directions_run

สร้างความมั่นคงทางอาหารให้คนปาดังเบซาร์เตรียมพร้อมรับมือวิกฤติ

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ สร้างความมั่นคงทางอาหารให้คนปาดังเบซาร์เตรียมพร้อมรับมือวิกฤติ
ภายใต้โครงการ โครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้
ภายใต้องค์กร Node โควิค ภาคใต้
รหัสโครงการ 64-00214-0002
วันที่อนุมัติ 12 เมษายน 2021
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 เมษายน 2021 - 31 มกราคม 2022
งบประมาณ 70,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ทีมความมั่นคงทางอาหารปาดังเบซาร์
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายภาสกร เกื้อสุข
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอุบัยดิลละห์ หาแว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2021 31 ส.ค. 2021 1 เม.ย. 2021 31 ส.ค. 2021 40,000.00
2 1 ก.ย. 2021 30 พ.ย. 2021 1 ก.ย. 2021 31 ม.ค. 2022 25,000.00
3 1 ธ.ค. 2021 31 ม.ค. 2022 5,000.00
รวมงบประมาณ 70,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ (มลายู : Padang Besar) เป็นเทศบาลเมืองที่อยู่ติดชายแดนมาเลเซีย–ไทย ตั้งอยู่ในอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ห่างจากเทศบาลเมืองสะเดาไปทางทิศตะวันตก ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4054 ประมาณ 12 กิโลเมตร มีพื้นที่ 11.22 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมบางส่วนของตำบลปาดังเบซาร์ มีทั้งหมด 8 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนต้นพะยอม ชุมชนในตลาดปาดังเบซาร์ ชุมชนหลังสระน้ำ ชุมชนหลังมัสยิดเขตสยาม ชุมชนหลังมัสยิดเขตรักษาสุข ชุมชนหมู่บ้านสาธิต ชุมชนร้อยไร่ และชุมชนเขตเศรษฐกิจที่ 9 มีอาณาเขตติดต่อกับรัฐปะลิส ประเทศมาเลเซียทางทิศใต้ และล้อมรอบด้วยเขตเทศบาลตำบลปาดัง เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมือง ในปี พ.ศ. 2547 มีประชากร 16,189 คน เมืองที่อยู่ฝั่งประเทศมาเลเซียก็มีชื่อว่าปาดังเบซาร์เช่นเดียวกัน

พื้นที่ปาดังเบซาร์เป็นเมืองติดกับประเทศมาเลเซีย เป็นที่ตั้งของด่านศุลกากรปาดังเบซาร์ ซึ่งใช้เป็นที่สัญจรไปมาระหว่าง ไทย–มาเลเซีย การท่องเที่ยวส่วนใหญ่จึงเป็นการท่องเที่ยวเชิงการค้าชายแดนและการขนส่งสินค้า โลจิสติกส์ กิจกรรมเศรษฐกิจด้านประเทศมาเลเซีย มีการเปิดร้านจำหน่ายสินค้าปลอดภาษี (Duty Free Shop) ติดกับแนวชายแดนไทย สินค้าที่จำหน่าย ได้แก่ สินค้าอุปโภค บริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้า เหล้า เบียร์ บุหรี่ เป็นต้น และห่างจาก Duty Free Shop ไปประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งชุมชนและมีร้านจำหน่ายสินค้าอุปโภค/บริโภค อุปกรณ์กีฬา นาฬิกา และสินค้าเบ็ดเตล็ด ซึ่งมาเลเซียผ่อนผันให้เข้าไปซื้อสินค้าได้ มีสถานประกอบการประเภทโรงแรมและรีสอร์ทในเขตเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ จำนวน 11 แห่ง จำนวนห้องรวม 267 ห้อง เปิดให้บริการ 176 ห้อง มีร้านอาหาร 33 ร้าน เป็นร้านอาหารขนาดใหญ่ จำนวน 5 ร้าน

ในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 รัฐบาลประกาศปิดประเทศ ทำให้ด่านศุลกากรปาดังเบซาร์ถูกปิดตายทันที ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของคนปาดังเบซาร์ การท่องเที่ยวเชิงการค้าชายแดนและการขนส่งสินค้า โลจิสติกส์ กลายเป็นอัมพาต ไม่สามารถเดินต่อได้ มีแรงงานไทยที่ทำงานอยู่ในประเทศมาเลเซียโดนส่งตัวกลับประเทศไทย ร้านค้า ที่พัก ร้านอาหารบริเวณชายแดนบางแห่งต้องปิดกิจการ ทำให้เกิดสภาวะคนตกงาน เกิดการว่างงานเป็นจำนวนมาก พ่อค้าแม่ขายมีรายได้จากการขายสินค้าบริเวณชายแดนลดลง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในครัวเรือน เพราะเป็นการประกอบอาชีพที่พึ่งพาปัจจัยจากภายนอกชุมชนเป็นสำคัญ

พื้นฐานด้านการผลิตอาหารของคนในชุมชนมีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เพราะเป็นพื้นที่ค้าขาย เพาะปลูกบางส่วน ทำสวน และเลี้ยงสัตว์หลากชนิด ทำให้คนในชุมชนเข้าถึงประโยชน์จากแหล่งอาหารเพื่อนำไปประกอบอาหารในรัวเรือนได้ ทำให้แต่ละครัวเรือนมีความถนัดที่หลากหลาย การแลกเปลี่ยนความรู้ให้สามารถพึ่งพาตนเองด้านอาหารหรือการสร้างเครือข่ายผลิตอาหารภายในและนอกพื้นที่จึงสำคัญสำหรับชุมชน สำหรับสาเหตุการขาดแคลนอาหารในชุมชนปาดัง เป็นพื้นที่แบบเมืองที่ดินเพาะปลูกมีน้อยมากไม่มีแหล่งผลิตอาหารที่ชัดเจนส่วนใหญ่จะนำวัตถุดิบจากรอบนอกมาขายหรือผลิตเป็นอาหาร เมื่อต้องการวัตถุดิบจำนวนมากต้องไปหาแหล่งผลิตอาหารจากภายนอกเขตพื้นที่เนื่องจากในพื้นที่ผลิตไม่พอกับการบริโภคส่วนใหญ่ซื้อจากร้านค้าต่าง ๆ ในชุมชนที่นำวัตถุดิบจากภายนอกมาขาย ในสถานการณ์วิกฤติที่ยังไม่สามารถประเมินระยะเวลาในการกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ แกนนำชุมชนในเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ทั้ง 8 ชุมชน จึงมีแนวคิดในการจัดสร้างพื้นที่กลางในการผลิตอาหารสำหรับการบริโภคในครัวเรือนและขายให้คนในชุมชน โดยใช้พื้นที่ในสถาบันปอเนาะอัรฉาดียะฮ์ ที่มีเนื้อที่กว่า 10 ไร่ เป็นฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่เพื่อเป็นอาหารและขายให้คนในชุมชน โดยมีนักเรียนจำนวนกว่า 30 คน ทำหน้าที่เป็นแรงงานในการดูแลฟาร์มไก่ ซึ่งนอกจากสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชนแล้ว ยังสามารถเสริมทักษะด้านอาชีพให้กับเยาวชนเพื่อรองรับความเสี่ยงการว่างงานในอนาคต และจัดระบบการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางเพื่อให้เข้าถึงอาหารทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์วิกฤติ ด้วยการจัดทำสวนผักคนเมืองที่เอื้อกับบริบทของกลุ่มเป้าหมายและบริบทพื้นที่ที่เป็นชุมชนเมืองอีกด้วย

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพคนในชุมชนให้มีความรู้และทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตวิถีใหม่
  1. กลุ่มเป้าหมาย 100% มีการให้ความรู้และมาตรการเฝ้าระวัง มีการคัดกรองโรคทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรมในชุมชน
  2. มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน การรับ-จ่ายกลุ่มเป้าหมาย 80% สามารถบริหารการจัดการด้านการเงิน
30.00
2 ส่งเสริมให้คนในชุมชนพึ่งพาตนเองด้านอาหาร สร้างแหล่งอาหาร
  1. มีคณะทำงานในการขับเคลื่อนงานโครงการ อย่างน้อย 15 คน
  2. คณะทำงานมีการติดตามและขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่อง
  3. มีฐานข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด
  4. เกิดแผนให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในสถานการณ์วิกฤติ
  5. เกิดแผนปฏิบัติการด้านความมั่นคงทางอาหารในชุมชน อย่างน้อย 1 แผน
  6. เกิดชุดข้อมูลด้านอาหารของชุมชน
  7. มีพื้นที่กลางในการผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อใช้ในการบริโภคในชุมชน อย่างน้อย 1 จุด
  8. คนในชุมชนมีการปลูกผักเพิ่มขึ้นในรูปแบบของสวนผักคนเมือง
  9. กลุ่มเป้าหมายและคนในชุมชนมีอาหารที่ปลอดภัยเพื่อใช้ในการบริโภคและจำหน่าย
  10. คนในชุมชนมีอาหารที่ปลอดภัยไว้บริโภค และมีแหล่งเครือข่ายในการผลิตอาหารเพิ่มขึ้นจากการผลิตอาหารปลอดภัย
30.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายรอง คณะทำงานและครอบครัวของเยาวชน 10 -
กลุ่มเป้าหมายหลัก กลุ่มเยาวชนในสถาบันปอเนาะอัรฉาดี 30 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามและวางแผนการทำงานครั้งที่ 2 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 2,250.00 2 2,827.00
12 พ.ค. 64 กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามและวางแผนการทำงานครั้งที่ 1 15 1,150.00 2,077.00
20 ส.ค. 64 กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามและวางแผนการทำงาน ครั้งที่ 3 15 1,100.00 750.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 264 67,750.00 13 65,851.00
11 - 12 เม.ย. 64 กิจกรรมปฐมนิเทศ โครงการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตและพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก แก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVIO-19 เพื่อการสร้างเสริมสุภาวะจังหวัดภาคใต้ 2 10,000.00 2,960.00
2 พ.ค. 64 กิจกรรมที่ 1 เวทีชี้แจงโครงการ และจัดตั้งคณะทำงาน พร้อมกำหนดบทบาทหน้าที่ในการทำงาน 40 3,200.00 3,200.00
8 มิ.ย. 64 กิจกรรมที่ 3 จัดเก็บข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด และข้อมูลแหล่งอาหารเส้นทางอาหารของชุมชน ข้อมูลสถานที่หน่วยงาน ทุน ศักยภาพของชุมชน 15 4,000.00 3,995.00
10 มิ.ย. 64 กิจกรรมที่ 4 เวทีคืนข้อมูลและจัดทำแผนที่ข้อมูลแหล่งอาหารและเส้นทางอาหารในชุมชนเพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์วิกฤต 30 4,000.00 4,000.00
8 ก.ค. 64 กิจกรรมที่ 5 เวทีจัดทำแผนให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในสถานการณ์วิกฤตทั้งในระดับชุมชนและระดับท้องถิ่นพร้อมแผนปฏิบัติการด้านความมั่นคงทางอาหารของชุมชน 30 4,000.00 4,000.00
18 - 19 ก.ย. 64 เวทีรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการ ผ่านทาง zoom 4 0.00 2,100.00
5 ต.ค. 64 กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามและวางแผนการทำงานครั้งที่ 4 15 1,150.00 750.00
9 ต.ค. 64 กิจกรรมที่ 6 ปฏิบัติการสร้างความมั่นคงทางอาหารด้วยการสร้างพื้นที่กลางในการผลิตอาหารสำหรับคนในชุมชน (ฟาร์มไก้ไข่เพื่อชุมชนและสวนผักคนเมือง) 30 26,100.00 26,100.00
23 ต.ค. 64 กิจกรรม 6.2 ปฏิบัติการสร้างความมั่นคงทางอาหารด้วยการสร้างพื้นที่กลางในการผลิตอาหารสำหรับคนในชุมชน (สวนผักคนเมือง) 20 5,000.00 5,000.00
21 พ.ย. 64 กิจกรรมที่ 7 การอบรมการทำบัญชีครัวเรือน การบันทึกรายรับรายจ่าย และวิเคราะห์สภาพการเงินของครัวเรือน 30 4,000.00 4,000.00
7 ธ.ค. 64 กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามและวางแผนการทำงานครั้งที่ 5 15 2,300.00 2,250.00
25 - 26 ธ.ค. 64 กิจกรรมเวที่ประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสังเคราะห์บทเรียนและเขียนรายงานปิดโครงการ 3 0.00 3,496.00
21 ม.ค. 65 กิจกรรมที่ 8 เวทีถอทบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการสร้างความมั่งคงทางอาหาร 30 4,000.00 4,000.00
  1. เวทีชี้แจงโครงการ และจัดตั้งคณะทำงาน พร้อมกำหนดบทบาทหน้าที่ในการทำงาน
  2. ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามและวางแผนการทำงาน ทุก 2 เดือน และสื่อสารการทำงานผ่านกลุ่มไลน์อย่างสม่ำเสมอ
  3. จัดเก็บข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด และข้อมูลแหล่งอาหาร เส้นทางอาหารของชุมชน ข้อมูลสถานที่ หน่วยงาน ทุน ศักยภาพของชุมชน
  4. เวทีคืนข้อมูลและจัดทำแผนที่ข้อมูลแหล่งอาหารและเส้นทางอาหารในชุมชนเพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์วิกฤติ
  5. เวทีจัดทำแผนให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในสถานการณ์วิกฤติ ทั้งในระดับชุมชนและระดับท้องถิ่น พร้อมแผนปฏิบัติการด้านความมั่นคงทางอาหารของชุมชน
  6. ปฏิบัติการสร้างความมั่นคงทางอาหารด้วยการสร้างพื้นที่กลางในการผลิตอาหารสำหรับคนในชุมชน (ฟาร์มไข่ไก่เพื่อชุมชน และสวนผักคนมือง)   6.1 ฟาร์มไข่ไก่เพื่อชุมชน ใช้สถานที่ในสถาบันปอเนาะในการจัดสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ พร้อมเสริมทักษะเยาวชนในปอเนาะเป็นคนเลี้ยงไก่ไข่เพื่อขาย   6.2 สวนผักคนมือง อบรมการทำสวนผักคนเมืองตามบริบทพื้นที่และบ้านที่อยู่อาศัย เป็นสวนผักแนวดิ่ง สวนผักในภาชนะ
  7. การอบรมการทำบัญชีครัวเรือน การบันทึกรายรับ-รายจ่าย และการวิเคราะห์สภาพการเงินของครัวเรือน
  8. เวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการสร้างความมั่นคงทางอาหาร
stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • มีคณะทำงานในการขับเคลื่อนงานโครงการ อย่างน้อย 15 คน
  • คณะทำงานมีการติดตามและขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่อง
  • มีฐานข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด
  • เกิดแผนให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในสถานการณ์วิกฤติ
  • แผนปฏิบัติการด้านความมั่นคงทางอาหารในชุมชน อย่างน้อย 1 แผน


  • กลุ่มเป้าหมายและคนในชุมชนมีอาหารที่ปลอดภัยเพื่อใช้ในการบริโภคและจำหน่าย
  • คนในชุมชนมีการปลูกผักเพิ่มขึ้นในรูปแบบของสวนผักคนเมือง
  • กลุ่มเป้าหมายและคนในชุมชนมีอาหารที่ปลอดภัยเพื่อใช้ในการบริโภคและจำหน่าย
  • กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะด้านการเงิน และมีขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการเงิน
  • คนในชุมชนมีอาหารที่ปลอดภัยไว้บริโภค และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการผลิตอาหารปลอดภัย
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2021 14:49 น.