ไรโบฟลาริน0.26มิลลิกรัม
  • ไนอะซีน2.1มิลลิกรัม
  • กรดแอสคอบิค186กรัม

3.สรรพคุณของผักกาดขาว

  • ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  • มีแคลเซียมช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน
  • ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง
  • ช่วยให้เจริญอาหาร รับประทานอาหารได้มากขึ้น
  • ประโยชน์ผักกาดขาวช่วยแก้กระหาย
  • ช่วยทำให้กล้ามเนื้อทำงานเป็นปกติ
  • แคลเซียมมีส่วนช่วยในการลดความดันโลหิตสูง
  • ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้ผนังหลอดเลือด
  • ช่วยขับน้ำนม (ใบ)
  • ผักกาดขาวมรออร์กาโนซัลไฟต์ (organosulffide) และฟลาโวนอยด์ ที่ช่วยป้องกันมะเร็งและโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็งในลำไส้
  • ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคตาบอดตอนกลางคืน โรคตาห้อง
  • ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • มีส่วนช่วยกำจัดสารพิษของเสียและโลหะหนักออกจากร่างกาย

คุณค่าทางอาหาร :

  • ในหัวผักกาดขาวสดส่วนที่ใช้เป็นอาหารได้ 100 กรัม มีน้ำ 91.7 กรัม โปรตีน 0.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม ความร้อน 250,000 แคลอรี่ เส้นใยหยาบ 0.8 กรัม ash 0.8 กรัม คาโรทีน (Carotene) 0.02 มก.วิตามินบีหนึ่ง 0.02 มก. วิตามินบีสอง 0.04 มก. กรดนิโคตินิค (Nicotinic acid) 0.5 มก. วิตามินซี 30 มก. แคลเซียม 49 มก. ฟอสฟอรัส 34 มก. เหล็ก 0.5 มก. โปแตสเซียม 196 มก.ซิลิกอน 0.024 มก. แมงกานีส 1.26 มก. สังกะสี 3.21 มก. โมลิบดีนัม 0.125 มก. โบรอน 2.07 มก.ทองแดง 0.21 มก. นอกจากนี้ยังมีกลูโคส (Glucose) ซูโครส (Sucross) Fructose Coumaric acid,Ferulic acid, Gentisic acid, Phenylpyruvic acid และกรดอะมิโนหลายชนิด

4.ประโยชน์ของแตงกวา

  • แตงกวามีสรรพคุณช่วยแก้กระหาย ลดความร้อนในร่างกาย ทำให้ร่างกายสดชื่น และช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น
  • ช่วยกำจัดของเสียที่ตกค้างในร่างกาย
  • แตงกวามีสารฟีนอลที่ทำหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ
  • ผลและเมล็ดอ่อนมีฤทธิ์ช่วยตอต้านมะเร็ง
  • ช่วยลดความดันโลหิต (เถาแตงกวา)
  • ช่วยรักษาสมดุลต่าง ๆในร่างกาย รักษาระดับน้ำตาลในเลือด ระดับภูมิคุ้มกันให้อยู่ในสุขภาพดี
  • ช่วยควบคุมระดับความดันเลือดและความสมดุลของสารอาหารในร่างกาย (โพแทสเซียม, แมงกานีส)
  • ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ ระบบการหมุนเวียนเลือด (แมกนีเซียม)
  • ช่วยเสริมสร้างการทำความของระบบประสาท เพิ่มความจำ (ผล,เมล็ดอ่อน)
  • ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ (ผล,เมล็ด)
  • ช่วยลดอาการนอนไม่หลับ (น้ำแตงกวา)
  • ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร (น้ำแตงกวา)
  • ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันและแก้อาการท้องผูก
  • ช่วยแก้อาการท้องเสีย บิด (ใบแตงกวา)
  • น้ำคั้นจากแตงกวามีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ

คุณค่าทางโภชนาการของแตงกวาพร้อมเปลือก ต่อ 100 กรัม

  • พลังงาน 16 กิโลแคลอรี
  • แตงกวาคาร์โบไฮเดรต 3.63 กรัม
  • น้ำตาล 1.67 กรัม
  • เส้นใย 0.5 กรัม
  • ไขมัน 0.11 กรัม
  • โปรตีน 0.65 กรัม
  • น้ำ 95.23 กรัม
  • วิตามินบี1 0.027 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี2 0.033 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินบี3 0.098 มิลลิกรัม 1%
  • วิตามินบี5 0.259 มิลลิกรัม 5%
  • วิตามินบี6 0.04 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินบี9 7 ไมโครกรัม 2%
  • วิตามินซี 2.8 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินเค 16.4 ไมโครกรัม
  • ธาตุแคลเซียม 16 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุเหล็ก 0.28 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุแมกนีเซียม 13 มิลลิกรัม 4%
  • ธาตุแมงกานีส 0.079 มิลลิกรัม 4%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุโพแทสเซียม 147 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม 0%
  • ธาตุสังกะสี 0.2 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุฟลูออไรด์ 1.3 ไมโครกรัม 11%

5.สรรพคุณของมะเขือเปราะ

  • ที่ประเทศอินเดียจะใช้น้ำต้มจากผลมะเขือเปราะเป็นยารักษาโรคเบาหวาน (ผล)
  • ผลใช้เป็นยาลดไข้ (ผล)
  • ใช้เป็นยาแก้ไข้พิษร้อน กระทุ้งพิษไข้ ใช้เป็นยาขับน้ำชื้น (ไม่ระบุแน่ชัดว่าใช้ส่วนใด)
  • ผลตากแห้งนำมาบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งใช้ปรุงเป็นยาแก้ไอ ส่วนการแพทย์อายุรเวทของอินเดียจะใช้รากมะเขือเปราะเป็นยารักษาอาการไอ (ราก,ผล)
  • รากใช้เป็นยาแก้หอบหืด หลอดลมอักเสบ (ราก)
  • ใช้แก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้ราก 15 กรัม นำมาต้มเอาน้ำอมในปาก (ราก)
  • ช่วยขับลม (ราก)
  • ช่วยในการย่อยอาหาร และช่วยในการขับถ่าย (ผล)
  • ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะอาหาร (ไม่ระบุแน่ชัดว่าใช้ส่วนใด)
  • ผลมีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิ (ผล)
  • รากมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ (ราก)
  • ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ (ผล)
  • ใช้เป็นยาแก้อัณฑะอักเสบ ด้วยการใช้ 15 กรัม, หญ้าแซ่ม้า 15 กรัม และต้นทิ้งถ่อน นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)
  • ใบสดใช้ภายนอกนำมาตำพอกแก้พิษ แก้ฝีหนอง (ใบสด)
  • ช่วยลดการอักเสบ (ผล)
  • ช่วยแก้อาการปวดบวม ปวดหลัง ฟกช้ำดำเขียว (ไม่ระบุแน่ชัดว่าใช้ส่วนใด)
  • ใช้เป็นยาช่วยขับลมชื้น แก้อาการปวดข้อเนื่องจากลมชื้นติดเกาะ แก้ไขข้ออักเสบ มือเท้าชา ด้วยการใช้ผลสดประมาณ 70-100 กรัม นำมาตุ๋นกับไตหมูรับประทาน (ผล)

คุณค่าทางโภชนาการ

  • มะเขือเปราะ 100 กรัม ให้พลังงาน 39 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย โปรตีน 1.6 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 7.1 กรัม แคลเซียม 7 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 10 มิลลิกรัม เหล็ก 0.8 มิลลิกรัม ไทอะมิน 0.11 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.6 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.06 มิลลิกรัม น้ำ 90.2 กรัม วิตามินเอรวม 143 RE. วิตามินซี 24 มิลลิกรัม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • อสม.
  • กลุ่มเสี่ยง
  • ผู้สูงอายุ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการบริโภคที่ถูกหลักโภชนาการ10 ตุลาคม 2015
10
ตุลาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย kanlasom
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อได้รู้วิธีการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการที่ถูกต้อง
  • เพื่อปลูกฝังนิสัยด้านการรับประทานอาหารที่เอื้อต่อสุขภาพดีในเด็กและเยาวชน
  • เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับทราบถึงผลกระทบของการบริโภค หวาน มัน เค็ม เกินความจำเป็น
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมอบรมให้ความรู้การบริโภคที่ถูกหลักโภชนาการตามวัย วันที่10 ตุลาคม 2558 ณ โรงพยาบาลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

  • 09.00 - 09.30 นลงทะเบียน
  • 09.30 - 12.00 น. วัดความดัน เบาหวาน
  • 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
  • 13.00 - 13.30 น. สันทนาการ
  • 13.30 - 15.00 น. การบริโภคอาหารที่ถูกหลักโภชนาการตามวัย
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

อาหารที่เหมาะสมกับวัย

อาหารการกินในวัยเด็ก

  • เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้วว่า อาหารมีส่วนสำคัญอย่างมากในวัยเด็ก ทั้งในด้านการเจริญเติบโตของร่างกาย และการพัฒนาการในด้านความสัมพันธ์ของระบบการเคลื่อนไหวของร่างกาย ตลอดจนในด้านจิตใจและพฤติกรรมในการแสดงออก และปัจจัยที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้เด็กได้รับอาหารที่ถูกหลักทางโภชนาการ ได้แก่
  1. ครอบครัว ที่คอยดูแลและเป็นตัวอย่างที่ดี
  2. ตัวเด็กเอง ที่จะต้องถูกฝึกฝน
  3. สิ่งแวดล้อม ทำให้การเอาอย่างคนข้างเคียง
  • สำหรับอาหารที่ถูกหลักโภชนาการในวัยเด็กนั้น เราทราบดีอยู่แล้วว่าเด็กต้องการสารอาหารครบทั้ง 6 ประเภท เพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ อาหารที่ให้เด็กควรคิดถึง 3 ประเด็น ด้วยกันคือ
  1. อาหารที่ให้โปรตีน ได้แก่ นม ไข่ เนื้อสัตว์ ตลอดจนโปรตีนจากพืช พวกถั่วเขียว ถั่วเหลือง ดูว่าได้รับเพียงพอหรือยัง
  2. อาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ ข้าว แป้ง น้ำตาล ไขมัน และน้ำมัน ดูว่าเพียงพอหรือยัง อาหารในกลุ่มนี้ พวกน้ำอัดลม หรือขนมหวาน ลูกกวาดต่างๆ ควรจำกัดลง เพราะประโยชน์น้อยมาก และบางทีทำให้มีปัญหาเรื่องฟันผุด้วย
  3. อาหารที่ให้วิตามินและเกลือแร่ ได้แก่ พวก ผัก ผลไม้ และอาหารที่มีใยอาหารที่มีส่วนทำให้เด็กไม่ท้องผูก

อาหารเด็กวัยเรียน

  • ในปัจจุบันภาวะของความเร่งรีบในสังคม อาจจะทำให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองละเลยเรื่องอาหารเช้าของเด็กวัยเรียน ซึ่งเด็กวัยเรียนเป็นวัยที่ร่างกายเจริญเติบโตต้องการอาหารเช้าของเด็กวัยเรียน ซึ่งมักจะเป็นปัญหาของบางครอบครัวที่ต้องเร่งรีบในตอนเช้าของแต่ละวัน โดยเฉพาะครอบครัวในเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพมหานคร และครอบครัวรุ่นใหม่ที่พ่อแม่ทำงานทั้งคู่ ไม่มีแม่ครัวหรือคนรับใช้ที่จะหุงหาอาหารในตอนเช้าให้
  • ดังนั้น ในปัจจุบันภาวะของความเร่งรีบในสังคม อาจจะทำให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองละเลยเรื่องอาหารเช้าของเด็กวัยเรียน ซึ่งเด็กวัยเรียนเป็นวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต ถ้าเด็กไม่ได้กินอาหารเข้า จะทำให้เด็กขาดสมาธิในการเรียน สมองมึน ง่วง ซึม และถ้าเด็กอดอาหารเป็นเวลานานๆ ติดต่อกัน จะทำให้มีผลเสียต่อระบบการย่อยอาหาร และเป็นโรคขาดสารอาหารได้ ดังนั้น การเลือกอาหารเช้าที่เด็กวัยเรียน ควรได้กินและหาได้ง่ายๆ คือ นมสด 1 กล่อง ข้าวหรือขนมปัง ไข่ อาจจะเป็นไข่ดาว ไข่ลวกหรือไข่เจียว ผลไม้ที่หาได้ง่าย เช่น กล้วยน้ำว้า มะละกอ หรือส้ม เท่านี้เด็กก็จะได้รับสารอาหารที่เพียงพอแล้ว จึงอยากจะให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองได้ตระหนักถึงเด็กๆ ในการที่จะเตรียมอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางโภชนาการ

อาหารการกินในวัยรุ่น

  • วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตในด้านร่างกายอย่างมาก และในวัยนี้เองที่จะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ และจิตใจค่อนข้างสูง มีกิจกรรมต่างๆ ค่อนข้างมาก ทั้งในด้านสังคม กีฬาและบันเทิง ความต้องการสารอาหารย่อมมีมากขึ้นเป็นธรรมดา ซึ่งจะต้องคำนึงทั้งปริมาณและคุณภาพให้ถูกหลักโภชนาการ สำหรับปัจจัยที่สำคัญ มีดังนี้
  1. ครอบครัว การปลูกฝังนิสัยการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ควรเริ่มต้นมาจากที่บ้าน สำหรับวัยรุ่นที่อาจชอบรักสวยรักงาม อาจพยายามจำกัดอาหารลง ซึ่งคนในครอบครัวจะต้องให้คำแนะนำเพื่อไม่ไปจำกัดอาหารที่มีคุณค่าและมีความจำเป็นต่อร่างกาย
  2. ตัววัยรุ่นเอง วัยรุ่นจะเริ่มมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปโดยมีความคิดความเห็นเป็นของตัวเองมากขึ้น การให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการ มีความจำเป็นเพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญของการรับประทานอาหาร ที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะมีผลต่อตัววัยรุ่นเองโดยตรง
  3. สิ่งแวดล้อม ในโรงเรียนหรือสถานศึกษา อิทธิพลจากเพื่อนฝูงมีส่วนที่ทำให้วัยรุ่นเอาอย่างกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรับประทานอาหาร ตลอดจนการบริโภคสารอันตราย เช่น เหล้า บุหรี่ และยาเสพติด การดูแลอย่างใกล้ชิด ตลอดจนการสนับสนุนให้วัยรุ่นเล่นกีฬา หรือทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ จะมีผลทางอ้อมทำให้นิสัยที่ดีในการบริโภคอาหารไม่ถูกเบี่ยงเบนไป

อาหารการกินในผู้ใหญ่

  • ผู้ใหญ่ถึงแม้ว่าจะหยุดเจริญเติบโตแล้ว แต่ร่างกายก็ต้องการสารอาหารอย่างครบถ้วน เพื่อนำไปทำนุบำรุงอวัยวะ และเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย ให้คงสภาพการทำงานที่มีสมรรถภาพต่อไป และปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้วัยผู้ใหญ่ยังคงแข็งแรง ได้แก่ การบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ซึ่งในวัยนี้ เนื่องจากเป็นวัยทำงานมีเงินทองที่จะจับจ่ายได้มากขึ้น โดยมากจะทำให้เกิดภาวะโภชนาการเกินเป็นส่วนใหญ่ เพราะถือเป็นความสุขอย่างหนึ่งของคนบางกลุ่ม ที่คิดว่าอุสส่าห์หาเงินทองแทบแย่ จึงต้องรับประทานอาหารที่มีราคาแพง และส่วนใหญ่จะเต็มไปด้วยไขมันในปริมาณที่มากเกินไป ดังนั้นสิ่งที่เป็นหัวใจในการควบคุมเรื่องอาหารการกินในผู้ใหญ่ ก็คือการควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม และท่านสามารถคำนวณได้จากสูตร ดัชนีความหนาของร่างกายซึ่งมีรายละเอียดในหัวข้อเรื่องการควบคุมน้ำหนักตัว สำหรับคำแนะนำการรับประทานอาหารที่ถูกต้องในผู้ใหญ่ ขอแนะนำดังนี้
  1. ให้บริโภคอาหารหลายชนิด เนื่องจากไม่มีอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่ให้คุณค่าทางโภชนาการได้ครบถ้วน
  2. บริโภคอาหารในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการ
  3. หลีกเลี่ยงการรับประทานที่มีไขมันมากเกินไป
  4. บริโภคอาหารที่มีปริมาณของแป้ง และกากใยให้เพียงพอ
  5. หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ปรุงด้วยปริมาณน้ำตาลจำนวนมาก
  6. หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารเค็มมากเกินไป
  7. ถ้าท่านดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ ขอให้ท่านดื่มแต่พอประมาณ

อาหารการกินในวัยผู้สูงอายุ

  • ผู้สูงอายุในที่นี้หมายถึงผู้ที่อยู่ในวัย 60 ปีขึ้นไป ซึ่งในปัจจุบัน เป็นปีที่จะเกษียณอายุของทางราชการ แต่ในอนาคตจะมีคนอายุ 60 ปี แต่ยังแข็งแรงทั้งสุขภาพกายสุขภาพจิต ความคิดความอ่าน การตัดสินใจยังดีอยู่ จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้สูงอายุน่าที่จะขยับไปอยู่ที่วัย 65 ปีขึ้นไป
  • สำหรับปัญหาเรื่องอาหารการกิน หรือโภชนาการในวัยนี้ มีข้อคิดอยู่ว่า ขอให้รับประทานอาหารให้ครบหมู่ และควบคุมปริมาณโดยดูจากการควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากขึ้น และในกรณีน้ำหนักเกินอยู่แล้ว ควรจะลดน้ำหนักให้ลงมาตามที่ควรเป็นด้วย เพราะโครงสร้างของท่านเสื่อมตามวัย ถ้ายังต้องแบกน้ำหนักมากๆ จะเป็นปัญหาได้

ข้อแนะนำในการดูแลเรื่องอาหารในผู้สูงอายุมีดังนี้

  1. โปรตีนคุณภาพ ควรให้รับประทานไข่วันละ 1 ฟอง และดื่มนมอย่างน้อยวันละ 1 แก้ว สำหรับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ควรลดน้อยลง เพราะส่วนใหญ่จะติดมันมากับเนื้อสัตว์ด้วย
  2. ไขมัน ควรใช้น้ำมันถั่วเหลืองหรือน้ำมันข้าวโพดในการปรุงอาหารเพราะเป็นน้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอีก
  3. คาร์โบไฮเดรต คนสูงอายุควรรับประทานข้าวให้ลดน้อยลง และไม่ควรรับประทานน้ำตาลในปริมาณที่มาก
  4. ใยอาหาร คนสูงอายุควรรับประทานอาหารที่เป็นพวกใยอาหารมากขึ้น เพื่อช่วยป้องกันการท้องผูก เชื่อกันว่าช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด และลดอุบัติการของการเกิดมะเร็งของลำไส้ใหญ่ลงได้
  5. น้ำดื่ม คนสูงอายุควรรับประทานน้ำประมาณ 1 ลิตร ตลอดทั้งวัน แต่ทั้งนี้ควรจะปรับเองได้ ตามแต่ความต้องการของร่างกาย โดยให้ดูว่า ปัสสาวะมีสีเหลืองอ่อนๆ เกือบขาว แสดงว่าน้ำในร่างกายเพียงพอแล้ว ส่วนเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำชา กาแฟควรจะงดเว้นเสีย ถ้าระบบย่อยอาหารในคนสูงอายุไม่ดี ท่านควรแบ่งเป็นมื้อย่อยๆ แล้วรับประทานทีละน้อย แต่หลายมื้อจะดีกว่า แต่อาหารหลักควรเป็นมื้อเดียว
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย
  • กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
  • ทีม อสม.
  • เยาวชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ปัญหาในเรื่องสถานที่ เพราะจัดกิจกรรมภายในบริเวณโรงพยาบาล ทำให้ผู้เข้าร่วมไม่มีสมาธิในการเข้าร่วมอบรม เพราะด้วยโรงพยาบาลมีบุคคลเข้าใช้บริการจำนวนมาก และเสียงดังจากภายในอาคาร
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชมคณะทำงาน ครั้งที่ 92 ตุลาคม 2015
2
ตุลาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย kanlasom
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อวางแผนการทำงาน
  • เพื่อรายงานความก้าวหน้าและสรุปผลการทำงาน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุม ครั้งที่ 9 วันที่ 2 ตุลาคม 2558 ณ สาธารณสุขอำเภอละแม

  • 09.00 - 09.30 ลงทะเบียน
  • 09.30 - 10.00เล่าสถานการณ์ที่เข้าร่วมเวทีตนใต้สร้างสุข
  • 10.00 - 10.15 รับประทานอาหารว่าง
  • 10.15 - 12.00 วางแผนงานในครั้งต่อไปของโครงการปรับพฤติกรรมการกินฯ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สถานการณ์

  • จากการที่ได้เข้าร่วมเวที "ตนใต้สร้างสุข" เมื่อวันที่ 4-6 กันยายน 2558 ที่ผ่านมานั้น ได้เห็นชุมชนที่ทำงานและโครงการใกล้เคียงกับโครงการปรับพฤติกรรมการกิน สร้างสุขคนควนทัง สามารถนำมาใช้ในโครงการของเราได้เช่น การทำสื่อที่ให้ชาวบ้านได้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น อย่างการทำปริมาณน้ำตาลในน้ำดื่มที่มีปริมาณกี่ช้อนชา การทำป้ายจราจรของขนมต่างๆ เราสามารถสื่อนี่เวลาเราจัดกิจกรรมภายในชุมชน
  • วางแผนงานกิจกรรมครั้งต่อไปคือ กิจกรรมอบรมให้ความรู้การบริโภคที่ถูกหลักโภชนาการ การรับประทานอาหารที่ถูกหลักตามวัยนั้นมีความสำคัญยิ่งทุกๆวัย กิจกรรมในครั้งนี้ต้องมีการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันเบื้องต้น เพื่อให้เป็นข้อมูลในการจัดเก็บของชุมชน เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาในครั้งต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • อสม
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชมคณะทำงาน ครั้งที่ 817 กันยายน 2015
17
กันยายน 2015รายงานจากพื้นที่ โดย kanlasom
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อวางแผนงานและปรับกระบวนการทำงานของโครงการปรับพฤติกรรมการกิน สร้างสุขคนควนทัง
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุม ครั้งที่8 วันที่ 17 กันยายน 2558 ณ สาธารณสุขอำเภอละแม

  • 09.00 - 09.30 ลงทะเบียน
  • 09.30 - 10.00 สถานการณ์ของโครงการ
  • 10.00 - 10.15 รับประทานอาหารว่าง
  • 10.15 - 12.00 วางแผนการดำเนินงานโครงการปรับพฤติกรรมการกิน สร้างสุขคนควนทัง
  • 12.00 รับประทานอาหารเที่ยง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สถานการณ์โครงการปรับพฤติกรรมการกิน สร้างสุขคนควนทัง

  • จากกิจกรรมที่ผ่านๆมาทำให้ชาวบ้านเริ่มที่จะสนใจในการด้วยดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น โดยวิธีง่ายๆการปลูกผักรับประทานเองที่บ้าน จากการได้ลงสัมภาษณ์ชาวบ้านหมู่7 ได้กล่าวไว้ว่า เพราะพืชผักที่วางขายภายในตลาดนั้นมีสารเคมีปนเปื้อนอยู่มาก หากเราหันมาปลูกผักรับประทานเองแล้วเราจะได้ผักที่ปลอดสารพิษและประหยัดค่าใช้จ่ายของครัวเรือนได้อีกด้วย และจากการสำรวจพบว่า มีจำนวนครอบครัวที่หันมาปลูกผักรับประทานเองจำนวน 20 ครัวเรือน

วางแผนงานโครงการปรับพฤติกรรมการกิน สร้างสุขคนควนทัง

  1. ต้องทำการสำรวจพื้นที่ภายในชุมชนที่ทำเกษตรอินทรีย์และบุคคลที่เป็นแบบอย่าง
  2. ต้องหากิจกรรมที่หลากหลายเพื่อดึงให้ผู้เข้าร่วมประชุมที่หลากหลาย
  3. ส่งเสริมออกกำลังกาย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • อสม.
  • จนท.สสอ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เข้าร่วมสานงาน เสริมพลัง ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ "ความมั่นคงทางสุขภาวะ วาระสร้างสุขของคนใต้ ปี 2558"4 กันยายน 2015
4
กันยายน 2015รายงานจากพื้นที่ โดย kanlasom
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้ภาคีเครือข่ายได้มีโอกาสพบปะ สร้างความสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น 2. เพื่อให้ภาคีเครือข่ายมองเห็นโอกาสในการเชื่อมประสานงานกันในระดับภูมิภาค
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 4 กันยายน 2558

  • 08.00 - 12.00 น. เครือข่ายเตรียมงาน จัดนิทรรศการ
  • 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
  • 13.00 -13.30 น. การแสดงศิลปวัฒนธรรม : ลิเกฮูลู มโนราห์
  • 13.30 - 14.00 น. พิธีเปิด เป็นการแสดงพลังเครือข่ายสุขภาพภาคใต้

    • กล่าวรายงานโดย ตัวแทนเครือข่ายสุขภาพภาคใต้
    • กล่าวเปิดโดย ผู้จัดการกองทุน สสส.
  • 14.00 - 14.45 น. การเสวนาเรื่อง พลังเครือข่ายสุขภาพภาคใต้เพื่อการขับเคลื่อนประเทศไทย หัวข้อ : บทบาทเครือข่ายสุขภาพ ต่อการทำให้ชุมชนภาคใต้เข้มแข็ง อันเป็นฐานรากของการแก้วิกฤตและการพัฒนาภาคใต้ / การเสริมสร้างพลังอำนาจของเครือข่ายสุขภาพของภาคใต้ ร่วมเสวนาโดย

    • นายประยงค์ รณรงค์
    • อาจารย์สุกรี หลังปูเต๊ะ
    • นายบรรจง นะแส
    • ดำเนินรายการโดย นพ.บัญชา พงษ์พานิช
  • 14.45 - 15.00 น. พัก อาหารว่าง

  • 15.00 - 17.00 น. วงปัญญาสัมมนาเชิงวิชาการ แบ่งห้องย่อย 4 ห้อง

    • ห้องย่อยที่ 1 ความมั่นคงทางด้านสุขภาพ
    • ห้องย่อยที่ 2 ความมั่นคงของมนุษย์
    • ห้องย่อยที่ 3 ความมั่นคงทางด้านอาหาร
    • ห้องย่อยที่ 4 ความมั่นคงด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
  • 17.00 - 18.00 น. พัก อาหารเย็น

  • 18.00 - 20.00 น. ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ข้ามกลุ่ม ข้ามประเด็น

วันเสาร์ที่ 5 กันยายน 2558

  • 08.00 - 10.00 น. ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ข้ามกลุ่ม ข้ามประเด็น
  • 10.00 - 12.00 น. เสวนา “ออกแบบกลไกและทิศทางการทำงานร่วมกันของเครือข่ายสุขภาพภาคใต้” หัวข้อ : * การวางจุดหมาย ทิศทาง และแนวทางที่จะไปด้วยกัน * การออกแบบกลไกที่จะเสริมพลังซึ่งกันและกัน * การบริหารจัดการทุนที่หนุนเสริมซึ่งกันและกัน ร่วมเสวนาโดย

    • เครือข่าย สสส. : ผอ.ธนานาถ นายเสณีย์
    • เครือข่ายสมัชชาสุขภาพภาคใต้ : นายสุทธิพงศ์ นายชัยพร
    • เครือข่าย สปสช. : ทพ.วิรัตน์ นายทวีวัฒน์
    • ดำเนินรายการโดย นายประพจน์ ภู่ทองคำ
  • 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

  • 13.00 - 14.00 น. ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ข้ามกลุ่ม ข้ามประเด็น
  • 14.00 - 17.00 น. เสวนาห้องย่อย 6 ห้อง หัวข้อ : * พัฒนาการของเครือข่ายที่จะก้าวเดินต่อไป * กลไกที่จะเป็นกลไกเสริมพลังอำนาจของชุมชน

    • ห้องย่อยที่ 1 ชุมชนน่าอยู่
    • ห้องย่อยที่ 2 เครือข่ายสมัชชาสุขภาพภาคใต้ : สมัชชา ธรรมนูญ CHIA
    • ห้องย่อยที่ 3 ปฎิรูปกองทุนสุขภาพท้องถิ่นสู่ความเป็นเจ้าของ
    • ห้องย่อยที่ 4 สุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
    • ห้องย่อยที่ 5 ปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามความสุขของคนใต้
    • ห้องย่อยที่ 6 สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากร
  • 17.00 - 18.00 น. พัก อาหารเย็น

  • 18.00 - 20.00 น. ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ข้ามกลุ่ม ข้ามประเด็น

วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน 2558

  • 08.00 - 09.00 น. ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ข้ามกลุ่ม ข้ามประเด็น
  • 09.00 - 10.30 น. การนำเสนอข้อสรุปห้องย่อย และให้ข้อคิดเห็นเพื่อการเสริมพลังโดย

    • ผู้ใหญ่โชคชัย ลิ้มประดิษฐ์
    • นายกสุริยา ยีขุน
    • นายธีรพล สุวรรณรุ่งเรือง
    • ดำเนินรายการโดย ผอ.สปสช.เขต 11 (นายทวีสา เครือแพ)
  • 10.30 - 11.30 น. เสวนาเรื่อง “สานงานเสริมพลังอย่างสร้างสรรค์” ร่วมเสวนาโดย

    • ผู้จัดการกองทุน สสส.
    • เลขาธิการ สปสช.
    • เลขาธิการ สช.
    • ดำเนินรายการโดย ผู้อำนวยการ สจรส. (ภก.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ)
  • 11.30 - 12.00 น. ปาฐกถาปิดโดย นายสมพร ใช้บางยาง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ภายในงานจะมีการนำเสนอข้อมูล สถานการณ์สุขภาพที่อยู่ในความสนใจของคนภาคใต้ อาทิ

  • ความมั่นคงด้านสุขภาพ

  • ความมั่นคงด้านอาหาร
  • ความมั่นคงของมนุษย์
  • การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

เสวนา ทิศทางการทำงาน เครือข่ายสุขภาพภาคใต้

  • วิถี อัตลักษณ์ ตัวตนคนใต้ ภูมิปัญญาต้องนำมาใช้ในการคิด ออกแบบ วางแผน การทำงานขับเคลื่อนเรื่องสุขภาพของคนใต้
  • การปรับโครงสร้างการทำงานขององค์กรหนุน สสส./สปสช./สช. ให้เอื้อในการทำงานระดับพื้นที่อย่างแท้จริง
  • เริ่มยกร่าง ข้อเสนอ การทำงานขับเคลื่อนร่วม สสส./สปสช./สช. พื้นที่ จังหวัด เขต
  • การทำงาน ลงมือทำจริงจากฐานพื้นที่ของเราเอง เครือข่าย ภาคี
  • สร้างรูปธรรมในการทำงานร่วมให้มีความชัดเจนเป็นรูปธรรมมีการบริหารจัดการพัฒนาต่อเนื่อง
  • การคิด ฝัน ออกแบบการทำงานร่วมกันต้องมีความต่อเนื่อง
  • มีช่องทางในการสื่อสาร สร้างสวรรค์หลากหลายรูปแบบ ลงถึงกลุ่มเป้าหมาย
  • การกระจายอำนาจ ด้านสุขภาพตั้งแต่ระดับพื้นที่ ชุมชน เครือข่าย เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านสุขภาพจากพื้นที่
  • การจัดการปฏิบัติการด้านสุขภาพชุมชนต้องเริ่มที่ชุมชนพื้นที่เป็นตัวตั้ง
  • การบรูณาการไม่ใช่เพียงกิจกรรม ข้อมูลแต่เป็นเรื่องความสัมพันธ์ด้วย
  • การสร้าง พัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ในการทำงาน

เป้าหมาย

  • ร่วมมอง ร่วมใจ กลุ่มคนที่ตั้งใจทำงาน เพื่อนำไปสู่การออกแบบปฏิบัติการร่วมรับผิดชอบ ร่วมรับประโยชน์ พึ่งพาตนเอง พัฒนาต่อยอดขยายผล

ข้อจำกัดในการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพ สุขภาวะ ที่ผ่านมา

  • การจัดการข้อมูล ข้อมูลไม่ถูกคืนสู่ชุมชน
  • ภารกิจหลักของแต่ละองค์กร
  • การเชื่อมโยงในการทำงาน
  • การบูรณาการ การสร้างความร่วมมือยังไม่พอ
  • ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนงานดี แต่ขาดการสานต่อ นโยบายการย้ายคน ขาดคนลงมือปฏิบัติการจริง
  • ชุมชนสับสนเรื่องการบูรณาการ
  • การจัดสรรเรื่องการบูรณาการ
  • การจัดสรรงบประมาณไม่ทั่วถึง
  • การดูปัญหาจากพื้นที่สู่ประเด็นร่วม
  • การนำประเด็นปัญหาจากพื้นที่มาขับเคลื่อน
  • ความต่างของหน่วยงานอัตลักษณ์และความคิด
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

อบรมการรู้เท่าทันการใช้ยา15 สิงหาคม 2015
15
สิงหาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย kanlasom
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้มีความรู้เรื่องยาและการใช้ยาอย่างถูกต้อง
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมการรู้เท่าทันการใช้ยา วันที่ 15 สิงหาคม 2558 ณ ศูนย์สามวัยสานสายใยรักแห่งครอบครัว

  • 09.00 - 09.30 ลงทะเบียน
  • 09.30 - 10.00 ชี้แจงวัตถุประสงค์
  • 10.00 - 10.30 สันทนาการ
  • 10.30 - 10.45 ความคาดหวัง
  • 10.45 - 11.00 รับประทานหารว่าง
  • 11.00 - 12.30 รู้จักประเภทของยา
  • 12.30 - 13.00 รับประทานอาหารเที่ยง
  • 13.00 - 14.30 การใช้ยาสเตียรอยที่ถูกวิธี
  • 14.30 -14.45รับประทานอาหารว่าง
  • 14.45 - 15.30 แยกประเภทยาที่ใช้อย่างถูกต้อง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ความรู้เรื่องยา: หลักการใช้ยา

1.ความสำคัญของยา

  • ยาเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการรักษาความเจ็บป่วย โดยทั้งการบำบัด บรรเทาอาการทุกข์ทรมาน เช่น อาการไข้ ปวด หรือคัน และโดยการกำจัดสาเหตุของโรค เช่น ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เป็นต้นแต่ทุกสิ่งในโลกย่อมมีทั้งคุณและโทษอยู่ในตัวเอง จึงต้องมีความระมัดระวังในการใช้ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด และมีโทษน้อยสุด

2.หลักการใช้ยามีดังนี้ คือ

1) รู้ชื่อยา

  • เมื่อใช้ยาใดต้องรู้ชื่อยา ซึ่งต้องเป็นชื่อทางยาไม่ใช่ชื่อการค้า เช่น แอสไพริน พาราเซตามอล ฯลฯ เพราะอาจแพ้หรือเกิดอันตรายจากยา ถ้าไม่รู้ชื่อยาก็ยากแก่การแก้ไขช่วยเหลือให้ทัน และเมื่อแพ้ยานั้นแล้วก็ต้องจดจำชื่อไว้ ไม่ใช่ยานั้นอีก

2) วิธีใช้

3 คือ ต้องใช้ให้ถูกคน ถูกโรค ถูกทาง ถูกวิธี ถูกเวลา และถูกขนาด

  • ก. ถูกคน โดยดูว่ายาชนิดใด ใช้กับเพศใด วัยใด เช่น ยาคุมกำเนิดสำหรับผู้หญิงไม่ใช่ผู้ชายกิน หรือยาของผู้ใหญ่ก็ไม่ใช่นำไปให้เด็กกิน เป็นต้น
  • ข. ถูกโรค เช่น เมื่อปวดหัวก็ต้องกินยาแก้ปวด ลดไข้ (เช่น แอสไพริน หรือ พาราเซตามอล) ไม่ใช่กินยาแก้ปวดท้อง เวลาปวดท้องก็ไม่ใช่กินยาแก้ปวดลดไข้ เป็นต้น
  • ค. ถูกทาง เช่น ยากิน (ก็ใช้กิน) ยาเหน็บ (ก็ใช้เหน็บช่องคลอด หรือทวารหนัก) ยาทา (ก็ใช้ทาผิวหนัง) ยาหยอด (ก็ใช้หยอดตาหูและจมูก) ยาพ่น (ก็ใช้พ่นจมูก) ฉีด (ก็ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อ) ทั้งหมดนี้ต้องใช้ให้ถูกต้อง
  • ง. ถูกวิธี เช่น ยาลดกรดชนิดเม็ดต้องใช้เคี้ยวก่อนกลืน ยาโรคหัวใจบางอย่างต้องอมใต้ลิ้น ยาแก้ปวดต้องกินหลังอาหารหรือดื่มน้ำตามมากๆ เพราะยาอาจจะระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ยาน้ำ แขวนตะกอนต้องเขย่าขวดก่อนใช้ เป็นต้น
  • จ. ถูกขนาด โดยคำนึงถึงโรคว่า โรคชนิดไหนต้องใช้ยาปริมาณเท่าไร นานเท่าไร ถี่แค่ไหน จึงจะทำให้หายได้ เช่น ยาปฏิชีวนะต้องกินอย่างน้อยประมาณ 5-7 วันติดต่อกัน หลังอาหาร 3 มื้อ และก่อนนอน เป็นต้น

    • การใช้ยาน้ำที่บอกขนาดเป็นช้อนชา ช้อนโต๊ะ เป็นปัญหาเข้าใจกันผิดๆ เพราะไม่เท่ากับช้อนกาแฟหรือช้อนกินข้าว คือ 1 ช้อนชา เท่ากับ 5 มิลลิลิตร หรือ 1 ช้อนสังกะสีเท่ากับ 1 ช้อนชาครึ่ง 1 ช้อนโต๊ะเท่ากับ 15 มิลลิลิตร เท่ากับ 3 ช้อนชา หรือเท่ากับ 2 ช้อนสังกะสี (ถ้าเป็นไปได้ควรซื้อช้อนหรือถ้วยยาที่บอกขนาดจากร้านขายยามาเก็บไว้ประจำตู้ยา)
  • ฉ. ถูกเวลา เช่น ยาก่อนอาหาร ยาหลังอาหาร ก็ต้องกินตามเวลา เพื่อให้ยาดูดซึมได้ดีที่สุด ลดอาการข้างคียงอื่นๆ ให้ยาออกฤทธิ์ต่อร่างกายได้เหมาะสม

    • ยาก่อนอาหาร: ต้องกินก่อนอาหารอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง เพราะยานี้จะดูดซึมได้ดีตอนท้องว่าง ส่วนใหญ่จะเป็นยาปฏิชีวนะ ยกเว้นยาบางตัวที่ระคายเคืองกระเพาะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน อาจกินหลังอาหารได้ เช่น เตตร้าซัยคลีน
    • ยาหลังอาหาร: ต้องกินหลังอาหาอย่างน้อย 15 นาที เพื่อให้ยาดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดร่วมกับอาหารในลำไส้เล็ก
    • ยาระหว่างมื้อ: คือ กินก่อนหรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง ยาที่มักกินระหว่างมื้อ ได้แก่ ยาลดกรดแก้กระเพาะ
    • ยาก่อนนอน: มักเป็นยานอนหลับหรือยากล่อมประสาท เพื่อให้คนไข้ได้พักผ่อนเต็มที่แต่ ถ้าคนไข้หลับดีอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องปลุกให้ตื่นมากินยานอนหลับหรือยากล่อมประสาทอีก ยาที่ต้องกินให้ครบระยะเวลา: มักเป็นยาที่ต้องการให้มีปริมาณอยู่มากพอในกระแสเลือดตลอดเวลา เช่น ยาปฏิชีวนะต้องกินติดต่อกันอย่างน้อย 5-7 วัน หรือยาคุมกำเนิดที่ต้องกินวันละ 1 เม็ดก่อนนอนทุกวัน เพื่อให้ระดับฮอร์โมนของยาในร่างกายอยู่ในระดับสม่ำเสมอ ยากินเมื่อมีอาการท่านั้น: ยาพวกนี้เป็นยาบรรเทาอาการ เมื่ออาการดีขึ้นก็ไม่จำเป็นต้องกินอีก ได้แก่ ยาแก้ปวด ลดไข้ ยาแก้ไอ ยาขับเสมหะ ยาลดน้ำมูก ฯลฯ

3) ข้อห้าม ข้อห้าม ข้อควรระวังในการใช้ยาแต่ละชนิด ซึ่งอาจดูได้จากฉลาก หรือสอบถามจากผู้รู้ เช่น

  • ยาแก้ปวดพวกแอสไพริน ห้ามกินในคนเป็นโรคกระเพาะ หอบหืด โรคเลือดไหลไม่หยุด ไข้เลือดออก
  • ยาลดน้ำมูก อาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม ไม่ควรขับขี่ยวดยาน หรือทำงานที่เกี่ยวกับเครื่องจักร
  • ยาลดกรดต้องไม่ใช่ร่วมกับยาปฏิชีวนะพวกเตตร้าซัยคลีน ยาบำรุงเลือด
  • หญิงมีครรภ์ แม่ระยะให้นมลูก และเด็กต้องระมัดระวังในการใช้ยาให้มากขึ้น ยาบางชนิดห้ามใช้เด็ดขาด เพราะจะเป็นอันตรายต่อเด็กได้ เป็นต้น

4) วันหมดอายุ

  • ยาทุกชนิดมีวันหมดอายุ ยาทั่วไม่ควรเก็บไว้ใช้เกิน 5 ปี ส่วนยาปฏิชีวนะ ให้สังเกตที่ฉลากจะบอกวันหมดอายุ เป็นภาษาอังกฤษ เช่น Expiry Date 6/12/86 (อีก 100 ปี คงจะเป็นภาษาไทย) แสดงว่า ยาหมดอายุ วันที่ 6 เดือนธันวาคม ค.ศ. 1986+543 = พ. ศ. 2529 ไม่ควรใช้ยานั้นหลังวันหมดอายุ
  • นอกจากถ้าเก็บยาไว้ไม่ดี เช่น ในที่อับชื้น ยาอาจเสื่อมสภาพ สังเกตได้จาก สี กลิ่น รส หรือลักษณะภายนอกเปลี่ยนแปลงไป เช่น ชื้น เยิ้ม เหลวเกาะกันแข็งเป็นก้อน มีผลึกวาว กลิ่นน้ำส้ม ต้องทิ้งไป ไม่นำมาใช้อีก เพราะนอกจากรักษาโรคไม่หายแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดพิษภัยแก่ร่างกายอีกด้วย

5) ไม่ใช้ตามคำโฆษณาโดยไม่ศึกษา

  • การใช้ยาใช่ใช้ยาตามคำโฆษณา เพราะโฆษณามักพูดแต่สรรพคุณด้านดีต่างๆ นานา ทำให้ไม่ได้ข้อมูลที่แท้จริง นอกจากนั้นเมื่อใช้แล้วอาจไม่ได้ผล สิ้นเปลืองเงินทองและอาจเกิดโรคอื่นๆ ตามมาอีก การศึกษาหาความรู้จึงจำเป็นเพื่อนำมาใช้ในการรักษาตนเอง และช่วยเหลือผู้อื่น เราอาจหาอ่านจากหนังสือ หรือตำรา สอบถามจากผู้รู้ หรือจดหมายสอบถามไปยังคอลัมน์ “ถาม-ตอบหมอชาวบ้าน”

3.ยากลุ่มสเตียรอยด์มีประโยชน์ และ โทษดังนี้

  • ประโยชน์ ทดแทนภาวะขาดฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต ข้ออักเสบเฉพาะที่รุนแรงควบคุมไม่ได้ด้วยยามาตรฐาน โดยให้ยาด้วยวิธีรับประทาน หรือ ฉีดเข้าข้อโดยตรง หัวใจอักเสบรูมาติก โรคไต บางชนิด เช่น Glomerulonephritis, Nephrotic syndrome โรคเกี่ยวกับคอลลาเจนบางชนิด เช่น Polymyositis, Polyarteritis nodusa, systemic lupus erythematosus (SLE) โรคภูมิแพ้ ที่รุนแรง ควบคุมด้วยยามาตรฐานแล้วไม่ได้ผล เช่น หอบหืดอย่างรุนแรง โรคปอดเรื้อรัง โดยส่วนใหญ่ใช้ในรูปของยาพ่น กิน หรือ ฉีด โรคตา ในรูปหยอด หรือป้ายตา โรคผิวหนังผื่นแพ้ ในรูปยาทาเฉพาะที่ โรคทางเดินอาหาร ได้แก่ Ulcerative colitis, Crohn's disease โรคตับ Subacute Hepatic Necrosis, Chronic active Hepatitis, ตับอักเสบจากแอลกอฮอล์และตับแข็งในสตรีที่ไม่ดื่มสุรา โรคมะเร็งในโรค Lymphoblastic Leukemia มะเร็งเต้านม ป้องกันอาเจียนในผู้ที่ได้รับยาต้านมะเร็ง ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง โรคโลหิตจาง Immunohemolytic anemia การปลูกถ่ายอวัยวะ เพื่อให้เกิดการยอมรับอวัยวะผู้อื่นดีขึ้น
  • โทษของสเตียรอยด์ สเตียรอยด์สังเคราะห์เป็นสารที่มีผลต่อระบบต่างๆในร่างกายทุกระบบ ดังนั้นการใช้ยาสเตียรอยด์อย่างไม่ถูกต้อง อาจนำไปสู่อันตราย เช่น
  1. กดภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง ทำให้ติดเชื้อง่าย เป็นแผลที่ผิวหนังตามร่างกาย แขน ขา นิ้วมือ ทำให้แผลหายช้า บางรายแผลลุกลามทั่วร่างกายจนเกิดการติดเชื้อเข้าในกระแสเลือด และบางทีสเตียรอยด์อาจปิดบังอาการแสดงของโรคติดเชื้อ กว่าจะตรวจพบ เชื้อโรคก็ลุกลามรุนแรงมากจนทำให้เสียชีวิต
  2. ทำให้เยื่อบุในกระเพาะอาหารบางลงและยับยั้งการสร้างเนื้อเยื่อกระเพาะ อาหารใหม่ อาจทำให้กระเพาะอาหารทะลุ หรือเลือดออกในกระเพาะอาหารโดยไม่มีอาการปวดท้องมาก่อน
  3. ทำให้ ผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในช่วงปกติได้ จะมีระดับน้ำตาลสูง
  4. ทำให้ผู้ป่วยความดันโลหิตไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิต ให้อยู่ในช่วงปกติได้ จะมีระดับความดันโลหิตสูง แต่ไม่มีอาการเตือน เป็นภัยเงียบที่อาจทำให้เกิดเส้นเลือดในสมองแตก เสี่ยงเป็นอัมพฤต-อัมพาตได้
  5. ทำให้กระดูกพรุน แตกหักง่าย ดังนั้น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคไขกระดูก ผู้อยู่ในวัยทอง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรตรวจภาวะกระดูกพรุนหรือปรึกษาหมอก่อนใช้ยา
  6. ทำให้อ่อนเพลีย กล้ามเนื้อบริเวณแขน และขาไม่มีแรง จึงปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นผิดจังหวะหรืออาจหยุดเต้นได้
  7. ยาหยอดตาที่ผสมสเตียรอยด์ ใช้ต่อเนื่องนานๆอาจทำให้เป็น ต้อหิน หรือทำให้เลนส์กระจกตาขุ่นเกิดเป็นต้อกระจก หรือทำให้เกิดติดเชื้อที่ตาได้ง่าย อาจถึงขั้นตาบอด ไม่ควรซื้อยามาหยอดเอง ควรไปให้หมอตรวจและสั่งยาให้ และต้องไปตรวจซ้ำตามหมอนัดทุกครั้ง เพื่อวัดความดันภายในลูกตาซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต้อหิน
  8. สเตียรอยด์ชนิดยาทาภายนอก หากใช้นานๆติดต่อกัน จะทำให้ผิวหนังบาง เส้นเลือดที่ผิวหนังแตกง่าย จะเห็นรอยแตกสีม่วงแดงตามผิวหนังที่หน้าท้องและต้นขา ผิวหนังมีลักษณะเป็นมัน อักเสบมีผื่นแดง บางรายอาจเป็นสิวเห่อขึ้นทั้งตัว
  9. ทำให้ อารมณ์แปรปรวนง่าย การใช้สเตียรอยด์ในขนาดสูง จะทำให้เกิดอารมณ์เป็นสุข จึงทำให้ผู้ใช้ชอบใช้จนติดยา แต่ใช้ไปนานๆอาจพบอาการที่เป็นผลข้างเคียงจากยาตามมาได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร กระสับกระส่าย ปวดศีรษะ หงุดหงิด เป็นต้น
  10. การใช้สเตียรอยด์มากเกินขนาด จะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า “คุชชิ่ง ซินโดรม (Cushing Syndrome)” ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการใช้สเตียรอยด์ในปริมาณที่มาก มีลักษณะที่สังเกตุได้ คือ
    • 10.1 ใบหน้ากลมคล้ายพระจันทร์
    • 10.2 มีไขมันพอกที่ต้นคอ ด้านหลังเป็นหนอก
    • 10.3 ผิวหนังบาง มีรอยแตกสีม่วงแดงตามผิวหนังที่หน้าท้องและต้นขา
    • 10.4 มีข้อมูลทางวิชาการยืนยัน ว่าผู้ที่มีอาการถึงขั้น คุชชิง ซินโดรม จะมีความเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตจากโรคไตสูงถึง 12 เท่า เสี่ยงต่อกระดูกหักจากกระดูกผุ 23 เท่า
  11. เมื่อร่างกายได้รับสารสเตียรอยด์เป็นเวลานานร่างกายจะหยุดสร้างสเตียรอยด์ตามธรรมชาติ ที่เคย สร้างเอง ดังนั้นเมื่อผู้ใช้หยุดใช้ยานี้อย่างกะทันหันจะทำให้ร่างกายขาดสเตียรอยด์อย่างฉับพลัน อาจเกิดภาวะช็อก หมดสติและเสียชีวิตได้หากนำส่งโรงพยาบาลไม่ทัน ดังนั้นหากสงสัยว่ากินสเตียรอยด์จากการซื้อมาเอง ไม่ใช่การรักษาโดยหมอ อย่าหยุดยาเอง ขอให้รีบไปปรึกษาหมอให้เร็วเพื่อหาทางลดยา
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มผู้สูงอายุ อสม กลุ่มเสี่ยง กลุ่มวัยทำงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมบาสโลบเพื่อสุขภาพ17 กรกฎาคม 2015
17
กรกฎาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย kanlasom
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดี
2. เพื่อการออกกำลังกายที่เหมาะสมตามวัย

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมบาสโลบเพื่อสุขภาพ วันที่ 17 กรกฏาคม 2558 ณ โรงพยาบาลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

  • 09.00 - 09.30 ลงทะเบียน
  • 09.30 - 10.00ชี้แจ้งวัตถุประสงค์
  • 10.00 - 10.15รับประทานอาหารว่าง
  • 10.15 - 10.30สันทนาการ
  • 10.30 - 12.00 มาทำความรู้จักการเต้นบาสโลบเพื่อสุขภาพ
  • 12.00 - 13.00 รับประทานอาหารเที่ยง
  • 13.00 - 15.00โยกย้ายส่ายสะโพกเพื่อสุขภาพด้วยการเต้นบาสโลบ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทำความรู้จักกับการเต้นบาสโลบเพื่อสุขภาพ

  • บัดสลบ หรือบาสะโล๊ฟ

    • ประเพณีวัฒนธรรมในประเทศอาเซียน บัดสลบ หรือบาสะโล๊ฟ คือการเต้นรำหมู่ของประเทศลาว วิธีการเต้นเป็นแถวหลายๆคนทั้งชายหญิง สวมใส่เสื้อผ้าที่สวยงามดูแปลกตา ส่วนมากเต้นในงานมงคลหรืองานรื่นเริง เต้นเดินหน้าถอยหลัง ไปซ้าย ไปขวา
    • การเต้นรำหมู่ของคนลาวที่กำลังนิยมกันในประเทศลาวและภาคอีสานของบ้านเราในขณะนี้ การเต้น หรือ Paslop ทุกคนยืนตั้งแถวเป็นหน้ากระดาน หรือแถวตอน มีหนึ่งแถวหรือมากกว่าก็ได้ สิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน คือ ทุกคนจะเต้นเป็นจังหวะ อย่างพร้อมเพียงกัน ขยับไปซ้ายที่ ขวาที่ มีการเตะเท้าเป็นจังหวะตามเพลง
    • จึงถือว่าเป็นการเต้นที่เป็นเอกลักษณ์ของคนลาวและคนอีสาน (จังหวัดหนองคาย) ที่มีการสร้างสรรค์ท่าเต้น ให้เข้ากับยุคสมัยและวัฒนะธรรมประเพณีดีงาม เพราะเห็นการเต้นในงานรื่นเริงต่างๆ เพื่อสร้างความสนุกสนาน ให้แขกที่เข้ามาร่วมงาน งานแต่งงานเลี้ยงรับรองแขกบ้านแขกเมือง ซึ่งข้อดีของการเต้นลักษณะแบบนี้ คือการทำให้แขกทั้งหลายมีความรู้สึกสนุกสนาน และมีความเป็นกันเองมากขึ้น แถมยังช่วยย่อยอาหารได้ดีแท้ด้วย และเป็นท่าเต้นออกกำลังกายได้อีก หากมีภาพประกอบจะเข้าใจง่าย
  • วิธีการเต้นแบบง่ายๆ ยืนตรง

  1. ขาขวา (ขยับออกด้านขวา) ก้าว (ขาขวา) ชิด (ขาซ้าย) ก้าว (ขาขวา) เตะ (ขาซ้าย) และตามด้วย
  2. ขาซ้าย (ขยับออกด้านซ้าย) ก้าว (ขาซ้าย) ชิด (ขาขวา) ก้าว (ขาซ้าย) เตะ (ขาขวา) และตามด้วย
  3. ถอยหลัง (เดินถอยหลัง) ถอย (ขาขวา) ถอย (ขาซ้าย) ถอย (ขาขวา) ยก (ขาซ้ายขึ้น) และก้าวเดินไปข้างหน้า พร้อมหมุนขวา
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • กลุ่มผู้สูงอายุ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมสอนวิธีการทำอาหารที่ถูกหลักโภชนาการหรือหลัก 5 หมู่11 มิถุนายน 2015
11
มิถุนายน 2015รายงานจากพื้นที่ โดย kanlasom
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้มีความรู้ในเรื่องของการประกอบอาหารและคิดเมนูได้ด้วยตนเอง- เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้เกี่ยววิธีการทำอาหารเพื่อสุขภาพ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • 09.00 - 09.30 ลงทะเบียน
  • 09.30 - 10.00 แนะนำหลักการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการเหมาะสมตามกลุ่มวัย
  • 10.00 - 12.00 ลงมือปฏิบัติการทำเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ
  • 12.00 - 13.00 รับประทานอาหารกลางวัน
  • 13.00 - 16.00 แนะนำเมนูอาหารเป็นยา รักษาสุขภาพ
  • 16.00 เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วิทยากรแนะนำเมนูอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ คือ แกงเลียง

  • แกงเลียงเป็นอาหารยอดนิยม ที่มีพืชผักหลายชนิด โดยมากมักจะนำกลุ่มพืชผักที่มีรสเย็นจืดมาเป็นส่วนผสมในแกงเลียง เช่น บวบ ฟักทอง ตำลึง ข้าวโพดอ่อน น้ำเต้า และนิยมปรุงรับประทานร้อนๆ แก้ไข้หวัด

เครื่องปรุง

  1. พริกไทย 10 เม็ด
  2. หอมแดง 10 หัว
  3. กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ
  4. กุ้งแห้ง ½ ถ้วย
  5. น้ำปลา 2-3 ช้อนโต๊ะ
  6. ผักต่างๆ ได้แก่ ฟักทอง บวบ น้ำเต้า ตำลึง ข้าวโพด ชนิดละ 500 กรัม ใบแมงลัก 10 กรัม หรือจะเพิ่มเห็ด เพิ่มกุ้งสด ก็ได้ตามชอบ

วิธีทำ

  1. นำเครื่องแกงทั้งหมดโขลกให้ละเอียด
  2. ละลายเครื่องแกงกับน้ำซุป ตั้งไฟให้เดือด คอยระวังอย่าปิดฝา กุ้งแห้ง จะล้นหกออกหมด
  3. ล้างผักต่างๆ ให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นๆ ตามความเหมาะสมใส่ลงในหม้อที่เดือด
  4. เติมน้ำปลา บางคนกลัวเหม็นคาวจึงใส่เกลือ เมื่อผักสุกให้ใส่ใบแมงลัก คนให้ทั่ว แล้วยกลงตักรับประทาน

สรรพคุณทางยา

  1. พริกไทย รสเผ็ดร้อน ขับลม ขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร
  2. หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด
  3. ฟักทอง รสมันหวาน บำรุงร่างกาย บำรุงสายตา
  4. บวบ รสเย็นจืดออกหวาน มีแคลเซียม เหล็กและฟอสฟอรัสมาก
  5. น้ำเต้า รสเย็นจืด ประเทศอินเดียใช้เป็นยาทำให้อาเจียนและยาระบาย เป็นยาถ่ายพยาธิ และแก้อาการบวมน้ำ
  6. ตำลึง รสเย็น ใบสดตำคั้นน้ำแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ปวดแสบปวดร้อน และคั้นรับประทานเป็นยาดับพิษร้อน แก้เจ็บตา ตาแดง ตาแฉะ
  7. ข้าวโพด รสมันหวาน บำรุงกระเพาะอาหาร บำรุงหัวใจ ปอด เจริญอาหาร ขับปัสสาวะ
  8. ใบแมงลัก รสหอมร้อน แก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคท้องร่วง ขับลม

คุณค่าทางโภชนาการ

  • โบราณเชื่อว่าเป็นอาหารที่ช่วยประสะน้ำนมสำหรับสตรีหลังคลอด ทำให้น้ำนมบริบูรณ์ และแก้ไข้หวัดได้เป็นอย่างดี
  • แกงเลียง 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 842 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย น้ำ 559.8 กรัม โปรตีน 59.5 กรัม ไขมัน 8.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 127.3 กรัม กาก 4.0 กรัม ใยอาหาร 0.5 กรัม แคลเซียม 516.5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 623.2 มิลลิกรัม เรตินอล 4.4 ไมโครกรัม วิตามินเอ 20667 IU วิตามินบีหนึ่ง 6.1 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 81 มิลลิกรัม ไนอาซิน 13.79 มิลลิกรัม และวิตามินซี 44.7 มิลลิกรัม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง
  • กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
  • ทีม อสม.
  • เด็กและเยาวชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 72 มิถุนายน 2015
2
มิถุนายน 2015รายงานจากพื้นที่ โดย kanlasom
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อวางแผนการทำงาน
  • เพื่อรายงานความก้าวหน้าและสรุปผลการทำงาน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • 08.30 - 09.00 ลงทะเบียน
  • 09.00 - 10.00 รายงานสถานการณ์ภายในพื้นที่
  • 10.00 - 10.15 รับประทานอาหารว่าง
  • 10.15 - 12.00 วางแผนการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป
  • 12.00 รับประทานอาหารเที่ยง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ให้ อสม. แบ่งกลุ่มวิเคราะห์สถานการณ์ภายในชุมชนของตนเองในด้านต่างๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ ด้านวัฒนธรรม ด้านสังคม ด้านการศึกษา ด้านครอบครัว ด้านสิ่งแวดล้อม

กลุ่มที่ 1

  1. อยากให้ละแมสะอาดน่าอยู่ ไม่มีขยะ
  2. ปลอดจากสิ่งเสพติดทุกชนิด
  3. ผู้คนรู้จักสามัคคี รู้จักแบ่งปัน
  4. มีความเป็นอยู่กินดีอยู่ดี
  5. มีจิตสำนึกในทุกๆด้าน โดยเฉพาะการเลี้ยงสัตว์ (ไม่เอาแมว – หมา ไปปล่อยสร้างภาระให้ผู้อื่นไม่มีโจรขโมย)
  6. อยากให้ละแมเป็นเขตปลอดน้ำกระท่อม
  7. ถนนปลอดฝุ่น
  8. มีต้นไม้เยอะๆ
  9. ไม่ต้องการโรงไฟฟ้า
  10. เคารพกฎจราจร
  11. ต้องการให้เยาวชนมีจิตสาธารณ ตรงต่อเวลา มีความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

กลุ่มที่ 2

  1. ให้ละแมมีผู้นำที่ดี
  2. อยากให้ละแมสะอาดน่าอยู่
  3. ให้ละแมมีความสามัคคีทุกหน่วยงาน
  4. ให้พัฒนาละแมเจริญก้าวหน้า น่าอยู่ไม่มียาเสพติด
  5. ให้เศรษฐกิจในท้องถิ่นมีราคาผลผลิตสูงๆ

กลุ่มที่ 3

  1. ส่งเสริมเยาวชนได้รับการศึกษาสูงๆ
  2. เพิ่มผลผลิตการเกษตร (ราคาสูง)
  3. รักษาความสะอาดภายในชุมชน
  4. ทุกองค์กรต้องร่วมมือและสามัคคี
  5. อยากให้ละแมปลอดยาเสพติด
  6. ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม (ลดภาวะโลกร้อน)
  7. ทุกเพศทุกวัยอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
  8. สนับสนุนระบอบประชาธิปไตยไม่แบ่งฝ่าย
  9. เน้นแหล่งท่องเที่ยวของละแม
  10. สนับสนุน อสม. ค่าตอบแทนให้มากกว่านี้
  11. ส่งเสริมให้ประชาชนดูแลสุขภาพตนเอง
  12. ไม่เอาโรงไฟฟ้า-รถไฟความเร็วสูง
  13. อยู่แบบวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
  14. ส่งเสริมเยาวชนให้มี วัฒนธรรม-ศลีธรรม

กลุ่มที่ 4

  1. ปลอดมลพิษ
  2. อยากให้มีสวนสาธารณะ
  3. มีสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่
  4. ละแมเป็นเมืองยิ้ม
  5. มีสุขภาพจิตที่ดี
  6. ทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ
  7. ปลอดยาเสพติด

กลุ่มที่ 5

  1. เน้นการศึกษาของเยาวชน
  2. ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้น่าอยู่
  3. ผู้นำทุกองค์กรต้องมีความร่วมมือกันทุกฝ่าย
  4. ประชาชนมีความรักสามัคคีและมีจิตใจที่ดีต่อกัน
  5. ร่วมกันดูแลบุตรหลานในช่วงวัยรุ่นให้ห่างไกลยาเสพติด
  6. ประชาชนทุกคนควรดูแลสุขภาพในการบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่
  7. ทุกคนควรทำตามคำสอนของพ่อ เน้นเศรษฐกิจพอเพียง
  8. ด้านจริยธรรมทางศาสนา อย่าปล่อยปละละเลย
  9. ด้านสุขศึกษาพลานามัยต้องมีความเข้มแข็งในด้านคุ้มครองปกป้องโรค
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • อสม
  • กลุ่มเสี่ยง
  • ชาวบ้าน ม.7
  • คณะทำงาน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมรณรงค์ไม่กิน หวาน มัน เค็ม18 พฤษภาคม 2015
18
พฤษภาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย kanlasom
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อคนในชุมชนตื่นตัวของคนในชุมชนหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและดูแลสุขภาพตนเองกันมากขึ้น 2. เพื่อลดความเสี่ยงจากต่อการเกิดโรคเรื้อรัง
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การเดินขบวนรณรงค์เพื่อให้เกิดการตระหนักแก่คนภายในชุมชน โดยประกอบด้วยการเดินขบวน ดังนี้

  • ขบวนรณรงค์ไม่กินหวาน มัน เค็มการบริโภค(ปรับพฤติกรรมบริโภค ห่างไกลโรคฮิต)
  • ขบวนรณรงค์ง่วงเบลอ-อย่าเผลอขับ
  • ขบวนรณรงค์นมแม่เสริมพัฒนาการป้องกันโรค
  • ขบวนรณรงค์ป้องกันได้ลดเอดส์ให้เป็นศูนย์
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. แสดงพลังของคนภายในชุมชนเพื่อให้ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพ
  2. แจกแผ่นพับให้ความรู้การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการภายในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 130 คน จากที่ตั้งไว้ 150 คน
ประกอบด้วย
  • อสม.
  • เด็กและเยาวชน
  • ประชาชนทั่วไป
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชมคณะทำงาน ครั้งที่ 62 พฤษภาคม 2015
2
พฤษภาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย kanlasom
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อวางแผนงานและออกแบบกิจกรรมการเดินรณรงค์ ลด หวาน มัน เค็ม
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • 09.00- 09.30 น. ลงทะเบียน
  • 09.30 - 10.30 น.วางแผนและออกแบบกิจกรรม
  • 10.30 - 10.45 น. รับประทานอาหารวาง
  • 10.45 - 12.00 น. วางแผนและออกแบบกิจกรม (ต่อ)
  • 12.00 รับประทานอาหารเที่ยง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เตรียมเอกสารแผ่นพับเรื่องการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ
  2. เตรียมอุปกรณ์ในการเดินรณรงค์
  3. แบ่งบทบาทหน้าที่
  4. หาสถานที่ในการเดินรณรงค์
  5. ประสานงานในการลงพื้นที่รณรงค์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการฯ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมการทำปุ๋ยหมักเพื่อชุมชน22 เมษายน 2015
22
เมษายน 2015รายงานจากพื้นที่ โดย kanlasom
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก 2. เรียนรู้วิถีชีวิตแบบพอเพียง
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • 09.00 - 09.30 น. ลงทะเบียน
  • 09.30 - 10.00 น. สันทนาการ
  • 10.00 - 12.00 น. เรียนรู้การทำปุ๋ย EM ball
  • 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง
  • 13.00 - 13.15 น. สันทนาการ
  • 13.15 - 16.30 น. เรียนรู้การทำน้ำยาล้างจาน
  • 16.30 เดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ

หมายเหตุ : รับประทานอาหารว่างระหว่างการอบรม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เยาวชนเรียนรู้วิธีการทำน้ำยาล้างจานจากน้ำหมัก โดยส่วนผสมของน้ำยาล้างน้ำ มีดังต่อไปนี้

  1. N 70 ชำระล้าง 1 กิโลกรัม
  2. F 24 ขจัดคราบ 0.5 กิโลกรัม
  3. กรดมะนาว ขจัดคราบมัน 1 ขีด
  4. ผงฟอง เพิ่มฟอง / ชำระล้าง 3 ขีด
  5. เกลือ ปรับความเข้มข้น 1 กิโลกรัม
  6. สารกันเสีย กันเสีย 10 ซีซี
  7. น้ำ 15 ลิตร
  8. สีผสมอาหาร 1 ซอง
  9. หัวน้ำหอม 10 ซีซี

วิธีทำ

  1. น้ำ 3 ลิตร ผสมกับเกลือ 1 กิโลกรัม กวนให้ละลาย แยกเป็น 2 ส่วน คือ 2 ลิตร และ 1 ลิตร
  2. กวน N 70 ในภาชนะที่แห้ง และกวนในทิศทางเดียวกันประมาณ 5 นาที จนเป็นสีขาวขุ่น นำน้ำเกลือส่วนที่เป็น 2 ลิตร ผสมลงไปกวนให้เข้ากัน เติม F 24 ลงไปกวนให้เข้ากัน
  3. ละลายผงฟองในน้ำ ผสมลงไปในข้อ 2 กวนให้เข้ากัน เติมสารกันเสีย ละลายสีในน้ำเล็กน้อย ผสมลงไปกวนให้เข้ากัน เติมน้ำลงไป กวนประมาณ 10 นาที และเติมน้ำเกลือส่วนที่เป็น 1 ลิตร กวนอีกประมาณ 5 นาที ต่อจากนั้นให้พักน้ำยาทิ้งไว้อย่างน้อย 6 ชั่วโมง เพื่อให้ฟองอากาศยุบตัว เติมหัวน้ำหอมเบาๆ บรรจุขวด พร้อมใช้ จำนวน 18 ลิตร

หมายเหตุ : ถ้าใช้น้ำสมุนไพร 3 ลิตร , น้ำด่าง 1 ลิตร ให้ลดน้ำลงเท่ากับน้ำสมุนไพรและน้ำด่าง

ปุ๋ยเกษตรอินทรีย์ การทำ EM Ball มีส่วนผสม คือ

  1. ปุ๋ยคอก 1 กิโลกรัม
  2. ดินจอมปลวก 1 กิโลกรัม
  3. รำหยาบ 1 กิโลกรัม
  4. ดินทราย 1 กิโลกรัม
  5. น้ำ
  6. นมเปรี้ยมขวดใหญ่ 1 ขวด
  7. ข้าวหมาก 1 ถ้วย
  8. น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม

วิธีการทำ

  1. นำ ปุ๋ยคอก ดินจอมปลวก รำหยาบ ดินทราย มาผสมกัน
  2. นำกะละมังใบเล็ก ใส่น้ำ นมเปรี้ยว ข้าวหมาก น้ำตาลทรายแดง คนให้น้ำตาลละลายเข้าด้วยกัน
  3. นำน้ำที่เตรียมไว้ใส่ใน ข้อที่ 1 ค่อยๆใส่ และพยายามขยำให้เข้ากัน
  4. ปั้นให้เป็นก้อนขนาดพอดีกำมือ การปั้นนั้นต้องปั้นให้แน่นๆ
  5. นำไปตากลมจนกว่าจะแห้ง ถือว่าเป็นอันเสร็จสิ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กและเยาวชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชมคณะทำงาน ครั้งที่ 54 เมษายน 2015
4
เมษายน 2015รายงานจากพื้นที่ โดย kanlasom
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อเตรียมงานและวางแผนงานก่อนจัดกิจกรรม
  2. แบ่งภาระหน้าที่
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • 13.00 - 13.20 น. ลงทะเบียน
  • 13.20 - 15.15 น. ออกแบบการทำกิจกรรมปุ๋ยหมักเพื่อชุมชน
  • 15.15 - 15.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
  • 14.15 - 16.00 น. ออกแบบการทำกิจกรรมปุ๋ยหมักเพื่อชุมชน

หมายเหตุ : รับประทานอาหารว่างระหร่างการประชุม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ให้มีการสันทนาการก่อนเข้าร่วมกิจรรม
  2. ต้องเป็นการกิจกรรมที่ให้ผู้เข้าร่วมกิจรรมปฏิบัติร่วมกับผู้จัดกิจกรรม
  3. การจัดเตรียมหาอุปกรณ์ เช่น ชุดน้ำยาล้างจาน ชุดการทำปุ๋ย EM ball
  4. การเตรียมวิทยากรในฐานการเรียนรู้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 32 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการฯ
  • อสม
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชมคณะทำงาน ครั้งที่ 47 มีนาคม 2015
7
มีนาคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย kanlasom
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อวางแผนการทำงาน
  • เพื่อรายงานความก้าวหน้าและสรุปผลการทำงาน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • แจ้งรายละเอียดกิจกรรมที่ผ่านมาของโครงการปรับพฤติกรรมการกิน สร้างสุขคนควนทัง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลการประชุมคณะทำงานโครงการ มีการกำหนดการทำกิจกรรมครั้งต่อไป คือ การลงพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ภายในชุมชน
  • สิ่งที่คณะทำงานต้องทำ คือ
  1. ประชุมคณะทำงาน/แกนนำ
  2. ประสานงานเจ้าของพื้นที่
  3. ลงพื้นที่เรียนรู้การใช้ชีวิตพอเพียงตามศูนย์เรียนรู้ภายในชุมชน
  4. ปฏิบัติจริงโดยการปลูกผักบริเวณศาลาหมู่บ้านเพื่อจัดทำเป็นแปลงสาธิตพร้อมมอบเมล็ดพันธ์ุผักให้กับผู้เข้าร่วมอบรม
  5. สรุปกิจกรรม/ประเมินกิจกรรม
  • มีการชี้แจงการใช้จ่ายงบประมาณโครงการ และการทำรายงานปิดงวดโครงการ งวดที่ 1
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานโครงการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่26 กุมภาพันธ์ 2015
26
กุมภาพันธ์ 2015รายงานจากพื้นที่ โดย kanlasom
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้รับทุนโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้รับทุนโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่

  • 08.30 - 09.20    ลงทะเบียน
  • 09.20 - 10.30    พูดคุยแนวทางการถอดบทเรียน ประสบการณ์ ความสำเร็จหรืออุปสรรค และเครื่องมือแบบประเมินคุณค่า 6 ด้าน โดยคุณถนอม ขุนเพ็ชร นักเขียนอิสระ และทีมงาน สจรส.มอ.
  • 10.30 -10.45      รับประทานอาหารว่าง
  • 10.45 - 12.30    เล่าสู่กันฟังแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บทเรียน ประสบการณ์ ความสำเร็จหรืออุปสรรค โดยผู้รับทุนโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ จ.สุราษฏร์ธานี และ จ.ชุมพร ดำเนินรายการถอดบทเรียน โดย คุณทวีชัย อ่อนนวน และนางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
  • 12.30 - 13.00      รับประทานอาหารเที่ยง
  • 13.00 - 16.00      ผู้รับทุนโครงการและพี่เลี้ยงพูดคุยแลกเปลี่ยนแบบประเมินคุณค่า 6 ด้าน และเล่าสู่กันฟังแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บทเรียน ประสบการณ์ ความสำเร็จหรืออุปสรรค
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เข้าใจถึงเทคนิคการเล่าเรื่อง จากคุณถนอม ขุนเพ็ชร นักเขียนอิสระ โดยต้องหาคำสัญของเรื่อง หรือ ไกด์ไลน์ เพื่อมุ่งประเด็นของเรื่อง เรียบเรียงลำดับความสำคัญของเรื่อง การทำงานเพื่อที่จะมุ่งไปสู่เป้าหมายปลายทางนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างทางก็มีความสำคัญไปไม่น้อยกว่า ปลายทาง

  • มีความเข้าใจ คำว่านวัตกรรม มากขึ้น คือ สิ่งที่คิดนอกกรอบ ไม่เหมือนใคร ไม่ว่าจะเป็น นวัตกรรมด้านความคิด สิ่งของ
    เล่าสู่กันฟังแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บทเรียน ประสบการณ์ ความสำเร็จ

  • เรียนรู้ประสบการณ์จากเพื่อนร่วมชุดโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ คือ โครงการผักสายสัมพันธ์สู่ทับคริสต์วิถีชีวิตที่พอ­เพียง โดยคุณจำลอง บุญลา   สิ่งที่ได้จากโครงการนี้ คือ

  1. มีเวทีสำหรับเด็กและเยาวชน
  2. เกิดความสัมพันธ์ต่างวัยกับผู้สูงอายุและเด็ก
  3. ชุมชนเริ่มมองเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือ
  4. เป็นโมเดลของชุมชนวัด
  • สิ่งที่ได้จากโครงการ บ้านเหนือสะอาด ชุมชนสดใส ประชาร่วมใจพัฒนา คือ
  1. ชุมชนสะอาด
  2. มีการคัดแยกขยะที่ถูกวิธี
  3. ปรับภูมิทัศน์ริมถนนด้วยการปลูกต้นไม้
  • สิ่งที่ได้จากโครงการพื้นที่สร้างสรรค์ สานสัมพันธ์คนสองวัยชุมชนหัวแหลมพัฒนา คือ
  1. วิถีชีวิตที่คล้ายชนบททั้งที่อยู่ในเมือง
  2. ความผูกพันธ์ของคนภายในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการฯ
  1. นางสาวนิฮาฟีซาร์ นิมะมิง
  2. นางอัญชลี วิชัยดิษฐ์
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชมคณะทำงาน ครั้งที่ 313 กุมภาพันธ์ 2015
13
กุมภาพันธ์ 2015รายงานจากพื้นที่ โดย kanlasom
circle
วัตถุประสงค์
  • เพือ่วางแผนการทำงาน
  • เพื่อรายงานความก้าวหน้าและสรุปผลการทำงาน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. พูดคุยกิจกรรมที่ผ่านมา

  2. ร่วมวางแผนงานกิจกรรมครั้งต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลการประชุมคณะทำงาน มีการประเมินศัยกภาพคนทำงาน ในประเด็น ดังนี้

1.บุคคล

  • อสม. 10 คน แกนนำ
  • ครัวเรือน 50 ครัวเรือน
  • กรรมการหมู่บ้านและอบต. 8 คน
  • เด็กและเยาวชน 10 คน

2.พื้นที่เด่น

  • ศาลาหมู่บ้านควนทัง ม.7 ต.ละแม อ.ละแม จ.ชุมพร
  • ศูนย์เรียนรู้ภายในชุมชน บ้านลุงธา , บ้านตาเบิ้ม , บ้านอาจารย์วัฒน์ , บ้านพี่เปี๊ยก

3.ความคาดหวัง

  • สุขภาพดี
  • อยู่ดี
  • กินดี

4.สิ่งที่ต้องทำ

  • จัดทำบอร์ดกิจกรรมที่ผ่านมา
  • นำเทคนิคโปรแกรมปิงปอง 7 สี มาใช้
  • การส่งเสริมอาชีพ
  • แบ่งโซนในการรับผิดชอบ
  • ปรับแต่งภูมิทัศน์ด้วยการปลูกผักริมรั้ว เช่น ผักเหลียง ตำลึง ผักหวาน แคร์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานของโครงการฯและแกนนำชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เวลาของคณะทำงานว่างไม่ตรงกัน ทำให้เคลื่อนงานกิจกรรมล่าช้า
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

อบรมการเขียนรายงานผลการดำเนินงานโครงการ10 กุมภาพันธ์ 2015
10
กุมภาพันธ์ 2015รายงานจากพื้นที่ โดย kanlasom
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเสริมทักษะการเขียนรายงานผลการดำเนินงานโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • 13.30  เริ่มการอบรมและแนะนำตัวผู้เข้าร่วมอบรม
  • 13.30 - 17.00 อบรมการเขียนรายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • อบรมการเขียนรายงาน ผลการดำเนินงานโครงการ วันที่  10  กุมภาพันธ์ 2558 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย อาจารย์จรูญ  ตันสูงเนิน สามารถสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

1.การเขียนรายงาน  เป็นการเขียนเล่าถึงสิ่งที่ได้พบเห็นหรือได้กระทำมาแล้วถือเป็นซึ่งการสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ

2.องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย

  • ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)

    -  เป็นผู้ที่มีเจตนาแน่ชัดที่จะให้ผู้อื่นรับรู้จุดประสงค์ของตนในการส่งสารแสดงความคิดเห็น หรือวิจารณ์ ฯลฯ

    • เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของสารที่ต้องการจะสื่อออกไปเป็นอย่างดี
    • เป็นผู้ที่มีบุคลิกลักษณะที่ดี มีความน่าเชื่อถือ แคล่วคล่องเปิดเผยจริงใจและมีความรับผิดชอบ  ในฐานะเป็นผู้ส่งสาร
    • เป็นผู้ที่สามารถเข้าใจความพร้อมและความสามารถในการรับสารของผู้รับสาร
    • เป็นผู้รู้จักเลือกใช้กลวิธีที่เหมาะสมในการส่งสารหรือนำเสนอสาร
  • ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือ ข้อมูลหรือสารสนเทศต่างๆที่ต้องการส่งไปยังผู้รับโดยข้อมูล/ข่าวสารอาจประกอบด้วยข้อความ ตัวเลข รูปภาพเสียง วีดิทัศน์ หรือสื่อประสม และเป็นการสื่อความรู้สึกนึกคิด ซึ่งแบ่งออกเป็น 4ประเภท ดังนี้

    • ความรู้  คือ ความรู้(knowledge)/ข้อเท็จจริง ”(facts)
    • ความรู้สึก  คือ ความรู้สึก(sense) /อารมณ์(Emotion).
    • ความนึก  คือ  จินตนาการ(Imagination)
    • ความคิด  คือ  ความคิดทัศนะข้อคิดเห็น( Opinion)
  • สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการสื่อสาร  หมายถึง  สิ่งที่เป็นพาหนะของสาร  ทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร  ผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร    การแบ่งประเภทของสื่อมีหลากหลายต่างกันออกไป

  • ผู้รับข่าวสาร (Receivers) หมายถึง บุคคลกลุ่มบุคคล หรือมวลชนที่รับเรื่องราวข่าวสารจากผู้ส่งสาร  และแสดงปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) ต่อผู้ส่งสาร  หรือส่งสารต่อไปถึงผู้รับสารคนอื่น ๆ ตามจุดมุ่งหมายของผู้ส่งสาร  เช่น  ผู้เข้าร่วมประชุม  ผู้ฟังรายการวิทยุ  กลุ่มผู้ฟังการอภิปราย  ผู้อ่านบทความจากหนังสือพิมพ์  เป็นต้น

3.ความเข้าใจและการตอบสนอง ส่วนต่าง ๆ ของรายงาน  มี  3  ส่วน  ดังนี้

  • ส่วนต้นประกอบด้วย

    • ปกนอก ( Cover ) ประกอบด้วยปกหน้า สันปก และปกหลัง
    • ใบรองปก ( Fly leaf ) เป็นกระดาษชนิดเดียวกับกระดาษที่ใช้พิมพ์วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ ต้องรองทั้งปกหน้าและปกหลังด้านละหนึ่งแผ่น
    • หน้าปกใน ( Title page ) มีข้อความเหมือนปกนอก
    • หน้าอนุมัติ ( Approval page ) จัดไว้เพื่อเป็นเอกสารรับรองว่าวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และคณะกรรมการ สอบวิทยานิพนธ์ภาคนิพนธ์ และได้รับการอนุมัติจากสถาบันแล้ว
    • บทคัดย่อภาษาไทย ( Abstract in Thai ) เป็นข้อความสรุปผลการวิจัยภาคภาษาไทยที่ช่วยให้ผู้อ่านทราบถึงเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ภาคนิพนธ์อย่างรวดเร็ว
    • บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ( Abstract in English ) คือ ข้อความสรุปผลการวิจัยเหมือนบทคัดย่อภาษาไทยทุกประการ เพียงแต่ถอดความเป็นภาษาอังกฤษ
    • กิตติกรรมประกาศ ( Acknowledgements ) คือ ข้อความที่ผู้เขียนแสดงความขอบคุณต่อผู้ให้ความช่วยเหลือและให้ความร่วมมือในการศึกษาค้นคว้า เพื่อทำวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ อันแสดงถึงจรรยาบรรณทางวิชาการที่ผู้วิจัยพึงถือปฏิบัติ
    • สารบัญ ( Table of contents ) คือ รายการแสดงส่วนประกอบทั้งหมดของวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ เรียงตามลำดับเลขหน้า
    • สารบัญอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น สารบัญตาราง สารบัญภาพหรือสารบัญแผนภูมิ คือส่วนที่บอกเลขหน้าของตาราง ภาพ หรือแผนภูมิ
  • ส่วนกลาง  ประกอบด้วย

    • บทที่ 1      บทนำ
    • บทที่ 2      วิธีการดำเนินงาน
    • บทที่ 3      บริบทชุมชน
    • บทที่ 4      ผลการดำเนินงาน
    • บทที่ 5      สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
  • ส่วนท้าย  ประกอบด้วย

    • บรรณานุกรม (bibliography)  หรือเอกสารอ้างอิง
    • ภาคผนวก (appendix)ได้แก่ ตารางแผนภูมิ/กราฟ/แผนที่/ภาพถ่าย/ภาพประกอบ/เอกสารหลักฐานต่างๆ/ใบเสร็จรับเงิน/เครื่องมือ เช่น การสอบบถาม,แบบสำรวจ
    • อภิธานศัพท์ (Glossary) (ถ้ามี) คือ รายการความหมายของคำศัพท์ต่าง ๆที่ใช้ในวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์
    • ประวัติย่อผู้ทำวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ (Curriculum vitae, vita) เป็นส่วนที่แสดงรายละเอียดส่วนตัวบางประการของผู้เขียน

4.หลักการเขียนรายงาน

  • เอกภาพ  คือ  ไม่มีส่วนสร้างความรำคาญ
  • สัมพันธภาพ  คือ ไสร้างความวกวนของเนื้อหา
  • รวบรัดสาระเนื้อหา  เพื่อไม่ให้เหมือนสำนวนที่ว่า “  น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง ”

5.การจัดทำรายงาน  คือ  การจัดทำเอกสารเพื่อบอกเล่าเรื่องราวการงานที่ได้ทำ  ได้รู้  หรือได้ไปเห็นมา

  • ได้ทำ คือ  รายงานปฏิบัติงาน/รายงานการประชุม/รายงานประจำปี
  • ได้รู้ คือ  รายงานการศึกษาค้นคว้า/สืบสวน/สอบสวน
  • ได้ไปเห็นมา คือ  การไปทัศนศึกษามา

6.จรรยาบรรณของผู้ทำรายงาน

  • ซื่อสัตย์/สุจริต
  • โปร่งใส/ตรวจสอบได้
  • คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
  • ติดคุณธรรมที่ปลายปากกา

7.คุณลักษณะของรายงานที่ดี

  • องค์ประกอบ  คือ  สิ่งที่ควรจะมี
  • รูปแบบ  คือ  สภาพหรือลักษณะที่ควรจะเป็น
  • เนื้อหา  คือ  พลังงานในการสื่อสาร
  • ภาษา  คือเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร

8.ลักษณะภาษาที่ดีในการเขียนรายงาน(ภาษามาตรฐาน)

  • ถูกไวยากรณ์
  • กะทัดรัด/ประหยัด
  • ชัดเจน
  • ถูกความหมาย
  • ถูกความนิยมวัฒนธรรม
  • สุภาพเรียบร้อย

9.ลักษณะภาษาที่ไม่ควรใช้ในการเขียนรายงาน (ภาษาต่ำกว่ามาตรฐาน)

  • ภาษาพูด
  • คำหยาบ
  • คำย่อ
  • คำตัด
  • คำภาษาต่างประเทศ
  • คำแสลง
  • คำผวน
  • คำภาษาถิ่น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการฯ

  1. นางสาวนิฮาฟีซาร์ นิมะมิง
  2. นางอัญชลี วิชัยดิษฐ์
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ระยะเวลาในการอบรมน้อยเกินไป อยากให้เพิ่มเวลา เพื่อจะได้รับความรู้มากขึ้น
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

อบรมการจัดทำรายงานโครงการ10 กุมภาพันธ์ 2015
10
กุมภาพันธ์ 2015รายงานจากพี่เลี้ยง โดย kannapat janthong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเสริมทักษะการเขียนรายงานผลการดำเนินงานโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ผศ.จรูญ ตันสูงเนิน อาจารย์คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ อบรมการจัดทำรายงานโครงการให้กับผู้เข้าร่วมประชุม ด้วยการบรรยายให้ความรู้ และใึกทักษะการเขียน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมอบรม แนะนำตัว พร้อมทั้งบอกความคาดหวังในการเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ โดยส่วนใหญ่พบว่า มีความคาดหวังในการเขียนรายงานที่สมบูรณ์ มีเนื้อหาสาระสำคัญ ตรงความความต้องการของแหล่งทุน
  • ผศ.จรูญ ตันสูงเนิน อาจารย์คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ อบรมการจัดทำรายงานโครงการให้กับผู้เข้าร่วมประชุม โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญของการจัดทำรายงาน ได้แก่

1.การสื่อสาร (Communication)

  • การสื่อ = การรับ = ฟัง ~ อ่าน = การส่ง = พูด ~ เขียน
  • สาร (MESSAGE) คือ ความรู้สึกนึกคิด สาร มี 4 ประเภท รู้  = ความรู้ ข้อเท็จจริง (Knowledge, Fact) / ความ (รู้) สึก  = ความรู้สึก (Sense) อารมณ์ ( Emotion) / นึก  = จินตนาการ (Imagination) / คิด  = ความคิด ทรรศนะ ข้อคิดเห็น (Opinion)

2.การเขียน คือ กระบวนการ  = คิด → เขียน → ตรวจทาน / ส่งสาร = ความรู้สึกนึกคิด ให้เป็นลายลักษณ์อักษร ตามรูปแบบ และวัตถุประสงค์
3.การจัดทำรายงาน

  • รายงาน เป็นรูปแบบการเขียนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ รายงานการประชุม  รายงานประจำปี รายงานการสอบสวน
  • การจัดทำรายงาน ความหมาย “รายงาน  น. คำบอกกล่าวเรื่องราวที่ไปทำ ไปรู้ หรือไปเห็นมา / ก. บอกเรื่องของการงาน”
  • การจัดทำรายงาน  = การจัดทำเอกสารเพื่อบอกเรื่องการงานที่ไดhทำ ได้รู้ หรือได้ไปเห็นมา ได้ทำ =  รายงานการปฏิบัติงาน  รายงานการประชุม รายงานประจำปี / ได้รู้ =  รายงานการศึกษาค้นคว้า สืบสวน สอบสวน รายงานการศึกษา วิจัย สำรวจ / ได้ไปเห็น  =  รายงานการทัศนศึกษา ดูงาน ตรวจงาน
  • ประเภทของรายงาน
    • รายงานปากเปล่า Oral Reports ในสถานการณ์พิเศษ
    • รายงานลายลักษณ์อักษร Written Reports
    • รายงานลายลักษณ์อักษรและการนำเสนอด้วยวาจาในที่ประชุม
  • องค์ประกอบของรายงาน ต้อง ครบถ้วน เป็นระเบียบ
  • รูปแบบของรายงาน “ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” สวยงาม สม่ำเสมอ ถูกต้อง สบายตา เหมาะสม พอเหมาะ น่าหยิบ น่าอ่าน สะอาดเรียบร้อย

4.จรรยาบรรณของผู้ทำรายงาน

  • ซื่อสัตย์ สุจริต
  • โปร่งใส ตรวจสอบได้
  • คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
  • ติดคุณธรรมที่ปลายปากกา

5.คุณลักษณะของรายงานที่ดี

  • องค์ประกอบ คือ สิ่งที่ควรจะมี
  • รูปแบบ        คือ สภาพหรือลักษณะที่ควรจะเป็น
  • เนื้อหา          คือ พลังในการสื่อสาร
  • ภาษา          คือ เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร

6.เนื้อหาของรายงาน

  • มีเอกภาพ ( Unity ) มีความเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน
  • มีสัมพันธภาพ ( Coherence ) มีความเป็นระบบระเบียบ ต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกัน
  • มีสารัตถภาพ ( Emphasis ) มีสาระชัดเจนหนักแน่น น่าเชื่อถือ

7.การใช้ภาษาในการเขียนรายงาน ควรใช้ภาษามาตรฐานในการเขียน

  • ภาษาต่ำกว่ามาตรฐาน เช่น ภาษาพูด คำภาษาต่างประเทศ คำหยาบ คำสแลง คำย่อ คำผวน คำตัด คำภาษาถิ่น

8.ลักษณะภาษาที่ดีในการเขียนรายงาน

  • ถูกระดับ
  • ถูกไวยากรณ์
  • กะทัดรัด ประหยัด
  • ชัดเจน
  • ถูกความหมาย
  • ถูกความนิยม-วัฒนธรรม
  • สุภาพเรียบร้อย

9.ขั้นตอนการทำรายงาน

  • กำหนดวัตถุประสงค์
  • กำหนดผู้รับทราบ
  • รวบรวมข้อมูล
  • วางโครงร่าง
  • วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความข้อมูล
  • จัดระเบียบเนื้อหา
  • เรียบเรียงเนื้อหา
  • ตรวจทาน
  • จัดทำรูปเล่ม

10.องค์ประกอบ (โครงสร้าง) ของรายงาน รายงานที่ดี ควรมีองค์ประกอบหรือโครงสร้าง 3 ส่วน คือ

  • ส่วนต้น (ส่วนนำ) องค์ประกอบส่วนต้น  ได้แก่

    • ปก
    • สัญลักษณ์ คำย่อ และ ตัวย่อ (ถ้ามี)
    • คำนำ                                   
    • บทสรุปสำหรับผู้บริหาร หรือบทคัดย่อ
    • กิตติกรรมประกาศ
    • สารบัญ
    • บัญชี (รายการ) ตาราง (ถ้ามี)
    • บัญชี (รายการ) ภาพประกอบ (ถ้ามี) ได้แก่ แผนภูมิ แผนที่ ภาพประกอบ ภาพถ่าย แผนผัง
  • ส่วนเนื้อหา ส่วนเนื้อหา แบ่งเป็นบท หรือ ตอน ได้แก่

    • ความเบื้องต้น หรือ บทนำ
    • เนื้อความสำคัญ หรือ ผลการทำ การรู้ การเห็น
    • สรุป และ ข้อเสนอแนะ
  • ส่วนท้าย ส่วนท้ายของรายงาน อาจประกอบด้วย

    • บรรณานุกรม หรือ เอกสารอ้างอิง
    • ภาคผนวก ได้แก่ ตาราง แผนภูมิ กราฟ แผนที่ ภาพถ่าย ภาพประกอบ เอกสารหลักฐาน คำให้การ ใบเสร็จรับเงิน คำสั่ง เป็นต้น
    • เครื่องมือ เช่น แบบสอบถาม แบบสำรวจ ข้อสอบ
    • ดัชนี

11.การเขียนส่วนต้นของรายงาน

  • คำนำ สั้น กะทัดรัด ได้ใจความ ไม่ยาวไม่สั้นเกินไป วัตถุประสงค์ของคำนำ สะท้อนความสำคัญ ความจำเป็น และลักษณะเฉพาะของรายงาน เพื่อสร้างความสนใจ มีสาระสำคัญดังนี้ :-

    • ชื่อรายงาน
    • วัตถุประสงค์ของรายงาน
    • ขอบข่ายเนื้อหา
    • ประโยชน์ที่จะได้รับ
    • คำอุทิศ
  • กิตติกรรมประกาศ  หรือ ประกาศคุณูปการ (Acknowledgment) ข้อความกล่าวขอบคุณผู้สนับสนุนช่วยเหลือและ ให้ความร่วมมือในการจัดทำรายงาน ระบุว่าขอบคุณใคร เรื่องอะไร อย่ากล่าวละเอียดมากเกินไป

  • สารบัญ ทำหน้าที่บอกส่วนประกอบทั้งหมด คือ ตอน บท และ หัวข้อต่างๆของรายงาน ตั้งแต่คำนำ จนถึงหน้าสุดท้าย  โดยมีเลขหน้ากำกับแต่ละส่วนเรียงตามลำดับ
  • บัญชี (รายการ) ตาราง ( List of Tables ) (ถ้ามี) เป็นรายการที่ระบุชื่อและตำแหน่งหน้าของตารางทั้งหมดในรายงาน รวมทั้งตารางในภาคผนวกด้วย
  • บัญชี (รายการ) ภาพประกอบ (List of Illustrations/Figures) เป็นรายการที่ระบุชื่อและตำแหน่งหน้าของภาพประกอบทั้งหมด ในรายงาน เช่น แผนภูมิ กราฟ แผนผัง แผนที่ ภาพประกอบ และภาพถ่าย เป็นต้น
  • สัญลักษณ์ คำย่อ และตัวย่อ (List of Abbreviations and Symbols) เป็นส่วนอธิบายความหมายของสัญลักษณ์ คำย่อและอักษรย่อที่ปรากฏใช้ในรายงาน ยกเว้นที่รู้กันโดยทั่วไป
  • บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ( Executive Summary ) หมายถึง การสรุปภาพรวมของรายงาน ให้ใช้เวลาอ่านน้อยที่สุด แต่สามารถเข้าใจสาระสำคัญทั้งหมดที่นำเสนอไว้ในรายงาน
  • บทคัดย่อ ( Abstract ) เป็นการสรุปเนื้อหาของรายงานการวิจัย อย่างสั้น กะทัดรัด ชัดเจนแต่ได้ภาพรวม และสาระสำคัญ คือผลการวิจัย

12.การเขียนส่วนเนื้อหาของรายงาน เป็นส่วนสำคัญที่สุด

  • หลักการเขียน :~
    • เอกภาพ =  ไม่มีส่วนสร้างความรำคาญ
    • สัมพันธภาพ  =  ไม่สร้างความวกวน
    • สารัตถภาพ    =  ไม่ “น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง”
  • จำแนกเนื้อหารายงาน เป็น 3 ตอน

    • ความเบื้องต้น เพื่อจูงใจให้สนใจใคร่อ่าน ควรนำเสนอประเด็นต่อไปนี้ 1) ความเป็นมาของปัญหาหรือรายงาน (หลักการและ  เหตุผล) 2) ความพยายามครั้งก่อนๆในการแก้ปัญหา (ทบทวน) 3) จุดประสงค์หลักของการดำเนินงานตามรายงานนี้

    • เนื้อความสำคัญ เป็นหัวใจของรายงาน 1) เลือกเฉพาะเนื้อความที่เกี่ยวข้องกับรายงาน 2) จัดลำดับความสำคัญของเนื้อหา 3) ตัดเนื้อหาที่ไม่สำคัญออก 4) เพิ่มสิ่งที่คิดว่าสำคัญลงไป เพื่อ “ความพอเพียง”

    • สรุปและข้อเสนอแนะ
      1) สรุปให้ครอบคลุมความเป็นมา วัตถุประสงค์ วิธีจัดทำ และผลความรู้ ความจริงในรายงาน 2) การเขียนข้อเสนอแนะในรายงาน เนื้อความรายงานต้อง เป็นความจริง เป็นเรื่องที่ถูกต้อง มีการสรุปอย่างสมเหตุสมผล สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ ข้อเสนอแนะ (สารประเภทความคิด) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจดำเนินการต่อไป

13.การเขียนส่วนท้ายของรายงาน

  • การเขียนเนื้อหาของรายงานจะต้องมีการอ้างอิง และจัดทำบรรณานุกรม
    • ความหมาย การอ้างอิง      = การระบุแหล่งที่มาของข้อมูล / บรรณานุกรม  = รายการอ้างอิงทั้งหมด
    • ความสำคัญ เป็นจรรยาบรรณ เป็นมารยาท เป็นการเคารพความรู้ความคิดภูมิปัญญาผู้อื่น เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือ - ยอมรับ

14.ภาคผนวก. Appendix/ Appendices หมายถึง : รายละเอียดประกอบรายงาน อยู่ต่อจากบรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิง ความจำเป็น : การเขียนรายงานต้องสั้น กะทัดรัด กระชับ จึงมีความรู้-ข้อมูลซึ่งไม่ใช่ส่วนของเนื้อหารายงานโดยตรง ที่นำเสนอในเนื้อเรื่องไม่ได้ แต่ถ้าได้ทราบข้อมูลส่วนนี้จะทำให้เข้าใจรายงานชัดเจน และ ลึกซึ้ง มากขึ้น

  • ข้อควรคำนึงสำหรับภาคผนวก 1) ไม่ต้องพยายามหาข้อมูลมาเพียงเพื่อจะให้มีภาคผนวก 2) ใช้ดุลยพินิจคัดเลือกตรวจสอบ อย่าให้รายงานใหญ่โตรุ่มร่ามโดยใช่เหตุ 3) อาจแบ่งหมวดหมู่เป็นภาคผนวกย่อย ก. ข. ค.

15.สรุปหลักการจัดทำรายงาน

  • คิดให้ชัด
  • จัดให้เป็นระเบียบ
  • เรียบเรียงด้วยภาษาที่เหมาะสม
  • ตรวจทานอย่างชื่นชม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย
  • นางสาวเรวดี สุขสม คณะทำงานโครงการ
  • นางอัญชลี วิชัยดิษฐ์ คณะทำงานโครงการ
  • นางสาวนิฮาฟีซา นิมะมิง คณะทำงานโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • นำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเสริมทักษะในครั้งนี้ไปใช้ในการเขียนรายงานผลการดำเนินงานโครงการ
อบรมให้ความรู้เรื่องการบริโภคที่ถูกสุขลักษณะ (กินอยู่อย่างไรห่างไกลโรค)22 มกราคม 2015
22
มกราคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย kanlasom
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อได้รู้วิธีการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการที่ถูกต้อง- เพื่อปลูกฝังนิสัยด้านการรับประทานอาหารที่เอื้อต่อสุขภาพดีในเด็กและเยาวชน - เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับทราบถึงผลกระทบของการบริโภค หวาน มัน เค็ม เกินความจำเป็น
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมกินอยู่อย่างไรห่างไกลโรค 22 มกราคม 2558 ณ ศาลาหมู่บ้านควนทัง ม.7 ต.ละแม อ.ละแม จ.ชุมพร

  • 09.00 - 09.45          ลงทะเบียน
  • 09.45 - 10.15          ชี้แจงวัตถุประสงค์กิจกรรมกินอยู่อย่างไรห่างไกลโรค
  • 10.15 - 10.30          รับประทานอาหารว่าง
  • 10.30 - 10.45          สันทนาการ
  • 10.45 - 11.50          การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและสมตามวัย
  • 11.50 - 12.30          หลัก 2ส 3อ
  • 12.30 - 13.00          รับประทานอาหารเที่ยง
  • 13.00 - 13.15          สันทนาการ
  • 13.15 - 14.45          อาหารปลอดภัยข้างรั้วบ้าน
  • 14.45 - 15.00          รับประทานอาหารว่าง
  • 15.00 - 16.00          ออกกำลังกายให้เหมาะสมตามวัยผู้สูงอายุ
  • 16.00                      เดินทางกลับบ้าน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วิทยากรให้ความารู้เรื่้อง "อาหารเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ" แก่ผู้เข้าร่วมอบรม โดยมีเนื้อหาสาระ ดังนี้

1.หลักการบริโภคอาหารสำหรับผู้สูงอายุ

  • รับประทานอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ครบ 5 หมู่ ให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ควรรับประทานโปรตีนวันละ 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว กิโลกรัม หากได้รับโปรตีนมากเกินไป ร่างกายจะนำไปสะสมในรูปของไขมัน ทำให้เกิดโรคอ้วน ไม่ควรรับประทานมากเกินเพราะจะทำให้เกิดโรคอ้วน
  • รับประทานอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง (4-5 มื้อ) และหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส และท้องผูก
  • ลักษณะอาหารต้องอ่อนนุ่ม เปื่อย สะดวกต่อการเคี้ยวและย่อยง่าย เช่น ปลานึ่ง ปลาทอดไม่กรอบ
  • ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ระมัดระวังอาหารที่เน่าเสียและมีสารพิษเจือปน และไม่รับประทานอาหารที่ปรุงด้วยผงชูรส และมีสารกันบูด
  • ไม่รับประทานอาหารรสจัดหรือของหมักดอง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด โดยเฉพาะเค็มจัดควรดื่ม น้ำขิง น้ำมะตูม น้ำส้มคั้น น้ำนมพร่องมันเนย หรือน้ำนมถั่วเหลือง
  • ควรงดดื่ม ชา  กาแฟ  สุรา และงดสูบบุหรี่ทุกชนิด
  • ดื่มน้ำสะอาดให้พอเพียง ประมาณวันละ 6-8 แก้ว เพื่อช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย
  • ควรรับประทานอาหารประเภท ข้าว แป้ง และน้ำตาลให้น้อยลง เนื่องจากจะทำให้อ้วนไม่ควรรับประทานข้าวขัดเป็นสีขาวและข้าวที่ปรุงใส่กะทิ ไขมัน เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ ข้าวเหนียว ขนมเชื่อม และขนมหวานต่างๆ
  • รับประทานไขมันจากพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันข้าวโพด
  • ไม่ควรรับประทานเนื้อสัตว์ติดมัน หนังสัตว์ เช่น หมูสามชั้น ขาหมู หนังไก่ทอด อาหารทอด หรือผัดควรใส่น้ำมันน้อย เช่น ไข่เจียว ผัดผัก -  ไม่รับประทานอาหารไขมันสูง เช่น น้ำมันหมู น้ำมันจากไก่ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์มของทอดต่างๆ  เช่น ปลาท่องโก๋ กล้วยทอด อาหารชุบแป้งทอด
  • ไม่รับประทานผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน มะม่วงสุก ละมุด กล้วยหอม ลำไย น้อยหน่า ขนุน
  • ควรรับประทานอาหารที่มีเกลือแร่  และวิตามินให้เพียงพอ ดังนี้
  • แคลเซียม ผู้สูงอายุมักเป็นโรคกระดูกพรุน ซึ่งเกิดในหญิงมากกว่าชาย การได้รับแคลเซียมเพียงพอจะช่วยให้กระดูกแข็งแรง ควรได้รับแคลเซียมวันละ 800 มิลลิกรัม อาหารที่มีแคลเซียมมาก ได้แก่ น้ำนม หรือนมถั่วเหลือง ถั่วเมล็ดแห้ง ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง เป็นต้น
  • เหล็ก ผู้สูงอายุควรได้อาหารที่มีธาตุเหล็กมากเพียงพอ ประมาณวันละ 6 มิลลิกรัม ในขณะเดียวกันต้องได้โปรตีนและวิตามินซี ด้วย เพื่อช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก อาหารที่มีธาตุเหล็กมาก ได้แก่ ผักบุ้ง คะน้า ตับ เนื้อสัตว์ ไข่แดง เป็นต้น
  • เกลือ ผู้สูงอายุควรรับประทานเกลือลดลง โดยเฉพาะผู้ที่มีความดันโลหิตสูง แต่ผู้สูงอายุมักชอบรับประทานอาหารรสเค็มจัดเพราะลิ้นรับรสได้น้อยลง
  • วิตามิน วิตามินที่สำคัญ คือ วิตามินซี ควรรับประทาน 30 มิลลิกรัม โดยดื่มน้ำส้มคั้นวันละ 1 แก้ว
  • ผู้สูงอายุจะมีการหลั่งน้ำย่อยและน้ำลายลดลง ควรรับประทานอาหารอ่อนที่เคี้ยวง่าย กลืนง่าย และย่อยง่าย โดยเฉพาะถ้าใส่ฟันปลอม หรือมีปัญหาเกี่ยวกับฟัน หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการกลืน อาจต้องรับประทานอาหารเหลว อาหารประเภทเนื้อควรสับหรือบด หรือตุ๋นจนเปื่อย หรือปั่นใส่น้ำซุป

2.หลัก 3 อ. 2 ส

  • อ.อาหาร ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ เน้นผักผลไม้ที่มีกากใยสูงๆ ควรรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ๆ ควรเลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารค้างคืน อาหารที่มีรสจัด อาหารหมักดอง และดื่มน้ำที่สะอาด
  • อ.ออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 30 นาที
  • อ.อารมณ์ ทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ หาวิธีคลายเครียดหรือทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว เช่น ปลูกต้นไม้ เล่นดนตรี วาดภาพ ท่องเที่ยว เป็นต้น รวมทั้งควรพักผ่อนให้พอเพียงวันละ 6-8 ชั่วโมง
  • 2 ส. คือ ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มสุร
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • กลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชมคณะทำงาน ครั้งที่ 27 มกราคม 2015
7
มกราคม 2015รายงานจากพื้นที่ โดย kanlasom
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อจัดหาคณะทำงานแกนนำเด็กและเยาวชนเข้าร่วมโครงการปรับพฤติกรรมการกินฯ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • 09.00 - 09.30  ลงทะเบียน
  • 09.30 - 10.30  ชี้แจงที่มาของโครงการและการทำงานร่วมกันกับชุมชน
  • 10.30 - 12.00  วางแผนการดำเนินงานประจำเดือน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการประชุม สามารถสรุปได้ดังนี้

1.วาระที่ 1 เรื่องเพื่อแจ้งให้ทราบถึงที่มาของโครงการ

  • โครงการพัฒนาศักยภาพและสร้างเสริมสุขภาพเด็กและเยาวชนตำบลละแม ได้รับงบประมาณสนับสนุน โดย สปสช.ตำบลละแม และทำงานร่วมกับโครงการปรับพฤติกรรมการกิน สร้างสุขคนควนทัง ให้มีการประชุมและให้มีมติมอบหมายตัวแทนคณะกรรมการ 3 คน ประกอบด้วย

    • นายชยา สุทธิ์นุ่น ประธาน
    • นางสาวสุพัตรา สุวรรณรัตน์ เลขานุการ
    • นางสาวธิดารัตน์ ชิณวงค์ เหรัญญิก
  • มติที่ประชุมเห็นชอบให้ทั้ง 3 คน เป็นตัวแทนเปิดบัญชีสภาเด็กและเยาวชนตำบลละแมให้มีอำนาจในการเบิก จ่าย ทำธุระกรรมที่เกี่ยวกับสภาเด็กและเยาวชน โดยมี กิจกรรมภายในโครงการพัฒนาศักยภาพและสร้างเสริมเด็กและเยาวชนตำบลละแม

    • จัดทำแผนการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนตำบลละแม และแก้ปัญหาเยาวชน
    • จัดกิจกรรมสร้างสรรค์/บำเพ็ญประโยชน์ในพื้นที่
    • จัดประชุมสภาเด็กและเยาวชนตำบลละแม เพื่อติดตาม/ประเมินผล
    • ศูนย์ประสานงานสภาเด็กและเยาวชนตำบลละแม

2.วาระที่ 2 กำหนดการประชุมประจำเดือน/กิจกรรมสภาเด็กและเยาวชน โดยกำหนดให้เป็นวันอาทิตย์แรกของเดือน ดังนี้

  • เดือน มกราคม  วันที่ 10
  • เดือนกุมภาพันธ์ วันที่ 1
  • เดือนมีนาคม วันที่ 1
  • เดือน เมษายน วันที่ 5
  • เดือน พฤษภาคม วันที่ 3
  • เดือนมิถุนายน วันที่ 7
  • เดือน กรกฎาคม วันที่ 5
  • เดือน สิงหาคม วันที่ 2
  • เดือน กันยายน วันที่ 13
  • เดือน ตุลาคม วันที่ 4
  • เดือนพฤศจิกายน วันที่ 1
  • เดือนธันวาคม วันที่ 13

3.การจัดกิจกรรมพัฒนาเยาวชน

  • กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ วันที่ 10 มกราคม 2557
  • กิจกรรมงานวันเด็กแห่งชาติ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร ผู้เข้าร่วมกิจกรรม น้องมีน น้องมาย น้องฟิล์ม น้องออน น้องเบนซ์ น้องกิ๊ก น้องก๊อฟ น้องเบียร์ น้องน๊อต น้องปิ่น น้องกิ่ง
    น้องเหมย
  • กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์  วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 กิจกรรมทำความสะอาดชายหาดแม่โจ้
    • อุปกรณ์ที่ใช้ ไม้ไผ่ ขนาด 1.5 เมตร 4 ท่อน
    • กระสอบปุ๋ย 1 ลูก
    • เชือกฟาง 1 ม้วน
    • ผู้เข้าร่วมกิจกรรม น้องมีน น้องมาย น้องฟิล์ม น้องออน น้องเบนซ์ น้องกิ๊ก น้องก๊อฟ น้องเบียร์ น้องน๊อต น้องปิ่น น้องกิ่ง น้องเหมย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กและเยาวชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เวลาว่างของเด็กไม่ตรงกัน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เวทีสร้างความเข้าใจโครงการ21 ธันวาคม 2014
21
ธันวาคม 2014รายงานจากพี่เลี้ยง โดย kannapat janthong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อชี้แจงโครงการ ทำความเข้าใจกับคนในชุมชน
  • เพื่อหาอาสาสมัคร แกนนำเข้าร่วมขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เชิญแกนนำชุมชน กลุ่มผู้สูงอายุ อสม. และเยาวชน มาประชุมเพื่อทำความเข้าใจที่มาของโครงการ แนวทางการดำเนินงาน แผนการใช้งบประมาณโครงการ
  • รับสมัคร อสม. เยาวชน ที่สนใจเข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค และเป็นแกนนำในการทำงาน
  • ให้ความรู้เรื่อง "การบริโภคอาหารปลอดภัย" โดยวิทยากรจากโรงพยาบาลละแม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการมากขึ้น จากการที่ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอนุศักดิ์ มะโนรส ผู้ใหญ่บ้านควนทัง ได้ชี้แจงถึงเหตุผล หลักการความเป็นมาของโครงการพร้อมทั้งเล่าสถานการณ์สุขภาพของคนในชุมชนให้ทราบว่า "ปัจจุบันโรคภัยต่างๆ มักมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการหรือการรับประทานตามความต้องการของตนเองและด้วยกาลเวลาที่เปลี่ยนไปจากเดิม ความสะดวกสบาย เทคโนโลยีต่างๆ ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตของเรามากขึ้น ทำให้ต้องคนเราเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตตามยุคสมัย อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนเรา ซึ่งในปัจจุบันเราพบว่า “อาหาร” มักจะเป็นแหล่งของการเกิดภัยโรคภัยต่างๆ เช่น โรคความดันโรคหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคข้อเข่าเสื่อม โรคมะเร็ง ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก็เกิดขึ้นภายในชุมชนบ้านควนทัง ม.7 ต.ละแม อ.ละแม จ.ชุมพร ด้วยเช่นกัน จากการเก็บข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน จำนวน 15 คน โรคดันโลหิตสูง จำนวน 80 คน เบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 36 คน รวมทั้งหมด 131 คน" โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของคนในชุมชนด้วยการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ และมีทุนสำคัญในการกระจายข่าวสาร เผยแพร่ข้อมูล คือ วิทยุชุมชนละแม
  • จากการชวนคิด ชวนคุย ระดมความคิดเห็นถึงผักปลอดภัยที่พบในชุมชน พบว่า ชุมชนมีการปลูกผักกินเองอยู่แล้วในครัวเรือน อย่างน้อย คนละ 3-5 ชนิด เช่น ตะไคร้ บวบ ถั่วฝักยาว กระเพรา โหระพา ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีแหล่งเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์ในชุมชน แต่ยังไม่มีใครสนใจเรียนรู้มากนัก โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน จึงเป็นแนวทางอันดีในการสร้างการเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชุมชน
  • จากการให้ความรู้เรื่อง "อาหารปลอดภัย" พบว่า คนในชุมชนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ที่เป็นโทษต่อร่างกาย แต่ยังคงมีพฤติกรรมการกินที่เหมือนเดิม คือ กินตามความชอบ กินตามใจปาก โครงการนี้จึงเป็นช่องทางในการชวนคนในชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน เพื่อสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 70 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย
  • กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
  • กลุ่มเสี่ยง
  • อสม.
  • แกนนำชุมชน
  • เยาวชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เวทีสร้างความเข้าใจโครงการ21 ธันวาคม 2014
21
ธันวาคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย kanlasom
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อชี้แจงโครงการ ทำความเข้าใจกับคนในชุมชน
  2. เพื่อหาอาสาสมัคร แกนนำเข้าร่วมขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการเวทีสร้างความเข้าใจโครงการปรับพฤติกรรมการกิน สร้างสุขคนควนทัง วันที่ 21 ธันวาคม 2557 ณ จุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

  • 13.00 – 13.30 น.    ลงทะเบียน  โดย นางสาวนิฮาฟีซา นิมะมิง
  • 13.30 – 13.50 น.     ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ โดย นายอนุศักดิ์  มะโนรส
  • 13.50 – 14.20 น.    แนวทางในการดำเนินงานและการติดตามประเมินผล โดย นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
  • 14.20 – 14.35 น.    รับประทานอาหารว่าง โดย นางเตือนจิต แคล่วคล่อง
  • 14.35 – 15.00 น.    เปิดประเด็นอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ โดย นางภทรมล  ช่วยเต็ม วิทยากรจากโรงพยาบาลละแม
  • 15.00 – 15.40 น.     แบ่งกลุ่มวิเคราะห์อาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพตามกลุ่มวัย  ทีมงาน นำเสนอ
  • 15.40 – 16.00 น.    สรุปประเด็นและวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน โดย นายทวีวัตร เครือสาย
  • 16.00 น.             ปิดประชุม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • นายอนุศักดิ์  มะโนรส ผู้ใหญ่บ้านควนทัง และผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจงถึงที่มาของโครงการ และงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนโครงการ

1.บ้านควนทัง ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน จำนวน 15 คน โรคดันโลหิตสูง จำนวน 80 คน เบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 36 คน รวมทั้งหมด 131 คน ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการกิน เช่น กินหวาน มัน เค็ม ซื้ออาหารมารับประทาน ไม่ปรุงอาหารเอง กินอาหารในร้านสะดวกซื้อ  รับประทานพืชผักที่มีสารเคมีปนเปื้อน ทำให้เป็นโรคมากขึ้น

2.คณะทำงานเขียนโครงการของรับงบประมาณสนับสนุนโครงการจาก สสส. ชื่อโครงการ "ปรับพฤติกรรมการกินสร้างสุขคนควนทัง" ได้รับการสนับสนุนงบ จำนวน 98,150 บาท

  • นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง พี่เลี้ยงติดตามโครงการ แนะนำแนวทางการดำเนินงานโครงการและการติดตามประเมินผลโครงการ โดยการโชว์เว็บไซด์โครงการให้พี่น้องในชุมชนเห็น
  • พี่เลี้ยงโครงการชวนพี่น้องในชุมชนคิด บอกเล่าถึงพืช ผัก สมุนไพรี่มีในชุมชน ที่ตนเองได้ปลูกไว้ประจำบ้าน คนละ 1 ชนิด โดยผลสรุปดังนี้
  1. ตะใคร้
  2. ผักเหลี่ยง
  3. มะนาว
  4. ต้นหอม
  5. ถั่วงอก
  6. สะระแหน่
  7. โหระพา
  8. กระเพรา
  9. พริก
  10. ถั่วฝักยาว
  11. ตำลึง
  12. ขิง
  13. ข่า
  14. ขมิ้น
  15. ผักบุ้ง
  16. ผักคะน้า
  17. ดอกแค
  18. เหรียง
  19. มะเขือพวง
  20. บวบ
  21. ชะอม
  22. มะละกอ
  23. อัญชัน
  24. ผักชี
  25. กระเจี๊ยบ
  26. ถั่วพู
  27. ว่านหางจระเข้
  28. สเล็ดพังพอน
  29. สะเดา
  30. ผักหวาน
  31. มะระขี้นก
  32. มะระ
  33. ผักชีฝรั่ง
  34. กวางตุง
  35. แตงกวา
  36. พริกไทย
  37. มะเขือเปราะ
  38. มะเขือยาว
  39. ฝักทอง
  40. ผักกาด
  41. ส้มแขก
  42. มะอึก
  43. มันปู
  44. แมงลัก
  45. มะขามเทศ
  46. ขึ้นฉ่าย
  47. เสาวรส
  48. ดาหลา
  49. ผักกาดหอม
  50. แครอท
  51. เห็ด
  52. กระเทียม
  53. ต้นอ่อนทานตะวัน
  54. ต้นวอเตอร์เครส
  • นางภทรมล  ช่วยเต็ม วิทยากรจากโรงพยาบาลละแม ให้ความรู้เรื่อง "อาหารปลอดภัย" โดยเริ่มต้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมเขียนพฤติกรรมการกิน โดยมีคำถามดังนี้

1.อาหารที่ชอบกินและกินเป็นประจำของคาว ของหวาน และผลไม้ มีอะไรบ้าง

  • ของคาว ได้แก่ ปลาทอด แกงส้ม ข้าวเหนียวไก่ทอด แกงเลียง ปลาย่าง ปลาเค็ม ผักต้มน้ำพริก ปลานึ่ง ก๋วยเตี๋ยว กระเพราะไก่ ไข่ต้ม ต้มยำ ขนมจีน ส้มตำ แกงจืด
  • ของหวาน ได้แก่ ลอดช่อง ขนมถ้วย ขนมลูกตาล ทับทิมกรอบ รวมมิตร
  • ผลไม้ ได้แก่ ส้ม องุ่น มะม่วง เงาะ แตงโม กล้วย สับปะรด ส้มเขียวหวาน ลำไย มะละกอ

2.สิ่งที่รับประทานเข้าไปจะส่งผลกระทบอย่างไรกับสุขภาพ

  • โรคเบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคอ้วน
  • โรคมะเร็ง
  • โรคไต
  • ไขมันสูง
  • โรคหัวใจ
  • โรคกระเพาะ

3.พฤติกรรมการกินในแต่ละวันเป็นอย่างไร และวิธีแก้ไขในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน

  • พฤติกรรมการกิน วันละ 2 – 3 มื้อ ต่อวัน
  • วิธีแก้ไขในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน คือ
    • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
    • รับประทานอาหารที่มีแคลลอรี่น้อย
    • รับประทานพออิ่ม
    • รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ
    • หลีกเลี่ยงของดอง
    • หลีกเลี่ยงการใส่ผงชูรส
    • หลีกเลี่ยงอาหารรสชาติจัดจ้านและลดหวาน มัน เค็ม
    • ส่งเสริมให้ออกกำลังกาย
    • ดื่มน้ำมากๆ และรับประทานผักผลไม้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 81 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย

จำนวนผู้เข้าร่วม 81 คน โดยมีกลุ่มเป้าหมายดังนี้

  1. อสม
  2. เด็กเยาวชน
  3. ผู้สูงอายุ
  4. วัยทำงาน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ต้องมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าร่วมกิจกรรมได้ไม่นานเพราะติดธุระ
  • ต้องออกแบบกิจกรรมให้หลากหลายใหม่ๆ
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่20 ธันวาคม 2014
20
ธันวาคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย kanlasom
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่โดยการประชาสัมพันธ์พิษภัยของบุหรี่
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จัดทำป้ายตามที่ สสส. กำหนด
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ที่ร้านค้า เพื่อเป็นการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ ประกาศเป็นเขตปลอดบุหรี่ และสร้างความตระหนักต่อโทษของการสูบบหรี่ โดยใช้ป้ายเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์สถานที่เขตปลอดบุหรี่ กำหนดให้พื้นที่จัดอบรม จัดกิจกรรมเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย
  • ประชาชนที่อาศัยอยู่ภายในและนอกหมู่บ้านควนทัง ม.7 ต.ละแม อ.ละแม จ.ชุมพร
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 110 ธันวาคม 2014
10
ธันวาคม 2014รายงานจากพื้นที่ โดย kanlasom
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อวางแผนงานและออกแบบกิจกรรมสร้างความเข้าใจโครงการฯ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • คณะทำงานประชุมเพื่อจัดทำร่างกำหนดการเวทีชี้แจงโครงการ ประสานงานผู้เข้าร่วมกิจกรรม และประสานงานพี่เลี้ยง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปการประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1

1.ได้ร่างกำหนดการเวทีสร้างความเข้าใจโครงการฯ ดังนี้ (ร่าง)กำหนดการเวทีสร้างความเข้าใจโครงการปรับพฤติกรรมการกิน สร้างสุขคนควนทัง วันที่ 21 ธันวาคม 2557 ณ จุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

  • 13.00 – 13.30 น.          ลงทะเบียน   ผู้รับผิดชอบ นางสาวนิฮาฟีซา นิมะมิง

  • 13.30 – 13.50 น.           ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ   ผู้รับผิดชอบ นายอนุศักดิ์  มะโนรส

  • 13.50 – 14.20 น.           แนวทางในการดำเนินงานและการติดตามประเมินผล ผู้รับผิดชอบ นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง

  • 14.20 – 14.35 น.           รับประทานอาหารว่าง ผู้รับผิดชอบ นางเตือนจิต แคล่วคล่อง

  • 14.35 – 15.00 น.          เปิดประเด็นอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ผู้รับผิดชอบ นางภรมล  ช่วยเต็ม

  • 15.00 – 15.40 น.          แบ่งกลุ่มวิเคราะห์อาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพตามกลุ่มวัย ทีมงาน นำเสนอ

  • 15.40 – 16.00 น.          สรุปประเด็นและวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน ผู้รับผิดชอบ นายทวีวัตร เครือสาย

  • 16.00 น.                   ปิดประชุม

2.ช่วงแบ่งกลุ่มให้ผู้เข้าร่วมแบ่งกลุ่มตามวัย ร่วมกันคิดตามโจทย์ที่กำหนด
3.กำหนดให้เน้นอาหารเพื่อสุขภาพ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการปรับพฤติกรรมการกิน สร้างสุขคนควนทัง
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ปัญหาของคณะทำงานเรื่องเวลาว่างที่ไม่ตรงกัน พยายามหาเวลาว่างที่ตรงกัน และแบ่งภาระงานให้ทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ปฐมนิเทศโครงการ29 พฤศจิกายน 2014
29
พฤศจิกายน 2014รายงานจากพี่เลี้ยง โดย kannapat janthong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ปฐมนิเทศโครงการเพื่อสร้างความเข้าใจการทำงาน แนวทางการบริหารจัดการโครงการ การใช้งบประมาณโครงการ โดยทีมงานพี่เลี้ยง
  • การฝึกปฏิบัติการจัดทำรายงานกิจกรรม รายงานผลการดำเนินงานโครงการทางเว็บไซด์ โดยนายภานุมาศ นนทพันธ์ และทีมพี่เลี้ยงโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชุมชนเข้าใจแนวทางการบริหารจัดการโครกการมากขึ้น เช่น การเขียนใบสำคัญรับเงิน การจัดกิจกรรม การออกใบเสร็จค่าห้องพักที่ถูกต้อง
  • ชุมชนสามารถลงรายงานการปฐมนิเทศโครงการในเว็บไซด์ได้ ทำให้แน่ใจว่า ชุมชนสามารถจัดทำรายงานกิจกรรมอื่นๆ ตามแผนการดำเนินงานโครงการได้
  • ชุมชนไม่สามารถจัดทำปฏิทินโครงการได้เสร็จ เนื่องต้องการให้คนในชุมชน และทีมงานได้มีส่วนร่วมในการออกแบบ จึงขอกลับไปทำในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ
  • นางสาวนิฮาฟีซาร์ นิมะเม็ง 
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ระบบอินเตอร์เน็ตขัดข้อง การทำรายงานเลยล่าช้า
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ปฐมนิเทศโครงการ29 พฤศจิกายน 2014
29
พฤศจิกายน 2014รายงานจากพื้นที่ โดย kanlasom
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการฯ
  2. เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการรายงานผลกิจกรรมต่างๆ ผ่านเว็บไซต์
  3. เพื่อการจัดทำเอกสารทางการเงินที่ถูกต้อง
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557

  • 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
  • 09.00 - 10.00 น. กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล เพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการ
  • 10.00 - 11.00 น        ความคาดหวัง ประสบการณ์ และแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดย คุณปรีดารัตน์ ศรัทธานนท์กุล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  • 11.00 - 12.00 น.
    • การบริหารจัดการโครงการ (ทีมงาน/ชุมชน) และวิธีการจัดการปัญหา โดยคุณกำไล สมรักษ์
    • การบริหารการจัดการงบประมาณ  (การเก็บหลักฐาน และเอกสารการเงิน) โดยคุณสมบูรณ์ ขวัญสงค์ และคุณจุรีย์ หนูผุด
  • 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
  • 13.00 - 14.00 น. การจัดทำรายงานผ่านเวบไซต์คนใต้สร้างสุข www.happynetwork.org โดยคุณภานุมาศ นนทพันธ์
  • 14.00 – 17.30 น. ผู้รับผิดชอบโครงการฝึกปฏิบัติการ ในหัวข้อ • การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์
    • ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ
    • การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ
    • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรม
    • การจัดทำรายงาน

30 พฤศจิกายน 2557

  • 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
  • 09.00 - 12.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการฝึกปฏิบัติการ ในหัวข้อ (ต่อ)
    • การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์
    • ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ
    • การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ
    • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรม
    • การจัดทำรายงาน
  • 13.00 - 15.00 น. ประชุมพี่เลี้ยงร่วมกับ สสส. เพื่อการพัฒนาระบบการติดตามประเมินผล
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. คณะทำงานโครงการเข้าใจการจัดทำรายงานโครงการผ่านเว็บไซด์ และสามารถกรอกรายงานทางการเงินตามขั้นตอนที่ทาง สจรส. แนะนำได้
  2. รับทราบความเป็นมาของโครงการฯ จากการชี้แจงของ อ.พงค์เทพ และเจ้าหน้าที่จาก สสส. เกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการ
  3. เข้าใจการบริหารจัดการทางเงิน โดยทราบถึงการจัดทำเอกสารการเงินโครงการที่ถูกต้อง การออกใบสำคัญรับเงินโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

จำนวน 2 คน ได้แก่

  1. นายอนุศักดิ์ มะโนรส ผู้ใหญ่บ้าน
  2. นางสาวนิฮาฟีซา นิมะมิง
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ระบบอินเตอร์เน็ตล่ม ทำให้การทำงานล่าช้า
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  1. จัดหาสถานที่ที่เพียงพอกับผู้เข้าร่วมประชุม
  2. อยากให้มีการสันทนาการระหว่างการประชุม
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี