directions_run

(07)ชุมชนวัดโพธิการามใส่ใจคนสูงวัยห่างไกลโรคเรื้อรัง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ (07)ชุมชนวัดโพธิการามใส่ใจคนสูงวัยห่างไกลโรคเรื้อรัง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดชุมพร
รหัสโครงการ 65-00240-0007
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2022 - 30 เมษายน 2023
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนวัดโพธิการาม
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประมวล พรหมศร
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0872655985
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ -
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมใจ ด้วงพิบูลย์
พื้นที่ดำเนินการ ชุมชนวัดโพธิการาม อ.เมือง จ.ชุมพร
ละติจูด-ลองจิจูด 10.493205,99.186427place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 32,000.00
2 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 44,000.00
3 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 4,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

1.1 สถาณการณ์ทั่วไปของชุมชน ชุมชนวัดโพธิการาม เป็นชุมชนเปิดใหม่มีพื้นที่ประกอบด้วย ทิศเหนือจรด โรงเรียนสะอาดเผดิมวิทยา ตามแนวถนนทางเข้าสนามกีฬาเลี้ยวขวาไปจรดวัดโพธิการาม ทิศใต้จรด แนวถนนปรมินทรมรรคาจากจุดสี่แยกหอนาฬิกา-สะพานหนองเรือแตก ทิศตะวันออก จรด หนองน้ำสาธารณะหนองเรือแตก ทิศตะวันตกจรด แนวถนนสหกรณ์ ตั้งแต่หัวมุมห้องสมุดประชาชน ถึงแยกเข้าถนนโครงการดิเอน- ทรานซ์ ถนนปรมินทรมรรคา สี่แยกหอนาฬิกา
มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 355 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 943 คน เป็นชาย 424 คน เป็นหญิง 519 คน แยกเป็นกลุ่มวัยเด็กและเยาวชน วัยแรงงาน และผู้สูงอายุ 750 คน ระดับการศึกษาของประชากร จบประถมศึกษา ร้อยละ 25 ระดับมัธยมศึกษาร้อยละ 30 ระดับปริญญาตรี 30 และต่ำกว่าระดับประถมศึกษาร้อยละ 15 ประชากรทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ และมีอาชีพ มีทั้งทางด้านเกษตร 70 ครัวเรือน รับจ้าง 30 ครัวเรือน ข้าราชการ 75 ครัวเรือน ค้าขาย 30 ครัวเรือน ข้าราชการบำนาญ 150 ครัวเรือน สถานการณ์โดยทั่วไปของชุมชนพบว่าด้านเศรษฐกิจ ชุมชนวัดโพธิการาม เป็นชุมชนที่เข้าสู่สังคมผู้สูงวัย มีผู้สูงอายุมากกว่าวัยทำงาน ส่งผลให้มีรายได้น้อย โดยเฉลี่ยของชุมชน ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (79,200 บาท/ครัวเรือน/ปี) ด้าน สังคม เป็นสังคมต่างคนต่างอยู่ ขาดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน ไม่เห็นความสำคัญของการร่วมกลุ่ม ขาดกติกาและข้อตกลงร่วมกันของชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม มีพื้นที่ในชุมชนที่สามารถปลูกผักสวนครัวและใช้พื้นที่ริมถนนในชุมชน สร้างพื้นที่สีเขียวให้สมาชิกพักผ่อน ออกกำลังกายได้ สภาพที่มีปัญหาเรื่องการทิ้งขยะไม่เป็นที่ สร้างมลภาวะให้กับชุมชนระบบระบายน้ำไม่สะดวก ทำให้เกิดน้ำท่วมขังสร้างความเดือดร้อนให้กับชุมชน และด้านสุขภาพ ผู้สูงวัยส่วนมากมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน, ความดัน, หัวใจ, ไต, อ้วน, เครียด เป็นต้น
ทุนของชุมชน ในชุมชนมีวัดโพธิการาม เป็นที่พบปะและทำพิธีทางศาสนา มีวัฒนธรรมพื้นบ้านอย่างหลากหลายประกอบด้วยวันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ เทศกาลตรุษไทย รับส่ง-ตายาย ถวายฉลากภัตรแด่พระภิกษุสงฆ์/สามเณร ร่วมงานวันสำคัญทางศาสนา และวันสำคัญของชาติ มีโรงเรียนสะอาดเผดิมเป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา และโรงพยาบาลชุมพรเขตอุดมศักดิ์ให้บริการด้านสุขภาพ มีคณะกรรมชุมชน ควบคุมบริหารงานของชุมชน โดยใช้กลไกนโยบายของรัฐบาลตามโครงการประชารัฐ และเทศบาลเมืองชุมพร โดยมีนางสุจิตรา สุขไพบูลย์ เป็นประธานชุมชน และยังมีผู้นำทางธรรมชาติ ที่เป็นข้าราชการที่เกษียณอายุแล้วอาศัยอยู่จำนวน 298 คน ยังไม่มีกลุ่มต่างๆที่ชัดเจนเนื่องจากเป็นชุมชนใหม่ที่พร้อมจะเรียนรู้มีแต่ทีมงานจิตอาสา และกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขที่ได้รับการฝึกอบรมและพร้อมจะดำเนินงานจำนวน 15 คน
สาเหตุของปัญหา โดยมีข้อมูลสนับสนุนที่ชัดเจน ในการจัดทำโครงการชุมชนครั้งนี้ ได้มีการทำการวิเคราะห์ปัญหา การทำต้นไม้ปัญหา นำปัญหาที่ได้จาการวิเคราะห์ รายด้านทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ แล้วนำมาเรียงลำดับความสำคัญของปัญหา ตามแผนภูมิที่ 1 และช่วยกันหาแนวทางแก้ไขร่างเป็นกิจกรรม ย่อย ๆ พร้อมทั้งมอบหมายหน้าที่ของแกนนำชุมชนจำนวน 20 คนที่เป็นอาสาสมัครเป็นแกนนำชุมชนครั้งนี้ ตามแผนภูมิที่ 2 ช่วยกันจัดทำแผนโดยมีนักวิชาการช่วยดำเนินการ มีการพูดคุยกัน 2 ครั้งเพื่อทบทวนปัญหา และนำข้อมูลชุมชนมาหนุนเสริมในการจัดทำโปรแกรมผลลัพธ์ และบันไดผลลัพธ์ เพื่อจัดทำข้อเสนอโครงการต่อไป

แผนภูมิที่ 1 การลำดับความสำคัญของปัญหา ปัญหา ขนาด ความรุนแรง ความตระหนัก ความยากง่าย รวม รายได้น้อย 3 2 2 2 9 ทิ้งขยะไม่ถูกที่/ไม่แยกขยะ 3 3 4 2 12 เสียง/กลิ่นจาก เมรูเผาศพ และเตาเผาจากขยะโรงพยาบาล 3 3 3 1 10 โรคเรื้อรัง 4 4 4 3 15

แผนภูมิที่ 2 รายนามคณะกรรมการจัดทำโครงการ

รายชื่อ บทบาทหน้าที่ เบอร์โทรศัพท์ นางสุจิตรา สุขไพบูลย์ ประธานชุมชน (ที่ปรึกษา) 095-703-6848 นายประมวล พรหมศร รองประธานชุมชน(ผู้รับผิดชอบโครงการ) 087-265-5985 นางลักขณา ชมภู เลขานุการ 099-143-3222 นายวัชระ สุขไพบูลย์ ผู้ช่วยเลขานุการ 098-721-4201 ร.ต.อ. สุเทพ เพ็ชรแก้ว เหรัญญิก 096-406-0929 น.ส.ชนิดา ฤทธิมนตรี กรรมการ 081-483-4106 นางวลีพร ศศิธร กรรมการ 089-021-9258 น.ส.วนิดา ศานติวิวรรธน์ กรรมการ 089-875-7940 น.ส.อุบลศรี ศุภนิรันดร์ กรรมการ 089-875-7940 นางสวรัตน์ คล้ายโสม กรรมการ 097-283-8870 น.ส.ปทิตตา สนานคุณ กรรมการ 085-794-0457 นางโอฬารศรื ฤคดี กรรมการ 088-385-6372 นางวรรณา เพ็ชรแก้ว กรรมการ 096-406-0929 นายทรงพล อมรามร กรรมการ 089-647-9080 นางคำหล้า เมืองวง กรรมการ 091-041-2040 นางวารี เพ็ชรนิล กรรมการ 084-626-6642 นางเบ็ญจางค์ พรหมศร กรรมการ 089-908-3632 นายมานพ ประมวลสุข กรรมการ 087-886-2899 นางสุจิตรา พลายชุม กรรมการ 084-064-8741 นายบุญชู แซ่เตียว กรรมการ 093-720-1849 นายอภินันท์ แพ่งยัง กรรมการ 086-946-6928 นายโชติ สุขอนันต์ กรรมการ 081-978-3862 นางละมัย สุขอนันต์ กรรมการ 081-978-3862

จากตารางปัญหา คณะกรรมการได้วิเคราะห์พบว่าแต่ละเรื่องมีความสอดคล้องกัน สามารถกำหนดเป็นประเด็นต่าง ๆ และได้พูดคุยร่วมกันกับพี่เลี้ยงโครงการสสส. ให้คำแนะนำเพิ่มเติม และต่อมาได้นัดหมายเวลาและสถานที่พูดคุยกันอีกครั้ง โดยใช้บ้านรองประธานชุมชนวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา ภาพรวมของชุมชน ที่มีความครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ สรุปได้ดังนี้ 1. ด้านเศรษฐกิจ พบว่าคนในชุมชนส่วนใหญ่มีรายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นทุกวัน 2. ด้านสังคม พบว่า วัยแรงงานออกไปทำงานนอกบ้านเหลือแต่ผู้สูงอายุ ที่บางคนเป็นผู้ติดเตียง ติดบ้าน เป็นโรคเรื้อรังอยู่เพียงลำพัง
3. ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า มีกลิ่นเหม็นจากเมรุเผาศพ และเตาเผาขยะจากโรงพยาบาล น้ำเน่าในท่อระบายน้ำและน้ำท่วมขังในพื้นที่ต่ำ เสียงดังจากอู่ซ่อมรถที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง 4. ด้านสุขภาพ พบว่าประชากรที่เฝ้าระวังสภาวะสุขภาพทั้งหมด 750 คน ประกอบด้วยผู้สูงอายุ ที่เป็นโรคเบาหวาน 300 คน โรคความดันโลหิต 350 คน โรคหัวใจ 10 คน โรคไต 50 คน โรคอ้วน 10 คน โรคเครียด 30 คน(บางคนเป็นหลายโรค) ทำให้คณะกรรมการเลือกปัญหาโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุซึ่งมีเป็นจำนวนมากและขาดการดูแลที่ถูกต้องในด้านต่าง ๆ ในการจัดทำโครงการครั้งนี้ ได้นำคนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการในรูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ของคนสามวัยใส่ใจสุขภาพ ผู้สูงอายุ ทำการวิเคราะห์ต้นไม้ปัญหาในการดำเนินงานครั้งนี้ พบว่ามีสาเหตุในด้านต่าง ๆ ประกอบไปด้วย 1) ด้านพฤติกรรม เกิดจากคนส่วนใหญ่ไม่ออกกำลังกาย รับประทานอาหารไม่ถูกต้องและไม่ควบคุมอาหาร คนทั่วไปถือว่าเป็นเรื่องไม่ร้ายแรง ทำให้เป็นโรคเรื้อรังแทรกซ้อนได้หลายโรค 2) ด้านสิ่งแวดล้อมทางด้ายกายภาพ พบว่าขาดสถานที่กลาง (สาธารณะ) ในการออกกำลังกาย และไม่มีเครื่องออกกำลังกาย 3) ขาดแกนนำในการออกกำลังกายให้สมวัย
1.2 แนวทางการแก้ไขปัญหาที่จะเสนอในโครงการนี้
เนื่องจากชุมชนวัดโพธิการรามเป็นชุมชนที่จัดตั้งใหม่ ปี 2564 คนในชุมชนส่วนใหญ่ จากการประชุมคณะกรรมการและทีมวิชาการได้วิเคราะห์แผนภูมิต้นไม้ปัญหาในเรื่องของประเด็นเรื่องของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญและมีจำนวนมากกว่ากลุ่มอื่น (750 คน) ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการบำนาญ (298 คน) บางคนมีศักยภาพ แต่ขาดเวทีหรือโอกาสให้แสดงศักยภาพ และยังมีปัญหาสุขภาพเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่าเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุจะมีผลกระทบที่เกิดขึ้นทุกด้านทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพพบว่าแต่ละเรื่องมีความเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กัน คณะกรรมการหมู่บ้านเห็นความสำคัญของเรื่องนี้เป็นอย่างมากจึงคิดหาแนวทางในการดูแลและให้การช่วยเหลือ ประกอบด้วย การจัดตั้งทีมงานที่มีจิตอาสา ร่วมสำรวจข้อมูลชุมชนอย่างครบวงจรและจัดทำฐานข้อมูล เพื่อเป็นแนวทางในการนำใช้ข้อมูลต่อไป ประชุมชี้แจงให้คนในชุมชนทุกคนทราบและเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้น ทั้งในเรื่องของการให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยการปรับพฤติกรรมตนเองในเรื่องของการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอ ออกกำลังกายที่เหมาะสม จัดกิจกรรมอารมณ์ดี การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในชุมชน(หาสิ่งที่ดีๆ และคนดีๆ) และไปดูพื้นที่ต้นแบบเพื่อนำมาปรับฯชุมชนต่อไป ทั้งรวมกลุ่มตั้งชมรมผู้สูงอายุร่วมกันทำกิจกรรม เช่น ปลูกผักในพื้นที่กลาง (สวนของ อ.ประมวล) พบปะสังสรรค์ในวันที่ประชุมประจำเดือนทุกเดือน (ทุกเรื่องเคลียร์กันได้ในพื้นที่กลางไม่เอากลับบ้าน) เป็นต้น ตั้งกติกาชุมชนเพื่อการปฏิบัติให้เป็นแนวทางเดียวกัน ติดตามเยี่ยมเสริมพลังผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบางตามความเหมาะสมทุกเดือน ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือและช่วยเหลือ การเรียนรู้กับทีมเครือข่ายNode flagship สรุปผล ถอดบทเรียนและคืนข้อมูลชุมชน ตลอดจนนำข้อมูลที่ได้ทั้งในส่วนที่ดีต้องการบอกต่อและส่วนที่ต้องพัฒนาต่อเนื่องเข้าสู่แผนชุมชนพึ่งตนเองและแผนกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองชุมพรต่อไป 1.3 การดำเนินงานโครงการจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายได้ดังนี้ จากที่มีผู้สูงอายุจำนวนมากและส่วนใหญ่ เป็นโรคเรื้อรัง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น โดยมีเป้าหมายในระยะสั้นที่ต้องการให้ ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดปัจจัยเสี่ยง เพิ่มปัจจัยเสริมด้านสุขภาพชุมชน เกิดกลไกสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิต พร้อมทั้งลดอัตราเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ซึ่งจะส่งผลระยะยาวที่ผู้สูงอายุในชุมชนมีการพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ความสัมพันธ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อลดอัตราโรคเรื้อรังในกลุ่มเสี่ยงและผู้สูงอายุทั้งชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถดูแลตนเองได้และไม่เป็นภาระของสังคม รวมทั้งการขอสนับสนุนในส่วนต่าง ๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้จัดทำโครงการครั้งนี้ขึ้นเพื่อใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตี่ดีของผู้สูงอายุต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถของแกนนำชุมชนให้สามารถจัดการปัญหาสุขภาพของชุมชนได้

1.เกิดคณะทำงานร่วมจัดการโรคเรื้อรังในพื้นที่ได้ 2.เกิดกลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างมีส่วนร่วม

0.00
2 2.เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและลดโรคเรื้อรังในชุมชน

1.เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุเชิงรุก 2.ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยการลดการเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 150
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ผู้สูงอายุ 150 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66
1 จัดตั้งพัฒนาคณะทำงาน(1 มิ.ย. 2022-30 เม.ย. 2023) 8,200.00                        
2 สำรวจข้อมูลชุมชน 2 ครั้ง(10 มิ.ย. 2022-10 มิ.ย. 2022) 3,340.00                        
3 รณรงค์สื่อสารการรับรู้โรคเรื้อรังอย่างมีส่วนร่วม(23 ส.ค. 2022-23 ส.ค. 2022) 7,800.00                        
4 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุทุกกลุ่ม(22 ก.ย. 2022-22 ก.ย. 2022) 2,250.00                        
5 จัดเวทีประชาคมเพื่อรับรองและประกาศกติกาชุมชนและติดตามผล(16 ต.ค. 2022-16 ต.ค. 2022) 8,000.00                        
6 สสส.สนับสนุนเพิ่มเติม(6 พ.ย. 2022-6 พ.ย. 2022) 9,750.00                        
7 จัดหาพื้นที่กลางในการจัดกิจกรรมชุมชน(10 พ.ย. 2022-10 พ.ย. 2022) 2,000.00                        
8 ปฏิบัติการในพื้นที่จริงแต่ละกลุ่มด้วยการให้ความรู้3อ2สและแนวทางการดูแลผู้สูงอายุทางกาย จิต สังคมและสิ่งแวดล้อม(13 พ.ย. 2022-13 พ.ย. 2022) 20,200.00                        
9 ประสานความร่วมมือภาคีเครือข่ายในการจับริการชุมชน(15 ธ.ค. 2022-15 ธ.ค. 2022) 0.00                        
10 จัดเวทีประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดี(14 ม.ค. 2023-14 ม.ค. 2023) 4,300.00                        
11 จัดเวทีถอดบทเรียนการจัดการความรู้โรคเรื้อรัง(30 ม.ค. 2023-30 ม.ค. 2023) 2,000.00                        
12 จัดเวทีสรุปบทเรียนและคืนข้อมูลชุมชน(25 มี.ค. 2023-25 มี.ค. 2023) 12,660.00                        
รวม 80,500.00
1 จัดตั้งพัฒนาคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 200 8,200.00 11 8,200.00
19 มิ.ย. 65 จัดตั้งพัฒนาคณะทำงาน 20 3,200.00 3,200.00
19 ส.ค. 65 1.2 ประชุมประจำเดือน ครั้งที่ 2 20 500.00 500.00
18 ก.ย. 65 1.2 ประชุมชี้แจงในเวทีและประชุมประจำเดือน ครั้งที่ 3 และ ARE1 20 500.00 500.00
8 ต.ค. 65 ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครัั้งที่ 4 20 500.00 500.00
5 พ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่5 20 500.00 500.00
11 ธ.ค. 65 ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 6 20 500.00 500.00
5 ม.ค. 66 ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 7 20 500.00 500.00
5 ก.พ. 66 ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 8 20 500.00 500.00
20 ก.พ. 66 หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ 0 500.00 500.00
5 มี.ค. 66 ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 9 20 500.00 500.00
5 เม.ย. 66 ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 10 20 500.00 500.00
2 สำรวจข้อมูลชุมชน 2 ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 3,340.00 1 3,340.00
11 - 20 ก.ค. 65 สำรวจข้อมูลชุมชนครั้งที่1 และประชุมประจำเดือนครั้งที่ 1 150 3,340.00 3,340.00
3 รณรงค์สื่อสารการรับรู้โรคเรื้อรังอย่างมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 7,800.00 2 7,800.00
23 ส.ค. 65 กิจกรรม ที่3.1 รณรงค์สื่อสารการรับรู้โรคเรื้อรังอย่างมีส่วนร่วมในชุมชน 20 0.00 0.00
12 ก.ย. 65 กิจกรรม ที่3.2 รณรงค์สื่อสารการรับรู้โรคเรื้อรังอย่างมีส่วนร่วมนอกชุมชน 20 7,800.00 7,800.00
4 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุทุกกลุ่ม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 90 2,250.00 9 2,250.00
22 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 6.2 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ครั้งที่1 10 250.00 250.00
24 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 6.2 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ครั้งที่ 1 10 250.00 250.00
26 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 6.3 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง ครั้งที่1 10 250.00 250.00
30 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 6.4 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ครั้งที่2 10 250.00 250.00
5 ต.ค. 65 กิจกรรมที่ 6.5 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ครั้งที่3 10 250.00 250.00
22 ต.ค. 65 กิจกรรมที่ 6.1 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ครั้งที่1 10 250.00 250.00
23 ต.ค. 65 กิจกรรมที่ 6.6 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ครั้งที่2 10 250.00 250.00
24 ต.ค. 65 กิจกรรมที่ 6.7 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง ครั้งที่2 10 250.00 250.00
29 ต.ค. 65 กิจกรรมที่ 6.8 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ครั้งที่4 10 250.00 250.00
5 จัดเวทีประชาคมเพื่อรับรองและประกาศกติกาชุมชนและติดตามผล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 8,000.00 1 8,000.00
16 ต.ค. 65 กิจกรรมที่ 5 จัดเวทีประชาคมเพื่อรับรองและประกาศกติกาชุมชนและติดตามผล 100 8,000.00 8,000.00
6 สสส.สนับสนุนเพิ่มเติม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 179 9,750.00 11 9,750.00
4 - 5 มิ.ย. 65 ปฐมนิเทศโครงการ 3 1,200.00 1,200.00
17 มิ.ย. 65 จัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯ 150 1,000.00 1,000.00
30 ก.ค. 65 อบรมการบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ 2 400.00 400.00
2 - 3 ต.ค. 65 อบรมนักสื่อสารสร้างสรรค์สังคมสุขภาวะ รุ่นที่ 2 3 800.00 800.00
30 ต.ค. 65 พบพี่เลี้ยงเพื่อการตรวจสอบรายงานการเงินและรายงานOnline 2 900.00 900.00
31 ต.ค. 65 พัฒนาศักยภาพจัดเวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อเรียนรู้และพัฒนา (ARE 1)Node Fiagship Chumphon 3 600.00 600.00
26 มี.ค. 66 พบพี่เลี้ยงก่อนจบโครงการ (ครั้งที่ 1) 4 750.00 750.00
9 เม.ย. 66 พบพี่เลี้ยงก่อนจบโครงการ (ครั้งที่ 2) 4 750.00 750.00
10 เม.ย. 66 ประชุมติดตามประเมินผลลัพธ์โครงการย่อย 1 600.00 600.00
30 เม.ย. 66 จัดทำรายงานปิดโครงการ 3 2,000.00 2,000.00
30 เม.ย. 66 พบพี่เลี้ยงก่อนจบโครงการ (ครั้งที่ 3) 4 750.00 750.00
7 จัดหาพื้นที่กลางในการจัดกิจกรรมชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 2,000.00 1 2,000.00
10 พ.ย. 65 กิจกรรมที่ 8 จัดหาพื้นที่กลางในการจัดกิจกรรมชุมชน 20 2,000.00 2,000.00
8 ปฏิบัติการในพื้นที่จริงแต่ละกลุ่มด้วยการให้ความรู้3อ2สและแนวทางการดูแลผู้สูงอายุทางกาย จิต สังคมและสิ่งแวดล้อม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 320 20,200.00 4 20,200.00
13 พ.ย. 65 กิจกรรมที่ 7.1(1) ปฏิบัติการในพื้นที่จริงแต่ละกลุ่มด้วยการให้ความรู้ 3อ2ส และแนวทางการดูแลผู้สูงอายุทาง กาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม 80 6,400.00 6,400.00
20 พ.ย. 65 กิจกรรมที่ 7.1(2) ปฏิบัติการในพื้นที่จริงแต่ละกลุ่มด้วยการให้ความรู้ 3อ2ส และแนวทางการดูแลผู้สูงอายุทาง กาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม 80 6,400.00 6,400.00
27 พ.ย. 65 กิจกรรมที่ 7.2(1) การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์โดยการใช้พื้นที่กลาง (ปลูกผักปลอดสารพิษ) 80 3,700.00 3,700.00
4 ธ.ค. 65 กิจกรรมที่ 7.2(2) การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์โดยการใช้พื้นที่กลาง (ปลูกผักปลอดสารพิษ) 80 3,700.00 3,700.00
9 ประสานความร่วมมือภาคีเครือข่ายในการจับริการชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 0.00 1 0.00
18 ธ.ค. 65 กิจกรรมที่ 9 ประสานความรู้ร่วมมือภาคีเครือข่ายในการจัดบริการประชาชน 20 0.00 0.00
10 จัดเวทีประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดี กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 5 4,300.00 1 4,300.00
15 เม.ย. 66 กิจกรรมที่ 10 จัดเวทีประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดี (บุคคลต้นแบบ) 5 4,300.00 4,300.00
11 จัดเวทีถอดบทเรียนการจัดการความรู้โรคเรื้อรัง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 2,000.00 1 2,000.00
19 มี.ค. 66 กิจกรรมที่ 11 จัดเวทีถอดบทเรียนการจัดการความรู้โรคเรื้อรัง 20 2,000.00 2,000.00
12 จัดเวทีสรุปบทเรียนและคืนข้อมูลชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 12,660.00 1 12,660.00
23 เม.ย. 66 ิกิจกรรมที่ 12 จัดเวทีสรุปบทเรียนและคืนข้อมูลชุมชน (ปิดโครงการ) 150 12,660.00 12,660.00

3.พัฒนาศักยภาพร่วมกับ Node Flagship

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.คณะกรรมการมีศักยภาพในการบริหารจัดการโรคเรื้อรังในชุมชนโพธิการามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยลดการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2022 12:27 น.