directions_run

(13)พัฒนาการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรปลอดภัในพื้นที่ คทช.สปก.ต.หงษ์เจริญ

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ (13)พัฒนาการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรปลอดภัในพื้นที่ คทช.สปก.ต.หงษ์เจริญ
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดชุมพร
รหัสโครงการ 65-00240-0013
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2022 - 30 เมษายน 2023
งบประมาณ 130,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตอาหารปลอดภัยตำบลหงษ์เจริญ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววาสนา บุญยแพทย์
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวหนึ่งฤทัย พันกุ่ม
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่ คทช.สปก.ต.หงษ์เจริญ หมู่ 4-5
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 52,000.00
2 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 71,500.00
3 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 6,500.00
รวมงบประมาณ 130,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ(คทช.) โครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล ตาม คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 36/2559 แปลง No.83 เนื้อที่ 6,281 ไร่ (ยึดคืนพื้นที่จากบริษัทสหไทยนำมันพืช จำกัด) ในท้องที่ตำบลหงส์เจริญ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร โดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) และคณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัดชุมพร (คทช.ชุมพร) มีมติในที่ประชุมเมือ 17 มีนาคม 2559 เห็นชอบให้จัดที่ดิน ซึ่งมี สปก.ชุมพร เป็นฝ่ายเลขานุการ มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานฝ่ายต่างๆ ดำเนินการรับสมัครบุคคลเข้าร่วมโครงการ คัดกรองบุคคล และอนุญาตให้สถาบันเกษตรกรใช้ที่ดิน โดย สหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินหงส์เจริญ จำกัด ซึ่งมีสหกรณ์จังหวัดชุมพรรับผิดชอบ (มีเกษตรกรในพื้นที่ตำบลหงส์เจริญ 622 ราย และอำเภอท่าแซะ  (2,382 ราย) อำเภอปะทิว อำเภอเมือง ชุมพร ยื่นสมัครเข้าร่วมรวม 2,497 ราย) และ คทช.ชุมพร ได้มีมติเห็นชอบดำเนินการจัดทีดิน วันที่ 14 สิงหาคม 2561 พร้อมกำหนดขนาดจัดที่ดิน ครอบครัวละ 5 ไร่ พร้อมกันนั้น สปก.ชุมพร ได้พัฒนาที่ดิน ปรับโครงสร้างพื้นฐานในแปลง ตรวจสอบคุณสมบัติเกษตรกรทีผ่านเกณฑ์รอบแรก จำนวน 114 ราย จนในปี 2562 เริ่มมีเวทีชุมชนจับฉลากผังแปลง เมื่อ 27 มีนาคม 2562 และรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรลงพื้นที่มอบหนังสืออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (สปก.4-01ส) ให้กับสหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินหงส์เจริญ จำกัด (พื้นที่ตั้งอยู่ท้องถิ่นหมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 5 ตำบลหงษ์เจริญ) เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2562 จากนั้นในเดือนกันยายน เกษตรกรที่ได้คัดเลือกผ่านเกณฑ์ ได้เข้าทำกินในพื้นที่ 105 ราย พื้นที่ที่รับจัดสรร 565 ไร่ และ สปก.ชุมพร ได้ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และสนับสนุนส่งเสริมอาชีพ เมล็ดผัก ปลูกกล้วยหอมทองปลอดสาร  กาแฟโรบัสต้า และส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนเมื่อ 8 พย. 62 .ให้ทำเกษตรอินทรีย์ ฯ ชลประทานได้สร้างอ่างเก็บน้ำพร้อมระบบท่อส่งน้ำ ขณะเดียวกัน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พชอ.)ดำเนินการโครงการบ้านมั่นคงชนบท วันที่ 20 ธค.62 งบประมาณ 4,200,000 บาท จำนวน 105 ครัวเรือน โดยได้จัดสร้างในปี 63 จำนวน 53 หลัง เกษตรกรที่ได้รับจัดสรรที่ดินทำกินแล้ว 105 ราย นั้น เดินนั้นเป็นผู้มีรายได้น้อยประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปในพื้นที่ตำบลหงส์เจริญ ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่ก็ยังต้องทำอาชีพรับจ้างควบคู่กับทำการเพาะปลูกในแปลงที่ครัวเรือนละ 5 ไร่ มีครัวเรือนเข้าอยู่อาศัยในพื้นที่ 50 กว่าครัวเรือน (สร้างบ้านแล้ว 13 คร., สร้างกระต๊อบ 63 คร. และยังไม่สร้างที่พักอาศัยเลย 29 คร.) ส่วนครัวเรือนที่เหลือยังต้องอาศัยภายนอกพื้นที่แต่เข้ามาทำการเพาะปลูก ด้วยขาดทุนทรัพย์ในการสร้างบ้านเรือน ยังไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร์ในท้องทีแล้ว 36 ครัวเรือน (ขอทะเบียนบ้าน) อีกทั้งพืชพันธ์ที่ได้รับสนับสนุนให้ปลูกในปีที่แล้วตายไปกว่า 50% โดยเฉพาะกาแฟ หรือไม่โตอย่างแคระเกร็งเช่นกล้วยหอมทอง ด้วยภัยแล้งไม่มีน้ำในแปลง ระบบท่อส่งน้ำไม่ไหล มีบางแปลงที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติพืชพันธ์ไม้ที่ปลูกแล้วรอดตาย จำนวน 35 แปลง/ครัวเรือน ซึ่งได้รวมตัวเป็นกลุ่มเกษตรอินทรีย์ตำบลหงษ์เจริญ ดำเนินการปลูกพืชผักระยะสั้น ร่วมกันในแปลงกาแฟ รายละ 2 ไร่ (กาแฟที่เหลือ 300 ไร่) ไม้ผล เลี้ยงไก่ในครัวเรือน ควบคู่กับการต้องรับจ้างทั่วไปเพื่อเลี้ยงชีพไปด้วย
ขณะเดียวในปี 2563 นั้น สปก.ชุมพร ได้เอื้ออำนวยให้เกษตรในแปลงได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรแล้ว 69 ราย
พร้อมจะมีโครงการส่งเสริมเกษตรยั่งยืน (วนเกษตร) โครงการเกษตรแปลงใหญ่กาแฟปลอดสาร และโครงการเกษตรกรรมยั่งยืน:อินทรีย์ ต่อเนื่อง  พัฒนาที่ดินได้เข้ามาส่งเสริมการผลิตปุ๋ยชีวภาพและการปรับปรุงดิน ซึ่งหลายหน่วยงานได้เข้ามาสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรในพื้นที่มาเป็นระยะ แม้นจะมีการประชุมบูรณาการของหน่วยงานแต่ในทางปฏิบัตินั้นยังทำได้ยากเพราะการเบิกจ่ายงบประมาณแผ่นดิน อัตรากำลัง ห้วงเวลาของเจ้าหน้าที่ที่จะเข้ามาสนับสนุนพื้นที่ก็ไม่สามารถดำเนินการพร้อมกันได้ จึงต้องเรียกชาวบ้านมาประชุมบ่อยครั้ง ขณะที่ชาวบ้านเป็นผู้มีรายได้น้อย ต้องประกอบอาชีพรับจ้างก็ไม่สามารถร่วมประชุมได้ครบครัน ความรู้ความเข้าใจในแนวทางปฏิบัติยังไม่รู้เท่าทันกัน สถาบันเกษตรกรที่จัดตั้งไว้ก็ยังใหม่ต่อการบริหารจัดการเชื่อมโยงสร้างความสัมพันธ์หมู่มวลสมาชิกได้น้อย มีการทำกิจกรรมสัจจะออมทรัพย์ทุกวันที่ 10 ของเดือน ยังไม่ไม่หล่อหลอมให้สมาชิกมีเป้าหมายร่วมกัน มีความรักสามัคคี
สถานการณ์ในปัจจุบัน มีการจัดสรรเกษตรกรที่ได้คัดเลือกผ่านเกณฑ์ ได้เข้าทำกินในพื้นที่ระยะที่ 2 จำนวน 315 ราย พื้นที่ที่รับจัดสรร 1,575 ไร่ โดยสปก.ชุมพร ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ชลประทานสร้างอ่างเก็บน้ำพร้อมระบบท่อส่งน้ำ ขณะเดียวกัน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พชอ.) ดำเนินการโครงการบ้านมั่นคงชนบท งบประมาณ 12,600,000บาท จำนวน 315 ครัวเรือน โดยจะจัดสร้างในปี 2565 จำนวน 315 หลัง ซึ่งเกษตรกรที่ได้รับจัดสรรที่ดินทำกินแล้ว 105 ราย แม้จะเข้าอยู่ในพื้นที่แล้ว 90% ยังเป็นผู้มีรายได้น้อย ต้องประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปในพื้นที่ตำบลหงส์เจริญ เป็นรายได้หลัก ส่วนเกษตรกรรายใหม่ 315 ราย เพิ่งเริ่มเข้าในพื้นที่จึงยังไม่มีรายได้ที่เกิดจากผลผลิตในแปลง ดังนั้น จากการที่สมาคมประชาสังคมชุมพร (Node flagship ) ในฐานะที่ปรึกษาโครงการ คทช.สปก. ได้แสวงหาข้อมูลข้อเท็จจริงจากพื้นที่ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเกษตรสุขภาพ หรือเกษตรกรรมยั่งยืน ในพื้นที่หงส์เจริญ อำเภอท่าแซะ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ค้นพบปัญหาสำคัญเร่งด่วนของพื้นที่ คือ ขาดการพัฒนาการผลิตอาหารและสินค้าปลอดภัยของเกษตรกรในพื้นที่ คทช.สปก.หงษ์เจริญ อันมีสาเหตุของปัญหาโดยสรุป ดังนี้
ด้านพฤติกรรมของเกษตรกร มีวิถีชีวิตที่ต้องประกอบอาชีพรับจ้างเพื่อเลี้ยงชีพในครัวเรือน การจะทำการปลูกเพาะอย่างเดียวยังไม่พร้อมด้วยทุนทรัพย์ ส่วนใหญ่คุ้มเคยกับเกษตรเคมียังมีความเชื่อว่าเกษตรอินทรีย์ทำได้ยาก ความรู้ในการผลิตสารชีวภัณฑ์ เทคนิคการปลูกใหม่ และการแปรรูปเพิ่มมูลค่าผลผลิตมีน้อย
ด้านสังคมและกายภาพของพื้นที่ เป็นชุมชนเพิ่งตั้งใหม่ ไม่มีจุดรวมหรือเชื่อมโยงกันทางเครือญาติ ต่างคนต่างมาเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดิน ความรักสามัคคีมีน้อยมาก และส่วนใหญ่ต้องออกทำงานรับจ้างโอกาสที่จะมีกิจกรรมร่วมกันจึงแทบไม่มี  ประกอบกับในพื้นที่ยังไม่มีบ้านที่อยู่อาศัยได้ครบ ที่อยู่แล้วก็ไม่มีไฟฟ้า น้ำบริโภค ไม่มีเครื่องมืออุปกรณ์ทำการเกษตร ไม่มีอาหารสถานที่ทำกิจกรรม (ยังต้องขอใช้สถานที่เอกชนทำกิจกรรมในแต่ละครั้ง) ดินเสื่อมสภาพจากการใช้ประโยชน์ปลูกปาล์มน้ำมันมากว่า 30 ปี ในขณะที่กลไก/ระบบที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรอินทรีย์ เพิ่งจัดตั้งได้ไม่กี่เดือนยังไม่มีระบบบริหารจัดการตนเอง
สหกรณ์การเกษตรในปฏิรูปที่ดินหงส์เจริญ จำกัด ซึ่งได้รับสิทธิเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ ก็ยังไม่มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการองค์กรและตอบสนองความต้องการของมวลสมาชิกเก่า 105 ราย และสมาชิกใหม่ 315 รายได้ ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามโครงการ คทช.สปก. ก็ยังมีข้อจำกัดในการบูรณาการให้เกิดการสนับสนุนเกษตรกรผู้ยากไร้ได้ทันสถานการณ์ทั้งนี้ด้วย งบประมาณ อัตรากำลังและห้วงเวลาของเจ้าหน้าที่แต่ละส่วนฝ่าย จึงส่งผลกระทบให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่ คทช.สปก. ดังนี้ 1) ด้านสุขภาพ เกษตรกรส่วนใหญ่มีสารพิษตกค้างในเลือด เป็นประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปจึงกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเรื้อรัง จึงมีค่าใช้จ่ายทางสุขภาพพอสมควร  2) ด้านสังคม เป็นแรงงานภาคเกษตรที่ค่อนข้างมีอายุและสูงวัย เกษตรกรรายใหม่ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านการเกษตร ขาดความรักสามัคคีกันต่างคนต่างอยู่ กลุ่มเกษตรกรที่เป็นรายเก่าและรายใหม่ที่ได้รับการพัฒนาที่แตกต่างกัน มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมน้อยด้วยวิถีอาชีพในครัวเรือน  3) ด้านเศรษฐกิจ ครัวเรือนเกษตรกรมีหนี้สินเดิมคงค้าง ในขณะที่มีรายได้ไม่มั่นคง และไม่มีทุนทรัพย์จัดหาปัจจัยการผลิตเกษตรกรไม่สามารถบริหารจัดการรายได้ของตนเอง 4) ด้านสภาพแวดล้อม ดินเสื่อมด้วยถูกใช้ประโยชน์ทำเกษตรเคมีมานาน แหล่งน้ำไม่เพียงพอเข้าไม่ถึงแปลงเกษตรทุกแปลง ดังจะเห็นได้ว่า แม้สถานการณ์ในภาพรวมจะมีปัญหาซึ่งเป็นจุดอ่อนหลายประการ แต่กลุ่มมีจุดแข็งที่เป็นกลุ่มใหม่ มีความพร้อมที่จะเริ่มกิจกรรมใหม่ๆ ทั้งการปรับปรุง ฟื้นฟู เรียนรู้และกิจกรรมเสริมต่างๆ และสมาชิกมีความตั้งใจที่จะพัฒนาองค์กรร่วมกัน สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตอาหารปลอดภัยหงษ์เจริญ สหกรณ์การเกษตรในปฏิรูปที่ดินหงส์เจริญ จำกัด เจ้าหน้าที่ สปก.ชุมพร และทีมสมาคมประชาสังคมชุมพร ได้ประชุมปรึกษาหารือและตกลงกันที่จะดำเนินการ โครงการพัฒนาการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรปลอดภัยในพื้นที่ คทช.สปก.ต.หงษ์เจริญ โดยมีแนวทางสำคัญ 3 ประการ 1) การพัฒนากลุ่มเกษตรอินทรีย์ให้มีความสามารถบริหารจัดการองค์กร ทั้งการสร้างการเรียนรู้ การแบ่งบทบาทหน้าที่ การจัดการข้อมูลการผลิตของสมาชิกและประสานงานกับสหกรณ์การเกษตรฯ 2) การเรียนรู้การผลิตพืชผักผลไม้ปลอดสารอาหารปลอดภัย และจัดหาปัจจัยการผลิตพื้นฐาน  3) การสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตอาหาร สินค้าการเกษตรและจัดการตลาดโดยชุมชน  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหนึ่งปี เกษตรกรลดรายจ่ายครัวเรือนและมีรายได้จากผลผลิตสินค้าในแปลงพื้นที่ คทช.หงษ์เจริญได้เพิ่มขึ้น

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรเกษตรให้มีความสามารถบริหารจัดการองค์กร

 

0.00
2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ คทช.สปก.หงษ์เจริญ

 

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 90
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก กลุ่มเกษตรกรสมาชิคเก่าและใหม่ 90 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66
1 จัดตั้งและพัฒนาคณะทำงานขับเคลื่อนอาหารสินค้าเกษตรปลอดภัยหงษ์เจริญ(1 มิ.ย. 2022-28 ก.พ. 2023) 13,550.00                        
2 พัฒนาฐานข้อมูลและแผนการผลิตรายชนิด/รายสินค้า/รายแปลง(1 มิ.ย. 2022-30 มิ.ย. 2022) 28,500.00                        
3 จัดหาและสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ ไม้ผล กล้าไม้และปัจจัยการผลิต โดย สปก.ชุมพร,สมาคมประชาสังคมชุมพร และหน่วงงานอื่นๆ เช่น อบต.หงษ์เจริญ พัฒนาที่ดินฯ(1 มิ.ย. 2022-30 มี.ค. 2023) 0.00                        
4 อบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เกษตรกรตามฐานการเรียนรู้ 7 เรื่องให้แก่เกษตรกร 90 ครัวเรือน(1 มิ.ย. 2022-30 ต.ค. 2022) 45,500.00                        
5 จัดระบบการจัดการตลาด กำหนดกติการ่วมกันของชุมชนและความร่วมมือของกลไกลทุกภาคส่วน(1 มิ.ย. 2022-31 มี.ค. 2023) 8,850.00                        
6 การจัดการมาตรฐานแปลง/สินค้าเกษตรปลอดภัย(1 ต.ค. 2022-31 ธ.ค. 2022) 9,318.00                        
7 การพัฒนาผู้ประกอบการรายใหม่ และจัดทำฐานข้อมูลสินค้าผ่าน Digital(1 ต.ค. 2022-28 ก.พ. 2023) 10,750.00                        
8 ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม(8 ธ.ค. 2022-8 ธ.ค. 2022) 9,182.00                        
9 ติดตามสรุปประเมินผลผลิตและรายได้ครัวเรือน(1 มี.ค. 2023-31 มี.ค. 2023) 4,450.00                        
รวม 130,100.00
1 จัดตั้งและพัฒนาคณะทำงานขับเคลื่อนอาหารสินค้าเกษตรปลอดภัยหงษ์เจริญ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 75 13,550.00 6 13,550.00
11 มิ.ย. 65 การจัดตั้งและพัฒนาคณะทำงานขับเคลื่อนอาหารสินค้าเกษตรปลอดภัยหงษ์เจริญ ครั้งที่ 1 /2565 15 2,690.00 2,690.00
3 ก.ค. 65 การจัดตั้งและพัฒนาคณะทำงานขับเคลื่อนอาหารสินค้าเกษตรปลอดภัยหงษ์เจริญ ครั้งที่ 2 /2565 15 2,690.00 2,690.00
20 ส.ค. 65 การจัดตั้งและพัฒนาคณะทางานขับเคลื่อนอาหารสินค้าเกษตรปลอดภัยหงษ์เจริญ ครั้งที่ 3/2565 15 2,690.00 2,690.00
2 ต.ค. 65 การจัดตั้งและพัฒนาคณะทางานขับเคลื่อนอาหารสินค้าเกษตรปลอดภัยหงษ์เจริญ ครั้งที่ 4/2565 15 2,690.00 2,690.00
19 ม.ค. 66 การจัดตั้งและพัฒนาคณะทำงานขับเคลื่อนอาหารสินค้าเกษตรปลอดภัยหงษ์เจริญ ครั้งที่ 5 /2566 15 2,690.00 2,690.00
27 ก.พ. 66 หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ 0 100.00 100.00
2 พัฒนาฐานข้อมูลและแผนการผลิตรายชนิด/รายสินค้า/รายแปลง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 28,500.00 3 28,500.00
19 มิ.ย. 65 กิจกรรม พัฒนาฐานข้อมูลและแผนการผลิตรายชนิด/รายสินค้า/รายแปลง ครั้งที่ 1/2565 50 9,500.00 9,500.00
10 ก.ค. 65 กิจกรรม พัฒนาฐานข้อมูลและแผนการผลิตรายชนิด/รายสินค้า/รายแปลง ครั้งที่ 2/2565 50 9,500.00 9,500.00
27 มี.ค. 66 จัดทำแผนการผลิตและแผนการผลิตรายชนิด/รายสินค้า/รายแปลง 50 9,500.00 9,500.00
3 จัดหาและสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ ไม้ผล กล้าไม้และปัจจัยการผลิต โดย สปก.ชุมพร,สมาคมประชาสังคมชุมพร และหน่วงงานอื่นๆ เช่น อบต.หงษ์เจริญ พัฒนาที่ดินฯ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 90 0.00 3 0.00
7 พ.ย. 65 สนับสนุนหัวเชื้อทำสารชีวภัณฑ์ 30 0.00 0.00
15 ธ.ค. 65 สนับสนุนพันธุ์ปลาดุก 30 0.00 0.00
18 ม.ค. 66 สนับสนุนเม็ดพันธุ์ 30 0.00 0.00
4 อบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เกษตรกรตามฐานการเรียนรู้ 7 เรื่องให้แก่เกษตรกร 90 ครัวเรือน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 210 45,500.00 7 45,500.00
26 มิ.ย. 65 กิจกรรม การอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เกษตรกรตามฐานการเรียนรู้ ครั้งที่ 1/2556 30 6,500.00 6,500.00
17 ก.ค. 65 กิจกรรม การอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เกษตรกรตามฐานการเรียนรู้ ครั้งที่ 2/2556 30 6,500.00 6,500.00
21 ส.ค. 65 กิจกรรม การอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เกษตรกรตามฐานการเรียนรู้ ครั้งที่ 3/2556 30 6,500.00 6,500.00
7 พ.ย. 65 กิจกรรม การอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เกษตรกรตามฐานการเรียนรู้ ครั้งที่ 4/2556 การทำสารชีวภัณฑ์ 30 6,500.00 6,500.00
18 มี.ค. 66 กิจกรรม การอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เกษตรกรตามฐานการเรียนรู้ ครั้งที่ 5/2556 การทำของใช้ในครัวเรือน 30 6,500.00 6,500.00
28 มี.ค. 66 กิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการทำแผนธุรกิจ ครั้งที่ 6/2566 30 6,500.00 6,500.00
26 เม.ย. 66 กิจกรรม การอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เกษตรกรตามฐานการเรียนรู้ ครั้งที่ 7/2556 พลังงานทดแทน 30 6,500.00 6,500.00
5 จัดระบบการจัดการตลาด กำหนดกติการ่วมกันของชุมชนและความร่วมมือของกลไกลทุกภาคส่วน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 8,850.00 5 8,850.00
28 ต.ค. 65 จำหน่ายในพื้นที่และออนไลน์ ครั้งที่1 30 1,770.00 1,770.00
30 พ.ย. 65 จำหน่ายในพื้นที่และออนไลน์ ครั้งที่2 30 1,770.00 1,770.00
25 ม.ค. 66 ่จำหน่ายในพื้นที่และออนไลน์ ครั้งที่3 30 1,770.00 1,770.00
31 ม.ค. 66 จัดจำหน่ายในพื้นที่และออนไลน์ครั้งที่ 4 30 1,770.00 1,770.00
10 ก.พ. 66 จำหน่ายในพื้นที่และออนไลน์ ครั้งที่ 5 30 1,770.00 1,770.00
6 การจัดการมาตรฐานแปลง/สินค้าเกษตรปลอดภัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 9,318.00 1 9,318.00
19 ธ.ค. 65 จัดการมาตรฐานแปลง/สินค้า 50 9,318.00 9,318.00
7 การพัฒนาผู้ประกอบการรายใหม่ และจัดทำฐานข้อมูลสินค้าผ่าน Digital กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 10,750.00 5 10,750.00
26 ต.ค. 65 ทำฐานข้อมูลสินค้า 30 2,150.00 2,150.00
4 พ.ย. 65 พัฒนาผู้ประกอบการรายใหม่ ครั้งที่ 1 30 2,150.00 2,150.00
9 ธ.ค. 65 พัฒนาผู้ประกอบการรายใหม่ ครั้งที่ 2 30 2,150.00 2,150.00
16 ม.ค. 66 พัฒนาผู้ประกอบการรายใหม่ ครั้งที่ 3 30 2,150.00 2,150.00
21 ก.พ. 66 พัฒนาผู้ประกอบการรายใหม่ ครั้งที่ 4 30 2,150.00 2,150.00
8 ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 11 9,182.00 7 9,182.00
4 - 5 มิ.ย. 65 ปฐมนิเทศโครงการย่อย 3 2,050.00 2,050.00
10 - 30 มิ.ย. 65 แบบสอบถามประเด็นเกษตรทั้งก่อนและหลังทำโครงการ 2 3,800.00 3,800.00
30 ก.ค. 65 อบรมพัฒนาศักยภาพโครงการย่อยด้านการบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ 1 260.00 260.00
1 ต.ค. 65 จัดทำป้ายงดเหล้า บุหรี่ และป้ายบันไดผลลัพธ์ 0 1,000.00 1,000.00
31 ต.ค. 65 ประชุมติดตามประเมินผลลัพธ์โครงการย่อย (ARE 1) 2 520.00 520.00
10 เม.ย. 66 ประชุมติดตามประเมินผลลัพธ์โครงการย่อย ARE 1 720.00 720.00
21 - 22 เม.ย. 66 ประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายสุขภาวะจังหวัดชุมพร 2 832.00 832.00
9 ติดตามสรุปประเมินผลผลิตและรายได้ครัวเรือน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 4,450.00 1 4,450.00
20 มี.ค. 66 ติดตามสรุปประเมินผลผลิต รายได้ครัวเรือน และติดตามประเมินผลลัพธ์ (ARE ในพื้นที่) 20 4,450.00 4,450.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2022 11:25 น.