directions_run

(14)ยกระดับการจัดการตลาดสินค้าและอาหารเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนตำบลปากทรง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ (14)ยกระดับการจัดการตลาดสินค้าและอาหารเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนตำบลปากทรง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดชุมพร
รหัสโครงการ 65-00240-0014
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2022 - 30 เมษายน 2023
งบประมาณ 130,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงตำบลปากทรง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายรุ่งโรจน์ ใหม่ซ้อน
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 081 9683 893
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ rojtonnum@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวศิลาพร กลับดี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 52,000.00
2 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 71,500.00
3 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 6,500.00
รวมงบประมาณ 130,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร มีเนื้อที่ 168,704.79 ไร่ สภาพพื้นที่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน และเป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ด้านแหล่งน้ำ มีห้วย ลำธาร คลองจำนวนมาก ด้านสภาพดินมีความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุอาหารที่เหมาะกับการทำเกษตรและมีแร่ใต้ดินจำนวนมากโดยเฉพาะแร่ดีบุก เนื่องจากในอดีตพื้นที่ปากทรงเป็นพื้นที่ทำเหมืองดีบุก แต่ปัจจุบันแร่ดีบุกลดน้อยลงจึงไม่มีการทำเหมืองแร่ ภูมิประเทศส่วนหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากการทำเหมืองแร่กลายเป็นขุมเหมืองที่อยู่บนภูเขาหรือพื้นที่สูงซึ่งบางส่วนมีสภาพเสื่อมโทรมไม่มีต้นไม้ใหญ่ปกคลุมและพื้นที่ราบมีเพียงประมาณร้อยละ 5 ของพื้นที่ทั้งหมด ปัจจุบันชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร แต่ไม่นิยมทำเกษตรอินทรีย์ผสมผสาน ไม่เท่าทันเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล ไม่เรียนรู้ในการประกอบอาชีพเสริมและกลไกด้านการตลาด การด้อยการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนที่เป็นอัตลักษณ์ ที่ดินทำกินส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ประชาชนส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรี ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ซึ่งในตำบลปากทรงมีวัด 1 แห่ง สำนักสงฆ์ 6 แห่ง ที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนปากทรง มีจำนวนประชากร 5,277 คน ครัวเรือนทั้งหมด 2,357 ครัวเรือน จำแนกตามหมู่บ้านดังนี้ หมู่  หมู่บ้าน  ประชากร รวม ครัวเรือน ชาย (คน) หญิง (คน)
1 หมู่ที่ 1 บ้านต่อตั้ง 253 230 483 204 2 หมู่ที่ 2 บ้านห้างแก 325 305 630 260 3 หมู่ที่ 3 บ้านบกไฟ 264 256 520 194 4 หมู่ที่ 4 บ้านปากทรง 401 459 860 391 5 หมู่ที่ 5 บ้านทับขอน 416 372 788 366 6 หมู่ที่ 6 บ้านสะพานสอง 401 374 775 408 7 หมู่ที่ 7 บ้านตะแบกงาม 327 290 617 299 8 หมู่ที่ 8 บ้านในแจะ 166 167 333 139 9 หมู่ที่ 9 บ้านคลองเรือ 147 124 271 96

อาชีพเสริมที่สร้างรายได้ให้ชาวบ้านได้แก่การส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว มีผู้ประกอบการการด้านที่พักโฮมสเตย์ ร้านอาหาร ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ซึ่งมีทั้งการส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ได้แก่ การเดินป่า จุดชมวิวทะเลหมอก มีน้ำตกจำนวนมาก และที่ขึ้นชื่อคือน้ำตกเหวโหลม มีสายน้ำประวัติศาสตร์ การล่องแพ ล่องแก่งเรือยาง เรือคายัก เป็นต้น การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ได้แก่ การพานักท่องเที่ยวชมสวนผลไม้ตามฤดูกาล มีผลไม้ทางเศรษฐกิจที่สำคัญต่อการส่งออก ซึ่งมีทั้งราชาผลไม้ (ทุเรียน) ราชินีผลไม้ (มังคุด) สละ ลองกอง เป็นต้น รวมถึงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามเส้นทางสายไหม ที่ค้นพบได้แก่ ลูกปัด กลองมโหรทึก รวมถึงเส้นทางการทำเหมืองแร่ เป็นต้น มีนักท่องเที่ยวและคณะศึกษาดูงานในปริมาณที่มากขึ้นทุกปี มีการทำการท่องเที่ยวโดยชุมชนกระจายทั่วทั้งอำเภอพะโต๊ะไม่น้อยกว่า 20 ชุมชน มีเครือข่ายทั้งภาคเกษตรและด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่แนบแน่น จึงมีความหลากหลายในกิจกรรมการท่องเที่ยว บางหมู่บ้านทำการท่องเที่ยวจนมีชื่อเสียง ทั้งเป็นแหล่งศึกษาดูงาน และแนวทางการท่องเที่ยวของชุมชนตรงกับนโยบายรัฐบาลจึงง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ แต่มีอุปสรรคที่สำคัญ คือ มีฝนตกเกือบตลอดทั้งปี มีภัยธรรมชาติ ขาดงบประมาณพัฒนา มีแหล่งที่พักและอาหารน้อย เสาเครือข่ายเชื่อมสัญญาณโทรศัพท์ไม่ทั่วถึง ราคาผลผลิตไม่แน่นอน
กลุ่มองค์กรเครือข่ายในตำบลปากทรง 1. กลุ่มท่องเที่ยวเหวโหลมโฮฒสเตย์ เป็นกลุ่มที่ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวในชุมชนรองรับนักท่อง เที่ยวด้านที่พักให้เกิดการกระจายรายได้ การขายสินค้าชุมชน ผลกำไร 3% นำไปพัฒนาชุมชน 2. กลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชน เป็นกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสอดส่องดูแลป่าที่สงวนรักษาไว้ จำนวน ๖๐๐ ไร่ เพื่อการใช้สอยด้านต่างๆ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกลุ่มและกรรมการหมู่บ้านก่อนทุกครั้ง 3. กลุ่ม อสม.จำนวน 116 คน มีบทบาทมากในด้านการสร้างคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ให้มีความรู้ทันโรค ป้องกันและดูแลสุขภาพเบื้องต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. กองทุนต่างๆในหมู่บ้าน เป็นองค์กรที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ชุมชนไม่ต้องไปเป็นหนี้นอกระบบ สามารถนำดอกเบี้ยมาพัฒนาหมู่บ้านในด้านต่างๆ เช่น ด้านให้ทุนการศึกษา ด้านส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรม
5. กลุ่มอาชีพจำนวน 3 กลุ่มคือ กลุ่มเครื่องแกง กลุ่มเลี้ยงไก่ไข่ กลุ่มเลี้ยงวัวซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนเป็นอย่างยิ่ง
6. เครือข่ายคนพอเพียงตำบลปากทรง เป็นรวมตัวของกลุ่มคนเล็กๆที่มีหัวใจสีเขียวของตำบลปากทรง เพื่อทำการเกษตรโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามรอยในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยจะเน้นสุขภาพเป็นเรื่องหลัก ทำการเกษตรปลอดสารเคมีหรือเกษตรอินทรีย์ ได้กำหนดให้มีการประชุมเป็นประจำทุกวันที่ 19 ของเดือน และจะเปลี่ยนที่ประชุมหมุนเวียนไปเรื่อยๆ เจ้าภาพที่รับจัดประชุมต้องเลี้ยงอาหารเที่ยงด้วย เป็นกลุ่มเล็กที่มีความอบอุ่นมาก ประชุมกันมาแล้วมากกว่า 100 ครั้งแต่ระยะหลังด้วยผลกระทบโควิท-19 ไม่ได้รวมตัวทำกิจกรรมมาเกือบสองปี 7. สภาวัฒนธรรมตำบลปากทรง เป็นอีกเครือข่ายที่ทำงานร่วมกับชุมชนอย่างใกล้ชิด ร่วมกันจัดกิจกรรมสะท้อนวิถีของตำบลปากทรง โดยเฉพาะด้านการทำเหมืองแร่ดีบุก เครื่องมือเครื่องใช้ด้านการทำเหมืองแร่ที่เก็บสะสมเอาไว้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังสนับสนุนวันผู้สูงอายุ เทศกาลสงกรานต์ ให้มีกิจกรรมต่อเนื่องในวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี ทำให้ผู้สูงอายุเกิดความอบอุ่น เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ   8. องค์การบริหารส่วนตำบลปากทรง เป็นองค์กรที่ใกล้ชิดกับชุมชนอย่างแนบแน่นและสำคัญยิ่ง มีการจัดทำประชาคมในการพัฒนาด้านต่างๆทุกปี ต้องอาศัยเครื่องมือเครื่องใช้ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ต้องอาศัยช่างโยธาในงานก่อสร้าง ฯลฯ รวมทั้งองค์ความรู้และงบประมาณในการจัดทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน เช่น วันเด็ก วันลอยกระทง วันสงกรานต์ ภาคีเครือข่ายภายนอก 1. เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนพะโต๊ะ ได้มีมติให้หมู่บ้านบกไฟเป็นศูนย์กลางบริการข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว เพื่อเชื่อมโยงแหล่งกิจกรรมท่องเที่ยวของแต่ละชุมชนในอำเภอพะโต๊ะ โดยการทำการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบพึ่งพาเชื่อมโยงกิจกรรมอย่างบูรณาการ ทำให้นักท่องเที่ยวรู้สึกถึงความคุ้มค่าในการเยือนถิ่นพะโต๊ะ ทั้งหมู่บ้านบกไฟยังสามารถเชื่อมเครือข่ายไปยังทะเลได้ด้วย ทั้งอ่าวไทยและอันดามัน ภายใต้ชื่อ “เครือข่ายจากภูผาสู่มหานที” เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงถ้วนหน้าและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมั่นคงยั่งยืน ซึ่งดำเนินกิจกรรม 3 ประเด็นหลักกล่าวคือ 1.) เกษตรอินทรีย์/เกษตรสุขภาพ 2.) ธนาคารต้นไม้ 3.) การท่องเที่ยวโดยชุมชน 2. สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร เป็นเครือข่ายที่ทำงานด้านการท่องเที่ยวร่วมกันมา โดยใช้แนวคิดว่า “พี่ดูแลน้อง” สมาคมฯจะความช่วยเหลือหรือคำแนะนำเป็นพี่เลี้ยงสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชน

จากภาพรวมของการขับเคลื่อนงานตำบลปากทรงซึ่งมีภาคีภายในและภายนอกเข้ามาหนุนเสริมการขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นพอเพียงปากทรง ในการสร้างพื้นที่ผลิตอาหารปลอดภัยได้ระดับหนึ่ง แต่มีข้อจำกัดในการขยายผลครัวเรือนพอเพียงและเพื่อให้เกิดการลดผลกระทบต่อสุขภาวะคนปากทรง มีข้อสรุปดังนี้ 1) ด้านสุขภาพจากข้อมูลสาธารณสุขมูลฐาน ประชากรบางส่วนมีสุขภาพที่ดี มีการคัดกรองสุขภาพกับประชาชนกลุ่มเสี่ยง แต่เนื่องจากในพื้นที่ตำบลปากทรงมีแหล่งน้ำและป่าจึงทำให้เกิดโรคในชุมชน เช่น ไข้เลือดออก ชิกุนกุลย่า ส่วนโรคความดัน เบาหวาน โรคมือ เท้า ปากในเด็กและโรคอื่นๆจากสถิติการรักษาพยาบาลจะเห็นว่าคนในชุมชนไม่ค่อยเข้ารับการรักษาตามระบบและไม่ยอมไปคัดกรองหรือตรวจสุขภาพประจำปี จากข้อมูลพื้นฐานจะสรุปได้ คือ คนในตำบลปากทรงกินอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ กินอาหารที่ซื้อจากภายนอกและไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 2) ด้านสังคม ประชาชนทั่วไปในพื้นที่ ยังเข้าไม่ถึงอาหารที่ปลอดภัย ราคาเป็นธรรมได้น้อย ด้วยการทำเกษตรเชิงเดี่ยว ต้องซื้ออาหารอื่นเป็นหลัก ค่าครองชีพค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับอำเภอใกล้เคียง ในอนาคตจะต้องทำให้การดำรงชีพของคนในสังคมเป็นปกติสุขมีอายุขัยเฉลี่ยตามเกณฑ์ 77 ปีของประชากรภาคใต้ 3) ด้านเศรษฐกิจ ในอดีตตำบลปากทรงทำเหมืองแร่และการเกษตร แต่ปัจจุบันไม่มีการทำเหมืองแร่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่90 %ประกอบอาชีพทำการเกษตร สวนปาล์ม ยาง ผลไม้ กาแฟและเลี้ยงสัตว์ซึ่งค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของเกษตรกรการผลิตภาคเกษตรยังไม่สามารถกำหนดราคาซื้อขายและยังมีต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นดังนั้นการปรับเปลี่ยนให้คนในชุมชนเปลี่ยนแปลงการผลิตจากเกษตรเคมีสู่เกษตรกรรมยั่งยืนในห้วง 3-5 ปี จึงจะลดค่าใช้จ่ายในปัจจัยการผลิตและลดภาระหนี้สินครัวเรือน (ข้อมูลสำรวจจากโครงการชุมชนน่าอยู่ มีหนี้สินครัวเรือน 320,000 บาทต่อครัวเรือน) 4) ด้านสิ่งแวดล้อม พื้นที่ตำบลปากทรงยังมีการบุกรุกทำลายป่าของประชาชนเพื่อเพิ่มที่ดินทำกินทำให้ป่าไม้ถูกทำลายซึ่งหากปล่อยไว้ก็จะเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นๆตามมา ซึ่งพื้นที่ทำกินส่วนใหญ่ของประชาชนอยู่ในเขตป่าไม้และบางส่วนทำกินในที่ดินสาธารณะที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันถึงแม้จะมีการทำกินมากว่า 20-30 ปี ประชาชนก็ยังไม่มีเอกสารสิทธิที่ทำกินทำให้หลายคนถูกจับกุมดำเนินคดีทำให้เกิดความไม่มั่นคงในด้านการทำเกษตรของประชาชนและที่สำคัญเกษตรกรยังนิยมใช้สารเคมีทางการเกษตร และขาดความรู้เรื่องการใช้สารชีวภัณฑ์ในการทำการเกษตร ทำให้บางพื้นที่เกิดสารเคมีตกค้างในดินและแหล่งน้ำลำคลอง ด้วยปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะคนปากทรง จำเป็นต้องจัดการปัจจัยทางสังคมที่กำหนดสุขภาพ ซึ่งจากการปรึกษาหารือวิเคราะห์พบว่ามีสาเหตุที่สำคัญ ได้แก่ ด้านพฤติกรรมบุคคล เกษตรกรทั่วไปยังเน้นความสะดวกสบายในการใช้สารเคมีเกษตร และมีความเชื่อว่าการทำเกษตรปลอดสารอาหารปลอดภัยนั้นทำได้ยาก และไม่ตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคมและกายภาพ เกษตรกรส่วนใหญ่ในสังคมยังทำเกษตรเชิงเดี่ยวมุ่งเน้นการผลิตเพื่อการพาณิชย์ และขายตามราคาตลาด มีร้านค้าจำหน่ายเคมีภัณฑ์มีทั่วไป โฆษณาตามสื่อกระแสหลักต่อเนื่อง มีฝนตกชุกทั้งปี พื้นที่ห่างไกลชุมชนเมืองทำการค้าขายไม่คุมทุน และที่ดินไม่มีเอกสารสิทธ์จึงเข้าถึงทุนสินทรัพย์ได้ยาก ผู้คนอ่อนล้าจากการรวมกลุ่มแล้วไม่ประสบความสำเร็จ ด้านกลไกหรือระบบที่เกี่ยวข้อง เครือข่ายคนพอเพียงขาดการเชื่อมโยงเครือข่ายระดับตำบลที่ต่อเนื่อง ไม่ได้รับการหนุนเสริมจากหน่วยงานรัฐอย่างจริงจัง และไม่มียุทธศาสตร์แผนงานระดับท้องถิ่น ทำให้โอกาสที่จะเข้าถึงแหล่งทรัพยากรได้ยากและยังต้องต่อสู้กับภาครัฐในเรื่องสิทธิที่ดินทำกิน ดังนั้นเครือข่ายคนพอเพียงตำบลปากทรง จึงได้มีมติร่วมกันที่จะพัฒนาตำบลปากทรงเป็นต้นแบบการจัดการระบบจัดการตลาดสินค้าอาหารปลอดภัยที่ทำเกิดรายได้แก่ครัวเรือน อันเป็นการกระตุ้นให้เกิดการผลิตพืชผักปลอดสาร อาหารปลอดภัยในพื้นที่และเชื่อมโยงผลผลิตสู่เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนพะโต๊ะ โดยมุ่งเน้น
1) การพัฒนาสถาบันเกษตรกรหรือกลุ่มเครือข่ายให้เป็นองค์กรที่เป็นทางการ มีระบบบริหารจัดการที่เท่าทันนโยบายรัฐและความต้องการของเกษตรกร และยึดหลักการแบ่งปันผลประโยชน์ จัดความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่จังหวัดชุมพร 2) การพัฒนาระบบเกษตรกรรมแบบครัวเรือนพอเพียง ซึ่งมีความพอ 4 ประการ ได้แก่ พออยู่ คือ มีที่อยู่อาศัยที่ดี มั่นคง แข็งแรง ปลอดภัย และมีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน , พอกิน คือ มีการทำการเกษตรแบบผสมผสาน มีอาหาร พืชผัก ปศุสัตว์ ประมง เพียงพอสำหรับการบริโภคในครัวเรือน, พอใช้ คือ มีเครื่องมือ อุปกรณ์ ปัจจัยการผลิตฯ เพียงพอต่อการประกอบอาชีพ, พอร่มเย็น คือ มีการปลูกไม้ที่ใช้เนื้อไม้ ในแปลงเกษตร มีความหลากหลายทางธรรมชาติ ให้เกิดการขยายผลการผลิตตามบริบทของเกษตรกรรายครัวเรือน ด้วยกลวิธี “ตลาดนำการผลิต ” 3) พัฒนาการจัดการตลาดสินค้าและอาหารปลอดภัย โดยส่งเสริมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เกษตรกรสามารถจัดการตลาดได้เองในรูปแบบตลาดหน้าฟาร์ม ตลาดออนไลน์ สำหรับเกษตรกรที่มีความพร้อมในการจัดการฟาร์มเกษตรของตนเป็นแหล่งเรียนรู้ท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยความร่วมมือกับภาคีต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดชุมพร

ดังนั้นคณะทำงานเครือข่ายคนพอเพียงปากทรง จึงได้ร่วมกันพัฒนาข้อเสนอโครงการยกระดับการจัดการตลาดสินค้าและอาหารเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนตำบลปากทรง เพื่อให้เกิดการฟื้นคืนกลุ่มเครือข่ายคนพอเพียงปากทรง พร้อมการขยายผลรูปแบบครัวเรือนพอเพียง ด้วยการใช้การตลาดนำการผลิต ควบคู่กับการท่องเที่ยวชุมชนบนฐานทรัพยากรซึ่งในพื้นที่มีทุนทางทรัพยากรที่หลากหลายทั้ง เช่น น้ำตกเหวโหลม สวนสาธารณะพ่อตาหินช้าง เขานมสาว น้ำตกเหวพูลหนัง หมู่บ้านคลองเรือ ล่องแพ พร้อมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มาสนับสนุนการเรียนรู้ของกลุ่มเครือข่ายต่าง ๆ ให้มีอาชีพ อาหาร และรายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร เป็นต้นแบบการจัดการตลาดสินค้าอาหารปลอดภัย เกิดรายได้แก่ครัวเรือน เป็นการกระตุ้นให้เพิ่มการผลิต และเชื่อมโยงผลผลิตสู่การท่องเที่ยวโดยชุมชนพะโต๊ะ ใช้การตลาดนำการผลิต บนฐานทรัพยากรที่เป็นทุนอย่างหลากหลาย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเพิ่มศักยภาพเครือข่ายให้มีความสามารถในการบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่น 2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าและอาหารปลอดภัยในพื้นที่

มีคณะทำงานที่มาจากทุกหมู่บ้านและภาคี มีฐานข้อมูล คน ทรัพยากร มีรายงานการสรุปผลการดำเนินงาน มีกติกาชุมชน มีตลาดสินค้า

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 80 80
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ ครัวเรือนพอเพียงและเกษตรก 80 80
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66
1 กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายให้มีความสามารถในการบริหารจัดการ(26 ก.ค. 2022-26 ก.ค. 2022) 56,200.00                        
2 กิจกรรมที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าและอาหารปลอดภัยในพื้นที่(30 ก.ค. 2022-30 ก.ค. 2022) 64,000.00                        
3 ส่วนที่ สสส.สนับสนุนเพิ่มเติม(30 ก.ค. 2022-30 ก.ค. 2022) 10,000.00                        
รวม 130,200.00
1 กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายให้มีความสามารถในการบริหารจัดการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 300 56,200.00 10 56,200.00
26 ก.ค. 65 ประชุมคณะทำงาน 20 25,000.00 5,000.00
9 ก.ย. 65 เวทีความร่วมมือพัฒนาการตลาดสินค้าและอาหารปลอดภัยร่วมกับภาคีในพื้นที่ 50 16,000.00 8,000.00
26 ก.ย. 65 ประชุมคณะทำงาน 20 0.00 4,000.00
29 ต.ค. 65 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 20 0.00 4,000.00
20 ม.ค. 66 กิจกรรมที่ 5 อบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนการผลิตระดับครัวเรือน/ระดับองค์กร(แผนธุรกิจ) 80 15,000.00 15,000.00
25 ก.พ. 66 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 20 0.00 4,000.00
9 เม.ย. 66 เวทีความร่วมมือพัฒนาการตลาดสินค้าและอาหารปลอดภัยร่วมกับภาคีในพื้นที่ 50 0.00 8,000.00
18 เม.ย. 66 หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ 0 200.00 200.00
19 เม.ย. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5 20 0.00 4,000.00
29 เม.ย. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 6 20 0.00 4,000.00
2 กิจกรรมที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าและอาหารปลอดภัยในพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 269 64,000.00 6 64,000.00
19 ส.ค. 65 อบรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล 20 5,000.00 5,000.00
20 ส.ค. 65 - 20 ก.ย. 65 พัฒนาระบบฐานข้อมูลรายหมู่บ้าน 9 2,700.00 2,700.00
18 ธ.ค. 65 กิจกรรมที่ 10 ประสานเชื่อมโยงการจัดการตลาดสินค้า อาหารและการท่องเที่ยวโดยชุมชน 50 9,500.00 9,500.00
21 เม.ย. 66 อบรมปฏิบัติการจัดการตลาด 70 26,500.00 26,500.00
23 เม.ย. 66 ติดตามประเมินผลลัพธ์ (สินค้าและอาหารปลอดภัย การท่องเที่ยวโดยชุมชน การเพิ่มพื้นที่การผลิต) 50 9,500.00 9,500.00
30 เม.ย. 66 จัดเวทีนำเสนอผลงานและข้อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 70 10,800.00 10,800.00
3 ส่วนที่ สสส.สนับสนุนเพิ่มเติม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 190 10,000.00 5 10,000.00
1 มิ.ย. 65 การจัดทำป้ายสื่อประชาสัมพันธ์ 20 10,000.00 1,000.00
4 - 5 มิ.ย. 65 การปฐมนิเทศโครงการย่อย 70 0.00 960.00
30 ก.ค. 65 การอบรมเสริมทักษะในด้านจัดทำเอกสารออนไลน์ 50 0.00 960.00
31 ต.ค. 65 การติดตามประเมินผลโครงการระยะที่ 1 50 0.00 960.00
1 พ.ย. 65 - 30 เม.ย. 66 การดำเนินกิจกรรมสนับสนุนโครงการ 0 0.00 6,120.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เครือข่ายคนพอเพียงตำบลปากทรงและกลุ่มครัวเรือนต้นแบบ ในชุมชนท้องถิ่น มีการบริหารจัดการที่มุคุณภาพ ผ่านการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ/คณะทำงาน และมีแผนธุรกิจชุมชน
  2. เกิดการพัฒนาระบบการผลิตอาหารปลอดภัย การตลาดของครัวเรือนพอเพียง เพิ่มขึ้น 20% เป็นรูปธรรมของครัวเรือนและชุมชนท้องถิ่น มีหลักประกินในชีวิต และเกิดความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค
  3. เกิดการเชื่อมเครือข่ายจัดการปัจจัยการผลิตและผลผลิตในพื้นที่และเชื่อมโยงภายนอก เช่น โครงการ เกลอเขา-เกลอเล ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยน ช่วยเหลือ แบ่งปัน พืชผัก อาหาร และผลไม้ สามารถรับมือกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ   ท้องถิ่น และผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ได้อย่างเป็นรูปธรรม
  4. เกิดตลาดเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัยในพื้นที่อำเภอพะโต๊ะ มีแหล่งเรียนรู้วิถีเกษตรครัวเรือนพอเพียง โดยใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือ ให้เกิดผลิตภัณฑ์แปรรูป ของขวัญของฝากที่เป็นอัตลักษณ์ชุมชน
  5. มีกลุ่มท่องเที่ยวขยายตัวมากขึ้น เป็นเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนพะโต๊ะ มากว่า 30 ราย
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2022 11:30 น.