directions_run

(11)ชุมชนบ้านเกาะเสม็ดส่งเสริมกิจกรรมเกษตรยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ (11)ชุมชนบ้านเกาะเสม็ดส่งเสริมกิจกรรมเกษตรยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดชุมพร
รหัสโครงการ 65-00240-0011
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2022 - 30 เมษายน 2023
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กรรมการหมู่บ้าน หมุ่ 3
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุนทร ไผยา
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0954295560
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ chidsu48@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางชิดสุภางค์ ชำนาญ
พื้นที่ดำเนินการ บ้านเกาะเสม็ด ตำบลบางสน อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร
ละติจูด-ลองจิจูด 10.672754,99.313145place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 32,000.00
2 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 44,000.00
3 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 4,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บ้านเกาะเสม็ด หมู่ที่ 3 ต.บางสน อ.ปะทิว จ.ชุมพร ที่ตั้งของชุมชนส่วนหนึ่งติดกับถนนสายหลักทางหลวงแผ่นดินเส้น 3201 ปะทิว - ชุมพร อีกส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่ดินของชุมชนที่ไม่ติดกับถนนสายหลัก แต่มีถนนสายรองเข้าไปในชุมชนที่ค่อนข้างสะดวก สภาพพื้นที่เป็นดินร่วนปนทราย ไม่มีพื้นที่ที่เป็นภูเขา อยู่ห่างจากทะเลอ่าวบางสนประมาณ 5 กิโลเมตร มีประชากรจำนวน 90 ครัวเรือน จำนวนประชากร 358 คน  ประชาชนส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ อาณาเขตติดต่อกับหมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 และ หมู่ที่ 5 ตำบลบางสน มีวัด 1 แห่งที่ใช้ร่วมกันในตำบลคือ คือ วัดดอนกุฎี ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ต.บางสน อ.ปะทิว  ซึ่งชุมชนตำบลบางสนร่วมกันดูแล ทำให้วัดดังกล่าวเป็นศูนย์รวมของคนในชุมชนหลาย ๆ ชุมชนร่วมกัน และจะร่วมกันจัดงานบุญงานประเพณีและวัฒนธรรมร่วมกันในท้องถิ่น ประเพณีที่สำคัญ ได้แก่ วันพระ ประเพณีลอยกระทง ประเพณีทำบุญตักบาตรวันปีใหม่ ประเพณีสงกรานต์ และประเพณี แห่เทียนพรรษาประชาชนทั้งสองพื้นที่จะร่วมด้วยช่วยกันตลอดมา ส่วนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางสน จะอยู่ที่บ้านคอกม้าหมู่ที่ 6 คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านคอกม้า มีผู้อำนวยการ รพสต.คือ นายสำเริง นพชำนาญ ร่วมกับสมาชิก อสม.ตำบลบางสน ดูแลด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนโดยทั่วไป
      บ้านเกาะเสม็ด ที่ผ่านมาถือว่าเป็นชุมชนต้นแบบด้านการปลูกพืชผักปลอดสารพิษตามฤดูกาล อาทิ พืชผักสวนครัว ฟักทอง ข้าวเหลืองปะทิว และยังมีการแก้ปัญหาให้กับชุมชนเรื่องผลผลิตล้นตลาดโดยการแปรรูปอาหารจากผลผลิตทางการเกษตร อาทิ ฟักทองกวน ขนมครก กล้วยฉาบ ขนมทองม้วน คุกกี้จากข้าวเหลืองปะทิว ที่สำคัญ คือ ขนมจีนเส้นสดจากแป้งข้าวเหลืองปะทิว ในส่วนของปัญหาจากการใช้สารเคมีในการปลูกผัก/การบริโภคผักที่มีสารเคมีตกค้างยังคงมีในชุมชนซึ่งเป็นสารเคมีจากสวนเกษตรเชิงเดี่ยว คือ ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ทำให้ประชากรในชุมชนบางส่วนได้รับผลกระทบจากสารเคมี ทำให้สุขภาพไม่ค่อยสมบูรณ์ แข็งแรงเท่าที่ควรส่วนใหญ่จะเป็นในผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัว เช่น อัมพาต ความดัน อัมพฤกษ์  กระดูกเสื่อม ไขมัน เบาหวาน มะเร็ง ซึ่งเกิดจากสาเหตุหนึ่งของการบริโภคอาหารที่มีสารพิษตกค้างจึงทำให้เกิดโรคดังกล่าว จากผลงานที่ผ่านมาของชุมชนบ้านเกาะเสม็ดทำให้ได้รับการคัดเลือกเป็นชุมชนโอทอปนวัตวิถีบ้านเกาะเสม็ด และจัดตั้งเป็น “ศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่บ้านเกาะเสม็ด” ตามศาสตร์พระราชา       สิ่งที่ชุมชนบ้านเกาะเสม็ดต้องการพัฒนาต่อยอดที่ผ่านมา คือ ต้องการมีครัวเรือนชุมชนปลูกผักปลอดสารไว้บริโภคกันเองในชุมชน เพื่อเป็นการลดโรค และลดค่าใช้จ่าย ปัจจุบันชุมชน มีมาตรการเกี่ยวกับการปลูก และบริโภคผักปลอดภัย โดยผู้นำชุมชน คือ นายสุนทร ไผยา (ผู้ใหญ่บ้าน) คอยควบคุมดูแลให้ปฏิบัติตามข้อตกลงและติดตามการปลูกผักปลอดสารเคมีและบริโภคผักอย่างปลอดภัย ในครัวเรือนชุมชน และร่วมกันเพื่อหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาให้ดีขึ้น

อาชีพและรายได้ บ้านเกาะเสม็ด ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก ในอดีตมีการปลูก มะพร้าว พืชสวน พืชไร่ ทำนาข้าวเหลืองปะทิว นาข้าวไร่ และผลไม้เช่น มะม่วง ชมพู่ ละมุด น้อยหน่า เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ แต่หลังจากที่อำเภอปะทิว ประสบวาตภัย พายุไต้ฝุ่นเกย์ เมื่อปี 2532 ทำให้ทรัพยากรเช่น บ้านเรือน เรือกสวนไร่นา โดนทำลาย 100 เปอร์เซ็นต์ จึงทำให้ชุมชนบ้านเกาะเสม็ดต้องมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องการประกอบอาชีพเพื่อให้มีการฟื้นฟูรายได้ประชาชนให้เร็วที่สุดเพื่อความอยู่รอด จึงหันมาปลูกปาล์มน้ำมัน และยางพารา เป็นอาชีพหลัก ทำให้วิถีชุมชนดั้งเดิมในชุมชนได้สูญหายไปกับพายุไต้ฝุ่นเกย์ในครั้งนั้นด้วย บางครั้งชาวบ้านต้องออกไปรับจ้างเลี้ยงชีพในต่างถิ่นบ้างก็มี ปัจจุบัน มีการส่งเสริมเกษตรผสมผสานในชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในหลวงรัชกาล ที่ 9 อีกทั้งยังเป็นการรื้อฟื้น อนุรักษ์วิถีชีวิตดั้งเดิมให้กลับคืนมา เนื่องจากชุมชนเห็นว่า อาชีพในอดีตไม่เคยทำให้ประชาชนยากจน มีกินมีใช้อย่างอุดมสมบูรณ์ เช่น การทำนา การปลูกพืชไร่ เช่น ฟักทอง แฟง และพืชผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลา
ผู้นำคนปัจจุบัน คือ นายสุนทร ไผยา จึงคิดทำศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงขึ้นในชุมชนเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนในชุมชน ให้ชุมชนได้มีอาชีพหลักและเสริมร่วมกัน นอกจากนี้ยังได้จัดทำเป็นแหล่งเรียนรู้ ด้านเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อเป็นโมเดลให้สมาชิกในชุมชนได้เห็น โดยมีการจัดทำฐานการเรียนรู้รวมทั้งสิ้น 7 ฐาน เช่น ฐานทำขนมจีน ฐานเพาะพันธุ์ข้าวเหลืองปะทิว ฐานเพาะพันธุ์กล้าไม้มะพร้าว มะนาว ฐานเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ ฐานเลี้ยงปลา ฐานเตาเผาถ่าน และฐานกวนฟักทอง ซึ่งฐานทั้งหมดนี้ สมาชิกในชุมชนสามารถที่จะประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันของแต่ละครัวเรือนได้ เป็นการส่งเสริมอาชีพสร้างรายได้ให้กับครอบครัว และยังเป็นการสืบสานวิถีชีวิตทางวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชนอีกด้วย

ผลิตภัณฑ์ชุมชน 1) ข้าวเหลืองปะทิว 2) ขนมจีนเส้นสด (ผลิตจากข้าวเหลืองปะทิว) 3) ผลิตภัณฑ์ขนมไทย อาทิ ฟักทองกวน ฟักทองฉาบ กล้วยฉาบ ขนมทองม้วน ขนมครก ขนมดอกจอก
4) กะปิ (ทำจากกุ้งเคยแท้ปะทิว)
5) ปลาเค็ม
6) กล้าไม้มะพร้าว มะนาว ดาวเรือง และพันธุ์ไม้อื่น ๆ
7) ผักดอง

  ชุมชน ฯ จึงได้จัดทำโครงการ ชุมชนบ้านเกาะเสม็ด ส่งเสริมวิถีชุมชนต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกผักปลอดภัยมากขึ้นจนเกิดวิถีการปลูกผักที่ไร้สารเคมี สามารถนำไปใช้บริโภคในครัวเรือน แลกเปลี่ยน หรือขายในชุมชน จนทำให้รายจ่ายของการซื้อผัก ของแต่ละครัวเรือนลดลง เป็นชุมชนชนบทส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร ทุกครัวเรือนจะมีพื้นที่สำหรับปลูกพืชผักไว้บริโภคในครัวเรือนเป็นของตนเองและมีพื้นที่สาธารณะสำหรับให้กลุ่มใช้ปลูกร่วมกัน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

การส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร /ส่งเสริมอาชีพและรายได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66
1 การดำเนินงานตามแผนงานโครงการ(1 พ.ค. 2022-30 เม.ย. 2023) 70,500.00                        
2 กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน จาก สสส.(1 พ.ค. 2022-30 เม.ย. 2023) 10,000.00                        
รวม 80,500.00
1 การดำเนินงานตามแผนงานโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 350 70,500.00 8 70,500.00
27 พ.ค. 65 ประชุมชี้แจงความสำคัญของการมีทีมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของโครงการ 50 9,600.00 9,600.00
20 ก.ค. 65 การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศและการทำเกษตรกรรมยั่งยืน 50 14,600.00 14,600.00
25 ส.ค. 65 การอบรมเชิงปฏิบัติการ การประเมินคุณค่าและมูลค่าของระบบนิเวศ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของชุมชน 50 9,600.00 9,600.00
18 ม.ค. 66 การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการปลูกพืชท้องถิ่น /การปลูกพืชบำรุงดิน 50 10,300.00 10,300.00
29 ม.ค. 66 อบรมให้ความรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร 50 8,200.00 8,200.00
15 ก.พ. 66 การยกระดับการดำเนินงานโครงการเกษตรกรรมยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร 50 10,000.00 10,000.00
24 ก.พ. 66 หักเงินสำรองเปิดบัญชี 0 500.00 500.00
15 เม.ย. 66 สรุปบทเรียนการทำงานของคณะทำงานและผลการดำเนินงาน 50 7,700.00 7,700.00
2 กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน จาก สสส. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 26 10,000.00 9 10,000.00
4 - 5 มิ.ย. 65 ปฐมนิเทศโครงการ 2 1,000.00 1,000.00
5 มิ.ย. 65 จัดทำป้าย 1 1,000.00 1,000.00
30 ก.ค. 65 ประชุมการบันทึกข้อมูลรายงานกิจกรรมในเว็บไซต์ Happynetwork (คนใต้สร้างสุข) 1 500.00 500.00
4 ก.ย. 65 ร่วมกิจกรรมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ 3 1,000.00 1,000.00
20 ต.ค. 65 ค่าบันทึกข้อมูลรายงานเจ้าหน้าที่และจัดทำเอกสารรายงานการเงินโครงการ 2 1,000.00 1,000.00
26 ต.ค. 65 ร่วมงานเวทีสมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร 4 1,200.00 1,200.00
10 เม.ย. 66 ติดตามประเมินผลลัพธ์ โครงการย่อย กับ Node flagship ชุมพร 2 1,500.00 1,500.00
25 เม.ย. 66 ค่าบันทึกข้อมูลเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 1 1,500.00 1,500.00
28 เม.ย. 66 จัดประชุมสังเคราะห์ข้อมูลชุมชน บ้านเกาะเสม็ดร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการ 10 1,300.00 1,300.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

คณะทำงานมีศักยภาพในการทำงานแบบมีส่วนร่วม งานชุมชน งานสังคมโดยรวม และเกิดการพัฒนาบทบาทเครือข่ายภาคประชาชน ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศ และการทำเกษตรกรรมยั่งยืน อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศและการทำเกษตรกรรมยั่งยืน โดยเฉพาะด้านการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีชุมชนท้องถิ่น ไม่ให้สูญหายไปจากหมู่บ้าน

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2022 12:49 น.