directions_run

(01)ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพวัยทำงาน ลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ (01)ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพวัยทำงาน ลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดชุมพร
รหัสโครงการ 65-00240-0001
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2022 - 30 เมษายน 2023
งบประมาณ 130,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านแก่งกระทั่ง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวิรงค์รอง เอาไชย
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0828122928
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ wirrpcrchai@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นายวิษณุ ทองแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ รพ.สต.บ้านแก่งกะทั่ง ตำบลนาสัก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
ละติจูด-ลองจิจูด 10.223167,99.005937place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 52,000.00
2 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 71,500.00
3 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 6,500.00
รวมงบประมาณ 130,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ หลอดเลือดสมอง มะเร็ง เป็นภัยเงียบที่ส่งผลแทรกซ้อนทำให้เกิดความพิการและเสียชีวิตก่อนวันอันควร และพบว่าประชากรวัยทำงานมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การเกิดมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรม การประกอบอาชีพ การใช้ชีวิต การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย มีดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน มีเส้นรอบเอวเกินค่าปกติ และมีพฤติกรรมดื่มเหล้า สูบบุหรี่ จนนำไปสู่การเจ็บป่วยและเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ เช่น โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด แผลเรื้อรัง เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและผู้ดูแล ทั้งทางกาย ทางจิตใจ ทั้งผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม สภาวะแวดล้อม ตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก องค์การอนามัยโลกกล่าวไว้ว่านอกจากการบริการทางคลินิกแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีความสำคัญและจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคติดต่อดังกล่าวซึ่งการบริการสุขภาพภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็น รวมทั้งการบริการสุขภาพเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเป็นสำคัญ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีความสำคัญและจำเป็นในการแก้ไข ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังดังกล่าว ซึ่งการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานจึงเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น ความอ้วน ความเครียด การออกกำลังกาย พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม การดื่มสุรา สูบบุหรี่ ซึ่งประชาชนไม่สามารถควบคุมปัจจัยดังกล่าวได้ ร่วมถึงอายุที่เพิ่มขึ้นตั้งอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และต้องได้รับการรักษารับประทานยาตลอดชีวิต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแก่งกระทั่ง ซึ่งรับผิดชอบ จำนวน 6 หมู่บ้าน จำนวน 1,159 หลังคาเรือน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร จากข้อมูลการคัดกรองที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้ทำการคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในกลุ่มอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ปี 2564 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแก่งกระทั่ง พบข้อมูลดังนี้
1. คัดกรองโรคเบาหวาน  จำนวน 1,671 คน
-มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 89 คน คิดเป็นร้อยละ 5.32
-สงสัยป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 0.59
2. คัดกรองโรคความดันโลหิตสูง  จำนวน1,402 คน
-มีเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 77 คน คิดเป็นร้อยละ 5.49
-สงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 5.20 ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านซึ่งเป็นกลไกการดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน ในเขตความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแก่งกระทั่งได้เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและลดความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จึงได้จัดทำ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพวัยทำงาน ลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง รพ.สต.บ้านแก่งกระทั่ง ปีงบประมาณ 2565 ขึ้น โดยมีเป้าหมาย พัฒนาคณะทำงานหลักเป็นกลไกขับเคลื่อนและสร้างการเรียนรู้กับชุมชน จำนวน 30 คน พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านให้เป็นต้นแบบด้านความรอบรู้สุขภาพ จำนวน 60 คน เป็นคณะทำงานระดับหมู่บ้าน เพื่อเป็นกลไกในการติดตาม ประเมิน หนุนเสริม รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล และทำหน้าที่ขับเคลื่อนการดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชน ในหมู่บ้าน จัดกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มวัยทำงานผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 60 คน ลดพฤติกรรมเสี่ยง ในกลุ่มวัยทำงานที่มีภาวะเสี่ยงโรคเรื้อรัง โดยใช้แนวทางการปรับเปลี่ยน ตามแนวทาง 3อ. 2ส. ที่หนุนเสริมการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแก่งกระทั่ง ที่มีกระบวนการคัดกรองเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงในชุมชนอยู่แล้ว และกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลักๆคือการให้ความรู้ แต่มิได้มีการสร้างการเรียนรู้ร่วมกันในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อกับสุขภาพ ภายใต้บริบทของครัวเรือน/ชุมชน จึงส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงได้น้อยมาก ทั้งนี้เนื่องจากข้อจำกัดในการประกอบอาชีพ ชมรมชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านแก่งกระทั่ง จึงออกแบบวิธีการในการขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง โดยเน้นกระบวนการสร้างการเรียนรู้ ร่วมกัน และจัดการปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพ ทั้งสามมิติ รวมทั้งการเรียนรู้หลักคิด ปรับเปลี่ยนทัศนคติ เสริมพลัง ปรับสภาพแวดล้อม โดยมีเป้าหมายการมีสุขภาพกาย จิต สังคม เน้นกระบวนสร้างคุณค่า กำหนดเป้าหมายชีวิต และปรับเปลี่ยนทัศนคติให้ถูกต้องเหมาะสม เป็นการส่งเสริมการกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายตระหนักรู้ ถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพตนเองมากยิ่งขึ้นเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 สร้างและพัฒนาคณะทำงาน เพื่อเป็นกลไกสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่

ผลลัพธ์ที่ 1 คณะทำงานหรือคณะกรรมการมีศักยภาพในการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ ผลลัพธ์ที่ 2 เกิดความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายสุขภาพ

0.00
2 ลดปัจจัยเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มวัยทำงาน

ผลลัพธ์ที่ 3 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ผลลัพธ์ที่ 4 เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยการลดอัตราเจ็บป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในหน่วยบริการ

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 120
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66
1 คณะทำงานหรือคณะกรรมการมีศักยภาพในการขับเคลื่อนงานในพื้นที่(1 พ.ค. 2022-30 เม.ย. 2023) 29,500.00                        
2 การบริหารจัดการ(1 พ.ค. 2022-30 เม.ย. 2023) 10,000.00                        
3 เกิดความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายสุขภาพ(18 ก.ค. 2022-18 ก.ค. 2022) 41,000.00                        
4 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. 2 ส ดีขึ้น(18 ส.ค. 2022-18 ส.ค. 2022) 10,000.00                        
5 เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยการลดอัตราเจ็บป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในหน่วยบริการ(30 ส.ค. 2022-30 ส.ค. 2022) 39,500.00                        
รวม 130,000.00
1 คณะทำงานหรือคณะกรรมการมีศักยภาพในการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 246 29,500.00 10 30,000.00
17 มิ.ย. 65 ทบทวนสถานการณ์ปัญหาสุขภาพชุมชนพัฒนาระบบฐานข้อมูลรายหมู่บ้าน 6 3,000.00 3,000.00
24 มิ.ย. 65 การประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 30 5,000.00 5,000.00
18 ก.ค. 65 อบรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน 30 6,500.00 6,500.00
18 ก.ค. 65 ประชุมชี้แจงคณะทำงานกลุ่มเป้าหมายระดับหมู่บ้านและจัดทำแผนการขับเคลื่อน 30 0.00 0.00
19 ส.ค. 65 การประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 30 3,000.00 3,000.00
9 ก.ย. 65 การประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 30 3,000.00 3,000.00
21 พ.ย. 65 การประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 30 3,000.00 3,000.00
23 มี.ค. 66 หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ 0 0.00 500.00
27 มี.ค. 66 การประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 5 ติดตามประเมินผลโครงการ ARE 30 3,000.00 3,000.00
19 เม.ย. 66 การประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 6 30 3,000.00 3,000.00
2 การบริหารจัดการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 11 10,000.00 6 10,000.00
4 มิ.ย. 65 การประชุมเชิงปฏิบัติการปฐมนิเทศโครงการย่อย(Node Flagship Chumphon) 3 2,412.00 2,412.00
20 มิ.ย. 65 จัดทำป้ายไวนิลและตรายาง 0 1,524.00 1,524.00
30 ก.ค. 65 ประชุมพัฒนาศักยภาพโครงการย่อยด้านการบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ 1 1,422.00 1,422.00
31 ต.ค. 65 การประเมินผล ARE ครั้งที่ 1 ของ Node Flagship ชุมพร 3 1,321.00 1,321.00
10 เม.ย. 66 การประเมินผล ARE ครั้งที่ 2 ของ Node Flagship ชุมพร 4 1,321.00 1,321.00
28 เม.ย. 66 การบันทึกข้อมูลออนไลน์ 0 2,000.00 2,000.00
3 เกิดความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 120 41,000.00 3 41,000.00
18 ส.ค. 65 การอบรมพัฒนาศักยภาพ อสม.เป็นต้นแบบด้านความรอบรู้สุขภาพ และจับคู่ซี้บัดดี้ในกลุ่มเป้าหมายเพื่อร่วมกันทำกิจกรรมปรับเปลี่ยน 60 25,200.00 25,200.00
9 ก.ย. 65 การอบรมให้ความรู้เรื่องโรคและปัจจัยเสี่ยง อาหาร/โภชนาการ การปลูกผักกินเอง การออกกำลังกายเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพให้แก่กลุ่มเสี่ยง 60 15,800.00 15,800.00
7 ธ.ค. 65 ประสานความร่วมมือกับภาคีที่เกี่ยวข้องและกำหนดกติการ่วม 0 0.00 0.00
4 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. 2 ส ดีขึ้น กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 240 10,000.00 3 10,000.00
25 ส.ค. 65 ประสานพื้นที่กลางเพื่อจัดทำกิจกรรมร่วมกันของชุมชน 0 0.00 0.00
29 พ.ย. 65 ติดตามผลการปรับเปลี่ยพฤติกรรมครั้งที่ 1 รอบ 3 เดือน -เยี่ยมเสริมพลัง ประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และวางแผน 120 5,000.00 5,000.00
22 มี.ค. 66 ติดตามผลการปรับเปลี่ยพฤติกรรม ครั้งที่ 2 รอบ 6 เดือน -เยี่ยมเสริมพลัง ประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และวางแผน 120 5,000.00 5,000.00
5 เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยการลดอัตราเจ็บป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในหน่วยบริการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 206 39,500.00 3 39,500.00
21 ก.พ. 66 จัดเก็บข้อมูลสถานการณ์เพื่อทบทวนสถานการณ์ปัญหาสุขภาพชุมชนพัฒนาระบบฐานข้อมูลรายหมู่บ้าน จำนวน 2 ครั้ง 6 3,000.00 3,000.00
26 เม.ย. 66 จัดเวทีถอดบทเรียน อสม.ต้นแบบและคู่ซี้บัดดี้ และวางแผนให้แกนนำสุขภาพขยายเครือข่ายลงสู่ทุกครัวเรือนในหมู่บ้านพร้อมมอบเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ 150 27,200.00 27,200.00
27 เม.ย. 66 นำเสนอผลงานและข้อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 50 9,300.00 9,300.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ระบุผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ • แกนนำ อสม.ต้นแบบ มีความรอบรู้และสามารถใช้เทคนิคการสื่อสาร สร้างแรงบันดาลใจแก่คู่บัดดี้ เพื่อมุ่งสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปด้วยกัน • กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วย มีความรู้ และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้จริง และลดอัตราการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ได้ร้อยละ 50
2.เมื่อโครงการแล้วเสร็จ หรือเมื่อทุนของ สสส. หมดลง จะมีการดำเนินการต่อเนื่องหรือไม่ อย่างไร • ดำเนินการต่อในกลุ่มผู้ป่วยและสงสัยป่วยในปีถัดไป เพราะยังคงมีอัตราการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ในระยะแรก เพราะสถานการณ์ของโรคนี้ยังเป็นปัญหาในระดับต้นๆของปัญหาสาธารณสุข
3.ระบุวิธีการขยายผลจากการดำเนินโครงการ และชุมชน หรือผู้อื่นจะใช้ประโยชน์จากผลของโครงการนี้อย่างไร • มีแผนงานให้แกนนำ กลไก อสม.ต้นแบบที่ได้จากโครงครั้งนี้ ขยายเครือข่ายลงสู่ทุกครัวเรือนในหมู่บ้าน ในการส่งเสริมความรู้เรื่องพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง สร้างแรงบันดาลใจ แรงกระตุ้น เพื่อลดอัตราการเกิดผู้ป่วยรายใหม่อย่างยั่งยืนต่อไป

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2022 11:23 น.