directions_run

(02)พัฒนาศักยภาพชมรมผู้สูงอายุเพื่อรองรับสังคมสูงวัย

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ (02)พัฒนาศักยภาพชมรมผู้สูงอายุเพื่อรองรับสังคมสูงวัย
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดชุมพร
รหัสโครงการ 6500240-0002
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2022 - 30 เมษายน 2023
งบประมาณ 130,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้สูงอายุตำบลเขาทะลุ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายบุญธรรม นาคนิยม
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายวิษณุ ทองแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดภาคใต้
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 52,000.00
2 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 71,500.00
3 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 6,500.00
รวมงบประมาณ 130,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

1.1 สถานการณ์ปัญหาของพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาทะลุ ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลเขาทะลุ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร รับผิดชอบพื้นที่ตำบลเขาทะลุ จำนวน 11 หมู่บ้าน ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ สลับที่ราบสูงและภูเขา ชาวบ้านยึดอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำสวนทุเรียน สวนยาง ปาล์ม กาแฟ ลองกอง มังคุด และปลูกผัก เป็นต้น เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว ระหว่างวัฒนธรรมคนใต้และคนอีสาน รวมถึงเรื่องอาหารการกิน มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด จำนวน 2,280 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 6,714 คน เป็นเพศชาย 3,305 คน และเพศหญิง 3,409 คน แยกเป็นกลุ่มวัยเด็กและเยาวชน 1,626 คน วัยแรงงาน 3,941 คน ผู้สูงอายุ 1,147 คน ประชาชนเกือบทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ จากการวิเคราะห์ปัจจัยและสาเหตุของโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลเขาทะลุ พบว่า ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำสวน ทุเรียน ปาล์ม และยางพารา วิถีชีวิตของคนในชุมชน คือในตอนเช้าตรู่เป็นช่วงเวลาที่เร่งรีบในการทำงาน จึงดื่มกาแฟสำเร็จรูปเพื่อความสะดวก และเป็นตัวกระตุ้นการทำงาน เช่น การกรีดยาง ซึ่งกาแฟสำเร็จรูปนั้นจะผสมน้ำตาล ครีมเทียม จากการสอบถามพบว่าเป็นกาแฟแก้วแรกของวัน หลังจากนั้นก็จะดื่มกาแฟสำเร็จรูปอีกในช่วงบ่ายของแต่ละวัน โดยเฉลี่ยพบว่าจะกินกาแฟวันละ 2-3 แก้ว นั่นหมายถึง ปริมาณน้ำตาลและครีมเทียมที่ได้รับต่อวัน
นอกจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมแล้ว ประชากรอีกส่วนหนึ่งยังประกอบอาชีพรับจ้าง จึงทำให้ต้องใช้กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลังและมีการสูบบุหรี่ เพื่อลดความเครียดและกระตุ้นการทำงานจนเป็นกิจวัตร และอีกสาเหตุหนึ่ง คือ รสชาติในการปรุงอาหาร ตามวิถีคนใต้ ส่วนใหญ่ปรุงอาหารที่มีรสชาติเข้มข้น คือ เผ็ดจัด หวาน มัน เค็ม โดยเฉพาะแกงกะทิ และการบริโภคอาหารที่มีความเค็มจัดของชาวอีสาน เช่น ปลาร้า เป็นต้น เนื่องจากหามารับประทานได้ง่าย และความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการออกแรงทำงานในสวนว่าเป็นการออกกำลังกายอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายแบบอื่น ทำให้ขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม จากสาเหตุดังกล่าว ทำให้ผู้ป่วยเรื้อรังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี แต่สาเหตุที่เลือกประเด็นปัญหาโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุอยู่ในวัยพึ่งพิง ไปไหนมาไหนเองได้ไม่สะดวก มีปัญหาการเดินทางไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล ต้องมีลูกหลานคอยดูแล และหากผู้สูงอายุเป็นโรคเรื้อรังเพิ่มสูงขึ้น อาจจะมีผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงเพิ่มสูงขึ้นด้วย จึงนำผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคเรื้อรังเหล่านี้ มาปรับพฤติกรรมในตลาดนัดสุขภาพ ทุนของชุมชน ในชุมชนมีองค์การบริหารส่วนตำบลเขาทะลุ มีโรงงานกาแฟเขาทะลุ มีวัดหลายแห่ง เช่นวัดเขาทะลุ วัดห้วยกลาง วัดถ้ำฤาษี วัดเขาใหญ่วนาราม เป็นที่พบปะและทำพิธีทางศาสนา มีวัฒนธรรมพื้นบ้านอย่างหลากหลายประกอบด้วยวันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ เทศกาลตรุษไทย รับส่ง-ตายาย ถวายฉลากภัตรแด่พระภิกษุสงฆ์/สามเณร ร่วมงานวันสำคัญทางศาสนา และวันสำคัญของชาติ มีโรงเรียน 4 แห่ง คือ รร.บ้านเขาทะลุ รร.บ้านห้วยกลาง รร.บ้านห้วยทับทอง รร.เขาทะลุพิทยาคม มีตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงมัธยม และ รพ.สต.เขาทะลุให้บริการด้านสุขภาพ มีคณะกรรมการหมู่บ้าน ควบคุมบริหารงานของหมู่บ้าน โดยใช้กลไกนโยบายของรัฐบาลตามโครงการประชารัฐ โดยมีนายอนันต์ สงค์ประเสริฐ เป็นกำนัน และยังมีผู้นำทางธรรมชาติ กองทุน และกลุ่มต่าง ๆ ประกอบด้วยกองทุนเงินล้านหมู่บ้าน กลุ่มผู้ปลูกปาล์ม กลุ่มเกษตรกรทำสวนตำบลเขาทะลุ และกลุ่ม อสม. มีบุคลากรในชุมชนที่มีความรู้ความสามารถหลายด้านทั้งด้านอาชีพและภูมิปัญญา ด้านจักสาน ทำไม้กวาด ปลูกผักปลอดสารพิษ ปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ และการแปรรูปกาแฟ เป็นต้น มีศาลาหมู่บ้านเป็นที่ประชุมประจำเดือน และเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่มีเอกสาร หนังสือให้ชาวชุมชนได้อ่านด้วยการดูแลของ กศน.อำเภอสวี สาเหตุของปัญหา โดยมีข้อมูลสนับสนุนที่ชัดเจน ในการจัดทำโครงการชุมชนครั้งนี้ได้มีการทำการวิเคราะห์ปัญหา การทำต้นไม้ปัญหา นำปัญหาที่ได้จากการวิเคราะห์รายด้านทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ แล้วนำมาเรียงลำดับความสำคัญของปัญหา ตามตาราง 1 แล้วช่วยกันหาแนวทางแก้ไข ร่างเป็นกิจกรรมย่อย ๆ พร้อมทั้งมอบหมายหน้าที่ของแกนนำชุมชนจำนวน 15 คน ที่เป็นอาสาสมัครเป็นแกนนำชุมชนครั้งนี้ ตามตารางที่ 2 ช่วยกันจัดทำแผน โดยมีนักวิชาการช่วยดำเนินการมีการพูดคุยกัน 2 ครั้งเพื่อทบทวนปัญหาและนำข้อมูลชุมชนมาหนุนเสริมในการจัดทำโปรแกรมผลลัพธ์ และบันไดผลลัพธ์เพื่อจัดทำข้อเสนอโครงการต่อไป ตารางที่ 1 การลำดับความสำคัญของปัญหา
ปัญหา ขนาด ความรุนแรง ความตระหนัก ความยากง่าย รวม หนี้สิน 2 3 2 3 10 ยาเสพติด 3 2 3 3 11 ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม 2 2 3 2 9 โรคเรื้อรัง 3 4 3 3 13 จากการตารางปัญหา คณะกรรมการได้วิเคราะห์พบว่าแต่ละเรื่องมีความสอดคล้องกันสามารกกำหนดเป็นประเด็นต่าง ๆ และได้พูดคุยร่วมกันกับพี่เลี้ยงโครงการสสส.ให้คำแนะนำเพิ่มเติม และต่อมาได้นัดหมายเวลา และสถานที่พูดคุยกันอีกครั้ง โดยใช้พื้นที่ รพ.สต.เขาทะลุ เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาภาพรวมของชุมชนที่มีความครอบคลุมทั้ง ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ สรุปได้ดังนี้ 1) ด้านเศรษฐกิจ พบว่าคนในชุมชน มีภาวะหนี้สินทั้งในและนอกระบบ จากราคาพืชผลตกต่ำ ต้นทุนการผลิตสูง (ค่าวัสดุการเกษตร:ปุ๋ย ค่ายาปราบวัชพืช) ผู้ซื้อกำหนดราคา และความจำเป็นต้องส่งลูกเรียน นอกจากนี้ยังมีนิสัยส่วนตัวที่ฟุ่มเฟือย อยากได้ตามเพื่อน และไม่มีความรู้ในการจัดทำบัญชีครัวเรือน เป็นต้น
2) ด้านสังคม พบว่า เด็กและเยาวชนติดยา จากที่ขาดความอบอุ่น ตามเพื่อนและอยากทดลอง ส่งผลให้มีปัญหาลักขโมยและติดยาตามมา วัยแรงงานออกไปทำงานนอกบ้าน เหลือแต่ผู้สูงอายุที่บางคนเป็นผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน เป็นโรคเรื้อรัง อยู่คนเดียว และบางคนโสดทำให้ขาดคนดูแล เป็นต้น   3) ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่ามีการฉีดพ่นยาฆ่าแมลงศัตรูพืช และน้ำเน่าเสียจากโรงรับซื้อยางพารา และมลพิษจากการเผาขยะ   4) ด้านสุขภาพ จากการคัดกรองสภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.เขาทะลุ มีผู้สูงอายุทั้งหมด 1,147 คน มีกลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวาน 225 คน คิดเป็นร้อยละ 19.62 ของประชากรผู้สูงอายุ ความดันโลหิตสูง 476 คน คิดเป็นร้อยละ 41.50 ของประชากรผู้สูงอายุ และผู้พิการ 95 คน กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 446 คน แบ่งเป็นกลุ่มติดสังคม 1,105 คน กลุ่มติดบ้าน 24 คน และกลุ่มติดเตียง 18 คน
ทำให้คณะกรรมการเลือกปัญหาโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุซึ่งมีเป็นจำนวนมาก และขาดการดูแลที่ถูกต้องในด้านต่างๆ ในการจัดทำโครงการครั้งนี้ ได้นำคนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการในรูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อนของคนสามวัยใส่ใจสุขภาพผู้สูงอายุ ทำการวิเคราะห์ต้นไม้ปัญหาในการดำเนินงานครั้งนี้ พบว่ามีสาเหตุในด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย
1) ด้านพฤติกรรมเกิดจากคนส่วนใหญ่ไม่ออกกำลังกาย รับประทานอาหารไม่ถูกต้องและไม่ควบคุมอาหาร คนทั่วไปถือว่าเป็นเรื่องไม่ร้ายแรง เชื่อสื่อโฆษณาต่างๆ ส่งเสริมให้บริโภคอาหารขยะไม่มีประโยชน์ ทำให้เป็นโรคเรื้อรังและมีโรคแทรกซ้อนได้หลายโรค นอกจากนี้พบว่าผู้สูงอายุบางคนไม่ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง เอาแต่ใจ มีเวลาว่างมาก ,มีภาระที่ต้องเลี้ยงดูหลาน และมีความรู้ภูมิปัญญา เป็นต้น
2) ด้านสิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพพบว่า ขาดสถานที่กลาง(สาธารณะ)ในออกกำลังกาย และพบปะพูดคุย และไม่มีเครื่องออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย ส่วนสิ่งแวดล้อมทางด้านสังคมพบว่าขาดคนพามาร่วมกิจกรรมเนื่องจากลูกหลานทำงานต่างจังหวัดและบางคนไม่มีบุตรหลานต้องอยู่ตามลำพัง
3) ด้านกลไกพบว่าขาดแกนนำในการดูแลผู้สูงอายุ ที่มีอยู่ (อสม.)ไม่ได้ผ่านการอบรมที่ถูกต้อง และขาดแกนนำในการออกกำลังกายให้สมวัย ซึ่งจากที่มีผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทำให้มีสุขภาพที่ดีไว้และคนรุ่นใหม่ที่มีโอกาสเสี่ยงสูงเนื่องจากเป็นสมาชิกของครอบครัวผู้สูงอายุไม่เป็นโรคเรื้อรังต่อไป เพราะถ้าเกิดโรคเรื้อรังแล้วจะมีผลกระทบที่ตามมาในด้านต่าง ๆเช่น ด้านสุขภาพที่พบว่าผู้สูงอายุไม่สามารถควบคุมเบาหวาน และความดันโลหิตสูง นำไปสู่ความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุต้องเสียค่าเดินทางไปรักษาประมาณ 600 บาท/เดือน และด้านสังคมพบว่าขาดผู้ดูแลทำให้การรักษาโรคไม่ถูกต้องและไม่ต่อเนื่อง (มองไม่เห็น ลืม-จำผิด
ตารางที่ 2 รายนามคณะกรรมการจัดทำโครงการ รายชื่อ บทบาทหน้าที่ เบอร์โทรศัพท์ นางเบญจมาศ ตั้นตี๋    ผอ.รพ.สต.เขาทะลุ (ที่ปรึกษา) 091-1549828 นายบุญธรรม นาคนิยม ผู้รับผิดชอบโครงการ 090-9702269 นางนงนุช ตั้นตี๋ เลขานุการ 086-9506565 นางอรวรรณ มาอยู่ เหรัญญิก 086-1758102 นายสมิท ชมเชย กรรมการ 0925294787 นางโสภิต พรเสถียรพงศ์ กรรมการ 065-2461058 นางบุญเรือน เส็งชุนวรพงค์ กรรมการ 065-0414743 นางสีอัมพร อิ่มงาม กรรมการ 093-6133127 นางวันดี พิงกระโทก กรรมการ 086-2676504 นางทองแดง พินิจด้วง กรรมการ 061-1088047 นางจำปี พืชพันธ์ กรรมการ 084-3977699 นางหนูนา ดีเชียง กรรมการ 096-0457479 นางเถียร นุ่มครบุรี กรรมการ 089-4811430 นางสุวรรณ ชัยลา กรรมการ 062-5803367 นางลำพูน ชานุชิต กรรมการ 093-7202441

1.2 แนวทางการแก้ไขปัญหาที่จะเสนอในโครงการนี้ ควรใช้ทุนเดิม จุดแข็งที่มี มาช่วยหนุนเสริมการดำเนินงานโครงการอย่างไร มิติ/ประเด็น บริบท/ข้อมูลพื้นฐาน สถานการณ์สุขภาวะในปัจจุบัน แนวทางการพัฒนา ผลกระทบด้านบวก ผลกระทบด้านลบ
คน/กลุ่มคน -ความรู้/ความเชื่อ -วิถีชีวิต/จิตวิญญาณ -พฤติกรรม/พันธุกรรมฯ -ผู้สูงอายุเป็นโรคเรื้อรัง (เบาหวาน-ความดันฯ) 701 คน จากประชาชนทั้งหมด 6,714 คน -มีศักยภาพและ  ภูมิปัญญาเฉพาะตัว -มีเวลาว่าง/ชอบอิสระ -มีชมรมอสม.
-มีชมรมผู้สูงอายุ -มีโรงเรียนผู้สูงอายุ

  • ขาดความตระหนักในเรื่องการบริโภคอาหารปลอดภัยและคุณค่าทางอาหาร

    • ขาดการออกกำลังกาย -สูบบุหรี่,ดื่มสุรา

    1.ประชุมชี้แจงประชาชนด้วยการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าพร้อมปฏิทินงาน 2.ให้ความรู้และพัฒนาศักยภาพกลุ่มแกนนำต้นแบบให้นำความรู้ไปปฏิบัติและเป็นแบบอย่างที่ดี
    3.จัดกิจกรรมเชิงรุกและรณรงค์วิธีการออกกำลังกายหลายรูปแบบ 4.ให้ความรู้กับประชาชน กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่เป็นโรคในเรื่อง 3อ2ส1ฟ ที่ถูกต้องเหมาะสม สภาพแวดล้อม -เศรษฐกิจ -สังคมวัฒนธรรม -การสื่อสาร/ศึกษาฯ -ขาดสถานที่กลางในการพบปะ พูดคุยและออกกำลังกาย -ขาดอุปกรณ์การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยและผู้สอน -ผู้สูงอายุเป็นที่เชื่อถือของลูกหลาน มีเวลาว่าง มีภูมิปัญญาและความสามารถ -ปลูกผักกินเอง -มีไลน์กลุ่ม -ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพังตอนกลางวัน -ขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง -ขาดผู้ดูแลที่เหมาะสม(มีความรู้เฉพาะทาง) 5. ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยการนำภูมิปัญญามาปรับใช้ และถ่ายทอดให้คนรุ่นใหม่ 6.สำรวจความจำเป็นใช้วัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่กลาง ระบบ/กลไก -กลไกอาสา -คณะทำงาน/กรรมการ -องค์กร/สถาบัน -ระบบที่เกี่ยวข้องฯ. ผู้นำชุมชน อสม ชมรมอสม. เทศบาล วัด โรงเรียน โรงพยาบาลสวี/รพ.สต.เขาทะลุ -สนับสนุนงบประมาณ/สวัสดิการ -เป็นวิทยากร -อำนวยการ -ไม่ทั่วถึง

  1. จัดกลุ่มแกนนำเพื่อนช่วยเพื่อน พร้อมทั้งกำหนดกติกากลุ่มและประกาศใช้ 8.ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขอสนับสนุนทรัพยากรตามความเหมาะสม

1.3 แสดงให้เห็นว่าการดำเนินงานโครงการจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างไร) ผู้สูงอายุถือว่าเป็นปูชณียบุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่ง เนื่องจากผ่านประสบการณ์มามาก ได้เคยเป็นกำลังสำคัญของสังคมมาก่อน มีความรู้ มีทักษะ อนุรักษ์ และสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตดั้งเดิม และได้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมมาแล้วมากมาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คนรุ่นหลังจะต้องให้ความสำคัญในการยกย่อง ให้การดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพจิต สุขภาพกาย สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุขดังนั้นการดูแลและเอาใจใส่ผู้สูงอายุจึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในชุมชนซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุมีกำลังใจในการดำรงชีวิตแบบมีความสุขทั้งกายและใจ โดยตระหนักถึงความสำคัญของผู้สูงอายุและวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามประกอบกับชุมชนมีผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบลเขาทะลุ และคณะกรรมการอบต.ชุดใหม่โดยการนำของนายสุรเชษฐ์ ไทยสวี ปฏิบัติตามนโยบายที่มีสวัสดิการช่วยเหลือ พร้อมทั้งการสนับสนุนและให้ความสำคัญกับประชาชนตำบลเขาทะลุ ในเรื่องงบประมาณ และการอำนวยความสะดวก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาทะลุและโรงพยาบาลสวีในเรื่องสุขภาพ และกำนันผู้ใหญ่บ้านและทีมงานในด้านการช่วยเหลือและสนับสนุนทั่วไปถึงแม้ว่ายังจะมีความไม่ครอบคลุมอยู่บ้างทั้งในส่วนของผู้ที่จะให้การดูแลผู้สูงอายุที่ต้องผ่านการอบรมเฉพาะ แต่ก็ยังมีอาสาสมัครสาธารณสุขที่ดูแลได้ระดับหนึ่งแต่ยังไม่ทั่วถึงและเป็นผู้สูงอายุด้วยกันยังขาดคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาหนุนเสริม เป็นต้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ชุมชนจะต้องดำเนินการโดย
1) มุ่งเน้นให้ผู้สูงอายุในชุมชนมีความสามัคคีร่วมกันโดยให้มีกิจกรรมทำร่วมกันอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อเป็นการสร้างความรัก ความสามัคคีระหว่างกันในชุมชน 2) มุ่งเน้นให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่แข็งแรงโดยการกินผักปลอดสารพิษ การปลูกผักกินเอง รั้วกินได้หรือการปลูกผักเป็นกลุ่ม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งด้านโภชนาการ ร่างกาย และจิตใจ 3) มุ่งเน้นให้คนในชุมชนมีคุณธรรมและจริยธรรมเกิดขึ้นชุมชน ฟื้นฟูกิจกรรมวัฒนธรรมประเพณีของหมู่บ้านเพื่อให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญและอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามของชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของทุกคนและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยมีเป้าหมายในระยะสั้นที่ต้องการให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดปัจจัยเสี่ยง เพิ่มปัจจัยเสริมด้านสุขภาพชุมชน เกิดกลไกการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พร้อมทั้งลดอัตราเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ซึ่งจะส่งผลต่อผลลัพธ์ระยะยาวที่ผู้สูงอายุและประชาชนในชุมชนมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ทางสังคมและมีสิ่งแวดล้อมที่ดี สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ระดับจังหวัดและระดับชาติ

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66
1 สำรวจ/ทบทวนสถานการณ์ปัญหาชุมชน (ก่อน-หลัง)(1 พ.ค. 2022-23 พ.ค. 2022) 0.00                        
2 จัดตั้งและพัฒนาคณะทำงาน(1 พ.ค. 2022-30 เม.ย. 2023) 10,100.00                        
3 สร้างการรับรู้ข้อมูล/การสื่อสาร/การมีส่วนร่วม(Line/Face book)(1 พ.ค. 2022-1 เม.ย. 2023) 0.00                        
4 สสส.สมทบค่าบริหารจัดการ(1 พ.ค. 2022-30 เม.ย. 2023) 10,000.00                        
5 ส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุ(1 มิ.ย. 2022-30 เม.ย. 2023) 21,000.00                        
6 ศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบด้านการดูแลผู้สูงอายุบ้านนาเดิม สุราษฎร์ธานี (เปลี่ยนเป็นตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช)(1 ก.ค. 2022-31 ก.ค. 2022) 7,900.00                        
7 ประชุมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ 3อ 2ส 1ฟ และกำหนดกติการ่วมในวันประชุมประจำเดือน(23 ก.ค. 2022-23 ก.ค. 2022) 20,000.00                        
8 พัฒนาโครงการจัดการโรคเรื้อรังสู่ อปท.เขาทะลุ(1 ส.ค. 2022-31 ส.ค. 2022) 0.00                        
9 ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย(1 ต.ค. 2022-31 ต.ค. 2022) 0.00                        
10 ประชุมเตรียมความพร้อมรองรับสังคมสูงวัย (4 มิติ)(1 ต.ค. 2022-31 ต.ค. 2022) 5,100.00                        
11 อบรมเชิงปฏิบัติการทำอาหารเมนูชูสุขภาพ กินอาหารเป็นยา(1 พ.ย. 2022-30 พ.ย. 2022) 20,000.00                        
12 เข้าค่ายปฏิบัติธรรมและเรียนรู้นอกพื้นที่ (วัดสร้างสุข)(1 ธ.ค. 2022-31 ธ.ค. 2022) 31,500.00                        
13 ส่งเสริมพัฒนานวัตกรรม (ถอดบทเรียนการจัดการความรู้โรคเรื้อรัง)(1 มี.ค. 2023-31 มี.ค. 2023) 0.00                        
14 จัดเวทีประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดี (บุคคลต้นแบบ)(1 มี.ค. 2023-31 มี.ค. 2023) 4,500.00                        
รวม 130,100.00
1 สำรวจ/ทบทวนสถานการณ์ปัญหาชุมชน (ก่อน-หลัง) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 1532 0.00 4 0.00
1 - 23 พ.ค. 65 1.1 แกนนำร่วมกันรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำโครงการ 0 0.00 0.00
1 - 31 พ.ค. 65 1.2 แกนนำพบพี่เลี้ยงและนักวิชาการเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล หาสาเหตุของปัญหา และแนวทางแก้ไข 15 0.00 0.00
23 พ.ค. 65 1.3 ประชุมชี้แจงในเวทีประชุมประจำเดือนเพื่อให้รับทราบวัตถุประสงค์ของการจัดทำโครงการ 100 0.00 0.00
23 พ.ค. 65 1.4 สำรวจข้อมูล 1,417 0.00 0.00
2 จัดตั้งและพัฒนาคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 430 10,100.00 13 10,100.00
1 พ.ค. 65 - 30 เม.ย. 66 2.3 พัฒนาศักยภาพคณะทำงานเพื่อการเรียนรู้ 15 10,000.00 2,500.00
1 พ.ค. 65 - 30 เม.ย. 66 2.4 ดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนด 0 0.00 0.00
1 พ.ค. 65 - 30 เม.ย. 66 2.5 ติดตามประเมินผล 15 0.00 0.00
23 พ.ค. 65 2.1 ประชุมคณะกรรมการประจำเดือน 0 0.00 0.00
23 พ.ค. 65 2.2 ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนและจัดทำปฏิทินปฏิบัติงาน 0 0.00 0.00
11 ก.ค. 65 2.7ทำป้ายไวนิลบันทึกข้อตกลง (MOU) ประเด็นสังคมสูงวัยและกลุ่มเปราะบาง 0 0.00 980.00
30 พ.ย. 65 2.6จัดทำป้ายไวนิลโครงการ และป้ายไวนิลบันไดผลลัพธ์โครงการ 0 0.00 1,000.00
1 ธ.ค. 65 2.8 ทำเล่มบันทึกข้อตกลง (MOU) ประเด็นสังคมสูงวัยและกลุ่มเปราะบาง 0 0.00 850.00
17 มี.ค. 66 หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ 0 100.00 100.00
23 เม.ย. 66 ส่งเสริมพัฒนานวัตกรรม (ถอดบทเรียนการจัดการความรู้โรคเรื้อรัง) (กิจกรรมที่ 12) 50 0.00 970.00
28 เม.ย. 66 ทำป้ายไวนิล "เวทีเสวนาถอดบทเรียนโครงการพัฒนาศักยภาพชมรมผู้สูงอายุ เพื่อรองรับสังคมสูงวัย " 150 0.00 600.00
28 เม.ย. 66 ทำป้ายไวนิล "ขอแสดงความยินดีกับนักเรียนผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลเขาทะลุ ปีการศึกาษา 2565" 50 0.00 600.00
28 เม.ย. 66 สมทบเงินเป็นค่าอาหารกิจกรรมที่ 14 เวทีสรุปบทเรียนคืนข้อมูลชุมชน 150 0.00 2,500.00
3 สร้างการรับรู้ข้อมูล/การสื่อสาร/การมีส่วนร่วม(Line/Face book) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 0.00 1 0.00
1 พ.ค. 65 - 30 เม.ย. 66 3.1 จัดทำกลุ่มการสื่อสารผ่านช่องทาง (Line / Face book) 100 0.00 0.00
4 สสส.สมทบค่าบริหารจัดการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 10,000.00 13 10,000.00
1 พ.ค. 65 - 30 เม.ย. 66 4.1 ประชุมเชิงปฏิบัติการปฐมนิเทศโครงการย่อย (Node Flagship Chumphon) 3 10,000.00 1,232.00
6 ก.ค. 65 4.2ทำป้ายไวนิล "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์" ขนาด 49 * 30 ซม. 0 0.00 160.00
30 ก.ค. 65 4.3การประชุมพัฒนาศักยภาพโครงการย่อยด้านการบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ 1 0.00 616.00
26 ต.ค. 65 4.4กิจกรรมงานสมัชชาพลเมืองจังหวัดชุมพร ปี 2565 (สมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร) 4 0.00 616.00
5 มี.ค. 66 4.5ค่าวัสดุอุปรณ์ ในการจัดทำหนังสือประสานงานกับพื้นที่ เชิญประธาน พิธีกรและแขกผู้มีเกียรติ 0 0.00 350.00
11 มี.ค. 66 4.6ค่าประสานงานและสำรวจเส้นทาง 9 วัด 9 0.00 1,000.00
11 มี.ค. 66 4.7ค่าอาหารกลางวันคณะเดินทางสำรวจเส้นทาง 9 วัด 5 0.00 400.00
3 เม.ย. 66 4.8ค่าน้ำมันรถติดต่อประสานงานผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและสาธารณสุขจังหวัดชุมพร 0 0.00 500.00
3 เม.ย. 66 4.9ค่าอาหารกลางวันทีมงานติดต่อประสานงานวิทยากรและประธานชมรมผู้สูงอายุ 18 ชมรม กศน.สวีและสสอ.สวี 5 0.00 500.00
4 เม.ย. 66 4.10ค่าน้ำมันรถติดต่อประสานงานวิทยากรและคณะประธานชมรมผู้สูงอายุ 18 ชมรม กศน.อ.สวี และสสอ.สวี 0 0.00 1,000.00
4 เม.ย. 66 4.11ค่าน้ำมันรถติดต่อประสานงาน(ส่งหนังสือเชิญ)กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 11 หมู่บ้าน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาทะลุและส.อบต. 11 หมู่บ้าน ผอ.โรงเรียน 4 โรงเรียน วัดห้วยกลาง 31 0.00 500.00
10 เม.ย. 66 4.12ประชุมติดตามประเมินผลลัพธ์โครงการย่อย สสส.(Node Flagship Chumphon) 2 0.00 1,320.00
26 - 27 เม.ย. 66 4.13ค่าอาหารกลางวันทีมงานจัดเตรียมสถานที่เวทีเสวนาถอดบทเรียน 40 0.00 1,806.00
5 ส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 21,000.00 2 21,000.00
1 มิ.ย. 65 - 30 เม.ย. 66 5.2 เยี่ยมเสริมกำลังบ้านผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง 10 0.00 0.00
8 - 23 เม.ย. 66 5.1 ส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุ 50 21,000.00 21,000.00
6 ศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบด้านการดูแลผู้สูงอายุบ้านนาเดิม สุราษฎร์ธานี (เปลี่ยนเป็นตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 12 7,900.00 1 7,900.00
23 ส.ค. 65 6.1 ศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 12 7,900.00 7,900.00
7 ประชุมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ 3อ 2ส 1ฟ และกำหนดกติการ่วมในวันประชุมประจำเดือน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 265 20,000.00 3 20,000.00
23 ก.ค. 65 7.1 ผู้รับผิดชอบโครงการและทีมงานชี้แจงความก้าวหน้าของการทำงานและรับทราบปัญหาชุมชน 115 20,000.00 20,000.00
23 ก.ค. 65 7.2 นำข้อมูลที่ได้เข้าที่ประชุมคณะกรรมการโครงการ 100 0.00 0.00
23 ม.ค. 66 7.3 มีการกำหนดกติกาชุมชนและประกาศใช้ 50 0.00 0.00
8 พัฒนาโครงการจัดการโรคเรื้อรังสู่ อปท.เขาทะลุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 0.00
1 - 31 ส.ค. 65 8.1 จัดประชุมคณะทำงานและแกนนำผู้สูงอายุและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุในการจัดทำโครงการโรคเรื้อรัง เข้าของบประมาณกองทุนฯ 0 0.00 0.00
9 ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 0.00 2 0.00
11 ก.ค. 65 9.1 ประสานผู้รับผิดชอบงานในแต่ละหน่วยงานเพื่อหาแนวทางในการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการให้เข้าร่วมประชุมและรับฟัง 0 0.00 0.00
1 - 31 ต.ค. 65 9.2 ประสานการนำแนวทางที่ร่วมกำหนดไว้ บรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาทะลุ โรงพยาบาลสวี และทีมพชอ.สวี 50 0.00 0.00
10 ประชุมเตรียมความพร้อมรองรับสังคมสูงวัย (4 มิติ) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 5,100.00 1 5,100.00
24 มี.ค. 66 10.1 ประชุมกลุ่มแกนนำภาคีองค์กรในพื้นที่เพื่อจัดทำแผนรองรับสังคมสูงวัย 30 5,100.00 5,100.00
11 อบรมเชิงปฏิบัติการทำอาหารเมนูชูสุขภาพ กินอาหารเป็นยา กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 20,000.00 1 20,000.00
23 ก.พ. 66 11.1 กิจกรรมสอนทำอาหารเมนูชูสุขภาพ/กินอาหารเป็นยา 100 20,000.00 20,000.00
12 เข้าค่ายปฏิบัติธรรมและเรียนรู้นอกพื้นที่ (วัดสร้างสุข) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 31,500.00 2 31,500.00
1 มิ.ย. 65 - 30 เม.ย. 66 12.1 หิ้วปิ่นโตเข้าวัด (ปิ่นโตสุขภาพ) 0 0.00 0.00
18 - 19 มี.ค. 66 12.2 จัดกิจกรรมเข้าค่ายโดยใช้ธรรมะบำบัดเพื่อความผ่อนคลาย 50 31,500.00 31,500.00
13 ส่งเสริมพัฒนานวัตกรรม (ถอดบทเรียนการจัดการความรู้โรคเรื้อรัง) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 300 0.00 3 0.00
1 - 28 เม.ย. 66 13.2 สรุปและจัดทำเอกสาร 50 0.00 0.00
28 เม.ย. 66 13.1 เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องและคณะทำงานเข้าร่วมเวทีการถอดบทเรียน 150 0.00 0.00
28 เม.ย. 66 13.4 นำเสนอผลการถอดบทเรียน 100 0.00 0.00
14 จัดเวทีประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดี (บุคคลต้นแบบ) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 330 4,500.00 8 4,500.00
1 - 31 มี.ค. 66 14.2 กำหนดเกณฑ์การประเมินผู้สูงอายุและแกนนำต้นแบบการดูแลสุขภาพ 50 0.00 0.00
24 มี.ค. 66 14.1 แต่งตั้งคณะทำงาน 45 0.00 0.00
1 - 30 เม.ย. 66 14.3 ค้นหาบุคคลต้นแบบเพื่อนำเสนอคณะกรรมการโครงการและคณะผู้บริหาร 5 0.00 0.00
23 เม.ย. 66 14.5 แจ้งการจัดเวทีสรุปกิจกรรมโครงการให้ประชาชนได้รับทราบในเวทีประชุมประจำเดือน 50 0.00 0.00
28 เม.ย. 66 14.4 จัดหารางวัลและเกียรติบัตร พร้อมมอบรางวัลในเวทีสรุปผลและคืนข้อมูลชุมชน 70 0.00 0.00
28 เม.ย. 66 14.6 เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามารับทราบกิจกรรมการดำเนินงาน 100 4,500.00 4,500.00
28 เม.ย. 66 14.7 มอบรางวัลบุคคลต้นแบบ 5 0.00 0.00
28 เม.ย. 66 14.8 ร่วมวงเสวนาการขับเคลื่อนการดำเนินงานเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุและการลดโรคเรื้อรังในอำเภอสวีต่อไป 5 0.00 0.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดคณะทำงานร่วมจัดการโรคเรื้อรังในพื้นที่ได้ 2.เกิดกลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างมีส่วนร่วม 3.เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลผุ้สูงอายุในชุมชน 4.ลดการเกิดโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยง

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2022 11:35 น.