directions_run

เพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูปปลาส้มเพื่อการสร้างรายได้

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูปปลาส้มเพื่อการสร้างรายได้
ภายใต้โครงการ โครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้
ภายใต้องค์กร Node โควิค ภาคใต้
รหัสโครงการ 64002140015
วันที่อนุมัติ 10 เมษายน 2021
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 เมษายน 2021 - 31 มกราคม 2022
งบประมาณ 70,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ บ้านกรือซอ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอริฟ หะนิแร
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะยูนัน มามะ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10 เม.ย. 2021 31 ส.ค. 2021 10 เม.ย. 2021 31 ส.ค. 2021 40,000.00
2 1 ก.ย. 2021 31 ม.ค. 2022 1 ก.ย. 2021 31 ม.ค. 2022 25,000.00
3 1 ธ.ค. 2021 31 ม.ค. 2022 5,000.00
รวมงบประมาณ 70,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ทำให้ได้รับผลกระทบกับประชากรทุกระดับชั้น ไม่ว่าจะเป็นแรงงานที่ถูกเลิกจ้างงานเพราะลดจำนวนแรงงานหรือบางธุรกิจเลือกใช้เทคโนโลยีมาทดแทนแรงงาน แรงงานที่เคยไปทำงานต่างประเทศกลับไปทำงานไม่ได้เพราะลดการเดินทางข้ามเขต อันส่งผลกระทบต่อสุขภาวะชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ที่ต้องเดินทางกลับจากการประกอบอาชีพเดิมที่ประเทศมาเลเซียและพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทำให้ครอบครัวต้องขาดรายได้ในการประกอบอาชีพหลักที่เคยทำมาและในขณะเดียวกันสินค้าบางชนิดเพิ่มราคา ทำให้กลุ่มอาสาทำดีบ้านกรือซอ ที่มีการรวมกลุ่มโดยผู้นำศาสนาในชุมชนทำกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์อยู่แล้ว มีความคิดที่อยากจะพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น เพราะสภาพแวดล้อมบังคับ จึงมีความคิดที่อยากแปรรูปผลิตภัณฑ์ในชุมชน ที่สามารถสร้างรายได้เสริมในช่วงวิกฤตินี้ ปลาส้ม เป็นการแปรรูปอาหารจากปลาชนิดหนึ่งที่นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย ในทุกภูมิภาคเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในการถนอมอาหาร ซึ่งการผลิตส่วนใหญ่ยังเป็นการผลิตแบบอุตสาหกรรมในครอบครัว โดยอาศัยเทคนิควิธีทีถ่ายทอดสืบต่อกันมา ดังนั้นรสชาติ หรือคุณภาพของปลาส้มแต่ละแห่ง จึงมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสูตรการผลิต อย่างไรก็ตาม แม้สูตรการผลิตเดียวกัน ในแต่ละครั้งก็อาจไม่ได้คุณภาพเท่ากัน ทั้งนี้เพราะการผลิตปลาส้มจะเป็นการหมักเพื่อให้เกิดเชื้อตามธรรมชาติ ไม่สามารถควบคุมได้คุณภาพและรสชาติ จึงมีโอกาสเปลี่ยนแปลงเนื่องจากองค์ประกอบหลายๆ ด้าน กลุ่มอาสาทำดีบ้านกรือซอ มีการเลี้ยงปลาทำให้มีวัตถุดิบปลาเป็นจำนวนมากถึงแม้จะจำหน่ายในชุมชนและในตลาดแล้ว แต่ก็ยังมีปลาเหลือจากการจำหน่าย กลุ่มอาสาทำดีบ้านกรือซอ มีความต้องการพัฒนาทักษะด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์สินค้าที่มีอยู่ในชุมชน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน จึงได้มีการรวมตัวของสมาชิกในชุมชนเพื่อดำเนินการจัดหางบประมาณในการจัดทำโครงการ เพื่อเสริมสร้างและเกิดกระบวนการเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมให้สามารถปรับตัวได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างทัศนคติที่เอื้อต่องานบริการ ให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นฐานพลังในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชนให้ประสบความสำเร็จ เป็นแบบอย่างที่ดีในการแก้ไขปัญหาสังคม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในระดับท้องถิ่นอันเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ทำให้ได้รับผลกระทบกับประชากรทุกระดับชั้น ไม่ว่าจะเป็นแรงงานที่ถูกเลิกจ้างงานเพราะลดจำนวนแรงงานหรือบางธุรกิจเลือกใช้เทคโนโลยีมาทดแทนแรงงาน แรงงานที่เคยไปทำงานต่างประเทศกลับไปทำงานไม่ได้เพราะลดการเดินทางข้ามเขต อันส่งผลกระทบต่อสุขภาวะชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ที่ต้องเดินทางกลับจากการประกอบอาชีพเดิมที่ประเทศมาเลเซียและพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทำให้ครอบครัวต้องขาดรายได้ในการประกอบอาชีพหลักที่เคยทำมาและในขณะเดียวกันสินค้าบางชนิดเพิ่มราคา ทำให้กลุ่มอาสาทำดีบ้านกรือซอ ที่มีการรวมกลุ่มโดยผู้นำศาสนาในชุมชนทำกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์อยู่แล้ว มีความคิดที่อยากจะพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น เพราะสภาพแวดล้อมบังคับ จึงมีความคิดที่อยากแปรรูปผลิตภัณฑ์ในชุมชน ที่สามารถสร้างรายได้เสริมในช่วงวิกฤตินี้ ปลาส้ม เป็นการแปรรูปอาหารจากปลาชนิดหนึ่งที่นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย ในทุกภูมิภาคเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในการถนอมอาหาร ซึ่งการผลิตส่วนใหญ่ยังเป็นการผลิตแบบอุตสาหกรรมในครอบครัว โดยอาศัยเทคนิควิธีทีถ่ายทอดสืบต่อกันมา ดังนั้นรสชาติ หรือคุณภาพของปลาส้มแต่ละแห่ง จึงมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสูตรการผลิต อย่างไรก็ตาม แม้สูตรการผลิตเดียวกัน ในแต่ละครั้งก็อาจไม่ได้คุณภาพเท่ากัน ทั้งนี้เพราะการผลิตปลาส้มจะเป็นการหมักเพื่อให้เกิดเชื้อตามธรรมชาติ ไม่สามารถควบคุมได้คุณภาพและรสชาติ จึงมีโอกาสเปลี่ยนแปลงเนื่องจากองค์ประกอบหลายๆ ด้าน กลุ่มอาสาทำดีบ้านกรือซอ มีการเลี้ยงปลาทำให้มีวัตถุดิบปลาเป็นจำนวนมากถึงแม้จะจำหน่ายในชุมชนและในตลาดแล้ว แต่ก็ยังมีปลาเหลือจากการจำหน่าย กลุ่มอาสาทำดีบ้านกรือซอ มีความต้องการพัฒนาทักษะด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์สินค้าที่มีอยู่ในชุมชน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน จึงได้มีการรวมตัวของสมาชิกในชุมชนเพื่อดำเนินการจัดหางบประมาณในการจัดทำโครงการ เพื่อเสริมสร้างและเกิดกระบวนการเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมให้สามารถปรับตัวได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างทัศนคติที่เอื้อต่องานบริการ ให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นฐานพลังในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชนให้ประสบความสำเร็จ เป็นแบบอย่างที่ดีในการแก้ไขปัญหาสังคม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในระดับท้องถิ่นอันเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาด โควิด 19

1.เชิงปริมาณ
- จำนวน 30 คนของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มขึ้น - จำนวน 30 คนของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้ - จำนวน 30 คนของผู้เข้าร่วม (DMHTT )

  1. เชิงคุณภาพ

- ผู้เข้าร่วมโครงการมีการป้องกันตนเองทุกครั้งเมื่อออกนอกบ้านและเข้าสังคม - มีการสรุปและวิเคราะห์สถานะทางการเงินของตนเองได้

80.00
2 2. เพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาด โควิด 19

1.เชิงปริมาณ - จำนวน 30 คนของผู้เข้าร่วมโครงการมีอาชีพที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ในช่วงการระบาดโควิด 19 - จำนวน 30 คนของผู้เข้าร่วมโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการออม - จำนวน 30 คนของผู้เข้าร่วมโครงการอยู่อย่างพอเพียง หนี้สินลดลงหรือไม่มีหนี้สิน

2.เชิงคุณภาพ - คนที่ตกงานหรือถูกเลิกจ้างสามารถอยู่ได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในช่วงของการระบาดโควิด 19

80.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 45 45
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะทำงาน 15 15
ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 30 30
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 การบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 5 8,000.00 2 8,000.00
11 เม.ย. 64 เข้าร่วมเวทีปฐมนิเทศ โครงการ ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้ 2 2,817.00 2,817.00
24 - 26 ธ.ค. 64 เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสังเคราะห์บทเรียนและเขียนรายงานปิดโครงการ 3 5,183.00 5,183.00
2 ป้ายโครงการและป้ายรณรงค์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 45 1,500.00 1 1,500.00
18 เม.ย. 64 ป้ายโครงการฯและป้ายรณรงค์เลิกบุหรี่ 45 1,500.00 1,500.00
3 เวทีชี้แจงโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 45 6,600.00 1 6,600.00
19 เม.ย. 64 เวทีชี้แจงโครงการ 45 6,600.00 6,600.00
4 จัดประชุมคณะทำงาน 3 ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 45 5,445.00 3 5,445.00
22 เม.ย. 64 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 15 1,815.00 1,815.00
19 ส.ค. 64 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 15 1,815.00 1,815.00
13 ธ.ค. 64 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 15 1,815.00 1,815.00
5 การเก็บข้อมูล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 480.00 1 480.00
1 - 10 พ.ค. 64 เก็บข้อมูลผู้เข้าร่วมโครงการ 30 480.00 480.00
6 อบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือน บัญชีต้นทุนอาชีพและสุขภาพที่ดี กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 45 12,900.00 1 12,900.00
15 มิ.ย. 64 อบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือน บัญชีต้นทุนอาชีพและสุขภาพที่ดี 45 12,900.00 12,900.00
7 อบรมการประกอบอาชีพและการตลาด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 45 12,675.00 1 12,675.00
28 ส.ค. 64 อบรมการประกอบอาชีพและการตลาด 45 12,675.00 12,675.00
8 การประกอบอาชีพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 11,550.00 1 11,550.00
15 ธ.ค. 64 แปรรูปปลาส้ม 30 11,550.00 11,550.00
9 เวทีถอดบทเรียน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 45 10,350.00 1 10,350.00
28 ธ.ค. 64 เวทีถอดบทเรียน 45 10,350.00 10,350.00
10 จัดทำเล่มรายงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 500.00 1 500.00
29 ธ.ค. 64 เล่มรายงาน 0 500.00 500.00
  1. เวทีชี้แจงโครงการ

- แต่งตั้งคณะทำงาน - จัดประชุมคณะทำงาน - เก็บข้อมูล 2. การอบรมทักษะการเงิน สุขภาพ สังคม - จัดอบรม ให้ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนทางการเงิน การลงทุน การออม การดูแลสุขภาพด้วยการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ การปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันโควิด -19และการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข โดยการเชิญวิทยากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านการเงิน สุขภาพและสังคม
3. การประกอบอาชีพ - เรียนรู้วิธีการแปรรูปปลาส้ม จากปลาตะเพียนขาว ปลาทับทิม และปลานิล - เรียนรู้การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการเก็บรักษา - เรียนรู้การขายปลาส้มในตลาดออนไลน์และออฟไลน์ 4. การจัดทำบัญชีครัวเรือนและบัญชีต้นทุนอาชีพ - จัดอบรม ให้ความรู้ ด้านการทำบัญชีครัวเรือน โดยการเชิญครูบัญชีอาสาในพื้นที่มาให้ความรู้ 5. เวทีถอดบทเรียน - จัดเวทีคืนข้อมูลและสรุปกิจกรรมตลอดการเข้าร่วมกิจกรรม - จัดทำเล่มรายงานกิจกรรม

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มขึ้น ครอบครัวต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้
  • ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วม (DMHTT )
  • ผู้เข้าร่วมโครงการมีการป้องกันตนเองทุกครั้งเมื่อออกนอกบ้านและเข้าสังคม
  • มีการสรุปและวิเคราะห์สถานะทางการเงินมีบัญชีรายรับรายจ่ายของตนเองได้ -ร้อยละ 80 ของคนในชุมชนมีอาชีพที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ในช่วงการระบาด โควิด 19 -ร้อยละ 80 ของคนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการออม -ร้อยละ 80 ของคนในชุมชนอยู่อย่างพอเพียงหนี้สินลดลงหรือไม่มีหนี้สิน -คนที่ตกงานหรือถูกเลิกจ้างสามารถอยู่ได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นภายใต้การระบาด โควิด 19
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2021 14:53 น.