directions_run

โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ ตำบลท่าแซะ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ ตำบลท่าแซะ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดชุมพร
รหัสโครงการ ุ65-00240-0003
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2022 - 30 เมษายน 2023
งบประมาณ 130,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ บ้านเขาน้อย ม.15
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอรุณ ประทับกอง
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางรดาณัฐ สินสมบุญ
พื้นที่ดำเนินการ บ้านเขาน้อย ม.15 ตำบลท่าแซะ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
ละติจูด-ลองจิจูด 10.651306,99.223927place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 52,000.00
2 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 1 ต.ค. 2021 28 ก.พ. 2023 71,500.00
3 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 6,500.00
รวมงบประมาณ 130,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลท่าแซะ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร เป็นตำบลศูนย์กลางของอำเภอท่าแซะ มีพื้นที่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีคลองท่าแซะ ซึ่งเกิดจากเขากระทะครอบ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ประชากรส่วนมากประกอบอาชีพ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และ พาณิชยกรรม มีหมู่บ้านทั้งสิ้น 18 หมู่บ้าน ( บ้านนาดอน,บ้านห้วยจก , บ้านเกาะปอ , บ้านแหลมยาง , บ้านคลองบ่อ . บ้านทุ่งบิ่น ,บ้านหัตขิ,บ้านโตนดการ้อง , บ้านยางฆ้อ , บ้านนาสร้าง , บ้านนาหวาน , บ้านน้ำหัก , บ้านนาตาสอน , บ้านเขาวง , บ้านน้ำพุ , บ้านเขาอำปาง , บ้านเขาน้อย และบ้านรัชดา ) มีพื้นที่ทั้งหมด 73,670.37 ไร่ หรือ 117.25 ตร.กม. รายได้เฉลี่ยของประชากรต่อคนต่อปี 20,000 บาท ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และ ศาสนาอิสลาม มีสถานที่สำคัญประกอบด้วย วัด 4 แห่ง สถานที่ราชการ 13 แห่ง ธนาคาร 4 แห่ง  โรงเรียน 8 แห่ง สำนักงานเทศบาลตำบล 2 แห่ง ที่ทำการ อบต. 1 แห่ง (เทศบาลตำบลท่าแซะ เทศบาลตำบลเนินสันติ และองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแซะ) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง และมัสยิด 1 แห่ง ประชากรทั้งสิ้น 8,588 คน ชาย 4,081 คน หญิง 4,507 คน จำนวน 2,256 ครัวเรือน
จากสถานการณ์ทั่วไปของตำบลท่าแซะสรุปได้ดังนี้ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร เช่น ปาล์ม ยางพารา มะพร้าว หมาก ทุเรียน เป็นต้น รองลงมาจะเป็นค้าขาย รับราชการ และรับจ้าง ผลจากการวิเคราะห์ชุมชนตำบลท่าแซะสรุปได้ดังนี้ 1) ด้านเศรษฐกิจ พบว่าคนในชุมชน ยังมีภาวะหนี้สินทั้งในและนอกระบบ เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจ อาชีพทางด้านการเกษตรประชากรร้อยละ 60 พบที่ราคาพืชผลตกต่ำ ต้นทุนการเกษตรราคาสูง(ปุ๋ย-สารเคมี) อาชีพธุรกิจส่วนตัวร้อยละ10 รับราชการ/พนักงานของรัฐร้อยละ 10รับจ้างและอื่น ๆ ร้อยละ 30 2) ด้านสังคม พบว่ามีเส้นทางถนนเพชรเกษมที่ตัดด้วยถนนเส้นทางการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลปะทิว และเส้นทางสู่น้ำตกทรายอ่อน ผาเปิดใจและเทือกเขาตะนาวศรีของการคมนาคม (สี่แยกท่าแซะ) มีนักท่องเที่ยวหลายกลุ่ม วัยแรงงานออกไปทำงานนอกบ้านเหลือแต่ผู้สูงอายุ บางคนเป็นผู้ป่วยติดเตียง/ติดบ้านเป็นโรคเรื้อรัง อยู่คนเดียวเนื่องจากโสด ทำให้ขาดคนดูแล ซึ่งมีวัยแรงงานอายุ 35-59 ปี จำนวน 3,133 คน ชาย1,486 คน หญิง 1,647คน 3) ด้านสุขภาพ พบว่าประชากรส่วนใหญ่ไม่ออกกำลังกาย และไม่ควบคุมอาหาร คนทั่วไปถือว่าเป็นเรื่องไม่ร้ายแรง สื่อโฆษณาต่างๆ ส่งเสริมให้บริโภคอาหารขยะไม่มีประโยชน์เป็นทำให้เป็นโรคเรื้อรังซึ่งมีโรคแทรกซ้อนได้หลายโรค จึงทำให้พบว่าเป็นโรคเรื้อรัง ปี 2565 ประกอบด้วย ความดันโลหิตสูง 1,467คน เบาหวาน 565คน คน ส่วนโรคอื่น ๆข้อมูลไม่ชัดเจนต้องสำรวจใหม่ และ4) ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่ามีปัญหาขยะ ที่เกิดจากคนขาดความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะ สร้างขยะทุกวัน ขาดจิตสำนึก:มองว่าปัญหาไม่ใช่ปัญหาของตนเองที่ต้องรับผิดชอบ (เป็นหน้าที่อบต.เทศบาล) ขาดการทำความสะอาดรอบ ๆ บ้านเรือน เนื่องจากภารกิจอาชีพ/งานประจำ นักท่องเที่ยวทิ้งขยะข้างทาง จำพวกขวดน้ำ กล่องนม ถุงขนม ขาดการจัดเก็บอย่างต่อเนื่องจากผู้ที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นทำให้ผู้นำท้องถิ่นเห็นความสำคัญของประชาชนที่จะต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยตนเองต้องดีก่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องสุขภาพ มีแนวคิดที่จะร่วมกันป้องกันไม่ให้เกิดโรคใหม่ขึ้นในชุมชน ทั้งโรคอุบัติใหม่  (โควิด 19) หรือโรคเรื้อรังทั้งความดันโลหิตสูง เบาหวาน และอื่น ๆ ที่จะตามมา เช่น มะเร็ง ไต อ้วน และหัวใจ เป็นต้น โดยเปลี่ยนแนวเดิมที่การบริการสุขภาพที่เน้นเชิงรับ เปลี่ยนเป็นเชิงรุก ด้วยการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายทั้งครอบครัว ชุมชน
และสังคม ขับเคลื่อนการป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน โดยใช้ มาตรการ 3 อ.2 ส.ในชุมชน ที่ประกอบด้วยการออกกำลังกายตามความเหมาะสม การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการและปลอดภัย มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมที่เกิดอารมณ์ดี ไม่เสพของมึนเมาหรือสิ่งเสพติด และไม่สูบบุหรี่ เป็นต้น เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของจังหวัด ประเทศและองค์การอนามัยโลก(กฎบัตรออตตาวา 5 กลยุทธ์)ที่กำหนดไว้ว่า 1) การสร้างนโยบายสาธารณะ/มาตรการชุมชน 2) การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพและควบคุมสิ่งแวดล้อมที่ ไม่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี 3) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและศักยภาพของแกนนำ 4) การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลของกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง และ 5) การปรับระบบบริการสุขภาพให้ตอบสนองต่อการจัดการปัญหาสุขภาพ ประกอบกับได้มีโครงการนำร่องแล้ว โดยชุมชนบ้านเขาน้อย ตำบลท่าแซะ ซึ่งอยู่ในเขตการปกครองของเทศบาลตำบลเนินสันติ ซึ่งจากผลการดำเนินของชุมชนบ้านเขาน้อยที่ผ่านมาในปีที่1 (2563 -2564) จะเห็นได้ว่าการดำเนินงานจะเป็นจุดเริ่มต้นของการดูแลสุขภาพของชุมชนด้วยชุมชนเองโดยการหนุนเสริมจากหน่วยงานเทศบาลตำบลเนินสันติ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ท่าแซะ และโรงพยาบาลท่าแซะ ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สสส.โดยสมาคมประชาสังคมชุมพร มีขั้นตอนการดำเนินงานตามแนวทางการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานและแบ่งหน้าที่ดังนี้  1)เก็บและสรุปข้อมูล 2)ประเมินแบบแผนการทำงาน 3) ขับเคลื่อนงานเชิงประเด็น 4) ติดตามเสริมพลัง และ 5) ร่วมคิดร่วมตัดสินใจ 6)เสนอในเวทีสภาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7)สื่อสารสร้างความเข้าใจในระดับครัวเรือน ทั้งหมดนี้คือข้อบ่งชี้ถึงความเข้มแข็งของคณะทำงาน และชาวบ้านในชุมชนที่จะร่วมกันขับเคลื่อนงาน ได้อย่างมีคุณภาพต่อเนื่องและนำไปสู่ความสำเร็จเชิงผลลัพธ์การจัดการปัญหาโรคเรื้อรัง และชุมชนน่าอยู่ตามวิสัยทัศน์ของแต่ละชุมชนได้ ทั้งวันนี้และในอนาคต จากการดำเนินงานของชุมชนบ้านเขาน้อยพบว่าชุมชนมีจุดแข็งในเรื่องของการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนที่สามารถรวมตัวปฏิบัติงานช่วยให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงกับโรคเรื้อรังไม่เป็นโรคได้ตามเป้าหมายร้อยละ 10 และมีแกนนำต้นแบบในการปรับพฤติกรรมสุขภาพครอบคลุมอย่างเป็นองค์รวมและที่สำคัญ สามารถเป็นวิทยากรกระบวนการของชุมชนได้เป็นอย่างดี ประกอบกับคณะกรรมการชุมชนบ้านเขาน้อยคิดว่าตนเองมีดีอยากจะบอกต่อ จึงเสนอแนวคิดนี้กับกองสาธารณสุขเทศบาลเนินสันติที่จะช่วยและขยายเครือข่ายชุมชนสุภาพดีไปยังชุมชนและหมู่บ้านอื่น ๆทั้ง 18 ชุมชน/หมู่บ้าน ตำบลท่าแซะทั้งหมด จึงได้ดำเนินการวิเคราะห์ปัญหาชุมชนในภาพรวมของตำบลโดยตัวแทนชุมชนทั้งหมด จึงได้ต้นไม้ปัญหาที่วิเคราะห์ได้ว่า สาเหตุของปัญหาประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าแซะ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้นำชุมชนพบว่ามีสาเหตุต่างๆ ดังนี้
1. ด้านพฤติกรรม คนอ้วนไม่ชอบออกกำลังกาย ซื้ออาหารนอกบ้านรับประทาน ขาดกความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ พฤติกรรมเสี่ยงสุรา และบุหรี่ 2. ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ มีสถานที่ออกกำลังกาย มีร้านจำหน่ายเหล้า บุหรี่ อาหารตามสั่ง ขาดการรวมกลุ่มเพื่อส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่องมีโรงงานปาล์มน้ำมัน ไบโอดีเซล มีฟาร์มเลี้ยงสัตว์ 3. ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม มีร้านอาหารและรถกับข้าวเข้ามาในพื้นที่ ขาดการรวมกลุ่มออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง 4. ด้านกลไก ขาดการทำงานเชิงรุก ขาดบุคลากร ชุมชนไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาอย่างจริงจัง 5. แรงเสริม เทศบาลเสริมหนุนกิจกรรมชุมชน เป็นหมู่บ้านกึ่งเมืองกึ่งชนบท มีเสียงตามสายภายในหมู่บ้าน มีหน่วยงานที่มีความรู้เป็นภาคี มีข้อมูลผลกระทบและเสียชีวิตจากโรคเรื้อรัง เป็นจุดแข็งของชุมชนที่มีกลุ่มอาชีพ กลุ่มกองทุนสวัสดิการหลายแหล่ง มีสถานที่อำนวยความสะดวกของหน่วยงานราชการ เอกชน ที่พร้อมในการมีส่วนร่วมของชุมชน ทั้งในส่วนของศักยภาพของคน ผู้นำ หน่วยงาน รพสต.ตำบลท่าแซะ รพ.สต.บ้านนิคม โรงเรียน (ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง โรงเรียนปฐมศึกษา 5 แห่ง มัธยมศึกษา 1 แห่ง) เทศบาลตำบลเนินสันติ เทศบาลตำบลท่าแซะ อบต.ท่าแซะ 6. แรงต้าน กลุ่มวัยทำงานไม่มีเวลา ออกกำลังกาย ทำงานประจำ การเข้าถึงบริการรักษาโรคง่าย ขาดต้นแบบ แรงจูงใจ ขาดการมีส่วนร่วม ให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพเป็นลำดับสุดท้าย

1.2 แนวทางการแก้ไขปัญหาที่จะเสนอในโครงการนี้ ควรใช้ทุนเดิม จุดแข็งที่มี มาช่วยหนุนเสริมการดำเนินงานโครงการอย่างไร จากการวิเคราะห์ปัญหาชุมชนในภาพรวมของตำบลโดยตัวแทนชุมชนทั้งหมด จึงได้ต้นไม้ปัญหาและจัดทำบันไดผลลัพธ์ตำบลท่าแซะทั้ง 18 หมู่บ้าน/ชุมชน โดยมีชุมชนบ้านเขาน้อยเป็นแกนนำการพัฒนาและใช้ชุมชนบ้านห้วยจกเป็นพื้นที่กลางในการขับเคลื่อนที่สอดคล้องกับบันไดผลลัพธ์กลางประเด็นลดโรคเรื้อรังของNode flagship จังหวัดชุมพร จัดทำเป็นกิจกรรมโครงการดังต่อไปนี้ จัดตั้งคณะทำงาน สำรวจข้อมูลพื้นที่ทั้งหมดใหม่ ให้ความรู้และทำความเข้าใจกับแกนนำในพื้นที่และประชาชนที่สนใจ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดทำกติกาชุมชน พร้อมทั้งสื่อสารประชาสัมพันธ์ทุกช่องทางทั้ง Onsite และOnline ทุกครั้งก่อน-หลังการจัดกิจกรรม  ถอดบทเรียนและคืนข้อมูลชุมชน และนำเสนอผู้บริหารทั้ง 3 หน่วยงาน (เทศบาลตำบลท่าแซะ เทศบาลตำบลเนินสันติ และองค์การบริหารส่วนตำบลท่าแซะ) เพื่อให้การสนับสนุนและนำเข้าสู่แผนยุทธศาสตร์และแผนกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ต่อไป โดยใช้ชุมชนบ้านห้วยจกเป็นพื้นที่กลางในการร่วมทำกิจกรรม และมีชุมชนบ้านเขาน้อยที่ได้ดำเนินงานในเรื่องการปรับพฤติกรรมของคนในชุมชนแล้วประสบความสำเร็จที่มีประชาชนกลุ่มเสี่ยงไม่เป็นโรคเรื้อรังได้ตามเป้าหมายร้อยละ 10 และมีแกนนำต้นแบบในการปรับพฤติกรรมสุขภาพครอบคลุมอย่างเป็นองค์รวมและที่สำคัญสามารถเป็นวิทยากรกระบวนการของชุมชนได้เป็นอย่างดี ชุมชนมีจุดแข็งในเรื่องของการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนที่สามารถรวมตัวปฏิบัติงานช่วยให้ ประกอบกับคณะกรรมการชุมชนบ้านเขาน้อยคิดว่าตนเองมีดีอยากจะบอกต่อ
1.3 แสดงให้เห็นว่าการดำเนินงานโครงการจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างไร) จากการสำรวจผู้นำชุมชนในตำบลท่าแซะ พบว่าผู้นำชุมชน (72 คน) ส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญต่อสุขภาพของตนเองเพราะคิดว่าตนเองสุขภาพดีอยู่ ไม่เคยตรวจสุขภาพเพราะกลัวว่าจะพบโรค กลัวว่าเป็นปัญหาค่าใช้จ่ายของครอบครัว เป็นภาระต่อครอบครัว กลัวตนเองจะเป็นโรคร้ายแรงและอ้างไม่มีเวลามีภาระที่ต้องปฏิบัติ เทศบาลตำบลเนินสันติ เล็งเห็นถึงความสำคัญว่าผู้นำทุกคนควรมีสุขภาพที่ดีและเป็นแบบอย่างต่อประชาชน ซึ่งจะได้นำไปปฏิบัติตามและนำไปสู่สุขภาพที่ดีของชุมชนและประชาชนชาวตำบลท่าแซะ ต่อไป จึงได้ดำเนินการโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ ตำบลท่าแซะ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร เพื่อป้องกันโรคเรื้อรังในกลุ่มผู้นำชุมชนตำบลท่าแซะ ขึ้นเพื่อประโยชน์ของประชาชนตำบลท่าแซะ ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

การจัดการโรคเรื้อรังด้วยการผลิตและบริโภคอาหารปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแกนนำชุมชนให้มีศักยภาพในการเป็นกลไกสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพและบูรณาการการดำเนินงานกับทุกภาคส่วน

ผลลัพธ์ที่ 1 คณะทำงานตำบลท่าแซะเกิดความตระหนักรู้ ร่วมคิดจัดการโรคเรื้อรังในพื้นที่ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.1 เกิดคณะทำงานพัฒนา จำนวน 25 คน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.2 คณะทำงานอย่างน้อย 5 คน มีทักษะ มีความรู้ความสามารถในการขับเคลื่อนได้ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.3 มีฐานข้อมูลและแนวทางการจัดการโรคเรื้อรัง NCD ที่จับต้องได้ ผลลัพธ์ที่ 2 เกิดกลไกพัฒนาคุณภาพชีวิต และพัฒนาสภาพแวดล้อมทางสังคม ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.1 มีกติกาหรือมาตรการพื้นที่ที่ทุกฝ่ายยอมรับ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.2  มีศูนย์เรียนรู้แปลงสาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.3  เกิดไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66
1 ส่วนที่ สสส.สนับสนุนเพิ่มเติม(1 พ.ค. 2022-30 เม.ย. 2023) 10,000.00                        
2 กิจกรรมหลักและวิธีการดำเนินงาน(1 พ.ค. 2022-30 เม.ย. 2023) 120,500.00                        
รวม 130,500.00
1 ส่วนที่ สสส.สนับสนุนเพิ่มเติม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 119 10,000.00 5 10,000.00
4 - 5 มิ.ย. 65 Node FlagshipChumphon จัดปฐมนิเทศก์โครงการผู้รับทุนจาก สสส.จำนวน 25 โครงการ 2 1,600.00 1,600.00
6 ส.ค. 65 จัดทำป้ายโครงการ และป้ายปลอดบุหรี่และสุรา 100 1,000.00 1,000.00
10 เม.ย. 66 ติดตามประเมินผลลัพธ์โครงการย่อย ร่วมกับ Node flagship ฯ 4 3,200.00 3,200.00
15 เม.ย. 66 ประชุมสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินผลลัพธ์โครงการย่อยร่วมกับพี่เลี้ยงประเด็นโรคเรื้อรังแนวใหม่ตำบลท่าแซะ 11 1,700.00 1,700.00
28 เม.ย. 66 ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลและจัดทำเอกสารการเงินโครงการ 2 2,500.00 2,500.00
2 กิจกรรมหลักและวิธีการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 476 120,500.00 16 120,500.00
4 พ.ค. 65 2.ประชุมทำความเข้าใจในการขับเคลื่อนบันไดผลลัพธ์ครั้งที่1 และกำหนด แหล่งเรียนรู้ 2 พื้นที่ วันที่ 4 พฤษภาคม 2565 25 2,800.00 2,800.00
15 ก.ค. 65 สนับสนุนการทำแปลงสาธิตการปลุกผักปลอดสารพิษ 0 7,400.00 7,400.00
16 ก.ค. 65 สำรวจฐานข้อมูล กลุ่มเสี่ยงและจำแนกผลการคัดกรอง 0 5,000.00 5,000.00
14 ส.ค. 65 ประชุมแลกเปลี่ยนถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่หน่วยงานภาคีร่วม และคณะทำงาน 0 2,800.00 2,800.00
4 ก.ย. 65 อบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง ให้กับกลุ่มเสี่ยง 0 12,850.00 12,850.00
18 ก.ย. 65 อบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพการบำบัดความเครียด การดูแลสุขภาพจิต 0 12,850.00 12,850.00
5 พ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน 28 2,800.00 2,800.00
10 ธ.ค. 65 ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน 25 2,800.00 2,800.00
5 ม.ค. 66 มหกรรม "ปีใหม่สุขภาพดีวิถีคนบ้านเรา 102 18,000.00 18,000.00
10 ม.ค. 66 ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน 28 2,800.00 2,800.00
8 ก.พ. 66 อบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคเรื้อรังให้กับกลุ่มเสี่ยง 89 12,850.00 12,850.00
24 ก.พ. 66 หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ 0 500.00 500.00
10 มี.ค. 66 ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน 28 2,800.00 2,800.00
12 มี.ค. 66 อบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคเรื้อรังให้กับกลุ่มเสี่ยง 90 12,850.00 12,850.00
15 มี.ค. 66 ศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบ สุขภาพดี 30 12,400.00 12,400.00
28 เม.ย. 66 สรุปบทเรียนและคืนข้อมูลการจัดการโรคเรื้อรังให้กับชุมชน 31 9,000.00 9,000.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

มีต้นแบบความร่วมมือกลไก “ผู้นำท้องถิ่น”ที่เห็นความร่วมมือของทุกภาคส่วนมุ่งทำงานด้านสุขภาวะแบบมีเป้าหมายร่วมกัน และมีคนต้นแบบ ชุมชนต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ที่ดำเนินการต่อเนื่องโดย ขยายให้แกนนำและกลุ่มเสี่ยงที่มีความรู้แล้วไปแนะนำคนในชุมชน ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงรายใหม่ เพื่อนำมาสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค โดยมีคนที่เข้าร่วมโครงการในช่วงแรก เป็นบุคคลต้นแบบ กลไก “ผู้นำท้องถิ่น”ต้นแบบผลักดันและส่งเสริมการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องของผู้เข้าร่วมกิจกรรม และมีการติดตามผล มีคนต้นแบบ ที่จะมาให้ความรู้คนอื่นๆนอกชุมชนได้
คณะกรรมการเสนอแผนงานโครงการต่อเนื่องผ่านกองทุนท้องถิ่น โดยให้มีกิจกรรมการสัญจรไปทุกหมู่บ้านซึ่งจะสามารถสร้างการเรียนให้กับทุกชุมชนได้ดี และเป็นการติดตามประเมินผลไปด้วยพร้อมนี้

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2022 11:41 น.