directions_run

(17)ส่งเสริมการผลิตและบริโภคอาหารปลอดภัยสู่การท่องเที่ยวชุมชนตำบลบางน้ำจืด

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ (17)ส่งเสริมการผลิตและบริโภคอาหารปลอดภัยสู่การท่องเที่ยวชุมชนตำบลบางน้ำจืด
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดชุมพร
รหัสโครงการ 65-00240-0017
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2022 - 30 เมษายน 2023
งบประมาณ 130,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ท่องเที่ยวชุมชนตำบลบางน้ำจืด
ผู้รับผิดชอบโครงการ ( นายธีระพันธ์ รัตนธรรม)
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 085-7931071
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ tr.noom@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวเบญจพร ทองกลม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
ละติจูด-ลองจิจูด 10.007143,99.154379place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 52,000.00
2 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 71,500.00
3 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 6,500.00
รวมงบประมาณ 130,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลบางน้ำจืด ได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540  มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอหลังสวน โดยมีระยะทางห่างจากอำเภอหลังสวน ประมาณ 15 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขต ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ อ่าวไทย และตำบลปากตะโก อำเภอทุ่งตะโก
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลนาขา ตำบลปากน้ำ ตำบลแหลมทราย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลนาขา ตำบลตะโก  อำเภอทุ่งตะโก มีพื้นที่ทั้งหมด 52.36 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 27,840 ไร่ แบ่งเป็นที่อยู่อาศัย 8,514 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร 17,214 ไร่ พื้นที่สาธารณะ 1,042 ไร่ มีหมู่บ้านทั้งหมด 14 หมู่บ้าน และอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำจืดเต็มพื้นที่ทุกหมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ 1  บ้านบางน้ำจืด หมู่ที่ 8  บ้านหนองไก่ปิ้ง หมู่ที่ 2  บ้านบางน้ำจืด หมู่ที่ 9  บ้านหนองพ้อ หมู่ที่ 3  บ้านแหลมหญ้า หมู่ที่ 10  บ้านชายเขา หมู่ที่ 4  บ้านบางหยี หมู่ที่ 11  บ้านบางน้ำจืด หมู่ที่ 5  บ้านคลองวงค์ หมู่ที่ 12  บ้านน้ำลอด หมู่ที่ 6  บ้านบางมุด หมู่ที่ 13  บ้านทองครก หมู่ที่ 7 บ้านทับนายสังข์ หมู่ที่ 14  บ้านเกาะพิทักษ์ ตำบลบางน้ำจืด มีครัวเรือนทั้งสิ้น 1,912 ครัวเรือน  ประชากรทั้งสิ้น 5,174  คน แยกเป็น  เพศชาย 2,551 คน เพศหญิง 2,623 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 98.81  คน/ตารางกิโลเมตร มีสภาพภูมิประเทศที่มีความแตกต่างกัน มีความโดดเด่นตามลักษณะของพื้นที่ทางทิศตะวันออก มีพื้นที่ติดต่อกับทะเล เป็นอ่าวยาวขนานชายฝั่งทะเลอ่าวไทยยาวประมาณ 12 กิโลเมตร และมีพื้นที่เป็นเกาะ คือ เกาะพิทักษ์ เหมาะสำหรับการทำประมงชายฝั่งและการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว สำหรับด้านทิศตะวันตกมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเหมาะสำหรับการทำเกษตร
ทิศทางการดำเนินงานสุขภาวะตำบล   องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำจืด มีประสบการณ์ในการจัดการตนเอง ในการเข้าสู่ตำบลสุขภาวะโดยใช้แนวคิดที่จะพัฒนาชุมชนโดยการขับเคลื่อนท้องถิ่นโดยท้องถิ่น ให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาความเป็นอยู่ เพื่อความสุขในชีวิตตามที่ต้องการ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำจืด ยึดหลัก ประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก ตามหลักการธรรมาภิบาล เน้นการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยสร้างการมีส่วนร่วม การสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชนด้วยการหนุนการทำงานของกลุ่มและแหล่งเรียนรู้ โดยเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ การพัฒนา ส่งเสริม ให้เกิดการบูรณาการ อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด มีการพัฒนาหมู่บ้านโดยเน้นให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของประชาชนในการขับเคลื่อนงานและกิจกรรมต่างๆ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดการ ดำเนินงานที่ต้องการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการคิด การวางแผน การดำเนินงาน เกิดการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง และสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

สถานการณ์ต้นทุนทางเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติสิงแวดล้อม 1.ระบบนิเวศและฐานทรัพยากรดิน น้ำ ป่า ดิน ลักษณะของดินพื้นที่ตำบลบางน้ำจืด ทางด้านทิศตะวันตกและทิศใต้จะเป็นดินเหนียว ดินภูเขา และพื้นที่ภูเขา ตอนกลางเป็นดินร่วนและดินร่วนปนทราย ซึ่งทางด้านทิศตะวันตก ทิศใต้และตอนกลางของพื้นที่ตำบลบางน้ำจืดเหมาะแก่การทำเกษตรกรรม ทางด้านทิศตะวันออกและทิศเหนือจะเป็นดินทราย ดินเลน ดินเปรี้ยว เหมาะแก่การทำนากุ้งและประกอบอาชีพด้านประมง

น้ำ ตำบลบางน้ำจืด มีแหล่งน้ำสำคัญทั้งแหล่งน้ำตามธรรมชาติและแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น เพื่อนำมาใช้ในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การอุปโภคและบริโภค ในครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่จะอาศัยแหล่งน้ำจากน้ำฝนเป็นสำคัญ เนื่องจากตำบลบางน้ำจืดเป็นพื้นที่ติดชายทะเล ลักษณะของน้ำจึงมีทั้งน้ำจืด และน้ำกร่อย ดังนั้นน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติจึงไม่สามาถนำมาใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภคได้ทั้งหมด น้ำแหล่งน้ำต่างๆ มีดังนี้
ลำคลอง จำนวน  3    แห่ง ลำห้วย จำนวน  3    แห่ง บ่อน้ำตื้น (สาธารณะ) จำนวน  33  แห่ง สระน้ำ จำนวน    5  แห่ง บ่อบาดาลติดสูบ จำนวน  14  แห่ง ฝายน้ำล้น จำนวน  2 แห่ง
ป่า ตำบลบางน้ำจืด มีพื้นที่ทั้งหมด 52.36 ตารางกิโลเมตร (27,840 ไร่) เป็นที่อยู่อาศัย 8,514 ไร่ พื้นที่เกษตร 17,214 ไร่ พื้นที่สาธารณะ 1,042 ไร่ 2 งาน 77 ตารางวา พื้นที่ป่ามีลักษณะดังนี้   1. ป่าชายเลน ประกอบด้วยพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ หลายชนิดดำรงชีวิตอยู่ด้วยกัน ในสภาพแวดล้อมที่เป็นดินเลน น้ำกร่อย และมีน้ำทะเลท่วมถึงอย่างสม่ำเสมอ มีพื้นที่ป่าชายเลน จำนวน 4,500 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 16.16 ของพื้นที่ทั้งหมด ได้แก่   1.1 พื้นที่ป่าเลนคลองริ่ว ถูกกำหนดเป็นป่าสงวนแห่งชาติ มีเนื้อที่ 450 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 10 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด หรือร้อยละ 1.62 ของพื้นที่ทั้งหมด มีไม้โกงกาง ไม่โปรง ไม้ตะบูน และไม้ชนิดอื่นๆ ซึ่งมีค่าจำนวนมาก และมีของป่ากับทรัพยากรธรรมชาติอื่นด้วย 1.2 พื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตพื้นที่ป่าเลนท่าทอง และป่าเลนบางละมุด ถูกกำหนดให้เป็นป่าคุ้มครอง และพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตพื้นที่ป่าเลนคลองตะโก ป่าเลนคลองท่าทอง และป่าเลนคลองบางมุด ถูกกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ 1.3 พื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตพื้นที่ป่าเลนอ่าวทุ่งคา ป่าอ่าวสวี ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร ได้แก่ บริเวณอ่าวท้องครก ตำบลบางน้ำจืด บริเวณดังกล่าวประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ และมีค่า เช่นหาดทราย ป่าชายเลน ทรัพยากรธรรมชาติใต้ทะเล ที่เป็นแหล่งปะการังและสัตว์น้ำ นกอพยพและนกประจำถิ่น ตลอดจนทิวทัศน์ธรรมชาติเป็นหาดทรายมี่สวยงามยิ่ง 2. ป่าพรุ เป็นป่าที่อยู่ถัดจากป่าชายเลน เป็นพื้นที่ลุ่มที่มีการทับถมของซากพืชและอินทรียวัตถุที่ไม่สลายตัว ทำให้ดินยุบตัวลงได้ง่ายและมีน้ำท่วมขังหรือชื้นแฉะอยู่ตลอดปี ได้แก่ ป่าพรุใหญ่ มีเนื้อที่ ประมาณ 3014 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,962.50 ไร่ หรือร้อยละ 7.05 ของพื้นที่ทั้งหมด มีไม้เสม็ดขาว ซึ่งเป็นไม้มีค่าขึ้นอยู่ปริมาณมาก มีลักษณะเหมาะสมและจำเป็นที่จะต้องสงวนไว้ให้เป็นป่าไม้โดยถาวรตลอดไป เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการครองชีพของประชาชน จึงถูกกำหนดให้เป็นป่าสงวน  ปัจจุบันพื้นที่ป่าพรุ ส่วนใหญ่ถูกทำลายระบายน้ำออกเปลี่ยนแปลงสภาพเป็นสวนมะพร้าวสวนปาล์ม บ่อเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา เป็นต้น
  2. เกษตรกรรม
ประชากรส่วนใหญ่ของตำบลบางน้ำจืด ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 17,214 ไร่ หรือร้อยละ 61.83 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ไม้ผลและไม้ยืนต้น เพื่อการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของตำบล พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ยางพารา มังคุด ทุเรียน เงาะ เป็นต้น ซึ่งสามารถส่งออกเป็นรายได้หลักของประชากรของตำบล โดยรายได้ของประชากรส่วนใหญ่จะมีรายได้ประจำจากการขายพืชผลทางการเกษตร รายได้ที่ได้จะไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับราคาพืชผลและการส่งออกที่สำคัญ ผลผลิตที่ได้จะมีพ่อค้าคนกลางรับซื้อในหมู่บ้าน และบางส่วนนำไปขายยังตลาดในอำเภอหลังสวน ได้แก่ ตลาดอวยชัย ซึ่งเป็นตลาดกลางในการซื้อขายผลไม้ และสินค้าเกษตรที่สำคัญของจังหวัดชุมพร มีโล้งรับซื้อผลไม้ ไปจนถึงริมถนนเพชรเกษมทั้งสองฝั่ง
พืชเศรษฐกิจหลักในตำบลบางน้ำจืด มีดังนี้ 1. ยางพารา มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด จำนวน 314.30 ไร่ 2. ปาล์มน้ำมัน มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด จำนวน 8,823 ไร่ 3. มะพร้าว มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด จำนวน 568.80 ไร่ 4. ไม้ผล  ทุเรียน ลองลอง มังคุด เงาะ ฯ มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด จำนวน 1,218.50 ไร่ 5. พืชผักและสมุนไพร เป็นการปลูกในครัวเรือน พื้นที่เล็กๆ   3. ประมงและสัตว์น้ำ
ด้านการประมง เนื่องจากพื้นที่ทางด้านทิศตะวันออกขององค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำจืด มีพื้นที่ติดกับทะเลอ่าวไทย จำนวน 6 หมู่ ได้แก่หมู่ที่ 1,2,3,4,13 และหมู่ที่ 14 ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพประมงชายฝั่ง เป็นการทำประมงพื้นบ้าน และประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์น้ำ เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา เลี้ยงหอยแมลงภู่ เป็นต้น โดยหมู่บ้านที่มีประชากรประกอบอาชีพประมงมากที่สุด ได้แก่ หมู่ที่ 14 บ้านเกาะพิทักษ์
  4. ปศุสัตว์
ด้านการปศุสัตว์ ในอดีตจะเป็นการเลี้ยงสัตว์ในรูปแบบของการเลี้ยงเพื่อการใช้งานและการบริโภค แต่ในปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่เริ่มเปลี่ยนแปลงการเลี้ยงสัตว์มาเพื่อจำหน่ายเพิ่มขึ้น เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค สุกร กระบือ จำนวนสัตว์ในพื้นที่โดยประมาณ ดังนี้
เกษตรกร  จำนวน 121 ราย  เลี้ยงโคเนื้อ จำนวน 487 ตัว เกษตรกร  จำนวน 5 ราย      เลี้ยงกระบือ จำนวน  10 ตัว เกษตรกร  จำนวน 7 ราย      เลี้ยงสุกร      จำนวน 606 ตัว เกษตรกร  จำนวน 387 ราย  เลี้ยงไก่ จำนวน 6,944 ตัว เกษตรกร  จำนวน 17 ราย  เลี้ยงเป็ด  จำนวน 2,700 ตัว   5. รูปแบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืน  (เกษตรทฤษฏีใหม่, เกษตรผสมผสาน, เกษตรอินทรีย์, วนเกษตร,
เกษตรธรรมชาติ)           5.1 ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตำบลบางน้ำจืด “ 1 ไร่ 1 ครัว เลี้ยงตัวได้” ตั้งอยู่หมู่ที่ 13 โดยมีนายสมปอง ปานโชติ ซึ่งเป็นหมอดินอาสาของตำบลบางน้ำจืด เริ่มแรกได้มีการปรับปรุงสภาพดินโดยใช้วิธีการทำปุ๋ยหมักจากทะลายปาล์ม และได้ปลูกต้นปอเทืองเพื่อเป็นการปรับปรุงสภาพดินเนื่องจากพื้นที่โดยรอบเป็นดินทราย ต่อมาได้นำเอาพืชผักสวนครัวมาทดลองปลูก เช่น ถั่วฝักยาว แตงกวา พริก กวางตุ้ง ต้นกล้วยน้ำว้า ฯลฯ  ปรากฏว่าผลผลิตที่ออกมาน่าพอใจ จึงเอาวิธีการทำปุ๋ยหมักจากทะลายปาล์มไปสอนให้กับกลุ่มทำปุ๋ยเพื่อทำเป็นปุ๋ยให้ในหมู่บ้าน
        5.2 กลุ่มส่งเสริมอาชีพเพาะเห็ดฟางบ้านหนองไก่ปิ้ง หมู่ที่ 8 ปัจจุบันเป็นแหล่งเรียนรู้ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านเกษตรกรรมในตำบล และกลุ่มได้มีการพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์จากเห็ดฟาง เช่น น้ำพริกเห็ดฟาง เห็ดฟางทอด เป็นต้น
    5.3 ครัวเรือนที่ไม่ได้รวมตัวเป็นกลุ่ม ได้แก่ ครัวเรือนที่ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ สำหรับบริโภคเองในครัวเรือน เหลือขายเล็กๆน้อย ซึ่งมีกระจายทั่วทั้งตำบล 6.การท่องเที่ยวชุมชน โดยมีหมู่บ้านเกาะพิทักษ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่มีชื่อเสียง เป็นจุดท่องเที่ยวโฮมสเตย์ที่ดึงดูดผู้คนจากทั่วสารทิศ ปีละ 30,000 คน  และมีกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว คือวิ่งข้ามทะเลแหวกเกาะพิทักษ์ ช่วงเดือนมิถุนายนทุกปี และยังมีชุมชนท่องเที่ยวใหม่ที่เกิดขึ้น เช่น บ้านถ้ำนำลอด บ้านท้องครก ชุมชนบางมุด เป็นต้น รวมถึงตำนานจระเข้บางมุด ป่าโกงกาง และซากเรือโบราณ  แปลงพันธุกรรมท้องถิ่น ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวต่อไปได้ ตำบลบางน้ำจืด ได้กรอบยุทธศาสตร์ระบบอาหารตำบลบางน้ำจืด ประเด็นความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัย ซึ่งมีวิสัยทัศน์ : อาหารปลอดภัย ชุมชนไร้มลพิษ ชีวิตยืนยาว  โดยมีเป้าหมาย เพื่อการผลิตที่ปลอดภัย (ต้นน้ำ) มีผู้ผลิตทั้งแบบครัวเรือน การเกษตรแปลงเล็ก/แปลงใหญ่ การประมง และปศุสัตว์  มีการขนส่ง เก็บขน การเตรียมปรุงที่ปลอดภัย (กลางน้ำ) การจัดการ ทั้งพ่อค้าคนกลาง การแปรรูป สถานประกอบการ ร้านอาหาร  มีการบริโภคที่ปลอดภัย (ปลายน้ำ) ผู้บริโภค มีโภชนาการสมวัย เด็ก เยาวชน คนวัยทำงานทุกอาชีพ ผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบาง สถานการณ์ในการผลิตและบริโภคอาหารปลอดภัย  ปัจจุบัน  มีผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบที่เกิดขึ้นดังนี้  ด้านสุขภาพ  มีดังนี้  1) มีการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุดูแลสุขภาพและได้รับการสนับสนุนจาก อบต.-รพสต. ได้ดี 2) มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 1080 คน และเกษตรกรมีสารตกค้างในเลือด 31 %    ด้านเศรษฐกิจ  ดังนี้ 1)ชุมชนบ้านเกาะพิทักษ์และหมู่บ้านใกล้มีรายได้จากท่องเที่ยวชุมชน แต่ต้องได้รับผลกระทบจากรายได้ไม่มีจากสถานการณ์โควิด-19  2)ภาวะหนี้สินครัวเรือนเพิ่มขึ้นและต้นทุนการเกษตรก็เพิ่มขึ้น  3)ในพื้นที่ตำบลไม่ตลาดจำหน่ายสินค้าปลอดสารทำให้การเข้าถึงของผู้คนในพื้นที่ยากลำบาก 4)มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล 300 บาทต่อครัวเรือนต่อครั้ง  ด้านสังคม มีดังนี้ 1) มีชมรมผู้สูงอายุตำบลบางน้ำจืดที่รวมตัวทำกิจกรรมที่เข้มแข็ง 2)มีการรวมกลุ่มอาชีพ แต่ดำเนินการได้ไม่ต่อเนื่อง  ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1) มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอนุรักษ์ทะเลชายฝั่งและแปรรูปอาหารทะเลได้ดีระดับหนึ่ง 2)มีสารเคมีตกค้างในดิน น้ำ อากาศ และสภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย เสื่อมสภาพยากต่อการเพาะปลูก 3) พืชพรรณท้องถิ่นมีน้อยลง และใกล้สูญพันธ์ 4)ภาวะภัยธรรมชาติ
สำหรับปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการผลิตและบริโภคอาหารไม่ปลอดภัย ดังนี้ 1)สาเหตุอันเนื่องมาจากความรู้และพฤติกรรมของการผลิตและการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย  ได้แก่ ผู้คนชอบความสะดวกสบาย การนิยมซื้ออาหารสำเร็จรูป  ซื้อผักที่สวยๆมาบริโภค และขาดความตระหนักรู้ในการทำการเกษตรปลอดภัย และขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพ
2)สาเหตุจากสภาพทางสังคม  ได้แก่ คนในชุมชนไม่เชื่อมั่นและทำงานแบบการรวมกลุ่ม  มุ่งทำเกษตรเชิงเดี่ยวตามกระแสทุเรียนและขาดการส่งเสริมการเกษตรผสมผสาน  ขาดตลาดในการขายสินค้าปลอดสารพิษในชุมชน จึงไม่มีแรงกระตุ้นในการผลิต
3)สาหตุจากสภาพทางกายภาพ ได้แก่ สถานที่จำหน่ายหรือแหล่งผลิตปัจจัยการผลิต(ปุ๋ยชีวภาพ-สารชีวภัณฑ์)ที่ชาวบ้านทั่วไปมีน้อย หรือราคาที่แพง  สภาพดินเป็นทรายไม่เหมาะทำเกษตรมากนักและบางหมู่บ้านน้ำเค็มเข้าถึงพื้นที่ รวมทั้งการขาดการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร
4)สาเหตุจากระบบและกลไก ได้แก่ การขับเคลื่อนกลุ่มเครือข่ายไม่มีการเชื่อมโยง เสริมหนุนกันในระดับตำบล ขาดการหนุนเสริมจากหน่วยงานต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่มีกฎกติการ่วมกันจัดการอาหารปลอดภัยในชุมชนท้องถิ่น
แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยที่เป็นแรงเสริมหรือสนับสนุนในการผลิตและบริโภคอาหารปลอดภัย ได้แก่ ในพื้นที่มีปราชญ์ชาวบ้าน หมอดินอาสา มีแปลงสาธิตทางการเกษตร มีศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มีแหล่งท่องเที่ยวชุมชนหลายแห่ง และมีป่าชายเลนทีมีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม รวมทั้งแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารท้องถิ่น  รวมทั้งนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ในส่วนปัจจัยที่เป็นแรงต้าน คือ กระแสการบริโภคนิยมและความไม่ตระหนักต่อการบริโภคอาหารปลอดภัย และความ  สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19

  คณะทำงานตำบลโดยแกนนำหมู่บ้านจาก 6 หมู่บ้าน ได้แก่ 3,4,8,12,13,14  ได้ประชุมปรึกษาหารือกันมีมติ ร่วมกันที่จะดำเนินงานโครงการ ส่งเสริมการผลิตและบริโภคอาหารปลอดภัยสู่การท่องเที่ยวชุมชนตำบลบางน้ำจืด  โดยในระยะแรกได้นำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารท้องถิ่น มาดำเนินการในหมู่บ้านนำร่องที่มีความพร้อมของผู้คน องค์กรชุมชนร่วมกันดำเนินงานสร้างรูปธรรมหรือแหล่งเรียนรู้ แล้วขยายผล เชื่อมโยงไปสู่หมู่บ้านอื่นๆ ในตำบล พร้อมการรณรงค์สร้างการเรียนรู้ให้ผู้คนในชุมชนท้องถิ่นรู้-รักษาคุณค่าทางทรัพยากรที่มีอยู่ เชื่อมโยงเพิ่มมูลค่าในการจัดการสินค้าทางการเกษตร อาหารปลอดภัยไปสู่การจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลบางน้ำจืดต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างและพัฒนาขีดความสามารถคณะทำงานตำบลในการดำเนินงานผลิตแปรรูปอาหารปลอดภัย เพื่อให้เกิดการจัดการตลาดสินค้าอาหารและบริการ สู่การเพิ่มรายได้ครัวเรือนในชุมชนท้องถิ่น

1  เกิดคณะทำงานขับเคลื่อนที่มีขีดความสามารถในดำเนินงานอาหารปลอดภัย 2 เกิดความร่วมมือกับภาคีและกติการ่วมของคนในชุมชน 3 เกิดการจัดการสินค้า ตลาด และการท่องเที่ยวของชุมชน 4 เกิดการรักษาคุณค่าทางทรัพยากรและรายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 200
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คนในชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรม 150 -
ตัวแทนหมู่บ้าน 50 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66
1 ส่วนที่ สสส.สนับสนุนเพิ่มเติม(1 พ.ค. 2022-30 เม.ย. 2023) 10,000.00                        
2 ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนในการดำเนินงานและทำAREโครงการ(30 ส.ค. 2022-30 ส.ค. 2022) 7,880.00                        
3 เกิดความร่วมมือกับภาคีและกติการ่วมของคนในชุมชน(20 ก.ย. 2022-20 ก.ย. 2022) 59,400.00                        
4 พัฒนาศักยภาพคณะทำงานด้านการขับเคลื่อนการดำเนินการโครงการ(18 ต.ค. 2022-18 ต.ค. 2022) 29,320.00                        
5 การจัดการสินค้าตลาดและท่องเที่ยวของชุมชน(20 ต.ค. 2022-20 ต.ค. 2022) 14,400.00                        
6 เกิดการรักษาคุณค่าทางทรัพยากรและรายได้ในครัวเรือน(1 ธ.ค. 2022-31 มี.ค. 2023) 9,500.00                        
รวม 130,500.00
1 ส่วนที่ สสส.สนับสนุนเพิ่มเติม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 93 10,000.00 14 10,000.00
4 - 5 มิ.ย. 65 กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัตการปฐมนิเทศโครงการย่อย 2 1,664.00 1,664.00
30 ก.ค. 65 อบรมพัฒนาศักยภาพโครงการย่อยด้านการบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ 1 496.00 496.00
20 - 21 ส.ค. 65 อบรมนักสื่อสารสร้างสรรค์สังคมสุขภาวะ 1 128.00 128.00
12 ก.ย. 65 ส่งหนังสือเชิญวิทยากรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการทำเกษตรปลอดสารเคมีและการทำสารชีวภัณฑ์ 1 112.00 112.00
12 ก.ย. 65 ส่งหนังสือเชิญวิทยากรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการทำเกษตรปลอดสารเคมีและการทำสารชีวภัณฑ์ 1 624.00 624.00
16 ก.ย. 65 - 30 เม.ย. 66 ป้ายรงณรงค์ห้ามสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์และป้ายโครงการฯ 50 600.00 600.00
2 - 3 ต.ค. 65 ค่าเดินทางอบรมสื่่อสร้างสรรค์ ครั้งที่2 1 864.00 864.00
11 ต.ค. 65 ส่งหนังสือเชิญวิทยากรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการทำตลาดออนไลน์ 1 364.00 364.00
26 ต.ค. 65 ค่าเดินทางเข้าร่วมกิจกรรม "การจัดเวทีสมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร 4 832.00 832.00
8 มี.ค. 66 ส่งหนังสือเชิญวิทยากรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการปรับปรุงดินและการทำปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยชีวภาพ 1 192.00 192.00
28 มี.ค. 66 ส่งหนังสือเชิญคณะทำงานโครงการส่งเสริมการผลิตและบริโภคอาหารปลอดภัยสู่การท่องเที่ยวชุมชนตำบลบางน้ำจืด 26 1,152.00 1,152.00
10 เม.ย. 66 ค่าเดินทางประชุมติดตามประเมินผลลัพธ์โครงการย่อย สสส.(Node Flaghip Chumphon 2 340.00 340.00
11 เม.ย. 66 ส่งหนังสือเชิญวิทยากรฝึกอบรมเการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และบทเรียน 1 632.00 632.00
30 เม.ย. 66 จัดทำบันทึกข้อมูลรายงานและเอกสารการเงินในระบบ รอบที่ 1-2 1 2,000.00 2,000.00
2 ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนในการดำเนินงานและทำAREโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 247 7,880.00 10 7,880.00
30 ส.ค. 65 ประชุมคณะทำงานโครงการฯ ครั้งที่ 1 26 780.00 780.00
29 ก.ย. 65 ประชุมคณะทำงานโครงการฯ ครั้งที่ 2 26 780.00 780.00
29 ก.ย. 65 เวทีย่อยประเมินผลการเรียนรู้ ARE ครั้งที่ 1 30 900.00 900.00
25 ต.ค. 65 ประชุมคณะทำงานโครงการฯ ครั้งที่ 3 26 780.00 780.00
27 ก.พ. 66 ประชุมคณะทำงานโครงการฯ ครั้งที่ 4 26 780.00 780.00
14 มี.ค. 66 หักเงินสำรองเปิดบัยชี 1 500.00 500.00
15 มี.ค. 66 เวทีย่อยประเมินผลการเรียนรู้ ARE ครั้งที่ 2 30 900.00 900.00
15 มี.ค. 66 ประชุมคณะทำงานโครงการฯ ครั้งที่ 5 26 780.00 780.00
5 เม.ย. 66 ประชุมคณะทำงานโครงการฯ ครั้งที่ 6 26 780.00 780.00
25 เม.ย. 66 เวทีย่อยประเมินผลการเรียนรู้ ARE ครั้งที่ 3 30 900.00 900.00
3 เกิดความร่วมมือกับภาคีและกติการ่วมของคนในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 375 59,400.00 5 59,400.00
20 ก.ย. 65 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการทำเกษตรปลอดสารเคมีและการทำสารชีวภัณฑ์ 50 11,367.00 11,367.00
14 มี.ค. 66 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการปรับปรุงดินและการทำปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยชีวภาพ 50 12,400.00 12,400.00
28 มี.ค. 66 อบรมเชิงปฏิบัติการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรออกตลาดชุมชน 45 13,133.00 13,133.00
6 - 12 เม.ย. 66 กำหนดกติการ่วมกันในการทำเกษตรปลอดภัย 180 21,000.00 21,000.00
11 เม.ย. 66 จัดเวทีความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 50 1,500.00 1,500.00
4 พัฒนาศักยภาพคณะทำงานด้านการขับเคลื่อนการดำเนินการโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 66 29,320.00 3 29,320.00
18 ต.ค. 65 ฝึกอบรมทักษะ ความรู้ด้านการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ การจัดเก็บข้อมูล 26 4,160.00 4,160.00
23 พ.ย. 65 - 7 ธ.ค. 65 จัดเก็บข้อมูลรายหมู่บ้าน 14 หมู่ 14 18,700.00 18,700.00
18 เม.ย. 66 อบรมการประเมินผลเพื่อการเรียนรุ็และถอดบทเรียน 26 6,460.00 6,460.00
5 การจัดการสินค้าตลาดและท่องเที่ยวของชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 75 14,400.00 2 14,400.00
20 ต.ค. 65 การจัดตลาดชุมชนจำหน่ายสินค้าเชื่อมโยงการอบรมเชิงปฏิบัติการทำตลาดออนไลน์ 25 6,400.00 6,400.00
19 เม.ย. 66 เวทีพบปะพูดคุยคณะทำงาน ผู้ร่วมโครงการเพื่อเชื่อมโยงการจัดการสินค้าตลาดและการท่องเที่ยว 50 8,000.00 8,000.00
6 เกิดการรักษาคุณค่าทางทรัพยากรและรายได้ในครัวเรือน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 9,500.00 2 9,500.00
21 เม.ย. 66 ประชุมติดตามประเมินผลการจัดการสินค้าตลาดปลอดสารเคมีและการท่องเที่ยวชุมชน 50 8,000.00 8,000.00
25 เม.ย. 66 จัดเวทีนำเสนอผลงานและข้อเสนอแนะ 50 1,500.00 1,500.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เมื่อเสร็จโครงการ จะมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ศักยภาพของกลไกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในพื้นที่ให้มีการพัฒนากิจกรรมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน 2.มีเป้าหมายขับเคลื่อนให้เกิดการเกษตรที่ปลอดภัย เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อให้ศึกษาข้อมูลได้ทั้งคนในชุมชน และจากภายนอกพื้นที่ โดยคนในชุมชนรู้จักรักษาและเพิ่มมูลค่าทางทรัพยากรที่มีในพื้นที่ อีกทั้งสามารถเชื่อมโยงการจัดการผลผลิตสินค้าทางการเกษตรปลอดภัยไปสู่การท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลบางน้ำจืดต่อไป

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2022 11:44 น.