directions_run

โครงการสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาวะระดับพื้นที่เพื่อชุมพรน่าอยู่

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาวะระดับพื้นที่เพื่อชุมพรน่าอยู่
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดชุมพร
รหัสโครงการ 65-00-0152
วันที่อนุมัติ 27 มกราคม 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2022 - 31 กรกฎาคม 2023
งบประมาณ 5,000,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สมาคมประชาสังคมชุมพร
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายทวีวัตร เครือสาย
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0812700216
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ Taweewat27@yohoo.co.th
พี่เลี้ยงโครงการ ดร.ฐิระ ทองเหลือ ดร.ชุมพล แก้วสม นางสาวแสงนภา หลีรัตนะ นางรดาณัฐ สินสมบุญ นางชิดสุภางค์ ชำนาญ นางสมใจ ด้วงพิบูลย์ นางพัลลภา ระสุโส๊ะ นางสาวกรวรรณ ไกรวิลาศ นางสาวศิลาพร กลับดี นางสาวเบญจพร ทองกลม
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดชุมพร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2022 31 ส.ค. 2022 1 ก.พ. 2022 31 ส.ค. 2022 2,250,000.00
2 1 ก.ย. 2022 30 เม.ย. 2023 1 ก.ย. 2022 30 เม.ย. 2023 2,500,000.00
3 1 พ.ค. 2023 31 ก.ค. 2023 1 พ.ค. 2023 31 ก.ค. 2023 250,000.00
รวมงบประมาณ 5,000,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

2.1 ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัดชุมพรตั้งอยู่ทางตอนบนสุดของภาคใต้ มีพื้นที่ประมาณ 6,010.85 ตารางกิโลเมตร (2,082,298 ไร่) สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปมีลักษณะยาวและแคบ มีลักษณะเป็นที่ราบตามแนวชายฝั่งทะเลของอ่าวไทยมีความยาวถึง 222 กิโลเมตร มีจำนวนครัวเรือน 228,773 ครัวเรือน ประชากรจำนวน 509,650 คน จำแนกเป็นชาย 252,415 คน หญิง 257,235 คน (พ.ศ. 2563) ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประมาณร้อยละ96.54 ของประชากรในจังหวัด นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ2.02 และศาสนาคริสต์ ร้อยละ1.44  และแบ่งเขตการปกครอง เป็น 8 อำเภอ 70 ตำบล 736 หมู่บ้าน 25 เทศบาล (2 เทศบาลเมือง13 เทศบาลตำบล) 53 องค์การบริหารส่วนตำบล วิสัยทัศน์และเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดชุมพร  (พ.ศ.2566-2570) “ ชุมพรเมืองน่าอยู่ เศรษฐกิจดีและมีคุณค่า มุ่งสู่การพัฒนายั่งยืน”
2.2 สถานการณ์สุขภาวะภาพรวมของจังหวัดชุมพร ในสี่มิติด้านสุขภาพ:อันเนื่องจากภาวะเจ็บ ป่วย ตาย ใน 3 ลำดับแรกคือโรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง และโรคเรื้อรัง  สาเหตุการเจ็บป่วยและตายเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย และภาวะคุกคามสุขภาพจากปัจจัยเสี่ยงด้านอาชีพและสิ่งแวดล้อม  ด้านเศรษฐกิจ: ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพและรายได้หลักจากภาคเกษตรและประมง เมื่อเกิดภาวะราคาผลผลิตตกต่ำทั้งยางพารา ปาล์มน้ำมัน กระทบการดำรงชีพของคนในพื้นที่ ขณะเดียวกันผลผลิตไม้ผลโดยเฉพาะทุเรียนและมังคุด จำนวน 207,837 ไร่ จะมีผลผลิตรวม 289,354 ตัน ส่งออกปีกว่าละ 6,000 ล้านบาท แต่ต้องแลกกับการใช้สารเคมียังมากมายซึ่งกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อย่างยิ่งโดยเฉพาะผู้ผลิตคือเกษตรกร อีกทั้งต่อผู้บริโภคในประเทศ  ส่วนการท่องเที่ยวชุมชนเริ่มมีบทบาทและรายได้เสริมต่อหลายชุมชนในพื้นที่ชุมพร  ด้านสังคม: จากกระแสการพัฒนาโลกาภิวัฒน์เพิ่มปัญหาทางสังคมมากขึ้น ความซับซ้อนก็มีเพิ่มขึ้นทั้งปัญหาเด็กเยาวชน ยาเสพติด โดยเฉพาะปัญหาแม่วัยใสจังหวัดชุมพรมีปัญหาลำดับต้นๆ ของภาคใต้  การก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุของชุมพรซึ่งจำนวนผู้สูงอายุ 95,401 คน (18.72% ซึ่งมีอัตรามากกว่าเกณฑ์ค่ากลางของระดับประเทศ 16.05%)    ด้านทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม: ด้วยเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่สำคัญของภาคใต้จึงเป็นพื้นทีแดงของการใช้สารเคมีเกษตรอย่างรุนแรง อีกทั้งยังได้รับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐบาล ทั้งท่าเรือน้ำลึก รถไฟรางคู่ ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ SEC เป็นต้น การขับเคลื่อนการพัฒนาที่เกี่ยวข้องในจังหวัดชุมพร ที่ได้ประกาศวาระสุขภาพที่ดำเนินการตั้งแต่ปี 2562 ใน 3 เรื่องได้แก่ การลดละเลิกสารเคมีเกษตร  จัดการโรคเรื้อรัง และสุขภาวะผู้สูงอายุ และสอดคล้องกับนโยบายจังหวัด เกษตรอินทรีย์วิถีชุมพร  ในส่วนภาคประชาสังคมและสมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร ตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งมีประเด็นยุทธศาสตร์ 3 ประเด็นได้แก่ เกษตรสุขภาวะ:ครัวเรือนพอเพียง เมืองน่าอยู่:จัดการปัจจัยเสี่ยง จัดการทรัพยากรธรรมธรรมชาติ:การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน สำหรับหน่วยประสานจัดการระดับจังหวัด Node สสส. หรือสมาคมประชาสังคมชุมพร ได้สนับสนุนพื้นที่การสร้างเสริมสุขภาวะมาต่อเนื่อง จำนวน 82 พื้นที่/โครงการ ซึ่งจะเป็นต้นทุนสำคัญต่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดชุมพร หน่วยประสานจัดการจังหวัดชุมพรและภาคียุทธศาสตร์ได้ร่วมกันพิจารณาสถานการณ์และประเด็นสุขภาวะที่สำคัญต่อการคุณภาพชีวิตผู้คนจังหวัดชุมพร และคำนึงถึงความเป็นไปได้ การมีส่วนร่วมของของภาคีเครือข่ายต่อการขับเคลื่อนในอนาคต จึงได้เลือก 2 ประเด็น ได้แก่
1) เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ หรือมีความโดยย่อจากเวทีสร้างสุขภาคใต้ 60 คือ เกษตรสุขภาพ จึงมีนิยามความหมาย : การผลิตทางการเกษตร ซึ่งรวมทั้งการเลี้ยงสัตว์และการปลูกป่าที่กำหนดขึ้นให้เหมาะสมกับสุขภาวะ โดยคำนึงถึงการรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีและเอื้อต่อสุขภาพ เช่น ดินฟ้าอากาศ แหล่งน้ำ พืชที่ปลูก สัตว์ที่เลี้ยง ฯลฯ รวมความถึงกระบวนการผลิตต่อเนื่องอันนำสู่การเป็นอาหารปลอดภัย
2) การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่:จัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ นิยามความหมายดังนี้ การพัฒนาคุณภาพชีวิต หมายถึง การพัฒนาให้เกิดความอยู่ดีมีสุข (well being) ของบุคคลและสังคม  อันประกอบด้วย 4 ด้าน ทั้งร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ทางสังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยมีจุดเน้นในการจัดการสุขภาพโรคเรื้อรังแนวใหม่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ตารางแสดงสถานการณ์และผลลัพธ์ของประเด็นยุทธศาสตร์ สถานการณ์ประเด็นยุทธศาสตร์ (ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ) ผลลัพธ์ที่ตั้งของประเด็นยุทธศาสตร์ (ระบุรูปธรรม สิ่งต้องการเห็นในระดับจังหวัดในระยะยาว) เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ 1) ทุนและศักยภาพพื้นที่ ซึ่งเป็นต่อยอดพื้นที่ดำเนินงานผลิตและบริโภคผักผลไม้ปลอดสาร อาหารปลอดภัย -มติสมัชชาสุขภาพว่าด้วยเกษตรสุขภาวะ และวาระ จังหวัดชุมพร ลด ละเลิกสารเคมีเกษตร /มีเป้าหมายเกษตรอินทรีย์วิถีชุมพร 8000 ไร่
-มีการทำเกษตรยั่งยืน 29,457 ไร่ 1500 คร.(1% ของพื้นที่ทำเกษตร 2,945,771) ค่าเฉลี่ย 0.41% -เป็นประเด็นร่วมภาคใต้-มั่นคงทางอาหาร + สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนชุมพร 2) การเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว 3 ลำดับแรก ยางพารา 12.98 ล้านไร่ ปาล์มน้ำมัน 3.75 ล้านไร่ ทุเรียน 0.3 ล้านไร่ (ใช้สารเคมีมากสุด) ส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วย 6,075 ราย (ปี 61) ในกลุ่มประชากรที่มีอายุ 15-59 ปี
3) ความเสี่ยงด้านอาชีพของเกษตรกรชุมพร/ภาคใต้ มีการนำเข้าและใช้สารเคมีวัตถุอันตรายทางการเกษตร 3 ลำดับแรก สารกำจัดแมลง 15.23 ล้านบาท สารกำจัดวัชพืช 12.53 ล้านบาท สารกำจัดโรคพืช 1.79 ล้านบาท (สารเคมีอันตราย คลอไพริฟอส พาราควอต อะบาแบ๊กติน จังหวัดชุมพรใช้สูงสุด)
4) จังหวัดชุมพรมีสถิติอัตราการป่วยต่อประชาการแสนคน ปี 2558 : 19.49  ปี 2559: 24.72 ปี 2560:25.51 ปี 2561: 26.16 มีอัตราการเพิ่มขึ้นทุกปี และจำแนกตามปัญหาความไม่ปลอดภัยในอาชีพ สูงสุดคือ ปัญหาสารเคมีเกษตร 64 % เสี่ยงจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช 40.99 % และจากผลการประเมินความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย (ร้อยละ) ด้วย Reactive paper ในชุมพรเทียบเคียบกับ ศคร.11 ตั้งแต่ปี 59 ศคร.11 : 27% ชุมพร 34%  ปี 60  ศคร.11 : 25% ชุมพร 40% ปี 61 ศคร.11 : 23% ชุมพร 38%  (ข้อมูลจาก สสจ.ชุมพร)
5) แนวโน้มภาวะหนี้สินครัวเรือนมีการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยค่าเฉลี่ยหนี้สินครัวเรือน 175,000 บาทต่อครัวเรือน 6) โอกาสหรือปัจจัยเอื้อ คือวาระการพัฒนาจังหวัดชุพร ว่าด้วยการลดลดเลิกสารเคมีเกษตร และการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์วิถีชุมพร และการแบนสารเคมี 7) ภาคียุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเด็น ได้แก่ เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดชุมพร/บริษัทชุมพรออร์แกนิค จำกัดฯ  สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานปฏิรูปที่ดิน  สำนักงานพาณิชย์จังหวัดชุมพร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นต้น ผลลัพธ์ระยะยาว 1) เกิดสุขภาวะทางสังคมทั้ง 4 ด้าน ด้านสุขภาพ (ผู้ผลิตปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย) ด้านเศรษฐกิจ (ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ มีเงินออม) ด้านสังคม (ชุมชนอุดมสุข) ด้านทรัพยากร (ระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพและฐานการผลิตอาหาร) 2) ชุมชนท้องถิ่น มีอธิปไตยทางอาหาร มีหลักประกันในชีวิต และเกิดความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค ระหว่างชุมชนกับผู้ประกอบการหรือเอกชน และระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภาคียุทธศาสตร์

ผลลัพธ์ระยะสั้น 12 เดือน :
เพิ่มพื้นที่การผลิตผักผลไม้ปลอดภัยและรายได้ครัวเรือน อย่างน้อย 10 % ของครัวเรือนเป้าหมาย  โดยมีตัวชี้วัดดังนี้ 1) มีพื้นที่การผลิตผักผลไม้ที่ปลอดภัย อย่างน้อย 10% ของพื้นที่เกษตรยั่งยืนที่เข้าร่วม
2) มีการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเกษตรสุขภาพ 3) มีการจัดการเชื่อมโยงตลาดอาหารปลอดภัย 4) เพิ่มรายได้ครัวเรือน อย่างน้อย 10 % จากรายได้เดิม 5) มีการพัฒนาหรือขยายผลรูปแบบการเกษตรสุขภาพ 4 รูปแบบ/ระดับ (ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เครือข่าย) การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ : จัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่
1) ทุนและศักยภาพการพัฒนาคุณภาพชีวิตทุกกลุ่มวัย • มติสมัชชาจัดการปัจจัยเสี่ยง /วาระ จ.ชพ. โรคเรื้อรัง / ผู้สูงอายุ ชุมพร
• การติดตามเสริมพลังกลไกทางสุขภาพ 4 ระดับ (กองทุน- พชอ.-พชจ.-กขป.หรือ อปสข.)
• เงินกองทุนสุขภาพท้องถิ่น คงเหลือ 87 ล้าน/ 500 ล้านในเขต 11 2) สถิติการเกิด อัตราการตาย (จากรายงานสรุปดำเนินงาน สปสช.เขต 11 ปี 2561 ) สาเหตุการตายใน 3 ลำดับแรก ได้แก่ โรคระบบไหลเวียนโลหิต (โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจขาดเลือด และความดันโลหิตสูง) อัตรา 95.5 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือโรคมะเร็ง อัตรา 84.2 ต่อแสนประชากร
• สาเหตุภายนอกของการป่วยและตาย(อุบัติเหตุ โรคอุบัติใหม่ สัมผัสสารพิษ ฯ) อัตรา 63.8 ต่อแสนประชากร ส่วนสาเหตุเจ็บป่วยพบว่า ผู้เข้ารับบริการของผู้ป่วยในจากสาเหตุ 3 ลำดับแรก ได้แก่ โรคระบบทางเดินอาหาร อัตรา 647.15 ต่อแสนประชากร การคลอดปกติ อัตรา 386.10 ต่อแสนประชากร และโรคปอดปวม อัตรา 346.10 ต่อแสนประชากร
• ผู้เข้ารับบริการของผู้ป่วยนอกจากสาเหตุ 3 ลำดับแรก โรคความดันโลหิตสูง อัตรา 25,868 ต่อแสนประชากร โรคเบาหวาน อัตรา 15,464 ต่อแสนประชากร และโรคไข้หวัด อัตรา 13.664 ต่อแสนประชากร
• การลดอัตราการเจ็บป่วยโรคเรื้อรังของจังหวัดชุมพร เฉลี่ยร้อยละ 5 ของประชากรกลุ่มเสี่ยงและป่วย (สสจ.ชุมพร) 3) ปัญหาด้านคุณภาพชีวิตที่ควรได้รับการแก้ไขของคนชุมพร 5 ลำดับแรกจากข้อมูล จปฐ. ปี 2562 ประกอบด้วย 1 : ตัวชี้วัดที่ 6 : คนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี , 2 : ตัวชี้วัดที่ 23 : ครัวเรือนมีการเก็บออมเงิน , 3 : ตัวชี้วัดที่ 25 : คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่ , 4 : ตัวชี้วัดที่ 16 : เด็กอายุ 6 – 14 ปี ได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ,5 : ตัวชี้วัดที่ 2 : เด็กแรกเกิดได้กินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนแรกติดต่อกัน 4) ประเด็นจัดการสุขภาพกลุ่มวัยที่เร่งด่วน
• กลุ่มวัยเด็ก:เกิดใหม่พิการและตาย แม่เจ็บ/ตาย (ผลการคัดกรองเด็กเล็กพบสงสัยพัฒนาการล่าช้า 33.03% ของกลุ่มเสี่ยง)
• วัยเรียน:พัฒนาการไม่สมวัย (สำรวจคัดกรองพบ 36.7% ของกลุ่มเสี่ยง)
• วัยทำงาน: โรคเรื้อรัง (ประชากรชุมพรอายุ 35 ปีขึ้นไปมีภาวะเสี่ยงและเจ็บป่วย 213,500 คน ) อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 2.4 และอัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มสงสัยร้อยละ 18.84  และโรคอันเนื่องจากอาชีพไม่ปลอดภัย/อุบัติเหตุ
• วัยผู้สูงอายุ: ผู้สูงอายุมีจำนวน 21.2% ควรมีระบบดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น 5) บทเรียนการดำเนินสร้างเสริมสุขภาพ ที่ผ่านมาขาดการเชื่อมโยงข้ามประเด็นสุขภาวะพื้นที่ (ติดกับดักโครงการและตัวชี้วัด ที่ทั้งหน่วยงานและชุมชนจำเป็นต้องทำตาม) จึงไม่ครอบคลุม สนองตอบการพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง และ อีกทั้งมีทรัพยากรในระดับชุมชนท้องถิ่น เช่นกองทุนสุขภาพท้องถิ่น แต่ยังใช้ได้อย่างไม่เกิดประโยชน์สูงสุด 6) สอดคล้องการนโยบายรัฐ ว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่และระบบสุขภาพปฐมภูมิ 7) ภาคียุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเด็น ได้แก่ เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพและคุ้มครองผู้บริโภค คณะกรรมการติดตามและสนับสนุนกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร คณะกรรมการเขตพื้นการศึกษาจังหวัดชุมพร สำนักงานจังหวัดชุมพร ศูนย์เรียนรู้มหาวิทยาลัยชีวิต เป็นต้น  ผลลัพธ์ระยะยาว  การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ :จัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีในระดับพื้นที่ ทั้ง 4 ด้าน ทั้งร่างกาย จิตใจ (มีความรอบรู้ทางสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม) ความสัมพันธ์ทางสังคม (มีหลักประกันในชีวิต มีกลไกพัฒนาคุณภาพชีวิต ชุมชนอุดมสุข) และมีสิ่งแวดล้อมที่ดี  (มีสภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ) โดยมีจุดเน้นที่ในการจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ให้เกิดการลดอัตราการเจ็บป่วย 10% ของประชากรกลุ่มเสี่ยง

ผลลัพธ์ระยะสั้น 12 เดือน : กลุ่มเป้าหมายมีคุณภาพชีวิตดี ด้วยการลดอัตราเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง 10% ของประชากรกลุ่มเสี่ยง (อายุ 35 ปีขึ้นไป)  โดยมีตัวชี้วัดดังนี้ 1) มีคณะทำงานหรือกลไกสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่
เกิดกลไกสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ ได้แก่ • มีคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ • มีแผนงานโครงการ/ผลักดันเข้ากองทุนมีกติกาหรือมาตรการระดับพื้นที่ 2) มีการลดปัจจัยเสี่ยง เพิ่มปัจจัยเสริม ต่อสุขภาพชุมชน อาทิ เช่น เช่น ลดละเลิกยาเสพติด กิจกรรมทางกาย อาหารโภชนาการฯ ในพื้นที่ ได้แก่ • มีการจัดการปัจจัยเสี่ยงและเพิ่มปัจจัยเสริม เช่น ยาเสพติด กิจกรรมทางกาย อาหารโภชนาการ ฯ ในพื้นที่ • เกิดความร่วมมือจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่หรือเชิงรุกของหน่วยบริการ • มีกลุ่มชมรมดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น 3) เกิดการลดอัตราเจ็บป่วยโรคเรื้อรังร้อยละ 10 ของจำนวนกลุ่มเสี่ยง 4) มีการพัฒนาหรือขยายรูปแบบการจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ใน 3 รูปแบบ (ระดับชุมชน/หมู่บ้าน หน่วยบริการ ตำบล) 2.3 สถานการณ์สุขภาพการเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ประเด็นสุขภาวะ Node Flagship ในระยะที่หนึ่งของชุมพร ซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 3 ประการสำคัญ ดังนี้ 1) เป็นหน่วยจัดการระดับจังหวัดที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) ที่มีขีดความสามารถในการประสานความร่วมมือกับภาคีต่างๆ ในการสนับสนุนและขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะของจังหวัดชุมพร โดย Node Flagship มีการประสานทรัพยากรจากภาคียุทธศาสตร์ในการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพระดับจังหวัด 857,250 บาท และมีงบประมาณหรือทรัพยากรจากกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายในการสร้างเสริมสุขภาพของโครงการย่อย จำนวน 2,106,250 บาท ซึ่งสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพพื้นที่ และมีผู้นำการเปลี่ยนแปลง จำนวน 75 คน มีผู้เข้าร่วมการเปลี่ยนแปลงสุขภาพ 1,642 ราย  อีกทั้งยังได้เชื่อมประสานภาคียุทธศาสตร์โดยกลไกสานพลังสร้างสุขชุมพร ซึ่งจะเป็นกลไกความร่วมมือในการสร้างเสริมสุขภาพต่อไป

2) เกิดการสนับสนุนพื้นที่ปฏิบัติการทั้ง 2 ประเด็นยุทธศาสตร์ ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ และการจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ โดยสนับสนุนโครงการย่อยสร้างเสริมสุขภาวะในจังหวัดชุมพร จำนวน 25 พื้นที่
3) บรรลุร่วมสร้างชุมพรน่าอยู่ขั้นต้น  มีการเพิ่มพื้นที่ผลิตและบริโภคพืชผักผลไม้ปลอดสาร/อาหารปลอดภัย  จำนวน 3,200 ไร่ ของสมาชิก 1,642 ราย (จากเดิมมีผู้เข้าร่วม 870 ราย พื้นที่ 1,570 ไร่)  จากพื้นที่เกษตรยั่งยืนที่มีอยู่ โดยจำแนกในส่วนการผลิต ที่ได้มาตรฐาน ออร์แกนิค 21 ราย พื้นที่ 328 ไร่ ,เข้าร่วมทำเกษตรกรรมยั่งยืนSDGPGS 187 ราย พื้นที่ 1,500 ไร่ และเกษตรกรทั่วไป  1,334 ราย ในการเปลี่ยนแปลงการผลิตนั้นเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักต่อการใช้สารเคมีในการผลิตผักผลไม้ปลอดภัย แต่ยังมีเกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่ยังขาดความรู้และตระหนักต่อเรื่องนี้ด้วยหวังทางรายได้มากกว่า การตลาดนั้น มีการจำหน่ายในฟาร์มเกษตรกร 122 ราย และการทำการตลาดออนไลน์  ตลาดท้องถิ่น เช่น ตลาดใต้เคียม ตลาดอินทรีย์วิถีชุมพร ตลาดอินทรีย์หลังสวน ฯ ต้องหยุดดำเนินการในช่วงการระบาดไวรัสโคโรน่า ในส่วนการตลาดระดับกลางและระดับบน(โมเดรินเทรด) ยังไม่ได้ดำเนินการด้วยส่วนใหญ่ยังไมได้มาตรฐานและปริมาณผลผลิตไม่เพียงพอต่อการจัดการตลาด สำหรับการบริโภคนั้น ผู้บริโภคส่วนใหญ่ 70% ยังต้องการผักผลไม้ที่ราคาต่ำ ไม่คำนึงถึงความปลอดภัย มีเพียงผู้บริโภคส่วนน้อยประมาณ 30% ที่เน้นผักผลไม้ปลอดภัย/ปลอดสาร ดังนั้นจึงส่วนผลต่ออัตราการเจ็บป่วยตามสถานการณ์ข้างต้น        ในส่วนผลลัพธ์กลุ่มเป้าหมายมีคุณภาพชีวิตดี ด้วยการลดอัตราเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง 10% ของประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ขึ้นไปนั้น มีกลุ่มเป้าหมายร่วมโครงการ 800 ราย ประชากรกลุ่มเสี่ยงไม่เจ็บป่วยโรคเรื้อรัง 280 ราย (ข้อมูล HDC รพสต.)  และยังทำให้เกิดการพัฒนาความเข้มแข็งกลไกจัดการสุขภาพของพื้นที่ เช่น ชมรม อสม. , ชมรมผู้สูงอายุ , คณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่  ซึ่งเป็นการสร้างรากฐานของระบบสุขภาพชุมชน ผลลัพธ์จากการดำเนินงานระยะที่หนึ่งนั้นเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด ปี 2561-2565 "ชุมพรเมืองน่าอยู่ บนพื้นฐานการเกษตรกรรมและการท่องเที่ยวคุณภาพ เชื่อมโยงการพัฒนาสองฝั่งทะเล”
สำหรับผลการดำเนินงานระยะที่หนึ่งนั้นมีการดำเนินงานใน 25 โครงการย่อย และพัฒนาสรุปบทเรียนได้ รูปแบบโมเดลพื้นที่ต้นแบบ (Good Practice) 7 รูปแบบ
1. ประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) การดำเนินงานเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพระดับชุมชน/หมู่บ้าน 3 กรณี(บ้านบกไฟ,บ้านเกาะเสม็ด,บ้านห้วยตาอ่อน) 2)การดำเนินงานเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพระดับตำบล (Best พื้นที่ตัวอย่างความสำเร็จ 2 กรณี ตำบลหงส์เจริญ,ตำบลนาทุ่ง) 3) การดำเนินงานเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพระดับอำเภอ/สมาพันธ์เกษตรฯ มี 2 กรณี สมาพันธ์เกษตรยั่งยืนอำเภอละแม,สมาพันธ์เกษตรยั่งยืนอำเภอสวี  4)การดำเนินงานเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพระดับเครือข่าย มี 2 กรณี เครือข่าย You Model,เครือข่ายข้าวไร่ชุมพร
2. ประเด็นจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ที่เป็นโมเดลพื้นที่ต้นแบบ (Good Practice)  3 รูปแบบ  ได้แก่ 1)การจัดการโรคเรื้อรังระดับชุมชน/หมู่บ้าน 4 กรณี บ้านเขาวง,บ้านน้อย,บ้านทรัพย์สมบูรณ์,ชุมชนเมืองชุมพร 2) การจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ระดับหน่วยบริการ มี 2 กรณี รพสต.บ้านคลองน้อย,รพสต.อ้าวมะม่วง 3) การจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ระดับตำบล มี 2 กรณี ตำบลเขาค่าย ,ตำบลนาขา
2.4 การวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค นั้นมีจุดแข็ง ได้แก่ 1)โครงสร้างของคณะกรรมการและคณะทำงาน มีองค์ประกอบจากสี่ภาคส่วน ประชาสังคม วิชาการ ราชการ เอกชน  และมีความหลากหลายสาขาอาชีพหรือชำนาญที่แตกต่างกัน  2)คณะทำงานมีการกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั้งจังหวัด  3)คณะทำงานมีขีดความสามารถในการประสานภาคียุทธศาสตร์และเชื่อมทรัพยากรมาสนับสนุนการดำเนินงาน    ในส่วนจุดอ่อนนั้น  1.หัวหน้าทีม Node มีภารกิจในการขับเคลื่อนงานในพื้นที่หลายหน้าที่ทำให้ขาดการกำกับติดตามงานอย่างต่อเนื่อง  2.การบริหารจัดการงานข้อมูลสารสนเทศและงานวิชาการไม่ครบถ้วยสมบูรณ์ที่จะสนับสนุนกลุ่มเป้าหมาย กระบวนการขับเคลื่อนในพื้นที่ได้ทันสถานการณ์ 3.กำลังคนทำงานทางวิชาการไม่เพียงพอและขาดทักษะความเชี่ยวชาญทางวิชาการ รวมทั้งการถอดบทเรียนสังเคราะห์ความรู้ของพื้นที่  สำหรับโอกาสนั้นมีเชื่อมประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ 1.มีการเชื่อมประสานทรัพยากรกับโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการรายพื้นที่ (U2T) 15 ตำบล  2.โครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมลดผลกระทบวิกฤติโควิท-19  3.งานสร้างเสริมสุขภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น และได้จัดตั้งกลไกสานพลังสร้างสุขชุมพร ในส่วนอุปสรรคนั้นคือการ บูรณาการกับภาคียุทธศาสตร์ที่ยังต้องพยายามจัดกลไก กำลังคน แผนงาน ระเบียบปฏิบัติให้สอดคล้องต้องกันกับงาน node flagship ชุมพร 2.5 การบริหารทีมหน่วยจัดการ Node Flagship ชุมพร
กลไกลโครงสร้างการขับเคลื่อนร่วมกับภาคียุทธศาสตร์ เพื่อให้เกิดพื้นที่รูปธรรม พื้นที่ทางสังคม และพื้นที่ทางนโยบาย จึงมีคณะทำงาน 5 คณะ ดังนี้ 1) คณะกรรมการอำนวยการ มีองค์ประกอบจากภาคียุทธศาสตร์หลัก เป็นผู้นำกลุ่มเครือข่ายและผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับต่าง ๆ 2) คณะทำงานหน่วยประสานจัดการระดับจังหวัด (สมาคมประชาสังคมชุมพรและภาคี) 3) คณะทำงานสนับสนุน 3 คณะ ได้แก่ 3.1)คณะทำงานสนับสนุนวิชาการประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพมีองค์ประกอบจากแกนนำกลุ่มเครือข่ายและภาคียุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ทีมพี่เลี้ยงหน่วยประสานจัดการจังหวัด ม.แม่โจ้ และ สจล. ชุมพร  เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนชุมพร สปก.ชุมพร เกษตรและสหกรณ์ชุมพร ฯ  3.2) คณะทำงานสนับสนุนวิชาการประเด็น จัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ มีองค์ประกอบจากแกนนำกลุ่มเครือข่ายและภาคียุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ ทีมพี่เลี้ยงหน่วยประสานจัดการจังหวัด คณะทำงานติดตามกองทุนฯ สสจ.ชุมพร ศปง.หลักประกันสุขภาพ ฯ 3.3) คณะทำงานสื่อสารสาธารณะ อันประกอบด้วย ทีมนักสื่อสารชุมชน แกนนำสื่อ ThaiPBS เครือข่ายสื่อมวลชลท้องถิ่น เครือข่ายสื่อชุมชนภาคใต้ ฯ โดยคณะทำงานชุดต่างๆ มีกำลังพลกระจายตัวในแต่ละอำเภอของจังหวัดชุมพร
ช่องว่างการดำเนินงานของที่ผ่านมา เช่น การขับเคลื่อนให้เกิดโมเดล/ผลลัพธ์โครงการย่อย การทำงานกับภาคี การจัดการข้อมูล บทเรียนที่ผ่านมา ยังมีจุดอ่อนข้อจำกัดด้านการจัดการข้อมูลสารสนเทศ  จึงต้องสรรหานักจัดการข้อมูลสารสนเทศมาเพิ่มเติม พร้อมกับจัดทำเครื่องมือการจัดเก็บข้อมูล กำกับ ติดตามการจัดการข้อมูลสารสนเทศ เป็นรายเดือนหรือทุกสามเดือน  และเวลาและภารกิจหน้าที่ของทีมสนับสนุนวิชาการ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานราชการหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งต้องลดปริมาณงานและความรับผิดชอบให้น้อยลง เหมาะสมกับศักยภาพแต่ละคน  สำหรับแนวทางการบริหารทีม Node ที่ออกแบบไว้เพื่อปิดช่องว่างข้างต้นดังนี้ 1)ประสาน สรรหาเจ้าหน้าที่สารสนเทศและทีมสนับสนุนวิชาการเพิ่มเติม โดยกระจายความรับผิดชอบหนึ่งคน ไม่เกิน 2 พื้นที่โครงการย่อย 2)เสริมศักยภาพทีมสนับสนุนวิชาการเก่า-ใหม่ (4 คน) ในการติดตามประเมินผลลัพธ์ และการถอดบทเรียน และใช้กระบวนจับคู่บัดดี้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ต่อเนื่อง 3)มีการติดตาม กำกับ การดำเนินงานรายงานความก้าวหน้าทุกเดือน มีการสรุปผลงานในทุกสามเดือน  และมีการประชุมแบบไม่เป็นทางการหรือผ่านระบบ Zoom ในทุกเดือน
4) ยกระดับการดำเนินคณะทำงานสื่อสารสาธารณะ โดยใช้ข้อมูลสารสนเทศ ติดตามสถานการณ์ รายงานความเคลื่อนไหวการดำเนินงานโครงการย่อยเพิ่มขึ้น ผลิตสื่อ เผยแพร่ผ่านช่องทางโซเซียลมีเดีย 5)ประสานทรัพยากรมาใช้ในกระบวนการดำเนินงานของ Node Flagship ชุมพร  เพิ่มเติมจากภาคีสร้างเสริมสุขภาพ เช่น กองทุนสนับสนุนความเสมอภาคทางการศึกษา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

กรอบการดำเนินงาน:ประเด็นยุทธศาสตร์และความเชื่อมโยงผลลัพธ์ (Outcome alignment)
3.1 เป้าหมาย/ผลลัพธ์ Node Flagship ชุมพร ในระยะที่สอง คือ
• ร่วมสร้างชุมพรเมืองน่าอยู่  โดยเพิ่มพื้นที่การผลิตผักผลไม้ปลอดภัยและรายได้ครัวเรือน อย่างน้อย 10 % ของครัวเรือนเป้าหมาย (3,200 ไร่)
• กลุ่มเป้าหมายมีคุณภาพชีวิตดี ด้วยการลดอัตราเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง 10% ของประชากรกลุ่มเสี่ยง (อายุ 35 ปีขึ้นไป)
ซึ่งจะเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์และเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดชุมพร  (พ.ศ.2566-2570) “ ชุมพรเมืองน่าอยู่ เศรษฐกิจดีและมีคุณค่า มุ่งสู่การพัฒนายั่งยืน” เป้าประสงค์การพัฒนาจังหวัด 1) เศรษฐกิจของจังหวัดเติบโตอย่างต่อเนื่องมั่นคงจากฐานการเกษตร การค้า การบริการ และสามารถสร้างงานอาชีพ ให้ชุมชน ประชาชน และเศรษฐกิจฐานรากที่เข้มแข็ง 2) การท่องเที่ยวมีคุณภาพ มาตรฐานในระดับสากล สามารถสร้างเศรษฐกิจ และการสร้างงาน อาชีพ กระจายรายได้จากการท่องเที่ยวทั่วทั้งจังหวัด
3)  ชุมพรเป็นเมืองที่น่าอยู่ และเอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี สะดวก ปลอดภัย ทันสมัย ได้มาตรฐาน
4)  โครงสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภคมีมาตรฐานที่ดี ประชาชนเข้าถึงด้วยความสะดวก มีคุณภาพ ปลอดภัย รองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งอนาคต 5) ประชาชนเป็นคนคุณภาพ ใฝ่รู้ เรียนรู้ ตลอดชีวิต ทันการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ 6) สังคมมีความเกื้อกูล แบ่งปัน และสันติสุข ปลอดภัย วัฒนธรรม วิถีชุมชนเข้มแข็งมีความมั่นคงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
7) ทรัพยากรธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์ ได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา ใช้อย่างสมดุลยั่งยืน และจังหวัดมีความมั่นคงทางพลังงาน

ประเด็นการพัฒนาจังหวัดเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย ประเด็นการพัฒนาที่ 1 การเสริมสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง มั่นคงจากฐานการเกษตร การค้า การบริการ และการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากที่เข้มแข็ง
ประเด็นการพัฒนาที่ 2 การยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำ และเชื่อมโยงการท่องเที่ยวฝั่งอ่าวไทย อันดามัน อาเซียน และนานาชาติ ประเด็นการพัฒนาที่ 3 การพัฒนาเมืองที่น่าอยู่ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน คมนาคม โลจิสติกส์ ที่สะดวก ปลอดภัย ได้มาตรฐาน และเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ ประเด็นการพัฒนาที่ 4 การสร้างคนคุณภาพ การพัฒนาสังคมแห่งความสันติสุข ปลอดภัย และการพัฒนาชุมชนให้มีความมั่นคงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ประเด็นการพัฒนาที่ 5 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลรองรับการเติบโตของคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน แนวทางการดำเนินงานคณะกรรมการและคณะทำงาน Node Flagship ชุมพรใน 2 ประเด็นยุทธศาสตร์ โดยใช้โมเดลพื้นที่ต้นแบบ (Good Practice) 7 รูปแบบ ในประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ 4 รูปแบบ ประเด็นจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ที่เป็นโมเดลพื้นที่ต้นแบบ (Good Practice)  3 รูปแบบ และมีจุดเน้นในการสื่อสารสาธารณะ และประสานความร่วมมือ เชื่อมทุนทรัพยากร กับภาคียุทธศาสตร์ให้บรรลุเป้าหมายข้างต้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หน่วยจัดการระดับจังหวัดชุมพร (Node Flagship) มีขีดความสามารถในการบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะสู่ชุมพรเมืองน่าอยู่

1.1 ทีมงานหน่วยจัดการที่มีโครงสร้างและแบ่งบทบาทภารกิจชัดเจน มีจำนวนที่เพียงพอต่อการดำเนินงานและมีขีดความสามารถในบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ได้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้ หัวหน้าหน่วยจัดการ ทีมสนับสนุนวิชาการ เจ้าหน้าที่ประสานงานและการเงินบัญชี และคณะที่ปรึกษาหรืออำนวยการ
1.2 มีระบบบริหารจัดการที่สอดคล้องตามแนวปฏิบัติของ สสส. ทั้งในส่วนการบริหารจัดการงบประมาณ และบริหารจัดการโครงการย่อย (การพัฒนาแบบฟอร์ม/เครื่องมือ/คู่มือในการพัฒนาโครงการย่อย การกลั่นกรองโครงการย่อย การสนับสนุนงบประมาณและทำข้อตกลง การรายงานผลการดำเนินงาน)
1.3 มีประเด็นยุทธศาสตร์ 2 ประเด็นที่ขับเคลื่อนในระดับจังหวัด โดยเป็นประเด็นที่เป็นปัญหาของจังหวัดและสามารถสร้างการมีส่วนร่วมได้สูง ดังนี้
มีการกำหนดผลลัพธ์หรือตัวชี้วัดของประเด็นยุทธศาสตร์ ทั้งผลลัพธ์ในระดับเป้าหมายจังหวัด/วาระจังหวัด และผลลัพธ์หรือเป้าหมายในการสนับสนุนโครงการย่อย
มีการวิเคราะห์ข้อมูลในพื้นที่วิกฤติ หรือพื้นที่จุดคานงัดที่สามารถเป็นตัวแทนปัญหาในการเป็นต้นแบบ เพื่อคัดเลือกมาสนับสนุนโครงการเพื่อขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาในประเด็นยุทธศาสตร์นั้นๆ
มีกลยุทธ์/วิธีการที่จะนำโมเดลหรือรูปแบบการดำเนินงานของพื้นที่ต้นแบบไปขยายผลหรือส่งต่อความสำเร็จให้มีผลกว้างขวางขึ้นในระดับจังหวัด
มีแผนภาพการเชื่อมโยงผลลัพธ์ประเด็นยุทธศาสตร์ (Outcome Alignment) ที่แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงของผลลัพธ์ในแต่ละโครงการย่อยที่ดำเนินงานว่ามีความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงหรือส่งต่อกันอย่างไรเพื่อบรรลุผลลัพธ์ในระดับเป้าหมายจังหวัด 1.4 มีภาคียุทธศาสตร์ร่วมมือดำเนินงานแก้ไขปัญหาสุขภาวะของพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม อย่างน้อย 5 ภาคี

2 เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงผลลัพธ์ในประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ และประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่โดยจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ ที่ได้รับความร่วมมือในการขยายผลพื้นที่รูปธรรมจากภาคีหลายภาคส่วนในจังหวัดชุมพร

2.1 กลไกระดับจังหวัด ภาคียุทธศาสตร์และเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ มีความร่วมมือในการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์ให้บรรลุผลลัพธ์จังหวัดชุมพร
2.2 เกิดการสนับสนุนพื้นที่เป้าหมาย ไม่น้อยกว่า 25 โครงการ ที่มีผลลัพธ์สอดคล้องกับผลลัพธ์ประเด็นยุทธศาสตร์ตามที่กำหนดไว้
2.3 โครงการย่อย ไม่น้อยกว่า 25 โครงการ สามารถดำเนินงานให้บรรลุตามผลลัพธ์ของโครงการกำหนดไว้ และสามารถส่งรายงานผลการดำเนินงานให้แก่หน่วยจัดการครบถ้วนตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อตกลง
2.4 จำนวนแกนนำโครงการย่อย ไม่น้อยกว่า 25 โครงการ (อย่างน้อยโครงการละ 3 คน) ที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 2.5 กลุ่มเป้าหมายจำนวน 1,250 คนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน หรือจำนวนสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงและเอื้อต่อสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายจากการดำเนินงานของ 25 โครงการ
2.6 เกิดความร่วมมือหรือการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานหรือภาคียุทธศาสตร์ในแต่ละประเด็น ที่จะขยายผลโมเดล/รูปแบบการดำเนินงานของพื้นที่ต้นแบบ เพื่อขยายผลหรือส่งต่อความสำเร็จให้มีผลกว้างขวางขึ้นในระดับจังหวัด 2.7 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณหรือทรัพยากรจากกองทุนสุขภาพท้องถิ่น และ/หรือภาคียุทธศาสตร์ อย่างน้อย 25 พื้นที่

3 เพื่อให้เกิดความร่วมมือ การเชื่อมต่อทรัพยากรและแหล่งทุนจากภาคียุทธศาสตร์ ในการแก้ไขปัญหาสุขภาวะของพื้นที่เพิ่มมากขึ้น และขยายผลเชิงนโยบายในระดับพื้นที่เขตสุขภาพ

3.1 มีพื้นที่การผลิตผักผลไม้ที่ปลอดภัย  อย่างน้อย 10%  ของพื้นที่เกษตรยั่งยืนที่เข้าร่วม
3.2 มีการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเกษตรสุขภาพ 3.3 มีการจัดการเชื่อมโยงตลาดอาหารปลอดภัย 3.4 เพิ่มรายได้ครัวเรือน อย่างน้อย 10 % จากรายได้เดิม 3.5 มีการพัฒนาหรือขยายผลรูปแบบการเกษตรและอาหารสุขภาพ 4 รูปแบบ/ระดับ (ระดับหมู่บ้าน ตำบล  อำเภอ เครือข่าย) อย่างน้อย 70% ของพื้นที่โครงการย่อย

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.พ. 65มี.ค. 65เม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66
1 ค่าดำเนินการ(1 ก.พ. 2022-31 ก.ค. 2023) 994,282.00                                    
2 ค่าสนับสนุนงบประมาณโครงการย่อย(1 ก.พ. 2022-31 ก.ค. 2023) 3,000,000.00                                    
3 ค่าบริหารจัดการโครงการ(29 ก.ค. 2022-31 ก.ค. 2023) 1,006,000.00                                    
รวม 5,000,282.00
1 ค่าดำเนินการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 1130 994,282.00 28 994,582.00
6 - 7 ก.พ. 65 1.1 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 25 36,580.00 36,580.00
18 - 19 ก.พ. 65 1.4.1 เข้าร่วมกิจกรรมกับทาง สน.๖ เวทีปฐมนิเทศโครงการเพื่อสร้างความเข้าใจ 6 13,966.00 13,966.00
7 มี.ค. 65 1.2.2 ประชุมเชิงปฎิบัติการพัฒนาศักยภาพการจัดทำข้อเสนอโครงการย่อยกับชุมชนเป้าหมาย (ต.บ้านควน) 47 11,965.00 11,965.00
9 มี.ค. 65 1.2.2 ประชุมเชิงปฎิบัติการพัฒนาศักยภาพการจัดทำข้อเสนอโครงการย่อยกับชุมชนเป้าหมาย (ต.ปากทรง) 16 5,870.00 5,870.00
12 มี.ค. 65 1.2.2 ประชุมเชิงปฎิบัติการพัฒนาศักยภาพการจัดทำข้อเสนอโครงการย่อยกับชุมชนเป้าหมาย (ต.นาชะอัง) 18 7,920.00 7,920.00
19 มี.ค. 65 1.2.2 ประชุมเชิงปฎิบัติการพัฒนาศักยภาพการจัดทำข้อเสนอโครงการย่อยกับชุมชนเป้าหมาย (ข้าวไร่นาชะอัง) 22 8,500.00 8,500.00
27 มี.ค. 65 1.2.2 ประชุมเชิงปฎิบัติการพัฒนาศักยภาพการจัดทำข้อเสนอโครงการย่อยกับชุมชนเป้าหมาย (ต.เขาค่าย) 16 4,992.00 4,992.00
28 มี.ค. 65 1.4 ประชุมเชิงปฎิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการ สสส. 85 62,540.00 62,540.00
9 เม.ย. 65 1.1ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 ผ่านระบบ ZOOM 14 4,500.00 4,200.00
24 เม.ย. 65 1.2.2 ประชุมเชิงปฎิบัติการพัฒนาศักยภาพการจัดทำข้อเสนอโครงการย่อยกับชุมชนเป้าหมาย (ต.ดขาทะลุ) 13 4,610.00 4,610.00
26 เม.ย. 65 1.1 ประชุมคณะทำงานและภาคีโครงการเพื่อเตรียมเวทีกลั่นกรองโครงการย่อย 80 35,900.00 35,900.00
27 เม.ย. 65 1.2.3 เวทีกลั่นกรองโครงการย่อยร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒืและภาคียุทธศาสตร์จังหวัดชุมพร 75 52,400.00 52,400.00
4 - 5 มิ.ย. 65 1.3 เวทีประชุมเชิงปฎิบัติการปฐมนิเทศโครงการย่อย Node Flagship Chumphon 115 71,324.00 71,324.00
10 - 12 ก.ค. 65 1.4.1 อบรมหลักสูตร SoFt Power กับการทำงานเพื่อพัฒนาชุมชน กับภาคี สน.6 2 5,200.00 5,200.00
30 ก.ค. 65 ประชุมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการย่อยด้านการบันทึกข้อมูล 60 36,020.00 36,020.00
16 ส.ค. 65 1.5.1 การดำเนินงานสนับสนุนพื้นที่ของทีมสนับสนุนวิชาการ ครั้งที่ ๑ 15 75,000.00 75,000.00
31 ต.ค. 65 1.5.2 ประชุมติดตามประเมินผลลัพธ์โครงการย่อย ARE 82 42,040.00 42,040.00
18 พ.ย. 65 1.1 ประชุมคณะทำงานเพื่อคืนข้อมูลผลการประเมินเบื้องต้น 25 12,800.00 12,800.00
29 - 30 พ.ย. 65 1.4.1 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าและบทเรียนระหว่างการดำเนินงานหน่วยจัดการระดับจังหวัด 6 22,336.00 22,336.00
10 - 11 มี.ค. 66 1.7 ประชุมถอดบทเรียนโมเดลหรือรูปแบบการดำเนินงานของพื้นที่ต้อนแบบ 7 รูปแบบ 2 ประเด็น 61 61,910.00 61,910.00
20 มี.ค. 66 1.6 ประชุมความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ของหน่วยจัดการระดับจังหวัดที่มีจุดเน้นสำคัญ 15 9,350.00 9,350.00
9 - 10 เม.ย. 66 1.5.2 ประชุมติดตามประเมินผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 2 80 64,694.00 64,694.00
10 เม.ย. 66 1.5.1 การดำเนินงานสนับสนุนพื้นที่ของทีมสนับสนุนวิชาการ ครั้งที่ 2 25 75,000.00 75,000.00
21 - 22 เม.ย. 66 1.6 ประชุมเชิงปฏิบัติการความร่วมมือกับภาคียุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน รวมถึงการขยายโมเดลรูปแบบการดำเนินงานของพื้นที่ต้นแบบ 75 87,030.00 87,030.00
27 พ.ค. 66 1.7 ประชุมถอดบทเรียนโมเดลหรือรูปแบบการดำเนินงานของพื้นที่ต้อนแบบ 7 รูปแบบ 2 ประเด็น 15 9,100.00 9,700.00
5 มิ.ย. 66 1.6 ประชุมความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ของหน่วยจัดการระดับจังหวัดที่มีจุดเน้นสำคัญ 21 15,400.00 15,400.00
24 - 25 มิ.ย. 66 1.1 ประชุมคณะทำงานและภาคีเครือข่ายเพื่อสรุปรูปแบบโมเดลการขับเคลื่อนงาน 91 82,335.00 82,335.00
20 ก.ค. 66 1.5.1 การดำเนินงานสนับสนุนพื้นที่ของทีมสนับสนุนวิชาการ ครั้งที่ 3 25 75,000.00 75,000.00
2 ค่าสนับสนุนงบประมาณโครงการย่อย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 75 3,000,000.00 3 3,000,000.00
12 ก.ค. 65 สนับสนุนงบประมาณตามแผนงานโครงการที่ผ่านการกลั่นกรองและอนุมัติโดยกรรมการ 25 1,200,000.00 1,200,000.00
18 ก.พ. 66 สนับสนุนงบประมาณตามแผนงานโครงการที่ผ่านการกลั่นกรองและอนุมัติโดยกรรมการ 25 1,649,000.00 1,649,000.00
10 ก.ค. 66 สนับสนุนงบประมาณตามแผนงานโครงการที่ผ่านการกลั่นกรองและอนุมัติโดยกรรมการ 25 151,000.00 151,000.00
3 ค่าบริหารจัดการโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 2060 1,006,000.00 60 1,006,000.00
28 ก.พ. 65 ค่าตอบแทนบุคลากรประจำโครงการ 4 45,000.00 45,000.00
28 ก.พ. 65 3.2 ค่าสาธารณูปโภค/วัสดุ-อุปกรณ์ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 65 2 6,000.00 6,000.00
28 ก.พ. 65 3.4 ค่าอินเตอร์เน็ต 0 1,000.00 1,000.00
30 มี.ค. 65 ค่าตอบแทนบุคลาการประจำโครงการ 4 45,000.00 45,000.00
30 มี.ค. 65 3.2 ค่าสาธารณูปโภค วัสดุ-อุปกรณ์ประจำเดือนมีนาคม 65 2 6,000.00 6,000.00
30 มี.ค. 65 3.4 ค่าอินเตอร์เน็ต 0 1,000.00 1,000.00
30 เม.ย. 65 ค่าตอบแทนบุคลาการประจำโครงการ 4 45,000.00 45,000.00
30 เม.ย. 65 3.2 ค่าสาธารณูปโภค วัสดุ-อุปกรณ์ประจำเดือนเมษายน 65 2 6,000.00 6,000.00
30 เม.ย. 65 3.4 ค่าอินเตอร์เน็ต 0 1,000.00 1,000.00
30 พ.ค. 65 ค่าตอบแทนบุคลาการประจำโครงการ 4 45,000.00 45,000.00
30 พ.ค. 65 3.2 ค่าสาธารณูปโภค วัสดุ-อุปกรณ์ประจำเดือนพฤษภาคม 65 2 6,000.00 6,000.00
30 พ.ค. 65 3.4 ค่าอินเตอร์เน็ตประจำเดือนพฤษภาคม 65 0 1,000.00 1,000.00
30 มิ.ย. 65 ค่าตอบแทนบุคลาการประจำโครงการ 4 45,000.00 45,000.00
30 มิ.ย. 65 3.2 ค่าสาธารณูปโภค วัสดุ-อุปกรณ์ประจำเดือนมิถุนายน 65 2 6,000.00 6,000.00
30 มิ.ย. 65 3.4 ค่าอินเตอร์เน็ต 0 1,000.00 1,000.00
30 ก.ค. 65 ค่าตอบแทนบุคลาการประจำโครงการ 4 45,000.00 45,000.00
30 ก.ค. 65 3.2 ค่าสาธารณูปโภค วัสดุ-อุปกรณ์ประจำเดือนกรกฎาคม 65 2 6,000.00 6,000.00
30 ก.ค. 65 3.4 ค่าอินเตอร์เน็ต 0 1,000.00 1,000.00
30 ส.ค. 65 ค่าตอบแทนบุคลาการประจำโครงการ 4 45,000.00 45,000.00
30 ส.ค. 65 3.2 ค่าสาธารณูปโภค วัสดุ-อุปกรณ์ประจำเดือนสิงหาคม 65 2 6,000.00 6,000.00
30 ส.ค. 65 3.4 ค่าอินเตอร์เน็ต 0 1,000.00 1,000.00
2 ก.ย. 65 3.2 ค่าจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ 500 4,750.00 4,750.00
30 ก.ย. 65 ค่าตอบแทนบุคลาการประจำโครงการ 4 45,000.00 45,000.00
30 ก.ย. 65 3.2 ค่าสาธารณูปโภค วัสดุ-อุปกรณ์ประจำเดือนกันยายน 65 2 6,000.00 6,000.00
30 ก.ย. 65 3.4 ค่าอินเตอร์เน็ต 0 1,000.00 1,000.00
30 ก.ย. 65 3.2 ค่าสาธารณูปโภค วัสดุ-อุปกรณ์ 2 6,000.00 6,000.00
30 ก.ย. 65 3.1 ค่าตอบแทนบุคลาการประจำโครงการ 4 45,000.00 45,000.00
21 - 22 ต.ค. 65 3.2 ค่าจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ 500 4,750.00 4,750.00
30 ต.ค. 65 3.4 ค่าอินเตอร์เน็ต 15 1,000.00 1,000.00
30 ต.ค. 65 3.2 ค่าสาธารณูปโภค วัสดุ-อุปกรณ์ 2 6,000.00 6,000.00
30 ต.ค. 65 3.1 ค่าตอบแทนบุคลาการประจำโครงการ 4 45,000.00 45,000.00
30 พ.ย. 65 3.4 ค่าอินเตอร์เน็ต 15 1,000.00 1,000.00
30 พ.ย. 65 3.2 ค่าสาธารณูปโภค วัสดุ-อุปกรณ์ 2 6,000.00 6,000.00
30 พ.ย. 65 3.1 ค่าตอบแทนบุคลาการประจำโครงการ 2 45,000.00 45,000.00
30 ธ.ค. 65 3.4 ค่าอินเตอร์เน็ต 15 1,000.00 1,000.00
30 ธ.ค. 65 3.2 ค่าสาธารณูปโภค วัสดุ-อุปกรณ์ 2 6,000.00 6,000.00
30 ธ.ค. 65 3.1 ค่าตอบแทนบุคลาการประจำโครงการ 4 45,000.00 45,000.00
28 ม.ค. 66 3.2 ค่าจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ 500 4,750.00 4,750.00
30 ม.ค. 66 3.4 ค่าอินเตอร์เน็ต 15 1,000.00 1,000.00
30 ม.ค. 66 3.2 ค่าสาธารณูปโภค วัสดุ-อุปกรณ์ 2 6,000.00 6,000.00
30 ม.ค. 66 3.1 ค่าตอบแทนบุคลาการประจำโครงการ 4 45,000.00 45,000.00
28 ก.พ. 66 3.4 ค่าอินเตอร์เน็ต 15 1,000.00 1,000.00
28 ก.พ. 66 3.2 ค่าสาธารณูปโภค วัสดุ-อุปกรณ์ 2 6,000.00 6,000.00
28 ก.พ. 66 3.1 ค่าตอบแทนบุคลาการประจำโครงการ 2 45,000.00 45,000.00
30 มี.ค. 66 3.4 ค่าอินเตอร์เน็ต 15 1,000.00 1,000.00
30 มี.ค. 66 3.2 ค่าสาธารณูปโภค วัสดุ-อุปกรณ์ 2 6,000.00 6,000.00
30 มี.ค. 66 3.1 ค่าตอบแทนบุคลาการประจำโครงการ 4 45,000.00 45,000.00
30 เม.ย. 66 3.4 ค่าอินเตอร์เน็ต 15 1,000.00 1,000.00
30 เม.ย. 66 3.2 ค่าสาธารณูปโภค วัสดุ-อุปกรณ์ 2 6,000.00 6,000.00
30 เม.ย. 66 3.1 ค่าตอบแทนบุคลาการประจำโครงการ 4 45,000.00 45,000.00
30 พ.ค. 66 3.4 ค่าอินเตอร์เน็ต 15 1,000.00 1,000.00
30 พ.ค. 66 3.2 ค่าสาธารณูปโภค วัสดุ-อุปกรณ์ 2 6,000.00 6,000.00
30 พ.ค. 66 3.1 ค่าตอบแทนบุคลาการประจำโครงการ 4 45,000.00 45,000.00
30 มิ.ย. 66 3.4 ค่าอินเตอร์เน็ต 15 1,000.00 1,000.00
30 มิ.ย. 66 3.2 ค่าสาธารณูปโภค วัสดุ-อุปกรณ์ 2 6,000.00 6,000.00
30 มิ.ย. 66 3.1 ค่าตอบแทนบุคลาการประจำโครงการ 4 45,000.00 45,000.00
27 ก.ค. 66 3.2 ค่าจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ 300 4,750.00 4,750.00
30 ก.ค. 66 3.4 ค่าอินเตอร์เน็ต 15 1,000.00 1,000.00
30 ก.ค. 66 3.2 ค่าสาธารณูปโภค วัสดุ-อุปกรณ์ 2 6,000.00 6,000.00
30 ก.ค. 66 3.1 ค่าตอบแทนบุคลาการประจำโครงการ 4 45,000.00 45,000.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

15.1 หน่วยประสานจัดการระดับจังหวัดชุมพรที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) มีขีดความสามารถในการประสานความร่วมมือกับภาคีต่างๆ และบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่ 15.2 มีพื้นที่ปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมหรือต้นแบบ ในประเด็นระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ จนเกิดผลลัพธ์:โดยเพิ่มพื้นที่การผลิตผักผลไม้ปลอดภัยและรายได้ครัวเรือน อย่างน้อย 10 % ของครัวเรือนเป้าหมาย (3,200 ไร่) และกลุ่มเป้าหมายมีคุณภาพชีวิตดี ด้วยการลดอัตราเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง 10% ของประชากรกลุ่มเสี่ยง (อายุ 35 ปีขึ้นไป) รวมทั้งหมดอย่างน้อย 25 พื้นที่ ได้รับความร่วมมือจากภาคีหลายภาคส่วนในจังหวัด 15.3 พื้นที่ปฏิบัติการได้รับการสนับสนุนงบประมาณหรือทรัพยากรในการสร้างเสริมสุขภาวะ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น หรือภาคียุทธศาสตร์ อย่างน้อย 10 พื้นที่ 15.4 เกิดเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาวะ อย่างน้อย 2 เครือข่ายคือเครือข่ายเกษตรสุขภาพ และเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต 15.5 ได้ข้อมูลผลลัพธ์ประเด็นสุขภาวะ และบทเรียนความรู้ รูปแบบการดำเนิน 7 รูปแบบ ที่สามารถใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการขับเคลื่อน และขยายผลในระดับจังหวัด และระดับพื้นที่เขตสุขภาพและพื้นที่ภาคใต้ผ่านเวทีสร้างสุขภาคใต้ 15.6 เกิดผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระดับโครงการย่อย จำนวน 125 คน และมีแกนนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 1,250 คน

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2020 09:57 น.