directions_run

(10)บ้านห้วยตาอ่อน ส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ (10)บ้านห้วยตาอ่อน ส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดชุมพร
รหัสโครงการ 65-00240-0010
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2022 - 30 เมษายน 2023
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการศุนย์เรียนรู้ห้วยตาอ่อนโมเดล
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสะอาด ทาระการ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0613585384
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ weerapath2009@hotmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางชิดสุภางค์ ชำนาญ
พื้นที่ดำเนินการ บ้านห้วยตาอ่อน ตำบลสะพลี อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร
ละติจูด-ลองจิจูด 10.614465,99.277782place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 32,000.00
2 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 44,000.00
3 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 4,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บ้านห้วยตาอ่อน หมู่ที่ 9 ต.สะพลี มีประชากรจำนวน 156 ครัวเรือน จำนวนประชากร 468 คน ประชาชนส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ และมีวัด 1 แห่ง คือ วัด สามัคคีชัย ตั้งอยู่หมู่ที่ 5  ประเพณีและวัฒนธรรมเป็นแบบผสมผสานระหว่างไทยและจีน ประเพณี ท้องถิ่นที่สำคัญ ได้แก่ ประเพณีลอยกระทง ประเพณีทำบุญตักบาตรวันปีใหม่ ประเพณีสงกรานต์ และประเพณี แห่เทียนพรรษาประชาชนส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลมีสุขภาพดี โดยมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพลี ดูแลด้านสาธารณสุข มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 4 คน อสม. จำนวน 58 คน (เฉพาะเขตเทศบาลตำบลสะพลี) โดยทำการประสานกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ของเทศบาลตำบลสะพลี มีร้านขายยา จำนวน 3 แห่ง การสังคมสงเคราะห์ และสวัสดิการสังคม ผู้สูงอายุผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์ ได้รับเงินสวัสดิการ เบี้ยยังชีพสงเคราะห์ผู้สูงอายุและเบี้ยยังชีพ ผู้พิการ ได้รับเงินสวัสดิการจากงบประมาณของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ในเขตเทศบาลตำบลสะพลี มีสถานีตำรวจ 1 แห่ง คือ สถานีตำรวจภูธรย่อยสะพลี ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลสะพลี มีอัตรากำลัง 4 นาย และมีกลุ่มสมาชิกอาสาสมัครป้องกันฝ่ายพลเรือนตำบลสะพลี จำนวน 45 คน และมีสมาชิก อสม.คอยดูแลเรื่องสุขภาพของประชาชนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง       ในส่วนของปัญหาจากการใช้สารเคมีในการปลูกผัก/การบริโภคผักที่มีสารเคมีตกค้างยังคงมีในชุมชนทำให้ ประชากรในชุมชนบางส่วนมีสุขภาพไม่ค่อยสมบูรณ์ แข็งแรงเท่าที่ควร มีโรคประจำตัว เช่น อัมพาต ความดัน อัมพฤกษ์  กระดูกเสื่อม ไขมัน เบาหวาน มะเร็ง ซึ่งเกิดจากสาเหตุหนึ่งของการบริโภคอาหารที่มีสารพิษตกค้างจึงทำให้เกิดโรคดังกล่าว       ที่ผ่านมา ชุมชนได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากนโยบายรัฐ เรื่องให้ครัวเรือนปลูกผักปลอดสารตามโครงการ บ้านสวยด้วยผัก ทำให้มีครัวเรือนชุมชนปลูกผักปลอดสาร ประมาณจำนวน 80 ครัวเรือน ปัจจุบันชุมชน มีมาตรการเกี่ยวกับการปลูก และบริโภคผักปลอดภัย โดย มีการทำการประชาคมหมู่บ้าน, รับสมัครสมาชิกครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ, สร้างข้อตกลงร่วมกัน และคณะกรรมการหมู่บ้าน คอยควบคุมดูแลให้ปฏิบัติตามข้อตกลงและติดตามประเมินผลการปลูกผักปลอดสารเคมีและบริโภคผักอย่างปลอดภัย สรุปผลการดำเนินงานของกลุ่ม นำผลมารายงานต่อที่ประชุมร่วมกันเพื่อหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาให้ดีขึ้น ซึ่งจากการดำเนินโครงการที่ผ่านมา พบว่า ชุมชนส่วนหนึ่งเริ่มเห็นความสำคัญของการปลูกผักปลอดสารทำให้มีครัวเรือนที่ดำเนินการปลูกผักปลอดสารจำนวน 80 ครัวเรือน และมีการทำการเกษตรปลอดสารหรือลดการใช้สารจำนวน 50 ครัวเรือนเนื่องจากชุมชนเริ่มมีความตระหนักในเรื่องการใช้สารเคมีทางการเกษตร ส่งผลให้กระทบกับสุขภาพทั้งผู้ใช้และครัวเรือนข้างเคียง
      ชุมชน ฯ จึงได้จัดทำโครงการ บ้านห้วยตาอ่อนสุขภาพดี ผลิตผักปลอดสารเคมี ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง    ขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกผักปลอดภัยมากขึ้นจนเกิดวิถีการปลูกผักที่ไร้สารเคมี สามารถนำไปใช้บริโภคในครัวเรือน แลกเปลี่ยน หรือขายในชุมชน จนทำให้รายจ่ายของการซื้อผัก ของแต่ละครัวเรือนลดลง เป็นชุมชนชนบทส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร ทุกครัวเรือนจะมีพื้นที่สำหรับปลูกพืชผักไว้บริโภคในครัวเรือนเป็นของตนเองและมีพื้นที่สาธารณะสำหรับให้กลุ่มใช้ปลูกร่วมกัน
    นอกจากนี้คณะทำงานโครงการยังมีการพัฒนาแหล่งน้ำในชุมชนโดยการสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่ลำคลองห้วยตาอ่อน เมื่อปีที่ผ่านมา และจะสร้างเพิ่มในปีนี้อีก 1 ตัว เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้กับระบบน้ำ

อาชีพและรายได้ บ้านห้วยตาอ่อน ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก ในอดีตมีการปลูก มะพร้าว พืชสวน พืชไร่ และผลไม้เช่น มะม่วง ชมพู่ ละมุด น้อยหน่า เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ แต่หลังจากที่อำเภอปะทิว ประสบวาตภัย พายุไต้ฝุ่นเกย์ เมื่อปี 2532 ทำให้ทรัพยากรเช่น บ้านเรือน เรือกสวนไร่นา โดนทำลาย 100 เปอร์เซ็นต์ จึงทำให้ชุมชนบ้านเกาะเสม็ดต้องมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องการประกอบอาชีพเพื่อให้มีการฟื้นฟูรายได้ประชาชนให้เร็วที่สุดเพื่อความอยู่รอด จึงหันมาปลูกปาล์มน้ำมัน และยางพารา เป็นอาชีพหลัก ทำให้วิถีชุมชนดั้งเดิมในชุมชนได้สูญหายไปกับพายุไต้ฝุ่นเกย์ในครั้งนั้นด้วย บางครั้งชาวบ้านต้องออกไปรับจ้างเลี้ยงชีพในต่างถิ่นบ้างก็มี
ชุมชน ฯ จึงได้จัดทำโครงการ บ้านห้วยตาอ่อน ส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหารเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกผักปลอดภัยมากขึ้นจนเกิดวิถีการปลูกผักที่ไร้สารเคมี สามารถนำไปใช้บริโภคในครัวเรือน แลกเปลี่ยน หรือขายในชุมชน จนทำให้รายจ่ายของการซื้อผัก ของแต่ละครัวเรือนลดลง เป็นชุมชนชนบทส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร ทุกครัวเรือนจะมีพื้นที่สำหรับปลูกพืชผักไว้บริโภคในครัวเรือนเป็นของตนเองและมีพื้นที่สาธารณะสำหรับให้กลุ่มใช้ปลูกร่วมกัน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

เกษตรยั่งยืน อาหารปลอดภัย และความมั่นคงทางอาหาร

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66
1 การดำเนินงานตามแผนงานโครงการ(1 พ.ค. 2022-30 เม.ย. 2023) 70,500.00                        
2 กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส.(1 พ.ค. 2022-30 เม.ย. 2023) 10,000.00                        
รวม 80,500.00
1 การดำเนินงานตามแผนงานโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 305 70,500.00 8 70,500.00
9 ก.ค. 65 ประชุมชี้แจงโครงการ จัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการให้เกิดประสิทธิภาพ 50 9,600.00 9,600.00
16 ส.ค. 65 การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศ และการทำเกษตรกรรมยั่งยืน 50 14,600.00 14,600.00
25 ก.ย. 65 การอบรมให้ความรู้เรื่อง เกษตรกรรมยั่งยืน และความมั่นคงทางอาหารที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของชุมชน 50 9,600.00 9,600.00
5 ก.พ. 66 อบรมเชิงปฏิบัติการด้านการปลูกพืชท้องถิ่น /การปลูกพืชบำรุงดิน 50 10,300.00 10,300.00
20 ก.พ. 66 การสนับสนุนการปรับปรุงระบบน้ำในแปลง 5 8,200.00 8,200.00
21 ก.พ. 66 หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ 0 500.00 500.00
22 มี.ค. 66 ให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงสัตว์เพื่อยกระดับการทำการเกษตรยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร 50 10,000.00 10,000.00
5 เม.ย. 66 สรุปบทเรียนการทำงานของคณะทำงานและผลการดำเนินงาน 50 7,700.00 7,700.00
2 กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 16 10,000.00 9 10,000.00
4 - 5 มิ.ย. 65 ประชุมเชิงปฏิบัติการปฐมนิเทศโครงการย่อยระดับพื้นที่ในจังหวัดชุมพร ร่วมกับ node flagship ชุมพร 2 1,200.00 1,200.00
10 มิ.ย. 65 การจัดทำป้าย 1 1,000.00 1,000.00
30 ก.ค. 65 ร่วมประชุมการบันทึกข้อมูลรายงานกิจกรรมโครงการลงในเว็บไซต์ "คนใต้สร้างสุข" 2 500.00 500.00
2 - 3 ก.ย. 65 เข้ารับการฝึกอบรมและถ่ายทำรายการสื่อสร้างสรรค์ สังคมสุขภาวะ กับ Node flagship ชุมพร 1 1,000.00 1,000.00
26 ต.ค. 65 ร่วมประชุมเวทีสมัชชาพลเมืองชุมพร (สมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร) 2 800.00 800.00
30 ต.ค. 65 ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล และทำเอกสารการเงินโครงการ 1 1,000.00 1,000.00
10 เม.ย. 66 ติดตามประเมินผลลัพธ์โครงการย่อยฯ ร่วมกับทีมวิชาการและพี่เลี้ยง 2 1,100.00 1,100.00
16 เม.ย. 66 ถอดบทเรียนโมเดลการดำเนินงานของพื้นที่ต้นแบบ ประเด็นเกษตรและความมั่นคงทางอาหารระดับหมู่บ้าน 4 1,900.00 1,900.00
25 เม.ย. 66 ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล และทำเอกสารโครงการ 1 1,500.00 1,500.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

คณะทำงานมีศักยภาพในการทำงานแบบมีส่วนร่วม งานชุมชน งานสังคมโดยรวม และเกิดการพัฒนาบทบาทเครือข่ายภาคประชาชน ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศ และการทำเกษตรกรรมยั่งยืน อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศและการทำเกษตรกรรมยั่งยืน โดยเฉพาะด้านการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีชุมชนท้องถิ่น ไม่ให้สูญหายไปจากหมู่บ้าน

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2022 12:44 น.