directions_run

(16)ยกระดับการจัดการสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัยตำบลบ้านควน

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ (16)ยกระดับการจัดการสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัยตำบลบ้านควน
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดชุมพร
รหัสโครงการ 65-00240-0016
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2022 - 30 เมษายน 2023
งบประมาณ 130,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายเกษตรยั่งยืน
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไพบูลย์ นุ้ยพิน
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวเบญจพร ทองกลม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 52,000.00
2 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 71,500.00
3 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 6,500.00
รวมงบประมาณ 130,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

1.1 ข้อมูลพื้นฐาน บริบทของตำบลบ้านควน ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ทิศตะวันออกติดต่อกับตำบลนาพญา อำเภอหลังสวน ทิศตะวันตกติดต่อกับ อำเภอพะโต๊ะ ทิศเหนือติดต่อกับ ตำบลหาดยาย, ตำบลขันเงิน, ตำบลท่ามะพลา อำเภอหลังสวน ทิศใต้ติดต่อกับตำบลทุ่งหลวง อำเภอละแม มีพื้นที่ทั้งหมด 157.865 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 98,665 ไร่ เป็นพื้นที่ราบลาดจากทิศตะวันออกไปสู่ตะวันตก บริเวณเทือกเขาตะนาวศรี พื้นที่เป็นที่ราบฝั่งตะวันออก พื้นที่สูงและมีภูเขาไปทางทิศตะวันตก เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การทำเกษตรกรรม มีประชากรทั้งสิ้น 8,197 คน เพศชาย 4,048 คน เพศหญิง 4,149 คน จำนวนครัวเรือน 3,431 ครัวเรือน มีทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งน้ำ ป่าไม้ ได้แก่ ป่าชุมชนบ้านช่องสะท้อน ป่าอนุรักษ์เขารุมและบ้านทับวัง มีสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ ได้แก่ ถ้ำเขาเกรียบ ถ้ำเขานาย แบ่งการปกครองจำนวน 18 หมู่บ้าน ดังนี้

หมู่ที่ 1 บ้านเขาวอ หมู่ที่ 10 บ้านคลองขนาน หมู่ที่ 2 บ้านหนองสิต หมู่ที่ 11 บ้านวัดเหนือ หมู่ที่ 3 บ้านวัดใหญ่ หมู่ที่ 12 บ้านคลองกก หมู่ที่ 4 บ้านเขาชก หมู่ที่ 13 บ้านทุ่งขุนพรหม หมู่ที่ 5 บ้านช่องสะท้อน หมู่ที่ 14 บ้านควนเหนือ หมู่ที่ 6 บ้านห้วยหอย หมู่ที่ 15 บ้านห้วยนาค หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งค้อ หมู่ที่ 16 บ้านทับวัง หมู่ที่ 8 บ้านสถานีเก่า หมู่ที่ 17 บ้านห้วยตาสิงห์ หมู่ที่ 9 บ้านทุ่งควน หมู่ที่ 18 บ้านเขาเกรียบ

ทิศทางการพัฒนาท้องถิ่น ตำบลบ้านควน กำหนดวิสัยทัศน์ “บ้านควนน่าอยู่ มุ่งสู่การพัฒนาอย่างเป็นระบบ สืบสานวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อประชาชนอยู่ดีมีสุข” การขับเคลื่อนการพัฒนาสอดคล้องยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน 3 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาการศึกษา ภูมิปัญญา วิถีวัฒนธรรมท้องถิ่น มีเป้าประสงค์ เพื่อส่งเสริมและพัฒนากระบวนการผลิตทางการเกษตรแบบชีววิถี เพิ่มมูลค่าผลผลิตและการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนสมดุล และการส่งเสริมสืบสานศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
1.2 สถานการณ์สุขภาวะตำบลบ้านควน จาการดำเนินงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเชิงบูรณาการ พบว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ มีดังนี้
-ด้านสุขภาพ ผลด้านบวก มีดังนี้ 1)มีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพที่ดำเนินการแบบมีส่วนร่วมได้ดี รพ.สต.บ้านควน และ รพ.สต.บ้านเขาชก ,อสม. โดยผ่านกลไกคณะกรรมส่งเสริมสุขภาพ รพสต. 2)มีการดำเนินงานรวมกลุ่มกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุได้ดีมีประสิทธิภาพ ผลด้านลบ คือ 1)ผลการตรวจมีสารเคมีตกค้างในร่างกาย จำนวน 50% 2)ภาวะเจ็บป่วยโรคเรื้อรังและโรคอื่นๆ จากการบริโภคผักผลไม้ไม่ปลอดภัยหรือน้อยกว่าปริมาณความต้องการ

-ด้านเศรษฐกิจ ในด้านบวก 1) เกษตรกรสวนไม้ผลมีรายได้ดี ด้วยผลไม้ทุเรียนมีราคาดีตลอดทั้งปี 2)มีแปลงเกษตรกรต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืนจำนวนหนึ่ง ทั้งสวนสมรม(พ่อเฒ่า) ด้านลบได้แก่ 1)เกษตรกรมีต้นทุนค่าสารเคมีเพิ่มขึ้น 2)มีค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น 3)มีหนี้สินครัวเรือน 150,000 บาท / ครัวเรือน -ด้านสังคม มีผลด้านบวก เช่น 1)มีการร่วมกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ตามชนิดพืช ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ,ยางพารา และวิสาหกิจชุมชนผลไม้ มังคุด ทุเรียน 2)มีกลไกสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านควน ซึ่งดำเนินการได้ต่อเนื่อง 3)การรวมกลุ่มอาชีพ เช่น กลุ่มแปรรูปเครื่องแกง กลุ่มเลี้ยงผึ้ง กลุ่มผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพบ้านควน เป็นต้น 4)มีการฟื้นฟูเวทีสัญจรผู้นำท้องถิ่น-ท้องที่ ให้เป็นเวทีสาธารณะปรึกษาหารือจัดการแก้ไขปัญหาของตำบล โดยใช้ความรู้ ภูมิปัญญาที่มีอยู่จัดการแก้ไขปัญหาของชุมชนสังคม เสริมหนุนทำให้แผนพัฒนาท้องถิ่นของ อบต.บ้านควน เกิดการดำเนินการหีมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ในส่วนผลด้านลบ 1)ผู้คนส่วนใหญ่ไม่เชื่อมั่นในการวมกลุ่มทำกิจกรรม ประชุมหรือทำกิจกรรมไม่ได้ต่อเนื่อง 2) การประสานความร่วมมือในกลุ่มเครือข่ายตำบลมีน้อยลง -ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านบวก 1)หมู่บ้านมีการวมตัวจัดการป่าชุมชน ได้ดีเข้มแข็ง พื้นที่รวมกว่า 10,000 ไร่ ได้แก่ ป่าชุมชนบ้านช่องสะท้อน ม.5 , บ้านห้วยตาสิงห์ ม.17,บ้านทับวัง ม. 16 2)มีสถานที่ท่องเที่ยวในตำบล เช่น ถ้ำเขาเกรียบ ,ฝายน้าล้นบ้านคลองขนาน(สถานที่จัดแข่งขันเรือแปดฝีพาย,ลอยงานประจำปีกระทง) สำหรับผลด้านลบนั้น 1)สภาพดินส่วนใหญ่เสื่อมโทรมจากการใช้ประโยชน์มานานและปนเปื้อนสารเคมี 2)แหล่งน้ำปนเปื้อนสารเคมี และไม่เพียงพอต่อการทำเกษตรของเกษตรรานย่อย 3)มีปริมาณขยะชุมชนเพิ่มขึ้น

สำหรับประเด็นปัญหาความต้องการในปัจจุบันของชุมชนท้องถิ่นตำบลบ้านควน ยังขาดความตระหนักรู้ในการจัดการสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย อันเป็นการใช้การตลาดกระตุ้นการผลิตให้มีสินค้าอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัยต่อการบริโภค หรือจำหน่ายในชุมชนท้องถิ่น อีกทั้งเป็นการยกระดับรายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อีกทั้งเป็นกลวิธีขยายผลการทำเกษตรกรรมยั่งยืนหรือเป็นการรักษา ต่อยอดสวนสมรม ให้คงอยู่หรือเพิ่มการจัดการสวนให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้น เวทีระดมสมองพัฒนาข้อเสนอโครงการ ได้สรุปเป็นประเด็นสำคัญดังนี้

สาเหตุ แนวทางการแก้ไข ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ด้านความรู้และพฤติกรรมของผู้คน
1.สร้างความรู้ความเข้าใจ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจในการผลิต ยกระดับมาตรฐานให้มีคุณภาพ 1.ขาดความตระหนักรู้เรื่องการผลิตทางการเกษตรที่ได้มาตรฐาน
2.ขาดความรู้ด้านการผลิตแปรรูป 2.ฝึกอบรมให้ความรู้ สร้างความเข้าใจในการผลิต 2.ทำให้เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจ ด้านการผลิต 3.ค่านิยมชอบความสะดวก สบาย สินค้าสำเร็จรูป
การรณรงค์และสร้างการเรียนรู้ให้กว้างขวางเพิ่มขึ้น เกษตรกรมีการรับรู้และตระหนักเพิ่มขึ้น
ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ


4.ขาดตลาดรองรับผลผลิตทางการเกษตร 3.สร้างตลาดรองรับผลิตภัณฑ์ในพื้นที่และออนไลด์ 3.มีตลาดรองรับ มีการขายส่งสินค้าผ่านระบบออนไลท์ 5.ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ มีแผนการผลิตที่สอดคล้องกับการตลาดและรองรับความเสี่ยง 4.มีการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายผลิตภัณฑ์สินค้า และมีการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนสินค้า ทำให้ราคาผลผลิตสูงขึ้น ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม
6.ส่งเสริมการเรียนรู้สร้างกติกาของชุมชน/ท้องถิ่น
6.เกษตรกรมีความเข้าใจการใช้สารเคมี สารชีวภัณฑ์ สารเร่ง ฮอร์โมน 6.มลพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม
7.การรวมกลุ่มจัดการอาชีพ 7.ส่งเสริมการเรียนรู้ สร้างกติกาของชุมชน/ท้องถิ่น 7. มีความรู้ ความเชื่อมมั่นในการรวมกลุ่ม มีกติกาของชุมชนร่วมกัน ด้านกลไกและระบบที่เกี่ยวข้อง
8.ประสานหน่วยงาน/องค์กร สร้างเครือข่ายความร่วมมือ
8.เกิดการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข่าวสารให้การเรียนรู้เกษตรกร 8.ขาดการส่งเสริมสนับสนุนจากหน่วยงานองค์กร

1.3 ผลการวิเคราะห์แรงเสริม และแรงต้าน ของพื้นที่ พบว่า จุดแข็งทุนทางสังคม มีภูมิปัญญาชาวบ้าน ผู้รู้ด้านวัฒนธรรมประเพณี และทรัพยากรธรรมชาติ ที่ตั้งของตำบลเป็นจุดเชื่อมศูนย์กลางการตลาด ผลผลิตทางการเกษตรเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาพื้นที่เป็นชุมชนเมือง สภาพพื้นที่เอื้ออำนวยแก่การเพาะปลูก อาชีพเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ มีวัตถุดิบและผลผลิตทางการเกษตรอย่างเพียงพอ สามารถพัฒนาด้านเกษตรกรรม และพาณิชย์ได้ มีตัวอย่าง เช่น จุดเด่นในการบริหารจัดการกลุ่มด้านปัจจัยการผลิต ในการลดต้นทุนทางการเกษตร ซึ่งตำบลบ้านควนได้ดำเนินการโครงการ 9101 เมื่อปี 2560 รวมตัวจัดตั้งกลุ่มผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพบ้านควนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน มีสมาชิก 200 ราย มีการทำปุ๋ยปีละ 2 รอบๆ ละ 100 ตัน ขายให้กับสมาชิกในราคา 9 บาท/กิโลกรัม และทุกสิ้นปีปันผลให้แก่สมาชิกยังได้รับเงิน ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพทำให้มีการเกษตรปลอดภัย ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ปรับสภาพดินให้ดีขึ้น และเกิดกลไกการทำงานในพื้นที่ มีการพึ่งพาตนเอง พึ่งพากันเองได้
โอกาส การบริหารราชการแบบบูรณาการทำให้เกิดการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น
แรงต้านทางกายภาพและสังคม เช่น การคมนาคมภายในหมู่บ้านตำบลยังไม่สะดวก เนื่องจากถนนส่วนใหญ่เป็นถนนลูกรัง มีสภาพชำรุดในช่วงฤดูฝน พื้นที่แหล่งท่องเที่ยวยังขาดการบริหารจัดการในการพัฒนาที่เป็นระบบ โครงสร้างประชากรตำบลบ้านควนเป็นโครงสร้างผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์มา 5 ปี และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ขาดกระบวนการขับเคลื่อนของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง ระบบประชาสัมพันธ์ยังไม่มีประสิทธิภาพ
อุปสรรค การกำหนดราคาผลผลิตทางการเกษตร ขึ้นอยู่กับกลไกจากตลาดภายนอก ทำให้ราคาการจำหน่ายผลผลิตตกต่ำพื้นที่ประสบปัญหาภัยธรรมชาติ (อุทกภัย) บ่อยครั้ง ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรและเส้นทางคมนาคมได้รับความเสียหาย และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ส่งผลทำให้การพัฒนาบางกิจกรรมไม่ต่อเนื่อง และข้อกำหนดห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค

เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น คณะทำงานได้ตกลงกันที่จะดำเนิน โครงการยกระดับสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัยตำบลบ้านควน เพื่อให้ประชาชนเกษตรกรได้เข้าใจ ตระหนักถึงการทำเกษตรที่ปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค มีสินค้าและอาหารปลอดภัย มีมูลค่าเพิ่มขึ้น และสามารถขายได้หลายช่องทาง ทั้งภายใน ภายนอก อันจะทำให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66
1 เกิดคณะทำงานที่มีขีดความสามารถในการดำเนินงาน(1 พ.ค. 2022-30 เม.ย. 2023) 38,600.00                        
2 เกิดความร่วมมือและกฎกติการ่วมของเครือข่าย(1 มิ.ย. 2022-31 ม.ค. 2023) 55,800.00                        
3 เกิดการจัดการสินค้าและตลาดของชุมชน(1 มิ.ย. 2022-29 ม.ค. 2023) 20,300.00                        
4 ส่วนที่ สสส.สนับสนุนเพิ่มเติม(บริหารจัดการ)(1 มิ.ย. 2022-30 เม.ย. 2023) 10,000.00                        
5 เกิดการเพิ่มการผลิตผักผลไม้ปลอดภัยและรายได้ครัวเรือน(1 ส.ค. 2022-30 เม.ย. 2023) 5,800.00                        
รวม 130,500.00
1 เกิดคณะทำงานที่มีขีดความสามารถในการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 1750 38,600.00 15 38,600.00
16 มิ.ย. 65 จัดตั้ง ประชุมคณะทำงานแกนนำเครือข่ายเกษตรสุขภาพ ครั้งที่ 1 20 2,800.00 2,800.00
16 ส.ค. 65 ประชุมคณะทำงานแกนนำเครือข่ายเกษตรสุขภาพ ครั้งที่ 2 20 2,800.00 2,800.00
1 - 31 ต.ค. 65 ลงพื้นที่เก็บสำรวจข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ ครั้งที่ 1 500 2,000.00 2,000.00
22 ต.ค. 65 ประชุมคณะทำงานแกนนำเครือข่ายเกษตรสุขภาพ ครั้งที่ 3 20 2,800.00 2,800.00
22 ต.ค. 65 เวทีประสานความร่วมมือและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน(ARE) ครั้งที่ 1 30 1,400.00 1,400.00
21 ธ.ค. 65 ประชุมคณะทำงานแกนนำเครือข่ายเกษตรสุขภาพ ครั้งที่ 4 20 2,800.00 2,800.00
28 ธ.ค. 65 อบรมเชิงปฏิบัติการใช้ระบบดิจิทัล (ZOOM) 20 2,400.00 2,400.00
29 ธ.ค. 65 อบรมทักษะความรู้วิธีปฎิบัติในการติดตามการดำเนินงานการจัดเก็บข้อมูล 20 7,200.00 7,200.00
10 - 31 ม.ค. 66 ลงพื้นที่เก็บสำรวจข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ ครั้งที่ 2 500 3,500.00 3,500.00
22 ก.พ. 66 ประชุมคณะทำงานแกนนำเครือข่ายเกษตรสุขภาพ ครั้งที่ 5 20 2,800.00 2,800.00
22 ก.พ. 66 หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ 0 500.00 500.00
14 มี.ค. 66 เวทีประสานความร่วมมือและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน(ARE) ครั้งที่ 2 30 1,400.00 1,400.00
15 มี.ค. 66 ประชุมคณะทำงานแกนนำเครือข่ายเกษตรสุขภาพ ครั้งที่ 6 20 2,800.00 2,800.00
10 - 25 เม.ย. 66 ลงพื้นที่เก็บสำรวจข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ ครั้งที่ 3 500 2,000.00 2,000.00
18 เม.ย. 66 เวทีประสานความร่วมมือและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน(ARE) ครั้งที่ 3 30 1,400.00 1,400.00
2 เกิดความร่วมมือและกฎกติการ่วมของเครือข่าย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 170 55,800.00 4 55,800.00
2 ก.ย. 65 อบรมให้ความรู้ความเข้าใจในการทำเกษตรปลอดภัย การทำและนำใช้สารชีวภัณฑ์ไปใช้ให้ถูกต้อง 50 19,100.00 19,100.00
7 มี.ค. 66 อบรมเชิงปฏิบัติการ จัดการผลิต-แผนธุรกิจ ชุมชน 50 13,100.00 13,100.00
22 มี.ค. 66 อบรมการพัฒนา ศักยภาพด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสทาง การตลาดออนไลน์ ของสินค้า 50 11,000.00 11,000.00
25 มี.ค. 66 ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นที่ต้นแบบ 20 12,600.00 12,600.00
3 เกิดการจัดการสินค้าและตลาดของชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 20,300.00 2 20,300.00
26 ก.ย. 65 รับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัยและการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร 50 13,100.00 13,100.00
1 ธ.ค. 65 การจัดการระบบ ตลาด 2 ช่องทาง พร้อมกำหนดกติการ่วม 50 7,200.00 7,200.00
4 ส่วนที่ สสส.สนับสนุนเพิ่มเติม(บริหารจัดการ) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 114 10,000.00 8 10,000.00
4 - 5 มิ.ย. 65 การประชุมเชิงปฎิบัติการปฐมนิเทศโครงการย่อย 3 3,074.00 3,074.00
30 ก.ค. 65 อบรมพัฒนาศักยภาพโครงการย่อยด้านการบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ 1 720.00 720.00
26 ต.ค. 65 เวทีสมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร 5 1,520.00 1,520.00
29 ต.ค. 65 จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ปลอดบุหรี่ สุรา 100 1,000.00 1,000.00
31 ต.ค. 65 ติดตามประเมินผลลัพธ์โครงการ Node Flagship 2 824.00 824.00
20 มี.ค. 66 ส่งหนังสือเชิญวิทยากร 1 446.00 446.00
10 เม.ย. 66 ประชุมติดตามประเมินผลลัพธ์โครงการย่อย NF ชุมพร 1 416.00 416.00
30 เม.ย. 66 ค่าจัดทำรายงานและค่าอินเทอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์ 1 2,000.00 2,000.00
5 เกิดการเพิ่มการผลิตผักผลไม้ปลอดภัยและรายได้ครัวเรือน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 5,800.00 1 5,800.00
28 เม.ย. 66 การติดตาม ประเมินผลการผลิตรายได้ สุขภาพและนำเสนอผลงาน 30 5,800.00 5,800.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2022 11:39 น.