directions_run

การฟื้นฟูคุณภาพชีวิตและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 บ้านสันติ

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การฟื้นฟูคุณภาพชีวิตและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 บ้านสันติ
ภายใต้โครงการ โครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้
ภายใต้องค์กร Node โควิค ภาคใต้
รหัสโครงการ 64-00214-0014
วันที่อนุมัติ 12 เมษายน 2021
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 เมษายน 2021 - 31 มกราคม 2022
งบประมาณ 70,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ บ้านสันติ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชำนาญ นิลกระวัตร
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะยูนัน มามะ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.920849,101.735544place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10 เม.ย. 2021 31 ส.ค. 2021 10 เม.ย. 2021 31 ส.ค. 2021 40,000.00
2 1 ก.ย. 2021 31 ม.ค. 2022 1 ก.ย. 2021 31 ม.ค. 2022 25,000.00
3 1 ธ.ค. 2021 31 ม.ค. 2022 1 ก.พ. 2022 1 ก.พ. 2022 5,000.00
รวมงบประมาณ 70,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบันต้องเผชิญกับผลกระทบจากวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งส่งผลกระทบไปถึงวิกฤตเศรษฐกิจสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ ภาวะข้าวยากหมากแพง ขาดแคลนอาหาร ผู้คนอดอยาก ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นหลายต่อหลายครั้งในอดีต ในวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ที่เรากำลังเผชิญอยู่นี้ เรื่องความมั่นคงและความไม่มั่นคงทางอาหารจึงสำคัญประเทศไทยมีภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ และสามารถผลิตอาหารและส่งออกอาหารได้ในหลาย ๆ ประเภท อย่างไรก็ตาม การที่จะสรุปว่าประเทศไทยมีความมั่นคงทางด้านอาหาร อาจจะเป็นการสรุปที่เร็วเกินไป เนื่องจากข้อมูลของ FAO ยังพบว่า ประชาชนคนไทยส่วนหนึ่งยังจัดอยู่ในกลุ่มผู้อดอยาก (hunger) หรืออยู่ในภาวะทุพะโภชนาการ (undernourished people) นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่อาจส่งผลกระทบต่อการผลิตพืชอาหาร อีกทั้งยังมีปัจจัยภายนอกที่กระทบต่อความมั่นคงทางอาหารเช่นกัน ความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งเป็นคำที่เกิดขึ้นในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ทางอาหารตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1970 โดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดความหมายว่า “สภาวะที่คนทุกคนและทุกขณะเวลามีความสามารถทั้งทางกายภาพและทางเศรษฐกิจที่สามารถเข้าถึงอาหารที่เพียงพอ ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจด้านอาหารเพื่อให้เกิดชีวิตที่มีพลังและมีสุขภาพ” แบ่งความหมายด้านความมั่นคงออกเป็น 4 ด้าน คือ 1. การมีอาหารเพียงพอ (Food Availability) การมีอาหารในปริมาณที่เพียงพอและมีคุณภาพ 2. การเข้าถึงอาหาร (Food Access) การเข้าถึงทรัพยากรที่เหมาะสมรวมไปถึงสิทธิเพื่อการหาอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม 3. การใช้ประโยชน์จากอาหาร (Food Utilization) การใช้ประโยชน์จากอาหารในการบริโภค โดยมีปริมาณอาหารที่เพียงพอ มีน้ำสะอาดในการอุปโภคบริโภค มีสุขอนามัยและการดูแลสุขภาพที่ดี 4. การมีเสถียรภาพด้านอาหาร (Food Stability) ประชาชนหรือครัวเรือนหรือบุคคลต้องเข้าถึงอาหารอย่างเพียงพอตลอดเวลา ไม่มีความเสี่ยงในการเข้าถึงอาหารเมื่อเกิดความขาดแคลนขึ้นมาอย่างกะทันหัน จากสถานการณ์ข้างต้นบ้านสันติ ซึ่งมี 88 หลังคาเรือน ประชาชนนับถือศาสนาพุทธ 100 เปอร์เซ็นต์ สภาพทั่วไปมีลำคลองไหลผ่าน มีน้ำประปาใช้ตลอดทั้งปี ซึ่งแต่เดิมบ้านสันติมีกลุ่มเกษตรผสมผสานแต่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีแต่คนในชุมชนที่ทำการเกษตรมีแต่ผู้สูงอายุและวัยกลางคน แต่เมื่อมีการการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) คนที่ถูกเลิกจ้างเป็นคนที่อยู่ในช่วงวัยรุ่น ต้องเผชิญกับผลกระทบจากวิกฤตนั้น ส่งผลกระทบไปถึงคนในชุมชนที่ทำงานต่างจังหวัด และต่างพื้นที่ เช่น มาเลเซียถูกเลิกจ้างกลับมาอยู่บ้าน ส่งผลให้คนในชุมชนว่างงาน รายได้ลดลง รายจ่ายไม่เพียงพอ รายจ่ายเพิ่มขึ้น อาหารแพงขึ้น และยังส่งผลไปถึงเรื่องการเดินทางไปยังพื้นที่อื่นหรือคนที่กลับมาจากพื้นที่อื่นที่อยู่ในต่างประเทศหรือต่างจังหวัดทำให้เกิดความเดือดร้อน หรือแม้กระทั่งทำให้คนในชุมชนมีพฤติกรรมที่หวาดระแวงกลัวคนนอกพื้นที่เข้ามาในพื้นที่ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีผลต่อความมั่นคงทางอาหารทั้งสิ้น จึงจำเป็นต้องสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อให้คนในชุมชนสามารถดำเนินชีวิตได้ที่พอเพียงภายใต้วิกฤติการขาดแคลนอาหาร ด้วยการรวมกลุ่มเพื่อทำการเกษตรแบบผสมผสาน เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและให้มีความมั่นคงทางอาหารไม่ขาดแคลนอาหาร และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในช่วงที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีเครือข่ายความมั่นคงทางอาหารที่เข้มแข็งต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาด โควิด 19

1.เชิงปริมาณ
- ผู้เข้าร่วมอย่างน้อย 30 คนมีความรู้เพิ่มขึ้น - ผู้เข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 30 คนสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้ - ผู้เข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 30 คน ดำเนินการตามมาตรการ (DMHTT )
2. เชิงคุณภาพ - ผู้เข้าร่วมโครงการมีการป้องกันตนเองที่ดีขึ้น - มีการสรุปและวิเคราะห์สถานะทางการเงินมีบัญชีรายรับรายจ่ายของตนเองได้

80.00
2 2. เพื่อสนับสนุนการสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชน
  1. เชิงปริมาณ

- ผู้ได้รับผลกระทบมีการปลุกผักและเลี้ยงปลาในครัวเรือน 2 โซนดังนี้     โซนที่ 1 -เลี้ยงปลาจำนวน 5 ครัวเรือน                 -ปลูกผักจำนวน 15 ครัวเรือน     โซนที่ 2-เลี้ยงปลาจำนวน 6 ครัวเรือน               -ปลูกผักจำนวน 14 ครัวเรือน - ผู้เข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 30 ครัวเรือน มีแหล่งผลิตอาหารในครัวเรือนตนเอง 2.เชิงคุณภาพ -ครัวเรือนที่เข้าโครงการมีอาหารบริโภคอย่างพอเพียงและแต่ละครัวเรือนได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการ -มีโมเดลเกษตรสันติใช้ในการจัดการอาหารระดับชุมชน -มีเครือข่ายเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ในการผลิตอาหารที่ปลอดภัย -ไม่ใช้สารเคมีในการปลูกผักทำให้ผู้บริโภคปลอดภัย -นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการกำจัดศตรูพืช -ส่งเสริมการปลูก -มีกลุ่มเกษตรผสมผสาน -เลือกปลูกผักที่หลากหลายและทนต่อสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศของแต่ละพื้นที่ -มีสถานที่แปรผลผลผลิต -มีเครือข่ายความร่วมมือในเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เช่น สมัชชาสุขภาพจังหวัด

80.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 45 45
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะทำงาน 15 15
ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 30 30
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 สสส.สนับสนุน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 97 10,000.00 7 10,000.00
20 เม.ย. 64 สสส.สนับสนุน ป้ายไวนิลโครงการ 45 1,500.00 1,500.00
10 ส.ค. 64 สสส.สนับสนุน ARE ครั้งที่ 1 5 500.00 500.00
29 พ.ย. 64 สสส.สนับสนุน ARE ครั้งที่ 2 15 1,500.00 1,500.00
14 ธ.ค. 64 ถอดบทเรียน 15 1,500.00 1,500.00
24 - 26 ธ.ค. 64 เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสังเคราะห์บทเรียนและเขียนรายงานปิดโครงการ 1 4,288.00 4,288.00
16 ม.ค. 65 แลกเปลี่ยนการทำรายงานออนไลน์ที่พื้นที่ซรีจาฮายา อ.สุไหงโก-ลก 1 212.00 212.00
18 ม.ค. 65 ทำรายงานฉบับเต็ม 15 500.00 500.00
2 เวทีสร้างความเข้าใจให้แก่ชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 45 5,900.00 1 5,900.00
24 เม.ย. 64 เวทีสร้างความเข้าใจโครงการให้แก่ชุมชน 45 5,900.00 5,900.00
3 ประชุมคณะทำงานเพื่อรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานและภาพรวมโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 45 5,300.00 3 5,300.00
25 เม.ย. 64 ประชุมคณะทำงานครั้งที่1 15 2,100.00 2,100.00
6 ส.ค. 64 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 15 1,600.00 1,600.00
10 ธ.ค. 64 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 15 1,600.00 1,600.00
4 คณะทำงานเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำข้อมูลติดตามความก้าวหน้าและข้อมูลการดำเนินงานโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 45 7,200.00 3 7,200.00
1 พ.ค. 64 คณะทำงานเก็บข้อมูลช่วงต้นโครงการ 15 2,400.00 2,400.00
1 ส.ค. 64 คณะทำงานเก็บข้อมูลช่วงกลางโครงการ 15 2,400.00 2,400.00
1 ก.ย. 64 คณะทำงานเก็บข้อมูลช่วงใกล้เสร็จโครงการ 15 2,400.00 2,400.00
5 คณะทำงานจัดประชุมประชาคมหมู่บ้านและพัฒนาศักยภาพชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 45 13,500.00 1 13,500.00
8 พ.ค. 64 จัดประชุมประชาคมหมู่บ้าน และพัฒนาศักยภาพชุมชน 45 13,500.00 13,500.00
6 ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเสริมสร้างทักษะในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 90 19,800.00 2 19,800.00
10 มิ.ย. 64 กลุ่มเกษตรสันติร่วมกันปลูกผักในแปลงรวมและเลี้ยงปลาในบ่อรวม 45 6,000.00 6,000.00
8 ส.ค. 64 ปฏิบัติการเสริมสร้างทักษะในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร 45 13,800.00 13,800.00
7 ประชุมคืนข้อมูลและสรุปการดำเนินงานร่วมกันในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 45 8,300.00 1 8,300.00
27 พ.ย. 64 ประชุมคืนข้อมูลและสรุปการดำเนินงาน ร่วมกันในชุมชน เพื่อสร้างพันธะสัญญาในการสร้างความ มั่นคงทางด้านอาหาร และสร้างเป็นพื้นที่นำร่องในการสร้าง เครือข่ายความร่วมมือกับภาคีต่าง ๆ 45 8,300.00 8,300.00

1.สร้างความเข้าใจโครงการให้แก่ชุมชน เพื่อให้ชุมชนรับทราบเกี่ยวกับโครงการ 2.ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการ 3.คณะทำงานเก็บข้อมูลสถานการณ์ด้านรายได้ ความเดือดร้อน จากผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 4.จัดประชุมประชาคมหมู่บ้านและพัฒนาศักยภาพชุมชน 5.ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเสริมสร้างทักษะในการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร 6.ประชุมคืนข้อมูลและสรุปการดำเนินงาน ร่วมกันในชุมชน

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ผู้เข้าร่วมอย่างน้อย 30 คนมีความรู้เพิ่มขึ้น
  • ผู้เข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 30 คนสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้และมีการสรุปและวิเคราะห์สถานะทางการเงินมีบัญชีรายรับรายจ่ายของตนเองได้
  • ผู้เข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 30 คน ดำเนินการตามมาตรการ (DMHTT )และป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19ที่ดีขึ้น
  • ผู้เข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 30 ครัวเรือน มีแหล่งผลิตอาหารในครัวเรือนตนเองและมีอาหารบริโภคอย่างพอเพียงและแต่ละครัวเรือนได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการ -มีโมเดลเกษตรสันติใช้ในการจัดการอาหารระดับชุมชน -มีเครือข่ายเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ในการผลิตอาหารที่ปลอดภัยและไม่ใช้สารเคมีในการปลูกผักทำให้ผู้บริโภคปลอดภัย -มีกลุ่มเกษตรผสมผสานที่ส่งเสริมการปลูกและนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการกำจัดศตรูพืช -มีสถานที่แปรผลผลผลิต -มีเครือข่ายความร่วมมือในเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เช่น สมัชชาสุขภาพจังหวัด
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2021 14:54 น.