directions_run

เพิ่มและขยายแหล่งผลิตอาหารชุมชนบ้านทุ่ง ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เพิ่มและขยายแหล่งผลิตอาหารชุมชนบ้านทุ่ง ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ภายใต้โครงการ โครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้
ภายใต้องค์กร Node โควิค ภาคใต้
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ 12 เมษายน 2021
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 เมษายน 2021 - 31 มกราคม 2022
งบประมาณ 70,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเจนฤทธิ์ รอเกตุ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางนฤมล ฮะอุรา
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 12 เม.ย. 2021 31 ส.ค. 2021 12 เม.ย. 2021 31 ส.ค. 2021 40,000.00
2 1 ก.ย. 2021 30 พ.ย. 2021 1 ก.ย. 2021 31 ม.ค. 2022 25,000.00
3 1 ม.ค. 2022 31 ม.ค. 2022 5,000.00
รวมงบประมาณ 70,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID – 19) มีแนวโน้มการแพร่ระบาดที่เพิ่มมากขึ้น และประเทศไทยอาจเข้าสู่การระบาดในระยะที่ 3 โดยองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคดังกล่าวเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ จึงได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID – 19) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID – 19) ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลก เปรียบได้กับการทำสงครามโลกครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นสงครามระหว่างคนกับไวรัส คู่ต่อสู้ที่จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น และปราศจากรูปแบบการรบตามตำราที่ผ่านมา หากผลกระทบที่รุนแรงที่สุดที่เกิดขึ้นในช่วงแรก คือ การบริการสุขภาพที่ต้องปรับตัว ไม่เพียงแค่การดูแลรักษาสำหรับโควิด-19 หากระบบสุขภาพทั้งมวลกลับต้องเปลี่ยนแนวทางการบริการ เนื่องจากเกิดข้อจำกัดต่าง ๆ เช่น การอยู่บ้าน การเว้นระยะห่างทางกายภาพ  อีกทั้งมีผลกระทบต่อเนื่องถึงวิถีการดำเนินชีวิตประจำวัน การทำงานของประชาชนทุกคนอย่างเลี่ยงไม่ได้ ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมและอาหาร มีการกักตุนอาหาร ร้านค้า ร้านอาหาร ตลาด ปิดให้บริการ โรงงานหยุดประกอบกิจการ การขาดแคลนแรงงาน ประชาชนตกงาน มาตรการกักกันโรคส่งผลกระทบต่อการทำงาน และการขนส่งและกระจายผลิตผล ไปจนถึงผู้บริโภคไม่สามารถเดินทางได้โดยสะดวก การมีอาหารไม่หลากหลาย ในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยและคนตกงานไม่มีเงินพอที่จะซื้อหาอาหารได้อย่างเพียงพอ ไม่สามารถเดินทางกลับภูมิลำเนาหรือเดินทางออกนอกพื้นที่ได้อย่างสะดวก และชุมชนก็ไม่ได้เตรียมตัว ไม่ปรับตัว จนเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ระลอก 2 ในสภาวการณ์เช่นนี้ พวกเราทุกคนต้องเรียนรู้ในการปรับตัวและวางแผนต่าง ๆ ให้ทันต่อเหตุการณ์ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ทุกคนจะสามารถปรับตัวได้ สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจะช่วยให้เราได้โอกาสในการเตรียมตัวรับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ชุมชนบ้านทุ่ง หมู่ที่ 5 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยชุมชนบ้านทุ่ง 275 ครัวเรือน มีประชากร จำนวน 1,015 คน เพศชาย 507 เพศหญิง 508 ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 95 ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ร้อยละ 80 อาชีพค้าขาย ร้อยละ 15 และอาชีพอื่นๆร้อยละ 5 ชุมชนบ้านทุ่งเป็นอีกหนึ่งชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) โดยตั้งแต่ต้นปี 2564 มีประชากรในหมู่บ้านกลับมาจากมาเลย์เซียจำนวน 18 คน จาก 18 ครัวเรือน การจัดการด้านอาหารของชุมชน ประชาชนในชุมชนมีการปลูกผัก เลี้ยงปลาดุกในบ่อดินและบ่อซิเมนต์ เลี่ยงไก่พื้นเมือง เลี้ยงเป็ด เลี้ยงวัว เลี้ยงแพะ เพื่อบริโภคและจำหน่ายแก่หมู่บ้านใกล้เคียงและส่งขายในตลาดสดในตัวเมืองละงู หลังจากการระบาดของโรคของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ระลอกแรกคลี่คลาย ประชาชนยังคงใช้ชีวิตเหมือนเดิม ไม่มีการปรับเปลี่ยนและเตรียมพร้อมในการดำรงชีวิตหากมีการระบาดระลอกใหม่ขึ้นมา จนกระทั้งมีการระบาดระลอก 2 ทำให้ชุมชนเกิดความตระหนัก ให้ความสำคัญในการจัดการ การดำรงชีวิตประจำวัน การจัดการด้านอาหารที่มีอยู่ในชุมชน จึงมีความคิดที่จะจัดการให้ชุมชนและครัวเรือนมีอาหารในการดำรงชีวิตอย่างเพียงพอ ไม่ต้องพึ่งพาสังคมภายนอก เมื่อชุมชนบ้านทุ่งมีทรัพยากรในการดำรงชีวิตในชุมชนอยู่แล้ว ภาคีเครือข่ายเข้มแข็ง มีการรวมกลุ่มต่างๆมากมาย เช่น กลุ่มแม่อาสา กลุ่มขนมพื้นบ้าน กลุ่มเลี้ยงปลาดุก กลุ่มน้ำยาง กลุ่มรักสุขภาพ กลุ่มเยาวชนและกลุ่มสวัสดิการชุมชน มีตลาดนัดในชุมชน มีร้านชำ ร้านอาหาร และมีพื้นที่ในการประกอบอาชีพอย่างเพียงพอแต่ชุมชนยังไม่การบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให้มีประสิทธิภาพ ยังคงมีการใช้สารเคมีในการประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม มีการเลี้ยงสัตว์ที่ปล่อยให้เติบโตเองตามธรรมชาติ ไม่มีการจัดการเกี่ยวกับขยะและมูลสัตว์ ไม่มีการแปรรูปอาหารที่มีอยู่ในชุมชนเพื่อใช้บริโภคและจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน
คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอละงู และคณะการหมู่บ้านชุมชนบ้านทุ่ง จึงมีแนวคิดที่จะให้ชุมชนมีการจัดการด้านอาชีพ รายได้และความมั่นคงด้านอาหาร เป็นแหล่งอาหารทั้งการปลูกพืชผักสวนครัว การเลี้ยงสัตว์ การแปรรูปอาหารและเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้น พชอ.ละงู จึงประสงค์ขอสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดทำโครงการ เพิ่มและขยายแหล่งผลิตอาหารชุมชนบ้านทุ่ง ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนเกิดการรวมตัวกันพัฒนา ปลูกผักสวนครัวชุมชน เลี้ยงสัตว์ผลผลิตที่ได้นำมาแบ่งปันหรือจำหน่ายในราคาถูกและแปรรูปอาหารเพื่อเก็บไว้บริโภคและจำหน่าย เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายครัวเรือน พัฒนาต่อยอดตลาดปันสุขชุมชน เพื่อเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายพืชผักสวนครัวของชุมชน ช่วยส่งเสริมความร่วมมือและสร้างความสามัคคีในชุมชนต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอละงู และคณะการหมู่บ้านชุมชนบ้านทุ่ง จึงมีแนวคิดที่จะให้ชุมชนมีการจัดการด้านอาชีพ รายได้และความมั่นคงด้านอาหาร เป็นแหล่งอาหารทั้งการปลูกพืชผักสวนครัว การเลี้ยงสัตว์ การแปรรูปอาหารและเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้น พชอ.ละงู จึงประสงค์ขอสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดทำโครงการ เพิ่มและขยายแหล่งผลิตอาหารชุมชนบ้านทุ่ง ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนเกิดการรวมตัวกันพัฒนา ปลูกผักสวนครัวชุมชน เลี้ยงสัตว์ผลผลิตที่ได้นำมาแบ่งปันหรือจำหน่ายในราคาถูกและแปรรูปอาหารเพื่อเก็บไว้บริโภคและจำหน่าย เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายครัวเรือน พัฒนาต่อยอดตลาดปันสุขชุมชน เพื่อเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายพืชผักสวนครัวของชุมชน ช่วยส่งเสริมความร่วมมือและสร้างความสามัคคีในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาด โควิด 19

1.1 เกิดคณะทำงานที่ประกอบไปด้วยกรรมการ พชอ. ผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ และกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเกษตรเกษตรกร จิตอาสา จำนวน 20 คน 1.2 คณะทำงานมีการจัดโครงสร้าง แบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงานชัดเจน ตลอดจนมีแผนการทำงาน 1.3 เกิดข้อตกลงร่วมของคณะทำงาน
1.4 คณะทำงานมีข้อมูลของแหล่งอาหารในชุมชน

0.00
2 2. เพื่อสนับสนุนการสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชน

2.1 มีกติกาชุมชนในการกำหนดพื้นที่ใหม่ผลิตอาหาร พื้นที่ขยายการผลิตอาหาร 2.2 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้การเงิน สุขภาพ สังคม เพิ่มขึ้น มีการป้องกันตนเองทุกครั้งเมื่อออกนอกบ้านและเข้าสังคม 2.3 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้ 2.4 เกิดแหล่งผลิตอาหารใหม่ 15 ครัวเรือน ขยายแหล่งผลิตเดิม 15 ครัวเรือน 3.1 ครัวเรือนในชุมชนเข้าถึงอาหารปลอดภัย 200 ครัวเรือน 3.2 เกิดตลาดแลกเปลี่ยนอาหารปลอดภัย 1 แห่ง 3.3 เกิดเวทีแลกเปลี่ยนกลุ่มผลิตอาหาร 2 ครั้ง 4.1 มีฐานข้อมูลแหล่งผลิตอาหารของชุมชนทั้งระบบ

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากโควิท 30 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 335 61,210.00 16 61,210.00
11 เม.ย. 64 ปฐมนิเทศโครงการ 2 2,772.00 2,772.00
20 เม.ย. 64 เวทีชี้แจงโครงการ จัดตั้งคณะทำงานสำรวจข้อมูล และกำหนดแหล่งผลิต 50 6,700.00 6,700.00
2 พ.ค. 64 พบพี่เลี้ยงเพื่อรวบรวมข้อมูลก่อนดำเนินโครงการ 3 300.00 300.00
22 พ.ค. 64 อบรมการปลูกผัก เลี้ยงตามวิถีเดิมให้ครัวเรือน 1/2 35 13,050.00 13,050.00
29 พ.ค. 64 อบรมการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ตามวิถีเดิมให้ครัวเรือน 2/2 35 5,550.00 5,550.00
12 มิ.ย. 64 การอบรมทักษะการเงิน บัญชีครัวเรือนสุขภาพ สังคม 40 8,650.00 8,650.00
27 มิ.ย. 64 จัดการช่องทางการตลาด 35 4,550.00 4,550.00
10 ก.ย. 64 ประชุมคณะทำงาน การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 6/9 15 750.00 750.00
17 ก.ย. 64 ถอดเงินเปิดบัญชี 1 500.00 500.00
25 ก.ย. 64 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มผลิตอาหาร 2/2 17 2,210.00 2,210.00
2 ต.ค. 64 ประชุมคณะทำงาน การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 7/9 15 750.00 750.00
16 ต.ค. 64 เวทีถอดบทเรียน 50 9,700.00 9,700.00
6 พ.ย. 64 ประชุมคณะทำงาน การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 8/9 15 750.00 750.00
4 ธ.ค. 64 ประชุมคณะทำงาน การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 9/9 15 750.00 750.00
5 ธ.ค. 64 กิจกรรมทำรายงานฉบับสมบูรณ์ 1 ฉบับ 5 500.00 500.00
24 - 26 ธ.ค. 64 เวทีสรุปผลและถอดบทเรียนโครงการร่วมกับโหนด 2 3,728.00 3,728.00
15 เม.ย. 64 กิจกรรมทำป้ายโครงการและรณรงค์สถานที่ปลอดบุหรี่ 2 1,500.00 1,500.00
14 2,700.00 5 2,700.00
30 พ.ค. 64 พบพี่เลี้ยงเพื่อกำหนดเนื้อหาการอบรม 3 300.00 300.00
31 ก.ค. 64 พบพี่เลี้ยงเพื่อสรุปผลการทำงาน 3 300.00 300.00
29 ส.ค. 64 พบพี่เลี้ยงเพื่อ ARE ครั้งที่ 1 3 300.00 300.00
25 ธ.ค. 64 พบพี่เลี้ยงเพื่อ ARE ครั้งที่ 2 3 300.00 300.00
30 เม.ย. 64 ประชุมคณะทำงาน การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 1/9 15 1,250.00 1,250.00
75 4,250.00 5 4,250.00
16 พ.ค. 64 ประชุมคณะทำงาน การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 2/9 15 750.00 750.00
19 มิ.ย. 64 ประชุมคณะทำงาน การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 3/9 15 750.00 750.00
10 ก.ค. 64 ประชุมคณะทำงาน การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 4/9 15 750.00 750.00
8 ส.ค. 64 ประชุมคณะทำงาน การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน 5/9 15 750.00 750.00
25 ก.ค. 64 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มผลิตอาหาร 1/2 18 2,340.00 2,340.00
18 2,340.00 1 2,340.00
  1. เวทีชี้แจงโครงการ จัดตั้งคณะทำงาน สำรวจข้อมูล และกำหนดแหล่งผลิต -พชอ.ละงูจัดประชุมแกนนำครัวเรือนและประชาชนในพื้นที่ ใช้เวลา 1 วัน -ภาคเช้า ชี้แจงที่มา วัตถุประสงค์โครงการ กิจกรรมโครงการ รับสมัครครัวเรือนแกนนำ 30 ครัวเรือน ในการเป็นแหล่งผลิตอาหารใหม่/ขยายฐานการผลิตเดิมสร้างข้อตกลงกลุ่ม
    -ภาคบ่าย คัดเลือกคณะทำงาน กำหนดโครงสร้างบทบาทหน้าที่ สำรวจข้อมูลการผลิตอาหารที่มีอยู่เดิม กำหนดพื้นที่ ชนิดในการผลิตอาหาร ใหม่และเพิ่มเติม
  2. การอบรมทักษะการเงิน บัญชีครัวเรือน สุขภาพ สังคม -คณะทำงานจัดการอบรมแกนนำครัวเรือน โดยเชิญวิทยากรจาก ธกส. สสอ.ละงู และ พมจ.สตูล มาให้ความรู้เรื่อง 1)การทำบัญชีครัวเรือน การจัดการเงินในครัวเรือน วิเคราะห์สถานการณ์การเงินของครัวเรือนตนเอง 2)การรักษาสุขภาพและป้องกันโควิท 19
    3)การสนับสนุนของ พมจ.ต่อชุมชนท้องถิ่น
  3. อบรมการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ตามวิถีเดิมให้ครัวเรือน -คณะทำงานจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เน้นการผลิตอาหารที่ปลอดภัย โดยจัดกลุ่มครัวเรือนที่สนใจไปเรียนรู้แหล่งผลิตอาหารในชุมชน จำนวน 3 ครั้ง ได้แก่ ไก่ไข่ ปลาดุก ปลูกผัก กลุ่มละ 10 ครัวเรือน นำความรู้กลับมาฝึกทำอีก 1วัน -คณะทำงานสำรวจความต้องการวัสดุอุปกรณ์ พันธุ์ผัก พันธุ์ปลา และดำเนินการขอสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือจัดซื้อในการณีที่ไม่มีสนับสนุน -แกนนำครัวเรือนลงมือผลิตอาหารตามความเหมาะสมกับครัวเรือนของตนเอง มีกรรมการติดตามเดือนละ 1 ครั้ง
  4. จัดการช่องทางการตลาด คณะทำงานจัดเวทีปรึกษาหารือร่วมกับแกนนำและภาคีเครือข่ายภายนอก เพื่อกำหนดช่องการการตลาดภายในชุมชน ภายนอกชุมชน โดยกำหนดสดส่วนให้ขายในชุมชนร้อยละ 80 และขายภายนอกร้อยละ 20 และกำหนดสถานที่ในการทำตลาดชุมชน 1 แห่ง ร้านค้าในชุมชนที่รับสินค้าไปขายอย่างน้อย 2-3 ร้าน
  5. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มผลิตอาหาร -คณะทำงานจัดประชุมแกนนำครัวเรือน เพื่อสรุปผลการดำเนินงานผลิตอาหารและการจำหน่าย โดยนำข้อมูลมาจากบัญชีครัวเรือนด้วยส่วนหนึ่ง -ร่วมกันอภิปรายในประเด็นต่อไปนี้ 1) เราผลิตอาหารได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ 2) ปัญหาอุปสรรคที่เราเจอคืออะไรบ้าง 3) เรามีวิธีแก้ปญหาอย่างไร 4) เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม รายได้ อย่างไรบ้าง
  6. ประชุมคณะทำงาน การติดตามแหล่งผลิตอาหาร และติดตามบัญชีครัวเรือน -คณะทำงานประชุมเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน และเตรียมการจัดกิจกรรม -กรรมการที่รับผิดชอบแต่ละเรื่อง มารายงานผลการดำเนินงาน ได้แก่ ด้านการเลี้ยงไก่ไข่ ปลาดุก ปลูกผัก การถนอมอาหาร การทำบัญชีครัวเรือน และพฤติกรรมการป้องกันโควิท 19 -กรรมการเก็บข้อมูลจากแนวทางการติดตามประเมินผล เมื่อนำเสนอข้อมูลให้คณะทำงานช่วยกันวิเคราะห์ช่องว่าง และหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขต่อไป
  7. เวทีถอดบทเรียน -คณะทำงานจัดประชุมแกนนำครัวเรือน ประชาชนทั่วไป ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปบทเรียนการดำเนินงาน -โดยร่วมกันอภิปรายในประเด็นต่อไปนี้ 1)เป้าหมายของโครงการหรือสิ่งที่คาดหวังคืออะไร 2) สิ่งที่เกิดขึ้นจริงเป็นอย่างไรบ้าง 3) มีอะไรแตกต่างจากเป้าหมายที่วางไว้ อะไรเป็นสาเหตุ 4) ถ้ามีโอกาสทำใหม่ เราจะทำอะไรให้ดีขึ้น
stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดกลไกการทำงานในรูปแบบการมีส่วนร่วมระหว่างพชอ.และชุมชน 2.กลุ่มผลิตอาหารเกิดข้อตกลง มีความรู้ด้านการเงิน สุขภาพ สังคม และความรู้ในการลงมือผลิต
3.ชุมชนเข้าถึงอาหารปลอดภัย มีกลไก พชอ.ร่วมกับชุมชน ติดตามการทำงานต่อเนื่อง 4.เกิดเครือข่ายอาหารของชุมชน

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2021 14:45 น.