directions_run

(15)ยกระดับการผลิตและการตลาดคลังอาหารและยาตำบลนาชะอัง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ (15)ยกระดับการผลิตและการตลาดคลังอาหารและยาตำบลนาชะอัง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดชุมพร
รหัสโครงการ 65-00240-0015
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2022 - 30 เมษายน 2023
งบประมาณ 130,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มคลังอาหารและยาตำบลนาชะอัง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวคมขำ องอาจ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0832642905
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ nong59854@gmail.com, nareerut1044@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นายคาวี นาสินสร้อย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาชะอัง อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 52,000.00
2 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 71,500.00
3 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 6,500.00
รวมงบประมาณ 130,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เดิมทีนั้นตำบลนาชะอังเป็นหมู่บ้านหนึ่งของตำบลนาทุ่ง อยู่ในเขตหมู่ที่ ๖ ซึ่งเป็นเขตปกครองของตำบลนาทุ่ง โดยมีนายพรหมลาศ พรหมน้อย เป็นผู้ใหญ่บ้าน โดยได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๖ ต.นาทุ่ง อ.เมือง จ.ชุมพร เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๗ ก่อนต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นกำนันคนแรกของตำบลนาชะอัง เมื่อวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๖ ซึ่งในขณะนั้นตำบลนาชะอัง มีเพียง ๕ หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ ๑ บ้านขุนแสน หมู่ที่ ๒ บ้านนาชะอัง หมู่ที่ ๓ บ้านหูรอ หมู่ที่ ๔ บ้านดอนนาว หมู่ที่ ๕ บ้านหนองจระเข้ (หรือบ้านสามเสียม) ตำบลนาชะอัง จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลนาชะอัง เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๐ และยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลนาชะอัง เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒ โดยแบ่งการปกครองออกเป็น ๙ หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ ๑ บ้านขุนแสน หมู่ที่ ๒ บ้านนาชะอัง หมู่ที่ ๓ บ้านหูรอ หมู่ที่ ๔ บ้านดอนนาว หมู่ที่ ๕ บ้านสามเสียม หมู่ที่ ๖ บ้านทรายทอง หมู่ที่ ๗ บ้านเนินคีรี หมู่ที่ ๘ บ้านหนองจระเข้ หมู่ที่ ๙ บ้านทับตะเคียน
เทศบาลตำบลนาชะอัง ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองชุมพรมาทางทิศเหนือประมาณ 13 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 41.32 ตารางกิโลเมตร และมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่อื่นๆได้แก่ ทิศเหนือติดต่อกับตำบลสะพลี อำเภอปะทิว ทิศใต้ติดต่อกับเขตเทศบาลเมืองชุมพร ตำบลนาทุ่ง อำเภอเมืองชุมพร ทิศตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดต่อกับตำบลบางลึก อำเภอเมืองชุมพร ลักษณะภูมิประเทศ สภาพพื้นที่ของตำบลนาชะอังประกอบด้วยภูเขา ที่ราบค่อนข้างสูงแบบลูกคลื่นลาด และที่ราบชายฝั่งทะเล โดยทอดตัวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ และทิศตะวันออกของตำบล ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ที่ราบสูงจากระดับน้ำทะเล 50-200 เมตร มีพื้นที่ร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งตำบลซึ่งจะอยู่ทางตอนเหนือ และตะวันตกเฉียงใต้ของตำบล ได้แก่ พื้นที่ในหมู่ที่ 5, 6 และ 8 ที่ราบสูงจากระดับน้ำทะเล 20-49 เมตร มีพื้นที่ประมาณร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งตำบล จะอยู่ในพื้นที่ตอนกลางของตำบล ได้แก่ หมู่ที่ 2,3,7,9 และหมู่ที่ 5 บางส่วน ที่ราบต่ำ สูงจากระดับน้ำทะเลระหว่าง 3-19 เมตร มีประมาณร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งตำบล และจะอยู่ทางทิศตะวันออกและทิศใต้ของตำบล ได้แก่พื้นที่ หมู่ที่1, 4 และ3, 9 บางส่วน การใช้ประโยชน์ที่ดินโดยทั่วไปมีการปลูกยางพาราในพื้นที่ราบค่อนข้างสูง เพาะปลูกมะพร้าว เพาะปลูกปาล์ม ในพื้นที่ราบสูงแบบลูกคลื่นลอนลาด และมีการทำนากุ้งในพื้นที่ราบลุ่มตามลำดับ ลักษณะภูมิอากาศ โดยทั่วไปจัดอยู่ในภูมิอากาศที่ค่อนข้างร้อนชื้น จะมี 2 ฤดู คือฤดูร้อน และฤดูฝนอากาศจะร้อนจัดมาก ประมาณ 2 เดือน คือเดือนมีนาคม - เดือนเมษายนของทุกปี ปริมาณฝนโดยเฉลี่ยปานกลาง ถึงตกมาก มีน้ำมากในฤดูฝน ส่วนฤดูแล้ง น้ำในห้วย หนองคลองต่าง ๆ มีปริมาณน้อยไม่เพียงพอในการทำการเกษตรฤดูแล้ง ตำบลนาชะอังมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งสภาพดิน ฟ้า อากาศ ที่เอื้ออำนวยต่อการทำการเกษตร ทั้งนี้จากข้อมูลการสำรวจของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (สจล.ชุมพร) เมื่อปี พ.ศ.2563 พบว่าตำบลนาชะอังมีพื้นที่เหมาะแก่การปลูกข้าว 14.47 ไร่ (ปัจจุบันไม่ได้ปลูก) ในจำนวนประชากร 6,953 คน มีผู้ปลูกข้าวประมาณ 90 คน โดยเป็นผู้ปลูกเดิม 40 ราย และมีผู้ปลูกรายใหม่จำนวน 50 ราย โดย สจล.ชุมพร ให้การสนับสนุนพันธุ์ข้าว ตำบลนาชะอังบริโภคข้าวจากการคำนวณ 737,018 กิโลกรัมข้าวสาร (49,735 ถังข้าวสาร) คิดเป็นมูลค่าประมาณ 27,023,993 ล้านบาทต่อปี ต้องซื้อข้าวบริโภค (ราคาข้าวสารเฉลี่ยถังละ 550 บาท) แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ของตำบลนาชะอังขาดการพึ่งตนเองด้านอาหาร (ข้าว) และขาดการรวมกลุ่มเนื่องจากไม่มีกลไกในการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับการผลิต จึงไม่มีการเชื่อมโยงการผลิตกับการตลาด จึงเป็นปัญหาของการจัดการผลผลิต บางช่วงข้าวมีราคาตกต่ำ แต่บางช่วงข้าวมีราคาสูงขึ้นซึ่งเป็นไปตามกลไกตลาด แต่เกษตรกรผู้มีรายได้น้อยอาจไม่มีเงินมากพอที่จะเข้าถึงอาหาร (ข้าว) ที่มีคุณภาพได้ ในช่วงที่เกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด 19) ประชาชนเกิดการตื่นตัวในการป้องกันตนเองให้รอดพ้นจากการติดเชื้อ โดยการปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ที่หน่วยงานราชการกำหนด ทั้งการเรียนรู้หาวิธีป้องกันตนเองจากสื่อต่าง ๆรวมไปถึงการปลูกพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยารักษาโรค เช่น ฟ้าทลายโจร หัวไพล ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ว่านประเภทต่าง ๆ โดยมีการปลูกอยู่ก่อนแล้วที่วัดสุนทรธรรมาราม (วัดถ้ำนาชะอัง) เปรียบเสมือนคลังยาของพื้นที่ ซึ่งมีพระสงฆ์ในวัดเป็นผู้ริเริ่มปลูก และด้วยจำนวนสมุนไพรที่มีมากและหลากชนิด ประกอบกับประชาชนมีความจำเป็นและต้องการใช้สมุนไพรนำมาทำยาในช่วงโควิดระบาด ซึ่งเป็นสมุนไพรที่ประชาชนเชื่อว่าที่มีฤทธิ์ยับยั้งหรือลดความรุนแรงของเชื้อโควิด 19 ไม่ว่าจะเป็น กระชาย มะนาว ฟ้าทลายโจร ฯลฯ จึงมีแนวคิดที่จะเพิ่มปริมาณในการปลูกและแปรรูป ซึ่งที่วัดสุนทรธรรมารามได้ผลิตเวชภัณฑ์ใช้ในวงจำกัด เช่น น้ำมันสมุนไพรชนิดต่างๆ น้ำมันมะพร้าว ยาทาแก้แมลงสัตว์กัดต่อย เป็นต้น ฉะนั้นหากได้รับการส่งเสริมการปลูกสมุนไพรชนิดต่าง ๆ เหล่านี้ จะเกิดการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ จะเป็นการหนุนเสริมให้คนในพื้นที่มียาสามัญประจำบ้านที่ผลิตเอง หาได้ง่าย และอาจสร้างรายได้ให้คนในพื้นที่ต่อไปในอนาคตได้ด้วย นอกจากนั้นตำบลนาชะอัง ยังมีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากอาหารทะเล เช่น ปลากหมึก กุ้งแห้ง ปลาสายไหม ปลาจิ๊งจั๊ง ปลาอินทรีย์เค็ม ปลากุเลา ปลาอกแร้หวาน ปลาแดดเดียว กะปิ เคย เป็นต้น ที่ผลิตในรูปแบบครัวเรือน และบางส่วนจำหน่ายในตลาดนัดวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ แต่ยังขาดการส่งเสริมให้เกิดการผลิตอย่างเป็นระบบและไม่มีตลาดรองรับที่ชัดเจน หลังจากโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล (U2T) ที่ สจล.ชุมพร ดำเนินมามาถึงช่วงท้ายโครงการและใกล้ปิดตัวลง จึงเกิดการรวมตัวของสมาชิก U2T ร่วมกับผู้สนใจดำเนินการต่อจึงสร้างกลุ่มเพื่อยกระดับการผลิต การตลาด คลังอาหารและยา ของตำบลนาชะอังขึ้น โดยมีสมาชิก 6 คน จะเป็นคณะที่ประสานและเชื่อมโยงกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เทศบาลตำบลนาชะอัง สจล.ชุมพร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร สมาคมประชาสังคมชุมพร เกษตรจังหวัดชุมพร ฯลฯ โดยจัดตั้งเป็นกลุ่มคลังอาหารและยาตำบลนาชะอัง ซึ่งได้เล็งเห็นทรัพยากรที่เป็นแหล่งอาหารแหล่งผลิตยาสมุนไพรในพื้นที่ว่าหากได้มีกลไกต่างๆ เข้ามาขับเคลื่อนหรือสนับสนุนให้เกิดการผลิตที่เป็นระบบอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว จะทำให้เกิดการยกระดับการผลิต การตลาด คลังอาหารและยาของตำบลนาชะอังได้ด้วย ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน จำนวนประชากรผู้ปลูกข้าวมีจำนวน 40 ราย และมีผู้สนใจเพิ่มอีก 50 ราย ในตำบลนาชะอังส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การเกษตร ดังนั้น สมาคมประชาสังคมชุมพร เทศบาลตำบลนาชะอัง โครงการ U2T จากสจล.ชุมพร ในฐานะที่ปรึกษา และคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการได้ประชุมหารือและตกลงที่จะดำเนินการ โครงการยกระดับการผลิตและการตลาดคลังอาหารและยาตำบลนาชะอัง โดยมีแนวทางที่สำคัญ คือ 1. ยกระดับการผลิตและการตลาดคลังอาหารและยาตำบลนาชะอัง 2. การจัดการสินค้าและการตลาดของพื้นที่ 3. การเพิ่มพื้นที่การปลูกผักปลอดสารและเพิ่มรายได้ เพื่อให้เกิดการบรรลุเป้าหมายหนึ่งปี ช่วยลดรายจ่ายภายในครัวเรือนเพิ่มรายได้จากการผลิตและสินค้าแปรรูปในตำบล ให้มีเพิ่มมากขึ้น จากการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ผลกระทบ ทุน และศักยภาพของชุมชน ในพื้นที่ตำบลนาชะอัง ดังนี้ 1) ด้านสุขภาพ เกิดการเจ็บป่วยจากการใช้สารเคมีที่ตกค้างในร่างกาย ขาดสารอาหาร และมีปริมาณผักที่ไม่เพียงพอ สินค้าที่ขายตามตลาดชุมชนเป็นสินค้าที่ปลอดสารเคมี ร้อยละ 100 ของเกษตรกรปลูกข้าวไร่ปลอดสารเคมี 2) ด้านเศรษฐกิจเป็นหนี้สินในครัวเรือน มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการใช้สารเคมี มีค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว อีกทั้งในชุมชนตำบลนาชะอังยังมีป่าต้นน้ำ สถานที่ท่องเที่ยว เช่น เขา ทะเล มีงานประเพณีแข่งเรือขึ้นโขนชิงธง ณ คลองหัววังพนังตัก รายได้จากประมงเฉลี่ยปี 2564 เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 10 สินค้าแปรรูปจากข้าวไร่และอาหารทะเล มีความหลากหลายอย่างน้อย 10 ชนิด 3) ด้านสังคม ไม่มีเครือข่ายสังคม มีการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกร มีแหล่งเรียนรู้เป็นต้นแบบในการส่งเสริมกิจกรรมเกี่ยวกับข้าวไร่อย่างต่อเนื่อง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีการรวมกลุ่มกัน 4) ด้านสิ่งแวดล้อม สารเคมีกระจายสู่ชุมชน ดินเสื่อมสภาพจากการปนเปื้อนสารเคมีเกิดการปนเปื้อนสารพิษในน้ำ ดิน อากาศ พื้นที่ปลูกข้าวไร่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ข้าวไร่ที่ทำการอนุรักษ์มีการส่งเสริมให้ปลูกอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ60 มีแหล่งอาหารเพื่อการบริโภคตลอดทั้งปีสามารถเข้าถึงทรัพยากรที่มีอยู่ แม้สถานการณ์ในภาพรวมจะมีปัญหาซึ่งเป็นจุดอ่อนหลายประการ แต่ก็ยังมีจุดแข็งที่มีกลุ่มรวมตัวกันของกลุ่มคลังอาหารและยาตำบลนาชะอัง และสมาชิกมีความพร้อมที่จะปรับปรุง เรียนรู้และส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ สมาชิกมีความตั้งใจที่จะพัฒนาองค์กร และผลิตสินค้าแปรรูป มีพื้นที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติชุมชน มีปราชญ์ชาวบ้านที่ทำยาสมุนไพร มีภูมิปัญญาท้องถิ่น มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการปลูกพืชสมุนไพรในการรักษาเบื้องต้น ทั้งนี้ในตำบลยังมีจุดอ่อนที่ต้องปรับปรุงแก้ไข เช่น ชาวบ้านไม่ให้ความสำคัญ ชุมชนส่วนใหญ่นิยมทำการเกษตรเชิงเดี่ยว ชาวบ้านยังขาดความมั่นใจในการประกอบอาชีพเสริม ขาดการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐ ชาวบ้านขาดความรู้เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรเบื้องต้น ผลตอบแทนจากผลผลิตไม่คุ้มกับการลงทุน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเกษตรกรภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) ในตำบลนาชะอัง ปัญหาที่เกิดขึ้นในตำบลนาชะอังสรุปได้ดังนี้ 1) พฤติกรรม ไม่ตระหนักในการใช้สารเคมี ไม่นิยมทานผัก และยังมีการปลูกผักกันน้อย ชาวบ้านไม่นิยมใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ส่วนใหญ่แม่ค้าจะไปรับผักจากที่อื่นมาจำหน่าย 2) กลไก ไม่มีคณะกรรมการในการขับเคลื่อน ไม่มีองค์กร/หน่วยงานขับเคลื่อน ไม่มีผู้ดูแลรับผิดชอบ ขาดแคลนแรงงาน 3) สภาพแวดล้อมทางสังคม ขาดการเชื่อมโยงเครือข่ายในระดับตำบล คนขาดความศรัทธาในการรวมกลุ่ม ขาดความเชื่อมั่น ตลาดชุมชนมีน้อย 4) สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ยังมีการใช้สารเคมีในชุมชน สภาพถนนยังมีหลุมมีบ่อ และมีฝุ่นละออง สภาพอากาศผิดฤดูทำให้มี ปัญหาเรื่องการเพาะปลูก เนื่องด้วยในตำบลนาชะอัง มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และการจัดการตนองของประชากรในตำบลนาชะอัง ผ่านกลไกความร่วมมือของทุกภาคส่วนโดยได้สร้างกระบวนการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อร่วมกันพัฒนาให้สอดคล้องกับทุกปัญหาและความต้องการของประชากรในตำบลอย่างแท้จริง

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

โครงการยกระดับการผลิตและการตลาดคลังอาหารและยาตำบลนาชะอัง มีแนวทางที่สำคัญ คือ 1.ยกระดับการผลิตและการตลาดคลังอาหารและยาตำบลนาชะอัง 2.การจัดการสินค้าและตลาดของพื้นที่ 3.การเพิ่มพื้นที่การปลูกผักปลอดสารและเพิ่มรายได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างกลไกในการขับเคลื่อนการยกระดับ การผลิตการตลาดคลังอาหารและยาทีได้รับความร่วมมือจากชุมชน

1.คณะทำงานมีศักยภาพในการขับเคลื่อนงาน

2.เกิดความร่วมมือและกติการ่วมของชุมชน

2 เพื่อให้เกิดกระบวนการจัดการสินค้า การตลาด และการเพิ่มพื้นที่การผลิตในตำบลนาชะอัง
  1. เกิดการจัดการสินค้าและการตลาดของพื้นที่
  2. เกิดการเพิ่มพื้นที่การปลูกผักปลอดสารและเพิ่มรายได้ 3.เกิดรายได้จากการผลิตผลจากสมุนไพร
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 90
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนผู้ปลูกข้าวไร่ ผักปลอดสาร และ การผลิตยาสมุนไ 90 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66
1 บริหารจัดการ(สสส สนับสนุน)(15 พ.ค. 2022-31 มี.ค. 2023) 10,000.00                        
2 จัดตั้งและพัฒนาคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ(1 มิ.ย. 2022-30 มิ.ย. 2022) 18,350.00                        
3 จัดทำฐานข้อมูลคน ทรัพยากร และแผนพัฒนา(1 มิ.ย. 2022-30 มิ.ย. 2022) 7,200.00                        
4 จัดทำแผนการผลิตรายครัวเรือน แผนธุรกิจ แผน BCG(1 มิ.ย. 2022-1 มิ.ย. 2022) 4,250.00                        
5 ศึกษาดูงานและเรียนรู้เรื่องการผลิตยาสมุนไพร(1 มิ.ย. 2022-1 มิ.ย. 2022) 10,000.00                        
6 ติดตามประเมินผลการผลิต การตลาด และผลลัพธ์โครงการ(1 ก.ค. 2022-31 ม.ค. 2023) 1,400.00                        
7 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการผลิตและการแปรรูป(1 ก.ค. 2022-31 ธ.ค. 2022) 43,400.00                        
8 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการตลาดทั้ง Online/Offline(1 ส.ค. 2022-30 พ.ย. 2022) 11,250.00                        
9 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการรายใหม่(1 ธ.ค. 2022-28 ก.พ. 2023) 12,650.00                        
10 จัดเวทีคืนข้อมูลระดับตำบล และนำเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(30 มี.ค. 2023-30 มี.ค. 2023) 12,000.00                        
รวม 130,500.00
1 บริหารจัดการ(สสส สนับสนุน) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 22 10,000.00 12 10,000.00
4 - 5 มิ.ย. 65 การประชุมเชิงปฏิบัติการปฐมนิเทศน์โครงการย่อย 4 1,600.00 1,600.00
19 มิ.ย. 65 ป้ายสื่อประชาสัมพันธ์โครงการ (ขาตั้งและเก็บพับ) ป้ายม้วนพร้อมขาเหล็ก 0 1,000.00 1,000.00
15 ก.ค. 65 ป้ายสื่อประชาสัมพันธ์ ปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 0 1,000.00 1,000.00
30 ก.ค. 65 ประชุมการบันทึกข้อมูล ออนไลน์ 1 200.00 200.00
10 ต.ค. 65 ค่าจ้างบันทึกข้อมูลรายงาน ลงระบบออนไลน์ ครั้งที่ 1 1 1,000.00 1,000.00
23 ต.ค. 65 พบพี่เลี้ยง พร้อมเจ้าหน้าที่การเงิน สสส.เรียนรู้การลงข้อมูลในระบบเพิ่มเติม 3 600.00 600.00
26 ต.ค. 65 การประชุมสมัชชาสุขภาพ จ.ชุมพร 3 600.00 600.00
5 พ.ย. 65 พบพี่เลี้ยงเพื่อการตรวจสอบการเงินและรายงาน online 3 600.00 600.00
16 มี.ค. 66 ติดตามประเมินผลลัพธ์โครงการ ของ สสส. 2 400.00 400.00
21 มี.ค. 66 ค่าตอบแทนจัดบูธ และผู้ผ้าประดับโต๊ะวางสินค้า ในงาน กิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น ปี 2566 3 1,200.00 1,200.00
1 เม.ย. 66 ค่าจ้างบันทึกข้อมูล รายงาน และจัดทำเอกสารรายงานการเงินโครงการ ครั้งที่ 2 0 1,000.00 1,000.00
10 เม.ย. 66 ประชุมติดตามประเมินผลลัพธ์โครงการย่อย 2 800.00 800.00
2 จัดตั้งและพัฒนาคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 105 18,350.00 8 18,350.00
9 พ.ค. 65 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 15 2,550.00 2,550.00
7 มิ.ย. 65 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 15 2,550.00 2,550.00
25 ส.ค. 65 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 15 2,550.00 2,550.00
11 ต.ค. 65 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 15 2,550.00 2,550.00
9 ม.ค. 66 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 5 15 2,550.00 2,550.00
21 ก.พ. 66 หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ 0 500.00 500.00
3 เม.ย. 66 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 6 15 2,550.00 2,550.00
17 เม.ย. 66 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 7 15 2,550.00 2,550.00
3 จัดทำฐานข้อมูลคน ทรัพยากร และแผนพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 120 7,200.00 2 7,200.00
10 มิ.ย. 65 การสำรวจจัดทำฐานข้อมูลคน ทรัพยากร และแผนพัฒนา ครั้งที่ 1 60 3,600.00 3,600.00
26 ม.ค. 66 การสำรวจจัดทำฐานข้อมูลคน ทรัพยากร และแผนพัฒนา ครั้งที่ 2 60 3,600.00 3,600.00
4 จัดทำแผนการผลิตรายครัวเรือน แผนธุรกิจ แผน BCG กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 4,250.00 1 4,250.00
30 ก.ย. 65 จัดทำแผนการผลิตรายครัวเรือน แผนธุรกิจ แผน BCG 15 4,250.00 4,250.00
5 ศึกษาดูงานและเรียนรู้เรื่องการผลิตยาสมุนไพร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 22 10,000.00 1 10,000.00
16 พ.ค. 65 ศึกษาดูงานและเรียนรู้เรื่องการผลิตยาสมุนไพร 22 10,000.00 10,000.00
6 ติดตามประเมินผลการผลิต การตลาด และผลลัพธ์โครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 1,400.00 3 1,400.00
1 ก.ค. 65 ARE ครั้งที่1 20 466.00 466.00
13 ต.ค. 65 AREครั้งที่2 20 467.00 467.00
20 ม.ค. 66 ARE ครั้งที่3 20 467.00 467.00
7 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการผลิตและการแปรรูป กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 43,400.00 3 43,400.00
24 ก.ค. 65 อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการแปรรูปอาหารทะเล 50 14,466.00 14,466.00
19 ส.ค. 65 อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการผลิตยาจากพืชสมุนไพร (การทำยาดมสมุนไพร) 50 14,468.00 14,468.00
9 ธ.ค. 65 อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษ 50 14,466.00 14,466.00
8 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการตลาดทั้ง Online/Offline กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 11,250.00 3 11,250.00
16 ส.ค. 65 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการตลาดทั้ง Online/Offline ครั้งที่ 1 15 3,750.00 3,750.00
20 ต.ค. 65 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการตลาดทั้ง Online/Offline ครั้งที่ 2 15 3,750.00 3,750.00
11 พ.ย. 65 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการตลาดทั้ง Online/Offline ครั้งที่ 3 20 3,750.00 3,750.00
9 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการรายใหม่ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 55 12,650.00 3 12,650.00
20 ธ.ค. 65 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการรายใหม่ ครั้งที่ 1 15 4,216.00 4,216.00
18 ม.ค. 66 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการรายใหม่ ครั้งที่ 2 20 4,217.00 4,217.00
19 เม.ย. 66 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการรายใหม่ ครั้งที่ 3 20 4,217.00 4,217.00
10 จัดเวทีคืนข้อมูลระดับตำบล และนำเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 12,000.00 1 12,000.00
20 มี.ค. 66 ร่วมจัดเวทีคืนข้อมูลระดับตำบลและนำเสนอผลการประเมิน บทเรียนและข้อเสนอเพื่อการพัฒนาการผลิตต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 60 12,000.00 12,000.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการผลิต การตลาด คลังอาหารและยาของตำบลนาชะอังที่เป็นระบบ เป็นรูปธรรมและมีศักยภาพ 2.เพิ่มพื้นที่การผลิตการเกษตร (การปลูกข้าว การปลูกผักปลอดสาร) 3.เกิดสินค้าแปรรูปจากการเกษตรและจากทะเล 4.เกิดผู้ประกอบการผลิตสินค้าแปรรูปและสินค้ามีช่องทางการจำหน่าย 5.เพิ่มสินค้าชุมชนที่ทำให้เกิดรายได้ในกลุ่มผู้ประกอบการ

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2022 11:34 น.