stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมอาชีพ บ้านกาโต
ภายใต้โครงการ โครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้
ภายใต้องค์กร Node โควิค ภาคใต้
รหัสโครงการ 64-00214-0011
วันที่อนุมัติ 12 เมษายน 2021
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 เมษายน 2021 - 31 มกราคม 2022
งบประมาณ 70,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะรูดิง สือรี
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางกัลยา เอี่ยวสกุล
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 12 เม.ย. 2021 31 ส.ค. 2021 12 เม.ย. 2021 31 ส.ค. 2021 40,000.00
2 1 ก.ย. 2021 30 พ.ย. 2022 1 ก.ย. 2021 31 ม.ค. 2023 25,000.00
3 1 ธ.ค. 2021 31 ม.ค. 2022 5,000.00
รวมงบประมาณ 70,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บ้านม่วงเงิน หมู่ที่ 4 บ้านม่วงเงิน มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 130 ครัวเรือน จำนวนประชากรทั้งหมด 342 คน เป็นชาย 166 คนหญิง 176 คน จากการวิเคราะห์ต้นไม้ของแกนนำชุม คณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน พบประเด็นปัญหา 4 ปัญหา ดังนี้ 1.ปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย 2.ปัญหาเด็กไม่ได้รับการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์ 3.ปัญหายาเสพติด 4.ปัญหาความไม่ร่วมมือของคนในชุมชน  และร่วมกันจัดทำต้นไม้ปัญหาเพื่อวืเคราะห์หาสาเหตุแลผลกระทบของปัญหาในแต่ละประเด็น พร้อมได้ร่วมกันลงมติเลือกประเด็นปัญหาเพื่อจัดทำโครงการแก้ปัญหาของบ้านม่วงเงิน โดยแกนนำชุมชนซึ่งรวมกันเรียกว่า สภาผู้นำชุมชนบ้านม่วงเงิน เลือกประเด็นปัญหา รายได้ไม่พอกับรายจ่ายเป็นปัญหาใหญ่ของชุมชน ชุมชนมีภาระหนี้สิน พึ่งตนเองไม่ได้ ทำให้ชุมชนเลือกที่จะดำเนินการโครงการในการแก้ไขปัญหารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย สร้างอาชีพเสริมให้คนในชุมชนมีรายได้ที่เพียงพอกับการยังชีพและใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ชุมชนบ้านม่วงเงิน มีครัวเรือนจำนวน130 ครัวเรือนประกอบอาชีพกรีดยาง ซึ่งเป็นรายได้ที่ไม่แน่นอนช่วงฤดูฝนก็ไม่สามารถกรีดยาง วันไหนฝนตกก็ไม่มีรายได้ แต่รายจ่ายต้องจ่ายทุกวัน ทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจในครัวเรือน ที่ปัจจุบันคนในชุมชนมีปัญหาหนี้สินสินเพิ่มขึ้น จาการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช่น ด้านอาหาร ค่าเล่าเรียนบุตร สินค้าอุปโภคบริโภคและอุปกรณ์สื่อสารเช่น ค่าโทรศัพท์มือถือ ค่าผ่อน รถ ค่าอาหารลูกไปโรงเรียน ค่าอาหารในครอบครัว รายได้จากการกรีดยางอย่างเดียวไม่เพียงพอ เนื่องเศรษฐกิจตกต่ำรายได้จากการกรีดยางครอบครัวละวันละ500-600 บาท รายได้เฉพาะจากการกรีดยางส่วนรายได้เสริมไม่มี  ทำให้เกิดภาวะรายได้ต่ำ รายได้ไม่พอกับรายจ่าย เกิดภาวะหนี้สินที่มา  จากการกู้ยืมในระบบเช่น กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเล่นแชร์ในชุมชนทำให้ครอบครัวขาดความมั่นคง ประกอบค่านิยม "ซื้อทุกอย่างที่อยากกินกินทุกอย่างต้องซื้อ" บางครอบครัวออกไปทำงานนอกชุมชน ไปทำงานประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้เกิดช่องว่างความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและชุมชน รายได้ต่ำ ค่าครองชีพสูงทำให้ไม่สามารถส่งลูกเรียนหนังสือได้ บุตรหลานออกจากโรงเรียน ทำให้เป็นปัญหากับชุมชน ลักเล็กขโมยน้อย เยาวชนกินน้ำกระท่อม เป็นปัญหาของชุมชน ครอบครัวและชุมชนจะมีความสุขได้นั้น คนในชุมชนต้องมีอาชีพมั่นคง มีรายได้ที่พอเพียงในการยังชีพ มีความเป็นอยู่ดี ทั้งรายได้และความมั่นคงในการประกอบชีพ ในที่ประชุมคณะกรรมการสภาผุ้นำชุมชนจึงได้เสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน กล่าวคือ การสร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายและการออมเงิน เพิ่มสร้างความมั่นคงในชีวิต และเป็นชุมชนที่จัดการตนเองได้โดยใช้ทรัพยากรทั้งคนในชุมชน หน่ยวงานในท้องถิ่น ตลอดจนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในชุมชน นำหลักการทางศาสนาอิสลามความพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน ดังคำกล่าว พอดีเพียงพอดีนำไปสู่ชีวิตที่เป็นสุข อนึ่ง สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในขนะนี้เป็นวิกฤตที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่มีประเทศใดในโลก คาดการณ์และเตรียมที่จะรับมือกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้ออย่างรวดเร็ว หลายประเทศมีมาตรการต่างๆ เพื่อ ชะลอการระบาด เช่น การไม่รับผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง การมีมาตรการกักกันบริเวณของบุคคลกลุ่มเสี่ยง อย่างไรก็ดี มาตรการที่หลายๆ ประเทศใช่ร่วมกับมาตรการอื่น ๆ คือ การล็อคดาวน์ ซึ่งเป็นการระงับกิจกรรมหลาย ประเภทที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสทันที เพื่อจำกัดการเคลื่อนที่ของกลุ่มคนและลดการ สัมผัสใกล้ชิด องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) แสดงความเป็นห่วงต่อภาวะความไม่มั่นคงทาง อาหาร ซึ่งมีอยู่แล้วแต่เดิมในหลายประเทศ แต่ผลกระทบจากโควิด-19 จะซ้ำเติมให้ภาวะนี้รุนแรงมากขึ้นเกือบเท่าตัว จะมีผู้คน 265 ล้านคนที่เสี่ยงอดอยากขาดแคลนอาหาร ทั้งนี้เหตุการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมและอาหาร 3 ระยะ ได้แก่ 1) ในช่วงระยะแรกที่เกิดจากความตื่นตระหนก จะส่งผลทำให้เกิดการสะสมเสบียงและกักตุนอาหาร 2) ช่วงระยะกลาง จะกินเวลาตั้งแต่การล็อคดาวน์ ไปจนกว่าจะสามารถควบคุมการระบาดได้ จะทำให้เกิดปัญหาตลอดห่วงโซ่ของระบบ อาหาร ตั้งแต่การผลิต โรงงานแปรรูป การขาดแคลนแรงงาน หรือมาตรการกักกันโรคส่งผลกระทบต่อการทำงาน และ การขนส่งและกระจายผลิตผล ไปจนถึงผู้บริโภคไม่สามารถเดินทางได้โดยสะดวก
การมีอาหารไม่หลากหลาย ในขณะที่ ผู้มีรายได้น้อยและคนตกงานไม่มีเงินพอที่จะซื้อหาอาหารได้อย่างเพียงพอ 3) ช่วงระยะยาวที่เกิดขึ้นจากสภาวะ เศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งจะเกิดขึ้นทั้งในระดับประเทศและระดับโลก และผู้ที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ คนยากจนและผู้ มีรายได้น้อย ธนาคารแห่งประเทศไทย ประเมินตัวเลขคนตกงาน ว่ามีเกือบ 8 แสนคน และมีคนที่มีโอกาสได้ทำงาน แต่ทำงานน้อยลงสัปดาห์ละไม่เกิน 10 ชั่วโมง ซึ่งเป็นผู้มีรายได้ลดลง อีกประมาณกว่า 2 ล้านคน เท่ากับว่า คนจน คน ตกงาน คนรายได้น้อย อาจมีรวมถึง 7 ล้านคน หรือคิดเป็น 10 % ของประชากรทั้งหมด เมื่อรายได้ลดลง ย่อมกระทบ ต่อปากท้อง การเข้าถึงอาหาร เพราะกว่าครึ่งของรายได้ที่หนึ่งครัวเรือนหามาได้ คือ ค่าอาหาร ชุมชนบ้านกาโต เป็นอีกชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโค วิด-19 ระบาด มีสมาชิกในชุมชนได้รับผลโดยตรง5ครัวเรือนและโดยอ้อมหลายครอบครัวไม่สามารถไปประกอบอาชีพ ได้เนื่องจากบางพื้นที่ไม่อนุญาติให้คนนอกเข้าพื้นที่ จากการสำรวจผู้ที่ได้รับผลกระทบใน ชุมชนฯ เบืองต้นพบว่า หลายรายในหลากหลายอาชีพได้แก่ กรีดยาง ทำนา ก่อสร้าง ร้านต้มยำ ลูกจ้างต่างๆได้รับผลกระทบจากการระบาทของโควิด ทำให้ราคายาง ข้าวเปลือกตกต่ำจำนวนครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ 60 ครัวเรือน ส่งผลทำให้ครอบครัวสมาชิกขาดรายได้หลัก ไม่เพียงพอในการดูแลครอบครัว อีกทั้งยังมีคนว่างงานจากการประกอบอาชีพในประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน 5 ครัวเรือน เดิมมีรายได้ เดือนละ 15,000 บาทซึ้งทำให้ปัจจุบันขาดรายได้เนื่องจากไม่สามารถไปประกอบอาชีพได้จึงทำให้เกิดรายจ่ายมากกว่ารายรับ และมีหนี้สินต่างๆได้แก่ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าเทอมลูก และหนี้นอกระบบ ทำให้ส่งผลด้านสังคมต่อเนื่องเป็นลูกโซ จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการชุมชนบ้านกาโต เห็นว่าโครงการส่งเสริมอาชีพ บ้านกาโต เป็นโครงการที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ไม่ควรออกจากพื้นที่ เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคโควิค 19 ประสบปัญหาอยู่ ณ ขณะนี้    และทางชุมชนมีต้นทุนเรื่องเครื่องจักรและอาจารย์ที่จะสอนทำกระเป๋าได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และเพิ่มรายได้แก่ครัวเรือนและยังสามารถประกอบเป็นอาชีพหลักในครอบครัวได้ ดังนั้น คณะกรรมการ ชุมชนฯ จึงประสงค์ขอสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดทำโครงการส่งเสริมอาชีพ บ้านกาโต” ชุมชนบ้านกาโตเพื่อส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนเกิดการร่วมตัวกัน พัฒนาฝีมือและเสริมอาชีพ เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ครัวเรือน พัฒนาต่อยอดให้เป็นสินค้า otop ของชุมชนฯ

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 551 70,000.00 25 66,300.00
12 - 13 เม.ย. 64 งบ สสส. สนับสนุน (เวทีปฐมนิเทศโครงการ) 3 0.00 800.00
20 เม.ย. 64 งบ สสส. สนับสนุน (ค่าจัดทำป้ายโครงการและจัดทำป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่) 1 1,500.00 1,500.00
24 เม.ย. 64 กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานและเก็บข้อมูล ครั้งที่ 1 30 0.00 1,000.00
12 พ.ค. 64 กิจกรรมที่ 2 อบรมทักษะการเงินการจัดการหนี้ 30 7,000.00 6,600.00
25 พ.ค. 64 สำรวจข้อมูลครั้ง1 30 0.00 -
9 มิ.ย. 64 กิจกรรมที่ 3 อบรมทักษะการจัดการโควิค-19 ในชุมชน ครั้งที่ 1 30 0.00 6,600.00
10 มิ.ย. 64 กิจกรรมที่ 3 ฝึกปฏิบัติการการเผชิญโควิค-19 ในชุมชน ครั้งที่ 2 30 13,500.00 6,600.00
12 มิ.ย. 64 กิจกรรมที่ 4 การจัดทำบัญชีครัวเรือน 30 7,000.00 6,600.00
16 มิ.ย. 64 งบ สสส. สนับสนุน (ไปหาพี่เลี้ยง ครั้งที่ 1) 0 0.00 507.00
17 มิ.ย. 64 กิจกรรมที่ 6 จัดตั้งกลุ่มอาชีพการทำกระเป๋า (ติดตามการดำเนินงาน ครั้งที่ 1) 30 0.00 750.00
15 ก.ค. 64 กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานและเก็บข้อมูล ครั้งที่ 2 30 2,000.00 1,000.00
16 ก.ค. 64 กิจกรรมที่ 5 ฝึกทักษะการทำอาชีพ (กระเป๋าสุภาพสตรี) 30 12,500.00 12,150.00
16 ก.ค. 64 สำรวจข้อมูลครั้งที่2 30 0.00 -
22 ส.ค. 64 ติดตามความก้าวหน้า ARE ครั้ง 1 30 0.00 750.00
10 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 8 ฝึกทักษะการตลาดและเพิ่มช่องทางการสื่อสารผลิตภัณฑ์ 30 7,000.00 6,600.00
15 ก.ย. 64 งบ สสส. สนับสนุน (ไปหาพี่เลี้ยง ครั้งที่ 2) 2 0.00 507.00
19 ก.ย. 64 นำเสนอความก้าวหน้าและผลลัพธ์โครงการ (ผ่านระบบออนไลน์) 2 0.00 500.00
7 ต.ค. 64 งบ สสส. สนับสนุน (ไปหาพี่เลี้ยง ครั้งที่ 3) 0 0.00 507.00
30 ต.ค. 64 กิจกรรมที่ 6 จัดตั้งกลุ่มอาชีพการทำกระเป๋า (ติดตามการดำเนินงาน ครั้งที่ 2) 30 2,000.00 750.00
25 พ.ย. 64 สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 3 30 0.00 0.00
20 ธ.ค. 64 กิจกรรมที่ 6 จัดตั้งกลุ่มอาชีพการทำกระเป๋า (ติดตามการดำเนินงาน ครั้งที่ 3) 30 1,000.00 750.00
24 ธ.ค. 64 กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 30 1,000.00 1,000.00
26 ธ.ค. 64 งบ สสส. สนับสนุน (เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสังเคราะห์บทเรียนและเขียนรายงานปิดโครงการ) 2 8,500.00 1,972.00
28 ธ.ค. 64 งบ สสส. สนับสนุน (ไปหาพี่เลี้ยง ครั้งที่ 4) 0 0.00 507.00
27 ม.ค. 65 กิจกรรมที่ 8 เวทีถอดบทเรียน 30 7,000.00 7,100.00
28 ม.ค. 65 ติดตามความก้าวหน้า ARE ครั้ง 2 30 0.00 750.00
30 ม.ค. 65 งบ สสส.สนับสนุน (กิจกรรมทำรายงานฉบับสมบูรณ์) 1 0.00 500.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2021 14:40 น.