directions_run

(19)พัฒนามาตรฐานสินค้าปลอดภัยสู่การตลาดสีเขียวอำเภอละแม

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ (19)พัฒนามาตรฐานสินค้าปลอดภัยสู่การตลาดสีเขียวอำเภอละแม
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดชุมพร
รหัสโครงการ 65-00240-0019
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2022 - 30 เมษายน 2023
งบประมาณ 170,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืน SDG PGS อำเภอละแม
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิเวก อมตเวทย์
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 081-597313
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ wiwag Amatawet
พี่เลี้ยงโครงการ นางสุดาภรณ์ ปัจฉิมเพ็ชร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 68,000.00
2 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 93,500.00
3 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 8,500.00
รวมงบประมาณ 170,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การรวมตัวของประชาสังคมในพื้นที่อำเภอละแม ภายใต้ เครือข่ายรักษ์ละแม ตั้งแต่ปี 53 มีสมาชิกจำนวน
255 คนในทุกตำบลเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ร่วมสร้างละแมให้น่าอยู่ โดยมีกิจกรรมสำคัญ เช่น การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ค่ายเยาวชนรักสิ่งแวดล้อม) การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน (ส่งเสริมและพัฒนากลุ่มอาชีพ) การสร้างสรรค์สังคมวัฒนธรรมประเพณี (กิจกรรมมุทิตาคารวะผู้อาวุโส) เป็นต้น โดยเฉพาะการสร้างความเป็นอยู่ดีกินดี นั้นได้ระดมความร่วมมือ กระตุ้นกลุ่มอาชีพต่างๆ ให้ดำเนินการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาต่อเนื่อง บทเรียนสำคัญของการขับเคลื่อนเครือข่ายรักษ์ละแมที่ผ่านมา ตกผลึกร่วมกันในการจะสร้างสำนึกรักษ์ถิ่น สร้างละแมให้น่าอยู่นั้น ต้องทำการยกระดับเศรษฐกิจครัวเรือน “กินอิ่ม นอนอุ่น ทุนมี หนี้หมด ” หรือสร้างเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นให้อยู่ดีมีสุข
จวบจนเครือข่ายรักษ์ละแมได้ร่วมมือกับเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน และ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชุมพร จัดตั้งสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดชุมพร (CHUMPHON SASTAINABLE AGGRICULTURE FEDERATION) และจัดตั้ง สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืน SDGPGS อำเภอละแม เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2562 และมีการดำเนินงานที่ผ่านมาดังนี้ 1)จัดเวที“เขย่าทัศน์” ปรับทัศนคติ (Mindset) ให้กับเกษตรกรที่สนใจขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ทั้งจังหวัด 2)อบรมผู้ตรวจแปลงเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS จำนวน 3 วัน มีเกษตรกรที่ผ่านการอบรมและเป็นผู้ตรวจแปลงตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS กว่า 80 คน 3) พัฒนาคณะทำงานฐานข้อมูลสารสนเทศที่ทำการตรวจแปลง 4)ประชุมคณะทำงานกลั่นกรองข้อมูลแปลงเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS และคณะกรรมการรับรองระดับจังหวัดได้รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGPGS แล้ว 178 ราย/แปลง
  สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืน SDGPGS อำเภอละแม จัดโครงสร้างการดำเนินงานดังนี้ 1)มีคณะกรรมการ สมาพันธ์ฯระดับอำเภอและคณะทำงานระดับตำบลทั้ง 4 ตำบลซึ่งดำเนินการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน SDGPGS ระดับตำบล 2)มีคณะทำงานตรวจแปลงตามมาตรฐาน SDGPGS 3) มีคณะทำงานระบบข้อมูลสารสนเทศ(กลั่นกรองข้อมูล) ก่อนนำเข้าสู่คณะกรรมการรับรอง 4) คณะทำงานบริหารจัดการร้านค้า Out let เกษตรอินทรีย์ชุมพร 5)ร่วมกับกลไกระดับจังหวัด 3 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการรับรองมาตรฐาน SDGPGS จังหวัดชุมพรซึ่งมี ผอ.มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานคณะกรรมการ คณะกรรมการติดตามประเมินผล และคณะกรรมการอำนวยการซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และได้ร่วมมือกับสหกรณ์การเกษตรอำเภอละแม สหกรณ์การเกษตรนิคมหลังสวน เกษตรและสหกรณ์จังหวัดชุมพร ธกส.ชุมพร ขับเคลื่อนพัฒนาการเกษตรกรรมยั่งยืนมาตามลำดับ ในส่วนของกลไกสนับสนุนคือเครือข่ายรักษ์ละแม ในรอบปีที่ผ่านมาได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล สมาคมเครือข่ายรักษ์ละแม ซึ่งจะได้ดำเนินงานร่วมกับ สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืน SDGPGS อำเภอละแม
สถานการณ์การเกษตรพื้นที่อำเภอละแม มีการทำเกษตรเชิงเดี่ยวหรือเกษตรเคมีในพื้นที่อำเภอละแม 150,379
ไร่ (ปาล์มน้ำมัน 48,096 ไร่ ,ยางพารา 37,575 ไร่ ,ทุเรียน 27,054 ไร่ ,มังคุดและลองกอง 10,521 ไร่ ,เงาะ 7,515 ไร่ ,มะพร้าว 7,515 ไร่ ,กาแฟ 4,509 ไร่ ,กล้วยหอมทอง 4,509 ไร่ ,หมากและพืชอื่นๆ 3,006 ไร่ ) การดำเนินงานของสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนละแม กับ สมาคมเครือข่ายรักษ์ละแม ในปี 2564 นั้นมีสมาชิกที่สนใจเข้าร่วมขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน 270 ราย และได้เข้าสู่ระบบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรแบบมีส่วนร่วม SDGPGS จำนวน 77 แปลง มีพื้นที่เพาะปลูกทั้งพืชผักและไม้ผลจำนวน 850 ไร่ การจัดตั้งจดแจ้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนระดับตำบล ไปแล้ว 3 องค์กร และดำเนินการจัดสร้างตลาดสินค้าเกษตร รูปแบบ Out let เกษตรอินทรีย์ชุมพรเพื่อเป็นแรงจูงใจในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ แต่ต้องหยุดและชะลอการดำเนินไปด้วยสถานการณ์โควิท-19 ทั้งนี้ยังได้พัฒนาการผลิตแปรรูปสินค้าจากแปลงเกษตรอินทรีย์ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น เช่น ไตปลาแห้ง หน่อไม้ดองและแห้ง น้ำอ้อยคั้น ข้าวยำใบบัว แยมหม่อน ฯลฯ แต่ด้วยสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดชุมพร เป็นองค์กรเครือข่ายที่ไม่ได้จดทะเบียนกับทางราชการ การเข้าถึงงบประมาณของราชการเป็นไปได้ยาก ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้ใช้การออกทุนสมทบส่วนตัว ระบบอาสาสมัครมาร่วมด้วยช่วยกัน จัดประชุมโดยการหิ้วปิ่นโต ยังเป็นข้อจำกัดในการขับเคลื่อนที่ต่อเนื่อง ให้เท่าทันสถานการณ์ที่เข้ามากระทบ และประเด็นสำคัญที่สมาพันธ์ฯ ยังดำเนินการไม่สำเร็จในรอบปีที่ผ่านมาคือ การจัดทำแผนการผลิตรายครัวเรือน และ แผนธุรกิจชุมชน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการจัดการสินค้าอาหารปลอดภัยของพื้นที่และมวลสมาชิก อย่างไรก็ตามทางสมาพันธ์ฯ และสมาคมเครือข่ายรักษ์ละแม ยังคงขับเคลื่อนทางสังคมเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เกษตรกรรมยั่งยืน มีอาหารและมีรายได้ โดยมียุทธศาสตร์ “ ร่วมสร้างละแมน่าอยู่ ” และ “เกษตรอินทรีย์วิถีชุมพร ” มีสโลแกน “คิด ทำ นำ เปลี่ยน ” กำหนดแนวทางในการยกระดับและขยายผลไว้ ดังนี้ 1) ขยายสมาชิกและเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน 2)แสวหารูปแบบและกระบวนการลดต้นทุนการผลิตให้แก่สมาชิกผู้ทำเกษตรกรรมยั่งยืน 3) พัฒนาระบบการตลาดหลายรูปแบบ (ออฟไลนและออนไลน์) ทำให้เกิดรายได้ครัวเรือนหรือตลาดนำการผลิต อันเป็นแรงจูงใจให้มีสมาชิกรายใหม่เพิ่มขึ้น 4)เชื่อมและสานพลัง คน องค์กร และทุนต่างๆ ทั้งในและนอกพื้นที่  ซึ่งมีผังภาพสรุปดังนี้ การจัดเวทีพัฒนาข้อเสนอโครงการ สสส. ในปี 2565 นั้นยังเป็นความเป็นความท้าทายของการผลิตเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัยในพื้นที่ละแม เพื่อให้เกิดการลดผลกระทบต่อสุขภาวะคนละแม มีข้อสรุปดังนี้ 1) ด้านสุขภาพ ภาวะการณ์เจ็บป่วยตาย โดยเทียบเคียงกับข้อมูลสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร
สาเหตุการตายจังหวัดชุมพรพบว่า โรคมะเร็ง เป็นโรคที่เป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับที่ 1มาตลอด และสูงขึ้นเรื่อยๆ จากปีที่ผ่านมา (อัตรา 103.72 ต่อประชากร 100,000 คน) รองลงมาคือโรคระบบหายใจ (อัตรา 55.14 ต่อประชากร 100,000 คน) และ โรคโลหิตเป็นพิษ ซึ่งมาอัตราตายเท่ากับโรคหลอดเลือดสมอง (อัตรา 36.43 ต่อประชากร 100,000 คน) ตามลำดับ และสาเหตุการป่วยของผู้ป่วยนอก จังหวัดชุมพร อันดับ 1 คือ โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ โภชนาการ และเมตะบอลิสึม อันดับ 2 คือ โรคระบบไหลเวียนเลือด และอันดับ 3 คือ โรคระบบหายใจ และในภาวะการณ์ปัจจุบันที่เกิดโรคระบาดของไวรัสโควิดจึงทำให้เกิดการติดเชื้อและเจ็บป่วยเรื้อรังเป็นจำนวนมาก 2) ด้านสังคม ประชาชนทั่วไปในพื้นที่ ยังเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย ราคาเป็นธรรมได้น้อย ด้วยการทำเกษตร เชิงเดี่ยวต้องซื้ออาหารอื่นเป็นหลัก ค่าครองชีพค่อนข้างสูงเมื่อเทียวกับอำเภอใกล้เคียง ในอนาคตจะต้องทำให้ดำรงชีพของคนในสังคมเป็นปกติสุขมีอายุขัยเฉลี่ยตามเกณฑ์ 77 ปีของประชากรภาคใต้ 3) ด้านเศรษฐกิจ ภาระหนี้สินครัวเรือนและการว่างงานจากสถานการณ์โควิดจึงทำให้มีรายได้ไม่เพียงพอกับการ ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเนื่องจากราคาของใช้ ของบริโภคและต้นทุนภาคการเกษตรมีราคาเพิ่มขึ้นรวมถึงค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล (ข้อมูลสำรวจจากโครงการชุมชนน่าอยู่ มีหนี้สินครัวเรือน 320,000 บาทต่อครัวเรือน) จากสถานการณ์นี้ต้องใช้เวลาเปลี่ยนแปลงการผลิตจากเกษตรเคมีสู่เกษตรกรรมยั่งยืนในห้วง 3-5 ปี จึงจะลดค่าใช้จ่ายในปัจจัยการผลิต 4) ด้านสิ่งแวดล้อม การปนเปื้อนสารเคมีสภาพภูมิอากาศ (พื้นที่ฉีดพ่นสารเคมีในแปลงทุเรียน) และในแม่น้ำ ลำคลอง ดินส่งผลให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงดังนั้นจึงต้องเร่งฟื้นฟูระบบนิเวศให้กลับมาสมบูรณ์ ฉะนั้นจะลดผลกระทบต่อสุขภาวะคนละแม จำเป็นต้องจัดการปัจจัยทางสังคมที่กำหนดสุขภาพ ซึ่งจากการ ปรึกษาหารือวิเคราะห์พบว่ามีสาเหตุที่สำคัญ ได้แก่
- ด้านพฤติกรรมบุคคล เกษตรกรทั่วไปยังเน้นความสะดวกสบายในการใช้สารเคมีเกษตรและมีความเชื่อว่าการทำ เกษตรอินทรีย์นั้นทำได้ยากและไม่นิยมปลูกพืชอาหารเพื่อการบริโภคจึงหาซื้อพืชผักอาหารที่ผลิตโดยใช้สารเคมีเพราะมีราคาถูกและเก็บได้นานหาซื้อได้ง่าย
- ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคมและกายภาพ เกษตรกรส่วนใหญ่ในสังคมยังทำเกษตรเชิงเดี่ยวมุ่งเน้นการผลิตเพื่อ การพาณิชย์ และขายตามราคาตลาด ร้านค้าจำหน่ายเคมีภัณฑ์มีทั่วไป โฆษณาตามสื่อกระแสหลักต่อเนื่อง และสถานที่ทีหรือโรงผลผลิตปุ๋ยชีวภาพสารชีวภัณฑ์ยังมีน้อยอีกทั้งราคายังแพง ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ไม่มีในพื้นที่ผู้ผลิตจึงไม่มีแหล่งจำหน่ายสินค้าอินทรีย์
- ด้านกลไกหรือระบบที่เกี่ยวข้อง สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืน เป็นรูปแบบใหม่เพิ่งเรียนรู้และพัฒนากลไกการทำงานที่สอดคล้องกับพื้นที่ เกษตรกรทั่วไปยังไม่ให้การยอมรับจากสังคมและเป็นองค์กรที่ไม่เป็นทางการโอกาสที่จะเข้าถึงแหล่งทรัพยากรได้ยาก ระบบราชการกระทรวงเกษตรยังไม่เอาจริงเอาจังกับวาระชุมพรเกษตรอินทรีย์ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศวาระนี้มา 3 ปีแล้วตั้งเป้าหมายมีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ 8,000 ไร่ แต่ไม่มีระบบข้อมูลหรือการส่งเสริมอย่างเป็นระบบขาดกลไกการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค

ดังนั้นสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืน SDGPGS อำเภอละแม จึงได้มีฉันทามติร่วมกันที่จะร่วมสานต่อพัฒนา มาตรฐานสินค้าปลอดภัยสู่การตลาดสีเขียวในพื้นที่อำเภอละแมและพื้นที่ต่างๆ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาดังนี้
1) มีระบบบริหารจัดการที่เท่าทันนโยบายรัฐและความต้องการของเกษตรกร และยึดหลักการแบ่งปัน ผลประโยชน์ จัดความสัมพันธ์ใหม่สร้างกลไกการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค
2) การพัฒนาระบบการผลิตเกษตรกรรมยั่งยืนใน 5 รูปแบบได้แก่เกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ เกษตรผสมผสาน
วนเกษตรหรือธนาคารต้นไม้ เกษตรอินทรีย์ และเกษตรธรรมชาติ ทั้งนี้โดยยกระดับการผลิตตามบริบทพื้นที่ของเกษตรกรรายครัวเรือน ซึ่งปัจจุบันมีแปลงต้นแบบในแต่รูปแบบต่างๆ จำนวน 15 แปลงที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ขยายผลให้กับเกษตรผู้สนใจทั่วไป ควบคู่กับการลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงปัจจัยการผลิตได้ง่าย ราคาที่เป็นธรรม และการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มของนักประกอบการชุมชน 3) พัฒนาระบบการตลาดหลายรูปแบบ (ออฟไลนและออนไลน์) ทำให้เกิดรายได้ครัวเรือนหรือตลาดนำการผลิต 4) เชื่อมและสานพลัง คน องค์กร และทุนต่างๆ ทั้งในและนอกพื้นที่

เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์สำคัญ 4 ผลลัพธ์ได้ ได้แก่
1) กลไกสมาพันธ์เกษตรฯ มีขีดความสามารถขับเคลื่อนงานเกษตรกรรมยั่งยืน
2) เกิดความร่วมมือกับภาคีเครือในพื้นที่
3) เกิดการจัดการตลาดสินค้าเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ
4) เกิดการเพิ่มการผลิตและรายได้ครัวเรือน 10%

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66
1 กิจกรรมที่่ 3 การจัดการตลาดสินค้าเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ(1 พ.ค. 2022-31 มี.ค. 2023) 31,300.00                        
2 ส่วนที่ สสส. สนับสนุน(1 พ.ค. 2022-30 เม.ย. 2023) 10,000.00                        
3 กิจกรรมที่ 1 ประชุมติดตามงานคณะทำงานแกนนำและประเมินผลลัพธ์(7 พ.ค. 2022-24 มี.ค. 2023) 52,500.00                        
4 กิจกรรมที่ 2 ความร่วมมือภาคีเครือข่ายในพื้นที่(1 ก.ค. 2022-31 มี.ค. 2023) 62,700.00                        
5 กิจกรรมที่ 4 การเพิ่มพื้นที่การผลิตและรายได้(1 ต.ค. 2022-31 มี.ค. 2023) 14,000.00                        
รวม 170,500.00
1 กิจกรรมที่่ 3 การจัดการตลาดสินค้าเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 140 31,300.00 3 31,300.00
21 พ.ค. 65 พัฒนาผู้ประกอบการชุมชน (โดย ม.แม่โจ้-ชุมพร) 50 0.00 0.00
20 ส.ค. 65 ส่งเสริมการจัดการตลาด OUTLET (ออนไลน์/ออฟไลน์) 30 19,500.00 19,500.00
16 ก.พ. 66 จัดเวทีเชื่อมโยงการจัดการสินค้าตลาดภายในเครือข่ายสมาพันธ์ฯ จังหวัดชุมพร และภาคีที่เกี่ยวข้อง 60 11,800.00 11,800.00
2 ส่วนที่ สสส. สนับสนุน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 17 10,000.00 7 10,000.00
1 มิ.ย. 65 จัดทำป้ายโครงการและประชาสัมพันธ์งดสุราและบุหรี่ 0 1,000.00 1,000.00
4 - 5 มิ.ย. 65 จัดปฐมนิเทศน์โครงการย่อยNode Flagship Chumphon จำนวน 25 โครงการ 6 3,690.00 3,690.00
30 ก.ค. 65 อบรมพัฒนาศักยภาพโครงการย่อยด้านการบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ 2 800.00 800.00
26 ต.ค. 65 เวทีสมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร 3 1,000.00 1,000.00
31 ต.ค. 65 ประชุมติดตามประเมินผลลัพธ์โครงการย่อย (ARE 1) 3 1,000.00 1,000.00
10 เม.ย. 66 ประชุมติดตามประเมินผลลัพธ์โครงการย่อย (ARE 2) 2 510.00 510.00
28 เม.ย. 66 จัดทำเอกสารและบันทึกข้อมูลลงระบบออนไลน์ 1 2,000.00 2,000.00
3 กิจกรรมที่ 1 ประชุมติดตามงานคณะทำงานแกนนำและประเมินผลลัพธ์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 230 52,500.00 10 52,500.00
1 พ.ค. 65 ประชุมติดตามงานคณะทำงานแกนนำ ครั้งที่ 1 25 7,000.00 7,000.00
22 พ.ค. 65 พัฒนาฐานข้อมูล สำรวจกลุ่มการผลิต สำรวจชนิดการปลูก ปริมาณการผลิต 50 4,000.00 4,000.00
8 มิ.ย. 65 จัดทำแผนดำเนินงานสมาพันธ์เกษตรฯละแม 30 12,000.00 12,000.00
1 ก.ค. 65 ประชุมติดตามงานคณะทำงานแกนนำ และประเมินผลลัพธ์ ครั้งที่ 2 25 6,500.00 6,500.00
1 ก.ค. 65 - 30 เม.ย. 66 สื่อสารประชาสัมพันธ์เพจ Facebook 0 0.00 0.00
1 ก.ย. 65 ประชุมติดตามงานคณะทำงานแกนนำ ครั้งที่ 3 25 5,500.00 5,500.00
19 ต.ค. 65 หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ 0 500.00 500.00
1 พ.ย. 65 ประชุมติดตามงานคณะทำงานแกนนำและประเมินผลลัพธ์ ครั้งที่ 4 25 6,000.00 6,000.00
5 ม.ค. 66 ประชุมติดตามงานคณะทำงานแกนนำ ครั้งที่ 5 25 5,000.00 5,000.00
2 มี.ค. 66 ประชุมติดตามงานคณะทำงานแกนนำ และประเมินผลลัพธ์ ครั้งที่ 6 25 6,000.00 6,000.00
4 กิจกรรมที่ 2 ความร่วมมือภาคีเครือข่ายในพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 190 62,700.00 4 62,700.00
3 มิ.ย. 65 อบรมเชิงปฎิบัติเทคนิคและรูปแบบการผลิต ครั้งที่ 1 (น้ำมันปาล์มแดง) 40 16,200.00 16,200.00
10 ก.ค. 65 จัดเวทีทำแผนการผลิต/แผนธุรกิจและปฎิทินการผลิตรายครัวเรือน 60 12,800.00 12,800.00
18 ก.ค. 65 อบรมเชิงปฎิบัติเทคนิคและรูปแบบการผลิต ครั้งที่ 2 (สารชีวภัณฑ์) 40 16,200.00 16,200.00
1 - 30 ก.ย. 65 ตรวจรับรองมาตรฐานฯแปลงสมาชิกเก่า-ใหม่ 50 17,500.00 17,500.00
5 กิจกรรมที่ 4 การเพิ่มพื้นที่การผลิตและรายได้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 14,000.00 2 14,000.00
17 ก.พ. 66 ติดตามประเมินผลพื้นที่การผลิตและเชื่อมโยงการจัดการสินค้า 0 4,000.00 4,000.00
21 เม.ย. 66 จัดเวทีนำเสนอผลงานและข้อเสนอสมาพันธ์เกษตรจังหวัดชุมพรต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 60 10,000.00 10,000.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2022 11:54 น.