stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ (04)“บวร”รักษ์สุขภาพตำบลนาขา
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดชุมพร
รหัสโครงการ 65-00240-0004
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2022 - 30 เมษายน 2023
งบประมาณ 130,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ นางณัฏวีฐวี นามสกุล ไสสุวรรณ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางณัฏฐวี นามสกุล ไสสุวรรณ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวแสงนภา หลีรัตนะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาขา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 52,000.00
2 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 71,500.00
3 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 6,500.00
รวมงบประมาณ 130,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเหล้า
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลนาขา ประกอบด้วย ๑๓ ชุมชน มีผู้สูงอายุร่วม ๑,๕๐๐ คน ปัญหาหลักในชุมชน คือ ปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ ซึ่งตำบลนาขาเป็นตำบลที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและมีประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิงได้แก่ เด็กและผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการลดลงของอัตราการเกิดและอัตราการตายของประชากร ทำให้จำนวนและสัดส่วนประชากรเด็กและสูงอายุของตำบลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลายหน่วยงานได้ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมสูงวัยและเริ่มออกมาตรการรับมือในด้านต่าง ๆเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้สูงอายุ ประกอบกับสภาพสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตทำให้ปัญหาของผู้สูงอายุมากขึ้นตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาโรคเรื้อรังร่วม ๔๕๐ คน สภาพปัญหาที่เกิดในกลุ่มผู้สูงอายุ เช่นรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ปัญหาด้านจิตใจ ปัญหาเรื่องรายได้ และปัญหาการถูกทอดทิ้ง เป็นต้น
ในการดูแลผู้สูงอายุต้องอาศัยความร่วมมือกันทุกฝ่าย ทุกกลุ่มวัยต้องมาเรียนรู้ร่วมกันในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการทำกิจกรรมด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม กิจกรรมสร้างรายได้ร่วมกัน ทั้งพระ ผู้สูงอายุ เยาวชน แกนนำ อสม. และคนในชุมชน จะเป็นการปลูกฝังให้ทุกคนได้ซึมซับแนวคิดในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ โดยทุกคนทุกหน่วยงานต้องมาเรียนรู้ละรับผิดชอบร่วมกันในรูปแบบ “บ้าน วัด โรงเรียน(ราชการ)” หรือ “บวร”บูรณาการทุกภาคส่วนอย่างไร้รอยต่อ ตำบลนาขา ได้ดำเนินโครงการร่วมกับสสส.มาแล้ว 1 ปี ผลจากการดำเนินงานพบว่า สามารถดำเนินงานบรรลุตามบันไดผลลัพธ์ได้ระดับหนึ่งประกอบด้วยการมีคณะทำงานที่มาจากหลากหลายกลุ่มจำนวน 15 คน มีข้อมูลผู้สูงอายุ 450 ทำให้มีแผนงาน/โครงการที่ผลักดันเข้าแผนกองทุนหลักประกันสุขภาพ 3 แผน/โครงการและเข้ายุทธศาสตร์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีกติกาชุมชน 6 ข้อ ประกอบด้วยสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนทุกภาคส่วน เช่นวัดดอนวาสเป็นสถานที่จัดกิจกรรมพึ่งพิงด้านจิตใจ จำนวน 3 แห่ง โรงเรียนบ้านในเหมืองเป็นศูนย์เรียนรู้ทั้งหลักสูตรปกติและหลักสูตรพิเศษที่มีชุมชนและบ้านร่วมกันลดอบายมุขในชุมชนร้อยละ70 ผู้สูงอายุเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ชีวิตต่อเด็กเยาวชนจำนวน 150 คน คิดเป็นร้อยละ 70 ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและจิตที่ดีร้อยละ.70 มีการเยี่ยมเสริมพลังด้วยการ เยี่ยมบ้านวิถี บวร อย่างสม่ำเสมอร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขและการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในเรื่องศิลปวัฒนธรรม ขนมไทย อาหารพื้นถิ่น จักสาน ทำให้มีอัตราการลดโรคเรื้อรังทั้งชุมชนได้ร้อยละ10 จะเห็นได้ว่าในปีหนึ่งที่ทำการพัฒนาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นยังไม่ครอบคลุมทั้งตำบลจึงต้องมีการพัฒนาต่อเนื่องโดยใช้รูปแบบที่กำหนดไว้ในบันไดผลลัพธ์กลางเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนเพื่อให้สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดที่มีเป้าประสงค์เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนคนชุมพร ซึ่งในอนาคตต้องพึ่งตนเองได้ จึงจำเป็นที่ต้องอาศัยความรับผิดชอบ การเรียนรู้ ร่วมคิดร่วมทำ ตลอดจนอาศัยความร่วมมือและข้อมูลทางวิชาการจากหน่วยงานในท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีคิด ปรับพฤติกรรมการอย่างต่อเนื่องและเชื่อมโยงเครือข่ายจากภาคส่วนต่าง ๆทั้งภายในและภายนอกชุมชน โดยการยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รักษาสิ่งแวดล้อม เน้นการพึ่งตนเอง เป็นสังคมเอื้ออาทร พึ่งพาอาศัยกันได้ และไม่ทอดทิ้งกัน จึงต้องมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง จากผลการดำเนินงานกับสสส.และพี่เลี้ยงมาเป็นเวลา 1 ปี ทำให้เห็นถึงจุดแข็งของชุมชนที่มีทีมงานที่เข็มแข็ง มีการมอบหมายหน้าที่ให้ทีมงานร่วมกันปฏิบัติทุกคน มีการติดตามงาน ประเมินผลงานของทุกคน ประชุมประจำเดือนทุกเดือน มีหน่วยงานอบต. รพสต.นาขา/ห้วยเหมือง โรงเรียนวัดและตัวแทนภาคเอกชนเข้าร่วมทุกครั้ง และสิ่งสำคัญที่มีบุคคลต้นแบบในการดูแลสุขภาพที่ทำให้ลดอัตราความเสี่ยงของโรคเรื้อรังได้ที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดพลังในการขับเคลื่อนให้เกิดชุมชนสุขภาพดีและเชื่อมไปสู่ประเด็นเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีก่อให้เกิดสุขภาวะชุมชนคนทั้งตำบลนาขาได้อย่างยั่งยืนต่อไป จึงได้ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาโดยนำข้อมูลที่ได้ในปีที่ผ่านมาเป็นจุดเริ่มต้นนำไปสู่เป้าหมายที่อยากจะเป็นและเพิ่มเติมในส่วนที่ต้องพัฒนาต่อเนื่อง โดยทบทวนขั้นตอนการจัดทำโครงการในปีที่2มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ จากการวิเคราะห์ต้นไม้ปัญหาในการดำเนินงานพบว่าสาเหตุต่างๆของเรื่องนี้ คือ 1.ด้านพฤติกรรมผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่มีการออกกำลังกาย พฤติกรรมการกินตามใจปาก และครอบครัวไม่มีเวลาดูแล 2. ด้านกายภาพ ผู้สูงอายุ 30 % ขาดอุปกรณ์ ในการเคลื่อนไหว เจ้าหน้าที่ให้ความรู้ด้านกายภาพยังครอบคลุมและทั่วถึง
3. ด้านสังคมผู้สูงอายุต้องอยู่บ้านคนเดียวหรือต้องมีภาระในการเลี้ยงหลานเนื่องจากลูกๆต้องไปทำงานรับจ้างทำให้ไม่มีเวลามาดูแล 4. ด้านกลไก การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของ ร้อยละ 40 อสม.ยังไม่มีความรู้ที่ครอบคลุมในการดูแล ขาดการสื่อสารทำความเข้าใจในบทบาทของผู้นำและขาดกลไกความร่วมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5. แรงเสริม การมีส่วนร่วมของชุมชน คน ผู้นำ หน่วยงาน รพสต. อบต. วัด (บวร) 6. แรงต้าน งบประมาณจำกัด (การบริหารจัดการ) ไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน 30% และขาดการแปรรูปสมุนไพร 40%     จากการวิเคราะห์ภาพรวมจะเห็นว่าปัญหาที่จะต้องรีบแก้ไขเป็นอันดับแรก คือ การดูแลผู้สูงอายุทั้งในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มไม่เสี่ยงเพื่อไม่ให้มีเพิ่มขึ้นและที่เป็นโรคอยู่แล้วไม่เกิดโรคแทรกซ้อนขึ้น โดยจะใช้การขับเคลื่อนแบบ บวร เพื่อให้ทุกๆคนได้เข้ามามีส่วนร่วมรับรู้ รับฟังและร่วมแก้ไขปัญหาเพื่อทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นลดปัจจัยเสี่ยงในการเจ็บป่วยเรื้อรังและเพิ่มปัจจัยเสริมต่อสุขภาพที่ดีทั้งทาง ร่างกาย จิตใจและการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ตลอดจนมีการเชื่อมโยงกันทุกวัย ทุกกลุ่มทั้งตำบลเพื่อให้เกิดตำบลสุขภาวะที่ยั่งยืนต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

1.ด้านพฤติกรรมผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่มีการออกก าลังกาย พฤติกรรมการกินตามใจปาก และ
ครอบครัวไม่มีเวลาดูแล
2. ด้านกายภาพ ผู้สูงอายุ30 % ขาดอุปกรณ์ในการเคลื่อนไหว เจ้าหน้าที่ให้ความรู้ด้านกายภาพยังครอบคลุมและทั่วถึง
3. ด้านสังคมผู้สูงอายุต้องอยู่บ้านคนเดียวหรือต้องมีภาระในการเลี้ยงหลานเนื่องจากลูกๆต้องไป
ทางานรับจ้างทาให้ไม่มีเวลามาดูแล
4. ด้านกลไก การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของ ร้อยละ 40 อสม.ยังไม่มีความรู้ที่ครอบคลุมในการดูแล
ขาดการสื่อสารทาความเข้าใจในบทบาทของผู้นาและขาดกลไกความร่วมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5. แรงเสริม การมีส่วนร่วมของชุมชน คน ผู้นา หน่วยงาน รพสต. อบต. วัด (บวร)
6. แรงต้าน งบประมาณจากัด (การบริหารจัดการ) ไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน 30% และ
ขาดการแปรรูปสมุนไพร 40%

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแกนนาชุมชนให้มี ศักยภาพในการเป็นกลไกสนับสนุนสร้างเสริม สุขภาพและบูรณาการการดาเนินงานกับทุกภาค ส่วน

ผลลัพธ์ที่ 1 1.1 เกิดคณะทำงานจานวน 25 คน
1.2 คณะทำงานอย่างน้อย 25 คน มีทักษะ ความรู้ความสามารถในการขับเคลื่อนได้
1.3 มีฐานข้อมูลและแนวทางจัดการโรงเรื้อรัง NCD ที่จับต้องได้ ผลลัพธ์ที่ 2
2.1 มีกติกาหรือมาตรการพื้นที่ที่ทุกฝ่ายยอมรับ
ตัวชี้วัดผลลัพธ์2.2 มีศูนย์เรียนรู้แปลงสาธิต สมุนไพรเพื่อสุขภาพ จานวน.4 ศูนย์หรือ
หมู่บ้าน
ตัวชี้วัดผลลัพธ์2.3 เกิดไกการพัฒนาคุณภาพ
ชีวิต( บวร) ต้นแบบ

25.00
2 เกิดนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้าง เสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและลดโรคเรื้อรังในชุมชน

ผลลัพธ์ที่3 ผู้สูงอายุและเยาวชนเกิดการปรับ พฤติกรรมในการใช้ชีวิตามรู้ในการใช้ภูมิ
3.1 เกิดกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน
3.2 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพคน 3 วัย
ผลลัพธ์ที่4 ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตดีโดยการ ลดอัตราเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง
4.1 ไม่เกิดโรคเรื้อรังในกลุ่มเสี่ยง
ร้อยละ 10 ของกลุ่มเป้าหมาย

450.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 215
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะทำงาน 15 -
ผู้สูงอายุ 200 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66
1 ประชุมคณะทำงาน(1 พ.ค. 2022-30 เม.ย. 2023) 15,900.00                        
2 สำรวจฐานข้อมูล กลุ่มเสี่ยงและจำแนกผลการคัดกรอง(1 พ.ค. 2022-30 เม.ย. 2023) 5,000.00                        
3 อบรมให้ความรู้ด้านสุขาพเกี่ยวข้องกับโรคเรื้องรัง ให้กับกลุ่มสี่ยง(1 พ.ค. 2022-30 เม.ย. 2023) 40,200.00                        
4 ร่วมประชุมโครงการ Node(4 มิ.ย. 2022-30 เม.ย. 2023) 10,000.00                        
5 สนับสนุนการทำแปลงสาธิตการใช้สมุนไพรและการปลูกผักปลอดสารพิษ 13 แปลง(1 ก.ค. 2022-28 ก.พ. 2023) 12,000.00                        
6 ศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบ"การใช้สมุนไพรและผักสวนครัว"(1 ส.ค. 2022-28 ก.พ. 2023) 12,400.00                        
7 มีดีมาโม้ มีโชว์มาอวด(22 ส.ค. 2022-22 ส.ค. 2022) 26,000.00                        
8 ประชุมสรุปบทเรียนและคืนข้อมูลการจัดโรงเรือน(1 เม.ย. 2023-1 เม.ย. 2023) 9,000.00                        
รวม 130,500.00
1 ประชุมคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 15,900.00 7 15,900.00
19 พ.ค. 65 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 เพื่อชี้แจงวัตถุประงค์และจัดตั้งคณะทำงาน 25 2,804.00 2,804.00
12 ก.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 25 2,500.00 2,500.00
12 ต.ค. 65 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 25 2,596.00 2,596.00
14 พ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 25 2,500.00 2,500.00
12 ม.ค. 66 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 5 25 2,500.00 2,500.00
20 ก.พ. 66 หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ 0 500.00 500.00
3 มี.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 6 25 2,500.00 2,500.00
2 สำรวจฐานข้อมูล กลุ่มเสี่ยงและจำแนกผลการคัดกรอง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 5,000.00 1 5,000.00
1 - 20 ก.ค. 65 สำรวจฐานข้อมูล กลุ่มเสี่ยงและจำแนกผลการคัดกรอง 150 5,000.00 5,000.00
3 อบรมให้ความรู้ด้านสุขาพเกี่ยวข้องกับโรคเรื้องรัง ให้กับกลุ่มสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 260 40,200.00 4 40,200.00
22 ก.ค. 65 อบรมให้ความรู้ด้านสุขาพเกี่ยวข้องกับโรคเรื้องรัง ให้กับกลุ่มสี่ยง ครั้งที่ 1 65 10,158.00 10,158.00
22 ต.ค. 65 อบรมให้ความรู้ด้านสุขาพเกี่ยวข้องกับโรคเรื้องรัง ให้กับกลุ่มสี่ยง 65 10,050.00 10,050.00
22 ม.ค. 66 อบรมให้ความรู้ด้านสุขาพเกี่ยวข้องกับโรคเรื้องรัง ให้กับกลุ่มสี่ยง 65 9,942.00 9,942.00
22 มี.ค. 66 อบรมให้ความรู้ด้านสุขาพเกี่ยวข้องกับโรคเรื้องรัง ให้กับกลุ่มสี่ยง 65 10,050.00 10,050.00
4 ร่วมประชุมโครงการ Node กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 19 10,000.00 7 10,000.00
4 - 5 มิ.ย. 65 ปฐมนิเทศโครงการย่อย 4 2,352.00 2,352.00
30 ก.ค. 65 เวทีอบรมการคีย์ข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ 2 1,200.00 1,200.00
26 ต.ค. 65 สมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร 4 1,600.00 1,600.00
31 ต.ค. 65 คีย์ข้อมูลรายงานผล งวดที่ 1 1 1,000.00 1,000.00
31 ต.ค. 65 ร่วมประชุมรายงานผลกิจกรรมงานที่ 1 3 2,200.00 2,200.00
20 เม.ย. 66 ประชุม พบปะ พี่เลี้ยง 4 648.00 648.00
30 เม.ย. 66 คีย์ข้อมูลรายงานผล งวดที่ 2 1 1,000.00 1,000.00
5 สนับสนุนการทำแปลงสาธิตการใช้สมุนไพรและการปลูกผักปลอดสารพิษ 13 แปลง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 12 12,000.00 1 12,000.00
25 - 30 ก.ค. 65 สนับสนุนการทำแปลงสมุนไพรและแปลงผักปลอดสารพิษ 12 12,000.00 12,000.00
6 ศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบ"การใช้สมุนไพรและผักสวนครัว" กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 12,400.00 1 12,400.00
21 - 22 พ.ย. 65 ศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบ"การใช้สมุนไพรและผักปลอดสารพิษ" 20 12,400.00 12,400.00
7 มีดีมาโม้ มีโชว์มาอวด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 26,000.00 1 26,000.00
25 ส.ค. 65 มหกรรมมีดีมาโม้ มีโชว์มาอวด 100 26,000.00 26,000.00
8 ประชุมสรุปบทเรียนและคืนข้อมูลการจัดโรงเรือน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 25 9,000.00 1 9,000.00
28 มี.ค. 66 ประชุมสรุปบทเรียนและคืนข้อมูลการจัดโรงเรือน 25 9,000.00 9,000.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

มีต้นแบบความร่วมมือกลไก “บวร สร้างสุข”ที่เห็นความร่วมมือของทุกภาคส่วนมุ่งทางานด้านสุข ภาวะแบบมีเป้าหมายร่วมกัน และมีคนต้นแบบ ชุมชนต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ทดี่าเนินการ
ต่อเนื่องโดย ขยายให้แกนนาและกลุ่มเสี่ยงที่มีความรู้แล้วไปแนะนาคนในชุมชน ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงรายใหม่เพื่อ นามาสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค โดยมีคนที่เข้าร่วมโครงการในช่วงแรก เป็นบุคคลต้นแบบ
กลไก “บวร”ต้นแบบผลักดันและส่งเสริมการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องของผู้เข้าร่วมกิจกรรม และมี การติดตามผล มีคนต้นแบบ ที่จะมาให้ความรู้คนอื่นๆนอกชุมชนได้
3.ระบุวิธีการขยายผลจากการดาเนินโครงการ และชุมชน หรือผู้อื่นจะใช้ประโยชน์จากผลของโครงการนี้
อย่างไร
การจัดกิจกรรมและกลไก บวร ต้นแบบ จะมีการสัญจรไปทุกหมู่บ้านซึ่งจะสามารถสร้างการเรียน ให้กับทุกชุมชนได้ดี

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2022 11:57 น.