directions_run

การจัดการขยะโดยชุมชนบ้านโหล๊ะท่อม ต.เขาไพร อ.รัษฎา จ.ตรัง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การจัดการขยะโดยชุมชนบ้านโหล๊ะท่อม ต.เขาไพร อ.รัษฎา จ.ตรัง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดตรัง
รหัสโครงการ 63001740013
วันที่อนุมัติ 5 กรกฎาคม 2020
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 กรกฎาคม 2020 - 10 ตุลาคม 2021
งบประมาณ 87,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โครงการ การจัดการขยะโดยชุมชนบ้านโหล๊ะท่อม
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายณรงค์ ดำสุข
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายโกเมน รอดโกมิล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 ก.ค. 2020 4 พ.ย. 2020 5 ก.ค. 2020 4 พ.ย. 2020 34,800.00
2 5 พ.ย. 2020 4 เม.ย. 2021 5 พ.ย. 2020 10 ต.ค. 2021 43,500.00
3 5 เม.ย. 2021 10 ต.ค. 2021 5 เม.ย. 2021 10 ต.ค. 2021 8,700.00
รวมงบประมาณ 87,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หมู่บ้านโหล๊ะท่อม ตั้งอยู่ ม. 2 ต.เขาไพร อ.รัษฎา จ.ตรัง ตั้งชื่อหมู่บ้านตามภูมิศาสตร์ เนื่องจากมีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มและมีต้นกระท่อมขึ้นอยู่จำนวนมาก มีสถานที่สำคัญ คือ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาไพร และวัดทอนเหรียน มีถนนสายหลักและมีผู้คนสัญจรไปมาระหว่างหมู่บ้านและตำบล มีครัวเรือนทั้งหมดในหมู่บ้านจำนวน  180  ครัวเรือน ประชากรทั้งหมดจำนวน  575 คน  แยกเป็นชาย 275 คน  หญิง 297 คน ในพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านโหล๊ะท่อม มีปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมาจากการดำรงชีวิตของคนในพื้นที่ และคนที่สัญจรไปมาบนถนน ปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ส่งผลให้มีขยะตกค้างเพิ่มมากขึ้น เพราะทาง อบต. เขาไพร ที่ผ่านมาไม่มีนโยบายการจัดการขยะ ไม่มีรถเก็บขยะและถังขยะในหมู่บ้าน ซึ่งทางคณะกรรมการหมู่บ้านได้ทำการฉลี่ยปริมาณขยะโดยสอบถามจากแต่ละครัวเรือน ได้ผลการฉลี่ยปริมาณขยะครัวเรือนดังนี้ ขยะในแต่ละครัวเรือนส่วนมากจะเป็นขยะทั่วไป (ถุงพลาสติก, กล่องโฟม ,ถุงขนมขบเคี้ยว) มากเป็นอันดับหนึ่ง เฉลี่ยปริมาณขยะ 0.5 กก./วัน รองลงมาก็จะเป็นขยะอินทรีย์ (เศษอาหาร, เศษผักต่างๆ)เฉลี่ยปริมาณขยะ 0.3 กก./วัน  ขยะรีไซเคิล (กระดาษ พลาสติก ,แก้ว ,โลหะ) เฉลี่ยปริมาณขยะ 0.2 กก./วัน  และขยะอันตราย (ถ่านไฟฉาย, กระป๋องสเปรย์ ,หลอดไฟ ,แบตเตอรี่) เฉลี่ยปริมาณขยะ 0.1 กก./วัน ปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ประกอบกับ อบต. เขาไพร ไม่มีการจัดการขยะ ไม่มีรถเก็บขยะและถังขยะในหมู่บ้าน จึงทำให้ครัวเรือนต้องจัดการขยะกันเอง โดยการนำขยะที่มีในครัวเรือนไปทิ้งไม่เป็นที่ เช่น ในสวนยาง ในป่าที่รกร้าง ลำคลองหรือนำมาเผา ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ได้แก่ หมู่บ้านสกปรกไม่น่ามอง เสียทัศนียภาพ และพาหนะนำโรคต่างๆ เช่นหนู แมลงสาบ แมลงวัน ทั้งยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค เช่น อหิวาตกโรค อุจระร่วง บิด โรคผิวหนัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนและการที่ปริมาณขยะมีจำนวนมากได้แก่ถุงพลาสติก,ขวดน้ำดื่ม และขยะอินทรีย์ในครัวเรือน ทำให้เกิดมลพิษทางกลิ่นและ อากาศ เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ และแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก ตามข้อมูลสถิติผู้ป่วยใน หมู่ที่ 2 บ้านโหล๊ะท่อม ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลเขาไพรมีผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 2 ราย ผู้ป่วยทางเดินหายใจ จำนวน 3 ราย เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ เช่นฝุ่นละออง เขม่า ควัน จากการเผาขยะ และเกิดก๊าซมีเทนจากการฝังกลบขยะ และขยะบางชนิดไม่ย่อยสลาย และกำจัดได้ยาก เช่นโฟม พลาสติก ทำให้ตกค้างสู่สิ่งแวดล้อม
ทางหมู่บ้านจึงเล็งเห็นความสำคัญในการดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะล้นชุมชน และไม่มีที่ทิ้งขยะ โดยสร้างกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน จัดตั้งองค์กรชุมชนในการบริหารจัดการขยะโดยชุมชนแนะนำให้ความรู้กับคนในชุนชน เรื่องการคัดแยกขยะ วิธีการจัดการขยะอย่างถูกวิธี มีกลไกการจัดการขยะที่ประกอบด้วยผู้นำท้องถิ่น - ท้องที่ เจ้าหน้าที่รพ.สต. ตัวแทนกลุ่มอาสาสมัครในหมู่บ้าน เพื่อลดจำนวนขยะในหมู่บ้าน และเพิ่มรายได้เสริมให้แก่ครัวเรือนและสร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชนรู้ถึงคุณค่าของขยะและโทษของการจัดการขยะที่ผิดวิธี จนเกิดเป็นหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการขยะของชุมชนต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก
  • การคัดแยกขยะก่อนทิ้ง
  • เปลี่ยนขยะให้มีมูลค่า
stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ
  1. เกิดคณะกรรมการการทำงานและกฎระเบียบการจัดการขยะของชุมชน
  2. คนในชุมชนมีความรู้ในการบริหารจัดการขยะ
  3. ครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะ
  4. ครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะ
0.83
2 2.ลดปริมาณขยะและก่อให้เกิดรายได้ของคนในชุมชน

1.เกิดธนาคารขยะหมู่บ้านโหล๊ะท่อม 2.ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ อย่างน้อย 50% 3.เกิดครัวเรือนต้นแบบจัดการขยะ อย่งน้อย 10% 4.ปริมาณขยะลดลงอย่างน้อย 20%

0.83
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 200 200
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่ ร้านค้าและผู้ประกอบการ 10 20 20
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ ชาวบ้าน ม.2 180 180
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาศักยภาพทำงานของคณะทำงาน จำนวน 10 ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 3,750.00 10 3,750.00
6 ส.ค. 63 กิจกรรมย่อยที่ 1.1 จัดตั้งคณะกรรมการ (ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1) 15 375.00 375.00
8 ก.ย. 63 กิจกรรมย่อยที่ 1.2 คณะทำงานติดตามการดำเนินการการจัดการขยะ (ครั้งที่ 2) 15 375.00 375.00
8 ต.ค. 63 กิจกรรมย่อยที่ 1.3 คณะทำงานติดตามการดำเนินการการจัดการขยะ (ครั้งที่ 3) 15 375.00 375.00
11 พ.ย. 63 กิจกรรมย่อยที่ 1.4 คณะทำงานติดตามการดำเนินการการจัดการขยะ (ครั้งที่ 4) 15 375.00 375.00
25 เม.ย. 64 กิจกรรมย่อยที่ 1.5 คณะทำงานติดตามการดำเนินการการจัดการขยะ (ครั้งที่ 5) 15 375.00 375.00
30 พ.ค. 64 กิจกรรมย่อยที่ 1.6 คณะทำงานติดตามการดำเนินการการจัดการขยะ (ครั้งที่ 6) 15 375.00 375.00
8 มิ.ย. 64 กิจกรรมย่อยที่ 1.7 คณะทำงานติดตามการดำเนินการการจัดการขยะ (ครั้งที่ 7) 15 375.00 375.00
8 ก.ค. 64 กิจกรรมย่อยที่ 1.8 คณะทำงานติดตามการดำเนินการการจัดการขยะ (ครั้งที่ 8) 15 375.00 375.00
8 ส.ค. 64 กิจกรรมย่อยที่ 1.9 คณะทำงานติดตามการดำเนินการการจัดการขยะ (ครั้งที่ 9) 15 375.00 375.00
8 ก.ย. 64 กิจกรรมย่อยที่ 1.10 คณะทำงานติดตามการดำเนินการการจัดการขยะ (ครั้งที่ 10) 15 375.00 375.00
2 กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับขยะ การบริหารจัดการและการคัดแยกขยะแก่กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 22,400.00 1 22,400.00
8 ส.ค. 63 กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับขยะ การบริหารจัดการและการคัดแยกขยะแก่กลุ่มเป้าหมาย 150 22,400.00 22,400.00
3 ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม (เบิกจ่ายตามจริง และเมื่อเหลือจะต้องคืนให้กับ สสส. เมื่อสิ้นสุดโครงการ) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 13,000.00 9 13,000.00
21 ก.ค. 63 เวทีปฐมนิเทศคณะทำงานโครงการการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ณ ภูผายอดรีสอร์ท 3 1,000.00 1,000.00
5 ส.ค. 63 ประชุมกลไกระดับจังหวัด การจัดการขยะอำเภอรัษฎา 5 1,000.00 1,000.00
9 ต.ค. 63 ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำรายงาน ส.1 ง.1 ผ่านระบบ www.happynetwork.org 5 1,000.00 1,000.00
4 พ.ย. 63 ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ 0 2,000.00 2,000.00
20 พ.ย. 63 ค่าจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการ สสส. สำหรับติดในสถานที่จัดกิจกรรม 0 1,000.00 1,000.00
15 ธ.ค. 63 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน ครั้งที่ 1 หน่วยจัดการจังหวัดที่มรจุดเน้นสำคัญ(Node Flagship)ประเด็นการจัดการขยะ 0 1,000.00 1,000.00
8 เม.ย. 64 ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนากลไกระดับจังหวัด ประเด็นการจัดการขยะ ณ เกาะสุกร 0 2,000.00 2,000.00
25 เม.ย. 64 ค่าจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ 0 2,000.00 2,000.00
10 ต.ค. 64 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน ครั้งที่ 2 หน่วยจัดการจังหวัดที่มรจุดเน้นสำคัญ(Node Flagship)ประเด็นการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 2 2,000.00 2,000.00
4 กิจกรรมที่ 3 ศึกษาดูงานนอกสถานที่ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 10,700.00 1 10,700.00
11 ต.ค. 63 กิจกรรมที่ 3 ศึกษาดูงานนอกสถานที่ 40 10,700.00 10,700.00
5 กิจกรรมที่ 4 ประชุมชี้แจงให้ความรู้ความเข้าใจแก่ชาวบ้านเกี่ยวกับธนาคารขยะในการรับซื้อขยะจากชาวบ้าน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 19,500.00 1 19,500.00
8 พ.ย. 63 กิจกรรมที่ 4 ประชุมชี้แจงให้ความรู้ความเข้าใจแก่ชาวบ้านเกี่ยวกับธนาคารขยะในการรับซื้อขยะจากชาวบ้าน 150 19,500.00 19,500.00
6 กิจกรรมที่ 6 ประเมินติดตามการดำเนินงานการบริหารจัดการขยะในแต่ละครัวเรือนโดยคณะกรรมการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 3,150.00 1 3,150.00
30 พ.ค. 64 กิจกรรมที่ 6 ประเมินติดตามการดำเนินงานการบริหารจัดการขยะในแต่ละครัวเรือนโดยคณะกรรมการ 15 3,150.00 3,150.00
7 กิจกรรมที่ 7 การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 4,000.00 1 4,000.00
30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 7 การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ 0 4,000.00 4,000.00
8 กิจกรรมที่ 5 ประกวดครัวเรือนต้นแบบจำนวน 50 ครัวเรือน และสำรวจติดตามผลการดำเนินการบริหารจัดการขยะในแต่ละครัวเรือน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 10,500.00 1 10,500.00
8 ต.ค. 64 กิจกรรมที่ 5 ประกวดครัวเรือนต้นแบบจำนวน 50 ครัวเรือน และสำรวจติดตามผลการดำเนินการบริหารจัดการขยะในแต่ละครัวเรือน 50 10,500.00 10,500.00
9 บัญชีธนาคาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 500.00
10 ต.ค. 64 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00

โครงการ การจัดการขยะโดยชุมชนบ้านโหล๊ะท่อม ระยะเวลาดำเนินการ 10 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่เดือน 5 กรกฎาคม 2563 ถึงเดือน 5 พฤษภาคม 2564
โดยโครงการมีกิจกรรมดังนี้
กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้งรวม 10 ครั้ง รายละเอียดกิจกรรม ประชุมคณะทำงาน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง รวม 10 ครั้ง มีทั้งการประชุมเพื่อแบ่งบทบาทหน้าที่ เขตรับผิดชอบเพื่อการทำงานอย่างเป็นระบบและเข้าถึงคนในชุมชน การติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องขยะ การบริการจัดการขยะและการคัดแยกขยะแก่กลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมที่ 3 การศึกษาดูงานนอกสถานที่ นำชาวบ้านกลุ่มเป้าหมาย ไปหาความรู้นอกสถานที่ เพื่อนำความรู้ที่ได้มาปรับเปลี่ยนในการจัดการขยะของครัวเรือนและชุมชนให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น กิจกรรมที่ 4 ประชุมชี้แจงให้ความรู้แก่ชาวบ้านเกี่ยวกับธนาคารขยะหมู่บ้าน หมู่บ้านมีการจัดตั้งธนาคารขยะ เพื่อให้ชาวบ้านที่คัดแยกขยะแล้ว นำขยะมาขายฝากให้กับธนาคารขยะหมู่บ้าน ทำให้ครัวเรือนเกิดรายได้จาดการขายขยะ กิจกรรมที่ 5 ประกวดครัวเรือนต้นแบบจำนวน 50 ครัวเรือน เป็นการประกวดครัวเรือนที่มีการจัดการขยะ มีการคัดแยกขยะ นำขยะที่ได้จากการคัดแยกมาขายกับธนาคารหมู่บ้าน และบริเวณบ้านมีความสะอาด กิจกรรมที่ 6 ประเมินติดตามการดำเนินงานของโครงการ

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

โครงการจัดการขยะโดยชุมชนบ้านโหล๊ะท่อม ผลที่คาดว่าจะได้รับคือ ครัวเรือนให้ความสนใจมีความรู้ความเข้าในเกี่ยวกับขยะ ทำให้ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ จำนวนปริมาณขยะในครัวเรือนก็จะลดลง บริเวณบ้านเรือนก็มีความสะอาดขึ้น ส่วนขยะที่ได้จากหารคัดแยก ซึ่งเป็นขยะรีไซเคิ้ล ครัวเรือนสามารถนำมาขายกับธนาคารขยะ ทำให้ครัวเรือนมีรายได้จากการขายขยะอีกด้วย

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2020 16:23 น.